สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: เสริมสุข ที่ มิถุนายน 10, 2012, 08:14:28 pm



หัวข้อ: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสริมสุข ที่ มิถุนายน 10, 2012, 08:14:28 pm
ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
คือได้ปฏิบัติพระธรรมปีติมาเป็น เวลาปี กว่า ๆ แล้วครับ ก็ขึ้นอนุโลม และ ปฏิโลม แล้ว เข้าสะกดแล้วแต่ยังไม่ได้คำสั่งที่ให้ฝึกพระยุคลธรรมหก เลยครับ

  อยากทราบว่า มีเกณฑ์อย่างไรในการเข้าไปฝึก พระยุคลธรรมหก ด้วยครับ

  ขอบคุณมากครับ

   :c017:


หัวข้อ: Re: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ มิถุนายน 11, 2012, 09:32:03 am
หากต้องการผ่านไปปฏิบัติใน ห้องกรรมฐาน ต่อไปต้องแจ้งกรรมฐาน สอบกรรมฐานขึ้นอยู่กับครูอาจารย์ ว่าจะให้สอบอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะสอบการเข้าสะกด เข้าคืบ เข้าสับ เพื่อดูสภาวะ ที่สำคัญต้องตอบสภาวะได้ถูกต้องด้วยจึงจะได้เลื่อนขั้นไปฝึก ในขั้นต่อไป ขึ้นอยู่กับ ดุลย์พินิจ ของครูอาจารย์ กับการที่เราปฏิบัติได้คล่องแคล่วในห้องก่อนนั้นด้วย

  กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ พัฒนาไปตามลำดับ ถ้าไม่ผ่านก็ต้องฝึกตรงจุดนั้นต่อไป อย่าเบื่อหน่ายในส่วนนี้ ดังนั้น ท่านต้องการผ่านไปห้องต่อไป ก็ต้องมีความเพียรในการภาวนาในห้องนั้นให้คล่องแคล่ว นะจีะ

   เจริญพร  / เจริญธรรม


  ;)


หัวข้อ: Re: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: South ที่ มิถุนายน 27, 2012, 05:08:42 pm
ท่านก็ไปขออนุญาตเลื่อนไปปฏิบัติที่ห้องยุคล 6 กับ พระอาจารย์ ซิครับ เดี๋ยวพระอาจารย์ท่านก็บอกเองว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แต่ที่แน่ ๆ คือ จะมีกระบวนการเหมือนตอนที่เราๆ ไปขึ้นกรรมฐานกันครั้งแรกครับ คือต้องจัดถาด (ต้องขออภัยหากเรียกไม่ถูกต้อง) บูชาครู ซึ่งประกอบไปด้วย ดอกไม้ เทียน ข้าวตอก เป็นต้น นะครับ และพระอาจารย์ท่านก็จะทำพิธีในการเลื่อนห้องกรรมฐานให้ครับ


หัวข้อ: Re: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: drift-999 ที่ มิถุนายน 27, 2012, 06:44:39 pm
น่าจะยังไม่ง่าย นะครับ คือเลื่อนขั้นต้องปฏิบัติด้วยนะครับ ผมไปที่วัดราชสิทธาราม หลายเที่ยวแล้วหลวงพ่อพระครูก็ยังให้ปฏิบัติอยู่ที่เดิมเลยครับ คือถ้าแจ้งกรรมฐาน ไม่ผ่านก็ต้องซ้ำที่เก่า นะครับ ที่ไม่ผ่านก็คือปฏิบัติยังไม่ได้ ที่สำคัญ ส่วนพระลักษณะนั้นทำได้ แต่ ส่วนพระรัศมีนี่สิครับ ไม่ใช่เรื่องที่ทำได้ง่าย ๆ นะครับ

   :88:


หัวข้อ: Re: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: South ที่ มิถุนายน 28, 2012, 10:21:12 am
ก็จริงตามที่ท่าน DRIFT-999 บอกครับ เพราะตามประสบการณ์การปฏิบัติของผมเอง ผมใช้เวลาในการปฏิบัติองค์แรก ประมาณ 1 ปี จึงเห็นนิมิตองค์แรก เนื่องจากผมฝึกสมาธิในรูปแบบอื่นมาก่อน และสำหรับผมในการผ่านแต่ละองค์นั้น ก็ยากจริง ๆ บางครั้ังต้องรายงานกว่า 5 - 6 ครั้ง แต่ผมอาจจะโชคดีกว่าหลาย ๆ ท่านนิดนึง เนื่องจากผมทำงานอยู่ไม่ไกลจาก วัดราชสิทธารามมากนัก หากต้องการเข้าไปนั่งสมาธิหรือเรียนปรึกษาพระอาจารย์ผมก็สามารถเข้าไปที่วัดได้เมื่อผมต้องการ
สำหรับกรณีท่านเสริมสุขนั้นผมเข้าใจว่าท่าน เสริมสุข ได้ผ่านการปฏิบัติทั้งพระลักษณะและพระรัศมี รวมทั้งผ่านการเข้าลูกสะกดแล้ว จึงไม่น่าจะต้องมีกระบวนการใดอีกนอกจากการขออนุญาตพระอาจารย์ครับ


หัวข้อ: Re: ถ้าต้องการผ่านไปปฏิบัติห้องที่ 2 พระยุคลธรรม หก ต้องทำอย่างไรครับ
เริ่มหัวข้อโดย: arlogo ที่ กรกฎาคม 02, 2012, 10:28:57 am
(http://www.madchima.net/images/743_card_57.jpg)

  [๔๐]    กายปัสสัทธิ    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความสงบ    ความสงบระงับ    กิริยาที่สงบ    กิริยาที่สงบระงับ    ภาวะที่สงบระงับ
แห่งเวทนาขันธ์    สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายปัสสัทธิที่เกิด
ขึ้นในสมัยนั้น
  [๔๑]    จิตตปัสสัทธิ    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
        ความสงบ    ความสงบระงับ    กิริยาที่สงบ    กิริยาที่สงบระงับ    ภาวะที่สงบระงับ
แห่งวิญญาณขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตปัสสัทธิที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๒]    กายลหุตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความเบา    ความรวดเร็ว    ความไม่เชื่องช้า    ความไม่หนักแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๓]    จิตตลหุตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความเบา    ความรวดเร็ว    ความไม่เชื่องช้า    ความไม่หนักแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตลหุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๔]    กายมุทุตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความอ่อน    ภาวะที่อ่อน    ความไม่แข็ง    ความไม่กระด้างแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๕]    จิตตมุทุตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความอ่อน    ภาวะที่อ่อน    ความไม่แข็ง    ความไม่กระด้างแห่งวิญญาณขันธ์ใน
สมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตมุทุตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๖]    กายกัมมัญญตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความควรแก่การงาน    กิริยาที่ควรแก่การงาน    ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
เวทนาขันธ์    สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายกัมมัญญตาที่เกิดขึ้น
ในสมัยนั้น
            [๔๗]    จิตตกัมมัญญตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความควรแก่การงาน    กิริยาที่ควรแก่การงาน    ภาวะที่ควรแก่การงานแห่ง
วิญญาณขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตกัมมัญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๘]    กายปาคุญญตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความคล่องแคล่ว    กิริยาที่คล่องแคล่ว    ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๔๙]    จิตตปาคุญญตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความคล่องแคล่ว    กิริยาที่คล่องแคล่ว    ภาวะที่คล่องแคล่วแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตปาคุญญตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๕๐]    กายุชุกตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความตรง    กิริยาที่ตรง    ความไม่คด    ความไม่โค้ง    ความไม่งอแห่งเวทนาขันธ์
สัญญาขันธ์    และสังขารขันธ์    ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่ากายุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น
            [๕๑]    จิตตุชุกตา    ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น    เป็นไฉน
            ความตรง    กิริยาที่ตรง    ความไม่คด    ความไม่โค้ง    ความไม่งอแห่งวิญญาณขันธ์
ในสมัยนั้น    นี้ชื่อว่าจิตตุชุกตาที่เกิดขึ้นในสมัยนั้น


อ่านพระสูตรคำอธิบาย กันไปก่อนนะ จะมาจำแนกให้ฟังในคราต่อไป

 เจริญพร / เจริญธรรม


  ;)