สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

กรรมฐาน มัชฌิมา => ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน => ข้อความที่เริ่มโดย: นินนินนิน ที่ กันยายน 02, 2012, 01:24:23 pm



หัวข้อ: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นินนินนิน ที่ กันยายน 02, 2012, 01:24:23 pm
สงสัยอยู่ ว่า เมื่อเราภาวนา ก็พยายาม บีบจิตให้มองเห็นภาพ ตามฐานจิตต่าง ๆ ใช่หรือไม่ครับ การเห็นอย่างนี้จะเห็นเป็นภาพต่าง ๆ เหมือนกับที่เราหลับตามองเห็นภาพในใจใช่หรือไม่ครับ

 การเห็นอย่างนี้เป็นการเห็น แบบ รวมความคิดใช่หรือไม่ครับ
 การใช่สมาธิ เป็นการรวมความคิด ให้เห็นภาพใช่หรือไม่ครับ

   :c017: :c017: :c017:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: เสกสรรค์ ที่ กันยายน 05, 2012, 07:57:10 am
การบีบจิตเป็นความเครียดนะครับ แต่การรวมจิต โดยการภาวนา พุทโธ นั้นเป็นเรื่องที่สบายๆ ๆ บางครั้งสบายจนหลับนะครับ ส่วนการบีบจิต เป็นการเพิ่มระดับความเครียดนะครับ

  :67: :s_hi:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: แพนด้า ที่ กันยายน 05, 2012, 11:44:02 am
อาจจะคำไม่ถูก แต่การภาวนา นั้นก็น่าจะเป็น บีบจิต รวมจิต นึกนิมิต ให้เห็นเป็นมโนภาพ เหมือนกับที่เรานึกภาพในฝัน ใช่หรือไม่ครับ

  :25: :s_hi:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: nopporn ที่ กันยายน 09, 2012, 07:16:21 am
การสร้าง วิตก เจริญ วิจาร นั้น ไม่ใช่การบีบจิต แต่เป็นการสำรวมให้จิตเป็นอันเดียวกันกับอารมณ์ ภาวนาครับฝึกแบบสบาย สบาย สบาย จิตก็จะไม่รัดตรึงนะครับ

   :25: :25: :25:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: VongoleX ที่ กันยายน 16, 2012, 05:16:01 pm
เรื่องนี้พระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบนะครับ

  :49: :c017:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 18, 2012, 10:45:54 am
เรื่องนี้พระอาจารย์ ยังไม่ได้ตอบนะครับ


  ก็ขออภัยทุกท่าน หากเรื่องยังไม่ได้ตอบ ก็ช่วยกันอ้างกลับมาด้วยเพราะอาจจะหลุดไปอยู่หน้าที่ลึก ๆ แล้วก็จะไม่ได้ย้อนไปอ่านอีก


ปุจฉา
   การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
   
วิสัชชนา
   
   การเห็นในกรรมฐาน ไม่ใช่ มโนภาพ แต่เป็น นิมิต การเห็น มโนภาพนั้น อาศัยการนึกคิด ขึ้นมาตามวิสัยปุถุชชน จึงจะเห็นได้เช่น เราอยากเห็นหน้าคนรัก ก็นึกถึงหน้าคนรัก อย่างนี้เป็นต้น อันนี้เป็น มโนภาพ ที่เกิดขึ้นได้ตามที่นึกขึ้นมา นะจ๊ะ

   แต่การเห็นในกรรมฐาน นั้นเกิดจากการ ที่ตั้งองค์ วิตก ( คำภาวนา ) วิจาร คือ ความเพียรรวมกำลัง จนกระทั่งภาพที่ปรากฏเกิดขึ้นในใจนั้น เด่นชัดด้วยอำนาจกรรมฐาน เรียกว่า นิมิต มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลตั้งแต่ อุคคหนิมิต ขึ้นไป

   นิมิต ไม่ได้เกิดจากการนึกคิด แต่เกิดได้จากการภาวนา ด้วยการรวมจิต
   นิมิต เมื่อได้แล้วก็จะปรากฏ อยู่ อย่างนั้น จนกว่าเราจะเสือมจากสมาบัติ
   นิมิต เกิดแล้วมีอยู่ ตามสภาวะ สมาธิ ของผู้ภาวนา

  ดังนั้น มโนภาพ กับ นิมิต จึงเป็นคนละเรื่องกัน

  เจริญธรรม / เจริญพร

   ;)   


   


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: samapol ที่ กันยายน 19, 2012, 12:03:07 am
คำตอบของพระอาจารย์ เกินความคาดหมายของผมจริง ๆ ครับ ผมเองต้องศึกษาอีกมากเลยครับ เรื่องกรรมฐาน ขอบคุณครับที่ให้คำอธิบาย เพิ่มเติมครับ

  :c017: :25:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: Admax ที่ กันยายน 19, 2012, 09:00:54 am
สาธุครับพระอาจารย์ทำให้ผมเข้าใจมากขึ้นเป็นประโยชน์อย่างมากครับ


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ กันยายน 20, 2012, 12:45:06 am
พระอาจารย์ อธิบายได้เข้าใจง่าย มากครับ หักมุมที่ผมเคยคิดไว้ก่อนเลยครับ
 :c017: :25:


หัวข้อ: Re: การเห็นในกรรมฐาน คือการเห็น มโนภาพ ใช่หรือไม่ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: keyspirit ที่ กันยายน 28, 2012, 02:58:08 pm
อธิบายเชิงวิทยาศาสตร์อาจจะยากหน่อย แต่อธิบายตามหลักของวิทยาศาสตร์น่าจะพอไหว
คือ ใช้การสังเกตจากสิ่งรอบตัว จากสิ่งที่มีอยู่แล้ว ใช้การเทียบเคียงและการวิเคราะห์
รวมไปถึงการกระทำในเชิงปฏิบัติการ

คำถามแรก คือ เราสามารถเห็นภาพในจิตได้จริง ๆ หรือ
คำตอบคือ เราสามารถเห็นได้ และเราก็ทำอยู่เป็นปกติในชีวิตประจำวัน
ทดลองโดย ให้เราหลับตาและนึกภาพอะไรสักอย่างขึ้นมา
เช่น หน้าจอที่เราเพิ่งจะมองเมื่อกี้นี้ เรารู้ได้ไหมว่าภาพที่เรานึกขึ้นมาคือภาพอะไร
รูปร่างอย่างไร มีสีอะไร แม้ว่าเราหลับตา แต่เราก็เห็นภาพในใจได้อย่างนี้

เพียงแต่ว่า ภาพในใจนั้น ไม่ชัดเหมือนกับลืมตาเห็น เพราะว่าเรายังไม่เคยฝึก
แม้ที่สุดแล้วคนที่นึกภาพอะไรในใจไม่ออกเลย ก็ยังรู้ว่า "มันเป็นสีดำ"

คำถามสอง คือ ภาพในใจนั้น เราสามารถเห็นชัดหรือพอจะเป็นสาระได้บ้างไหม
คำตอบคือ หากใครเคยนอนหลับและฝัน เราจะเห็นเลยว่า ความฝันนั้น
บางครั้งก็แสดงถึงสิ่งที่อยู่ในใจของเราเอง บางครั้งก็แสดงถึงสิ่งที่เราไม่เคยนึกถึง
บางครั้งก็แสดงถึงสิ่งที่ปกติแล้วเราไม่เคยพบเจอหรือไม่เคยคิดว่าจะเป็นไปได้
อย่างเช่น ผมเคยฝันว่าผมแต่งเพลง พอตื่นมายังจำเนื้อเพลงได้ แถมยังเป็นเพลงที่เพราะมากด้วย
ซึ่งในชีวิตจริงแทบเป็นไปไม่ได้เลย เพราะไม่รู้ว่าจะเรียบเรียงทำนองอย่างไร
แต่ความฝันมักจะลืมง่าย หากไม่จด ไม่พยายามจำ ไม่บันทึก มักจะลืมไปอย่างรวดเร็ว

หรือบางคราว ความฝันนั้นก็ปรากฏเหมือนความจริง คือ เหตุการณ์ความรู้สึกเหมือนจริงมาก
ตื่นขึ้นมายังสงสัยว่าฝันไปแน่หรือ เพราะเหมือนจริงมาก ๆ หากใครเคยเป็นแบบนี้
ก็จะเข้าใจได้ไม่ยาก ว่าภาพที่ปรากฏในใจโดยไม่ผ่านสายตานั้น สามารถชัดเจนได้
เสมือนว่าเป็นความจริงเลยทีเดียว ที่สำคัญ ไม่ใช่แค่ภาพ แต่ความรู้สึกทั้งหลาย
เช่น เสียง กลิ่น รส สัมผัส ก็ยังอาจจะรู้สึกได้เหมือนกับเราไปเผชิญเหตุการณ์นั้นมาจริง ๆ เลยด้วย

คำถามถัดไปคือ แล้วสิ่งที่รับรู้ได้ด้วยจิตเหล่านี้ จะมีอยู่จริงหรือ
คำตอบคือ สิ่งที่เราเห็นด้วยจิตนั้น มีอยู่จริงทั้งหมด เพียงแต่จะเป็นจริงในแง่ไหน
เช่น เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในใจของเรา คือ เกิดจากความคิดของเราเอง ทำให้เราเห็นภาพความคิดของตัวเอง
หรือ เกิดจากเหตุอื่น ๆ ที่ใจเราสามารถไปรับรู้ได้เพราะว่าคลื่นตรงกัน
เหมือนวิทยุที่เราปรับคลื่นไปมาแล้วบังเอิญไปเจอคลื่นต่าง ๆ ที่มีคนส่งออกมานั่นเอง

คนบางคนฝันแล้วก็มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงตามที่ฝัน แม้ว่าจะมีน้อยแต่ก็มีคนเป็นเช่นนี้
เพราะว่าเหตุของความฝันมีหลายอย่าง ความคิดเราก็ส่วนหนึ่ง เหตุภายนอกก็ส่วนหนึ่ง
สำคัญแต่ว่า ใจของเรานั้นมีประสิทธิภาพพอที่จะรับรู้ได้แค่ไหน

เราเกิดมาพร้อมกับร่างกายที่ไม่ได้เอื้ออำนวยต่อการมองเห็นด้วยจิต ถูกปิดบัง
ถูกอำพรางไว้ ด้วยเลือด น้ำเหลือง เส้นเอ็น ไขมัน ฯลฯ ซึ่งเป็นของหยาบ
แต่ว่าจิตเป็นของละเอียดอ่อน แต่จากที่กล่าวแล้ว นั่นแสดงว่า จิตมีความสามารถในการเห็นอยู่แล้ว
แม้ว่าจะไม่ได้อาศัยกายหยาบ กายหยาบนั้นทำหน้าที่เพียงส่งผ่านภาพหยาบ ๆ ไปให้จิตเท่านั้น

ต่อเมื่อใดที่เราได้ฝึกฝนจิตใจตามวิธีการที่ถูกต้อง ก็จะทำให้จิตใจมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
อ่อนโยนขึ้น นุ่มนวลขึ้น สงบขึ้น ซึ่งเป็นสภาวะที่จิตใจจะมีประสิทธิภาพสูงสุด
ทำให้ภาพที่เราเคยเห็นไม่ชัดนั้น ชัดขึ้น ไม่ว่าภาพนั้นจะเกิดขึ้นเพราะความคิดของเราเอง
หรือเกิดขึ้นเพราะเหตุภายนอกใด ๆ ก็ตาม ซึ่งเราเรียกว่า มีจักษุเกิดขึ้น

เพราะว่าจิตมีความละเอียดอ่อน จิตจึงสามารถเห็นสิ่งที่ละเอียดเท่าเทียมกับจิตได้
ไม่ว่าจะเป็นความคิดของเราเอง ความคิดของผู้อื่น หรือสิ่งที่เป็นธาตุละเอียด
ภพภูมิละเอียด เมื่อเราฝึกทำสมาธิใหม่ ๆ จิตก็ยังตั้งมั่นไม่เพียงพอ กิเลสก็ยังหนา
แต่ว่าจิตเริ่มจะปรับตัว จึงเห็นนิมิตเกิดขึ้น และเพราะใจยังไม่บริสุทธิ์เพียงพอ
นิมิตที่เห็นจึงไม่ชัดบ้าง ไม่ตรงกับความจริงบ้าง มีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนบ้าง
ในขณะที่จิตของผู้ไม่มีกิเลสเห็นอะไรก็ตรงกับความจริงทั้งหมดและเข้าใจได้อย่างถูกต้อง

ที่สำคัญ ไม่ว่าจะการเห็นหรือความเข้าใจ ก็ย่อมมีลำดับขั้นของมัน
การที่เราเห็น การที่เราเกิดความเข้าใจในธรรมซึ่งไม่เคยเกิดมาก่อน
แล้วเข้าไปยึดถือ เข้าไปทำความสำคัญทั้ง ๆ ที่ใจยังไม่บริสุทธิ์เต็มที่
จะทำให้เราพลาดโอกาสแห่งการบรรลุมรรคผล ซึ่งเป็นเป้าหมายที่แท้จริง
เพราะว่าแม้จะเป็นนิมิตขั้นต้น ความชัดเจนของการเห็นและขอบเขตการเห็น
ก็ยังมากกว่าการเห็นด้วยตาอยู่ดี คือ สามารถเห็นเทวดา นรก สวรรค์ได้
แม้ว่าจะเป็นเพียงนิมิตขั้นต้น แต่ว่าเห็นผิดเพี้ยนไปหมด เหมือนคนที่มองผ่านแว่นดำ
มองผ่านเลนส์นูนเลนส์เว้า หรือเหมือนคนที่หูตึง หูเพี้ยน ที่ฟังอะไรก็ได้ยิน แต่เพี้ยนไปหมด เป็นต้น

อย่างไรก็ดี หากอยากทำความเข้าใจเรื่องนิมิตมากขึ้น
เมื่อเราศึกษาถึงวิธีการและเป้าหมายของการทำสมาธิเป็นอย่างดีแล้ว
การลองปฏิบัติดูจะทำให้เข้าใจง่ายที่สุด เพราะหากเราตั้งใจจริง ๆ ทำอย่างต่อเนื่อง
ผลที่เกิดขึ้นเป็นปัจจัตตัง คือรู้ได้ด้วยตน ก็จะเกิดขึ้นกับเราได้ไม่นานเลย

จากคุณ    : พักผ่อน


(http://new.goosiam.com/variety/admin/my_documents/my_pictures/A6A_u49.jpg)