ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: 1 ... 551 552 [553] 554 555 ... 559
22081  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อุบายชนะกามคุณ ของอริยสงฆ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2011, 08:41:51 am
อุบายชนะกามคุณ ของอริยสงฆ์

กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ
๑.กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่
๒.วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่กามคุณ ๕

กามคุณ ๕ (ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดีหรือส่วนอร่อยของกาม)
๑. รูปะ (รูป)
๒. สัททะ (เสียง)
๓. คันธะ (กลิ่น)
๔. รสะ (รส)
๕. โผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

๕ อย่างนี้ เฉพาะส่วนที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เรียกว่า กามคุณ

กามฉันท์ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (นิวรณ์ข้อ ๑)

กามตัณหา ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กาม เป็นอย่างหนึ่งในตัณหา ๓ 

กามภพ ที่เกิดของผู้ที่ยังเกี่ยวข้องอยู่ในกาม, โลกเป็นที่อยู่อาศัยของผู้เสพกาม ได้แก่ อบายภูมิ ๔ มนุษยโลก และสวรรค์ ๖ ชั้น ตั้งแต่ชั้นจาตุมหาราชิกา ถึงชั้นปรนิมมิตสวัตดีรวมเป็น ๑๑ ชั้น

กามราคะ ความกำหนัดด้วยอำนาจกิเลสกาม, ความใคร่กาม

ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์ (ป.อ.ปยุตโต)



พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๙
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
คังคมาลชาดก


กามทั้งหลายเกิดจากความดำริ
[๑๑๕๕]    แผ่นดินร้อนเหมือนถ่านไฟ ดาดาษไปด้วยทรายอันร้อนเหมือนเถ้ารึง
เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำเป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้า
ดอกหรือ? เบื้องบนก็ร้อน เบื้องล่างก็ร้อน เมื่อเป็นเช่นนี้ เจ้ายังทำ
เป็นทองไม่รู้ร้อน ขับเพลงอยู่ได้ แดดไม่เผาเจ้าดอกหรือ?


[๑๑๕๖]    ข้าแต่พระราชา แดดหาเผาข้าพระองค์ไม่ แต่ว่าวัตถุกาม และกิเลสกาม
ย่อมเผาข้าพระองค์ เพราะว่าความประสงค์หลายๆ อย่าง มีอยู่ ความ
ประสงค์เหล่านั้นย่อมเผาข้าพระองค์  แดดหาได้เผาข้าพระองค์ไม่.

[๑๑๕๗]    ดูกรกาม เราได้เห็นมูลรากของเจ้าแล้ว เจ้าเกิดจากความดำริ เราจักไม่
ดำริถึงเจ้าอีกละ เจ้าจักไม่เกิดด้วยอาการอย่างนี้.


[๑๑๕๘]    กามแม้น้อยก็ไม่พอแก่มหาชน มหาชนย่อมไม่อิ่มด้วยกามแม้มาก น่า
สลดใจที่พวกคนพาลพากันบ่นว่า รูป เสียง เหล่านี้จงมีแก่เรา กุลบุตร
ผู้ประกอบความเพียร พึงเว้นให้ขาดเถิด.

อ้างอิง
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๗  บรรทัดที่ ๔๙๑๐ - ๔๙๓๗.  หน้าที่  ๒๒๘ - ๒๒๙.
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=27&A=4910&Z=4937&pagebreak=0
ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1155




อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่แหวน สุจิณโณ
วัดดอยเเม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่

... หลวงปู่ว้าวุ่นใจเป็นอย่างยิ่ง จิตที่เคยควบคุมบังคับให้สงบนิ่งได้ก็เกิดปรวนแปรไป ความคิดคำนึงคอยแต่จะโลดแล่นซัดส่ายไปหาหญิงงามอย่างเดียว ทำให้หลวงปู่แหวนเกิดความหวาดกลัวตัวเองเป็นอย่างยิ่ง ขืนอยู่ต่อไปอาจจะพ่ายแพ้ต่อกิเลสเมื่อไหร่ก็ได้

ดังนั้น หลวง ปู่แหวนจึงตัดสินใจเก็บบริขารทั้งหลายเดินทางกลับประเทศไทยอย่างฉับพลัน ทันที เมื่อข้ามแม่น้ำโขงสู่ผืนแผ่นดินมาตุภูมิแล้วก็มุ่งหน้าขึ้นไปทางอำเภอศรี เชียงใหม่ ระหว่างเดินทางหนี "มาตุคาม" ซึ่งเป็นเนื้อคู่บุพเพสันนิวาสมาแต่ชาติปางก่อน จิตใจของหลวงปู่ยังโลดแล่นไปหาสาวงามเกือบตลอดเวลา เป็นความรู้สึกที่ฟุ้งซ่านที่รุนแรงร้ายกาจสุดพรรณนาทีเดียว

หลวงปู่แหวนเดินทางมาถึงพระบาทเนินกุ่ม หินหมากเป้ง จึงหยุดยั้งอบรมตนอยู่ ณ ที่นี้ และก็เป็นวาสนาของหลวงปู่ที่ได้พบกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่แหวนมีปีติยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้พบกับท่านอาจารย์ใหญ่ การได้มาพักอบรมตนอยู่ใกล้กับท่านพระอาจารย์มั่นก่อนเข้าพรรษาปีนั้น ทำให้หลวงปู่แหวนระงับความฟุ้งซ่านลงได้ไม่น้อย

แม้ กระนั้นภาพของหญิงงามก็ยังปรากฏเป็นครั้งคราว ทำให้ดวงจิตหวั่นไหวอยู่เสมอ แต่เมื่อเร่งภาวนายิ่งขึ้นภาพนั้นก็สงบระงับไป หากพลั้งเผลอเมื่อใดภาพสาวงามก็จะผุดขึ้นมาอีก

หลัง จากเข้าพรรษาแล้ว หลวงปู่แหวนได้ตั้งใจปรารภความเพียรอย่างหนัก การเร่งความเพียรอย่างเต็มที่ทำให้จิตสงบอย่างรวดเร็ว ทรงตัวสู่ฐานสมาธิได้ง่าย ไม่วุ่นวายฟุ้งซ่านอีก คล้ายกับจิตมันยอมสยบราบคาบแล้ว และเกิดอุบายทางปัญญาพอสมควร

แต่ หลวงปู่หารู้ไม่ว่า ยิ่งเร่งความเพียรเอาจริงเอาจังหนักขึ้นเท่าใด กิเลสที่แสร้งสงบนิ่งก็เริ่มต่อต้านเอาจริงเอาจังมากขึ้นเท่านั้น คราวนี้แทนที่จะควบคุมจิตให้ดำเนินไปตามทางที่ต้องการ มันกลับเตลิดโลดแล่นไปหา "สาวงาม" ที่บ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมอีก และครั้งนี้พลังของกิเลสดูจะรุนแรงยิ่งกว่าเดิม
หลวงปู่แหวนพยายามหาอุบายธรรมต่างๆ มาปราบเจ้าตัวกิเลสที่ฟูขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ หลวงปู่เล่าว่า

" ยิ่งเร่งความเพียร ดูเหมือนเอาเชื้อไปใส่ไฟ ยิ่งกำเริบหนักเข้าไปอีก เผลอไม่ได้เป็นต้องไปหาหญิงนั้นทันที บางครั้งมันหนีออกไปซึ่งๆ หน้า คือขณะที่คิดอุบายการพิจาณาอยู่นั้นเอง (จิต) มันก็วิ่งออกไปหาหญิงนั้นซึ่งๆ หน้ากันเลยทีเดียว"

โอ... "มาตุคาม" นี้อันตรายนัก และหากเป็นบุพกรรมอันผูกพันร้อยรัดอยู่ด้วยบุพเพสันนิวาสเข้าไปอีก การเอาชนะเพื่อยุติกรรมยิ่งลำบากยากเข็ญเป็นที่สุด"

หลวงปู่แหวน ไม่ยอมพ่ายแพ้ต่อพลังกิเลสกองนี้โดยเด็ดขาด อุบายการปฏิบัติธรรมทุกอย่างถูกนำมาใช้เพื่อต่อสู้กับกิเลสมารสุดชีวิต เช่น เว้น การนอนเสีย มีเฉพาะอิริยาบถนั่ง เดิน ยืน เท่านั้น หลวงปู่แหวนทรมานจิตมันอยู่หลายวันหลายคืน พร้อมกันนั้นก็พิจารณาดูว่าจิตยอมอยู่ใต้บังคับหรือไม่ มันคลายความรักต่อหญิงงามคนนั้นหรือไม่ ทำถึงอย่างนี้แล้วกลับไม่ได้ผล เพราะเผลอเมื่อไหร่ จิตมันจะโลดทะยานไปหาหญิงนั้นอีก


เอาใหม่...เมื่อจิตมันยังรัดรึงอยู่กับ "มาตุคาม" ไม่ยอมปล่อย ยอมคลาย หลวงปู่จึงตัดอิริยาบถนั่งกับนอนทิ้งไป เหลือยืนกับเดินจงกรม กระทำความเพียรเช่นนี้ทั้งวันทั้งคืน
แต่จิตมันก็ยังแส่ส่ายไปหาหญิงงามไม่ยอมหยุด ยิ่งทรมานมันมากเท่าไหร่ ดูเหมือนว่ามันจะดื้อรั้นโต้ตอบมากเท่านั้น

คราวนี้เปลี่ยนวิธีใหม่อีก... ไม่ ฉันอาหารมันล่ะ เหลือแต่น้ำอย่างเดียว ถ้าจิตมันยังดื้อถือดี ยังทะยานเข้าหากองกิเลสไม่ยอมเลิกรา หลวงปู่ตั้งเจตนาว่า ตายเป็นตาย ให้มันรู้ไปว่าจิตได้พ่ายแพ้แก่อำนาจกิเลสอย่างราบคาบแล้ว


หลวง ปู่แหวนเพ่งพิจารณาหาอุบายกำราบจิตใหม่โดยการเพ่งเอาร่างกายของหญิงงามนั้น ยกขึ้นมาแล้วพิจารณากายคตาสติ แยกอาการ ๓๒ นั้นทีละส่วน โดยอนุโลม ปฏิโลมเทียบเข้าหากายของตน พิจารณาละเอียดให้เห็นตามความเป็นจริงว่า อวัยวะแต่ละส่วนของหญิงนั้นก็มีเหมือนกันทุกอย่าง จะผิดแผกแตกต่างกันก็ด้วยลักษณะแห่งเพศเท่านั้น

หลวงปู่ทรงสมาธิแล้วพิจารณาอยู่เช่นนั้นกลับไปกลับมา ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญาพิจารณา "กายคตาสติ" ไปจนถึงหนังถ้าถลกหนังที่ห่อหุ้มเนื้อออกจนหมด ความจริงก็ปรากฏทันที

นั่นคือ เนื้อ กายซึ่งปราศจากผิวหนังห่อหุ้มอยู่ย่อมีสภาพที่ไม่น่าดู หรือ ดูไม่ได้เอาเสียเลย เพราะเหลือแต่เนื้อแดง ๆ เยิ้มด้วยน้ำเหลือง มีเส้นเลือดผุดพราวไปทั่ว "ตัวรู้" ก็บอกว่าหากหญิงงามไม่มีหนังหุ้ม เหลือแต่เนื้อแดง ๆ ใครเล่าจะพิศวาสได้ลงคอ

อ้อ... คนเรามา "หลง" อยู่ตรง "หนัง" นี่เอง

ปัญญา เพ่งพินิจต่อไปอีกจนเห็นความเน่าเปื่อยแล้วก็สลายกาย เป็นกองเนื้อเน่า ๆ และกองกระดูกเท่านั้นเอง ไม่มีอะไรตั้งอยู่ทรงสภาพเดิมไว้ได้อีก ไม่มีส่วนไหนจะคงอยู่ได้เลย


ปัญญา เพ่งต่อไปถึง มูตร (ปัสสาวะ) และ กรีษ (อุจจาระ) ของหญิงงาม ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า ที่หญิงงาม น่ารัก น่าพิศวาสนั้น มูตรกับกรีษงามด้วยหรือเปล่า กินได้ไหม เอามาตระกองกอดได้ไหม "จิต" ตอบว่า "ไม่ได้"

ปัญญาก็ตั้งคำถามอีกว่า เมื่อกินไม่ได้ เอามาตระกองกอดไม่ได้ แล้วอันไหนล่ะที่ว่างาม อันไหนที่ว่าดี
จิตโดนปัญญาซักฟอกอย่างหนักเช่นนั้นก็ตอบไม่ได้ หาเหตุผลมาโต้แย้งไม่ได้ จิตมันก็อ่อนลงเพราะจนด้วยเหตุผลของปัญญา ก็ต้องยอมรับความเป็นจริง ยอมสารภาพผิดแต่โดยดี


จิตซึ่งเคยโลดแล่นแส่ส่ายออกไปตามวิสัยความอยากของมันก็พลันถึงความสงบ ไม่กำเริบร้อนเร่าอีก
หลวงปู่แหวนยังไม่วางใจจิตนัก ท่านจึงทดสอบโดยส่งจิตไปหาหญิงงามบ้านนาสอง ริมฝั่งแม่น้ำงึมหลายครั้ง
แต่จิตก็ไม่ยอมโลดแล่นไปอีก จิตคงทรงอยู่ในความสงบเพราะได้เห็นความเป็นจริงของธรรมแล้ว

การอด อาหาร และทำความเพียรอย่างยิ่งยวด เพื่อเอาชนะกิเลสมารของหลวงปู่แหวนครั้งนี้ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์ จิตของท่านรู้แจ้งเห็นจริงในภัยของมาตุคาม อย่างทะลุปรุโปร่งและสิ้นพยศตั้งแต่นั้น...ตลอดไป




อุบายชนะกามคุณ ของ หลวงปู่หลุย จันทสาโร
วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย

รอยกรรมอันเนื่องมาจากบุพเพสันนิวาส
" ภิกษุ" หมายถึง ชายผู้ได้อุปสมบทแล้ว เป็นผู้มองเห็นภัยในสังขารหรือผู้ทำลายกิเลส มีพระธรรมวินัยควบคุม กาย วาจา ใจ ให้อยู่ในกรอบสมณะธรรม เพื่อปฏิบัติจิตให้เกิดสมาธิ ปัญญา กระทั่งหลุดพ้นจากอาสวะกิเลสทั้งหลายได้สำเร็จเด็ดขาด ไม่ย้อนกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสารอีก


การ ต่อสู้ห้ำหั่นเพื่อประหารกิเลสให้หมดสิ้น เป็นภาวะอันหนักหนาแสนสาหัสสุดยอด ต้องอาศัยความตั้งใจมั่น มีความมั่นคงแน่วแน่ และมีความเพียรพยายามอย่างถึงที่สุด
กิเลส ทั้งหลายที่ภิกษุจะเอาชนะได้ยากที่สุด ลำบากยากเข็ญที่สุด กว่าจะหลุดพ้นไปได้อย่างสำเร็จเด็ดขาด คือกิเลสอันเนื่องจากมาตุคาม หรือ ผู้หญิงนี่แหละ

มี พระภิกษุไม่ว่าจะอยู่ในสมัยพุทธกาล หรือสมัยปัจจุบัน ได้พ่ายแพ้ให้แก่ ภัยมาตุคามมาแล้วมากมาย ด้วยเหตุนี้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้กำหนดพระวินัยเอาไว้โดยละเอียด เพื่อภิกษุทั้งหลายจะได้พึงสังวรระมัดระวัง และตัดขาดจากมหาภัยนี้ได้สำเร็จ

อัน ที่จริง ใช่ว่ามาตุคามจะคอยจ้องทำลายพรหมจรรย์แห่งสมณะเพศก็หาไม่ หากเป็นกิเลสกามที่ซับซ่านอยู่ในกมลสันดานของสัตว์โลก เป็นตัวผลักด้นให้อารมณ์เตลิด โลดเถลิงไปกับอำนาจของมันเป็นสำคัญ
อีกประการหนึ่ง เนื่อง จากอดีตกรรมที่เคยกระทำมาในบุพชาติ โดยเฉพาะในข้อ บุพเพสันนิวาส การเคยเป็นเนื้อคู่กัน การเคยอยู่ร่วมกันในชาติก่อน ดังนั้น เมื่อใดที่บุพเพสันนิวาสเวียนวนมาปรากฏ พลังอำนาจแห่งกิเลสกามก็จะหนุนเนื่องตามมาอย่างน่ากลัวเป็นพลังอันรุนแรง เกรี้ยวกราดยากยิ่งที่จะต้านทานไว้ได้

รอย กรรมอันเนื่องด้วย บุพเพสันนิวาสเช่นนี้ พระอริยเจ้าหลายรูป เคยประสบพบพานมาแล้วขณะที่ท่านกำลังบำเพ็ญความเพียรเพื่อก้าวข้ามห้วงแห่ง โอฆะด้วยวิริยะบากบั่นอย่างถึงที่สุด
ดังเช่น จะขออัญเชิญเรื่องของพระคุณเจ้าหลวงปู่หลุย จันทสาโร วาระที่ท่านเผชิญกับรอยกรรมแห่งบุพเพสันนิวาส ดังต่อไปนี้


ครั้ง นั้น... หลวงปู่หลุย จันทสาโรไปร่วมงานพิธีบรรจุอัฐิธาตุท่านพระอาจารย์บุญ ปัญญาวุโธ ไว้ในเจดีย์ ณ บริเวณวัดพระบาทบัวบก ต.เมืองพาน อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี จากนั้นหลวงปู่หลุยก็ออกธุดงค์วิเวกมาทางจังหวัดเลย จังหวัดเพชรบูรณ์

ในอดีตสมัยนั้น เส้นทางธุดงค์ผ่านจังหวัดเลยเชื่อต่อเพชรบูรณ์ยังสมบูรณ์ด้วยป่าไม้แน่นขนัด เทือกทิวแห่งภูเขาสลับซับซ้อนเหยียดยาวไปจนสุดสายตา สงบงามท่ามกลางบรรยากาศอันวิเวก นับเป็นสถานสัปปายะอย่างยิ่งของพระธุดงคกรรมฐานผู้ซึ่งกำลังกำลังพากเพียร บำเพ็ญสมณะธรรม

หลวง ปู่หลุยจาริกธุดงค์มาถึงหล่มสัก ได้แวะโปรดญาติโยมที่นี่ เนื่องจากที่หล่มสักนี้เป็นพื้นเพภูมิลำเนาดั้งเดิมของโยมมารดาและยังมีญาติ พี่น้องซึ่งคุ้นเคยกันอยู่จำนวนมาก
เมื่อ ท่านถึงหล่มสักแล้ว พอดีกับบ้านญาติผู้หนึ่งมีผู้เสียชีวิตและได้จัดงานศพขึ้นที่บ้าน มีการนิมนต์พระไปสวดมนต์หน้าศพตามประเพณี หลวงปู่หลุยก็ได้รับนิมนต์ไปสวดมนต์งานศพที่บ้านนั้นด้วย

เมื่อถึงกำหนดเวลาไปสวดงานศพ หลวงปู่หลุยก็ไปที่บ้านงานศพตามที่ได้รับนิมนต์ และขึ้นนั่งบนอาสนะเรียงลำดับตามพรรษากับพระรูปอื่นซึ่งรับนิมนต์ไปเช่นกัน โดยมีท่านพระอาจารย์ได้เวลาสวดมนต์ หลวงปู่หลุยก็สวดด้วยจิตสงบจดจ่ออยู่กับบทสวด กระทั่งผ่านไปจบหนึ่ง ระหว่างพักสวดเจ้าภาพได้นำน้ำปานะมาถวายพระแก้คอแห้ง

ขณะ นั้น หลวงปู่หลุยได้ชำเลืองตามองไปที่กลุ่มแขกซึ่งมานั่งฟังสวดมนต์โดยมิได้ ตั้งใจ ในพลันที่ท่านสบตากับสุภาพสตรีท่านหนึ่งซึ่งนั่งรวมอยู่ในหมู่คนกลุ่มนั้น ท่านมีความรู้สึกแปล๊บเข้าไปในหัวใจ ดุจสายฟ้าฟาดเข้าให้แทบสิ้นสติสมประดีถึงกับซวนเซประหนึ่งจะล้มฟุบอยู่ตรงนั้น

ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งรับนิมนต์มาเช่นกันนั่งใกล้กับท่าน
สิงห์ ขันตยาคโม ซึ่งอยู่ใกล้ๆ เห็นอาการเช่นนั้นของหลวงปู่หลุยก็เข้าประคองไว้ทันท่วงที กล่าวให้สติประหนึ่งกำหนดรู้อาการเช่นนั้นว่ามีสาเหตุเนื่องมาจากอะไร


ทาง ฝ่ายท่านสุภาพสตรีผู้นั้น ดูเหมือนจะมีอาการหนักหนาสาหัสยิ่งกว่า เพราะเธอถึงกับฟุบเป็นลมคาที่ มารดาและญาติผู้ใหญ่ต้องเข้ามาประคองและช่วยปฐมพยาบาลกันชุลมุน

ความรู้สึกอันรุนแรงเกรี้ยวกราดที่ผุดวูบขึ้นมาอย่างกะทันหันอย่างทันทีทันใดนั้น เป็นความรู้สึกเช่นเดียวกับที่ชาวโลกเรียกกันว่า "รักแรกพบ" แต่ดูจะมีอานุภาพเชี่ยวกรากน่ากลัวเหลือประมาณ
แม้ หลังจากกลับจากงานสวดมนต์แล้ว จิตของหลวงปู่หลุยก็ยังไม่หายสั่นสะเทือน มีความปราถนาอยากลาสิกขาบท แล้วโลดแล่นติดตามไปครองคู่อยู่เคียงกับสตรีท่านนั้นเพียงอย่างเดียว


หาก บุญบารมีในเพศพรหมจรรย์ของหลวงปู่ยังมีอยู่ ทำให้ท่านพยายามเหนี่ยวรั้งใจเอาไว้เต็มเหนี่ยว แต่แทบสุดจะฝืนสุดจะกล้ำกลืนเอาไว้ได้เหมือนกัน อีกทั้งยังมีพระอาจารย์สิงห์คอยกำกับประคับประคองอยู่เคียงข้าง ให้สติ ให้แนวทางแห่งการหลุดพ้นภัยมาตุคามครั้งนี้ตลอดเวลา

สำหรับกรณีรอยกรรมจากบุพเพสันนิวาสนั้น ท่านพระอาจารย์สิงห์ ขันตยาโม เคยมีส่วนรู้เห็นและให้ความช่วยเหลือแนะนำแก่สหายธรรมิกรูปหนึ่งมาแล้ว คือ ท่านพระอาจารย์ฝั้น อาจาโร คราว นั้น พระอาจารย์ฝั้นและพระอาจารย์สิงห์อยู่กรุงเทพ ฯ พระอาจารย์ฝั้นพบสุภาพสตรีท่านหนึ่งนั่งสามล้อสวนทางมา เพียงตาสบตารู้สึกปล๊าปไปทั้งตัวแทบจะวิ่งตามเขาไป

ดี แต่ว่าท่านพระอาจารย์สิงห์ให้สติ และแนะนำให้ขังตัวเองไว้ในโบสถ์ พิจารณาดับความรู้สึกนึกคิดในทางโลกด้วยการเจริญอสุภะกระทั่งสามารถตัด อารมณ์ทุรนทุรายได้สำเร็จเด็ดขาด ซึ่งก็นับว่าเป็นภาวะหนักหนาสาหัสเหลือประมาณ

ใน ครั้งนั้น ท่านพระอาจารย์ฝั้น พิจารณาลงไปก็ได้ความว่าเนื่องด้วยบุพเพสันนิวาส เคยเป็นคู่กันมาแต่บุพชาติ หากแต่บุญบารมีในสมณะธรรมยังเกื้อหนุนอยู่ พระอาจาย์ฝั้นจึงรอดปากเหยี่ยวปากกามาได้อย่างหวุดหวิด
ในกรณีท่านพระอาจารย์ฝั้นนั้น เป็นการพบกันเพียงวูบเดียว ครั้งเดียวแล้วก็จากกันไป สุภาพสตรีท่านนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหนก็ไม่รู้


แต่สำหรับ กรณีหลวงปู่หลุยหนักหนาสาหัสกว่า เพราะตัวท่านกับสุภาพสตรีคนดังกล่าวมีโอกาสพบกันอีกหลายครั้ง ญาติผู้ใหญ่ของท่านทั้งสองฝ่ายก็สนิทกันประดุจญาติ
และ ตัวท่านกับสุภาพสตรีท่านนี้ก็อาจเคยพบกันมาแล้วตั้งแต่เด็กๆ เพียงแต่ฝ่ายหญิงถูกส่งไปศึกษาเล่าเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่เล็กๆ มาพบกันอีกครั้งคือครั้งนี้ หลวงปู่หลุยได้เข้าสู่เพศพรหมจรรย์เป็นบรรพชิตไปแล้ว

สำหรับ ท่านสุภาพสตรี เมื่อไปอยู่กรุงเทพฯ ได้เข้าเรียนจนจบชั้นมัธยมบริบูรณ์จากโรงเรียนสตรีมีชื่อภาษาต่างประเทศ โรงเรียนหนึ่ง นานๆ ครั้งจึงจะกลับมาเยี่ยมบ้าน เมื่อมาเยี่ยมบ้านท่านจะมีบุคคลิกของสาวสมัยใหม่ เครื่องแต่งกายงดงามทันสมัย และชอบขี่ม้าเล่น ขี่ม้าเก่ง เวลาขี่ม้า ใส่ท๊อปบู๊ตดูสง่างามผิดไปจากสาวๆ พื้นบ้านท้องถิ่นนั้นกุลสตรีท่านนี้เป็นสาวสวย รูปร่างสวย หน้าสวย นัยน์ตาโตงาม ผมก็งาม เพียบพร้อมด้วยรูปสมบัติ คุณสมบัติ และทรัพย์สมบัติครบถ้วน


ใน ขณะที่หลวงปู่หลุย พะว้าพะวังจะลาจากเพศพรหมจรรย์เสียให้ได้ ท่านพระอาจารย์สิงห์เห็นอาการแล้วคงไม่ดีแน่ จึงรีบพาหลวงปู่ออกจากหล่มสัก พาหนีไปให้ไกลห่างสถานที่เกิดเหตุ เที่ยววิเวกตามป่าตามเขา เร่งกระทำความเพียรอย่างอุกฤษฏ์ แม้กระทั่งอดนอน อดอาหารเพื่อผ่อนคลายคิดถึงมาตุคาม ท่านพระอาจารย์สิงห์ก็สนับสนุนให้กระทำ

เมื่อ หลวงปู่หลุยพิจารณาอย่างหนัก ก็ได้นิมิตว่า สุภาพสตรีท่านนั้นเคยเป็นคู่บุพเพสันนิวาสกันมาแต่บุพชาติ ท่านพระอาจารย์สิงห์อธิบายเพิ่มเติมให้อีกว่า เธอผู้นั้นในอดีตชาติคงตั้งความปรารถนาบำเพ็ญบารมีคู่กันมา อานุภาพเมื่อสบตากันครั้งแรกจึงรุนแรงเกรี้ยวกราดถึงปานนั้น


แม้ หลวงปู่หลุยจะได้นิมิตแห่งรอยกรรมอันเนื่องด้วยบุพเพสันนิวาส ท่านก็ไม่ยอมสิโรราบ แล้วยอมรับชะตากรรมไปตามนั้น จิตใจมุ่งที่จะบำเพ็ญเพศพรหมจรรย์ต่อไป ทั้งๆ ที่หัวอกประหนึ่งจะกลัดหนอง
ใช้ มานะข่มขันธ์ เร่งกระทำความเพียร และยังมีท่านพระอาจารย์สิงห์คอยกำกับให้สติเป็นเวลาพอสมควร หลวงปู่หลุยจึงสามารถตัดขาดเยื่อใยแห่งบุพเพสันนิวาสจนขาดสะบั้น ไม่มีชาติภพจะสืบต่อไปอีกทั้งในกาลปัจจุบันและอนาคตใด ๆ

ด้วย เหตุนี้ หลวงปู่หลุยจึงตะหนักถึงภัยมาตุคามที่มีต่อเพศพรหมจรรย์อย่างยิ่ง เมื่อท่านเทศนาอบรมภิกษุสามเณรเกี่ยวกับมาตุคามและบุพเพสันนิวาสครั้งใด จะกล่าวย้ำกล่าวเตือนว่าต้องใช้กำลังใจอย่างสูงสุดจึงจะเอาชนะได้
นับแต่นั้น หลวงปู่หลุย จันทสาโส ก็ดำเนินไปตามวิถีแห่งสมณะธรรมโดยสว่างสงบ ตราบกระทั่งท่านละสังขารเป็นปริโยสาน


สำหรับ สุภาพสตรีอันเป็นรอยกรรมท่านนั้น เมื่อกลับมายังกรุงเทพมหานครแล้ว ท่านก็ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงด้วยอัจฉริยภาพอันโดดเด่น เป็นที่รู้จักชื่อเสียงของท่านในวงการผู้รักหนังสือร่วมสมัย และ...แม้แต่ในปัจจุบัน

22082  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ใครหนอ ?? บรรลุธรรมวันมาฆบูชา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 08:55:33 pm




ทีฆนขะ, ปริพาชก

ชื่อปริพาชกผู้หนึ่ง ตระกูลอัคคิเวสสนะ  ซึ่งเป็นหลานของพระสารีบุตร ขณะที่พระพุทธเจ้าเทศนาเวทนาปริคคหสูตรโปรดปริพาชกผู้นี้  ณ  ถ้ำสุกรขาตา เขาคิชฌกูฏ  เขตพระนครราชคฤห์.

   ขณะนั้นพระสารีบุตรนั่งถวายงานพัดอยู่ ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนานั้น ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์   ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน เป็นวันมาฆบูชาในเวลากลางวัน.
ส่วนทีฆนขะ  ได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันแสดงตนเป็นอุบาสกในพระพุทธศาสนา


   เล่ากันมาว่า  ทีฆนขปริพาชกนั้นเมื่อพระเถระบวชได้ครึ่งเดือน คิดว่าหลวงลุงของเราไปสู่ลัทธิอื่นที่ผิดแล้วดำรงอยู่เป็นเวลานาน. แต่บัดนี้เมื่อหลวงลุงไปเฝ้าพระสมณโคดมได้ครึ่งเดือนแล้วประสงค์จะไปด้วยหวังว่า  เราจะฟังข่าวของหลวงลุงนั้น.  เราจักรู้คำสอนอันรุ่งเรืองนั้นหนอ.  เพราะฉะนั้น  ทีฆนขะจึงเข้าไปเฝ้า.

ถ้ำสุกรขาตา

ปริพาชกด้วยมีหิริโอตตัปปะในหลวงลุง  จึงยืนทูลถามปัญหาด้วยเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า
สิ่งทั้งปวงไม่ควรแก่เรา คือ สิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดไม่ควรแก่เรา.  ปริพาชกกล่าวด้วยความประสงค์ว่าปฏิสนธิทั้งหลายไม่ควร. ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เป็นอันปริพาชกนั้นแสดงว่า  เราเป็นผู้มีวาทะว่าขาดสูญ.


   แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อจะทรงพรางความประสงค์ของปริพาชกนั้น  แล้วทรงแสดงถึงโทษในความไม่ควร จึงตรัสพระดำรัสมีความว่า

        แม้ความเห็นของท่านก็ไม่ควร  คือ  แม้ความเห็นที่ท่านชอบใจ ยึดถือไว้ครั้งแรกก็ไม่ควร.

   ลำดับนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงดำรัสว่า  เราจักให้ปริพาชก บำเพ็ญโอสถอันอมตะไว้ในหทัย  ดุจบุคคล  ใส่เนยใสและเนยข้น เป็นต้น  ลงในน้ำเต้าที่คายน้ำส้มออกแล้วฉะนั้น เมื่อจะทรงบอกวิปัสสนาแก่ปริพาชกนั้น  จึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ  ก็กายนี้เป็นที่ประชุมมหาภูตรูปทั้ง  ๔  ดังนี้. 
   
        ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง.  ความเยื่อใย  คือความเยื่อใยด้วยตัณหา.  ความอยู่ในอำนาจของกาย.  อธิบายว่า  กิเลสอันเข้าไปสู่กาย.

 

   พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงรูปกรรมฐานอย่างนี้แล้ว  บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงอรูปกรรมฐานจึงตรัสว่า  เมื่อจะทรงแสดงความที่เวทนา๓  เหล่านั้นไม่ปนกัน  จึงตรัสว่า
   
   ดูก่อนอัคคิเวสสนะ  โวหารใดที่ชาวโลกพูดกัน คือพูดไปตามโวหารที่ชาวโลกพูดกัน.  ไม่ยึดถือ  คือไม่ยึดถืออะไร ๆ  ด้วยการถือมั่น.  สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า

ภิกษุใด  เป็นผู้มีอาสวะสิ้นแล้วเพราะบรรลุพระอรหัต  เป็นผู้ทรงร่างกายไว้เป็นครั้งสุดท้าย  ภิกษุนั้น  พึงกล่าวว่า  เราย่อมกล่าวดังนี้บ้าง  พึงกล่าวว่า   พวกเขาย่อมกล่าวกะเราดังนี้บ้าง  เป็นผู้ฉลาด  รู้สิ่งกำหนดรู้กันในโลก  พึงพูดไปตามโวหารนั้น.

   ท่านกล่าวต่อไปอีกว่า  ดูก่อนจิตตคฤหบดี  ตถาคตพูดไปตามสิ่งที่รู้กันในโลก  ภาษาของชาวโลก  โวหารของชาวโลก  บัญญัติของชาวโลก  แต่ไม่ยึดถือด้วยทิฏฐิ.

   พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเที่ยงแห่งธรรมเหล่านั้นในบรรดาความเที่ยงเป็นต้นด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละความเที่ยง. ทรงรู้ความขาดสูญ  ความเที่ยงแต่บางอย่างด้วยปัญญารู้ยิ่งแล้ว จึงตรัสถึงการละความเที่ยงแต่บางอย่าง.

   ทรงรู้รูปด้วยปัญญาอันยิ่งแล้วจึงตรัสถึงการละรูป  เมื่อพระสารีบุตรสำเหนียกคือเห็นตระหนัก.   จิตพ้นจากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น คือ  จิตพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายอันดับแล้วด้วยความดับสนิทคือไม่เกิดอีกเพราะไม่ถือมั่น.

 

   ด้วยเหตุประมาณเท่านี้  ท่านพระสารีบุตรดุจบุคคลบริโภคอาหารที่เขาตักให้ผู้อื่นแล้ว  บรรเทาความหิวลงได้  เมื่อส่งญาณไปในธรรมเทศนาที่ปรารภผู้อื่นจึงเจริญวิปัสสนาได้บรรลุพระอรหัต แทงตลอดที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณและปัญญา  ๑๖  แล้วดำรงอยู่.  ส่วนทีฆนขะได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้วดำรงอยู่ในสรณะทั้งหลาย.

   ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า  เมื่อดวงอาทิตย์ยังปรากฏอยู่ ทรงจบเทศนานี้แล้ว  เสด็จลงจากภูเขาคิชฌกูฏ  เสด็จไปพระวิหารเวฬุวันได้ทรงประชุมพระสาวก. ได้มีสันนิบาตประกอบด้วยองค์  ๔. 

องค์  ๔ (จาตุรงคสันนิบาต) เหล่านี้ คือ 
วันนั้นเป็นวันอุโบสถขึ้น  ๑๕ ค่ำ  ประกอบด้วยมาฆนักษัตร  ๑
 
 ภิกษุ  ๑,๒๕๐ รูป  ประชุมกันตามธรรมดาของตน ๆ  ไม่มีใครนัดหมายมา  ๑
 
 ภิกษุเหล่านั้นไม่มีแม้สักรูปหนึ่งที่เป็นปุถุชน  หรือพระโสดาบัน  พระสกกาคามี  พระอนาคามี 
และพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก  ภิกษุทั้งหมดเป็นผู้ได้อภิญญาหกทั้งนั้น  ๑
 
 มิได้ปลงผมด้วยมีดโกนบวชแม้แต่รูปเดียว  ภิกษุทั้งหมดเป็นเอหิภิกขุ  ๑.

 



#ม.ม. ๑๓/๒๖๙-๒๗๕; ม.อ. ๒/๑/๔๗๘-๔๘๕.
ที่มา สารานุกรม พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
22083  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กำเนิดโลกมนุษย์ (กัณฑ์เปิดโลก) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 02:55:48 pm



กำเนิดโลกมนุษย์ (กัณฑ์เปิดโลก)
 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี เทศน์เมื่อวันวิสาขบูชา 23 พฤษภาคม 2510 เวลา 24.00น.
จากหนังสือ โอวาทสมเด็จโต สำนักปู่สวรรค์ เล่ม 1


โลกนี้มาจากไหน มนุษย์เกิดขึ้นได้อย่างไรในการขั้นแรกนี้จะต้องอธิบายถึงเรื่องโลกก่อน

จักรวาล พิภพนี้เมื่อหนึ่งล้านกัปก่อน เป็นน้ำ ต่อมาประมาณเก้าแสนกัป ก็เริ่มเกิดความเปลี่ยนแปลง เรื่องกัปหรือกัลป์นี้นับกันไม่รู้เรื่องละ สำหรับภาษา คือ ถ้าจะนับกันตามตัวเลขก็ต้อง หนึ่งหมื่นหนึ่งล้านเก้าพันเก้าร้อยเก้าล้านล้านล้านปี ถ้าจะนับกันตามภาษาของโลกเทวะ

เขาบอกว่าหนึ่งกัปนั้นเท่ากับวันหนึ่ง คืนหนึ่ง เดือนหนึ่ง เทวะเอาผ้าวิเศษมาปัดฝุ่นที่ยอดเขาหิมาลัย จนกว่ายอดเขาหิมาลัยนั้นเรียบเหมือนพื้นดิน นั่นแหละ เรียกว่าหนึ่งกัป
 
เพราะฉะนั้นหนึ่งกัปก็นับกันไม่รู้เรื่อง เรื่องกัปมันพูดยาก ก็ประมาณหลังจากนั้นอีกประมาณสัก ๘๐ กัปหรือ ๙๐ กัปก็นับไม่ได้ สิ่งมหัศจรรย์ได้เกิดขึ้นในจักรวาลของน้ำ คือ น้ำกลุ่มหนึ่งได้รวมขึ้นเป็นดวงอาทิตย์ เมื่อดวงอาทิตย์เกิดขึ้นนี้ เรื่องแรกจะต้องพูดคุยถึงก็เรื่องวิญญาณ ทันที

เดิมที วิญญาณทั้งหลายเสวยอาภัสระ คือเสวยอากาศเป็นอารมณ์ อยู่สุญญัตตา หรือ สุญตา คือ สุญญากาศ ศูนย์แห่งการไม่มีอากาศ ศูนย์แห่งความว่างเปล่า เมื่อดวงอาทิตย์เกิดขึ้น วิญญาณกลุ่มหนึ่งก็ได้เข้าไปอยู่ ณ พื้นดวงอาทิตย์ ซึ่ง มนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ในโลกนี้บูชาพระอาทิตย์นั้น อาตมาถือว่าไม่ผิด

เพราะพระอาทิตย์นั้นมีเหล่าวิญญาณกลุ่มแรก เข้าไปอยู่ในสถานที่มหัศจรรย์คือ ดวงอาทิตย์เกิดขึ้นในจักรวาลพิภพ และทุกคนในโลกมนุษย์เข้าใจว่าดวงอาทิตย์นั้นร้อน ตามหลักความจริงแล้วดวงอาทิตย์ร้อนแต่ผิวนอก ภายในดวงอาทิตย์นั้นอบอุ่น ไม่มีฤดูกาล แต่เหล่าวิญญาณเขาก็อยู่ได้ ข้อนี้ยกเอาไว้พูดกันต่อไ

หลังจากนั้นประมาณอีก ๗๐ กัปหรือ ๙๐ กัป เรื่องกัปนั้นนับกันไม่ถ้วนดังกล่าวแล้ว โลกพระอังคารและดาวพระศุกร์ก็ได้เกิดขึ้นพร้อมกัน ณ บัดนั้น สองโลกนี้แหละเป็นเรื่องของการเกิดสัตว์โลกขึ้น ในเรื่องของมนุษย์คือ วิญญาณอีกกลุ่มหนึ่งก็ได้ไปอยู่ ณ ดาวอังคารและดาวพระศุกร์





หลังจากนั้นอีกราวๆ 100 กัป กลุ่มน้ำกลุ่มหนึ่งได้แยกสลายจากดวงอาทิตย์ พร้อมกับผสมน้ำในจักรวาล ได้ลอยตัวขึ้นมาเกิดเป็นดวงดาวนี้ (ดาวราหู) ซึ่งเรียกว่าโลกมนุษย์ วิญญาณกลุ่มเสวยอาภัสระ อยู่สุญญัตตา ของอวกาศทั้งหลาย มีตัวอยากตัวเดียว ทำให้เกิดอนิจจังขึ้นมา

วิญญาณกลุ่มนั้นอยากจะมาเที่ยวพิภพแดนใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ ดาวดวงใหม่มีสิ่งมหัศจรรย์ คือ มีละอองดิน เมื่อ วิญญาณกลุ่มนั้นมาถึงโลกมนุษย์ วิญญาณนั้นมีอารมณ์ปีติอยู่ มาได้กลิ่นฟุ้งของละอองดินอันหอมอย่างอัศจรรย์ เหล่าวิญญาณก็ได้สูบละอองดินเข้าไป รัศมีการคุ้มครองตัวได้ดับวูบลง ณ บัดนั้น จะกลับไปสู่สุญญากาศไม่ได้อีก เริ่มละวิญญาณเริ่มเข้ามาอยู่ในโลกมนุษย์ปัจจุบัน เริ่มสูบเข้าไปมาก กายนั้นก็เริ่มๆจะหยาบขึ้นมา หลังจากนั้นละอองดินก็หายไป เรื่องนี้องค์สมณโคดมได้เทศน์ไว้ว่า

ต่อมาเหล่าเทวดาทั้งหลายได้กินง้วนดิน เมื่อกินง้วนดินเข้าไปๆกายนั้นก็เริ่มหยาบขึ้นๆ ตามลำดับมา จนกระทั่งเวลานี้เห็นกันว่าเป็นสัตว์ประเสริฐที่ตั้งขึ้นมาเอง เมื่อง้วนดินหมดไปเถาวัลย์ชนิดหนึ่งก็เกิดขึ้นมา ณ พิภพดวงใหม่นี้ ได้กินเถาวัลย์เข้าไปร่างกายก็ยิ่งหยาบยิ่งขึ้นๆ และการแบ่งผิวพรรณได้อุบัติขึ้น ณ โลกสัตว์นี้

เมื่อร่างกายผิวพรรณหยาบขึ้น ก็แบ่งว่าฉันสวยเธอไม่สวย เถาวัลย์นั้นก็หมดไป เมล็ดพืชได้อุบัติขึ้น ณ บัดนี้ แต่เมล็ดข้าวไม่มีเปลือกเหมือนปัจจุบัน ทุกคนเช้าไปเก็บมากิน เย็นไปเก็บมากิน เช้ามันก็เกิดขึ้นมาโดยธรรมชาติของมัน ด้วยการกินอิ่มนี้แหละ ทำให้มนุษย์กลุ่มหนึ่งได้เกิดตัวโลภขึ้นมา ณ บัดนั้น คือ เก็บสะสมเอาไว้กินอีกมื้อหนึ่ง ตอนเย็นขี้เกียจไปเอา





เมื่อมนุษย์ใจชั่วหรือว่าสัตว์ใจชั่วเกิดอุบัติขึ้นเช่นนี้ สิ่งมหัศจรรย์ของธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไป ณ บัดนั้น เมล็ดข้าวได้กลายเป็นข้าวเปลือกขึ้น ต่อมาได้ทำการเก็บข้าวเปลือกมาตำแล้วกินใหม่ๆ สังขารก็เริ่มหยาบขึ้นๆๆอีก จนกลายเป็นธรรมชาติแห่งหญิงชายอุบัติขึ้น ณ บัดนั้น การเป็นหญิงชายนั้นแหละ จ้องกันไปจ้องกันมาเสพเมถุนกรรม คือ สมสู่อย่างสัตว์ได้เกิดขึ้น ณ บัดนั้น

กาลต่อมาสมัยนั้นเริ่มการเป็นมนุษย์หรือการเป็นสัตว์นี้ การสมสู่ ถือว่าเป็นสิ่งไม่ดีเป็นสิ่งที่ละอายจะต้องพรางตา จะต้องถูกขับไล่ ไม่เหมือนสมัยนี้ถือว่าการสมสู่เป็นการที่ดี และมนุษย์เริ่มเมื่อรู้จักการสมสู่ อารมณ์แห่งอุปาทานการรู้จักปรุงแต่งได้อุบัติขึ้นในสัญชาตญาณ จึงได้คิดการสร้างบ้าน สร้างที่พัก สร้างใบไม้ต่างๆ มาปกปิดสังขาร กาลเวลาต่อมา การแก่งแย่งชิงดี ชิงเอาอาหารเก็บกันมากขึ้นๆ จนกลายเป็นการรบราฆ่าฟันกันขึ้น ในโลกมนุษย์
 
ณ บัดนั้น หัวหน้าหมู่เริ่มเกิดขึ้น พระมหากษัตริย์เริ่มเกิดขึ้นราชาเริ่มเกิดขึ้น การปกครองคนเริ่มเกิดขึ้นโดยวิถีการผู้ที่ยังมีอารมณ์แห่งการนึกคิดประเสริฐ กว่าผู้อื่น ก็ได้ทำพิธีการปันเขตที่ดิน ทำการต่างๆว่าที่นี้เป็นกลุ่มการทำมาหากินของท่าน กลุ่มการทำมาหากินของฉัน

กาลต่อมา การสมสู่มากขึ้นๆธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงแห่งโลกวิญญาณทำให้หญิงชายที่สมสู่ กันแล้ว ตัวอสุจิผสมกับไข่ของหญิงจะได้ฟักเป็นตัวคนขึ้นมา วิญญาณที่จะมา ณ โลกมนุษย์ ไม่มีที่จะกินแล้ว ต้องเข้าไปปฎิสนธิในครรภ์ของฝ่ายสตรีจนเกิดเป็นตัวตนของธรรมชาติสร้างมา

ณ กาลต่อมา หลังจากนั้น โลกแห่งวัฎสงสารก็ได้เกิดขึ้น ณ บัดนั้น วิญญาณถูกแบ่งเป็นกลุ่มขึ้น ณ บัดนั้น โดยผู้ที่มาในโลกมนุษย์สมสู่กันมากเกิดมาก อยากมีอารมณ์สัตว์ขึ้นมามาก ก็เป็นกลุ่มของ นรกโลก เมื่อยังมีอารมณ์น้อยมีเรื่องน้อยก็เป็นกลุ่มของเทวะ เมื่อดับอนุสัยของเหล่านั้นก็เป็นกลุ่มของพรหม และกาลเวลาต่อมาไม่ช้าไม่นานก็เกิดพรหมโลก เทวโลก นรกโลกขึ้นมา

 



เพราะอะไรนำจูงให้เกิดโลกเหล่านี้เล่า เพราะตัวอยากของเหล่าโลกวิญญาณ วิถีการต่อมาเพียงแต่ พรหมโลก
เทวโลก นรกโลก ยังไม่พอ มนุษย์ในโลกยิ่งเกิดยุ่งยากขึ้น ยิ่งปรับปรุงธรรมชาติแห่งพืชพันธุ์ขึ้น ธาตุภูมิปรุงแต่งมากขึ้นๆ ทำให้เหล่ามนุษย์เสื่อมไป เรียกว่าเป็นสัตว์ไปยิ่งมากขึ้นๆ อารมณ์แห่งการเป็นโลกอมตะน้อยลงๆ จึงทำการรบราฆ่าฟัน ชิงดีชิงเด่นกันขึ้น ภาษาปัจจุบันเรียกว่าศีลธรรมจรรยาเสื่อมไป

ณ บัดนี้ มติของที่ประชุมจึงได้กำหนดว่า จะต้องส่งผู้ที่มาเกิดในโลกมนุษย์เพื่อให้เป็นองค์ศาสดา คือเป็นผู้มาสอนหลักการบางอย่างให้พยายามเคลื่อนไปสู่ธรรมชาติของอารมณ์ใน อดีตกาล เป็นกายอมตะ คือ เป็นวิญญาณมาพัฒนาปรับปรุงพืชพันธุ์ในโลกมนุษย์แห่งดวงดาวนี้  เท่านั้นเอง ก็อุบัติพระพุทธเจ้าขึ้น หรือหลักธรรมชาติแห่งพุทธะเกิดขึ้น จึงเรียกว่า เปลี่ยนแปลงกันเรื่อยๆ จนถึงองค์สมณโคดม และองค์ต่อไปองค์ศรีอริยเมตไตรยจะมาเกิดใหม่ใน ๕๐๐๐ ปี ในอนาคตข้างหน้า เวลานี้อยู่สวรรค์ชั้น 4 และเคยจุติมาในโลกมนุษย์มาแล้วครั้งหนึ่งในสมัยองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย คือ องค์สังกัจจายน์

กาลเวลานั้นแหละ โลกของวิญญาณได้เปลี่ยนแปลงอย่างอัศจรรย์ คือ แบ่งนรกสวรรค์เป็น 33 ชั้น นรก 18 ขุม สวรรค์ 15 ชั้น แบ่งเป็นพรหม 4 ชั้น คือ โลกของ รูปพรหม อรูปพรหม กึ่งพรหมกึ่งเทวะ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องของธรรมชาติที่เหนือเรื่องของประวิติศาสตร์ที่ มนุษย์เกิดขึ้นมา

เพราะฉะนั้นเรื่องนี้อาตมาก็ไม่อยากจะพูดมาก เพราะยิ่งพูดไปมันจะยิ่งสร้างเรื่องกลายเป็นนิยายไป และยิ่งปวดหัวกันมากขึ้น เวลานี้มนุษย์ปัจจุบันถือว่าตนเลิศแล้วตนแน่แล้ว แต่ส่วนมากไม่รู้พื้นกำเนิดของตนว่าตนนั้นเกิดจากอะไร เพราะฉะนั้นขอให้มนุษย์ทั้งหลายจงสังวรเอาไว้ด้วยว่า สิ่งใดตนยังไม่รู้ไม่ได้ศึกษา อย่าด่วนลงความเห็น

กาลเวลาต่อมา เหล่าวิญญาณทั้งหลายที่มาเกิดในโลกมนุษย์แล้วดับไปอยู่ในโลกวิญญาณต่างเห็น ว่า ควรวางกฎเกณฑ์กันขึ้น จึงได้สร้างหลักแห่งมติ 3 โลกขึ้นว่า โลก มนุษย์นี้เป็นสัตว์เดรัจฉานยิ่งกว่าสัตว์ทั้งหลาย เรียกว่าพูดภาษาไม่ค่อยรู้เรื่อง มันจำเป็นอย่างยิ่งผู้ที่จะสำเร็จจะต้องมาสำเร็จในโลกนี้ คือ จะต้องมาเกิด ดวงวิญญาณทุกๆดวง จะต้องมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อต่อต้านกับอารมณ์แห่งดวงดาวในสถานที่นี้ ให้ชนะอารมณ์แห่งนรกสวรรค์ 33 ชั้น ไปสู่แดนอรหันต์ ทำให้เกิดโลกอีกโลกหนึ่งขึ้นมาคือ แดนโพธิสัตว์และอรหันต์





เมื่อบำเพ็ญถึง คือ วิญญาณอยู่ในกายอมตะ กายอมตะมาสู่การปฎิสนธิแล้วมาเติบโตตามพืชพันธุ์ธรรมชาติแห่งดวงดาว กลายเป็นมีสังขารหรือที่เรียกว่ามนุษย์ เมื่อเป็นมนุษย์เสร็จแล้วให้ขัดเกลากลับไปๆสู่การเป็นดวงวิญญาณอมตะ นั้นให้ได้เท่าที่จะทำได้ จึงเกิดแดนอรหันต์ขึ้น

 เพราะฉะนั้นผู้ที่เถียงกันอยู่ในโลกมนุษย์ทุกวันนี้ว่า พระเจ้าๆนั่น ก็คือเรื่องของโลกวิญญาณนั่นเอง สิ่งหนึ่งที่พระเยซูคริสต์ไม่ยอมพูดถึงก็คือ ผู้ที่เหนือพระเจ้าเหนือพระเยซูคริสต์ คือเรื่องของโลกวิญญาณ มะหะหมัดผู้เป็นจอมศาสดาแห่งศาสนาอิสลามก็ไม่ยอมพูดถึง เพราะเรื่องของวิญญาณนี้ในมติ 3 โลก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ไม่ใคร่ยอมพูดถึงเรื่องในโลกหน้า

เพียงแต่ให้รู้เรื่องในโลกนี้ โลกหน้ามันเรื่องที่ละเอียดศึกษากันยาก เพราะฉะนั้นองค์ศาสดาของศาสนาใดก็แล้วแต่ ล้วนแต่เกิดจากตัวอยากตัวเดียวของวิญญาณกลุ่มแรก ทำให้ต้องมาเกิดกันๆไป ปนกันจนโลกแห่งวัฎสงสาร ชาติภพนับกันไม่ถ้วน แต่ว่า มติ 3 โลก คือ เหล่าวิญญาณผู้บำเพ็ญแล้ว รู้กันด้วยอำนาจแห่งธรรม ไม่ใช่รู้กันด้วยอำนาจอธรรม เวลานี้เรื่องของพระเจ้านั้น

อาตมาภาพจะขอชี้แจงให้กระจ่างกว่านี้ว่า มติ 3 โลก ยังจะต้องรับคำบัญชาจากดวงวิญญาณอีก 19 ดวง ที่ไม่เคยจุติในโลกมนุษย์ นั่นคือผู้บัญชาการชั้นสูงของโลกมนุษย์ ไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นเหล่าวิญญาณบริสุทธิ์หรือธรรมชาติแห่งรู้จริง ไม่ได้มาถูกการปรุงแต่งของดวงดาวนี้ที่เรียกว่าดวงโลกมนุษย์ ท่านเหล่านั้นอยู่เหนือสุญตา ซึ่งอธิบายให้เข้าใจได้ยาก มันเป็นภาษาธรรมสู่แนวธรรมชาติที่แท้จริง สรรพสิ่งทั้งหลายเกิดจากธรรม



ที่มา  http://board.palungjit.com/f2/กำเนิดโลกมนุษย์-โอวาทสมเด็จโต-47230.html
ขอบคุณภาพจาก http://board.palungjit.com/,http://www.maemaiplengthai.com/,http://i1045.photobucket.com/,http://www.igetweb.com/,http://www.oknation.net/
22084  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 02:43:52 pm
เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

 


ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) กล่าวว่าเคล็ดลับสู่ความสำเร็จสุดยอดในทางธรรม

คือ จะต้องมีสัจจะอัน แน่วแน่และมีขันติธรรมอันมั่นคง จึงจะฝ่าฟันอุปสรรคบรรลุความสำเร็จได้


...อาตมามีกฎอยู่ว่า เช้าตีห้าไม่ว่าฝนจะตก ฟ้าจะร้อง อากาศจะหนาว ต้องตื่นทันที ไม่มีการผัดเวลา แล้วเข้าสรงน้ำ ชำระกายให้สะอาด แล้วจึงได้สวดมนต์และปฏิบัติสมถกรรมฐานหนึ่งชั่วโมง พอหกโมงตรงก็ออกบิณฑบาต เพื่อ ปฏิบัติตามปฏิปทาขององค์สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้า

...ฝึกจิตให้ได้ผลต้องตรงต่อเวลา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็เอาอาหารตั้งไว้ ตักน้ำใส่ตุ่ม เสร็จแล้วฉันอาหารเช้า โดยปกติอาตมาฉันมื้อเดียวเว้นไว้มีกิจนิมนต์ จึงฉันสองมื้อ สี่โมงเช้าถึงเที่ยง ถ้ามีรายการไปเทศน์ ก็ไปเทศน์ตามที่นัดไว้ วันไหนไม่ติดเทศน์ก็ จะปิดประตูกุฏิทันที ไม่ให้ใครๆเข้าไป

ในช่วงเวลานั้นเป็นเวลาศึกษาตำรา เวลาบ่ายโมงจึงออกรับแขก บ่ายสามโมงไม่ว่าใครจะมาอาตมาจะให้ออกจากกุฏิไปหมด เพราะถึงเวลาปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ฉะนั้น จุดสำคัญจงจำไว้ เราจะปฏิบัติเพื่อ หลุดพ้น ต้องมีสัจจะเพื่อตน โดยไม่เห็นแก่หน้าใคร ถึงเวลาทำสมาธิต้องทำ ไม่มีการผัดผ่อนใดๆ ทั้งสิน

หลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

1.จะต้องมี สัจจะต่อตนเอง
2.จะต้องไม่คล้อยตาม อารมณ์ของมนุษย์
3.พยายามตัดงานใน ด้าน สังคมออก และไม่นัดหมายใครในเวลาปฏิบัติกรรมฐาน


ดังนั้นเมื่อ จะเป็นนักปฏิบัติธรรมจำเป็นจะต้องมีกฎเกณฑ์ของเรา เพื่อฝึกจิตให้เข้มแข็ง

ทางแห่งความหลุดพ้น
...เจ้าประคุณสมเด็จฯ มักจะกล่าวกับสานุศิษย์ทั้งหลายอยู่เสมอว่าชีวิตมนุษย์อยู่ได้ไม่ ถึงหนึ่งร้อย ปีก็ต้องตายและถูกหามเข้าป่าช้า ดัง นั้นจึงควรประพฤติปฏิบัติอยู่ใน ศีล สมาธิ และปัญญา เพื่อให้หลุดพ้นจากสังสารวัฏท่านเปรียบเทียบว่า มนุษย์อาบน้ำ ชำระกายวันละสอง ครั้งเพื่อกำจัดเหงื่อไคลสิ่งโสโครกที่เกาะร่างกาย แต่ไม่เคยคิดจะชำระจิตให้สะอาดแม้เพียงนาที

ด้วยเหตุนี้ ทำให้จิตใจของมนุษย์ ยุคปัจจุบันเศร้า หมองเคร่งเครียดและดุดัน ก่อ ให้เกิดปัญหาความพิการในสังคมความแก่งแย่งชิงดีชิงเด่นกัน จนกระทั่งเกิดความขัดแย้ง และกลายเป็นสงครามมนุษย์ฆ่ามนุษย์ด้วยกัน

แต่ง ใจ
...ขอให้ท่านได้ พิจารณาไตร่ตรองให้จงดีเถิดว่า ร่างกายของเรานี้ไฉนจึงต้องชำระ ทุกวันทั้งเช้าและเย็นจะขาดเสียไม่ได้ทั้งที่ หมั่นทำความสะอาดอยู่เป็นนิจ แต่ ยังมีกลิ่นไม่น่าอภิรมย์ออกมา แม้จะพยายามหาของหอมมาทาทับ ก็ปกปิดกลิ่นนั้นไม่ได้ ...ใจของเราล่ะ ซึ่งเป็นใหญ่กว่าร่างกายเป็นผู้สั่งบัญชางาน ให้กายแท้ๆ มีใครเอาใจใส่ชำระสิ่งสกปรกออกบ้าง ตั้งแต่เล็กจนเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มัน สั่งสมสิ่งไม่ดีไว้มากเพียงใด หรือว่ามองไม่เห็นจึงไม่มีความ จำเป็นที่จะต้อง ทำความสะอาดหรือ?

กรรมลิขิต
...เราทั้งหลายเกิดมา เป็นมนุษย์ชาติแล้ว ล้วนแต่มีกรรมผูกพัน กันมาทั้งสิ้น ผูกพันในความเป็นมิตรบ้างเป็นศัตรู บ้าง แต่ละชีวิตก็ย่อมที่จะเดินไปตามกรรมวิบากของตนที่ได้กระทำ ไว้ ทุกชีวิตล้วนมีกรรม เป็นเครื่องลิขิต
อดีตกรรม ถ้ากรรมดี เสวยอยู่ ปัจจุบันกรรม สร้างกรรมชั่ว ย่อม ลบล้างอดีตกรรม กรรมแห่งอกุศล วิบากตน

ปัจจุบันสร้างกรรมดี ย่อมผดุง
เรื่องกฎแห่งกรรม ถ้าเป็นชาวพุทธแล้ว เขาถือว่าเป็นกฎแห่งปัจจังตัง ผู้ที่ต้องการรู้ ต้องทำเอง รู้เอง ถึงเอง แล้วจึงจะเข้าใจ

นักบุญ
...การทำบุญก็ดี การทำสิ่งใดก็ดี ถ้าเป็นการทำตนให้ละทิฏฐิมานะทำเพื่อให้จิตเบิกบาน ย่อมเสวยบุญนั้นในปรภพ มนุษย์ทุกวันนี้ทำแบบมีกิเลส ดังนั้น บางคนนึกว่าเข้า สร้างโบสถ์เป็นหลังๆ แล้วเขาจะไปสวรรค์หรือเปล่า เขาตายไปอาจจะต้องตกนรก เพราะอะไรเล่า เพราะถ้าเขาสร้างด้วยเจตนาไม่บ ริสุทธิ์ เป็น การทำเพื่อเอาบุญบังหน้าในการเสวยความสุขส่วนตัวก็มี บางคนอาจเรียกได้ว่าหน้าเนื้อใจเสือ คือข้างหน้าเป็นนักบุญ ข้างหลังเป็นนักปล้น

ละความตระหนี่มีสุข
..ดังนั้นบุญที่เขาทำนี้ถือว่า ไม่เป็นสุข หากมาจากการก่อกรรม บุญนั้นจึงมีกระแส คลื่นน้อยกว่าบาปที่เขาทำเอาไว้หากมีใครเข้าใจคำว่า บุญ นี้ดีแล้ว การทำบุญนี้จุดแรกใน การทำก็เพื่อไม่ให้เรานี้เป็นคนตระหนี่ รู้จัก เสียสละเพื่อความสุขของผู้อื่น ธรรมดาเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน เมื่อมีทุกข์ก็ควรจะทุกข์ด้วย เมื่อมีความสุขก็ควรสุขด้วยกัน

อย่าเอาเปรียบเทวดา
...ในการทำบุญ สิ่งที่จะได้ก็คือ ระหว่างเราผู้เป็นมนุษย์เรารู้ว่าสิ่งที่เราทำนี้จะ เป็นมงคล ทำให้จิตใจเบิกบานดีนี่คือการเสวยผลแห่งบุญในปัจจุบัน ทีนี้การทำบุญเพื่อ จะเอาผลตอบแทนนั้น มนุษย์นี้ออกจะเอาเปรียบเทวดา ทำบุญครั้งใด ก็ปรารถนาเอาวิมานหนึ่งหลังสองหลัง การทำบุญแบบนี้เรียกว่า ทำเพราะหวังผลตอบแทน ด้วยความโลภ บุญนั้นก็ย่อมจะไม่มีผล

ท่านอย่าลืมว่า ในโลกวิญญาณเขามีกระแสทิพย์รับ ทราบในการทำของมนุษย์แต่ละคนเขามีห้องเก็บบุญและบาปแห่งหนึ่งอัน เป็นที่เก็บบุญและบาปของใครต่อใครและของเรื่องราวนั้นๆ กรรมของใครก็จะ ติดตามความเคลื่อนไหวของตนๆนั้น ไป ตลอดระหว่างที่เขายังไม่สิ้นอายุขัย

บุญบริสุทธิ์
...การที่สอนให้ทำบุญ โดยไม่ปรารถนานั้นก็เพื่อให้กระแสบุญนั้นบริสุทธิเป็นขั้นที่หนึ่ง จะได้ตามให้ผลทันใน ปัจจุบันชาติ แต่ถ้าตามไม่ทันในปัจจุบันชาติ ก็ติดตามไปให้เสวยผลในปรภพคือ เมื่อสิ้นอายุขัยจากโลกมนุษย์ไป แล้ว ฉะนั้นเขาจึงสอนไม่ให้ทำบุญเอาหน้า ทำบุญอย่าหวังผลตอบแทน สิ่งดีที่ท่านทำไปย่อมได้รับสนองดีแน่นอน

สั่งสมบารมี
...โดย เฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับนักปฏิบัติธรรมแล้ว การทำบุญทำทานย่อมเป็นการส่งเสริม การปฏิบัติจิตให้บรรลุธรรมได้เร็วขึ้นเป็นบารมีอย่างหนึ่ง ในบารมีสิบทัศที่ ต้องสั่งสม เพื่อให้สำเร็จมรรคผลนิพพาน
เมตตา บารมี

...การทำบุญให้ทานเพียง แต่เรียกว่า ทานบารมี หากบำเพ็ญสมาธิจิตจน ได้ญาณบารมี และโดยเฉพาะการบำเพ็ญทุกอย่างนั้น ถ้าท่านให้โดยไม่มีเจตนาแห่งการ ให้ ให้สักแต่ว่าให้เขาท่านก็ย่อมได้กุศลเรียกว่าไม่มากและทัศนคติ ของ อาตมาว่าการบำเพ็ญเมตตาบารมีในภาวนาบารมีนั้นได้กุศลกรรมกว่า การให้ทาน


แผ่ เมตตาจิต
...ทุกสิ่งทุกอย่างที่จะสัมฤทธิ์ผลนั้น เกิดจากกรรม 3 อย่าง คือ มโนกรรม เป็นใหญ่ แล้วค่อยแสดงออกมาทางวจีกรรม หรือกายกรรมที่เป็นรูป การบำเพ็ญสมาธิจิตเป็นกุศลดีกว่า เพราะว่า การแผ่เมตตา 1 ครั้ง ได้กุศลมากกว่าสร้าง โบสถ์ 1 หลัง ขณะจิตที่แผ่เมตตานั้น จะเกิดอารมณ์แจ่มใส สรรพ สัตว์ไม่มีโทษภัย ตัวท่านก็ไม่มีโทษภัย ฉะนั้น เขาจึงว่านามธรรมมีความสำคัญกว่า

อานิสงส์การแผ่เมตตา
...ผู้ปฏิบัติธรรมนั้น ต้องรู้จักคำว่า แผ่เมตตา คือต้องเข้าใจว่า ความวิเวกวังเวงแห่ง การคิดนึกของเราแต่ละบุคคลนั้น มี กระแสแห่งธาตุไฟผสมอยู่ในจิตและวิญญาณกระจายออกไปเมื่อจิตของ เรามี เจตนาบริสุทธิ์ เมื่อจิตของเราเป็น มิตรกับทุกคน เมื่อนั้นเขาก็ย่อมเป็นมิตรกับเร

เสมือนหนึ่งเราให้เขากินอาหาร คนที่กินอาหารนั้นย่อมคิดถึงคุณของเรา หรือ อีกนัยหนึ่งว่าเราผูกมิตรกับเขาๆก็ย่อมเป็นมิตรกับเรา แม้แต่คนอันธพาล เราแผ่เมตตาจิตให้ ทุกๆวัน สักวันหนึ่งเขาก็ต้องเป็นมิตรกับเราจนได้ เมื่อจิตเรามีเจตนาดีต่อดวงวิญญาณทุกๆดวง ดวงวิญญาณทุกๆดวงย่อมรู้กระแส แห่งจิตของเรา เรียกว่ามนุษย์เรานี้มีกระแสธาตุไฟออกจากสังขาร เพราะเป็นพลังแห่งการนั่งสมาธิจิต วิญญาณ จะสงบ ธาตุทั้ง 4 นั้น จะเสมอแล้วจะเปล่งเป็นพลังงานออกไป

ฉะนั้น ผู้ ที่นั่งสมาธิปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ จิตแน่วแน่แล้ว โรคที่เป็นอยู่มันจะหายไป ถ้าสังขารนั้นไม่ใช่ จะพังเต็มทีแล้ว คือไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย หรือ ว่าสังขารนั้นร่วงโรยเกินไปแล้ว ก็จะรักษาให้มันกระชุ่มกระชวยได้หรือจะให้มันสบายหายเป็นปกติดั่ง เดิมได้
ประโยชน์จากการฝึกจิต


...ผู้ที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรม ฐาน จนมีสมาธิแน่วแน่ เมื่อจิตนิ่งก็รู้ตน เริ่มพิจารณาตน รู้ตนเองได้ ปัญญาก็เกิดขึ้น ปัญญานี้เรียกว่า ปัญญาภายในจากจิตวิญญาณ ซึ่งเราจะใช้ปัญญานี้ได้แน่นอน เมื่อเกิดมีปัญหา ขึ้นในชีวิตตลอดระยะเวลาอันยาวนานข้างหน้า นี่ คือประโยชน์ของการฝึกจิตแล้ว คุณของสมาธิยังเป็นพลังป้องกันไม่ ให้เกิดโรคภัย เจ็บป่วยได้ กล่าวคือ

การบำเพ็ญจิต จนจิตสงบนิ่งแล้ว ระบบต่างๆทางประสาทจะได้รับการพักผ่อน เป็น การปรับธาตุในกายให้เกิดพลังจิตเข้มแข็ง กายเนื้อก็จะแข็งแรงกระชุ่มกระชวย ด้วย โลหิต ในร่างกายจะหมุนเวียนสะดวกขึ้น ความตึงเครียดตามร่างกายและประสาท ต่างๆ จะผ่อนคลายเป็นปกติ โรคต่างๆจะลดน้อยลงโดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็น โรคความดันโลหิตสูง หายป่วยได้ด้วยการฝึกจิตและเดินจงกรม


คัดลอกจากหนังสือเรียน ธรรมะบูชาพระสุปฏิปันโน เล่มของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)

ที่มา http://board.palungjit.com/f132/เคล็ดลับสู่ความสำเร็จ-โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์-โต-พรหมรังสี-245110.html
22085  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทุกคนมีห้องเก็บกรรม (สมเด็จโต พรหมรังสี) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 10:43:16 am
ทุกคนมีห้องเก็บกรรม (สมเด็จโต พรหมรังสี)


ทุกคนมีห้องเก็บกรรม คัดมาจากหนังสือ โอวาท จากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์
สมเด็จโต พรหมรังสี ทรงจากสำนักปู่สวรรค์
เคยพิมพ์ใน น.ส.พ. ไทยเดลี่ ฉบับประจำวันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๔

ผู้ถาม คือ อาจารย์ชุบชีพ นกแก้ว : กรรมใดที่ได้กระทำมาแล้ว ดีก็ตามชั่วก็ตาม ผู้ที่ได้กระทำไปแล้วย่อมได้เสวย ถ้าหากว่าได้กระทำกุศลกรรมก็ไปเสวยกุศลกรรม เหมือนกับว่าได้บันทึกเอาไว้ในจิตใจ เช่นเดียวกับ เมื่อทำกรรมชั่วก็ต้องได้รับผลชั่ว

ในเทวสูตร หรือไตรโลกวิจารณ์ บอกว่ามีท้าวจตุโลกบาล หรือท้าวธตรฐ ท้าวกุเวร ท้าววิรูปักษ์ ท้าววิรุฬหก มาจดบาปบุญของมนุษย์ในโลกมนุษย์ ในวันพระ ๘ ค่ำ หรือ ๑๕ ค่ำ ถ้าเทวดาทั้ง๔องค์ มาจดบาปบุญ แต่เฉพาะวันพระ อย่างนั้น ถ้าเป็นวันที่ไม่ใช่วันพระ คนที่ทำบาปก็ไม่ได้รับผล สมเด็จอาจารย์มีความเห็นอย่างไร


ผู้ตอบ คือ สมเด็จโต : การที่มนุษย์เราประกอบกรรมนั้น จะเป็นกรรมอันใดก็แล้วแต่ กรรมอันนั้นจะสมบูรณ์ต่อเมื่อประกอบด้วย ๓กรรม คือกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ทีนี้ในเรื่องการบันทึกของเทวดานั้น ท่านอย่าลืมว่าเทวโลก มีเทวดาเป็นล้านๆ โกฏิ ล้านๆจักรวาล ในด้านแห่งความจริงของมนุษย์

ถ้าจะเอาความจริงกันแล้วก็คือ ทุกคนมีห้องเก็บกรรมในโลกวิญญาณ กรรมของวิญญาณใดก็จะคอยติดตามสนองวิญญาณนั้นๆ ที่มาปฏิสนธิเป็นเทวดาก็ดี เป็นพระพรหมก็ดี เป็นมนุษย์ก็ดี หรือที่ปฏิสนธิลงสู่ยมโลกก็ดี เรื่องนี้ต้องศึกษา ให้เข้าซึ้งถึงความจริงในโลกวิญญาณ และอาตมาก็เคยบอกแล้วว่า

ในตำราทั้งหลายองค์สมณโคดม ไม่เคยสอนให้ยึดคำสอนของพระองค์เป็นสรณะ แต่ต้องการให้ท่านปฏิบัติจนถึงสภาพแห่งการ "รู้" อันบริสุทธิ์ของพุทธะเป็นสรณะ

เพื่อเป็นเรือเป็นการช่วยตัวเองให้พ้นจากกฎแห่งวัฏฏะ ของทะเลซึ่งมีแต่คลื่นของความบ้าคลั่ง ในกามตัณหา?
ทีนี้เมื่อมาแยกแยะถึงการจดกรรมของเทวดาแล้วไซร้ ท่านพูดอะไร ท่านทำอะไร หรือแม้แต่คิดอย่างไร
ขณะใดก็ถูกบันทึกไว้หมด เพราะเทวดามีทั่วทุกพิภพ ในเหล่าแห่งท้าวจตุโลกบาลทั้ง๔ นี้มีหน้าที่พิทักษ์ทิศทั้ง๔ แห่งจักรวาลของโลก หนึ่งในหมื่นจักรวาลนี้ เรียกได้ว่าท่านเป็นหัวหน้าหน่วย


ในการรับทราบถึงการบันทึกทั้งหลายนั้น เพราะฉะนั้น การอ่านพระไตรปิฏก จึงอย่าอ่านเพียงเพื่อคุย ถ้าถามความจริง ขององค์สมณโคดมแล้ว องค์สมณโคดมจะบอกว่า

"ท่านจงวางหมดทุกตำรา ท่านจงมาค้นจิตในจิต ท่านจงมาค้นกายในกาย
เมื่อนั้นท่านจะรู้ว่าวิญญาณอยู่อย่างไร "

ในแนวแห่งพระสูตรดังกล่าวนั้น อรรถกถาจารย์ ฎีกาจารย์ในกาลต่อมา ไม่เข้าซึ้งถึงเรื่องวิญญาณ
ไม่เข้าซึ้งถึงเรื่องกรรมจึงเขียนออกมาเช่นนั้นตามหลักแห่งสัจธรรมแล้ว

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้เชื่อ ตามหลักแห่งการปฏิบัติจิตเป็นสรณะ
ให้ขัดเกลาอกุศลกรรมออกจากกาย นี่คือหลักความจริง ที่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าต้องการ
พระไตรปิฏกเพียงแต่เป็นพื้นฐาน ให้อ่านแผนผัง ถ้าท่านยึดท่านก็ยังไม่ถึงธรรม


ทุกคนมีห้องเก็บกรรมอยู่ในโลกวิญญาณ ท่านพูดอะไร ท่านทำอะไร หรือแม้แต่คิดอะไร
ขณะใดก็ถูกจดบันทึกไว้หมด

เมื่อถึงวาระตายจากโลกมนุษย์ เขาจะรวบรวมสถิติแห่งกุศลกรรมและอกุศลกรรม
รวมพร้อมทั้ง มโนกรรม วจีกรรม กายกรรมแล้วจึงวินิจฉัยสภาพการทำถูกผิดของบุคคลนั้น


ที่มา http://webboard.mthai.com/7/2006-02-23/201800.html
ขอขอบคุณhttp://www.watpanonvivek.com/index.php?option=com_content&view=article&id=1490%3A2010-02-02-08-05-35&catid=51%3A4&Itemid=2

22086  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / ความศักดิ์สิทธิ์ของ “เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2011, 10:36:14 am
ความศักดิ์สิทธิ์ของ “เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ”


    เนื่องจากมีผู้สนใจจำนวนมากอยากทราบประวัติของท่านท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ คอลัมน์จักรพรรดิพระเครื่องฉบับนี้ จึงได้นำประวัติและความศักดิ์สิทธิ์ของท่านมาเล่าสู่กันฟัง

    ท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ เกิดเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ยุคพระพุทธเจ้า มีพระชนม์ชีพเป็นลูกศิษย์ของโมคคัลลานะ ท่านสำเร็จเป็นพระอรหันต์เมื่ออายุได้เพียง 7 ขวบ ท่านเป็นผู้ที่มีรูปงามจึงมีสตรีเพศหลงใหลในตัวท่านเป็นอย่างยิ่ง แต่ท่านยึดมั่นในพรหมจรรย์เป็นสรณะ


วันหนึ่งขณะที่ท่านออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ ได้มีหญิงผู้หนึ่ง ซึ่งแอบหลงรักท่านมิอาจยับยั้งใจได้ จึงผวาเข้ากอดท่านอย่างลืมตัว ท่านเห็นกายเป็นเหตุทำให้พรหมจรรย์จิตเสื่อมสลาย ท่านจึงถอดกายทิพย์ออกจากร่างทิ้งสังขารไว้เมื่อยังไม่ถึงกาล เมื่ออายุเพียง 23 ปี 6 เดือน กายทิพย์ท่านจึงไปแค่แดนพรหมโลกชั้นที่ 16

   ขณะนี้ ท่านมีตำแหน่งเป็นหัวหน้ารูปพรหม 16 ชั้น เป็นผู้พิชิตมาร และเป็นเจ้าพิธีการของโลกวิญญาณ ท่านเสด็จมาโปรดสัตว์ และทรงงานที่สำนักปู่สวรรค์ในโลกมนุษย์โดยท่านทรงเป็นองค์ที่ปรึกษา ท่านเป็นพระพรหมที่มีฤทธานุภาพมหาศาล ที่เรียกว่าพญามารหรือมารทั้งหลายเกรงกลัวในด้านของมารโลเก โลกของมารของพวกวิญญาณ

    ดังนั้น ท่านมีรูปของท้าวมหาพรหมชินนะ ปัญจะระบูชาอยู่ในบ้านหรือแขวนติดตัว ก็คิดว่าอุปสรรคในการกลั่นแกล้งของวิญญาณ พวกที่เรียกว่ารุกขเทพก็ดี พวกอมรมนุษย์ก็ดี พวกผีเปรตอสุรกายก็ดี ไม่กล้าย่างกราย

พาหนะ
- องค์สมมติ เสด็จพ่อท้าวมหาพรหม ชินนะปัญจะระ ขนาดสูง 15 นิ้ว
    เท้าขวาเหยียบเต่า เท้าซ้ายเหยียบพญานาค เป็นพาหนะประจำตำแหน่ง พาหนะเหล่านี้เป็นวิญญาณทิพย์เป็นวิญญาณที่จำศีล เตรียมตัวเกิดเป็นสาวกในยุคพระศรีอริยเมตไตรย เต่ามีอายุยืนนานและแข็งแกร่ง เท้าขวาท่านหนักมาก ถ้าเหยียบพญานาครับรองว่าแบน



    จึงเอาเต่ามารอง เท้าซ้ายไม่ค่อยหนักก็เอาพญานาคเหยียบ เต่านั้นถือว่าเป็นสัตว์บก พญานาคเป็นสัญลักษณ์ของน้ำ เหยียบพญานาคหมายถึงเหยียบสมุทร แสดงว่าทั้งบกทั้งน้ำอยู่ใต้ตีนข้า เวลาท่านประทานน้ำมนต์อาบคนไข้ สัตว์ทั้งสองนี้ก็มาช่วยอยู่ข้างๆ

คฑา
มือขวาถือคฑาเรียกว่า “คฑาพรหม” เป็นจามจุรีทิพย์ หัวคฑามีแสงพุ่งออกมาเป็นรัศมีรุ้ง ๓ สี
วัตถุมงคลบูชา มีอิทธิคุณเด่นในด้านป้องกันภูตผีปีศาจและคุณไสยเป็นเอกอุ และมีพลังมหาเมตตาเปี่ยมล้น
 

- ล๊อกเก็ตท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระ รุ่นแรกสร้างเมื่อ พ.ศ. 2519 จำนวน 1,000 เหรียญ เลี่ยมใส่กรอบเนื้อเงินแท้บริสุทธิ์ชุบทองคำขาว
- เหรียญโลหะชุบทอง

 

- ภาพเสด็จพ่อพร้อมลงยันต์ไว้ด้านหลังภาพมี 3 ขนาด
ท่านที่สวดมนต์ภาวนา ชินปัญชรคาถา เป็นประจำสม่ำเสมอ จะก่อให้เกิดสิริมงคลยิ่งแก่ผู้ภาวนา หากท่านเดินทางไกลหรือไปสถานที่ใดที่ทำให้ขนลุก ให้ภาวนา “ชินนะปัญจะระ” วิญญาณร้ายและพลังไม่ดีจะสลายหายไป เพราะท่านท้าวมหาพรหมชินนะปัญจะระจะทรงแผ่อำนาจลงมาช่วยขจัดปัดเป่า และคุ้มครองท่านให้แคล้วคลาดปลอดภัย  เสด็จพ่อท้าวมหาพรหมชินปัญจะระ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ชมรมสานุศิษย์สำนักปู่สวรรค์


ที่มา  http://www.poosawan.org/news_article_01_2554_chinna.html
22087  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / พระปฐมเจดีย์ เจดีย์แห่งแรกในสุวรรณภูมิ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 09:40:37 pm
พระปฐมเจดีย์ เจดีย์แห่งแรกในสุวรรณภูมิ


ด้วยความที่เชื่อว่าพระปฐมเจดีย์ หรือ พระธมเจดีย์ในชื่อเดิมนั้น เป็นมหาธาตุหลวง ของแผ่นดินสุวรรณภูมิ นั้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระราชวินิจฉัยว่า พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น


เมื่อคราวที่พระสมณทูต ในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ นด้วยพระเจดีย์แบบเดิมนั้น มีลักษณะทรงโอคว่ำ หรือทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับพระสถูปสาญจี โดยมีการสร้างยอดเป็นแบบปรางค์ โดยมีเจ้านายหรือผู้มาบูรณะเสียใหม่
 

ในศิลาจารึกหลักที่ 2 (ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ นั้นมีข้อความกล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมาบูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับเมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษาพระพุทธศาสนาที่ลังกา ด้วยเหตุนี้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามว่า พระปฐมเจดีย์ ด้วยพระองค์ทรงเชื่อ ว่าเป็นเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง

 
ภาพเขียนเก่า


นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุคทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยมีเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม ขอมเรียก พระธม "

ส่วนเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ขอมที่เมืองละโว้ต้องศึกษากันต่อไป ด้วยปรากฏว่ามีการเรียกว่าขอมอยู่หลายชื่อ เช่น ขอมสบาดโขลญลำพง ดังนั้นคำว่า ธม สำหรับชาวขอมนั้น แปลว่า ใหญ่ ตรงกับคำเมืองว่า หลวง เช่นเดียวกับการเรียก พระนครธม ว่า พระนครหลวง
 
ยอดมงกุฎ ร. ๔

ในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเสด็จประพาสหัวเมืองฝ่ายเหนือได้ทอดพระเนตร พระพุทธรูปโบราณเป็นอันมาก คราวนั้นมีพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่เมืองศรีสัชนาลัย (จังหวัดสุโขทัย) ล้วนเต็มไปด้วยลักษณะงามเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย

แต่ชำรุดมากเหลืออยู่แต่พระเศียร พระหัตถ์และพระบาท พระองค์งโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญลงมากรุงเทพฯ แล้วให้ช่างปั้นสถาปนาขึ้นมาบริบูรณ์เต็มพระองค์ และโปรดเกล้าฯ ให้จัดการพระราชพิธีเททองหล่อขึ้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2456 ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานครฯ
 

สำหรับพระพุทธรูปที่พระองค์โปรดให้สร้างพระร่วงโรจนฤทธิ์ เพื่อเป็นที่เคารพบูชาของ พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วไป ชื่อเต็มก็คือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตามประกาศกระแสพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2466 แต่ประชาชนทั่วไป จะเรียกว่า หลวงพ่อพระร่วง หรือ พระร่วงโรจนฤทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะของชาวพุทธทั่วไป

พระพุทธรูปศิลาขาว

พระร่วงโรจนฤทธิ์ มีขนาดความสูงวัดจากพระบาทถึงพระเกศ 7.42 เมตร หรือราว 12 ศอก 4 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ ศิลปะแบบสุโขทัย ประทับยืนอยู่บนฐาน โลหะทองเหลืองลายบัวคว่ำบัวหงาย ทำวงพระพักตร์ตามยาว พระหนุเสี้ยมนิ้วพระหัตถ์ และพระบาทไม่เสมอกัน ห้อยพระหัตถ์ซ้ายลงข้างพระวรกาย แบฝ่าพระหัตถ์ขวายกตั้งขึ้น ยื่นออกไปข้างหน้าระดับพระอุระ เป็นกิริยาห้าม มีพระอุทรพลุ้ยออกมา ห่มจีวรบางคลุม แนบติดพระวรกาย บ่ายพระพักตร์สู่ทิศเหนือ ทำด้วยโลหะทองเหลือง หนัก 100 หาบ
 
ตำนานพระยากงพระยาพาน


พระร่วงโรจนฤทธิ์องค์นี้ได้อัญเชิญมาประดิษฐานที่องค์พระปฐมเจดีย์ เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2457 โดยแยกชิ้นและมาประกอบเข้าด้วย กันที่จังหวัดนครปฐมแล้วเสร็จเป็นองค์สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2458
หลังจากรัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคตแล้ว


ตามความในพระราชพินัยกรรมของพระองค์ระบุว่าให้ บรรจุพระอังคารของพระองค์ไว้ใต้ฐานพระร่วงฯ ที่องค์พระ ปฐมเจดีย์ วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2469 จึงได้ทำพิธีบรรจุ พระบรมราชสรีรังคาร ณ ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์ ศรีอินทราทิตย์ ธรรโมภาส มหาวชิราวุธ ราชปูชนียบพิตร ตาม พระประสงค์ทุกประการ
 
แผ่นจารึกคาถาเยธัมม


องค์พระปฐมเจดีย์แห่งนี้ได้แสดงปาฏิหารย์แห่งพระบรมสารีริกธาตุ ให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ อีกทั้งยังมีศิลปวัตถุสำคัญเช่น ศิวะลึงค์ พระพุมททะรูปศิลาขาว แผ่นคาถา เยธัมมาฯ พระพุทธรูป ธรรมจักร เป็นต้น จนเชื่อว่าเป็นเมืองท่าสำคัญหรือศูนย์กลางของอาณาจักรสุวรรณภูมิอีกแห่ง หนึ่ง

อ้างอิง
http://www.naewna.com/news.asp?ID=248876
http://board.palungjit.com/f76/พระปฐมเจดีย์-เจดีย์แห่งแรกในสุวรรณภูมิ-279642.html
22088  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คำว่า "อรหันต์ในบ้าน" อาจมีต้นกำเนิดมาจากคำเทศน์นี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 07:59:59 pm
พระอรหันต์อยู่ในบ้าน  "อมตะธรรม หลวงปู่โต"


พระอรหันต์...อยู่ในบ้าน
...สมเด็จ โตท่านเป็นยอดนักเทศน์ ท่านเทศน์ได้จับใจคนฟัง ธรรมเทศนาของท่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องนั่งแปลไทยให้เป็นไทย เพราะท่านใช้คำไทยตรงๆ เป็นภาษาพื้นๆ ที่คนทั่วไปได้ฟังก็เข้าใจ เป็นที่นิยมของชนทุกชั้น ฟังไปก็สนุกเพลิดเพลิน และยังได้คติธรรม ไม่ง่วงเหงาหาวนอนเหมือนนักเทศน์ท่านอื่นๆ

สมเด็จ โตท่านได้เล่าว่า มีคราวหนึ่งท่านได้รับนิมนต์ให้แสดงธรรม ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จออกมาท่ามกลางเหล่าขุนนาง ข้าราชการ และข้าราชบริพาร ครั้นพอพบหน้าท่านเจ้าผู้ครองแผ่นดินก็ทรงสัพยอกว่า “ท่านเจ้าคุณ เห็นเขาชมกันทั้งเมืองว่าท่านเทศน์ดีนักนี่ วันนี้ต้องขอพิสูจน์หน่อย”

สมเด็จโตทรงทูลว่า “ผู้ที่ไม่เคยฟังในธรรม ครั้นเขาฟังธรรม และได้รู้เห็นในธรรมนี้แล้ว เขาก็ชมว่าดี ขอถวายพระพร มหาบพิตร” และวันนี้อาตมาจะมาเทศน์เรื่อง “พระอรหันต์อยู่ในบ้าน”

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเหล่าขุนนาง ข้าราชการและข้าราชบริพารต่างก็มีความสงสัย เพราะเคยได้ยินแต่ว่าพระอรหันต์ท่านจะอยู่ในถ้ำ ในป่า ในเขา ในที่เงียบสงัดหรือที่วัดวาอารามเท่านั้น แต่ทำไมสมเด็จโตจึงกล่าวว่าจะเทศนาเรื่องพระอรหันต์อยู่ในบ้าน ในขณะที่ทุกคนพากันคิดสงสัยอยู่นั้น ฝ่ายสมเด็จโตทรงทราบด้วยญาณวิถีของทุกคน

ท่านจึงขยายความต่อไปว่า จิตพระอรหันต์เป็นผู้บริสุทธิ์ ท่านละจากความโลภ ความหลง ไม่ยินดียินร้ายในเรื่องใดๆทั้งสิ้น เป็นเนื้อนาบุญอันยอดเยี่ยม หากใครได้ทำบุญกับพระอรหันต์แล้วไซร้ ก็ถือได้ว่าเป็นลาภอันประเสริฐที่สุด บุญที่ได้ทำกับท่านจะให้ผลในชาติปัจจุบันทันที ไม่ต้องรอไปถึงชาติหน้า ทุกๆคนจึงมุ่งเสาะแสวงหาแต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน แต่ไม่เคยมองเห็นพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านเลย

ทุกๆ คนที่นั่งฟังเทศนาอยู่ในที่แห่งนั้น ต่างทำสีหน้างุนงงไปตามกัน เพราะไม่เข้าใจความหมาย สมเด็จโตจึงเทศนาต่อไปว่า “พระอรหันต์คือ พระผู้ประเสริฐ คนเราทั้งหลายพยายามค้นหาพระผู้ประเสริฐ เพียงหวังที่จะยึดท่าน เกาะผ้าเหลืองท่าน เกาะหลังของท่าน เพื่อให้ท่านพาไปสู่ความสุข แม้ว่าท่านจะอยู่ไกลสุดขอบฟ้า คนเราก็ยังอุตสาห์ดั้นด้นดิ้นรนไปหา เพียงหวังเพื่อยึดเหนี่ยวและบูชาท่าน

แต่พระที่อยู่ภายในที่ใกล้ตัวที่สุดกลับมองข้าม มองไม่เห็นเหมือนใกล้เกลือ แต่กลับไปกินด่าง อันน้ำใจของพ่อ แม่ ที่ให้ต่อลูก มีแต่ความบริสุทธิ์ ไม่คิดหวังสิตอบแทน เช่นเดียวกับน้ำใจของพระอรหันต์ที่ให้ต่อมนุษย์ ก็มีความบริสุทธิ์เช่นเดียวกัน

พ่อแม่จึงเปรียบเสมือนพระอรหันต์ของลูก ท่านมีน้ำใจบริสุทธิ์ต่อลูกมากมายนัก ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่อยู่ในท้องของท่าน ทนทุกข์ทรมานร่วมเก้าเดือนบ้างสิบเดือนบ้าง แต่ท่านก็ไม่เคยปริปากบ่นสักนิด มีแต่ความสุขใจ แม้ลูกเกิดมาแล้วพิกลพิการ หูหนวก ตาบอด ท่านก็ยังรักยังสงสาร เพราะท่านคิดเสมอว่านั้นคือสายเลือด ถือว่าเป็นลูก ไม่เคยคิดรังเกียจและทอดทิ้ง
 
แต่ท่านกลับจะเพิ่มความรักความสงสารมากยิ่งขึ้น ครั้นตอนที่เราเป็นเด็กเล็กๆ ก็ซุกซนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เราเคยหยิก เคยข่วน ทุบ ตี เตะ ต่อย กัด หรือด่าทอพ่อแม่ต่างๆ นานา เพราะความไร้เดียงสา ท่านก็ไม่เคยโกรธเคือง กลับยิ้มร่าชอบใจเพิ่มความรักความเอ็นดูให้เสียอีก

แม้เราจะเป็นผู้ใหญ่รู้ผิดชอบชั่วดี แต่บางครั้งด้วยความโกรธ ความหลง เราก็ยังทุบตีหรือด่าทอท่านอยู่ แทนที่ท่านจะโกรธหรือถือโทษเอาผิดต่อเรา ท่านกลับยอมนิ่งเฉย ยอมที่จะทนรับทุกข์เพียงฝ่ายเดียว ยอมเสียน้ำตา ยอมเป็นเครื่องรองรับมือ รับเท้า และปากของเรา

สำหรับลูกแล้ว ท่านเสียสละให้ทุกอย่าง ท่านให้อภัย ในการกระทำของเราเสมอ เพราะท่านกลัวเราจะมีบาปติดตัว จึงยอมที่จะเจ็บ ยอมทุกข์เสียเอง ไม่มีใครในโลกนี้ที่จะรักเรา และหวังดีต่อเราอย่างจริงจังและจริงใจ เหมือนพ่อแม่ ท่านเลี้ยงดูเรามาตั้งแต่เล็กจนเราเติบใหญ่ ทุ่มเทแรงกายแรงใจ และกำลังทรัพย์ให้แก่เราอย่างมากมาย จนไม่อาจประมาณค่าเป็นตัวเลขได้

ทั้งนี้เพราะมันมากมายจนเกินกว่าจะประมาณค่าได้ และในบางครั้ง ลูกหลงผิดเป็นคนชั่วด้วยอารมณ์แห่งโทสะ เป็นคนเมาขาดสติ ก่อกรรมทำเข็ญเป็นที่เดือดร้อนแก่ชาวบ้าน ต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ในสายตาของท่านแล้ว

เมื่อมีภัยสู่ลูก ก็ยังโอบไปปกป้องรักษา ช่วยเหลือลูกอย่างเต็มกำลัง และสุดความสามารถ ยอมเสียทรัพย์สินและเงินมากมาย เพื่อให้ลูกได้พ้นผิด ถึงแม้ว่าในบางครั้งลูกต้องถูกจองจำหมดแล้ว ซึ่งอิสรภาพด้วยอาญาแห่งแผ่นดิน ก็คงมี    แต่พ่อแม่เท่านั้นที่คอยหมั่นดูแลไปเยี่ยม ไปเยียน คอยส่งน้ำส่งข้าวปลาอาหาร คอยให้กำลังใจแก่ลูก ให้ต่อสู้กับความเจ็บปวด และทุกข์ทรมานของจิตใจที่ลูกได้รับ และรอนับเวลาที่ลูกจะกลับมาสู่อ้อมกอดอีกครั้งหนึ่ง

น้ำใจ ที่มีต่อลูกเช่นนี้ เปรียบเท่ากับน้ำใจของพระอรหันต์โดยแท้ พ่อแม่จึงเป็นพระอรหันต์ในบ้านของเราจริงๆ ทำไมพวกท่านจึงไม่คิดที่จะทำบุญกับพระอรหันต์ที่อยู่ในบ้านของท่านเล่า

สำหรับลูก ถึงแม้พ่อแม่จะเป็นโจร เป็นคนชั่วใจสายตาของบุคคลอื่น แต่สำหรับลูกแล้ว ท่านเสียสละได้ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นทรัพย์สินเงินทอง แม้แต่ชีวิตท่านก็สามารถเสียสละให้ลูกได้ พ่อแม่มีลูกนับ 10 คนเลี้ยงดูมาเติบใหญ่ แต่ลูกทั้ง 10 คน กลับเลี้ยงดูพ่อแม่เพียง 2 คนไม่ได้ ชอบเกี่ยงกันเพราะลูกเหล่านั้นกำลังลืมคำว่า พระคุณของพ่อแม่

ยามที่พ่อแม่ท่านยังมีชีวิตอยู่ เราควรที่จะเลี้ยงดูพ่อแม่ โดยการซื้ออาหารการกิน ซื้อเสื้อผ้า พาท่านไปทำบุญทำทาน เข้าวัดเข้าวา อะไรก็ตามที่ทำแล้วให้ท่านมีความสุข ก็ควรทำให้ท่าน ดูแลความทุกข์สุข และเลี้ยงดูจิตใจท่าน เชื่อฟังในโอวาทคำเตือนของท่าน คำพูดคำจาที่จะพูดกับท่านก็ต้องระมัดระวัง
 
เพราะคนแก่นั้นใจน้อย ต้องรักษาน้ำใจท่านไว้ ด้วยคำพูดที่นิ่มหู ฟังดูแล้วไม่ทำให้ท่านไม่สบายใจ ไม่ปล่อยทิ้งให้ท่านอยู่อย่างว้าเหว่ คอยเอาใจใส่ปรนนิบัติดูแลท่านอย่างใกล้ชิด
 
แต่คนส่วนมากมักจะทำบุญให้พ่อแม่ เมื่อยามที่ท่านตายจากเราไปแล้ว เพราะนั่นคือการพลาด และเป็นการพลาดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตของเราเอง ซึ่งความจริงแล้ว เราควรที่จะทำบุญให้กับพ่อแม่ในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ย่อมได้ชื่อว่าเป็นผู้กตัญญูกตเวที

ขอ ให้สาธุชนทั้งหลายผู้มาได้ฟังธรรมในวันนี้ จงกลับไปทำบุญกับพ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์ในบ้าน การทำบุญแบบนี้จะได้อานิสงส์ทันตาเห็นในชาติปัจจุบัน บุญที่ให้ผลในชาติปัจจุบัน คือบุญที่ทำกับพระอรหันต์ผู้ประเสริฐ แต่พระอรหันต์ที่อยู่นอกบ้าน พวกท่านไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าองค์ใดจริงหรือไม่จริง

แต่ที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด และเป็นของจริง และบูชาได้อย่างแน่นอน ไม่เคยเห็นผู้ใดเลยที่มีความกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่แล้ว ต้องพบกับความวิบัติไม่เคยมี มีแต่จะทำมาหากินอาชีพอะไร ก็จะเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง ตกน้ำไม่ไหล ตกไฟก็ไม่ไหม้ มีแต่ความสุข อายุยืนยาวตายตามกาลเวลา

ขอให้ท่านทั้งหลายที่อยู่ในที่นี้ จงใช้สติและพิจารณาในเรื่องราวต่างๆ ที่อาตมาได้เทศนาให้ฟังในครั้งนี้ให้ดี แล้วประโยชน์และความสุข ก็จะบังเกิดแก่ท่านทั้งหลาย อย่างทันตาเห็น เอวัง...ก็มีด้วยประการฉะนี้ ขอถวายพระพร

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เหล่าขุนนางข้าราชการและข้าราชบริพารทั้งปวง ได้ฟังคำเทศนาของสมเด็จโตจบลง บ้างน้ำตาก็คลอเบ้าทั้งสอง บ้างน้ำตาก็หลั่งไหลออกมาสุดที่จะกลั้นได้ ด้วยความรู้สึกรักสงสาร และคิดถึงพระคุณพ่อแม่ขึ้นมา อย่างจับจิตจับใจ อย่างที่ไม่เคยมีความรู้สึกเช่นนี้มาก่อนเลย

เจ้าผู้ครองแผ่นดินแห่งสยามประเทศ จึงตรัสด้วยพระสุรเสียงอันสั่นเครือ ปนน้ำพระเนตรว่า “ท่านเจ้าคุณท่านเทศน์ได้จับใจยิ่งนัก และขอให้ทุกคนจงกลับไปทำบุญกับ พ่อแม่ผู้เป็นพระอรหันต์เถิด”

.................................................................................

ที่มา..อมตะธรรม สมเด็จโต อานิสงส์การสวดมนต์แผ่เมตตา มหาบุญ
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php
ขอขอบคุณ  http://board.palungjit.com/f132/พระอรหันต์-อยู่ในบ้าน-249280.html
22089  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "อจินไตย" คำนี้ ต้องรู้ ต้องเข้าใจ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2011, 07:46:21 pm

ปัญหาของอจินไตย ๔ ข้อ

          ถาม ๑. สิ่งที่เป็นอจินไตย นี่เป็นวิสัยของพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรู้ได้ ไม่ใช่วิสัยของปุถุชนคนธรรมดาหรือพระอรหันต์ธรรมดาจะรู้ได้ใช่ไหม

          ตอบ  สิ่งที่เป็นอจินไตยนั้นมี ๔ อย่าง คือ
                    ๑. พุทธวิสัย วิสัยของพระพุทธเจ้า
                    ๒. ฌานวิสัย วิสัยของผู้ได้ฌาน
                    ๓. กัมมวิบาก ผลจากกรรม
                    ๔. โลกจินดา ความคิดเรื่องโลก


          ทั้ง ๔ อย่างนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่าไม่ควรคิดผู้ที่คิดจะพึงมีส่วนแห่งความเป็นบ้า ได้รับความลำบากโดยเปล่าประโยชน์


         ในอจินไตย ๔ อย่างนี้

           อย่างแรก คือ พุทธวิสัย คือวิสัยของพระพุทธเจ้านั้น ผู้ที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าคิดอย่างไร ก็เข้าไปไม่ถึงวิสัยของพระพุทธเจ้า มีอานุภาพของพระพุทธคุณและพระสัพพัญญุตญาณเป็นต้น

          อย่างที่ ๒ ฌานวิสัย วิสัยของผู้ที่ได้ฌานอภิญญา ผู้ที่ไม่ได้ฌานคิดเท่าไรก็คิดไม่ออกว่า ทำไมผู้ที่ได้ฌานอภิญญาจึงสามารถแสดงฤทธิ์ต่างๆ มีเหาะได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น ผู้ที่ได้อภิญญาประเภทนั้นๆ เท่านั้นจึงจะรู้ได้

          อย่างที่ ๓ กัมมวิบาก ผลของกรรม คือคนธรรมดาๆ ย่อมไม่อาจรู้ว่า ผลของกรรมที่ตนได้รับอยู่ในปัจจุบันนี้มาจากกรรมอะไร ทำไว้แต่เมื่อใด คิดไปเท่าไรก็คิดไม่ออก คิดมากไปจะเป็นบ้าไปเสียเปล่าๆ ผู้ที่รู้ผลของกรรมได้อย่างถ่องแท้ต้องเป็นผู้ที่ระลึกชาติก่อนๆ นับย้อนหลังไปได้โดยไม่จำกัดอย่างพระพุทธเจ้า จึงสามารถจะทราบได้ถูกต้องแท้จริงไม่ผิดพลาด

ท่านที่ระลึกชาติได้จำกัด เช่นระลึกได้ ๕๐๐ ชาติ แต่กรรมที่ทำไว้ ทำไว้เมื่อชาติที่ ๕๕๐ ผู้ที่ระลึกชาติได้ ๕๐๐ ชาติก็ไม่สามารถระลึกได้ เพราะฉะนั้น พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่สามารถจะรู้กรรมและผลของกรรมได้ถูกต้องตามความเป็นจริง เพราะพระองค์ทรงมีบุพเพนิวาสานุสสติญาณ ที่ระลึกชาติย้อนหลังได้โดยไม่จำกัด มีถากัมมูปคญาณ ญาณที่เข้าถึงกรรมของสัตว์ตามความเป็นจริง

พระพระสัพพัญญุตญาณ ญาณที่ทรงรอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างที่คนอื่นไม่มี ทั้งยังมีพระอนาวรณญาณ ญาณที่ไม่มีอะไรมาปิดกั้น ที่คนอื่นที่ไม่ใช่พระพุทธเจ้าไม่มี เพราะฉะนั้น ป่วยการคิดเรื่องผลของกรรมว่ามาจากกรรมไหน เมื่อใด เป็นต้น คิดมากไป อาจเป็นบ้าได้

          อย่างที่ ๔ โลกจินดา ความคิดเกี่ยวกับเรื่องโลก เช่นคิดว่าใครสร้างพระจันทร์-พระอาทิตย์ ใครสร้างภูเขา ต้นไม้ เป็นต้น คิดมากไปไร้ประโยชน์เพราะไม่อาจจะรู้ได้


          ด้วยเหตุนี้ อจินไตยทั้ง ๔ อย่างนี้ บางท่านอาจจะคิดว่าตนเองคิดแล้วรู้ได้ ซึ่งก็รู้ได้เพียงวิสัยของตนเท่านั้น พระอรหันต์ก็รู้เท่าวิสัยของพระอรหันต์ จะรู้เท่าความรู้ของพระพุทธเจ้านั้นเป็นไปไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น ท่านจึงเตือนว่า สิ่งทั้ง ๔ นี้ไม่ควรคิด คิดไปอาจเป็นบ้า ลำบากโดยเปล่าประโยชน์ ทั้งนี้เพราะท่านเหล่านั้นไม่ได้สั่งสมสติปัญญาบารมีความรู้มาเสมอด้วยพระ สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งต้องอบรมมาอย่างน้อยถึง ๔ อสงไขยแสนกัปป์ทีเดียว

          ถาม ๒. ถามว่า พระปัจเจกพุทธเจ้ารู้ในสิ่งที่เรียกว่า “อจินไตย” หรือเปล่า

          ตอบ  ขอเรียนว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าก็รู้ในสิ่งที่เรียกว่าอจินไตย ตามวิสัยของพระปัจเจกพุทธเจ้า ไม่อาจรู้ไปถึงวิสัยของพระพุทธเจ้าได้ เพราะท่านมิได้ญาณ โดยเฉพาะพระสัพพัญญุตญานอย่างพระพุทธเจ้านั่นเอง

          ถาม ๓. ถามว่า พรหมชั้นสุทธาวาสอายุนานกว่าพรหมชั้นอื่น มีโอกาสที่จะค้นคว้าศึกษาในเรื่องที่เป็นอจินไตยจนรู้ได้หรือเปล่า

          ตอบ  ปัญหานี้ขอเรียนว่า ผู้ที่จะเกิดเป็นพรหมในชั้นสุทธาวาสได้นั้น จะต้องเป็นพระอนาคามีได้ปัญจมฌาน เมื่อตายลงจึงเกิดเป็นพรหมอนาคามีในชั้นสุทธาวาสชั้นใดชั้นหนึ่งใน ๕ ชั้นได้ และสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในสุทธาวาสนั้นเอง ไม่กลับไปเกิดในภพภูมิใดๆ ที่ต่ำกว่าอีกเลย

เพราะฉะนั้น พรหมชั้นนี้จึงเป็นสาวกของพระพุทธเจ้าองค์ใดองค์หนึ่งแน่นอน ความรู้ของสาวกย่อมไม่อาจเทียบกับความรู้ของพระพุทธเจ้าแน่ ถ้าท่านจะรู้เรื่องราวของอจินไตย ท่านก็รู้ได้ตามวิสัยของท่านเท่านั้น ไม่เกินวิสัยของท่านไปได้

          ถาม  ๔. ถามว่า ความรู้ ของพรหมชั้นสุทธาวาสจะมากกว่าพระอรหันต์หรือไม่ เพราะอายุยืนมากจริงๆ พบพระพุทธเจ้ามาหลายองค์ เวลาผมทำบุญให้แม่ผม ผมอธิษฐานให้แม่ผมไปปฏิสนธิในพรหมชั้นสุทธาวาส เพราะผมไม่รู้ว่าแม่ผมยังมีเรื่องค้างใจที่ยังไม่ได้ทำค้างไว้หรือไม่ พรหมชั้นนี้อายุยืนมีเวลาทำอะไรๆ ได้อีกมาก

          ตอบ  ในเรื่องนี้ขอเรียนว่า ความต้องการของคุณเป็นโมฆะ เพราะถ้าแม่ของคุณมิได้เป็นพระอนาคามีผู้ได้ปัญจมฌานในชาตินี้แล้ว ย่อมไม่มีโอกาสเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสได้เลย

          อีกประการหนึ่ง การบังเกิดขึ้นในภพภูมิต่างๆ ของบุคคลใดๆ ย่อมเป็นด้วยกรรมของบุคคลนั้นๆ หาได้บังเกิดขึ้นเพราะการอธิษฐานของใครๆ คนใดคนหนึ่งไม่ เพราะฉะนั้นความต้องการของคุณจึงเป็นโมฆะ คือไม่มีทางเป็นไปได้เลย


ที่มา อ้างอิง และแนะนำ :-
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
          อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
          อจินติตสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=21&A=2166&Z=2173
          พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖
          มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์
          จูฬกัมมวิภังคสูตร
http://www.84000.org/tipitaka/book/v.php?B=14&A=7623&Z=7798
          พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม
          พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
          คำว่า ทศพลญาณ
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทศพลญาณ
          คำว่า อนาคามี 5
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนาคามี_5
          คำว่า ภูมิ 31
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ภูมิ_31
http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=25
posted on 25 Jan 2008 22:44 by kohsija

22090  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สวดพระปริตร ๗ คืน ๗ วัน ต่ออายุได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 12:02:49 pm

อานิสงส์ต่ออายุ

......บุญต่ออายุนี้นับว่าเป็นการไม่ประมาท เพราะทำตามประเพณีของพุทธศาสนา ได้อาราธนา
พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ สวดพระปริตแล้วยังมาจัดให้มีพระธรรมเทศนาอีกด้วยดังนี้ แม้แต่ใน
เมื่อองค์สมเด็จพระบรมศาสดายังมีพระชนม์อยู่ พระองค์ได้ทำทรงทำมาแล้วกับอายุวัฒนกุมาร
ดังอาตมาภาพจักยกแสดงเป็นนิทัสนอุทาหรณ์ เพื่อจะได้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมีกุศลสืบต่อไป


ดังมีใจความว่ามีพราหมณ์ ๒ คน เป็นชาวทีฆลัมพิกนคร บวชในลัทธิภายนอกพระศาสนาบำเพ็ญตบะ
อยู่สิ้น ๑๘ ปี บรรดาพราหมณ์ ๒ คนนั้น คนหนึ่งคิดว่าประเพณีของเราจักเสื่อมจึงได้สึกขายบริขารของ
ตนให้แก่ชนทั่วไป เสร็จแล้วได้ภรรยาคนหนึ่งพร้อมด้วยโค ๑๐๐ ตัว ทรัพย์ ๑๐๐ กหาปณะ ตั้งไว้เป็น
ทุน ฝ่ายภรรยาของเขาคลอดบุตรแล้ว

ส่วนสหายนอกนี้ไปสู่ต่างถิ่นกลับสู่นครนั้นเมื่อพราหมณ์สหายทราบข่าว จึงได้พาบุตรภรรยา
ไปเยี่ยม เมื่อไปถึงพราหมณ์และภรรยาไหว้สหายก็กล่าวว่า ขอให้ท่านทั้ง ๒ จงมีอายุยืน ถึงคราวบุตร
ไหว้สหายไม่ได้พูดว่ากระไร พราหมณ์ตกใจ จึงได้รีบถามว่าทำไมละสหาย


เมื่อเราทั้งสองไหว้จึงกล่าวว่าจงมีอายุยืน คราวบุตรไหว้ทำไมจึงไม่พูดว่ากระไร
เหตุไรจะมีขึ้นหนอ สหาย เด็กนี้จะตายภายใน ๗ วัน พราหมณ์รู้สึกตกใจเป็นกำลัง
จึงได้ถามอุบายแก้ว่าสหายมีวิธีแก้บ้างไหม สหายไม่มีแล้ว
วิธีแก้นี่เราเห็นสมณโคดมพระองค์เดียวพระองค์มีวิธีแก้ไขอย่างเลิศสหาย
เราจะไปได้อย่างไรเดี๋ยวตบะของ เราก็เสื่อมเท่านั้น ลูกตายกับตบะเสื่อมจะเอาอย่างไหนดี



...... พราหมณ์เลยตัดสินใจพาบุตร และภรรยาไปสู่สำนักของพระศาสดาเมื่อถึงแล้วก็ ไหว้พระศาสดาพระองค์ก็ตรัสว่าจงมีอายุยืน ต่อเมื่อบุตรน้อยไหว้พระศาสดาก็ไม่ตรัสว่ากระไร พราหมณ์จึง
กราบทูลถึงวิธีแก้ไขเหตุนั้น พระศาสดาตรัสอุบายที่จะไม่ให้เด็กนั้นตายใน ๗ วัน แก่พราหมณ์ว่า ท่าน
เองทำมณฑปไว้ เมื่อเสร็จแล้วก็นิมนต์พระสงฆ์ไปเจริญพระพุทธมนต์ ๘ รูป หรือ ๑๖ รูป พราหมณ์จึง
รับได้พระเจ้าเข้า

 
....พระศาสดาเมื่อพราหมณ์สร้างมณฑปเสร็จแล้ว จึงได้ส่งภิกษุไปตามจำนวนที่พราหมณ์ต้องการ
ภิกษุได้เจริญพระพุทธมนต์สิ้น ๗ วัน ในวันที่ ๗ พระศาสดาได้เสด็จไปเอง เจริญพุทธมนต์ด้วยหมู่ภิกษุ
อวรุทธกยักษ์ผู้บำรุงท้าวเวสสุวรรณ ต้องการจะจับเด็กนั้นไปกินเป็นอาหาร ก็กลับไปด้วยความผิดหวัง
ในวันที่ ๘ สองสมีภรรยาได้นำบุตรมาวางไว้แทบพระบาทของพระศาสดา

พระองค์จึงตรัสว่าขอเจ้าจงมีอายุยืน พราหมณ์ถามด้วยความสงสัยว่าจะมีอายุเท่าไร พระเจ้าข้า
พระศาสดาตรัสตอบว่า ๑๒๐ ปี พราหมณ์


พราหมณ์ ๒ สามีภรรยาจึงตั้งชื่อบุตรว่า อายุวัฒนกุมาร เมื่อเขาเติบโตแล้วได้มีอุบาสก ๕๐๐
คน แวดล้อมแล้ว ภิกษุทั้งหลายสนทนากันในโรงธรรมว่าผู้มีอายุทั้งหลายอายุวัฒนกุมารนี้จะตายภายใน
๗ วัน แต่แล้วกลับจะมีอายุ ๑๒๐ ปี เหตุเป็นเครื่องเจริญแห่งอายุ ของสัตว์เห็นจะมี

พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายพวกเธอสนทนาด้วยเรื่องอะไรกัน เมื่อภิกษุกราบทูลว่า เรื่องชื่อนี้พระองค์ จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายอายุเจริญอย่างเดียวเท่านั้นหามิได้ ก็สัตว์เหล่านี้ไว้ท่านผู้มีพระคุณ ย่อมเจริญ
ด้วยเหตุ ๔ ประการ พ้นจากอันตรายดำรงอยู่จนตลอดอายุทีเดียว

 

ที่มา  http://www.84000.org/anisong/30.html
ขอบคุณภาพจาก http://sphotos.ak.fbcdn.net/,http://www.watpaknam.org/,http://www.siamrath.co.th/
22091  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ" ใครหนอ??!!กล่าวเช่นนี้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 11:44:30 am
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
   

             
๙. เรื่องพระสารีบุตรเถระ

         
               ข้อความเบื้องต้น               
               พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระสารีบุตรเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า
 "ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺยํ" เป็นต้น.
 

               พระสารีบุตรเคารพในพระอัสสชิผู้อาจารย์               
               ได้ยินว่า ท่านพระสารีบุตรนั้น จำเดิมแต่กาลที่ท่านฟังธรรมในสำนักของพระอัสสชิเถระแล้วบรรลุโสดาปัตติผล สดับว่า "พระเถระย่อมอยู่ในทิศใด" ก็ประคองอัญชลีไปทางทิศนั้น นอนหันศีรษะไปทางทิศนั้นแล.

               ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า "พระสารีบุตรเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถึงวันนี้ก็เที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่" ดังนี้แล้ว กราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระตถาคต.

               พระศาสดารับสั่งให้เรียกพระเถระมาแล้ว ตรัสถามว่า "สารีบุตร นัยว่า เธอเที่ยวนอบน้อมทิศทั้งหลายอยู่ จริงหรือ?" เมื่อพระเถระกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า พระองค์เท่านั้นย่อมทรงทราบความเป็น คืออันนอบน้อม หรือไม่นอบน้อมทิศทั้งหลายของข้าพระองค์" ดังนี้แล้ว

               ตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรย่อมไม่นอบน้อมทิศทั้งหลาย แต่เพราะความที่เธอฟังธรรมจากสำนักของพระอัสสชิเถระ แล้วบรรลุโสดาปัตติผล จึงนอบน้อมอาจารย์ของตน เพราะว่า ภิกษุอาศัยอาจารย์ใด ย่อมรู้ธรรม, ภิกษุนั้นพึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมไฟอยู่ฉะนั้น" ดังนี้แล้ว
 

               เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                         ๙.     ยมฺหา ธมฺมํ วิชาเนยฺย       สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิตํ
                            สกฺกจฺจํ นํ นมสฺเสยฺย       อคฺคิหุตฺตํว พฺราหฺมโณ.
                                      บุคคลพึงรู้แจ้งธรรม อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                            ทรงแสดงแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์
                            นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชา
                            เพลิงอยู่ฉะนั้น.

 

               แก้อรรถ              
               บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคฺคิหุตฺตํ ว ความว่า บุคคลพึงรู้แจ้งธรรมอันพระตถาคตประกาศแล้ว จากอาจารย์ใด, พึงนอบน้อมอาจารย์นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นอบน้อมการบูชาเพลิงโดยเคารพ ด้วยการบำเรอด้วยดี และด้วยกิจทั้งหลายมีอัญชลีกรรมเป็นต้นฉะนั้น.

               ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.


               เรื่องพระสารีบุตรเถระ จบ.               
             
อ้างอิง
อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท พราหมณวรรคที่ ๒๖
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25&i=36&p=9
อ่าน เนื้อความในพระไตรปิฎก
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=1301&Z=1424
22092  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความพอดีของการนอน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 09:08:07 am
ความพอดีของการนอน



ถาม : ทำไมบางคนนอนถึง ๑๐ ถึง ๑๒ ชั่วโมงยังไม่รู้สึกอิ่ม บางคนรู้สึกว่านอน ๓ - ๔ ชั่วโมงเพียงพอแล้ว แพทย์บอกว่านอนวันละ ๘ - ๑๐ ชั่วโมง จริงๆ แล้วควรจะเป็นอย่างไร ?

ตอบ : พอดีของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน มัชฌิมาปฏิปทาของพระพุทธเจ้าได้ ตัวพอดีนั้นไม่ใช่ขีดเส้น ๕๐% ต้องขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสภาพจิตใจที่ได้รับได้ฝึกมา

พระ ที่ได้รับการฝึกอบรมทางจิตมาดี นอนพักสัก ๒ - ๓ ชั่วโมง ก็เท่ากับคนทั่วๆ ไปพัก ๘ - ๑๐ ชั่วโมง เพราะว่ากำลังใจท่านละเอียด ถึงเวลาแล้วร่างกายได้พักผ่อนจริงๆ ถ้ายิ่งท่านเข้าฌาน ๔ ก็เท่ากับว่าอวัยวะภายในท่านได้พักไปด้วย พวกที่ทำงานอัตโนมัติอย่างพวกกระเพาะ พวกปอด พวกหัวใจได้พักไปด้วย

เพราะฉะนั้น..พักน้อยก็เหมือนกับได้พักมาก ถามว่าอันไหนถึงจะพอเหมาะพอควร จึงขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายและสภาพจิตใจที่ได้ฝึกมา ว่าจะมากจะน้อยต่างกันอย่างไร

แต่ว่าถึงเป็นพระปฏิบัติมาก็ตาม ถ้าขาดการพิจารณา อย่างเช่นว่า ฉันอาหารโดยไม่บันยะบันยัง หรือว่าฉันอาหารที่ก่อให้เกิดโทษ ทำให้มึน ง่วงซึม อะไรอย่างนี้ บางทีก็ว่ายาวเป็น ๑๐ ชั่วโมงเหมือนกัน

ฉะนั้น..อยู่ที่วัดจะเตือนพระท่านบ่อยเรื่องนี้ บอกว่าพวกคุณพิจารณาอาหารเรปฏิกูลสัญญา คุณพิจารณาจนช่ำชองแล้ว คุณเชื่อมั่นแน่นอนแล้วว่าอาหารทุกอย่างสกปรก หลังจากนี้ไปคุณก็ไม่ต้องเสียเวลาพิจารณาแล้ว เพราะว่าคุณรู้จนขึ้นใจช่ำใจแล้ว

ก็พิจารณาแค่ว่าอาหารที่คุณจะฉันเข้าไปอันไหนจะเกิดโทษกับตัวคุณ อย่างเช่น อาหารที่เป็นธาตุเย็นเกินไปจนทำให้คุณเป็นไข้หรือเปล่า ? หรือว่าร้อนเกินไป จะทำให้คุณเสียงแหบแห้งจนสวดมนต์ไม่ได้หรือเปล่า ? หรือว่าฉันเข้าไปจะทำให้คุณเกิดกำหนัดหรือเปล่า ? เมื่อคุณพิจารณาตรงนี้แล้ว อันไหนเป็นโทษกับเราๆ ก็งดเว้นเสีย



สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ เดือนสิงหาคม ๒๕๔๔

ที่มา : http://www.watthakhanun.com/webboard...ead.php?t=1958
 :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:
22093  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / อนาคตของ “อาชีพเต้นกินรำกิน” เป็นเช่นไร เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:57:26 am


อนาคตของ “อาชีพเต้นกินรำกิน” ดารานักแสดง

ปัญหา ดารานักแสดงที่ให้ความบันเทิงแก่ผู้อื่นด้วยคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง นั้น
ตายแล้วจะไปเกิดในสุคติหรือทุคติ ?

พระพุทธเจ้าทรงห้ามมิให้หัวหน้านักแสดงนามว่าตาลปุฏะถามคำถามนั้น ถึง ๓ ครั้ง แต่นายตาลปุฏะก็ยัง
คะยั้นคะยอจะเอาคำตอบให้ได้



พระพุทธองค์ จึงตรัสตอบว่า

พุทธดำรัสตอบ “ดูก่อนหัวหน้านักแสดง แท้จริงเราไม่ได้ อนุญาตให้ท่านถามปัญหานี้ เรากล่าวว่า อย่าเลย หัวหน้านักแสดง เรื่องนี้หยุดไว้เสียเถิด อย่าถามปัญหานี้กะเราเลย แต่เอาเถอะ เราจะตอบปัญหาแก่ท่าน

“ดูก่อนหัวหน้านักแสดง สัตว์ทั้งหลายยังไม่ปราศจากราคะ ถูกราคะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโทสะ ถูกโทสะผูกมัดไว้ ยังไม่ปราศจากโมหะ ถูกโมหะผูกมัดไว้ อยู่ก่อนแล้ว

นักแสดงยิ่งนำเข้ามาซึ่งธรรมอันส่งเสริม ราคะ ส่งเสริมโทสะ ส่งเสริมโมหะแก่ชนเหล่านั้นในท่ามกลางเวที ท่ามกลางโรงมหรสพให้มี ราคะ โทสะ โมหะ มากยิ่งขึ้น


บุคคลนั้นตนเองก็ประมาทมัวเมาอยู่แล้ว ยังทำให้คนอื่นประมาทมัวเมาอีก เบื้องหน้าแต่ตายเพราะแตกทำลาย ย่อมเกิดในนรกชื่อปหาส....

“ถ้าเขามีความเห็นอย่างนี้ว่า นักแสดงคนใดทำให้คนหัวเราะ รื่นเริงตามคำจริงบ้าง คำเท็จบ้าง ในท่ามกลางเวที ผู้นั้นเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ทำลาย ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายแห่งเทวดาชื่อปหาส ความเห็นของเขานั้นเป็นความเห็นผิด....”

 

ตาลปฏสูตร สฬา. สํ. (๕๘๙-๕๙๑)
ตบ. ๑๘ : ๓๗๗-๓๗๘ ตท. ๑๘ : ๓๓๖-๓๓๗
ตอ. K.S. ๔ : ๒๑๔-๒๑๖

ที่มา http://www.84000.org/true/409.html
ขอบคุณภาพจาก http://www.chiangmainews.co.th/,http://hilight.kapook.com/,http://movie.mthai.com/
22094  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / โอวาท ๑๐ ประการ ในการเป็นแม่ศรีเรือน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 14, 2011, 08:50:56 am
โอวาท ๑๐ ประการ ในการเป็นแม่ศรีเรือน


๑.ไฟในอย่านำออก หมายถึงไม่ควรนำความลับหรือเรื่องไม่ดีงามภายในครอบครัว ไปบอกเล่าให้คนภายนอกได้รับรู้

๒.ไฟนอกอย่านำเข้า หมายถึงไม่ควรนำคำนินทาว่าร้ายเสียดสีด้วยความอิจฉาริษยา จากบุคคลภายนอกมาสู่ครอบครัว อันจะเป็นเหตุให้เกิดเรื่องไม่ดีงามและความบาดหมาง


๓.พึงให้แก่คนที่ให้ หมายถึงคนที่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อควรมีน้ำใจไมตรีตอบแทน เมื่อมีผู้มาหยิบยืมข้าวของเงินทอง ควรให้แก่คนที่นำมาคืนเท่านั้น

๔.พึงอย่าให้แก่คนที่ไม่ให้ หมายถึงคนที่ไม่เคยเกื้อหนุนเอื้อเฟื้อมีน้ำใจก็ไม่ควรทำใจกว้างหรือทำหน้าใหญ่ใจโต ผู้ที่เคยหยิบยืมแล้วไม่นำมาคืน คราวต่อไปหากยังกล้ามาหยิบยืมอีก ไม่ควรให้



๕.พึงให้แก่คนที่ให้และไม่ให้ หมายถึงการสงเคราะห์ญาติและมิตรสหาย แม้เขาจะนำมาคืนหรือไม่ก็ตาม เมื่อเห็นว่าเป็นการสมควร หรือเขาเป็นคนดีควรแก่การเกื้อหนุนอนุเคราะห์ก็ควรให้
 
๖.พึงนั่งให้เป็นสุข การนั่งในที่อันเหมาะอันควร ไม่เกะกะขวางทาง ไม่ต้องคอยลุกหลีกเมื่อพ่อสามีแม่สามีหรือผู้ใหญ่เดินผ่าน และนั่งเมื่อจัดการงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว


๗.พึงนอนให้เป็นสุข หมายถึงควรนอนทีหลังพ่อสามีแม่สามี และสามีได้เข้านอนแล้ว คือต้องตรวจดูข้าวของกลอนประตูหน้าต่างและฟืนไฟให้เป็นที่เรียบร้อย ทั้งจัดแจงข้าวของที่จำเป็นสำหรับหุงหาหรือใช้สอยในวันรุ่งขึ้นให้พร้อมมูลครบครัน จึงจะถือได้ว่าเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี

๘.พึงกินให้เป็นสุข หมายถึงควรจัดข้าวปลาอาหารสำหรับพ่อสามีแม่สามีรวมทั้งสามีและบุตรให้เป็นที่เรียบร้อย

 
๙.พึงบูชาไฟ หมายถึงการให้ความเคารพยำเกรงสามีและบิดามารดาของสามีตลอดจนญาติผู้ใหญ่

๑๐.พึงบูชาเทวดา หมายถึงให้นับถือบิดามารดาสามีและบรรพบุรุษ

 

ที่มา http://www.salatham.com/do-donts/1whatis.htm
22095  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทรงติเตียนภิกษุผู้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ว่า "เหมือนมาตุคามแสดงของลับ" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 12, 2011, 06:05:24 pm
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ 
พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗
จุลวรรค ภาค ๒


เรื่องพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
             [๓๑] สมัยต่อมา ท่านพระมหาโมคคัลลานะกับท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะ ครองอันตรวาสกในเวลาเช้าแล้ว ถือบาตรจีวร เข้าไปบิณฑบาตในเมือง
ราชคฤห์ อันที่แท้ ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์

แม้ท่านพระมหาโมคคัลลานะก็เป็นพระอรหันต์และมีฤทธิ์ จึงท่านพระปิณโฑลภาร
ทวาชะ ได้กล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะว่า ไปเถิด ท่านโมคคัลลานะ
จงปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน


แม้ท่านพระโมคคัลลานะก็กล่าวกะท่านพระปิณโฑลภารทวาชะว่า ไปเถิด ท่านภารทวาชะ จ
งปลดบาตรนั้นลง บาตรนั้นของท่าน จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นสู่เวหาส ถือบาตรนั้นเวียนไป
รอบเมืองราชคฤห์ ๓ รอบ ฯ

             [๓๒] ครั้งนั้น ท่านราชคหเศรษฐีพร้อมกับบุตรภรรยา ยืนอยู่ในเรือน
ของตน ประคองอัญชลีนมัสการ กล่าวนิมนต์ว่า ท่านเจ้าข้า ขอพระคุณเจ้า
ภารทวาชะ จงประดิษฐานในเรือนของข้าพเจ้านี้เถิด จึงท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ประดิษฐานในเรือนของท่านราชคหเศรษฐี ขณะนั้น ท่านราชคหเศรษฐีรับบาตร
จากมือของท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ แล้วได้จัดของเคี้ยวมีค่ามาก ถวายท่าน
พระปิณโฑลภารทวาชะ


ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะได้รับบาตรนั้นไปสู่พระอาราม
ชาวบ้านได้ทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตรของราชคหเศรษฐี
ไปแล้ว และชาวบ้านเหล่านั้นมีเสียงอึกทึกเกรียวกราว ติดตามพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะไปข้างหลังๆ พระผู้มีพระภาคได้ทรงสดับเสียงอึกทึกเกรียวกราว ครั้นแล้ว

ตรัสถามท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ นั่นเสียงอึกทึกเกรียวกราว เรื่องอะไรกัน
ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะปลดบาตร
ของท่านราชคหเศรษฐีลงแล้ว พวกชาวบ้านทราบข่าวว่า ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะ
ปลดบาตรของท่านราชคหเศรษฐีลง


จึงพากันติดตามท่านพระปิณโฑลภารทวาชะมา
ข้างหลังๆ อย่างอึกทึกเกรียวกราว พระพุทธเจ้าข้า เสียงอึกทึกเกรียวกราวนี้
คือเสียงนั้น พระพุทธเจ้าข้า ฯ

             [๓๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วทรงสอบถามท่านพระปิณโฑลภาร-
*ทวาชะว่า ภารทวาชะ ข่าวว่า เธอปลดบาตรของราชคหเศรษฐีลง จริงหรือ


             ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า

             พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ภารทวาชะ การกระทำของเธอนั่น
ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉนเธอจึงได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์


เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ ซึ่งเป็นดุจซากศพเล่า มาตุคามแสดงของลับ เพราะ
เหตุแห่งทรัพย์ซึ่งเป็นดุจซากศพแม้ฉันใด เธอก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์
ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่พวกคฤหัสถ์


เพราะเหตุแห่งบาตรไม้ซึ่งเป็นดุจซากศพ การกระทำของเธอนั่นไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน
ที่ยังไม่เลื่อมใส ...

ครั้นแล้วทรงทำธรรมีกถารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงแสดงอิทธิปาฎิหาริย์ ซึ่งเป็นธรรมอันยวดยิ่งของมนุษย์ แก่
พวกคฤหัสถ์ รูปใดแสดง ต้องอาบัติทุกกฎ


             ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงทำลายบาตรไม้นั่น บดให้ละเอียด ใช้เป็นยา
หยอดตาของภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุไม่พึงใช้บาตรไม้ รูปใดใช้ ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗  บรรทัดที่ ๒๗๒ - ๓๑๒.  หน้าที่  ๑๒ - ๑๓.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=272&Z=312&pagebreak=0
ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/r.php?B=7&A=272&w=%C0%D2%C3%B7%C7%D2%AA



พระปิ่นโฑลภารทวาชเถระ
เอตทัคคะในทางผู้บันลือสีหนาท


พระปิณโฑลภารทวาชะ เป็นบุตรของพราหมณ์มหาศาล ตระกูลภารทวาชะ ผู้เป็น
ปุโรหิตของพระเจ้าอุเทน เดิมชื่อว่า “ภารทวาชมาณพ” ศึกษาจบไตรเพท คือ คัมภีร์อันศักดิ์สิทธิ์
ของลัทธิพราหมณ์ มีความเชี่ยวชาญในวิชา ไตรเพท

•   โทษของการไม่รู้ประมาณในอาหาร
ภารทวาชมาณพ ได้ตั้งสำนักเป็นอาจารย์ใหญ่สอนไตรเพท มีศิษย์มาขอศึกษามากมาย
แต่เนื่องจากเป็นคนมีความโลภในอาหาร แสวงหาอาหารด้วยอาการอันไม่เหมาะสม ไม่รู้
ประมาณในการบริโภค จึงถูกศิษย์พากันทอดทิ้ง มีความเป็นอยู่ลำบาก ต่อมาได้ย้ายถิ่นฐานไป
อยู่ที่เมืองราชคฤห์ ตั้งสำนักสั่งสอนไตรเพทอีก แต่ก็ไม่ค่อยมีคนนับถือเพราะเป็นคนต่างถิ่น
และเมืองราชคฤห์ก็มีสำนักอาจารย์ใหญ่ ๆ มากอยู่แล้ว จึงประสบกับชีวิตที่ฝืดเคืองยิ่งขึ้น


เมื่อพระบรมศาสดา ประกาศพระพุทธศาสนามาจนถึงเมืองราชคฤห์ มีประชาชนเคารพ
นับถือเป็นจำนวนมาก ลาภสักการะก็เกิดขึ้นอุดมสมบูรณ์ ปิณโฑลภารทวาชะ คิดที่จะอาศัยพระ
พุทธศาสนาเลี้ยงชีวิต อีกทั้งได้มีโอกาสฟังพระธรรมเทศนาจากพระบรมศาสดาแล้ว ก็เกิด
ศรัทธาเลื่อมใส

จึงกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบท เมื่อได้บวชเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัย แล้ว
อุตสาห์บำเพ็ญเพียรเจริญวิปัสสนากรรมฐานไม่ช้าก็บรรลุพระอรหัตผลเป็นพระอเสขบุคคลใน
พระพุทธศาสนา


ท่านพระปิณโฑลภารทวาชะเถระ เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๓ คือ สตินทรีย์
สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์ และยังเป็นผู้ที่สามารถแสดงฤทธิ์ได้เทียบเท่าพระมหาโมคคัลลานเถระ
ท่านเคยแสดงฤทธิ์จนเป็นสาเหตุให้พระบรมศาสดาแสดงยมกปาฏิหาริย์ ดังมีเรื่องเล่าว่า....

•   เศรษฐีอยากรู้จักพระอรหันต์

สมัยหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ที่พระเวฬุวัน มหาวิหาร กรุงราชคฤห์ มี
เศรษฐีผู้หนึ่งใคร่จะลงเล่นน้ำในแม่น้ำคงคา จึงให้บริวารขึงตาข่ายเป็นรั้วล้อมในท่าที่ตนอาบน้ำ
อยู่นั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากสัตว์น้ำต่าง ๆ


ขณะนั้นมีไม้จันทน์แดงต้นหนึ่งเกิดที่ริมฝั่งเหนือน้ำขึ้นไป ถูกน้ำเซาะรากโค่นลงไหลมาตามน้ำ
ถูกกระแสน้ำพัดกระทบกับของแข็งหักเป็นท่อนเล็กท่อนใหญ่กระจัดกระจายไปตามน้ำ
มีอยู่ก้อนหนึ่งเป็นปุ่มซึ่งแตกออกมา กลิ้งกระทบหินและ
กรวดทรายกลายเป็นก้อนกลมอย่างดี และมีตะใคร่น้ำเกาะอยู่โดยรอบไหลมาติดที่ตาข่ายนั้น
เศรษฐีให้คนตรวจดูรู้ว่าเป็นไม้จันทน์แดงแล้วคิดว่า “ไม้จันทน์แดง ในบ้านของเรามีอยู่
มากมาย เราควรจะทำอะไรดีกับไม้จันทน์แดงก้อนนี้” พลางก็คิดขึ้นได้ว่า “ชนเป็นจำนวนมาก

ต่างก็พูดอวดว่าตนเป็นพระอรหันต์ เรายังไม่รู้ชัดว่าผู้ใดเป็นพระอรหันต์กันแน่ เราควรให้ช่าง
กลึงปุ่มไม้จันทน์แดงนี้ ทำเป็นบาตรแล้วแขวนไว้ที่ปลายไม้ผ่าต่อกันให้สูง ๑๕ วา ประกาศว่า
ผู้ใดสามารถเหาะมาเอาบาตรไปได้ จึงจะเชื่อถือผู้นั้นว่าเป็นพระอรหันต์ เราพร้อมด้วยภรรยา
และบุตรจะขอถึงผู้นั้นเป็นสรณะที่พึ่งตลอดชีวิต” เมื่อคิดเช่นนั้นแล้วก็สั่งให้ทำตามที่คิดนั้นทุก
ประการ


•   เดียรถีย์แสดงท่าเหาะ
ครั้งนั้น เจ้าสำนักครูทั้ง ๖ คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล
สัญชัยเวลัฎฐบุตร ปกุทธกัจจายนะ และ นิครนถ์นาฎบุตร ต่างก็มีความประสงค์อยากจะได้
บาตรไม้จันทน์แดงด้วยกันทั้งนั้น จึงได้ไปพูดกับท่านเศรษฐีว่า:-

“ท่านเศรษฐี บาตรนี้สมควรแก่เรา ท่านจงยกให้แก่เราเถิด”
“ถ้าท่านต้องการอยากจะได้ ก็จงเหาะขึ้นไปเอาด้วยตนเอง” เศรษฐีกล่าวยืนยัน
ครั้นถึงวันที่ ๖ นิครนถ์นาฎบุตร ได้ใช้ให้ศิษย์ไปบอกแก่เศรษฐีว่า:-
“บาตรนี้ สมควรแก่อาจารย์ของเรา ท่านอย่าให้ถึงกับต้องแสดงฤทธิ์เหาะมาเพราะเหตุ
เพียงบาตรใบเดียว ซึ่งเป็นวัตถุเล็กน้อยนี้เลย จงมอบให้แก่อาจารย์ของเราเถิด”


ท่านเศรษฐี ก็ยังคงยืนยันเหมือนเดิม นิครนถ์นาฏบุตรจึงวางแผนกับลูกศิษย์ว่า
“เมื่อเราทำท่ายกมือ ยกเท้า แสดงอาการจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร พวกเจ้าจงเข้ายึดมือและเท้า
ของเราไว้แล้วกล่าวห้ามว่า ไฉนท่านอาจารย์จึงทำอย่างนี้ท่านอย่าได้แสดงคุณความเป็นพระ
อรหันต์ที่ปกปิดไว้เพราะเหตุเพียงบาตรใบนี้เลย”

เมื่อตกลงวางแผนกันเรียบร้อยแล้ว จึงเข้าไป
พูดขอบาตรกับเศรษฐี เมื่อได้รับคำปฏิเสธเช่นเดิม จึงแสดงท่าจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร บรรดาศิษย์
ทั้งหลายก็พากันเข้าห้ามฉุดรั้งไว้แล้ว กล่าวตามที่ตกลงกันไว้นั้น นิครนถ์นาฏบุตรจึงพูดกับ
เศรษฐีว่า “เราจะเหาะขึ้นไปเอาบาตร แต่บรรดาศิษย์ทั้งหลายพากันห้ามฉุดรั้งไว้อย่างที่เห็นนี้
ดังนั้น ขอท่านจงให้บาตรแก่เราเถิด” เศรษฐีก็ยังไม่ยอมให้เช่นเดิม


•       พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปเอาบาตร
ในวันที่ ๗ เวลาเช้า พระมหาโมคคัลลานเถระ กับพระปิณโฑลภารทวาชเถระ จะเข้าไป
บิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ยืนห่มจีวรอยู่บนก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง ได้ยินเสียงนักเลงทั้งหลาย
พูดกันว่า “ครูทั้ง ๖ ต่างกล่าวอวดอ้างว่าตนเป็นพระอรหันต์ จนถึง ๗ วันเข้าวันนี้แล้ว ก็ไม่เห็น
มีใครสักคนเดียวเหาะขึ้นไปเอาบาตรที่ท่านเศรษฐีแขวนไว้ พวกเราก็เพิ่งจะรู้กันในวันนี้เองว่า
พระอรหันต์ไม่มีในโลก”

พระมหาโมคคัลลานเถระ จึงกล่าวว่า “ท่านภารทวาชะ ท่านได้ยินหรือไม่ถ้อยคำของ
นักเลงเหล่านั้นพูดหมิ่นประมาทพระพุทธศาสนา ท่านก็มีฤทธิ์อานุภาพมาก จงเหาะไปเอาบาตร
ใบนั้นมาให้ได้”


พระผู้เป็นเจ้าภารทวาชะ รับคำของพระมหาโมคคัลลานเถระแล้วเข้าจตุถฌานสมาบัติ
อันเป็นฐานแห่งอภิญญา กระทำอิทธิฤทธิ์เหาะขึ้นไปบนอากาศพร้อมทั้งแผ่นศิลาที่ยืนอยู่นั้น
เหาะเวียนรองกรุงราชคฤห์แล้ว เหาะลอยเลื่อนมาอยู่ตรงหลังคาเรือนของเศรษฐี ท่านเศรษฐีเห็น
ดังนั้นแล้วทั้งดีใจที่ได้เห็นพระอรหันต์ที่แท้จริง และตกใจกลัวว่าก้อนหินจะล่วงลงมาทับบ้าน
ของตน

จึงกราบหมอบลงจนอกติดพื้นดินแล้ว กล่าวละล่ำละลักว่า “ขอพระผู้เป็นเจ้า ลงมา
เถิด” พระเถระจึงสลัดก้อนหินไปประดิษฐานในที่เดิมแล้วเหาะลงมาจากอากาศ เมื่อพระเถระ
ลงมาแล้ว ท่านเศรษฐีจึงนิมนต์ให้นั่ง ณ อาสนะที่จัดถวาย ให้คนนำบาตรลงมาจากที่แขวนไว้
บรรจุอาหารอันประณีตจนเต็มแล้วถวายพระเถระพระผู้เป็นเจ้าภารทวาชะ รับแล้วก็กลับสู่วิหาร


ฝ่ายประชาชนเป็นจำนวนมากที่ไปทำธุระนอกบ้านมิได้เห็นปาฏิหาริย์จึงพากันชุมนุมติด
ตามพระเถระไปอ้อนวอนนิมนต์ให้ท่านแสดงปาฏิหาริย์ให้ชมบ้าง พระเถระก็แสดงให้ชมตามที่
นิมนต์นั้น พระบรมศาสดาทรงสดับเสียงอื้ออึง จึงตรัสถามพระอานนท์ว่า

“นั่นเสียงอะไร ?” เมื่อทรงทราบความทั้งหมดแล้ว มีรับสั่งให้พระภารทวาชเถระเข้าเฝ้า
ทรงตำหนิการกระทำนั้นแล้วมีพระบัญชาให้ทำลายบาตรนั้น บดให้เป็นผงทำเป็นเภสัชสำหรับ
หยอดตา จากนั้นทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามพระสาวกทั้งหลายทำปาฏิหาริยิ์อีกต่อไป


•   ได้ยกย่องในทางบันลือสีหนาท
โดยปกติ ท่านปิณโฑลภารทวาชเถระ มักจะบันลือสีหนาทด้วยวาจาอันองอาจว่า
“ยสฺส มคฺเค วา ผเล วา กงฺขา อตฺถิ โส มํ ปุจฺฉตุ แปลว่า ผู้ใด มีความสงสัยในมรรคหรือใน
ผล ผู้นั้น ก็จงถามเราเถิด” แม้แต่ในที่เฉพาะพระพักตร์พระบรมศาสดา ท่านก็บันลือสีหนาท
เช่นนั้น


ด้วยเหตุนี้ พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายพากันกล่าวขวัญถึงท่านว่าเป็นผู้มีความองอาจประกาศ
ความเป็นพระอรหันต์ของตนในที่เฉพาะพระพักตร์ พระบรมศาสดาและยังได้กระทำ
อิทธิปาฏิหาริยิ์ เหาะขึ้นไปเอาบาตรไม้จันทน์แดง จนทำให้เศรษฐีพร้อมด้วยบุตรและภรรยาพา
กันประกาศตนเป็นพุทธมามกะ คือ ประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา


พระภิกษุสงฆ์เหล่านั้นพากันกล่าวสรรเสริญเกียรติคุณของพระปิณโฑลภารทวาชเถระ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรงถือเอาคุณความดีของพระเถระนี้ตรัส
สรรเสริญว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท่านภารทวาชะได้ประกาศความเป็นพระอรหันต์ ของตนเช่นนั้น
ก็พราะท่านอบรมอินทรีย์ ๓ ประการ คือ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ และปัญญินทรีย์ ไว้มาก ครั้น
ตรัสดังนี้แล้ว ทรงประกาศยกย่อง พระปิณโฑลภารทวาชะ ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่า
ภิกษุทั้งหลายในฝ่าย ผู้บันลือสีหนาท

 
ท่านพระปิณโฑลภารทวาชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับ
ขันธปรินิพพาน

ที่มา http://www.84000.org/one/1/14.htm


ต้องการคำอธิบายอย่างพิสดาร เชิญคลิกลิงค์นี้เลยครับ
 
ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ งมงายหรือไม่งมงาย ?
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=3059.0

 ;) :s_good: :25:
22096  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อรหันต์องค์นี้ เรียกชาวบ้านทุกคนว่า "เจ้าคนถ่อย" อยู่เสมอ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 09:11:47 pm


พระปิลินทวัจฉเถระ
เอตทัคคะในทางผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา

พระปิลินทวัจฉะ เป็นบุตรของพราหมณ์ ตระกูลวัจฉโคตร เดิมชื่อว่า “ปิลินทะ” แต่
คนทั่วไปมักเรียกว่า “ปิลินทวัจฉะ” ตามชื่อตระกูลของท่านเมื่อเจริญวัยได้รับการศึกษาจบไตร
เพทตามลัทธินิยม
 
•   เบื่อโลกจึงออกบวช
ต่อมาเกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการครองเรือน จึงออกบวชเป็นปริพาชกเที่ยวแสวงหา
สำนักอาจารย์เพื่อศึกษาศิลปวิทยาขั้นสูง ๆ ต่อไป และได้ศึกษาวิชา จูฬคันธาระ ในสำนักของ
อาจารย์แห่งหนึ่ง จนสำเร็จสามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และสามารถล่วงรู้ความ รู้สึกนึกคิดจิตใจ
ของผู้อื่นได้ด้วย


ทำให้ชื่อเสียงของท่านร่ำลือระบือปรากฏไปทั่งกรุงสาวัตถีบ้านเกิดของท่าน ลาภ
สักการะก็เกิดขึ้นมากมาย แต่วิชานี้มีข้อจำกัดว่า ถ้าเข้าไปในเขตแดนที่มีวิชา มหาคันธาระ อยู่
ด้วย วิชาจูฬคันธาระ นี้ก็จะเสื่อมลงไม่สามารถแสดงฤทธิ์เหาะได้ และไม่สามารถล่วงรู้จิตใจผู้
อื่นได้

ปิลินทวัจฉปริพาชก ท่องเที่ยวแสดงฤทธิ์ แสดงความสามารถแก่ประชาชนทั้งหลายไป
ยังเมืองต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ ชาวเมืองให้ความเคารพยกย่องนับถือเป็นจำนวนมาก และ
ท่านก็ได้พักอยู่ในเมืองราชคฤห์นั้น


ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ได้ตรัสรู้แล้ว ทรงประกาศเผยแผ่หลักธรรมคำสอนไปยังคามนิคม
ต่าง ๆ จนมาถึงเมืองราชคฤห์ จากนั้นวิชาจูฬคันธาระ ของปิลินทวัจฉะก็เสื่อมลง ท่านรู้ได้ทันที
ว่าในเมืองนี้จะต้องมีวิชามหาคันธาระเกิดขึ้นแล้ว จึงสืบเสาะแสวงหาจนพบพระบรมศาสดา และ
ทราบว่าพระองค์มีวิชามหาคันธาระ

จึงกราบทูลขอศึกษาวิชานี้ พระผู้มีพระภาคก็ทรงยินดีที่จะ
สอนให้ แต่ว่าผู้เรียนต้องบวชในพระพุทธศาสนาก่อน เพราะวิชานี้จะสอนให้เฉพาะผู้ที่บวชใน
พระพุทธศาสนาเท่านั้น ท่านจึงกราบทูลขอบวชในวันนั้นเพื่อที่จะเรียนวิชามหาคันธาระตามที่
ตนต้องการ


เมื่อปิลินทวัจฉะ บวชแล้ว ได้พยายามศึกษาวิชามหาคันธาระ ตามที่พระบรมศาสดา
ประทานสอนให้ โดยให้ท่านพิจารณาพระกรรมฐานตามสมควร แก่อัธยาศัย ท่านได้พยายามอยู่
ไม่นานก็ได้สำเร็จวิชามหาคันธาระ ซึ่งก็นับว่าสำเร็จเป็นพระอรหันต์ในพระพุทธศาสนา

•   มีปกติเรียกคนอื่นว่า “คนถ่อย”
พระปิลินทวัจฉะ เป็นผู้มีปกติเรียกภิกษุด้วยกัน และคฤหัสถ์ทั้งหลายด้วยถ้อยคำว่า
“วสละ” ซึ่งเป็นคำหยาบ หมายถึง “คนถ่อย” โดยมีเรื่องเล่าดังต่อไปนี้:-
วันหนึ่ง ท่านเข้าไปบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ เห็นชายคนหนึ่งถือถาดใส่ดีปรีเต็มถาด
กำลังเข้าไปในเมือง ท่านจึงถามว่า


“แนะเจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นถืออะไร ?”
ชายคนนั้นได้ฟังแล้วก็รู้สึกไม่พอใจขึ้นมาทันที จึงตอบไปว่า
“ขี้หนู ครับท่าน”
พระปิลินทวัจฉะ ก็พูดเป็นการรับทราบตามคำของชายคนนั้นว่า
“อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นขี้หนู

ด้วยอำนาจแห่งคุณความเป็นพระอรหันต์ของพระเถระ และคำพูดไม่ดีอันเกิดจากอกุศล
จิตของชายคนนั้น ทำให้ดีปรีในถาดของเขากลายเป็นขี้หนูไปเสียทั้งหมด เขาตกใจมาก เพราะคิด
ขึ้นได้ว่ายังมีดีปรีอยู่ในเกวียนนอกเมืองอีก


เมื่อเขากลับไปดูก็พบว่าดีปรีกลายเป็นขี้หนูไปทั้งหมด
จริง ๆ เขาเสียใจเป็นอย่างยิ่งเพราะดีปรีเหล่านั้นเป็นของมีค่ามาก และเขาเตรียมเพื่อจะนำมาขาย
ขณะที่เขาแสดงอาการเสียใจและกำลังโกรธพระเถระอยู่นั้น มีอุบาสกคนหนึ่งเดินผ่านมา สอบ
ถามได้ทราบความแล้วก็เข้าใจเหตุการณ์โดยตลอด จึงแนะนำขึ้นว่า:-

“ดูก่อนสหาย ท่านจงถือถาดขี้หนูนี้ไปยืนรอที่หนทาง ซึ่งพระเถระผ่านมา เมื่อพระเถระ
ผ่านมาเห็นแล้วก็จะถามว่า “แน่เจ้าคนถ่อย ในถาดของท่านนั้นคืออะไร ?”
ท่านก็จงตอบว่า “ดีปรี ครับท่าน”
พระเถระก็จะกล่าวว่า “อ้อ เจ้าคนถ่อย ของนั้นเป็นดีปรี”
อย่างนี้แล้ว ท่านก็จะได้ดีปรีกลับคืนมา
ชายคนนั้นทำตามคำแนะนำของอุบาสก และในที่สุดขี้หนูก็กลับกลายเป็นดีปรีดังเดิม


•   พระเถระถูกเพื่อภิกษุฟ้องพระพุทธเจ้า
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุ
ทั้งหลายพากันเข้าเฝ้าแล้วกราบทูลกล่าวโทษพระปิลินทวัจฉเถระว่า:-
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระปิลินทวัจฉเถระ มักเรียกภิกษุทั้งหลายด้วยคำว่า วสละ พระ
เจ้าข้า”


พระบรมศาสดา จึงรับสั่งให้พระภิกษุรูปหนึ่งไปเรียกท่านมาแล้วตรัสถามว่า “ดูก่อนปิลิ
นทวัจฉะ ได้ทราบว่าเธอมักเรียกภิกษุทั้งหลาย ด้วยคำว่า วสละ จริงหรือ ?”
“ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เป็นจริงอย่างนั้น พระเจ้าข้า”

พระบรมศาสดา ครั้นได้สดับแล้ว จึงตรัสเล่าถึงบุพกรรมในอดีตชาติอันยาวนานของ
ท่านให้ภิกษุทั้งหลายฟังว่า

“ภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้ถือโทษโกรธปิลินทวัจฉะเลย ท่านมิได้มีความโกรธแค้น
ในตัวเธอทั้งหลายเลย แต่ที่ท่านมักเรียกพวกเธอว่า วสละ นั้น เป็นเพราะในอดีตชาติย้อนหลังไป
๕๐๐ ชาติ ท่านก็มักกล่าวอย่างนั้นมาตลอดกาลช้านาน คำนั้นจึงเป็นอุปนิสัยที่ติดตัวท่านมาตั้งแต่
อดีตชาติ”


•   ได้รับยกย่องว่าเป็นที่รักของเทวดา
พระปิลินทวัจฉเถระ นั้น เป็นผู้มีความสามารถแสดงธรรมแก่เทพยดา ทั้งหลาย ด้วยใน
อดีตชาติท่านกับสหายเป็นจำนวนมาก ได้รักษาศีลปฏิบัติธรรมร่วมกัน เมื่อตายแล้วได้ไปเกิดใน
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์


ส่วนตัวท่านเมื่อสิ้นบุญจากสวรรค์แล้วได้จุติลงมาเกิดในอัตภาพนี้ ได้สำเร็จ
เป็นพระอรหันต์เหล่าเทพยดาทั้งหลายผู้เป็นอดีตสหายก็พากันลงมาอาราธนาให้ท่านแสดงธรรม
ให้ฟัง จนทำให้ท่านเป็นที่รักใคร่ของเทพยดาทั้งหลายเหล่านั้น

ด้วยเหตุนี้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง
ผู้เป็นที่รักใคร่ของเทพยดา ฯ
ท่านดำรงอายุสังขาร ช่วยกิจการพระศาสนาสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/41.html


ถ่อย ว. ชั่ว, เลว, ทราม.

วาสนา [วาด สะหฺนา] น. บุญบารมี, กุศลที่ทําให้ได้รับลาภยศ, เช่น เด็กคนนี้มีวาสนาดี เกิดในกองเงินกองทอง, มักใช้เข้าคู่กับคำ บุญ หรือ บารมี เป็น บุญวาสนา หรือ วาสนาบารมี เช่น เป็นบุญวาสนาของเขา เขาเป็นคนมีวาสนาบารมีมาก. (ป., ส.).


ที่มา พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒


วาสนา อาการกายวาจา ที่เป็นลักษณะพิเศษของบุคคล ซึ่งเกิดจากกิเลสบางอย่าง และได้สั่งสมอบรมมาเป็นเวลานานจนเคยชินติดเป็นพื้นประจำตัว แม้จะละกิเลสนั้นได้แล้ว แต่ก็อาจจะละอาการกายวาจาที่เคยชินไม่ได้ เช่น คำพูดติดปาก อาการเดินที่เร็ว หรือเดินต้วมเตี้ยม เป็นต้น

       ท่านขยายความว่า วาสนา ที่เป็นกุศล ก็มี เป็นอกุศล ก็มี เป็นอัพยากฤต คือ เป็นกลางๆ ไม่ดีไม่ชั่ว ก็มี
       ที่เป็นกุศลกับอัพยากฤตนั้น ไม่ต้องละ

       แต่ที่เป็นอกุศลซึ่งควรจะละนั้น แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ
ส่วนที่จะเป็นเหตุให้เข้าถึงอบาย กับส่วนที่เป็นเหตุให้เกิดอาการแสดงออกทาง กายวาจาแปลกๆ ต่างๆ
ส่วนแรก พระอรหันต์ทุกองค์ละได้ แต่ส่วนหลัง พระพุทธเจ้าเท่านั้นละได้ พระอรหันต์อื่นละไม่ได้


       จึงมีคำกล่าวว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นละกิเลสทั้งหมดได้ พร้อมทั้งวาสนา;
       ในภาษาไทย คำว่า วาสนา มีความหมายเพี้ยนไป กลายเป็นอำนาจบุญเก่า หรือกุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ


ที่มา  พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
22097  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อธิษฐานธรรม 4 ประการ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 06:52:52 pm
อธิษฐานธรรม


   ชาวพุทธโดยทั่วไปมักได้ยินคำว่า “อธิษฐาน” โดยเมื่อจะทำการสิ่งใดมักอธิษฐานขอสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ การอธิษฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เป็นการยืนหยัดให้สามารถยึดเอาผลสำเร็จสูงสุดอันเป็นเป้าหมายได้ โดยไม่เกิดความสำคัญตนผิด ไม่เปิดช่องแก่ความผิดพลาดเสียหาย และไม่เกิดสิ่งมัวหมองหมักหมมทับถมตน ด้วยการปฏิบัติตามหลัก อธิษฐานธรรม 4 ประการ คือ

•   1. ปัญญา การดำเนินชีวิตจะเป็นไปตามกรอบของศีลหรือหลักธรรมต่างๆได้หรือไม่จำเป็นต้องใช้ปัญญา ความคิด วิเคราะห์ เมื่อประสบเหตุใดๆ ก็ไม่วู่วามตามอารมณ์หรือหลงไปตามสิ่งที่เย้ายวน ศึกษาสิ่งต่างๆให้มีความรู้ชัด มีเหตุผล เข้าใจภาวะของสิ่งทั้งหลายจนเข้าถึงความจริง

•   2. สัจจะ รักษาสัจจะ คือสงวนรักษาดำรงตนมั่นในความจริงที่รู้ชัดเห็นด้วยปัญญา เริ่มแต่จริงวาจา จริงในหลักการ จริงใจ

•   3. จาคะ คอยเสริมและทวีความเสียสละให้เข้มแข็งมีกำลังแรงยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพื่อป้องกันหรือทัดทานตนไว้มิให้ตกไปเป็นทาสของลาภสักการะ อีกทั้งกระทำการทุกอย่างโดยไม่เห็นแก่ตน นึกถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ

•   4. อุปสมะ ความสงบใจ เป็นอย่างเดียวกับทมะใน ฆราวาสธรรม ผู้ฝึกตนให้สามารถระงับดับความขัดข้องวุ่นวายอันเกิดจากกิเลสได้ ทำจิตใจให้สงบผ่องใสรู้จักรสแห่งสันติ คนที่รู้จักรสแห่งความสุขอันเกิดจากความสงบใจแล้ว ย่อมจะไม่หลงใหลมัวเมาในวัตถุ หรือ ลาภ ยศ สรรเสริญ โดยง่าย
   
   
•   การอธิษฐานตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา ผู้อธิษฐานจะต้องเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อให้การอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลไม่ใช่อธิษฐานแล้วก็นั่งคอยให้เทวดาฟ้าดินที่ไม่มีตัวตนมาดลบันดาลให้ ฉะนั้นก่อนอธิษฐานผู้อธิษฐานต้องใช้ปัญญาพิจารณาเสียก่อนว่าสิ่งที่อธิษฐานนั้นตนสามารถปฏิบัติได้เองหรือไม่เป็นไปได้เพียงใด

เมื่ออธิษฐานแล้วก็ต้องปฏิบัติ สัจจะ จาคะ และ อุปสมะ การอธิษฐานจึงจะสัมฤทธิ์ผล ซึ่งสัจจะ จาคะ และ อุปสมะ เป็นข้อปฏิบัติที่ฆราวาสพึงปฏิบัติอยู่แล้ว ขอเพียงแต่ใช้ปัญญาเพิ่มขึ้นเท่านั้น จาคะ หรือ ความเสียละ จึงเป็นข้อปฏิบัติสำคัญในการส่งเสริมให้การอธิษฐานใดใดสัมฤทธิ์ผล

 

ที่มา :http://www.suwalaiporn.com/index.php...389698&Ntype=6
22098  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / "ทำไมทำดี แล้วจึงไม่ได้ดี" โอวาทจากสมเด็จโต เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 12:11:58 pm
โอวาทจากดวงพระวิญญาณบริสุทธิ์สมเด็จโต



ทำไมทำดีแล้วจึงไม่ได้ดี

พิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยเดลี่
ประจำวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๑๔

คุณขีด : กระผมอยากทราบเรื่องกฎแห่งกรรมเพราะเป็นกุญแจของบุญและบาป คนที่ไม่รู้จักบุญและบาปก็เพราะไม่รู้จักกฎแห่งกรรม บางคนไม่เชื่อว่าบุญมีจริงบาปมีจริง แล้วบางทีทำบุญกลายเป็นได้ผลบาป ทำบาปกลายเป็นผลดี ทั้งนี้เป็นเพราะว่าไม่ทราบชัดในเรื่องกฎแห่งกรรม เพราะฉะนั้นกระผมอยากให้หลวงพ่อสมเด็จได้โปรดขยายกฎแห่งกรรมให้กว้างขวาง ให้เป็นที่รู้ชัดสักหน่อยครับว่ามีกฎอันแท้จริงอย่างไร

สมเด็จโต : กฎแห่งกรรมนี้เป็นสิ่งที่ละเอียดมาก ก็เปรียบเสมือนหนึ่งธรรมชาติของการเติบโตของผลไม้ตามฤดูกาล กรรมที่ท่านสร้างในอดีตภพย่อมนำมาสู่ท่านในปัจจุบันภพ ฉันใดก็ฉันนั้น ทีนี้กรรมเหล่านั้นที่ท่านทำไปแล้วแต่ท่านลืมไปเพราะอะไรเล่า เพราะว่ามนุษย์ที่ยึดว่าทำไมทำดีจึงไม่ได้ดี เพราะมนุษย์ผู้นั้นไม่โปร่งในขั้นสมุฏฐานของเหตุและปัจจัย

ถ้าท่าน หว่านพืชชนิดใดลงดิน พืชชนิดนั้นจะขึ้นตามเหล่ากอของพืชพันธุ์นั้น กรรมใดที่ท่านสร้างมาในภพที่ท่านลืมไปแล้ว แต่กรรมนั้นยังตามเสวยตามภพชาติต่างๆ อยู่ ยกตัวอย่าง ซึ่งเปรียบง่ายๆ สมมติว่าเมื่อสองปีก่อนท่านได้ฆ่าคนตายในที่แห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ แล้วท่านหนีไปอยู่ที่หนองคาย (เปรียบเหมือนท่านฆ่าคนตายในภพก่อนแล้วมาเกิดใหม่ในภพนี้) เรียกว่าท่านเกิดภพนี้ทั้งที่เป็นคนเดิมคือจิตวิญญาณเดิมจากภพก่อน แต่มาอยู่ภพนี้หรือเมืองนี้

ในขณะที่ท่านหนีจากกรุงเทพฯ (ภพก่อน) ไปอยู่หนองคาย (ภพนี้) เกิดสำนึกผิดขึ้นมา จึงถือศีลทำบุญให้ทาน เป็นมิตรกับชาวบ้านที่หนองคาย ชาวบ้านที่หนองคายก็ยกย่องสรรเสริญว่าท่านเป็นคนดีมีศีลธรรมน่าเคารพนับถือ แต่กรรมที่ท่านสร้างไว้คือฆ่าคนตายที่กรุงเทพฯ เมื่อสองปีก่อนนั้น ชาวบ้านที่หนองคายไม่รู้กับท่านด้วย และตำรวจ (กรรม) นั้นก็กำลังตามหาท่านอยู่ เปรียบเสมือนการตามของภพของกรรมไปถึงที่นั่น

แม้ว่าท่านกำลังถือศีลถืออุโบสถอยู่ในโบสถ์ หรือแม้ว่าบางคนมาบวชเป็นพระเพื่อหนีคุกหนีตารางก็ตามที เมื่อตำรวจสืบพบเจอตัวท่าน แม้จะอยู่ที่วัดถือศีลหรือบวชเป็นพระอยู่ ตำรวจก็จับท่านทันทีเพื่อไปลงโทษตามกฎหมายบ้านเมือง คนที่หนองคายแถวที่ท่านอยู่ย่อมไม่พอใจ หรือด่าทอตำรวจที่มาจับคนดีที่ถือศีลในอุโบสถอยู่


ก็เหมือนกรรมที่ ไม่ดีที่ตามมาทันท่านตอนที่ท่านกำลังทำดี ทำให้ท่านคิดว่าทำไมทำดีแล้วจึงไม่ได้ดี กลับพบเจอและได้รับแต่สิ่งที่ไม่ดี ท่านอาจลืมกรรมที่ท่านทำไว้ในภพชาติก่อนแล้ว เพราะมันผ่านมานานแล้ว ข้ามภพข้ามชาติมาจนจำไม่ได้ว่าทำกรรมไม่ดีอะไรไปบ้าง จึงทำให้คิดว่าภพนี้ชาตินี้ทำแต่ความดี แล้วทำไมไม่ได้ดี

คล้ายกันกับคนทำชั่วหรือทำไม่ดีในปัจจุบัน แต่กลับได้ดิบได้ดี เพราะภพชาติก่อนเขาเคยทำดีไว้ แล้วกรรมดีนี้ตามมาทันและส่งผลให้เขาได้ดิบได้ดี แม้ในขณะปัจจุบันเขากำลังทำกรรมไม่ดีอยู่ก็ตามที เพราะเป็นกรรมคนละส่วนกับกรรมเก่าที่เขาทำดีในภพชาติก่อน ส่วนกรรมใหม่ที่เขาทำไม่ดีในขณะนี้ยังไม่ส่งผล ต้องรอให้ผลในกาลต่อไป เปรียบเหมือนเราเพิ่งปลูกข้าวดำนาเสร็จ จะให้กล้าในนาออกดอกออกรวงข้าวในวันนี้หรือพรุ่งนี้เลยย่อมเป็นไม่ได้ จะต้องรอเดือนรอเวลาจนกว่าต้นกล้าจะครบกำหนดที่จะออกรวงให้ผลิตผลเป็นเมล็ด ข้าว จึงจะเก็บเกี่ยวได้ ฉันใดก็ฉันนั้น กฎแห่งกรรมก็เช่นเดียวกันกับกฎธรรมชาติ

 

เช่น การปลูกพืชปลูกต้นไม้ชนิดต่างกัน ย่อมต้องจะรอการออกดอกออกผลเป็นเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งเป็นไปตามพันธุกรรมของพืชชนิดนั้นๆ ที่จะใช้เวลาไม่เท่ากันนานเป็นเดือนหรือนานเป็นปีจึงจะให้ผล เช่น ปลูกพริกย่อมให้ผลิตผลเร็วกว่าปลูกมะม่วง ปลูกข้าวย่อมให้ผลเร็วกว่าปลูกมะพร้าว เป็นต้น เช่นเดียวกันกับผลของกรรมแต่ละชนิด กรรมหนักกรรมเบา มีเจตนาหรือไม่เจตนา เป็นต้น จึงให้ผลกรรมหนักเบาต่างกันต่างเวลาตามเหตุปัจจัย

สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งละเอียด กฎแห่งกรรมคือกฎแห่งธรรมชาติ ย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม ท่านสร้างกรรมดีไว้ในปัจจุบันนี้ กรรมนั้นอาจจะให้ท่านเสวยผลในภพอีกภพหนึ่งก็ได้ เพราะว่ามันเป็นกงล้อแห่งกงกรรมกงเกวียนที่จะแยกแยะออกมา ชาติไหน ชาติอะไร ชาติโน้น ชาตินี้ เป็นสิ่งยาก เพราะว่ามนุษย์เราแต่ละคนที่เกิดมาในปัจจุบันชาตินี้ เกิดมาเป็นร้อยๆ พันๆ ภพชาติเป็นกงกรรมกงเวียนที่ทับถมทั้งดีและชั่ว โดยเจ้าตัวก็แยกแยะไม่ออก

ยกตัวอย่างง่ายๆ เสมือนหนึ่งท่านคิดตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น พอตกเย็นท่านมานั่งทบทวน ท่านก็แยกแยะทบทวนไม่ค่อยออกว่าเวลาไหนท่านมีอกุศลอารมณ์ เวลาไหนมีโทสจริต เวลาไหนมีเมตตาจิต เพราะว่าการเคลื่อนไหวแห่งจิตวิญญาณนี้เร็วยิ่งกว่าอณูปรมาณูทั้งหลาย เร็วยิ่งกว่าปรอท เพราะฉะนั้นจึงแยกได้ว่า ท่านสร้างกรรมใดไว้ ท่านย่อมจะต้องเสวยกรรมนั้นในภพชาติแน่นอน

ที่มา http://www.konload.com/bas/read.php?tid=1212
22099  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ งมงายหรือไม่งมงาย ? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 12:03:35 pm
ขลัง ศักดิ์สิทธิ์ อิทธิปาฏิหาริย์ งมงายหรือไม่งมงาย ?
โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก


พระพุทธศาสนาพูดถึง “ปาฏิหาริย์” ไว้ 3 ชนิด คือ

1. อิทธิปาฏิหาริย์ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ เช่น เหาะเหินเดินอากาศ หายตัว ร่างเดียวแปลงเป็นหลายร่างได้ ฯลฯ)

2. อาเทสนาปาฏิหาริย์ (ดักใจ ทายใจคนอื่นได้)

3. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (แสดงธรรมชี้คุณชี้โทษให้เขาเลื่อมใส แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจาก คนชั่วเป็นคนดี จากที่ดีอยู่แล้วได้บรรลุคุณธรรมสูงขึ้น)


ตามทรรศนะพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้ามิได้ปฏิเสธปฏิหาริย์ทั้งสามอย่างเลย ทรงรับว่ามีจริงทำได้จริงทั้งสามอย่างนั้น แต่ทรงวางน้ำหนักไม่เท่ากัน

พระองค์ตรัสว่า ปาฏิหาริย์อย่างสุดท้าย (อนุสาสนีปาฏิหาริย์) ประเสริฐกว่าสองอย่างข้างต้น และเป็นปาฏิหาริย์ที่พระองค์ทรงสรรเสริญ และสนับสนุนให้สาวกทั้งหลายกระทำ นั่นก็คือทรงเห็นว่าการสอนคนให้ละ ชั่วทำดีทำจิตให้บริสุทธิ์จนกระทั่งบรรลุมรรคผลนิพพาน เป็น “สิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง” (ปาฏิหาริย์) และเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่สาวกของพระองค์พึงกระทำ ถือว่าเป็นหน้าที่เลยก็ว่าได้

แต่สำหรับสองอย่างข้างต้น แม้จะไม่ทรงปฏิเสธ ทรงรับว่า มี เป็นได้ มีได้ และมีประโยชน์ในระดับหนึ่ง แต่ทรงสอนให้ “วางท่าที” และปฏิบัติให้ถูกต้อง ถ้าใช้ไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องของความงมงาย ถ้าใช้ถูกต้องก็ไม่งมงาย กลับจะเป็นประโยชน์เสียด้วยซ้ำ

ยกเฉพาะอิทธิปาฏิหาริย์ก่อนก็แล้วกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า การแสดงฤทธิ์ได้เป็นผลจากการฝึกสมาธิภาวนา ฤๅษีชีไพร โยคีทั้งหลายก็ทำได้เป็นจำนวนมาก พระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ก็ทำได้เป็นจำนวนมาก แต่สำหรับสาวกของพระพุทธองค์ พระองค์จะทรงห้ามมิให้ใช้อิทธิฤทธิ์พร่ำเพรื่อโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ห้ามใช้ฤทธิ์เพื่อเหตุผลของฤทธิ์

พูดแล้วอาจไม่กระจ่าง ความหมายก็คือ ถ้าแสดงฤทธิ์เพื่อให้เขาอัศจรรย์ ว่าแหมคนนี้เก่งจริงๆ อย่างนี้ไม่ได้ ถือว่าผิดครับ หรือแสดงฤทธิ์เพื่ออามิสสินจ้างหรือเพื่อลาภสักการะ อย่างนี้ก็ไม่ได้ ผิดอีกเช่นกัน

ที่ว่านี้ก็มิได้พูดเอาเอง มีเรื่องเกิดขึ้นมาก่อนแล้ว คือในสมัยพุทธกาล เศรษฐีชาวเมืองราชคฤห์คนหนึ่งได้บาตรไม้จันทน์มา อยากทดลองว่ามีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์จริงหรือไม่ หรือว่ามีแต่ “ราคาคุย” เฉยๆ จึงตั้งเสาลำไม้ไผ่สูงเท่าต้นตาล โดยเอาบาตรแขวนไว้บนยอดเสา ประกาศว่า ถ้าพระอรหันต์ทรงอภิญญามีจริงขอให้เหาะมาเอาบาตร ถ้าใครสามารถเหาะมาเอาบาตรได้ ข้าพเจ้าจะมอบตนเป็นศิษย์ ถ้าภายใน 7 วันไม่มีใครมาเอาบาตรได้ ข้าพเจ้าจะได้รู้เสียทีว่า ในโลกนี้ไม่มีพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา มีแต่ “ราคาคุย” เท่านั้น

เหตุการณ์ผ่านไปถึงเช้าวันที่ 7 ก็ไม่มีใครเหาะไปเอาบาตร พระเถระสองรูปคือ พระโมคคัลลานะกับพระปิณโฑละภารัทวาชะ กำลังออกบิณฑบาตในเมืองราชคฤห์ ได้ยินเสียงชาวบ้านพูดในทำนองว่า ไม่มีพระอรหันต์ทรงอิทธิฤทธิ์จริง เศรษฐีประกาศให้พระอรหันต์เหาะไปเอาบาตรภายใน 7 วัน นี่ก็มาถึงวันที่ 7 แล้ว ไม่มีพระอรหันต์ทรงอิทธิฤทธิ์แม้แต่องค์เดียว

พระโมคคัลลานะ ได้ยินหันมามอง พระปิณโฑละภารัทวาชะ แล้วกล่าว ว่า ท่านผู้มีอายุ ประชาชนกำลังดูหมิ่นว่าไม่มีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์ ท่านจงแสดงให้เขาเห็นเถิด พระปิณโฑละจึงขออนุญาตพระโมคคัลลานะ (พระอัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้มีฤทธิ์มาก) เข้าฌานแล้วก็เหาะไปเอาบาตรลงมาจากเสาไม้ไผ่นั้น


เศรษฐีเลื่อมใสในพระเถระ มอบตนเป็นศิษย์ท่าน ถ่ายอาหารบิณฑบาตท่านแล้ว อุ้มบาตรเดินตามหลังท่านกลับไปยังพระวิหาร บรรดา “แขกมุง” ทั้งหลายก็พากันห้อมล้อมพระเถระ เดินตามท่านไปวัด ส่งเสียงอื้ออึง พระพุทธเจ้าทรงสดับเสียงอื้ออึง จึงตรัสถามพระอานนท์ พระอานนท์กราบทูลเรื่องราวให้ทรงทราบ

แทนที่พระองค์จะทรงยินดีด้วย กลับตรัสเรียก ‘พระปิณโฑละภารัทวาชะ’ มาเข้าเฝ้า พร้อมภิกษุสงฆ์จำนวนมาก ตรัสตำหนิกลางที่ประชุมด้วยคำแรงๆ ว่า “โมฆบุรุษ (บุรุษเปล่า) ไม่สมควรเลยที่เธอแสดงอิทธิฤทธิ์ เพื่อแลกกับบาตรใบเดียว การกระทำของเธอไมต่างกับนางนครโสเภณีเปิดเผยอวัยวะของตนเพื่อแลกเงินและทอง


เป็นคำตำหนิที่แรงมาก ทรงเห็นว่าพระสาวกของพระองค์ที่แสดงอิทธิฤทธิ์ ให้เขารู้ว่าตนทำได้ และแสดงเพื่อแลกลาภสักการะ (ในกรณีนี้ บาตรใบเดียว) เป็นสิ่งที่สมณะศากยบุตรไม่พึงทำ เรียกว่าเป็นการ “หากิน” เหมือนโสเภณีหากินด้วยการเปิดอวัยวะที่ควรปิดแลกเงินและทองฉะนั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้ พระพุทธองค์จึงทรงบัญญัติเป็นข้อห้าม ห้ามพระสาวกของพระองค์แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ด้วยเหตุผลที่ไม่สมควร

ตรงนี้คนทั่วไปที่เคร่งต่อตัวบทกฎหมาย ตีความว่า ห้ามพระสงฆ์สาวกแสดงอิทธิฤทธิ์เด็ดขาด ไม่ใช่เฉพาะคนทั่วไป นักบวชศาสนาอื่นก็เข้าใจอย่างนั้น จึงประกาศจะแสดงฤทธิ์แข่งกับ “พระสมณะโคดม” (คือพระพุทธเจ้า โดยเชื่อว่าเมื่อพระสมณะโคดมห้ามสาวกแสดงอิทธิฤทธิ์ พระองค์เองก็ต้องไม่แสดงด้วย เมื่อพวกตนท้าแสดงฤทธิ์แข่ง พระสมณะโคดมไม่แสดงเพราะผิดกฎที่พระองค์วางไว้ ก็จะแพ้พวกตน

ร้อนถึง พระเจ้าปเสนทิโกศล พระองค์เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์จะแสดงเอง เมื่อทูลถามว่า ก็เมื่อพระองค์ประกาศห้ามสาวกแสดงแล้ว พระองค์จะแสดงได้อย่างไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสถามว่า “มหาบพิตร ถ้ามีคนมาขโมยมะม่วงจากสวนหลวงของพระองค์ไปกิน จะว่าอย่างไร”

“หม่อมฉันก็จับมันมาทำโทษ” พระราชากราบทูล

“ถ้ามหาบพิตรอยากเสวยมะม่วงจากสวนหลวงเล่า”

“หม่อมฉันก็ให้คนปลิดมาให้กิน”

“มหาบิพตรห้ามคนอื่นกินมะม่วงจากสวนหลวง ทำไมมหาบพิตรเอามาเสวยได้เล่า”

“ก็หม่อมฉันเป็นเจ้าของสวน ย่อมมีสิทธิ์เอามะม่วงมากินได้”


พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า เช่นเดียวกันนั่นแหละ พระพุทธองค์เป็นเจ้าของศาสนา ย่อมมีสิทธิแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ แม้จะประกาศห้ามสาวกแสดงก็ตาม

ประเด็นจึงอยู่ที่ว่า ไม่ใช่ไม่ให้แสดงอิทธิฤทธิ์ แสดงได้ แต่ให้มีเหตุผลและจุดประสงค์อันสมควรที่จะแสดง ท่าทีที่ถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือ

ถ้าใช้อิทธิฤทธิ์เป็น “สื่อ” สอนธรม การแสดงฤทธิ์ก็เหมาะสมและถูกต้องตามพุทธประสงค์ บุคคลบางคนเชื่อและเลื่อมใสในอิทธิฤทธิ์ ใครมีฤทธิ์ก็ให้ความนับถือ คนเช่นนี้ถ้าเราจะ convert หรือกลับใจเขา คนสอนจะต้องมีอิทธิฤทธิ์เท่าๆ เขาหรือมากกว่าเขา เขาจึงจะเลื่อมใสและยอมเชื่อฟัง อย่างนี้เรียกว่า ใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์

เมื่อใช้ฤทธิ์ปราบฤทธิ์ได้แล้ว ไม่ควรหยุดอยู่แค่นั้น ควรสอนให้เขาละวางเรื่องฤทธิ์ก้าวไปสู่คุณธรรมที่สูงกว่านั้น ดังกรณีที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงอิทธิฤทธิ์เองในบางครั้ง หรือทรงมีพุทธบัญชาให้พระโมคคัลลานะไป “ปราบ” บางคน

ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน พึงตระหนักว่า บรรดาปาฏิหาริย์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ทรงยกย่องอนุสาสนีปาฏิหาริย์ว่าเป็นยอด การแสดงอิทธิฤทธิ์ก็ดี ความสามารถในการอ่านใจ ทายใจคนอื่นได้ก็ดี ถึงจะไม่ปฏิเสธ ก็ทรงเตือนไว้ว่าอย่าใช้พร่ำเพรื่อ อย่าใช้ผิดวัตถุประสงค์ และอย่าใช้ในทางที่ไม่เหมาะ

ให้เตือนตนอยู่เสมอว่า พึงใช้อิทธิฤทธิ์เป็น “สื่อ” จูงคนเข้าหาพระธรรมที่สูงขึ้น มิใช่ใช้เพื่อให้คนเขาอัศจรรย์ว่าเราเก่ง แล้วจะได้นำลาภสักการะมาถวาย

นี้พูดถึงผู้ที่สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้ ส่วนผู้ที่ไม่มีความสามารถในด้านนี้เลยแม้แต่น้อย แต่แสดงให้คนอื่นเข้าใจว่าตนทำได้ ยิ่งมีความผิดมหันต์ ถ้าเป็นพระภิกษุ ก็เข้าขั้น “อวดอุตริมนุสสธรรม” มีความผิดหนักถึงขั้นขาดจากความเป็นพระ



เรื่องเกิดครั้งแรกสมัยพุทธกาล เกิดข้าวยากหมากแพงไปทั่วเมือง พระสงฆ์องคเจ้าอยู่ลำบาก มีอาหารบิณฑบาตไม่พอเพียง เนื่องจากชาวบ้านยากจน ไม่ค่อยมีอะไรกินอยู่แล้ว จึงไม่มีมาเจียดถวายให้พระสงฆ์ มีภิกษุกลุ่มหนึ่ง อยู่หมู่บ้านชายฝั่งน้ำวัคคุมุทา ปรึกษาหารือวิธีที่จะอยู่รอด รูปหนึ่งเสนอขึ้นว่า “พวกเราน่าจะยกย่องคุณธรรมของกันและกันให้ชาวบ้านได้ยิน เมื่อเขาเข้าใจว่าพวกเราเป็นผู้วิเศษ ก็จะเลื่อมใส เอาข้าวเอาน้ำมาถวาย ด้วยอุบายอย่างนั้นพวกเราก็จะไม่ลำบากด้วยอาหารบิณฑบาต”

ทั้งหมดเห็นดีเห็นงามด้วยกับข้อเสนอของภิกษุรูปนั้น จึงดำเนินการตามแผน ภิกษุตึ๋ง (นามสมมติ) เข้าไปหมู่บ้าน ก็พูดคุยกับโยมว่า “คุณโยมรู้ไหม ท่านต๋อง (นามสมมติ) บรรลุโสดาบัน”

ภิกษุต๋อง ก็พรรณนาสรรพคุณของภิกษุตึ๋งให้โยมฟังเช่นกัน ผลัดกันชมกันเองว่าอย่างนั้นเถอะ ญาติโยมทั้งหมู่บ้านได้ยินก็เลื่อมใสเป็นการใหญ่ “โอ พระคุณเจ้ากลุ่มนี้อยู่กับเราตั้งนาน พวกเราไม่รู้เลยว่าท่านเป็นพระอริยะบรรลุมรรคผลนิพพาน โอ ช่างเป็นบุญของพวกเราเหลือเกิน”

ชื่นชม ไม่ชื่นชมเปล่า ต่างก็นำข้าวปลาอาหารไปถวายพระคุณเจ้าฉันอย่างอิ่มหมีพีมันอีกด้วย ตกลงว่าในระหว่างพรรษานั้น พระกลุ่มนี้ไม่ลำบากด้วยอาหารการฉัน เพราะได้โยมอุปัฏฐากเลี้ยงดูอย่างดี ในขณะที่พระสงฆ์ที่อาศัยอยู่ในตำบล หรือจังหวัดอื่นๆ ผอมโซไปตามๆ กัน

เมื่อท่านเหล่านี้ไปเฝ้าพระพุทธองค์ ได้กราบทูลวิธีปฏิบัติของพวกตนให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระพุทธองค์ตรัสตำหนิท่ามกลางสงฆ์ว่าเป็นการ “อวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน” มีความผิดร้ายแรงถึงขั้นขาดจากความเป็นพระภิกษุ จึงทรงบัญญัติห้ามพระสาวกทำอย่างนี้อีกต่อไป ใครขืนทำ ขาดจากความเป็นพระทันที ต้องไล่สึกออกจากสังฆมณฑล

เนื่องจากภิกษุกลุ่มดังกล่าวเป็นกลุ่มแรกที่ทำความผิดนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงไล่สึก แต่ให้เป็น “อาทิกัมมิกะ” (แปลกันว่าต้นบัญญัติ ความหมายก็คือ ให้เป็นตัวอย่างในทางชั่ว ให้ประจานกันต่อๆ ไปว่า บวชมาแล้วอย่าประพฤติชั่วเหมือนภิกษุกลุ่มวัคคุมุทานะ อะไรทำนองนั้น)

การอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน พระพุทธเจ้าตรัสว่าเป็นมหาโจรประเภทที่ 5 และเป็นยอดของมหาโจรทั้งหลายด้วย เพราะถือว่าเป็นการลวงโลกอย่างร้ายกาจ มิบังควรที่บรรพชิตจะพึงกระทำ ทั้งๆ ที่ทรงเตือนอย่างนี้ ก็มีเจ้ากูสมัยนี้พยายาม “เลี่ยงบาลี” แสวงหาลาภสักการะโดยวิธีอ้างความขลังความศักดิ์สิทธิ์กันอยู่ดาษดื่น หลายกรณีก็เข้าข่าย “อวดอุตริมนุสสธรรม” โดยไม่รู้ตัว และก็ไม่ถูกจับสึกแต่อย่างใด เพราะเรื่องอย่างนี้บางทีก็ละเอียดอ่อน ยากจะชี้ลงไปว่า ผิดหรือไม่ผิดจริง

แต่ที่รู้แน่ก็คือ “สำนึกในใจ” ของบุคคลนั้นเองว่า เขาผิดหรือไม่ นอกเสียแต่ว่าเป็นคนทรยศต่อจิตสำนึกของตนเอง หรือหน้าด้านทำอยู่ทั้งๆ ที่รู้ว่าผิด

ส่วนในกรณีที่ “เฉียด” ปาราชิกนั้นมีมาก จะเอาผิดถึงขั้นจับสึกก็ไม่สามารถเอาผิดได้ เพราะไม่เข้าข่ายบางครั้งคนๆ นั้นเป็นผู้มีความรู้พระวินัย หรือตัวบทกฎหมายสำหรับพระดีอีกด้วย จึงหาช่องทางเลี่ยงบาลีได้สบายๆ

พูดถึงเรื่องขลังเรื่องศักดิ์สิทธิ์ มีเจ้ากูมากมายที่อาศัยความโง่งมงายของประชาชนหากิน ปลุกเสกเหรียญ (บางที่ก็ไม่มีพิธีปลุกเสก ปั๊มกันขึ้นมามากมาย) แล้วก็ให้ “เช่า” (ศัพท์ในวงการ ฟังดูดี แต่ทีจริงก็คือ ซื้อ นั้นเอง) ในราคาแพงๆ อย่างนี้เป็นสิ่งที่ไม่พึงทำ เพราะพระภิกษุไม่มีสิทธิ์ทำตนเป็นพ่อค้า ผลิตสินค้าจำหน่าย หรือบางรายมิได้ทำเพื่อการซื้อขาย นำพระนำเหรียญที่ปลุกเอง หรือที่ผู้อื่นปลุกเสกไว้แล้วมาแจกจ่ายให้ญาติโยมนำไปบูชา


ถ้าให้สิ่งนั้นๆ แก่ประชาชนไปเพื่อเป็น “พุทธานุสสติ” เตือนให้รำลึกถึงพระพุทธคุณ คอยห้ามใจจากความชั่ว ปลุกใจให้ทำความดี ขณะมอบให้ พระท่านก็กล่าวสอนธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าด้วย อย่างนี้ถือว่าใช้เครื่องรางของขลังเป็น “สื่อ” จูงคนเข้าสู่ร่มเงาแห่งพุทธธรรม ไม่เสียหาย เป็นสิ่งควรทำเสียด้วยซ้ำ

แต่ถ้ามอบเหรียญมอบพระให้ พลางพรรณนาสรรพคุณว่า เก็บไว้ให้ดีๆ พระองค์นี้ศักดิ์สิทธิ์ คงกระพัน ยิงไม่ออกฟันไม่เข้า เมื่อวานนี้เด็กหนุ่มคนหนึ่งเข้าไปปล้นร้านทอง ถูกตำรวจยิงหลายนัดจนเสื้อขาดเป็นรูแต่กระสุนไม่ระคายผิวหนังเลย รอดมาได้อย่างปาฏิหาริย์ อย่างนี้ละก็ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง ตัวอย่างที่ยกมานั้นแลไม่พรรณานาความขลังของพระอย่างเดียว แถมยังสนับสนุนให้ทำชั่วทุจริตโดยไม่รู้ตัว อย่างนี้ถึงจะไม่ถึงขั้นปาราชิกอะไร ก็ไม่ควรให้อยู่ในผ้าเหลืองต่อไป เพราะจะเป็นอันตรายแก่พระพุทธศาสนาโดยส่วนรวม

ก่อนจบ ขอยกตัวอย่างจริงสักเรื่อง มีชายคนหนึ่งได้เหรียญหลวงพ่อคูณไปแล้ว รถคว่ำเกือบตายไปต่อว่าหลวงพ่อคูณเจ้าของเหรียญว่า ทำไมหลวงพ่อไม่ช่วย รถคว่ำเกือบตาย

หลวงพ่อถามว่า “มึงขับเร็วเท่าไร”

“ร้อยสามสิบ-ร้อยสี่สอบครับ” ชายคนนั้นตอบ

หลวงพ่อคุณกล่าวทันทีว่า “โอ๊ย แค่ร่อยเดียว กูก็กระโดดรถหนีแล่ว กูไม่อยู่ช่วยมึงหรอก”


ฟังดูเป็นเรื่องฮิวเมอร์ แต่นี้แหละครับคือตัวอย่างของการให้เครื่องรางของขลังไปใช้ในทางที่ถูก คือพระจะขลังจริง ก็ต่อเมื่อไม่ประมาท ถ้าขับรถประมาท ขับเร็วเกินกำหนด ต่อให้พระขลังอย่างไรก็ช่วยไม่ได้ อยากแจกก็แจกเถอะครับ พระหรือเหรียญอะไรต่างๆ แต่ต้องแจกเพื่อให้เป็น “สื่อสอนธรรม” คือต้องบอกผู้รับว่า ได้พระได้เหรียญไปแล้ว เอ็งต้องไม่ประมาท หมั่นทำแต่ความดี แล้วพระจะคุ้มครอง

ที่มา http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=6607
22100  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำไมทำทานมามากมาย ก็ไม่บรรลุมรรคผลเสียที เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 11:51:34 am


ทำไมทำทานมามากมายก็ไม่บรรลุมรรคผลเสียที

เช้านี้ผมมีโอกาสได้ฟังธรรมจากท่านจิตโต(พระอาจารย์สมปอง) ช่วยทำให้คลายข้อสงสัยว่า ทำไมทั้งที่เราเวียนว่ายตายเกิด ได้มีโอกาสทำทานใหญ่ๆมานับชาติไม่ถ้วน แต่ทำไมผลของทานยังไม่สามารถช่วยให้เราบรรลุธรรมได้ มีอะไรที่เราควรทำแต่ยังไม่ได้ทำหรือ ผมจึงสรุปมาให้เพื่อนๆได้มีโอกาสอ่านทบทวนครับ หากมีอะไรผิดพลาดขออภัยในความรู้อันน้อยของผมด้วย

สาเหตุหลักคือขณะที่เราตัดสินใจทำทานนั้น เราทำด้วยกำลังใจที่ยังไม่เต็ม(ทานบารมียังบกพร่อง) เพราะรีบทำเกินไปขณะที่จิตยังไม่ได้ทบทวนศีล(ขาดศีลบารมี) ทำให้จิตไม่สงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ(เนกขัมมะบารมี) นิวรณ์จึงยังกวนใจให้ฟุ้งซ่านอยู่ ผลก็คือ

-->จิตยังไม่ได้ถามตัวเองว่าทำทานครั้งนี้เพื่ออะไร จิตจึงยังไม่เกิดปัญญา ที่จะเห็นประโยชน์สูงสุดของการทำทานครั้งนั้นๆว่าชีวิตนี้ไม่เที่ยงควรรีบทำความดี สละของที่แท้จริงมิใช่ของเรา ให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมเถอะ จะได้หมดห่วง ตายเมื่อไรก็ไปพระนิพพานไม่มีอะไรคาใจอีก ของที่ตัดสินใจให้จะถึงผู้รับหรือไม่อย่างไรก็ไม่กังวลแล้ว(ขาดปัญญา เมตตา อุเบกขาบารมี)จึงทำให้

-->จิตขาดการตั้งความปรารถนาอันแรงกล้าที่จะทำทาน(ขาดอธิษฐานบารมี) เพื่อให้เป็นผลตามปัญญาที่เล็งเห็นจึงทำให้

-->ขาดความเพียร(ขาดวิริยะบารมี),ไม่อดทน(ขาดขันติบารมี) ที่จะทำทานให้สำเร็จเสร็จสิ้นจึงทำให้

-->มักจะเสียสัจจะในการทำทานให้สำเร็จ(ขาดสัจจะบารมี) ล้มเลิกแผนงานกลางคัน หรือไม่ก็ทำไปแล้วยังเกิดรู้สึกเสียดายทีหลัง จิตยังติดกับของที่ให้ไป(ขาดอุเบกขาบารมี)
 


สรุปก็คือ ด้วยความรีบร้อนรีบตัดสินใจทำทานเกินไปในขณะที่ศีลและสมาธิยังไม่ทรงตัว จิตจึงยังไม่ได้ใคร่ครวญจนเกิดปัญญาว่าทำไปเพื่อประโยชน์อะไร ทำให้การทำทานแต่ละครั้งที่เราทำมานับครั้งนับชาติไม่ถ้วนไม่ได้สะสมให้ปัญญาบารมีและบารมีด้านอื่นๆเต็ม ผลที่ต้องการคือการบรรลุธรรม จบกิจในพระศาสนาจึงเกิดขึ้นไม่ได้เพราะเราสร้างเหตุไม่ครบ(บารมี10เราไม่เต็ม)

การที่บารมีเราไม่เต็มจึงไม่ได้เกิดจากเราให้น้อย แต่เกิดจากเราให้โดยไม่มีปัญญาไม่คิดให้แจ้งแทงให้ทะลุ อย่างนี้ต่อให้เราให้ไปจนหมดตัว หรือให้ทานไปอีกกี่ร้อยชาติก็ไม่บรรลุ วิธีแก้ไขคือต้องมีวินัยฝึกวางอารมณ์ใจก่อนให้ทาน

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้อาจจะไม่ตรงเป๊ะกับที่พระอาจารย์ท่านสอน และยังมีเนื้อหาดีๆที่ท่านสอนอีกมากที่ผมจำได้ไม่หมด จึงแนะนำให้เข้าฟังไฟล์เสียงที่ดีมากของพระอาจารย์ได้ที่ http://tamma.homeip.net/


ธรรมะท่านจิตโต
01-มกราคม พ.ศ.2548


ที่มา http://board.palungjit.com/f14/ทำไมทำทานมามากมายก็ไม่บรรลุมรรคผลเสียที-127816.html
22101  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ปรมัตถ์ ถิ่นกาขาว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 11, 2011, 11:42:33 am
ปรมัตถ์ ถิ่นกาขาว

พุทธพยากรณ์
พระพุทธเจ้าตรัสไว้ถึงเหตุปัจจัยที่เวไนย์สัตว์ ได้สดับสัทธรรมในกาลสุดท้าย
ในวัชรปรัชญาปารมิตาสูตรว่า.......พระสุภูติผู้มีอายุได้กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ยังจักมีสัตว์ใดได้สดับ พระธรรมบรรยายฉะนี้แล้ว 
แลบังเกิดศรัทธาอันแท้จริงนั้นหรือหนอ......"
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแก่พระสุภูติว่า "อย่ากล่าวอย่างนั้นซิ  สุภูติ............ 

เมื่อตถาคตดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว  500  ปี  หากมีบุคคลผู้ถือศีล  บำเพ็ญกุศลมา
บังเกิดความศรัทธาอันแท้จริงในพระธรรมบรรยายนี้  และเขาจักถือเป็นความจริงไซร้
เธอพึงสำเนียกไว้เถอะว่า.............

 
บุคคลนั้นหาได้ปลูกฝังกุศลเพียงในพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่ง  หรือพระพุทธเจ้าสองพระองค์  สามพระองค์  สี่พระองค์  ห้าพระองค์ไม่  แต่ว่าเขาได้ปลูกฝังกุศลมูลในพระพุทธเจ้า
นับด้วยพันเป็นเอนก  จักนับประมาณพระองค์มิได้ บุคคลใดได้สดับพระธรรมบรรยายนี้ 
บังเกิดศรัทธาอันบริสุทธิ์  แม้เพียงชั่วขณะหนึ่งเดียว  สุภูติ....   

ตถาคตย่อมรู้อยู่  ย่อมเห็นอยู่ในเขาเหล่านั้น  สัตว์ทั้งหลายนี้ได้บรรลุกุศลอันจักประมาณมิได้เลย....."

ในวรรคที่หกของวัชรปรัชญาปารมิตาสูตร  กล่าวถึง  หลังจากที่พระสุภูติได้รู้แจ้งว่า 
ธรรมอันมีรูปลักษณะทั้งปวงเป็นมายาแล้ว  ด้วยเมตตาจิต  คิดถึงเวไนย์สัตว์ทั้งหลายในอนาคต 
จึงกราบทูลถามต่อพระผู้มีพระภาคว่า

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ...............  หากผู้ใดถึงพร้อมด้วยเหตุปัจจัยแห่งกุศลมูล 
เมื่อได้สดับพระสัทธรรม  เขาสามารถรับไว้ปฏิบัติโดยจิตจะไม่คิดเรรวน  ฉะนั้นหรือ"


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบแก่พระสุภูติว่า

"เธอมิต้องสงสัย  แม้ปริยัติธรรมจะลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ

แต่ภายหน้าในธรรมกาลยุคสุดท้าย  คือหลังจากตถาคตปรินิพพานแล้วสองพันห้าร้อยปี  ระหว่างนั้นจะมีผู้ที่ถือศีล บำเพ็ญกุศลเกิดขึ้นมากมาย  เมื่อนั้นแหละสัทธรรมจะได้เจิดจรัส  โปรดสัตว์ทั่วไปอีกครั้ง
 
ผู้บำเพ็ญกุศลทั้งหลาย  จะบังเกิดศรัทธาอันแท้จริงทั่วกัน  เมื่อได้สดับพระสัทธรรม  แต่เธอพึงรู้เถิดว่า.........บุคคลเหล่านั้นที่บังเกิดศรัทธาอันแท้จริง มิใช่เหตุปัจจัยอันบังเอิญ  แต่ด้วยกุศลอันปลูกฝังมาช้านาน ซึ่งมิใช่เพียงชาติเดียว  สองชาติ  หรือสาม  สี่  ห้าชาติ แต่ด้วยปลูกฝังกุศลมูลมากมายนับพันหมื่นชาติ อันประมาณมิได้แล้ว  ดังนั้นเมื่อได้สดับพระสัทธรรมจึงไม่เกิดความลังเลสงสัย  ไม่สับสน  บำเพ็ญทาน  โดยไม่ยึดถือและทั่วไป
 

สุภูติ......  วันนี้พระตถาคตเห็นด้วยจักษุทั้งห้า (มังสจักษุ,ทิพยจักษุ,ปัญญาจักษุ,ธรรมจักษุและพุทธจักษุ) ในอนาคตกาลห้าร้อยปีภายหลัง  (กึ่งพุทธกาลหลัง)  คนทั้งหลายได้สัทธรรมเช่นนี้
ต่างบำเพ็ญกุศลธรรม  คุณานิสงส์ที่เขาทั้งหลายจักได้รับ จากการบำเพ็ญมิอาจประมาณได้เลย  ดุจอากาศกว้าง ทั้งสิบทิศอันพึงคำนวณประมาณมิได้"

"ด้วยเหตุอันใดฤา  เหตุด้วยเขาเหล่านั้น รู้แจ้งในต้นกำเนิดแห่งสรรพสิ่ง  และเหตุดังนี้ 
จึงบังเกิดศรัทธาอันแท้จริงอันบริบูรณ์ต่อสัทธรรม ยิ่งบำราบจิต  มิให้ยึดถือผูกพันในสภาวะใดด้วยเหตุนี้เขาจักรู้แจ้งในหลักธรรมแท้แห่งมหายาน และจักได้คุณานิสงส์อันประมาณมิได้ ดุจอากาศกว้างทั้งสิบทิศ  ............"


หลังจากพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว คำพยากรณ์เหล่านี้แบ่งช่วงแสดงให้เห็นกำหนดที่ศาสนาจะเฟื่องฟูและเสื่อมลง  ช่วงละ  500  ปี หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่า  มั่นคงทั้งห้า  ดังนี้

มั่นคงทั้งห้า 


1.วิมุติมั่นคง  500  ปีหลังพระปรินิพพาน สัทธรรมเฟื่องฟู  ผู้คนมากด้วยกุศลมูล 
มั่นคงในศรัทธา  และบรรลุแจ้งด้วยปัญญาปรมัตถ์กันมาก ฉะนั้นผู้หลุดพ้นจึงมีมาก 
(ตั้งแต่ พ.ศ. 1 - 500 )


2.ฌานมั่นคง  500  ปีที่สองหลังพุทธกาล กุศลมูลของผู้คนด้อยลง  การบำเพ็ญจึงหยุดอยู่ที่การฝึกฌาน ฉะนั้นผู้มี่ฝึกสมาธิวิปัสสนาจึงมีมาก  (จาก พ.ศ. 500 - 1000)

3.สวนะมั่นคง  500  ปีที่สาม  กุศลมูลของผู้คนด้อยลงกว่าเดิมอีก 
ผู้บำเพ็ญธรรมรู้จักแต่หลักธรรม  มากด้วยการค้นหาเหตุผล  แต่น้อยคนที่จะปฏิบัติจริง 
ฉะนั้นจึงมีผู้สดับธรรมสวนะกันมาก  (จาก พ.ศ. 1000 - 1500 )


4.วัดวาอารามมั่นคง  500  ปีที่สี่  ช่วงนี้แม้คนที่ออกบวช  ก็ไม่ยินดีในธรรมสวนะ 
รู้แต่จะสร้างวัด  สร้างเจดีย์  เสนาสนะ  เพื่อเชิดชูทัศนวิสัย  หรือเพื่อสถานบำเพ็ญอยู่พักสบาย
ในเพศบรรชิตแห่งตน  (จาก  พ.ศ. 1500 - 2000 )


5.ขัดแย้งมั่นคง  500  ปีที่ห้า  ช่วงนี้พุทธศาสนาเสื่อมลง  ผู้บำเพ็ญต่างละทิ้งไตรสิกขา 
แต่กลับขัดแย้งชิงดีกัน  สูญสิ้นพุทธวิสัย  ทำตัวนอกลู่นอกทาง  ประพฤติผิดหลักธรรม
จนเป็นที่ว่า  ทำดีมีที่ไหน  ทำชั่วได้ดีมีถมไป  (จาก พ.ศ.  2000 - 2500 )


ครั้นหนึ่งพระอานนท์ได้ฝันเห็นสิงโตใหญ่ตัวหนึ่งล้มตายลง และพลันก็เกิดหนอนชอนไชไปทั่วตัว  พระอานนท์จึงกราบทูลถามความฝันนี้ต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า  พระพทุธองค์ทรงถอนพระทัย 
แล้วตรัสตอบแก่พระอานนท์ว่า"ภายหน้าพระพุทธศาสนาจะถูกทำลายลง  จากบุคคลภายใน"
 
ดังนั้นในยุคที่ห้านี้ ศาสนามากลัทธิ  ต่างชิงดีชิงเด่น  เกิดการขัดแย้งกันมากมาย
ต่างแย่งซึ่งลาภสักการะ  ผลประโยชน์กัน  ทั้งที่ลับและที่แจ้ง

"ห้าร้อยปีภายหลัง"  หมายถึงกำหนดกาลสุดท้าย  ในบัดนี้สองพันห้าร้อยกว่าปี 
หลังจากที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานแล้ว  เป็นวาระที่สัทธรรมเวียนกลับมารุ่งโรจน์อีกครั้งหนึ่ง 
วงล้อธรรมกลับคืนสู่ยุคห้าร้อยปีแรก คือ  วิมุติมั่นคง ซึ่งเป็นยุคปัจจุบันแห่งการโปรดสรรพสัตว์ทั่วสามภพ

 
การนับยุคห้าร้อยปีหลังนี้  แท้ที่จริงเริ่มนับตั้งแต่  พ.ศ.  2475 เมื่อองค์พระศรีอาริยเมตไตรย์ขึ้นมาเป็น ประธานโปรดสรรพสัตว์ทั่วสามภพ  (Transmigrations) จึงเป็นวาระนับเข้าสู่ยุคขาว  พระองค์เข้ามาช่วยสืบศาสนจักร ให้ตลอดจวบสิ้นพุทธกาลแห่งองค์พระสมณโคดมพุทธเจ้า

กาลครั้งนี้องค์ต้นธาตุต้นธรรมได้โปรด ให้พระมหามุนีเจ้าลงมาเกิด เพื่อดับดาวสงคราม  สร้างดาวสันติ  มาเกิดเป็น
           

พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ)

ให้ปรมัตถ์แห่ง "วิมุติมั่นคง"  คืนสู่แผ่นดินสุวัณณภูมิ ที่เป็นแผ่นดินสืบศาสนจักร  อาณาจักร  มรรคผล  นิพพาน ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว  โดยให้........

1.  หลวงปู่มั่น  ภูริทัตโต  เป็นผู้"มั่น"ในพระสัทธรรมคืนสู่ศาสนจักร
(กำหนดกาล  100  ปี  มารขอไว้  20  ปี จึงดับขันธ์เมื่ออายุ  79 ปี  10 เดือน )

     


2.  หลวงพ่อคง  จตฺตมโล  ถ้ำอรหันต์  เขาสมโภชน์  ลพบุรี
     


เป็นผู้"คง"ศาสนจักรไว้ มีหน้าที่เปิดโลกและเปิดกรรมแห่งศาสนจักร  อาณาจักร  ออกให้หมด

(ด้วยบุญบารมีเก่าที่เคยเป็นพระร่วง  ผู้รจนาคัมภีร์ไตรภูมิกถา ไว้สั่งสอนปวงชนมาก่อน  ลงจุติแสดงธรรมะเปิดโลกแก่พุทธบริษัท โดยอาราธนาพระพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ  และอริยสังฆานุภาพมาเป็นอำนาจเปิดโลก  เพื่อให้พุทธบริษัททั้งหลายเข้าใจแจ้ง เรื่องกรรมและกลไกของกรรมโดยถ่องแท้  ด้วยกรรมฐานธรรมะเปิดโลก  กำหนดกาล  100  ปี แต่มารขอไว้  20  ปี  จึงดับขันธ์เมื่ออายุ  80  ปี  9 เดือน 3 วัน )

ทั้งนี้เพื่อการฟี้นฟูศีลธรรม พระสัทธรรมที่ถูกมรรคถูกผล ที่จะมีขึ้นในยุคห้าร้อยปีหลังนี้ และบัดนี้กาลต่าง ๆ ก็ได้เคลื่อนรัตนจักรอันประเสริฐ เข้าสู่ยุคห้าร้อยปีหลัง  คือ  กึ่งพุทธกาลหลัง   
         
สู่ยุคพระอริยภูมิ
จะกล่าวถึง  พระสาวกภูมิ  และ  พระอริยภูมิ  พระสาวกภูมินั้นต้องเรียนเอา  ตามคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า  แล้วเอาไปปฏิบัติตาม  เมื่อสำเร็จมรรคผลเป็นพระโสดาบันถึงพระอรหันต์  จึงเรียกว่าพระสงฆ์  สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า  ทุกวันนี้สิ้นปี  พ.ศ.  2500  ก็หมดเขตสาวกภูมิแล้ว  ถึงแม้จะเรียนรู้พระไตรปิฎกสักร้อยครั้งพันครั้ง  แต่ก็ไม่อาจบรรลุธรรมไปได้  เพราะพระพุทธโคดมท่านได้กำหนดไว้เพียงแค่นี้ เหล่าพุทธบริษัทที่เหลืออยู่  ก็ต้องหวนกลับมาสร้างบารมีกันต่อไปอีก  จนกว่าบารมีจะเต็มจึงหลุดพ้นจากวัฏฏสงสารได้ 

ส่วนพระอริยภูมินั้น  ท่านบำเพ็ญบารมีมาสำเร็จของท่านเอง  ด้วยบารมีของตัวเอง  มิได้ไปเรียนรู้ของใครมา  จึงเรียกว่าพระอริยภูมิ  เป็นพระสงฆ์เหมือนกัน  พระสาวกภูมิก็ดี  พระอริยภูมิก็ดี  เมื่อบรรลุธรรมชั้นสูงแล้ว  ก็เข้าไปสู่จุดหมายเดียวกันคือพระนิพพาน  ต่างกันที่สร้างบารมีมา  ปรารถนามาไม่เหมือนกัน  พระสาวกภูมิปรารถนารู้ธรรมตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า 

ส่วนพระอริยภูมิภูมินั้น..............ปรารถนารู้เอง  เห็นเอง  เหมือนพระปัจเจกพุทธเจ้า  และยุคต่อไปนี้  เป็นเขตอริยภูมิดังกล่าวคือ.......

เมื่อพระพุทธศาสนาผ่านมาถึง  2500  ปีไปแล้ว พระพุทธศาสนาก็ตกเป็นของยักษ์มาร  ตามที่ได้ขอไว้  เมื่อขอต่อแล้ว  เอาไปปฏิบัติรักษาไม่ได้  เพราะพวกเหล่านี้บารมีไม่เพียงพอ  จึงไม่รู้แจ้งในข้อวัตรปฏิบัติ  คุณของพระศาสนาก็เลยถูกปกปิด  และเสื่อมไปเหลือเพียงแต่ค่าเหล่าเกจิคณาจารย์ต่าง ๆ ไม่ยอมปลุกเสกตัวเอง 

จึงไม่ถึงอริยศีล  อริยธรรม  คุ้มครอง  หันไปปลุกเสกวัตถุมงคล  สะเดาะเคราะห์ต่อชะตา   ประชาชนพลโลกถูกปกคลุมด้วยความโลภความหลง  ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก  ไม่รู้ว่าจะหันหน้าไปเดินไปทางไหน  ไม่รู้ว่าจะเชื่อสิ่งไหนดี  ผู้คนทุกวันนี้  จึงไม่เชื่อมั่นในตัวเอง  ไม่เชื่อตัวเอง  ทั้งที่ความเป็นจริง  ตัวตนของบุคคลต่าง ๆ เหล่านั้น  มีค่ามีคุณสูงยิ่งกว่าวัตถุมงคลใด ๆ  ถ้ามีศีลธรรมอยู่ในใจ  สุดล้ำเลิศประเสริฐยิ่งเหนือกว่าวัตถุมงคลใด ๆ ทั้งหลายทั้งปวง 

แต่มาบัดนี้....พุทธบริษัทส่วนมากได้ไปหลงวัตถุนอกกายเสียแล้ว  ก็แบ่งแยกเป็นพวกใครพวกมัน  นิกายใครนิกายมัน  ไม่รวมเป็นหนึ่งเดียวกันเสียแล้ว เนื่องจากถึงกาลเปิดกรรมแห่งศาสนจักรออกไปแล้ว  ตามโองการนวกาพรหม  นามแม่กาเผือกที่ได้ทำมาจนบัดนี้เพื่อเอาพระศาสนามาคืนเจ้าของเดิม  กรรมที่พระโคดมได้เปลี่ยนเอาดอกบัวพระศรีอาริย์ให้ขาดจากกัน 

แม้พระพุทธโคดมได้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน  แต่กรรมตกอยู่กับพระศาสนาของท่าน  เพราะเมื่อเอาบัวบารมีของพระศรีอาริย์มา  คือการเอาผู้คนของวงศ์สิงห์มาด้วย  วงศ์สิงห์เป็นสัตว์ดุร้าย  อยู่ด้วยกาเบียดเบียนเข่นฆ่า  สัตว์ใหญ่กินสัตว์เล็ก  พระโคจึงต้องไปถือปฏิสนธิในป่า  ทั้ง ๆ ที่เป็นหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์  เมื่อเอาผู้คนเขามา  จึงต้องตั้งกติกาการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด  ศีลมีจำนวนมากข้อ  ต้องถือเพศพรหมจรรย์  จึงจะพาผู้คนเหล่านี้ขึ้นสู่ฝั่งได้
 
เพราะหัวหน้าเผ่าท้าวพญายุคท่านชอบตีชิงเบียดเบียนเขา  ประเทศใหญ่รังแกประเทศเล็ก  ทั้งนี้ก็เป็นไปตามสัญชาติแห่งสิงห์  ผู้เป็นจ้าวป่า  เอาชีวิตสัตว์เล็กกว่าเป็นอาหาร 
      
ครั้นเมื่อพระอริยสาวกของพระพุทธโคดม  คือพระมหามุนีเจ้าลงมาเป็นผู้สะสางธาตุธรรมคืนสู่ความถูกต้อง  ให้กรรมของพระโคดมกับพระศรีอาริย์ขาดจากกัน  โดยท่านมาเป็นทนายแก้ต่างให้กับพระศาสนาเสร็จสิ้นแล้ว  ส่วนที่ยังหลงเหลืออยู่องค์อริยสาวกได้  ชดใช้กรรมให้พวกพราหมณ์และยักษ์มารแทนพระโคดม  คือยอมให้พวกพราหมณ์ทำพิธีกรรมต่าง ๆ  และต้องยอมให้พวกยักษ์เอาชื่อท่านไปหาเงินและขายกิน 

กรรมนี้จึงสิ้นสุดเพียงสาวกของท่านเพียงเท่านี้  สิ่งเหล่านี้หรือกรรมเหล่านี้ได้เปิดออกหมดบอกแจ้งเหตุ  สะสางคืนสู่ความถูกต้อง  กรรมเหล่านี้จะไม่มีขึ้นกับพระศรีอย่างเด็ดขาดในทางธรรมทางพระศาสนา

ส่วนทางโลกนั้นเมื่อหมดยุคของพระโคดมกึ่งพุทธกาล  คุณพระศาสนาก็หมดตาม  ความร่มเย็นเป็นสุขทุกอย่างก็สิ้นสุดลงเช่นกัน  เหลือแต่กรรม  กรรมของศาสนจักร  อาณาจักร  พุทธจักรและกรรมก็ก่อผลที่ได้เกิดขึ้นแล้วทุกวันนี้  ก็จะต้องเอากรรมนั้นมาถวายคืนบ้านเมืองในเขตศาสนา  ต้องมานับหนึ่งใหม่  แล้วผู้นำและหัวหน้าท้าวพญาทั้งหลาย  ที่อยู่ในเขตศาสนา  ก็ต้องมาขอกาใหม่


กาเก่านั้นเป็นของยักษ์  มาร  เป็นกาเมา  กาเม
ไม่ใช่กาชาด         ปรมัตถ์ของพระกกุสันโธพุทธเจ้า 
กาตั้ง                  ปรมัตถ์ของพระโกนาคมโนพุทธเจ้า
กาสั่ง                  ปรมัตถ์ของพระกัสสปะพุทธเจ้า
กาสอนและกาขาว  ปรมัตถ์ของพระพุทธโคดมพุทธเจ้า
แล้วจึงเป็นกาศิต    ปรมัตถ์ของพระศรีอาริยเมตไตรย์


เพราะศาสนจักรพระโคดมแบ่งเป็นสองยุค  กาสอนเป็นพระสาวกภูมิ  และกาขาวคือพระอริยภูมิ เมื่อกาลเวลามาถึงกึ่งพุทธกาล  ก็ต้องมาขอกาใหม่ไปตั้งเป็น  กาขาว   เพื่อขึ้นสู่ยุคถิ่นกาขาว  ถูกต้องเที่ยงตรงและเที่ยงธรรม บ้านเมืองถึงจะร่มเย็นเป็นสุข  ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง  ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล  ความรัดเอาเปรียบกันก็จะมีน้อย 

ปริศนาธรรมต่าง ๆ  ทั้งหลายนั้นได้เปิดให้โลกรู้  พุทธบริษัทก็รู้ตามความเป็นจริง  บาปกรรมก็เปิดให้รู้  บุญกรรมก็เปิดให้รู้  ใครทำกรรมดีสร้างเวรชั่ว  เมื่อมานั่งปฏิบัติก็จะรู้จะเห็นเอง  เชื่อตัวเองเป็นสันทิฐิโก  เป็นปัจจัตตัง  อันผู้รู้ผู้ปฏิบัติพึงรู้ได้เฉพาะตน  ทุกสิ่งทุกอย่างจะปิดบังไม่ได้อีก 

โองการนวกาพรหม  “นามแม่กาเผือก” 
ได้เปิดให้รู้มาตั้งแต่ศาสนาพระกกุสันโธองค์ต้นภัทรกัป 
ปริศนาธรรมต่าง ๆ...............  ของพระพุทธเจ้าทั้งสี่พระองค์นั้นเปิดให้รู้ให้เห็น 

ส่วนปัญหาศาสนจักรของพระโคดมที่มากมายในกึ่งพุทธกาลนี้  เต็มไปด้วยกลิ่นมาร  ถึงวาระสะสางเข้าสู่ยุคพระอริยภูมิ  จึงมีโองการให้ไปเอาปรมัตถ์แห่งนาม  “ถิ่นกาขาว” 

เพื่อพลิกแผ่นดินให้กลิ่นใหม่  ลบกลิ่นมารที่เต็มไปทั่วศาสนจักรออก  ให้สดใสไปด้วยกลิ่นศีลธรรม  ไม่หลงกลิ่นมาร
 
พระพุทธศาสนาทุกวันนี้ต่างก็ได้แยกเหล่าแยกนิกาย  แยกสายไปทั่ว  ดังที่เรารู้กันอยู่ทุกวันนี้  สายบุญนั้น  สายบุญนี้  มีมากมายหลายสาย  จนไม่รู้ว่าจะเดินไปสายไหน  ไม่รู้ว่าทางสายไหนเป็นทางสายกลาง  ถูกมรรคถูกผล  ถูกนิพพาน  ในฝ่ายสัมมาทิฐิแต่ส่วนเดียว  ซึ่งก็เป็นไปตามเรื่องของพงศ์เผ่าเหล่ากอ  ที่ไม่ดูความเป็นจริงของธรรมชาติ 


มันถึงเวลาแล้วที่สายการปฏิบัติต่าง ๆ   จะต้องรวมเป็นสายเดียวกัน  คือทำดีต้องได้ดี  ทำชั่วต้องได้ชั่ว  ตามกฎแห่งกรรม  เช่นเดียวกับแม่น้ำปิง  วัง  ยม  น่าน  ไหลมารวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา  แล้วแม่น้ำเจ้าพระยาจึงไหลลงสู่ท้องทะเล  รวมเป็นหนึ่งเดียวกัน  ธรรมชาติได้บอกสอนเอาไว้ให้รู้ให้เห็นเป็นอย่างนี้  โลกนั้นต้องอาศัยธรรม  ธรรมนั้นต้องไม่ขัดกับโลก  มีอยู่แต่ผู้อยู่ในโลกเท่านั้นที่ขัดกับธรรม..........

มาบัดนี้ถึงกาลเคลื่อนรัตนจักรเข้าสู่ถิ่นกาขาว เพื่อเข้าสู่ยุคพระอริยภูมิต่อไป

ที่มา  http://www.navagaprom.com/oldsite/job.php?id=1&db=job
22102  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / รอยประวัติ "สมเด็จโต" จากวัตถุพยานที่ปรากฏ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 10:17:52 am
พระราชประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี

            เพื่อการศึกษา ประวัติ และผลงานของสมเด็จพระพ่อเจ้าโต พรหมรังสี ทาง Web Site  somdejto.com  ตระหนักในความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง  จึงขอจัดให้สมาชิก Web และผู้เข้าเยี่ยมชมได้ศึกษา ประวัติและผลงาน จากหลักฐาน แผ่นจารึก ทองคำ, เงิน, ทองเหลือง, ดีบุก, พระแผ่น, พระเครื่องชนิดผง, พระแผ่นหิน และแม่พิมพ์พระประเภทต่างๆ จำนวน ๓,๐๐๐ กว่าแม่พิมพ์ พอเป็นสังเขป (ไม่ใช่เขาเล่า หรือ ท่านเล่ามา) ดังต่อไปนี้ :-

                เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๓๑ เป็นวันพระขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๕ ปีวอก เวลา ๗ โมงเช้าตรง ประชาชนชาวพุทธและคนของเมืองสยาม ได้รองรับพระมหาบารมี ของพระมหาโพธิสัตว์เจ้า     ผู้ยิ่งใหญ่  “ศรีอริยเมตตรัยเจ้า”  โดยไม่มีใคร ท่านผู้ใดได้รับรู้ หรือคาดคิดมาก่อนว่า พระมหาโพธิสัตว์เจ้าฯ พระองค์นี้ จะมาอุบัติขึ้นเพื่องานพระพุทธศาสนา ในประเทศสยามในขณะนั้น และทรงพระนามว่า โต
 
                จากวันนั้น ถึงวันนี้ เป็น  ระยะเวลา ๒๒๒ ปี พระนามของพระองค์ ยังโด่งดังกึกก้องอุโฆษ (เสมือนพระองค์ยังมีพระชนม์ชีพอยู่)  ...เป็นเพราะลูกหลาน-บริวาร ทั่วทุกหนทุกแห่ง ทั้งในประเทศสยามและ ทั่วทุกมุมของโลก... ยังคงเรียกหา กราบไหว้ วิงวอนขอพร ขอบารมีจากพระองค์ ตลอดเวลา ทั้งเช้า-สาย-บ่าย-ค่ำ-ดึกดื่น ตลอดจนรุ่งแจ้ง ซึ่งพระนามของพระองค์ ตั้งมั่นอยู่มิได้จางหายไปจากใจ... ของลูกหลาน-บริวารเลยแม้แต่น้อย... เพราะพระองค์ประทานพรให้ได้จริง ขจัดทุกข์ให้ได้จริง... นั่นเอง...

                พระมารดาเป็นสามัญชน ผู้เพียบพร้อมไปด้วย เบญจกัลยาณี ทรงพระนามว่า “เกสรคำ” ประกอบอาชีพ ทำไร่ ทำนา ในท้องทุ่ง ณ เมืองกำแพงเพชร พระบิดานั้น ทรงเป็นทหารหาญ ผู้แกร่งกล้า ในตระกูลกษัตริย์ ทรงเป็นผู้มีสติปัญญาอันปราดเปรื่อง ทรงปรีชาสามารถเด็ดเดี่ยวและเด็ดขาด ในการทำศึกสงคราม และในที่สุดได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติ เป็น “รัชกาลที่ ๒”  (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)

                สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่ธรรมดา ผู้ที่สนใจศึกษาพระราชประวัติ และผลงานของพระองค์ท่าน ต้องทำใจให้กว้าง และใช้ปัญญาให้มาก เพื่อที่จะเปิดสมอง รับข้อมูลต่างๆ ที่เป็นหลักฐานที่ชัดเจน และ นำมาวิเคราะห์พิจารณาเพื่อหาข้อสรุปด้วยตัวเองแล้วจึงค่อยเชื่อ สำหรับข้าพเจ้า ได้สวดมนต์ไหว้พระ ทำสมาธิมากว่า ๓๖ ปี ได้วิเคราะห์จากหลักฐานจำนวนมาก (ไม่ใช่เขาเล่า) ได้พิจารณาอย่างละเอียดชัดเจนแล้ว ขอสรุปว่า

 “... สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ประสูติมาเพื่อการพระศาสนาอย่างแท้จริง และทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ไม่ธรรมดา... ” ทรงได้ฌาน ๔ อภิญญา ๖ สมาบัติ ๘ ได้ โสฬสญาณ ขั้นสัมภิทาญาณ สามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้ จุดเทียนเดินลงในน้ำได้ โดยจีวรไม่เปียก และเทียนไม่ดับ (เมื่อขึ้นมาจากน้ำ) สำเร็จ วิชา   “ เทียนระเบิดน้ำ ” ทรงปลุกเสกพระและวัตถุมงคลที่ใจกลางทะเล หรือทรงเรียกว่า“ สะดือทะเล ” และ “ ลอยตัวในอากาศ ” (เอาศีรษะลง)

ทรงล่วงรู้เหตุการณ์ล่วงหน้าเป็นระยะเวลาร้อยๆ ปี ได้อย่างแม่นยำ ด้วยอานาคตังสญาณ ทรงสร้างวัตถุมงคลเอาไว้หลากหลายรูปแบบ พระอิริยาบถ นั่ง ยืน เดิน นอน ทั้งพระเครื่อง พระพุทธรูป ปางต่างๆ พระรูปเหมือน เหรียญ พระศาสตราวุธ เทวรูป พระบรมรูปบูรพกษัตราธิราช สิ่งของเบ็ดเตล็ดต่างๆ อีกมากมาย ล้วนสวยงามวิจิตรบรรจง ฝีมือการสร้างประณีต ละเอียดลออ สวยงาม ทั้งรูปลักษณ์และลวดลาย เสด็จธุดงค์ที่ไหน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ก็สร้างวัตถุมงคลเอาไว้ที่นั่น

โดยทรงมีเป้าหมายชัดเจน สร้างเพื่อท่านผู้ใด สร้างเพื่อใคร ที่ไหน สร้างอย่างไร  ปลุกเสกอย่างไร กี่ครั้ง กี่หน จำนวนเท่าไหร่  ใช้อิทธิวัตถุมงคลอะไรบ้าง บรรจุไว้ที่ไหน จำนวนเท่าไหร่ ถวายท่านผู้ใด จำนวนเท่าไหร่ มอบให้ผู้ใด จำนวนเท่าไหร่ ทรงบันทึกไว้อย่างละเอียดน่าศึกษายิ่ง...

ในการสร้างวัตถุมงคลเหล่านั้น พระองค์ท่านมีเป้าหมายอย่างแท้จริงว่า ต้องการสร้างพระให้เป็นเครื่องผูกใจมนุษย์ ให้ทำดีละชั่ว ไม่ได้มุ่งให้มนุษย์ติดอยู่ในวัตถุ ให้มุ่งสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติธรรม ตามมรรค ๘ ซึ่งทรงบันทึกไว้ในแผ่นจารึก (ถ้ำ ๑๒ คูหา)

นอกจากนี้สิ่งที่สำคัญยิ่งต่อพุทธศาสนิกชน คือ “ พระคาถาชินบัญชร ” ที่ทรงดัดแปลงจากภาษาสิงหล มาเป็นภาษามคธ-บาลี และทรงแปลเป็นภาษาไทย ทำให้ผู้ที่นำไปสวดท่องภาวนา จำได้ง่ายสะดวกขึ้น อีกทั้งยังเข้าใจความหมายของพระคาถาด้วย

พระปางกำแพงศอก ทรงจารพระคาถาชินบัญชร ภาษาไทยไว้ด้านหลัง
สร้างที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เมื่อ ร.ศ.๘๐ (พ.ศ.๒๔๐๕)

ตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ท่าน ได้ทรงกระทำภารกิจต่างๆ เพื่อการเจริญพระศาสนา (ตามหลักฐานที่พบในขณะนี้) จวบจนกระทั่งวาระสุดท้าย ของพระชนม์ชีพ

            สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงละกายเนื้อเมื่อเช้าตรู่ เวลา ๐๖.๐๐ น.  ในวันอาทิตย์ที่ ๑๙ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ ปีมะเมีย สิริพระชนมายุรวมได้ ๘๔ พรรษา กับ ๒ เดือนเศษ  ทรงเป็นพระภิกษุสงฆ์ ๕ แผ่นดิน (ทรงประสูติ และบรรพชาเป็นสามเณรในรัชสมัยของรัชกาลที่ ๑ ทรงละกายเนื้อ ในรัชสมัย รัชกาลที่ ๕) ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุฒาจารย์ องค์ที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์


๑.พระชนมายุ ๕ พรรษา ทรงบรรพชาเป็นสามเณร

ท่านกินอุทัย ไก่ป่า

แผ่นจารึก สร้างที่วัดพลับ(วัดราชสิทธาราม)ธนบุรี
โดย สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เมื่อ ร.ศ.๗๐ (พ.ศ.๒๓๓๒)
                 
               
          จากแผ่นจารึก ท่านกินอุทัย พญาไก่เถื่อน บันทึก และสร้างโดย สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน มีใจความว่า “ ไก่ตัวนี้ สุก ไก่เถื่อน เป็นผู้สร้าง ประสมทอง เงิน นาน (นาก) ปลุกเสก ๓ พรรษา พ.ศ. ๒๓๓๒ พอ พ.ศ. ๒๓๓๕ หัวโต วัดระฆังก็ขอไปเลี้ยง ”

          ซึ่งเป็นการยืนยันอย่างชัดแจ้งว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี (หัวโต) ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เมื่อพระชนมายุ ๕ พรรษา โดยมีสมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน เป็นพระอุปัชฌาย์  (ไม่ใช่พระชนมายุ ๑๒ พรรษา ดั่งที่ทราบกัน)


๒.พระชนมายุ ๗ พรรษา ทรงเริ่มเสด็จออกธุดงค์

         เมื่อพระชนมายุ ๗ พรรษา ทรงธุดงค์ไปยัง ถ้ำอิสีคูหาสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร และทรงพบพระคาถาชินบัญชร เขียนเป็นภาษาสิงหล บนใบลานเก่าที่ชำรุดมาก ทรงนำกลับมาเรียบเรียงเป็นภาษามคธ-บาลี เพื่อให้อ่านง่ายและเข้าใจ และได้แปลความหมายของพระคาถาอันศักดิ์สิทธิ์ มาเป็นร้อยแก้ว เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญและอานุภาพของพระคาถา ที่มีค่าท่วมหลังช้าง   สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้    ๑๐๘    ประการ  ด้วยการสวดท่อง และอธิษฐาน ให้ขจัดทุกข์ บำรุงสุขได้อย่างมหัศจรรย์   ผู้สวดท่องจะทราบทุกคน เพราะเป็น  ปัจจัตตัง และเป็นสมบัติตกทอดมาจนถึงทุกวันนี้

                ตลอดพระชนม์ชีพของ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงเสด็จธุดงค์ไปยังสถานที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อทรงมุ่งหวังในการเจริญพระศาสนา และโปรดลูกหลาน-บริวาร ให้พ้นจากกองทุกข์ ขจัดโรคภัยไข้เจ็บ ด้วยดวงจิตที่สะอาดบริสุทธิ์  อีกทั้งทรงสร้างวัตถุมงคล ต่างๆไว้ มากมาย ในช่วงระยะเวลาต่างๆ กัน เช่น

ในประเทศ         
    - วัดไตรคลองข่อย จ. ราชบุรี
    - ถ้ำ ๑๒ คูหา, ถ้ำป่ายางโดน, ถ้ำขุนแผน, ถ้ำดาวดึงส์, ถ้ำพระธาตุ ฯลฯ จ. กาญจนบุรี
    - เมืองลับแล จ. อุตรดิษถ์
    - เมืองศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 
    - ฯลฯ
ต่างประเทศ       
- ประเทศอินเดีย สร้างพระเชียงแสน, โปรดเจ้าชายตาบอด
- วัดเส้าหลิน, เมืองเทียนฟง ประเทศจีน ทรงสร้างวัตถุมงคลเป็นพระแผ่น
ทรงจารึก เป็นภาษาจีน และภาษาไทย สร้างกระโถนลายคราม เครื่องกังไส เป็นต้น
- ประเทศพม่า สร้างพระแผ่นเป็นรูปนางฟ้าไม่มีหน้าตา, โปรดยาเล่บ้านด่าน
- ประเทศลาว  สร้างพระรูปเหมือน รัชกาลที่ ๑ และพระรูปเหมือนนั่งโต๊ะ
- ประเทศเขมร  สร้างพระรูปเหมือน รัชกาลที่ ๒

         
๓.พระชนมายุ ๙ พรรษา พระอัจฉริยภาพในการเทศนา

           ทรงมุ่งมั่นศึกษาค้นคว้าทางด้านปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ จึงทำให้ทรงแตกฉานและเพลิดเพลินในพระธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างรวดเร็ว และลึกซึ้งมาก จดจำได้แม่นยำ เพราะความเป็นอัจฉริยะ โดยการสั่งสมบารมีญาณอยู่ในขันธสันดาน อย่างมั่นคงและแก่กล้า มาเป็นเอนกอนันตชาติ ทรงพระปัญญาคมกล้าเป็นยอดเยี่ยม จึงสามารถบรรลุมรรคผลอย่างรวดเร็ว

โดยการเริ่มเทศน์จากพระคัมภีร์ใบลาน จนกระทั่งเทศน์ด้วยปากเปล่า และในรูปแบบของปุจฉาและวิสัชนา เป็นที่ยอมรับของอุบาสก อุบาสิกา ทั้งหลาย ได้ฟังพระสุรเสียงเป็นที่ไพเราะจับใจ ความชัดเจน ของอักขระ การเอื้อนทำนองวรรคตอนได้ถูกต้อง ภาษาสละสลวย เนื้อหาสาระที่เทศน์ ไม่ว่าจะเป็นพระธรรมเจ็ดคัมภีร์ หรือพระเจ้า ๑๐ ชาติ ก็สามารถเทศน์ให้ญาติโยมได้รับฟังอย่างจับจิตจับใจ และฟังอย่างมีความสุข จดจำเนื้อหาที่เทศน์ได้ และกอปรด้วยพระอัจฉริยภาพที่สง่างามน่ารัก ของ “สามเณรจิ๋ว”

          สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ทรงรับนิมนต์เทศนาธรรมตามบ้านเรือนผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาอยู่เป็นนิจ ทรงเทศน์โปรดชนทุกชั้น ตั้งแต่ยาจกเข็ญใจ คหบดี เจ้าขุนมูลนาย ราชนิกุล จนถึงเจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดิน ทรงมิได้เลือก ชั้น วรรณะ เพศ วัย การศึกษา ศาสนา ชาติกำเนิด อาชีพ มีทั้งชาวต่างชาติที่เลื่อมใสศรัทธาในพระองค์ท่านมากมาย เช่น ชาวจีน , ฝรั่ง, มลายู, ลาว, พม่า, เขมร เป็นต้น

๔.พระชนมายุ ๑๒ พรรษา ได้แสดงบุญฤทธิ์ให้ประกฎ

ทรงปราบแม่นาคพระโขนง ทรงสร้างพระภควัม พระองค์ได้แสดงบุญฤทธิ์ให้ปรากฏ โดยการส่งกระแสจิตลงสู่บาตร  ซึ่งบรรจุพระภควัม (พระปิดตา สร้างด้วยเนื้อไม้รัก ไม้มะยม ไม้แก่นจันทน์  แกะสลักเป็นรูปพระปิดตา ลงรัก ปิดทอง สวยงาม) เป็นจำนวนมาก โดดลอยสูงขึ้นมามากกว่าพระองค์อื่นๆ ที่มาร่วมพิธีทดสอบ คัดเลือกผู้มีอำนาจจิตสูง เพื่อเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเษก ต่อหน้าพระพักตร์ พระอาจารย์ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ซึ่งเป็นการสร้างพระในพิธีหลวง

๕.พระชนมายุ ๑๙ พรรษา สร้างพระสมเด็จ รุ่น ๑

จากหลักฐานที่พบ ไม่ว่าจะเป็นด้านหลังแม่พิมพ์พระ และแผ่นจารึก สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ทรงสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ เมื่อพระชนมายุ ๑๙ พรรษา ยังทรงเป็นสามเณร และยังมิได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุสงฆ์ ในการสร้างพระสมเด็จนั้น ทรงมีต้นแบบ และ ผงที่ใช้ในการสร้างพระ จากพระอาจารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน ทรงมีความมุ่งมั่น มีวิริยอุตสาหะ พากเพียร พยายาม ในการสร้างผงวิเศษ หรือผงศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งมี ผงอิทธิเจ ปถมัง ตรีนิสิงเห มหาราช พุทธคุณ และทรงรวบรวมผงที่ได้รับการถวายจากพระอาจารย์ ก็ได้เก็บสะสมไว้

นอกจากนี้ได้รวบรวมเกสรร้อยแปด ดินเจ็ดโป่ง เจ็ดท่า ดินใจกลางเมือง ดินกำฤาษี ผงวิเศษ จากเทพยดามานิมิตให้ ไปเอาตามป่าตามเขา ตามถ้ำต่างๆ ดินอยู่ในพระหัตถ์ของพระประธาน ไคลเสมา ไคลโบสถ์ ว่านยาต่างๆ โดยออกธุดงค์ไป กาญจนบุรี สุพรรณบุรี สุโขทัย กำแพงเพชร เป็นต้น ทรงรวบรวมผงและดินต่างๆเหล่านี้ โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะเอาไว้สร้างพระ เมื่อพระองค์ท่านรวบรวมอิทธิวัตถุมงคล ได้มากพอสมควรก็เริ่มแกะพิมพ์ด้วยพระองค์เอง แม่พิมพ์นั้นทรงสร้างจากเนื้อผงเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์

พระสมเด็จรุ่น ๑ พิมพ์หูใบสีอกครุฑ

สำหรับการสร้างพระสมเด็จรุ่น ๑ นั้น ทรงสร้างเมื่อ ร.ศ. ๒๔ =  พ.ศ. ๒๓๔๙ ทรงสร้างไว้จำนวนมาก ในจำนวนนี้ บางพิมพ์ทรงจารึกไว้ด้านหลังแม่พิมพ์ว่า “ร.ศ. ๒๔” บ้าง บางพิมพ์ทรงจารึกด้านหลังแม่พิมพ์ ว่า “พระสมเด็จรุ่น ๑ ร.ศ. ๒๔” 

บางพิมพ์ ทรงจารึกชื่อพิมพ์ต่างๆ ไว้ที่ด้านหลังแม่พิมพ์ด้วย มี “แม่พิมพ์สมเด็จทรงใหญ่” “แม่พิมพ์สมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์” “แม่พิมพ์ทรงนิยม” “แม่พิมพ์ทรงไกรเซอร์” “แม่พิมพ์ทรงปรกโพธิ์” “แม่พิมพ์สังฆาฏิ” “แม่พิมพ์เกศไชโย” “แม่พิมพ์ขุนแผน” “แม่พิมพ์ซุ้มกอ” “แม่พิมพ์พระรอด” “แม่พิมพ์ทุ่งเศรษฐี” “แม่พิมพ์นางพญา” “แม่พิมพ์ผงสุพรรณ” เป็นต้น

พร้อมทั้งลงพระนาม “ ต ” เอาไว้ด้วย เช่น “ แม่พิมพ์พระสมเด็จ ต ร.ศ. ๒๔ ”

พระสมเด็จรุ่น ๑ นั้น ทำด้วยผง บางองค์แกะพิมพ์สวยงาม ประณีตบรรจง บางองค์พิมพ์โย้ บางองค์พิมพ์หนา บางองค์พิมพ์ก็บาง แต่อย่างไรก็ตามมวลสารเนื้อหาที่ใช้สร้างหรือกดพิมพ์จะเหมือนๆ กันเกือบทั้งหมด เพราะพระองค์ท่านมีสูตรเฉพาะในการสร้างพระ


๖.ทำไม.....จึงเชื่อว่าเป็นพระสมเด็จรุ่น๑...?

เพระ..ทรงจารไว้ด้านหลังแม่พิมพ์ว่า “....พระสมเด็จ รุ่น ๑...” และทรงจารปีที่สร้างเอาไว้ด้วย..คือ “ร.ศ.๒๔ (พ.ศ.๒๓๔๙)

ต่อมา ใน ร.ศ. ๒๕ = พ.ศ. ๒๓๕๐ ทรงได้รับความไว้วางใจจากพระอาจารย์ คือ สมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่ เถื่อน ให้กดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ในการสร้าง พระผงพิมพ์ตุ๊กตาเล็ก โดยสมเด็จพระสังฆราชสุก ไก่เถื่อน ทรงจารไว้ในแผ่นจารึก การสร้างพระพิมพ์นี้ว่า “...ให้มหาโต สัพพัญญู สำนักวัดระฆัง เป็นผู้กดพิมพ์แต่ผู้เดียว...” และยังให้มหาโต นำไปบริกรรม มหาพิเศส ประจุอาคมพิเศส ๑๐๘ คาบมหาอาคม วาสนา โชคลาภ โภคทรัพย์

ซึ่งเป็นการบอกได้อย่างชัดแจ้งว่า ... สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ได้บวชเป็นพระ และอยู่ในสำนักวัดระฆัง มาเกี่ยวข้องกับการสร้างพระ โดยได้รับความไว้วางใจอย่างมาก จากพระอาจารย์ ให้เป็นผู้กดพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว และยิ่งกว่านั้นทรงเห็น ในความเป็นผู้มีดวงจิตอันถึงธรรม อย่างเพียบพร้อม และแก่กล้า ด้วยอาคมพิเศษ จึงให้นำพระมาบริกรรมเพิ่มเติม (ก็เท่ากับว่าเป็นผู้สร้างด้วย ปลุกเสกด้วย นั่นเอง)

และที่สำคัญที่สุด พระอาจารย์ ทรงเรียกว่า “ มหาโต สัพพัญญู ” หมายถึง เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริง และแตกฉานในพระธรรม..อันละเอียดอ่อนลึกซึ้งอย่างแท้จริง

หลักฐานในการสร้างพระ และวัตถุมงคล ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ซึ่งทางสำนักธรรมพรหมรังสี ได้เก็บรวบรวมไว้ มีแผ่นจารึก เป็นแผ่นทองเหลือง แผ่นเงิน แผ่นนาก แผ่นทองคำ แผ่นดีบุก รวมเกือบ ๒๐๐ แผ่น แม่พิมพ์พระสมเด็จ ทรงต่างๆ เกือบ ๓๐๐ แม่พิมพ์ พบว่า ทรงสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ไว้อย่างต่อเนื่อง ตามสถานที่ต่างๆ และในปีต่างๆ กัน ซึ่งได้รวบรวมไว้เป็นตารางในหนังสือ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี ที่ข้าพเจ้ารู้จัก เล่ม ๒, ๓,
                 
จากเรื่องราวทั้งหมดที่ข้าพเจ้าได้จัดเสนอมานั้น ก็เพราะข้าพเจ้าได้ตระหนักในพระมหาบารมีของพระองค์ท่านได้ใช้พระมหาบารมีของพระองค์ท่าน ในการดำเนินชีวิตมาตลอดระยะเวลากว่า ๓๖ ปี ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วจึงได้นำเสนอ ให้ท่านผู้มีจิตเลื่อมใสศรัทธารับทราบเพิ่มเติม  ได้กราบไหว้บูชาพระองค์ท่านได้ถูกต้อง มากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูนความเชื่อมั่น ความศรัทธา จะได้เพิ่มพูนสติปัญญา และแบ่งภาระของผู้ที่กำลังศึกษาพระราชประวัติของพระองค์ท่านอยู่

อีกประการหนึ่งเพื่อเป็นการ ยับยั้งความคิด และให้สติ แก่บุคคลบางคน (เท่าที่ข้าพเจ้าได้พบมา) ที่จะเขียนพระราชประวัติของพระองค์ท่านอยู่ ตลอดจนวิธีการติดต่อกับพระองค์ท่านในแนวต่างๆ และบางท่านเข้าใจว่า พระองค์ท่านเป็นพรหมบ้าง เป็นท้าวมหาพรหมบ้าง (เพราะใช้พระฉายานามว่า พรหมรังสี)

บ้างก็ว่า เป็นพระอรหันต์ได้เข้าพระนิพพานไปแล้วบ้าง บ้างก็ว่า ถูกทำโทษ ถูกกักบริเวณบ้าง ฯลฯ จะได้พิจารณาศึกษาให้มากขึ้น และใช้ความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อประโยชน์สุขแก่ตัวท่านเอง ท่านผู้อ่าน ท่านผู้ปฏิบัติทั่วไป จะได้กระทำได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม  และใช้เวลาอันพอสมควรไม่มากจนเกินไปนัก และที่สำคัญจะได้เข้าถึงพระองค์ท่านมากยิ่งขึ้น...!

อ่านรายละเอียดอื่นๆและชมรูปภาพที่น่าสนใจได้ที่ เว็บสมเด็จโต
ขอขอบคุณ ภาพประกอบจากเว็บสมเด็จโต
ที่มา  http://www.somdejto.com/index.htm
22103  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มีใครกล้าอธิษฐานแบบนี้รึเปล่า ??? เมื่อ: กุมภาพันธ์ 10, 2011, 09:13:40 am
รางวัลที่ ๑
เรื่องสั้นประพันธ์ โดย สุชีพ ปุญญานุภาพ
คำอธิษฐานของอาจารย์สุชีพ


ที่มา : เวบคลังปัญญาชนสยาม
http://www.geocities.com/siamintellect/poems/sucheep.htm

สมาคมพระพุทธศาสนาแห่งหนึ่งประกาศชักชวนประชาชนให้ส่งข้อเขียนเรื่อง " ถ้าข้าพเจ้าจะเปิดเผยความปรารถนาหรือคำอธิษฐาน" ไปที่สมาคม ฉบับของใครดีที่สุดจะได้รับรางวัล แต่รางวัลนั้นก็แปลกอยู่ คือแทนที่จะเป็นเงินเป็นทองหรือของที่ระลึก กลับเป็นว่าข้อเขียนของผู้นั้นจะได้รับการพิจารณาจัดพิมพ์ในวารสารของสมาคม ที่ออกเป็นประจำนั้นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจะจัดพิมพ์เป็นใบปลิวหรือจุลสารสำหรับแจกแก่ประชาชน เพราะฉะนั้นรางวัลดังกล่าวนี้ ก็คือการได้มีส่วนช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์แก่คนทั่วไป ซึ่งทางสมาคมถือว่าสูงกว่าการได้เงินทองหรือสิ่งของ

ข้อกำหนดนั้นมีอยู่ว่า ถ้าท่านจะตั้งความปรารถนาใดๆ หรืออธิษฐานจิตเพื่ออะไรในฐานะที่เป็นพุทธศาสนิกชน และถ้าท่านจะเปิดเผยความปรารถนาหรือคำอธิษฐานนั้นให้คนอื่นได้ทราบบ้าง ก็ขอให้เขียนมาเป็นข้อ ๆ ไม่เกิน ๑๐ ข้อ และจะอธิบายคลุมทั้งหมดก็ได้ แต่คำอธิบายทั้งหมดนั้นจะต้องไม่ยาวเกิน ๑ หน้ากระดาษ

คนที่ได้ทราบประกาศนี้พากันสนใจ ที่เห็นว่าเป็นการประกวดไม่ซ้ำแบบใคร และมีทีท่าว่าเป็นคำสอนไปในตัวของสมาคมพระพุทธศาสนาแห่งนั้น ตั้งแต่เริ่มประกาศให้ประชาชนรู้ คือเป็นคำสอนแบบให้คิดเอาเอง ใครคิดเป็นก็ได้รับคำสอนมาก ใครคิดไม่เป็นหรือคิดไม่ออก ประกาศนั้นไม่เป็นพิษเป็นภัยอะไร แต่กลับให้สติที่จะช่วยกันบำเพ็ญประโยชน์สาธารณะ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนด้วยซ้ำ

กรรมการสมาคมปรึกษากันว่า ผู้ส่งข้อความเข้าประกวดถ้ามีถึง ๑๐ คน ก็นับว่าน่ายินดีเป็นอย่างยิ่งแล้ว แต่กลับปรากฏว่า มีผู้ส่งข้อความเข้าประกวดอย่างมากมายเกินที่คาดคิดไว้

คณะกรรมการของสมาคมต้องตรวจข้อเขียนที่ส่งมาประกวดนั้นอย่างเคร่งเครียด ในจำนวนข้อเขียนหลายร้อยฉบับ มีอยู่ฉบับหนึ่งที่เขียนส่งมาเฉพาะคำแสดงความปรารถนาหรือคำอธิษฐาน รวม ๑๐ ข้อ ไม่มีคำอธิบายประกอบ ในการนี้ผู้ส่งมากล่าวว่าเห็นว่าคำอธิษฐานเหล่านี้ชัดเจนในตัวแล้วจึงไม่จำเป็นต้องเขียนอธิบายเพิ่มเติมอีก เว้นไว้แต่ตอนท้ายคำอธิษฐาน ได้กล่าวสรุปไว้เพื่อให้เห็นว่า ตัวผู้เขียนยังไม่ดีพอ จึงต้องมีหลักฐานไว้เตือนตัวเอง และที่แปลกก็คือ เป็นคำอธิษฐานเพื่อคุณธรรม มากกว่าการขอทรัพย์สมบัติใด ๆ


คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ตัดสินให้ข้อเขียนของผู้นั้นได้รางวัลที่ 1 แต่ก็ไม่สามารถทราบได้ว่าผู้นั้นเป็นใคร เพราะมิได้ให้ชื่อที่อยู่กำกับไว้ด้วย
 

ข้อเขียนที่แสดงถึงความปรารถนาหรือ คำอธิษฐาน ๑๐ ประการนั้น มีดังต่อไปนี้

1. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนคิดได้ดีอะไรอย่างลอยๆ นั่งนอนคอยแต่โชควาสนา โดยไม่ลงมือทำความดี หรือไม่เพียรพยายามสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตน ถ้าข้าพเจ้าจะได้ดีอะไร ก็ขอให้ได้เพราะได้ทำความดีอย่างสมเหตุสมผลเถิด

2. ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนลืมตน ดูหมิ่นเหยียดหยามใครๆ ซึ่งอาจด้อยกว่าในทางตำแหน่ง ฐานะการเงิน หรือในทางวิชาการความรู้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ให้เกียรติแก่เขาตามความเหมาะสมในทางติดต่อเกี่ยวข้องกันเถิด อย่าแสดงอาการข่มขู่เยาะเย้ยใครๆ ด้วยประการใดๆ เลย จะติดต่อเกี่ยวข้องกับใครๆ ก็ขอให้มีความอ่อนโยนนุ่มนวล สุภาพเรียบร้อยเถิด


3. ถ้าใครพลาดพลั้งลงในการครองชีวิต หรือต้องประสบความทุกข์ความเดือดร้อน เพราะเหตุใดๆ ก็ตาม ขออย่าให้ข้าพเจ้าเหยียบย่ำซ้ำเติมคนเหล่านั้น แต่จงมีความกรุณาหาทางช่วยให้เขาลุกขึ้น ช่วยผ่อนคลายทุกข์ร้อนให้แก่เขาเท่าที่จะสามารถทำได้

4. ใครก็ตามมีความรู้ความสามารถขึ้นมาเท่าเทียมหรือเกือบเท่าเทียมข้าพเจ้าก็ดี มีความรู้ความสามารถหรือผลงานอันปรากฏดีเด่นสูงส่งอย่างน่านิยมยกย่องยิ่งกว่าข้าพเจ้าก็ดี ขออย่าให้ข้าพเจ้ารู้สึกริษยาหรือกังวลใจในความเจริญของผู้นั้นเลยแม้แต่น้อย ขอให้ข้าพเจ้าพลอยยินดีในความดี ความรู้ ความสามารถของบุคคลเหล่านั้นด้วย

ความจริงใจ ช่วยส่งเสริมสนับสนุนให้กำลังใจแก่คนเหล่านั้น อันเข้าลักษณะการมีมุทิตาจิตในพระพุทธศาสนา ซึ่งตรงกันข้ามกับความริษยา ขออย่าให้เป็นอย่างบางคนที่เกรงนักหนาว่าคนอื่นจะดีเท่าเทียมหรือดียิ่งกว่าตน คอยหาทางพูดจาติเตียน ใส่ไคล้ให้คนทั้งหลายเห็นว่าผู้นั้นยังบกพร่องอย่างนั้นอย่างนี้ ขอให้ข้าพเจ้ามีน้ำใจสะอาด พูดส่งเสริมยกย่องผู้อื่นที่ควรยกย่องเถิด


5. ขอให้ข้าพเจ้าเป็นผู้มีน้ำใจเข้มแข็งอดทน อย่าเป็นคนขี้บ่นในเมื่อมีความยากลำบากอะไรเกิดขึ้น ขอให้มีกำลังใจต่อสู้กับความยากลำบากนั้นๆ โดยไม่ต้องอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์มาช่วย ขออย่าให้เป็นคนอ่อนแอเหลียวหาที่พึ่ง เพราะไม่รู้จักทำตนให้เป็นที่พึ่งของตนเลย ขออย่าให้ข้าพเจ้าเป็นคนชอบได้อภิสิทธิ์คือสิทธิเหนือคนอื่น เช่นไปตรวจที่โรงพยาบาล ก็ขอให้พอใจนั่งคอยตามลำดับ อย่าวุ่นวายจะเข้าตรวจก่อนทั้งที่ตนไปถึงทีหลังเลย ในการสอบแข่งขันเพื่อคัดเลือกใดๆ ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดหาวิธีลัดหรือวิธีทุจริตใดๆ รวมทั้งขออย่าได้วิ่งเต้นเข้าหาคนนั้นคนนี้เพื่อให้เข้าช่วยให้ได้ผลดีกว่าคนอื่น ทั้งๆ ที่ข้าพเจ้าอาจมีคะแนนสู้คนอื่นไม่ได้เกิด

6. ถ้าข้าพเจ้าทำงานในที่ใด ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบหรือคิดเอาแต่ได้ในทางส่วนตัว เช่นเถลไถลไม่ทำงาน รีบเลิกงานก่อนกำหนดเวลา ขอจงมีความขยันหมั่นเพียร พอใจในการทำงานให้ได้ผลดี ด้วยความตั้งใจและเต็มใจเสมือนหนึ่งทำงานให้แก่ตนเองเพื่อประโยชน์ของตนเองฉะนั้นเกิด อันเนื่องมาแต่ความไม่คิดเอาเปรียบในข้อนี้ ถ้าข้าพเจ้าเผอิญก้ำเกินข้าวของที่ทำงานไปในทางส่วนตัวได้บ้าง เช่น กระดาษ ซอง หรือเครื่องใช้ใดๆ ขอ

ให้ข้าพเจ้าระลึกอยู่เสมอว่าเป็นหนี้อยู่ และพยายามใช้หนี้คืนด้วยการซื้อใช้หรือทำงานให้มากกว่าที่กำหนด เพื่อเป็นการชดเชยความก้ำเกินนั้น ข้อนี้รวมทั้งขอให้ข้าพเจ้าจงอย่าเอาเปรียบบ้านเมือง เช่นในเรื่องการเสียภาษีอากร ถ้ารู้อยู่ว่ายังเสียน้อยไปกว่าที่ควร หรือที่กฎหมายกำหนดไว้ ขอให้ข้าพเจ้ามีความตั้งใจที่จะชดใช้แก่ชาติ

บ้านเมืองอยู่เสมอ เมื่อมีโอกาสตอบแทนได้เมื่อไรขอให้รีบตอบแทนโดยทันที เช่นในรูปแห่งการบริจาคบำรุงโรงพยาบาล บำรุงการศึกษา หรือบริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์อื่นๆ แบบบริจาคให้มากกว่าที่รู้สึกว่ายังเป็นหนี้ชาติบ้านเมืองอยู่เสมอ และในข้อนี้ ขอให้ข้าพเจ้าปฏิบัติแม้ต่อเอกชนใดๆ ขออย่าให้ข้าพเจ้าคิดเอาเปรียบ หรือโกงใครเลยแม้แต่น้อย แม้จะซื้อของถ้าเขาทอนเงินเกินมา ก็ขอให้ข้าพเจ้ายินดีคืนให้เขากลับไปเถิด อย่ายินดีว่ามีลาภ เพราะเขาทอดเงินเกินมาให้เลย

 
7. ขออย่าให้ข้าพเจ้ามักใหญ่ใฝ่สูง อยากมีหน้ามีตา อยากมีอำนาจอยากเป็นใหญ่เป็นโต ขอให้ข้าพเจ้าใฝ่สงบ มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ไม่ต้องเดือดร้อนในเรื่องการแข่งดีกับใครๆ ทั้งนี้ เพราะข้าพเจ้าพอจะเดาได้ว่าความมักใหญ่ใฝ่สูง ความอยากมีหน้ามีตา ความอยากมีอำนาจและอยากเป็นใหญ่เป็นโตนั้น มันเผาให้เร่าร้อน ยิ่งต้องแข่งดีกับใครๆ ด้วย ก็ยิ่งทำให้เกิดความคิดริษยา คิดให้ร้ายคู่แข่งขัน ถ้าอยู่อย่างใฝ่สงบมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ก็จะเย็นอกเย็นใจ ไม่ต้องนอนก่ายหน้าผากถอนใจเพราะไม่สมหวัง

ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจซาบซึ่งในพระพุทธภาษิตที่ว่า "ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ละความชนะความแพ้เสียได้ ย่อมเป็นสุข" ดังนี้เกิด แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความว่าเมื่อใฝ่สงบแล้ว ข้าพเจ้าจะต้องอยู่อย่างเกียจคร้าน ไม่สร้างความเจริญทั้งทางโลกและทางธรรม ข้าพเจ้าทราบดีว่าพระพุทธศาสนามิได้สอนให้คนเกียจคร้าน งอมืองอเท้า แต่สอนให้มีความบากบั่นก้าวหน้าในทางที่ดี ไม่ว่าทางโลกหรือธรรม และความบากบั่นก้าวหน้าดังกล่าวนั้นไม่จำเป็นต้องผูกพันอยู่กับความทะยานอยาก หรือความมักใหญ่ใฝ่สูงใดๆ คงทำงานไปตามหน้าที่ให้ดีสุด ผลดีก็จะเกิดตามมาเอง

 
8. ขอให้ข้าพเจ้าหมั่นปลูกฝังความรู้สึกมีเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่น และมีกรุณาคิดจะช่วยให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าแนะนำให้ปูพื้นจิตใจด้วยความเมตตากรุณาดังกล่าวนี้อยู่เสมอ จนกระทั่งไม่รู้สึกว่ามีใครเป็นศัตรูที่จะต้องคิดกำจัดตัดรอนเขาให้ถึงความพินาศ ใครไม่ดี ใครทำชั่วทำผิดขอให้คิดได้ กลับตัวได้เสียเกิด อย่าทำผิดทำชั่วอีกเลย ถ้ายังขืนทำต่อไปก็เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้

เขาจะต้องรับผลแห่งกรรมชั่วของเขาเอง เราไม่ต้องคิดแช่งชักให้เขาพินาศ เขาก็จะต้องถึงความพินาศของเขาอยู่แล้ว จะต้องแช่งให้ใจเราเดือดร้อนทำไม ขอให้ความเมตตาคิดจะให้เป็นสุขและกรุณาคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ ซึ่งข้าพเจ้าปลูกฝังขึ้นในจิตนั้น ขออย่าเป็นไปในวงแคบและวงจำกัด ขอจงเป็นไปทั้งในมนุษย์และสัตว์ทุกประเภท รวมทั้งสัตว์ดิรัจฉานด้วย เพราะไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์เหล่านั้น ต่างก็รักสุขเกลียดทุกข์ รู้จักรักตนเอง ปรารถนาดีต่อตนเองด้วยกันทั้งสิ้น


9. ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนโกรธง่าย ต่างว่าจะโกรธบ้าง ก็ขอให้มีสติรู้ตัวโดยเร็วว่ากำลังโกรธ จะได้สอนใจตัวเองให้บรรเทาความโกรธลง หรือถ้าห้ามใจให้โกรธไม่ได้ ก็ขออย่าให้ถึงกับคิดประทุษร้ายผู้อื่น หรือคิดอยากให้เขาถึงความพินาศ ซึ่งนับเป็นมโนทุจริตเลย ขอจงสามารถควบคุมจิตใจให้เป็นปกติได้โดยเร็วเมื่อมีความไม่พอใจหรือความโกรธเกิดขึ้นเถิด และเนื่องมาจากความปรารถนาข้อนี้

ขอให้ข้าพเจ้าอย่าเป็นคนผูกโกรธ ให้รู้จักให้อภัยทำใจให้ปลอดโปร่งจากการผูกอาฆาตจองเวร ขอให้มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น โดยรู้จักเปรียบเทียบกับข้าพเจ้าเองว่าข้าพเจ้าเองก็อาจก็อาจทำผิด พูดผิด คิดผิด หรืออาจล่วงเกินผู้อื่นได้ ทั้งโดยมีเจตนาและไม่เจตนา ก็ถ้าข้าพเจ้าเองยังทำผิดได้ เมื่อผู้อื่นทำอะไรผิดพลาดล่วงเกินไปบ้าง ก็จงให้อภัยแก่เขาเสียเถิด อย่าผูกใจเจ็บ หรือเก็บความรู้สึกไม่พอใจนั้นมาขังอยู่ใจจิตใจให้เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเองเลย


10. ขอให้ข้าพเจ้ามีความรู้ความเข้าใจ และสอนใจตัวเองได้ เกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธศาสนาทั้งทางโลกและทางธรรม กล่าวคือ พระพุทธศาสนาสอนให้รู้จักสร้างความเจริญแก่ตนในทางโลก และสอนให้ประพฤติปฏิบัติยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ให้มีปัญญาเข้าใจปัญหาแห่งชีวิตเพื่อจะได้ไม่ติดไม่ยึดถือ มีจิตใจเบาสบายอันเป็นความเจริญในทางธรรม ซึ่งรวมแล้วสอนให้ให้เข้ากับโลกได้ดี ไม่เป็นภัยอันตรายแก่ใครๆ แต่กลับเป็นประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ

แต่ก็ได้สอนไปในทางธรรมให้เข้ากับธรรมได้ดี คือ ให้รู้จักโลก รู้เท่าโลก และขัดเกลานิสัยใจคอให้ดีขึ้นกว่าเดิม เพื่อบรรลุความดับทุกข์ พ้นทุกข์ ขอให้ข้าพเจ้ามีความเข้าใจดีทั้งทางโลกทางธรรม และปฏิบัติตนให้ถูกต้องได้ทั้งสองทาง รวมทั้งสามารถหาความสงบใจได้เอง และสามารถแนะนำชักชวนเพื่อนร่วมชาติ ร่วมโลก ให้ได้ประสบความสุขสงบได้ตามสมควรเถิด


ความปรารถนาหรือคำอธิษฐานรวม 10 ประการของข้าพเจ้านี้ ข้าพเจ้าตั้งไว้เพื่อเป็นแนวทางเตือนใจ หรือสั่งสอนตัวเอง เพราะปรากฏว่าตัวข้าพเจ้าเอง ยังมีข้อบกพร่อง ซึ่งจะต้องว่ากล่าวตักเตือน คอยตำหนิตัวเองอยู่เสมอ ข้าพเจ้าจึงคิดว่าถ้าได้วางแนวสอนตัวเองขึ้นไว้เช่นนี้ เมื่อประพฤติผิดพลาด ก็อาจระลึกได้ หรือมีหลักเตือนตนได้ง่ายกว่าการที่จะนึกว่า ข้าพเจ้าดีพร้อมแล้ว หรือเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แล้ว ซึ่งนับว่าเป็นความประมาทหรือลืมตัวอย่างยิ่ง

ที่มา http://www.dharma-gateway.com/ubasok/ubasok-preach-sucheep-index-page.htm
22104  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ผู้หญิงขับรถให้พระไม่ได้ ให้ทองพระก็ไม่ได้ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 09, 2011, 11:37:49 am
วินัยของพระภิกษุสงฆ์ ที่ประชาชนควรทราบ
รวบรวมและเรียบเรียงโดย พระเทพวิสุทธิญาณ (อุบล นนฺทโก ป.ธ. ๙) วัดบวรนิเวศวิหาร

พุทธศาสนิกชนฝ่ายคฤหัสถ์ควรรู้จักพระวินัยบางข้อ ของพระภิกษุสงฆ์ไว้ด้วย เพราะว่าพระภิกษุสงฆ์มีหน้าที่อันสำคัญที่สุด คือรักษาตัวอย่าให้มีโทษทางพระวินัย จึงจะสมเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของพระบรมศาสดา

และจะได้สมเป็นผู้ที่ตั้งอยู่ในฐานะเป็นนาบุญของชาวโลก ไม่บริโภคจตุปัจจัยของเขาให้เปลืองเปล่า เปรียบเหมือนอย่างพื้นนาอันปราศจากวัชพืช คือหญ้าที่เป็นโทษ ย่อมจะอำนวยให้ข้าวที่ชาวนาหว่านลงเจริญงอกงามมีผลเต็มเมล็ดเต็มรวง

แต่หากว่านารกไปด้วยวัชพืช ข้าวที่หว่านลงก็มีผลไม่เต็มที่ ข้อนี้ฉันใด พระภิกษุหรือสามเณร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าศีลไม่ขาด ไม่มีโทษทางพระวินัย ก็เท่ากับนาที่ไม่รก พืชบุญที่หว่านลงก็ย่อมมีผลมาก มีกำไรมาก แต่ถ้าศีลขาดมากมีโทษทางพระวินัยมาก ก็เท่ากับที่นารก พืชบุญที่ชาวโลกหว่านลงก็มีผลน้อยมีกำไรน้อย

ด้วยเหตุนี้ หระภิกษุสามเณรผู้ตระหนักในหน้าที่ของตน จึงพยายามรักษาตัวมิให้เป็นนาที่รกด้วยวัชพืชก็ในการรักษาตัวนั้น พระภิกษุสามเณรบางรูปบางครั้งบางคราว ไม่สามารถจะให้บริสุทธิ์เท่าที่ควรได้ เพราะคฤหัสถ์หรือบุรุษ สตรีหรือทายกทายิกา ผู้ไม่รู้วินัยของพระ และมีธุระเกี่ยวข้องกับพระในวาระต่างๆ เช่นในคราวทำบุญ แต่ทำไม่ถูกต้องพระวินัย ภิกษุเกรงใจคฤหัสถ์ บางทีคฤหัสถ์เกรงใจภิกษุ

จึงทำให้พระต้องอาบัติ คือต้องโทษทางพระวินัย อย่างนี้คฤหัสถ์ได้บุญก็จริง แต่ได้น้อยเพราะขณะเดียวกันนั้นพระได้บาปต้องโทษไม่บริสุทธิ์ เหมือนนาที่รกเสียแล้ว

อนึ่ง บางทีบางรูปไม่รู้วินัยของตนเองดีพอ หรือบางรูปรู้วินัยดีแล้ว แต่ไม่เอื้อเฟื้อในวินัยก็ย่อมเกี่ยวข้องกับคฤหัสถ์ในทางที่ผิดๆ และคฤหัสถ์ก็ไม่รู้วินัยของพระจึงพากันปฏิบัติผิดร่วมกันอย่างนี้ จึงรู้สึกว่าไม่ค่อยเหมาะกับพุทธศาสนิกชนเลย

ด้วยเหตุนี้ เพื่อที่จะให้คฤหัสถ์ บุรุษ-สตรีทั้งหลายช่วยกันรักษาภิกษุสงฆ์ให้บริสุทธิ์เป็นนาบุญอย่างดี จะได้เพิ่มปริมาณผลแห่งพืชบุญที่บริจาคหว่านลงไปให้มากยิ่งๆ ขึ้น จึงได้รวบรวมพระวินัยบางข้อที่คฤหัสถ์ทั้งบุรุษและสตรีควรทราบนำมาเรียบเรียงเป็นข้อๆ พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติสำหรับคฤหัสถ์ ดังต่อไปนี้

      ๑.     สุภาพสตรี อย่าถูกต้องภิกษุสามเณร(สังฆาทิเสส ข้อ ๒)
      ๒.     สุภาพบุรุษ หรือสุภาพสตรี ไม่ควรวานให้พระชักสื่อชายหญิงให้เป็นสามีภรรยากัน แม้ชั่วครั้งชั่วคราว(สังฆาทิเสส ข้อ ๕)
      ๓.     สุภาพสตรี ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาไปด้วย ไม่ควรเข้าไปหาพระในที่ลับตาหรือลับหู เพราะอาจจะทำให้พระถูกโจทด้วยอาบัติต่างๆ หรือเป็นทางให้เกิดความเสียหายมาก(อนิยต ข้อ ๑-๒)
      ๔.     สุภาพบุรุษหรือสตรี เมื่อศรัทธาจะถวายเงินทองแก่พระภิกษุหรือสามเณรต้องมอบให้แก่ไวยาจักร (ผู้ที่รับทำกิจของท่าน) และแจ้งให้ท่านทราบ อย่ามอบให้ในมือหรือในย่าม หรือในบาตรของท่าน เป็นต้น
(จีวรวรรค ข้อ ๑๐-โกสิยวรรค ข้อ ๘)
      ๕.      บุรุษผู้เป็นไวยาจักร เมื่อรับเงินทองของพระรูปใดไว้เท่าไร ต้องจัดสิ่งของที่พระต้องการถวายพระรูปนั้น ในราคาเท่าเงินทองที่ตนรับไว้นั้น ในเวลาที่ท่านขอ ถ้าเงินทองมากพระขอของน้อย ก็จ่ายเท่าที่ท่านต้องการ เก็บส่วนที่เหลือไว้จ่ายคราวต่อไป(จีวรวรรค ข้อ ๑๐)

      ๖.      บุรุษ-สตรี ผู้เป็นพ่อค้า-แม่ค้า ไม่ควรขายของแก่พระภิกษุ หรือสามเณรผู้ที่จับต้องเงิน (ธนบัตร-เหรียญบาทเป็นต้น) มาซื้อด้วยตนเอง(โกสิยวรรค ข้อ ๙)
      ๗.      บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาสิ่งของของตนแลกกับสิ่งของของพระ-ของสามเณร(โกสิยวรรค ข้อ ๑๐)
      ๘.      บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาผ้าอาบน้ำฝนถวายพระก่อนเข้าพรรษามากกว่า ๑ เดือน แม้พระขอก็ไม่ต้องถวาย เว้นไว้แต่พระที่เป็นญาติ และพระที่ตนปวารณาไว้(ปัตตวรรค ข้อ ๔)
      ๙.      บุรุษ-สตรี เมื่อเตรียมสิ่งของจะถวายแก่สงฆ์ (ไม่เฉพาะบุคคล) ถ้าพระแนะนำให้ถวายเฉพาะตัวท่านเอง หรือให้ถวายเฉพาะพระรูปใดๆ ก็ตาม ไม่ต้องถวายตามคำแนะนำนั้น(ปัตตวรรค ข้อ ๑๐-สหธรรมิกวรรค ข้อ ๑๒)
      ๑๐.   บุรุษ-สตรี เมื่อเรียนธรรมกับพระ อย่าออกเสียงบทพระธรรมพร้อมกับพระ(มุสาวาทวรรค ข้อ ๔)


      ๑๑.    บุรุษ เมื่อนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระครบ ๓ คืนแล้ว ต้องเว้นเสีย ๑ คืน ต่อไปจึงนอนได้อีก
(มุสาวาทวรรค ข้อ ๕)
      ๑๒.   สตรี ห้ามนอนในที่มุง ที่บัง อันเดียวกับพระแม้ในคืนแรก(มุสาวาทวรรค ข้อ ๖)
      ๑๓.   บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ขุดดินเหนียวล้วนหรือดินร่วนล้วน ไม่ควรขุด แต่ถ้าพระแสดงความประสงค์ว่าต้องการหลุมหรือคูเป็นต้น หรือว่าต้องการขุดดินให้สูงเท่านั้นเท่านี้เป็นต้น ก็ควรจัดการให้ตามประสงค์(มุสาวาทวรรค ข้อ ๑๐)
      ๑๔.   บุรุษ-สตรี ถ้าพระใช้ให้ตัดต้นไม้ หรือดายหญ้าที่เกิดอยู่กับดิน หรือให้รื้อถอนผักหญ้าต่างๆ ที่เกิดอยู่ในน้ำ ไม่ควร ตัด-ดาย-รื้อถอน แต่ถ้าพระบอกว่า เราต้องการไม้-หญ้า-ผัก หรือว่าเราต้องการทำความสะอาดในที่ซึ่งเกะกะรุงรัง ด้วยต้นไม้หรือผักหญ้าดังนี้เป็นต้น จึงทำให้(ภูตคามวรรค ข้อ ๑)
      ๑๕.   บุรุษ-สตรี นิมนต์พระให้ฉันอาหารอย่าออกชื่อโภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ ควรใช้กัปปิยโวหารหรือคำพูดที่สมควร เช่น พูดว่า “ขอนิมนต์ฉันเช้า” หรือว่า “ขอนิมนต์ฉันเพล” และต้องบอกวัน เวลาสถานที่ให้ชัดเจน ทั้งบอกให้พระทราบด้วยว่าให้ไปกันเอง หรือจะมารับ อนึ่งการที่นิมนต์พระให้ฉันนั้นปรารภเรื่องอะไรก็ควรบอกให้ทราบด้วย(โภชนวรรค ข้อ ๒)

      ๑๖.   บุรุษ-สตรี เมื่อเลยเวลาเพลแล้ว คือตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงวันใหม่ อย่านำอาหารไปประเคนพระ หากเป็นของที่เก็บค้างคืนได้ ไม่บูด ไม่เสีย เช่น ข้าวสาร ปลาดิบ เนื้อดิบ อาหารสำเร็จรูปบรรจุกระป๋อง เป็นต้น ก็มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของท่านได้(โภชนวรรค ข้อ ๗)
      ๑๗.   บุรุษ-สตรี ถ้าพระที่มิใช่ญาติและตนไม่ได้ปวารณาไว้ ไม่เป็นไข้ ขอโภชนะอันประณีต คือข้าวสุกที่ระคนด้วยเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม แม้อย่างใดอย่างหนึ่งไม่ควรถวาย แต่ถ้าขอเพื่อผู้เป็นไข้ควรถวายโดยแท้(โภชนวรรค ข้อ ๙)


      ๑๘.   บุรุษ-สตรี เมื่อประเคนอาหารหรือยาเป็นต้น ทุกอย่างที่พระจะต้องกลืนกิน (ฉัน) ต้องประเคนให้ถูกวิธี ดังนี้ (โภชนวรรค ข้อ ๑๐)

ก.    ภาชนะหรือห่อของนั้น ไม่ใหญ่หรือหนักจนเกินไป ยกคนเดียวได้อย่างพอดี
ข.    เข้าอยู่ในหัตถบาสของพระ ห่างจากพระประมาณ ๑ ศอก เป็นส่วนสุดของสิ่งของหรือของบุคคลผู้ประเคน
ค.    น้อมกายถวายด้วยความเคารพ
ง.     กิริยาที่ถวายนั้น ถวายด้วยมือหรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่นช้อน-ภาชนะก็ได้
จ.     พระรับด้วยมือ หรือของที่เนื่องด้วยมือ เช่น บาตร-ผ้าก็ได้


      ๑๙.   สตรีไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่เป็นเพื่อน ต้องไม่นั่ง ไม่นอน ไม่ยืน ไม่เดิน ในห้องกับพระ แม้จะมีสตรีหลายคนก็ไม่ได้(อเจลกวรรค ข้อ ๔)
      ๒๐.   สตรีต้องไม่นั่ง ไม่นอนในที่แจ้งกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ถ้าสตรีหลายคนนั่งได้ แต่การนอนนั่นไม่ควร แม้การยืน การเดินกับพระ หนึ่งต่อหนึ่ง ด้วยอาการซ่อนเร้นก็ไม่ควร(อเจลกวรรค ข้อ ๕)

      ๒๑.   บุรุษ-สตรี ที่ไม่ใช่ญาติของพระ แม้จะเป็นเขย สะใภ้ หรือภรรยาเก่าของพระ (ปุราณทุติยิกา) หากมิได้เกี่ยวข้องทางสายโลหิต ก็ชื่อว่ามิใช่ญาติ ถ้ามีศรัทธาจะให้พระขอปัจจัย ๔ หรือสิ่งของต่างๆ จากตนได้ ก็ต้องปวารณา คือเปิดโอกาสให้พระขอได้โดยลักษณะ ๔ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ

ก.    กำหนดปัจจัยหรือสิ่งของ เช่น จีวร บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง ยา หนังสือ สมุด ปากกา ฯลฯ
ข.    กำหนดเวลา คือให้ขอได้ตลอดเท่านั้นวัน เท่านั้นเดือน เท่านั้นปี ตั้งแต่วันที่เท่าไรถึงเท่าไร
ค.    กำหนดทั้งปัจจัย-สิ่งของ และเวลา
ง.     ไม่กำหนดทั้งปัจจัย สิ่งของและเวลา ถ้าจะให้ขอได้เป็นนิตย์ ต้องบอกว่า นิมนต์ขอได้ตลอดกาลเป็นนิตย์

เมื่อปวารณาแล้ว ถ้าพระขอเกินกำหนดหรือเกิน ๔ เดือน ไม่ควรถวาย เว้นไว้แต่ตนปวารณาอีก หรือปวารณาเป็นนิตย์(อเจลกวรรค ข้อ ๗)

หมายเหตุ :- คำว่า ญาติ ได้แก่คนที่เกี่ยวเนื่องกัน ๗ ชั้น คือ ๑. ทวด ๒. ปู่ย่าตายาย ๓. พ่อแม่ ๔. พี่น้อง ๕. ลูก ๖. หลาน ๗. เหลน


      ๒๒.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเสพติดให้โทษ เช่น สุราเมรัย ฝิ่น เฮโรอีน กัญชาถวายพระ
(สุราปานวรรค ข้อ ๑)
      ๒๓.   บุรุษ-สตรี อย่าเอาน้ำที่มีตัวสัตว์ไปตั้งไว้ให้พระบริโภค คือ ดื่ม อาบ ล้างเท้า ใช้สอย
(สัปปาณวรรค ข้อ ๒)
      ๒๔.   บุรุษ-สตรี ผู้นำสินค้าหนีภาษี ไม่ควรเดินทางร่วมกับพระ หรือไม่ควรให้เกี่ยวข้องกับพระ
(สัปปาณวรรค ข้อ ๖)
      ๒๕.   สตรี ไม่ควรชวนพระเดินทางไกล แม้สิ้นระยะบ้านหนึ่ง แม้นั่งรถ นั่งเรือ ไปเพียงหนึ่งต่อหนึ่งก็ไม่ควร แม้สตรีหลายคน แต่ไม่มีบุรุษผู้รู้เดียงสานั่งไปด้วย ก็ไม่ควร แม้บุรุษไปด้วย หากสตรีขับรถเรือเอง ก็ไม่ควร เว้นไว้แต่เรือข้ามฟาก(สัปปาณวรรค ข้อ ๗)

      ๒๖.   บุรุษ-สตรี จะถวายอาหารแก่พระผู้อยู่ในป่าอันเป็นที่เปลี่ยว ต้องแจ้งข่าวล่วงหน้าก่อน
(ปาฏิเทสนียะ ข้อ ๔)
      ๒๗.   บุรุษ-สตรี เมื่อพระรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว อย่าเอาอาหารวางบนฝาบาตร หรืออย่าใส่ถุงให้พระหิ้ว(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๔)
      ๒๘.   บุรุษ-สตรี เมื่อนิมนต์พระมาฉันในบ้านต้องจัดที่ฉันให้พร้อม เช่นน้ำล้างเท้า ผ้าเช็ดเท้า น้ำฉัน น้ำใช้ กระโถน ผ้า-กระดาษเช็ดมือ เช็ดปาก ช้อนส้อมและช้อนกลาง อย่าให้บกพร่อง(โภชนะปฏิสังยุตะ ข้อ ๓๐)
      ๒๙.   บุรุษ-สตรี เมื่อจัดที่ให้พระสวดหรือแสดงพระธรรมเทศนา หรือปาฐกถาธรรม ต้องจัดที่ให้พระนั่ง อย่าให้ยืน และต้องไม่ต่ำกว่าที่ของผู้นั่งฟัง(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ข้อ ๑๓, ๑๔)
      ๓๐.    บุรุษ-สตรี เมื่อฟังธรรมเทศนาหรือฟังปาฐกถาธรรม ต้องฟังด้วยกิริยาอาการเคารพ แม้ฟังพระสวดในงานมงคลหรืองานศพเป็นต้น ก็ต้องเคารพเช่นเดียวกัน ไม่ควรนั่งคุยกันเลย จะคุยในเวลาพระหยุดสวดได้
(ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ทุกข้อ)


      ๓๑.   บุรุษ-สตรี จะถวายร่มแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่สลับสี เช่นร่มผ้าดำล้วน ร่มกระดาษ ร่มพลาสติก สีน้ำตาล สีดำ สีเหลืองล้วน(วิ. ๒/๓๕)
      ๓๒.   บุรุษ-สตรี จะถวายรองเท้าแก่พระต้องเลือกเอาชนิดที่ไม่มีส้นสูง ไม่มีปกส้น ไม่มีปกหลังเท้า มีแต่สายรัดหลังเท้ากับสายที่คีบด้วยนิ้ว และมีสีหม่นหมอง เช่น สีน้ำตาลแก่(วิ. ๒/๓๖)
      ๓๓.   บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายเตียงตั่งแก่พระต้องเลือกเอาแต่ที่มีเท้าสูงไม่เกิน ๘ นิ้วพระสุคต หรือ ๙ นิ้วฟุต เว้นไว้แต่แม่แคร่ และไม่มีรูปสัตว์ร้ายที่เท้า เช่น เตียงจมูกสิงห์ หรือบัลลังก์ และเตียงนั้นต้องไม่ใหญ่ถึงนอนได้ ๒ คน ที่นอนก็ไม่ใหญ่อย่างเตียง ฟูกเตียง ฟูกตั่ง และที่นั่งที่นอนไม่ยัดนุ่นหรือสำลี
 (รตนวรรค ข้อ ๕ และ วิ. ๒/๓๙)
      ๓๔.   บุรุษ-สตรี เมื่อจะถวายหมอนหนุนศีรษะแก่พระ ต้องให้มีขนาดหนุนได้ศีรษะเดียวไม่ถึง ๒ ศีรษะ หมอนข้างไม่ควรถวาย(วิ. ๒/๔๐)
      ๓๕.   สตรี ต้องไม่นั่ง บนอาสนะผืนเดียวกัน บนเตียงม้านั่งเดียวกันกับพระ แม้บนพื้นที่ไม่มีอะไรปูลาดเลย ก็ไม่ควรนั่งเสมอกับพระหรือสูงกว่าพระ ไปในรถ-เรือมีที่จำกัด จะต้องนั่งที่ม้านั่งเดียวกันกับพระต้องให้มีบุรุษนั่งคั่นไว้เสียก่อน(วิ. ๒/๗๐)

      ๓๖.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาวัตถุอนามาสประเคนพระ วัตถุอนามาส คือสิ่งที่พระไม่ควรแตะต้อง มี ๖ ประเภท ดังนี้ :- (วิ. ๒/๗๓)
   ก.  คนหญิง คนกะเทย เครื่องแต่งกายของคนเหล่านั้น แต่ที่เขาสละแล้วไม่นับ ตุ๊กตาหญิง สัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย
   ข.  ทอง เงิน มุกดา มณี ไพฑูรย์ ประพาฬ ทับทิม บุษราคัม สังข์ที่ขัดแล้ว ศิลาชนิดดี เช่น หยก โมรา
   ค.  ศัสตราวุธต่างชนิด ที่ใช้ทำร้ายชีวิตร่างกาย
   ง.  เครื่องดักสัตว์บก-น้ำ
   จ.  เครื่องประโคม
   ฉ.  ข้าวเปลือกและผลไม้อันเกิดอยู่ในที่
      ๓๗.   สตรี ไม่ควรเกลี้ยกล่อม ยั่วเย้าพระด้วยการพูดประเล้าประโลม หรือด้วยการแต่งตัวชะเวิกชะวาก หรือล่อด้วยทรัพย์(วิ. ๒/๙๑)
      ๓๘.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาของเด็กเล่น เช่นเรือน้อยๆ รถน้อยๆ ถวายพระ(วิ. ๒/๑๑๘)
      ๓๙.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรชักชวนพระเล่นการพนัน มีแพ้ มีชนะ เช่นหมากรุก หมากแยก ฯลฯ
(วิ. ๒/๑๑๘)
      ๔๐.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรเรียนดิรัจฉานวิชาจากพระ และไม่ควรบอกดิรัจฉานวิชาแก่พระ ดิรัจฉานวิชาคือความรู้ในการทำเสน่ห์ ในการใช้ภูตผีปีศาจทำผู้อื่นให้ถึงความวิบัติในทางอวดฤทธิ์เดชต่างๆ ในทางทำนายทายทักบอกหวยบอกเบอร์ ในทางที่นำให้หลงงมงาย เช่นหุงเงิน หรือทองแดงให้เป็นทอง(วิ. ๒/๑๒๐)


      ๔๑.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรใช้พระในกิจนอกพระพุทธศาสนา แต่จะขอให้ช่วยกิจพระพุทธศาสนา เช่นให้ช่วยนิมนต์พระไปในการบำเพ็ญบุญอยู่ได้(วิ. ๒/๑๒๐)
      ๔๒.  บุรุษ-สตรี ไม่ควรนำสิ่งของอันมีค่าฝากไว้กับพระ เพราะอาจเกิดอันตรายแก่พระได้ เช่น อันตรายในการเจริญสมณธรรม ถูกปล้น ถูกเป็นผู้สำนองในเมื่อของนั้นหาย(วิ. ๒/๑๒๒)
      ๔๓.  บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่ไม่นิยมเป็นอาหารถวายพระ เนื้อที่ไม่นิยมเป็นอาหาร คือ เนื้อมนุษย์ ช้าง-ม้า-สุนัข-งู-สีห์-เสือโคร่ง-เสือเหลือง-หมี-เสือดาว(วิ. ๒/๑๓๓)
      ๔๔.  บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหารแต่ยังดิบ ไม่สุกด้วยไฟ เช่น ปูเค็ม กุ้งส้ม หอยเค็ม ปลาเค็ม แหนม กะปิ ลาบเนื้อดิบ ไข่ลวกไม่สุก ประเคนพระ ควรมอบไว้แก่กัปปิยการก คือผู้มีหน้าที่ทำให้เป็นของควรแก่พระ(วิ. ๒/๑๓๓)
      ๔๕.  บุรุษ-สตรี ไม่ควรเอาอุทิศมังสะถวายพระ อุทิศมังสะ คือเนื้อหรือไข่สัตว์ที่เขาฆ่าเจาะจงภิกษุสามเณร(วิ. ๒/๑๓๓)

      ๔๖.   บุรุษ-สตรี อย่าเอาพีชคาม คือผลไม้มีเมล็ดสุกบางอย่าง เช่นพริกสุก มะเขือสุก อ้อยที่ยังไม่ได้ปอก ผักบุ้ง ขมิ้น กระชาย กระเทียม หอม โหระพา กะเพรา ฯลฯ ที่พ้นจากที่เกิดที่อยู่แล้ว แต่ยังปลูกให้งอกได้อีกถวายพระ ควรทำให้เป็นของที่ไม่อาจปลูกให้งอกได้แล้ว จึงถวายพระ(วิ. ๒/๑๓๕)

      ๔๗.   บุรุษ-สตรี จะทำน้ำปานะถวายพระ ควรเลือกเอาผลไม้สุกที่นิยมเป็นอาหาร ชนิดที่ไม่โตกว่าผลมะตูมหรือผลกระเบา ขนาดเล็กไม่จำกัด เอามาทำความสะอาด คั้นแล้วกรองให้หมดกาก เจือน้ำจืดที่สะอาดบ้างก็ได้ แต่อย่าใช้น้ำร้อน และอย่าต้มน้ำปานะด้วยไฟ จะเจือน้ำตาลเกลือบ้างก็ได้ ทำแล้วต้องถวาย ให้พระฉันในวันนั้น อย่าปล่อยให้ข้ามราตรี(วิ. ๒/๑๓๙)

      ๔๘.   บุรุษ-สตรี ไม่ควรถือเอามรดกของพระผู้มรณภาพไปแล้ว ไม่ว่าพระรูปนั้นจะเป็นพ่อ ลูก ญาติ มิตร หรือเกี่ยวข้องกันโดยสถานะไรๆ ก็ตาม แม้พระได้ทำพินัยกรรมไว้ให้ ก็ถือเอาไม่ได้ เพราะทางวินัยของสงฆ์มีอยู่ว่า มรดกของพระผู้มรณะตกเป็นของสงฆ์ทั้งหมด แม้พระได้พูดไว้ด้วยคำอันเป็นอนาคตว่า “ถ้าฉันตายแล้ว เธอจงเอาสิ่งนั้นสิ่งนี้ไป” ดังนี้ ก็ถือเอาไม่ได้ แต่สิ่งที่พระมอบให้ด้วยคำเป็นปัจจุบันว่า “ฉันให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่เธอ” ก็ถือเอาได้เฉพาะสิ่งที่ระบุถึง หากระบุทั้งหมดก็ถือเอาได้ทั้งหมด(วิ. ๒/๑๕๔/๑๕๕)

      ๔๙.   บุรุษ-สตรี เมื่อจะถือเอาสิ่งของของพระด้วยวิสาสะ ต้องให้ครบองค์ ๓ คือ(วิ. ๒/๑๕๗)
ก.     เคยเห็นกัน เคยคบกัน เคยพูดกันไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง
ข.     รู้ว่าถือเอาแล้ว เจ้าของจักพอใจ
ค.     เจ้าของยังมีชีวิตอยู่

      ๕๐.   บุรุษ-สตรี เมื่อพยาบาลพระผู้เจ็บหนัก ฉันอาหารไม่ได้ ครั้นถึงเวลาวิกาลหิวจัด หากมิได้อาหารอาจเป็นอันตราย จะต้มข้าวหรือเนื้อสัตว์ที่นิยมเป็นอาหาร (เว้นอุทิศมังสะ) ให้เหลว กรองให้หมดกาก เอาแต่น้ำข้าว น้ำเนื้อที่ใสถวายให้พระดื่มในเวลาวิกาลได้ การที่จะอ้างว่า แพทย์สั่งให้พระป่วยฉันอาหารในวิกาลได้ แล้วนำอาหารชนิดต่างๆ ไปถวายในวิกาลนั้น ไม่ควรเลย หากพระอยากฉันอาหารในวิกาลโดยไม่เอื้อเฟื้อต่อวินัยแล้ว ควรให้สึกเสียก่อน จึงจัดถวายให้รับประทาน(วิ. ๒/๑๗๕)

      ๕๑.   สตรีที่เป็นโสเภณี เป็นหม้าย เป็นสาวเทื้อ เป็นชี และกะเทย ไม่ควรไปมาหาสู่กับพระ โดยไม่เป็นกิจจลักษณะหรือผิดเวลา(วิ. ๒/๑๘๑)
      ๕๒.  บุรุษ-สตรี ไม่ควรนิมนต์พระเข้านั่งในร้านสุรา จะเป็นที่ขาย หรือที่กลั่นสุราหรือที่ดองเมรัยก็ตาม
(วิ. ๒/๑๘๑)
บุรุษหรือสตรีก็ตาม เมื่อหวังความเจริญแก่ตนแก่วงศ์สกุลของตน และแก่พุทธศาสนา ควรศึกษาให้มีความรู้เกี่ยวกับวินัยของภิกษุสงฆ์บางข้อ ตามที่รวบรวมไว้นี้ และปฏิบัติให้ถูกต้อง ก็ย่อมจะเหมาะสมแก่ความเป็นพุทธศาสนิกชน และย่อมช่วยประดับพระพุทธศาสนาให้รุ่งเรืองแล


ที่มา http://www.dharma-gateway.com/dhamma/dhamma-vinai-01.htm
22105  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สดุดีมหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ "หลวงตามหาบัว" เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2011, 11:46:19 am

อ้างอิง หนังสือ หลวงตามหาบัว มหัศจรรย์มหาบุรุษผู้ยิ่งใหญ่
(ดาวน์โหลดมาจากเว็บพลังจิต)
ต้นฉบับแนบไฟล์มาให้แล้ว
22106  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / จิตอรหันต์ – จิตปุถุชน (อรหันต์ร้องไห้) เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:15:36 pm
จิตอรหันต์ – จิตปุถุชน
คัดจากฐานิยปูชา ๒๕๔๑
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


   พระอรหันต์ก็ยังร้องไห้ได้ การร้องไห้มันเป็นกิริยาของกายต่างหาก ตัวร้องไห้มันก็ร้องไป ตัวที่นิ่งเฉยอยู่มันก็นิ่ง... พระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระปุถุชนโศกเศร้าเสียใจ พระอรหันต์ได้ธรรมสังเวช ธรรมสังเวชนี่แหละมันทำให้น้ำตาไหล ไม่ใช่ว่าพอสำเร็จอรหันต์แล้วมันจะไม่มีอะไร มันก็เหมือนกับปุถุชนธรรมดานี่แหละแต่สิ่งที่ทำให้ท่านเกิดกิเลสเมื่อก่อนนี้มันหมดไป ความตื้นตัน ความปีติต่างๆ มันเป็นองค์ประกอบของสมาธิ มันก็ต้องมีอยู่เป็นเรื่องธรรมดา

   “หลวงปู่โกรธเป็นไหม” “โกรธเป็น แต่ไม่เอา” อันนี้คือคำตอบของหลวงปู่ดูลย์ ก็มันแสดงความรู้สึกขึ้นมาเฉยๆว่า โกรธ แล้วท่านก็ไม่เอา

   หลวงพ่อก็เคยร้องไห้มาแล้ว ไปสวดมนต์ในวัง พอไปถึงแก่งคอย ก็ไปนึกถึงว่าพ่อตายอยู่ตรงนั้น ไหนจะลองกำหนดจิตอุทิศส่วนกุศลให้พ่อสักหน่อย พอกำหนดไปพั๊บ มองไปข้างหน้าสายตามันพร่า แล้วก็เห็นตาแก่คนหนึ่งแบกเด็กน้อยลอยผ่านหน้าไป ทีนี้พอลับสายตาไปจิตก็มานึกว่า พ่อแบกเรามาตั้งแต่เด็ก แล้วมันก็ร้องไห้สะอึกสะอื้นขึ้นมาทันที คนที่นั่งมาในรถเขาก็ถามว่า หลวงพ่อเป็นอะไรๆ ก็โบกมือ เฉยๆเดี๋ยวก็รู้ พออาการอย่างนั้นมันหายไป ก็เล่าให้เขาฟัง


   ปีติมันเกิดจากกายต่างหาก อย่างสมมติว่าเรามีเรื่องขำ เราหัวเราะเสียจนไส้ขดไส้แข็ง เราเมื่อยเกือบตาย เราไม่อยากหัวเราะแต่มันก็อดไม่ได้ นั่นคือความเป็นเองของร่างกาย อันนี้มันได้หลักมาว่า ภายในตัวของเรานี่สมองเป็นผู้สั่งการ กองบัญชาการในสมองที่มันสั่งออกมานี่ ให้ร่างกายมันเตี้ย ให้ร่างกายมันโต ให้ร่างกายมันสูงโย่ง อันนี้เป็นเรื่องของสมองทั้งนั้น คำสั่งของสมองอันนี้หรือจิตดวงนี้ ตามหลักของการสะกดจิตเขาเรียกว่า จิตอิสระ จิตอิสระดวงนี้จะคอยบังคับดูแลและใช้เครื่องจักรกลไกต่างๆ ในร่างกายให้ทำงานให้แก่เราอย่างตรงไปตรงมา

   อาการปีตินี่เป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม มันเหมือนกับว่าเราอยากได้อะไรมากๆ พอได้สมประสงค์ก็เกิดปีติเหมือนกัน แต่ทีนี้สมมติว่าผู้ที่เป็นพระอรหันต์จริงๆ นี่ เวลาท่านกำหนดจิตรู้อารมณ์ จิตมันก็ปรุงแต่งเหมือนคนธรรมดา ทีนี้ภายในสมาธิ มันก็เกิดนิมิตขึ้นมา ถ้าท่านรู้เรื่องอดีตชาติ ท่านก็แสดงอาการร้องไห้ ร้องไห้ในสมาธิ แต่ร้องไห้น้ำตาไม่ออก


       อย่างคนที่จิตยังไม่พ้นกิเลส พอได้นิมิตว่าชาติก่อนเราได้ไปเกิดเป็นอันนั้นๆ ได้ไปทะเลาะตบต่อยตีกันที่ตรงนั้น พอรู้สึกอย่างนั้นก็ลุกขึ้นมากระโดดขโมงโฉงเฉง ทีนี้ความรู้ของพระอรหันต์นี่ท่านรู้ว่าชาตินั้นท่านเป็นอย่างนั้น ได้ทะเลาะเบาะแว้งกับคนนั้นคนนี้ มันก็แสดงอาการโกรธเคียดขึ้นมา

       แต่ความโกรธความเคียดกับจิตของท่านมันแยกกันไปคนละส่วน เหมือนๆ กับบางครั้งที่จิตของเรามีอารมณ์เกิดขึ้นๆๆ แต่มันเป็นกลางเฉย สิ่งรู้เป็นแต่เพียงอารมณ์จิต แล้วตัวเองไม่ได้ไปสวมสอดเข้าในเรื่องนั้น มันแยกเป็นคนละส่วน ทีนี้ผู้ที่รู้ยังไม่ถึงแก่นพอรู้เข้ามาพั๊บ ก็สำคัญว่าตัวเองอยู่ในปัจจุบันนั้น

 

   เช่นอย่างพระองค์หนึ่ง เป็นหัวหน้าพระ ๓๐ รูป อุบาสิกาคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากอยู่ ภายหลังอุบาสิกาฟังเทศน์ฟังธรรมจากพระเหล่านั้นแล้วได้สำเร็จโสดาบัน พอสำเร็จโสดาบัน ท่านก็ตรวจสอบดูพระว่าท่านองค์ไหนได้บรรลุคุณธรรมหรือเปล่า ก็รู้ว่ายังไม่บรรลุ ขัดข้องเรื่องอะไร ขัดข้องเรื่องรสอาหาร บางท่านชอบเผ็ดชอบมันอะไรไม่ได้ตามใจ ก็ไปข้องอยู่ที่ตรงนั้น

       ภายหลังมาเมื่อท่านรู้แล้วว่าองค์ไหนชอบอะไร ทำให้ถูกใจหมด พอนึกขึ้นมาตอนกลางคืนอยากฉันสิ่งนั้น ตื่นเช้าก็มาแล้ว หนักๆเข้าพระอาย พากันไปกราบทูลพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าก็ถามว่าทำไมทิ้งอุบาสิกามาเสียเล่า พระก็ทูลว่าอยู่ด้วยไม่ได้หรอก คิดอะไรก็รู้หมด...อาย พระพุทธเจ้าท่านก็บอกว่าเขาเป็นมารดาของเธอมาหลายภพหลายชาติแล้ว มาชาตินี้แหละเขาจะช่วยให้ท่านสำเร็จพระนิพพาน กลับไปอยู่กับเขา พระทั้งนั้นก็กลับไปอยู่กับอุบาสิกา

       พอกลับมา ก็ต้องมาสำรวมจิตสำรวมใจไม่ให้ยินดียินร้ายในรสอาหาร พิจารณาปัจจเวกขณะขจัดความชอบหรือไม่ชอบ ทำจิตให้เป็นกลาง แล้วลูกน้องได้สำเร็จพระโสดาบัน อุบาสิกาได้สำเร็จพระสกทาคามีไปๆ มาๆ พระทั้งหลายได้สำเร็จพระอรหันต์ อาจารย์ใหญ่ได้เพียงพระโสดาบัน อุบาสิกาก็พิจารณาดูว่าพระเราสำเร็จแล้ว แต่อาจารย์ใหญ่นี่สำเร็จหรือยัง... ยังไม่สำเร็จ

       อยู่มาวันหนึ่ง ภูมิจิตเริ่มจะก้าวหน้า จะได้บรรลุปุพเพนิวาสานุสติญาณ ไประลึกขึ้นมาได้ว่า ชาติหนึ่ง ภพหนึ่ง อุบาสิกาคนนี้เป็นภรรยาของท่าน ไปคบกับโจร พอท่านไปรู้อย่างนั้นเข้า ท่านก็โกรธขึ้นมาอย่างแรง โกรธชนิดที่ว่าจิตกับอารมณ์แยกกันไม่ออก

       อุบาสิกาก็ส่งกระแสจิตไปเตือนว่า นึกต่อไปอีกชาติพระคุณเจ้า พอระลึกไปอีกชาติหนึ่งไปรู้ว่าชาตินั้นท่านผู้นี้ถูกโจรจับ มันจะฆ่า อุบาสิกานี่ก็เป็นภรรยาของโจร พอโจรมันจะฆ่า ภรรยาก็ขอร้องว่าอย่าไปฆ่าเขา เขาไม่มีความผิด แล้วก็ถูกปลดปล่อยไป ในเมื่อรู้อย่างนั้นก็มานึกถึงบุญคุณเขา ความโกรธมันก็ระงับลง ในที่สุดก็ได้สำเร็จพระอรหันต์

   เพราะฉะนั้น เราโกรธด่าตีกันธรรมดา ๆ นี่ไม่สำคัญหรอก โกรธในสมาธินี่มันร้ายแรงที่สุด ดีไม่ดีระงับไม่อยู่กรรมฐานแตก

   เรื่องอสีติมหาสาวก ๘๐ รูปนี่ หลวงพ่อเรียนนักธรรมโทอ่านไปๆๆ ร้องไห้ไป มันเกิดปีติ เช่นอย่างบางท่านนั่งทอหูกอยู่กำหนดสติรู้เรื่อยไป พอทอหูกจบสำเร็จอรหันต์ก็มี พระเถระบางท่านนั่งเทศน์สอนลูกศิษย์ พอเอวังลงไปสำเร็จอรหันต์ก็มี เพราะฉะนั้น การเทศน์การแสดงธรรมนี่ เราจึงถือว่าเราไม่ได้สอนคนอื่นแต่เรามานั่งให้คนอื่นสอบไล่เรา แล้วเราก็สอนเราเอง ถ้าไปคิดว่าเทศน์สอนคนอื่นแล้ว หลวงพ่อเทศน์ไม่เป็น ไม่รู้จะเอาอะไรไปสอนเขา เขาเก่งกว่าเราเสียอีก

ที่มา  http://www.thaniyo.net/
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.thaniyo.net/
22107  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 10:04:10 pm
เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธิ
พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย)
วัดป่าสาลวัน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา


เรื่องของสมาธินี่ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี เป็นสิ่งที่เราสามารถบำเพ็ญให้เกิดมีขึ้นมาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของสมาธิย่อมมีเสื่อมมีเจริญ

เหตุแห่งความเสื่อมของสมาธินั้นคือ ความประมาท ไม่ฝึกฝนให้ต่อเนื่องกัน หรือบางทีเราอาจจะ ทำผิดศีลธรรม อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม ในเมื่อเป็นเช่นนั้น สมาธิก็ย่อมเสื่อมได้ เพราะเรื่องของสมาธิเป็นเรื่องของโลก เรื่องของโลกียวิสัย มีเสื่อมแล้วก็มีเจริญ


เช่นอย่างผู้ที่บำเพ็ญสมาธิ ได้สำเร็จฌานสมาบัติเหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าประมาทขาดการสำรวม ไปเกิดความยินดีในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ในขณะนั้นก็สามารถทำให้ฌานเสื่อมได้เหมือนกัน เช่นอย่างสามเณรที่ได้ฌานสมาบัติแล้ว เธอไปไหนมาไหนเธอก็เหาะไป ครูบาอาจารย์ก็เตือนว่า เณรอย่าประมาท เณรอย่าประมาท อันนี้ได้แก่เณรลูกศิษย์พระมหากัสสปะ เวลาท่านจะไปไหนท่านเข้าสมาธิ เข้าฌานสมาบัติ แล้วท่านก็อธิษฐานจิตเหาะไป อาจารย์ก็เตือนว่า อย่าประมาทนะเณร

อยู่มาวันหนึ่ง ท่านไปธุระท่านก็เหาะไป พอเหาะไปได้สักครึ่งทาง พอดีสมาธิมันถอนออกมา ได้ยินเสียงสตรีร้องเพลงไปเกิดความกำหนัดยินดีในเสียงของสตรี กำหนดจิตเข้าฌานไม่ทัน ก็ตกลงมาจากกลางอากาศมาถึงดิน แต่ก็ไม่เป็นอันตรายเพราะว่ากำลังของฌานนั้นอุ้มเอาไว้ ที่นี้ในเมื่อมันเสื่อมอย่างนั้นแล้ว มันก็สามารถบำเพ็ญให้เกิดให้มีขึ้นมาได้

ผู้ที่ได้ฌานสมาบัติแล้วเสื่อมเพราะการทำผิด ยกตัวอย่างเช่น พระพุทธเจ้าในสมัยที่เป็นพระโพธิสัตว์ บำเพ็ญบารมีบวชเป็นฤาษีอยู่ในป่าหิมพานต์ แล้วก็มาสู่แดนมนุษย์เป็นครั้งคราว อยู่มาภายหลังเผลอไปทำผิดกับพระราชินีของพระเจ้าแผ่นดินนครหนึ่ง สมาธิก็เสื่อม ฌานก็เสื่อม ภายหลังพระเจ้าแผ่นดินท่านทรงทราบ ท่านก็ไม่ทรงเอาเรื่อง ท่านยกโทษให้ อโหสิกรรมให้ เมื่อได้รับการอภัยโทษแล้ว ท่านก็หนีมาบำเพ็ญสมาธิภาวนาอีก ก็สามารถได้สมาธิเข้าฌานสมาบัติเหาะไปอยู่ป่าหิมพานต์ได้

เพราะฉะนั้น สมาธิจะเสื่อมได้ด้วยเหตุ ๒ ประการ

หนึ่ง ความประมาท ไม่ปฏิบัติต่อเนื่องกัน คือไม่เป็น ภาวิตา อบรมมากๆ พหุลีกตา ทำให้มากๆ ให้คล่องตัว ให้ชำนิชำนาญ ก็เป็นทางเสื่อม เพราะฉะนั้น การบำเพ็ญสมาธินี่จะต้อง ภาวิตา การอบรมให้มากๆ

สอง พหุลีกตา การทำให้คล่อง ให้ชำนิชำนาญ แม้ผู้สำเร็จพระอรหันต์แล้ว ภูมิจิต ซึ่งเรียกว่าสมาธินี้ ก็อ่อนกำลังลงได้ แต่ไม่ถึงขนาดที่เสื่อมสลายโดยไม่มีอะไรเหลือ ถ้าหากท่านผู้ที่เข้าฌานเข้าสมาธิได้คล่องตัว แต่ท่านไม่ฝึกฝนอบรม ท่านปล่อยตามบุญตามกรรม พลังของสมาธิ หรือความชำนาญในการเข้าฌานให้คล่องแคล่วว่องไวนั้นมันก็เสื่อมลงเหมือนกัน


บางท่านอาจจะสงสัยว่าพระอรหันต์มีเสื่อมอยู่หรือ เรื่องของศีล สมาธิ ปัญญา มันเป็นเรื่องโลกๆ ไม่ใช่เรื่องโลกุตระ แต่มันก็เป็นอุปกรณ์เป็นเหตุเป็นปัจจัยหนุนส่งดวงจิตให้ดำเนินไปสู่ที่สุดคือพระนิพพาน อันนี้มันเป็นพลังที่เราจะสร้างขึ้นเท่านั้น

ในเมื่อเราสร้างพลังพร้อมแล้ว บรรลุถึงพระนิพพานหมดกิเลสแล้ว สิ่งเหล่านี้มันก็ไม่มีความหมาย สิ่งที่พระอรหันต์ไม่เสื่อมก็คือความหมดกิเลส กิเลสที่ท่านทำให้บริสุทธิ์สะอาด จิตที่เคยมีกิเลส ท่านชำระให้บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลสแม้ธุลีก็ไม่มีเหลืออยู่ในจิตของท่าน ความหมดกิเลสนั้นไม่รู้จักเสื่อม

เพราะฉะนั้น การตรัสรู้กับความเป็นพระอรหันต์มันคนละอย่าง เช่นอย่างพระพุทธเจ้าตรัสรู้นี่ ตรัสรู้เป็นโลกวิทูก็ดี ตรัสรู้จุตูปปาตญาณการจุติและเกิดของสัตว์ทั้งหลายก็ดี ตรัสรู้กิเลสอันเป็นเหตุเป็นพิษเป็นภัยที่ยังสัตว์ให้ข้องอยู่ในวัฏสงสารก็ดี อันนี้มันเป็นแต่เพียงอารมณ์จิต เป็นฐานสร้างจิตให้มีพลังงานเพื่อที่จะได้ขจัดกิเลสที่มีอยู่ในจิตให้หมดไป

แต่ในเมื่อกิเลสหมดสิ้นไปแล้ว ความรู้ทั้งหลายเหล่านั้นมันก็ไม่มีความหมายสำหรับผู้ที่สำเร็จแล้ว นอกจากท่านจะเอาเป็นเครื่องมือเพื่ออบรมสั่งสอนคนอื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อจะได้ไปสู่มรรคผลนิพพานตามแนวทางของท่านเท่านั้นเอง แต่ความหมดกิเลสนั้นพระอรหันต์คือผู้ขจัดกิเลส ผู้ฆ่ากิเลส กิเลสน้อยใหญ่ที่มีอยู่ในจิตในใจตัดขาดไปด้วยพลังของพระอรหัตมรรค เมื่อพระอรหัตมรรคตัดกิเลสให้ขาดสะบั้นไปแล้ว กิเลสนั้นก็ไม่ย้อนกลับมาทำให้ท่านเสื่อมอีก คือไม่กลับมาทำให้ท่านเป็นผู้มีกิเลสอีกนั้นเอง

ที่มา
http://www.geocities.com/thaniyo/phraputto0445_1.html
http://www.thaniyo.net/
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.thaniyo.net/

22108  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ” เมื่อ: กุมภาพันธ์ 06, 2011, 09:52:30 pm



ลักษณะของ“จิตที่เป็นสมาธิ”
โดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)

ดังได้กล่าวแล้วข้างต้นว่า อธิจิตตสิกขาคือการฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพและสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิ ซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้นจึงหมายถึง ภาวะจิตที่มีคุณภาพและมีสมรรถภาพที่ดีที่สุด จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดีสมรรถภาพสูงนั้น มีลักษณะที่สำคัญดังนี้


1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทางเดียว ย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระหรือบึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆ ได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนกันหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย

ไวพจน์ที่แสดงความของสมาธิคำหนึ่งคือ เอกัคคตา แปลกันว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่าตามรูปศัพท์จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรกคือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ) คำว่า อัคคะในที่นี้ท่านให้แปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยจิตเป็นสมาธิก็คือ จิตที่มียอดหรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง แทงทะลุสิ่งต่างๆ ไปได้ง่าย

จิตที่เป็นสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่งสมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกจารย์เรียกว่า “ จิตประกอบด้วยองค์ 8 ” องค์ 8 นั้นท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ
      1 ตั้งมั่น
      2 บริสุทธิ์
      3 ผ่องใส
      4 โปร่งโล่งเกลี้ยงเกลา
      5 ปราศจากสิ่งมัวหมอง
      6 นุ่มนวล
      7 ควรแก่งาน
      8 อยู่ตัวไม่วอกแวกหวั่นไหว


     ท่านว่าจิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญาพิจารณาให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิตให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้

     ตามที่กล่าวมานี้มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิ ด้วยก็คือความควรแก่งาน หรือความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนาก็คือ ทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมเช่นนั้นเป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรมให้เกิดความรู้แจ้งตามความเป็นจริงและโดยนัยนี้จึงควร



ย้ำเพิ่มไว้อีกว่า สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โล่งโปร่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

“ ภิกษุทั้งหลาย ธรรม 5 ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ห้าประการกล่าวคือ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ภิกษุไม่ละธรรม 5 ประการที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง แล้วจักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้งซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ”

 
“ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้ เปรียบเสมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชี่ยวพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้นก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชี่ยว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้... ”

สังคารวพราหมณ์กราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

พระพุทธเจ้าตอบตรัสว่า : ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใดบุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่และไม่รู้ชัดตามเป็นจริงซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิด ขึ้นแล้ว ในเวลานั้นเขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนานก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย

(บุคคล มีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉาก็เช่นเดียวกัน ทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำดังต่อไปนี้)

1. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าน สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันไว้ คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

2. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพุ่ง คนตาดีมองเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

3. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

4. (จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ถูกลมพัดไหล กระเพื่อมเป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

5. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำที่ขุ่นมัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง



     ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ 5 ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ 5 ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนานก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่กล่าวมาแล้ว

“ ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งทอง 5 อย่างต่อไปนี้ ทองเปื้อนปนเข้าด้วยกันแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อ่อน ไม่ควรแก่งาน ไม่สุกปลั่ง เปราะ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ; ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ เหล็ก โลหะอื่น ดีบุก ตะกั่ว และเงิน...เมื่อใดทองพันจากอุปกิเลส 5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อน ควรแก่งาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ได้ดี ”

“ กล่าวคือ ช่างทองต้องการทำเครื่องประดับชนิดใดๆ จะเป็นแหวน ต่างหู สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลาก็ตาม ย่อมสำเร็จผลที่ต้องการ ฉันใด อุปกิเลสแห่งจิต 5 อย่างต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ห้าอย่างเป็นไฉน ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา... ”

“ เมื่อจิตพ้นจากอุปกิเลส  5 ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอจะน้อมจิตไปเพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้งซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณีธรรม (สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง) อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆ ได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่... ”

มีพุทธพจน์บางแห่งตรัสว่า “ ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้งห้า และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ไม่เลือนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่าเป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว ”

ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์สม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมันผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจายเหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วแน่มั่นคง เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดงม ติดไฟสงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี



ที่มา http://www.junjaowka.com/webboard/showthread.php?t=72007
ขอบคุณภาพประกอบจาก  http://www.rmutphysics.com/,http://i788.photobucket.com/}http://www.watnyanaves.net/
22109  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / อาชีพที่เสี่ยงต่อการตกนรก ตามกฎของโลกวิญญาณ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 05, 2011, 12:33:18 pm
อาชีพที่เสี่ยงต่อการตกนรก ตามกฎของโลกวิญญาณ


๑.ตำรวจ
ตำรวจในโลกมนุษย์ เมื่อตายแล้ว ต้องตกนรกเจ็ดชาติ เพราะว่าตำรวจถือว่าตัวมีกฎหมายทีสมมุติอยู่ในมือ เอะอะก็จะจับ ผิดถูกค่อยว่ากันที่หลัง ให้แก้กันที่ศาล


๒.อัยการ
อัยการในโลกมนุษย์ตายแล้ว จะต้องตกนรกห้าชาติ เพราะอัยการจะไม่รับรู้เรื่องผิดถูก จะต้องเอาผู้ต้องหาเข้าคุกให้ได้ เพราะอัยการจะถือหลักว่า เอาชนะความได้มากจะเป็นผลงานของอัยการ


๓.ผู้พิพากษา
ผู้พิพากษาในโลกมนุษย์ ตายแล้วจะต้องตกนรกสามชาติ เพราะว่าฟังตามขบวนการที่วางมาให้ ไม่ได้ไปสืบให้รู้จริงด้วยตนเองอย่างถ่องแท้ เพราะฉะนั้นคนบริสุทธิ์ที่ไม่รู้กฎหมาย จึงตัองติดคุกไปมากแล้วในโลกมนุษย์


๔.ทนายความ
ทนายความในโลกมนุษย์ ตายจากโลกมนุษย์แล้ว ต้องตกนรกสองชาติ  เพราะทนายความจะไม่รับรู้อะไร คิดแต่ว่าจะทำอย่างไรที่จะให้ลูกความชนะเท่านั้น โดยกฎอันนี้ทางโลกวิญญาณถือว่ามีกุศลจิต แต่บางครั้งก็ช่วยคนทำผิดจริงให้ไม่ต้องติดคุก เป็นต้น


ฉะนั้น ท่านที่มีอาชีพเหล่านี้ ท่านควรพิจารณา มหาพิจารณา ในการกระทำของท่าน เพื่อไม่ต้องตกนรกขุมลึกๆ ท่านจะเชื่อหรือไม่แล้วแต่ท่าน สิทธิแห่งความเชื่อบังคับกันไม่ได้ เพียงบอกกล่าวให้ท่านได้ทราบไว้เท่านั้น

ด้วยความปรารถนาดีต่อมนุษยชาติ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
วันมาฆบูชา


อ้างอิง  หนังสือ ธรรมะ จากดวงวิญญาณบริสุทธิ์ สมเด็จโต
22110  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมของคนไทย ทำกันไว้เอง ตอนที่ ๓. "ปฏิกรรม ทำทุกอย่างให้ฟื้น" เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 08:58:53 pm
กรรมของคนไทย ทำกันไว้เอง ตอนที่ ๓. "ปฏิกรรม ทำทุกอย่างให้ฟื้น"

อย่ามัวแต่รอรับผลกรรม จงลุกขึ้นมาทำปฏิกรรมเร็วไว
ผู้ฟัง: ตอนแรกอยากถามท่านเรื่องการเมืองที่มันรุ่มร้อนในขณะนี้ แต่ท่านก็ได้ตอบมาหมดแล้ว
ท่านเจ้าคุณฯ: อย่างนั้นหรือ การเมืองร้อน ใจเราอย่าร้อน ใจเราสบาย ถ้ามองเป็นแล้ว ไม่เร่าร้อนไปด้วย มองเป็นสนุกบ้างก็ได้ แต่อย่าเอาแค่สนุกนะ


คนที่ทำเรื่องร้อนให้สนุกได้ เป็นคนมีความสามารถมาก แต่คนที่เอาแต่สนุก ก็ใช้ไม่ได้ เอาแค่เป็นการพัฒนาความสามารถ ให้ทำเรื่องที่น่ากลัวให้กลายเป็นเรื่องสนุก แล้วเราก็จะได้พูดกันได้สบายๆ ไม่เครียดให้สมองตื้อตัน แต่ถ้ามัวเอาแต่สนุก ก็เรียกว่าตกอยู่ในความประมาท บ้านเมืองก็คงจะต้องพินาศล่มจมแน่

ผู้ฟัง: อาจารย์บางท่านบอกว่าเวลานี้ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย จิตว่าง
ท่านเจ้าคุณฯ: ระวัง จะเป็นการพูดแบบแค่ประชดสังคม ต้องตั้งท่าทีใหม่ สังคมป่วย การเมืองป่วย ศาสนาป่วย เราก็ต้องตั้งหลักขึ้นมา เอาคนกลับขึ้นไปเป็นผู้เยียวยาสังคม


แต่ที่อาตมาอยากจะย้ำแล้วลืมพูดไป  คือ เมื่อสังคมนี้รับผลกรรมของตนเองแล้ว จะแก้ไขอย่างไร
ตอบง่ายๆ ก็บอกว่า ก็แก้กรรมซิ การแก้กรรมนี้ ไม่ใช่เป็นการพูดล้อเล่น แต่เป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งเลยทีเดียว มีศัพท์เรียกด้วยว่า ปฏิกรรมเวลานี้ เราเอาคำว่า “แก้กรรม” มาใช้กันเหมือนเป็นเรื่องไสยศาสตร์ จะเรียกว่าน่าสังเวช หรืออะไรก็แล้วแต่ อาจถึงขั้นที่ควรเรียกว่า น่าอเนจอนาถ ก็ได้

การแก้กรรมตามหลักที่แท้ คือ ปฏิกรรม นั้น เป็นเรื่องสำคัญ เวลานี้ เราเอาคำว่า “ปฏิกรรม” ในรูปต่างๆ มาใช้เป็นศัพท์บัญญัติสมัยใหม่ในหลายความหมาย เช่น ค่าปฏิกรรมสงคราม เครื่องปฏิกรณ์ปรมาณู พวกนั้นมีปฏิกิริยา ฯลฯ (ปฏิกรณ์, ปฏิกรรม, ปฏิกิริยา ตลอดจนปฏิการ เป็นคำเดียวกันแต่ต่างรูปทางไวยากรณ์)

แต่ในภาษาพระ“ปฏิกรรม” เป็นศัพท์หลักสำคัญอยู่ในเรื่องกรรม ซึ่งชาวพุทธไทยแทบจะไม่พูดถึงเลยในความหมายแบบพื้นๆ ถ้าอะไรเสียหาย มันเสื่อมโทรมไป หรือเราทำอะไรไปผิดพลาด ก็ให้ปฏิกรรม
ฟังดูก็ง่ายๆ ปฏิกรรม ก็คือการแก้ไข แต่พอเอาจริง ก็เป็นเรื่องใหญ่ ถึงขั้นต้องตั้งเป็นกระบวนการแก้ไขเลย เวลานี้สังคมของเรา ก็ถึงเวลาที่จะต้องปฏิกรรม เข้าขั้นนี้แล้ว

หลักปฏิกรรม พูดง่ายๆ คือ หลักการu3649 แก้ไข การทำให้กลับคืนดี การละเลิกกรรมที่ชั่วเลวผิดพลาดเสียหาย เปลี่ยนหรือหันไปทำกรรมที่ดีแทน หรือเรื่องที่ทำไปขาดตกบกพร่อง ก็ปรับแก้ใหม่ให้เต็มให้สมบูรณ์ ตลอดจนการกลับตัว การจัดการแก้ไขความผิดพลาดอะไรต่างๆ เพื่อพลิกกลับให้เป็นไปในทางที่ดี เป็นปฏิกรรมทั้งนั้น รวมทั้งการเยียวยาแก้ไขบำบัดโรค ก็เป็นปฏิกรรมอย่างหนึ่งด้วยปฏิกรรมเป็นหลักที่ดีมีอยู่ แต่เรากลับไม่รู้ แล้วก็ไม่ใช้ มันก็เป็นส่วนหนึ่งของหลักกรรมนั่นเอง
 
เพราะฉะนั้น มันจึงรวมอยู่ในเรื่องใหญ่ที่คนไทยเป็นปัญหากันนักหนา คือหลักใหญ่ของพระพุทธศาสนาเรื่องกรรม ที่คนไทยซึ่งบอกว่าตัวเป็นชาวพุทธ ไม่รู้ไม่เข้าใจ แถมถือเพี้ยนทำผิดพลาดออกนอกทางกันไปไกล จนแม้แต่เอากรรมไปทำเป็นไสยศาสตร์ ที่ตรงกันข้ามกับพุทธศาสนา

ปฏิกรรมด่วนของสังคมไทย คือแก้ไขพัฒนาคุณภาพของคน
ในเมื่อบอกว่าคนไทย  หรือสังคมไทย กำลังรับผลที่สมกับกรรมของตน กรรมของตนคือกรรมของสังคมนี้ ที่ทำกันมาเป็นเวลายาวนาน คือกรรมอะไร แล้วเมื่อแก้ไข จะทำอย่างไร

คำตอบมีว่า ผลกรรมใหญ่ของสังคมไทย เป็นปัญหาเรื่องคน และปัญหานั้นลึกเลยทีเดียว คือ ปัญหาคุณภาพคนถ้าใช้ภาษาตามหลักกรรม ก็บอกว่า คนไทยอ่อนในกุศล คือกุศลมีกำลังน้อย อยากได้กุศลง่ายๆ โดยใช้วิธีลัด แต่พอจะให้ทำกุศลจริงๆ ก็ไม่สู้ พัฒนาก้าวหน้ามุ่งแน่วไปในกุศลจริงๆ จังๆ ไม่ได้ เฉพาะอย่างยิ่งกุศลขั้นปัญญา

เพราะฉะนั้น การแก้ปัญหาเรื่องคุณภาพของคน จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดของสังคมไทยการพัฒนาคุณภาพคนนั้น  จะต้องทำกันให้จริงจัง ปัญหาคุณภาพคนไทยเป็นอย่างไร จับจุดที่เรื่องเด่น บอกได้ว่า สังคมไทยเวลานี้อ่อนแอมาก อ่อนแออย่างยิ่ง ร่างกายพอมีกำลัง แต่อ่อนแอทางจิตใจ สภาพอ่อนแอที่ร้ายที่สุด คือ อ่อนแอทางปัญญา

ถ้าอ่อนแอทางปัญญาแล้ว แย่ที่สุด สังคมจะเอาดีไม่ได้ ต้องทำให้มีความเข้มแข็งทางปัญญา สร้างความเข้มแข็งทางปัญญาขึ้นมา จึงจะไปได้ แล้วความเข้มแข็งทางจิตใจ ความเข้มแข็งทางสังคม และความเข้มแข็งอะไรต่ออะไรจะตามมาหมดเลยทีนี้

สังคมไทยของเรานี้มีอาการที่แสดงสภาพอ่อนแออย่างไรหนึ่ง ชอบรุนแรง ทำเรื่องรุนแรงมากๆ บ่อยๆ ความรุนแรงนั้นแสดงถึงความอ่อนแอ เพราะความรุนแรงเกิดจากความอ่อนแอที่ว่าความรุนแรงเกิดจากความอ่อนแอนั้น

จะเห็นว่า คนอ่อนแอไม่มีความเข้มแข็งที่จะควบคุมรักษาภาวะจิตใจของตน ก็เลยวู่วาม เอาแต่อารมณ์ หรือปัญญาอ่อนแอ คิดหาทางออกทางไปอย่างอื่นไม่ได้ ทำความสำเร็จด้วยวิธีการที่ดีงามไม่ได้ ก็เลยต้องเอาความรุนแรงเข้าว่า

นี่ก็เพราะความอ่อนแอ สอง เห็นแก่เสพ หมกมุ่นมัวเมา มั่วสุรายาเสพติด ปล่อยตัวไปตามกระแสบริโภคนิยม ตั้งตัวอยู่ไม่ได้ที่จะไม่เลื่อนไหลล่องลอยไปตามกระแสนั้น จิตใจอ่อนแอ ไม่มีเรี่ยวแรงพอที่จะเหนี่ยวรั้งตัวเองไว้
ขาดกำลังความรู้เข้าใจ คือปัญญาที่จะรู้เท่าทันและที่จะเห็นทางไปที่ดีกว่า ขาดความเข้มแข็งที่จะทวนกระแสร้ายไม่ให้ท่วมท้นพัดพาตัวไป หรือที่จะยืนหยัดไม่ยอมตามเหยื่อล่อแหผลประโยชน์ ฯลฯ


สาม ไม่มีความเข้มแข็งอดทนที่จะรอผลจากการกระทำด้วยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเอง จริงอยู่ มนุษย์ปุถุชนคนทั่วไป ต้องอยู่ด้วยความหวัง การที่มีความหวังก็ดีแล้ว แต่ต้องหวังโดยรอผลจากการกระทำของตน ไม่ใช่หวังลอยๆ หวังแบบพึ่งพาถ้าเอาแต่รอผลจากการดลบันดาล

ไม่ว่าจะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของฤทธิ์ ของเทวดา หรือว่าของคน ได้แค่หวังผลที่รอให้คนอื่นบันดาล ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีความมุ่งมั่น และไม่มีความคิดที่จะทำให้จริงจังจนกว่าจะสำเร็จ ก็คืออ่อนแอสังคมไทยเวลานี้เป็นสังคมรอผลดลบันดาลอย่างหนัก ไม่ว่าจะรอเทวดาบันดาล หรือรอมนุษย์บันดาลก็แล้วแต่ ก็คือจมอยู่ในความอ่อนแอและความประมาท

เป็นเรื่องที่ใช้ไม่ได้ถ้าจะให้สังคมของเราเข้มแข็ง ก็ต้องให้คนมีความเข้มแข็งที่จะรอผลจากการกระทำของตน ก็คือต้องเป็นคนที่หวังผลจากการกระทำ ถ้าคนไทย “หวังผลจากการกระทำ” ไม่ว่าจากการทำงาน จากการทำการศึกษาค้นคว้า จากการทำเหตุปัจจัยของความเจริญก้าวหน้านั้นๆ ก็ตาม ถ้าอย่างนี้แล้ว   รับรองว่าสังคมไทยเดินหน้าแน่

สังคมรอผลดลบันดาล ก็คือคนไข้ที่นอนรอการรักษาพยาบาล
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งการกระทำ   พระพุทธเจ้าตรัสไว้เลยว่า “เราเป็นกรรมวาท เราเป็นกิริยวาท เราเป็นวิริยวาท” คือ เราเป็นผู้ถือหลักการกระทำ เราถือหลักความเพียร ถ้าจะเอาคำชุดนี้ เป็นชื่อของพระพุทธศาสนาก็ได้ บอกว่า พระพุทธศาสนาเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็น กรรมวาท และวิริย-วาท เป็นศาสนาแห่งการกระทำ เป็นศาสนาแห่งความเพียรพยายามถ้าใครมัวไปหวังผลจากการดลบันดาล ของเทวดาหรือไม่ว่าของอะไร ก็แสดงว่า หมดแรง และหล่นจากพระพุทธศาสนาแล้ว

เวลานี้สังคมไทยเป็นอย่างไร เห็นชัดๆ วุ่นอยู่กับเรื่องอ้อนวอนนอนคอย และรอผลดลบันดาล เลยปล่อยเวลาไปเปล่าๆ นานเข้าก็กลายเป็นนิสัยที่ว่า ไม่คิดไม่อยากจะทำอะไร กลายเป็นคนอ่อนเปลี้ย ไม่มีกำลัง เมื่อคนอ่อนแออย่างนี้ ชุมชนก็อ่อนแอ แล้วสังคมก็เป็นง่อย มันจะไปไหวอย่างไรถ้าปล่อยให้คนอยู่ในสภาพอย่างนี้ อ่อนแออย่างนี้

ก็ไม่สามารถทำการสร้างสรรค์อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ก็แก้ปัญหาสังคมไม่ได้คนที่รอการบันดาลจากภายนอกอย่างนี้ ก็คือคนเจ็บป่วยชนิดหนึ่ง ก็เหมือนคนเจ็บไข้ ที่ทำอะไรไม่ได้ ได้แต่รอการรักษา แล้วก็พาให้ชุมชนป่วย ป่วยกันไปหมด ป่วยด้วยความอ่อนเปลี้ยอาการอ่อนเพลีย เปลี้ย ไม่มีแรง เป็นความป่วยอย่างหนึ่งใช่ไหมพอชาวบ้านป่วย ชุมชนป่วย

ต่อไปจังหวัดก็ป่วย ต่อจากนั้นประเทศไทยก็ป่วย จึงต้องพัฒนาคนให้มีกำลังแข็งแรงขึ้นมาคนที่แข็งแรงนั้น  ดูได้จากการที่ว่า เขาเป็นคนทำจริงจัง มีความเพียร พยายาม ขยัน อดทน รอผลจากการกระทำของตนได้


บริหารบ้านเมืองให้มั่นคงปลอดภัยให้คนมีโอกาสทำดีเต็มที่

เรื่องนี้ ไม่ต้องเกรงใจ เวลานี้   มัวแต่เอาใจชาวบ้านกัน จะให้เขารัก จะหาพวก หาคะแนน หรืออะไรก็แล้วแต่ถ้าจะเอาใจด้วยเจตนาดีจริง ต้องให้เขามีหวังจากการกระทำ ไปสนับสนุนให้เขาทำ คุณขาดทุนขาดรอน ขาดอุปกรณ์อะไร จะช่วย แต่คุณต้องทำ อันนี้สำคัญที่สุด แล้วเขาจะเข้มแข็งขึ้นมาได้

อย่างการสวดมนต์สวดพร หรือพระเจริญพระพุทธมนต์ที่เรียกว่าพระ “ปริตร” ก็คือการสร้างอำนาจในการคุ้มครองป้องกันให้มีความมั่นคงปลอดภัย ปลอดโปร่งโล่งใจ มีใจสบาย เกิดกำลังใจขึ้นมา แล้วก็ใช้โอกาสได้เต็มที่ หน้าที่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีแค่นี้คุณมีงานมีหน้าที่มีความดีที่จะทำอยู่แล้ว อันนั้นฉันไม่ไปบันดาลให้ เป็นเรื่องของผลที่จะเกิดจากการทำเหตุปัจจัยด้วยตัวของคุณเอง

แต่เมื่อคุณปลอดภัย มั่นใจ ก็จะได้ใช้โอกาสนั้นไปทำงานทำการเป็นต้นของคุณไปได้อย่างเต็มที่ ไม่ต้องหวาดหวั่นพรั่นกลัวอะไร นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ที่กลับมาหนุนการกระทำ คือมาหนุนกรรม ตรงข้ามกันเลยกับลัทธิรอผลดลบันดาล ที่จะบันดาลให้โดยไม่ต้องทำอันนี้ก็ตรงกันเลยกับเรื่องราวกิจการของมนุษย์   เป็นหลักของการบริหารประเทศชาติบ้านเมืองเลยทีเดียว คือ ผู้ใหญ่บริหาร ผู้ปกครอง ไม่ว่าระดับไหน จนถึงทั้งรัฐ

มีหน้าที่สำคัญก็คือดูแลคุ้มครองให้ชาวบ้านหรือราษฎรมีความมั่นคงปลอดภัย แก้ไขอุปสรรค จัดสรรปัจจัยเกื้อหนุน เปิดช่องทาง สร้างโอกาส ประสานกลไกในระบบ อำนวยเครื่องให้ความสะดวก และเสริมบรรยากาศที่เอื้อ


เพื่อให้ประชาชนสามารถเล่าเรียนศึกษา พัฒนาชีวิต ทำงานทำการ หรือทำการสร้างสรรค์ต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ แล้วก็แนะนำให้ความรู้ ชี้ช่องทาง หนุน ส่งเสริมเข้าไป ไม่ใช่ไปดลบันดาลผลให้เขา

วิกฤตเป็นโอกาสไม่พอต้องเอาโอกาสมาใช้ทำแบบฝึกหัด

ทีนี้ ที่ว่าสังคมไทยเวลานี้ทรุดโทรมมากจนวิกฤตนั้น  เราอย่าหยุดแค่เอาวิกฤตเป็นโอกาสเอาวิกฤตเป็นโอกาสไม่พอหรอก มันไม่ชัดว่าจะเอาโอกาสนั้นทำอะไร เวลานี้ต้องชัด ต้องเจาะลงไป โอกาสที่จะต้องใช้ คือ เป็นโอกาสสำหรับสังคมไทยที่จะทำแบบฝึกหัดสังคมที่จะเจริญ คนที่จะเจริญ ตั้งแต่เด็กที่จะเจริญ จะมีปัญญา จะสำเร็จการศึกษา ต้องทำแบบฝึกหัดมากๆ สังคมไทยเราต้องทำแบบฝึกหัดเยอะๆ

เวลานี้ สังคมมีแบบฝึกหัดให้ทำมากมาย เราจะเข้มแข็งและเราจะเจริญ จะพัฒนาไปได้ ก็ด้วยการหมั่นทำแบบฝึกหัดนี้แหละ ตอนนี้เรามาถึงขั้นตอนที่จะต้องทำแบบฝึกหัดแล้ว ต้องลุกขึ้นมาทำแบบฝึกหัดกัน อย่ามัวบ่นอยู่แม้แต่คนที่เรียกกันว่าผู้ปฏิบัติธรรม ก็อย่าแค่มาปฏิบัติพอให้ใจสบายหายทุกข์ กลายเป็นนักหลบหลีกปัญหาไปเสีย อย่างนี้ไม่ได้

เมื่อปฏิบัติธรรมแล้ว   จิตใจต้องเข้มแข็งมากขึ้น ปัญญาต้องสว่างมากขึ้น ต้องตั้งท่าทีของจิตใจต่อชีวิตต่อโลกได้ถูกต้อง มีเมตตาการุณย์มากขึ้น เป็นอิสระมากขึ้น กลับไปอยู่กับชีวิตในบ้านในที่ทำงานอย่างกระปรี้กระเปร่า เข้มแข็ง มีปัญญาสดใส พร้อมยิ่งขึ้นที่จะก้าวไปได้เต็มที่ จะทำอะไรก็ทำได้ผลดียิ่งขึ้น ช่วยแก้ปัญหารอบตัวได้ดียิ่งขึ้น มิฉะนั้น แม้แต่สมาธิก็จะกลายเป็นสมาธิกล่อมไป

สมาธินั้นมีไว้เพื่อเป็นฐานของปัญญา ถ้าใครไม่เอาสมาธิเป็นบาทฐานของปัญญา สมาธินั้นก็เป็นทางที่ตัน ถึงจะเก่งได้ฌานได้อะไรแค่ไหน ในที่สุดก็ตันธรรมทุกอย่าง เป็นองค์ประกอบอยู่ในกระบวนการส่งต่อไปสู่จุดหมาย ถ้ายังไม่ถึงจุดหมายแล้ว อย่าหยุด อย่าให้ค้างหรือขาดลอยจะปฏิบัติธรรมข้อไหนต้องถามทันทีว่า

ธรรมข้อนี้จะส่งต่อสู่ธรรมข้อไหน จุดหมายใหญ่ที่จะไปถึงในที่สุดคืออะไร แล้วอันนี้จะเป็นส่วนร่วม ส่วนเอื้อ เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการไปถึงจุดหมายใหญ่นั้นอย่างไร ถ้าตอบไม่ได้ ก็แสดงว่ายังสอบตกอยู่การทำบุญก็คือปฏิบัติการในการพัฒนาคนอย่างครบครันและชัดเจน   จึงมีบุญมีกุศลในด้านและระดับต่างๆ มากมาย ซึ่งในที่สุดก็ให้ถึงจุดหมายสุดท้ายที่เป็นอิสระจากกิเลส

จึงต้องระวังที่จะไม่เอาบุญมาใช้ในระบบหวังผลดลบันดาลและการตอบแทนกิเลสสมาธิซึ่งเป็นบุญ เป็นกุศลข้อสำคัญ ที่พูดถึงกันนัก จะเกื้อหนุนการไปถึงจุดหมายสุดท้ายนั้นได้ ด้วยการส่งต่อสู่ปัญญา อันนี้ต้องรู้ไว้ จึงต้องก้าวเดินหน้าต่อไป ไม่ใช่จบที่สมาธิพระพุทธศาสนาบอกจุดหมายชีวิตของบุคคลไว้ว่า คือนิพพาน เมื่อใดบุคคลถึงนิพพานแล้ว

เขาจะทำการเพื่อโลกได้อย่างสมบูรณ์ทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนนิพพาน ก็คือไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตัวเองอีกต่อไป ก็จึงโล่ง ไม่มีอะไรกั้นขวางจำกัด จึงมองไปได้ทั่วทั้งโลก แล้วก็ไปทำเพื่อโลกได้เต็มที่


นิพพานคืออะไร ตอบได้หลายแง่ นิพพานในแง่หนึ่ง คือ ภาวะหมดกิจที่จะต้องทำเพื่อตนเอง ไม่มีอะไรต้องทำเพื่อตนเองอีกต่อไป แม้แต่ในการที่จะมีความสุข หมายความว่า ความสุขนั้นหนึ่ง เป็นความสุขที่มีอยู่ตลอดเวลา เป็นคุณสมบัติประจำอยู่กับตัว ไม่ต้องหาสอง ความสุขนั้นเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสิ่งภายนอก ไม่ขึ้นต่อวัตถุเสพ ไม่เป็นความสุขที่พึ่งพาสาม เป็นความสุขที่เต็มเปี่ยมสมบูรณ์

คนทั่วไปมีแต่ความสุขที่เจือทุกข์ หรือมีเชื้อทุกข์ ซึ่งพร้อมที่จะกลายเป็นทุกข์ อย่างน้อยขณะเสวยสุขอยู่ ก็มีความหวั่นใจหรือความกังวล เป็นต้น ยังแฝงยังระคายหรือคอยกวนอยู่ แต่ความสุขที่เรียกว่า นิพพานเป็นความสุขที่ไร้ทุกข์ จึงเป็นความสุขที่สมบูรณ์
 

นี้คือนิพพานที่ตอบในแง่ความสุข เมื่อตอบอย่างนี้แล้ว ก็มีความหมายต่อเนื่องไปอีกแง่หนึ่งว่า ในเมื่อบุคคลนั้นมีความสุขอยู่ในใจเต็มที่ตลอดเวลา เป็นอิสระไม่ขึ้นต่อสิ่งอื่นใดแล้ว เขาก็ไม่ต้องหาความสุข ไม่ต้องทำอะไรเพื่อตนเองขณะนั้นตัว เขามีปัญญามีความสามารถอยู่อย่างเต็มที่ เพราะกว่าจะพัฒนามาเป็นพระอรหันต์บรรลุนิพพานได้ ต้องผ่านการฝึกตนมาอย่างเต็มที่

ถึงตอนนี้ พลังความสามารถเท่าที่มี ซึ่งไม่ต้องใช้เพื่อตัวเองเลยแล้ว ก็เอาไปทำเพื่อโลกอย่างเดียวโดยสมบูรณ์เพราะฉะนั้น หลักที่พันอยู่ด้วยกันสองอย่างนี้สำคัญมาก คือ “บุคคลนิพพาน ทำการเพื่อโลก”อันนี้คือจุดหมายของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีภาวะสัมพัทธ์ในระหว่างด้วยว่า ยิ่งคนไหนพัฒนาใกล้นิพพานเท่าไร เขาก็ยิ่งมีความพร้อมที่จะทำการเพื่อโลกได้มากขึ้นเท่านั้นด้วย เพราะเขาจะมีความพึ่งพาขึ้นต่อปัจจัยภายนอกน้อยลง พร้อมกับพึ่งตัวเองได้ เป็นอิสระมากยิ่งขึ้น กับทั้งในขณะเดียวกัน ก็มีความสามารถ มีสติปัญญาที่จะทำอะไรๆ ได้ดี ได้มากขึ้นด้วย
22111  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 11:36:31 am


พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาตุ
โดย อั๋น พระรามแปด
คัดลอกจาก: ภควา ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๖
ประจำเดือนพฤษภาคม ๒๕๔๗
โพสท์ในลานธรรมเสวนา หมวดชีวิตกับธรรมะ กระทู้ 12159 โดย: mayrin 01 มิ.ย. 47

พระบรมสารีริกธาตุ และ พระอรหันตธาต กับสถานที่ประดิษฐานอันสำคัญในประเทศไทย
ลังกา อินเดีย แหล่งกำเนิดอารยธรรม อันเจริญรุ่งเรืองแต่เก่าก่อน ทั้งด้านการปกครอง ศาสนา พิธีกรรม มีการเผยแพร่สู่ถิ่นอื่น ๆ โดยเฉพาะเมืองที่ผู้ปกครองหรือผู้นำที่เข้มแข็ง จะมีการสืบ ความรู้แขนงต่าง ๆ ที่รับมาจากลังกา และอินเดีย

นำมาประยุกต์ใช้การสร้างเมืองให้เป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนา มีพระมหาธาตุเจดีย์ตั้งอยู่กลางเมือง ตามคติธรรมราชา ราชาปกครองด้วยธรรมค้ำจุนพระศาสนา เป็นหลักชัยของบ้านเมือง นำศาสนาเป็นสื่อกลางความเป็นอันหนึ่งอันเดียวของกลุ่มชนเป็นอยู่กระจัดกระจาย เป็นก๊ก เป็นเหล่า


พระบรมธาตุเจดีย์ พระมหาธาตุเจดีย์
ดำรงความเป็นศูนย์กลางพระพุทธศาสนาอย่างไม่เปลี่ยนแปลง ตามคตินิยมของชาวพุทธ การได้สักการะปูชนียวัตถุ ปูชนียสถาน ที่สร้างขึ้นมาเพื่อแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ไม่ว่าจะเป็นพระพุทธบาทจำลอง พระพุทธรูปเจดีย์ รวมเรียกว่า อุทเทสิกเจดีย์ ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง และยิ่งมีเรื่องราวสนับสนุนเป็นตำนาน พุทธประวัติ เกี่ยวเนื่องกับสถานที่นั้น ก็ยิ่งเป็นแรงเพิ่มศรัทธาเป็นเท่าทวีคู๑. ธาตุเจดีย์ หมายถึง เจดีย์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุต่าง ๆ

๒. บริโภคเจดีย์ หมายถึง เจดีย์อันมีความเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า เช่น สังเวชนียสถานทั้ง ๔ คือ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ประทานปฐมเทศนา และสถานที่ดับขันธ์ ปรินิพพาน


๓. พระธรรมเจดีย์ หมายถึง พระคัมภีร์ ซึ่งแสดงถึงหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า เป็นหนังสือหรือแผ่นจารึก แม้แต่คำจารึกพระธรรมทั้งหลาย บรรจุไว้ ณ สถานที่ใด ที่นั้นก็ถือเป็นพระธรรมเจดีย์ด้วย

๔. อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึงเจดีย์ที่สร้างขึ้นอุทิศเฉพาะพระพุทธเจ้า เป็นต้นว่า พระพุทธรูป พระพุทธบาท และอาสนะ คือ สิ่งที่สร้างขึ้น แล้วอุทิศถวายพระพุทธเจ้า


เจดีย์มีมาก่อนพระพุทธกาล ต้นไม้ ภูเขา และป่า ตลอดจนสัตว์บางชนิด ก็ได้รับนับถือยกย่องให้เป็นเจดีย์ได้ อย่างนี้มีอยู่ก่อนแล้ว ครั้นเมื่อพระพุทธองค์ทรงประกาศศาสนาในประเทศอินเดีย พระพุทธองค์ก็ยอมรับเจดีย์อันเป็นที่เคารพนับถือของหมู่ชนมาแต่เดิม

ดังที่เห็นได้ในพระวินัยปิฎก ว่าด้วยเรื่องพระฉันทะโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นเจดีย์ของหมู่บ้านเพื่อสร้างวิหาร จึงเป็นเหตุให้ชาวบ้านติเตียน เมื่อพระพุทธองค์ทราบบัญญัติพระวินัยว่า พระภิกษุสงฆ์ห้ามโค่นต้นไม้ใหญ่ อันเป็นที่นับถือของหมู่บ้าน

แต่คำว่าเจดีย์ที่เราเข้าใจในปัจจุบันนั่น ไม่ปรากฏว่า พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้ ณ ที่แห่งใดเลย มีแต่ทรงตรัสถึง ธูปารหะบุคคล คือ บุคคลอันควรแก่สถูปเท่านั้น หน้าที่เจดีย์ ๔ อย่างที่กล่าวมาแล้วนั้น น่าจะเป็นของที่เกิดขึ้นในครั้งหลัง

แต่ต้องไม่นับถ้อยคำ กล่าวสรรเสริญพระพุทธองค์ของพระเจ้าปเสนทิโกศล ซึ่งพระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ถ้อยคำว่าพระเจ้าปเสนทิโกศล นั้น เป็นธรรมเจดีย์ ดังมีมาในธรรมเจติยสูตร


เจดีย์ ทุกท่านจะนึกรู้ทันทีว่า หมายถึงสถาปัตยกรรม อันมิใช่ตัวอาคารที่จะเข้าไปอยู่อาศัยได้ เหมือนดังโบสถ์หรือวิหาร บางทีก็เรียกว่า สถูปเจดีย์ หรือพระปรางค์ก็ได้

บรรดาเมืองหลวง หรือเมืองที่จัดอยู่ในระดับราชธานี ตามคติโบราณของไทยนับถือพระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ เมืองจะต้องมีวัดที่สำคัญ เช่น วัดมหาธาตุ อยู่เป็นหลัก หรือเป็นประธานของเมืองนั้น ๆ

จึงปรากฏชื่อวัดมหาธาตุอยู่เป็นหลักสำคัญของเมือง ตั้งแต่สมัยสุโขทัย มาจนถึงรัตนโกสินทร์ทั้งยังเป็นที่สถิตประทับอยู่ของพระมหาเถระที่ได้ราชทินนามว่า "สมเด็จพระสังฆราช" ทรงประทับอยู่ที่วัดมหาธาตุ

วัดมหาธาตุจึงเป็นวัดที่แตกต่างจากวัดทั่ว ๆ ไป โดยจะมีพระเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างถวายตามความเชื่อ เพื่อเป็นประธานของเมือง นอกจากวัดมหาธาตุแล้วยังมีสถานที่อื่น ๆ สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่กันขึ้นทุกยุคทุกสมัย ตามศูนย์กลางความเจริญในแต่ละสถานที่นั้น ๆ

อาทิ พระบรมธาตุเจดีย์เมืองนครศรีธรรมราช พระธาตุไชยา พระธาตุพนม พระธาตุหริภุญชัย ฯลฯ แต่ละสถานที่ก็มีเรื่องเล่า ตำนานความศักดิ์สิทธิ์ แต่ละจุดศูนย์กลาง เน้นไปที่พระบรมสารีริกธาตุ

พระธาตุที่บรรจุอยุ่ในองค์พระเจดีย์ตามตำนานต่าง ๆ พื้นฐานจะมาจากที่แห่งเดียวกัน คือ มาจากชมพูทวีป ในประเทศอินเดีย แต่การให้ได้มาประดิษฐานยัง ณ สถานที่แห่งนั้น ๆ มักมีเรื่องของอิทธิปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไปอย่างสลับซับซ้อน เพื่อสนับสนุนเพิ่มความศรัทธาเป็นเท่าทวีคูณ

 

พระบรมธาตุตามตำนาน
พระบรมธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และธาตุของพระอรหันต์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์สาวกของพระพุทธองค์ มีลักษณะแตกต่างกับอัฐิหรือกระดูกของปุถุชนคนธรรมดา โดยพระองค์ท่านเป็นผู้ที่สำเร็จและปรินิพพานไปแล้ว

จึงเป็นสิ่งควร เคารพบูชาอย่างสูงยิ่ง ทั้งยังเป็นอานิสงส์แก่ผู้กราบไหว้ เคารพบูชาให้สำเร็จประโยชน์และสุขสมบูรณ์ ผลานิสงส์ นี้จะปรากฏแต่เฉพาะ ผู้มีความเลื่อมใส กระทำการสักการะ โดยสุจริต เท่านั้น


พระบรมสารีริกธาตุประดิษฐานในประเทศไทย
พระบรมสารีริกธาตุที่ปรากฏในประเทศ ในเมืองไทย มีเรื่องเล่า การได้มาซึ่งพระธาตุมีปาฏิหาริย์แตกต่างกันออกไป แต่พื้นฐานก็มาจากประเทศอินเดีย จะยกตำนานเรื่องเล่าของการได้มาซึ่งพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นตำนานที่เล่าสืบทอดคู่กับพระเจดีย์นั้นสักแห่งหนึ่ง ที่มีประวัติเกี่ยวกับอิทธิปาฏิหาริย์

เพื่อสนับสนุนให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์และศรัทธา มีมาแต่ครั้งโบราณก็จะได้ยกถึงประวัติพระบรมธาตุเจดีย์ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช อันเป็นศูนย์กลางศาสนาวัฒนธรรมมาแต่โบราณ


กล่าวตำนานพระบรมธาตุเจดีย์
นครศรีธรรมราช
เริ่มต้นจากประเทศอินเดียก่อน หลังจากที่พระพุทธองค์ได้ดับขันธ์ ปรินิพพานแล้วมีการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปประดิษฐาน ณ ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ทั้งบนสวรรค์ โลกมนุษย์ และบาดาล

มาในสมัยพระเจ้าอชาตศัตรู ทรงได้นิมนต์พระมหากัสสปะ ให้ไปอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่ประดิษฐานในที่ต่าง ๆ รวบรวมมาไว้ที่กรุงราชคฤห์ ชมพูทวีป โดยให้ขุดหลุมฝังแล้วทำพิธีกรรมผูกพหุ่นยนต์ หรือหุ่นฝางหญ้า ปลุกเสกด้วยเวทมนต์ให้หุ่นพยนต์นี้อารักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุนี้ไว้

ครั้นถึง พ.ศ. ๒๒๔ สมัยพญาอโศกราชแห่งนครอินทรปัตต์ ได้โปรดให้ขุดพระบรมสารีริกธาตุที่สมัยพระเจ้าอชาตศัตรูฝังไว้ ขึ้นมาแจกจ่ายยังนครต่าง ๆ ๘๔,๐๐๐ แห่งกษัตริย์สิงหราช เจ้าเมืองทนธบุรี (ท้าวโกสีหราช หรือ อังกุศราช) ได้รับพระทันตธาตุไปบูชา จึงเป็นเหตุให้กษัตริย์แห่งอื่น ๆ ยกทัพมาหวังจะแย่งชิง พระทันตธาตุ มิได้ขาด จนสุดท้ายเมืองนี้ถูกโจมตีจากกองทัพ ๕ เมือง

กษัตริย์สิงหราชทรงเห็นว่า ไม่สามารถรักษาพระทันตธาตุองค์นี้ไว้ได้จึงรับสั่งให้พระราชธิดา คือ พระนางเหมชาลา และพระราชโอรสนามว่า เจ้าชายทนธกุมาร ให้อัญเชิญพระทันตธาตุลงเรือไปถวาย พระเจ้ากรุงลังกา
ระหว่างที่เดินทางเกิดพายุใหญ่ เรืออับปาง ขบวนเสด็จของพระนางและเจ้าชายถูกพัดมาขึ้นฝั่ง จึงได้ฝังพระทันตธาตุไว้ ณ ที่แห่งนั้นระหว่างอยู่ที่หาดทรายแก้ว ได้ถูกท้าวนาคา ลอบมาลักพระทันตธาตุไว้ในนาคพิภพ หรือเมืองพญานาค


พระมหาเถรพรหมเทพได้ช่วยพระนางชิงคืนกลับมาแล้วได้นำไปถวายถึงมือเจ้ากรุงลังกา แต่พระเจ้าทศคามิมี พระจ้ากรุงลังกาได้ประทานพระทันตธาตุคืนให้พระนางทะนานหนึ่ง ส่วนหนึ่งนำกลับไปฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว แล้วเหลือกลับไปประดิษฐานคืนเมือทนธบุรีดังเดิม

ถึงยุคพระเจ้าศรีธรรมมาโศกราช อพยพพลเมืองหนีโรคห่าไปถึงหาดทรายแก้ว เทพยดาแสดงปาฏิหาริย์ดลใจให้พระองค์พบสถานที่ซ่อนพระทันตธาตุ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญขึ้นมา แต่ไม่สำเร็จ ด้วยอิทธิฤทธิ์หุ่นยนต์ที่ถูกผูกขึ้นไว้มารักษาพระธาตุ เป็นฝูงนกการออกมาทำร้าย

ต่อมาได้เจ้ากากภาษา โอรสเจ้าเมืองโรมพิสัย อาสามาแก้อาถรรพณ์ให้ได้สำเร็จ แล้วสร้างพระเจดีย์ขึ้นบรรจุพระบรมธาตุ ตามตำนานกล่าวว่าพระบรมธาตุเจดีย์องค์นี้สร้างเมื่อ พ.ศ. ๘๕๔ นี่คือเรื่องราวตำนานหนึ่งในหลาย ๆ ตำนานพระธาตุเจดีย์สำคัญของไทย เน้นปาฏิหาริย์ดึงศรัทธาของกลุ่มคน


พระธาตุในยุคปัจจุบัน
โลกที่ไม่ว่างจากพระอรหันต์ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้ทำการสักการะพระพุทธรูปในสถานที่ใด สถานที่หนึ่ง นอกจากจะมีพระพุทธรูปให้ได้ทำการสักการะแล้วจะมีกระดูกของครูบาอาจารย์ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า พระธาตุ ให้ได้สักการะกัน

โดยเฉพาะวัดหรือสถานที่ปฏิบัติธรรมในสายพระป่า เช่น วัดป่าสาละวัน จังหวัดนครราชสีมา จะนำอัฐิของครูบาอาจารย์พระป่าสายวิปัสสนาที่สำคัญๆ หลาย ๆ องค์นำมาประดิษฐานให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา เช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงปู่สิงห์ หลวงปู่ฝั้น หลวงปู่พุธ

อัฐิ หรือ กระดูก ท่านทั้งหลาย ปรากฏเกิดเป็นแก้วผลึกใส ที่เรียกว่า พระธาตุ น่าอัศจรรย์พระธาตุท่านทั้งหลายเหล่านี้ ครูบาอาจารย์ในชั้นลูกศิษย์ถือได้ว่าเป็นพระธาตุที่มีค่ามาก เพราะเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นกับครูบาอาจารย์ของท่านเอง

เมื่อท่านได้ละสังขารไปแล้ว หลังจากกระทำพิธีสามหาบ(การเก็บกระดูก หลังจากเผาเรียบร้อยแล้ว) ลูกศิษย์ลูกหาที่เคารพนับถือจะแบ่งไปเพื่อประดิษฐานยังสำนักปฏิบัติธรรมของตน จึงถือว่าเป็นพระธาตุที่เกิดขึ้นจริง มิใช่พระธาตุที่กล่าวขึ้นในตำนาน

 
22112  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / อายหมามัน เมื่อ: มกราคม 31, 2011, 11:05:10 am
อายหมามัน


โพสท์ในเวบพันทิป หมวดศาสนา กระทู้ที่ : Y3318300
ที่วัดแห่งหนึ่งในกรุงฯ เรานี่เองมีพระหมอดูที่มีชื่อเสียงเลื่องลือว่าดูหมอแม่นมาก พระหมอดูรูปนี้นี้เป็นผู้ที่มากไปด้วยเมตตา ท่านใช้วิชาโหราศาสตร์ในการปลดเปลื้องความทุกข์ ของชาวบ้านด้วยการปลอบประโลมหรือเตือนสติให้ผู้มาดูหมอกับท่านอยู่ในลู่ทางของพุทธศาสนิกชนที่ดี คือไม่ให้ทุกข์จนทอดอาลัย หรือไม่ให้ลิงโลดคอยแต่โชคลาภที่จะมาถึงจนประมาทไม่ทำมาหากินเลย

นอกจากนี้ท่านก็ไม่ห่วงวิชา เวลาท่านดูหมอให้ชาวบ้านก็มักจะมีพวกลูกศิษย์ลูกหาหาทั้งพระทั้งฆราวาสมานั่งเรียนวิชาจากท่าน หลายครั้งท่านจะให้พวกลูกศิษย์ประเภทพอมีความรู้ทางโหราศาสตร์ใช้การได้แล้วทดลองผูกดวงของญาติโยมที่มาดูหมอ โดยท่านจะตรวจความถูกต้องอีกทีหนึ่ง เวลาท่านทำนายทายทักก็อธิบายถึงอิทธิพลของดวงดาวและเรือนของภพของภูมิต่าง ๆ ตลอดจนหลักการพยากรณ์และเกร็ดความรู้ต่าง ๆ ไปด้วย
 
แล้วมาวันหนึ่งมีชายวัยกลางคนแต่งตัวซอมซ่อพาลูกชาย ๒ คนมาหาพระดูหมอดูที่ว่านี้ ชายวัยกลางคนนี้เล่าว่า เขายากจนเหลือเกินไม่มีปัญญาหาเลี้ยงลูกทั้งสองได้ ก็เลยจะยกลูกคนหนึ่งให้กับญาติที่บ้านเดิมที่กาญจนบุรีเป็นบุตรบุญธรรมเขาเสียคนหนึ่ง เพราะหากอยู่ด้วยกัน ๓ คนพ่อลูกก็อาจจะอดตายได้ ที่มาหาพระก็เพื่อให้ช่วยดูดวงว่าควรจะยกลูกคนโตหรือลูกคนเล็กให้ญาติเลี้ยงดี เรียกว่ามาอาศัยบารมีของโหราศาสตร์ให้ช่วยเลือกทีเถิด พระหมอดูท่านนั้นหลังจากผูกดวงเรียบร้อยแล้ว ท่านพูดว่า

" ที่สำคัญต้องดูนิสัยใจคอเด็กจากตนุเศษเสียก่อน เจ้าคนพี่ ตนุเศษคือ ศุกร์ในเรือนจันทร์ มันอ่อนหวาน มีอารมณ์แช่มชื่น หัวอ่อน ว่าง่าย และศุกร์ตนุเศษเป็นศรี มักรักดีใฝ่ดี แม้ร่วมอังคารก็ไม่แรง เพราะเป็นนิจไปเสียแล้ว ศุกร์เป็นทั้งตนุลัคน์และตนุเศษ เป็นคนเปิดเผย สุจริต เมื่อตนุเศษมาอยู่ในภพกัมมะ มันรักเอาใจใส่การงานดี

"ส่วนเจ้าน้องชายนั้นตนุเศษคืออังคารในเรือนอาทิตย์ ใจมันกล้าหาญร้อนแรง อยู่ข้างจะไม่เรียบร้อย ยิ่งติดเรือนอาทิตย์ ถ้าจะดื้อแล้วมันก็จะรั้นเอาการทีเดียว ยิ่งร่วมมฤตยูมันดึงดันแบบเอาหัวชนฝา ยิ่งกว่านั้นราหู ตัวอารมณ์อยู่เรือนอังคาร ทำให้อังคารตัวนี้วู่วามขาดความยับยั้ง แต่ถ้ายามดี มันขยันหมั่นเพียรอาสาการงานดีเพราะตนุเป็นอุตสาหะ คนที่ตนุลัคน์เป็นอุจจ์นั้น ไม่ค่อยยอมลงใครง่าย ๆ หรอก ดังนั้น ถ้าจะให้ใครไปอยู่กับคนอื่นก็คงต้องตัวพี่ชายนั้นแหละ เนื่องจากการไปอยู่อาศัยอยู่กับคนอื่นนั้นเด็กมันต้องอัธยาศัยดี อ่อนน้อม ขยันขันแข็ง ใช่คล่อง เขาถึงจะเมตตา"


เวลาท่านดูหมอแล้วละก็ ท่านจะฟันธงโป๊ะเชะไปเลย ไม่มีอ้อมค้อม อ้ำ ๆ อึ้ง ๆ ทำนายกำกวมแบบกั๊กเหมือนหมอดูหรือพวกใบ้หวยพวกนั้นที่เขานิยมทำ ๆ กัน เมื่อได้ฟังดังนั้น เจ้าคนพี่ก็ปล่อยโฮสะอื้นฮัก ๆ ทำเอาคนทั้งหลายบนกุฏิระส่ำระส่ายด้วยความเวทนา เจ้าเด็กน้อยตัวนี้ก็หันไปสั่งเสียกับพ่อว่า

" พ่อขายผมได้เงินมาแล้ว พ่อต้องให้น้องเข้าโรงเรียน แล้วทำบุญให้แม่ด้วย "
เท่านั้นแหละ พระหมอดูท่านหันไปตวาดถามอีตาพ่อทันทีว่า
" นี่แกจะขายลูกหรือ ? "

อีตาพ่อโกหกมาแต่แรกแล้ว จึงต้องสารภาพว่า
" คนจีนในตลาดเขาไม่มีลูก เขาขอเด็กไปเลี้ยง จะให้ค่าเลี้ยงดูเก้าร้อยบาท ตั้งใจจะเอาเงินก้อนนี้ไปทำทุนหาเลี้ยงเจ้าคนที่เหลือต่อไป "
พูดแล้วก็กระสับกระส่าย ถือโอกาสลากลับเลยทีเดียว พระหมอดูท่านพยายามระงับจิตใจเอาไว้แล้วก็พูดเบา ๆ ว่า

" ก่อนที่จะกลับนี่ อยากจะเล่าอะไรให้ฟังไว้สักเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องพ่อและลูกที่เกิดขึ้นจริง ๆ เมื่อสมัยอาตมายังเป็นเด็ก ไม่ได้สรรค์แต่งมาพูดเทศนา ฟังแล้วจะไม่ยึดถือ เอาทิ้งไว้ชานกุฏินี้ก็ได้ "
เมื่อเห็นพ่อเด็กนิ่งเหมือนยอมรับฟังโดยดุษณี ท่านก็เริ่มเรื่องขึ้น

 
" เมื่ออาตมายังเด็ก อายุคราว ๆ เจ้าสองคนนี่แหละ โยมป้าแช่มแกเป็นสาวโสด แกขออาตมาซึ่งเป็นหลานมาเลี้ยงแกจับอาตมาบวชเณรที่วัดตีนเลน เดี๋ยวนี้เขาเรียกวัดบพิตรภิมุข ส่วนตัวแกเองอยู่บ้านถัดวัดเข้าไป เป็นสะพานยาวตามที่ชานเลนลงริมแม่น้ำ

อาชีพแกทำขนมฝรั่งขายส่งเจ้าจำนำอยู่ที่สะพานหัน ซึ่งส่งกันเป็นประจำทุกวัน การส่งขนมเจ้านำของแกแปลกประหลาดไม่เหมือนใคร คือใช้สุนัขเป็นผู้ส่งและรับเงินค่าขนมกลับมาเสร็จ เจ้าสุนัขตัวนี้รูปร่างพิกล เป็นสุนัขตัวผู้สีขาวปลอด แต่ตอนบนศีรษะเหมือนใครเอาถุงสีดำมาคลุมไว้ แกเลยตั้งชื่อตามลักษณะของมันว่า " อ้ายโม่ง" 

วิธีส่งขนมฝรั่งของแก คือ พอทำเสร็จก็ใส่บรรจุลงในตะกร้าหวาย สำหรับถือไปจ่ายกับข้าว เอาผ้าปิดกันฝุ่นไว้ เขียนจดหมายบอกราคาเงินใส่ไปเสร็จส่งให้อ้ายโม่งคาบไปส่งเจ้าจำนำที่เชิงสะพานหัน

เมื่อเจ้าจำนำรับขนมฝรั่งครบก็เอาสตางค์ใส่ตะกร้าส่งให้อ้ายโม่งคาบกลับมา ปฏิบัติเช่นนี้มาทุกวัน ที่มันฉลาดรอบรู้ทำได้ดี ก็เพราะตอนมันเล็ก ๆ มันติดสอยห้อยตามโยมป้าไปส่งขนมฝรั่งเจ้าจำนำคนนี้เป็นประจำทุกวัน ร่วมปีจนมันโตเป็นหนุ่มจำได้แม่น ระยะทางจากบ้านปลายสะพานยาวมาร้านจำนำที่สะพานหันนั้นมันไกลพอดู คือจากบ้านต้องผ่านวัดและเลี้ยวอ้อมโบสถ์ มาหลังโรงเรียนบพิตรภิมุข และเลียบตึกแถวริมคลองโอ่งอ่างมาจนถึงสะพานหัน ชาวบ้านสองข้างทางทุกบ้านรู้จักอ้ายโม่งดี เวลามันคาบตะกร้าขนมฝรั่งมา


พอเมื่อยพักหน้าบ้านใครเข้า เขาก็แกล้งล้อมันว่าขอขนมฝรั่งกินหน่อย มันทำตาเขียวโกรธรีบคาบหนีไปหน้าบ้านอื่นทันที ถ้าเป็นเด็ก ๆ ทำวอแวเข้ามาคว้าขนมฝรั่ง มันจะฮื่อฮ่าทำท่าจะกัดเอาจริง ๆ ส่วนตัวมันเองสัตย์ซื่อถือขันติไม่เคยแตะต้องขนมฝรั่งในตะกร้าเลย และเวลาขากลับได้สตางค์มามันจะวิ่งแน่วไม่ยอมหยุดที่ไหนกลับถึงบ้านทันที มันส่งมาแรมปี
 

อยู่มาวันหนึ่ง เกิดเหตุประหลาดขึ้น เจ้าจำนำรับขนมเขียนหนังสือมาต่อว่า ว่าขนมขาดไป ๒ อัน คุณโยมป้าแช่มไม่สงสัยอะไร คิดว่าตัวเองอาจเผอเรอนับผิดมากกว่าจึงพยายามนับถี่ถ้วนจนครบ แล้วส่งไปก็ถูกต่อว่ายังขาดเช่นเดิม โยมป้าคิดอะไรไม่ถูก หาเหตุผลอะไรไม่ได้ จะว่าหายระหว่างทางก็ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะอ้ายโม่งมันรักษาหน้าที่เคร่งครัดมาตลอดเวลาร่วมปี ไม่เคยบกพร่อง เพื่อตัดปัญหา แกนับเกินไป ๒ อันเผื่อหาย ครั้งนี้ไม่มีการต่อว่า ว่าขาดอีก

จนสองสามวันต่อมา ความสงสัยของโยมป้าไม่มีสิ้นสุด ความอยากรู้สาเหตุ วันหนึ่งแกนับขนมมอบให้อ้ายโม่งไปแล้ว แกก็แอบสะกดรอยตามหลังอ้ายโม่งไปด้วย อ้ายโม่งออกจากบ้านตรงแหนวไม่เเวะที่ไหน ผ่านถนนในวัดตรงไปสู่โบสถ์ แต่ตอนจะเลี้ยวหลังโบสถ์ผ่านลานทรายไปทางริมคลอง โยมป้าเห็นอ้ายโม่งเลี้ยวข้างกำแพงโบสถ์เข้าไปหลังเจดีย์ซึ่งเป็นที่ลับตาคน สักพักอ้ายโม่งก็กลับออกมา และมุ่งหน้าไปตามเส้นทางส่งขนมตามเคย

โยมป้าแอบเข้าไปดู ปรากฏว่า หมาแม่ลูกอ่อนออกลูกโทน ( มีลูกตัวเดียว ) สีสันเหมือนอ้ายโม่งไม่มีผิด ไม่ต้องมีใครบอก..หรือจะต้องตรวจเลือดตรวจดีเอ็นอี ดีเอ็นเเซด ..( อันนี้พิมพ์เอง ) ก็รู้ว่าเป็นลูกอ้ายโม่งชัด ๆ และมีขนมฝรั่งที่แกทำวางไว้สองก้อน

นับแต่นั้นมา โยมป้าก็ต้องนับขนมฝรั่งให้เกินไว้ ๒ อัน เพื่อให้อ้ายโม่งได้ทำหน้าที่พ่อที่ต้องเลี้ยงดูลูกเมียหมา ๆ ของมัน จนกระทั้งลูกหมาได้อายุหย่านมแล้ว โยมป้าจึงติดตามไปเอาสายเลือดของอ้ายโม่งมาเลี้ยงเป็นสมาชิกของครอบครัวเพิ่มขึ้น เรื่องนี้ชาวบ้านแถบนั้นเขารู้เรื่องโจษขานกันอยู่หลายปี คนเก่าแก่แถวนั้นเดี๋ยวนี้ยังคงพูดถึงอยู่เสมอ

พอพระหมอดูเล่าเรื่องจบลงคนบนกุฏิ ๖-๗ คนนิ่งเงียบกันหมด ต่างคนต่างคิด อัดอั้นตันใจกันไปหมด มีแต่เสียงเจ้าเด็กน้อยคนพี่ที่ถูกตัดสินให้จากพ่อไปยังคงสะอื้นอยู่เบา ๆ เลยพาเอาเจ้าคนน้องที่พอรู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง พลอยร้องไห้ตามพี่ชายไปด้วย

สักครู่ใหญ่พ่อเด็กกระเถิบเข้ามาพนมมือบอกลาแล้วก้มลงกราบ เมื่อเงยหน้าขึ้นมาน้ำตาอาบแก้ม พร้อมกับกล่าวว่า " ผมตัดสินใจไม่ขายลูกแล้วขอรับ อายหมามัน "

( เก็บตกจากต่วยตูน)
จากคุณ : บัวอธิษฐาน - [ 26 ก.พ. 48 ]
ที่มา  http://www.dharma-gateway.com/misc/misc-misc-index-page.htm
22113  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถ้าเผชิญกับคนโหดร้ายอำมหิต ท่านจะคิดอย่างไร เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 12:43:54 pm

ถ้าเผชิญกับคนโหดร้ายอำมหิต ท่านจะคิดอย่างไร

            การเป็นนักเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นหากยึดมั่นในหลักการและอุดมการณ์ที่พระ พุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว แม้แต่ความตายก็มิใช่ปัญหา เพราะตั้งความปรารถนาเพื่อให้หลักธรรมของพระพุทธศาสนาตั้งมั่นในจิตใจของ ประชาชน แม้จะเขามีความโหดร้ายอำมหิตจิตวิปลาสสักปานใดก็ตาม
 
            พระ เถระที่ถือว่าเป็นยอดแห่งนักเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีหลักการมั่นคงหนักแน่นคือพระปุณณมันตานีบุตร ครั้งหนึ่งได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อทูลลาไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังดินแดน ที่ถือว่ามนุษย์มีความโหดร้ายที่สุดแห่งหนึ่งคือสุนาปรันตะชนบท

            พระ ปุณณะก่อนจะเดินทางไปยังสุนาปรันตะชนบทได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอคำชี้ แนะ พระพุทธเจ้าได้สอบถามว่าหากเกิดปัญหาขึ้นจะทำอย่างไร ดังที่ปรากฎในปุณโณวาทสูตร มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ (14/754/36) มีเนื้อหาโดยสรุปดังต่อไปนี้

            พระ พุทธเจ้าถามว่า “พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทดุร้ายหยาบช้านัก  ถ้าพวกเขาจักด่า  จักบริภาษเธอ  เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น"
 
            พระ ปุณณะทูลตอบว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ  ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักด่า  จักบริภาษข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักมีความคิดในพวกเขาอย่างนี้ว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้  ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยฝ่ามือ พระเจ้าข้า”

            พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า “ถ้าเข้าการประหารเธอด้วยฝ่ามือ  เธอจักมีความคิดอย่างไร”
            พระปุณณะทูลตอบว่า "ข้าพระองค์จักคิดว่า ดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยก้อนดิน” 
            พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า “ถ้าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทจักให้การประหารเธอด้วยก้อนดินเล่า”
            พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์ก็จักคิดว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้  ยังดีหนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยท่อนไม้"





            พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า “ถ้าเขาจักให้การประหารเธอด้วยท่อนไม้เล่า”
            พระปุณณะทูลตอบว่า“ข้าพระองค์จักคิดว่าพวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้ ยังดีนักหนาที่ไม่ให้การประหารเราด้วยศาตรา"
            พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า “ถ้าเข้าจักให้การประหารเธอด้วยศาตราเล่า”
            พระปุณณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์จักคิดว่า พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทนี้  ยังดีนักหนาที่ไม่ปลิดชีพเราเสียด้วยศาตราอันคม”

 
            พระพุทธเจ้าถามต่อไปว่า “ถ้าพวกเขาจักปลิดชีพเธอเสียด้วยศาตราอันคมเล่า  เธอจักมีความคิดอย่างไรในมนุษย์พวกนั้น”

            พระ ปุณณะทูลตอบว่า “ข้าพระองค์จักคิดว่ามีเหล่าสาวกของพระผู้มีพระภาค  ที่ึอึดอัดเกลียดชังร่างกายและชีวิต  พากันแสวงหาศาตราสังหารชีพอยู่ เราไม่ต้องแสวงหาสิ่งดังนั้นเลย  ก็ได้ศาตราสังหารชีพแล้ว ข้าแต่พระผู้มีพระภาคผู้สุคต  ข้าพระองค์จักมีความคิดในมนุษย์พวกนั้นอย่างนี้ พระเจ้าข้า"

            พระ พุทธเจ้าจึงอนุโมทนาว่า “ดีละๆ  ปุณณะ เธอประกอบด้วยทมะและอุปสมะดังนี้แล้ว  จักอาจเพื่อจะอยู่ในสุนาปรันตชนบทได้แล  เธอจงสำคัญกาลที่ควรในบัดนี้เถิด” 
     
           จาก นั้นท่านพระปุณณะยินดีอนุโมทนาพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคทำประทักษิณ  แล้วเก็บเสนาสนะถือบาตรจีวรเดินทางจาริกไปยังสุนาปรันตชนบท เป็นอันว่า ท่านพระปุณณะอยู่ในสุนาปรันตชนบทนั้น ท่านพระปุณณะได้ให้พวกมนุษย์ชาวสุนาปรันตชนบทกลับใจแสดงตนเป็นอุบาสกประมาณ  500  คน กลับใจแสดงตนเป็นอุบาสิกาประมาณ  500  คน  ภายในพรรษานั้นเอง  และตัวท่านได้ทำให้แจ้งซึ่งวิชชาสามภายในพรรษานั้นเหมือนกัน
 
             พระที่คิดได้อย่างนี้จะมีสักกี่รูป แค่เขาพูดไม่เข้าหูเพียงไม่กี่คำก็หน้าดำหน้าแดง ไม่อยากพบเห็นหน้าคนเหล่านั้นแล้ว แต่พระปุณณะยังคิดในแง่ดี แม้ขณะที่เขากำลังจะฆ่า ไม่ต้องหาศตราวุธให้เหนื่อย นับว่าเป็นพระที่หายากมาก





            อย่าว่าแต่มนุษย์ที่มีความโหดร้ายเลย แม้แต่ช้างป่ายังฟังภาษาธรรมะรู้เรื่อง ดังกรณีของหลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล จังหวัดหนองบัวลำภู ครั้งหนึ่งเมื่อหลวงปู่ขาวกำลังบำเพ็ญเพียรในป่า มีช้างตัวหนึ่งคอยรบกวนข้างที่พัก ช้างพยายามสอดงวงเข้ามาแต่ไม่ถึงเพราะเป็นเงื้อมหิน แต่ช้างก็ไม่ยอมหนีไปไหน หลวงปู่ขาวจึงตัดสินใจออกไปพูดกับช้างให้รู้เรื่อง

            โดยแอบหลังต้นไม้หน้าที่พักแล้วเริ่มต้นพูดกับช้างว่า “พี่ชาย น้องขอพูดด้วยสักคำสองคำ ขอพี่ชายจึงฟังคำของน้อง พี่ชายเป็นสัตว์ของมนุษย์นำมาเลี้ยงไว้ในบ้านเป็นเวลานานจนเป็นสัตว์บ้าน ความรู้สึกทุกอย่างตลอดจนภาษามนุษย์ที่เขาพูดกันและพร่ำสอนพี่ชายมาตลอดนั้น พี่ชายรู้ได้ดีทุกอย่างยิ่งกว่ามนุษย์บางคนเสียอีก

             ดังนั้นพี่ชายควรรู้ขนบธรรมเนียมและข้อบังคับของมนุษย์ ไม่ควรทำอะไรตามใจชอบ เพราะการกระทำบางอย่างแม้จะถูกใจเรา แต่เป็นการขัดใจเขาก็มิใช่ของดี ต่อไปนี้ขอให้พี่ชายรับศีลห้า และพยายามรักษาให้ดี"   จากนั้นจึงบอกช้างว่า "ขอให้ พี่ชายไปได้แล้ว"

            ช้างยืนนิ่งสักครู่แล้วก็เดินจากไป ตังแต่นั้นมาช้างไม่เคยมารบกวนอีกเลย
            สัตว์ ยังรับรู้ถึงพลังแห่งเมตตาของพระพุทธศาสนาได้ คนแม้โหดร้ายอำมหิตสักปานใดก็ตาม ก็มักจะพ่ายแพ้ต่อความดี ในช่วงเทศกาลแห่งวันมาฆบูชา เรามาช่วยกันสร้างความดี ส่งเสริมคนดีให้มีจำนวนมากขึ้น โลกจะได้อยู่กันอย่างสันติสุข

 

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน เรียบเรียง 26/02/53
ที่มา  http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=44:2010-02-25-16-50-36&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=21
22114  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ตายแล้ววิญญาณไปไหน เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 12:37:54 pm
ตายแล้ววิญญาณไปไหน

              ปัจจุบันคติความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ก็ยังมีคนลังเลสงสัย ปัญหาหนึ่งที่คนมักจะชอบถามมากที่สุดคือคนตายแล้ววิญญาณไปไหน พระภิกษุแต่ละ รูปก็ตอบไปตามความรู้ความเข้าใจเท่าที่ได้ศึกษามาจากตำรา บางรูปพาลโกรธคนถามเสียอีก บางรูปไม่สนใจตอบเดินหนีไปดื้อๆก็มี ตราบใดที่ยังมีพระพุทธศาสนาปัญหานี้ก็ต้องถูกถามอยู่ร่ำไป

              พระพุทธศาสนาแสดงเรื่องโลกนี้โลกหน้าไว้มาก มีพระสูตรๆหนึ่งในทีฆนิกายมหาวรรคคือปายาสิราชัญญสูตร(10/301-330/234-260) เป็นการตอบคำถามเกี่ยวกับโลกหน้า นรกสวรรค์ หรือแม้แต่คนตายแล้วไปไหนได้ชัดเจนที่สุด พระเจ้าปายาสิสงสัยในเรื่องเหล่านี้มานาน จนกระทั่งมาพบกับพระกุมารกัสสปะลองฟังคำสนทนาของทั้สองดูอย่างย่อๆ

              พระเจ้าปายาสิตรัสถามตอนหนึ่งว่า “มีมิตรอำมาตย์ญาติสาโลหิตของข้าพเจ้าที่ประพฤติชั่วมีประการต่างๆ เมื่อบุคคลเหล่านั้นเจ็บไข้ ซึ่งเห็นว่าจะไม่หายแน่ ก็เข้าไปหาและได้สั่งว่า ถ้าไปตกนรก เพราะประพฤติชั่วตามคำของสมณพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก พวกเหล่านั้นรับคำแล้ว ก็ไม่เห็นมีใครกลับมาบอกเลย  ข้าพเจ้าจึงไม่เชื่อว่ามีโลกอื่น"

              พระกุมารกัสสปะตอบว่า “เปรียบเหมือนโจรที่ทำผิดราชบุรุษจับได้ ก็นำตระเวนไปสู่ที่ประหารชีวิต โจรเหล่านั้นจะขอผัดผ่อนให้ไปบอกพวกพ้องก่อนจะได้หรือไม่"
              พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า "ไม่ได้สิ เดี๋ยวก็หลบหนีไม่กลับมารับโทษเท่านั้น" 
              พระเถระจึงกล่าวว่า “พวกที่ทำชั่วก็เช่นกัน ถ้าไปตกนรกก็คงไม่ได้รับอนุญาตจากนายนิรยบาล(ยมบาล)ให้มาบอกพวกญาติๆ หรอก  มหาบพิตรเลยไม่ได้เห็นใครกลับมาบอก" 
 

              พระเจ้าปายาสิตรัสเล่าต่อไปว่า “ข้าพเจ้าเคยสั่งคนที่ทำความดีว่า ถ้าตายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ เพราะประพฤติดีตามคำของพราหมณ์แล้ว ขอให้กลับมาบอก พวกนั้นรับคำแล้วก็ไม่เคยมีใครมาบอกเลย ข้าพเจ้าจึงไม่เชื่อว่าโลกอื่นมีอยู่ มีแต่โลกนี้เท่านั้น คนตายแล้วก็สูญ"
 
              พระเถระทูลว่า “เปรียบเหมือนคนตกลงไปในหลุมอุจจาระมิดศีรษะ พระองค์สั่งให้ราชบุรุษช่วยยกขึ้นจากหลุมนั้น ให้นำอุจจาระออกจากร่างกาย ทำความสะอาดหมดจดแล้ว นำพวงมาลัยเครื่องลูบไล้และผ้ามีราคาแพงมาให้นุ่งห่ม พาขึ้นสู่ปราสาท บำเรอด้วยกามคุณทั้งห้าประการ บุรุษนั้นจะอยากลงไปอยู่ในหลุมอุจจาระอีกหรือไม่"

              พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า “ใครจะอยากลงไปอีกเล่า”
              พระกุมารกัสสปะถามว่ “เพราะเหตุไร จึงไม่อยากลงไปในหลุมอุจจาระอีกเล่า มหาบพิตร"
              พระเจ้าปายาสิตรัสตอบว่า "เพราะหลุมอุจจาระไม่สอาด มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูล สกปรกนะสิพระคุณเจ้า"

             พระเถระทูลว่า “มนุษย์ก็เป็นผู้ไม่สะอาด มีกลิ่นเหม็น ปฏิกูล สกปรกสำหรับเทวดาทั้งหลายเหมือนกัน พวกทำความดีที่ไปสู่สุคติโลกสวรรค์ จึงไม่กลับมาบอก เพราะกำลังเสวยสุขในสวรรค์ อีกอย่างหนึ่งเวลาในโลกมนุษย์กับสวรรค์ต่างกัน มาก ร้อยปีในเมืองมนุษย์เท่ากับวันหนึ่งคืนหนึ่งในเทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาเท่า นั้น พอเทวดาคิดได้จะกลับมาบอกพวกญาติก็ตายหมดแล้ว”
 

              คำสนทนาเรื่องโลกหน้า ตายแล้วไปไหนระหว่างพระเจ้าปายาสิกับพระกุมารกัสสปะ ยังมีอีกมาก แต่ยกมาพอเป็นตัวอย่าง ผู้สนใจกรุณาหาอ่านได้จากปายาสิราชัญญสูตร ทีฆนิกาย มหาวรรค พระไตรปิฎกเล่มที่ 10 จากข้อ 301 เป็นต้นไป

              พระเถระที่ตอบปัญหาเรื่องนี้ได้ยอดเยี่ยมอีกรูปหนึ่งคือหลวงพ่อชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง อุบลราชธานี เมื่อมีคนถามว่า “ชาติหน้ามีจริงหรือไม่” หลวงพ่อจะย้อนถามว่า “ถ้าบอกแล้วจะเชื่อไหมละ” เมื่อคนถามตอบว่า “เชื่อครับ” หลวงพ่อก็จะตอบกลับไปว่า “ถ้าเชื่อโยมก็โง่”

              อ่านแล้วงงไหม หลวงพ่อขยายความให้กระจ่างว่า “เรื่อง แบบนี้ไม่มีหลักฐานจะนำมาพิสูจน์ให้เห็นได้ คนส่วนใหญ่จึงต้องเชื่อตามเขาว่า ไม่ได้รู้ชัดด้วยปัญญาของตนเอง โยมก็โง่อยู่ร่ำไป” 
 

              ครั้งหนึ่งที่ประเทศอังกฤษคำถามอย่าเดียวกันก็ย้อนกลับมาหาหลวงพ่ออีก โยมสตรีชาวอังกฤษเข้ามาถามหลวงพ่อว่า “คนตายแล้วไปไหน” หลวง มองหน้านิดหนึ่งแล้วก้มลงเป่าเทียนที่กำลังสว่างไสวอยู่ตรงหน้า เปลวไฟดับทันทีเหลือแต่ควันที่กำลังลอยอ้อยอิ่ง พลันหลวงพ่อยิ้มที่มุมปากเอ่ยถามแหม่มคนนั้นว่า “เทียนดับแล้วไปไหน” แหม่มงุนงงหาคำตอบไม่ทันจึงได้แต่นั่งนิ่ง

              หลวงพ่อจึงเอ่ยขึ้นว่า “พอใจคำตอบหรือยัง” แหม่มจึงได้สติตอบอย่างเสียงกระด้างว่า “ไม่พอใจ” หลวงพ่อปิดการสนทนาด้วยประโยคที่คนฟังต้องหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจว่า “เราก็ไม่พอใจคำถามของเธอเหมือนกัน”  ต่อมาที่ประเทศอังกฤษก็ได้มีวัดไทยเกิดขึ้น นัยว่าเป็นวัดไทยในยุคแรกที่เกิดขึ้นยุโรป ทั้งๆที่ตอนนั้นหลวงพ่อชา สุภัทโท พูดภาษาอังกฤษได้เพียงสามคำ
 
พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน เรียบเรียง 24/02/53
ที่มา  http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=41:2010-02-23-09-36-22&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=21
22115  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มนุษย์ตายแล้ว เกิดใหม่กลายเป็นไก่ ได้จริงหรือ? เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 12:32:16 pm
มนุษย์ตายแล้วเกิดใหม่กลายเป็นไก่ได้จริงหรือ

           พระพุทธศาสนาเชื่อในหลักการเวียนว่ายตายเกิด ตราบใดที่จิตยังไม่ดับสูญหรือไม่นิพพาน ก็ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตาย อย่างไม่มีที่สิ้นสุด แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เวียนว่ายตายเกิดเสวยชาติในกำเนิดต่างๆกัน มากมายเช่นช้าง ม้า วัว ลิง นก ฯลฯ ใช้เวลานานถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์จึงดับขันธ์ปรินิพพานในที่สุด
 
           มีข่าวหนังสือพิมพ์เดลินิวส์(09/03/53) นำเสนอข่าวว่า “หนุ่มตายเกิดเป็นไก่เฝ้าแฟนสาวไม่ห่าง”ตาม รายงานข่าวสรุปได้ว่านางสาวภัทสนันท์ ขันธสารี เคยมาช่วยงานที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของป้า ที่อยุธยา และได้รู้จักกับนายใหญ่ ซึ่งเป็นเพื่อนกับลูกพี่ลูกน้องของตน จากนั้นก็คบหาดูใจเป็นแฟนกันระยะหนึ่ง

           โดยช่วงที่คบหากันแฟนหนุ่มจะมานั่งหยอกล้อพูดคุยกันที่เปลญวนตัวนี้เป็น ประจำ กระทั่งวันหนึ่งในกลางปี 52 แฟนหนุ่มขี่รถจักรยานยนตร์มาหาที่ร้าน นั่งพูดคุยกันที่เปลญวนได้สักพัก ก็ขอตัวกลับโดยขี่รถจักรยายยนตร์คู่ใจออกไปได้แค่ 10 นาที ตนก็ได้รับข่าวร้ายว่าแฟนหนุ่มประสบอุบัติเหตุรถชนเสียชีวิต 
 

            น่าเสียใจแทนที่แฟนมาตายก่อนอายุอันควร แต่ชีวิตกำหนดแน่ไม่ค่อยได้ หนุ่มหรือแก่ก็อาจตายได้ทุกเวลา อย่าประมาทในการใช้ชีวิต

           ต่อมาไม่นานเธอกลับมา ช่วยป้าขายก๋วยเตี๋ยวอีก พอมาถึงก็เจอไก่ชนตัวนี้เข้ามาคลอเคลีย เดินตามต้อย ๆ ไปนั่งเล่นที่เปลญวนก็ตามไปเฝ้าไม่ยอมห่าง แถมยังกระโดดขึ้นมายืนบนขาไม่ยอมไปไหน โยนเศษอาหารหรือข้าวเปลือกให้ก็ไม่ยอมกิน ไม่ยอมไปไหน เฝ้าอยู่ใกล้ ๆ อย่างเดียว

           พอเค้าเห็นพฤติกรรมของ ไก่ที่ทำกับเธอก็เริ่มสงสัยว่าอาจเป็นวิญญาณของพี่ใหญ่แฟนเก่ากลับมาเกิด เป็นไก่ตัวนี้ ตอนแรกยังไม่ค่อยเชื่อ จนลองเรียกชื่อว่า “พี่ใหญ่ ๆ” แค่นั้นมันก็ทำปากมุบมิบ ๆ เหมือนพูดตอบ เธอกับพี่เลยเชื่อว่าน่าจะเป็นวิญญาณของพี่ใหญ่มาเกิดเป็นไก่คอยเฝ้าดู เพราะยังรักและเป็นห่วง ตั้งแต่นั้นหนูก็จะคอยช่วยป้าที่ร้าน และนั่งเล่นพูดคุยกับไก่ชนตัวนี้เป็นประจำ”
 
             พอเป็นข่าวแล้วไม่แน่ใจว่าไก่ตัวนั้นจะตื่นคน จนไม่กล้าเข้าใกล้เธอหรือไม่ต้องคอยดูกันต่อไป

           คนตายแล้วเกิดเป็นไก่ได้ หรือไม่ยังหาหลักฐานยืนยันไม่ได้ แต่ในพระพุทธศาสนาเคยมีเรื่องเกี่ยวกับคนตายแล้วเกิดเป็นสุนัขดังที่ปรากฎใน อรรถกถาโกสัมพิยสูตร มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม 1ภาค 3หน้าที่ 41 มีเรื่องโดยย่อว่า "สองผัวเมียอนาถาคู่หนึ่งเดินทางไกลเพราะเกิดข้าวยากหมากแพง จึงตัดสินใจพาลูกน้อยเดินทางเพื่อหางานทำ พ่อแม่ผลัดเปลี่ยนกันอุ้มลูกน้อย แต่เพราะการเดินไกลพร้อมทั้งความหิวข้าวหิวน้ำอย่างหนักฝ่ายสามีจึงแอบวาง ลูกน้อยไว้ข้างพุ่มไม้ในที่สุดก็สิ้นใจ
 

           ไม่ นานนักก็เดินทางมาถึงบ้านคนเลี้ยงโคผู้มีอันจะกินนับได้ว่าอยู่ในขั้นเศรษฐี แห่งหนึ่ง ขอข้าวและน้ำกิน เศรษฐีใจดีมีเมตตาจึงให้คนนำข้าวปลายอาหารอย่างดีมาให้สองผัวเมีย ในขณะเดียวกันก็นำอาหารมาเลี้ยงสุนัขตัวหนึ่งเป็นอาหารที่มองดูน่ากิน สามีกินข้าวไปนั่งมองแม่สุนัขไปด้วยความอิจฉา เกิดเป็นสุนัขเศรษฐีช่างอยู่ดีกินดีมากกว่าเราคนจนเสียอีก ด้วยความหิวผัวรีบกินอาหารเป็นพิษไม่ย่อย นอนตายทั้งๆที่ใจยังคิดอิจฉาสุนัขท้องแก่ตัวนั้น

           วิญญาณที่ออกจากร่างได้ เข้าไปถืออุบัติในครรภ์ของสุนัขเศรษฐี อีกไม่นานก็ถือกำเนิดเกิดเป็นสุนัข แต่จำอดีตของตนได้ จึงได้ตั้งความหวังไว้ว่าจะมุ่งทำดีเพื่อที่จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีก สุนัขทำหน้าที่เห่าพระรูปหนึ่งที่มาบิณฑบาตบ้านเศรษฐีเป็นประจำ นั่นคือการความดีของสุนัขตามสมควรแก่สภาวะ ในที่สุดก็กลับมาเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้ง

            เพราะผลกรรมที่ฆ่าลูกตายในชาติก่อน พอเกิดเป็นมนุษย์อีกครั้งจึงถูกเขาพยายามฆ่าให้ตายตั้งเจ็ดครั้ง แต่เพราะกุศลที่ทำไว้กับพระปัจเจกพุทธเจ้าในชาติที่เกิดเป็นสุนัขทำให้รอด พ้นจากความตายและกลายเป็นเศรษฐีนามว่าโฆสิตเศรษฐี

            กรรมหรือการกระทำนั้นมีผลโดยตรงกับตัวคนทำ กรรมดีและกรรมชั่วแยกกันอยู่ เมื่อใดได้โอกาสกรรมนั้นก็จะแสดงผลออกมา หากทำดีบ่อยๆโอกาสที่กรรมชั่วจะแสดงผลก็น้อยลง ในที่สุดก็กลายเป็นกรรมที่ไม่แสดงผล เรานิยมเรียกกรรมชนิดนี้ว่า "อโหสิกรรม"
 
       
           ครั้งหนึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรํสี) เดินผ่านสุนัขตัวหนึ่งที่นอนขวางทางท่านจะไม่เดินข้ามไปแต่จะพูดขอทางก่อน ว่า “โยมจ๋า ขอฉันไปทีเถอะจ๊ะ” แล้วก็ก้มกายเดินหลีกทางสุนัขตัวนั้นไป มีผู้ถามว่า ทำไมท่านจึงทำเช่นนั้น ท่านก็จะตอบอย่างน่าคิดว่า “ฉันไม่รู้ว่าสุนัขตัวนี้จะเคยเป็นพระโพธิสัตว์หรือมิใช่ หรือสุนัขตัวนี้อาจเคยเป็นบิดามารดาเรามาก่อน”

         การเวียนว่ายตายเกิดจึงเป็นความเชื่อขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่งของพระ พุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องกฏแห่งกรรม หากมีความผูกพันก็สามารถกลับมาเกิดอีกได้ เป็นอะไรก็ได้ อาจเป็นไก่ เป็นสุนัข หรือเป็นสัตว์อย่างอื่นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะจิตก่อนตาย

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน 10/03/53
ที่มา http://www.cybervanaram.net/index.php?option=com_content&view=article&id=62:2010-03-09-16-12-56&catid=5:2009-12-17-14-44-06&Itemid=21
22116  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ชัยชนะของคนแพ้ เมื่อ: มกราคม 30, 2011, 12:25:17 pm
ชัยชนะของคนแพ้

         ในการแข่งขันต่างๆย่อมจะมีทั้งผู้แพ้และผู้ ชนะ แต่ส่วนมากจะมีคนแพ้มากกว่าผู้ชนะ เช่นการสมัครเข้าโรงเรียนหรือสอบเข้ามหาวิทยาลัยต่างๆ คนที่สอบได้หรือผู้ชนะย่อมมีน้อยกว่าผู้แพ้ บางโรงเรียนรับนักเรียนได้เพียง 200 คน แต่มีผู้สมัครมากถึง 2,000 คน แสดงว่าอีก 1,800 คน ต้องกลายเป็นผู้แพ้ การชนะนั้นไม่ต้องฝึกก็ได้เพราะการชนะมีเสน่ห์ในตัวอยู่แล้ว แต่การพ่ายแพ้ต้องฝึกจึงจะทำใจให้ยอมรับได้ จนทำให้กลายเป็นชัยชนะของคนแพ้

         นานมาแล้วเคยอ่าน หนังสือ ชัยชนะของคนแพ้ ของเสนีย์ เสาวพงศ์ แต่จำเนื้อหาทั้งหมดไม่ได้ วันนี้ขอยืมมาเป็นชื่อเรื่องเท่านั้นส่วนเนื้อหาไม่เกี่ยวข้องกันแต่อย่างใด
     
         มีมหาเศรษฐีคนหนึ่งให้ สัมภาษณ์กับนักข่าวถึงความสำเร็จในปัจจุบันว่ามาจากไหน  เศรษฐีคนนั้นให้สัมภาษณ์ว่า“ตอนเป็นหนุ่มผมไปสอบแข่งขันเป็นภารโรงที่ โรงเรียนในชนบทแห่งหนึ่ง มีคนเข้าสอบแข่งขันเพียงสองคน เรื่องความสามารถต่างๆผมผ่านการทดสอบหมดทุกอย่างแล้ว ผลปรากฎว่าเราทั้งสองคนไม่แตกต่างกันนัก แต่ผมมีความสามารถเหนือกว่าในด้านการก่อสร้าง ขั้นตอนสุดท้ายจึงมีการสอบ สัมภาษณ์ กรรมการถามผมว่าเรียนจบชั้นไหน

         ตอนนั้นผมจบเพียงชั้นประถมปีที่สาม ต้องลาออกไปช่วยพ่อแม่ทำงาน ซึ่งก็โยกย้ายไปหลายที่ ในที่สุดผมก็ไม่ได้เรียนต่อ ส่วนอีกคนหนึ่งเรียนจบชั้นประถมศึกษาปีที่หก ผมจึงแพ้ ไม่ได้เป็นภารโรงตามที่ตั้งใจไว้ จากนั้นมาผมก็ไม่เคยเข้าสอบแข่งขันที่ไหนอีกเลย”
 
ภาพพ่อค้าขายกล้วยนี้ ถ่ายที่สิบสองปันนา

         เขาเล่าต่อไปว่า“จากวันนั้นมาผมก็ประกอบอาชีพหลายอย่างทั้งกรรมกรก่อสร้าง พ่อ ค้าขายกล้วย ขายไข่ปิ้ง จนในที่สุดก็มายึดอาชีพเก็บขยะขาย เลี้ยงชีพเรื่อยมา ได้พบรักกับสาวก่อสร้างคนหนึ่งและได้เแต่งงานอยู่กินด้วยกันจนถึงปัจจุบัน ช่วยกันทำมาหากินจนสามารถเก็บหอมรอมริบมีเงินเหลือมากกว่ารายจ่าย รวบรวมเงินได้จำนวนหนึ่งจากที่เคยเดินก็ซื้อรถสามล้อคันหนึ่ง ทำให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น จากรถสามล้อก็ซื้อรถกระบะ จากรถกระบะก็กลายเป็นรถสิบล้อ

         ในที่สุดจากคนเก็บขยะขายก็กลายมาเป็นคนซื้อ ผมรับซื้อเศษขยะแล้วนำมาแยกเป็นหมวดหมู่ นำมาแปรสภาพจากสิ่งที่ไร้ค่าก็กลายเป็นสิ่งที่มีค่า ชีวิตผมเริ่มต้นจากศูนย์คือไม่มีอะไร แต่ผมมีชีวิตที่ไม่ยอมแพ้ จนปัจจุบันผมสามารถประกอบอาชีพหลายอย่างทั้งขายอุปกรณ์ทางการเกษตร ซื้อสินค้าทางการเกษตร มีโรงสี มีโรงมันสัมปะหลัง มีโรงงานน้ำตาล ชีวิตผมเริ่มต้นจากกองขยะ”

         เมื่อนักข่าวถามว่า “ท่านมีปรัชญาในการดำเนินชีวิตอย่างไร จึงทำให้ประสบความสำเร็จ”เขาตอบว่า “ไม่ยอมแพ้ ขยัน ซื่อสัตย์ต่อลูกค้า วันหนึ่งต้องให้มีรายจ่ายน้อยกว่ารายรับ หรือมีรายรับมากกว่ารายจ่าย”

หญิงคนงานชาวพม่า ถ่ายที่พระธาตุอินแขวน เมียนมาร์

         นักข่าวกล่าวเสริมว่า “ถ้าท่านเรียนจบระดับปริญญาคงรวยมากกว่านี้”
         เศรษฐี คนนั้นตอบว่า “ อย่าว่าแต่จบปริญญาเลย หากวันนั้นผมจบชั้นประถมปีที่หกเท่านั้นคงสอบได้ ป่านนี้ผมคงกลายเป็นภารโรงขี้เมา ยากจนเหมือนคนที่สอบเอาชนะผมไปในครั้งนั้น ผมต้องขอบคุณโชคชะตาในครั้งนั้นที่ทำให้ผมแพ้ ที่ทำให้ผมชนะได้ในวันนี้ เรียกว่าเป็นชัยชนะของคนแพ้คงไม่ผิดนัก”


         นักเรียนที่สมัครเข้าเรียน ไม่ได้ นักศึกษาที่สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ คนที่สอบแข่งขันเข้าทำงานไม่ได้ เพราะตำแหน่งมีจำกัด ไม่ต้องท้อแท้ ยังมีที่ให้เรียนอีกมาก ยังมีงานให้ทำอีกมาก งานอะไรไม่สำคัญขอให้เป็นงานที่สุจริต จากนั้นจะนำปรัชญาของเศรษฐีกองขยะไปใช้ก็ไม่สงวนกรรมสิทธิ์แต่ประการใด 

แม่น้ำโขงยามสนธยา วันลอยกระทง ถ่ายจากแขวงห้วยทราย สปป.ลาว

         คน ทุกคนย่อมมีแพ้มากกว่าชนะ มีเรื่องเล่าว่าโทมัส อัลวา เอดิสัน ผู้ผลิตหลอดไฟฟ้า ประสบความล้มเหลวในการค้นคว้าเพื่อผลิตหลอดไฟฟ้า  99 ครั้ง แต่ครั้งที่หนึ่งร้อยเขาประสบความสำเร็จ  เขามักถูกนักข่าวถามเสมอว่าเอดิสันคิดอย่างไรกับการที่คนทั่วไปเรียกเขาว่า อัจฉริยะ เขาตอบว่า 

        “คำว่าอัจฉริยะในความคิดของผม ประกอบด้วยพรสวรรค์เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนอีก 99 เปอร์เซ็นต์มาจากความพยายาม” 

         อัจฉริยะก็แพ้มากกว่าชนะ ถ้าไม่มีเอดิสันในครั้งนั้น ปัจจุบันโลกเราอาจต้องพึ่งแสงสว่างจากดวงตะวันเหมือนในอดีตก็ได้

พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน เรียบเรียง 25/03/53 Cybervanaram.net
ที่มา  http://www.mbu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=2269&Itemid=148
22117  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / แอ่วเมือง “น่าน” ไหว้พระ 9 วัด สัมผัสงานพุทธศิลป์ ณ ถิ่นสงบงาม เมื่อ: มกราคม 28, 2011, 08:45:52 pm
แอ่วเมือง “น่าน” ไหว้พระ 9 วัด สัมผัสงานพุทธศิลป์ ณ ถิ่นสงบงาม

วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง

แม้ ว่าจะผ่านช่วงปีใหม่มาแล้ว แต่กระแสการท่องเที่ยวไหว้พระยังคงได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว ไม่เว้นแม้ประทั่งชาวต่างชาติเอง แต่มากกว่าการขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ งานพุทธศิลป์ต่างๆ ตลอดจนสถาปัตยกรรม ความงดงามจากภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนนั้น ก็เป็นอีกสเน่ห์อย่างหนึ่ง วันนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงพาทุกคนไปสัมผัสกับพุทธศิลป์น่าดู พร้อมไหว้พระขอพรกันที่เมืองเล็กๆ ที่น่าอยู่อย่าง จ.น่าน

เสาหลักเมือง

เริ่มต้นวัดแรกกันที่ วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง เป็น ปูชนียสถานศักสิทธิ์ที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่าพญาการเมืองโปรดทรงให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระ ธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัยระหว่าง พ.ศ. 1987 - 1901 เป็นองค์เจดีย์บุด้วยทองเหลืองหรือทองจังโก ลงรักปิดทองตลอดทั้งองค์ ที่สำคัญ พระบรมธาตุแช่แห้ง นั้นเป็นพระธาตุประจำปีเถาะ ซึ่งมีความเชื่อกันว่าการนมัสการพระธาตุประจำปีเกิดจะทำมห้ได้รับอานิสงส์ เป็นอย่างยิ่ง จึงไม่แปลกใจเลยที่จะเห็นภาพของบรรดาพุทธศาสนิชนจากทั่วสารทิศ เดินทางกันมาสักการะพระธาตุในช่วงวันหยุด

จิตกรรมฝาผนังของวัดมิ่งเมือง

วัดต่อมาคือ วัดมิ่งเมือง วัด ที่ตั้งอยู่บนถนนสุริยวงศ์ สร้างขึ้นราว พ.ศ. 2400 ความสวยงามของวัดนี้อยู่ที่ลายปูนปั้น ซึ่งมองเผินๆ อาจคล้ายกับงานของอาจารย์เฉลิมไชย ที่วัดร่องขุ่น จ. เชียงราย แต่ถ้าสังเกตุอย่างละเอียดก็จะพบความงามที่ต่างกันออกไป โดยเป็นงานฝีมือจากตระกูลช่างเมืองเชียงแสน ภายในมีภาพจิตกรรมฝาผนังแสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนเมืองน่าน และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือเป็นที่ประดิษฐานของเสาหลักเมือง ซึ่งตั้งอยู่ในศาลาด้านหน้า สูง 3 เมตร ฐานประดับด้วยไม้แกะสลักลวดลาย ลงรักปิดทอง ซึ่งใครที่มาจังหวัดน่านก็อย่าลืมแวะมาสักการะเสาหลักเมืองน่านที่วัดแห่ง นี้ได้

สถาปัตยกรรมทรงจตุรมุข ที่วัดภูมินทร์

จากนั้นเราไปกันที่ วัดภูมินทร์ เป็น วัดหลวง ตั้งอยู่ใกล้กับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2139 โดยเจ้าเจตบุตรพรหมมินทร์ พบว่าเดิมนั้นชื่อวัดพรหมมินทร์ แต่ภายหลังเพี้ยนมาเป็นวัดภูมินทร์ ความสวยงามของวัดนี้คือเป็นวัดที่สร้างทรงจตุรมุขหนึ่งเดียวในประเทศไทย กลางพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ 4 องค์ หันพระพักต์ออกด้านประตูทั้ง 4 ทิศ และที่เป็นไฮไลท์ของวัดนี้ก็คือจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งเป็นศิลปกรรมไทยลื้อ บอกเล่าเรื่องราวของตำนานชาดก และตำนานพื้นบ้าน ตลอดจนวิถีชีวิตของคนในสมัยก่อน ภาพปู่ม่านย่าม่าน อีกหนึ่งภาพที่ได้รับการยกย่องว่างดงามและสมบูรณ์แบบ จนกลายมาเป็นภาพ กระซิบรัก บันลือโลก ที่นักท่องเที่ยวรู้จักกันในปัจจุบัน

ภาพปู่ม่านย่าม่าน

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร นั้น ตั้งอยู่ไม่ไกลจากวัดภูมินทร์เท่าไหร่นัก เดิมชื่อวัดกลางเวียง สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1949 โดยพญาภูเข่ง เจ้าผู้ครองนครน่าน ภายในมีวิหารขนาดใหญ่สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมของล้านนา เสาภายในพระวิหารนั้นมีขนาดใหญ่ขนาด 2 คนโอบ สำหรับพระประธานภายในนั้นเป็นพระพุทธรูปทองคำปางลีลา ศิลปะสุโขทัย ที่ชื่อว่า พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ด้านหลังของพระวิหารนั้นเป็นที่ประดิษฐานของพระธาตุเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหาร ซึ่งบรรจุพีบรมสารีริกธาาตุไว้ภายใน ซึ่งความน่าสนอยู่ที่ลักษณะของเจดีย์นั้นเป็นเจดีย์ทรงลังกา มีช้างปูนปั้นตั้งอยู่ในลักษณะของฐานรองรับไว้รอบด้าน คาดกันว่าน่าจะรับอิทธิพลมาจากศิลปะของสุโขทัย เช่นเดียวกับที่วัดช้างล้อม ในอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย

วัดพระธาตุช้างค้ำวรวิหาร

วัดที่ห้าคือ วัดศรีพันต้น เป็น วัดที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน มองจากภายนอกนั้นเราจะเห็นกับสีทองอร่ามของสถาปัตยกรรม ปูนปั้นรูปพญานาคหลายเศียรซ้อนสลับกันไปมาตรงส่วนหน้าประตูวิหาร และภายในนั้นมีภาพจิตกรรมฝาผนัง ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวของเมืองน่านในอดีตทั้งหมด ด้านนอกนั้นเป็นที่เก็บรักษาเรือแข่งในสมัยก่อน ซึ่งเป็นเรือที่ยาวที่สุดในประเทศ ซึ่งยังคงรักษาความสวยงามและความสมบูรณ์ไว้ได้อย่างดี

พระธาตุเจดีย์วัดช้างค้ำวรวิหาร

และมายัง วัดสวนตาล อีกวัด เก่าแก่ ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1770 โดยพระนางปทุมมาวดี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สำคัญ คือ พระเจ้าทองทิพย์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ปางมารวิชัย ที่คาดว่าน่าจะถูกสร้างขึ้นในช่วงสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งนครเชียงใหม่ ซึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี ที่วัดนี้จะจัดงานนมัสการและสรงน้ำพระเจ้าทองทิพย์ เพื่อเสริมสิริมงคลให้แก่ผู้ที่ได้มาสักการะ

เรือแข่งโบราณ

วัดมหาโพธิ์ เป็นวัดซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปไม้แกะสลักปางเปิดโลก สูง 2.83 ซ.ม. ซึ่งตามประวัติศาสตร์นั้น ค้นพบเนื่องจากเกิดไฟไหม้ที่คุ้มวัดพระแก้ว เมื่อไฟมอดจึงพบองค์พระนี้ และนำไปฝากไว้ที่วัดเชียงแข็ง ต่อมาก็ได้ย้ายมาประดิษฐานที่วัดมหาโพธิ์แห่งนี้เป็นการถาวร ซึ่งหลักการสร้างพระพุทธรูปไม้ทรงเครื่อง ตามหลักของชาวล้านนานั้นต้องใช้ไม้มงคลถึง 8 ชนิดด้วยกัน ถือว่าเป็นพระพุทธรูปไม้ที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน

ปูนปั้นรูปพญานาคหลายเศียร

จากนั้นมายัง วัดพญาภู เป็นวัดซึ่งประดิษฐานพระพุทธปฏิมาประธาน ที่ใหญ่ที่สุดใน จ.น่าน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนขนาดหน้าตักกว้าง 11 ศอก สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1955 สมัยพระยาภูเข็ง เจ้าผู้ครองเมืองน่าน และที่วัดนี้ยังมีบานประตูไม้ที่แกะสลักเป็นลายเถา รูปยักษ์ มีอายุราว 200 ปี ที่ยังคงความสมบูรณ์อยู่

พระเจ้าทองทิพย์

และสำหรับวัดสุดท้ายคือ วัดพระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่ที่ ต.ไชยสถาน ถูกสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2030 เป็นที่ประดิษฐานขององค์พระธาตุ เป็นเจดีย์ศิลปะพม่าผสมกับศิลปะแบบล้านนา ภายในบรรจะพระเกศาธาตุขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไกล้ๆ กันนั้นมีจุดชมวิว ซึ่งจะสามารถมองเห็นบรรยากาศของเมืองน่านได้ และปัจจุบันนั้นบริเวณจุดชมวิวเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหาอุดมมงคลนันท บุรีศรีน่าน ซึ่งบนยอดพระเกศานั้นสร้างจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. 2542

พระพุทธรูปไม้แกะสลัก

หลังจากที่ใช้เวลาทั้งวันในการกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้วกลับพบว่า จริงๆ แล้ววัดใน จ.น่าน นั้นมีมากและตั้งอยู่ไม่ไกลกันมากนัก ซึ่งแต่ละวัดก็จะมีความงามและความศักดิ์สิทธิ์แตกต่างกันออกไป แต่ถ้าใครที่เคยมาเที่ยวที่ จ.น่าน ก็จะทราบว่าแทบทุกวัดนั้นจะมีจิตกรรมฝาผนังที่สวยงาม ดั่งน่านนี้คือเมืองแห่งศิลปินในอดีต ความสะอาดและชีวิตที่เรียบง่าย รถราพอมีแต่ไม่ถึงขนาดวิ่งไปมาวุ่นวาย ทำให้สองสามปีที่ผ่านมานี้ตัวเลขนักท่องเที่ยวของ จ.น่าน นั้นมากเกินความคาดหมายและคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวทยอยเดินทางเข้ามา สักการะพระบรมธาตุแช่แห้ง และมุ่งน่าต่อไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ของ จ.น่าน มากขึ้น

บานประตูไม้แกะสลัก

อ.สมเจตน์ วิมลเกษม ครูภูมิปัญญาไทย โรงเรียนสตรีศรีน่าน ผู้ซึ่งเป็นทั้งผู้เชี่ยวชาญในประวัติศาสตร์เมืองน่าน อาจารย์ และผู้ผลักดันการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของน่าน กล่าวว่า หลายคนกลัวว่าเมื่อมีตัวเลขนักท่องเที่ยวมากขึ้นแล้วจะกลายมาเป็นปัญหา ระหว่างการท่องเที่ยว กับสภาพสังคมอย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับ อ.ปาย อย่าลืมว่าน่านเราเป็นเมืองเก่า ดังนั้นจึงมีกฏหมายคุ้มครองไว้อย่างเป็นแบบแผน อย่างเช่น ไม่สามารถสร้างตึกสูงได้เกินสองชั้น และมาตรการทางสังคมก็คือมีการให้องค์ความรู้กับชาวบ้านเรื่อยมา คล้ายกับโมเดลการดูแลเมืองเก่าอย่างหลวงพระบาง ประเทศลาว

พระพุทธปฏิมาประธานวัดพญาภู

แต่หลายปีมานี้น่านประสบปัญหานักท่องเที่ยวทะลักเข้ามา เรื่องที่พักและอาหารจึงไม่เพียงพอซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวน่านกำลังหาทางจัดการ ให้ดีกว่านี้ แต่สำหรับด้านสังคมและวัฒนธรรมนั้นเชื่อว่าน่านเองมีภูมิคุ้มกันที่ดีอยู่ แล้ว แต่ละชุมชนมีเครือข่ายเชื่อมโยงกันมากขึ้น คนทำงานร่วมกันตั้งแต่พระสงฆ์จนถึงชาวบ้านทั่วไป จัดเตรียมเป็นแผนการท่องเที่ยวตำบลเพื่อให้ชาวบ้านได้มีความรู้และสามารถ จัดการกับปัญหาต่างๆ เมื่อการท่องเที่ยวเข้ามามีส่วนในวิถีชีวิตของเขามากขึ้น ซึ่งจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ต้องคอยดูกันต่อไป

เจดีย์ศิลปะพม่าผสมกับศิลปะแบบล้านนา

เราจบทริปนี้ด้วยความอิ่มบุญและอีกด้านหนึ่งนั้นเองยังหวังว่าเมืองน่านเองจะ ไม่เปลี่ยนไปมากกว่านี้ ตามกระแสของการท่องเที่ยวเหมือนกับหลายๆ ที่ ที่เราเห็นตัวอย่างมาแล้ว แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าชุมชนของคนเมืองน่านเองจะเข้มแข็งขนาดไหน เพราะองค์ความรู้และการจัดการต่างๆ นั้นถูกป้อนให้กับชุมชนมาต่อเนื่องหลายปี แต่เชื่อว่าในที่สุดนายทุนจากต่างถิ่นก็จะเข้ามาและจากไปเป็นธรรมดา แต่ถ้าลองคิดไตร่ตรองให้ดีแล้วก็จะพบว่าชาวน่านเองซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ เองก็มีสิทธิที่จะอยู่ร่วมกับนายทุนต่างๆ ได้แบบ Win Win Situation โดยได้ผลประโยชน์ด้วยกันทั้งคู่ ชาวบ้านไม่ต้องขายที่ดิน นายทุนก็สามารถมาลงทุนได้ เช่นกัน

พระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน

จังหวัด น่านนั้นยังมีสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางสถาปัตยกรรม และธรรมชาติที่น่าสนใจอีกมาก สอบถามรายละเอียดท่องเที่ยวเมืองน่านได้ที่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานแพร่ (แพร่ น่าน อุตรดิตถ์) โทร.0-5452-1118 และ 0-5452-11

ขอขอบคุณ http://www.manager.co.th/Travel/View...=9540000011333
ที่มา  http://board.palungjit.com/f76/แอ่วเมือง-“น่าน”-ไหว้พระ-9-วัด-สัมผัสงานพุทธศิลป์-ณ-ถิ่นสงบงาม-277405.html
22118  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เดินจงกรม คลานจงกรม จนเท้าเข่ามือแตกเลือดไหล ก็ยังไม่บรรลุ เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 12:07:47 pm
พระโสณโกฬิวิสเถระ
เอตทัคคะในทางผู้ปรารภความเพียร


พระโสณโกฬิวิสะ เกิดในตระกูลเศรษฐี เมืองจำปา แคว้นอังคะ มีชื่อเต็มว่า “โสณะ”
ซึ่งแปลว่า “ทองคำ” เพราะท่านมีผิวพรรณสวยงาม มาแต่กำเนิดส่วนคำว่า “โกฬิวิสะ” เป็นชื่อโคตรตระกูล บิดาชื่ออุสภเศรษฐี

•   มีขนสีเขียวขึ้นที่ฝ่ายเท้า
ท่านโสณะ เป็นผู้มีความชำนาญในการดีดพิณสามสาย เป็นคนสุขุมมาลชาติ มีความ
ละเอียดอ่อน ได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี บิดาได้สร้างปราสาท ๓ หลัง เพื่อเป็นที่พักอยู่อันเหมาะสม
กับภูมิอากาศใน ๓ ฤดูกาล ให้บริโภคเฉพาะอาหารที่ประณีตซึ่งหุงจากข้าวสาลีชนิดเลิศ และที่
ฝ่าเท้าทั้งสองของท่านมีขนสีเขียวเหมือนแก้วมณีงอกออกมาด้วย

ขณะที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เขาคิชกูฎ เมืองราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเจ้าพิมพิสารรับ
สั่งให้พสกนิกรของพระองค์ในหมู่บ้าน ๘๐,๐๐๐ ตำบล ในแคว้นอังคะ มาประชุมกันที่ลาน
บริเวณพระราชวัง เพื่อรับฟังพระราโชบายพร้อมกันนี้ได้รับสั่งให้อุสภเศรษฐี ส่งโสณโกฬิวิสะ
บุตรของตนเฝ้าด้วยเพื่อจะทอดพระเนตรฝ่าเท้าที่มีขนสีเขียวเหมือนแก้วมณีงอกออกมาตามที่มี
ข่าวเล่าลือ

อุสภเศรษฐีได้อบรมบุตรของตนให้ทราบถึงระเบียบมารยาทในการเข้าเฝ้าโดยห้าม
เหยียดเท้าไปทางที่ประทับ อันเป็นการไม่สมควร แต่ให้นั่งขัดสมาธิซ้อนเท้าทั้งสองไว้บนตัก
หงายฝ่าเท้าขึ้น เพื่อให้ทอดพระเนตรโสณโกฬิวิสะ


เมื่อเข้าเฝ้า ก็ได้ปฏิบัติตามที่บิดาสั่งสอนทุกประการ พระเจ้าพิมพิสาร
ทอดพระเนตรแล้วหายสงสัย จากนั้นได้ประทานโอวาท และชี้แจงพระราโชบายเกี่ยวกับกิจการ
บ้านเมืองให้พสกนิกรทราบแล้ว ทรงนำพสกนิกรเหล่านั้นพร้อมทั้งโสณโกฬิวิสะ ไปเข้าเฝ้า
สมเด็จพระบรมศาสดาถึงที่ประทับ

ขณะนั้น พระสาคตะ รับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐาก เมื่อพระเจ้าพิมพิสารทรงพาพสกนิกร
มาขอโอกาสเพื่อเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา ท่านได้แสดงฤทธิ์ โดยดำดินลงไปแล้วโผล่ขึ้นที่หน้า
พระคันธกุฎีบนยอดภูเขาคิชฌกูฏนั้น ประชาชนทั้งหลายเป็นแล้วก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสต่างพากัน


คิดว่า “พระพุทธสาวก ยังมีความสามารถึงเพียงนี้ พระบรมศาสดาจะต้องมีความสามารถมาก
กว่านี้อย่างแน่นอน” แล้วพากันเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค ได้รับฟังพระธรรมเทศนาอนุปุพพิกถา
และอริยสัจ ๔ แล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน แสดงตนเป็นอุบาสกอุบาสิกา ขอถึงพระรัตนตรัย
เป็นที่พึ่งที่ระลึกตลอดชีวิตแล้ว กราบทูลลากลับนิวาสถานของตน ๆ

ส่วน โสณโกฬิวิสะ ก็เกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเหมือนกันได้พิจารณาเห็น
ว่าการอยู่ครองเพศฆราวาสนั้น ยากนักที่จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ได้ จึงกราบ
ทูลขออุปสมบท ซึ่งพระบรมศาสดารับสั่งให้กลับไปขออนุญาตจากบิดามารดาก่อน เมื่อ
โสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามเรียบร้อยแล้ว จึงประทานการอุปสมบทให้ตามความประสงค์


•   ทรงแนะให้ทำความเพียรเหมือนพิณ ๓ สาย
ครั้นบวชแล้ว ได้ไปบำเพ็ญเพียรที่ป่าสีตวัน เขตเมืองราชคฤห์ ท่านเดินจงกรมอย่างหนัก
จนฝ่าเท้าแตก เลือดไหล เมื่อเดินด้วยเท้าไม่ได้ ท่านจึงใช้วิธีคลานด้วยเข่าและฝ่ามือทั้งสอง จน
กระทั่งเข่าและฝ่ามือทั้งสองแตกอีกแม้กระนั้น ท่านก็ยังไม่บรรลุมรรคผลอันใด


ท่านจึงเกิดความท้อแท้น้อยใจในวาสนาบารมีของตนว่า
“บรรดาสาวกของพระพุทธเจ้า ผู้บำเพ็ญเพียรอย่างหนัก
นั้น เราก็เป็นผู้หนึ่งที่มิได้ย่อหย่อนกว่าผู้อื่น ๆ ถ้ากระไรเราควรลาสิกขาออกไปครองเพศฆราวาส
ทำบุญสร้างกุศลตามสมควรแก่ฆราวาสวิสัยจะดีกว่า”


พระบรมศาสดา ทรงทราบดำริขอท่านเช่นนั้น จึงเสด็จมาตรัสสอนให้บำเพ็ญเพียรแต่พอ
ปานกลาง อย่าให้ตึงเกินไปหรือหย่อนเกินไปแล้วทรงยกพิณสามสายซึ่งท่านมีความชำนาญใน
การดีดพิณอยู่ก่อนแล้ว ขึ้นมาแสดงเป็นเครื่องเปรียบเทียบให้เห็นว่า

“พิณที่สายตึงเกินไป เมื่อดีดแล้วสายก็จะขาด พิณที่สายหย่อนเกินไป เมื่อดีดแล้วเสียงก็ไม่ไพเราะ ต้องสายที่ตึงพอปานกลางจึงจะไม่ขาดและมีเสียงเพาะ”

ท่านโสณโกฬิวิสะ ปฏิบัติตามพระดำรัสที่ทรงแนะนำ ไม่ตึงเกินไป หรือไม่หย่อนเกิน
ไป ปรับอินทรีย์ให้เสมอกันได้แล้ว ไม่นานนักก็ได้บรรลุพระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลใน
พระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ณ ป่าสีตวันนั้น


•   มูลเหตุทรงอนุญาตให้ภิกษุสวมรองเท้าได้
เพราะท่านโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรจนฝ่าเท้าเข่ามือแตกเลือดไหลได้รับทุกขเวทนา
อย่างหนัก ทรงปรารภเหตุนี้ จึงทรงอนุญาตให้เธอสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ท่านได้กราบทูล
ขอโอกาสให้ทรงมีพระบรมพุทธานุญาต แก่พระสาวกรูปอื่น ๆ ด้วย พระพุทธองค์ประทานให้
ตามที่ขอโดยรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วตรัสอนุญาตว่า:-


“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตอนุญาตให้พวกเธอสวมรองเท้าชั้นเดียวได้ แต่ไม่อนุญาตรองเท้าหลายชั้น”

(ต่อมาภายหลัง พระมหากัจจายนะ กราบทูลขออนุญาตรองเท้าหลายชั้นใน
ปัจจันตชนบท ตั้งแต่นั้นมาพระภิกษุสงฆ์จึงสวมรองเท้ามีพื้นหลายชั้นได้)

ด้วยเหตุที่ท่านทำความเพียงอย่างหนักดังกล่าวมา พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านใน
ตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทางผู้ปรารภความเพียร
ท่านดำรงอายุสังขาร สมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน

ที่มา  http://www.84000.org/one/1/30.html
22119  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / น้อยใจโดดหน้าผาตาย บรรลุอรหันต์กลางอากาศ เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 11:53:56 am
พระวักกลิเถระ
เอตทัคคะในทางศรัทธาวิมุตติ


พระวักกลิ เกิดในตระกูลพราหมณ์ ในเมืองสาวัตถุ ได้ศึกษาศิลปะวิทยา จบไตรเพท
ตามความนิยมของลัทธิพราหมณ์

•   บวชเพราะอยากชมพระรูปโฉม
สมัยหนึ่ง เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จสู่พระนครสาวัตถีพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์วักกลิมาณพ
นั้น เป็นผู้มีอุปนิสัยหนักไปในทางราคจริตรักสวยรักงาม พอได้เห็นพระรูปโฉมอันสง่างาม ผิว
พรรณผ่องใส พระอิริยาบถก็เหมาะสมไปทุกท่วงท่า จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสและรักใคร่ไม่รู้จักเบื่อ
หน่าย ในการดูพระวรกาย พยายามวนเวียนมาเฝ้าดูอยู่เป็นนิตย์


ผลที่สุดก็เกิดความคิดว่า “ถ้าเราบวชก็จะได้ตามดูพระวรกายของพระพุทธองค์ ได้อย่างใกล้ชิดและตลอดเวลา” เมื่อคิดดังนี้แล้ว จึงเข้าไปกราบทูลขอบรรพชาอุปสมบทในพระพุทธศาสนา และพระบรมศาสดาก็ประทาน
ให้สมประสงค์

เมื่อท่านบวชแล้วก็มิได้ใส่ใจในการที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ไม่มีการสาธยายท่องบ่น
ไม่บำเพ็ญเพียรพระกรรมฐาน ทุกวันเวลามีแต่มัวเมาเฝ้าดูพระรูปโฉมของพระพุทธองค์มิได้
ละเว้น พระพุทธองค์เองก็มิได้รับสั่งว่ากล่าวแต่ประการใด ในเบื้องต้น ครั้นกาลเวลาผ่านไป
พระองค์ตรัสเตือนให้พระวักกลิ เลิกละการเที่ยวติดตามดูร่างกายอันจะเน่าเปื่อยนั้นเสีย และทรง
ชี้ทางให้ท่านกลับมาใส่ใจบำเพ็ญสมณธรรมด้วยพระดำรัสว่า:-


“ดูก่อนพระวักกลิ ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเชื่อว่าเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม”
พระวักกลิ แม้ว่าพระพุทธองค์จะตรัสเตือนอย่างนั้นแล้ว ท่านก็ยังปฏิบัติเช่นเดิม พระผู้
มีพระภาคจึงมีพระดำริว่า:-

“ภิกษุนี้ ถ้าไม่ได้รับความสลดใจเสียบ้าง ก็จะไม่ได้บรรลุมรรคผลอะไรเลย”

•   ถูกขับไล่ไปโดดเขาตาย
ครั้นมีพระดำริอย่างนี้แล้ว เมื่อใกล้จะถึงวันเข้าพรรษา พระองค์ได้เสด็จไปสู่
พระนครราชคฤห์โดยมีพระวักกลิ ยังคงติดตามดูพระองค์อยู่ตลอดเวลา จึงตรัสเรียกให้
พระวักกลิ เข้ามาเฝ้า และตรัสประณามขับไล่เธอออกไปเสียจากสำนักของพระองค์ด้วย
พระดำรัสว่า:-

“อเปหิ วกฺกลิ : ดูก่อนวักกลิ เธอจงออกไปจากสำนักของเรา”

พระวักกลิ เมื่อได้ฟังพระดำรัสนั้นแล้ว ไม่ทันจะตั้งสติได้ คิดอะไรไม่ออก จึงเกิดความ
น้อยใจและเสียใจเป็นอย่างมาก คิดว่าพระบรมศาสดาคงจะไม่เมตตาทักทายปราศรัยกับเราอีก
แล้ว เราก็คงจะไม่ได้เห็นพระวรกายรูปโฉมของพระพุทธองค์อีกแล้ว เราจะมีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม

จึงออกจากพระเวฬุวันมหาวิหาร หมายใจว่าจะไปกระโดดภูเขาคิชฌกุฏ เพื่อฆ่าตัวตาย
พระบรมศาสดา เมื่อตรัสขับไล่เธอไปแล้ว ก็ทรงติดตามดูวารจิตและการกระทำของเธอ
ก็จะตายแน่นอน

จึงแสดงพระองค์ปรากฏให้เธอเห็นพร้อมทั้งตรัสเรียกชื่อว่า “วักกลิ” แล้ว
ตรัสปลอบใจด้วยธรรมกถา พระวักกลิ ก็เกิดปีติปราโมทย์รื่นเริงบันเทิงใจ จึงรีบมาเข้าเฝ้า
พระบรมศาสดาโดยทางอากาศพิจารณาพระโอวาทที่ตรัสสอน ข่มปีติลงได้แล้ว ก็ได้บรรลุ
พระอรหัตผลพร้อมทั้งปฏิสัมภิทาบนอากาศนั้น


แล้วลงมากราบถวายบังคมพระบรมศาสดา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้า
อาศัยศรัทธาเป็นสื่อนำ จนสามารถได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ได้ พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ศรัทธาวิมุตติ คือ ผู้หลุดพ้นจากกิเลสด้วยศรัทธา


ที่มา  http://www.84000.org/one/1/23.html
22120  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บาลานซ์อินทรีย์ เพื่ออะไร ทำไมต้องบาลานซ์ เมื่อ: มกราคม 27, 2011, 11:43:49 am
อินทรีย์ ความเป็นใหญ่, สภาพที่เป็นใหญ่ในกิจของตน, ธรรมที่เป็นเจ้าการในการทำหน้าที่อย่างหนึ่งๆ เช่น ตาเป็นใหญ่หรือเป็นเจ้าการในการเห็น หูเป็นใหญ่ในการได้ยิน ศรัทธาเป็นเจ้าการในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา เป็นต้น

อินทรีย์ ๕ (ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจของตน)

๑. สัทธา (ความเชื่อ) หรือ สัทธินทรีย์
๒. วิริยะ (ความเพียร) หรือ วิิริยินทรีย์
๓. สติ (ความระลึกได้) กรือ สตินทรีย์
๔. สมาธิ (ความตั้งจิตมั่น) หรือ สมาธินทรีย์
๕. ปัญญา (ความรู้ทั่วชัด) หรือ ปัญญินทรีย์


ที.ปา.๑๑/๓๐๐/๒๕๒: องฺ.ปญฺจก.๒๒/๑๓/๑๑; อภิ.วิ.๓๕/๘๔๔/๔๖๒
ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม และฉบับประมวลศัพท์(ป.อ.ปยุตโต)

________________________________________

พระไตรปิฎก เล่ม๑๙   
พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑
สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
หมวด ๖ แห่งโพชฌงค์ที่ ๖


อรรถกถาอาหารสูตร                 
การทำอินทรีย์ทั้งหลาย มีศรัทธา เป็นต้นให้เสมอกัน ชื่อว่าการปรับอินทรีย์ให้เสมอกัน.

สัทธากล้า
เพราะว่า  ถ้าสัทธินทรีย์ของเธอแก่กล้า  อินทรีย์นอกนี้อ่อน.
ทีนั้น  วิริยินทรีย์  จะไม่อาจทำปัคคหกิจ  (กิจคือการยกจิตไว้) 
สตินทรีย์จะไม่อาจทำอุปัฏฐานกิจ  (กิจคือการอุปการะจิต)
สมาธินทรีย์จะไม่อาจทำอวิกเขปกิจ  (กิจคือทำจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน) 
ปัญญินทรีย์จะไม่อาจทำทัสสนกิจ(กิจคือการเห็นตามเป็นจริง).

 
เพราะฉะนั้น  สัทธินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงเสียด้วยพิจารณาสภาวะแห่งธรรม 
ด้วยไม่ทำไว้ในใจ  เหมือนเมื่อเขามนสิการ  สัทธินทรีย์ที่มีกำลังนั้น.
ก็ในข้อนี้มีเรื่องพระวักกลิเถระเป็น  ตัวอย่าง.

อ่านเรื่องพระวักกลิเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2914.new#new


วิริยะกล้า
แต่ถ้าวิริยินทรีย์กล้า  ทีนั้น สัทธินทรีย์  ก็จะไม่อาจทำอธิโมกขกิจได้  (กิจคือการน้อมใจเชื่อ). 
อินทรีย์นอกนี้  ก็จะไม่อาจทำกิจนอกนี้  แต่ละข้อได้.
เพราะฉะนั้น  วิริยินทรีย์อันกล้านั้น  ต้องทำให้ลดลงด้วยเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์เป็นต้น. 
แม้ในข้อนั้น  ก็พึงแสดงเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ


อ่านเรื่องพระโสณโกฬิวิสเถระ ได้ที่
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=2915.new#new


ความที่เมื่อความกล้าแห่งอินทรีย์อันหนึ่งมีอยู่  อินทรีย์นอกนี้  จะไม่สามารถในกิจของตน ๆ
ได้  พึงทราบในอินทรีย์ที่เหลืออย่างนี้แล.

ก็โดยเฉพาะในอินทรีย์  ๕  นี้  บัณฑิตทั้งหลายสรรเสริญอยู่ซึ่ง
ความเสมอกันแห่ง สัทธากับปัญญา และสมาธิกับวิริยะ. 


สัทธา-ปัญญา
เพราะคนมีสัทธาแก่กล้าแต่ปัญญาอ่อน  จะเป็นคนเชื่อง่าย  เลื่อมใสในสิ่งอันไม่เป็นวัตถุ. 
ส่วนคนมีปัญญากล้า  แต่สัทธาอ่อน  จะตกไปข้างอวดดี  จะเป็นคนแก้ไขไม่ได้  เหมือน
โรคที่เกิดแต่ยา  รักษาไม่ได้ฉะนั้น  วิ่งพล่านไปด้วยคิดว่า  จิตเป็นกุศลเท่านั้นก็พอ 
ดังนี้แล้ว  ไม่ทำบุญมีทานเป็นต้น  ย่อมเกิดในนรก. 
ต่อธรรมทั้ง  ๒ เสมอกัน  บุคคลจึงจะเลื่อมใสในวัตถุแท้. 

สมาธิ-วิริยะ
โกสัชชะ(ความเกียจคร้าน)ย่อมครอบงำคนมีสมาธิกล้าแต่วิริยะอ่อน  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ. 
อุทธัจจะ(ความฟุ้งซ่าน) ย่อมครอบงำคนมีวิริยะกล้าแต่สมาธิอ่อน  เพราะวิริยะเป็นฝ่ายอุทธัจจะ.

แต่สมาธิที่มีวิริยะประกอบเข้าด้วยกันแล้ว  จะไม่ตกไปในโกสัชชะ. 
วิริยะที่มีสมาธิประกอบพร้อมกันแล้วจะไม่ตกไปในอุทธัจจะ.


เพราะฉะนั้น  อินทรีย์ทั้ง  ๒  นั้น  ต้องทำให้เสมอกัน.
ด้วยว่า  อัปปนาจะมีได้  ก็เพราะความเสมอกันแห่งอินทรีย์ทั้ง  ๒.

สัทธาทำให้บรรลุอัปปนาสมาธิ
อีกอย่างหนึ่ง  สัทธาแม้มีกำลัง  ก็ควรสำหรับสมาธิกัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญสมถกัมมัฏฐาน).
เธอเมื่อสัทธามีกำลังอย่างนี้  เชื่อดิ่งลงไปจักบรรลุอัปปนาได้.


 ในสมาธิและปัญญาเล่า  เอกัคคตา (สมาธิ)  มีกำลังก็ควร  สำหรับ
สมาธิกัมมิกะ  ด้วยเมื่อเอกัคคตามีกำลังอย่างนั้น  เธอจะบรรลุอัปปนาได้.

ปัญญาทำให้เห็นแจ้งไตรลักษณ์
ปัญญามีกำลัง  ย่อมควรสำหรับวิปัสสนากัมมิกะ (ผู้บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน).
ด้วยเมื่อปัญญามีกำลังอย่างนั้น  เธอย่อมจะบรรลุลักขณปฏิเวธ (เห็นแจ้งไตรลักษณ์) ได้.
 แต่แม้เพราะสมาธิและปัญญาทั้ง  ๒  เสมอกัน  อัปปนาก็คงมีได้.


สติรักษาจิตและควบคุมทุกอย่าง
   ส่วนสติ  มีกำลังในที่ทั้งปวง  จึงจะควร  เพราะสติรักษาจิตไว้แต่ความ
ตกไปในอุทธัจจะ  เพราะอำนาจแห่งสัทธา  วิริยะ  และปัญญาอันเป็นฝ่ายอุทธัจจะ
และรักษาจิตไว้แต่ความตกไปในโกสัชชะ  เพราะสมาธิเป็นฝ่ายโกสัชชะ.


เพราะฉะนั้น  สตินั้น  จึงจำปรารถนาในที่ทั้งปวง  ดุจเกลือสะตุเป็นสิ่งที่พึง
ปรารถนาในกับข้าวทั้งปวง  และดุจสรรพกัมมิกอำมาตย์  (ผู้รอบรู้ในการงานทั้งปวง) 
เป็นผู้พึงปรารถนาในสรรพราชกิจฉะนั้น.

เพราะฉะนั้น  ท่านจึงกล่าวว่า  ก็แลสติ  พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า 
เป็นคุณชาติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง. 
ถามว่า   เพราะเหตุไร. 
ตอบว่า  เพราะจิตมีสติเป็นที่พึ่งอาศัย  และสติมีการรักษาเอาไว้เป็นเครื่องปรากฏ 
การยกและข่มจิตเว้นสติเสีย  หามีได้ไม่ ดังนี้.


ที่มา พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
หน้า: 1 ... 551 552 [553] 554 555 ... 559