หัวข้อ: พระเขี้ยวแก้ว ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 11, 2013, 11:52:05 am (http://images.thaiza.com/38/38_20100727161912..jpg) ประวัติพระเขี้ยวแก้ว ณ วัดหลิงกวง ผู้เขียนได้ค้นคว้าหาประวัติตามเอกสารบันทึกของ นายถัง เป่ากั๋ว ที่พิมพ์แจกในคราว ที่อัญเชิญพระเขี้ยวแก้วมาประดิษฐาน ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๕ และในหนังสือที่ นายเดา ชูเรน รองประธานและเลขาธิการใหญ่ พุทธสมาคมแห่งประเทศจีน ได้เล่าไว้พอจะสรุปได้ดังนี้ว่า “พระเขี้ยวแก้วที่อยู่ในเมืองจีน ประชา ชนชาวจีนมักเรียกว่า “พระทันตธาตุฟาเหียน” เพราะ หลวงจีนฟาเหียน ได้อัญเชิญพระทันตธาตุ (พระเขี้ยวแก้ว) องค์นี้มาสู่จีน มีผู้กล่าวว่า พระทันตธาตุองค์นี้ได้ประดิษฐานครั้งแรกไว้ ที่อาณาจักรโบราณแห่งหนึ่ง ชื่อว่า อูไดยานา ปัจจุบันอยู่ในเขตของประเทศปากีสถาน หลังจากอาณาจักรนี้แล้วก็เคลื่อนย้าย มาอยู่ในแคว้น โคตัน (ทุกวันนี้คือ จังหวัด ไฮเตียน มณฑลซินเกียง) ต่อมาคริสต์ศตวรรษ ที่ ๕ หลวงจีนฟาเหียน ซึ่งมีชื่อเสียงโด่งดังในสมัย ราชวงศ์จี๋ (Qi) ซึ่งอยู่ภาคใต้ของประเทศ จีน ได้เดินทางไปเอาพระทันตธาตุจาก เมืองโคตัน มาไว้ที่ เมืองนานกิง ซึ่งเป็นเมืองหลวงของราชวงศ์จี๋ (ท่านได้ออกเดินทางจาริกไปยัง ประเทศอินเดียและลังกา พ.ศ. ๙๔๒ - ๙๕๗) (http://images.thaiza.com/38/38_201007271619121..jpg) หลังจากนั้น ประเทศจีนก็รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในสมัย ราชวงศ์ซุ่ย (Sui) พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วก็เลยย้ายมาประดิษฐาน ณ เมืองหลวงใหม่ คือเมืองฉางอัน (ซีอาน) ต่อจากนั้นมา จีนก็ตกอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงวุ่นวาย มีการรบกันภายในประเทศ ระหว่าง กันเองเป็นเวลาถึง ๕ ราชวงศ์ ดังนั้น พระเขี้ยวแก้วได้ถูกย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง กลับไปกลับมาหลายเมือง จนกระทั่งสุดท้ายได้มาประดิษฐานอยู่ที่ เมืองเยนกิง (คือเมืองปักกิ่ง ในปัจจุบัน) บนภูเขา ซีซัน ในสมัย ราชวงศ์เหลียว ซึ่งอยู่ภาคเหนือของประเทศจีน จากจดหมายเหตุในสมัย จักรพรรดิเดาซอง ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์หนึ่งในราชวงศ์เหลียว เล่มที่ ๒๒ บันทึกไว้เกี่ยวกับการประดิษฐานพระเขี้ยวแก้วไว้ที่ พระเจดีย์เจาเซียน ในเดือนปีที่ ๘ ของปีที่ ๗ ของเหียนย่ง ค.ศ. ๑๐๗๑ (พ.ศ. ๑๖๑๔) ซึ่งได้บันทึกไว้ในประวัติของพระเขี้ยวแก้วที่แน่นอน ก่อนที่จะมาประดิษฐาน ณ เมืองปักกิ่ง (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_11_01_13_11_50_56.jpeg) ในปี ค.ศ. ๑๙๐๐ (พ.ศ. ๒๔๔๓) พระเจดีย์เจาเซียนได้รับความเสียหายด้วยปืนใหญ่ โดยกองกำลังของฝ่ายพันธมิตรชาติตะวันตก ของผู้นิยมลัทธิจักรวรรดินิยม ๘ ประเทศ หลังจากนั้น มีพระภิกษุที่อยู่ภายในวัดได้มาทำ ความสะอาดบริเวณรอบพระเจดีย์ แล้วได้พบพระเขี้ยวแก้วบรรจุอยู่ในหีบศิลาอย่างถาวร อยู่ภายในห้องใต้ดินขององค์พระเจดีย์ บนตลับไม้กฤษณานั้นมีการระบุไว้ว่า ถูกนำมายัง ณ สถานที่นี้ในปี ค.ศ. ๙๖๓ (ปี พ.ศ. ๑๕๐๖) โดยพระภิกษุชื่อ ซ่านฮุยในยุคราชวงศ์ซ่ง ซึ่งเป็นผู้ได้รับการขนานนามว่า “อาจารย์ผู้เก็บความลับ” ตลับไม้กฤษณานี้ได้ รักษามาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งด้านข้างและด้านใน กล่องนั้นเป็นลายมือของหลวงจีนซ่านฮุย ซึ่งในตลับไม้นี้มี พระเขี้ยวแก้ว อยู่ด้านบน (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_11_01_13_11_49_08.jpeg) ในที่สุด พระเขี้ยวแก้ว ซึ่งได้ซ่อนเร้น มาเป็นเวลานานถึง ๘๓๐ ปี ก็ได้ปรากฏขึ้น อีกในโลกมนุษย์ ในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางพุทธ สมาคมแห่งประเทศจีน จึงได้อัญเชิญมาให้ประชาชนสักการบูชาที่ วัดกวงจี่ เป็นการชั่วคราว ณ อาคารสรีระ เมืองปักกิ่ง เมื่อทางการได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหม่ ณ วัดหลิงกวง แล้วเสร็จ จึงมีพิธีบรรจุพระบรมธาตุพระเขี้ยวแก้วในพระมหาเจดีย์ไว้เป็นการถาวร เมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๗ ทางพุทธสมาคมแห่งประเทศจีนได้จัดพิธีฉลองอันยิ่งใหญ่ ได้มีพระเถรานุเถระจากจีนหลายเมือง ผู้แทนพุทธสมาคมจากต่างประเทศ และทูตานุทูตจากทวีปเอเซีย ๙ ประเทศ มาร่วมในงานพิธีนี้ด้วย นับเป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ที่พระเขี้ยวแก้วได้ถูกอัญเชิญไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่นในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ ทางรัฐบาลพม่าและพุทธสมาคมของ พม่าได้ขออัญเชิญพระทันตธาตุไปให้ชาวพม่า ได้สักการบูชาเป็นเวลาหลายเดือน (http://images.thaiza.com/38/38_201007271619122..jpg) จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๙ พระเขี้ยวแก้ว ได้ถูกอัญเชิญกลับจากประเทศเมียนม่าร์ ผ่าน ทางยูนนานในเส้นทางที่จะไปปักกิ่ง จึงได้หยุด พักที่ยูนนานเป็นเวลา ๓ เดือน เพื่อให้ผู้ที่จะเดินทางมากราบไหว้บูชาตามจุดต่างๆ เช่นที่ คุนหมิง, สิบสองปันนา, ดีดอง, เจงมา, และ ลี่เจียง เป็นต้น บรรดาพุทธศาสนิกชนนับพันคน จากหลายเชื้อชาติในมณฑลยูนนาน ได้มีโอกาส สักการบูชาพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นโอกาสอันประเสริฐสุด ที่จะส่งผลให้เกิดความปีติยินดีเสมือนแสงสว่างที่สดใส ท่ามกลางบรรยากาศที่อบอุ่นอันดี ที่จะเกิดความสามัคคีกันมากขึ้น ระหว่างชนชาติต่างๆ ในมณฑลยูนนาน พระเขี้ยวแก้วของจีนนี้ ถือเป็นสมบัติ อันล้ำค่าที่สูงสุดของชาวจีน เฉกเช่นเดียวกับ พระบรมสารีริกธาตุอื่นๆ ของพระพุทธเจ้า ซึ่งไม่เพียงแต่พุทธศาสนิกชนของจีนเท่านั้น แต่รวมถึงพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ก็ให้ความเคารพนับถือเช่นเดียวกัน (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_11_01_13_11_52_50.jpeg) กรมการศาสนาของจีนจึงได้มีการอัญเชิญพระเขี้ยวแก้วไปยังประเทศเมียนม่าร์ถึง ๓ ครั้ง คือในปี พ.ศ. ๒๔๙๘, ๒๕๓๗, ๒๕๓๙ และอีกหนึ่งครั้งในประเทศศรีลังกา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔ ในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐบาลฮ่องกงได้จัดการต้อนรับพระทันตธาตุให้ประชาชนชม และสักการะเป็นวันแรกในวันวิสาขบูชา พระมหาเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง มีลักษณะทางสถาปัตยกรรม ผสมผสานของศิลปะสมัยราชวงศ์ถังและราชวงศ์ซ้อง ไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืนสายงาม คือสร้างเป็นพระเจดีย์ทรง ๘ เหลี่ยม ๑๓ ชั้น สูง ๕๑ เมตร บนยอดเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๑๒ องค์ สมาคมพุทธศาสนาแห่งประเทศจีนได้อำนวยการสร้างมาแต่ พ.ศ. ๒๕๐๑ แล้วเสร็จในปี ๒๕๐๗ ใช้เวลาสร้างนานกว่า ๖ ปี (http://www.madchima.net/forum/gallery/11_11_01_13_11_54_06.jpeg) ภายในเจดีย์นั้นเป็นพระราชวังใต้ดิน เจดีย์พระเขี้ยวแก้วชั้นแรกเป็นทางเข้าพระเจดีย์ผนังเจดีย์นั้นประดับด้วยก้อนอิฐ มีการแกะสลักบทสวดมนต์ไว้อีกด้วย ชั้นที่ ๒ เป็นที่ประดิษฐานพระเขี้ยวแก้ว ซึ่งถูกวางอยู่ในพานบัวทองคำ รายล้อมไปด้วยสถูปทองคำเล็กๆ ๘ องค์ เจดีย์ทองคำที่บรรจุพระเขี้ยวแก้วไว้ภายในนั้น มีของล้ำค่าต่างๆ มากมาย เป็นของที่แต่ละมณฑลของชนกลุ่มน้อย และในประเทศต่างๆ นำมาถวาย ท่ามกลางสิ่งของที่นำมาถวายนั้น ยังรวมไปถึงพระพุทธรูปที่ประเทศไทยมอบให้แก่ประเทศจีนอีกด้วย ขอบคุณภาพและขข้อมูลจาก http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?fid=23&tid=236&action=printable (http://tamroiphrabuddhabat.com/xmb/viewthread.php?fid=23&tid=236&action=printable) http://images.thaiza.com/ (http://images.thaiza.com/) หัวข้อ: Re: พระเขี้ยวแก้ว ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 11, 2013, 12:05:25 pm (http://www.travellifethailand.com/images/column_1338281410/DSCN2622_resize.jpg) พระเขี้ยวแก้ว ณ วัดมัลลิกา ดาลดา หรือ วัดพระเขี้ยวแก้ว แห่งเมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา พระเขี้ยวแก้ว จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี พระเขี้ยวแก้ว, พระทาฐธาตุ หรือ พระทันตธาตุ คือ พระธาตุส่วนที่เป็นเขี้ยวของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งข้อมูลในคัมภีร์พระไตรปิฏกในลักขณสูตร ได้กล่าวถึง มหาบุรุษลักษณะ 32 ประการ มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึง ลักษณะของพระทาฐะหรือเขี้ยวของบุคคลผู้มีลักษณะแห่งมหาบุรุษว่า "เขี้ยวพระทนต์ทั้งสี่งามบริสุทธิ์" ข้อมูลนี้จึงทำให้ทราบและเป็นที่ยืนยันว่า พระเขี้ยวแก้วมีทั้งหมด 4 องค์ ๑. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา ท้าวสักกะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระเจดีย์จุฬามณี ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ๒. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำขวา ประดิษฐานที่แคว้นกาลิงคะ (บางตำราเรียก กลิงครัฐ) แล้วจึงถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ ลังกา (วัดพระเขี้ยวแก้ว (ศรีลังกา) ในปัจจุบัน) ๓. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ประดิษฐาน ณ แคว้นคันธาระ แล้วเชื่อว่าถูกอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ที่เมืองฉางอัน ประเทศจีน (ซีอาน) โดยพระภิกษุฟาเหียนเมื่อคราวจาริกไปสืบพระศาสนายังอินเดีย ปัจจุบัน พระเขี้ยวแก้วองค์นี้ถูกอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ พระมหาเจดีย์ ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง ๔. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ประดิษฐานในภพพญานาค เป็นที่เชื่อกันว่า บนโลกมนุษย์ของเรานี้ มีพระเขี้ยวแก้วขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ 2 องค์ นอกจากนี้ พระเขี้ยวแก้วยังจัดเป็นพระบรมสารีริกธาตุที่ไม่แยกกระจัดกระจาย องค์มีลักษณะแข็งแกร่งรวมกันแน่น พุทธศาสนิกชนจึงมีความศรัทธาเลื่อมใสในองค์พระเขี้ยวแก้วเป็นอย่างมาก ที่มา th.wikipedia.org/wiki/พระเขี้ยวแก้ว (http://th.wikipedia.org/wiki/พระเขี้ยวแก้ว) ขอบคุณภาพจาก http://www.travellifethailand.com/ (http://www.travellifethailand.com/) หัวข้อ: Re: พระเขี้ยวแก้ว ณ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 11, 2013, 12:20:59 pm (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/hr1667/630.jpg) พุทธศาสนิกชนชาวจีนตั้งแถวรอรับเสด็จสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สานสัมพันธ์ไทย-จีน ผ่านพุทธศาสนา ธงทิวปลิวไสวในสายลมฤดูใบไม้ผลิยามสายที่ วัดหลิงกวง กรุงปักกิ่ง พุทธศาสนิกชนชาวจีนตั้งแถวยาวตามขั้นบันไดเฝ้าเสด็จสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโอกาสเสด็จฯมาทรงเป็นประธานในพิธีประดิษฐานพระพุทธรูปจำลอง “สมเด็จพระศาสดา” “สมเด็จพระศาสดา” เป็นพระพุทธรูปตามศิลปะแบบสุโขทัย ปางมารวิชัย พุทธลักษณะพระศาสดา ซึ่ง องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) จัดทำขึ้นเพื่อทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายแด่พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o2/420.jpg) สมเด็จพระศาสดาประดิษฐานที่วิหารในวัดหลิงกวง. สำหรับพระศาสดาองค์นี้เป็นองค์ที่สามที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกมอบให้จีน สององค์แรกมอบให้วัดที่เซี่ยงไฮ้ และวัดที่สิบสองปันนา ไปเมื่อปีที่แล้วตามลำดับ พระพุทธรูปองค์นี้สมเด็จพระเทพรัตนฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเสด็จพระราช ดำเนินทรงเททองหล่อและทรงเป็นองค์ประธานในพิธีมหาพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อ 30 มกราคม 2552 จากนั้นทางพ.ส.ล.จะอัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัด หรือสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ของพระพุทธศาสนาใน 19 ประเทศ วัดหลิงกวงเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ สร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์ถัง หรือในราวคริสต์ศตวรรษที่ 8 เกี่ยวข้องกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนาก่อนขึ้นไปยังทิศตะวันออก เป็นเส้นทางความเจริญของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระเขี้ยวแก้ว จากการประชุมหารือทั้งสามฝ่าย ประกอบด้วยพุทธสมาคมจีน (Buddhist Association of China) สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่ง และ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ตกลงมอบพระศาสดาให้แก่วัดหลิงกวง เพื่อเป็นหลักฐานประวัติศาสตร์แสดงถึงการเจริญไมตรีระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o3/420.jpg) (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o4/420.jpg) ท่านเจ้าอาวาสวัดหลิงกวงและพระสงฆ์ฝ่ายจีนที่เข้าร่วมประกอบพิธี. พิธีกรรมในการประดิษฐานพระศาสดานั้น มีทั้งการสวดมนต์ตามแบบเถรวาท นำโดยพระธรรมวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร และแบบมหายาน นำโดย ท่านเจ้าอาวาสวัดหลิงกวง “หัวใจของการมอบพระศาสดาให้จีนยังเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครอง ราชย์มาเป็นเวลา 60 กว่าปี ทรงมีพระราชกิจมากมายจนชาวพุทธทั่วโลกยอมรับและเคารพอย่างสูง นับได้ว่าเป็นกษัตริย์ของชาวพุทธโลกมีบทบาทในการอุปถัมภ์ค้ำชูศาสนา เช่น ทรงออกผนวช และหลักในการปกครอง และเจริญไมตรีเป็นหลักทางพุทธศาสนาที่คนทั่วไปยอมรับ การมอบพระศาสดาครั้งนี้จึงเป็นเรื่องของชาวจีนกับพุทธศาสนิกชนทั่วโลก” พัลลภ ไทย-อารีย์ เลขาธิการองค์การ พ.ส.ล. กล่าว อีกนัยหนึ่งเมื่อพูดถึงการสร้างสมเด็จพระศาสดานั้น เลขาธิการองค์การ พ.ส.ล.อธิบายว่า มิใช่เป็นการให้หลงใหลในพระพุทธรูป อย่างไรก็ตาม ในสังคมไทยให้ความเคารพต่อพระพุทธรูปอย่างมาก แต่ประเด็นถัดมาคือการนำทุนที่ได้จากการสร้างพระไปเผยแพร่ธรรมะ เช่น การแปลหนังสือทศพิธราชธรรม เป็น 5 ภาษา จากนั้นหากยังมีทุนทรัพย์เหลือจะจัดทำกองทุนการกุศลต่อผู้หญิงและเด็กต่อไป (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o5/420.jpg) พระเขี้ยวแก้วโบราณค้นพบใหม่อีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2443. บรรยากาศอันร่มรื่นและอบอวลไปด้วยกลิ่นควันธูปฟุ้งกำจายทั่วไปภายในวัดหลิงกวง กับความรู้สึกกระตือรือร้นของพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมงานในวันนั้น เป็นประจักษ์พยานแสดงให้เห็นว่าศาสนาพุทธดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง แม้ในสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o6/420.jpg) ภาพแกะสลักพระอรหันต์ 500 องค์. (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o7/420.jpg) ปรัชญาปารมิตาสูตรสลักบนกำแพงแห่งหนึ่งที่วัดหลิงกวง. ความสำคัญของวัดหลิงกวงในอดีตที่เป็นเส้นทางผ่านของศาสนาพุทธนิกายมหายาน มิได้มีแต่เพียงอดีตที่รุ่งเรืองเท่านั้น หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบัน วัดหลิงกวง ก็เป็นพื้นที่ที่แสดงถึงการแลกเปลี่ยนสัมพันธภาพ อันดีกับชาวพุทธจากชาติอื่น (http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2011/05/06/169460/o8/420.jpg) พระพุทธรูปจากศรีลังกา. ดังจะเห็นได้ว่ามีพระพุทธรูปจากศรีลังกา ประดิษฐานอยู่หน้ากำแพงที่สลักรูปพระอรหันต์ภายในวัด ในส่วนที่เกี่ยวกับไทยนั้น สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เคยประทานพระพุทธรูป หล่อด้วยทองแดงองค์หนึ่ง ประดิษฐานเป็นองค์ประธานในวิหารประธานของวัด เมื่อปี พ.ศ.2532 รูปเคารพที่แตกต่างกับความเป็นพุทธต่างนิกายนั้นย่อมแสดงถึงการที่พุทธศาสนาเข้าไปสถิตอยู่ในดินแดนต่างวัฒนธรรมทั่วโลก และ พ.ส.ล. ก็เป็นองค์กรของชาวพุทธหนึ่งในระดับนานาชาติที่เป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนทัศนคติระหว่างกัน เพื่อความเข้าใจในแก่นธรรมทางพุทธศาสนาอย่างแท้จริง. ขอบคุณภาพข่าวจาก http://www.thairath.co.th/content/life/169460 (http://www.thairath.co.th/content/life/169460) |