สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: sunee ที่ เมษายน 07, 2012, 12:44:14 pm



หัวข้อ: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ เมษายน 07, 2012, 12:44:14 pm
เข้าใจคำว่า เซียน นี้เป็นคำเรียกของ นักพรตจีน ที่บำเพ็ญเพียร จนเป็น เซียน ใช่หรือไม่คะ

ส่วนคำว่า พระอรห้นต์ นี้เป็นการบำเพ็ญธรรมในสายพุทธ แล้ว สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่ จ๊ะ

 ดังนั้น ระหว่าง คำว่า เซียน กับ พระอรหันต์ มีความหมายเหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร คะใช่เรียกร่วมกันได้หรือไม่คะ


 (http://variety.phuketindex.com/wp-content/uploads/2010/10/yok-ong-song-tae.jpg)(http://www.thaimtb.com/webboard/440/220301-51.jpg)


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 07, 2012, 05:52:23 pm
(http://www.klongdigital.com/images_webboard3/id_36861_10.jpg)

เซียน
    น. ผู้สําเร็จ, ผู้วิเศษ; โดยปริยายหมายความว่า ผู้ที่เก่งหรือชํานาญในทางใดทางหนึ่งเป็นพิเศษ เช่น เซียนการพนัน. (จ.).

อรหันต-, อรหันต์
    [อะระหันตะ-, ออระหันตะ-, อะระหัน, ออระหัน] น. ชื่อพระอริยบุคคลชั้นสูงสุดใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ เรียกว่า พระอรหันต์. (ศัพท์นี้ใช้ อรหา หรือ อรหัง ก็มี แต่ถ้าใช้เป็นคําวิเศษณ์หรืออยู่หน้าสมาสต้องใช้ อรหันต). (ป.; ส. อรฺหนฺต).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
       พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก


ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)


อรหันต์ คำจีนแต้จิ๋วออกเสียงว่า หล่อ-หั่ง


ที่มา http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=4540887734293 (http://www.manager.co.th/china/ViewNews.aspx?NewsID=4540887734293)


(http://pic1.nipic.com/2008-09-16/2008916151215564_2.jpg)
ภาพโป๊ยเซียนเมามาย หรือ “จุ้ยปาเซียน” (醉八仙)


ความคิดเห็นที่ 3 จากคุณหนอนดาวเรือง

เทพ จะไม่บำเพ็ญแล้วสำเร็จเป็นเซียนค่ะ มีแต่เซียนที่บำเพ็ญจนได้เป็นเทพ

เซียน (Xian) แปลว่า ผู้วิเศษ หรือจะเป็นเทวดาก็ได้ แต่เป็นเทวดาชั้นที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ไม่อยู่บนสวรรค์
คำว่า เซียน ในภาษาจีนเป็นคำผสมจากคำศัพท์ ๒ คำ คือ คำว่า คน กับคำว่า ภูเขา เพราะเซียนจีนส่วนมากอยู่ตามภูเขาค่ะ ถึงกับมีคำพังเพยว่า

ซานปู้ไจ้เกา โหย่วเซียนเจ๋อหมิง = ภูไม่ต้องสูง มีเซียนย่อมดัง

การที่จะได้เป็นเซียน ต้องเริ่มจากการเป็นมนุษย์ ถือพรตตามลัทธิเต๋าตามแบบที่ปรมาจารย์จางเทียน หรือ จางเต้าหลิง ได้ทำแนวทางไว้ หรือไม่ก็ได้ศึกษากับอาจารย์ที่เป็นเซียน จนได้ฌานวิเศษ มีอิทธิฤทธิ์เหาะเหินเดินอากาศได้ และชาวบ้านมักจะเชื่อว่า เป็นอมตะด้วยค่ะ

ที่มาเซียนมีหลายอย่างค่ะ ถ้าดูจากคณะ ๘ เซียน (ภาษาจีนกลางว่า ปาเซียน Pa Xian จีนแต้จิ๋วว่า โปยเซียง ไทยว่า โป๊ยเซียน) ก็มีทั้ง..
     - เทพที่ตกสวรรค์มาเกิดเป็นมนุษย์ (เซียนตะกร้าดอกไม้ : หลานไฉ่เหอ)
     - เพลย์บอยกลับใจ (เซียนกระบี่วิเศษ : ลวี่ต้งปิง)
     - เด็กสาวจิตใจดีงามที่ถูกแม่เลี้ยงใจร้ายข่มเหงรังแก (เซียนดอกบัววิเศษ : เหอเซียนกู)
     หรือบัณฑิตเฒ่าที่ชอบขี่ลาโดยหันหลังไปทางหัวลาที่ได้ไปกินน้ำอมฤตจนได้กลายเป็นเซียน (เซียนขี่ลา : จางกว่อเหล่า)

คำว่าเซียน น่าจะเทียบได้กับผู้วิเศษในแบบที่คนอินเดียเรียกว่า สิทธิ (Siddhi) ที่ไทยเราเรียกว่า พวกนักสิทธิ์วิทยาธรอะไรพวกนั้นแหละค่ะ

พวกนี้ยังไม่ถึงขั้นเป็นเทพโดยสมบูรณ์ ถ้าจะเป็นเทพต้องบำเพ็ญไปอีกนานหลายร้อยหลายพันปี อย่างพวกโป๊ยเซียนที่ยกตัวอย่างไปแล้วนี่แหละค่ะ เชื่อกันว่าเพิ่งเลื่อนทิพยฐานะจากเซียนขึ้นเป็นเทพไปแค่ ๔ องค์เท่านั้นในปัจจุบันนี้ คือ
    จางกว่อเหล่า (Zhang Guo Luo) เรียกแบบไทยๆ ว่า เจียงกั๋วเล้า
    หลี่เถี่ยกว่าย (Li Tie Guai) เรียกแบบไทยๆ ว่า ทิก๋วยลี้
    ลวี่ต้งปิง (Lu Dong Bin) เรียกแบบไทยๆ ว่า ลื่อท่งปิน
    เหอเซียนกู (He Xian Gu) เรียกแบบไทยๆ ว่า ฮ่อเซียนโกว


ที่มา http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7124500/Y7124500.html (http://www.atriumtech.com/cgi-bin/hilightcgi?Home=/home/InterWeb2000&File=/home2/searchdata/Forums2/http/www.pantip.com/cafe/religious/topic/Y7124500/Y7124500.html)
ขอบคุณภาพจาก http://pic1.nipic.com/,http://www.klongdigital.com/ (http://pic1.nipic.com/,http://www.klongdigital.com/)


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 07, 2012, 06:06:00 pm
เข้าใจคำว่า เซียน นี้เป็นคำเรียกของ นักพรตจีน ที่บำเพ็ญเพียร จนเป็น เซียน ใช่หรือไม่คะ

ส่วนคำว่า พระอรห้นต์ นี้เป็นการบำเพ็ญธรรมในสายพุทธ แล้ว สำเร็จเป็น พระอรหันต์ ใช่หรือไม่ จ๊ะ

 ดังนั้น ระหว่าง คำว่า เซียน กับ พระอรหันต์ มีความหมายเหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร คะใช่เรียกร่วมกันได้หรือไม่คะ


   คติทางพุทธเถรวาทโดยเฉพาะคนไทย สองคำนี้มีความหมายที่ต่างกัน คงไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
   จะพูดกันให้ชัดลงไป ก็คือ อรหันต์ ไม่มีกิเลส แต่เซียน ยังมีกิเลสอยู่
   ส่วนคติทางมหายานหรือจีน ผมมีรายละเอียดเท่าที่แสดงไว้ข้างต้น ขอให้พิจารณาเอาเองนะครับ

    :welcome: :49: :25: :s_good:


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ เมษายน 07, 2012, 07:46:42 pm
อนุโมทนา สาธุ กับคำตอบ และ คำถามคะ

 อันที่จริง คำว่า เซียน นั้นต้องบำเพ็ญพรต แบบ เต้าหยิน จนสู่การละกิเลส จึงจักเป็นเซียนได้ เท่าที่ฟังมาจากคน ก๋ง อาม่า พูดให้ฟัง

  แต่คนส่วนใหญ่ไปเข้าใจว่า เซียน คือ เทวดา

   :s_hi:



หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ เมษายน 08, 2012, 08:15:15 am
ระหว่าง คำว่า เซียน กับ พระอรหันต์ มีความหมายเหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร คะ ใช้เรียกร่วมกันได้หรือไม่คะ

คติสองคำนี้มีความหมายที่ต่างกัน คงไม่สามารถใช้ร่วมกันได้
จะพูดกันให้ชัดลงไป ก็คือ อรหันต์ ไม่มีกิเลส แต่เซียน ยังมีกิเลสอยู่


เทพ จะไม่บำเพ็ญแล้วสำเร็จเป็น เซียน มีแต่ เซียน ที่บำเพ็ญจนได้เป็น เทพ
เซียน (Xian) แปลว่า ผู้วิเศษ หรือจะเป็นเทวดาก็ได้ แต่เป็นเทวดาชั้นที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ ไม่อยู่บนสวรรค์


เซียน หรือคำว่า เซียงซือ ที่คนไทยเชื้อสายจีนโดยทั่วไปเข้าใจกันนั้น เนื้อแท้สถานะจริงแท้เป็น นรเทพ กล่าวคือ เป็น

สถานะมนุษย์บำเพ็ญเพียรเข้าถึงระดับณานโลกีย์ ไม่ว่าจะเป็น เต้าหยิน หรือ นักพรต ซึ่งมีมรรควิถีในแนวเต๋า แม้แต่ใน

กรณีอย่างเช่น โป๊ยเซียนโจวซือทั้ง ๘ นั้น ก็เป็นมนุษย์บำเพ็ญตบะถึงองค์ณาน จึงเรียกกล่าวว่า เซียน แต่มีคำต่อว่า

โจวซือ นั่นแสดงสถานะแล้วว่าเป็น เทพพรหมจุติแล้ว หากแต่คำว่า เซียน ใช้ได้กับผู้เป็น นรเทพ แล้วจุติเป็น เทพพรหม

ไม่ใช้กล่าวอย่างสับสนกับ เทพเทวดาอารักษ์ เพราะเหล่าเทพเทวดาไม่บำเพ็ญเพียงกระทำคุณงามความดีมีศีลก็เป็น

เทพเทวดาเสวยทิพยสมบัติได้แล้ว แต่หากเข้าใจหมายเอาว่าเป็นเทพใกล้ชิดมนุษย์น่าจะอิงในคำว่า เอี้ย เช่น เทพเจ้าที่

(ตี่จูเอี้ย), เทพโชคลาภ(ไฉ่ซิ่งเอี้ย) เทพคุ้มครองดวงชะตา (ไท้ส่วยเอี้ย), เทพสยบมาร (ตั่วเหล่าเอี้ย) หรืออีกคำว่า กง

เช่น เทพอารักษ์ในเรือน (ปึงเถ่ากง), (ไต่ฮงกง), หรือ หลวงพ่อโต (ซำปอกง) กรณีหลังนี้หมายเอาสิ่งศักดิ์สิทธิ์บันดาล

โชคสมปรารถนา เหล่านี้เป็นต้น อีกลักษณะหนึ่งที่คนไทยเชื้อสายจีนมักกล่าวถึงคือ เทพเจ้าฮุกโจ้ว คำคำนี้นั้นหมายถึง

พระพุทธเจ้า หรือ พระยูไล


สรุปครับ! เซียน หมายถึง นรเทพ (มนุษย์ผู้บำเพ็ญเพียรได้ณานโลกีย์) จักเป็นเทพจุติ "โจวซือ" ต่อไป
           
             เอี้ย หมายถึง เทวดา (มนุษย์ผู้เพียรสร้างคุณงามความดีมีศีล) จักเป็นเทพจุติ "เซียงซือ" ต่อไป

             กง หมายถึง สิ่งศักดิ์สิทธิ์ (ที่มนุษย์ศรัทธากราบไหว้ขอพรแล้วยกไว้เป็นที่พึ่งทางใจ) ซึ่งเป็นเทพสถิตย์ตาม

                             ความเชื่อ



หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ เมษายน 08, 2012, 10:22:09 am
ขอบคุณมากคะ ที่ช่วยไขปัญหาข้องใจตรงนี้ให้
 :c017: :58: :25:


หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของ เซียน กับ พระอรหันต์ เหมือนกันหรือไม่คะ
เริ่มหัวข้อโดย: drift-999 ที่ เมษายน 08, 2012, 03:53:46 pm
ไม่ต้องออกนอกประตู ก็รู้อะไรได้ทุกอย่าง
ไม่ต้องมองทางหน้าต่าง ก็สามารถเห็นทางสวรรค์
คนยิ่งออกไปไกล(เต๋า) มากเท่าไร ก็รู้ได้น้อยเท่านั้น
ดังนั้นปราชญ์สามารถหาความรู้ได้โดยไม่ต้องออกไปไกล
สามารถตั้งชื่อให้สิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง โดยมิต้องมองเห็น
สามารถบรรลุถึงจุดหมายปลายทางได้ โดยไม่ต้องดิ้นรน..ปราชญ์เหลาจื่อ

(http://img.photobucket.com/albums/v376/svlina/lao-tzi2.jpg)