สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: sunee ที่ มีนาคม 29, 2012, 01:19:49 pm



หัวข้อ: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ มีนาคม 29, 2012, 01:19:49 pm
เป็นหัวข้อที่กำลังนั่งพินิจ อยู่ จริง ๆ แล้วเหมือนกันหรือไม่

  คือไปอ่านเปิดประเด็นไว้ อย่างนี้
 - ชาวพุทธ คิดว่า อโหสิกรรม กับ อภัยทานเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ (สำหรับผมยังคลุมเคลือ)
- การอโหสิกรรม เกี่ยวกับพุทธศาสนาหรือไม่ในความคิดของคนทั่วไป
- ท่านเคยอโหสิกรรมกับใครหรือไม่ กี่ครั้ง
- ทำไมจึงอโหสิกรรม (กลัวบาป, ไม่อยากจองเวร, ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา, เพราะเขาขออโหสิกรรม etc)
- ทำไมจึงไม่อโหสิกรรม


  แท้ที่จริง อโหสิกรรม มีไว้เพื่ออะไร ?

 รบกวนท่านผู้รู้ ทุึกท่าน ให้วินิจฉัย ด้วยนะคะ

 ขอบคุณมาก ๆ คะ


(http://1.bp.blogspot.com/_KsoSI28hEMc/SwJ7ohieXTI/AAAAAAAAAYI/KG3AvCieVPg/s1600/pic-main.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://1.bp.blogspot.com (http://1.bp.blogspot.com)
 


หัวข้อ: Re: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: DANAPOL ที่ มีนาคม 29, 2012, 07:24:20 pm
อโหสิกรรม หมายถึงการไม่ถือโทษ
การให้อภัย หมายถึงการยกโทษ

   ความหมายน่าจะใกล้เคียงกันนะครับ

  :s_hi: :49: :49:


หัวข้อ: Re: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: วิชชุดา ที่ มีนาคม 30, 2012, 09:30:23 am
เป็นหัวข้อที่กำลังนั่งพินิจ อยู่ จริง ๆ แล้วเหมือนกันหรือไม่

  คือไปอ่านเปิดประเด็นไว้ อย่างนี้
 - ชาวพุทธ คิดว่า อโหสิกรรม กับ อภัยทานเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ (สำหรับผมยังคลุมเคลือ)
- การอโหสิกรรม เกี่ยวกับพุทธศาสนาหรือไม่ในความคิดของคนทั่วไป
- ท่านเคยอโหสิกรรมกับใครหรือไม่ กี่ครั้ง
- ทำไมจึงอโหสิกรรม (กลัวบาป, ไม่อยากจองเวร, ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา, เพราะเขาขออโหสิกรรม etc)
- ทำไมจึงไม่อโหสิกรรม


  แท้ที่จริง อโหสิกรรม มีไว้เพื่ออะไร ?

 รบกวนท่านผู้รู้ ทุึกท่าน ให้วินิจฉัย ด้วยนะคะ

 ขอบคุณมาก ๆ คะ


(http://1.bp.blogspot.com/_KsoSI28hEMc/SwJ7ohieXTI/AAAAAAAAAYI/KG3AvCieVPg/s1600/pic-main.jpg)
ขอบคุณภาพประกอบจาก http://1.bp.blogspot.com (http://1.bp.blogspot.com)


   อโหสิกรรม กับ การให้อภัย น่าจะเป็นคนละความหมาย

    อโหสิกรรม คือ ไม่ถือโทษที่กระทำมาแล้ว อันนี้น่าจะเป็นตั้แต่กรรมที่เบา จนถึง หนัก

    การให้อภัย น่าจะหมายถึง โทษที่มาแล้วยกโทษให้ น่าจะเป็นกรรมที่เบาๆ นะอันนี้


 ไม่รู้สินะอาจจะยังไม่ค่อยจะเข้าใจส่วนนี้ ก็ให้อภัยกันด้วยนะคะ

   :58:


หัวข้อ: Re: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 30, 2012, 12:44:50 pm
(http://i.kapook.com/glitter/2011/th/11/T281111_03CC.gif)


อโหสิ
    [อะ-] ก. เลิกแล้วต่อกัน, ยกโทษให้.

อภัย, อภัย-
    [อะไพ, อะไพยะ-] น. ความไม่มีภัย, ความไม่ต้องกลัว. (ป., ส.), นิยมใช้ประกอบกับคําอื่น เช่น ขออภัย หมายความว่า ขอให้ยกโทษให้ ขออย่าได้ถือโทษ, ให้อภัย หมายความว่า ยกโทษให้.ก. ยกโทษ เช่น ฉันอภัยให้เธอ.

อภัยทาน
    [อะไพยะทาน] น. การให้ความไม่มีภัย เช่น ให้อภัยทาน.ว. ที่ให้ความไม่มีภัย เช่น เขตอภัยทาน. (ป.).

ขมา
    [ขะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ เช่น ไปขมาศพ.น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอมรับผิด เช่น ขอขมา, ษมา ก็ใช้. (ป.; ส. กฺษมา).


อ้างอิง พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
ขอบคุณภาพจาก http://i.kapook.com/ (http://i.kapook.com/)


(http://www.kanlayanatam.com/Mybookneanam/cover/ahosi.jpg)

อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
       ได้แก่ กรรมทั้งที่เป็นกุศลและอกุศล ที่เลิกให้ผล เหมือนพืชที่หมดยาง เพาะปลูกไม่ขึ้นอีก
       (ข้อ ๔ ในกรรม ๑๒)

กรรม ๑๒ กรรมจำแนกตามหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการให้ผล พระอรรถกถาจารย์รวบรวมแสดงไว้ ๑๒ อย่างคือ
       หมวดที่ ๑ ว่าด้วยปากกาล คือ จำแนกตามเวลาที่ให้ผล ได้แก่
           ๑. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม กรรมให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
           ๒. อุปปัชชเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
           ๓. อปราปริยเวทนียกรรม กรรมให้ผลในภพต่อๆไป
           ๔. อโหสิกรรม กรรมเลิกให้ผล
       หมวดที่ ๒ ว่าโดยกิจ คือจำแนกการให้ผลตามหน้าที่ ได้แก่
           ๕. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด หรือกรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
           ๖. อุปัตถัมภกกรรม กรรมสนับสนุน คือเข้าสนับสนุนหรือซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
           ๗. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น คือเข้ามาบีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้นให้แปรเปลี่ยนทุเลาเบาบางหรือสั้นเข้า
           ๘. อุปฆาตกกรรม กรรมตัดรอน คือกรรมแรงฝ่ายตรงข้ามที่เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรม ๒ อย่างนั้นให้ขาดหรือหยุดไปทีเดียว
       หมวดที่ ๓ ว่าโดยปากทานปริยาย คือจำแนกตามลำดับความแรงในการให้ผล ได้แก่
           ๙. ครุกกรรม กรรมหนัก ให้ผลก่อน
           ๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณณกรรม กรรมทำมากหรือกรรมชิน ให้ผลรองลงมา
           ๑๑. อาสันนกรรม กรรมจวนเจียน หรือกรรมใกล้ตาย ถ้าไม่มี ๒ ข้อก่อนก็จะให้ผลก่อนอื่น
           ๑๒. กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม กรรมสักว่าทำ คือเจตนาอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้น ให้ผลต่อเมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผล


อ้างอิง พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
ขอบคุณภาพจาก http://www.kanlayanatam.com/ (http://www.kanlayanatam.com/)



   
" ขออภัย...ในบางลีลา "
   
(http://poem.meemodel.com/bg/images/pencil.png)

ขออภัยบางลีลาถ้าล่วงล้ำ
ขออภัยในบางคำที่นำเสนอ
ขออภัยในบางวรรคฝากถึงเธอ
ขออภัยที่อาจเผลอทำร้ายใคร

ถึงอย่างไรใจนี้ก็ชี้ว่า
มิตรภาพสูงค่าถ้ามีได้
กับทุกคนบนโลกเศร้าปลอบเหงาใจ
แต่ก็ขออภัย...บางลีลา

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://poem.meemodel.com/etc/8038.html (http://poem.meemodel.com/etc/8038.html) คำกลอนโดยคุณดอกไม้จันทน์


   เอาเแบบว่า..ขำขำ กันไปก่อนนะครับ เชิญวิเคราะห์กันตามอัธยาศัย ว่างๆจะมาคุยอีกที
     :49: ;)


หัวข้อ: Re: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: แมนแมน ที่ มีนาคม 31, 2012, 09:29:33 am
อ่านแล้วเข้าใจง่าย ขึ้น เป็นคำถามที่แปลกดีครับ ซึ่งผมเองก็คิดไม่ถึง ได้รับสาระประโยชน์จากการถามมาก ขอให้มาถามต่อไปนะครับ ผมติดตามอ่านครับ

  :c017: :s_good:


หัวข้อ: Re: อโหสิกรรม กับการ ให้อภัย ขอขมา เหมือนกันหรือไม่ ?
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มีนาคม 31, 2012, 01:19:51 pm

เป็นหัวข้อที่กำลังนั่งพินิจ อยู่ จริง ๆ แล้วเหมือนกันหรือไม่

   คือ ไปอ่านเปิดประเด็นไว้ อย่างนี้
  - ชาวพุทธ คิดว่า อโหสิกรรม กับ อภัยทานเป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ (สำหรับผมยังคลุมเคลือ)
  - การอโหสิกรรม เกี่ยวกับพุทธศาสนาหรือไม่ในความคิดของคนทั่วไป
  - ท่านเคยอโหสิกรรมกับใครหรือไม่ กี่ครั้ง
  - ทำไมจึงอโหสิกรรม (กลัวบาป, ไม่อยากจองเวร, ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนา, เพราะเขาขออโหสิกรรม etc)
  - ทำไมจึงไม่อโหสิกรรม


  แท้ที่จริง อโหสิกรรม มีไว้เพื่ออะไร ?
  รบกวนท่านผู้รู้ ทุึกท่าน ให้วินิจฉัย ด้วยนะคะ
  ขอบคุณมาก ๆ คะ


  ถาม ชาวพุทธคิดว่า "อโหสิกรรมกับอภัยทาน" เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ ?
   ตอบ  ไม่เหมือนกัน ความหมายของ "อโหสิกรรม" ขอให้อ่านบทความข้างต้น
          ส่วนความหมายของ"อภัยทาน" ขอนำเอาข้อความในหนังสือ"วิธีสร้างบุญบารมี"
          พระนิพนธ์ใน สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
          สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19 วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
          มาแสดงดังนี้

    การให้ธรรมทานแม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน"
    แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทาน ก็คือ
    "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู"
    ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส"
    และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น

    อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา
    ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด
    ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้
    การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง

    แล้วมันต่างกันอย่างไร
    หากพิจารณา คำแปลตามตัวอักษรแล้ว จะเห็นว่ามีความหมายที่ใกล้เคียงกัน
    แต่หากพิจารณาเอา"อโหสิกรรม"เป็นหลัก จะเห็นว่า กรรมที่ไม่ส่งผลนี้(อโหสิกรรม) ไม่ได้ระบุว่าเจ้ากรรมนายเวรต้องยกโทษให้ หรือเลิกอาฆาตพยาบาท (ถึงแม้ไม่ยกโทษให้ ก็ไม่ส่งผลอะไร)
    ตัวอย่างที่เห็นชัดๆ ก็คือ องคุลีมาร ที่ไม่ตกนรกเพราะได้บุญจากอรหันตผลมาช่วย ทำให้เขานิพพานได้ บาปที่ทำมาไม่อาจส่งได้ กลายเป็นอโหสิกรรมในที่สุด
    ส่วนคำว่า "อภัยทาน" ชัดเจนเลยว่า เจ้ากรรมนายเวรยกโทษให้

    คุยเท่านี้ก่อนนะครับ เหนื่อยครับ

     :49: