หัวข้อ: คำว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" มีมาได้อย่างไร??? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 12, 2012, 12:19:25 pm http://www.youtube.com/watch?v=dP8nHgxbuLU# (http://www.youtube.com/watch?v=dP8nHgxbuLU#)
Sanghathan Song http://sites.google.com/site/sanghathansong/20 เพลง : รักมากมาย ธรรมะประพันธ์ : สยามเมืองยิ้ม หัวข้อ: Re: คำว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" มีมาได้อย่างไร??? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 14, 2012, 01:25:05 pm (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto18/king08.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงภูมิอสัตบุรุษและสัตบุรุษแก่ เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว ภิกษุทั้งหลายนั้น ทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายก็ภูมิอสัตบุรุษเป็นไฉน อสัตบุรุษย่อมเป็นคนอกตัญญูอกตเวที ก็ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ อสัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนอกตัญญูอกตเวทีนี้ เป็นภูมิอสัตบุรุษทั้งสิ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสัตบุรุษย่อมเป็นคนกตัญญูกตเวที ก็ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีนี้ สัตบุรุษทั้งหลายสรรเสริญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเป็นคนกตัญญูกตเวทีทั้งหมดนี้เป็นภูมิสัตบุรุษ ฯ [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่ ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตรพึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดินใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้ว หรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตรคนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นในปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๑๖๑๗ - ๑๘๔๐. หน้าที่ ๗๐ - ๗๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277) ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/ (http://www.oknation.net/) หัวข้อ: Re: คำว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" มีมาได้อย่างไร??? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 14, 2012, 01:38:30 pm (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto18/king03.jpg) พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต พรหมสูตร [๔๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีพรหม สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีบุรพาจารย์ สกุลใดบุตรบูชามารดาบิดาในเรือนตน สกุลนั้นมีอาหุไนยบุคคล ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่าพรหมนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าบุรพาจารย์นี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา คำว่าอาหุไนยบุคคลนี้ เป็นชื่อของมารดาและบิดา ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะมารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตร ฯ มารดาบิดาผู้อนุเคราะห์บุตร ท่านเรียกว่าพรหม ว่าบุรพาจารย์ และว่าอาหุไนยบุคคล เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงนมัสการและสักการะ มารดาบิดา ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน การอบกลิ่น การให้อาบน้ำ และการล้างเท้าทั้งสอง เพราะการปรนนิบัติในมารดาบิดานั้นแล บัณฑิตย่อมสรรเสริญเขาในโลกนี้เอง เขาละไปแล้ว ย่อมบันเทิงในสวรรค์ ฯ อ้างอิง เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๓๔๖๙ - ๓๔๘๑. หน้าที่ ๑๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3469&Z=3481&pagebreak=0 (http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=3469&Z=3481&pagebreak=0) ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=470) ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/ (http://www.oknation.net/) หัวข้อ: Re: คำว่า "พ่อแม่เป็นพรหมของลูก" มีมาได้อย่างไร??? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 14, 2012, 02:06:11 pm (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto18/king10.jpg) มงคลที่ ๑๑ การบำรุงบิดามารดา "ต้นไม้ที่ได้รับการดูแลให้น้ำให้ปุ๋ย ไปบำรุงลำต้นจนสมบูรณ์ เมื่อถึงเวลา ไม่ยอมออกดอกออกผล ก็ต้องโค่นทิ้ง คนที่ได้รับการเลี้ยงดูจนเติบใหญ่ แต่ไม่ยอมตอบแทนคุณพ่อแม่ก็เป็นคนหนักแผ่นดินทองคำแท้หรือไม่โดนไฟก็รู้ คนดีแแท้หรือไม่ ให้ดูตรงที่เลี้ยงพ่อแม่ ถ้าดีจริง ต้องเลี้ยงพ่อแม่ ถ้าไม่เลี้ยง แสดงว่าดีไม่จริง เป็นพวกทองชุบ ทองเก๊" พระคุณของพ่อแม่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสอุปมาว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าทั้งสองของตน ประคับประคองท่านอยู่บนบ่านนั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำและให้ท่านถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และปรนนิบัติท่านไปจนตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนพระคุณท่านไม่หมด ยังมีผู้อุปมาไว้ว่า หากเราใช้ท้องฟ้าแทนกระดาษ ยอดเขาพระสุเมรุแแทนปากกาน้ำในมหาสมุทรแทนหมึก เขียนบรรยายคุณของพ่อแม่ จนท้องฟ้าเต็มไปด้วยอักษร ภูเขาสึกกร่อนจนหมด น้ำในมหาสมุทรเหือดแห้งก็ยังบรรยายคุณของพ่อแม่ไม่หมด บิดามารดาเป็นผู้มีพระคุณอันยิ่งใหญ่ของบุตร สรุปโดยย่อ คือ ๑.เป็นต้นฉบับทางกาย แบบเป็นสิ่งที่จำเป็นในการทำให้ของทั้งหลายในโลกมีค่าสูงขึ้น ตัวอย่างเช่นก้อนดินเหนียวธรรมดา ถ้าหากนำมาใส่แบบพิมพ์แล้วพิมพ์เป็นตุ๊กตา ก็ทำให้ดินก้อนนั้นมีค่าขึ้นมาเป็นเครื่องประดับบ้านเรือนได้ดินเหนียวก้อนเดียวกันนี้ หากได้แบบที่ดีกว่าขึ้นมาอีก เช่นแบบเป็นพระพุทธรูป ก็จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียวก้อนนี้ทรงคุณค่ามากยิ่งขึ้น ผู้คนได้กราบไหว้บูชา จะเห็นได้ว่าคุณค่าของดินเหนียว ก้อนนี้ขึ้นอยู่กับแแบบที่พิมพ์นั่นเอง ในทำนองเดียวกัน การเกิดของสัตว์ เช่นเป็น ช้าง มัา วัว ควาย ฯลฯ แม้จะมีปัญญาติดตัวมามากสักปานใดก็ไม่สามารถทำความดีได้เต็มที่ โชคดีที่เราได้แบบเป็นคน ซึ่งเป็นโครงร่างที่ประเสริฐกว่าสัตว์ทั้งหลาย เหมาะในการทำความดีทุกประการ พระคุณของพ่อแม่ในการเป็นต้นแบบทางกายให้เรา ก็นับว่ามีมากเหลือหลายแล้วยิ่งท่านอบรม เลี้ยงดูเรามาเป็นต้นแบบทางใจให้ด้วย ก็ยิ่งมีพระคุณมากเป็นอเนกนันต์ ๒.เป็นต้นแบบทางใจ ให้ความอุปการะเลี้ยงดู ฟูมฟัก ทะนุถนอมอบรมสั่งสอน ปลูกฝังกิริยามารยาท ให้ความรู้ทั้งทางโลกและทางธรรมแก่ลูก (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto18/king11.jpg) สมญานามของพ่อแม่ สมญานามของพ่อแม่นั้น กล่าวกันว่าท่านเป็นทั้งพรหมของลูก เทวดาคนแรกของลูก ครูคนแรกของลูก และเป็นพระอรหันต์ของลูก ซึ่งอธิบายได้ดังนี้ - พ่อแม่เป็นพรหมของลูก เพราะเหตุที่มีพรหมธรรม ๙ ประการได้แก่ ๑.มีเมตตา คือ มีความปรารถนาดีต่อลูกไม่มีที่สิ้นสุด ๒.มีความกรุณา คือ หวั่นใจในความทุกข์ของลูกและคอยช่วยเหลือเสมอไม่ทอดทิ้ง ๓.มีมุทิตา คือ เมื่อลูกมีความสุขสบาย ก็มีความปลาบปลื้มยินดีด้วยความจริงใจ ๔.มีอุเบกขา คือ เมื่อลูกมีครอบครัวสามารถเลี้ยงตนเองได้แล้ว ก็ไม่วุ่นวายกับชีวิตครอบครัวลูกจนเกินงาม และหากลูกผิดพลาดก็ไม่ซ้ำเติม แต่กลับคอยเป็นที่ปรึกษา ให้เมื่อลูกต้องการ - พ่อแม่เป็นเทวดาคนแรกของลูก เพราะคอยปกป้องคุ้มกันภัยเลี้ยงดูลูกมาก่อนผู้มีความปรารถนาดีคนอื่น ๆ - พ่อแม่เป็นครูคนแรกของลูก เพราะสั่งสอนอบรม คำพูดและกิริยามารยาทให้ลูกก่อนคนอื่น ๆ - พ่อแม่เป็นพระอรหันต์ของลูก เพราะมีคุณธรรม ๔ ประการ ได้แก่ ๑.เป็นผู้มีอุปการะมากแก่ลูก ท่านได้ทำภารกิจอันทำได้แสนยาก ได้แก่การอุปการะเลี้ยงดูลูก ซึ่งยากที่จะหาคนอื่นทำแก่เราได้อย่างท่าน ๒.เป็นพระเดชพระคุณมาก ปกป้องอันตราย ให้ความอบอุ่นแก่ลูกมาก่อน ๓.เป็นเนื้อนาบุญของลูก มีความบริสุทธิ์ใจต่อลูกอย่างแท้จริงเป็นผู้ที่ลูกควรทำบุญต่อตัวท่าน ๔.เป็นอาหุไนยบุคคล เป็นผู้ควรแก่การรับของคำนับ และการนมัสการของลูก คุณธรรมของลูก เมื่อพ่อแม่มีพระคุณมากมายปานนี้ ลูกจึงควรมีคุณธรรมต่อท่านคุณธรรมของลูกเริ่มที่รู้จักคุณพ่อแม่ คือรู้ว่าท่านดีต่อเราอย่างไร สูงขึ้นไปอีกคือตอบแทนคุณท่าน ในทางศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสบรรยายคุณธรรมของลูกไว้อย่างสั้น ๆ แต่จับความไว้ได้อย่างครบถ้วน คือคำว่า "กตัญญู กตเวที"คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นลูกรวมอยู่ใน ๒ คำนี้ กตัญญู หมายถึง เห็นคุณท่าน คือเห็นด้วยใจ ด้วยปัญญา ว่าท่านเป็นผู้มีพระคุณต่อเราอย่างแท้จริง ไม่ใช่สักแต่ว่าปากท่องพระคุณพ่อแม่ปาว ๆไปเท่านั้น คุณของงพ่อแม่ดูได้จากอุปการะ คือประโยชน์ที่ท่านทำแก่เรามีอะไรบ้างที่แตกต่างจากคนอื่น ตามธรรมดาของคนทั่ว ๆ ไป เมื่อจะอุปกาะใครเขาต้องเห็นทางได้ เช่น เห็นหลักทรัพย์ หรือดูนิสัยใจคอ ต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าอุปการคุณของเขาจะไม่สูญเปล่า จึงลงมือช่วยเหลือ แต่ที่พ่อแม่อุปการะเรานั้นเป็นการอุปการะโดยบริสุทธิ์ใจจริง ๆ ไม่ได้มองถึงหลักประกันใด ๆ เลย เราเองก็เกิดมาตัวเปล่าไม่มีหลักทรัพย์แม้แต่เข็เล่มเดียวยัง ไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าอวัยวะร่างกายจะใช้ได้ครบถ้วนหรือไม่ ยิ่งนิสัยใจคอแล้วยิ่งรู้ไม่ได้เอาทีเดียว โตขึ้นมาจะเป็นอย่างไร จะเป็นคนอกตัญญูหรือไม่ไม่รู้ทั้งนั้น หนังสือสัญญาการรับปากสักคำเดียว ระหว่างเรากับท่านก็ไม่มีแต่ทั้ง ๆที่ไม่มี ท่านทั้งสองก็ได้โถมตัวเข้าช่วยเหลือเราจนสุดชีวิต ที่ยากจนก็ถึงกับกู้หนี้ยืมสินคนอื่นมาช่วย เรื่องเหล่านี้ต้องคิดดูด้วยเหตุผลอย่าสักแต่คิดด้วยอารมณ์เท่านั้น การพิจารณาให้เห็นคุณของพ่อแม่ด้วยใจอย่างนี้แหละเรียกว่า"กตัญญู" เป็นคุณธรรมเบื้องต้นของผู้เป็นลูก ยิ่งพิจารณาเห็นคุณท่านมากเท่าไร แสดงว่าใจของเราเริ่มใสและสว่างมากขึ้นเท่านั้น กตเวที หมายถึง การทดแทนพระคุณของท่าน ซึ่งมีงานที่ต้องทำ ๒ ประการ คือ ๑.ประกาศคุณท่าน ๒.ตอบแทนคุณท่าน การประกาศคุณท่าน หมายถึง การทำให้ผุ้อื่นรู้ว่า พ่อแม่มีคุณแก่เราอย่างไรบ้าง มากน้อยเพียงใด เรื่องนี้มีคนคิดทำอยู่มากเหมือนกัน แต่ส่วนมากไปทำตอนงานศพ คือเขียนประวัติสรรเสริญคุณพ่อแม่ในหนังสือแจก การกระทำเช่นนี้ก็ถูก แต่ถูกเพียงเปลือกนอกผิวเผินนัก ถ้าเป็นการกินผลไม้ก็แค่เคี้ยวเปลือกเท่านั้น ยังมีทำเลที่จะประกาศคุณพ่อแม่ที่สำคัญกว่านี้ คือ ที่ตัวเรานี่เอง คนเราทุกคน คือ ตัวแทน ของพ่อแม่ตนทั้งนั้น เลือดก็แบ่งมาจากท่านเนื้อก็แบ่งมาจาท่าน ตลอดจนนิสัยใจคอก็ได้รับการอบรมถ่ายทอดมาจากท่าน ความประพฤติของตัวเรานี่แหละจะเป็นเครื่องประกาศคุณพ่อแม่อย่างโจ่งแจ้งที่สุด หากพิมพ์ข้อความไว้ในหนังสือแจกว่าคุณพ่อคุณแม่เป็นคนตั้งอยู่ในศีลในธรรม แต่ตัวเราเองประพฤติสำมะเลเทเมา คอร์รัปชั่นทุกครั้งที่มีโอกาสศีลข้อเดียวก็ไม่สนใจรักษา ก็ผิดที่ไป สดุดีคุณพ่อแม่ว่าเป็นคนดี สุภาพเรียบร้อยแต่ตัวเราผู้เป็นลูกกลับประพฤติตัวเป็นนักเลงอันธพาล อย่างนี้คุณค่าของการสรรเสริญพ่อแม่ก็ลดน้ำหนักลง กลายเป็นว่ามอบหน้าที่ในการกตเวทีประกาศคุณพ่อแม่ให้หนังสือทำแทน ให้กระดาษ ให้เครื่องพิมพ์ ให้ช่างเรียงพิมพ์แสดงกตเวทีแทน แล้วตัวเรากลับประจานพ่อแม่ของตัวเอง อย่างน้อยที่สุดก็ประจานแก่ชาวบ้านว่าพ่อแม่ของเราเลี้ยงลูกไม่เป็นประสา พ่อแม่ของใครใครก็รัก เมื่อรัูท่านก็ประกาศคุณความดีของท่านซิประกาศด้วยความดีของตัวเราเองตั้งแต่เดี๋ยวนี้ ยิ่งท่านยังมีชีวิตอยู่ การประกาศคุณของเราจะทำให้ท่านมีความสุขใจอย่างยิ่ง ส่วนใครจะประพันธ์สรรเสริญคุณพ่อแม่พิมพ์แจกเวลาท่านตายแล้ว นั่นเป็นประเด็นเบ็ดเตล็ดจะทำก็ได้ไม่ทำก็ไม่เสียหายอะไร ไม่ว่าเราจะตั้งใจประกาศคุณท่านหรือไม่ ความประพฤติของเราก็เป็นตัวประกาศคุณท่านหรือประจานท่านอยู่ตลอดเวลา คิดเอาเองก็แล้วกันว่าเราจะประกาศคุณพ่อแม่ของเราด้วยเกียรติยศชื่อเสียง หรือจะใจดำถึงกับประจานผู้บังเกิดเกล้าด้วยการทำตัวเป็นพาลเกเรและประพฤติต่ำทราม (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/597/14597/images/sphoto18/king02.jpg) การตอบแทนคุณท่าน แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ๑.เมื่อท่านยังมีชีวิตอยู่ ก็ช่วยเหลือกิจการงานของท่านเลี้ยงดูท่านตอนเมื่อยามท่านชรา ดูแลปรนนิบัติการกินอยู่ของท่านให้สะดวกสบายและเอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อท่านเจ็บป่วย ๒.เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ก็จัดพิธีศพให้ท่าน และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ท่านอย่างสม่ำเสมอ แม้เราจะตอบแทนพระคุณท่านถึงเพียงนี้แล้ว ก็ยังนับว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับพระคุณอันยิ่งใหญที่ท่านมีต่อเรา ผู้ที่มีความกตัญญูกตเวทีต้องการจะสนองพระคุณท่านให้ได้ทั้งหมด พึงกระทำดังนี้ ๑.ถ้าท่านยังไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้ ๒.ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ท่าน ก็พยายามชักนำให้ท่านยินดีในการบริจาคทานให้ได้ ๓.ถ้าท่านยังไม่มีศีล ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้ ๔.ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิภาวนา ก็พยายามชักนำให้ท่านทำสมาธิภาวนาให้ได้ เพราะว่าการตั้งอยู่ในศรัทธาการให้ท่าน การรักษาศีล การทำสมาธิภาวนา เป็นประโยชน์โดยตรง และเป็นประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตัวบิดามารดาผู้ประพฤติปฏิบัติเองทั้งในภพนี้ ภพหน้า และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งคือ เป็นหนทางไปสู่พระนิพพาน อานิสงส์การบำรุงบิดามารดา ๑.ทำให้เป็นคนมีความอดทน ๒.ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ ๓.ทำให้เป็นคนมีเหตุผล ๔.ทำให้พ้นทุกข์ ๕.ทำให้พ้นภัย ๖.ทำให้ได้ลาภโดยง่าย ๗.ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน ๘.ทำให้เทวดาลงรักษา ๙.ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ ๑๐.ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า ๑๑.ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี ๑๒.ทำให้มีความสุข ๑๓.ทำให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk11.htm (http://www1.freehostingguru.com/thaigenx/mongkhol/mk11.htm) ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/ (http://www.oknation.net/) |