สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน

เรื่องทั่วไป => forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน => ข้อความที่เริ่มโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2013, 06:48:30 pm



หัวข้อ: พลิกล็อก.! ผลวิจัยพบ "ข้าราชการไทยรายได้สูงกว่าเอกชน"
เริ่มหัวข้อโดย: raponsan ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2013, 06:48:30 pm
(http://static.cdn.thairath.co.th/media/content/2013/02/01/324009/hr1667/630.jpg)

พลิกล็อก.! ผลวิจัยพบ "ข้าราชการไทยรายได้สูงกว่าเอกชน"

ทีดีอาร์ไอ เปิดผลการศึกษา ชี้ข้าราชการไทยมีรายได้ตลอดชีพสูงกว่าลูกจ้างเอกชน ทั้งมีสวัสดิการเบี้ยประชุม ยิ่งมีการปรับขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นระดับปริญญาตรี ทำให้มีช่องว่างระหว่างรายได้ และไม่มีความเสี่ยงในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ...

ดร.วรวรรณ ชาญด้วยวิทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ และนายชยดล ล้อมทอง นักวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ร่วมทำการศึกษานโยบายเงินเดือนปริญญาตรี 15,000 บาทต่อเดือนในภาคราชการ เน้นพิจารณารายได้ตลอดชีวิตของลูกจ้างราชการเปรียบเทียบลูกจ้างเอกชน โดยใช้ข้อมูลการสำรวจภาวการณ์ทำงานของประชากรไตรมาส 3 ทั้งหมด 31 ปี ตั้งแต่ พ.ศ.2523 ถึง พ.ศ.2553  พบว่า

การเป็นข้าราชการ และอยู่นอกเขตกรุงเทพฯ จะมีรายได้ตลอดชีวิตค่อนข้างดีกว่า การเป็นลูกจ้างเอกชน โดยเฉพาะผู้ที่มีการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี และผู้มีการศึกษาระดับปริญญาตรี
    เนื่องจากการเป็นลูกจ้างเอกชนจะมีรายได้ที่ผันผวน (เป็นความเสี่ยง) แม้ดูเหมือนว่าผู้ที่จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี จะมีรายได้ดีในบางช่วงก็ตาม โดยเฉพาะในช่วงที่เศรษฐกิจไม่ดี รายได้ของลูกจ้างเอกชนจะตกแรงมาก ในขณะที่รายได้ของข้าราชการจะไม่ผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ

สำหรับข้าราชการที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ จะมีรายได้เฉลี่ยต่ำกว่าลูกจ้างเอกชน โดยเฉพาะเมื่อมีการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป แต่ความผันผวนของรายได้ของข้าราชการก็มักจะต่ำกว่า
    ดังนั้นโดยเฉลี่ยแล้วข้าราชการไม่ได้มีรายได้ต่ำกว่าลูกจ้างเอกชนเสมอไปตามที่เข้าใจกัน
    แต่จะมีข้าราชการที่มีการศึกษาสูง ซึ่งน่าจะมีโอกาสที่ดีที่จะได้รับค่าตอบแทนที่สูง
    ถ้าได้ทำงานในภาคเอกชน ซึ่งข้าราชการในกลุ่มนี้มีจำนวนไม่มากนัก
    อย่างไรก็ดี การศึกษานี้ไม่สามารถรวมข้อมูลเกี่ยวกับเบี้ยประชุม รายได้จากการสอนพิเศษหรือทำวิจัย
    หรือเบี้ยอื่นๆ ที่ข้าราชการได้รับ ซึ่งเงินรายได้จำนวนนี้อาจจะมีจำนวนไม่น้อย

    นอกจากนี้มูลค่าของสวัสดิการที่ข้าราชการได้รับ มีประมาณครึ่งหนึ่งของมูลค่ารายได้ตลอดชีวิต
    ในขณะที่สวัสดิการสำหรับลูกจ้างเอกชนนั้นมีมูลค่าไม่มากนัก เมื่อเปรียบเทียบรายได้รวมสวัสดิการที่เป็นมูลค่าปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า
    ข้าราชการมีรายได้ตลอดชีวิตสูงกว่าลูกจ้างเอกชนในทุกๆ ระดับการศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพฯและนอกกรุงเทพฯ
    แต่เมื่อเปรียบเทียบโดยใช้มูลค่า ณ ราคา ปี พ.ศ.2550 จะเห็นว่าข้าราชการที่มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มักได้รับรายได้ตลอดชีพสูงกว่าลูกจ้างเอกชน



http://www.youtube.com/watch?v=y8MfksGVWpA# (http://www.youtube.com/watch?v=y8MfksGVWpA#)
เผยแพร่เมื่อ 28 ธ.ค. 2009 โดย SahamongkolfilmInt


จากผลการศึกษา ยังชี้ให้เห็นว่าการทำงานในเขตกรุงเทพฯ จะให้มูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิตสูงขึ้น กว่าการทำงานในจังหวัดอื่นๆ ในทุกๆ ระดับการศึกษา แต่อย่างไรก็ดี ผู้มีระดับการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรีที่ทำงานให้แก่ภาครัฐ ยังมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีพสูงกว่าการทำงานให้ภาคเอกชน เพราะมูลค่าของสวัสดิการนั้นสูงกว่ากันมาก รวมทั้งผู้ที่มีการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และทำงานในบริษัทเอกชนจะมีมูลค่าปัจจุบันของรายได้ตลอดชีวิต ณ เวลาที่เริ่มต้นชีวิตทำงานสูงกว่าผู้ที่มีคุณสมบัติเดียวกันแต่ทำงานในภาครัฐ

นอกจากนี้ การเปรียบเทียบโดยใช้แบบจำลองเศรษฐมิติ สรุปได้ว่า  ข้าราชการได้รับรายได้น้อยกว่าเอกชนเฉพาะกลุ่มอาชีพผู้บริหาร หรือข้าราชการที่ทำงานในกรุงเทพฯเท่านั้น ซึ่งเป็นส่วนน้อยของข้าราชการทั่วประเทศ สำหรับกลุ่มอาชีพอื่น ๆ แล้ว ข้าราชการมีรายได้มากกว่าลูกจ้างเอกชน และความแตกต่างของรายได้เห็นได้ชัดเจน ในกรณีที่ข้าราชการทำงานในภูมิภาค ดังนั้น การขึ้นเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีและต่ำกว่า น่าจะยิ่งทำให้ความแตกต่างของรายได้ระหว่างภาครัฐและเอกชนในภูมิภาคต่างๆ สูงขึ้นไปอีก

สำหรับภาระเงินงบประมาณที่เกิดจากข้าราชการบรรจุใหม่จะน้อยกว่าภาระเงินงบประมาณที่จะเกิดจากการปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการเก่า เพราะทุกคนจะได้รับการปรับฐานเงินเดือนชดเชยขึ้น เพื่อไม่ให้น้อยกว่าข้าราชการที่เข้าใหม่ และจำนวนข้าราชการเข้าใหม่จะมีจำนวนน้อยตามนโยบายการลดจำนวนข้าราชการ

ขณะเดียวกัน การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การปรับฐานเงินเดือนให้แก่ข้าราชการที่มีวุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี จะมีผลทำให้ช่องว่างระหว่างรายได้ตลอดชีพ ระหว่างข้าราชการและลูกจ้างเอกชนยิ่งสูงมากขึ้น ในขณะที่รายได้ตลอดชีพของข้าราชการที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปนั้น ยังน้อยกว่าภาคเอกชน นับว่าเป็นการแก้ปัญหาโครงสร้างบุคลากรราชการที่ไม่ถูกจุด ในอนาคตนั้นจำนวนข้าราชการจะลดลง และเน้นให้ข้าราชการเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ การปรับฐานเงินเดือนจึงควรมุ่งเน้นไปยังตำแหน่งงานที่มีความรับผิดชอบสูง ส่วนจำนวนข้าราชการระดับใช้ความรู้หรือทักษะน้อยนั้นต้องลดจำนวนลง งานหลายประเภทควรให้ภาคเอกชนรับไปทำ.



ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/eco/324009 (http://www.thairath.co.th/content/eco/324009)