หัวข้อ: Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 23, 2012, 09:36:23 am (http://www.thairath.co.th/media/content/2012/04/22/254917/hr1667/630.jpg) Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย ฝนตก ฟ้าร้อง แผ่นดินไหว ไฟไหม้ป่า อุทกภัยมา วาตภัยเกิด ชวนให้จิตใจเตลิด แล้วความคิดก็บังเกิด ว่าช่างมันเถิด จะทำอะไรได้ เหมือนโบราณท่านว่าไว้ เรื่องฝนจะตก แดดจะออก คนจะคลอดลูก ใครจะห้ามอะไรได้ ก็ควรปล่อยมันเป็นไป ช่างมันเถอะ เหมือนเป็นวิธีคิดในแบบวิถีพุทธ แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็มีสำนวน Let it be! สะท้อนแนวคิดนี้เช่นกัน... เพราะความไม่เที่ยง หรือ Uncertainty เป็นเรื่องสากล เป็นธรรมชาติที่เกิดโดยไม่เลือกเชื้อสาย หรือชาติกำเนิด ดังคำกล่าวว่า Uncertainty is certainty. ความไม่แน่นอนคือความแน่นอน เมื่อทำอะไรกับมันไม่ได้ก็ต้อง … Let it be! ช่างมันเถอะ ปล่อยมันเป็นไป เด็กน้อยวัยเรียน กลับบ้านมาพร้อมสมุดพก สลักลายกลมมน 0.00 พ่อแม่จะพูดอะไรได้ นอกจาก ... Let it be! ช่างมันเถอะ ช่างมันเถิดลูก ผู้ใหญ่วัยทำงาน ถอยรถคันหรูจอดหน้าห้าง กลับมาเหลือกุญแจกับใบแจ้งค่างวดไว้ให้ดูต่างหน้า จะพูดอะไรออกนอกจาก ... Let it be! ช่างมันเถอะ ปล่อยมันไป เพื่อนเราเผาเรือน เอาแฟนเพื่อนไปเป็นแฟนตัว จะพูดอะไรได้ นอกจาก ... Let it be! ช่างมันเถอะ ช่างหัวมัน หลากรสหลายโอกาส Let it be! ถูกงัดออกมาใช้ แต่ขอให้สังเกตว่าเราจะพูดสำนวนนี้ เมื่อเหตุการณ์ร้ายมันผ่านไปสุดมือคว้า แก้ไขอะไรไม่ได้จึงต้องยอมปล่อยมันเป็นไป แต่ไม่นิยมกล่าวก่อนเหตุร้ายเกิด เพราะแสดงให้เห็นว่าเป็นคนประมาท ที่ขาดปัญญาป้องกัน เส้นบางๆ ที่กั้นระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย คือ ปัญญาที่ช่วยให้รู้เห็นตามเป็นจริง ปล่อยวางคือรู้ว่าต้องเป็นเช่นนี้ หรือเหตุเกิดแล้วกลับไปแก้ไม่ได้จึงวางเฉยแทนการเก็บมากลัดกลุ้ม แต่ละเลย คือจนเหตุเกิดแล้วยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าป้องกันได้ หมดปัญญา จึงพูด Let it be! ช่างมันเถอะ เพื่อปลอบใจ เรื่อง ปล่อยวางนี้ ในภาษาอังกฤษมีสำนวนว่า Let yourself on! มาจาก Let on ที่ให้ความหมายว่า ชี้ให้เห็นตามความเป็นจริง หรือ ในภาษาพูด จะแปลว่า แพร่งพรายความลับ ก็ยังได้ ส่วน Let oneself on นั้นตีความได้เป็นภาษาพระว่า ปล่อยวาง ภาษาสะท้อนความคิด จากสำนวนนี้เราเรียนรู้ได้ว่า แม้ชาวตะวันตกไม่ได้เล่าเรียนพุทธศาสนาก็ยังเห็นตรงกันว่า การปล่อยวางเป็นการเข้าใจโลกตามจริง อย่างไรก็ตาม การปล่อยวางตามจริงไม่ใช่เรื่องง่าย ลองถามเด็กดูคงรู้ว่ามันยากแค่ไหน เชื่อแน่ว่าหลายท่านคงเข้าใจอารมณ์นี้ I didn’t let on to my parents that I got F on the test because they would never let themselves on. หากความเป็นจริงเรื่องสอบตกได้แพร่งพรายถึงหู เชื่อแน่ว่าพ่อแม่คงไม่อาจปล่อยวางได้ง่ายๆ การ ปล่อยวางไม่ง่าย จะพร่ำพูด Let it be! ช่างมันเถอะ ตลอดศกก็ใช่ที่ พระท่านจึงสอนให้เริ่มที่ ระวังในเหตุ ปล่อยวางในผล หรือภาษาเราๆ ท่านๆ ก็ว่า ทำวันนี้ให้ดีที่สุด ผลจะเป็นอย่างไรอย่าได้คาดหวัง วัยรุ่นยิ่งต้องจำคาถานี้ให้แม่น และเพื่อให้เข้าถึงใจ คนวัยเดียวกัน แนนเข้าใจดี เด็กๆ สมัยนี้ต้องมีคำถาม “ขอ 3 คำ สั้นๆ ได้ใจ” แนนจัดให้ “Just do it!” คุณครูพี่แนน ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/254917 (http://www.thairath.co.th/content/edu/254917) หัวข้อ: Re: Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 23, 2012, 09:45:42 am http://www.youtube.com/watch?v=7gPjGuC6CFQ# (http://www.youtube.com/watch?v=7gPjGuC6CFQ#)
อัปโหลดโดย Rockonever91 เมื่อ 31 ม.ค. 2008 When I find myself in times of trouble Mother Mary comes to me Speaking words of wisdom, let it be And in my hour of darkness She is standing right in front of me Speaking words of wisdom, let it be Let it be, let it be Let it be, let it be Whisper words of wisdom, let it be And when the broken hearted people Living in this world agree, There will be an answer, let it be For though they may be parted there is Still a chance that they will see There will be an answer, let it be Let it be, let it be Let it be, let it be There will be an answer, let it be Let it be, let it be Let it be, let it be Whisper words of wisdom, let it be And when the night is cloudy There's still a light that shines on me Shine until tomorrow, let it be I wake up to the sound of music Mother Mary comes to me Speaking words of wisdom, I want you to let it be Let it be, let it be, let it be, let it be There will be an answer, let it be Let it be, let it be, let it be, let it be Whisper words of wisdom, let it be source : -http://www.youtube.com/watch?v=7gPjGuC6CFQ- หัวข้อ: Re: Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ เมษายน 23, 2012, 10:29:27 am คำว่า ปล่อยวาง ในความหมาย ที่แสดงไว้ในนี้ ไม่ใช่ความหมาย ของคำว่า ปล่อยวาง
การปล่อย วาง ในพระพุทธศาสนา เกิดจากรู้แจ้ง เห็นจริง แล้ว จึงวางอุเบกขา การรู้แจ้งเห็นจริง มีเป็นไปตามลำดับชั้น การรู้แจ้งเห็นจริง ด้วย สติ มี นิพพิทา เป็นต้น การรู้แจ้งเห็นจริง ด้วย สัมปชัญญะ มี นิพพิทานุปัสสนา เป็นต้น การรู้แจ้งเห็นจริง ด้วย ญาณ มี วิราคะเป็นต้น การรู้แจ้งเห็นจริง ด้วย ยถาภูตญาณทัศศนะ มี สังขารุเปกขาญาณ เป็นต้น การรู้แจ้งเห็นจริง ด้วย ญาณทัศนะวิสุทธิ มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ดังนั้น การปล่อยวาง ไม่อยากให้ใช้ในความหมายที่ผิด หรือสื่อ ในทางผิดความหมาย จากหลักการของพระกรรมฐาน ดังนั้น กระทู้ ไม่ใช่ความหมายของคำว่า ปล่อยวาง และ ไม่สมควรใช้คำว่าปล่อยวาง ควรใช้คำว่า ทำใจ มากกว่า เช่นพูดว่า เขาเอาแฟนเราไปเป็นแฟนเขา ให้พูดว่า ทำใจ อะไรจะเกิด มันก็ต้องเกิด ก็ประมาณนี้ ความหมายของคำว่า ทำใจ ในนี้ ไม่ใช่ว่า ใจจะยินยอม หรือ ยอมรับ แต่แค่เป็นคำปลอบใจ ให้รู้ว่า ต้องทำใจนะ การทำใจก็ใช่ ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรมขั้นสูงอะไร เป็นพียงแต่เปิดใจยอมรับความจริง เหมือนคนที่ป่วยเป็นมะเร็ง ที่แขนต้องตัดแขน ในวันสองวัน ก็ต้องพูดว่า ทำใจนะ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิด ซึ่งไม่เกีียวกับคำว่า ปล่อยวาง เพราะการปล่อยวางเป็นการปล่อย กิเลส กรรม วิบาก เบื้องต้น แต่ก็นับว่า เป็นกระทู้ที่ มีประโยชน์ให้ความหมาย แบบชาวโลกอยู่ เจริญธรรม ;) หัวข้อ: Re: Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ เมษายน 23, 2012, 11:26:44 am (http://www.klongdigital.com/images_webboard3/id_60317_6.jpg) อุเบกขา 1. ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงด้วยชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ ไม่ยินดียินร้าย เมื่อใช้ปัญญาพิจารณาเห็นผลอันเกิดขึ้นโดยสมควรแก่เหตุ และรู้ว่าพึงปฏิบัติต่อไปตามธรรม หรือตามควรแก่เหตุนั้น, ความรู้จักวางใจเฉยดู เมื่อเห็นเขารับผิดชอบตนเองได้ หรือในเมื่อเขาควรต้องได้รับผลอันสมควรแก่ความรับผิดชอบของเขาเอง, ความวางทีเฉยคอยดูอยู่ในเมื่อคนนั้นๆ สิ่งนั้นๆ ดำรงอยู่หรือดำเนินไปตามควรของเขาตามควรของมัน ไม่เข้าข้างไม่ตกเป็นฝักฝ่าย ไม่สอดแส่ ไม่จู้จี้สาระแน ไม่ก้าวก่ายแทรกแซง (ข้อ ๔ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๗ ในโพชฌงค์ ๗, ข้อ ๑๐ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๙ ในวิปัสสนูปกิเลส ๑๐) 2. ความรู้สึกเฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์ เรียกเต็มว่า อุเบกขาเวทนา (= อทุกขมสุข); (ข้อ ๓ ในเวทนา ๓) สังขารุเปกขาญาณ ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ รู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่า ที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้ เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสนิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙) ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ขอบคุณภาพจาก http://www.klongdigital.com/ (http://www.klongdigital.com/) หัวข้อ: Re: Let it be! เส้นบางๆ ระหว่าง ปล่อยวาง กับ ละเลย เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ เมษายน 23, 2012, 01:29:08 pm อ่านแล้ว ได้เข้าใจ มุมมองชาวโลก กับมุมมอง ผู้ภาวนา แล้วเป็นคนละเรื่อง เลยนะครับ
อนูโมทนาดั้วฃคะ เป็นกระทู้ที่มีประโยชน์ ในเรื่องการเข้าใจใช้คำ คะ สาธุ สาธุ สาธุ :25: :25: :25: |