หัวข้อ: ห่วงพระสงฆ์ 45% เป็นโรคอ้วน เหตุฉันอาหารไม่ถูกหลัก เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กรกฎาคม 30, 2012, 08:30:21 pm (http://www.thairath.co.th/media/content/2012/07/30/279947/hr1667/630.jpg) ห่วงพระสงฆ์ 45% เป็นโรคอ้วน เหตุฉันอาหารไม่ถูกหลัก วิจัยสุขภาวะสงฆ์ไทย ชี้พระสงฆ์เป็นโรคอ้วน 45% แถมโรคประจำตัวเพียบ ทั้งกระเพาะ เบาหวาน ความดัน เหตุบริโภคอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ ตะลึง พบอาหารถุงใส่บาตรปนเปื้อนโคลิฟอร์มเกือบร้อยละ 50… เมื่อวันที่ 30 ก.ค. ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีการแถลงข่าว “วิจัยสุขภาวะสงฆ์ไทย..ถวายอาหารเข้าพรรษาอย่างไร ให้อิ่มบุญ” โดย ดร.พินิจ ลาภธนานนท์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการศึกษาแนวทางการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดี โดยสัมภาษณ์เจาะลึกพระสงฆ์ 246 รูป ใน 11 จังหวัดทั่วประเทศ พบพฤติกรรมเสี่ยง โดยร้อยละ 43.1 มีพฤติกรรมสูบบุหรี่ เฉลี่ยวันละประมาณ 11 มวน ทั้งมีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วน ถึงร้อยละ 45 ทั้งนี้ โรคประจำตัวที่พบ คือ ภูมิแพ้กระเพาะอาหารและลำไส้ ความดันโลหิตสูง โรคทางตา เบาหวาน และกล้ามเนื้อกระดูกและข้อ (http://www.watnawaminusa.org/NMR_303.jpg) ส่วนสุขภาพทางจิต พบในพระอายุระหว่าง 20-35 ปี ในเขตเมืองใหญ่มีอาการนอนไม่หลับจากความเครียด และวิตกกังวลปัญหาส่วนตัว ปัญหาการเรียน ปัญหาครอบครัว อย่างไรก็ตาม ยังพบว่า พระสงฆ์มีลักษณะปัจเจกบุคคลสูง ไม่ค่อยพูดคุยแลกเปลี่ยนหรือปรึกษาหารือกัน และมิติสุขภาวะทางปัญญาพระสงฆ์เข้าใจปัญหาและจัดการอารมณ์ได้ค่อนข้างดีมาก ด้าน รศ.ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช อาจารย์คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า จากการวิจัยโครงการจัดการและแก้ไขปัญหาด้านอาหารและโภชนาการของพระภิกษุ สามเณร ทั้งนิกายธรรมยุตและมหานิกาย รวมถึงฆราวาสที่ใส่บาตร พบว่าพระสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะพระสงฆ์ที่สูงวัย เช่น น้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคเบาหวาน ที่น่าเป็นห่วงคือ การฉันน้ำปานะหลังเพล โดยเฉลี่ยวันละ 2 แก้วหรือ 2 กล่องขึ้นไป ซึ่งน้ำตาลในเครื่องดื่ม หรือน้ำผลไม้ในท้องตลาดทั่วไปมีน้ำตาลถึง 5-7 ช้อนชา หรือเท่ากับข้าว 2 ทัพพีต่อกล่อง อาจก่อให้เกิดภัยเงียบต่อสุขภาพได้ เช่น น้ำหนักเกิน และโรคเบาหวาน ขณะที่อาหารบรรจุถุงใส่บาตรพบว่าเน้นหนักแต่แป้ง คาร์โบไฮเดรต แต่มีปริมาณโปรตีนค่อนข้างน้อย ที่น่าตกใจ คือ จากการสุ่มอาหารที่จำหน่ายใส่บาตรจำนวนมากพบการปนเปื้อนโคลิฟอร์มเกือบร้อยละ 50 ของตัวอย่างทั้งหมด (http://www.thaimiss.com/wp-content/uploads/2011/10/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C%E0%B8%89%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3.jpg) "งานวิจัยนี้สะท้อนชัดว่าพระสงฆ์ในชุมชนเมือง เสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกินจำเป็น ต้องให้ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการ โดยขณะนี้กำลังผลิตสื่อให้ 3 กลุ่ม เพื่อให้ครบวงจร ได้แก่ 1.องค์ความรู้สำหรับพระสงฆ์ อาทิ คู่มือสูตรสงฆ์ไทยไกลโรค วีดิทัศน์สงฆ์ไทยไกลโรคปฏิทิน สุขเริ่มเมื่อเพิ่มก้าว โปรแกรมปานะปัญญา หรือ iPaana และประคดเอวรอบรู้ 2.องค์ความรู้สำหรับฆราวาส อาทิ คู่มือใส่ใจใส่บาตร และ 3.องค์ความรู้สำหรับผู้ค้าอาหารใส่บาตร อาทิ คู่มือจากครัวสู่บาตรโดยเผยแพร่ผ่านทางมหาเถรสมาคม และ มจร.เพื่อเป็นแนวทางดูแลโภชนาการพระสงฆ์ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป” รศ.ดร.จงจิตร กล่าว ขณะที่ ดร.พระมหาสุทิตย์ อาภากโร ผอ.สถาบันวิจัยพระพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย(มจร.) กล่าวว่า วันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษาที่จะถึงนี้ ประชาชนจะนำอาหารไปทำบุญกันมาก โดยนิยมนำอาหารที่เป็นสิริมงคล หรือที่ตนเองและผู้ล่วงลับชอบไปถวายพระสงฆ์ ส่วนใหญ่มีส่วนประกอบของกะทิและ น้ำตาล อาทิ แกงกะทิ ขนมทองหยอด ฝอยทอง เป็นต้น ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดโรคตามมาได้ ทั้งนี้ขอแนะนำฆารวาสว่า การตักบาตรทำบุญที่จะได้อานิสงส์สูงสุด ไม่ได้อยู่ที่ชื่อหรือประเภทอาหาร แต่ควรเป็นอาหารที่สะอาด ปลอดภัย หลีกเลี่ยงอาหาร หวาน เค็ม มัน และเผ็ดจัด นอกจากนี้ พระสงฆ์สามารถออกกำลังกายได้ ทั้งทางการออกบิณฑบาต และการทำความสะอาดลานวัด. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/edu/279947 (http://www.thairath.co.th/content/edu/279947) http://www.watnawaminusa.org/ (http://www.watnawaminusa.org/) http://www.thaimiss.com/ (http://www.thaimiss.com/) หัวข้อ: Re: ห่วงพระสงฆ์ 45% เป็นโรคอ้วน เหตุฉันอาหารไม่ถูกหลัก เริ่มหัวข้อโดย: นิรมิต ที่ กรกฎาคม 30, 2012, 09:11:53 pm เห็นด้วยครับ เรื่องนี้เห็นมีการรณรงค์ โดยสาธารณสุข โดยการจัดอบรมให้ความรู้กับพระเรื่องโภชนการ 5 ส ด้วยนะครับ ถ้าผมจำไม่ผิด ก็มีพระคุณเจ้าเข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมากนะครับ น่าจะสบายใจได้นะครับ ว่าสมัยนี้ พระท่านก็มีความระมัดระวัง กันเพิ่มขึ้นด้วยนะครับ
:coffee2: :coffee2: :coffee2: :c017: :25: |