หัวข้อ: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: nippan55 ที่ มกราคม 25, 2013, 01:07:04 am ask1
เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ ถ้ากรรมฐาน เป็นการข่มจิต เรานึกถึงอะไร ก็ได้ ก็เป็นองค์กรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ เช่นนึกถึง งานที่กำลังทำอยู่ และตั้งใจทำงานตรงนั้น ประคองจิตข่มใจให้อยู่กับงานตรงนั้น อย่างนี้ก็เป็นกรรมฐานแล้วใช่หรือไม่ครับ ดังนั้น รูปแบบของกรรมฐาน จึงไม่ได้จำกัดที่อิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง หรือ นอน แต่อยู่ที่เราใช้สภาวะข่มจิต ในขณะน้น ใช่หรือไม่ครับ thk56 รอคำตอบจากท่านผู้รู้ทุกท่าน นะครับ หัวข้อ: Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: NP2706 ที่ มกราคม 25, 2013, 01:23:12 pm สิ่งที่สำคัญของกรรมฐาน ก็คือ ความมีศรัทธาและการตั้งม้่น เป็นเบื้องต้น.....
ที่กล่าวเช่นนี้ ด้วยเหตุผลสำคัญคือ การที่ชวนใครไปทำบุญ คิดว่าเป็นไปได้สักเท่าไหร๋? ที่จะมีจำนวนคนไปรว่มทำบุญ แต่ถ้าชวนให้ปฏิบัติกรรมฐาน ก็ลองคิดคำนวณเปรียบเทียบจำนวนคนที่จะไป.....ซึ่งจะมองเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนกรรมฐานมีแนวปฏิบัติ 40 กองซึ่งล้วนแล้วก็จะมีวิธีปฏิบัติแตกต่างกัน ในองค์กรรมฐานมีการตั้งจิตในการฝึก ๓ นิมิต 1.สมาธินิมิต เครื่องหมายของสมาธิสำหรับภาวนา อยู่ตามจุด ตามห้องที่ฝึก 2.ปัคคาหะนิมิต เป็นการกำหนดยกจิตไว้ที่ สมาธินิมิต ในระหว่างภาวนา 3.อุเบกขานิมิต เป็นการกำหนดวางเฉยต่อ อดีต อนาคต เพื่อขจัดความฟุ้งซ่าน กระทู้แนะนำให้อ่าน ลำดับการศึกษา ของ กรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6600.msg24486#msg24486 (http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=6600.msg24486#msg24486) หัวข้อ: Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: ธุลีธวัช (chai173) ที่ มกราคม 25, 2013, 01:37:13 pm เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ การข่มจิต เรานึกถึงอะไร ก็ได้ ก็เป็นองค์กรรมฐาน ใช่หรือไม่ครับ เช่นนึกถึง งานที่กำลังทำอยู่ และตั้งใจทำงานตรงนั้น ประคองจิตข่มใจให้อยู่กับงานตรงนั้น อย่างนี้ก็เป็นกรรมฐานแล้วใช่หรือไม่ครับ มีคำอยู่ประโยคหนึ่งที่ค้านกันอยู่ คือ "การทำงานด้วยจิตว่าง" ประโยคนี้ง่ายในความหมาย แต่ยากในความเข้าใจ การข่มใจอยู่ที่งาน ฟังดูฉงน! อย่างนี้น่าจะข่มอารมณ์ขุ่นเคืองขณะทำงานไม่ฟังเสียงนกกานินทาสาดโคลนเสียมากกว่า การทำงานต้องมีใจจดจ่อ อย่างนี้เยื่องนี้เป็นสมาธิได้ก็มิฏฐาสมาธิไง ครับ! ผมขอให้พิจารณาตามนี้ 1.สมาธินิมิต เครื่องหมายของสมาธิสำหรับภาวนา อยู่ตามจุด ตามห้องที่ฝึก 2.ปัคคาหะนิมิต เป็นการกำหนดยกจิตไว้ที่ สมาธินิมิต ในระหว่างภาวนา 3.อุเบกขานิมิต เป็นการกำหนดวางเฉยต่อ อดีต อนาคต เพื่อขจัดความฟุ้งซ่าน (http://www.madchima.net/images/487_anupati.gif) หัวข้อ: Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: Hero ที่ มกราคม 31, 2013, 11:08:51 am ขอแชร์แบบคนที่เพิ่งผ่านการล้มลุกคลุกคลานมาเมื่อปีที่แล้วนะคะ
เท่าที่ได้ลองปฏิบัติมา สิ่งแรกที่ต้องทำคือพยายามรักษาศีล 5 ค่ะ ถ้าวันไหนย่อหย่อนไป ก็จะนั่งสมาธิไม่ค่อยสงบ วันแรกที่นั่ง เรานั่งได้ 5 นาทีต่อเนื่อง ทำอยู่สามครั้ง แต่ละครั้งใน 5 นาทีนั้น มีเรื่องที่นับได้ประมาณ 30 เรื่องค่ะ ตก 10 วินาที ก็คิดซะเรื่องนึง คิดได้ก็คิดไป มีสติก็ดึงกลับมาที่ลมหายใจ ตอนแรกไม่พุทโธ ตอนหลังเลยต้องใช้พุทโธนำทางบ้าง เพราะไม่งั้นไม่มีอะไรให้เกาะเลย เป็นอย่างนี้อยู่หลายวันเหมือนกันนะคะ แต่ก็นั่งไปเรื่อย ๆ หลัง ๆ พบว่าดีขึ้นค่ะ ตามดูลมหายใจไปเรื่อย มีอยู่วันนึงได้อ่านว่า มีคนนับเลข หายใจเข้า-ออก หนึ่งรอบนับเป็น 1 ก็ลองมาทำดู นับได้แค่ยี่สิบเอง หลุดไปแล้ว หลุดไปก็ช่าง นับต่อ ช่วงไหนหายไป ก็นับต่อไปเท่าตัวเลขสุดท้ายที่จำได้ ก็ไม่ต้องไปท้อถอย ก็ทำไป จนนับได้ครบ 500 แบบชิว ๆ เป็นอัตโนมัติเลยค่ะ แต่เดี๋ยวนี้ก็ไม่ได้นับอะไรนะ ไม่มีพุทโธอะไรด้วย ก็นั่งดูลมหายใจเฉย ๆ ไปเรื่อย ๆ พอเกิดความรู้สึกสุขสงบ เบาโล่ง สบาย เย็นก็หยุด ก็นั่งเอาสงบอะนะ พอได้สงบ สบายแล้ว ก็พอ ทำแบบเราไม่ค่อยดีนะคะ เห็นท่าน ๆ แนะนำว่าให้นั่งต่อไป แต่เราเริ่มเห็นภาพอะไรแปลก ๆ ในหัว ตอนจะเคลิ้มหลับ ขอมาตั้งหลักฝึกสติก่อน หัวข้อ: Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: tang-dham ที่ มกราคม 31, 2013, 11:38:36 am สมาธิ
สมาธิ หมายถึงความตั้งมั่นของจิต อยู่กับกรรมฐาน งาน หรืออารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งทำให้เกิดความสงบ อันเป็นสุขอย่างยิ่ง คู่ปรับของสมาธิ คือนิวรณ์ธรรมทั้ง ๕ ๑.กามฉันทะ ความยินดี พอใจในสัมผัส ๒.พยาบาท ความยินร้าย ไม่พอใจในสัมผัส ๓.อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน กุกุจจะ ความ หงุดหงิด งุ่นง่าน ลำคาญใจ ๔.ถีนะ ความเกียจคร้าน หดหู่ ห่อเหี่ยว มิทธะ ความง่วงเหงาหาวนอน ๕.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย รู้ไม่จริง สมาธิ เกิดได้โดย สมถะ และวิปัสสนาภาวนา :115: :115: สมาธิสุข เพราะสมาธิ คือความตั้งมั่นอยู่กับที่ของจิต ทำให้จิตสงบ หยุดนึก หยุดคิด หยุดกวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียว จนเป็นหนึ่ง จึงทำให้จิตได้หยุดพัก และเป็นสุข ชั่วคราว จะยาวนานมากน้อยได้เพียงใด ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ ในการทรง รักษา สมาธิไว้ได้ของผู้เจริญสมาธิแต่ละคน ด้วยเหตุนี้ผู้คนตั้งแต่ครั้งโบราณกาลก่อนที่จะมีพระพุทธเจ้าอุบัติขึ้นมาในโลกนี้เสียอีก ได้พากันขวันขวายแสวงหาความสุขจากสมาธิ ด้วยการไปบำเพ็ญพรต บวชเป็นฤาษี ชีไพรอยู่ในป่า หาความสุขจากการภาวนา ทำสมาธิ อย่างที่เห็นกันอยู่มากในเมืองอินเดียและแพร่หลายไปสู่ประเทศต่างๆ วิธีทำให้เกิดสมาธิ ๑.โดยการผูกจิตไว้กับงานหรือกิจกรรมต่างๆที่มีอำนาจดึงดูดใจคน เช่น ดูหนัง ฟังเพง ตกปลา เล่นเกมส์ กีฬา เล่นไพ่ การพนัน ฯลฯ ๒.โดยการสวดมนต์ บริกรรม ท่องบ่นคาถา ดังเห็นเป็นที่นิยมกันทั่วทุกศาสนา ทุกลัทธิ ทั้งหลายในโลกทั้งอดีตและปัจจุบัน ๓.โดยการทำกรรมฐาน ดังเช่น การเจริญกรรมฐาน ๔๐ อย่างที่เราได้เรียนรู้กันอยู่ เรียกว่า“สมถะภาวนา” ๔.โดยการทำวิปัสสนาภาวนา อันนี้เป็นวิชาใหม่ที่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาสอน ในที่นี้จะแนะนำวิธีฝึกและทำให้เกิดสมาธิตามข้อ ๒ ๓ และ ๔ เพราะข้อ ๑ ทำเป็นกันทุกคนอยู่แล้ว การทำสมาธิโดยการสวดมนต์ ท่องมนต์ บริกรรมภาวนา ท่องบ่นคาถา โดยการสวดมนต์ ท่องมนต์ บ่นคาถาวิธีนี้คงไม่ยากและไม่ต้องแนะนำ โดยการบริกรรม วิธีนี้มีตัวอย่างอยู่มาก เช่น การบริกรรมคำว่า “พุทโธ” ตามลมหายใจเข้าออก บริกรรมคำว่า “หนอ” “สัมมาอรหัง” “โอม นมัสศิวะ” “โอม มณีปัทวะฮุม” ฯลฯ โดยการท่องบ่นคาถา วิธีนี้ เป็นวิธีลัดที่จะทำให้เกิดสมาธิได้เร็วมาก นิยมใช้กันในหมู่นักไสยศาสตร์ คงกระพันชาตรี เมตตามหานิยมทั้งหลายวิธีท่องคาถาให้เกิดสมาธิ ๑.ท่องแบบต่อเนื่อง เช่นท่องคาถาปลุกพระ “นะ มะ พะ ธะ นะ มะ นุ ลุ” ท่องถี่ๆ นานๆจนเกิดสมาธิ มีปีติ ตัวเต้น ตัวสั่น รุนแรงนี่เรียกว่าปลุกพระขึ้น ๒.ท่องคาถาเป็นคาบๆ เช่นท่องคาถา หัวใจอิติปิโส “อิ สวา สุ” “สวา สุ อิ” “ สุ อิ สวา” “อิ สวา สุ” ท่องกลับไปกลับมาครบ ๑ รอบ เรียกว่า ๑ คาบ วิธีนี้เกิดสมาธิอย่างนิ่มนวล แต่รวดเร็วและไม่รุนแรงอย่างการปลุกพระ สมัยขุนแผนชอบใช้วิธีนี้ การทำสมาธิโดยฝึกกรรมฐาน ๔๐ อย่าง วิธีนี้ต้องไปศึกษากรรมฐานทั้ง ๔๐ อย่างแล้วเลือกเอากรรมฐานชนิดใดชนิดหนึ่งมาเจริญ ตามอุปนิสัย จริต ความชอบและความถนัดของแต่ละบุคคล กรรมฐาน ๔๐ อย่างมี กสิณ ๑๐ อนุสสติ ๑๐ อสุภกรรมฐาน ๑๐ พรหมวิหาร ๔ ธาตุวัตฐาน ๔ อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๒ คงต้องแยกศึกษาต่างหากต่อไป การทำสมาธิโดยฝึกวิปัสสนาภาวนา วิปัสสนาภาวนา มีหลักการสำคัญคือ ต้องเจริญสติและปัญญา ให้รู้ทันปัจจุบันอารมณ์ และสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ ผู้ฝึกหัด ปฏิบัติ ต้องเข้าใจและรู้จักความหมาย และสภาวะจริงๆของปัจจุบันอารมณ์ให้ได้ดีๆก่อน การปฏิบัติจึงจะได้ผล :67: :67: :67: หัวข้อ: Re: เบื้องต้น ของกรรมฐาน คือการข่มจิต ใช่หรือไม่ครับ เริ่มหัวข้อโดย: tang-dham ที่ มกราคม 31, 2013, 11:58:47 am ถ้าพิจารณาให้ดีแล้ว จะมีส่วนคล้ายกัน อยู่นะครับ กับ วิชา จักระ
จริงๆแล้วการฝึกวิชานี้ มันเหมาะกับกายของเทวดามากกว่า แต่ก็มีประโยชน์กับมนุษย์เช่นกัน เหมือนกับการฝึก exercise ทางจิตควบคุมจิตใจได้ดี สมาธิก็ดี ประกอบกับการออกกำลังกายที่ถูกต้องทำให้ร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์ ถ้าฝึกได้จนจิตแก่กล้า สามารถจะรักษาร่างกายของเราเองและให้ผู้อื่นด้วย ไปหาดูใน youtube สะกดตามนี้ (kundalini energy) ดูจากลิงค์ http://youtu.be/3AdeiwtuD7U (http://youtu.be/3AdeiwtuD7U) http://youtu.be/9L90oO9nzWM (http://youtu.be/9L90oO9nzWM) |