หัวข้อ: “คู่ต่างขั้ว” แต่ทำไมรักยืดยาว.? เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ สิงหาคม 07, 2012, 11:58:35 am (http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/148065.jpg) “คู่ต่างขั้ว” แต่ทำไมรักยืดยาว.? ว่ากันว่า “คู่รัก” ไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกเรื่อง แล้วอะไรทำให้ 2 คนนิสัยต่าง สามารถร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้ยืดยาว? อาจารย์หยกฟ้า อิศรานนท์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาจิตวิทยาสังคม คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า มีงานวิจัยต่างประเทศได้มีการทำสำรวจ จากสถิติการหย่าซึ่งเพิ่มมากขึ้น โดยเปรียบเทียบว่าแต่งงานวัยไหนหย่าเร็วกว่ากัน ก็พบว่า คนที่แต่งงานก่อนอายุ 20 มีเปอร์เซ็นต์ที่จะหย่าสูงกว่าคนที่แต่งงานหลังจากอายุ 20 ซึ่งก็เป็นไปได้ในด้านของประสบการณ์ชีวิตที่ตอนเด็ก ๆ อาจจะเจอคนไม่เยอะ มีประสบการณ์ชีวิตไม่มาก ทำให้การตัดสินใจผิดพลาดไป แต่เมื่อรออีกสักพักหนึ่ง เจอประสบการณ์ เจอคนมากขึ้น ลองผิดลองถูก เห็นประสบการณ์จากคนอื่น ๆ เกิดการเรียนรู้ บางทีก็ช่วยให้ค่อย ๆ ตัดสินใจได้ดีขึ้น สำหรับคู่รักที่อยู่ด้วยกันไปได้ยาว ๆ มักจะมีความเหมือน หรือ ความสอดคล้องกันในอะไรบางอย่างตรงกลาง จะเห็นว่าหลาย ๆ คู่ที่นิสัยไม่เหมือนกัน แต่ทำไมอยู่กันได้ยาว กระทั่งเป็นคุณตาคุณยาย คุณตาอารมณ์ร้อนมาก คุณยายใจเย็นมาก ความคิดก็ไม่เหมือนกัน แต่เขามีบางอย่างที่เหมือนกัน อาจารย์หยกฟ้า กล่าวว่า คู่รักที่จะอยู่ด้วยกันได้ยาว ๆ ถึงแม้จะมีความแตกต่าง แต่ควรจะมีความเหมือนกันตรงกลาง ความเหมือนกันตรงนี้อาจจะเป็นค่านิยม หรือ อะไรบางอย่างที่ต่างฝ่ายต่างรู้สึกว่าเป็นค่านิยมหลักสำคัญของชีวิต สมมติค่านิยมเรื่องการใช้ชีวิตแบบหัวโบราณ ถ้าคนหนึ่งหัวโบราณมาก ๆ อีกคนหนึ่งหัวเสรีมาก ๆ หัวนอกมาก ๆ อยู่ด้วยกันไปก็อาจจะอยู่ด้วยกันไม่ยืด ถ้าอันนี้คือสิ่งที่ทั้งคู่รู้สึกว่าเป็นหลักสำคัญของชีวิต “แต่หากเรื่องดังกล่าว ไม่ใช่สิ่งสำคัญของชีวิต เขาก็อยู่ได้ ถ้าสิ่งสำคัญของชีวิตคือเรื่องอื่น ซึ่งเป็นแกนกลาง และกาวใจยึดให้อยู่ด้วยกันได้ เช่น มีทัศนะคติเรื่องนั้นเรื่องนี้เหมือนกัน หรือ รักโลกเหมือนกัน เป็นต้น” เป็น “รักลงตัว” รูปแบบหนึ่ง ของใครหลาย ๆ คน. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.dailynews.co.th/article/15176/148065 (http://www.dailynews.co.th/article/15176/148065) |