สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) => ข้อความที่เริ่มโดย: bomp ที่ มกราคม 11, 2013, 12:36:34 pm



หัวข้อ: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: bomp ที่ มกราคม 11, 2013, 12:36:34 pm
มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ

  เมื่อวานนี้โดนเพื่อน ถาม อย่างนี้ ครับ ก็ชักแม่น้ำทั้งห้า อธิบาย แต่รู้สึกว่าเหตุผลเองฟังยังไม่เข้าท่า ครับ ออกมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ จึงมาเรียนถามที่ห้องนี้ครับ

  :smiley_confused1: thk56


หัวข้อ: Re: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: PRAMOTE(aaaa) ที่ มกราคม 11, 2013, 09:54:44 pm
ต้องรบกวนท่าน nathaponson หา พระสูตร เรื่อง เนื้อนาบุญ มาให้อ่าน
             สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ปัจจุบัน ท่านก็เคยเขียนและพิมพ์เผยแผ่เรื่องนี้อยู่บ้าง เท่าที่เคยเห็นมา


หัวข้อ: Re: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 17, 2013, 11:00:46 am
(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/773/15773/images/228048.jpg)

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
อิสสัตถสูตรที่ ๔

       [๔๐๕] สาวัตถีนิทานฯ
       พระเจ้าปเสนทิโกศลประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคว่า
       ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทาน บุคคลพึงให้ในที่ไหนหนอแล ฯ
             พ. ดูกรมหาบพิตร จิตย่อมเลื่อมใสในที่ใด พึงให้ในที่นั้นแล ฯ
             ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก ฯ
             
       [๔๐๖] พ. ดูกรมหาบพิตร ทานพึงให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่ง และทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมากนั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง
       ดูกรมหาบพิตร ทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่
       ดูกรมหาบพิตร และด้วยเหตุนั้น อาตมภาพจักย้อนถามมหาบพิตรในปัญหากรรมข้อนั้นบ้าง มหาบพิตรพอพระทัยอย่างใด พึงพยากรณ์อย่างนั้น ฯ


(http://news.nipa.co.th/image/manager/img500/2063_552000008519902.JPEG)

       [๔๐๗] มหาบพิตรจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏเฉพาะหน้าแด่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน
        ถ้าว่ากุมารที่เป็นกษัตริย์ผู้ไม่ได้ศึกษา ไม่ได้หัดมือ ไม่ได้รับความชำนาญ ไม่ได้ประลองการยิง เป็นคนขลาด เป็นคนมักสั่น เป็นคนมักสะดุ้ง เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้
        พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือฯ
        ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษเช่นนั้น และข้าพระองค์ไม่ต้องการบุรุษเช่นนั้นเลย ฯ
        พ. ถ้าว่า กุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
        ถ้าว่ากุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
        ถ้าว่ากุมารที่เป็นศูทร ผู้ไม่ได้ศึกษา ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้
        พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือและพระองค์พึงทรงต้องการบุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ
        ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่พึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และข้าพระองค์ไม่พึงต้องการบุรุษเช่นนั้นแล ฯ
       
        [๔๐๘] พ. ดูกรมหาบพิตร พระองค์จะทรงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ณ ที่นี้การยุทธพึงปรากฏแก่พระองค์ สงครามพึงปะทะกัน
        ถ้าว่า กุมารที่เป็นกษัตริย์ผู้ศึกษาดีแล้ว ได้หัดมือแล้ว ได้รับความชำนาญแล้ว ได้ประลองการยิงมาแล้วไม่เป็นคนขลาด ไม่เป็นคนสั่น ไม่เป็นคนสะดุ้ง ไม่เป็นคนมักวิ่งหนี พึงมาอาสาไซร้
        พระองค์พึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์พึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ ฯ
        ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ
        พ. ถ้าว่ากุมารที่เป็นพราหมณ์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
        ถ้าว่า กุมารที่เป็นแพศย์ ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้ ฯลฯ
        ถ้าว่า กุมารที่เป็นศูทร ผู้ศึกษาดีแล้ว ฯลฯ พึงมาอาสาไซร้
        พระองค์จะพึงทรงชุบเลี้ยงบุรุษนั้นหรือ และพระองค์จะพึงทรงมีพระประสงค์บุรุษเช่นนั้นหรือ
        ป. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หม่อมฉันพึงชุบเลี้ยงบุรุษนั้น และหม่อมฉันพึงต้องการบุรุษเช่นนั้น ฯ


(http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/773/15773/images/228164.jpg)

        [๔๐๙] พ. ฉันนั้นนั่นแล มหาบพิตร แม้หากว่า กุลบุตรออกจากเรือนตระกูลไรๆ เป็นผู้บวชหาเรือนมิได้ 
        และกุลบุตรนั้นเป็นผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕
        ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรนั้น ย่อมเป็นทานมีผลมาก

                องค์ ๕ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้วเป็นไฉน
                กามฉันทะ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
                พยาบาท อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
                ถีนมิทธะ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
                อุทธัจจกุกกุจจะ อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
                วิจิกิจฉา อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว
                องค์ ๕ เหล่านี้อันกุลบุตรนั้นละได้แล้ว

       กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นไฉน
       กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยศีลขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
       เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยสมาธิขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
       เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยปัญญาขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
       เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ
       เป็นผู้ประกอบแล้วด้วยวิมุตติญาณทัสสนขันธ์ อันเป็นของพระอเสขะ

       กุลบุตรนั้นเป็นผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ เหล่านี้
       ทานที่ให้แล้วในกุลบุตรผู้มีองค์ ๕ อันละได้แล้ว ผู้ประกอบแล้วด้วยองค์ ๕ ดังนี้ ย่อมมีผลมากฯ

(http://www.bloggang.com/data/travelaround/picture/1236083554.jpg)

      [๔๑๐] พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
      ศิลปะการยิงแม่น กำลังเข้มแข็ง และความกล้าหาญมีอยู่ในชายหนุ่มผู้ใด
      พระราชาผู้ทรงพระประสงค์ด้วยการยุทธพึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มเช่นนั้น ไม่พึงทรงชุบเลี้ยงชายหนุ่มผู้ไม่กล้าหาญ เพราะเหตุแห่งชาติ ฉันใด ฯ
      ธรรมะ คือ ขันติและโสรัจจะ ตั้งอยู่แล้วในบุคคลใด
      บุคคลพึงบูชาบุคคลนั้นผู้มีปัญญา มีความประพฤติเยี่ยงพระอริยะ แม้มีชาติทราม ฉันนั้นเหมือนกันฯ

      พึงสร้างอาศรมอันเป็นที่รื่นรมย์ ยังผู้พหูสูตทั้งหลายให้สำนักอยู่ ณ ที่นั้น
      พึงสร้างบ่อน้ำไว้ในป่าที่กันดารน้ำ และสะพานในที่เป็นหล่ม
      พึงถวาย ข้าว น้ำ ของเคี้ยว ผ้า และเสนาสนะในท่านผู้ซื่อตรงทั้งหลาย
      ด้วยน้ำใจอันผ่องใสเมฆมีสายฟ้าแลบแปลบปลาบ (เมฆอันประกอบด้วยถ่องแถวแห่งสายฟ้า) มียอดตั้งร้อยกระหึ่มอยู่ ยังแผ่นดินให้โชกชุ่มอยู่ย่อมยังที่ดอนและที่ลุ่มให้เต็ม แม้ฉันใด ฯ

      ทายกผู้มีศรัทธา เป็นบัณฑิตได้ฟังแล้ว ย่อมจัดหาโภชนาหารมาเลี้ยงวณิพก ด้วยข้าวน้ำให้อิ่มหนำ บันเทิงใจ เที่ยวไปในโรงทาน สั่งว่า ท่านทั้งหลายจงให้ ท่านทั้งหลายจงให้ดังนี้ และทายกนั้นบันลือเสียงเหมือนเสียงกระหึ่มแห่งเมฆเมื่อฝนกำลังตก ฉะนั้น
       ธารแห่งบุญอันไพบูลย์นั้น ย่อมยังทายกผู้ให้ ให้ชุ่มชื่น ฯ


อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๓๑๔๖ - ๓๒๑๘. หน้าที่ ๑๓๘ - ๑๔๑. http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3146&Z=3218&pagebreak=0 (http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=15&A=3146&Z=3218&pagebreak=0)             
ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :- http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=405 (http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=405)
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://news.nipa.co.th/,http://www.bloggang.com/ (http://www.oknation.net/,http://news.nipa.co.th/,http://www.bloggang.com/)


หัวข้อ: Re: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: montra ที่ มกราคม 17, 2013, 11:20:01 am
 st11 st12 thk56

   มีรายละเอียด มากครับ

 


หัวข้อ: Re: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 17, 2013, 11:23:22 am
มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ

  เมื่อวานนี้โดนเพื่อน ถาม อย่างนี้ ครับ ก็ชักแม่น้ำทั้งห้า อธิบาย แต่รู้สึกว่าเหตุผลเองฟังยังไม่เข้าท่า ครับ ออกมหาสมุทรเป็นส่วนใหญ่ จึงมาเรียนถามที่ห้องนี้ครับ

  :smiley_confused1: thk56


 ans1 ans1 ans1
   
   ขอให้คุณบอมพ์อ่าน "อิสสัตถสูตร" ให้เข้าใจ พระสูตรนี้ตอบคำถามของคุณบอมพ์ได้โดยตรง
    พระคือ ผู้มีศีล ไม่ใช่พระก็คือ ผู้ไม่มีศีลหรือมีศีลน้อยนั่นเอง
       ขอให้สังเกตว่า พระพุทธองค์ กำหนดองค์ ๕ ไว้เป็นสองกลุ่ม
       กลุ่มแรก คือ นิวรณ์ ๕ กุลบุตรที่ละ ๕ ข้อนี้ได้ คือ พระอนาคามีผล
       กลุ่มที่สอง คือ คุณธรรมของพระอเสขะ พระอเสขะ คือ พระอรหันตผล

    ดังนั้น เหตุที่ทำบุญกับผู้มีศีล มีอานิสงส์มากกว่าผู้ไม่มีศีล
    ก็เพราะ พระไม่มีนิวรณ์ หรือพระหมดกิเลสนั่นเอง
    หากจะยกตัวอย่างทางโลก ก็ต้องบอกว่า คนที่มีวิชาความรู้ เราควรรับเข้าทำงาน
    ในทางตรงข้ามหากขาดความรู้ เราก็ไม่ควรรับเข้าทำงาน

    ผมคงไม่สามารถอธิบายอะไรให้พิสดารไปกว่านี้ได้ ขอคุยเท่านี้ครับ

     :25:


หัวข้อ: Re: มีเหตุผล อะไรที่ ทำบุญกับพระ ได้บุญมากกว่า ทำบุญกับคนที่ไม่ใช่พระ ครับ
เริ่มหัวข้อโดย: mitdee ที่ มกราคม 18, 2013, 07:14:40 am
 ans1

ทำไม เงินเดือน ป.ตรี มากกว่า ม.6
ทำไม คนไม่มีวุฒิ เขาไม่รับสมัครงาน

   ทั้ง ๆ ที่ ก็เป็นคนเหมือนกัน ทำงานได้เหมือนกัน ไม่มีวุฒิ ก็ไม่มีสิทธิ์
 
  ที่นี้ บุญ เป็นสภาวะ นี่สิ ถ้าหากนับบุคคล ก็ต้องใช้ สภาวะ ของ ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นเครื่องตัดสินใจ ด้วยทำไม ต้องใส่ ค่า และ คุณ ลงไป ก็จะเข้าใจได้ว่า เนื้อนาบุญที่ดี ที่สุด ก็คือ กลุ่มของ พระอริยะบุคคล 8 จำพวก นั่นเอง