หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "ไม่จำเป็นต้องแสดงธรรม เมื่ออยู่กับ...สัตบุรุษ" เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 01, 2012, 07:06:24 am พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค [๙. วนสังยุต]
๑๑. อโยนิโสมนสิการสูตร พระไตรปิฏกเล่มที่ 15 หน้า 331 -332 ๑๐. สัชฌายสูตร ว่าด้วยภิกษุผู้สาธยายธรรม [๒๓๐] สมัยหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งอยู่ ณ ราวป่าแห่งหนึ่ง แคว้นโกศล สมัยนั้นภิกษุนั้นเมื่อก่อนสาธยายมากจนเกินเวลา สมัยต่อมา ท่านขวนขวายน้อย อยู่เฉย ๆปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป ครั้งนั้น เทวดาผู้สิงสถิตอยู่ในราวป่านั้นไม่ได้ฟังธรรมของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุนั้นถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวกับภิกษุนั้นด้วยคาถาว่า ภิกษุ เพราะเหตุไร ท่านเมื่ออยู่ร่วม กับภิกษุทั้งหลาย จึงไม่สาธยายบทแห่งธรรม เพราะบุคคลฟังธรรมแล้ว ย่อมเลื่อมใส และสรรเสริญในปัจจุบัน ภิกษุนั้นได้กล่าวคาถานี้ว่า ความพอใจในบทแห่งธรรมทั้งหลาย ได้มีแล้วในกาลก่อน จนถึงเวลาที่เรามาอยู่ร่วม กับบุคคลผู้ปราศจากราคะ และเพราะตั้งแต่เรามาอยู่ร่วมกับบุคคลผู้ปราศจากราคะ สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึงรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จึงได้กล่าวถึงการปล่อยวางอารมณ์นั้น ๆ สัชฌายสูตรที่ ๑๐ จบ จากเรื่องจะเห็นได้ว่า การที่ภิกษุผู้สาธยายธรรม ทำงานน้อยลงนั้นเป็นเพราะว่า รอบตัวท่านนั้นล้วนแล้วเป็นบุคคลผู้ปราศจากราคะ เป็นผู้ที่ควรเรียกว่า สัตบุรุษ มีการวางอารมณ์ ดีใน รูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ ท่านจึงได้กล่าว การปล่อยวางอารมณ์จากการสาธยาย เพราะไม่มีความจำเป็น ที่ต้องสาธยาย ให้มากขึ้นดังแต่กาลก่อน ย้อนกลับมาถึงในยุคนี้ ..... เมื่อเราเข้าไปเรียนธรรม แล้ว ถ้าครูอาจารย์ ยังบอกว่าต้องเรียนอีกมาก เราควรจะต้องรีบขวนขวาย ถ้าครูอาจารย์บอกว่า เอาตัวรอดได้แล้ว แสดงว่าการเรียนนั้น พอแล้ว เหลือแต่ภาวนา ถ้าครูอาจารย์บอกว่า ไม่มีอะไรจะสอนแล้ว แสดงว่าธรรมเสมอครูอาจารย์แล้ว ดังนั้นวันนี้อยากให้ท่านทั้งหลาย ทบทวนว่าครูอาจารย์บอกท่านกันไว้อย่างไร ก็ให้กระทำการส่วนนั้น (http://www.madchima.net/images/215_card_69.jpg) หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "ไม่จำเป็นต้องแสดงธรรม เมื่ออยู่กับ...สัตบุรุษ" เริ่มหัวข้อโดย: kobyamkala ที่ พฤษภาคม 03, 2012, 02:00:04 pm อ้างถึง สัตบุรุษทั้งหลายรู้ทั่วถึงรูป เสียง กลิ่น รส จากเนื้อหา สัตบุรุษ นั้นน่าจะหมายถึง พระอริยะบุคคลเลยนะคะ ดังนั้นนิมนต์พระอาจารย์แสดงธรรมต่อนะคะ อย่าพึ่งหยุดคะ :25: :25: :25: :c017: :c017: :c017: |