สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: inlove ที่ มิถุนายน 06, 2012, 03:03:05 pm



หัวข้อ: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: inlove ที่ มิถุนายน 06, 2012, 03:03:05 pm
รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขาบ้าง รู้สึกอิจฉาเขามากกว่า อนุโมทนา ทั้ง ๆ ที่ใจควรอนุโมทนา แต่มีความรู้่สึกด้านใน ว่า เราก็มีโอกาสกับเขา แต่ไม่ได้ร่วมไปกับเขา ทั้ง ๆ ที่อยู่ในฐานะที่ทำได้ รู้สึกอิจฉาคนอื่น ๆ ที่เขามีโอกาสและได้ไปทำบุญ กัน ฉลองพุทธชยันตี

   ส่วนตนเอง แค่นั่งอยู่กับบ้านดูทีวี กับแฟน นึกแล้วมันน่าโมโห ตัวเอง เลยใจไม่ค่อยปลื้มกับคนอื่นเพราะเหตุนี้ ควรวางจิตอย่างไร คะ จึงปรับจิตให้ถูกต้อง

    :s_good: :welcome: :17:
 


หัวข้อ: Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: catwoman ที่ มิถุนายน 06, 2012, 03:10:45 pm
สาเหตุรวม ๆ 2 กระทู้จึงบางอ้อ คิดว่า คนเรามีสิทธิ์คิดผิดพลาดได้นะคะ ถ้าชีิวิตยังไม่ิิสิ้นก็ยังมีโอกาสทำบุญกันอยู่คะ ไปวัดใกล้ ๆ บ้านแล้วสวดมนต์ปฏิบัติภาวนา สักวันก็ได้นะคะ

   :25:


หัวข้อ: Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: vichai ที่ มิถุนายน 06, 2012, 04:17:29 pm
นั่นต้องฝึกจิตใจ อนุโมทนา บุญกุศล บ้างครับ เป็นเพราะจิตไม่เคยฝึกแผ่ส่วนบุญ แผ่เมตตา บ่อย ๆ ครั้งแสดงว่าคุณเป็นคนเจ้าโทสะ ทำอะไรต้องให้ได้ดั่งใจโดยนิสัย ดังนั้น ต้องหมั่นฝึกภาวนา การแผ่เมตตา แผ่ส่วนบุญ บ่อย ๆ ครั้งครับ นานๆ ไปเมื่อธรรมรวมลงแล้ว ก็จะ กล่าว อนุโมทนา ได้อย่างไม่มีปัญหา

   ความอิจฉาริษยา มีในปุถุชน ครับ แต่ในผู้หมั่นภาวนา นั้นมีน้อยกับ ไม่มี ครับ

   เบื้องต้น ควรยกมือ จรดที่หน้าอก แล้วพูดว่า

   ข้าพเ้จ้า ขออนุโมทนา กุศล กับทุกท่านที่ได้สร้างบุญ สร้างกุศลด้วยคะ
  ข้าพเจ้าขอแสดงความยินดี ที่ทุกท่านได้สร้างกุศลความดี ด้วยกาย วาจา ใจ คะ
   ขอให้ข้าพเจ้า จงเป็นผู้มีความสุข เพราะความยินดีในความดี ของผู้อื่นด้วยคะ

    กล่าวสัก 3 จบ 7 จบ นะครับ


(http://www.madchima.net/images/246_card_25.jpg)


หัวข้อ: Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มิถุนายน 06, 2012, 05:31:58 pm
รู้สึกอิจฉา เห็นคนอื่นได้ไปทำบุญกันมา แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา รู้สึกอิจฉาเขามากกว่า อนุโมทนา ทั้ง ๆ ที่มีโอกาสไปทำบุญฉลองพุทธชยันตี ตนเองอยู่บ้านกับแฟน โมโหตัวเองเลยไม่ค่อยปลื้มกับคนอื่นเพราะเหตุนี้ คะ

(http://www.lovingcorner.com/diary1/images/20030817.4.jpg)

พลั้งเท้าราน้ำ

     คร้านหน่วงให้ถ่วงท้อ           เรือนเฝ้า
ใจหน่ายกิจล้าเศร้า                  ขุ่นคว้าง
พาลพลั้งพร่องหญิงเหย้า        งามล่ม นานาง
เพียรลุแก่คร้านอ้าง               อื่นผู้พลอยจม.


                                                        ธรรมธวัช.!
             


http://www.lovingcorner.com/diary1/20030817.html


หัวข้อ: Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: wayu ที่ มิถุนายน 06, 2012, 08:48:02 pm
อิจฉา เขา แล้วได้ อะไร ขึ้นมา

  นึกแต่กุศล อนุโมทนา สาธุ สาธุ สาธุ ไว้ครับ ภาวนา พุทโธ สาุธุ สลับกันไปเลยครับ ใจจะได้ไม่เศร้าหมองครับ

   :s_hi:


หัวข้อ: Re: รู้สึกอิจฉา เมื่อเห็นคนอื่น ได้ไปทำบุญกันมามากมาย แต่ตัวเราเองไม่ได้อย่างเขา
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ มิถุนายน 06, 2012, 10:10:37 pm
- การอนุโทนาจิต ในขณะจิตนั้นต้อง ทั้งก่อนและหลังอนุโมทนาต้องเป็น มุทิตาจิต คือ ยินดีกับเขาด้วยใจเมื่อเขาได้พบสุขได้ทำในสิ่งที่ดีงาม ซึ่งสภาพจิตนี้จะเกิดขึ้นได้คุณต้องมี กรุณาจิต นั่นก็คือ ความเอื้อเฟื้อแบ่งปันสุข อนุเคราะห์ให้แก่คนอื่นพ้นจากทุกข์ และ กรุณาจิตจะเกิดขึ้นได้นั้นคุณก็ต้องมี เมตตาจิต ความปารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุข แล้วจิตคุณจะเกิดอุเบกขาจิตขึ้นได้ง่าย

- ดังนั้นที่สำคัญแก่จิตคุณตอนนี้คือ เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต แก่ผู้อื่น แล้วสิ่งนี้จะส่งผลให้คุณไปถึงการมีทานจิตแก้ใจ คือการให้โดยไม่หวังสิ่งใดๆตอบแทน ให้แล้วไม่มานึกเสียดายหรือเสียใจในภายหลัง ให้เพื่อหวังให้ผู้รับได้ใช้ประโยชน์สุขจากการให้ของเรา

- แล้วจะทำอย่างไรให้มีเมตตาจิต เริ่มแรกคุณต้องเริ่มเรียนรู้ที่จะกระทำในสิ่งที่ไม่เบียดเบียนตนเองและคนอื่นทางกาย วาจา ใจ นั้นก็คือมี ศีล สมาธิ เป็นเบื้องต้น เริ่มรู้จักคิดดี พูดดี ทำดี
- เมื่อรู้สภาพจิตตนเองว่ามีความขุ่นข้องขัดเคืองใจ ให้ระลึกรู้ว่าอกุศลจิตได้เกิดแก่คุณแล้ว
- อย่างเช่น เรื่องราวที่คุณเล่ามานั้นมันคือความอิจฉา ซึ่งมาจากความสำคัญมั่นหมายที่คุณจดจำในสิ่งที่คุณมีความไม่พอใจยินดีแก่จิตตน นั่นเพราะคุณสำคัญแก่ใจไว้ว่าคุณพอใจยินดีที่จะได้กระทำแบบเขา พอใจที่จะได้ร่วมมีส่วนหนึ่งในการทำบุญนั้นๆ พอไม่เป็นไปตามที่คุณพอใจยินดี แล้วเห็นผู้อื่นทำได้ คุณก็เลยเกิดความขุ่นข้อง ขัดเคืองใจ เกิดเป็นความโมโห โทโส แก่จิตคุณ เกิดเป้นความอยากจะผลักให้สิ่งที่รับรู้เป็นไปนั้นหนีออกไกลจากคุณ
- ให้ละที่ความสำคัญมั่นหมายนั้นเสีย เพราะยิ่งเราสำคัญสิ่งใดมากก็ยิ่งตรึกถึง นึกถึง คำนึงถึงมาก ลองนึกดูไหมว่าสิ่งใดที่เราไม่ได้ให้ความสำคัญมัน สิ่งนั้นแม้เรามีอยู่ พบเจออยู่ก็ไม่ได้ใส่ใจอะไร ดังนั้นให้คิดเสียว่ามันไม่ได้มีความหมายอะไรกับเรา ยิ่งใส่ใจมันเราก็ยิ่งทุกข์ ตั้งจิตขึ้นเป็นเมตาทานเสีย จะเข้าถึงความมีใจกลางๆแก่สิ่งนั้นได้ด้วยความเป็นกุศลครับ