หัวข้อ: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: Skydragon ที่ พฤศจิกายน 30, 2012, 04:17:03 pm อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ
คือไม่ค่อยแน่ใจว่ามีใคร ฝึกกรรมฐาน ด้วยการเดินจงกรม จนเป็น ฌาน 4 หรือ ฌาน 8 มีประวัติ บุคคลเรื่องนี้บ้าหรือไม่ครับ :25: หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ พฤศจิกายน 30, 2012, 10:07:24 pm ในพระสูตร..........พระพุทธองค์ เจริญ สุขสัญญา ลหุสัญญา พระองค์ก็ต้องใช้ทั้งสองฌานอยู่แล้ว คือฌานสี่ และฌานแปด เพราะพระองค์ทรงเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ครูอาจารย์เล่าว่า พระอรหันต์ ไม่เข้าฌานอื่น เพราะท่านเป็นพระอรหัต์ ก็ต้องเข้าฌานสี่เลย หรือไม่ก็ฌานแปดเลย พระอรหันต์ปฏิสัมภิทาใช้สองฌาน แต่พระอรหันต์ที่ไม่ได้ปฏิสัมภิทา อาจจะเข้าฌานสี่ได้อย่างเดียว ที่พระพุทธองค์ แสดงฤทธิ์ พระองค์ใช้ ท่าเดินจงกลม โดยส่วนใหญ่ เดินจงกลม แหวกนํา เดินจงกลม หนี โจรเคลาแดง องคุลิมาล เดินจงกลมปราบพญานาค เรียกพญานาค ลงบาตร ที่เห็นแทบทุกฉาก ตามพระสูตร คือ ท่าเดินจงกลม ครูบาอาจารย์เคยเล่าให้ฟัง วิชาเดินจงกลมธาตุ มี 5 ขั้น ขั้นสูงสุด ชื่อ จงกลมธาตุโลกุตรธรรมเก้า จากพระศาสดา ก็มาถึง พระสาวกพระอรหันต์ กันบ้าง 1.องค์แรก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน พระประวัติสามกรุง มีเยอะแยะมากมาย 2. หลวงปู่แสง สอนปู่โต วิชาเดินจงกลมธาตุ ท่านทั้งสองเป็นศิษย์กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับทั้งคู่ เดินจากลพบุรี ปู่โตจับชายจีวร ปู่แสง ปู่แสงเดินแปดเก้า ส่งปู่โตที่เมือง เขลางนคร ลําปาง ส่งปู่โตเสร็จปู่แสงก็หายตังกลับ ปู่โตหาทางกลับ กว่าจะถึงลพบุรี ใช้เวลาสามวัน แต่ภายหลังท่านก็ได้สําเร็จวิชชานี้ด้วย ขอแทรกเรื่องของพระอริยะกับ การเข้าฌาน ดังนี้ พระโสดาบัน เข้าฌาน 1 พระสกทาคามี เข้าฌาน 2 พระอนาคามี เข้าฌาน 3 พระอรหันต์เข้าฌาน 4 (บางรูปที่ได้ ปฏิสัมภิทา ท่านเข้าฌาน8 ด้วย ก็คือใช้ทั้งสองฌาน) ก็ว่ากันไปตามที่ได้ยินมา หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ลูกคิด ที่ ธันวาคม 01, 2012, 09:53:17 am เดินจงกรม ไม่ได้ฌาณครับ ฌาณ 1 ก็ยังไม่ได้เพราะไม่สามารถ จิตให้เป็นเอกัคคตารมณ์ คือเป็นหนึ่งเดียวได้
เพราะยังต้องย้ายสติไปที่เท้าแต่ละข้าง ตลอดเวลา แต่ฌาณหรืออัปปนาสมาธิ จะต้องมีนิมิตรที่เป็นหนึ่งเดียวให้ จิตได้ยึด แต่ถ้าอุปจารสมาธิ ล่ะก็มีได้ครับ แล้วถ้าถามว่าทำไมต้องเดิน ก็ต้องเปลี่ยนอริยาบทไงครับ การบริหารรูปขันธ์นี้ วันหนึ่ง ต้อง ยืน เดิน นั่ง นอน ให้ได้สมดุลย์กันครับ ไม่มากไปไม่น้อยไป ไม่งั้นจะก็ให้เกิดโรค บางอาจารย์บอกว่า แบ่งเท่าๆกัน อย่างละ 6 ชม. x 4 อริยาบท = 24 ชม. (แต่ผมไม่เชื่อ 55 ดูตามความเหมาะสมในวันนั้นดีกว่า) จากคุณ : เจตวิมุติ หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: nippan55 ที่ ธันวาคม 01, 2012, 09:54:19 am ตอนเดิน เป็นจิตตชรูป
คือรูปที่เกิดจากจิต อธิบายง่ายๆ คุณจะเดินได้อย่างไรถ้า ไม่ใช้จิตสั่งให้เดิน และเคลื่อนไหว คุณจะสังเกตุหรือไม่ก็ตาม แต่ถ้า ไม่ตั้งเจตนาจะเดิน มันก็ไม่เคลื่อนไหวได้เองนะคะ แล้วการทำสมาธิ เป็นการตั้งจิตให้เพ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว เวลาคุณเดินจงกรม เดี๋ยวก็นำจิตไปสั่งให้เดิน เดี๋ยวนำกลับมาตั้งมั่น ไม่ได้อยู่ ในอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ในอารมณ์อันเดียวได้ เวลาเดิน ก็ต้องดู เดินหลับตาไม่ได้ เวลาตารับรูป ก็คือ จักขุวิญญาณจิต ระดับฌาน จะต้องทำงานทางใจ คือ ทางธัมมารมณ์เท่านั้น จะไม่ใช้อายตนะ ทั้ง 5 ที่รับกามคุณอารมณ์นะคะ เขาต้องรับมหัคตารมณ์ อารมณ์ระดับฌาน จะไม่ใช้อารมณ์ทางโลกียะ ที่ได้เห็น ได้ยิน รู้กลิ่น ลิ้มรส แบบชาวบ้าน แบบคนทั่วๆไป ต้องรับรู้ได้ทางใจเท่านั้น ระดับฌาน 4 เป็นมหัคคตารมณ์ ดังนั้นจึงไม่สามารถออกมารับ รูป เสียง กลิ่น รส แบบธรรมดาๆได้ ดังนั้น เวลาเราเดินจงกรม เรารับอารมณ์โลกียะธรรมดาๆ นะคะ ตั้งแต่เกิดมารับอารมณ์อย่างไร ก็ยังคงเป็นอย่างนั้น เพียงแต่ฝึกสติเท่านั้น ไม่ได้มีอารมณ์ตั้งมั่น มีองค์ฌานเป็นอารมณ์ โดยเฉพาะฌาน 4 ตามนัยพระสูตร มีองค์ฌาน 2 คือ อุเบกขา เอกัคคตา เวลาคุณเดินจงกรมมีเฉพาะอารมณ์ วางเฉย ตั้งมั่นหรือไม่ เวลาเดิน เรามีทั้งอารมณ์ การเห็น ได้ยิน รู้กลิ่น รู้รส แล้วแต่สิ่งแวดล้อมเลย รับอารมณ์ได้หมด ถ้าไม่พิการด้านใดด้านหนึ่ง อย่างนี้แล้ว จึงไม่สามารถทำให้ฌานต่างๆเกิดขึ้นได้ ส่วนบางคนที่เกิดขึ้นได้ทั่วไปสถานที่ใดก็ได้นั้น ก็ต้องตั้งมั่นในอิริยาบทเดียว ชั่วระยะเวลาหนึ่งแม้เสี้ยววินาทีก็ตาม ถ้าเกิดแบบขณะๆก็อาจได้ แต่ต้องเข้าไปแล้วออกมาเป็นขณะๆ แต่ไม่สามารถตั้งมั่นอยู่ได้นานๆ บางคนที่มีสมาธิดี อาจทำสมาธิเป็นขณะๆได้ แต่คนส่วนใหญ่จะอยู่ในระดับอุปจารสมาธิ ระดับฌานนั้น ก็ต้องน้อมใจไป หรือ ทำจนชำนาญสามารถทำที่ใดก็ได้ แต่เมื่อลงสู่สมาธิ ก็จะปิดการรับรู้ทางโลกไป โดยเฉพาะระดับฌาน 4 เพราะฉะนั้น จึงไม่นำมาปะปนเมื่อต้องเดินจงกลม หรือทำงานที่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น เดินข้ามถนน ขับรถ แต่คนที่ได้ระดับนี้ จะควบคุมได้ตามกาลเทศะ แต่ไม่นำมาปะปนคราวที่ปฏิบัติเดินจงกลม เพราะไม่ช่วยให้พัฒนาตนเอง เพราะขณะเดินจงกลมก็เพื่อฝึกฝนการมีสติ สัมปชัญญะในขณะเปลี่ยนอิริยาบทต่างๆ หากต้องการเจริญสมาธิก็แยกออกไป นั่งคู้บัลลังก์ การเดินจงกรมนั้นเพียงแต่ควบคุมไม่ให้ออกไปในเรื่องอื่นๆมากไป ให้อยู่กับการปฏิบัติที่ตั้งไว้ แล้วแต่ว่าจะศึกษาเป็น รูป หรือ นาม การเดินจงกรมใช้เจริญสติ เป็นการ เจริญวิปัสสนานะคะ ส่วนสมถะ พระพุทธองค์ให้คู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า มิได้ให้เดินจงกลมคะ เจริญในธรรมคะ ----------------------------------------------------------------------------------------- จิตตชรูป คือ จิตที่ทำให้เกิดรูป แบ่งได้ ๗ อย่าง ๑. จิตตชรูปสามัญ ๒. จิตตชรูปหัวเราะ ๓. จิตตชรูปร้องไห้ ๔.จิตตชรูปเคลื่อนไหว ๕. จิตตชรูปในการพูด ๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถ น้อยใหญ่ ๗. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถ ๑. จิตตชรูป สามัญ หมายถึง รูปที่เกิดจากจิตเป็นสมุฎฐาน คือ การหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ คนตายไม่มีจิตจึงไม่มีการหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ รูปที่เกิดขึ้นในขณะหายใจ หรือการเต้นของหัวใจ ๒. จิตที่ทำให้รูปเกิดการหัวเราะ อาการหัวเราะของคนเรา ๓. จิตที่ทำให้รูปเกิดการร้องไห้ ความเศร้าโศกเสียใจ จนเกิดการร้องไห้ของคนเรานั้น เกิดจากความโกรธนั่นเอง ๔. จิตที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยทั่ว ๆ ไป คือ การยืน เดิน นั่ง นอน กระพริบตา ๕. จิตที่ทำให้เกิดการพูด รูปที่เกิดการพูดการเปล่งวาจาต่าง ๆ (เหมือนข้อ ๔) ๖. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถน้อยใหญ่ จิตที่ทำให้เกิด การยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่ ๔) ๗. จิตตชรูปที่เป็นอิริยาบถใหญ่ตั้งมั่น คือ จิตที่ทำให้เกิดการยืน เดิน นั่ง นอน (อิริยาบถใหญ่ ๔ ) ที่เกิดขึ้นตามปกติขณะที่สบายดี (ไม่มีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย ) หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: nonestop ที่ ธันวาคม 01, 2012, 09:55:32 am อันนี้คงแล้วแต่ จขกท ตีความแล้วล่ะครับ ว่าจะเชื่อ ความเห็นไหน
ฌานจะแบ่งใหญ่ๆได้อีก 2 คือ 1.อารัมมณูปนิชฌาน การเพ่งอารมณ์ ได้แก่ สมาบัติ 8 คือ รูปฌาน 4 และอรูปฌาน 4 2.ลักขณูปนิชฌาน การเพ่งลักษณะ ได้แก่ วิปัสสนา มรรค ผล วิปัสสนา ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะพินิจสังขารโดยไตรลักษณ์ มรรค ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะยังกิจแห่งวิปัสสนานั้นให้สำเร็จ ผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะเพ่งนิพพาน อันมีลักษณะเป็น สุญญตะ อนิมิตตะ และอัปปณิหิตะ อย่างหนึ่ง และเพราะเห็นลักษณะอันเป็นสัจจภาวะของนิพพาน อย่างหนึ่ง =================================== ถ้าฌานได้แค่นั่งเพ่งอารมณ์เดียวจริงๆ คงวิปัสสนาไม่ได้แล้วล่ะครับ ซึ่งฌานสมาธิก็เป็นบาทฐานของวิปัสสนา ในฌานก็สามารถเดินจงกรมได้ครับแต่จะเป็นลักขณูปนิชฌาน แต่ส่วนฌาน4 เดินจงกรมได้มั้ย ผมคิดว่าไม่ได้ เพราะฌาน4 จิตจะเริ่มละจากกาย ตัวจะแข็งเดินไม่ได้ครับ แต่ฌาน4ยังพอนั่งคิดหรือพิจารณาไตรลักษณ์ได้ครับ ถ้าไม่เข้าลึกเกินไป หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: kosol ที่ ธันวาคม 01, 2012, 10:36:24 am เคยได้ยิน ครูอาจารย์ บอกว่า ยิ่งเข้า ฌานไป ยิ่งนิ่ง
ดังนั้นการเดินจงกรม จึงไม่น่าจะเป็น ฌาน นะครับ :s_hi: หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: nippan55 ที่ ธันวาคม 01, 2012, 10:38:39 am มีการสนทนา ที่มีประโยชน์ แต่คำตอบไหน จะถูก ก็คงต้องไปเดิน จงกรม นั่นแหละ ครับถึงจะรู้แล้วก็ต้องเข้าฌานดู ระหว่าง เดินนั่นแหละคำตอบถึงจะเป็นที่สุด ใช่หรือไม่ครับ
ถ้าอย่างนี้ไม่มีทางได้คำตอบกันเลยนะครับ ...... :49: หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: kittisak ที่ ธันวาคม 01, 2012, 08:18:53 pm ผมเคยฟังพระอาจารย์ มาคราวหนึ่ง ตอนท่านพูดเรื่องการเขียน ตัวหนังสือพุทโธ ในสมุด ฟูลสแกรป ท่านกล่าวว่าเขียนด้วย ฌาน นี้ ทั้งตรง ทั้งแน่วแน่ แม้หลับตาก็เขียนได้ แต่เขียนได้แค่ ฌานที่ 3 นะครับ ( ถ้าผมจำไม่ผิด ) เคยฟังไว้อย่างนี้ นะครับ
:s_good: :s_hi: หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 03, 2012, 02:47:24 am ศิล สมาธิ ปัญญา
สมาธิ คือท่านั่ง ถ้าฟุ้งซ่าน สลับเดิน เพื่อเพิก สันตะติ ท่านั่งขาดไม่ได้ เพราะการรวมลมธรรมกายคือท่านั่ง และการปล่อยลมธรรมจักร ก็ต้องท่านั่ง อุคหนิมิต ปฏิภาคนิมิต ลมเข้า ลมออก ต้องได้จากท่านี้ เดินจงกลมสลับนั่งเอาไว้ แก้ยามฟุ้งซ่าน เพื่อเพิกสันตะติ และกลับสู่ท่านั่งต่อ สําหรับผู้ที่ชอบฝึกนานๆ ยาวๆ หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 07, 2012, 02:30:53 pm เพราะท่าน ทั้งหลาย ยังไม่เข้าใจอยู่เรื่อง หนึ่ง คือ
การเข้าฌาน การอธิษฐานฤทธิ์ ดังนั้นถ้าท่านเข้าใจ ตรงนี้ก็จะรู้ว่า ได้ หรือ ไม่ได้ ลองทำความเข้าใจกันดู ก่อน นะจ๊ะ เดี่ยวมีเวลา จะมาเฉลย ;) หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ ธันวาคม 08, 2012, 07:19:59 am การเข้าฌาน และออกฌาน เข้าได้ทุกขณะจิต เมื่อจิตพ้นจาก สังขตะในธาตุ
ก็สามารถ จับขันธ์ห้าเป็นอารมณ์ ในการเข้าฌาน และปล่อยขันธ์เมื่ออยากออก เมื่อได้นิมิต ที่เป็นรูปปรมัติแล้ว ทั้งอุคหนิมิต และ ปฏิภาคนิมิต และมูลเหตุคือ การตั้ง วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา อุเบกขา ในนิมิตที่เป็น นิมิตภายนอก และ นิมิตภายในนั้นได้ ทั้งสองนิมิตเป็น ขันธ์ 5 จับขันธ์5 เป็นอารมณ์ ในการเข้าและออก โดยอาศัยองค์ธรรมทั้งห้า ก็จึงสลับอยู่แค่ สององค์ คือ เอกัคตา อุเบกขา หรือฌาน- ญาณ เมื่อรูปคือสี และสีคือรูป(ความจริงสีเป็นอรูป ก็ปฏิโลมจับสีเป็นรูปซะ) การเข้าฌานออกฌาน ทําได้ทุกอิริยาบททั้งสี่ ไม่ทิ้งแม้อิริยาบทย่อย เช่นกิน ดื่ม พูด คิด ก็เข้าได้ทั้งหมด เมื่อผู้ที่ได้ ก็อาศัยวสี ในการนึกหน่วง เพราะท่านได้ผ่านขั้นฝึกมาจนสามารถทรงวสีได้ ท่านก็ต้องทรงได้ ไม่ห่างจากฌาน และสมาบัติ สามารถเข้าและออกโดยธรรมชาติ เพราะอาศัยธรรม อาศัยธาตุ เป็นอัตโนมัติ ที่นึกหน่วงวสี จึงมีเรื่องวสี ในพระสูตร มากมาย เกี่ยวกับการเข้า และออก ฌาน จงเข้าให้ถึง กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ กรรมฐานของพุทธะ ขอให้ท่านทั้งหลายที่มีความตั้งใจ อยากไปพ้นจากสังสารวัฏนี้ จงมุ่งมั่นในการงานอย่าย่อท้อ ขออย่าลืมศรัทธา และปณิธาน เรายังทันที่มีครูบาอาจารย์ นําทางเราไป วันนี้เรายังได้เห็นครูอยู่ จงตั้งใจทําในสิ่งที่ท่านอยากจะทํา อยากจะบรรลุเป้นหมายซะ เพราะเรายังมีแสงไฟฉาย...........ก็คือครูบาอาจารย์(ผู้เป็น กัลยาณมิตร) ขอจงอย่าประมาท พลาดพลั้ง ในกาลครั้งนี้ หัวข้อ: Re: อยากเรียนถามว่า ฌาน 4 เดินจงกรมได้หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ ธันวาคม 09, 2012, 09:11:29 am เมื่อจิตเป็น ฌาน ก็หมายถึง จิต บรรลุ ฌาน อันมี ปฐมฌาน เป็นเบื้องต้น ธรรมชาติของจิตที่เป็น ฌาน นั้นย่อมละนิวรณ์ ได้ตั้งแต่ เบา จน ถึง นิวรณ์ดับ
การใช้ผล แห่ง ฌาน นั้นมีการใช้ หลัก ๆ 3 อย่าง 1.ฟื้นฟูสภาวะกาย 2.เพื่อไปสู่ ฌาน ต่อไป 3.เพื่อ การทำวิปัสสนา ดังนั้นผู้ฝึกภาวนา จึงต้องตระหนักให้ชัดเจน เป็น ปณิธาน เรียกว่า การอธิษฐาน ว่าจะดำเนินสมาธิ นี้เพื่ออะไร หากไม่ได้ อธิษฐาน ก็จะไม่มีภาวะทั้ง 3 ประการ ดังนั้นก่อนเข้าสมาธิ จึงควรต้องอธิษฐาน ภาระกิจ เพราะจิตเป็น ฌานขึ้นมาแล้วไม่ได้อธิษฐานไว้ก่อน ก็จะหลงทาง เช่นผู้ฝึกจิต จนจิตแน่วแน่ ปรากฏแสงสว่าง ( โอภาส ) ขึ้นมา ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ เพราะไม่ได้อธิษฐาน หรือ กำหนด จิตให้เป็นสมาธิ ส่วนใหญ่ ก็จะเกิด วิจิกิจฉา มากขึ้นจนหลุดจากสมาธิ เพราะอำนาจนิวรณ์ สูงกว่า นั่นเอง การเดินจงกรม ก็เช่นกัน บางท่านเข้าใจว่า เป็นเพียงแค่ สติ ระลึกรู้ รูปเกิด นามเกิด รูปดับ นามดับ เท่านั้น เพราะจิตนึกหน่วงวิปัสสนา มากไปจึงทำให้ไม่เข้าใจใน วิถีการเดินจงกรมที่เป็นสมาธิ เป็นฌานวิถี เพราะเมื่อ ปุถุชน ( คนหยาบด้วยกิเลส ) เคลื่อนกาย เคลื่อนไหว ไปใน จะด้วยอิริยาบพเล็กน้อย ใหญ่ นั้นปกติกำหนดไม่ได้ว่าเดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ยืนอยู่ เพราะธรรมชาติแห่งจิตเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกำหนด นั่นคือการไม่ได้ฝึก สติ รับทราบ รับรู้ ระลึกได้ ดังนั้นพอท่านทั้งหลายมาฝึกเดินจงกรม ส่วนใหญ่ก็จะสอนให้ท่านไประลึกรู้ความเคลื่อนไหว ในส่วนนั้น ที่เรียกว่า สติ เพราะทำให้เกิด สัมปชัญญะ คือ ระลึกรู้ มากับคำว่า รู้ตัวทั่วพร้อม ดังนั้นการ ฝึก สติ ระลึก คือ เพื่อรู้ รู้ตัว ก็เพื่อ พร้อม รู้ กัล พร้อม เป็นคุณสมบัติของการฝึก สติ เมื่อสติ แก่กล้าก็จะพัฒนาเป็นสมาธิ สติ เป็นมรรคข้อที่ 7 มาก่อน สมาธิ สมาธิ มีได้เพราะอาศัย สติ สติ มีได้เพราะอาศัย ความเพียร ความเพียร เพราะอาศัยซึ่ง ศีล ศึล มีได้เพราะอาศัย ปัญญา เมื่อบุคคลเจริญ สติ จนแกร่งกล้า แข็งแรง ดีแล้ว จิตก็จะพัฒนาไปสู่สมาธิ ตรงนี้ เป็นหัวเลี้ยว หัวต่อ ของผู้ฝึกภาวนาในสายที่เรียกว่า สติ ดังนั้นการเดินจงกรม ท่านจะได้เป็น สติ หรือ สมาธิ ก็ตามควรอธิษฐานการเดิน นั้นว่าต้องการทำ ภาระกิจอย่างไร ในการฝึกเดินจงกรม มิฉะนั้นเมื่อท่านเลิกเดิน ท่านก็จะบอกว่าไม่ได้อะไรจากการเดินอย่างนี้ บุคคลที่ฝึกสติ มามากเดินจงกรมไม่เป็น สมาธิ ..... และไม่มีทางเป็น สมาธิ ได้ ดังนั้นครูอาจารย์ จึงให้เดินพอประมาณ เมื่อเดินเสร็จแล้วให้กลับมานั่งเจริญ สมาธิ โดยตรงซึ่ง รู้ + พร้อม ติดมาแล้ว พอมาเริ่มนั่งกรรมฐาน ฝึกสมาธิ จึงทำให้สมาธิก้าวหน้าไว ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย อย่าพึ่งไปสงสัยเลยว่า เดินจงกรมเป็น ฌานแล้ว จะเดินได้หรือไม่ ? แต่ควรเดินเพื่อสนับสนุน การภาวนาให้มากขึ้น เจริญธรรม / เจริญพร ;) |