สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ มกราคม 24, 2013, 10:13:06 am



หัวข้อ: นักศึกษาไทย "อ่อนอังกฤษ..สู้พม่าไม่ได้"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ มกราคม 24, 2013, 10:13:06 am
(http://www.dailynews.co.th/sites/default/files/imagecache/620x245/cover/179945.jpg)

นักศึกษาไทย "อ่อนอังกฤษ..สู้พม่าไม่ได้"

“วันชัย” ชี้นักศึกษาไทยอ่อนภาษาอังกฤษ สู้พม่า เวียดนนาม และภูฏาน ไม่ได้ จี้ปรับการสอนอังกฤษทั้งระบบเริ่มเด็กประถม แนะ ศธ.ปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่

วันนี้ (22 ม.ค.) รศ.ดร.วันชัย  ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.)  เปิดเผยว่า  ปัจจุบันมีนักศึกษาต่างชาติมาเรียนที่ มฟล.จำนวนมาก พบข้อแตกต่างชัดเชนว่านักศึกษาต่างชาติส่วนใหญ่จะตั้งใจเรียนกว่าเด็กไทย  ที่สำคัญนักศึกษาต่างชาติบางประเทศ  เช่น  พม่า  เวียดนาม และภูฏาน สามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเด็กไทยมาก  ส่วนนักศึกษา เกาหลี ญี่ปุ่น ใช้ภาษาอังกฤษอยู่ระดับปานกลาง  ขณะที่นักศึกษาลาว และจีนอยู่ในระดับที่ไม่ดีเท่าไหร่

สำหรับนักศึกษาไทยพบว่าเด็กที่เก่งๆอยู่ในระดับดีมาก ส่วนที่อ่อนก็อ่อนไปเลย ดังนั้นเราต้องพัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษใหม่ทั้งหมดเริ่มตั้งแต่ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา   เพราะจำเป็นต่อการแข่งขันในอนาคต  โดยเฉพาะการเปิดประชาคมอาเซียน


(http://p1.s1sf.com/ca/0/wb/i/ui/184/923954/m3.jpg;r:width=580;static:p_s1sf_ca_0;file:dc111a.jpg)

รศ.ดร.วันชัย กล่าวต่อไปว่า มฟล.พยายามช่วยแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษา โดยการนำครูสอน 8 กลุ่มสาระในโรงเรียนในจังหวัดเชียงรายมาอบรมพัฒนาการเรียนการสอน ผลปรากฏว่าหลังจากที่ครูมาอบรมกับ มฟล.ทำให้ผลการสอบแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน หรือโอเน็ต ของนักเรียนดีขึ้นมาก
    อีกทั้งยังพบว่า ปัจจัยสำคัญที่ทำให้โรงเรียนต่างจังหวัดมีคุณภาพหรือไม่
    ขึ้นอยู่ที่ตัวผู้บริหารโรงเรียน ที่จะต้องให้ความสนใจ มีเวลา และให้ความสำคัญกับการบริหารโรงเรียนอย่างจริงจัง
    รวมทั้งการเปลี่ยนตัวผู้บริหารโรงเรียนยังเชื่อมโยงต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนทั้งโรงเรียนด้วย

     “การปฏิรูปการศึกษา ตั้งแต่ปี 2542 เน้นเปลี่ยนโครงสร้าง มีการกระจายอำนาจไปยังเขตพื้นที่การศึกษา แต่ผลคือผู้อำนวยการเขตพื้นที่ฯไม่มีทักษะเพียงพอที่จะกำกับดูแลคุณภาพการศึกษาจนเกิดความเสียหายต่อการศึกษา  ผมเห็นด้วยให้แก้ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ  2542  ให้ปรับโครงสร้างกระทรวงใหม่  โดยเฉพาะเขตพื้นที่การศึกษา และการพัฒนาครูที่ควรให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่ช่วยอบรมพัฒนาครูในโรงเรียนใกล้เคียง แต่การบริหารงานระบบให้เป็นหน้าที่ส่วนกลางเหมือนเดิม 
    ส่วนเงินวิทยฐานะของครูอยากให้มีการสำรวจใหม่ว่า
    หลังจากได้เงินวิทยฐานะแล้ว คุณภาพการศึกษาดีขึ้นหรือไม่ แต่เท่าที่ดูคุณภาพยังเหมือนเดิม
    จึงเสนอให้ครูปรับปรุงวิธีการเรียนการสอนใหม่ แต่ไม่ใช่การไปลดเงินครู  แต่ให้ครูทำงานได้มีประสิทธิภาพขึ้น”
    รศ.ดร.วันชัย กล่าว..


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/education/179945 (http://www.dailynews.co.th/education/179945)
http://p1.s1sf.com/ (http://p1.s1sf.com/)