สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กันยายน 20, 2012, 11:28:18 am



หัวข้อ: การทำบุญมีความเสี่ยง.! "โปรดใช้วิจารณญาณ"..ก่อนทำบุญ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กันยายน 20, 2012, 11:28:18 am
(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/09/18/686a5989khkfga6bda87a.jpg)


โปรดทราบ..การทำบุญมีความเสี่ยง!
การทำบุญมีความเสี่ยง! "โปรด"...ใช้วิจารณญาณก่อนทำบุญ : เรื่องและภาพ ไตรเทพ ไกรงู

      คำว่า “บุญกริยาวัตถุ” แปลว่า “วิธีการทำบุญ เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าเป็นบุญ และจะได้รับผลเป็นความสุข” สรุปโดยย่อมี ๓ ประการ คือ ๑.ทานมัย หมายถึง การให้ทาน ๒.ศีลมัย หมายถึง การรักษาศีล และ ๓.ภาวนามัย หมายถึง การอบรมจิตใจ
     
       “ทานมัย” เป็นการทำบุญของพุทธศาสนิกชนคนไทยเราส่วนใหญ่ที่ได้ยึดถือปฏิบัติกันเป็นขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ การทำบุญในวันพระวันโกน วันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่น วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา ออกพรรษา ฯลฯ เทศกาลวันขึ้นปีใหม่ เทศกาลกินเจ เป็นต้น
     
       ในอดีตการทำบุญตักบาตรพระพุทธศาสนิกชนจะเชื่ออย่างสนิทในว่า “ได้บุญ” แต่วันนี้” ด้วยเหตุที่มีกลุ่มคนที่ไม่มีความละอาย หรือที่เรียกว่า "อลัชชี" หันมายึดผ้าเหลืองสวมจีวรบังหน้าเพื่อหาผลประโยชน์ให้ตัวเอง “คนที่โกนหัวห่มเหลืองไม่ได้หมายความว่าจะเป็นพระเสมอไป พระที่ยืนหรือนั่งปักหลักบิณฑบาตมาตรวจสอบว่าเป็นพระจริงหรือพระปลอมไม่ง่ายนัก"
     
       ที่ซ้ำร้ายและเป็นการหากินบนความศรัทธา คือ แม่ค้าบางรายที่ขายของทำบุญใส่บาตรมีส่วนรู้เห็นต่อพฤติกรรมหลอกลวงประชาชน เพราะพระที่ยืนบิณฑบาตอยู่อาจเป็นสามี หรือญาติของแม่ค้านั่นเอง เมื่อพระรับของใส่บาตรแล้วก็เวียนเทียนอาหารไปขายใหม่
     
       โยมท่านใดที่จะทำบุญตักบาตรพระ ถ้าเห็นพระนั่งอยู่กับเก้าอี้ก็ดี อย่าไปใส่บาตรเลย พระเวลาบิณฑบาตจะต้องเดินตามลำดับ ไม่ยืนที่ใดที่หนึ่งประจำ หรือมีพระยืนรออยู่ มีโยมยืนอยู่การนั่งผิดแน่นอน ไม่ถูกหลักพระวินัย ปัจจุบันก็มีนั่งอยู่ พระพุทธองค์เคยสอนไว้ เวลาให้ทานต้องเลือกให้ เลือกให้แก่บุคคลที่ควรให้มันจึงจะได้บุญ”
     
       นี่เป็นคำแนะนำของพระรัตนเมธี เจ้าอาวาสวัดแก้วฟ้าจุฬามณี เจ้าคณะเขตบางซื่อ และหัวหน้าพระวินยาธิการ (ตำรวจพระ) คณะสงฆ์กรุงเทพมหานคร  พร้อมกันนี้ท่านได้มีคำแนะนำไม่ให้ญาติโยมใส่บาตรพระกับพระที่ไม่น่าเลื่อมใสไว้ ๗ ประการ คือ   
       ๑. ย่ามใหญ่ ซึ่งภายในย่ามอาจมีผ้าขนหนู เสื้อผ้า สบู่ ยาสีฟัน อย่างครบคันรวมอยู่ในย่าม
       ๒.จีวรไม่สะอาด เพราะต้องนอนตามสถานีรถไฟ
       ๓.มีบาตรและกลดพระติดตัวในย่านชุมชนเมือง ซึ่งกิจของพระธุดงค์ต้องเดินห่างจากชุมชนเมือง ๒๕ กม.เป็นการเดินในป่าไม่ใช่ในเมือง
       ๔.นอนมั่วทุกแห่ง
       ๕.แหล่งที่พักไม่แน่นอน
       ๖.สัญจรอยู่ตลอดเวลา และ
       ๗.อธิษฐานพรรษาไม่ถูก ไม่มีใบสุทธิ
     
“อย่าได้หลงบุญ บ้าบุญ จนทำให้เกิดความทุกข์กับตน แต่ให้ทำบุญให้เกิดคุณ โดยไม่ไปทำลายความดีของบุญ”
     


(http://www.fisho.com/blog/rat/image/7821_2.jpg)


       นี่เป็นคำพูดของ “หลวงพ่อพุทธทาส” ที่เคยเทศน์สอนเรื่องการทำบุญ ที่พระพิศาลธรรมพาที หรือ พระพยอม กัลยาโณ พระนักเทศน์ชื่อดังแห่งวัดสวนแก้ว หยิบยกขึ้นมาเป็นข้อคิดสำหรับการทำบุญ พ้อมกับอธิบายให้ฟังว่า
     
       หลวงพ่อพุทธทาส หมายความว่า ถ้าจะทำบุญก็ให้ทำด้วยความพอดี
       อย่าทำบุญแล้วต้องพาชีวิตเศร้า เพราะทำกันจนหมดเนื้อหมดตัว
       บางสำนักมักเชิญชวนให้ญาติโยมทำบุญครั้งละมากๆ โดยบอกว่ายิ่งทำมากยิ่งได้มาก
       ส่วนญาติโยมพอได้ยินก็พากันทุ่มมากมาย บางคนทำเป็นล้าน

       ฟังแล้วรู้สึกสะเทือนใจที่ญาติโยมขาดความเข้าใจในเรื่องการทำบุญ เพราะหวังว่ายิ่งทำมากเงินทองก็จะกลับมาหรือได้บุญมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิด เพราะการทำบุญในพุทธศาสนานั้นเน้นจิตศรัทธา ไม่ใช่จำนวน
     
       การทำบุญเป็นสิ่งที่ดีและพึงกระทำ แต่ควรทำให้สมกับฐานะ อย่าทำบุญด้วยความเชื่อที่ว่าทำมากๆจะได้บุญมาก จนกลายเป็นการทำบุญที่มีเท่าไร ก็ทำบุญหมด อันนี้ไม่ถูกใครจะมาทำบุญที่วัดสวนแก้วอาตมาไม่เคยบอกให้ทำกันมากๆ

       ส่วนเงินที่ญาติโยมทำบุญมาวัดจะนำมาเป็นกองทุนไว้ช่วยเหลือคนยากจนต่อไป รวมทั้งคนที่หมดตัวเพราะการทำบุญอาตมาก็ช่วย ซึ่งช่วยมาแล้วหลายคน หรือจะเรียกว่าเป็นกองทุนช่วยเหลือนักบุญยามตกอับก็น่าจะได้
     
       ทั้งนี้ พระพะยอมพูดทิ้งท้ายไว้อย่างน่าคิดว่า
       “การทำบุญเป็นเรื่องของศรัทธาที่ต้องบวกด้วยปัญญา อย่ายึดการทำบุญในแบบโฆษณาชวนเชื่อว่าทำมากจะได้มาก เรื่องบุญจึงเป็นเรื่องเดียวกันที่ต้องเข้าใจว่าไม่ใช่การทำบุญโดยยึดปริมาณมากกว่าแล้วจะได้ผลบุญมากตาม
      ถ้าทำอย่างนั้นน่าจะเรียกได้ว่าเอาบุญมากลบปัญญา การทำบุญยังต้องทำแบบสายกลาง คือ
      ต้องไม่ทำแบบทุ่มสุดตัว มีเท่าไรทำบุญหมดคงไม่ได้ เพราะชีวิตเราต้องกินต้องใช้ในเรื่องอื่นด้วย”


ขอบคุณบทความและภาพจาก
www.komchadluek.net/detail/20120919/140366/โปรดทราบ..การทำบุญมีความเสี่ยง!.html#.UFqW3qDvolh (http://www.komchadluek.net/detail/20120919/140366/โปรดทราบ..การทำบุญมีความเสี่ยง!.html#.UFqW3qDvolh)