สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 02:54:40 pm



หัวข้อ: พุทธวิพากษ์..การตลาด 'กิเลสมาร์เก็ตติ้ง'
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 24, 2012, 02:54:40 pm

(http://www.komchadluek.net/media/img/size_photo_slide/2012/10/20/hkfc7jcghfb7kkgagda5i.jpg)

พุทธวิพากษ์..การตลาด 'กิเลสมาร์เก็ตติ้ง'
พระพุทธศาสนากับการตลาด??!!? : :
บทความโดยพระมหาหรรษา ธัมมหาโส ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร)

     เมื่อวาน (๑๙ ตุลาคม ๕๕) รับนิมนต์อาจารย์เจ้าคุณพระสุธีธรรมานุวัตร คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย ไปเป็นประธานสอบสารนิพนธ์ของนิสิตปริญญาเอก มจร นายชิณญ์ ทรงอมรศิริ เกี่ยวกับการนำเอาหลักการตลาดมาวิเคราะห์ และอธิบายปัจจัยแวดล้อม และการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล
     เนื่องจากส่วนตัวกำลังเขียนหนังสือเรื่อง "พระพุทธศาสนากับการตลาด" ในเวลาเดียวกัน ครั้นได้อ่านงานของนิสิตท่านนี้ เห็นได้ชัดว่าเด็กหนุ่มท่านนี้ทำงานได้ค่อนข่างดี ปัจจัยสำคัญค่อพื้นฐานด้านการตลาดที่นิสิตท่านนี้จบการศึกษา
   
      ดังนั้น เมื่อนำกรอบที่ได้มามองพระพุทธศาสนาจะทำให้มีทิศทางในการศึกษาและนำเสนอมากยิ่งขึ้น อาจจะติดขัดบ้างในประเด็นการวิเคราะห์แง่มุมทางพุทธเพราะยังเข้าไม่ถึงข้อมูลพื้นฐานสำคัญในหลายๆ ประเด็น แต่โดยภาพรวมแล้วเห็นว่า งานนี้จะมีคุณค่าต่อวงการตลาดตะวันออก ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการศึกษาและนำไปปฏิบัติ
   
       จากประสบการณ์ส่วนตัวที่เรียน Mini MBA ด้านการตลาดมาจากสำนักพาณิชศาสตร์และการบัญชี ธรรมศาสตร์ แม้ศักยภาพส่วนตัวจะเป็นนักการตลาดหัดขับ และมีความรู้เพียงน้อยนิด (Mini) ในศาสตร์ด้านนี้ แต่ก็ถือโอกาสแลกเปลี่ยนในห้องเรียนเสมือนจริงบ่อยๆ กับคณาจารย์จำประจำคณะ และอาจารย์พิเศษที่มีชื่อเสียง สิ่งที่ทุกท่านเห็นสอดรับกันประการหนึ่ง คือ จุดอ่อนของการตลาดประการหนึ่ง คือ "การตลาดกระตุ้นตัวตัณหา พระพุทธศาสนากระตุ้นตัวธรรมฉันทะ"

       ดังนั้น การตลาดจะเน้น "โฆษณา" ตัวอารมณ์ (Emotion) เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความอยาก และตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า มากกว่าคำนึงถึงคุณค่าของการใช้จริง (Function) ด้วยเหตุผลนี้
       จึงเป็นที่มาของคำว่า "กิเลสมาร์เก็ตติ้ง" เพราะให้ความใส่ใจ และกระตุ้นตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ให้จำเริญและเพลิดเพลินกับรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และอารมณ์
   
       อย่างไรก็ดี จุดเด่นที่น่าสนใจประการหนึ่งของการตลาดคือ
       การสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค่า ผลิตภัณฑ์ (Packatging) และการบริการ (Service)
       โดยการค้นหาจุดเน้นของตัวเอง Positioning)
       เพื่อให้ฉีกแนวให้ผู้บริโภค หรือลูกค้าเห็นความแตกต่าง (Differentiation) ของสินค้าอย่างเห็นได้ชัดว่ามีความโดดเด่นอย่างไร ทั้งสี กลิ่น (Mood&Tone) คุณภาพของสินค้า ตราสินค้า และการบริการ
   
      หากนำหลักการ และภาษาของการตลาดมาอธิบายในมิตินี้
      พระพุทธศาสนาเคยใช้หลักการ "Differentiation" ในสมัยพุทธกาล (อาจเรียกชื่อไม่เหมือนกัน) เช่น เรื่อง วรรณะ กรรมและการเกิดใหม่ พระพรหมจากผู้สร้างโลกมาเป็นผู้อาราธนาธรรม และพรหมวิหาร จากโมกษะมาเป็นนิพพาน และการบูชายัญด้วยสัตว์มาเป็นการปฏิบัติตามไตรสิกขา ฯลฯ

      โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แม้พระองค์จะเป็นกษัตริย์ แต่ได้ออกแบบสังคมสงฆ์ให้สอดรับกับประชาธิปไตย ทั้งอุดมการณ์ ระบบ และวิถีประชาธิปไตยได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจยิ่ง... การทำหีบห่อผลิตภัณฑ์ (Dhamma Packaging) ได้มีการวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค(Customers need)

      แล้วหลังจากนั้นจึงการออกแบบ และนำเสนอให้สอดรับกับผู้บริโภค และลูกค้า (Consumers&Customers) เช่น
      ธรรมะสำหรับชาวนาในกสิกสูตร ธรรมะสำหรับคนฝึกม้า
      ธรรมะสำหรับพ่อค้าในวาณิชชสูตร ทั้งวิสัยทัศน์ ความเชี่ยวชาญ และความสัมพันธ์
      ธรรมะสำหรับคนมีความทุกข์ที่นางวิสาขาสูญเสียหลานสาว
      ธรรมะสำหรับผู้ปกครอง: ทศพิธราชธรรมฯลฯ
   
     คำถามที่ ดร.พิพัฒน์ ยอดพฤติการ กรรมการสอบถามนิสิตนั้น น่าสนใจอย่างยิ่ง
     ถ้าย้อนกลับไปได้ เราทราบว่าพระพุทธเจ้าใช้หลักการตลาดมาเป็นเครื่องมือในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา เราจะเลือกซื้อสินค้า และผลิตภัณฑ์ที่พระองค์เสนอขายหรือไม่?!!??
     คุณชิณญ์ในฐานะนักการตลาดได้ตอบคำถาม ดร.พิพัฒน์แบบ "เผื่อเหลือเผื่อขาด"
     หากเป็นพวกเรา...พวกเราช่วยกันตอบคำถามนี้อย่างไร??!!?

   
 
ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20121020/142779/พุทธวิพากษ์การตลาดกิเลสมาร์เก็ตติ้ง.html#.UIebUqDvolh (http://www.komchadluek.net/detail/20121020/142779/พุทธวิพากษ์การตลาดกิเลสมาร์เก็ตติ้ง.html#.UIebUqDvolh)