หัวข้อ: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: ครูนภา ที่ กันยายน 07, 2010, 11:41:24 am กราบนมัสการ เรียนถามพระอาจารย์
ขอเรียนถามว่า พระธรรมปีติ มีอานุภาพ ต่อ กาย และ จิต อย่างไรในกรรมฐาน คะ เพราะเห็นผู้ฝึกบางคนก็ยังไม่ผ่านห้องนี้ เลย ถ้าฝึกไม่สำเร็จอย่างนี้จะพิจารณา วิปัสสนา ได้ หรือป่าวคะ :25: :25: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: ISSARAPAP ที่ กันยายน 08, 2010, 07:27:02 am ผมว่า ห้องพระธรรมปีติ นั้นมีอานุภาพ และเป็นพื้นฐาน มั้งครับ
เหมือนการหัดเขียนหนังสือ ต้องหัดเขียนกันหลายปี ตั้งแต่เด็กเล็ก ถึง ประถมหก นะ :25: :25: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ กันยายน 08, 2010, 07:49:17 am พระธรรมปีติ นั้น เป็นห้องกรรมฐานห้องที่ 1 จะบอกว่าเน้นหรือป่าว ก็ไม่ได้เน้น
เพียงแต่ลูกศิษย์ ส่วนใหญ่ ปฏิบัติไม่ผ่านในห้องนี้ ก็เลยต้องซ้ำกันอยู่อย่างนั้น ถามว่าทำไมจึงปฏิบัติไม่ผ่าน ก็ต้องกลับไปอ่าน เหตุผลการปฏิบัติ ที่ย่อหย่อน และ ตึงเกิน ไม่เป็น มัชฌิมา ( ทางสายกลาง ) จึงทำให้ปฏิบัติไม่ผ่าน อ้างถึง พระธรรมปีติ มีอานุภาพ ต่อ กาย และ จิต อย่างไรในกรรมฐาน คะ พระธรรมปีติมีอานุภาพ สิจ๊ะ พิจารณาให้ดี เวลาเราดีใจ ปลื้มปีติ พอได้ผ่านปีติ เราก็จะรู้สึกสบายตัว และ สบายใจ นี้เป็นแบบปุถุชน ปลื้มปีติ ปราโมทย์ แบบปุถุชชน นะ ที่นี้ถ้าเราได้ปฏิบัติในพระกรรมฐาน มีความชำนาญในห้องพระธรรมปีติ นั้น จะมีอานุภาพ กับจิต และ กายโดยตรง เช่นการปรับธาตุ เปลี่ยนธาตุ ก็อยู่ในพระธรรมปีติ เป็นหลัก ดังนั้นผู้ฝึกกรรมฐาน นั้นจำเป็นต้องมีพื้่นฐาน ในการเดินพระธรรมปีติ ทั้งแบบ อนุโลม ปฏิโลม เข้าสับ องค์พระธรรมปีติ ได้อย่างช่ำชอง ดังนั้นหลังจากเลิกฝึก ก็จะเห็นว่า กายและจิต นั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เช่น คนนอนหลับยาก ก็จะนอนหลับง่าย ร่างกายก็กระปรี่กระเปร่า แม้ัพักผ่อนกันน้อย ที่นี้อานุภาพ ของพระธรรมปีติ ที่สำคัญนั้นไม่ใช่้เพียงเพื่อ สมถะ แต่ พระธรรมปีติ เวลาที่พระโยคาวจร เจริญวิปัสสนา นั้นต้องถอยจากฌานทั้งหมด กับมาที่พระอุปจาระ หรือ ปฐมฌาน เพื่อกัับมาพิจารณาวิปัสสนา ในนาม และั รูป ในส่วน ของ ปีติ และ สุข ดังนั้น ปีติ นับเป็นเวทนา สหรคต ในนาม โสมนัส และ สุข เป็นเวทนา และเป็นบาทฐาน ของการเจริญ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ด้วย ดังนั้น ผู้ฝึกอย่าได้ดูแคลนองค์ธรรม คือ พระปีติ และ พระสุข เลย เพราะ คุณธรรมทั้งสองนั้นเป็นบาทฐาน แห่ง วิปัสสนาทั้งปวง อะไรชื่อว่าตัดยาก ก็คือ ตัณหา ตัณหา อะไรที่ตัดยาก ตัณหา ในสุข อันเป็น กามสุข ภวสุข นี้ชื่อว่าตัดอยาก เพราะบุคคลต้องเห็นด้วยปัญญาอย่างแท้จริง จึงจักตัด ตัณหา นี้ได้ ถ้าตัดตัณหาได้ ชื่อว่าเป็นใคร ตอบ ไม่เป็นใคร ทั้งนั้น มีเพียงแต่ใจรู้เห็นตามความเป็นจริงเท่านั้น เจริญพร ตอบมาก ก็ต้องพิมพ์มากนะจ๊ะ หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: sunee ที่ สิงหาคม 05, 2012, 03:14:28 pm ถ้าเริ่มต้นฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็ต้องสนใจเรื่องปีติ เป็นเรื่องแรกคะ
:s_hi: :88: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: SAWWALUK ที่ สิงหาคม 07, 2012, 10:04:33 am อนุโมทนา สาธุ ครับ กระทู้เก่า ๆ ที่ได้อ่านแล้วมีประโยชน์กับคนปฏิบัติ ใหม่ มาก คะ
เพราะอธิบายช่วงแรกสำหรับคนทีมาภาวนามือใหม่กัน ในปัจจุบันกระทู้จะหนักไปสำหรับผู้ปฏิบัติมาแล้ว จึงอ่านยากในปัจจุบัน แนะนำเพื่อน ๆ ที่มาศึกษาใหม่ ให้กับไปอ่านกระทู้เก่า ๆ กันนะคะ :25: :25: :25: :49: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: นินนินนิน ที่ สิงหาคม 07, 2012, 10:26:56 am เห็นด้วยครับ เพราะเมื่อได้อ่านไปแล้วก็เข้าใจมาตามลำดับ แนะนำเพื่อนๆ ที่มาใหม่ ให้อ่านกระทู้แรก ๆ หน้า เก่าก่อนจะเข้าใจได้มากขึ้นครับ
:25: :49: หัวข้อ: Re: ทำไม ต้องเน้นกรรมฐานในห้องพระธรรมปีติ คะ เริ่มหัวข้อโดย: ธัมมะวังโส ที่ สิงหาคม 09, 2012, 10:59:39 am ที่ต้องเน้นกรรมฐาน ในห้องนี้ เพราะว่าเป็นห้องเบื้องต้น และส่วนใหญ่เมื่อเข้ามาภาวนากรรมฐานกันแล้วส่วนนี้ก็จะมีคำถามมากขึ้น แต่ส่วนที่เป็นลึก ๆ นั้นเบื้องต้นตอบได้เลยว่า ยังไม่ได้สอนใครเลยในห้องที่สี่ ยังไม่ได้สอนใครเลย แต่ก้สอนให้เอาตัวรอดได้ หากวันหนึ่งนั้นไม่มีเรา ท่านก็ยังมีกรรมฐาน เอาไว้ภาวนาได้
การเป็นอยู่ของครูอาจารย์ เป็นเหมือนก้านธูป ดังนั้นท่านที่จะเรียนก็จะอาย ท่านที่จะภาวนาก็ควรขวนขวาย สิ่งสำคัญท่านกำหนดเป้าหมายของตนเองได้การภาวนาก็จะชัดจนขึ้นมาได้ หากท่านกำหนดเป้าหมายการภาวนาไม่ได้ ท่านก็ต้องลาถอยจากการภาวนา ขาดความเพียร ขาดกำลังใจ ในการภาวนา มีหลายท่านที่เลิกล้มการภาวนา เพราะไม่ภาวนา เพราะเอาสังคมเป็นเครื่องวัด เพราะเอาความรู้สึกเป้นเครื่องตัดสิน ดังนั้นถ้าท่านกำหนดเป้าหมายในการภาวนาได้ ก้เป็นการกำหนดเส้นทางในการภาวนาของท่านได้เองนั่นเอง เมื่อนั้น ศรัทธา ความเลื่อมใส ศีล ความเพียร ความรู้แจ้ง ก็จะเกิดแก่ท่านได้เองตามส่วนอย่างนี้นี่เอง เจริญพร / เจริญธรรม ;) |