หัวข้อ: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง เริ่มหัวข้อโดย: prayong ที่ ตุลาคม 22, 2012, 01:42:05 am สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง
คือสงสัยมาก ๆ ครับว่า พระสงฆ์ท่านรู้ได้อย่างไร ว่าตอนนี้เพล ตอนนี้เที่ยง เพราะไม่มีนาฬิกาให้ดูกัน ช่วยแจกความรู้หน่อยครับ ด้วยความสงสัย :25: :c017: หัวข้อ: Re: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 25, 2012, 10:05:50 am (http://naka24hours.files.wordpress.com/2012/08/untitled.jpg?w=779&h=230) รู้หรือไม่ "สมัยก่อนที่ยังไม่มีนาฬิกา เขาดูเวลากันอย่างไร" เดิมทีเดียวการบอกเวลาอาศัยปรากฏการณ์จากธรรมชาติดังเช่นระยะเวลาหนึ่งวันกำหนดจากการที่โลกหมุนรอบตัวเองครบหนึ่งรอบ โดยสังเกตจากดวงอาทิตย์โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าด้านตะวันออก เคลื่อนตัวสูงขึ้นสู่ท้องฟ้าเรื่อย ๆ จนเลยลับขอบฟ้าด้านตะวันตก แล้วจึงโผล่ขึ้นมาใหม่ เป็นอันครบรอบนับเวลาได้หนึ่งวัน คนสมัยก่อนจึงรู้เวลาด้วยการสังเกตตำแหน่งต่าง ๆ ของดวงอาทิตย์บนท้องฟ้า ซึ่งบอกเวลาเช้า สาย เที่ยง บ่าย เย็น ต่อมามนุษย์เริ่มรู้จักประดิษฐ์นาฬิกาขึ้นใช้ เชื่อกันว่า นาฬิกาแดดเป็นวิธีจับเวลายุคแรกสุดของโลกแบบหนึ่ง มีใช้มานานกว่า ๕,๐๐๐ ปีแล้วในอียิปต์ เงาของแสงแดดที่ส่องต้องแผ่นโลหะบนหน้าปัด จะเคลื่อนตัวไปอย่างช้า ๆ รอบหน้าปัดตัวเลขแต่ละชั่วโมง เวลาจะเปลี่ยนไปตามเงาแดดซึ่งเคลื่อนที่นั้น (https://cmmqsw.bay.livefilestore.com/y1mZ5DCLdlhnGv4s4_jrcMeKGPDhGKZBWFN_RsBg63kxonPh62Idact3qR96CTebITQ1rww2RWsfCl7FuVWacVCmGV5YhWqcvz3ULhu5UWcatZAyqKoSEn2d_Rmlxg1kfUeC12SPR3e3_I/sand250.jpg) ในระยะเวลาใกล้เคียงกันนี้ ยังมีนาฬิกาทราย และนาฬิกาน้ำ เชื่อว่าทุกคนคงเคยเห็นนาฬิกาทรายมาแล้ว คงไม่ต้องอธิบายซ้ำ ส่วนนาฬิกาน้ำนั้น หลักการทำงานคือ น้ำจะไหลเข้าและออกจากถัง ระดับน้ำที่เปลี่ยนแปลงหรือทุ่นที่ลอยขึ้นลงจะแสดงเวลาที่เปลี่ยนไป นาฬิกาน้ำของจีนมีใช้มาตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๔ อุปกรณ์จับเวลาที่เป็นจักรกลเกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ ๑๕-๑๗ โดยการประดิษฐ์ลานและลูกตุ้มนาฬิกาให้ทำหน้าที่หมุนเฟืองนาฬิกา นาฬิกาจักรกลที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้จะมีเข็มบอกเวลาบนหน้าปัดตัวเลข และทำให้มีขนาดเล็กลงจนสามารถพกติดตัวได้ ปัจจุบันนาฬิกาแขวนหรือตั้งกับที่และนาฬิกาพกจำนวนมากเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาศัยการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอของผลึกควอตช์มาจับเวลาได้อย่างแม่นยำ “ข้อมูลสนับสนุนจากหนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม / สำนักพิมพ์สารคดี” ที่มา http://writer.dek-d.com/AngelTVXQ/writer/viewlongc.php?id=438525&chapter=136 (http://writer.dek-d.com/AngelTVXQ/writer/viewlongc.php?id=438525&chapter=136) ขอบคุณภาพจาก http://naka24hours.files.wordpress.com/,https://cmmqsw.bay.livefilestore.com/ (http://naka24hours.files.wordpress.com/,https://cmmqsw.bay.livefilestore.com/) หัวข้อ: Re: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 25, 2012, 10:26:01 am (http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/278/20278/images/1011.jpg) นับเวลาแบบไทย หยุดเขียนไปหลายวันเพราะหดหู่เศร้าใจกับความเป็นไปของสถานการณ์บ้านเมืองจนหมดสิ้นเรี่ยวแรง วันนี้เลยขอต่อเรื่องการนับเวลาแบบไทย ๆ ที่เขียนค้างไว้ให้จบ.... คติไทยสมัยก่อน (หรืออาจจะรวมถึงสมัยนี้ด้วย) นิยมอะไรที่ “ง่ายไว้ก่อน พ่อสอนไว้” จนดูเหมือนจะกลายเป็นค่านิยมทางวัฒนธรรมแบบหนึ่งของไทยเราไปแล้ว แม้แต่ภาษาไทยของเราเองก็ดูจะไม่เว้นเช่นกัน เพราะนับตั้งแต่สมัยแรกกำเนิดภาษาไทยก็นิยมใช้คำโดดหรือคำที่ออกเสียงพยางค์เดียวในการสื่อความหมายอยู่แล้วเช่น ฉัน,รัก, แม่...ฯลฯ จนกระทั่งต่อมาระยะหลังนั่นแหละ ถึงเริ่มมีการใช้คำควบหรือคำประสมตามอิทธิพลที่ได้รับมาจากภาษาบาลี-สันสกฤตรวมทั้งภาษาในตระกูลมอญ-เขมรเพิ่มเติมเข้ามา ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่เราจะกำหนดนับเวลาตามสิ่งที่เห็นและรู้สึกได้ในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นคำว่า “โมง” และ “ทุ่ม”อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกเวลาช่วงกลางวันและกลางคืน ก็มาจากเสียงย่ำฆ้องและกลองที่ทางวัดใช้ตีบอกเวลาในแต่ละชั่วโมงของวันนั่นเอง เนื่องจากสมัยก่อนนาฬิกามักมีใช้เฉพาะภายในวัดเท่านั้น ชาวบ้านจึงต้องอาศัยเสียงสัญญาณกลองและฆ้องที่ดังมาจากวัดเป็นหลัก บ้างที่อยู่ห่างไกลออกไปจนไม่ได้ยินแม้แต่เสียงย่ำกลองก็ต้องใช้วิธีฟังเสียงปืนใหญ่ซึ่งในหลวงรัชกาลที่ ๕ ทรงโปรดฯให้ทหารเรือยิงปืนใหญ่ประจำเรือทุก ๆ เที่ยงวันเพื่อประชาชนและบรรดาพ่อค้าวานิชจะได้ใช้เทียบเวลาประจำวัน นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ไกลปืนเที่ยง” ซึ่งหมายพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลความเจริญ และยังเป็นที่มาของการกำหนดให้กองทัพเรือเป็นผู้รักษาเวลามาตรฐานของประเทศอีกด้วย (http://gotoknow.org/file/skuikratoke/preview/1jan8.jpg) กังวานดัง “โหม่ง” แรกของวัน เริ่มจากเสียงฆ้องที่ตีบอกเวลาตั้งแต่ ๗ นาฬิกาจนถึงเพลหรือ ๑๑ นาฬิกา อันเป็นเวลาที่พระฉันอาหารนับไล่เรียงมาตั้งแต่ฟ้าสว่างหรือย่ำรุ่ง (๖ นาฬิกา) เป็นหนึ่ง..สอง...สาม..สี่..และห้าโมงเช้าหรือเพลตามลำดับ (ต่างจากประเพณีสากลที่เริ่มนับหนึ่งกันตั้งแต่ผ่านพ้นชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเลยทีเดียว) พอผ่านเที่ยงวันก็เริ่มนับใหม่เป็นช่วงบ่ายโมง..บ่ายสอง..สาม..สี่..และห้าเช่นเดียวกัน ก่อนผ่านไปยังย่ำค่ำ (๑๘ นาฬิกาหรือหกโมงเย็น) หลังจากนั้น สัญญาณก็จะเปลี่ยนไปจากการใช้ฆ้องมาเป็นกลองดังตุ้ม..ตุ้ม ตั้งแต่ตุ้มเดียวหรือหนึ่งทุ่มไปจนถึงห้าตุ้มหรือห้าทุ่ม ก่อนถึงเที่ยงคืนหรือหกทุ่มหรือที่นิยมเรียกกันว่า “สองยาม” ในอีกหนึ่งชั่วโมงต่อมา.. คำว่า "ยาม" ที่จริงก็มาจากกำหนดการเข้าเวรยามของทหารยามรักษาการภายในพระราชวังนั่นเอง ในสมัยก่อน การผลัดเวรยามของทหาร ช่วงกลางวันจะแบ่งเป็น ๒ ผลัด ผลัดละ ๖ ชั่วโมงตั้งแต่ย่ำรุ่งจนถึงย่ำค่ำ หลังจากนั้นจึงถึงเวรของยามผลัดกลางคืน ซึ่งแบ่งตามคาบเวลาเป็นช่วง ๆ ละ ๓ ชั่วโมง เริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็น ถือเป็นยามต้น จนถึงสามทุ่ม.. ยาม ๒ ตั้งแต่สามทุ่มถึงเที่ยงคืนหรือสองยาม ต่อด้วยยาม ๓ (เที่ยงคืน-ตีสาม) และยาม ๔ (ตีสาม – ย่ำรุ่งหรือหกโมงเช้า) ตามลำดับ การนับยามแบบนี้มีข้อสังเกตเล็กน้อยสำหรับคนที่เคยผ่านตานิยายกำลังภายในหรือพงศาวดารจีนมา คือข้อแตกต่างตรงที่จีนนับยามเป็นคาบเวลาเพียงช่วงละ ๒ ชั่วโมง ขณะที่ไทยเราถือ ๓ ชั่วโมงเป็นหลัก (http://www.thongthailand.com/private_folder/dantum/dantum1/dantum3/dantum5/yumglong2.jpg) ช่วงพลบค่ำหรือย่างเข้าสู่ช่วงกลางคืน ตามวัดวาอารามสมัยก่อน มักย่ำกลองอันหมายถึง การกระหน่ำตีซ้ำ ๆ เป็นสัญญาณบอกว่าสนธยาหรือรัตติกาลกำลังเริ่มขึ้น จนกลายเป็นที่มาของคำว่า “ย่ำค่ำ” และเลยไปถึงคำว่า “ย่ำรุ่ง” เพื่อให้รับกันในช่วงเช้าด้วย แม้ในช่วงเวลานี้ จะไม่มีการ “ย่ำ” ฆ้องหรือกลองแต่ประการใด ตลอดช่วงกลางคืนหลังพลบค่ำ แทนการใช้สัญญาณฆ้องหรือกลองเป็นเครื่องบอกเวลาอย่างตอนกลางวัน เขานิยมใช้วิธีเคาะแผ่นเหล็กเมื่อครบแต่ละชั่วโมงแทน เนื่องจากเสียงไม่ดังมากนักจนถึงกับรบกวนการนอนหรือการพักผ่อนของผู้คน โดยมักจะเริ่มการตีตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จึงนิยมเรียกกันในภายหลังว่า ตีหนึ่ง..ตีสอง..ตีสาม..เรื่อยมา อรรถาธิบายเรื่อง ทุ่ม, โมง, ยาม, ย่ำ, ตี ก็คงเอวังได้ด้วยประการฉะนี้.... เขียนโดย ระพี พชระ ที่ วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 20, 2553 ที่มา http://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.htmlhttp://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.html (http://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.htmlhttp://planetpt.blogspot.com/2010/05/blog-post_19.html) ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net (http://www.oknation.net), http://gotoknow.org/, (http://gotoknow.org/,) http://www.thongthailand.com/ (http://www.thongthailand.com/) หัวข้อ: Re: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 25, 2012, 10:49:08 am สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง นาฬิกามีมาก่อนพุทธกาลครับ มีมาตั้งแต่สมัยอียิปต์ (ราว ๓,๕๐๐ ถึง ๕,๐๐๐ ปี ล่วงมา) ถ้าจะเจาะจงประเทศไทย ก็ไม่ทราบว่า พระท่านใช้นาฬิกาอะไร จะเป็นนาฬิกาแดด นาฬิกาทราย หรือนาฬิกาน้ำ ไม่ทราบแน่ชัด เป็นที่น่าสังเกตว่า ประเพณีชนไก่ สมัยก่อนใช้น้ำเป็นตัวกำหนดยก โดยวางกะลาเจาะรูไว้บนน้ำ กะลาจมเมื่อไหร่ ก็นับเป็นหนึ่งยก คือ ยกกะลาขึ้นจากน้ำนั่นเอง (กะลามะพร้าว) เท่าที่ทราบในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีนาฬิกาไขลานเข้ามาแล้ว แต่อาจไม่แพร่หลาย สรุปแล้ว การตีกลอง ตีฆ้อง หรือยิงปืน เพื่อบอกเวลาในสมัยก่อน ใช้นาฬิกาแน่นอน แต่ไม่ทราบแน่ชัดว่า ใช้นาฬิกาอะไร :49: หัวข้อ: Re: สมัยก่อน ไม่มีนาฬิกา พระสงฆ์กำหนดเวลาอย่างไร จึงรู้ว่าเพล หรือ เที่ยง เริ่มหัวข้อโดย: nonestop ที่ ตุลาคม 26, 2012, 12:35:20 am อ้างถึง เริ่มตั้งแต่ย่ำค่ำหรือหกโมงเย็น ถือเป็นยามต้น จนถึงสามทุ่ม.. มีเนื้อหาดีมากครับ อย่างน้อยผมเองก้เคยเข้าใจผิด เรือง ปฐมยาม ทุติยยาม ตติยยาม มาหลายสิบปีพึ่งกระจ่างวันนี้เองครับ :c017: :25: |