หัวข้อ: สภาวะ นอนหลับ สนิท กับ เข้า ปฐมฌาน เหมือนกันหรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: nippan55 ที่ มกราคม 11, 2013, 11:20:54 am สภาวะ นอนหลับ สนิท กับ เข้า ปฐมฌาน เหมือนกันหรือไม่ครับ
คือได้ยินมาว่า การนอนหลับ ก็คือการเข้าปฐมฌาน ของ ปุถุชน อันนี้จริงแท้อย่างไร ไม่รู้่ ขอท่านผู้รู้ ทั้งปริยัติ และ ปฏิบัติ หรือ ปฏิเวธ ช่วยให้ความกระจ่าง กันด้วยครับ thk56 หัวข้อ: Re: สภาวะ นอนหลับ สนิท กับ เข้า ปฐมฌาน เหมือนกันหรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 11, 2013, 10:06:21 pm ปฐมฌาน มีวิตก วิจาร พระพุทธองค์ตรัสว่าเป็นฌาน สวิตักวิจาร ....ถึงหลับอยู่ก็รู้ เหมือนไม่หลับ เพราะ ปฐมฌาน มี วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา องค์ 5 ครบครันแล้ว ที่เคยได้ยินมาอย่างนี้
แต่มนุษย์หลับ อาจจะไม่มีวิตก ก็คือหลับไม่รู้ตัว เมามัวในธาตุอากาศ ทานอากาศไม่ไหว เพราะไม่มีวิตก วิจาร(ความคิด ความอ่าน) ธาตุรูป 2 องค์ นี้ ต้องตั้งให้ใหญ่ได้ด้วยกรรมฐาน คือธาตุดิน และธาตุไฟ....ธาตุไฟเป็นธาตุตื่น เพราะเป็นธาตุ ลุกขึ้น เพราะไฟลุกขึ้นอย่างเดียว พระอริยะ จึงหลับเหมือนตื่น ตื่นเหมือนหลับ หลับแต่รู้ รู้แต่หลับ ก็ว่ากันไปตามที่ได้ยินเค้าเล่ามา หัวข้อ: Re: สภาวะ นอนหลับ สนิท กับ เข้า ปฐมฌาน เหมือนกันหรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 18, 2013, 10:58:50 am (http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/images/00-iimage/76.jpg) ลักษณะของจิต และการทำงานของจิต การทำงานของจิตจะเกิดดับสืบต่อกันไปอย่างไม่ขาดสาย ในพระสูตรตอนหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มีใจความว่า ยากที่จะนำสิ่งอื่นๆ ทั้งหลายในโลก มาเปรียบเทียบกับความเกิดดับอันรวดเร็วของจิต เพราะจิตเกิดดับ ๆ รวดเร็วกว่าสิ่งใด ๆ ในโลก เพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว จิตจะเกิดดับถึงแสนโกฏิขณะ หรือ ๑,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐ ดวง (หนึ่งล้านล้านดวง) ที่ว่า จิตมีการเกิดดับสืบต่ออย่างไม่ขาดสาย เพราะจิตดวงที่ ๑ เกิดขึ้นแล้วดับไป ต่อจากนั้นจิตดวงที่ ๒ ก็จะเกิดขึ้นติดต่อกันแล้วก็ดับไปอีก เป็นเช่นนี้ต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ (http://www.balavi.com/image/01-10-50/exercise04.jpg) ภาวะที่จิตเกิดดับสืบต่อกันเป็นกระแสนี้ท่านเรียกว่า สันตติ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับกระแสน้ำ ที่ประกอบไปด้วยอณูของน้ำเล็กๆ เรียงติดต่อกันเป็นสาย ขณะที่กระแสจิตไม่ออกมารับรู้เรื่องราว(อารมณ์) ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตในขณะนั้นมีชื่อเรียกว่า ภวังคจิต ซึ่งเป็นจิตที่ทำหน้าที่รักษารูปนาม ในภพปัจจุบันไว้มิให้แตกทำลายไป จนกว่าจะสิ้นอายุจากภพนี้ แม้ในขณะหลับสนิท (ไม่มีการฝัน) หรือสลบไป ก็จะมีภวังคจิต เกิดดับสืบเนื่องกันตลอดเวลา อารมณ์ของภวังคจิต เป็นอารมณ์ที่สืบเนื่องมาจากเหตุปัจจัยในอดีตภพ เมื่อใดก็ตามที่จิตออกมารับรู้เรื่องราวทางประตู (ทวาร) ทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เมื่อนั้นจิตจะขึ้นสู่วิถีซึ่งเรียกว่า วิถีจิต และเมื่อสิ้นสุดแต่ละวิถี ก็จะมีภวังคจิตที่คอยรักษาภพชาติเกิดคั่นอยู่ทุกครั้ง แต่เราจะไม่รู้สึกตัว เพราะการเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมานั้น เกิดขึ้นรวดเร็วมาก แม้แต่แสงไฟจากหลอดไฟฟ้า ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีการกระพริบ (เกิด-ดับ) ตามความถี่ของไฟฟ้ากระแสสลับ ด้วยความเร็วเพียง ๕๐ ครั้งต่อวินาทีเท่านั้น เราก็ยังไม่สามารถสังเกตเห็น การกระพริบของแสงไฟได้เลย ดังนั้น จิตซึ่งมีการเกิดดับอย่างรวดเร็วถึงประมาณ ๑ ล้าน ๆ ครั้งต่อวินาที * จึงไม่น่าสงสัยว่าทำไมเราถึงไม่สามารถที่จะรู้สึกได้ * อนุมานว่าการลัดนิ้วมือ (การงอนิ้วเข้ามาหาฝ่ามือ) ใช้เวลาประมาณ ๑ วินาที ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm (http://www.buddhism-online.org/Section02A_05.htm) http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/,http://www.balavi.com/ (http://xn--m3cif1apm3a5c5h6ab0d.dmc.tv/,http://www.balavi.com/) ans1 ans1 ans1 การหลับสนิท จิตไม่ออกมารับรู้อารมณ์ใดๆ ลักษณะจิตนี้ เรียกว่า ภวังคจิต ในปฐมฌาณ จิตรับรู้อารมณ์ วิตก วิจาร ปิติ สุข และเอกัคคตา ลักษณะจิตนี้เรียกว่า วิถีจิต ดังนั้น สภาวะของ "การหลับสนิท และ ปฐมฌาน" จึงไม่เหมือนกัน ต่างกันที่ จิตไม่รับรู้อารมณ์ และ จิตออกมารับรู้อารมณ์ :25: |