หัวข้อ: ปางมารวิชัย หรือปางพิชิตมาร..ปางเหนือโลก.! เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ พฤศจิกายน 05, 2012, 11:08:57 am (http://www.khaosod.co.th/view_resizing_images.php?filename=news-photo/khaosod/2012/10/hap05211055p1.jpg&width=360&height=360) ปางมารวิชัย หรือปางพิชิตมาร คอลัมน์ คติ-สัญลักษณ์สถาปัตยกรรมไทย ชวพงศ์ ชำนิประศาสน์ พระประธานในพระอุโบสถหรือในพระวิหารอีกรูปแบบที่นิยมกันมากก็คือ ปางพิชิตมาร หรือปางชนะมาร หรือในอดีตก็เคยเรียกกันว่า ปางสะดุ้งมารก็มี พระพุทธรูปปางนี้ ศิลปินผู้สร้างสรรค์ได้สอดแทรกคติคำสอนของพระพุทธเจ้าไว้หลายความหมาย ซึ่งแต่ละความหมายจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบอื่นๆ โดยรอบของพระพุทธรูปปางนี้ ในภาพวาดปางมารวิชัยที่มักจะอยู่ด้านในของพระอุโบสถตรงข้ามกับพระประธานเป็นภาพมารผจญ เป็นภาพที่แสดงถึงมิติแห่งเวลาไว้ 3 เวลา คือ เวลากลางวันที่พญามาร (คือกิเลส) เข้ามารบกวนสมาธิจิตจนถึงเที่ยงคืน ที่พระพุทธเจ้าเอาชนะกิเลส (มาร) ลงได้ โดยปรากฏเป็นภาพแม่ธรณีบีบน้ำจากมวยผมขับไล่มารหนีไป น้ำที่บีบออกจากผมคือ ผลบุญหรือผลแห่งความดีที่พระพุทธเจ้าเคยประพฤติปฏิบัติในสมัยที่ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ทำให้เกิดสติสัมปชัญญะเป็นมหาสติที่ยับยั้งกิเลส และเวลาต่อมาก็คือ ตอนเช้าที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตระสัมมาสัมโพธิญาณ โดยศิลปินได้สร้างสรรค์งานก็คือ ภาพที่พระพุทธเจ้า ชี้พระหัตถ์ลงสู่พื้นดิน ความหมายก็คือการอยู่เหนือโลก หรือพ้นไปจากวัฏสังขาร (คำว่าโลกไม่ได้แปลว่าโลกกลมๆ ที่เราเข้าใจ แต่ คำว่าโลกหมายถึงสัตว์ มนุษย์ เทพ พรหม ทั้งหลาย) ในกรณีที่พระพุทธรูปปางมารวิชัยประดิษ ฐานอยู่ในพระอุโบสถหรือพระวิหาร พระพุทธรูปปางนี้จะหมายถึงการอยู่เหนือโลกคือ เหนือกิเลสหรือพ้นไปจากโลก ก็คือ พ้นไปจากวัฏสังขารนั้น พุทธศาสนิกชนผู้เข้ากราบไหว้พระพุทธรูปปางนี้ย่อมต้องนึกถึงธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาเรื่องสำคัญก็คือ เรื่องของกิเลส เรื่องจะเอาชนะกิเลสได้อย่างไร (http://www.amulet.in.th/forums/images/2152.jpg) ความหมายของกิเลสคืออะไร กิเลสมีความหมายหลายประการซึ่งรวมกันคงได้ดังนี้ กิเลสแปลว่า สิ่งที่เกาะติด สิ่งที่เปรอะ เปื้อน สิ่งสกปรก ทำให้จิตใจเศร้าหมอง มี 3 อาการ คือ โลภะ หมายถึง อาการที่จิตข้องติดหรือยินดีพอใจอยู่กับอารมณ์หรือวัตถุที่นึกคิดหรือที่เกิดขึ้น หรือกระทบกับจิตใจ โทสะ หมายถึง การที่จิตขัดข้องผลักไสอยู่กับอารมณ์ หรือวัตถุ หรือคือการเรียกกันอีกอย่างหนึ่งก็คือความโกรธ ก็คือตรงกันข้ามกับโลภะ โมหะ หมายถึง ความไม่รู้ในความเป็นจริง ที่เป็นความจริงแท้ จิตใจจึงกลับไปยึดติดหรือผลักไสกับอารมณ์หรือวัตถุที่มากระทบจิตใจ (http://www.dhammajak.net/board/files/paragraph___paragraphae_55_124.jpg) นอกจากจะมี 3 อาการแล้วจิตใจที่เศร้าหมองขุ่นมัว ยังแบ่งกิเลสออกเป็น 10 ประเภท ได้แก่ 1.โลภะ ได้แก่ ความยินดีพอใจในโลกียอารมณ์ต่างๆ 2.โทษะ ความโกรธหรือความไม่พอใจในสรรพสิ่งหรือโลกียอารมณ์ต่างๆ (ตรงข้ามกับโลภะ) 3.โมหะ ความหลง ความโง่ ความไม่รู้ ความจริง หรืออารมณ์ของตน 4.มานะ ความเย่อหยิ่ง ถือตัว 5.ทิฐิ ความเห็นผิด 6.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัยในสิ่งที่ควรเชื่อ 7.ถินะ ความหดหู่ 8.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน 9.อะหิริกะ ความไม่ละอายต่อทุจริต (คือการกระทำชั่ว ทำให้เกิดความเดือดร้อน) 10.อโนตัปปะ ความไม่สะดุ้งกลัวต่อทุจริต ในประเภทของกิเลสทั้ง 10 ประการ นั้น นับจากข้อที่ 4 จนถึงข้อที่ 10 นั้น เป็นอาการของโมหะที่แยกแยะความชัดเจนของโมหะ ที่แตกต่างกันในรายละเอียด นี่เป็นเรื่องอย่างย่อของกิเลสที่ต้องรู้ ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อรู้แล้วก็หมาย ความว่าได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยเรื่องความเศร้าหมองของจิตใจ และเมื่อรู้แล้วสติปัญญาก็เกิดขึ้นที่จะดับหรือชนะกิเลสได้ นี่คือการกราบไหว้พระปางพิชิตมารก็คือ การรับฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่าด้วยกิเลสอันทำให้จิตใจเศร้าหมองนั้นมีอะไรบ้าง และจะต้องมีสติปัญหาให้รู้ทันกิเลสที่เกิดขึ้น ผลบุญก็คือ การระงับหรือการหยุดความเศร้าหมองแก่จิตใจ ขอบคุณภาพและบทความจาก http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEl4TVRBMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHhNQzB5TVE9PQ== (http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROb1lYQXdOVEl4TVRBMU5RPT0=§ionid=TURNeE53PT0=&day=TWpBeE1pMHhNQzB5TVE9PQ==) http://www.amulet.in.th/,http://www.dhammajak.net/ (http://www.amulet.in.th/,http://www.dhammajak.net/) |