หัวข้อ: อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: เสริมสุข ที่ ธันวาคม 26, 2012, 08:51:34 am อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ
คือขั้นตอนเข้าไปให้รู้ ว่าเกิด และ ดับนั้น ต้องกำหนดอย่างไร ครับ :c017: หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: komol ที่ ธันวาคม 27, 2012, 12:41:14 am ผมว่า ขั้นตอน ยถาภูตญาณทัศนะ นั้นเป็นผลนะครับ ( ถ้าจำไม่ผิด ครูสอนไว้อย่างนี้ )
ดังนั้นหน้าที่เราทำตามขั้นตอน คือ พุทโธ รวมศูนย์จิต ไปให้มั่นครับ :49: หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: นักเดินทาง ที่ ธันวาคม 27, 2012, 12:46:38 am ถ้าตามลำดับ ก่อนเวทนาเกิด
(http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2010/08/Y9586719/Y9586719-6.gif) ลองพิจารณาจากภาพ ดูตรงเวทนา ครับ อะไรเกิด อะไรดับ อยู่ตรงนั้นครับ :s_hi: หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 09, 2013, 07:55:01 pm (http://nkgen.com/buddha-patitja1.gif) (http://nkgen.com/anired02_down.gif) สัญญาหมายรู้ (http://nkgen.com/anired02_down.gif) สังขารขันธ์ [ทางกาย วาจา ใจ อันเป็นขันธ์๕ สภาวธรรมของชีวิต] ไม่เป็นอุปาทานทุกข์ แต่เสวยเวทนาเป็นไปตามธรรม เหตุเพราะเมื่อมีการผัสสะ ย่อมต้องเกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้นนั่นเอง เพราะล้วนเป็นอนัตตา จึงไม่ใช่เรา,ไม่ใช่ของเรา จึงล้วนเป็นไปตามธรรมคือตามเหตุปัจจัย เมื่อโยนิโสมนสิการโดยแยบคาย ก็จะพบความจริงเป็นอย่างยิ่งว่า อายตนะทั้ง ๖ หรือทวารทั้ง ๖ นั้น เมื่อเกิดการผัสสะขึ้นแล้ว ย่อมดำเนินเกิดขึ้นและเป็นไปเหมือนกัน กล่าวคือ ยังให้เกิดเวทนาขึ้นเป็นธรรมดา ที่หมายความ ไม่ว่าอย่างไรก็ต้องเกิดขึ้น เป็นสุขเวทนาบ้าง ทุกขเวทนาบ้าง อทุกขมสุขเวทนาบ้าง เพียงอาจแตกต่างกันที่ความแรงเข้มเด่นชัด หรือความเคยชินเท่านั้น และล้วนเป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติในแนวทางเดียวกันทั้งสิ้น ______________________ ข้อมูลจาก http://nkgen.com/763.htm (http://nkgen.com/763.htm) การจะดับเวทนาต้องดับผัสสะ เมื่อสาว "วงจรปฏิจจสมุปบาท" ถึงที่สุดแล้วจะเหลืออวิชชา การดับเวทนาอย่างถาวรต้องแทงทะลุอวิชชา อรหันต์เท่านั้นที่ตัดอวิชชาสังโยชน์ได้ การดับเวทนาแบบชั่วคราว ต้องเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ หรือเข้าอรูปฌาณที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ(ประการหลังไม่แน่ใจ ถ้าจำมาผิดขออภัย) ความหมายของ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ ทำความรู้สึกตัวเสมอว่า ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัวเสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณ ไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่เอาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อนแต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวาย มีชีวิตทำ เสมือนคนตาย คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใด ๆ ปล่อยตามเรื่องเปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์ ขอคุยเท่านี้ครับ :25: หัวข้อ: Re: อยากทราบความหมาย ของคำว่า เวทนาเกิด เวทนาดับ มีการกำหนดอย่างไรครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 09, 2013, 10:48:35 pm สติปัฏฐาน 4 มิใช่การกําหนด แต่เป็นการเข้าถึงอารมณ์ คือการเข้าถึงธาตุ
เห็นธาตุ ก็คือเห็นโลก ทั้งวัฏจักร ธรรม.....จึง......จัก เปิดเผย ในตํารา กรรมฐาน มัชฌิมา ก็มี รูปปรมัตถ์ จงตั้งใจไปตามกรรมฐานนี้ ตั้งรูป ขึ้นมาให้ได้.......เพราะมิใช่แค่ภาษาพูดหรือแค่เปรียบเทียบเพื่อสนุกสนาน เพราะรูปต้องตั้งได้ จึงจะเห็นเป็นพระธรรมปีติ ตั้งรูปได้แล้ว ก็ปล่อยรูป นอนรูป คือปล่อยวาง ตั้งเกิด นอนดับ หากตั้งและนอนพร้อมกัน........เรียกว่าเห็น เกิดขึ้นพร้อมดับ ตั้งสมถะ....นอน วิปัสสนา เรียกว่าเห็นทั้ง สมถะ-วิปัสสนา มีทั้งสมถะวิปัสสนา ตอนนั้นคือได้ทั้ง สมถะวิปัสสนา ครบ ไม่หลง ก็ควงไปด้วยด้วยโคตรภู ต่อไป ก็คือ รูปวัตถุ 16 ( ปู่โต ท่านได้ สร้างเจดีย์ นอน) เป็นอนุสรณ์ เมื่อท่านได้วิปัสสนา มีแต่ไม่ทราบอยู่วัดใด....ใครเก่งลองไปสืบค้นดู ข้าพดูเจอในทีวี แต่จําชื่อวัดไม่ได้ ไม่ทราบว่ายังมีซากเหลืออยู่หรือมีแค่ประวัติ ทําไมต้องสร้าง เป็น รูปนอน เจดีย์นอน ความหมายคือ วิปัสสนา เรียกว่าเจดีย์วิปัสสนา ก็ตั้งได้ถ้าวางมันก็นอน วางคือวิปัสสนาหรือดับๆๆๆ เรียกว่าเห็นเกิดดับแบบสติปัฏฐาน เห็นในรูป วิปัสสนาในรูป ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ ไม่เรียกว่า ฌานสมาบัติ แต่เรียกว่าการ สัมปยุตธาตุ สัมปยุตธรรม คือการรวมพระลักษณะ และพระรัศมี เข้าสะกด สามห้องนี้เต็มที่ เข้าถึงกาย เข้าถึงรูป .......กายพระโสดาบัน การเห็นความเกิดดับ ต้องเห็นทั้งรูปนาม คือเห็นทั้งได้รูป ในรูป และในอารมณ์ เห็นทั้งสองอย่างสัมพันกันและเข้าใจไม่สงสัย กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลําดับ จึงมีรูปปรมัตถ์ อานาปานสติ สติปัฏฐาน 4 กาย เวทนา จิต ธรรม นี้ ไม่ใช่ภาษาการ ปัจเวก ธรรมดาๆ แบบคิดเอาเอง แต่ต้องเรียน ในรูป วัตถุสิบหก และญาณสติ สองร้อย ตรวจสอบตัวเอง ง่ายๆ....... หากเรียนกรรมฐานนี้ ท่านอยู่ตรงไหน.............ปัคหะนิมิต(เริ่มฝึกตั้งรูป) บริกรรมนิมิต....บริกรรมเพื่อตั้งรูป อุเบกขานิมิต....วางอารมณ์ เฉยๆแต่มีรูป(ขั้นนี้คงเป็นของครูอาจารย์ที่ได้กสิน) ก็ว่ากันไปตามอุปาทาน วิสัยทัศน์....ไม่มีผิดมีถูก ไม่มีใครได้ ไม่มีใครเสีย |