หัวข้อ: อนันตริยกรรม มีเท่าไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: nimit ที่ ธันวาคม 06, 2009, 09:54:24 pm ผมฟังบ้างท่านก็พูดว่า อนันตริยกรรม กรรมอันหนักบ้างบอกมี 5 ข้อ บ้างก็บอกว่า มี 6 ข้อ
แท้ที่จริงแล้วมีกี่ข้อครับ มีอ้างอิงในพระไตรปิฏก หรือป่าวครับ หัวข้อ: Re: อนันตริยกรรม มีเท่าไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: fasai ที่ ธันวาคม 06, 2009, 10:45:18 pm อนันตริยกรรม ถ้าตามนักธรรมชั้นตรี ระบุไว้มี 5 คะ
1.ฆ่ามารดา 2.ฆ่าบิดา 3.ฆ่าพระอรหันต์ 4.ยังพระโลหิตของพระพุทธเ้จ้าให้ห้อเลือด 5.ยังสงฆ์ให้แตกแยกจากกัน แต่เคยฟังท่านอาจารย์พูดไว้มี 6 เพิ่มเข้ามาข้อหนึ่ง คือการเปลี่ยนศาสนา ใครรู้ที่มาในพระไตรปิฏก ช่วยตอบด้วยนะเจ้าคะ :angel: หัวข้อ: Re: อนันตริยกรรม มีเท่าไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: บุญเอก ที่ ธันวาคม 06, 2009, 11:27:13 pm ??? พึ่งรู้ว่าอนันตริยกรรม มี 6 ข้อ กำลังจะไปจีบสาวมุสลิมแล้ว อย่างนี้ยอมไม่ได้
หัวข้อ: Re: อนันตริยกรรม มีเท่าไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มีนาคม 21, 2010, 09:04:31 pm :014:
อนันตริยกรรม...คือ(ครุกกรรม)กรรมที่หนักที่สุดฝ่ายบาปอกุศลมีผลเป็นทุกข์โทษฉับพลันทันทีห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานอย่างเด็ดขาด...อันประกอบด้วย :015:มาตุฆาต ฆ่ามารดา ๑ :015:ปิตุฆาต ฆ่าบิดา ๑ :015:อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ ๑ :015:โลหิตุปบาท ยังพระโลหิต(พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า)ให้ห้อ ๑ :015:สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน ๑ และที่ไม่นิยมกล่าวถึงด้วยเกรงจะเป็นการหนักหนาแก่การดำรงอยู่ของปุถุชนคือ การเปลี่ยนศาสนา ๑ จึงยกข้อนี้ไว้ ในทัศนะโดยส่วนตัวแล้วคิดว่าการเปลี่ยนศาสนานั้นเป็นการยากที่จะนำเอาข้อห้ามดังกล่าวมาเป็นสาระจึงงดไว้แต่ไม่ทิ้งเสียทีเดียวสำหรับชาวพุทธที่ยังไม่เข้าถึงสรณะเนื้อแท้(ยังไม่เป็นพระอริยะชั้นต้น คือพระโสดาบัน) กล่าวคือเมื่อได้กล่าวรับเอาซึ่งไตรสรณะแล้วมีถือเอาพระพุทธเป็นที่ยึดเหนี่ยว,พระธรรมเป็นที่ยึดเหนี่ยว,พระสงฆ์เป็นที่ยึดเหนี่ยว แล้วย่อมไม่ควรที่จะไปยึดถือเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตหรือวิธีการแนวคิดอื่นอันเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้จะงดเว้นไว้ไม่กล่าวถึงแต่ก็คงสาระน่าเก็บมาพินิจพิจารณากันอยู่บ้าง คำว่า อนันตริยกรรม เป็นคำยืมจากภาษาสันสกฤต มาจากคำว่า อนนฺตริย ซึ่งแปลว่า ไม่มีช่องว่าง กับคำว่า กรฺม ซึ่งหมายถึง การกระทำที่ทำด้วยความจงใจ คำว่า อนันตริยกรรม มีความหมายตามรูปศัพท์ว่า การกระทำที่ไม่มีช่องว่าง หมายถึง การกระทำที่ไม่มีช่องว่างระหว่างกรรมที่กระทำลงไปแล้วกับวิบากหรือผลที่จะตามมา อนันตริยกรรมจึงมิได้หมายถึงกรรมโดยทั่วๆ ไป แต่หมายเอาเฉพาะกรรมชั่วที่ร้ายแรงที่สุดเท่านั้น กรรมนั้นเป็นกรรมที่ต้องได้รับผลกรรมอย่างฉับพลันไม่มีช่องว่างให้กรรมอื่นใดมาแทรกให้ผล เพราะเป็นการกระทำที่มีผลกระทบถึงศรัทธาของมหาชนมีผลทันทีแน่แท้ในภพชาติปัจจุบัน ไปอบายภูมิอย่างเดียว ยกตัวอย่างถึง ครั้งพุทธกาลพระเทวฑัตกระทำสองสิ่งที่เห็นชัดเจน คือ :banghead:กระทำโลหิตุปบาทยังพระโลหิตให้ห้อที่พระบาทพระพุทธเจ้า โดยการกลิ้งหินจากยอดเขาลงมาหมายทำร้าย ๑ :banghead:กระทำสังฆเภทยังหมู่สงฆ์ให้แตกจากกันด้วยการยกข้อบัญญัติห้ามแก่ภิกษู ๕ ข้อ ๑ :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: :character0029: |