สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: sunee ที่ พฤษภาคม 06, 2012, 11:29:58 am



หัวข้อ: พระอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล ที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ กัน ในท่ายืน กับ ท่าเดิน มี..
เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ พฤษภาคม 06, 2012, 11:29:58 am
เรียนถามท่านผู้รู้คะ พระอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล ที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ กัน ในท่ายืน กับ ท่าเดิน มีกี่รูปคะ มีใครบ้างคะ กรรมฐาน ที่ใช้กำหนด ในขณะนั้น คืออะไร คะ...

 ขอบคุณมากคะ

  :c017:


หัวข้อ: Re: พระอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล ที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ กัน ในท่ายืน กับ ท่าเดิน มี..
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 01:05:24 pm
(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2011/11/Y11386586/Y11386586-0.jpg)

อรรถกถา ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒
๕๔. กัจจายวรรค
๒. วักกลิเถราปทาน


๕๓๒. อรรถกถาวักกลิเถราปทาน
(ยกมาแสดงเพียงบางส่วน)

    วักกลินั้นเจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพทจนจบในศิลปศาสตร์ของพวกพราหมณ์ทั้งหมด.
    (วันหนึ่ง) เห็นพระศาสดา มองดูรูปกายสมบัติไม่อิ่ม จึงเที่ยวจาริกไปกับพระศาสดา เขาคิดว่า
    เราอยู่แต่ในบ้านก็จักไม่ได้เห็นพระศาสดาตลอดกาลเป็นนิตย์ ดังนี้แล้วจึงบวชในสำนักของพระศาสดา
    เว้นเวลาขบฉันและเวลากระทำสรีรกิจเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือก็จะไปยืนอยู่ในที่ที่สามารถจะเห็นพระทศพลได้ ยอมละหน้าที่อื่นเสีย ไปเฝ้าดูอยู่แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างเดียวเท่านั้น.

     พระศาสดาทรงคอยความแก่รอบแห่งญาณของเธอ ถึงเธอจะเที่ยวติดตามไปดูรูปหลายเวลา ก็มิได้ตรัสอะไรๆ
    จนถึงวันหนึ่งจึงตรัสว่า ดูก่อนวักกลิ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการที่เธอต้องมาดูร่างกายอันเปื่อยเน่านี้
    วักกลิเอย ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ก็วักกลิเห็นธรรมอยู่ ก็ชื่อว่าเห็นเรา.

     แม้เมื่อพระศาสดาตรัสสอนอยู่อย่างนี้ พระเถระก็ไม่อาจจะละการมองดูพระศาสดาแล้วไปในที่อื่นได้.
     แต่นั้น พระศาสดาจึงทรงดำริว่า ภิกษุนั้นไม่ได้ความสังเวช จักไม่ได้ตรัสรู้แน่
     พอใกล้วันเข้าพรรษา จึงทรงขับไล่พระเถระไปด้วยพระดำรัสว่า วักกลิ เธอจงหลีกไปเสียเถิด. [/color]

     เธอถูกพระศาสดาทรงขับไล่แล้ว จึงไม่สามารถจะอยู่ต่อพระพักตร์พระศาสดาได้
     คิดว่าเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จะมีชีวิตอยู่ไปทำไม ดังนี้แล้ว จึงขึ้นไปที่ปากเหวบนภูเขาคิชฌกูฏ.

     พระศาสดาทรงทราบความเป็นไปนั้นของเธอแล้ว ทรงดำริว่า ภิกษุนี้เมื่อไม่ได้รับความเบาใจจากสำนักของเรา ก็จะพึงทำให้อุปนิสัยแห่งมรรคและผลพินาศไป ดังนี้แล้วทรงแสดงพระองค์ เปล่งพระโอภาส ตรัสพระคาถาว่า :-
                         ภิกษุผู้มากไปด้วยความปราโมทย์เลื่อมใสใน
                         พระพุทธศาสนา จะพึงบรรลุบทอันสงบ อัน
                         เข้าไประงับสังขารเป็นสุขได้ ดังนี้.


     ทรงเหยียดพระหัตถ์ตรัสว่า มานี่เถิด วักกลิ.
     พระเถระได้เกิดปิติและโสมนัสใจเป็นกำลังว่า เราจะได้เห็นพระทศพลแล้ว ความไม่เสื่อมเราได้แล้ว ด้วยพระดำรัสว่า จงมา
     ดังนี้แล้วคิดว่า เราจะไปทางไหน แล้วไม่รู้หนทางที่ตนจะไปเฝ้า จึงไปในอากาศเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา โดยเอาเท้าข้างหนึ่งเหยียบบนภูเขา รำพึงถึงพระคาถาที่พระศาสดาได้ตรัสแล้วข่มปิติในอากาศนั้นแล บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา ๔ แล้ว.

    เรื่องที่ว่ามานี้ มาในอรรถกถาอังคุตตรนิกาย และในอรรถกถาธรรมบทแล.ฯลฯ...


ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=122 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=122)
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=2767&Z=2841 (http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=33&A=2767&Z=2841)
ขอบคุณภาพจาก http://topicstock.pantip.com/ (http://topicstock.pantip.com/)


(http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/buddhist1pic/pic2/124.jpg)
ภาพ พระวักกลิป่วยหนัก พระพุทธเจ้าทรงมาเยี่ยม
จากเว็บhttp://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/index/2/indexpic124.htm

    พระวักกลิเถระ เป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ ตามอรรถกถากล่าวว่า ท่านบรรลุอรหันต์ขณะเท้าข้างหนึ่งยืนอยู่บนพื้น เท้าอีกข้างหนึ่งอยู่บนอากาศ
    กล่าวโดยอนุโลมก็คือ บรรลุด้วยการยืนด้วยขาข้างเดียว
    หากจะถามว่า พระวักกลิ ใช้กรรมฐานกองไหน หลายคนอาจคิดว่า น่าจะเป็น การดูกาย ที่อยู่ในกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน หรือ กายาคตาสติ
    แต่ความในอรรถกถาไม่ได้รายละเอียดเอาไว้ บอกแต่เพียงว่า ได้ฟังคาถาของพระพุทธเจ้าแล้วเกิดปิติเป็นอันมาก หลังจากข่มปิติลงได้ ก็บรรลุอรหันต์
    ดังนั้นจึงสรุปไม่ได้ว่า ท่านใช้กรรมฐานกองไหน
    แต่ถ้าจะบอกว่า ท่านหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอะไร
    ตอบได้เลยว่า หลุดพ้นด้วยศรัทธา เพราะท่านป็นเอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ..นั่นเอง

     :25:


หัวข้อ: Re: พระอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล ที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ กัน ในท่ายืน กับ ท่าเดิน มี..
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 01:28:50 pm
(http://webserv.kmitl.ac.th/~tree/Picture/sonago.jpg)

อรรถกถา ขุททกนิกาย เถรคาถา เตรสกนิบาต
๑. โสณโกฬิวิสเถรคาถา


อรรถกถาเถรคาถา เตรสกนิบาต
             
อรรถกถาโสณโกฬิวิสเถรคาถาที่ ๑
(ยกมาแสดงเพียงบางส่วน)

     ครั้นเมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ทรงประกาศธรรมจักรอันบวร เสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ ท่านถูกพระเจ้าพิมพิสารรับสั่งให้เข้าเฝ้า ท่านจึงไปยังกรุงราชคฤห์พร้อมด้วยชาวบ้าน ๘๐,๐๐๐ คน ไปยังสำนักพระศาสดา ฟังธรรมแล้วได้ศรัทธาให้มารดาบิดาอนุญาตแล้ว ได้บรรพชาอุปสมบทในพระศาสนา เรียนกรรมฐานในสำนักพระศาสดา อยู่ในสีตวัน เพื่อหลีกเลี่ยงการคลุกคลีด้วยหมู่ชน

     คิดว่า ร่างกายของเราละเอียดอ่อน เราไม่อาจบรรลุสุขได้โดยง่ายเลย เราควรจะทำกายให้ลำบากกระทำสมณธรรม
     ดังนี้แล้วอธิษฐานเฉพาะที่จงกรมเท่านั้น หมั่นประกอบความเพียร แม้ฝ่าเท้าพุพองขึ้นได้มุ่งเพ่งเอาเวทนา กระทำความหมั่น ก็ไม่สามารถเพื่อให้คุณวิเศษเกิดขึ้นได้ เพราะปรารภความเพียรเกินไป

     จึงคิดว่า เราแม้พยายามอยู่อย่างนี้ก็ไม่อาจให้มรรคหรือผลเกิดขึ้นได้ เราจะประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา เราจะสึกบริโภคโภคะและจักบำเพ็ญบุญ.

     พระศาสดาทรงทราบวาระจิตของท่าน จึงเสด็จไปในที่นั้น ทรงโอวาทด้วยพระโอวาทที่เปรียบด้วยพิณ เมื่อจะทรงแสดงวิธีประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ จึงให้ชำระพระกรรมฐานแล้วเสด็จไปยังเขาคิชฌกูฏ.

    ฝ่ายพระโสณเถระได้โอวาทในที่พร้อมพระพักตร์พระศาสดา ประกอบความเพียรให้สม่ำเสมอ บำเพ็ญวิปัสสนาดำรงอยู่ในพระอรหัตแล้ว.
    # ๑. ขุ. อ. ๓๒/ข้อ ๔๔.



ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=380 (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=26&i=380)
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=7178&Z=7213 (http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=26&A=7178&Z=7213)
อ่านเรื่อง "พระโสณโกฬิวิสเถระ เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร" ได้ที่ http://84000.org/one/1/30.html (http://84000.org/one/1/30.html)
ขอบคุณภาพจาก http://webserv.kmitl.ac.th/ (http://webserv.kmitl.ac.th/)


(http://www.mm-news.com/img_stock/WB_93300015471.jpg)
ภาพจาก http://www.mm-news.com (http://www.mm-news.com)

    ประวัติของพระโสณโกฬิวิสเถระ ไม่ชัดเจนว่า ท่านบรรลุด้วยการเดินหรือไม่
    แต่หลายคนเชื่อว่า ในเมื่อท่านชอบเดิน เดินจนเท้าแตก ท่านก็น่าจะสำเร็จอรหันต์ด้วยการเดิน
    ส่วนกรรมฐานที่ท่านใช้ ผมอ่านทั้งพระไตรปิฏกและอรรถกถาแล้ว ไม่ไ้ด้บอกรายละเอียดว่าท่านใช้กรรมฐานกองไหน รู้แต่เพียงว่าท่านปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน แล้วบรรลุอรหันต์

     :25:


หัวข้อ: Re: พระอรหันต์ ในครั้งพุทธกาล ที่สำเร็จ เป็นพระอรหันต์ กัน ในท่ายืน กับ ท่าเดิน มี..
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤษภาคม 07, 2012, 01:56:34 pm

(http://www.rmutphysics.com/charud/scibook/buddhist1/buddhist1pic/pic2/128.jpg)

อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค
มหาปรินิพพานสูตร


ปจฺฉิมสกฺขิสาวณฺณนา
(ยกมาแสดงเพียงบางส่วน)

      ถามว่า ก็เพราะเหตุไร สุภัททปริพพาชกนั้นจึงมีความคิดอย่างนี้ในวันนี้.
      ตอบว่า เพราะมีอุปนิสัยอย่างนั้น.
       ..............ฯลฯ..............

     ได้ยินว่า พระเถระ(พระอานนท์)นำสุภัททะนั้นไปในที่แห่งหนึ่ง เอาน้ำจากคณโฑรดศีรษะ บอกตจปัญจกกัมมัฏฐาน ปลงผมและหนวด ให้ครองผ้ากาสายะแล้วให้สรณะ แล้วนำไปยังสำนักพระผู้มีพระภาคเจ้า.

     พระผู้มีพระภาคเจ้าให้อุปสมบทแล้ว ตรัสบอกกัมมัฏฐาน.
     เธอรับกัมมัฏฐานไว้แล้ว อธิษฐานจงกรมในที่ส่วนหนึ่งแห่งอุทยาน พากเพียรพยายามชำระวิปัสสนาบรรลุอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทา

     แล้วมาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งลง.
     ท่านหมายเอาอุปสมบทกรรมนั้นจึงกล่าวว่า อจิรูปสมฺปนฺโน โข ปน เป็นต้น.
     ก็ท่านพระสุภัททะนั้นได้เป็น ปัจฉิมสักขีสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล.ฯลฯ


   
ที่มา http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4# (http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=10&i=67&p=4#)ปจฺฉิมสกฺขิสาวณฺณนา
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1888&Z=3915 (http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=10&A=1888&Z=3915)
ขอบคุณภาพจาก http://www.rmutphysics.com/ (http://www.rmutphysics.com/)


(http://www.jepata.com/_files/news/2011_10_16_215240_jmgvyp11.jpg)
ภาพจาก http://www.jepata.com/ (http://www.jepata.com/)

  พระสุภัททะนี้ในอรรถกถา ระบุชัดเจนว่า ท่านเดินจงกรม
  ส่วนกรรมฐานที่ใช้ ตอนบวชพระอานนท์ใ้ห้ "ตจปัญจกกัมมัฏฐาน"
  แต่ไม่รู้ว่า พระพุทธเจ้าให้กรรมฐานอะไร
  ผมคงคุยได้เท่านี้

   :49: