สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 31, 2012, 09:04:10 am



หัวข้อ: "แห่กระธูป" งานประเพณีออกพรรษา..หนึ่งเดียวในโลก (ชมภาพ)
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ ตุลาคม 31, 2012, 09:04:10 am

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/163814.jpg)

"แห่กระธูป" งานประเพณีออกพรรษา หนึ่งเดียวในโลก

วันออกพรรษาเป็นอีกเทศกาลงานบุญครั้งใหญ่ ที่ชาวพุทธจะถวายสักการะองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้ในหลายพื้นที่ของประเทศไทยมีประเพณีบุญต่างๆประจำท้องถิ่น ซึ่งบางประเพณีบุญมีความเป็นเอกลักษณ์และเสน่ห์อยู่ในตัวแต่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก อย่าง "ประเพณีบุญแห่กระธูป" ของชาวอำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ที่ร่วมรักษาและสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุ

ประเพณีแห่กระธูป จัดขึ้นทุกปีในประเพณีบุญออกพรรษาของ ต.หนองบัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ในอดีตชาวบ้านจะร่วมแรงร่วมใจกันสร้างกระธูป โดยชาวบ้านจะออกไปรวมตัวกันในจุดนัดหมายเพื่อไปพันกระธูป ซี่งกว่าจะผ่านขั้นตอนจนมาเป็นกระธูปรูปร่างสวยงามต้องใช้เวลามากพอสมควร

    เพราะวัสดุที่ใช้ไม่ใช่ธูปที่วางขายตามท้องตลาด
    แต่เกิดจากการขยี้เอามาจากกาบมะพร้าวจนร่วงออกมาเป็นผง แล้วพันด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์
    จากนั้นหุ้มอีกทีด้วยกระดาษสีหรือกระดาษแก้วหลากสีสัน
    ก่อนที่จะนำไปมัดเข้ากับดาวก้านตาล(สานจากใบตาลหรือใบลาน)
    จากนั้นจึงนำไปมัดห้อยกับก้านธูปที่เป็นเสมือนคันเบ็ด ทำไว้เป็นจำนวนมาก
    เสร็จแล้วจึงนำเข้าไปเสียบตามรูรอบปล้องไม้ไผ่ ทำเป็นชั้นขึ้นไปเหมือนฉัตร
    ประดับตกแต่งอย่างงดงาม ก่อนที่จะนำออกไปจุดในวันเวียนเทียนออกพรรษา


(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/0.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/1.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/2.jpg)

ถ้าพูดถึงขั้นตอนการทำกระธูปอย่างละเอียด นับเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจและมีคุณค่าทางจิตใจเป็นอย่างมาก เพราะเกิดจากการใช้วัสดุภายในท้องถิ่นหมดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น ขุยมะพร้าว ใบอ้ม ใบเนียม โดยนำใบไม้ทั้ง 2 ชนิด มานึ่งแล้วนำไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นนำมาบดอีกครั้งจะได้ฝุ่นไม้ที่มีกลิ่นหอมแล้วจึงนำไปผสมกับขุยมะพร้าวห่อด้วยกระดาษให้ได้รูปทรงยาวเหมือนธูป นำกระดาษสีมาประดับตกแต่งลวดลายให้สวยงาม

ส่วนใหญ่นิยมเป็นลายไทย เช่นเดียวกับลายมัดหมี่ แล้วนำธูปที่มัดติดกับดาวซึ่งทำจากใบลานมามัดติดกับคันไม้ไผ่ลักษณะคล้ายคันเบ็ด แล้วนำไปเสียบไว้กับแกนไม้ไผ่ที่เตรียมไว้ ความสูงประมาณ 3-5 เมตร รูปทรงคล้ายฉัตรก่อนนำไปแห่และจุดบูชา พร้อมนำลูกดุมกา ลักษณะคล้ายส้มแต่มีเปลือกแข็งมาผ่าเป็น 2 ซีก ใส่น้ำมันพืชลงไปแล้วควั่นด้ายเป็นรูปตีนกาเพื่อจุดไฟให้แสงสว่างใต้ต้นกระธูป

    การทำกระธูปแบบปัจจุบันนั้นเริ่มต้นครั้งแรกที่ “บ้านราษฎร์ดำเนิน”
    โดยทำต้นกระธูปและจัดให้มีมหรสพก่อนวันออกพรรษามาตั้งแต่ปี พ.ศ.2532
    จนมาถึงเมื่อปี พ.ศ.2545 ชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในอำเภอหนองบัวแดงได้ร่วมประดิษฐ์ต้นกระธูป
    เพื่อเป็นการสืบสาน ประเพณีดั้งเดิม และนำมาแห่รอบอำเภอ
    รวมถึงมีการจัดประกวดต้นกระธูปเพื่อให้ทุกคนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น

    ซึ่งการทำต้นกระธูปสำหรับประกวดนั้นต้องมีความสูงมาตรฐานประมาณ 6 เมตร และการตัดสินจะใช้เกณฑ์ความปราณีตสวยงามของลาย การสื่อความหมายของลาย ความคิดสร้างสรรค์ ความสมดุลของรูปทรง ซึ่งลวดลายที่เห็นในปัจจุบันนี้ นอกจากจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับพุทธประวัติแล้ว ก็ยังมีเรื่องราวเกี่ยวกับพญานาค และสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น การเกิดประชาคมเสรีอาเซียน อีกด้วย


(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/3.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/4.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/5.jpg)

สำหรับงานแห่กระธูปในปัจจุบัน ถือเป็นประเพณีที่ยิ่งใหญ่เป็นอย่างมากของชาวหนองบัวแดง มีทั้งชาวบ้านในพื้นที่ ชาวอีสานจากจังหวัดต่างๆ รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างถิ่น แห่แหนเข้ามาชมขบวนแห่กระธูปสุดยิ่งใหญ่ ซึ่งขบวนแห่กระธูปจะมี 9 ขบวน ตามจำนวนตำบลของอำเภอหนองบัวแดง

ในแต่ละขบวนแห่จะนำเสนอวัฒนธรรมท้องถิ่น ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ และนำเสนอเรื่องราวให้เข้ากับยุคสมัยในรูปแบรณรงค์อย่างสร้างสรรค์ เช่น การต้อนรับประชาคมอาเซียน ปัญหาเด็กวัยรุ่น เรื่องเด็กแว้นส์ ท้องก่อนแต่ง ฯลฯ และยังมีต้นกระธูปจำลองสำหรับใช้แห่ ซึ่งเป็นคนละต้นกับที่ใช้ในการประกวด อีกทั้งยังมีการแสดงดนตรีพื้นบ้าน และมหรสพต่างๆ แสดงถึงความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจของชาวหนองบัวแดงได้เป็นอย่างดี

ประเพณีท้องถิ่นเป็นสิ่งที่ชาวบ้านในพื้นที่ควรช่วยกันอนุรักษ์ เพราะประเพณีที่อยู่คู่กับถิ่นฐานมาเป็นเวลานาน เปรียบเสมือนรากเหง้าที่ช่วยให้คนทุกรุ่นมีความรักและสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจเดียวกัน


(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/6.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/7.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/8.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/9.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/10.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/11.jpg)

(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/photos/163814/12.jpg)


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/article/440/163814 (http://www.dailynews.co.th/article/440/163814)