สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 10:47:50 am



หัวข้อ: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 10:47:50 am
พระวินัยปิฎก  มหาวรรค  [๑.มหาขันธกะ]
 ๗.ปัพพัชชากถา


 พระไตรปิฏก เล่ม 4 หน้า 33

            เมื่อทรงทราบว่า ยสกุลบุตรมีจิตควร อ่อน ปราศจากนิวรณ์ เบิกบานผ่องใส จึงทรงประกาศ สามุกกังสิกธรรมเทศนา(๑)  ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย  คือทุกข์  สมุทัย  นิโรธ มรรค ธรรมจักษุอันปราศจากธุลีปราศจากมลทิน  ได้เกิดแก่ยสกุลบุตร  ณ  อาสนะนั้นแลว่า   

 “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”    

เปรียบเหมือนผ้าขาวสะอาดปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้เป็นอย่างดี[/]


๑ สามุกกังสิกธรรมเทศนา  หมายถึงพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย  ทรงตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง
   ทรงเห็นด้วยสยัมภูญาณ  ไม่ทั่วไปแก่ผู้อื่น  คือมิได้รับคำแนะนำจากผู้อื่น  ทรงตรัสรู้ลำพังพระองค์เอง
   ก่อนใครในโลก  (วิ.อ.  ๓/๒๙๓/๑๘๑,  สารตฺถ.ฏีกา  ๓/๒๖/๒๓๗,  ที.สี.ฏีกา  อภินว.  ๒/๒๙๘/๓๕๐)



(http://www.madchima.net/images/222_card_95.jpg)

Aeva Debug: 0.0004 seconds.


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 11:10:32 am
สามุกกังสิกธรรมเทศนา
  คือ เทศนา ที่แสดง อริยสัจจะ 4 เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้า ทรงรู้เอง ที่ใช้คำว่า ตรัสรูโดยพระองค์เอง มิได้มีผู้ใดมาชี้นำให้รู้ ซึ่งพระพุทธเจ้า ทุกพระองค์ต้องตรัสรู้เอง ส่วนพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้นั้น เมื่อนำบอกแสดงแก่เรา เรียกธรรมนั้นว่า สามุกกังสิกธรรมเทศนา

  ในที่นี้พระสูตรได้กล่าวแสดง ถึง ยสกุลบุตร ลูกเศรษฐี ที่ใช้ชีิวิตคล้าย ๆ เจ้าชายสิทธัตถะ ซึ่งเดินหลุดจากบ้านเพราะเกิดความสลดใจในชีวิตความเป็นอยู่ของตนเอง จึงมองเห็นว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ เดินบ่นจากบ้านมาด้วยอารมณ์อย่างนี้ จนกระทั่งเข้าไปในป่า อิสิปตนมฤคทายวัน ที่ประทับของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าจึงได้ทรงตรัสเรียก ยสกุลบุตร ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่ขัดข้อง ท่านจงมาที่นี่เถิด

  หลังจากนั้นก็ได้สนทนาธรรม กับ ยสกุลบุตร จนจิตละจากนิวรณ์ได้แล้ว จึงทรงแสดงธรรมที่เรียวก่า ความจริง 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม จบจิต ของ ยสกุลบุตร ผู้ที่ได้เห็นตามความเป็นจริง ในขณะนั้นจึงเห็น ธรรมทั้งหลาย ด้วยจิตที่เบื่อหน่าย และจางคลายว่า

    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”

   ดวงตาเห็นธรรม จึงปรากฏบัีงเกิด ( การได้ควงตาเห็นธรรม ) คือการบรรลุเป็นพระโสดาบัน ในพระพุทธศาสนา มีคุณธรรมที่ละสังโยชน์ ได้ 3 ประการ คือ
    1.ละสักกายทิฏฐิ ความเห็นสืบเนื่องต่อเนื่อง ว่ากายนี้เป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัว เป็นตนของเรา
    2.วิจิกิจฉา ละความสงสัยในพระรัตนตรัย เชื่อมั่นและศรัทธา ในพระรัตนตรัย
    3.สีลัพพตปรามาส ละจากการประพฤติผิด เข้าใจผิด ที่เข้าไปเกี่ยวข้องสลัดรูปแบบ ทำลายกำแพงเก่าได้แล้ว

    ดังนั้น อริยสัจจะ กับ ยถาภูตญาณทัศศนะ เกี่ยวข้องกันหรือไม่ ?
   
    ขอตอบว่า เกี่ยวข้อง และ เป็นอันเดียวกัน แตกต่างกันตรงที่ ยถาภูตญาณทัศศนะ นั้นจิตดำเนินอริยสัจจะอยู่ การรู้อริยสัจจะ มี 3 รู้

     อริยสัจจะ ที่เป็น ปริยัติ
     อริยสัจจะ ที่เป็น ปฏิบัติ
     อิรยสัจจะ ที่เป็น ปฏิเวธ 

     ยถาภูตญาณทัศศนะ จะมีได้ที่ อริยสัจจะที่เป็น ปฏิบัติ ดังนั้น ยถาภูตญาณทัศศนะ จัดเป็นปฏิเวธ  เพราะเมื่อ ยถาภูตญาณทัศศนะ แจ่มแจ้ง แจ่มชัด ปรากฏมีขึ้น ธรรม ที่เรียกว่า นิพพิทา ความหน่ายต่อสังสารวัฏ จักปรากฏแจ้งจริง ให้เ็็ห็น เมื่อรู้แจ้งเห็นจริงดังนี้ การปล่อยวาง การสละคืน เพราะรู้ว่า

    “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา  สิ่งนั้นทั้งปวงมีความดับไปเป็นธรรมดา”
   
    ประโยคนี้ คล้ายคลึงกับประโยคธรรม ที่พระอัสสชิ กล่าวกับ อุปติสสะปริพาชก ว่า

    "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่ เหตุ พระตถาคต ตรัสเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น
    ธรรมเหล่านั้น ดับไป ก้เพราะเหตุดับ พระมหาสมณะ มีปกติตรัสเข่นนั้น"

    ดังนั้นบอกท่านได้เพียงนิดหน่อยว่า

     ใน ยถาภูตญาณ มีการกล่าวธรรม อยู่ 2 ประการเป็นส่วนใหญ่ นั่นก็คือ ความเกิด และ ความดับ ความเกิด ๆ ขึ้นก็ต้องอาศัยเหตุ ความดับ เมื่อจะดับ ก็ต้องอาศัยเหตุถึงจะดับ จะเกิด จะดับ ก็ต้องมีเหตุเกิด และ ดับ อะไรคือ เหตุเกิด และดับ นั่นอยู่ที่การเห็นจริง

     แต่เมื่อท่านทั้งหลาย เห็นความเกิดขึ้น และ ดับไป สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราแจ่มแจ้ง ในนิพพิทา จริง ๆ และมีช่วงระยะเวลานานกว่า การเห็น การเกิด และ การดับ ( เสื่อมไป ) นั่นก็คือ ความตั้งอยู่ เพราะความตั้งอยู่เรามองเห็น แต่ไม่เข้าใจ จึงมองเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา แต่เพราะเราเห็นการตั้งอยู่ได้นาน จึงเห็น ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป พร้อมกัน ดังนั้น ส่วนนี้เป็น อารมณ์ ที่ สัปยุตตธรรมเพื่อการรู้เห็นตามพระพุทธเจ้า ดังนั้นกล่าวมากไม่ได้ เพื่อไม่เป็นการชี้นำให้ท่านทั้งหลาย เสีย มรรค เสียผล เพราะจดจำไว้ว่าต้องเป็นอย่างนี้ เพราะส่วนนี้ควรจะรู้เห็นด้วยญาณของตนเอง

    เจริญธรรม ขอให้ทุกท่านทบทวน ส่วนนี้ให้มากขึ้น สำหรับท่านที่มีความปรารถนา เพื่อจะพ้นจากสังสารวัฏส่วนนี้ 


    ;)

   

(http://www.madchima.net/images/198_card_96.jpg)


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ พฤษภาคม 16, 2012, 09:59:04 pm
สามุกกังสิกธรรมเทศนา

     แต่เมื่อท่านทั้งหลาย เห็นความเกิดขึ้น และ ดับไป สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้เราแจ่มแจ้ง ในนิพพิทา จริง ๆ และมีช่วงระยะเวลานานกว่า การเห็น การเกิด และ การดับ ( เสื่อมไป ) นั่นก็คือ ความตั้งอยู่ เพราะความตั้งอยู่เรามองเห็น แต่ไม่เข้าใจ จึงมองเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา แต่เพราะเราเห็นการตั้งอยู่ได้นาน จึงเห็น ความเกิดขึ้น ความเสื่อมไป พร้อมกัน ดังนั้น ส่วนนี้เป็น อารมณ์ ที่ สัปยุตตธรรมเพื่อการรู้เห็นตามพระพุทธเจ้า ดังนั้นกล่าวมากไม่ได้ เพื่อไม่เป็นการชี้นำให้ท่านทั้งหลาย เสีย มรรค เสียผล เพราะจดจำไว้ว่าต้องเป็นอย่างนี้ เพราะส่วนนี้ควรจะรู้เห็นด้วยญาณของตนเอง
 


    ส่วนนี้ผมพยายาม อ่านหลายรอบ แล้วครับ แต่ก็ยังไม่ค่อยจะเข้าใจครับ

    ความเกิดขึ้น

    ความดับไป( ความเสื่อมไป )

    ความตั้งอยู่ ที่เป็นเรานั้น เป็นของเรา เป็นตัวเป็นตนของเรา เป็นตอนที่ตั้งอยู่ใ่ช่หรือไม่ครับ
    ความตั้งอยู่ คือ ปัจจุบันธรรม ..... ความสำคัญอยู่ที่ รู้ในปัจจุบัน ใช่หรือไม่ครับ ที่พระอาจารย์กำลังบอกใบ้ให้เข้าใจในความหมายที่ควรมองเห็น ธรรม

   ผิดถูกอย่างไร ขอพระอาจารย์ชี้นำด้วยครับ

   :25: :25: :25:
   
   


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: แก้ว ที่ พฤษภาคม 17, 2012, 12:01:43 pm
สรุปการเห็นตามความเป็นจริง คือการเห็นอริยสัจจะ 4 ใช่หรือไม่คะ
 :25: :25: :c017:


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤษภาคม 17, 2012, 01:57:26 pm
พระอาจารย์ท่านยกเรื่อง  ความไว ในอาการเกิด-ดับ  ความไวในอาการเกิดขึ้นพร้อมดับ ทุกเกิดทุกข์ดับ ช้าไว หรือดับคาใจ หรือดับในรูปเลย
          ความเห็นแบบนี้ ยกให้เข้าใจ บางทีท่านก็ไม่เข้าใจ
            เอาอย่างนี้ดีกว่า เรื่องภาวนา อะไรที่ท่านอ่านยังไม่รู้เรื่อง สิ่งนั้น เรายังไม่ได้
              ความเห็นไตรลักณ์ เห็นความเกิดดับช้าไว ต้องไปพอกพูนมา
               การพอกพูนไม่ใช่ หาข้อมูล หรือ คิด
                แต่ต้อง ภาวนา
        ว่าเห็นเกิดดับ เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ช้าไว หรือว่า ดับในรูปเลย

               อาการแบบนี้ ที่ได้เจโตวิมุติ เปรียบไว้ ว่า ได้กินข้าวจริงๆ
                                                ที่ได้สุขวิปัสสก เปรียบไว้ว่า เหมือนได้กิน แต่จริงๆไม่ได้กิน
 เคยอ่านมาแบบนี้


หัวข้อ: Re: ธรรมะสาระวันนี้ "สามุกกังสิกธรรมเทศนา"
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ พฤษภาคม 18, 2012, 11:11:14 am
การภาวนา สิ่งสำคัญที่สุด คือการรู้ธรรม 8 ประการ

    1. รู้จักทุกข์
    2. รู้จักสมุทัย
    3. รู้จักนิโรธ
    4. รู้จักมรรค
    5. รู้จักอดีต
    6. รู้ัจักอนาคต
    7. รู้จักปัจจุบัน  ( ที่กำลังกล่าวถึงตรงนี้ )
    8. รู้จักเหตุปัจจัยของธรรมที่อาศัยเนื่องซึ่งกันและกัน

           ถ้าท่านตอบคำถามส่วนนี้ได้ ท่านก็จะเข้าใจ   
           เวลาคนเป้นทุกข์ เป็นสุข เป็นอุเบกขา เป็นตอนไหน ?
               อดีต  ปัจจุบัน อนาคต  คืออันไหน ?
           เวลาที่บรรลุธรรม เป็นตอนไหน ?
               อดีต  ปัจจุบัน อนาคต  คืออันไหน ?
           ท่านภาวนาตอนไหน
               อดีต  ปัจจุบัน อนาคต  คืออันไหน ?

           ดังนั้น เมื่อรู้ธรรม คือความเกิดขึ้น ก็ต้องรู้ธรรมที่เกิดขึ้นในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต
                  เมื่อรู้ธรรม คือความตั้งอยุ่ ก็ต้องรู้ธรรมที่ตั้งอยุ่ ในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต
                  เมื่อรูธรรม คือความดับไป(เสื่อมไป )ก็ต้องรู้ธรรมที่ดับไป ในปัจจุบัน และในอนาคต

         เห็นธรรม เห็นอะไร ......
         เข้าใจธรรม เช้าใจอะไร ......
         เมื่อจะละ  ละอะไร........ ละอย่างไร
         เมื่อพ้น  พ้นจากอะไร....... พ้นทำไม พ้นเพื่ออะไร.....

          ทั้งหมดก็เป็นคำถาม ทวนอริยสัจ 4 ที่เรียกว่า ปริวัฏ 3 มีอาการ 12

       เจริญธรรม / เจริญพร
     ;)