ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
  Messages   Topics   Attachments  

  Topics - raponsan
หน้า: 1 ... 553 554 [555] 556 557 558
22161  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ทดเวลาหลับ” เคล็ดไม่ลับฉบับ “บอลโลก” เมื่อ: มิถุนายน 26, 2010, 10:40:51 am
“ทดเวลาหลับ” เคล็ดไม่ลับฉบับ “บอลโลก”

:34: :34: :34: :bedtime2: :bedtime2: :bedtime2:

เปิดสนามมาได้ กว่า 2 สัปดาห์ สำหรับฟุตบอลโลก 2010 ช่วงนี้ หลายคนอาจจะเห็นบรรยากาศในที่ทำงาน หรือแม้กระทั่งในห้องเรียนที่คล้ายๆ กัน กล่าวคือ เหลียวซ้ายไปก็เห็นคนหาว เหลียวขวามาก็เจอคนฟุบหลับสัปหงก อนุมานเอาจากช่วงเวลาได้ว่า บรรดาผู้ที่กำลังง่วงเหงาหาวนอนเหล่านี้ น่าจะเป็นเหล่าคอบอลที่ยอมอดตาหลับขับตานอน รอเชียร์ทีมโปรดของตัวเอง

พญ.เรขา กลลดาเรืองไกร

และ แม้จะรู้ทั้งรู้ว่าการนอนดึกเป็นสิ่งที่บ่อนทำลายสุขภาพ แต่เหล่ามิตรรักลูกหนังต่างก็โอดเป็นเสียงเดียวกันว่า 4 ปีจะมีสักหน บิ๊กแมตช์ขนาดนี้ ถึงง่วงก็ต้องยอม! งานนี้ “พญ.เรขา กลลดาเรืองไกร” จิตแพทย์คนเก่งจาก รพ.กล้วยน้ำไท 1 จึงได้แวะเอาเคล็ดลับวิธีการ “ทดเวลาหลับ” หรือเคล็ดไม่ลับการนอนชดเชยช่วงเวลาที่อดนอนระหว่างบอลโลกมาฝากกัน

“คน เราควรจะนอนตอนกลางคืน แล้วตื่นเช้า แต่หากทำสลับกันจะทำให้ต่อมไพเนียล เริ่มสร้างฮอร์โมนไม่สม่ำเสมอ ทำให้อารมณ์แปรปรวน ไม่มีสมาธิ สมองและระบบประสาททำงานได้ไม่เต็มที่ การสั่งงานของสมองช้า การทำงานประสานระหว่างมือ และตา อาการจะเหมือนกับผู้ที่ได้รับสารพิษ ทำให้เกิดอันตรายในการขับรถ นอกจากนี้ยังทำให้ขี้กังวล ไตทำงานหนักขึ้น ท้องผูก ภูมิต้านทานต่ำ ป่วยง่ายขึ้น และหายช้าลง”


แพทย์ ผู้เชี่ยวชาญรายนี้อธิบายเพิ่มเติมว่า การนอนของคนเรานั้นเป็นรอบ (Sleeping Cycle) ซึ่ง 1 รอบกินระยะเวลาประมาณ 90-110 นาที ซึ่งไม่เท่ากันในแต่ละคน และแต่ละวันก็แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับกิจกรรมในวันนั้น และสิ่งที่ได้รับ เช่น การดื่มกาแฟ แอลกอฮอลล์ การออกกำลังกาย และความเครียด

“การ นอนช่วงดูบอลโลก ควรจะนอนให้ครบรอบการนอน เช่น ถ้าวันนี้จะต้องตื่นตี 1 ก็ควรนอนหลับไปให้ครบ 1 รอบก่อน แล้วค่อยนอนอีกครั้งเมื่อดูบอลจบตอนประมาณตี 3 แต่ถ้านอนหลายรอบการนอนมากเกินไปก่อนตื่นขึ้นมาดูบอล อาจส่งผลให้นอนไม่หลับเมื่อดูบอลจบ แนวทางคร่าว ๆ ในการนอนที่ทำให้รู้สึกอ่อนเพลียน้อยที่สุดในช่วงดูบอลโลก คือถ้าต้องการดูแมตช์ช่วงตี 1 อาจจะเข้านอนตอน 5 ทุ่ม - 5 ทุ่มครึ่ง แล้วตั้งนาฬิกาปลุกไว้เพื่อตื่นขึ้นมาดูฟุตบอลตอนตี 1 แล้วค่อยนอนต่อตอนตี 3 แต่ถ้าตื่นไม่ไหวก็ ไม่ควรฝืน ควรนอนต่อเนื่องไปเลย”


แต่แม้จะแนะนำวิธีการแก้ปัญหา การอดนอนเมื่อยามจำเป็นแบบนี้ พญ.เรขา ก็ยังคงย้ำว่า การนอนแบบที่แนะนำ ก็ยังทำให้ตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่นเท่ากับการนอนต่อเนื่องตามปกติอยู่ดี ดังนั้นไม่ควรจะทำบ่อยๆ เรียกได้ว่า เอาไว้ใช้ยามฉุกเฉินที่อดนอนก็พอจะได้

“การนอน แบบนี้ไม่ได้ทำให้สดชื่นในตอนเช้า ดังนั้น จึงควรหาเวลางีบหลับในตอนกลางวัน สักประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง บ้าง ก็จะช่วยลดความอ่อนล้า และง่วงนอนได้ ที่สำคัญ ควรนอนให้มีคุณภาพ หลับให้สนิท ห้องนอนต้องมืดสนิท อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่มีกลิ่นอับชื้น ไม่ควรฟังวิทยุ หรือเปิดทีวีทิ้งไว้ เนื่องจากจะทำให้สมองตื่นตัว และนอนในห้องนอนที่อุณหภูมิเย็นกำลังสบาย ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป” พญ.เรขา ทิ้งท้าย ก่อนจะย้ำด้วยว่า วิธีดังกล่าวไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง โรคหัวใจวาย ฯลฯ เพราะอาจส่งผลต่อชีวิตได้ ถ้าทำอย่างต่อเนื่อง การนอนที่ดีที่สุด คือ การหลับสนิทอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6-8 ชั่วโมง ไม่ควรนอนด้วยวิธีดังกล่าวเป็นประจำ เพราะอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
ที่มา  http://atcloud.com/stories/84840

 :49: :34: :bedtime2:
22162  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / แมวนางกวัก "มาเนคี เนะโกะ" เมื่อ: มิถุนายน 21, 2010, 09:19:45 am


แมวนางกวัก

" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) นั้นคืออะไร ? และหมายถึงอะไร ?

Can You Explain the Japanese " LUCKY CAT ? "

    ด้วยมีคำถามมาจากหลายประเทศที่สงสัยเกี่ยวกับเรื่อง ของ " มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) ที่ว่ามานี้กันมากนะคะ จึงอยากจะขอนำเสนอเรื่องและตำนานที่ว่าทำไมคนญี่ปุ่นถึงได้เรียกแมวที่เรา ๆ ท่าน ๆ มักจะได้เคยเห็นกันตามหนังสือการ์ตูนหรือตามห้างร้านที่กำลังนั่งทำท่ากวัก มืออยู่นั้นให้ได้หายสงสัย และรู้จักกันดีขึ้นมามากกว่าเก่าอีกสักหน่อยนะคะ


แมวตัวเมียตัวที่กำลังทำท่ากวักมือเหมือนเรียกแขกหรือผู้ ที่จะมาเยือนตัวนี้ของคนญี่ปุ่นนั้น ได้ตั้งชื่อ ให้ว่า " มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) แปลชื่อตามศัพท์ ก็จะได้ออกมาว่า " มาเนคี " คือกวักหรือเรียกโชค " เนะโกะ " คือคำเรียกชื่อสัตว์เลี้ยงพันธุ์หนึ่งคือแมว
     
 เรื่องราวของแมวซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงชนิดหนึ่งนี้นั้น ได้เล่ากันว่า แมวได้เข้ามามีบทบาทและเป็นสัตว์เลี้ยงของชาวญี่ปุ่น โดยการได้ถูกนำข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากประเทศจีนผืนแผ่นดินใหญ่ มานานมากกว่า 1000 ปีมาแล้ว และยัง สันนิษฐานว่าการที่แมวได้ถูกเรียกจนกระทั่งได้กลายมาเป็นสัญญาลักษณ์และมี ชื่อเสียงว่าเป็น " LUCKY CAT ? " ของคนญี่ปุ่นในปัจจุบันนี้นั้น คงจะมีเหตุที่เกี่ยวพันตามมาพร้อมด้วยกับตัวแมว

ตามความเชื่อถือของคนจีนที่มีเขียน อยู่ในสุภาษิตบทหนึ่งที่ว่า " neko kao aratte mimi o kotsureba sunawaji kekkuyobu " ( เมื่อแมวทำท่าล้างหน้า ถูหู เมื่อ ไหร่เมื่อนั้นแขกก็จะมาเยือน ) ที่คนญี่ปุ่นได้รับฟังและกล่าวถึงความสำคัญของแมวตอนสมัยที่แมวได้มาถึง ญี่ปุ่นในตอนสมัยแรก ๆ...
 

      และยังมีเรื่องที่ได้ถูกเล่าขานมาจากวัด " โชเน็นจิ " เมืองเกียวโตอีกอย่างมาว่า แมวสีขาว ( สามารถทำให้โชคชะตาดี ) แมวสีดำ ( จะช่วยป้องกันจากโรคร้าย ) และยังกล่าวไว้อีกว่า แมวสีทอง ( จะทำให้ร่ำรวยเงินทอง ) ส่วนแมวที่ยกขาเท้าหน้า ข้างขวาขึ้นบน (จะเรียกโชคและความสุข ) และแมวที่ยกขาเท้าหน้าข้างซ้ายขึ้นบนนั้น ( จะเรียกแขกและผู้มาเยือน ขายอะไร ก็จะขายดิบ ขายดี ) ได้มีเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของ" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) กันอยู่หลายอย่างตามแต่ ละสมัยที่เกิดขึ้น

      เรื่องที่เล่าถึงกำเนิดของ" มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO ) ที่เก่าแก่และดั้งเดิมที่สุดนั้น ก็เห็นว่าจะมีอยู่ เรื่องเดียวที่มีชื่อเสียงมากกว่าเรื่องอื่น ๆ จนเกือบที่จะพูดได้ว่าเป็นเรื่องจริง ๆ เรื่องแท้ ๆ เลยทีเดียวนั้น ก็มีอยู่ว่านานมาแล้วที่วัด " โกโตกุจิ " ซึ่งเป็นวัดที่เก่าแก่เล็ก ๆ ไม่มีชื่อเสียงและมีบทบาทสำคัญอะไรมากมายในสมัยนั้น ตั้งอยู่ในตำบล " เซตากายะ " ที่วัดนี้มีหลวงพ่อผู้ยากจนได้อาศัยอยู่กับแมวสีขาวปลอดตัวหนึ่ง และถึงแม้ว่าจะยากจนข้าวปลาอาหารที่มีไว้สำหรับเป็นอาหาร ของหลวงพ่อเองนั้นก็น้อยนิดจนเรียกว่าไม่ค่อยจะพอ

แต่ด้วยความที่ท่านนั้นทั้งรักและเอ็นดูแมวตัวนี้มาก ท่านจึงมักจะแบ่ง อาหารของท่านที่มีอยู่น้อยนิดนั้น ให้แมวได้กินทุกครั้งไม่เคยให้ต้องอดและหิวด้วยตลอดมา...และในทุกวันและทุก ครั้งที่ ได้ให้อาหารกับแมว ท่านก็จะเอามือลูบหัวของมันไปแล้วพูดกับมันว่า " ดูซิ..หลวงพ่อ ละก็เอ็นดูและสงสารเจ้ามากมายขนาด นี้ทีเดียวนะ เจ้าช่วยตอบแทนด้วยการนำสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาให้บ้างสิ " ท่านจะพูดคุยกับมันเหมือนเป็นญาติมิตรที่สนิทสนมกัน มาช้านานเลยทีเดียว
   

  แล้วก็ได้เกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้นในฤดูร้อนของวันหนึ่งเข้า วันนั้นหลวงพ่อท่านได้เดินไปที่หน้าวัด แล้วท่านก็พลัน ได้เห็นว่าได้มี " ทาก้า โทรี " ( ซามูไรผู้ล่าสัตว์ด้วยนกอินทรีย์ ) มายืนเมียงมองอยู่ที่หน้าวัดกับพวกบริวารกลุ่มหนึ่ง และเมื่อ " ทาก้า โทรี " กับบริวารกลุ่มนั้นได้มองมาเห็นหลวงพ่อเข้าก็เดินเข้ามาที่ใกล้ ๆ แล้วพูดบอกกับหลวงพ่อว่า

" เมื่อสักครู่นี้ ตอนที่พวกเราได้กำลังที่จะเดินผ่านมาทางหน้าวัดนี้อยู่พอดีนั้น ได้มองเห็นแมวสีขาวตัวหนึ่ง ทำท่ากวักมือเรียกหลายครั้งหลายหน เหมือน อย่างกับจะเรียกให้เขามาในวัด ยังไงยังงั้นเลยทีเดียว

พวกเราให้เป็นสงสัยกันอย่างมากว่ามีอะไรที่ในวัดนะ จึงได้มายืนมองดูกันอยู่อย่างที่ หลวงพ่อได้เห็นนี่แหละ แต่ว่าไหนก็หยุดลงตรงนี้แล้ว ก็ขออนุญาติเข้าไปนั้งพักให้หายเหนื่อยในวัดสักหน่อยได้ไหม หลวงพ่อ " หลวงพ่อเมื่อได้ฟังดังนั้นก็กล่าวอนุญาติและได้เชิญผู้คนเหล่านั้นให้เข้าไป ข้างใน และขณะที่กำลังจะเดินเข้าไปนั้น ก็เกิดความ ปรวนแปลของดินฟ้าอากาศขึ้นมาอย่างกระทันหัน ท้องฟ้ามืดมนดำมืดไปหมด


แล้วฝนก็ได้ตกลงมาอย่างหนักอย่างไม่มีเคล้ามาก่อนเลยว่าตก ลมนั้นก็เกิดโฮมพัดกระหน่ำขึ้นมาอย่างแรง และอยู่ ๆ พลันฟ้าก็ได้ผ่าลงมาที่ตรงหน้าวัดนั้น เสียงสนั่นหวั่นๆไหวไปหมด " ทาก้า โทรี " ผู้นั้นให้เกิดความปิติและดีใจเป็นอย่างมาก และได้พูดขึ้นว่า " เป็นเพราะแมวได้กวักมือเรียกให้เข้ามาหลบฝน เลยพ้นเคราะห์จากการต้องถูกฟ้าผ่าตายหมดทั้งขบวนมาได้

พวกเราโชคดีอย่างมากที่เชื่อคำเชิญของแมวตัวนั้น " แล้ว " ทาก้า โทรี " ผู้นั้นก็ได้แนะนำตัวว่า เขานั้นมีนามว่า " อี่อี่ นาโอตากะ " เป็นโตโน่ผู้ร่ำรวยของเมืองคิโคแนะเลยทีเดียว จึงด้วยการเป็นเช่นนี้...ท่านซามูไรที่เป็นถึงโตโน่ซามะผู้นั้น จึงขออนุญาติหลวงพ่อขอเป็นผู้อุปถัมและขอเกื้อกูลวัดแห่งนั้น ตั้งแต่บัดนั้นมาเลยทีเดียว       

ส่วนแมวตัวนั้น เมื่อมันอายุมากขึ้นก็ได้ตายลงไป หลวงพอท่านก็ได้สร้าง " โอฮากะ " ( หลุมศพ ) บรรจุมันไว้อย่างดี จารึก ชื่อไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่า แมวตัวนี้เป็นแมวที่สามารถจะบรรดาลเปลี่ยนโชคชะตาให้ได้ จนมีชื่อเสียงมาจนถึงทุกวันนี้

 
แมวที่ยกเท้าขวาขาหน้าขึ้น บน............เรียกเงินทองและโชคลาภมาให้
     
แมวที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............เรียกแขกผู้มาเยือน ค้าขายก็จะขายดิบขายดี
   
แมวสีขาวที่ยกเท้าซ้ายและขวาขาหน้าขึ้นบน............เรียกโชคชะตา
     
แมวสีดำที่ยกเท้าซ้ายขวาขาหน้าขึ้นบน.....ปกป้องคุ้มครองให้พ้นจาก โรคร้าย
       
แมวสีทองที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............ทำให้ร่ำรวยมีเงินหมื่นเงิน แสน
     
แมวสีเงินที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............ให้มีอายุยืนยาว
       
แมวสีแดงที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............รักษาความเจ็บป่วยและโรค ร้ายของเด็ก ๆ
     
แมวสีชมพูที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............เรียกความรักและคู่ครองที่ ดี
       
แมวสีเหลืองที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน.....คู่ครองอยู่กันจนถือไม้ เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร
     
แมวไม่มีสีไม่มีลายที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............ความฝันและความ หวังเป็นจริง
     
แมวสีน้ำเงินหรือสีฟ้าที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............เรื่องการ เรียน
     
แมวสีเขียวที่ยกเท้าซ้ายขาหน้าขึ้นบน............ให้ปลอดภัยจากอุบัติเหตุ

      การที่แมวทำกริยาเหมือนกับว่าได้ยกมือขึ้นมากวักเรียกนั้น ความจริงแล้วแมวไม่ได้ตั้งใจเลียนแบบหรือล้อเลียนคนหรอก การที่มันได้ทำอาการและกิริยาแบบนั้นก็เป็นด้วยมันมีนิสัยติดประจำตัวมา อย่างหนึ่งที่แก้ไม่หาย คือการชอบขัดสีฉวีวันด้วย การเลียไปที่มือแล้วใช้มือนั้นถูหน้าถูตาและรวมถึงถูหูของมันด้วยตามที่เรา ได้เห็นกันเพียงแค่นั้นเอง และจากสุภาษิตบทที่ว่า " neko kao aratte mimi o kotsureba sunawaji kekkuyobu " ( เมื่อแมวทำท่าล้างหน้า ถูหู เมื่อไหร่เมื่อนั้นแขกก็จะมาเยือน ) นั้นเป็นสาเหตุ


ดังนั้นแมวจึงได้กลับกลายมาเป็นเครื่องหมาย " โชไบฮันโจ้ " คือสามารถทำให้ค้าขายได้กำไร ขายดิบขายดีไปโดยปริยาย มีท่านผู้หนึ่งซึ่งเป็นผู้รู้ได้เคยเล่าว่า ที่ประเทศทางยุโรบหมายถึงพวกชาวอเมริกัน นั้นเวลาที่จะเรียกคนจะหงายฝ่ามือขึ้นและกวักเรียก แต่ที่ญี่ปุ่นสำหรับคนญี่ปุ่นนั้น จะเรียกคนด้วยอาการที่กลับ กันกับชาวอเมริกันคือจะคว่ำฝ่ามือลงล่างแล้วกวักเรียก

ดังนั้นตุ๊กตา " มาเนคี เนะโกะ " ( MANEKI NEKO )ที่ผลิตมาจากต่างประเทศนั้นส่วนมากจะทำการกวักมือผิดด้านไม่เหมือนกับที่ ผลิตในญี่ปุ่น ท่านผู้นั้นได้ให้ ข้อสังเกตุมาว่าอย่างนี้ ส่วนตุ๊กตา " มาเนคี เนะโกะ " ที่ใส่เสื้อผ้าชุดกิโมโนนั้น เป็นของที่สร้างขึ้นเมื่อสมัยเอโดะ และแมวที่มีกระดิ่งผูกอยู่ด้วยนั้นก็เพื่อที่จะไม่ให้ดวงชะตาและความโชคดี นั้นได้หนีหายไป ส่วนรูปเหรียญทอง ที่แมวได้ถือติดมืออยู่นั้นเป็น " โคบัง " ( เหรียญเงิน ) ที่ใช้ในสมัยเอโดค่ะ

 

แปลและเรียบเรียงโดยสุขุมาลย์
ที่มา http://sukumal.brinkster.net/j_story/maneki/neko01.html

22163  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ทำอย่างไรจะหายโกรธ เมื่อ: มิถุนายน 20, 2010, 01:10:27 pm
ทำอย่างไรจะหายโกรธ
โดยพระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) วัดญานเวศกวัน นครปฐม

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเมตตาการุณย์ พระพุทธเจ้ามีพระคุณข้อใหญ่ประการหนึ่ง คือ พระมหากรุณา ชาวพุทธทุกคนได้รับการสั่งสอนให้มีเมตตากรุณา ให้ช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่นด้วยกานวาจา และมีน้ำใจปรารถนาดี แม้แต่เมื่อไม่ได้ทำอะไรอื่น ก็ให้แผ่เมตตาแก่เพื่อนมนุษย์ตลอดจนสัตว์ทั้งปวง ขอให้อยู่เป็นสุขปราศจากเวรภัยกันโดยทั่วหน้า

อย่างไรก็ตาม เมตตา มีคู่ปรับสำคัญอย่างหนึ่งคือความโกรธ ความโกรธเป็นศัตรูที่คอยขัดขวางไม่ให้เมตตาเกิดขึ้น คนบางคนเป็นผู้มักโกรธ พอโกรธขึ้นมาแล้วก็ต้องทำอะไรรุนแรงออกไป ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าทำอะไรไม่ได้ก้หงุดหงิดงุ่นง่านทรมานใจตัวเอง เวลานั้นเมตตาหลบหาย ไม่รู้ว่าไปซ่อนตัวอยู่ที่ไหน ไม่ยอมปรากฏให้เห็น ส่วนความโกรธทั้งที่ไม่ต้องการแต่ก็ไม่ยอมหนีไป บางทีจนปัญญา ไม่รู้จะขับไล่หรือกำจัดให้หมดไปได้อย่างไ

โบราณท่านรู้ใจและเห็นใจคนขี้โกรธ จึงพยายามช่วยเหลือ โดยสอนวิธีการต่างๆ สำหรับระงับความโกรธ วิธีการเหล่านี้มีประโยชน์ไม่เฉพาะสำหรับคนมักฌกรธเท่านั้น แต่เป็นคติแก่ทุกคน ช่วยให้เห็นโทษของความโกรธ และมั่นในคุณของเมตตายิ่งขึ้น จึงขอนำมาเสนอพิจารณากันดู วิธีเหล่านั้นท่านสอนไว้เป็นขั้นๆ ดังนี้

ขั้นที่ ๑
นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ

ก. สอนตนเองให้นึกว่า พระพุทธเจ้าของเราทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ และทรงสอนชาวพุทธให้เป็นคนมีเมตตา เรามามัวโกรธอยู่ ไม่ระงับความโกรธเสีย เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสอนของพระองค์ ไม่ทำตามอย่างพระศาสดา ไม่สมกับเป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้า จลรีบทำตัวให้สมกับที่เป็นศิษย์ของพระองค์ และจงเป็นชาวพุทธที่ดี

ข. พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า คนที่โกรธเขาก่อนก็นับว่าเลวอยู่แล้ว คนที่ไม่มีสติรู้เท่าทัน หลงโกรธตอบเขาไปอีก ก็เท่ากับสร้างความเลวให้ยืดยาวเพิ่มมากขึ้น นับว่าเลวหนักลงไปกว่าคนที่โกรธก่อนนั้นอีก เราอย่าเป็นทั้งคนเลว ทั้งคนเลวกว่า นั้นเลย

ค. พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนต่อไปอีกว่า เขาโกรธมาเราไม่โกรธตอบ อย่างนี้เรียกว่า ชนะสงครามที่ชนะได้ยาก เมื่อรู้ทันว่าคนอื่นหรืออีกฝ่ายหนึ่งเขาขุ่นเคืองขึ้นมาแล้ว เรามีสติระงับใจไว้เสีย ไม่เคืองตอบ จะชื่อว่าเป็นผู้ทำประโยชน์ให้แก่ทั้งสองฝ่าย คือ ช่วยไว้ทั้งเขาและทั้งตัวเราเอง เพราะฉะนั้น เราอย่าทำตัวเป็นผู้แพ้สงครามเลย จงเป็นผู้ชนะสงคราม และเป็นผู้สร้างประโยชน์เถิด อย่าเป็นผู้สร้างความพินาศวอดวายเลย


ถ้าคิดนึกระลึกอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หาย โกรธ ให้พิจารณาขั้นที่สองต่อไปอีก

ขั้นที่ ๒
พิจารณาโทษของความโกรธ

ในขั้นนี้มีพุทธพจน์ตรัสสอนไว้มากมาย เช่นว่า "คนขี้โกรธจะมีผิวพรรณไม่งาม คนขี้โกรธนอนก็เป้นทุกข์ ฯลฯ คนโกรธไม่รู้เท่าทันว่า ความโกรธนั้นแหละคือภัยที่เกิดขึ้นข้างในตัวเอง พอโกรธเข้าแล้วก็ไม่รู้จักว่าอะไรเป็นประโยชน์ โกรธเข้าแล้วมองไม่เห็นธรรม เวลาถูกความโกรธครอบงำ มีแต่ความมืดตื้อ คนโกรธจะผลาญสิ่งใด สิ่งนั้นทำยากก็เหมือนทำง่าย แต่ภายหลังพอหายโกรธแล้ว ต้องเดือดร้อนใจเหมือนถูกไฟเผา"

"แรกจะโกรธนั้น ก็แสดงความหน้าด้านออกมาก่อน เหมือนมีควันก่อนจะเกิดไฟ พอความโกรธแสดงเดชทำให้คนเดือดดาลได้ คราวนี้ละไม่มีกลัวอะไร ยางอายก็ไม่มี ถ้อยคำไม่มีคารวะ ฯลฯ คนโกรธฆ่าพ่อฆ่าแม่ตัวเองก็ได้ ฆ่าพระอรหันต์ ฆ่าคนสามัญก็ได้ทั้งนั้น ลูกที่แม่เลี้ยงไว้ จนลืมตามองดูโลกนี้ แต่มีกิเลสหนา พอโกรธขึ้นมาก็ฆ่าได้แม้แต่แม่ผู้ให้ชีวิตนั้น ฯลฯ"

"กาลีใดไม่มีเท่าโทสะ ฯลฯ เคราะห์อะไรเท่าโทสะไม่มี"

ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายให้มากมาย อย่างพุทธพจน์นี้เป็นตัวอย่าง แม้เรื่องราวในนิทานต่างๆ และชีวิตจริงก็มีมากมาย ล้วนแสดงให้เห็นว่า ความโกรธมีแต่ทำให้เกิดความเสียหายและความพืนาศ ไม่มีผลดีอะไรเลยจึงควรฆ่ามันเสีย อย่าเก็บเอาไว้เลย ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องมานอนเป็นทุกข์ ฆ่าอะไรอื่นแล้วอาจจะต้องเศร้าโศกเสียใจ แต่ "ฆ่าความโกรธแล้วนอนเป็น สุข ฆ่าความโกรธแล้วไม่เศร้าโศกเลย"

พิจารณาโทษของความโกรธทำนองนี้แล้ว ก็น่าจะบรรเทาความโกรธได้ แต่ถ้ายังไม่สำเร็จก็ลอววิธีต่อไปอีก

 

ขั้นที่ ๒
นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ

ธรรมดาคนเรานั้น ว่าโดยทั่งไป แต่ละคนๆ ย่อมมีข้อดีบ้างข้อเสียบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง จะหาคนดีครบถ้วนบริบูรณ์ ไม่มีข้อบกพร่องเลย คงหาไม่ได้หรือแทบจะไม่มี บางทีแง่ที่เราว่าดี คนอื่นว่าไม่ดี บางทีแง่ที่เราว่าไม่ดี คนอื่นว่าดี เรื่องราว ลักษณะหรือการกระทำของคนอื่นที่ทำให้เราโกรธนั้น ก็เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องของเขาอย่างหนึ่ง หรืออาจเป็นแง่ที่ไม่ถูกใจเรา

เมื่อจุดนั้นแง่นั้นของเขาไม่ดีไม่ถูกใจเรา ทำให้เราโกรธ ก็อย่ามัวนึกถึงแต่จุดนั้นแง่นั้นของเขา พึงหันไปมองหรือระลึกถึงความดีหรือจุดอื่นที่ดีๆของเขา เช่นคนบางคน ความประพฤติทางกายเรียบร้อยดี แต่พูดไม่ไพเราะ หรือปากไม่ดี แต่ก็ไม่ได้ประพฤติเกะกะระรานทำร้ายใคร

บางคนแสดงทางกายกระโดกกระเดกไม่น่าดู หรือการแสดงออกทางกายเหมือนไม่มีสัมมาคารวะ แต่พูดจาดี สุภาพ หรือไม่ก็อาจพูดจามีเหตุมีผล บางคนปากร้ายแต่ใจดี บางคนสัมพันธ์กับคนอื่นไม่ค่อยดี แต่เขาก็รักงาน ตั้งใจทำหน้าที่ของเขาดี บางคนถึงแม้คราวนี้เขาทำอะไรไม่สมควรแก่เรา แต่ความดีเก่าๆ เขาก็มีเป็นต้น

ถ้ามีอะไรที่ขุ่นใจกับเขา ก็อย่าไปมองส่วนที่ไม่ดี พึงมองหาส่วนที่ดีของเขาเอาขึ้นมาระลึกนึกถึง ถ้าเขาไม่มีความดีอะไรเลยที่จะมองเอาจริงๆ ก็ควรคิดสงสาร ตั้งความกรุณาแก่เขาว่า โธ่! น่าสงสาร ต่อไปนี้คนคนนี้คงจะต้องประสบผลร้ายต่างๆ เพราะความประพฤตฺไม่ดีอย่างนี้ นรกอาจรอเขาอยู่ ดังนี้เป็นต้น พึงระงับความโกรธเสีย เปลี่ยนเป็นสงสารเห็นใจหรือคิดช่วยเหลือแทน
ถ้าคิดอย่างนี้ ก็ยังไม่หายโกรธ ลองวิธีขั้นต่อไปอีก


ขั้นที่ ๔
พิจารณาว่า ความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง และเป็นการลงโทษตัวเองให้สมใจศัตรู

ธรรมดาศัตรูย่อมปรารถนาร้าย อยากให้เกิดความเสื่อมและความพินาศวอดวายแก่กันและกัน คนโกรธจะสร้างความเสื่อมพินาศให้แก่ตนเองได้ตั้งหลายอย่าง โดยที่ศัตรูไม่ต้องทำอะไรให้ลำบากก็ได้สมใจของเขา เช่น ศัตรูปรารถนาว่า "ขอ ให้มัน(ศัตรูของเขา)  ไม่สวยไม่งาม มีผิวพรรณไม่น่าดู"  หรือ "ขอ ให้มันนอนเป็นทุกข์ ขอให้มันเสื่อมเสียประโยชน์ ขอให้มันเสื่อมทรัพย์สมบัติ ขอให้มันเสื่อมยศ ขอให้มันเสื่อมมิตร ขอให้มันตายไปตกนรก"  เป็นต้น

เป็นที่หวังได้อย่างมากว่า คนโกรธจะทำร้ายเช่นนี้ให้เกิดแก่ตนเองตามปรารถนาของศัตรูของเขา ด้วยเหตุนี้ ศัตรูที่ฉลาดจึงมักหาวิธีแกล้งยั่วให้ฝ่ายตรงข้ามโกรธ จะได้เผลอสติทำการผิดพลาดเพลี่ยงพล้ำ
เมื่อรู้เท่าทันเช่นนี้แล้ว ก็ไม่ควรจะทำร้ายตัวเองด้วยความโกรธ ให้ศัตรูได้สมใจเขาโดยไม่ต้องลงทุนอะไร


ในทางตรงข้าม ถ้าสามารถครองสติได้ ถึงกระทบอารมณ์ที่น่าโกรธก็ไม่โกรธ จิตใจไม่หวั่นไหว สีหน้าผ่องใส กิริยาอาการไม่ผิดเพี้ยน ทำการงานธุระของตนไปได้ตามปกติ ผู้ที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรานั่นแหละจะกลับเป็ยทุกข์ ส่วนทางฝ่ายเราประโยชน์ที่ต้องการก็จะสำเร็จ ไม่มีอะไรเสียหาย

อาจสอนตัวเองต่อไปอีกว่า "ถ้าศัตรู ทำทุกข์ที่ร่างกายของเจ้า แล้วไฉนเจ้าจึงมาคิดทำทุกข์ให้ที่ใจของตนเอง ซึ่งมิใช่ร่างกายของศัตรูสักหน่อยเลย"

"ความโกรธ เป็นตัวตัดรากความประพฤติดีงามทั้งหลายที่เจ้าตั้งใจรักษา เจ้ากลับไปพนอความโกรธนั้นไว้ ถามหน่อยเถอะ ใครจะเซ่อเหมือนเจ้า"

"เจ้าโกรธว่าคนอื่นทำกรรมที่ป่า เถื่อน  แล้วใยตัวเจ้าเองจึงปรารถนาจะทำกรรมเช่นนั้นเสียเองเล่า"
" ถ้าคนอื่นอยากให้เจ้าโกรธ จึงแกล้งทำสิ่งไม่ถูกใจให้ แล้วไฉนเจ้าจึงช่วยทำให้เขาสมปรารถนา ด้วยการปล่อยให้ความโกรธเกิดขึ้นมาได้เล่า"

"แล้วนี่ เจ้าโกรธขึ้นมาแล้ว จะทำทุกข์ให้เขาได้หรือ  ไม่ก็ตาม แต่แน่ๆ เดี๋ยวเจ้าก็ได้เบียดเบียนตัวเองเข้าให้แล้วด้วยความทุกข์ใจเพราะโกรธนั่น แหละ"

"หรือถ้าเจ้าเห็นว่า พวกศัตรูขึ้นเดินไปในทางของความโกรธอันไร้ประโยชน์แล้ว ไฉนเจ้าจึงโกรธเลียนแบบเขาเสียอีกล่ะ"

"ศัตรูอาศัยความแค้นเคืองใดจึงก่อ เหตุไม่พึงใจขึ้นได้ เจ้าจงตัดความแค้นเคืองนั้นเสียเถิด จะมาเดือดร้อนด้วยเรื่องไม่เป็นเรื่องไปทำไม"

จะพิจารณาถึงขั้นปรมัตถ์ก็ได้ว่า
"ขันธ์เหล่าใดก่อเหตุไม่พึงใจแก่ เจ้า ขันธ์เหล่านั้นก็ดับไปแล้ว เพราะธรรมทั้งหลายเป็นไปเพียงชั่วขณะ แล้วทีนี้เจ้าจะมาโกรธให้ใครกันในโลกนี้"

"ศัตรูจะทำทุกข์ให้แก่ผูใด ถ้าไม่มีตัวตนของผู้นั้นมารับทุกข์ ศัตรูนั้นจะทำทุกข์ให้ใครได้ ตัวเจ้าเองนั่นแหละเป็นเหตุของทุกข์อยู่ฉะนี้ แล้วทำไมจะไปโกรธเขาเหล่า"


ถ้าพิจารณาอย่านี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็ลองพิจารณาขั้นต่อไป

 

ขั้นที่ ๕
พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน

พึงพิจารณาว่า ทั้งเราและเขาต่างก็มีกรรมเป็นสมบัติของตน ทำกรรมอะไรไว้ก็จะได้รับผลของกรรมนั้น เริ่มด้วยพิจารณาตัวเองว่า เราโกรธแล้วไม่ว่าจะทำอะไรการกระทำของเรานั้นเกิดจากโทสะ ซึ่งเป็นอกุศลมูล กรรมของเราก็ย่อมเป็นกรรมชั่วซึ่งก่อให้เกิดผลร้าย มีแต่ความเสียหาย ไม่เป็นประโยชน์ และเราจะต้องรับผลของกรรมนั้นต่อไป

อนึ่ง เมื่อเราจะทำกรรมชั่วที่เกิดจากโทสะนั้น ก่อนเราจะทำร้ายเขา เราก็ทำร้ายแผดเผาตัวเราเองเสียก่อนแล้ว เหมือนเอามือทั้งสองกอบถ่านไฟจะขว้างใส่คนอื่น ก็ไหม้มือของตัวก่อน หรือเหมือนกับเอามือกอบอุจจาระจะไปโปะใส่เขา ก็ทำตัวนั่นแหละให้เหม็นก่อน

เมื่อพิจารณาความเป็นเจ้าของกรรมฝ่ายตน เองแล้ว ก็พิจารณาฝ่ายเขาบ้างในทำนองเดียวกัน เมื่อเขาโกรธเขาจะทำกรรมอะไรก็เป็นกรรมชั่ว และเขาก็จะต้องรับผลกรรมของเขาเองต่อไป กรรมชั่วนั้น จะไม่ช่วยให้เขาได้รับผลดีมีความสุขอะไร มีแต่ผลร้าย เริ่มตั้งแต่แผดเผาใจของเขาเองเป็นต้นไป

ในเมื่อต่างคนต่างก็มีกรรมเป็นของตน เก็บเกี่ยวผลกรรมของตนอยู่แล้ว เราอย่ามัวคิดวุ่นวายอยู่เลย ตั้งหน้าทำแต่กรรมที่ดีไปเถิด

ถ้าพิจารณากรรมแล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงพิจารณาขั้นต่อไป

ขั้นที่ ๖
พิจารณาพระจริย วัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้าของเรานั้น กว่าจะตรัสรู้ ก็ได้ทรงบำเพ็ญบารมีทั้งหลายมาตลอดเวลายาวนานนักหนา ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์แก่ผู้อื่น โดยยอมเสียสละแม้แต่พระชนมชีพของพระองค์เอง เมื่อทรงถูกข่มเหงกลั่นแกล้งเบียดเบียนด้วยวิธีการต่างๆ ก็ไม่ทรงแค้นเคือง ทรงเอาดีเข้าตอบ ถึงเขาจะตั้งตัวเป็นศัตรูถึงขนาดพยายามปลงพระชนม์ ก็ไม่ทรงมีจิตประทุษร้าย บางครั้งพระองค์ช่วยเหลือเขา แทนที่เขาจะเห็นคุณเขากลับทำร้ายพระองค์ แม้กระนั้นก็ไม่ทรงถือโกรธ ทรงทำดีต่อเขาต่อไป

พุทธจริยาเช่นที่ว่ามานี้ เป็นสิ่งที่มนุษย์ทั่วไปยากที่จะปฏิบัติได้ แต่ก็เป็นแบบอย่างที่ดี ซึ่งชาวพุทธควรจะนำมาระลึกตักเตือนสอนใจตน ในเมื่อประสบเหตุการร์ต่างๆว่าที่เราถูกกระทบกระทั่งอยู่นี้ เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าทรงประสบมาแล้ว นับว่าเล็กน้อยเหลือเกิน เทียบกันไม่ได้เลย


ในเมื่อเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าทรงประสบ นั้นร้ายแรงเหลือเกิน พระองค์ยังทรงระงับความโกรธไว้ มีเมตตาอยู่ได้ แล้วเหตุไฉนกรณีเล็กน้อยอย่างของเรานี้ ศิษย์อย่างเราจะระงับไม่ได้ ถ้าเราไม่ดำเนินตามพระจริยาวัตรของพระองค์ ก็น่าจะไม่สมควรแก่การที่อ้างเอาพระองค์เป็นศาสดาของตน
พุทธจริยาวัตร เกี่ยวกับความเสียสละอดทน และความมีเมตตากรุณาของพระพุทธเจ้า อย่างที่ท่านบันทึกไว้ในชาดก มีมากมายหลายเรื่อง และส่วนมากยืดยาว ไม่อาจนำมาเล่าในที่นี้ได้

จะขอยกตัวอย่างชาดกง่ายๆสั้นๆ มาเล่าพอเป็นตัวอย่าง
ครั้งหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นพระเจ้ากรุงพาราณสี มีพระนามว่าพระเจ้ามหาสีลวะ ครั้งนั้นอำมาตย์คนหนึ่งของพระองค์ทำความผิด ถูกเนรเทศ และได้เข้าไปรับราชการในพระเจ้าแผ่นดินแคว้นโกศล อำมาตย์นั้นมีความแค้นเคืองติดใจอยู่ ได้ให้โจรคอยเข้ามาปล้นในดินแดนของพระเจ้าสีลวะอยู่เนืองๆ เมื่อราชบุรุษจับโจรได้ พระเจ้าสีลวะทรงสั่งสอนแล้วก็ปล่อยตัวไป เป็นเช่นนี้อยู่เสมอ


ในที่สุด อำมาตย์ร้ายนั้นก็ใช้เหตุการณ์เหล่านี้ยุยงพระเจ้าโกศลว่า พระเจ้าสีลวะอ่อนแอ ถ้ายกทัพไปรุกรานคงจะยึดแผ่นดินพาราณสีได้โดยง่าย พระเจ้าโกศลทรงเชื่อ จึงยกทัพเข้าไปโจมตีพาราณสี พระเจ้าสีลวะไม่ทรงประสงค์ให้ราษฎรเดือดร้อน จึงไม่ทรงต่อต้าน ทรงปล่อยให้พระเจ้าโกศลยึดราชสมบัติจับพระองค์ไป พระเจ้าโกศลจับพระเจ้าสีลวะได้แล้ว ก็ให้เอาไปฝังทั้งเป็นในสุสานถึงแค่พระศอ รอเวลากลางคืนให้สุนัขจิ้งจอกมากินตามวิธีประหารในสมัยนั้น

ครั้นถึงเวลากลางคืน เมื่อสุนัขจิ้งจอกเข้ามา พระเจ้าสีลวะทรงใช้ไหวพริบและความกล้าหาญ เอาพระทนต์ขบที่คอสุนัขจิ้งจอกตัวที่เข้ามาจะกัดกินพระองค์ เมื่อสุนัขนั้นดิ้นรนรุนแรงทำให้สุนัขตัวอื่นหนีไป และทำให้ดินบริเวณหลุมฝังนั้นกระจุยกระจายหลวมออก จนทรงแก้ไขพระองค์หลุดออกมาได้

ในคืนนั้นเองทรงเล็ดลอดเข้าไปได้จนถึงห้องบรรทมของพระเจ้าโกศล พร้อมด้วยดาบอาญาสิทธิ์ของพระเจ้าโกศลเอง ทรงไว้ชีวิตพระเจ้าโกศล และพระราชทานอภัยโทษ เพียงทรงกู้ราชอาณาจักรคืน แล้วให้พระเจ้าโกศลสาบานไม่ทำร้ายกัน ทรงสถาปนาให้เป็นพระสหายแล้วให้พระเจ้าโกศลกลับไปครองแคว้นโกศลตามเดิม

อีกเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์อุบัติเป็นวานรใหญ่อยู่ในป่า ครานั้นชายผู้หนึ่งตามหาโคของตนเข้ามาในกลางป่า แล้วพลัดตกลงไปในเหวขึ้นไม่ได้ อดอาหารนอนแขม่วสิ้นหวังสิ้นแรง พอดีในวันที่สิบ พญาวานรมาพบเข้า เกิดความสงสาร จึงช่วยให้ขึ้มาจากเหวได้

ต่อมา เมื่อพญาวานรซึ่งเหนื่อยอ่อนจึงพักผ่อนเอาแรง และนอนหลับไปนั้น ชายผู้นั้นเกิดความคิดชั่วร้ายขึ้นว่า "ลิงนี้มันก็อาหารของคน เหมือนสัตว์ป่าอื่นๆนั่นแหละ อย่ากระนั้นเลย เราก็หิวแล้ว ฆ่าลิงตัวนี้กินเสียเถิด กินอิ่มแล้วจะได้ถือเอาเนื้อของมันติดตัวไปเป็นเสบียงด้วย จะได้มีของกินเดินทางผ่านที่กันดารไปได้"  คิดแล้วก็หาหินก้อนใหญ่มา ก้อนหนึ่ง ยกขึ้นทุ่มหัวพญาวานร ก้อนหินนั้นทำให้พญาวานรบาดเจ็บมาก แต่ไม่ถึงตาย

พญาวานรตื่นขึ้นรีบหนีขึ้นต้นไม้ มองชายผู้นั้นด้วยน้ำตานองหน้า แล้วพูดกับเขาโดยดีว่า ไม่ควรทำเช่นนั้น ครั้นแล้วยังเกรงว่าชายผู้นั้นจะหลงหาทางออกจากป่าไม่ได้ ทั้งที่ตนเองก็เจ็บป่วยแสนสาหัส ยังช่วยโดดไปตามต้นไม้นำทางให้ชายผู้นั้นออกจากป่าไปได้ในที่สุด

แม้พิจารณาอย่างนี้แล้ว ความโกรธก็ยังไม่ระงับ พึงลองพิจารณาวิธีต่อไป



ขั้นที่ ๗
พิจารณาความเกี่ยวข้องกันใน สังสารวัฏ

มีพุทธพจน์แห่งหนึ่งกล่าวว่า ในสังสาระ คือการเวียนว่ายตายเกิดที่กำหนดจุดเริ่มต้นมิได้นี้ สัตว์ที่ไม่เคยเป็นมารดา ไม่เคยเป็นบิดา ไม่เคยเป็นบุตร ไม่เคยเป็นธิดากัน ไม่ใช่หาได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้ หากมีเหตุโกรธเคืองจากใครพึงพิจารณาว่า ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นมารดาของเรา ท่านผู้นี้บางทีจะเคยเป็นบิดาของเรา

ท่านที่เป็นมารดานั้นรักษาบุตรไว้ในท้อง ถึง ๑๐ เดือน ครั้นคลอดออกมาแล้ว เลี้ยงดู ไม่รังเกียจแม้แต่สิ่งปฏิกูลทั้งหลาย เช่น อุจจาระ ปัสสาวะ น้ำลาย น้ำมูก เป็นต้น เช็ดล้างได้สนิทใจ ให้ลูกนอนแนบอก เที่ยวอุ้มไป เลี้ยงลูกมาได้

ส่วนท่านที่เป็นบิดา ก็ต้องเดินทางลำบากตรากตรำเสี่ยงภัยอันตรายต่างๆ ประกอบการค้าขายบ้าง สละชีวิตเข้าสู้รบในสงครามบ้าง แล่นเรือไปในท้องทะเลบ้าง ทำงานยากลำบากอื่นๆบ้าง หาทางรวบรวมทรัพย์มาก็ด้วยคิดที่จะเลี้ยงลูกน้อย

ถึงแม้ไม่ใช่เป็นมารดาบิดา ก็อาจเป็นพี่เป็นน้องเป็นญาติเป็นมิตร ซึ่งได้เคยช่วยเหลือเกื้อกูลกันมา ได้ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน การที่จะทำใจร้ายและแค้นเคืองต่อบุคคลเช่นนั้น ไม่เป็นการสมควร
ถ้าพิจารณาอย่างนี้แล้วก็ยังไม่หายโกรธ ก็อาจพิจารณาในข้อต่อไปอีก


ขั้นที่ ๘
พิจารณาอานิสงส์ของเมตตา

ธรรมที่ตรงข้ามกับความโกรธ ก็คือ เมตตา ความโกรธมีโทษก่อผลร้ายมากมาย ฉันใด เมตตาก็มีคุณ ก่อให้เกิดผลดีมาก ฉันนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ก็ควรที่จะระงับความโกรธเสีย แล้วตั้งจิตเมตตาขึ้นมาแทน ให้เมตตานั้นแหละช่วยกำจัด และป้องกันความโกรธไปในตัว

ผู้มีเมตตาย่อมสามารถเอาชนะใจคนอื่น ซึ่งเป็นชัยชนะที่เด็ดขาด ไม่กลับแพ้ ผู้ตั้งอยู่ในเมตตา ชื่อว่าทำประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น เมตตาทำให้จิตสดชื่นผ่องใส มีความสุข ดังตัวอย่างในที่แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแสดงอานิสงส์ของเมตตาไว้ ๑๑ ประการ คือ หลับก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่ฝันร้าย เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทวดารักษา ไฟ พิษ และศาสตรไม่กล้ำกราย จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิได้รวดเร็ว สีหน้าผ่องใส ตายก็มีสติไม่หลงฟั่นเฟือน เมื่อยังไม่บรรลุคุณธรรมที่สูงกว่าย่อมเข้าถึงพรหมโลก

ถ้ายังเป็นคนขี้โกรธอยู่ ก็นับว่ายังอยู่ห่างไกลจากการที่นะได้อานิสงส์เหล่านี้ ดังนั้น จึงควรพยายามทำเมตตาให้เป็นธรรมประจำใจให้จงได้ โดยหมั่นอบรมทำใจอยู่เสมอๆ

ถ้าจิตเมตตายังไม่เข้มแข็งพอ เอาชนะความโกรธยังไม่ได้ เพราะสั่งสมนิสัยมักโกรธไว้ยาวนาน จนกิเลสตัวนี้แน่นหนา พึงลองพิจารณาใช้วิธีต่อไป


ขั้นที่ ๙
พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ

วิธีการข้อนี้ เป็นการปฏิบัติใกล้แนววิปัสสนา หรือเอาความรู้ทางวิปัสสนามาใช้ประโยชน์ คือ มองดูชีวิตนี้ มองดูสัตว์ บุคคล เรา เขา ตามความเป็นจริงว่า ที่ถูกที่แท้แล้ว ก็เป็นแต่เพียงส่วนประกอบทั้งหลายมากมายมาประชุมกันเข้า แล้วก็สมมติเรียกกันไปว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นฉัน เป็นเธอ เป็นเรา เป็นเขา เป็นนาย ก. เป็นนาง ข. เป็นต้น

ครั้นจะชี้ชัดลงไปตรงไหนว่าเป็นคน เป็นเรา เป็นนาย ก. นาง ข. ก็หาไม่พบ มีแต่ส่วนที่เป็นธาตุแข็งบ้าง ธาตุเหลวบ้าง เป็นรูปขันธ์บ้าง เป็นเวทนาขันธ์บ้าง เป็นสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือวิญญาณขันธ์บ้าง หรือเป็นอายตนะต่างๆ เช่น ตาบ้าง หูบ้าง จมูกบ้าง เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแยกให้เป็น ส่วนๆได้อย่างนี้แล้ว พึงสอนตัวเองว่า "นี่แน่ะเธอเอ๋ย ก็ที่โกรธเขาอยู่น่ะโกรธอะไร โกรธผม หรือโกรธขน หรือโกรธหนัง โกรธเล็บ โกรธกระดูก โกรธธาตุดิน โกรธธาตุน้ำ โกรธธาตุไฟ โกรธธาตุลม หรือโกรธรูป โกรธเวทนา โกรธสัญญา โกรธสังขาร โกรธวิญญาณ หรือโกรธอะไรกัน"   ในที่ สุดก็จะหาฐานที่ตั้งของความโกรธไม่ได้ ไม่มีที่ยึดที่เกาะให้ความโกรธจับตัว

อาจพิจารณาต่อไปในแนวนั้นอีกว่า ในเมื่อคนเราชีวิตเราเป็นแต่เพียงสมมติบัญญัติ ความจริงก็มีแต่ธาตุหรือขันธ์  หรือนามธรรมและรูปธรรมต่างๆ มาประกอบกันเข้าแล้วเราก็มาติดสมมตินั้น ยึดติดถือมั่นหลงวุ่นวายทำตัวเป็นหุ่นถูกชักถูกเชิดกันไป การที่มาโกรธ กระฟัดกระเฟียดงุ่นง่านแค้นเคืองกันไปนั้น มองลงไปให้ถึงแก่นสาร ให้ถึงสภาวะความเป็นจริงแล้ว ก็เหลวไหลไร้สาระทั้งเพ ถ้ามองความจริงทะลุสมมติบัญญัติลงไปได้ถึงขั้นนี้แล้ว ความโกรธก็จะหายตัวไปเอง

อย่างไรก็ตาม คนบางคนจิตใจและสติปัญญายังไม่พร้อม ไม่อาจพิจารณาแยกธาตุออกไปอย่างนี้ได้ หรือสักว่าแยกไปตามที่ได้ยินได้ฟังได้อ่านมา แต่มองไม่เห้นความจริงเช่นนั้น ก็แก้ความโกรธไม่สำเร็จ ถ้าเป็นเช่นนั้นก็พึงดำเนินการตามวิธีต่อไป

ขั้นที่๑๐
ปฏิบัติทาน คือ การให้หรือแบ่งปันสิ่งของ

ขั้นนี้เป็นวิธีการในขั้นลงมือทำ เอาของของตนให้แก่คนที่เป็นปรปักษ์ และรับของของปรปักษ์มาเพือตนหรืออย่างน้อยอาจให้ของของตนแก่เขาฝ่ายเดียว ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรมีปิยวาจา คือถ้อยคำสุภาพไพราะประกอบเสริมไปด้วย

การให้หรือแบ่งปันกันนี้ เป็นวิธีการแก้ความโกรธที่ได้ผลช ะงัด สามารถระงับเวรที่ผูกกันมายาวนานให้สงบลงได้ ทำให้ศัตรูกลายเป็นมิตร เป็นเมตตากรุณาที่แสดงออกในการกระทำท่านกล่าวถึงอานุภาพยิ่งใหญ่ของทานคือ การให้นั้นว่า

"การให้เป็นเตรื่องฝึกคนที่ยังฝึก ไม่ได้ การให้ยังสิ่งประสงค์ทั้ง ปวงให้สำเร็จได้ ผู้ให้ก็เบิกบานขึ้นมาด้วยการให้ฝ่ายผู้รับก็น้อมลงมาพบด้วยปิยวาจา"

เมื่อความโกรธเลือนหาย ความรักใคร่ก็เข้ามาแทน ความเป็นศัตรูกลับกลายเป็นมิตร ไฟพยาบาทก็กลายเป็นน้ำทิพย์แห่งเมตตา ความแผดเผาเร่าร้อนด้วยทุกข์ที่รุมเร้าใจ ก็กลายเป็นความสดชื่นผ่องใสเบิกบานใจด้วยความสุข



วิธีทั้ง ๑๐ ที่ว่ามาเป็นขั้นๆ นี้ ความจริงมิใช่จำเป็นต้องทำไปตามลำดับเรียงรายข้ออย่างนี้ วิธีใดเหมาะ ได้ผล สำหรับตน ก็พึงใช้วิธีนั้นวิธีการของท่านก็ได้แนะนำไว้อย่างนี้แล้ว เป็นเรื่องของผู้ต้องการแก้ปัญหา จะพึงนำไปใช้ปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ แท้จริงต่อไป

ที่มา  http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538680209
ขอบคุณภาพจาก http://www.oknation.net/,http://i816.photobucket.com/,http://larnbuddhism.com/,http://www.suriyothai.ac.th/
22164  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระสงฆ์ทะเลาะกัน ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งแรก เมื่อ: มิถุนายน 20, 2010, 12:25:28 pm
พระสงฆ์ทะเลาะกัน ครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งแรก


พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าทะเลาะวิวาทกัน ก็คงมีบ่อยๆ เพราะความคิดเห็นไม่ตรงกัน แต่ครั้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด จนเกิดความแตกแยกเป็นครั้งแรก และเกิดขึ้นในครั้งสมัยพุทธกาลด้วย ที่บันทึกไว้ในพระไตรปิฎก ก็คือ การทะเลาะของภิกษุชาวเมืองโกสัมพี

ในอรรถกถาธรรมบท (ธัมมปทัฏฐกถา) ได้นำมาเล่าต่อ พร้อม “ใส่ไข่” (ผมอยากจะเรียกอย่างนั้น) ทำให้เราอ่านไปมีความมันในอารมณ์ไปด้วย ขอนำมาถ่ายทอดในวันเลือกตั้ง ที่อารมณ์ของคนในสังคมไทยแตกต่างกัน เพราะสนับสนุนนักการเมืองต่างพรรค (มันเกี่ยวกันไหมเนี่ย)

เรื่องมีอยู่ว่า ในวัดแห่งหนึ่ง เมืองโกสัมพี มีพระภิกษุอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพระเถระสองรูปเป็นที่เคารพของพระภิกษุทั้งหลาย รูปหนึ่งเป็นผู้เคร่งครัดในพระวินัย มีความเชี่ยวชาญในการอธิบายพระวินัย เรียกตามศัพท์ของพระอรรถกถาจารย์ว่า “พระวินัยธร” อีกรูปหนึ่งมีความสามารถในการถ่ายทอดพระธรรม เรียกว่า “พระธรรมกถึก”

ทั้งสองรูปมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมากทัดเทียมกัน ถึงในเนื้อหาจะไม่มีการแบ่งพรรคแบ่งพวกชัดเจน แต่โดยพฤตินัยก็พอมองเห็นเป็นรูปธรรม รวมไปถึงญาติโยมด้วย พวกที่ชอบพระนักเทศน์ก็ไปหาพระนักเทศน์ พวกที่ชอบพระผู้เชี่ยวชาญพระวินัยก็ไปหาพระวินัยธรบ่อยๆ สมัยนี้เรียกว่า “ขึ้น” ทั้งสองรูป มีญาติโยมขึ้นพอๆ กัน

ท่านเหล่านี้ก็อยู่ด้วยกันมาด้วยดี ไม่มีอะไร อยู่มาวันหนึ่ง พระวินัยธรเข้าห้องน้ำ (สมัยโน้นวัจกุฎีก็คงเป็นส้วมหลุม มากกว่าห้องน้ำในปัจจุบัน) ออกมาเจอพระธรรมกถึก จึงถามว่า “ท่านใช่ไหมที่เข้าห้องน้ำก่อนผม”

พระธรรมกถึกรับว่า “ใช่ มีอะไรหรือ”

“ท่านเหลือน้ำชำระไว้ครึ่งขัน ท่านทำผิดพระวินัย ต้องอาบัติทุกกฎแล้ว รู้หรือเปล่า” พระวินัยธรกล่าว

“โอ ผมไม่รู้ ถ้าอย่างนั้นผมขอปลงอาบัติ” พระธรรมกถึก ยอมรับและยินดี “ปลงอาบัติ” หรือแสดงอาบัติอันเป็นวิธีออกจากอาบัติตามพระวินัย



พระวินัยธรกล่าวว่า ถ้าท่านไม่มีเจตนาก็ไม่เป็นไร ไม่ต้องอาบัติดอก แล้วก็เดินจากไป เรื่องก็น่าจะแล้วกันไป แต่ไม่แล้วสิครับ พระวินัยธรไปเล่าให้ลูกศิษย์ฟังว่า พระธรรมกถึก ดีแต่เทศน์สอนคนอื่น ตัวเองต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้เลย ลูกศิษย์พระวินัยธรก็ไปบอกลูกศิษย์พระธรรมกถึก ทำนองบลั๊ฟกันกลายๆ ว่า พรรคท่านฟ้องแก้เกี้ยว เอ๊ย อาจารย์ของพวกท่านดีแต่สอนคนอื่น ตัวเองต้องอาบัติแล้วยังไม่รู้
 
เรื่องรู้ถึงหูพระธรรมกถึก ก็หูแดงสิครับ ใครมันจะยอมให้กล่าวหาว่าพิมพ์สติ๊กเกอร์ เอ๊ยจงใจละเมิดพระวินัย จึงศอกกลับพระวินัยธรว่า สับปลับ ทีแรกว่าไม่เป็นไร แต่คราวนี้ว่าต้องอาบัติ พระวินัยธร ก็ต้องอาบัติข้อพูดเท็จเหมือนกัน เอาละสิครับ เมื่ออาจารย์ทะเลาะกัน พวกลูกศิษย์ก็ทะเลาะกันด้วย ขยายวงกว้างออกไปจนถึงญาติโยมผู้ถือหางทั้งสองฝ่ายด้วย เรื่องลุกลามไปใหญ่โต ทราบถึงพระพุทธองค์ พระองค์เสด็จมาห้ามปราบ แต่ทั้งสองฝ่ายต่างก็เลือดเข้าตาแล้ว ไม่ยอมเชื่อฟัง

พระพุทธองค์ทรงระอาพระทัย จึงเสด็จหลีกไปประทับอยู่ ณ ป่าปาลิเลยยกะ (หรือปาลิไลยกะ) ตามลำพัง มีช้างนามเดียวกับป่านี้เฝ้าปรนนิบัติ ทรงจำพรรษาที่นั่น ในคัมภีร์พระไตรปิฎกพูดถึงช้างตัวเดียว ไม่พูดถึงลิง แต่ในอรรถกถาบอกว่ามีลิงด้วยตัวหนึ่ง

หมายเหตุไว้ตรงนี้ ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต ผู้เป็นนักปราชญ์ท่านบอกว่า ช้างนั้น ถ้าเป็นช้างป่าลักษณนามต้องเรียกว่า “ตัว” แต่ถ้าช้างที่ขึ้นระวางแล้วเรียกว่า “เชือก” ว่าอย่างนั้น ผมเป็นแค่ “นักปาด” ก็ต้องเชื่อท่าน

ว่ากันว่าช้างคอยต้มน้ำให้พระพุทธองค์ทรงสรง ทำอย่างไรหรือครับ แกกลิ้งก้อนหินที่ตากแดดทั้งวันยังอมความร้อนอยู่ ลงในแอ่งน้ำเล็กๆ น้ำนั้นก็อุ่นขึ้นมา แล้วก็ไปหมอบแทบพระบาททำนองอาราธนาให้สรงสนาน พระพุทธองค์เสด็จไปสรงน้ำนั้น อย่างนี้ทุกวัน


เจ้าจ๋อเห็นช้างทำอย่างนั้น ก็อยากทำอะไรแด่พระพุทธองค์บ้าง มองไปมองมาเห็นผึ้งรวงใหญ่ ก็ไปเอามาถวาย พระพุทธองค์ทรงรับแล้วก็วางไว้ ไม่เสวย เจ้าจ๋อสงสัยว่าทำไมพระองค์ไม่เสวย ก็ไปหยิบรวงผึ้งมาพินิจพิเคราะห์ดู เห็นตัวอ่อนเยอะแยะเลย จึงหยิบออกจนหมดแล้วถวายใหม่

คราวนี้พระองค์เสวย ก็เลยกระโดดโลดเต้นด้วยความดีใจ ที่อีกฝ่ายจะถูก กกต. แบนเรื่องปริญญาปลอม เอ๊ยที่พระพุทธองค์เสวยผึ้งที่ตนถวาย ปล่อยกิ่งนี้จับกิ่งนั้นเพลิน บังเอิญไปจับกิ่งไม้แห้งเข้า กิ่งไม้หักร่วงลงมา ถูกตอไม้ทิ่มตูดตาย คัมภีร์เล่าต่อว่า ลิงตัวนั้นตายไปเกิดเป็นเทพบุตรนามว่า มักกฎเทพบุตร (แปลว่าเทพบุตรจ๋อ) ปานนั้นเชียว

เมื่อพระพุทธองค์เสด็จหลีกไปตามลำพัง พวกอุบาสกอุบาสิกาที่ทรงธรรม ไม่เข้าข้างฝ่ายไหนทั้งนั้น ก็พากันแอนตี้พระภิกษุเหล่านั้น ไม่ถวายอาหารบิณฑบาต กล่าวโทษว่าเป็นสาเหตุให้พระพุทธองค์เสด็จหนีไป พวกตนมิได้เฝ้าพระพุทธองค์ พระภิกษุเหล่านั้นรู้สำนึก จึงขอขมา แต่อุบาสกอุบาสิกาทั้งหลายบอกให้ไปกราบขอขมาพระพุทธองค์

ครั้นออกพรรษาแล้ว พระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเฝ้าพระพุทธองค์เพื่อขอขมา โดยมีพระอานนท์เป็นผู้ประสานงาน (แหม ใช้ภาษาทันสมัยจังเนาะ) พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษของการทะเลาะวิวาท และอานิสงส์ (ผลดี) ของความสามัคคี แก่พระสงฆ์สาวกเหล่านั้น ท่านเหล่านั้นก็กลับมาสมัครสมานสามัคคีกันเหมือนเดิม


ชาวพุทธได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นปางหนึ่ง เป็นอนุสรณ์เหตุการณ์ครั้งนี้คือ ปางปาลิไลยกะ (ป่าเลไลยก์) พระพุทธองค์ประทับห้อยพระบาท มีลิงถือรวงผึ้ง และช้างหมอบแทนพระยุคลบาท อย่าถามว่าสร้างสมัยไหน ผมไม่ทราบ เพราะเกิดไม่ทัน

นี้เป็นการทะเลาะกันของพระสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่ครั้งแรกในประวัติพระพุทธ ศาสนา แต่การทะเลาะกันเพราะความคิดเห็นต่างกัน ก็ไม่ถึงกับแตกนิกายดังในสมัยหลัง เพราะอย่างไรก็มีพระพุทธเจ้าทรงเป็นจุดศูนย์กลายคอยชี้แจงไกล่เกลี่ยให้กลับ คืนดีกัน สมัครสมานสามัคคีกันเหมือนเดิม

โดย เสฐียรพงษ์ วรรณปก
วันที่ : 2009-05-15 16:05:40
ที่มา http://www.thaidhammajak.com/webboard/detail2.php?question_id=11218


22165  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ภาพปริศนาธรรม เมื่อ: มิถุนายน 20, 2010, 12:17:27 pm

ภาพปริศนาธรรม

ภาพพระพุทธองค์อยู่หลังม่าน

            ภาพแรกเรียกว่า “ภาพพระองค์อยู่หลังม่าน”.  เป็นภาพล้อคนโง่ มีม่านอวิชชาปิดบังหนาแน่นหมด จนมองไม่เห็นพระพุทธองค์. นี้คำด่านี้ก็มีว่า เพียงแต่ท่านแหวกม่านออกไปข้าง ๆ เสียสักศอกหนึ่งเท่านั้น ก็จะพบว่า  ‘ อ้าว  พระองค์อยู่ที่นี่’ . ข้อนี้ก็ได้แก่พวกเราตามธรรมดาสามัญทั่วไปทุกคนที่ยังเป็นปุถุชน มีม่านคืออวิชชาบังอยู่ข้างหน้า, ถ้าสามารถแหวกม่านนั้นไปเสียข้างใดข้างหนึ่งสักศอกเดียว  ก็จะ พบว่าอ้าวพระองค์นั่งอยู่ที่ตรงนี้ หมายความว่าพอเราละอวิชชาได้บ้างเท่านั้น

แหละ จะเริ่มรู้จักพระพุทธศาสนา หลักคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ว่า จะดับทุกข์ได้อย่างไร แล้วก็ค่อย ๆ รู้ต่อไป ปฏิบัติต่อไปจนกระทั่งจบ. เดี๋ยวนี้เป็นการเริ่มต้น เป็นการเห็นในขั้นต้น ซึ่งจะเปรียบเทียบกันได้กับการเห็นธรรมในขั้นต้น ที่เรียกว่าธรรมจักษุก็ได้เหมือนกัน.

            ขอให้ท่านทั้งหลาย เตรียมตัวกระทำแก่ตนเองให้เข้ารูปเข้ารอยกับรูปภาพรูปนี้ว่า เพียง แต่ท่านแหวกม่านแห่งความโง่ของท่านไปข้าง ๆ เสียสักศอกหนึ่งเท่านั้น ก็จะพบว่าอ้าว พระพุทธองค์ทรงอยู่ที่ตรงนี้เอง.

            ความหมายพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือว่า อย่าไปเที่ยวหาพระ พุทธองค์ข้างนอก เมืองนั้นเมืองนี้ ที่นั่นที่นี่ วัดนั้นวัดนี้ โบสถ์นั้นโบสถ์นี้เลย, จงหันเข้าไปข้างใน จัดการกับความไม่รู้ ให้พอเริ่มรู้ เริ่มมาถึงขนาดที่เรียกว่ามีธรรมจักษุ เห็นลู่ทางแห่งความดับทุกข์ว่าจะดับทุกข์ได้อย่างไร, นี่ชื่อว่าเห็นพระพุทธองค์เป็นครั้งแรกด้วยการแหวกม่านแห่งความโง่ของตัวเอง ไปข้าง ๆ เสียสักศอกหนึ่งเท่านั้น.

            ข้อความเหล่านี้สรุปได้เป็นคำกลอนซึ่งจะอ่านให้ท่านทั้งหลายฟังว่า :-

ดูให้ดี  พระองค์ มี  อยู่หลังม่าน

                                    อยู่ตลอด  อนันตกาล  ท่านไม่เห็น

                                    เฝ้าเรียกหา  ดุจเห่าหอน  ห่อนหาเป็น

                                    ไม่รู้เช่น  เชิงหา  ยิ่งหาไกล

                                    เพียงแต่แหวก  ม่าน ออก  สักศอกหนึ่ง

                                    จะตกตะลึง  ใจสั่น  อยู่หวั่นไหว

                                    จะรู้จัก  หรือไม่  ไม่แน่ใจ

                                    รู้จักได้  จักปรีดี  ‘อยู่นี่เอง’

                                    เชิญพวกเรา  เอาภาร  ‘การ แหวกม่าน’

                                    งดงมงาย  ตายด้าน  หยุดโฉงเฉง

                                    ทำลายล้าง  อวิชชา  อย่ามัวเกรง

                                    ว่าไม่เก่ง  ไม่สวย  ไม่รวยบุญ ฯ

            คำเข้าใจยากบางคำก็คือว่า “แหวกม่านออกสักศอกหนึ่ง” หมายความว่า แม้จะยังไม่หมดอวิชชา ไม่สิ้นกิเลสโดยประการทั้งปวง เพียงแต่สิ้นไปบางส่วนเป็นเอกเทศ ก็สามารถจะพบธรรมะหรือพระองค์ในความหมายที่เรียกว่าเป็น ‘ธรรมกาย’ ได้,

นี้จึงเรียกว่าแหวกม่านออกไปเสียสักศอกหนึ่ง จะพบว่าพระองค์นั่งอยู่ที่ตรงนั้น. คนไปเที่ยวหาเป็นบ้า หาชนิดเที่ยวหาเสียทุกหนทุกแห่งที่นั่นที่นี่ตลอดจักรวาลก็ไม่พบ เพราะว่าอยู่หลังม่านอวิชชาของตัวเอง.

ที่มา  http://www.thaidhammajak.com/webboard/detail.php?question_id=13052
โพสต์โดย : น้ำ

22166  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เปล่งเสียงอนุโมทนา กับ อนุโมทนาเงียบๆ ต่างกันอย่างไร เมื่อ: มิถุนายน 19, 2010, 11:01:57 am

เปล่งเสียงอนุโมทนากับอนุโมทนาเงียบๆต่างกันอย่างไร


ถาม – ส่วนมากเวลาใครทำความดีหรือทำบุญ แล้วเราก็ร่วมอนุโมทนาด้วยอย่างนี้
อยากทราบว่าถ้าใจเรารู้สึกอนุโมทนาไปด้วยจริงๆแล้ว ถือว่าเพียงพอไหมคะ? คือจะชอบ
ยินดีอยู่เงียบๆแบบไม่ออกเสียงน่ะค่ะ มีผลแตกต่างกับคนที่เขาออกเสียงแค่ไหน?


ถึงไม่ออกเสียงก็ได้ส่วนบุญครับ เพราะหลักการทำบุญด้วยวิธีอนุโมทนานั้น ก็คือมีใจยินดี
ร่วมกับบุญของผู้อื่น ใจที่ยินดีในบุญนั่นแหละคือแม่เหล็กดึงดูดบุญเข้าหาตัว ถ้ามีความเข้าใจใน
กิริยาและวัตถุอันเป็นตัวบุญของคนอื่น อีกทั้งร่วมปลื้มไปกับเขา คือใจประกอบด้วยโสมนัส ชุ่มชื่น
เบิกบานอย่างแท้จริง ก็เรียกว่าได้ส่วนบุญนั้นเต็มเม็ดเต็มหน่วยในฝ่ายเราแล้ว ส่วนจะได้เท่าเขา
หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับว่าใจเรา ‘เต็มที่’ อย่างเขาหรือเปล่า วัดง่ายๆ คือคิดอยากทำให้เท่าเขาด้วย
ตัวเราเองไหม หรืออย่างน้อยอยากทุ่มแรงกายแรงใจกับกำลังทรัพย์ร่วมไปกับเขาไหม ถ้า
ใช่ก็นั่นแหละครับ ได้เท่าเขาของจริง


     

สรุปคือหลักจริงๆต้องมีใจยินดี ถึงแม้ปากขยับหงับๆว่า ‘อนุโมทนา’ หรือเปล่งวาจาทำนอง
ยินดีไปแกนๆ ทว่าใจไม่ประกอบด้วยโสมนัส อย่างนี้ก็ไม่นับว่าได้บุญอันเกิดจากการอนุโมทนาครับ
แถมถ้าสักแต่เอ่ยปากบอกอนุโมทนาโดยปราศจากใจยินดีบ่อยๆ ก็อาจมีผลข้างเคียงในทางลบ คือ
เหมือนคุณไปสร้างนิสัยแกล้งยินดี ระยะยาวจะเป็นคนทำบุญด้วยใจแห้งได้


คราวนี้มาพูดถึงการอนุโมทนาบุญเต็มรูปแบบ คือใจยินดีมีโสมนัสนำด้วย มีแก่ใจใช้แก้ว
เสียงเปล่งวาจาให้ผู้อื่นรับรู้ว่าจิตเราเป็นกุศลร่วมกับเขาด้วย อย่างนี้คือได้ทั้งกุศลอันเกิดจาก
มโนกรรมและวจีกรรมรวมกัน ยิ่งธรรมเนียมคนไทยมีการพนมมือไหว้ตัวบุญ ถ้าอ่อนช้อยน้อมจิตตน
จิตท่านให้เจริญในภาพเย็นตาเย็นใจเสริมเข้าไปอีก ก็เรียกว่าได้ทั้งกุศลจากกายกรรมครบสูตรครับ
คุณจะเป็นนักอนุโมทนาตัวยงในเร็ววันด้วยอาการครบพร้อมดังกล่าวนั้น


     

ผลของการแสดงออกทางวจีกรรมและกายกรรม จะทำให้เป็นผู้อาจหาญในการประกาศบุญ
มากกว่าเก็บเงียบ สุ้มเสียงของคุณจะฟังน่ารักน่าเอ็นดูสำหรับเจ้าของบุญ มีส่วนทำให้เกิดความรื่น
เริงบันเทิงใจ กระชับมิตรกัน และเป็นการจูนจิตให้ตรงกันยิ่งๆขึ้นไป นี่หมายความว่าถ้าร่วมทำบุญ
อย่างมีใจยินดีพร้อมเพรียงบ่อยๆด้วยกายวาจาที่เปิดเผย บุญนั้นจะก่อความสัมพันธ์ฉันมิตรสนิทให้
รู้สึกแน่นแฟ้นต่อกัน อยากคุยกัน อยากเห็นหน้ากัน อยากร่วมทำอะไรดีๆด้วยกันอีกเรื่อยๆด้วย
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีผลข้างเคียงในทางบวกที่ควรพึงใจแบบโลกๆ กล่าวคือถ้าถึงเวลาให้ผล
ของบุญนั้นแล้ว หากทำกิจการหรือธุรกิจร่วมกัน เป็นหุ้นส่วนกัน ก็จะเบ่งบาน ออกดอกออกผล
รวดเร็วอย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งที่เมื่อจับคู่เข้าหุ้นกับผู้อื่นก็ไม่เห็นออกดอกออกผลเช่นนั้นเลย


ปัจจุบันมีการส่งอนุโมทนาบัตร หรือมีการร่วมอนุโมทนาผ่านตัวอักษรบนอินเตอร์เน็ตกัน
เยอะ การได้เห็นแต่คำว่าอนุโมทนาเฉยๆนั้น บางทีคนอื่นก็ไม่สามารถสัมผัสกระแสใจเราเหมือน
ตอนสัมผัสกระแสเสียงกันได้ เพราะฉะนั้นทางที่ดีก็อาจเสริมคำเข้าไปสักเล็กน้อยว่าเรามีใจคิด
อย่างไรจึงอนุโมทนา ตรงนั้นจะได้ไม่เป็นการทำให้คนอ่านเขารู้สึกว่าเราสักแต่พูดเฉยๆโดย
ปราศจากความหมายครับ

 
     
 


คัดลอกจากหนังสือ เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว ๓ โดย ดังตฤณ
22167  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การปฏิบัติธรรมแนว "พุทโธ" เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 12:53:17 pm
การปฏิบัติธรรมแนวพุทโธ


ถาม: การปฏิบัติของพระป่าที่ท่านใช้การบริกรรมพุทโธนั้นมีอารมณ์บัญญัติ เป็นเพียงการทำสมถะเท่านั้นใช่หรือไม่ครับ

ตอบ: ครูบาอาจารย์ในสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ หรือที่เราเรียกกันทั่วไปว่าสายพระป่า ท่านนิยมสอนให้ศิษย์บริกรรมพุทโธ เมื่อได้ยินคำว่าบริกรรมพุทโธ หลายท่านจะสรุปทันทีว่าเป็นการทำสมถะไม่มีทางที่จะทำวิปัสสนาได้เลย เพราะพระอภิธรรมสอนไว้ว่า บัญญัติอารมณ์ใช้ในการทำสมถะ ส่วนปรมัตถ์อารมณ์ใช้ในการทำวิปัสสนา ดังนั้นการบริกรรมคำว่าพุทโธซึ่งเป็นความคิด เป็นบัญญัติ หรือเป็นการทำพุทธานุสติ จึงเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นการทำสมถะ

แท้จริงคำบริกรรมพุทโธเป็นเพียงเหยื่อล่อเพื่อให้ เราเกิดสติรู้ทันจิต ครูบาอาจารย์พระป่าบางองค์ท่านเปรียบเทียบว่า คำบริกรรมพุทโธเป็นแค่เหยื่อตกปลา จิตคือปลา เราปฏิบัติไม่ใช่เพื่อเอาคำว่าพุทโธ แต่ปฏิบัติเพื่อจะรู้ทันจิต พุทโธเป็นบัญญัติก็จริง แต่จิตที่รู้พุทโธเป็นปรมัตถ์ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนาได้

ครูบาอาจารย์บางรูปเช่นท่านอาจารย์บุญจันทร์ จันทวโร แห่งวัดถ้ำผาผึ้ง จังหวัดเชียงใหม่ สอนถึงขนาดให้บริกรรมว่า "พุทโธใจ รู้ พุทโธรู้ใจ" คือบริกรรมแล้วให้หัดสังเกตว่า คำว่าพุทโธเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า และบริกรรมพุทโธแล้ว ก็ให้คอยชำเลืองสังเกตจิตใจตนเอง จะพบว่าระหว่างที่บริกรรมพุทโธอยู่นั้น บางขณะจิตเกิดความสุข บางขณะจิตเกิดความทุกข์ บางขณะจิตก็สงบ บางขณะจิตก็ฟุ้งซ่าน เป็นต้น เมื่ออ่านจิตใจตนเองออกแล้วก็วางคำว่าพุทโธเสีย แล้วเฝ้ารู้จิตต่อไป พ่อแม่ครูอาจารย์บางองค์เช่นหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็สอนศิษย์บางคนให้บริกรรมพุทโธ แล้วรู้ทันจิตผู้บริกรรมพุทโธ รู้ไปจนหมดคำพูด คือหมดการบริกรรม เหลือแต่การรู้สภาวะของจิตปรมัตถ์และเจตสิกปรมัตถ์ต่อไป

การที่รู้ว่าบางขณะจิตมีความสุข ทุกข์ สงบ ฟุ้งซ่าน หรือมีกุศลและอกุศลต่างๆ นั้น จะทำให้ผู้ปฏิบัติสังเกตได้ชัดเจนว่า ความสุขก็ถูกรู้ ความทุกข์ก็ถูกรู้ กุศลก็ถูกรู้ อกุศลก็ถูกรู้ สิ่งเหล่านี้ปรากฏเกิดร่วมกับจิตเป็นคราวๆ เท่านั้น ส่วนจิตเป็นเพียงธรรมชาติที่รู้อารมณ์ นี้คือการหัดทำความเข้าใจนามเจตสิกอันได้แก่เวทนาและสังขาร กับนามจิตนั่นเอง นอกจากนี้ยังเห็นอีกว่า ทั้งจิตผู้รู้อารมณ์กับเจตสิกที่ถูกจิตรู้นั้น ไม่ใช่สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา เป็นเพียงนามธรรมที่เมื่อมีเหตุก็เกิดขึ้นเป็นคราวๆ แล้วก็ดับไปเท่านั้นเอง นี้ก็คือการก้าวจากขั้นการรู้จักแยกสภาวะของขันธ์ ไปสู่ขั้นการทำวิปัสสนานั่นเอง

การบริกรรมพุทโธยังมีประโยชน์อย่างอื่นอีก คือครูอาจารย์พระป่าบางองค์ท่านสอนให้ศิษย์บริกรรมพุทโธซึ่งเป็นความคิด เพื่อเป็นอุบายตัดกระแสความคิดของจิตที่จะส่งส่ายออกไปคิดเรื่องอื่นที่ไม่ ควรคิด ทำให้จิตรวมสงบเข้ามาที่จิต แล้วมีสติสัมปชัญญะตามรู้จิตปรมัตถ์ต่อไป จนสามารถถอดถอนความเห็นผิดว่าจิตเป็นเรา และถอดถอนความยึดถือจิตได้ในที่สุดด้วย
 

นอกจากนี้ครูบาอาจารย์พระป่าท่านยังหัดให้ศิษย์พิจารณากาย ซึ่งการคิดพิจารณากายว่าเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ ก็เป็นการทำสมถะอีกอย่างหนึ่ง ท่านทราบ ไม่ใช่ไม่ทราบ ดังเช่นหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี ก็เคยสอนเรื่อง นี้ไว้ตรงๆ ว่า "การคิดพิจารณากายว่า เป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นสิ่งที่ต้องตาย เป็นธาตุขันธ์ เหล่านี้เป็นไปเพื่อการแก้อาการของจิต (เป็นสมถะ)"

หลวงพ่อพุธ ฐานิโย ก็สอนอยู่เสมอๆ ว่า "สมถะเริ่มเมื่อหมดความตั้งใจ วิปัสสนาเริ่มเมื่อหมดความคิด (คือให้รู้หรือรู้สึกเอา)" แต่ครูบาอาจารย์ท่านก็ให้ทำ เพราะศิษย์ส่วนมากของท่านเป็นพระหนุ่มเณรน้อย การพิจารณากายเช่นพิจารณาผมขนเล็บฟันหนังเป็นเครื่องข่มราคะ ทำให้อยู่รอดในสมณเพศได้ง่ายขึ้น และถ้าเรื่องนี้ไม่จำเป็นจริงๆ พระพุทธเจ้าคงไม่ทรงบัญญัติให้พระอุปัชฌาย์ต้องสอนผู้บวชให้รู้จักตจปัญจก กรรมฐาน คือสอนให้พิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าพระอุปัชฌาย์ไม่สอน ท่านถึงกับปรับอาบัติพระอุปัชฌาย์ทีเดียว เพราะถือว่าเป็นการทำลายอุปนิสัยพระอรหันต์ของศิษย์


เมื่อคิดพิจารณากายอยู่นั้น บางท่านจำแนกได้ว่า กายนี้เป็นเพียงสมมุติบัญญัติ แท้จริงคือรูปเย็นร้อนอ่อนแข็งตึงไหว หรือเมื่อยามเดินบิณฑบาต เดินจงกรม นั่งสมาธิ นั่งฉันอาหาร กวาดวัด ซักจีวร ทำข้อวัตรเช่นนวดครูบาอาจารย์ ฯลฯ

ท่านก็มีสติรู้รูปยืนเดินนั่งนอนคู้เหยียด เพราะพระป่าท่านเน้นการเจริญสติในทุกอิริยาบถ และไม่ใช่เพียงเห็นรูปปรมัตถ์ ท่านยังเห็นอีกว่า จิตเป็นธรรมชาติที่รู้รูป เป็นอีกสิ่งหนึ่งต่างหากจากรูป ท่านจึงเห็นรูปไหวและเห็นนามรู้ได้ชัดเจน สิ่งเหล่านี้ไม่ได้ขัดแย้งกับภาคปริยัติเลย เพียงแต่ส่วนมากนักปฏิบัติไม่ได้ศึกษาปริยัติ จึงไม่สามารถพูดสื่อความเข้าใจกับนักปริยัติได้เท่านั้นเอง

บางท่านคิดพิจารณากายสลับกับการเพ่งนิ่งอยู่กับกาย ในลักษณะของการเพ่งกสิณ คือเอารูปกายที่ยืนเดินนั่งนอนนั้นแหละเป็นบริกรรมนิมิตบ้าง หรือพิจารณากายสลับกับการกำหนดลมหายใจบ้าง แล้วจิตรวมลงเกิดอุคคหนิมิต (จำภาพกายได้ด้วยใจชัดเจนเหมือนตาเห็น เป็นบัญญัติอารมณ์) แล้วเกิดปฏิภาคนิมิตของกาย (เป็นบัญญัติอารมณ์) แล้วเกิดปีติ สุข เอกัคคตา หลังจากนั้นจิตจึงเอาองค์ฌานซึ่งเป็นปรมัตถ์อารมณ์มาใช้เจริญวิปัสสนา ท่านที่เดินในแนวอย่างนี้ก็มีมาก แต่ไม่ว่าท่านจะพิจารณากายอย่างไร พอเลิกพิจารณาแล้ว ท่านจะเน้นเรื่องการเจริญสติในชีวิตประจำวันอยู่ตลอดเวลาที่ตื่นอยู่


บางท่านทำความสงบจนจิตแนบแน่นอยู่กับความสงบในจุด เดียว ไม่คิดไม่นึกปรุงแต่งอะไร เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิท่านก็น้อมจิตออกพิจารณาร่างกายให้เห็นเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะ เป็นธาตุ แล้วทำความสงบกลับเข้าไปอีก เมื่อจิตรวมลงก็เกิดนิมิตเห็นกายสลายตัวไปเพราะเคยพิจารณานำร่องให้จิตเห็น อย่างนั้นไว้ก่อนแล้ว ถึงจุดนี้อาศัยที่ท่านเคยรวมจิตเข้าจนถึงฐานด้วยการทำสมาธิมาจนชำนาญ

เมื่อไร้กายแทนที่จิตจะเพ่นพ่านปรุงแต่งไปที่อื่น จิตกลับรวมลงมารู้อยู่ที่จิต แล้วเห็นอารมณ์ปรมัตถ์ภายในจิตเกิดดับ เช่นเห็นความไหวยิบยับเกิดดับไปโดยไม่มีสมมุติบัญญัติว่าสิ่งนั้นคืออะไร เป็นการเจริญวิปัสสนาได้ในอีกลักษณะหนึ่งจนเกิดตัดกระแสโลกเข้าถึงธรรมได้ วิธีการเช่นนี้น่าจะสอดคล้องกับเรื่องที่ตำราเรียนพระอภิธรรมในเรื่องภูมิ จตุกะและปฏิสนธิจตุกะอธิบายไว้ ว่าพระอริยบุคคลผู้ไปกำเนิดในอรูปภูมิ แม้กระทั่งในเนวสัญญานาสัญญายตนภูมิ สามารถไปปฏิบัติธรรมต่อได้จนถึงนิพพานในอรูปภูมินั้นๆ

และตรงจุดนี้เองที่ทำให้อาตมานึกถึงคำสอนในอรรถกถามหาสติ ปัฏฐานสูตรที่ท่านสอนว่า กายานุปัสสนาสติปัฏฐานเหมาะกับผู้เป็นสมถยานิก เพราะหากพระป่าคิดพิจารณากายโดยไม่มีกำลังของสมาธิเป็นเครื่องสนับสนุน เมื่อจิตพิจารณาจนหมดกายแล้ว จิตก็ย่อมฟุ้งซ่านไปหาอารมณ์ภายนอกเช่นไปหาอารมณ์ที่เป็นอรูป แทนที่จะย้อนเข้ามารู้จิตใจตนเองเพื่อเห็นความเกิดดับของจิตและเจตสิกจนตัด เข้าถึงกระแสธรรมได้ ดังนั้นพระป่าจึงทิ้งสมาธิไม่ได้ เว้นแต่จะหันมาเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานหรือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเป็นทางดำเนินของผู้เป็น
 

วิปัสสนายานิก
ถ้าศึกษาสังเกตคำสอนของพ่อแม่ครูอาจารย์วัดป่าให้ดีจะพบว่า หลายองค์ทีเดียวที่คำสอนในยุคต้นของท่านจะเน้นที่การบริกรรมพุทโธและพิจารณา กาย แต่เมื่อท่านล่วงกาลผ่านวัยมีประสบการณ์มากขึ้น ท่านกลับเน้นเรื่องการเจริญสติรู้อยู่ที่จิตใจของตนเองมากขึ้น ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็เช่น หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หลวงปู่เหรียญ วรลาโภ หลวงปู่ทา จารุธัมโม หลวงปู่สุวัจน์ สุวโจ และหลวงพ่อพุธ ฐานิโย เป็นต้น ส่วนหลวงปู่ดูลย์ อตุโลนั้น ท่านสอนเน้นเรื่องจิตมานานแล้ว

สรุป แล้วพระป่าท่านเริ่มการปฏิบัติจากการบริกรรมพุทโธซึ่งเป็นบัญญัติอารมณ์ แล้วก้าวเข้ามารู้นามจิต นามเจตสิก และรูป ซึ่งเป็นปรมัตถ์อารมณ์ การบริกรรมพุทโธจึงเป็นเพียงอุบายอย่างหนึ่งเพื่อการจำแนกและทำความรู้จัก รูปนามนั่นเอง อย่างไรก็ตามเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะมากเข้า บางคราวเกิดอาการเหน็ดเหนื่อยอ่อนล้า ท่านก็บริกรรมพุทโธเป็นที่พักซึ่งก็คือการทำสมถะ และบางทีท่านก็ใช้การบริกรรมพุทโธให้จิตรวมลงในจุดเดียว เพื่อรู้จิตให้ชัดเจนจนเห็นว่าจิตไม่ใช่ตนแล้วปล่อยวางจิต อย่างนี้ก็มีเหมือนกัน

คัดลอกมาจาก : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=cycle-of-life&month=10-2007&date=26&group=5&gblog=9
โดย ศาลาลอยน้ำ

22168  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / • ไม่เชื่อนรกสวรรค์มีโทษร้ายแรงแค่ไหน? • ทำอย่างไรจะเชื่อคนที่บอกว่าเห็นมาจริง? เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 12:41:38 pm


• ไม่เชื่อนรกสวรรค์มีโทษร้ายแรงแค่ไหน? •

ถาม : มักมีผู้กล่าวว่าถ้าไม่เชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ก็ถือว่ายังเป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นผู้หลงผิด เป็นผู้เที่ยงที่จะได้ไปสู่อบาย อันนี้จริงเท็จอย่างไร บอกตรงๆ ว่าอยากเชื่อ แต่ไม่เคยปลงใจได้สนิท ในเมื่อไม่เคยรู้ไม่เคยเห็นจะให้หลอกตัวเองว่ารู้แจ้งเห็นจริงอย่างไรไหว?

ตอบ : เกี่ยวกับความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์นั้น ชาวพุทธเรามีคนอยู่สองกลุ่มใหญ่ๆ กลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามี จริงชนิดสุดลิ่มทิ่มประตู ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งไม่เชื่อแบบค้านหัวชนฝา ส่วนพวกที่อยู่ตรงกลางๆ นั้นผม
ไม่ค่อยอยากนับ เพราะเมื่อสืบกันลึกๆ แล้วพวกที่บอกว่าเผื่อใจไว้ทั้งสองแบบ ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ที่แท้ก็แอบคิดเงียบๆ ไปในสุดโต่งข้างหนึ่งอยู่ดี ไม่เห็นจะเป็นกลางจริงสักคน


    และการจะบอกว่าใครเอียงไปทางเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น ต้องดูด้วยว่าเป็นจังหวะไหนของชีวิตเขา บางคนสมัยวัยรุ่นท้าตีท้าต่อยกับเทวดามั่วไปหมดเพราะนึกว่าไม่มี เห็นเป็นเรื่องสนุกกับการท้าทายสิ่งที่ตนสรุปว่างมงาย แต่พอโตขึ้นอีกหน่อย ผ่านความประจักษ์แจ้งว่าสิ่งที่ตนไปท้าทายเอาไว้นั้นน่าจะมีจริง และสนองความอยากรู้อยากเห็นของเขาด้วยประสบการณ์แสบๆ คันๆ ก็เปลี่ยนเป็นคนที่มีศีรษะน้อมลงไหว้ได้ทั่วทั้งสิบทิศไป บางรายกลายเป็นคนทรงเจ้าไปเลยก็มี

    ชาวพุทธกลุ่มที่ ‘เชื่อว่ามี’ นั้น มักแสดงความเป็นห่วงเป็นใยคนไม่เชื่อไปต่างๆ นานา เข้าขั้นพยายามบีบบังคับแบบหักดิบทำนองว่า ‘เธอต้องเชื่อ เพราะแค่ไม่เชื่อก็ต้องไปนรกแล้ว’ นี่เป็นคำที่ศาสนิกชนทั้งหลายมักใช้ทิ่มแทงกัน ไปๆ มาๆ ความหวังดีก็กลายเป็นการสาปแช่งคนอื่นโดยไม่ทันรู้สึกตัว คือออกอาการทำนองว่าไม่เชื่อคนรู้ดีอย่างเรา เดี๋ยวสวย เดี๋ยวเจอนรกสถานเดียว เป็นต้น

    การเชื่อแบบไม่รู้เห็นกับตัวว่านรกสวรรค์หน้าตาเป็นอย่างไร แถมไม่รู้จักเหตุแห่งการไปสู่นรกหรือสวรรค์อย่างแท้จริงนั้น ยังไม่ถือว่าเป็นผู้พ้นจากความน่ากลัวนะครับ เช่น เที่ยวไปสาปแช่งคนที่เขาไม่เชื่ออย่างเราเป็นประจำ ก็ได้ชื่อว่ายังนิยมในการเบียดเบียนด้วยวาจา ยังชอบทิ่มแทงให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บใจ ยังติดนิสัยข่มขู่ให้ใครต่อใครหวาดกลัว อย่างนี้ย่อมเป็นผู้เหมาะที่จะได้รับผลสะท้อนกลับเป็นภพที่อาศัยอันเต็มไปด้วยการเบียดเบียน เต็มไปด้วยการทิ่มแทงให้เจ็บปวด เต็มไปด้วยความน่าพรั่นพรึงอยู่

   คนเราชอบมีอำนาจ ชอบรู้สึกว่าตัวเองมีอิทธิพลเหนือคนอื่น แล้วก็มักจะนึกว่าความรู้หรือความปักใจเชื่อของตนคืออำนาจ สามารถเอาไปใช้บีบให้ผู้อื่นตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางความเชื่อของตน นี่จึงมักเกิดโศกนาฏกรรมทางวิญญาณ
    เช่น พร่ำพูดเรื่องนรกสวรรค์ด้วยวิธีขู่เข็ญบังคับหรือสาปแช่ง เมื่อซักไซ้รายละเอียดเข้าก็ตอบไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้ที่รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง เป็นแต่เพียงฟังคนอื่นมา


    ดังนั้นแทนที่ผู้ฟังจะเกิดความคล้อยตามก็กลายเป็นรู้สึกต่อต้าน พานจะทำให้เห็นนรกสวรรค์เป็นแค่เรื่องของคนงมงายไป  หากปรารถนาดีกับผู้อื่นอย่างแท้จริง ต้องเข้าใจให้ได้ว่าการบีบบังคับให้เชื่อว่านรกสวรรค์มีจริงนั้น อาจทำลายศรัทธาเสียก่อนที่ศรัทธาจะเกิดด้วยซ้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับยุคที่เต็มไปด้วยความน่าคลางแคลงนี้

   เคยมีคนทูลถามพระพุทธเจ้าทำนองว่า จะเชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องพรรค์นี้ด้วยวิธีใดดี
   พระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสตอบโดยใจความสรุป คือ
       เมื่อเราเป็นผู้สั่งสมบุญ ย่อมเกิดสุขทางใจในปัจจุบัน และอุ่นใจว่าถ้าชาติหน้ามี
       เราย่อมเป็นผู้ได้เสวยสุขในสรวงสวรรค์ แต่หากเราเป็นผู้สั่งสมบาป ก็ย่อมเกิดทุกข์ทางใจในปัจจุบัน
       และต้องหวาดหวั่นว่าถ้าชาติมี เราอาจไม่แคล้วต้องไปเสวยทุกข์ในอบายภูมิ


   นอกจากนั้นท่านยังตรัสไว้ว่า การสร้างเหตุปัจจัยที่ถูกต้อง มีความสลักสำคัญเหนือการคาดหวัง เหนือการพร่ำวอน เหนือการปักใจเชื่อตามๆ กันมา กล่าวคือ เมื่อทำเหตุอันควรจะไปสู่สวรรค์ แม้ไม่ปรารถนาหรือพร่ำภาวนาว่าเราจงไปสวรรค์ทุกค่ำเช้า เขาก็จะไปสู่สวรรค์อยู่ดี ตรงข้ามเมื่อทำเหตุอันควรจะไปสู่นรก แม้ปรารถนาหรือพร่ำภาวนาว่าเราจงพ้นนรกทุกค่ำเช้า เขาก็ย่อมต้องไปสู่นรกอยู่ดี

   แม้จะเป็นผู้มีความเห็นถูกอยู่ส่วนหนึ่ง คือ เชื่อว่านรกสวรรค์มี แต่ยังมีความเห็นผิดว่าตนเบียดเบียนคนอื่นไม่เป็นไร การผูกเวรกับใครๆ ไม่ต้องรับโทษ อย่างนี้เขาก็ยังได้ชื่อว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิอยู่ และตกอยู่ภายใต้ความไม่แน่นอนว่าคติข้างหน้าจะร้ายหรือดีเช่นเดียวกัน หรืออาจจะยิ่งกว่าผู้ไม่เชื่อนรกสวรรค์เสียอีก




• ทำอย่างไรจะเชื่อคนที่บอกว่า เห็นมาจริง?

ถาม : จะเชื่อได้อย่างไรว่าใครเห็นนรกสวรรค์จริง ฟังเล่ามาแต่ละคนพูดกันไปคนละเรื่อง บางทีขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง โดยเฉพาะพวกที่หลับตาไปเห็นแบบนั่งทางใน จะรู้อย่างไรว่าพวกเขาไม่ได้คิดฝันไปเอง?

ตอบ : ความเชื่อยุคใหม่นั้นมีอะไรประหลาดๆ ได้ไม่จำกัด บางคนบอกว่าจะเชื่อนรกสวรรค์ก็
ต่อเมื่อเห็นภูตผีปีศาจหรือเทวดานางฟ้าด้วยตาเปล่า บางคนหนักกว่านั้น คือ บอกว่าจะเชื่อนรกสวรรค์ก็ต่อเมื่อพูดให้เขาเชื่อด้วยหลักฐานและเหตุผลอันคิดตามได้ เรียกว่าเป็นพวกหัวดื้อเต็มพิกัดจะยอมลงให้กับคัมภีร์ไหนศาสนาใดก็ต่อเมื่อมีใครป้อนภาพ เสียง สัมผัสที่เกี่ยวกับนรกสวรรค์ให้แก่เขา โดยที่เขาไม่ต้องลงทุนทำอะไรเลย ขอเป็นช้างกินอ้อยที่ถูกยื่นมาถึงปากเท่านั้น


    หากเข้าใจว่าคนเราสามารถเห็นนรกสวรรค์ได้ด้วยตาเปล่า ก็คงไม่ต่างจากการเข้าใจว่า คนเราสามารถเห็นสัญญาณโทรทัศน์ได้ หรือฟังคลื่นวิทยุได้โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องรับ และหากเข้าใจว่าคนเราสามารถตระหนักในความมีอยู่ของนรกสวรรค์ได้ด้วยความคิด ก็คงไม่ต่างจากการเข้าใจว่าคนเราสามารถล่วงรู้ถึงการมีอยู่ของเชื้อโรคเล็กๆ และแกแลกซี่ใหญ่ๆ โดยไม่ต้องอาศัยกล้องจุลทรรศน์และกล้องดูดาว

    อย่างไรก็ตาม ในทางตรงข้าม บางคนก็พร้อมจะศรัทธาภาพเสียงพิเศษบางอย่างรวดเร็วเกินไป เช่นเพียงหลับฝันชัดๆ หรือบางคนนั่งสมาธิได้ความนิ่งเพียงเล็กน้อยแล้วเกิดนิมิตต่างๆนานา ก็หลงปักใจเชื่ออย่างเอาเป็นเอาตายว่าสิ่งที่ตนเห็นนั้นถูกยิ่งจริงแท้ แล้วนำมาขยายให้ผู้อื่นฟัง บางทีก็ใส่สีตีไข่เข้าไปตาอัตโนมัติ,ของตน หรือหนักกว่านั้นคือตั้งใจหลอกลวงชาวบ้านให้หลงเชื่อว่าตนเป็นผู้รู้เห็นนรกสวรรค์แจ่มแจ้ง ทั้งที่ทราบแก่ใจว่าตนเป็นเพียงหนึ่งในพวกสิบแปดมงกุฎเท่านั้น

    ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าการประจักษ์ความมีอยู่จริงของนรกสวรรค์นั้น เป็นเรื่องรู้เห็นเฉพาะตัวพูดง่ายๆ ว่าเป็นเรื่องที่คนๆ หนึ่งต้องสำรวจตนเองด้วยความซื่อสัตย์ว่า วิธีเห็นของเขานั้นน่าเชื่อเพียงใด สำหรับผู้ฟังซึ่งปราศจากญาณรู้เห็นนั้นเป็นเรื่องยากที่จะไปรู้ไต๋ของเขา คงได้แต่กล่าวว่า

    คนรู้จริงเขาสำรวจตัวเองกันอย่างไร เขาดูครับว่าขณะนั้นมีสิ่งใดทำให้จิตบิดเบี้ยว เห็นผิดเพี้ยนเหมือนมองผ่านกระจกเว้าหรือกระจกนูนได้บ้างหรือไม่ หากมีเหตุปัจจัยที่ทำให้บิดเบี้ยวได้อยู่ เขาก็จะค่อยๆ กำจัดปัจจัยนั้นทิ้งไปทีละข้อๆ จนกระทั่งจิตกลายสภาพเป็นเหมือนกระจกใสที่เรียบสนิท ไม่หลงเหลือแม้รอยขีดข่วนเป็นฝ้ามัวสักนิดเดียว

สิ่งที่ทำให้จิตบิดเบี้ยวไม่อาจรู้เห็นอะไรได้ตามจริง จำแนกเป็นข้อใหญ่ๆ ได้ดังนี้

๑) สิ่งปิดกั้นอย่างหยาบ – เช่น ความโลภอยากรู้เห็น ความโลภอยากเป็นผู้อยู่เหนือมนุษย์ ความเป็นผู้ไม่อาจสลัดความติดใจในราคะ ความเป็นผู้ไม่อาจหลุดจากความพยาบาท ความเป็นผู้มีความหดหู่ง่วงงุน ความเป็นผู้มีจิตฟุ้งซ่านซัดส่ายจับไม่ติด และความเป็นผู้คิดลังเลสงสัยกลับไปกลับมาไม่หยุด หากปราศจากสิ่งปิดกั้นอย่างหยาบดังกล่าวมาแล้ว จิตก็จะสามารถตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีความรู้เห็นคมชัด ทรงคุณภาพพอต่อการน้อมไปรู้สิ่งที่เกินหูเกินตาบ้างแล้ว

๒) สิ่งที่ทำให้เกิดความเห็นพร่าเพี้ยน – เช่น ความช่างปรุงแต่งจินตนาการ ความปักใจเชื่ออยู่ก่อนว่านรกสวรรค์เป็นอย่างไร ความตั้งมั่นของจิตที่ไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอ ความลิงโลดหรือขนลุกขนชันในยามแรกเห็น ความเพลิดเพลินในปีติสุขอันเกิดแต่วิเวกในสมาธิซึ่งก่อนิมิตวิจิตรตระการหากจิตมีความเป็นกลาง เที่ยงตรงเหมือนตาชั่งที่อยู่ในดุลพอดี ปราศจากความยินดียินร้ายใดๆ ก็สามารถน้อมไปรู้เห็นสิ่งลี้ลับเหนือโลกได้ตามจริง หลายสิ่งจะเปิดเผยต่อจิตอันทรงอุเบกขานั้นแจ่มชัดยิ่งกว่าตาเห็นรูปและหูได้ยินเสียง

    หากผู้ที่ทรงสมาธิได้เป็นปกติ น้อมจิตไปรู้เห็นนรกสวรรค์ได้เป็นปกติ ไม่ใช่เห็นแบบภาพล้มลุก หรือฟลุกเจอแบบนานทีปีหน ก็จะมีชีวิตที่ไม่จำกัดอยู่ด้วยกรอบคับแคบของหูตา แต่จะมีชีวิตที่เปิดกว้างด้วยอายตนะรับรู้เหนือมนุษย์ คล้ายเศรษฐีที่อาจเดินทางด้วยเครื่องบินเปลี่ยนบรรยากาศไปทุกมุมโลกได้ตามปรารถนา ไม่ต้องจำเจอยู่แต่เฉพาะในเมืองใดประเทศไหนเพียงหนึ่งเดียวเหมือนคนธรรมดาทั่วไป

 


สรุปรวบรัดว่า
    สำหรับคนธรรมดาทั่วไปที่ยังมีราคะ โทสะ โมหะเหนียวแน่น ไม่มีเวลาปฏิบัติ ภาวนาจนเกิดสมาธิผ่องแผ้วนั้น ควรหมั่นศึกษาให้มากว่าอะไรเป็นประโยชน์ อะไรเป็นโทษ กระทั่งเกิดกุศลจิตอยู่เป็นปกติ จิตอันรวมเป็นกระแสมหากุศลนั้นจะบอกเราเองครับว่าถ้านรกมี เราก็ไม่พรั่นเลย เพราะเราจะไม่ไหลลงนรกด้วยกระแสแห่งอกุศลเป็นแน่
    ขณะเดียวกันถ้าสวรรค์มี เราก็ไม่รู้สึกแปลกแยกหรือต่ำต้อยเกินกว่าจะเอื้อมถึงแต่อย่างใด เพราะจิตวิญญาณย่อมอุบัติบนสรวงสวรรค์ด้วยแรงส่งของพลังกุศลโดยแท้__



คัดลอกจาก เตรียมเสบียงไว้เลี้ยงตัว เล่ม ๑ โดย ดังตฤณ
ขอบคุณภาพจาก http://www.dmc.tv/,http://larnbuddhism.com/
22169  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "ร้อยแปดมงคล" บนพระพุทธบาท เมื่อ: มิถุนายน 18, 2010, 12:20:45 pm
 :25: :25: :25:

"ร้อยแปดมงคล" บนพระพุทธบาท

ตามหลักพระพุทธศาสนา “มงคล” หมายถึง ธรรมที่นำมาซึ่งความสุข ความเจริญ มีทั้งสิ้น 38 ประการ หรือที่เรียกเต็มๆว่า อุดมมงคล หมายถึง มงคลอันสูงสุด 38 ประการ ดังปรากฏในมงคลสูตร ซึ่งเป็นพระสูตรที่กล่าวถึงเรื่องมงคล 38 ประการ

เหตุที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสถึงมงคลสูตร เนื่องจากก่อนหน้าที่พระพุทธเจ้าจะตรัสมงคลสูตรนี้ ในมนุษย์โลกได้เกิดปัญหาถกเถียงกันว่า อะไรเป็นมงคล.? บางคนว่ารูปที่เห็นดีเป็นมงคล บ้างว่าเสียงที่ได้ยินดีเป็นมงคล บ้างว่ากลิ่น รสสัมผัสที่ดีเป็นมงคล ต่างฝ่ายต่างยืนยันความเห็นของตน ไม่ยอมกัน ปัญหานี้แพร่ไปถึงเทวโลกและพรหมโลก จนเกิดความแตกแยกเป็น 3 ฝ่าย หาข้อยุติไม่ได้
 
มงคล 108 ในพระพุทธบาทลักษณะ

ตามหลักฐานในพระไตรปิฎก ความคิดเรื่อง “มงคล” ในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าทรงเน้นที่ “มงคล 38 ประการ” ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติตน โดยที่ไม่ได้ทรงตรัสถึงสิ่งที่เป็นมงคล หรือสัญลักษณ์ที่เป็นมงคลแต่ประการใด แนวคิดเรื่องมงคล 108 ประการ จึงเป็นแนวคิดเกิดขึ้นภายหลัง ดังปรากฏสัญลักษณ์มงคลของอินเดีย ที่มีตั้งแต่โบราณ เช่น เครื่องหมายสวัสดิกะ มาเป็นสัญลักษณ์มงคลที่ปรากฏในรอยพระพุทธบาท ปรากฏหลักฐานทั้งในคัมภีร์เถรวาทและมหายาน และหลักฐานทางโบราณคดีเกี่ยวกับ “รอยพระพุทธบาท” และ “มงคล 108 ในพระพุทธบาทลักษณะ”
 
ในคัมภีร์มี หลักฐานปรากฏลักษณะมงคล

   • อนึ่ง ในคัมภีร์ มหาวัสตุ องทาน ฉบับภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะปรากฏ จักร (ธรรมจักร) สวัสดิกะ นอกจากนี้ ยังมีภาพดอกบัวที่ฝ่าพระหัตถ์ และพระพุทธบาท
   • ในคัมภีร์ ลลิตวิสตระ ภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาทจะประกอบไปด้วย สวัสดิกะ นันทยาวรรต และสหัสรารจักร
   • ในคัมภีร์ ภัทรกัลปิกะ ภาษาทิเบต กล่าวว่า ในพระพุทธบาทจะมีภาพหม้อน้ำ สวัสดิกะ และนันทยาวรรต
   • ในคัมภีร์ ศรีศากยสิงหะ-โสตตระ ภาษาสันสกฤต กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะมีภาพจักร ที่ฝ่าพระหัตถ์จะมีรูปจามร และจักร
   • นอกจากคัมภีร์พุทธศาสนา ที่เป็นภาษาสันสกฤตแล้ว ในคัมภีร์ฝ่ายบาลี ก็ปรากฏสัญลักษณ์มงคลในพระพุทธบาทด้วย เช่น ในคัมภีร์พุทธวงศ์ ภาษาบาลี กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะมีรูปจักร ธช (ธง) วชิระ ปฏากา วัฑฒมาน และอังกุศ
   • ในคัมภีร์ อปทาน ภาษาบาลี กล่าวว่า ในพระพุทธบาท มีรูปจักร อังกุศ ธช ในนรสีหคาถา ภาษาบาลี กล่าวว่า ในพระพุทธบาท จะประกอบไปด้วย จักร จามร ฉัตร เป็นต้น






ขอบคุณภาพจาก http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3339.0

มงคล 108 ในพระพุทธบาท พบฉบับใบลาน

ในราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เริ่มมีรูปมงคลบนพระพุทธบาท เช่น รูปสวัสดิกะ รูปตรีรัตน รูปภัทรบิฐ และรูปดอกบัว ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 8-9 พระพุทธบาทในสมัยอมราวดี จึงเริ่มมีลายมงคล 8 ประการ คือ คันฉ่อง ขอช้าง ปลาคู่ ตรีรัตน หม้อน้ำ ศรีวัดสะ สวัสดิกะ และ วัฑฒมาน

ต่อมาความเชื่อเกี่ยวกับพระพุทธบาทนี้ ได้มีการนำมาขยายความและเกิดคติความเชื่อเรื่องมงคล 108 ประการ โดยเฉพาะที่ลังกาทวีป ราวพุทธศักราช 1700 พระพุทธรักขิตเถระได้รจนาฎีกาขยายความคัมภีร์ชินาลังกาขึ้น เรียกว่า “ชินาลังการฎีกา” คัมภีร์นี้เองที่ได้กล่าวถึง มงคล 108 ประการในรอยพระพุทธบาท ซึ่งเรียกว่า “อัฏฐุตตรสตมหามงคล” ไว้ด้วย

ในภายหลังได้มีผู้รจนาขยายความ “มงคล 108 ในพระพุทธบาท” ชื่อว่า “คัมภีร์พุทธบาทลักขณะ” แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้แต่งและยุคสมัยแต่ง คัมภีร์พุทธบาทลักขณะที่พบในปัจจุบันเป็นฉบับใบลาน อักษรขอม-ภาษาบาลี จารขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ.2292 ตรงกับรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา
 
รอยมงคล 108 ในพระพุทธบาท

ตามหลักฐานทางโบราณคดีนั้น พระพุทธบาทเป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยเฉพาะรอยมงคล 108 ในพระพุทธบาท ปรากฏสืบเนื่องมาทั้งในการสร้างรอยพระพุทธบาททั้งในลังกา พุกาม สุโขทัย อยุธยา กัมพูชา

ในปัจจุบันที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์ ท่าเตียน) ปรากฏสัญลักษณ์มงคล 108 ที่ภาพสายประดับมุกที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ ผู้ที่ไปเที่ยวชมวัดพระแก้ว พระบรมมหาราชวัง มักจะลืมเลือนเว้นไปเยือนวัดโพธิ์ ซึ่งมีสัญลักษณ์อันเป็นมงคลดังกล่าวข้างต้นแล้ว ณ ปัจจุบันยังเป็นวัดมรดกโลกแห่งใหม่อีกด้วย นะเจ้าคะ

 
จากหนังสือรัตนมงคลคำฉันท์ เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ, กรมศิลปากร, 2547, หน้า 148

แผนผังแสดง ลักษณะการจัดวางรูปมงคล 108 ประดับมุกที่ฝ่าพระบาทพระพุทธไสยาสน์ วัดพระเชตุพน






ขอบคุณที่มา : http://www2.thaitownusa.com/frontnews/frmNews_View.aspx?Conn=Thai&NewsNo=0903000016
22170  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / จะรู้ได้อย่างไรว่า "คู่แท้" หรือ "คู่เวร" เมื่อ: มิถุนายน 16, 2010, 11:57:21 am
จะรู้ได้อย่างไรว่า คู่แท้ หรือ คู่เวร
จากหนังสือ "ดังตฤณ วิสัชนา"

 

ถาม - คู่เวรมีจริงหรือไม่ ? แบบที่พออยู่ด้วยกันแล้วมีแต่ความวิบัติและความหมายของคู่แท้หมายถึงอยู่ ด้วยกันแล้วมีแต่ความสุขความเจริญใช่ไหม ? หากเป็นเช่นนั้นต้องเชื่อเกณฑ์ของดวงชะตาราศีที่ว่าจะเจอคู่แท้เมื่อนั่น เมื่อนี่ใช่ไหม? ถ้าหากว่าเรามีวิบากที่ต้องเจอคู่ที่ทำให้เราไม่มีความสุข เราจะหลีกหนีได้หรือไม่?

คู่หญิงชายนั้นมีหลายแบบ ไม่ได้มีแต่คู่เวรกับคู่แท้ คำว่า"คู่แท้" จะทำให้คุณนึกถึงเพศตรงข้ามที่ติดตามกันไปทุกภพทุกชาติ เป็นตัวเป็นตน จับจองกันอย่างถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งธรรมชาติไม่ได้มีอะไรอย่างนั้น ตามกฎเหล็กข้อแรกสุดคือ "ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไป"

หากหันมาใส่ใจกับคำว่า "คู่บุญ" และ "คู่บาป" แทน อย่างนี้จะเห็นอะไรกระจ่างขึ้น เพราะคนเราทำบุญทำบาปสลับกันได้ ไม่มีใครทำบุญทำบาปร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตลอดไป และนั่นก็แปล ว่าคู่บุญอาจหมายถึงคู่ที่ร่วมทำบุญกันมามากกว่าร่วมทำบาป ส่วนคู่บาปก็อาจหลายถึงคู่ที่ร่วมทำบาปมากกว่าร่วมทำบุญ


มองอย่างนี้อคติจะลดลงอย่างฮวบฮาบทันที ประเภทขัดเคืองใจนิดหน่อยก็เหมาว่านี่คู่เวรของเรา หรือประเภทต้องตาต้องใจเมื่อแรกพบก็เหมาว่านี่แหละคู่แท้ของฉัน เราจะเห็นตามจริงว่าถ้าต้องตาเมื่อเห็นถ้าเย็นใจเมื่อใกล้ อันนั้นก็เป็นคะแนนทางความรู้สึกด้านดีชั้นแรก ต่อเมื่อมีความผูกพันผ่านเหตุการณ์ดีร้าย หรือที่เรียกง่ายๆว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ตรงนั้นค่อยเป็นคะแนนสะสมในชั้นต่อๆมา กระทั่งปักใจเชื่อได้ว่าเป็นคู่บุญกันจริงๆ

ความรู้สึกด้านดีชั้นแรกในระยะแรกพบสบตา นั้น เป็นผลบุญจากการอยู่ร่วมกันมาก่อนในอดีตชาติ ส่วนการร่วมทุกข์ร่วมสุขผ่านเหตุการณ์ดีร้ายต่างๆมาด้วยกัน เป็นบุญใหม่ที่เกิดจากการเกื้อกูลในปัจจุบันชาติ พระพุทธเจ้าตรัสว่าความรักจะเกิดขึ้นไม่ได้หากปราศจากเหตุปัจจัยทั้งอดีตและ ปัจจุบันประกอบกัน

ไม่ว่าจะเป็นของเก่าหรือของใหม่ บุญที่สร้าง"คู่บุญ" ขึ้นมาจะเหมือนๆกัน พระพุทธเจ้าตรัสแสดงไว้ได้แก่

๑) มีศรัทธาไปในแนวทางเดียวกัน  เช่นถือศาสดาองค์เดียวกัน เชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องกรรมวิบากด้วยกัน เชื่อว่าโลกกลมหรือโลกแบนเหมือนๆกัน เชื่อแนวทางในการดำรงชีวิตรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น เมื่อศรัทธาไม่ตรงกันก็คุยเรื่องไม่ตรงกัน เมื่อคุยเรื่องไม่ตรงกันก็คุยกันได้ไม่นาน เมื่อคุยกันได้ไม่นานก็เบื่อกันเร็ว อันนี้คือความจริงที่เกิดขึ้นกับทุกรูปนาน ไม่จำเพาะเฉพาะคู่รักเท่านั้น ขนาดเพื่อนกันแต่เชื่อไม่เหมือนกันยังยากที่จะเป็นเพื่อนสนิทเลยครับ  ศรัทธาที่ร่วมกันปลูกฝังให้มั่นคงย่อมทำหน้าที่สร้างสายตาที่มองไปในทิศ เดียวกัน ไม่ก่อความรู้สึกเป็นอื่นจากกัน

๒) มีศีลอันเป็นเครื่องหอมทางใจ เสมอกัน คือมีความคิดงดเว้นข้อประพฤติผิดแบบเดียวกัน เป็นเหตุให้ไม่รังเกียจหรือหมั่นไส้กัน พรานหนุ่มกันพรานสาวทนกลิ่นอายฆ่าฟันของกันและกันได้ แต่ให้หมอศัลย์ที่มีรังสีช่วยชีวิตมาเป็นคู่ผัวตัวเมียกับมือปืนร้อยศพที่ ทะมึนด้วยรังสีเอาชีวิต อย่างไรก็คงทนกลิ่นอายที่เป็นตรงข้ามของกันและกันไม่ไหว และนั่นก็เช่นเดียวกัน ถ้าฝ่ายหนึ่งเจ้าชู้ ร้อยลิ้นกะลาวน ส่ำส่อนไปเรื่อยโดยไม่สนใจความสกปรกหมกมุ่น ย่อมน่ารังเกียจยิ่งสำหรับคนใจซื่อ ถือความสะอาดผัวเดียวเมียเดียว ศีลที่ร่วมรักษาให้บริสุทธิ์ดีแล้วย่อมทำหน้าที่สร้างความอบอุ่นเชื่อมั่นใน กันและกัน สนิทใจ ไว้วางใจกันเป็นมั่นเหมาะ

๓) มีจาคะอันเป็นวิธีคิดแบ่งปัน เสมอกัน อย่างน้อยต้องเป็นผู้ให้ซึ่งกันและกันในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่มีแต่ฝ่ายหนึ่งคิดให้อยู่ข้างเดียว อีกฝ่ายเอาเปรียบตลอด เช่นอีกฝ่ายสละเงินให้ใช้ อีกฝ่ายสละแรงปรนนิบัติ เป็นต้น การเอารัดเอาเปรียบเกิดจากจาคะที่ไม่เสมอกันเป็นมูล ยิ่งหากต่างฝ่ายต่างคิดเจือจานคนอื่น เห็นข้าวของอะไรไม่ใช้แล้ว ก็คิดตรงกันว่าน่าบริจาคแก่คนที่เขาไม่มี อย่างนี้ยิ่งไปกันได้ มีโอกาสร่วมบุญกันบ่อยๆ ยิ่งให้คนอื่นมากก็ยิ่งได้ความสุขในการสละมาเสริมใยแก้วร้อยสัมพันธืให้กัน แน่นแฟ้นขึ้น จาคะที่ร่วมกันยินดีโดยพร้อมเพรียงย่อมก่อความรู้สึกซึ้งใจอย่างใหญ่ เหมือนอยู่ด้วยกันจะเป็นที่พึ่งให้กัน ปลอดภัยร่วมกัน ประคับประคองกัน ไม่มีวันล้มพร้อมกัน

๔) มีปัญญาเสมอกัน กล่าว ทางโลกคือคุยกันรู้เรื่อง กล่าวทางธรรมคือมีระดับการเห็นตามจริงใกล้เคียงกันหรืออย่างน้อยเป็นไปในทาง เดียวกัน ไม่ใช่พูดคนละภาษา ฝ่ายหนึ่งทำก่อนคิด อีกฝ่ายคิดก่อนทำ หรือฝ่ายหนึ่งเอาอารมณ์พูด อีกฝ่ายพูดด้วยสติปัญญา หรือฝ่ายหนึ่งเห็นชัดว่าอะไรๆไม่เที่ยง ความยึดมั่นถือมั่นเหลือน้อย  แต่อีกฝ่ายหนึ่งแค่เรื่องน้อยก็ยึดมั่นถือมั่นเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต ก็คงนึกระอาหรือหมั่นไส้ในกันและกันเป็นอยางยิ่ง ปัญญาที่ร่วมเสริมส่งกันและกันย่อมทำหน้าที่สร้างความร่าเริงในการ สนทนา และความไม่พรั่นที่จะต้องฝ่าฟันอุปสรรคร่วมกัน


หากอดีตกาลคุณเคยครองเรือนกับผู้มีบุญ เสมอกันทั้ง ๔ ข้อ (อาจหย่อนนิดหย่อนหน่อยได้) ขอเพียงได้มาพบกันในชาตินี้ ก็จะเกิดแรงดึงดูดที่ก่อความรู้สึกแสนดีอย่างประหลาด เหมือนเข้ากันได้ทุกอย่าง เหมือนเห็นกันได้ทุกแง่มุมด้วยความเข้าใจกระจ่าง

และขอเพียงเกื้อกูลกันนิดๆหน่อยๆ เช่นอีกฝ่ายหยึ่งมาถามทาง อีกฝ่ายบอกทางให้ เท่านี้ก็จะเกิดแรงปฏิพัทธ์ขึ้นอย่างรุนแรง ชนิดที่ฝ่ายชาย (ซึ่งมีธรรมชาติเป็นรุก) อาจยื่นข้อเสนอเดินพาไปส่ง และฝ่ายหญิงก็ตกลงรับข้อเสนออย่างยินดีเต็มใจทันที แล้วการตกลงร่วมทางกันไปจนกว่าจะตายก็ติดตามมาอย่างรวดเร็ว ไม่มีอะไรซับซ้อน ไม่มีเหตุการณ์น่าปวดหัว ไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้สำหรับคู่บุญประเภทนี้
แน่นอนว่าสายตาทั่วไปมองแล้วย่อมนึก อิจฉา


โดยไม่มีใครเข้าใจต้นสายปลายเหตุที่แท้จริงว่าเหตุใดจึงมีคู่ที่น่าอิจฉาได้ ปานนั้น รู้แต่ว่ามีจริง แต่ไม่รู้ว่ามีขึ้นมาได้อย่างไร ต้องต่อว่าใครที่แกล้งลำเอียง ความจริงคือคู่บุญได้รับความยุติธรรมจากธรรมชาติกรรมวิบากต่างหาก แต่อาจเป็นความยุติธรรมที่ลึกลับ เพราะนำอดีตชาติมาแสดงให้เห็นเป็นภาพยนตร์ตามโรงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม แม้วิบากกรรมบันดาลให้ช่วงแรกคบเกิดแต่เรื่องดีๆ ต่างฝ่ายต่างเป็นสุขชื่นมื่น ไปที่ไหนใครก็เชียร์ ทำอะไรร่วมกันก็รุ่งเรือง แต่ถ้าบุญเก่าแพ้บาปใหม่ ค่อยๆสั่งสมบาปจนต้องทะเลาะเบาะแว้ง หรือเกิดการทำร้ายกันด้วยวิธีต่างๆ คู่บุญก็เปลี่ยนเป็นคู่ครึ่งบุญ(เก่า)ครึ่งบาป(ใหม่)ได้ ความหลงลืม อดีตชาติ ความประมาทในวัย และความไม่รู้จักบุญบาป ไม่เชื่อว่าบุญบาปมีผลนั่นแหละ ที่อาจเปลี่ยนคู่บุญให้เป็นคู่บาปได้ตลอดเวลา


บาปนั้นแม้เล็กน้อยก็เหมือนเหรียญหยอด กระปุก เพียงสะสมให้มากวันละเล็กวันละน้อย เมื่อถึงวันหนึ่งยกกระปุกดู ก็อาจพบว่ามันหนักราวกับลูกเหล็กใหญ่ และถ้าเป็นบาปที่สะสมร่วมกัน ก็อาจถูกฉุดลากลงต่ำพร้อมกันได้

บาปอันมีผลที่ทำร่วมกันแล้วหญิงชายกลาย เป็นคู่บาปนั้น ยืนพื้นอยู่บนกิเลส ๓ ประการของมนุษย์ได้แก่

๑) ราคะ คือทำเรื่อง บาดใจกันทางเพศ ไปมองคนอื่น ไปคุยกับคนอื่น และกระทั่งไปมีคนอื่น กระแสกรรมอันสำเร็จด้วยการนอกใจจะเป็นของแหลมคมที่กรีดผู้ทำให้เป็นทุกข์ ก่อน ในรูปของความรู้สึกผิด และเมื่อประจวบกับความจริงที่ว่าความลับไม่มีในโลก วันนั้นเมื่อเรื่องแดง คู่ของตนทราบเรื่อง ก็ต้องเป็นทุกข์ตาม ในรูปของความผิดหวังเสียใจ ความร้าวฉานอันเกิดจากเรื่องทางเพศนั้น แม้คู่ครองไม่ผูกใจเจ็บ อย่างน้อยก็กลายเป็นเงามืดติดตามไปบนเส้นทางความสัมพันธ์ เมื่อเกิดชาติใหม่ความสัมพันธ์ทางเพศจะเป็นแรงดึงดูด แต่แรงดึงดูดนั้นแฝงความน่าคลางแคลงชอบกล อย่างน้อยก็มีเหตุน่าสับสน ทำให้คิดๆว่าจะเลือกใครดี คนนี้ดีแน่ไหม หรือกระทั่งเกิดความรู้สึกสกปรกเมื่อถูกเนื้อต้องตัว ในช่วงแรกๆขัดแย้งกันแปลกๆกับความหวาบหวามเมื่อใกล้กัน

รสนิยมทางเพศที่ไม่เสมอกันก็อาจเป็นชนวน ได้ แต่มาในรูปของความหน่าย ไม่อยากไปด้วยกัน ไม่ใช่ความบาดใจเหมือนอย่างการนอกใจ แต่หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งข่มเหงและเป็นโรคจิตวิปริตทางเพศกระทำย่ำยีให้อีกฝ่าย เจ็บใจเป็นประจำก็มีส่วนก่อกระแสภัยเวรขึ้นในสายสัมพันธ์ได้เช่นกัน

๒) โทสะ ส่วนใหญ่มักมี มูลจากช่องว่างระหว่างคน เมื่อทรรศนะต่างกัน เมื่อความอยากต่างกัน เมื่อรสนิยมต่างกัน เมื่อสำเนียงและภาษาต่างกันอะไรๆในทางร้ายก็เกิดขึ้นได้เสมอ โดยเฉพาะในรูปของการทะเลาะเบาะแว้ง เมื่อทะเลาะเบาะแว้งย่อมผูกใจเจ็บ คิดอาฆาตพยาบาท อยากแก้แค้น อยากเอาคืน ไม่รูปแบบใดก็รูปแบบหนึ่ง  พูดไม่ได้ก็เย้ยหยันเหยียดหยามผ่านแววตาให้สะใจเสียหน่อยก็ยังดี กรรมร่วมกันที่ทำด้วยโทสะจะเป็นแรงผลักไส หรือดลใจให้นึกเกลียดกัน แต่โทสะนั้นเองก็เป็นพลังร้อยรัดให้ต้องอดรนทนไม่ได้ อยากวนเวียนมาทิ่มตำกันเสียหน่อย ได้ประชดประชัน ได้เอาชนะ สำเร็จแล้วสะใจและเป็นสุขพิลึก ท้ายที่สุดพอร่วมหอลงโรงจริง ความสนุกจากการงอน การง้อ ก็แปรไปเป็นโศกนาฏกรรมได้

โดยเฉพาะเมื่ออิทธิพลทางเพศกลายเป็นเครื่องมือกดความรู้สึกให้ดูถูกกันและ กัน เห็นอีกฝ่ายแต่ในทางต่ำ เรื่องเพียงเล็กน้อยก็เป็นน้ำผึ้งหยดเดียว อาจบันดาลให้อยากส่งคู่ครองไปสู่ปรโลกได้ และถ้าฆ่ากันตายในชาติหนึ่ง ชาติถัดมาก็เกิดแรงยึดเหนี่ยวมาหากันอีกผ่านความดึงดูดทางเพศ แล้วต้องทำร้ายถึงเลือดถึงเนื้ออีก จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะอโหสิให้อย่างไม่มีเงื่อนไข

ทุกวันนี้ที่เห็นดาษดื่นคือการน้อยใจกัน แล้วฆ่าตัวตาย นี่ก็เป็นกรรมร่วมที่อยู่ในหมวดของโทสะ เจอกันใหม่ในชาติถัดไปก็จะมีอารมณ์รุนแรง ฉุนฉียว หรือเป็นเหตุบันดาลใจให้มักง่ายกับชีวิตอีก

๓) โมหะ หมายถึงทำกรรม แบบโง่ๆร่วมกัน โดยอาจสำคัญว่าได้ใช้ความฉลาดเฉียบแหลม ไม่มีใครจับได้ไล่ทัน เช่นเคยร่วมกันโกงสงฆ์ โกงเงินบริจาควัด โกงประชาชน โกงหมู่คณะ โกงเพื่อนฝูง หรือโกงคนแปลกหน้าเป็นรายตัว กรรมที่ทำร่วมกันแบบโง่ๆนั้นกว้างขวางพิสดารไม่รู้จบ เอาเป็นว่าถ้าทำความเดือดเนื้อร้อนใจให้กันและกันด้วยเหตุเพียงเล็กน้อย หรือทำความเสียประโยชน์สุขแก่มวลชนเป็นอันมาก อันนั้นแหละกรรมร่วมกันที่ยืนพื้นอยู่บนโมหะ ไม่ต้องรอชาติหน้า เอาแค่ชาตินี้เมื่อถึงจังหวะที่กรรมเผล็ดผล ก็จะอยู่ร่วมอย่างไม่เป็นสุขสักนาที มีแต่เรื่องราวรุมเร้า หรือไม่มีเรื่องก็ก่อเรื่องให้กันเอง ความพินาศอันเกิดจากโมหะนั้น

กล่าวได้ว่าน่ากลัวเหนือสิ่งอื่นใด เพราะราคะและโทสะนั้นยังเปิดโอกาสให้ตั้งสติคิดพิจารณาทบทวนและให้อภัยกัน แต่โมหะจะปิดกั้นสติปัญญาแทบทุกประตู มองทิศไหนเหมือนเจอแต่ทางตันทึบทึม นั่นเป็นลักษณะสะท้อนของการทำกรรมด้วยความหลงเขลามืดบอด
แต่แม้เจอเรื่องร้ายรุมเร้า ก็ยังอุตส่าห์ปักใจเชื่อว่าต้องอยู่ร่วมกันถึงจะดี ทิ้งขว้างกันไม่ได้ ต้องทนทู่ซี้ทั้งอย่างนั้น นี่ก็เป็นภาคต่อยอดของโมหะด้วย

ขอสรุปเพื่อให้เกิดความเข้าใจง่ายๆและ รวบรัด ถ้าชวนใครทำบุญได้สำเร็จ ทั้งทำต่อกัน ทั้งทำต่อคนอื่น  ด้วยกาย วาจา และใจอันเป็นสุจริต คนนั้นมีแนวโน้มจะเป็นคู่บุญและอยู่กับคุณได้อย่างแท้จริงในชาติปัจจุบัน แต่ ถ้าเป็นตรงข้าม เจอกันมีแต่ชวนกันตกต่ำ ทำอะไรเหมือนเป็นบาปกับตัวเองและคนอื่นไปหมด อย่างนั้นก็ส่อเค้าว่าไปด้วยกันไม่รอดหรอกครับ ถึงแม้มีแรงทางเพศดึงดูดขนาดไหนก็ตาม

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตอนอยู่ด้วยกันก็พอ บอกเป็นเค้าๆได้ระดับหนึ่ง ถ้ามีแต่เรื่องดีๆเข้ามาก็น่าจะเคยทำบุญร่วมกันไว้ก่อน แต่ถ้ามีแต่เรื่องร้ายๆ ก็ให้สันนิษฐานว่าไปทำอะไรไม่ดีร่วมกันไว้ เพราะมีอยู่ครับ วิบากชนิดที่จ้องรอจังหวะตอนคู่บาปมาเจอกัน เจอกันเมื่อไหร่เกิดเรื่องแย่เมื่อนั้น อันนี้สะท้อนให้เห็นบาปแต่ปางก่อนค่อนข้างชัด (ยิ่งถ้าต่างฝ่ายต่างมีชีวิตเรียบง่ายดีๆ พอมาอยู่ด้วยกันเกิดเรื่องขรุขระร้ายแรงบ่อยๆ อันนั้นแหละฟันธงเลยครับว่า ใช่คู่บาปแน่)

หลักการดูคู่ ขอแนะว่าลองชักชวนกันทำบุญ ดูความรู้สึกผูกพันด้านดี จะแน่นอนกว่าการดูฤกษ์ยามใดๆครับ แต่ผมก็เข้าใจและเห็นใจ บางคนไม่มีโอกาสเลือกมากหนัก ถ้าใครคิดว่า ตนเองมีบุญในเรื่องคู่น้อย

ผมอยากแนะนำให้ตั้งใจรักษาศีล ๕ อย่างเข้มงวด ทำทานด้วยความเบิกบานอย่างเข้าใจสักพัก มนุษย์เรายกระดับความมีบุญได้ในชาติเดียว เดี๋ยวถ้าบุญถึงขีด บันดาลสุขในปัจจุบันทันตาเมื่อไหร่ บุญนั้นก็จะแปรสภาพเป็นแรงดึงดูดชักนำคนดีๆที่สมกันมาหาเราเองครับ หากถือหลักความจริงนี้ก็คงเป็นคำตอบไปในตัว ว่าเราจำเป็นต้องเชื่อเกณฑ์ชะตาราศีไหม

สำหรับการหลบหลีกคู่เวรหรือคู่บาป ให้ตอบตรงไปตรงมาคือ ยากแต่เป็นไปได้ครับ คือเมื่อเจอแล้วเรามีสติ ตั้งมั่น ไม่หลงถลำไปตามแรงดึงดูดทางเพศ การหักห้ามใจได้ บวกกับการตั้งใจเป็นผู้ไม่มีเวร ให้อภัยได้ด้วยใจบริสุทธิ์แท้จริงในทุกเรื่องที่น่าขัดเคือง จะค่อยๆแยกคุณออกห่างจากเขาโดยดีในที่สุด

ที่มา  http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5368454

22171  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / สาเหตุที่เจอผี เมื่อ: มิถุนายน 16, 2010, 11:49:45 am
สาเหตุที่เจอผี


ถาม : ทำไมบางคนเขาไม่เคยเจอผีเลย บางคนเขาไม่อยากเจอก็เจอล่ะ ?

ตอบ : ถ้าไม่ใช่จิตหยาบเกินไปก็ห่วยไปเลย จิตหยาบจะรับเขาไม่ได้เลย เพราะของเขาอยู่ในภพภูมิที่ละเอียดกว่า หรือบางคนห่วยแตก เขามาเขาก็ไม่ได้อะไร ก็เลยไม่มา ส่วนใหญ่เขามาเขามักต้องการส่วนบุญส่วนกุศลจากเรา เพราะฉะนั้นคนที่เจอผีนี่มี ๒ อย่างคือ อย่างแรกมีกรรมเนื่องกันมา เขาก็เลยปรากฏเพื่อให้สงเคราะห์เขา อีกอย่างหนึ่งคือ ได้ทำบุญใหญ่ เขาอยากได้บุญเขาก็มาปรากฏให้เห็น

ถาม : ก็เหมือนกับว่ามาให้เห็นรัศมีกาย...ว่าคนนี้จะอุทิศบุญให้เขา ได้ใช่ไหมคะ ?

ตอบ : ก็ลักษณะนั้น ใครที่เจอผีไม่ต้องไปทำบุญใหม่หรอก ให้ตั้งใจว่า กุศลบารมีอะไรที่เราทำมาตั้งแต่ต้นจนถึงบัดนี้ ขออุทิศให้กับเธอ ขอให้เธอโมทนา เราจะได้รับประโยชน์ได้รับความสุขเท่าไร ขอให้เธอได้รับด้วยเท่านั้นพอแล้ว

ถาม : แล้วถ้ามาทำร้ายเราล่ะครับ ?

ตอบ : ที่มาทำร้ายนี่ส่วนใหญ่เขามาเพื่อทดสอบ กำลังใจ

ถาม : ถ้าเจอแล้วเราหมดสติทำอย่างไรคะ ?

ตอบ : อ๋อ ! อันนั้นไม่ต้องทำอย่างไร หมอเขาจัดการเอง เราหมดสติแล้วก็แล้วกัน...(หัวเราะ)... ถ้าหากว่าเป็นผีประเภทที่มาลองกำลังใจ ถ้าเรากลัวมากเขาก็ไป ถ้าหากว่าเราคิดถึงความดีได้เขาก็ไป เขาต้องการแค่นั้นแหละ คือต้องการให้เราเกาะความดีได้ แต่ถ้าเห็นเรากลัวมากเดี๋ยวมีอันเป็นไปเขาก็ไม่อยู่แล้ว

สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ เดือนตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๔๔
ที่มา  http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=1024



วิธีแก้หรือวิธีขับผี

พระอาจารย์เล็กบอกไว้ว่าไม่ต้องถึงกับขับหรือไล่เขาทีเดียว ถ้าติดต่อกับเขาได้ด้วยวิธีใดก็ตาม ให้คุยกับเขาดี ๆ ว่าเขาต้องการอะไร ถ้าเขายอมออกโดยดี ก็ชี้ทางให้เข้าถึงพระรัตนตรัย เมื่อเขาเห็นทางแล้วเขาจะออกไปเอง

อีกวิธีหนึ่ง ถ้าผีที่สิงมา โดนหมอผีผูกให้มากระทำ ให้ว่าคาถา สัม ปติจฉามิ ผีที่ผูกมาจะพ้นจากคำสั่งและเป็นอิสระทันที


ถ้าผีที่เข้าสิงดื้อมาก แนะนำอะไรก็ไม่เอาและอาละวาด ให้ว่าพระคาถา ภะ สัมสัมวิสะเทภะ พระคาถาตวาดป่าหิมพานต์ ผีจะออกทันที ช่วงตอนที่ว่าพระคาถานั้น พอจบให้ใช้ไม้พรมน้ำมนต์เคาะหัวหรือไม่ก็ถีบเลย

จากตำราพระบูรพาจารย์
ไอ้ตรงที่ถีบนี้ มันต้องคิด ๆ พิจารณาให้ดีนะครับ ถ้าผีมันสวนกลับจะทำอย่างไร 

กระผมเองพอจะมีประสบการณ์มาบ้าง แรก ๆ ก็ไล่ตลอด ไล่ให้ออกอย่างเดียว หลัง ๆ สงสัยว่าคุณผีเขาต้องการอะไรมาทำไม รู้สึกสงสาร อยู่เป็นกายทิพย์สบายแท้ ๆ มาเอาขันธ์ห้าสกปรกทำไม หลัง ๆ จึงคุยกันก่อน สนทนากันก่อน เรียกคนในบ้านมาร่วมเป็นพยานด้วย (เรียกมานั่งเป็นเพื่อน ๕๕๕๕)


สรุปโดยมากก็คุยกันรู้เรื่อง ต้องการบุญกันทั้งนั้น คุยเสร็จ แจ้งความต้องการกันเสร็จก็เชิญออกไปโดยดีครับ และที่เจอมาก ๆ ก็คือ ผีไม่ได้เข้าไม่ได้สิงอย่างที่เขาคิดกันไป คนที่มีอาการแค่คิดไปเองก็เยอะ
อาราธนา "พระและวัตถุมงคลของหลวงพ่อไปเต็มอัตราศึก ขนาดที่ว่าผีเห็นก็ออกแล้ว" พอไปดูแล้วบางคนต้องแนะนำให้พาไปหาหมอที่โรงพยาบาลก็มี คือ เป็นลมชัก กัดลิ้นตัวเอง เลือดไหล ญาติ ๆ เองก็ยังหาว่าผีเข้าอยู่ตั้งนาน .....


ที่มา http://www.watthakhanun.com/webboard/showthread.php?t=580

22172  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความรัก เมื่อ: มิถุนายน 16, 2010, 11:45:09 am
ความรัก


รักคืออะไร ?
รักคือความสดชื่น สดใส
รักคือความสุขใจ
รักคือความเข้าใจ
รักคือความห่วงใย
รักคือความปรารถนา
รักคือการได้เป็น เจ้าของ ได้ครอบครอง
รักคือความหวงแหน
รักคือความหวาดระแวง
รักคือการแย่งชิง
รักคือความแตกร้าว
นี้หรือคือความรัก ?

 

เมื่อมีรักก็น่าจะมีสุข แต่ทำไมถึงมีทุกข์ด้วย?
ทำไมมีรัก แล้วจึงมีทุกข์ ?

เพราะเมื่อรักใคร แล้ว ก็คิดอยากจะได้เขามาทำให้ตัวเป็นสุข คิดจะเอาจากผู้อื่น ทำให้เกิดปัญหาตามมาคือ ความหึงหวง ถือเอาว่าเป็นของตัว ต้องการครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ความรักอย่างนี้เรียกว่า "ความรักแบบเห็นแก่ตัว "

แล้วรักอย่างไรจึงจะ มีความสุข ?

ก็รักแบบที่อยากเห็นคนที่เรารักนั้นมีความสุข เมื่อเห็นเขามีความสุข เราก็เป็นสุขด้วย ความรักอย่างนี้ เรียกว่า "ความรักแบบเมตตา"


ก็ยังอยากจะได้เขามา ทำให้เรามีความสุขอยู่ แล้วจะทำอย่างไรดี จึงจะมีรักแท้ได้
เป็นธรรมดาอยู่แล้ว ที่เราทุกคนยังมีความรักแบบเห็นแก่ตัว

แต่ถ้าเรามีแต่ความรักแบบนั้น ก็ต้องเจอกับความร้าวฉาน และนั่นย่อมเป็นทุกข์แน่ๆ เพราะฉะนั้น เราต้องนำความรักแบบเมตตาเข้ามาเสริม เพื่อให้ความรักของเราประณีตงดงามยิ่งขึ้น ถ้าเราสามารถเปลี่ยนความรักแบบเห็นแก่ตัวให้เป็นความรักแบบเมตตาได้ มากเท่าไหร่ เราก็จะมีควาสุขกับความรักที่แท้ได้มากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ถึงตอนนี้....ลองถาม ตวเองดูซิว่า ถ้าคนที่เรารักไม่สามารถตอบสนองความสุขให้เราได้แล้วละก็ เราจะยังรักเขาอยู่หรือเปล่า ?


(สาระจาก ความรักจากวาเลนไทน์ สู่ควมเป็นไทย โดย พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต))

ความสัมพันธ์หญิงชาย ในสังคมวันนี้

สังคมของเรากำลังชัก จูงหญิงชายให้มองกันเป็น "วัตถุเสพ" หรือ "วัตถุสนองความสุข" ดังจะพบเห็นในสื่อทั่วไป จึงเกิดปัญหาอาชญากรรมและความชั่วร้ายมากมาย จนสังคมไทยทำท่าจะไปไม่รอด
เราจะปล่อยให้เป็น เช่นนั้นหรือ?

วัฒนธรรมไทย สอนให้ทุกคนมองกันเป็นญาติพี่น้อง ในความเป็นพี่น้องนี้ไม่มีหญิงมีชาย มีแต่ความรักแบบเมตตาต่อกัน ถ้าทำได้อย่างนี้ ความสงบร่มเย็นก็จะดำรงอยู่ในสังคมไทยตลอดไป
ที่ว่านี้จะเป็นจริง ได้หรือไม่?
....ขึ้นอยู่กับคุณ

ที่มา  http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=281586

22173  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เศรษฐีเท้าแมว เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 12:40:40 pm
เศรษฐีเท้าแมว
เรียบเรียงโดยสุเทโว ภิกขุ จากหนังสือ ของดีที่คนมองข้าม


    ในที่นี้จะนำเอานิทานธรรมบทมาเล่า เป็นเรื่องประกอบในเรื่องทานและเป็นการคลายเครียดไปในตัว ชื่อหัวข้อเรื่องเศรษฐีเท้าแมว ท่านผู้อ่านหลายคนคงจะคิดว่าท่านเศรษฐีมีเท้าอย่างแมว ความจริงแล้วหาได้ดป็นเช่นนั้นไม่ แต่ที่เรียกเศรษฐีเท้าแมวนั้น ขอเชิญท่านผู้อ่านหาคำตอบเองในธรรมนิทานเรื่องนี้ เรื่องนี้ปรากฏในธรรมบทภาค ๕ เกิดขึ้นในสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่

    เรื่องมีว่าอุบาสกผู้หนึ่ง ไปฟังธรรมที่วักเชตวัน ในกรุงสาวัตถี ได้ยินพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า "บุคคลบางคลให้ทานด้วยตนเองแต่ไม่ชักชวนผู้อื่น เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่โภคสมบัติ แต่ไม่ได้รับบริวารสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด


    ส่วนคนบางคนตนเองไม่ให้ทาน แต่เที่ยวชักชวนคนอื่นให้ทาน เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไป เขาก็ย่อมได้รับแต่บริวารสมบัติ แต่ไม่ได้รับโภคสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด

   ส่วนบางคนตนเองให้ทาน ทั้งยังชักชวนคนอื่นให้ให้ทานด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อเขาตายไปเขาก็ได้รับทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ ในที่ที่เขาไปเกิด"

  อุบาสกผู้นี้เป็นบัณฑิต ได้ฟังดังนั้นก็คิดจะทำบุญให้ได้รับผลครบทั้งโภคสมบัติและบริวารสมบัติ เขาจึงเข้าไปกราบทูลขอถวายภัตตาหารแด่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งหมดใน วันรุ่งขึ้น

   พระพุทธเจ้าก็รับคำอาราธนา อุบาสกนั้นจึงได้เที่ยวป่าวร้องไปตามชาวบ้านร้านตลาดทั้งหลาย ชักชวนให้บริจาคข้าวสารและของต่างๆ เพื่อนำมาประกอบอาหารถวาย ก็ได้รับสิ่งของต่างๆมากบ้างน้อยบ้างตามฐานะของผู้บริจาค อุบาสกคนนั้เที่ยวป่าวร้องไปอย่างนี้ จนมาถึงร้านค้าของท่านเศรษฐีผู้หนึ่ง ท่านเศรษฐีเกิดไม่ชอบใจที่เห็นอุบาสกนั้นเที่ยวป่าวร้องไปอย่างนั้น ท่านคิดว่า "อุบาสกคนนี้ เมื่อไม่สามารถถวายอาหารแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวกทั้งวัดเชตวันได้ ก็ควรจะถวายตามกำลังของตน ไม่ควรจะเที่ยวชักชวนคนอื่นเขาไปทั่วอย่างนี้"

   พระเหตุที่คิดอย่างนี้ แม้ท่านทำก็ทำด้วยความไม่เต็มใจ ได้หยิบของให้เพียงอย่างละนิดละหน่อย คือใช้นิ้ว ๓ นิ้วหยิบ ของนั้นจะหยิบได้สักเท่าไร เวลาให้น้ำผึ้งน้ำอ้อยก็ให้เพียงไม่กี่หยด เพราะเหตุที่ท่านมือเบามาก หยิบของให้ทานเพียงนิดหน่อย คนทั้งหลายก็เลยตั้งชื่อว่า "เศรษฐีเท้าแมว" เป็นการเปรยบเทียบความเบาของมือท่านกับความเบาของเท้าแมว
 

   อุบาสกนั้นเป็นคนฉลาด เมื่อรับของจากท่านเศรษฐีจึงได้ยกไว้ต่างหาก ไม่ได้รวมกับของที่ตนรับมาจากผู้อื่น เศรษฐีก็คิดว่า "อุบาสกนี้คงจะเอาเราไปเที่ยวประจานเป็นแน่" เมื่อคิดอย่งนี้ จึงใช้ให้คนรับใช้ติดตามไปดู คนรบใช้ได้เห็นว่าอุบาสกนั้นนำเอาของของท่านเศรษฐีไปแบ่งใส่ลงในหม้อที่หุง ต้มอาหารนั้นหม้อละนิด อย่างข้าวสารก็ใส่หม้อละเมล็ดสองเมล็ดเพื่อให้ทั่วถึง

พร้อมกับกล่าวให้พรท่านเศรษฐีด้วยว่า "ขอให้ทานของท่านเศรษฐีจงมีผลมาก" คนรับใช้ก็นำความมาบอกนาย ท่านเศรษฐีก็คิดอีกว่า " วันนี้เขายังไม่ประจานเรา พรุ่งนี้เวลานำอาหารไปถวายพระที่วัดเชตวัน เขาคงประจานเรา ถ้าเขาประจานเรา เราจะฆ่าเสีย"


ดังนั้นในวันรุ่งขึ้นท่านจึงเหน็บกริชซ่อนไว้ แล้วไปที่วัดเชตวัน ในเวลาที่อุบาสกและชาวเมืองช่วยกันอังคาสเลียงดูพระพุทธเจ้าและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อช่วยกันถวายภัตตาหารแล้ว

อุบาสกผู้นั้นได้กราบทูลพระพุทธเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เที่ยวชักชวนมหาชนให้ถวายทานนี้ ขอให้คนทั้งหลายผู้ที่ข้าพระองค์ชักชวนแล้ว บริจาคแล้ว ทั้งผู้บริจาคของมากทั้งผู้บริจาคของน้อย จงได้รับผลมากทุกคนเถิด" ท่านเศรษฐีได้ยินแล้วก็ไม่สบายใจกลัวอุบาสกจะประกาศว่า ท่านเศรษฐีให้ของเพียงหยิบมือเดียว คิดอีกว่า "ถ้าอุบาสกเอ่ยชื่อเรา เราจะแทงให้ตาย"

แต่อุบาสกนั้นกลับกราบทูลว่า "แม้ผู้ที่บริจาคของเพียงหยิบมือเดียว ทานของผู้นั้นก็จงมีผลมากเถิด" ท่านเศรษฐีได้ฟังดังนั้นก็ได้สติ คิดเสียใจว่า "เราได้คิดร้ายล่วงเกินอุบาสกนั้นอยู่ตลอดเวลา แต่อุบาสกนี้เป้นคนดีเหลือเกิน ถ้าเราไม่ขอโทษเขา เราก็เห็นจะได้รับกรรมหนัก"

คิดดังนี้แล้วจึงเข้าไปหมอบแทบเท้าของอุบาสกนั้น เล่าเรื่องให้ฟังพร้อมทั้งขอโทษ อุบาสกยกโทษให้ พระพุทธองค์ทอดพระเนตรเห็นกิริยาอาการของท่านเศรษฐีอย่างนั้นก็ตรัสถามขึ้น เมื่อทราบแล้วจึงตรัสว่า "ขึ้นชื่อว่าบุญแล้ว ใครๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่าบุญนี้เล็กน้อย ทานที่บุคคลถวายแล้วแก่ภิกษุสงฆ์อันมีพระพุทธเจ้าเป็นประธานเช่นนี้ ไม่ควรดูหมิ่นว่า บุญนี้เล็กน้อย คนที่ฉลาดทำบุญอยู่ ย่อมเต็มด้วยบุญ เหมือนหม้อน้ำที่เปิดปากไว้ ย่อมเต็มด้วยน้ำฉันนั้น"

   ในตอนท้ายพระพุทธองค์ตรัสพระคาถาว่า "บุคคลไม่ควร ดูหมิ่นบุญเล็กน้อยว่าจะไม่มาถึง แม้หม้อน้ำก็ยังเต้มด้วยหยดน้ำที่ตกลงมาฉันใด ผู้ฉลาดเมื่อสะสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ก็ย่อมเต็มด้วยบุญฉันนั้น"

  ท่านเศรษฐีได้ ฟังแล้วก็ได้ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระโสดาบัน พระธรรมเทศนาของพรผู้มีพระภาคเจ้านั้นประกอบด้วยประโยชน์เป็นอย่างยิ่ง ถ้าเราหมั่นฟังอยู่เสมอและฟังด้วยความตั้งใจ ก็ย่อมได้ปัญญาดังเศรษฐีนี้เป็นตัวอย่าง

   จากเรื่องของท่านเศรษฐีผู้นี้ ทำให้ทราบว่าการให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับโภคสมบัติ การชักชวนผู้อื่นให้ทานนั้น เป็นเหตุให้ได้รับบริวารสมบัติในที่ที่ตนไปเกิด

   เพราะฉะนั้น เมื่อใครเขาทำบุญหรือใครเขาชักชวนใครๆ ทำบุญ ก็อย่าได้ขัดขวางห้ามปรามเขา เพราะการทำเช่นนี้เป็นบาป เป็นการทำลายประโยชน์ของบุคคลถึง ๓ ฝ่าย คือ

ตนเองเกิดอกุศลจิตก่อน ๑ 
ทำลายลาภของผู้รับ ๑ 
ทำลายบุญของผู้ให้ ๑


   และจากเรื่องนี้ก็ทำให้เห็นชัดว่า สังฆทานนั้นมีผลมาก และมีอานาสงส์มาก การที่กิเลสคือความตระหนี่ได้ถูกขัดเกลาออกไป ทำให้จิตใจที่หนาอยู่ด้วยกิเลสเบาบางลงไปได้ชั่วขณะ นี่แหละ คืออานิสงส์ที่แท้จริงของบุญ ยิ่งกิเลสถูกขัดเกลาไปได้มากเท่าไร ทานของผู้นั้นก้มีอานสงส์มากเท่านั้น

ที่มา  http://www.tangboon.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539148301

22174  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมอะไรที่ทำให้ “องคุลีมาลต้องฆ่าคนถึง ๙๙๙ คน” เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 12:29:10 pm
กรรมอะไรที่ทำให้ “องคุลีมาลต้องฆ่าคนถึง ๙๙๙ คน”
บุพกรรมขององคุลีมาล โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ


                        “หลวงพ่อคะ  หนูเคยอ่านเรื่องกฎของกรรมเรื่องหนึ่ง  คือ  นายแดงเป็นคนเนรคุณพ่อแม่และเคยทุบตีพ่อแม่  พอแกมีลูกออกมาลูกก็มีอาการเหมือนกับพ่อค่ะ  คงจะเป็นกฎของกรรมของนายแดง  แต่ หนูคิดว่าลูกของนายแดงจะต้องมีบาปเหมือนกันใช่ไหมคะ....”

                        ก็ไม่ใช่บาป

                        “แล้วกฎของ กรรมจะบันดาลให้เป็นอย่างไรคะ...”

                        นายแดงเป็นคนอกตัญญูไม่รู้คุณพ่อ แม่  ตีพ่อตีแม่ นายแดงก็เป็นคนมีจิตเลว  ฉะนั้นเด็กที่จะต้องมาเกิดด้วยก็ต้องเป็นเด็กเลว ๆ มาเกิด  คือว่าเด็กที่จะมาเกิดร่วมกันส่วนใหญ่จะต้อง มีศรัทธาเสมอกัน  มีจาคะเสมอกัน  มี ปัญญาเสมอกัน  มีศีลเสมอกัน  เสมอ กับพ่อแม่  จึงจะเข้าสู่ครรภ์ตระกูลนั้นได้

                        แต่ว่าไอ้กรรมที่เป็นอกุศลย่อมให้ ผลต่างวาระ  บางทีตอนเป็นเด็ก ๆ แกดี  ตอนโตอาจเลวไปชั่วขณะหนึ่งก็ได้

                        หมายความว่า  กรรม ที่เป็นอกุศลเดิมเข้ามาสิงจิตในช่วงกลางนะ  และใน ช่วงหนึ่งของชีวิต  เขาอาจจะมีดีในตอนปลายมือก็ได้  เพราะว่าตอนต้น ๆ พ่อเลวแม่เลว  แต่ เขาอาจมีดีอยู่  เป็นเพราะช่วงของกรรมเขาเกิดมาใน ช่วงนั้น  กรรมที่เป็นอกุศลมันให้ผลไปก่อน  แต่ว่ากรรมที่เป็นกุศลคือความดีมันอาจจะมาทีหลัง

องคุลีมาล

                        “อย่าง นั้น  พระองคุลีมาลที่ต้องเป็นโจรฆ่าคนเอานิ้วมือ  ก็คงเป็นกฎของกรรมใช่ไหมคะ......”
 

                        อันนี้ก็เป็นกฎของกรรม  คือถอยหลังจากชาตินี้ไปหนึ่งชาติ  ก่อน ที่จะเกิดมาเป็นคน  ท่านเกิดเป็นควายป่า  เป็นควายแต่ว่ามีความสามารถมาก  มี ความเก่งกล้ามาก  สัตว์ในป่าทุกประเภทไม่มีใครสู้ได้ เลย  มีความว่องไว  เขาก็แหลม คม  มีกำลังดีมาก  ปะทะกันก็ แพ้หมดทุกประเภท  สัตว์ในป่าทุกประเภทเห็นท่านเดินไป ก็ยอมซูฮก

                        ทีนี้แกก็นึกในใจว่า  อ้ายสัตว์ที่อยู่ในป่าทั้งหมดเป็นลูกน้องของเราทั้งหมด  แต่อ้ายสัตว์ชาวบ้านเขาเลี้ยงมันจะเก่งแค่ไหน  เลยออกมาก็ไล่ขวิดวัวควายช้างม้าเตลิดเปิดเปิงหมด  ออกมาทีไรก็ทำแบบนั้นทุกคราว  ชาว บ้านเขาก็รำคาญ  เขาก็โกรธอ้ายควายป่าตัวนี้  ออกมาทีไรทำควายเราตายเสียบ้าง   ทำ ให้ทุพพลภาพไปบ้าง  บางทีก็เพลียไปบ้าง ใช้งานไม่ได้ตั้งหลายวัน เพราะวิ่งหนี

                        วันหนึ่งคนหมู่บ้านแถวนั้นก็มาคิด กันว่า  อ้ายควายตัวนี้ในไม่ช้ามันก็มาอีก  ถ้ามาทีนี้จะต้องฆ่าให้ตาย  คน ทั้งหมดมันมีพันคนเศษ  ก็ทำคอกให้แน่นหนาไว้  แล้วก็ทำเป็นซองคล้าย ๆ โป๊ะ  รู้จัก โป๊ะไหม

                        “ไม่รู้จักค่ะ”

                        เหมือนอย่งกับโป๊ะปลาทำปากกว้าง ๆ ซองแคบ  ข้างในเขาทำแน่นหนา  ถ้า วิ่งเข้ามา  พอถึงซองแคบตัวก็จะติด  เข้า ถึงคอกไม่ได้  เขาก็เอาควายไปไว้ในนั้น

                        ทีนี้ควายป่าตัวนั้นก็ออกเบิ่ง หน้าเบิ่งหลังซิ  ควายอื่นเห็นก็วิ่งหนีหมด  อ้ายควายคอกไม่หนี  หนีไปไหนล่ะ ใช่ไหม  แกก็โมโห   อ้ายนี่ มันหยิ่งนี่ ไม่กลัว  กูต้องจัดการ  วิ่ง ไปวิ่งมา มองหาทางเข้า  อ้อ..ไอ้ทางปากช่องเข้าได้  พอถึงที่แคบ  ตัววิ่งมาแรง  กระแทกเข้าไปก็ติด ขยับตัวไม่ได้  เขา ก็เสียบไม้  กันออก

                        ทีนี้ก็เอาซิ  เข่า เข้าไป  ศอกเข้าไป  แต่วาคน พันคน ไม่ได้ทุบทั้งพันคนนะ   พวกผู้หญิงพวกผู้ชาย ไม่ได้ลงมือตีทั้งหมด  แต่ว่าพร้อมใจตีให้ตาย  พอตีลงไปแล้ว  ก่อนจะสิ้นใจตายแก ก็ลืมตาดู  ไอ้พวกนี้มันมาก  กู คนเดียว มึงรุมฆ่ากู  ถ้าชาติหน้ามีจริงก็ขอฆ่ามึง บ้าง  นี่เป็นเวรที่จองกันไว้

                        พอเกิดมาอีกชาติหนึ่ง  พ่อตั้งชื่อให้ว่า  อหิงสกกุมาร  แปลว่ากุมารผู้ไม่เบียดเบียน  พอ เกิดมาแล้ว สติปัญญาดี  จริยามรรยาทก็ดี  ความจริงท่านเป็นคนดีมาก  พอโต ขึ้นมาหน่อย  พ่อก็พามาเฝ้าประเจ้าปเสนทิโกศล


กรรมเก่า เข้ามาสนอง

                        ทีนี้เวลา ไปเรียนศิลปวิทยา  เพราะความดีของท่าน  เขาเรียนกัน 4 ปี ท่านเรียน 2 ปี จบหลักสูตรทั้งหมด  ทั้งฝ่ายบู๊ ฝ่ายบุ๋น  ทั้งเพลงอาวุธด้วย  เมื่อลูกศิษย์คนอื่น ๆ สู้ไม่ได้ อาจารย์ก็ให้เป็นครูสอนแทน  ทีนี้ไอ้เพื่อนที่ไปด้วย กันมันอิจฉา  มาด้วยกันเสือกมาเป็นครู  ตอนนี้กรรมเก่าเข้ามาสนอง  ก็หาทางจะฆ่า  เลยไปยุอาจารย์  บอกว่าอหิงสก กุมารมันคิดจะตั้งตัวเป็นอาจารย์เสียเอง  มันจะฆ่า ท่านอาจารย์

                        ไอ้ลมพายุมันพัดแล้วก็ไป  แต่ไอ้ลมปากคนมันพัดบ่อย ๆ ก็ชักไหวเหมือนกัน  ตอนหลังท่านอาจารย์ก็เชื่อ  ก็คิด ในใจว่า  ถ้าเราจะฆ่าเสียเองมันจะเสียชื่อ  ทางที่ดีให้คนอื่นเขาฆ่าดีกว่า

                        วันหนึ่งจึงเรียกอหิงสกกุมารเข้า ไปถามว่า  เวลานี้เจ้าเก่งมากทั้งวิชาฝ่ายบู๊ และฝ่ายบุ๋นทั้งหมด  แม้ในการรบก็เก่ง  แต่ทว่าวิชาของอาจารย์ยังมีอีกหน่อย เขาเรียกว่า วิษณุมนต์  ถ้าหากใครเรียนได้จะปราบได้ทั่วไตรภพ  มนุษย์ก็ปราบได้ เทวดาก็ปราบได้  พรหมก็ปราบ ได้  ทีนี้คนเป็นวัยรุ่นและก็เก่งอยู่แล้วก็อยากเก่ง ต่อไป  ก็อยากเรียน อาจารย์ก็เลยบอกว่า

                        คนอื่นเรียนไม่ได้แต่อย่างเธอนี่ เรียนได้แน่  จะให้ได้คนเดียว  แต่ ก่อนที่จะเรียนต้องยกครูเสียก่อน  แต่ว่าการยกครูนี่ ไม่ใช้ของ  แต่ต้องฆ่าคนให้ได้หนึ่งพันคน  ถ้าฆ่าคนได้หนี่งพันคนละก็  เธอ จึงจะเรียนได้  ท่านก็เลยตกลงยกครูโดยการไล่ฆ่าคน  ทีนี้คนที่แกจะฆ่าได้ง่าย ๆ ก็แค่ 2-3 คนแรกเท่านั้นแหละ  ตอนหลังเขารู้ข่าวว่าอีตาคนนี้ ไล่ฆ่าคน  ใครเขาฟังข่าวก็ไม่อยากจะเห็นแก  เห็นเข้าเขาจำรูปร่างได้เขาก็หนี  กว่า จะไล่ฆ่าได้ก็แย่
 

                        ทีนี้ฆ่าไปฆ่าไป   ลืมนับจำนวน  หนัก ๆ เข้าก็ลืม  ไม่รู้เท่าไร  ทีหลังก็เริ่มต้น ใหม่  ฆ่าได้หนึ่งคนตัดเอานิ้วไว้หนึ่งนิ้ว  ตอนนี้จึงมีนามว่า องคุลีมาลโจร  แปล ว่า โจรผู้ฆ่าคนเอานิ้วมือ  ฆ่าไปจนได้ 999 นิ้ว  นี่ถ้านับจริง ๆ มันเกิน 1,000  แล้วนะ  ใช่ไหม อีตอนที่ไม่ได้เอานิ้วไว้ไม่รู้เท่าไร   แต่ว่าคู่ ปรับยังมีอีกคนเดียว ถ้าได้อีกนิ้วเดียวก็ครบคู่ปรับพอดี  และ คู่ปรับที่จะต้องฆ่าก็คือแม่  แต่ความจริงท่านไม่ได้ ตั้งใจจะฆ่าแม่  แต่ว่ามันเหลืออีกนิ้วเดียว  แต่ละนิ้วก็หาได้ยาก    วันพรุ่ง นี้จะเข้าไปกรุงพาราณสี  จะเป็นใครก็ตามที  ถ้าเห็นต้องฆ่า

                        ทีนี้คืนนั้น   แม่ ได้ยินข่าวว่าลูกชายจะมาอยู่ใกล้  ก็ตั้งใจว่าพรุ่ง นี้เช้าจะไปเยี่ยมลูก  จะไปห้าม  ถ้า แม่ไปก็ถูกฆ่า เพราะว่าเป็นคู่ปรับเดิม  สมเด็จพระ สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรวจอุปนิสัยของสัตว์ตอนเช้ามืด  ทรง ทราบว่า ถ้าอหิงสกกุมารฆ่าแม่  จัดเป็นอนันตริยกรรม  มรรคผลจะไม่ได้เลย  ท่านทรงมีพระ มหากรุณาธิคุณ  ต้องการให้คนที่จะดีก็ขอให้ดีต่อไป ไม่ให้ความชั่วเข้ามาทับถม  ท่านจึงเสด็จไปก่อน  ไปก่อนแม่

                        อหิงสกกุมารเห็นพระพุทธเจ้านึกว่า หวานแล้ว  อีตานี่เดินนวยนาด สวย หล่อ ลีลาดีหม่ำสบายละ  แกก็วิ่งกวดเลย  พระ พุทธเจ้าทรงเดินเฉย ๆ  ท่านทำให้แผ่นดินสูง ๆ ต่ำ ๆ สูง ๆ แกก็วิ่งไม่ถนัด  แกเห็นแกก็กวดไม่ทัน  แกก็ร้องบอก  เอ้า...สมณะหยุดก่อน  พระพุทธเจ้าบอกตถาคตหยุดแล้ว  แล้ว ท่านก็เดินต่อไป  แกก็วิ่งไม่ทัน  พอ เหนื่อยเข้าก็ร้องบอก  ไง...สมณะทำไมพูดมุสาวาท  ท่านบอกว่าท่านหยุดแต่ท่านยังเดินอยู่

                        พระพุทธเจ้าก็ทรงหยุดหันมาบอกอหิ งสกกุมาร  ตถาคตหยุดจากบาปกรรมธรรมอันลามกมานานแล้ว นะ  เธอน่ะยังไม่หยุดอีกรึ  เพราะ กรรมที่เป็นกุศลเดิมให้ผลก็รู้สึกตัวทันที  วางดาบ  วางพวงนิ้วมือแล้วก็นุ่งผ้าให้เรียบร้อย  ทำผมให้เรียบ  วิ่งเข้าไปกราบพระพุทธเจ้า  ท่านก็ทรงให้โอวาทนิดหนึ่ง  ท่าน ก็ขอบวช  ท่านก็ให้บวช  บวช แล้วก็ได้เป็นอรหันต์

                        นี่เรื่องนี้บางคนสงสัยว่า  ทำไมองคุลีมาลฆ่าคนเหยง ๆ แต่ไปเป็นพระอรหันต์  ก็ท่านทำบุญไว้ดีน่ะซิ  แต่ไอ้บุญ ประเภทนี้เราก็ไม่อยากทำนะ


(จาก หนังสือธรรมสัญจร เล่มที่ 4)
ที่มาhttp://www.kaskaew.com/index.asp?contentID=10000004&title=%BA%D8%BE%A1%C3%C3%C1%A2%CD%A7%CD%A7%A4%D8%C5%D5%C1%D2%C5&getarticle=34&keyword=&catid=3


22175  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พุทธศาสนาในหน้าเดียว (จะแนะนำให้รู้จักพุทธศาสนาได้อย่างไร) เมื่อ: มิถุนายน 13, 2010, 12:17:35 pm
พุทธศาสนาในหน้าเดียว (จะแนะนำให้รู้จักพุทธศาสนาได้อย่างไร)
จากใจ บ.ก. ใกล้ตัว - ฉบับที่ ๙๖


มักมีคนขอผมว่าช่วยหน่อย
อยากให้ญาติเชื้อเข้าใจพุทธศาสนาได้ ง่ายๆเร็วๆ
จะพูดอย่างไรดี
ผมจึงคิดเขียนพุทธศาสนาในหน้าเดียว ขึ้นมา
ความหมายคือ แนะนำให้คนที่ยังไม่รู้จักพุทธศาสนา
ได้รู้จักและเข้าใจพุทธศาสนา
ด้วยหน้า "จากใจ บ.ก. ใกล้ตัว" ฉบับเดียว
(ถ้าเอาไปพิมพ์เป็นกระดาษ A4 คงหลายหน้า
แต่หากอ่านเอาจากเว็บ อย่างไรก็ต้องเป็นหนึ่งหน้าเท่านั้น)

เพื่อทราบว่าศาสนาหนึ่งๆจะพาคุณไป ได้ถึงไหน
ก็จำเป็นต้องทราบว่าศาสดาผู้ก่อตั้ง ศาสนานั้นๆปรารถนาสิ่งใด
ตลอดจนได้อะไรมาแล้วบ้าง
หากคุณเข้าใจ และเห็นโลกแบบที่พวกท่านเห็น
ตลอดจนได้อะไรในแบบที่พวกท่านได้มา
ก็เป็นอันจบ เนื่องจากทั้งหมดของศาสนา
ก็ไหลมาจากมุมมองและสิ่งที่พระศาสดา ได้มานั่นเอง

ในมุมมองของศาสดาเช่นพระพุทธเจ้า
เมื่อถามว่าชีวิตคืออะไร
พระองค์ท่านไม่ได้มองตอนคนเรามี ชีวิตปกติ
แต่ท่านทรงเห็นด้วยตาเปล่าครอบคลุม ตลอดสายว่า...

ทุกการเกิดฟ้องตัวเองว่าเป็นทุกข์
เพราะเด็กในโลกนี้เกิดมาพร้อมกับ เสียงร้องไห้ ไม่ใช่เสียงหัวเราะ
สภาพปรากฏใหม่แห่งกาย
นำมาซึ่งการเรียกร้องจากคนอื่นต่างๆ นานา
ทั้งการประคบประหงม การเฝ้าดูแลไม่คลาดสายตา
การเกิดมาของเด็กคนหนึ่ง
อาจเป็นความสมหวังหรือผิดหวังให้กับ คนอื่น
แต่สำหรับตัวเด็กเอง วันแรกของพวกเขา
เป็นการมาพร้อมกับความไม่รู้ว่ามา ทำไม

พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นอีกว่าหลัง จากใช้ชีวิตไป
ไม่ว่าเสพสุข ประสบความสำเร็จ หรือได้อะไรมาครอง
แม้ชีวิตปรากฏเป็นความรุ่งเรืองสุก สว่างปานไหน
ที่สุดแล้ว กายอันเป็นที่ตั้งแห่งชีวิต
ย่อมเสื่อมสภาพลงเป็นธรรมดา
ทุกความแก่ชราฟ้องตัวเองว่าเป็น ทุกข์
เพราะไม่มีคนแก่ที่ไหนชอบสภาพเหี่ยว ย่นแห่งสังขารตน
สภาพเหี่ยวย่นทางกายนำมาซึ่งความห่อ เหี่ยวทางใจ
ไม่มีกำลังวังชา ไม่อยากเคลื่อนไหว
ถึงเวลาหนึ่งอาจจับอะไรมาถือไม่ถนัด เลยสักชิ้นเดียว
แม้ใจจะรู้สึกว่าตนได้ครอบครอง สมบัติเป็นล้านชิ้นอยู่ก็ตาม

พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นอีกว่า ระหว่างเส้นทางความเสื่อมลง
นับตั้งแต่เกิดมา ไม่ว่าจะกี่เดือนกี่ปี
ทุกคนเสี่ยงต่อการเจ็บไข้ได้ป่วย
และไม่อาจหลีกเลี่ยงการเจ็บไข้ได้ ป่วย
เจ็บป่วยเพราะสภาพแวดล้อมไม่ดี ดูแลตัวเองไม่พอ
หรือกระทั่งจู่ๆร่างกายทรยศขึ้นมา เองแบบไม่มีปี่มีขลุ่ย
ทุกความเจ็บไข้ได้ป่วยฟ้องตัวเองว่า เป็นทุกข์
เพราะไม่มีคนป่วยที่ไหนอยากทนอยู่ กับสภาพเจ็บป่วย
สภาพเร่าร้อนกระสับกระส่ายทางกาย เป็นเรื่องน่าทรมานใจ
ทั้งโลกนี้มีแต่คนอยากหายป่วย ไม่มีใครอยากป่วยเล่นสนุกๆ
เมื่อกายเจ็บป่วยอึดอัด โลกทั้งใบย่อมน่าอึดอัดไปด้วย
แม้คนป่วยกำลังถือครองเกาะกลางทะเล
อันกว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตา ปลอดโปร่งโล่งสบายอยู่ก็ตาม

พระพุทธเจ้าทรงเล็งเห็นอีกว่าสุด ท้ายแล้ว
ไม่ว่าใครจะคิดว่าตัวเอง "มี" แค่ไหน
ในบั้นปลายก็พบความจริงว่าแต่ละคน "ไม่เคยมี" อะไรเลย
เพราะแม้กระทั่งร่างกายและจิตใจที่ ยึดว่าเป็นตน
เป็นของตนอย่างที่สุด ก็ต้องถึงกาลแตกสลาย
ไม่มีใครรอดพ้นจากความตายไปได้
ทุกความตายฟ้องตัวเองว่าเป็นทุกข์
เพราะการตายเป็นจุดสิ้นสุดของการ ครอบครองชีวิต
และเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่รู้ ครั้งสำคัญ
นั่นคือไม่รู้ว่าจะต้องไปมีทุกข์กับ การเกิดในรูปแบบใดอีก
ไม่รู้บาปเวรที่ก่อร่างสร้างมาทั้ง ชีวิต
จะออกหัวออกก้อยอย่างไรแน่
ตายแล้วสูญ หรือตายแล้วจะต้องไปรับกรรม ไม่รู้ทั้งนั้นเลย
สภาพการแตกดับทางกายเป็นเรื่องร้อน
ไม่เป็นที่น่ายินดีแก่ผู้รู้สึกว่า ฉันมีดี ข้ามีมาก
และไม่เป็นที่น่ายินดีแก่คนข้างหลัง ที่ยังรักกัน
หวังจะให้บุคคลอันเป็นที่รักอยู่กับ ตนตลอดไป
ด้วยเหตุนี้ ความตายของคนส่วนใหญ่
จึงบันดาลเสียงร้องไห้จากบุคคลอัน เป็นที่รัก
ให้ดังกระหึ่มยิ่งกว่าตอนเกิดคน เดียว ร้องคนเดียวมากนัก

สรุปคือพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดา คนหนึ่ง
แต่มองต่างจากคนธรรมดา
ท่านไม่ตัดสินว่ามีชีวิตแล้วเป็นสุข ได้แค่ไหน
ควรเอาสาระอันเป็นสุขจากชีวิตนี้กัน อย่างไร
ทว่าท่านเล็งเห็นว่ากายใจอันเกิด แก่ เจ็บ ตายได้นี้
เป็นที่ตั้งของทุกข์
และระหว่างแห่งการตั้งอยู่ของก้อน ทุกข์
ใจก็ถูกหลอกให้รู้สึกว่าเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง
ต่อเมื่อถูกกระตุ้นเตือนให้นึกถึง ภาพใหญ่ภาพรวม
ว่าชีวิตเริ่มต้นเป็นทุกข์ และมีจุดจบอันเป็นทุกข์
ภาพหลอกระหว่างการมีชีวิตทั้งหมดจึง ไร้ความหมาย
เหลือแต่ความจริงให้ยอมรับกับโจทย์ สำคัญให้ตีแตก

นั่นคือ เมื่อยอมจำนนสรุปว่ากายใจโดยรวมเป็นทุกข์
แล้วทำอย่างไรดี จึงรู้ได้ว่าเหตุแห่งการมีกายใจคืออะไร
ทำอย่างไรดี จะไม่ต้องเป็นทุกข์ทางใจอย่างถาวร
ทำอย่างไรดี จะแน่ใจว่าไม่ต้องเกิดมาเพื่อรอวันแตกดับอีก

เพื่อจะรู้ที่มาที่ไปของกายใจ
ไม่มีอะไรดีไปกว่าทำความรู้จักกับ กายใจอันปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้
พระองค์เริ่มทำความรู้จัก
รับรู้ถึงการปรากฏของลมหายใจอย่าง ตรงไปตรงมา
เฝ้ารู้อยู่จนกระทั่งลมหายใจสงบ กายใจระงับความกวัดแกว่ง
กายใจปรากฏแสดงตัวต่อจิตที่แน่วนิ่ง สว่างรู้
พระองค์จึงเห็นว่ากายใจนี้ของท่าน
ได้สร้างเหตุการณ์อันเป็นบุญเป็น บาปอย่างไรไว้บ้าง
ย้อนไปจนถึงก่อนเกิดกรรมปัจจุบัน เมื่อครั้งยังแบเบาะ
และย้อนลึกลงไปได้อีกว่าก่อนแบเบาะ
มีอดีตกรรมเป็นเหตุอันสมควรอย่างไร จึงได้อัตภาพนี้มา

เมื่อทำความรู้จักกับชีวิตของตนเอง ว่ามี "ที่มา" อย่างไร
พระองค์ก็เล็งดูด้วยจิตที่แน่วนิ่ง สว่างรู้สูงขึ้นอีกชั้น
ว่าสัตว์ทั้งหลายมี "ที่ไป" อย่างไร ด้วยกรรมที่ทำๆอยู่
ท่านจึงทราบว่าสัตว์โลกย่อมเป็นไป ตามกรรม
เพราะ คิดดี พูดดี ทำดีเป็นหลัก
จึงสะสมบุญไว้สว่างพอจะนำไปสู่แดน เกิดเป็นอันเป็นสุคติ
มีมนุษยโลกและเทวโลกเป็นอาทิ
และเพราะคิดร้าย พูดร้าย ทำร้ายเป็นหลัก
จึงสะสมบาปไว้มืดพอจะนำไปสู่แดนเกิด อันเป็นทุคติ
มีโลกนรก โลกเดรัจฉาน และโลกเปรตเป็นที่สุด

แต่แม้การได้ไปเกิดในที่ดี ก็ไม่เป็นประกันความปลอดภัย
เพราะภพหรือสภาวะดีๆ แม้วิเศษแค่ไหน ก็มีอายุขัยจำกัด
หมดจากความเป็นเช่นนั้นแล้วก็ยังไป สู่ความเป็นอื่นได้

พระองค์ทรงพบด้วยพระญาณอันแจ่ม กระจ่างว่า
สัตว์ทั้งหลายก่อบุญก่อบาป
ก็ด้วยความไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ไม่มีใครเชื่อว่าบุญมีผล บาปมีผล
สักแต่เชื่อกันว่าควรทำอะไรเพื่อให้ ได้สิ่งที่ชอบใจเฉพาะหน้า
ความไม่รู้จึงเป็นสิ่งน่ากลัว
และยิ่งมองไม่เห็นภาพกว้างว่ากายใจ นี้
ต้องแตกดับไปสู่ความเป็นอื่น
ก็ยิ่งถือมั่นว่าเป็นของเรา เป็นตัวเราเรื่อยไป

กายใจในอดีตเคยมีอยู่ ก็ทึกทักว่านั่นเท่านั้นที่เป็นเรา
กายใจในอดีตแตกดับไป กลายมาเป็นกายใจปัจจุบัน
ก็ทึกทักใหม่ว่านี่เท่านั้นที่เป็น เรา
จึงวนติดเวียนตายอยู่กับความไม่รู้
ครั้งต่อครั้ง ชาติต่อชาติอยู่อย่างนี้เอง

กายใจนับเป็นเหยื่อล่อให้หลงยึดมั่น สำคัญผิด
ถ้าทำลายความสำคัญผิดในกายใจลงได้
ความยึดมั่นจะหายไป แล้วใจก็เป็นอิสระ
รู้จักรสอันเยี่ยมคือพระนิพพาน
เข้าถึงความเป็นอมตะคือพระนิพพาน
และทราบชัดว่าเหนือการเกิดตายมีจริง หนึ่งเดียวคือพระนิพพาน

แนวทางสำหรับพระองค์เอง
จบบริบูรณ์เมื่อจิตปล่อยการถือมั่น กายใจถึงที่สุด
พระองค์ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิ ญาณ
เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หมดกิเลสด้วยองค์เอง
แต่หน้าที่เผื่อแผ่ประโยชน์สูงสุด ยังไม่จบแค่นั้น
เพราะอัตภาพสุดท้ายของพระองค์
บันดาลขึ้นจากกรรมเก่า
ที่ปรารถนารื้อถอนสัตว์ออกจากวังวน ทุกข์
พระองค์จึงต้องยอมเหนื่อยยากสถาปนา พระพุทธศาสนา
เพื่อประกาศความจริงแก่มนุษย์และ เทวดา
ว่ากายใจไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพใดสภาพหนึ่งไม่ได้
นั่นก็เพราะกายใจไม่ใช่ตัวตน
แล้วก็ไม่มีตัวตนให้หวังรอในที่ไหนๆ ด้วย


เพื่อให้สัตว์ผู้ควรแก่การโปรด
ได้สลัดหลุดจากความยึดมั่นถือมั่น ผิดๆ
พระพุทธเจ้าให้วิธีปฏิบัติอย่างเป็น ขั้นเป็นตอน
เริ่มจากให้เรียนรู้เกี่ยวกับกรรม และผลของกรรม
เพื่อให้รู้ความจริงว่า ชาตินี้ไม่ได้มีชาติเดียว แต่มีเป็นอนันตชาติ
และที่ต้องเกิดตายเป็นอนันตชาติ
ก็เป็นไปตามกรรมของแต่ละคนทั้งสิ้น
ไม่ได้มีใครคอยกลั่นแกล้งใครอยู่เลย
แล้วก็ไม่มีใครช่วยใครได้ด้วย อย่างมากที่สุดคือบอกต่อ
หรือเป็นแรงบันดาลใจให้แก่กันและกัน เท่านั้น

พระองค์ชี้ให้เห็นว่าเทวโลกและพรหม โลกเป็นสุข ควรไป
แต่ไม่ควรเห็นว่าดีที่สุด
เพราะสุขยังไม่ทันอิ่มหนำ ก็อาจเป็นเหยื่อของมัจจุราชเสียก่อน
ไม่ต่างจากมนุษย์ทั้งหลาย
ดังนั้น ที่ควรเข้าให้ถึงกันถ้วนหน้า คือพระนิพพาน
เพราะเป็นของจริงแท้ มีอยู่คือมีอยู่อย่างนั้น ไม่แปรเป็นอื่น
ไม่ต้องตกอยู่ภายใต้อุ้งหัตถ์ มัจจุราชอีกต่อไป

วิธีเข้าถึงพระนิพพานคือทำจิตให้คู่ ควรกับพระนิพพาน
นั่นคือหัดสละออกเสียบ้าง
ถ้ายังยึดมั่นหวงแหนตระหนี่ถี่ เหนียว
ย่อมสวนทางพระนิพพานอย่างไม่ต้อง สงสัย

และเมื่อหัดมีน้ำใจ สละออกได้
ก็ควรรักษาศีลให้สะอาด
เพราะศีลย่อมรักษาใจให้สะอาดตาม
พร้อมจะตั้งมั่นเห็นตามจริง
ไม่ใช่เห็นตามที่กิเลสหลอกให้เห็น

ที่สุด เมื่อใจสะอาด พร้อมตั้งมั่นรู้เห็นตามจริง
จึงควรแก่การเจริญสติ เห็นสิ่งที่กำลังปรากฏเด่นในกายใจ
เช่น ลมหายใจกำลังแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้
อิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน กำลังแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้
ท่าทางขยับต่างๆ กำลังแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้
ทั้งกายนี้แออัดยัดทะนานด้วยความ เน่าเหม็นไม่น่าใคร่
ทั้งกายนี้ประกอบด้วยของแข็ง ของเหลว ความร้อน และลมพัดไหว
ทั้งกายนี้จะต้องเน่าเปื่อยผุพัง ย่อยสลายกลายเป็นความว่างเปล่า
หาใช่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เราเขาอยู่ในกายนี้เลย

นอกจากนี้
ความสบายและความอึดอัด กำลังแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้
สภาพจิตใจสงบและฟุ้งซ่าน กำลังแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้
ภาวะอะไรๆทั้งหลายที่หยาบและละเอียด ทั้งหมดในกายใจ
ต่างก็แข่งกันแสดงความไม่เที่ยง ทนอยู่กับที่ไม่ได้ทุกขณะจิต
เมื่อดูอยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
จิตจึงหลุดพ้น หมดความยึดมั่นสำคัญผิด
แทนที่ด้วยปัญญา เข้าใจถูกต้องว่าไม่มีสิ่งใดเป็นตัวเป็นตนให้ถือมั่นได้

นี่แหละครับ แก่นแท้อันเป็นจุดใหญ่ใจความของพระพุทธศาสนา
เมื่อย่นย่อลงเหลือเพียงหน้าเดียว ก็มีประมาณนี้แหละ
จะเห็นว่าพระพุทธศาสนาไม่ได้มีขึ้น
เพียงเพื่อบอกว่านรกสวรรค์มีหรือไม่ มี ชาตินี้ชาติหน้ามีหรือไม่มี
กับทั้งไม่ได้สั่งให้ปล่อยวางดื้อๆ
แต่พระพุทธศาสนาอุบัติขึ้น
เพื่อแจกแจงอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีที่มาที่ไป
ควรแก่การสดับฟัง เพื่อไม่ต้องพลาดประโยชน์ใหญ่แก่ตนเอง

คุณทำความรู้จักพระพุทธศาสนาได้ใน หน้าเดียว
ทว่าอาจต้องใช้ทั้งชีวิตนี้
ทำความรู้จักกับความจริง ที่พระพุทธศาสนาชี้บอก

แต่ละคนมีความสามารถในการยอมรับไม่ เท่ากัน
ทุกคนมีเวลาชาติหนึ่งในการเห็นความ ปรวนแปร
แต่ไม่ทุกคนที่ใช้เวลาชาติเดียว ในการยอมรับความแปรปรวน

จะอย่างไรก็ดีใจเถิดที่เป็นพุทธ
เพราะถ้าไม่เป็นพุทธ
โอกาสรอดจากทุกข์จริงก็ปิดตายชั่วนิ รันดร์

 

ดังตฤณ
มิถุนายน ๕๓
จาก: "ธรรมะ ใกล้ตัว" dharma.at.hand@gmail.com



22176  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.? เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 10:16:47 am
พุทธประวัติ มีความจริงเพียงไร.?


พุทธประวัติ  คือพระประวัติของพระพุทธเจ้า
มีความจริงตามที่ท่านแสดงไว้ในที่นั้นๆ  เป็นความจริงเช่นเดียวกับประวัติบุคคลในอดีต เหล่าอื่น แต่แปลกที่เรื่องคนอื่นๆ  ในอดีตไม่ค่อย มีใครสงสัย ความมีอยู่ของท่านเหล่านั้น ในฐานะของคน ๆ หนึ่งที่เกิดขึ้น ดำรงอยู่  ดับไปในอดีต แต่พระประวัติของพระพุทธเจ้ามีหลักฐานยืนยันในด้านต่างๆ  มากมาย คนกลับสงสัยตั้งแง่ต่างๆ  ขึ้นมา จนถึงกลับคนบางพวกมีความเข้าใจและเผยแพร่ความเห็นของตนออกไปว่า พระพุทธเจ้าเป็นเพียงบุคคลในจินตนาการเท่านั้น หาได้มีตัวตนอยู่จริงไม่     ทำไมจึงได้มีความคิดเห็นน่ารักน่าเอ็นดูอย่างนี้ก็ไม่รู้ แปลกจริง

เรื่องราวที่เป็นพระประวัติของพระ พุทธเจ้านั้น ผู้ศึกษาหากต้องการจะพิสูจน์ว่า พระองค์เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์จริงหรือไม่แล้ว เราจะต้องศึกษาใน ๓ ด้านด้วยกัน  คือ

ความเป็นจริงในด้านประวัติศาสตร์  ในเรื่องนี้เรามีหลักฐานด้านโบราณคดี  วรรณกรรม  ภูมิศาสตร์  ที่สามารถทำลายความสงสัยได้เป็นอย่างดี ยิ่งบุคคลเหล่านั้นได้ไปให้ถึงดินแดนอันเป็นพุทธภูมิด้วยแล้ว จะไม่ติดใจสงสัยเลยว่า เจ้าชายสิทธัตถะ โอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา  แห่งกรุงกบิลพัสดุ์  ได้เสด็จออกผนวชจากราชตระกูลศากยะ บำเพ็ญเพียรจนตรัสรู้ ประดิษฐานพระพุทธศาสนา จนมีคนเคารพนับถือสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันนั้น เป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริงในประวัติศาสตร์หรือไม่ 

เช่นเดียวกับนักศึกษาประวัติศาสตร์ ปรัชญา  เชื่อในความมีอยู่ของ เธเลส อันเป็นปรัชญาเมธีของกรีกในยุคก่อนและยุคใกล้เคียงกับพระพุทธเจ้า ยอมรับถึงความมีอยู่ของ พระนางคลีโอพัตรา  ของ อียิปต์ เล่าจื้อ  ขงจื้อ เม่งจื้อ อันเป็นปรัชญาเมธีของจีน ตลอดถึงคนสำคัญอื่นๆ  ใน อดีตพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลที่เคยเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และดับไปในอดีตเช่นเดียวกับคนอื่นๆ  นั้นเอง  ไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องนี้

ความจริงในด้านปาฎิหาริย์  อันเป็นพระคุณสมบัติที่ทรงขจัดสิ่งที่เป็น ปฏิปักษ์ออกไปได้ คือ การที่ทรงขจัดกิเลสและบาปธรรมทั้งปวงได้ จนทำให้ทรงประกอบด้วยปาฏิหาริย์หรือความอัศจรรย์ ๓ ประการ  คือ

๑.อิทธิปาฏิหาริย์  ทรงประกอบด้วยฤทธิ์  คือ ความสำเร็จอย่างอัศจรรย์  บางอย่างเกินกว่าวิสัยของ สามัญชนแต่เมื่อบุคคลได้ศึกษาให้ทราบถึงความหมายและเหตุแห่งฤทธิ์แล้ว  สามารถปรับความเข้าใจในรูปของการเปรียบเทียบกับความสำเร็จ ทางกายของ นักกายกรรม  ยิมนาสติก  ผู้ฝึกมาอย่างดีแล้วก็จะพบว่า คนเหล่านั้นมีความสำเร็จที่เกินวิสัยของสามัญชน เหมือนกัน เรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ในพระพุทธศาสนาไม่ว่าจะเป็นเรื่องของพระพุทธเจ้าหรือ พระสาวก เป็นคุณสมบัติเฉพาะของท่านที่ฝึกจิตมาดีแล้ว เช่นเดียวกับพวกกายกรรม ที่ฝึกมาในเรื่องนั้นๆ มาดีแล้วฉะนั้น

๒.อาเทสนาปาฏิหาริย์  เป็นผลของ เจโตปริยญาณ อันผ่านการฝึกอบรมทางจิตมาตามลำดับ  ทำให้พระ พุทธเจ้าทรงรู้ใจ  ทายใจ เข้าใจคนอื่นได้ในแง่มุมต่างๆ   อันเป็นอุปกรณ์ สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระองค์ทรงแสดงธรรมให้คนต่างๆเข้าใจได้  ตามพื้นฐานความรู้ของเขาเหล่านั้น ที่ทรงรู้ด้วยอาเทสนาปาฏิหาริย์

๓.อนุสาสนีปาฏิหาริย์  ทรงมีพระธรรมคำสั่งสอนเป็นอัศจรรย์ คือ ข้อใดที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นโทษ ก็คงเป็นโทษตลอดไป  ข้อ ใดที่ทรงแสดงไว้ว่าเป็นคุณ ก็คงเป็นคุณตลอดไป  เมื่อ คนนำมาปฏิบัติแล้วจะอำนวยผลให้ตามสมควรแก่การประพฤติปฏิบัติ  พระธรรมคำสอนของพระองค์  จึงสามารถ พิสูจน์ตัวเองได้ทุกเวลาทั้งในอดีตกาล ปัจจุบันกาล และอนาคตกาล


แต่ข้อที่ไม่ควรลืมประการหนึ่ง คือการเรียบเรียงเรื่องราวของบุคคลในประวัติศาสตร์นั้น"ความบันดาลใจ ประทับใจ ของผุ้เรียบเรียง มีบทบาทร่วมอยู่ด้วย"คือผู้เรียบเรียงมีความประทับใจ เลื่อมใส จนเกิดเป็นจินตนาการการเห็นเป็นเช่นนั้นจริงๆ  จึงได้เรียบเรียงไว้เช่นนั้น แม้ว่าพระประวัติของพระพุทธเจ้า ผู้เรียบเรียงจะอยู่ในฐานะของ สุตกวี  คือแต่งโดยได้ยินได้ฟัง ได้ศึกษามา และ อรรถกวี  แต่งโดยเนื้อหาความจริงเป็นหลักก็ตาม

แต่มีบางเรื่องบางตอนที่เกิดขึ้นจากแรงบัลดาลใจ อันอาศัยศรัทธาปสาทะแต่งออกมาในฐานะของ จินตกวี และ ปฏิภาณกวี คือ แต่งโดยปฏิภาณของตนปะปนอยู่บ้างเป็นธรรมดา แต่ผู้ศึกษาต้องยอมรับว่า นั้นเป็นความจริงตามแรงบัลดาลใจของกวี ซึ่งจะต้องยอมรับในฐานะนั้นๆ  ในกรณีของพุทธประวัติ ผลงานแบบจินตกวีมีบ้างก็ไม่มากนัก

โปรดเข้าใจว่า เรื่องราวของพระพุทธเจ้านั้น แม้จะตัดเรื่องฤทธิ์ปาฏิหาริย์ออกหมด ก็ไม่ทำให้กระทบกระเทือนอะไรแม้แต่น้อย เพราะนั่นไม่ใช้รากฐานของพระพุทธเจ้า  แต่ รากฐานที่แท้จริงของพระพุทธเจ้า คือ  พระปัญญาคุณ  พระบริสุทธิคุณ และพระมหากรุณาคุณ  อันพระองค์ทรงกระทำสิ่งที่เป็นประโยชน์  เกื้อกูล และความสุขแก่โลก จากอดีตถึงปัจจุบันและอาจพิสูจน์ตนเองได้ทุกกาลเวลา

ปราะการที่ีสอง ที่ว่าภายหลังประสูติ ทันทีที่พระพุทธเจ้าทรงดำเนินไปด้วยพระบาทได้ ๗ ก้าวนั้นจริงหรือไม่ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น?


- ตามพุทธประวัติ  คนที่เห็นเหตุการณ์ในยุคนั้นบอกว่าเป็นเช่นนั้น คนที่เกิดไม่ทันและไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มของพวกที่โดยเสด็จพระนางสิริมหา มายาไปที่ลุมพินีวัน ถ้าไม่คิดว่าตนเองเก่งจนสามารถรู้ว่าอะไรในอดีตจริงหรือไม่จริง ก็ต้องยอมรับว่า  “ ท่านแสดงไว้ในคัมภีร์ว่าเป็น เช่นนั้น “   ทำไมต้องเป็นเช่นนั้นหรือ?

เรื่องนี้ต้องมองกันในแง่ของหลักฐานใน ด้านต่างๆ  ซึ่งอาจจะเปรียบเทียบได้ใน ระดับหนึ่งเช่น

(๑.)สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เมื่อประสูติใหม่ ๆ พระญาติวงค์เห็นเป็น ๔ กร จึงได้ถวายพระนามว่านารายณ์ราชกุมาร เป็นหลักฐานในประวัติศาสตร์ แต่พระกรจริงๆ  มีเพียง ๒ กรเท่านั้น สิทธัตถราชกุมารปรากฎว่าเดินด้วยพระบาทได้ ๗ ก้าวเพียงขณะเดียว  ต่อแต่นั้นก็เป็นทารกที่เดินไม่ได้เช่นเดียวกับทารกทั่วไป  เพราะตอนอสิตดาบสเข้าเยี่ยม พระเจ้าสุทโธทนะทรงอุ้มพระกุมารให้อสิตดาบสดู   การ เสด็จดำเนินไปได้  ๗ ก้าว    จึงเป็นเรื่องของบุญฤทธิ์       ที่ท่าน เรียกว่า ปุณณวโตอิทธิ คือความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ เป็นคุณสมบัติเฉพาะผู้มีบุญเท่านั้น

(๒.)เจ้าชายสิทธัตถะ เป็นอัจฉริยบุคคล ที่สร้างสมอบรมบารมีมาเป็นพิเศษ การเสด็จดำเนินได้ ๗ ก้าว จึงอาจเป็น กัมมวิปากชาอิทธิ คือความสำเร็จอย่างอัศจรรย์ที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจกรรมที่เรียกว่า กรรมโยนิ คือ กุศลกรรมอย่างสูงมาเป็นกำเนิน ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ขึ้น อันเป็นเรื่องเฉพาะของท่านที่เป็นอัจฉริยบุคคล ซึ่งผู้มีปัญญาอาจพิจารณาเทียบเคียงกับอัฉริยบุคคลในปัจจุบันได้เป็นอันมาก เช่น


- ด.ช. กิมอี้ชุน ชาวเกาหลี อายุ ๖ ขวบ พูดได้ ๖ ภาษา อายุ ๖ เดือน ฟันเต็มปาก
- ด.ญ. สกุลตลาเทวี ชาวอินเดีย ด.ช.เงา ชาวเกาะสมุย สามารถบวกเลขได้เร็วกว่าเครื่องคิดเลข เมื่ออายุได้เพียง ๖ ขวบ
- คุณสมเถา สุจริตกุล อ่านเอนไซโครปีเดียบริตานิกาจบ เมื่ออายุ ๕ ขวบ
- คุณทิพย์สุดา สุนทรเวช อ่านภาษาไทย อังกฤษ ได้คล่องเมื่ออายุ ๑๗ เดือน เรียน ป.๓ ที่โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ เมื่ออายุ ๒ ขวบ
- และเด็กแขกอีกคนหนึ่ง ที่สามารถอธิบายไตรเพทได้เมื่ออายุเพียง ๒ ขวบกว่า ๆเป็นต้


คนเหล่านี้ไม่ได้เป็นพระโพธิสัตว์ ยังแสดงความเป็นอัจฉริยะในด้านต่างๆ  ออก มาได้ แล้วทำไมเล่า พระพุทธเจ้าท่านเป็นพระโพธิสัตว์ เป็นอัจฉริยะบุคคลที่ไม่มีใครเหมือนจะไม่เหมือนใครในบางเรื่องไม่ได้เชียว หรือ?

(๓.)เป็นพุทธวิสัยคือวิสัยของคนที่จะเป็น พระพุทธเจ้าและองค์พระพุทธเจ้า เรื่องที่เกี่ยวกับพระองค์หลายเรื่อง ที่เราไม่อาจหยั่งรู้ได้ด้วยความคิด พิจารณา ใครขืนจะรู้เรื่องนี้ให้ได้ด้วยการคิดเอาเอง ทั้งๆ  ที่เป็นเหตุการณ์ที่ผ่านมานานแล้ว อาจกลายเป็นคนบ้าไปได้ง่ายๆ  เพราะเป็นอจินไตย คือเรื่องที่ไม่ควรคิด ซึ่งท่านแสดงไว้ ๔ ประการ คือ

-พุทธวิสัย     เรื่องอันเป็นวิสับของพระพุทธเจ้า
-อิทธิวิสัย     วิสัยแห่งท่านที่บรรลุฤทธิ์ ในชั้นต่างๆ
-กัมมวิปากวิสัย    วิสัยแห่งวิบากกรรม
-โลกจินตา    ความคิดเรื่องกำเนิด ความเป็นมาของโลก


แต่ข้อที่ไม่ควรลืม  คือ บัณฑิตในพระพุทธศาสนาไม่ได้ติดใจในเรื่องเหล่านี้ว่าจะเป็นจริงๆ  หรือไม่ เพราะบัณฑิตย่อมนับถือพระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรงประกอบด้วยพระคุณดังกล่าว และ  พระพุทธคุณที่สำคัญคือการที่พระองค์ทรงประกอบด้วยพระมหา กรุณา สั่งสอนธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้แก่ชาวโลก และพระธรรมนั้นสามารถรักษาคุ้มครองผู้ปฏิบัติตามได้จริง ชาติกำเนิน   พระรูปกาย  ตลอดถึงจะดำเนินได้ ด้วยพระบาท ๗ ก้าวเมื่อประสูติหรือไม่ ไม่ถือเป็นประเด็นสำคัญ

แต่นั้นเป็นข้อเท็จจริงในทางประวัติศาสตร์  ที่ท่าน ผู้อยู่ในเหตุการณ์ได้เห็นและบอกกล่าวสืบต่อกันมา ผู้ฉลาดจึงไม่บังอาจปฏิเสธในเรื่องที่ตนเกิดไม่ทัน  และ เป็นพุทธวิสัย เพราะไม่เห็นว่าจะได้อะไรขึ้นมา นอกจากจะเป็นการเพิ่มมลทินใจ คือความสงสัยขึ้นภายในจิตใจให้มากขึ้น และเป็นการเสียเวลาในการพัฒนาจิตของตนไปโดยเปล่าปราศจากประโยชน์.

ในพระไตรปิฎกยังแสดงไว้ชัดเจนถึงคำตรัส ของพระพุทธองค์ คือพระองค์ทรงเล่าความเป็นมาของพระองค์เองนับตั้งแต่ครั้งที่เสวยชาติอยู่ใน สวรรค์ชั้น ดุสิต จนถึงวันพระประสูติว่า
 
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์ ! โพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่ เทพชั้นดุสิต ดำรงอยู่ในหมู่เทพชั้นดุสิต จนกระทั่งตลอดกาลแห่งอายุ" ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ! ข้อที่พระโพธิสัตว์ มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม บังเกิดขึ้นในหมู่เทพชั้นดุสิต นี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมี เกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ! ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ฟังมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้จำมาแต่ที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ดูก่อนอานนท์! โพธิสัตว์มีสติ รู้ตัวทั่วพร้อม จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดา  ในขณะนั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้, ได้ ปรากฏขึ้นในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก
ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์พร้อมทั้งเทวดาแลมนุษย์ ถึงแม้ในโลกันตริกนรก อันโล่งโถงไม่มีอะไรปิดกั้น แต่มืดมน หาการเกิดแห่งจักขุวิญญาณมิได้ อันแสงสว่างแห่งดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิอานุภาพอย่างนี้ ส่องไปไม่ถึงนั้น แม้ในที่นั้น แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ยิ่งใหญ่กว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ ก็ได้ปรากฏขึ้นเหมือนกันสัตว์ที่เกิดอยู่ ณ ที่นั้น รู้จักกันได้ด้วยแสงสว่างนั้น พากันร้องว่า !

ท่านผู้เจริญทั้งหลายเอ๋ย ผู้อื่นอันเกิดอยู่ในที่นี้ นอกจากเรา ก็มีอยู่เหมือนกัน'' ดังนี้ และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็หวั่นไหว สั่นสะเทือนสะท้าน. แสงสว่างอันโอฬารจนหาประมาณมิได้ ได้ปรากฏขึ้นในโลก เกินกว่าอานุภาพของเทวดาทั้งหลายจะบันดาลได้ เมื่อใดโพธิสัตว์ จุติจากหมู่เทพชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่ครรภ์แห่งมารดาเมื่อนั้น แผ่นดินย่อมหวั่นไหว ย่อมสั่นสะเทือน ย่อมสั่นสะท้าน. อานนท์ ! นี้เป็นเหตุปัจจัยคำรบสามแห่งการปรากฏการไหวของแผ่นดินอันใหญ่หลวง.

ดังนี้. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! แม้ข้อนี้ ข้าพระองค์ย่อมถือไว้ว่า เป็นของน่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาค.
ข้อความสีแดงเลือดนกข้างบน คัดจาก พุทธประวัติจากพระโอษฐ์ (พุทธทาส)



จะสังเกตได้ว่าพระองค์ทรงเน้นย้ำถึง ความมีสติอันสมบูรณ์ของพระโพธิสัตว์ ว่ารู้ตัวทั่วพร้อมมิใช่คนหลงสติหลงตายมาเกิดดังเช่นสัตว์ทั้งหลายทั่วไป

๓.พระพุทธเจ้าเมื่อประสูติใหม่ๆ พราหมณ์ทำนายว่ามีคติเป็นสอง คือถ้าอยู่ครองฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิราช   หากออกผนวชจะได้เป็นศาสดาเอกในโลก   ทำไมพระองค์จึงเสด็จออกผนวชเสียเล่า ?


-ไม่ให้พระองค์เสด็จออกผนวช แล้วจะให้ทำอะไรล่ะ   หรือว่าต้องการให้พระองค์เป็น พระเจ้าจักรพรรดิ  อันที่จริงเรื่องนี้น่าคิดเหมือน กันนะ หากเราจะพูดว่าเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จมาถึงทางแยกพอดี  คนเรานั้นเมื่อถึงคราวที่จะต้องเลือก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรก็ตาม  เราควรตอบคำถามให้ได้ อย่างน้อย ๓ ข้อ อย่างในกรณีของพระสิทธัตถราชกุมารก็เหมือนกัน 

พระองค์อาจตอบคำถามได้ ๓ ข้อแล้ว คือ จะไปทางไหน?  ไปทำไม ?  ได้ประโยชน์อะไร ?  จะเห็นว่าประโยชน์เป็นที่สำคัญที่สุด เพราะ คุณค่าอันแท้จริงของความเป็นในฐานะต่างๆ นั้น  คือ ประโยชน์ที่ตนจะทำให้แก่ตนเองและแก่คนอื่น

แม้เราจะตัดประเด็นที่พระพุทธเจ้า ทรงสร้างบารมี เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าโดยตรงออกไปก็อาจได้ในหลักในการเปรียบเทียบได้ว่า  การเป็นพระพุทธเจ้าสามารถทำประโยชน์ได้กว้าง ขวางมาก  จนพระเจ้าจักรพรรดิไม่อาจเปรียบเทียบได้ เลย ไม่ว่าประโยชน์ในระดับใดก็ตาม  คือ

-ประโยชน์ในปัจจุบัน ฐานะของพระพุทธเจ้าทำได้เต็มที่ทั้งเพื่อพระองค์เองและแก่คนอื่นในขอบข่าย ที่กว้างไกลตลอดกาลอันยาวนาน แต่พระเจ้าจักรพรรดิจะทำให้ได้ขอบข่ายจำกัด  คือในดินแดนของพระองค์  และเมื่อ พระองค์สวรรคตไปแล้วผลงานทั้งหลายจะดำรงอยู่ได้ไม่นานแล้วจะหายไป

-ประโยชน์ในภายหน้า  พระพุทธเจ้าทรงยุติการเวียนว่ายในสังสารวัฎได้  ทรงสอนให้คนอื่นได้ประโยชน์ ในระดับต่างๆ  จากความสุขในมนุษย์จนถึงพรหมโลก พระเจ้าจักรพรรดิจะทำได้เพียงช่วยให้คนได้สมบัติในสวรรค์เท่านั้น

สำหรับพระองค์เองไม่แน่ว่าจะได้สวรรค์หรือไม่  เพราะ กว่าจะเป็นจักรพรรดิได้ ต้องเหยียบย้ำไปบนกองเลือดและชีวิตคนเป็นอันมาก แม้ขณะที่เป็นพระเจ้าจักรพรรดิอยู่ ก็อาจต้องทำบาปอีกมาก  พระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงว่า การบรรลุโสดาบั่ตติผลเป็นโสดาบัน ดีกว่าการเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เพราะพระโสดาบันท่านมีคติแน่นอน จะเกิดอีกไม่เกิด ๗ ชาติก็บรรลุอรหัตนิพานได้ แต่สังสารวัฏของพระเจ้าจักรพรรดิ ไม่อาจกำหนดได้ว่าเมื่อไรจะสิ้นทุกข์

จากหนังสือนักศึกษาสงสัย พระเทพดิลก (ระแบบ ฐิตญาโณ) วัดบวรนิเวศวิหาร
ที่มาhttp://www.sathanimahaprash.com/index.asp?catid=2&contentID=10000004&getarticle=17&title=%BE%D8%B7%B8%BB%C3%D0%C7%D1%B5%D4+%C1%D5%A4%C7%D2%C1%A8%C3%D4%A7%E0%BE%D5%C2%A7%E4%C3%2E%3F

22177  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระพุทธศาสนาเถรวาท และการบริโภคเนื้อสัตว์ เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 09:31:21 am
พระพุทธศาสนาเถรวาท และการบริโภคเนื้อสัตว์


ทำไมพระ พุทธศาสนาเถรวาทจึงไม่มีบทบัญญัติห้ามพระฉันเนื้อสัตว์
           สมัยหนึ่ง ขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ พระเทวทัตพร้อมด้วยพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ เข้าไปเฝ้าพระพุทธองค์ กราบทูลขอวัตถุ ๕ ประการ ดังนี้

(๑) ภิกษุควรอยู่ป่าตลอดชีวิต
(๒) ภิกษุควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต
(๓) ภิกษุควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต
(๔) ภิกษุควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต
(๕) ภิกษุไม่ควรฉันปลาและเนื้อ


           พระพุทธตรัสห้ามว่า

           อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ บ้าน ภิกษุใดปรารถนาก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนาก็จงยินดีผ้า คฤหบดี เราอนุญาตรุกขมูล(การอยู่โคนไม้)ตลอด ๘ เดือน(นอกฤดูฝน) เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ

(๑)ไม่ได้เห็น
(๒)ไม่ได้ยิน
(๓)ไม่ได้รังเกียจ


           เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ เล่ม ๑ และมีกรณีตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่งคือ สีหเสนาบดี เดิมนับถือศาสนาเชน เมื่อมีโอกาสได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ฟังธรรม บรรลุธรรมเป็นโสดาบัน นิมนต์พระพุทธองค์พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันภัตตาหารในเรือนพวก นิครนถ์(เชน)เที่ยวกล่าวหาว่า สีหเสนาบดีฆ่าสัตว์มาทำเป็นอาหารถวายพระสงฆ์ พระสมณโคดมก็ฉันเนื้อสัตว์นั้น ครั้นสีหเสนาบดีทราบคำกล่าวหาก็ชี้แจงว่าไม่เป็นความจริง

           พระพุทธเจ้าทรงทราบข้อกล่าวหาของพวกนิครนถ์ จึงทรงบัญญัติพระวินัย ห้ามฉันเนื้อสัตว์ที่เขาฆ่าทำถวาย เจาะจงภิกษุ ทรงปรับอาบัติทุกกฏแก่ภิกษุที่ฉันเนื้อสัตว์ที่เขาเจาะจงฆ่าทำถวาย ในขณะเดียวกันก็ทรงอนุญาตให้ฉันปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ โดยเงื่อนไข ๓ ประการ คือ (๑) ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้นึกรังเกียจว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค เรื่องนี้ปรากฏในคัมภีร์พระวินัยปิฎก มหาวรรค ภาค ๒ เล่ม ๕


คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59



พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ผิดวินัยหรือไม่

          จากกรณีตัวอย่าง ๒ เรื่องนี้ สรุปได้ในว่า พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงห้ามภิกษุฉันปลาและเนื้อ ถามว่า พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุฉันเนื้อสัตว์หรือไม่ ? มีเนื้อความแห่งสิกขาบทที่ ๙ ในโภชนวรรค พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่า สมัยหนึ่ง พระฉัพพัคคีย์(กลุ่มภิกษุ ๖ รูป)ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงตำหนิแล้วทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า

           ก็ภิกษุใดออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์

           ต่อมามีกรณีภิกษุเป็นไข้ ไม่กล้าออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉัน จึงไม่หายจากอาการไข้ ความทราบถึงพระพุทธเจ้า จึงทรงอนุญาตให้ออกปากขอโภชนะอันประณีตมาเพื่อตนแล้วฉันได้ ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้เป็นอนุบัญญัติว่า

           อนึ่ง ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนย ข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

           คำว่า ปลา ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ สัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ คำว่า เนื้อ ในสิกขาบทนี้ ได้แก่ เนื้อของสัตว์บกที่มีเนื้อเป็นกัปปิยะ นั่นคือเป็นเนื้อที่เหมาะสม ภิกษุที่ไม่เป็นไข้ ออกปากขอมาเพื่อตน ต้องอาบัติทุกฏทุก ๆ ครั้งที่ขอ ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จะฉันของที่ได้มา ต้องอาบัติทุกฏ ภิกษุฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุก ๆ คำกลืน ถามว่า ภิกษุออกปากขอโภชนะอันประณีต(โดยเฉพาะกรณีปลาและเนื้อ)มาเพื่อตนแล้วฉัน ในกรณีไหนที่ไม่ต้องอาบัติ มี ๙ (ไม่ผิดพระวินัย) คือ

(๑) ภิกษุเป็นไข้
(๒) ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน
(๓) ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุไข้
(๔) ภิกษุออกปากขอจากญาติ
(๕) ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา
(๖) ภิกษุออกปากขอเพื่อภิกษุอื่น
(๗) ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน
(๘) ภิกษุวิกลจริต
(๙) ภิกษุต้นบัญญัติ


           กรณีของภิกษุณีก็มีลักษณะเหมือนกับภิกษุ แต่ต้องอาบัติต่างกัน กล่าวคือ ภิกษุณีไม่เป็นไข้ ออกปากขอเนื้อมาฉัน ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่ทรงอนุญาตให้ภิกษุณีที่เป็นไข้ออกปากขอเนื้อมาฉันได้

คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59



ท่าทีของพระพุทธศาสนาเถรวาทต่อการบริโภคเนื้อสัตว์

           ในเบื้องต้นต้องแยกประเด็นออกให้ชัดเจนว่า ภิกษุฆ่าสัตว์ผิดพระวินัยหนักบ้าง เบาบ้างแล้วแต่กรณี คฤหัสถ์ฆ่าสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตแน่นอน เพราะฉะนั้น คำถามที่ว่า ภิกษุฉันเนื้อผิดพระวินัยหรือไม่ ? หมายถึงฉันเนื้อที่คนอื่นนำมาถวาย

           ประเด็นที่ว่า ภิกษุฉันเนื้อผิดพระวินัยหรือไม่ ? ภิกษุฉันเนื้อมีทั้งที่ผิดพระวินัยและไม่ผิดพระวินัยดังกล่าวแล้ว เพื่อความชัดเจน ต้องแยกประเด็นอภิปราย ดังนี้

           ประเด็นที่ ๑ พระพุทธเจ้าทรงห้ามภิกษุฉันเนื้อ ๑๐ อย่าง คือ

(๑)เนื้อมนุษย์
(๒)เนื้อช้าง
(๓)เนื้อม้า
(๔)เนื้อสุนัขบ้าน
(๕)เนื้องู
(๖)เนื้อราชสีห์หรือสิงโต
(๗)เนื้อเสือโคร่ง
(๘)เนื้อเสือดาว
(๙)เนื้อหมี
(๑๐)เนื้อสุนัขป่า


           ภิกษุฉันเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่างดังกล่าว ผิดพระวินัยหนักบ้างเบาบ้างแล้วแต่กรณี เช่น ภิกษุฉันเนื้อมนุษย์ ต้องอาบัติถุลลัจจัย ภิกษุฉันเนื้อช้าง ต้องอาบัติทุกฏ ฉันเนื้อเสือโคร่ง ต้องอาบัติทุกฏ เป็นต้น

           ประเด็นที่ ๒ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้น ถ้าเป็นการฉันเนื้อที่เขาเจาะจงฆ่าทำมาถวาย กล่าวคือ ภิกษุรู้เห็น หรือได้ยิน หรือนึกรังเกียจสงสัยว่าเขาฆ่าเพื่อให้ตนบริโภค ต้องอาบัติทุกฏ

           ประเด็นที่ ๓ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้นเหมือนกัน ถ้าเป็นการฉันโดยไม่พิจารณาก่อน ต้องอาบัติทุกฏ

           ประเด็นที่ ๔ ภิกษุไม่เป็นไข้ ออกปากขอโภชนะอันประณีตเช่นนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ(นอกเหนือจากเนื้อต้องห้าม ๑๐) นมสด นมส้ม มาเพื่อตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์

           ประเด็นที่ ๕ ภิกษุฉันเนื้อชนิดอื่นนอกเหนือจากที่ทรงห้ามไว้ ๑๐ อย่างนั้น เป็นเนื้อที่บริสุทธิ์โดยเงื่อนไข ๓ อย่าง คือ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ฟัง และไม่นึกรังเกียจ และฉันโดยพิจารณาก่อน ไม่ต้องอาบัติ

           ทั้งนี้ ต้องอยู่ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้

(๑) ภิกษุเป็นไข้ ออกปากขอจากผู้อื่นมาเพื่อตนแล้วฉัน
(๒) ภิกษุเป็นไข้ออกปากขอมาแล้วหายเป็นไข้จึงฉัน
(๓) ภิกษุออกปากขอจากญาติ
(๔) ภิกษุออกปากขอจากคนปวารณา
(๕) ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน


           สมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ ภิกษุณีอุบลวรรณาอยู่ในกรุงสาวัตถี เข้าไปบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตเข้าไปพักผ่อนในป่าอันธวัน ขณะนั้นพวกโจรลักโค ฆ่าชำแหละเอาเนื้อ ย่างสุกแล้วคัดเลือกเนื้อดี เอาใบไม้ห่อแขวนไว้ใกล้ภิกษุณีอุบลวรรณา โดยมีเจตนาจะถวาย ภิกษุณีอุบลวรรณารู้เจตนาจึงถือเอาเนื้อนั้นเหาะไปยังพระเวฬุวันวิหาร ฝากเนื้อไว้กับพระอุทายี เพื่อน้อมนำไปถวายพระพุทธเจ้า


คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59


บริโภคเนื้อสัตว์ขัดต่อศีล 5 ข้อที่ 1 หรือไม่

           เกณฑ์ในการตัดสินว่ามีการล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ มีอยู่ ๕ ประการ คือ

(๑) สัตว์มีชีวิต
(๒)รู้ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต
(๓)มีจิตคิคจะฆ่า
(๔)มีความพยายามฆ่า
(๕)สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น


           เมื่อองค์ประกอบครบ ๕ อย่างนี้ ถือว่าผิดศีลหรือล่วงละเมิดศีลข้อนี้ ถ้าไม่ครบก็ถือว่ายังไม่ล่วงละเมิด แต่ชื่อว่าทำให้ศีลข้อนี้ทะลุ(ขาดตรงกลาง) ทำศีลข้อนี้ให้ด่าง ทำให้ศีลข้อนี้พร้อย เพราะฉะนั้น ต่อคำถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์ผิดศีลข้อปาณาติบาตหรือไม่ ? จึงตอบได้เป็น ๒ ลักษณะ คือ

(๑) ฆ่ากินเองผิดศีลข้อปาณาติบาต
(๒)กินเนื้อสัตว์ที่คนอื่นฆ่าไว้แล้ว ไม่ผิดศีลข้อปาณาติบาต แต่จะเหมาะสมหรือไม่ เป็นประเด็นที่จะอภิปรายต่อไป


คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59



พระบริโภคเนื้อสัตว์เหมาะสม หรือไม่

           ๑) ประเด็นทั่วไป

           คำว่า "ถูกต้อง" กับคำว่า "เหมาะสม" มีนัยต่างกัน "ถูกต้อง" หมายถึงไม่ผิดบทบัญญัติด้านพระวินัยหรือศีลธรรม ส่วนประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม ต้องอภิปรายคำว่า "สุจริต" กับคำว่า "ยุติธรรม" ก่อน ซึ่งทั้ง ๒ คำนี้มีนัยต่างกัน

คำว่า "สุจริต" มีนัยบ่งถึงความถูกต้องเชิงศาสนา เช่น พระพุทธศาสนาแสดงกายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓ กล่าวเฉพาะกายสุจริต ๓ คือ

(๑)เว้นจากการฆ่าสัตว์
(๒)เว้นจากการลักฉ้อ
(๓)เว้นจากการประพฤติผิดในกาม


จะเห็นว่า กายสุจริตข้อหนึ่งคือเว้นจากการฆ่าสัตว์ คนที่มีกายสุจริตอย่างหนึ่งคือเว้นจากการฆ่าสัตว์ รักษาศีลข้อปาณาติบาตบริสุทธิ์บริบูรณ์

           ส่วนคำว่า "ยุติธรรม" มีนัยบ่งถึงความเหมาะสม ยอมรับกันทุกฝ่าย หรือเป็นจุดจบของปัญหา ซึ่งอาจจะไม่ถูกต้องในบางกรณี เช่น ในกระบวนการยุติธรรมทางศาล การตัดสินคดีบางอย่างอาจถูกต้องตามกระบวนการยุติธรรม แต่ต้องยอมรับว่าในบางคดีอาจไม่ถูกต้องนัก คนที่ทำผิดมากอาจผิดน้อยขึ้นอยู่กับพยานหลักฐาน คนที่ผิดน้อยอาจผิดมาก ถ้าหาเหตุผลมาแสดงความบริสุทธิ์ไม่ได้

           (๒) ประเด็นเฉพาะ

           ๒.๑ คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีลทุกกรณี

           ๒.๒ พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นเนื้อต้องห้าม ๑๐ อย่าง ผิดพระวินัย แม้จะเป็นเนื้อชนิดอื่นจากเนื้อต้องห้าม ถ้าไม่บริสุทธิ์ด้วยเงื่อนไข ๓ อย่างดังกล่าว ถือว่าผิดพระวินัยเช่นเดียวกัน

           มีคำอยู่ ๓ คำที่ต้องนำมาพิจารณาเพื่อตอบคำถามที่ว่า กินเนื้อสัตว์เหมาะสมหรือไม่ คือ

(๑)ศีลธรรม หรือวินัย หรือกฎหมาย
(๒)สุจริต
(๓)ยุติธรรม


เรื่องของศีลธรรมหรือวินัย หรือกฎหมาย เป็นเรื่องของหลักการ ผิดก็คือผิด มีบทกำหนดโทษชัดเจน ถ้าเป็นศีลธรรมหรือวินัยของพระภิกษุสามเณรก็เป็นทางใจ โทษทางสังคม ถ้าเป็นกฎหมายบ้านเมืองก็ทางแพ่งทางอาญาแล้วแต่กรณี เรื่องที่สุจริตหรือไม่สุจริต เป็นเกณฑ์ความประพฤติที่ถูกต้องหรือไม่ถูกต้องตามหลักธรรมทางศาสนา ส่วนเรื่องยุติธรรมหรือไม่ยุติธรรม แบ่งเป็น ๒ ส่วนคื

           ส่วนที่ ๑ เป็นข้อเท็จจริง เช่น กรณีการอ้างสิทธิที่จะพึงมีพึงได้ เมื่อมีคนกลุ่มหนึ่งได้สิทธิ ย่อมมีคนอีกกลุ่มหนึ่งเสียสิทธิ การได้สิทธิถือเป็นความยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่ได้สิทธิ แต่ถามว่า ยุติธรรมสำหรับกลุ่มที่เสียสิทธิหรือไม่ ? หรือกรณีการกินเนื้อสัตว์ เมื่อมีการกินเนื้อสัตว์ ย่อมมีการฆ่าสัตว์ ผู้ที่กินอาจคิดว่า สัตว์อื่นเกิดมาเป็นอาหารของเขา เป็นสิทธิของเขาที่จะกินอะไรก็ได้ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า ชีวิตของสัตว์จำนวนมากถูกทำลายไป นี่เป็นข้อเท็จจริง

           ส่วนที่ ๒ เป็นความรู้สึก เช่น กรณีการเลื่อนขั้นเงินเดือนของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีตำแหน่งเท่ากัน ทำงานในกลุ่มเดียวกัน แต่ได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่เท่ากัน นาย ก. ทำงานดีเอาใจใส่ต่องาน มีประสิทธิภาพในการทำงาน ประสิทธิผลของงานดีกว่า จึงได้รับการเลื่อนเงินเดือนมากกว่า นาย ก.รู้สึกมันยุติธรรมสำหรับตัวเองแล้วที่ได้ทุ่มเทมาตลอดทั้งปี นาย ข. ไม่เอาใจใส่ต่องาน ประสิทธิภาพในการทำงานต่ำ ประสิทธิผลของงานก็ต่ำ จึงได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนต่ำกว่า แต่นาย ข. รู้สึกว่าไม่ยุติธรรมสำหรับตัวเอง เพราะตัวเองมีตำแหน่งเท่ากันนาย ก. และทำงานเดียวกันอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับนาย ก. นี่เป็นความรู้สึก

           สรุปได้ว่า คฤหัสถ์กินเนื้อสัตว์ถ้าไม่ได้ฆ่าเอง ย่อมไม่ผิดศีล และเป็นพฤติกรรมสุจริต แต่ไม่ยุติธรรมแน่นอน พระภิกษุฉันเนื้อสัตว์ ถ้าไม่ผิดเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้น ย่อมไม่ผิดพระวินัย และเป็นพฤติกรรมสุจริต แต่ไม่ยุติธรรมเช่นเดียวกัน ถามว่า "เพราะเหตุไร จึงไม่ยุติธรรม ?"

           สามัญสำนึกบอกให้ทราบว่า "สัตว์ทุกตัวตนรักสุข เกลียดทุกข์ สัตว์ทุกชนิดรักชีวิต รักตัวกลัวตาย" การกินเนื้อสัตว์ทำให้เกิดการฆ่าสัตว์ แม้ผู้กินจะไม่ได้ฆ่าเอง แต่การกินทำให้เกิดการฆ่าทั้งโดยตรงและโดยอ้อม อาจมีคำโต้แย้งว่า "ถึงเราไม่กิน คนอื่นก็กิน สัตว์ต่าง ๆ ก็กินกันและกันเป็นอาหาร สัตว์ก็ต้องถูกฆ่าอยู่นั่นเอง" คำโต้แย้งนี้ไม่เป็นสากล เราน่าจะถามในประเด็นอื่น ๆ บ้าง เช่น

           (๑) มนุษย์กินอาหารประเภทอื่นที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้หรือไม่ ?

           (๒) การกินเนื้อสัตว์ ถึงแม้จะไม่ได้ฆ่าเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้เกิดการฆ่าสัตว์ เหมือนกรณีรัฐบาลทุ่มงบประมาณซื้อมันสำปะหลัง ถึงแม้รัฐบาลจะไม่ได้ปลูกเอง แต่ก็มีส่วนส่งเสริมให้มีการปลูกมันสำปะหลังมากขึ้น ใช่หรือไม่ ?

           (๓) ทุกคนรู้ว่าการดื่มกาแฟมีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่อยากจะให้มีการผลิตกาแฟ แต่ทุกคนก็ยังดื่มกาแฟ การที่ทุกคนดื่มกาแฟ มีผลทำให้ยังมีการผลิตกาแฟอยู่ใช่หรือไม่ ?


คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59



พระพุทธศาสนาสรุปอย่างไรเกี่ยวกับมังสวิรัติ

           พระพุทธศาสนาให้ความสำคัญแก่ชีวิตมาก ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของสัตว์ประเภทไหนล้วนมีความสำคัญทั้งสิ้น ในขณะเดียวกันก็ยอมรับความจริง ๒ ระดับ คือ

(๑)ระดับโลกิยะ
(๒)ระดับโลกุตตระ


           ในระดับโลกิยะ พระพุทธศาสนาเห็นว่ามีความบกพร่องมาก มีคำพูดอยู่ประโยคหนึ่งที่พระภิกษุสามเณรในครั้งพุทธกาลพูดอยู่เสมอ เมื่อเกิดกรณีผิดพลาดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือคำพูดที่ว่า "ไม่ใช่ความผิดของท่าน ไม่ใช่ความผิดของผม แต่เป็นความผิดของวัฏฏะ" คำว่า วัฏฏะ ก็คือสังสารวัฏ หรือการเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่านั่นเอง เมื่อคราวตรัสรู้ไม่นาน พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า

           เราแสวงหานายช่างผู้ทำเรือน เมื่อไม่พบได้ท่องเที่ยวไปสู่สังสาระ มีความ เกิดเป็นอเนก ความเกิดเป็นทุกข์ร่ำไป เราได้พบนายช่างผู้ทำเรือนแล้ว เจ้า จักทำเรือน(คืออัตภาพของเรา)ไม่ได้อีกต่อไป ซี่โครงทั้งหมดของ เจ้า เราหักเสียแล้ว ยอดเรือน(คืออวิชชา)เรารื้อแล้ว จิตของเราได้ถึง นิพพานมีสังขารไปปราศแล้ว เราได้บรรลุความสิ้นตัณหาแล้ว

           พระพุทธพจน์นี้ทำให้สรุปได้ว่า การเกิดมาในโลกในระดับโลกิยะ มีปัญหาติดตัวมามาก สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะเป็นอาหารของสัตว์อื่น เช่น หมู ปลา ไก่ สัตว์บางตนเกิดมาอยู่ในฐานะต้องกินสัตว์เป็นอาหารอย่างเดียว โดยที่ตัวเองมีเนื้อเป็นพิษสำหรับสัตว์อื่น แม้แต่มนุษย์ที่ชอบกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร เนื้อของมนุษย์เองก็เป็นอาหารของสัตว์อื่นบางจำพวก นี่คือสังสารวัฏ

           ชาวประมงมีอาชีพหาปลาขาย ฆ่าปลาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน พวกเขาไม่ได้ทำผิดกฎหมาย แต่พวกเขาทำผิดหลักธรรมข้อสุจริต ล่วงละเมิดศีลข้อปาณาติบาต และวิถีชีวิตของพวกเขาไม่ยุติธรรมสำหรับปลา แม้กระนั้นชาวประมงก็ยังต้องดำรงชีพโดยการจับปลาขายต่อไป เกษตรกรเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาก็อยู่ในฐานะเดียวกัน คนที่มีอาชีพฆ่าหมูเพื่อชำแหละเนื้อออกขายในท้องตลาดก็อยู่ในฐานะเดียวกัน นี่คือข้อจำกัดหรือโทษของสังสารวัฏ

           ในระดับโลกุตตระ วิถีชีวิตบริสุทธิ์จากข้อจำกัดเหล่านี้ สัมมาอาชีวะหรือสัมมาอาชีพซึ่งเป็นองค์หนึ่งในมรรคมีองค์ ๘ จึงหมายถึง การดำรงชีพที่ชอบเว้นจากอาชีพที่เป็นการเบียดเบียนชีวิต เช่น การค้าอาวุธแม้จะถูกต้องตามกฎหมาย การค้าแรงงานมนุษย์ การค้ายาพิษ การค้าน้ำเมา

           ประเด็นเกี่ยวกับมังสวิรัติก็เช่นเดียวกัน การกินหรือไม่กินเนื้อสัตว์เป็นเรื่องของแต่ละบุคคล ประเด็นสำคัญคืออย่าฆ่าสัตว์ เมื่อพระเทวทัตต์เข้าไปเฝ้ากราบทูลขออนุญาตวัตถุ ๕ ประการ วัตถุข้ออื่น ๆ พระพุทธเจ้าตรัสกับพระเทวทัตต์ "อย่าเลยเทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนาก็จงทำไปเถิด เช่น ภิกษุใดปรารถนาก็จงอยู่ป่า"

           ส่วนข้อที่เกี่ยวกับการฉันปลาและเนื้อ พระพุทธเจ้าตรัสตอบพระเทวทัตต์ว่า "เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ (๑)ไม่ได้เห็น (๒)ไม่ได้ยิน (๓)ไม่ได้รังเกียจ" จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าไม่ทรงใช้คำว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จงฉันปลาและเนื้อ" พระพุทธดำรัสนี้มีนัยสำคัญอย่างยิ่ง ถามว่า "อะไรคือนัยสำคัญแห่งพระพุทธดำรัสนี้ ?"

           พระพุทธดำรัสว่า "เราอนุญาตเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง ..." หมายถึง ไม่ได้ตั้งข้อกำหนดไว้ วางไว้เป็นกลาง ๆ ไม่ได้กำหนดแม้แต่จะบอกว่า "ผู้ใดปรารถนาก็จง ..." เพราะฉะนั้น เรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เป็นกลาง ๆ อย่างนี้ ในทางปฏิบัติ จะเหมาะสมหรือไม่เหมาะสม จะถูกหรือผิด พระภิกษุต้องเทียบเคียงกับหลักที่เรียกว่า "มหาปเทศ" ๒ ข้อ คือ

           (๑) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ไม่ควร แย้งกับสิ่งที่ควร สิ่งนั้นไม่ควร

           (๒) สิ่งใดที่ไม่ได้ห้ามไว้ว่า "สิ่งนี้ไม่ควร" ถ้ามีแนวโน้มหรือจัดอยู่ในกลุ่มสิ่งที่ควร แย้งกับสิ่งที่ไม่ควร สิ่งนั้นควร


           เมื่อพระภิกษุเทียบเคียงถือปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมไม่ผิดพระวินัย แต่อย่างที่กล่าวมาแล้วว่า วิถีชีวิตระดับโลกิยะ มีโทษมาก มีข้อบกพร่องมาก เช่นกรณีการกินเนื้อสัตว์ แม้จะเป็นเนื้อที่ไม่ต้องห้าม ต้องพิจารณาก่อนฉัน ถ้าไม่พิจารณาย่อมผิดพระวินัย ซึ่งต้องการให้พระภิกษุหรือแม้แต่คนที่ไม่ใช่พระภิกษุสำนึกอยู่เสมอว่า การกินเนื้อสัตว์แม้จะไม่ได้ฆ่าสัตว์ก็ถือว่ามีส่วนทำให้ชีวิตถูกทำลาย ถ้าไม่กินจะดีกว่าหรือไม่ ? ส่วนวิถีชีวิตระดับโลกุตตระนั้น ย่อมบริสุทธิ์จากอกุศลเจตนาทุกประกา

พระพุทธศาสนาสรุปชัดเจนในประเด็นว่า ฆ่าสัตว์ผิดศีลผิดวินัย บางกรณีผิดกฎหมายบ้านเมือง กินเนื้อสัตว์ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ไม่ผิด ถ้าเป็นพระภิกษุฉันผิดเงื่อนไข ผิดพระวินัย ถ้าไม่ผิดเงื่อนไข ไม่ผิดพระวินัย นั่นเป็นเรื่องของศีลของคฤหัสถ์และพระวินัยของพระภิกษุ แต่อย่าลืมว่า ฆ่าสัตว์กับกินเนื้อสัตว์เป็นคนและประเด็น กินเนื้อสัตว์ในกรณีที่แม้จะไม่ผิดศีลหรือพระวินัย แต่ส่งผลต่อคน/สัตว์รอบข้างและอุปนิสัยจิตใจของผู้กินแน่นอน ในลังกาวตารสูตรแสดงเหตุผลที่ไม่ควรกินเนื้อสัตว์

สรุปได้ว่า "ในสังสารวัฏ คนที่ไม่เคยเป็นบิดามารดา ไม่เคยเป็นพี่น้องกัน ไม่มี สัตว์ทุกตัวตนมีความสัมพันธ์ทั้งสิ้นไม่ชาติใดก็ชาติหนึ่ง" เพราะฉะนั้น กินเนื้อสัตว์วันนี้ เราอาจกำลังกินเนื้อของสัตว์ที่เคยเป็นบิดามารดาของเราในชาติที่แล้วมาหรือ ในอีก ๕ ชาติข้างหน้าก็ได้ นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงผลเสียของการกินเนื้อสัตว์ไว้ เช่น ทำให้เป็นที่หวาดกลัวของสัตว์ต่าง ๆ ทำให้กลิ่นตัวเหม็น ทำให้ชื่อเสียงไม่ดีกระจายไป


คัดมาจาก  http://www.mcu.ac.th/site/articlecontent_desc.php?article_id=200&articlegroup_id=59

ขอขอบคุณ  http://www.crs.mahidol.ac.th/thai/theravade36.htm

22178  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระสงฆ์เจ็บป่วย เพราะการทำบุญของญาติโยม เมื่อ: มิถุนายน 11, 2010, 09:15:13 am
วิทยาลัยศาสนศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล
การแถลงข่าวการประชุมเรื่อง “การสาธารณสุขสำหรับพระสงฆ์”
วันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
----------------

พระสงฆ์เจ็บป่วยเพราะการทำบุญของญาติโยม

รองศาสตราจารย์ ดร.พินิจ รัตนกุล ผู้อำนวยการวิทยาลัยศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในการประชุมเรื่อง การสาธารณสุขสำหรับพระสงฆ์ ที่จัดขึ้นที่วิทยาลัยศาสนศึกษาในวันที่ ๑๕ ตุลาคมนี้


ปรากฏว่าสถิติของพระสงฆ์เจ็บป่วยด้วยโรค เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในโลหิตสูง และโรคภูมิแพ้มีจำนวนมากขึ้นจนน่าเป็นห่วง

โรคเหล่านี้เกิดจากโภชนาการเป็นสำคัญ  สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยโภชนาการเช่นเดียวกัน  จากการสนทนาและเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างพระสงฆ์จำนวน ๗๐ รูปที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้นเป็นที่ชัดเจนว่าอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายพระสงฆ์ไม่ว่าจะในการใส่บาตรประจำวันหรือในการทำบุญเลี้ยงพระแต่ละครั้ง

ถึงแม้ว่าเป็นอาหารที่ดีที่สุดในความคิดเห็นของญาติโยม แต่ส่วนมากมีคุณค่าทางโภชนาการน้อย และมักเป็นอันตรายต่อสุขภาพทางกาย เช่นมีรสหวาน เค็ม เปรี้ยว และเผ็ดจนเกินไป และอาหารบางอย่างก็เป็นอันตรายต่อสุขภาพทางจิตควบคู่ไปด้วยโดยทำให้กามกิเลสของพระสงฆ์กำเริบขึ้น

ด้วยเหตุนี้ที่ประชุมจึงมีความเห็นว่าถ้าหากชาวพุทธต้องการให้พระสงฆ์มีสุขภาพอนามัยดี และสามารถทำประโยชน์ให้แก่พระพุทธศาสนาและสังคมไทยได้เต็มที่ตามศักยภาพที่มีอยู่ ชาวพุทธควรที่จะคิดก่อนใส่บาตรและทำบุญเลี้ยงพระ โดยให้ความสำคัญแก่การเสริมสร้างสุขภาพของพระสงฆ์มากกว่าการทำบุญตามใจชอบของตนเอง
 
การมีความรู้ทางโภชนาการจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ชาวพุทธควรขวนขวายแสวงหา จะได้รู้จักเลือกอาหารที่มีคุณค่าสำหรับตัวเองและการทำบุญ สุขภาพของพระสงฆ์จะเป็นอย่างไรส่วนมากขึ้นอยู่กับอาหารที่ญาติโยมใส่บาตรและทำบุญเลี้ยงพระเป็นสำคัญ

อาหารสำหรับถวายพระสงฆ์นั้น ควรมีสารอาหารครบ ๕ หมู่ มีไขมันต่ำ คาร์โบไฮเดรตพอเหมาะ ไฟเบอร์หรือใยอาหารสูง โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ ถ้าเปลี่ยนจากข้าวเหนียวหรือข้าวขาวเป็นข้าวกล้อง จะเพิ่มวิตามินบีและใยอาหาร ถ้าเปลี่ยนจากแกงกะทิเป็นอาหารนึ่ง หรือทอดอ่อนๆ หรืออบก็จะลดปริมาณไขมันลงไปมาก นอกจากนั้นการเพิ่มผักผลไม้สดก็จะทำให้ปริมาณวิตามินเกลือแร่ที่ได้รับมีมากขึ้น และส่งผลให้ระบบขับถ่ายดีตามไปด้วย

ที่มา  http://www.crs.mahidol.ac.th/
22179  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ธรรมจักร กับ กวางหมอบ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 11:18:58 am
ธรรมจักรกับกวางหมอบ


เมื่อเราไปที่วัดบ่อยครั้งที่พบรูปธรรมจักร เป็นเหมือนสัญลักษณ์ของพุทธศาสนา ซึ่งเราก็ไม่ได้คิดถึงที่ไปที่มานักว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร  เคยมีผู้พยายามให้ความหมายที่เป็นวงล้อแห่งธรรม เป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศให้ชาวโลกได้นำไปยึดถือปฏิบัติเพื่อการพ้น ทุกข์ ที่จะขับเคลื่อนธรรมให้คงอยู่คู่กับโลก  แต่ในบางที่นอกจากจะมีรูปธรรมจักรดังกล่าวแล้วยังมีรูปกวางเหลียวหลัง หมอบอยู่ด้านล่าง  จึงน่าจะมีความหมายอะไรสักอย่าง

นั้นมีความเป็นมาในทางพุทธศาสนาในยุคต้น ที่ได้รับอิทธิพลจากคติของชนเผ่าทราวิฆซึ่งพูดภาษาทมิฬ เป็นชนเผ่าที่ครอบ ครองอินเดียอยู่ก่อนที่ชาวอารยันบุกรุกดินแดนอินเดีย  พวกทราวิฆเป็นพวกที่มีอารยธรรมและวัฒนธรรมของตัวเองแล้ว  พวกอารยันเองก็ได้รับอารยธรรมของพวกทราวิฆ 

 

พวกทราวิฆมีลัทธิศาสนาที่นับถือบูชาพระศิวะ หรือพระวิษณุ ลัทธิบูชาเจ้าแม่กาลี (พระอุึมา) และพระศรี (ลักษมีชายาพระวิษณุ) และใช้รูปกวางเหลียวหลังหมอบอยู่ใต้แท่นรูปเคารพ เช่นเดียวกับพุทธศาสนายุคต้น โดยถือว่ากวางเป็นสัญลักษณ์ของความซื่อสัตย์   แต่สัญลักษณ์นี้น่าจะมีทีหลังเพื่อสร้างความเชื่อถือให้กับคนที่เชื่อลัทธิ อื่นให้หันมาสนใจพุทธศาสนาก็เป็นได้  เป็นการประสานระหว่างของเก่าและของใหม่ให้ไปด้วยกันได้ เหมือนกับที่เรียกกันในปัจจุบันว่าสมานฉันท์


ในอีกทางหนึ่งเป็นหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ปฐมเทศนาแก่ปัญจวัคคีร์ใน ครั้งแรกด้วย ด่วยหลักธรรมที่เรียกว่าธรรมจักรกัปปวัตตนสูตร ทีเปรียบธรรมจักรเหมือนวงล้อราชรถที่พระพุทธองค์เป็นสารถี ทำให้วงล้อธรรมจักรเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธมาก่อนที่จะเป็นพระพุทธรูป  ส่วนกวางหมอบที่อยู่ข้างธรรมจักรนั้น อาจเป็นไปได้ว่าได้ปฐมเทศนาที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ซึ่งมีกวางอาศัยเป็นจำนวนมาก
 

ที่มา  http://www.nstru.ac.th/portal/news/show_news.php?id=398


22180  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เส้นทาง “บาตรพระ” หนึ่งในอัฐบริขาร เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 10:48:41 am
เส้นทาง “บาตรพระ” หนึ่งในอัฐบริขาร


บาตร ภาชนะใส่อาหารสำหรับพระภิกษุสามเณร ถือว่าเป็นของใช้ที่มีความสำคัญสำหรับสงฆ์เป็นอย่างมาก และ เป็นหนึ่งในอัฐบริขาร 8 อย่าง ที่บัญญัติไว้ในพระธรรมวินัย ได้แก่ สบง (ผ้านุ่ง), จีวร (ผ้าห่ม), สังฆาฏิ (ผ้าพาดบ่า), ประคดเอว, บาตร, มีดโกนหรือมีดตัดเล็บ, เข็ม และกระบอกกรองน้ำ

บาตรที่ตรงตามหลัก พระธรรมวินัย

แม้ว่าปัจจุบันจะมีการผลิตบาตรพระ หลายรูปแบบออกมาจำหน่าย แต่บาตรที่มีลักษณะตรงตามหลักพระธรรมวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้มี 2 ชนิดเท่านั้นคือ ‘บาตรดินเผา’ และ ‘บาตรเหล็กรมดำ’ โดยควรมีขนาด 7-11 นิ้ว อีกทั้งพระพุทธองค์ยังทรงบัญญัติห้ามไม่ให้พระภิกษุใช้บาตรที่ทำจากโลหะหรือ วัสดุที่มีมูลค่าสูง เช่น ทอง เงิน ทองเหลือง ทองแดง อัญมณี และแก้วผลึกต่างๆ แม้แต่บาตรที่ทำจากดีบุก สังกะสี หรือไม้ ก็ใช้ไม่ได้

 

อย่าง ไรก็ดี ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน วัดบางแห่งจึงอนุโลมให้ใช้บาตรที่ทำจากสแตนเลส เนื่อง จากสะดวกในการดูแลรักษาและทำความสะอาดง่าย จึงเป็นที่นิยมในหมู่สงฆ์ ส่วนฝาบาตรนั้นในสมัยพุทธกาลจะทำจากไม้ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้ฝาสแตนเลสแทน เนื่องจากฝาบาตรที่ทำจากไม้มีปัญหาแตกหักง่าย แต่พระระดับเกจิ ในภาคอีสานบางรูปก็ยังใช้ฝาบาตรที่ทำจากไม้อยู่ โดยนำไม้มะค่าหรือไม้ประดู่มากลึงให้ได้รูปทรงเข้ากับตัวบาตร


พระครูใบฎีกาขาล สุขฺมโม วัดพระรามเก้า กาญจนาภิเษก ได้ให้ความรู้ในเรื่องนี้ว่า

“พระพุทธเจ้าทรงห้ามไม่ให้ภิกษุสามเณร ใช้บาตรที่ทำจากโลหะมีค่า เนื่องจากเกรงว่าจะทำให้พระได้รับอันตรายจากโจรผู้ร้ายที่มาแย่งชิงบาตร เพราะในสมัยพุทธกาลนั้น นอกจากพระจะออกบิณฑบาตเพื่อนำอาหารมาขบฉันแล้ว ก็ยังต้องออกธุดงค์ไปตามเมืองต่างๆ เพื่อเผยแผ่ธรรมะ ด้วย อีกทั้งการใช้บาตรที่ทำจากของที่มูลค่าสูงอย่างเงินหรือทองคำ อาจทำให้พระเกิดกิเลสได้ง่าย แต่ในปัจจุบันบางวัดอาจอนุโลมให้ใช้บาตรสแตนเลสได้ ในกรณีพระที่บวชไม่นาน เช่น บวชหน้าไฟ บวชช่วงเข้าพรรษา 1-3 เดือน

นอกจากนั้นพระพุทธเจ้า ยังทรงบัญญัติว่า ห้ามพระภิกษุใช้บาตรที่มีขนาดเกิน 11 นิ้ว เนื่องจากในสมัยพุทธกาลมีภิกษุรูปหนึ่งโลภมาก จึงใช้บาตรลูกใหญ่ในการบิณฑบาต หากบิณฑบาตได้อาหารดีๆ ก็จะนำไปซ่อนไว้ใต้บาตร เพื่อที่จะได้ฉันคนเดียว เมื่อบิณฑบาตได้อาหารจำนวนมากก็ฉันไม่หมด เน่าเสีย ต้องเททิ้ง ขณะที่พระบางรูปไม่มีอาหารจะฉัน พระพุทธเจ้าเห็นดังนั้นจึงทรงบัญญัติห้ามไม่ให้ใช้บาตรที่มีขนาดใหญ่เกินไป”

อย่าง ไรก็ดี พระพุทธเจ้าได้ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย เกี่ยวกับการใช้บาตรของพระภิกษุสงฆ์ไว้หลายประการ เช่น ในการบิณฑบาตให้พระภิกษุรับบาตรได้ไม่เกิน 3 บาตร ซึ่งหมายถึงว่าเมื่อบิณฑบาตจนเต็มแล้ว สามารถถ่ายของออกจากบาตร และรับบาตรได้อีกไม่เกิน 3 ครั้ง, เวลาบิณฑบาต ห้ามสะพายบาตรไว้ด้านหลัง เพื่อป้องกันไม่ให้บาตรไปชนอะไรแตกหักเสียหาย, ห้ามเปิดประตูขณะที่มือถือบาตรอยู่ เพราะอาจทำให้บาตรหล่นและแตกหักได้ ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยก่อนแล้วค่อยเปิดประตู, ขณะที่ถือบาตรอยู่ห้ามห่มจีวร ต้องวางบาตรให้เรียบร้อยก่อนจึงจะทำการขยับหรือนุ่งห่มจีวร, ห้ามวางบาตรชิดขอบโต๊ะ โดยต้องวางให้ห่างจากขอบโต๊ะอย่างน้อย 1 ศอก เพื่อป้องกันบาตรตกแตกเสียหาย

ทรงตะโกนิยมสุด

รูปทรง ของบาตรพระที่นิยมใช้ในประเทศไทยนั้น ‘หิรัญ เสือศรีเสริม’ ช่างแห่งชุมชนบ้าน บาตร ซึ่งสืบทอดการตีบาตร มาเป็นรุ่นที่ 6 ของตระกูล อธิบายว่า บาตรพระนั้นมีอยู่ 5 ทรงด้วยกัน คือ

1. ทรงไทยเดิม มีฐานป้าน ก้นแหลม จึงไม่สามารถวางบนพื้นได้ ต้องวางบนฐานรองบาตร

2. ทรงตะโก ฐานมีลักษณะคล้ายทรงไทยเดิม แต่ก้นมนย้อย สามารถวางบนพื้นได้

3. ทรงมะนาว รูปร่างมนๆ คล้ายกับผลมะนาวแป้น

4. ทรงลูกจัน เป็นบาตรทรงเตี้ย ลักษณะคล้ายทรงมะนาว แต่จะเตี้ยกว่า และ

5.ทรงหัวเสือ รูปทรงคล้ายกับทรงไทยเดิม แต่ส่วนฐานตัดเล็กน้อย สามารถวางบนพื้นได้


สำหรับ ทรงไทยเดิมและทรงตะโกนั้น จัดว่าเป็นทรงโบราณ ที่มีมานับร้อยปีแล้ว ขณะที่ทรงมะนาวและทรงลูกจันนั้นมี อายุประมาณ 80-90 ปี ส่วนทรงหัวเสือเป็นรุ่นหลังสุด มีมาประมาณ 30 ปี เป็นทรงที่พระสายธรรมยุตนิยมใช้ ส่วนทรงที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบันได้แก่ทรงตะโก
 

กว่าจะเป็นบาตรพระ

ว่า กันว่าบาตรที่ถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัยนั้น ต้องเป็นบาตรบุ หรือบาตรที่ทำขึ้นด้วยมือ และประกอบด้วยเหล็ก 8 ชิ้น มิใช่บาตรหล่อซึ่งผลิตด้วยเครื่องจักรอย่างที่พระบวชใหม่บางรูปใช้อยู่ใน ปัจจุบัน ซึ่งการทำบาตรบุนั้นมี ขั้นตอนต่างๆ มากมาย กว่าจะได้บาตรมาแต่ใบ โดยจะแบ่ง คร่าวๆ เป็น 7 ขั้นตอน คือ

ขั้นตอนที่ 1 ทำขอบบาตร ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของการทำบาตรพระ เนื่องจากขอบบาตรจะเป็นตัวกำหนดว่าบาตรใบนั้นจะมีขนาดและรูปทรงอย่างไร การขึ้นรูปขอบบาตรเริ่มจากการนำเหล็กมาตัดตามแต่ขนาดของบาตร เช่น บาตรขนาด 7 นิ้ว จะต้องตัดแผ่นเหล็กให้มีความยาว 8 นิ้ว เพื่อเหลือเนื้อที่ไว้ประกบปลายทั้งสองข้าง เมื่อได้เหล็กที่มีขนาดตามต้องการแล้ว ก็นำมาตีขมวดเป็นวงกลม ซึ่งเหล็กที่นำมาใช้นั้นจะใช้ฝาถังน้ำมันหรือใช้เหล็กแผ่นก็ได้

ขั้นตอนที่ 2 การประกอบกง ช่างจะตัดแผ่นเหล็กเป็นรูปกากบาท ซึ่งเรียกว่า ‘กง’ จากนั้นจึงดัดงอขึ้นรูปแล้วนำมาติดกับขอบบาตร เมื่อขึ้นรูปเสร็จจะเหลือช่องว่างรูปสามเหลี่ยมใบโพ 4 ช่อง ช่างจะวัดและตัดแผ่นเหล็กรูปร่างเหมือนใบหน้าวัว 4 ชิ้น ที่เรียกว่า ‘หน้าวัว’ หรือ ‘กลีบบัว’ จักฟันโดยรอบเพื่อใช้เป็นตะเข็บเชื่อมกับส่วนต่างๆ ตีให้งอเล็กน้อยตามรูปทรงของบาตร ซึ่งเมื่อประกอบกันแล้ว จะได้บาตรที่มีตะเข็บ 8 ชิ้นพอดี

ขั้น ตอนที่ 3 การแล่น คือการเชื่อมประสานรอยตะเข็บ ให้เหล็กเป็นเนื้อเดียวกัน โดยใช้ผงทองแดงกับน้ำประสานทองทาให้ทั่วบาตรก่อน เพื่อให้น้ำประสานทองเชื่อมโลหะไม่ให้มีรูรั่ว สมัยโบราณใช้เตาแล่นแบบที่ใช้มือสูบลมเร่งไฟ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนมาใช้เครื่องเป่าลมไฟฟ้าแทน

ขั้นตอนที่ 4 การลาย หรือการออกแบบรูปทรง เป็นการนำบาตรที่แล่นแล้วมาเคาะให้ได้รูปทรงที่ต้องการ โดยจะใช้ ‘ค้อนลาย’ ซึ่งเป็นค้อนรูปโค้งงอ หัวค้อนมีลักษณะแหลม เคาะด้านในของบาตร สำหรับที่รองเคาะนั้นเป็นทั่งไม้สี่เหลี่ยมขนาดพอเหมาะกับบาตร

ขั้นตอนที่ 5 การตี ช่างจะใช้ค้อนเหล็กตีผิวด้านนอกของบาตรให้รอบ เพื่อให้ส่วนที่นูนออกมาจากการลายเรียบเสมอกัน รวมทั้งตีให้รอยตะเข็บที่ยังขรุขระเรียบเสมอกัน จากนั้นต้องนำไป ‘ตีลาย’ บนทั่งไม้ เพื่อให้ได้รูปทรงตามต้องการ แล้วนำไปเจียรต่อโดยใช้เครื่องเจียรไฟฟ้า แล้วจึงตะไบตกแต่งให้สวยงามอีกครั้ง ซึ่งจะได้บาตรสีเงินขึ้นเงาแวววับ

ขั้นตอนที่ 6 การสุม หรือระบมบาตร เพื่อป้องกันการเกิดสนิม โดยในสมัยก่อนจะใช้กำมะถันทา จากนั้นจึงนำบาตรมากองรวมๆ กัน แล้วใช้หม้อครอบสุม เชื้อเพลิงที่ใช้จะเป็นเศษไม้สักจากร้านขายเครื่องไม้ซึ่งมีอยู่รอบภูเขาทอง เนื่องจากไม้สักเป็นไม้ที่ให้ความร้อนสูง ซึ่งบาตรที่ได้จากการสุมจะมีสีดำ จากนั้นจึงใช้น้ำมันมะพร้าวทาทับอีกครั้ง แต่ปัจจุบันนิยมใช้น้ำมันกันสนิมชโลมให้ทั่วตัวบาตรแทน

ขั้นตอนที่ 7 การทำสี อันเป็นขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งทำให้บาตรเป็นสีต่างๆ เช่น สีเขียว สีดำสนิท นั้นถือเป็นเทคนิค เฉพาะตัวของช่างแต่ละคน รวมทั้งการแกะสลักลวดลายไทย การตีตรา การสลักชื่อช่างผู้ทำ ซึ่งจะทำหรือไม่ก็แล้วแต่ความพอใจของช่างตีบาตร

มีทั้งสุมเขียว และรมดำ

ส่วนสีของบาตรพระนั้นส่วนใหญ่จะนิยมสีดำเป็น หลัก ซึ่ง ‘หิรัญ’ ช่างเก่าแก่ของบ้านบาตร เล่าถึงวิธีการทำสีว่า โดยทั่วไปจะมีอยู่ 2 แบบ คือ ‘สุมเขียว’ และ ‘รมดำ’ ซึ่งสุมเขียว ก็คือการนำเศษไม้สักมาเผาให้เกิดความร้อน แล้วจึงนำบาตรไปเผาในฟืนไม้สัก บาตรที่ได้จะเป็นสีเขียวปีกแมลงทับ

ส่วน รมดำคือการนำบาตรไปเผาจนดำ รอให้เย็น จากนั้นจึงนำน้ำยาที่ทำจากส่วนผสมของใบขี้เหล็ก แอลกอฮอล์ และชะแล็ก มาทาให้ทั่วทั้งด้านนอกและด้านในบาตร ตากให้แห้ง แล้วนำไปรมควันอีกครั้ง ถ้าอยากให้สีดำสนิทก็ให้ทาน้ำยาหลายๆ เที่ยว นอกจากนั้นปัจจุบันยังมีการทำให้เกิดลวดลาย ด้วยการใช้ค้อนค่อยๆ ตีให้ขึ้นลาย ซึ่งเรียกกันว่า ‘บาตรตี เม็ด’


“ถ้าเป็นพระสายธรรมยุต ส่วนใหญ่ท่านได้บาตรที่ตะไบจนขึ้นเงา แล้วมาก็จะนำไปบ่มเอง การรมดำกับการบ่มบาตร ไม่เหมือนกันนะ รมดำใช้เวลาแค่ชั่วโมงเดียว แต่บ่มบาตรใช้เวลาทั้งวันทั้งคืน ซึ่งช่างแถวบ้านบาตรเราไม่มีความรู้ทางด้านนี้ไม่รู้ว่าท่านทำยังไง แต่พระสายธรรมยุตท่านเก่งมาก เพราะการบ่มบาตรต้องใช้ความอดทนสูง ท่านเก่งกว่าเรา (หัวเราะ) แต่ละวัดไม่เหมือนกัน บางวัดจะใช้บาตรที่มีสีเงินเงาวับ ซึ่งเรียกว่าบาตรตะไบขาว แต่ถ้าเป็นพระสายธรรมยุต จะใช้บาตรซึ่งมีดำสนิท” ช่างตีบาตรจากบ้านบาตรกล่าว

สนนราคาตั้งแต่ 300-1,700

สำหรับ สนนราคาของบาตรพระนั้น ขึ้นอยู่กับขนาดและวิธีการทำ บาตรบุซึ่งทำด้วยเหล็กจะมีราคาแพงกว่าบาตรปั๊มสแตนเลส โดยบาตรขนาด 7 นิ้ว หากเป็นบาตรบุราคา จำหน่ายอยู่ที่ 900 บาท ส่วนบาตรปั๊ม มีราคาเพียง 600 กว่าบาท (ต้นทุนที่ทางร้านเครื่องสังฆภัณฑ์รับมาขายอยู่ที่ 100 กว่าเท่านั้น)

ขนาด 8.5 นิ้ว บาตรบุราคา 1,400 บาท ส่วนบาตรปั๊ม ราคา 650 บาท สำหรับบาตรขนาดมาตรฐาน 9 นิ้ว บาตรบุราคา 1,500 บาท บาตรปั๊ม ราคา 1,700 บาท ส่วนบาตร ขนาด 11 นิ้วนั้นปัจจุบันไม่มีการทำออกมาจำหน่ายแล้ว ทั้งนี้ หากเป็นบาตรปั๊มที่ทำจากเหล็กราคาจะถูกกว่ามาก โดยอยู่ที่ใบละ 300-600 บาทเท่านั้น

‘วันทนา แต่มีบุญ’ เจ้าของร้านเพ้งสหพันธ์ ย่านเสาชิงช้า บอกว่า ปัจจุบันร้านสังฆภัณฑ์ต่างๆจำหน่ายแต่บาตรปั๊มสแตนเลส ส่วนบาตรบุไม่มีจำหน่ายแล้ว เนื่องจากผู้ที่ผลิตบาตรบุไม่สามารถทำส่งได้ทัน ซึ่งเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ราคาบาตรปั๊มปรับตัวสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะไม่มีคู่แข่ง

“เดี๋ยวนี้พระท่านนิยมบาตรสแตนเลสมากกว่า เพราะดูแลรักษาง่าย ส่วนบาตรบุตีตะเข็บไม่ค่อยนิยมแล้ว เพราะมักมีปัญหาบาตรรั่วบริเวณแนวตะเข็บ อีกอย่างช่างก็ทำไม่ค่อยทัน ถ้าพูดถึงยอดขายในช่วงเข้าพรรษานี้ ก็ไม่ค่อยดีเท่าไร อาจเป็นเพราะส่วนใหญ่จะอุปสมบทช่วงเดือนมิถุนายน เพื่อถวายเนื่องในวโรกาสครองราชย์ครบ 60 ปีของในหลวง

พระสึกแล้ว บาตรไปไหน


บางคนอาจสงสัยว่าในแต่ละปีมีพระภิกษุที่บวช ในช่วงเข้าพรรษา และลาสิกขาไปในช่วงออกพรรษา รวมทั้งภิกษุสามเณรที่บวชภาคฤดูร้อนเป็นจำนวนมาก เมื่อภิกษุสามเณรเหล่านี้ลาสิกขาไปแล้ว บาตรพระที่ท่านใช้อยู่หายไปไหน มีการนำกลับมาเวียนใช้ใหม่หรือไม่ และหากเป็นวัดที่มีการอุปสมบทภาคฤดูร้อนเป็นประจำ พระท่านจะจัดการกับบาตรที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างไร พระครูใบฎีกาขาล สุขมฺโม ไขข้อข้องใจในเรื่องนี้ว่า

“เวลาที่พระภิกษุหรือสามเณรสึกออกไป จะไม่นิยมนำผ้าจีวรหรือบาตรกลับบ้าน แต่จะทิ้งไว้ที่วัดเพื่อเป็นการทำบุญ ซึ่งหากบาตรของพระรูปใดแตก ร้าว หรือบิ่น ท่านก็จะนำบาตรเหล่านี้มาใช้แทน ถ้าในกรณีที่วัดนั้นมีการบวชภาคฤดูร้อน ก็จะนำบาตรดังกล่าวมาให้สามเณรที่บวชใหม่ได้ใช้ เพื่อเป็นการสนับสนุนให้เด็กๆ ได้บวชเรียน แต่ถ้าเป็นบวชภาคฤดูร้อนของพระภิกษุ ผู้ที่จะบวชต้องนำบาตรมาเอง เพราะถือเป็นหนึ่งในอัฐบริขารที่ผู้บวชต้องมี

อย่างที่วัดพระราม เก้า กาญจนาภิเษก ที่อาตมาอยู่นั้น ก็มีการบวชสามเณรภาคฤดูร้อนทุกปี เราก็จะจัดสรรบาตรเตรียมไว้ให้สามเณรบวชใหม่ ถ้ามีเหลือเราก็จะส่งไปให้พระสงฆ์ที่มหามกุฎราชวิทยาลัย ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีพระภิกษุสามเณรบวชเรียนอยู่ประมาณ 1,000 กว่ารูป เพราะเราเห็นว่าบาตรแต่ลูกหากใช้ไปหลายๆ ปีก็อาจจะกะเทาะ หรือมีรอยบุบ พระ-เณรท่านจะได้ใช้บาตรที่เราส่งไปแทนได้”

กล่าวได้ว่าเส้นทางของ ‘บาตรพระ’ คงไม่แตกต่างจากการเดินเข้าสู่เส้นทางธรรมของบรรดาชายหนุ่ม ที่พร้อมจะสละความสุขทางโลก เพื่อแสวงหาธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเส้นทางนั้นต้องผ่านการเคี่ยวกรำ เฉกเช่นการตีและบ่มบาตร อีกทั้งพร้อมที่จะเสียสละตนเองทุกเมื่อเพื่อดำรงไว้ซึ่งพุทธศาสนา
 

บ้านบาตร : วิถีของช่างตีบาตร

หากจะพูดถึง แหล่งตีบาตรพระที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้วละก็ เป็นที่ไหนไปไม่ได้นอกจาก ‘ชุมชนบ้านบาตร’ ซึ่งปัจจุบัน ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกเมรุปูน ใกล้วัดสระเกศ ซอยบ้านบาตร ถนนบำรุงเมืองและถนนบริพัตร แขวงสำราญราษฎร์ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

สันนิษฐานว่าบ้านบาตร เกิดจากการรวมตัวของชาวกรุงศรีอยุธยา ซึ่งมีความชำนาญด้านการตีบาตรที่ได้อพยพเข้ามาอยู่ใน กรุงเทพฯ ราวพ.ศ.2326 สมัยที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สถาปนากรุงเทพมหานครขึ้นเป็นราชธานี และเนื่องจากในช่วงต้นของราชวงศ์จักรีนั้น พระมหากษัตริย์ พระบรมวงศานุวงศ์ และผู้มีฐานะ นิยมสร้างวัด ทำให้กรุงเทพฯ มีวัดและพระสงฆ์อยู่เป็นจำนวนมาก การตีบาตรพระจึงเป็นอาชีพหนึ่งที่เฟื่องฟูมากในขณะนั้นและกลาย เป็นอาชีพที่หล่อเลี้ยงชีวิตของชาวบ้านบาตรเรื่อยมา

จนกระทั่งปี พ.ศ.2514 ได้มีการก่อตั้งโรงงานผลิตบาตรพระขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบอย่างหนักต่อชาวบ้านบาตร ชนิดที่เรียกว่า แทบจะทำให้ชุมชนล่มสลายเลยทีเดียว เพราะครอบครัวที่ประกอบอาชีพตีบาตรพระ ต่างก็ต้องเลิกกิจการไปตามๆ กัน เนื่องจากยอดสั่งซื้อมีน้อยลง และถูกกดราคาจนไม่สามารถอยู่ได้

อย่างไรก็ดี ในปี พ.ศ.2544 ได้มีการตั้งกลุ่มทำบาตรพระขึ้นมาอีกครั้ง จากการสนับสนุนของนายชาญชัย วามะศิริ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบฯ โดยส่งเสริมให้บ้านบาตรกลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งคนไทยและต่างชาติสามารถเข้ามาดูวิธีการทำบาตร และซื้อหาบาตรพระใบเล็กๆ ไปเป็นที่ระลึก ส่งผลให้กิจการของชาวบ้านบาตรเริ่มฟื้นตัวขึ้น เพราะนอกจากจะมีรายได้จากการตีบาตรสำหรับพระภิกษุแล้ว ชาวบ้านยังมีรายได้อีกส่วนหนึ่งจากการขายบาตรขนาดเล็กให้แก่นักท่องเที่ยว ด้วย หลายครอบครัวที่เลิกอาชีพนี้ไปก็กลับมาทำอาชีพตีบาตรเหมือนเดิม ทำให้ปัจจุบันชุมชนบ้านบาตรกลับฟื้นคืนชีวิตขึ้นอีกครั้


คัด ลอกมาจาก ::
ผู้จัดการออนไลน์ 28 สิงหาคม 2549 13:36 น.
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19702


22181  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เหตุการณ์ ก่อนที่พระองค์จะตัดสินพระทัยสั่งสอนเวไนยสัตว์ เมื่อ: มิถุนายน 08, 2010, 10:32:06 am
เหตุการณ์ ก่อนที่พระองค์จะตัดสินพระทัยสั่งสอนเวไนยสัตว์


เมื่อพ่อค้าสองพี่น้องกราบทูลลาไปแล้ว  พระพุทธองค์ทรงเสด็จไปประทับ
เสวยวิมุตติสุข ณ ร่มไม้อชปาลนิโครธ (ต้นไทร) พระองค์ทรงรำพึงถึงธรรมที่ตรัสรู้ว่า

           “เป็นธรรมชาติ อันลึกซึ้ง ประณีตยิ่งนัก  ยากอย่างยิ่งที่มนุษย์
และสรรพสัตว์ทั่วๆ ไป  ผู้ซึ่งมีกิเลสหนาปัญญาน้อยหมกมุ่นยินดีอยู่ในกามคุณ
กองกิเลส  ถูกครอบงำให้ลุ่มหลงอยู่ในสงสาร ไฉนเลยจะรู้แจ้งได้”


             ขณะนั้นท้าวสหัมบดีพรหมทราบถึงพุทธดำริจึงชักชวนเหล่าเทพจากเทวโลก
เข้าไปเฝ้ากราบทูลอาราธนาให้ทรงแสดงธรรมโปรดสรรพสัตว์ทั้งปวง

            เมื่อได้สดับคำอาราธนา ของท้าวมหาพรหมแล้ว ทรงมีพระทัย กรุณาในหมู่สัตว์
พิจารณาตรวจดูสัตว์โลก เปรียบได้กับดอกบัว ๔ ประเภท


            อุคฆฏิตัญญู   บุคคลผู้มีอุปนิสัยวาสนาบารมีแก่กล้า  สติปัญญาดีและ
มีกิเลสเบาบาง
   เพียงได้ฟังพระธรรมเทศนาโดยย่อก็สามารถบรรลุมรรคผล
ได้โดยฉับพลัน เปรียบเหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว พอถูกแสงอาทิตย์ยามเช้าก็บานทันที


            วิปจิตัญญู   บุคคลผู้มีอุปนิสัยวาสนาบารมีปานกลาง มีกิเลสและ
ปัญญาปานกลาง
  ต่อเมื่อได้ฟังพระสัทธรรมซ้ำหรือได้ฟังอรรถาธิบาย
อีกทั้งได้รับคำแนะนำ  ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำ
ซึ่งจะบานในวันต่อไป


            เนยยะ บุคคลผู้มีวาสนาบารมีน้อย  มีสติปัญญาน้อย  มีกิเลสหนา  เมื่อได้ฟัง
พระสัทธรรมบ่อยๆ  ได้กัลยาณมิตรคอยแนะนำพร่ำสอน   พยายามทำความเพียรไม่ขาด
หมั่นเจริญสมถวิปัสสนา   ก็สามารถบรรลุมรรคผลได้   เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำ
มีโอกาสที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป


            ปทปรมะ บุคคลผู้มีวาสนาบารมียังไม่บริบูรณ์ถึงขึ้นจะบรรลุธรรมได้    อีกทั้ง
หนาแน่นไปด้วยกิเลส
   ไม่รู้จักเหตุและผล  ยากที่จะสั่งสอนให้บรรลุธรรมได้ในชาตินี้
แต่จะเป็นปัจจัยให้บรรลุธรรมในชาติต่อไป เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในโคลนตม
ย่อมเป็นเหยื่อของเต่าและปลา
 

            ดอกบัวมีหลากหลาย เช่น เวไนยสัตว์ผู้มีกิเลสมาก กิเลสปานกลาง กิเลสน้อย
ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า

            ครั้นทรงพิจารณาด้วยพระปรีชาญาณ  และพระมหากรุณาคุณ
ต่อเหล่าสรรพสัตว์ทั้งหลายแล้ว   จึงอธิษฐานพระทัยที่จะทรงแสดงธรรมสั่งสอน
เหล่าเวไนยสัตว์  ทรงตั้งพุทธปณิธานจะดำรงพระชนม์  จนกว่าจะประกาศพุทธศาสนา
ให้แพร่หลาย  ประดิษฐานพระธรรมให้มั่นคงแล้ว  เหล่าเทพยดาทุกจำพวกทราบถึง
พุทธปณิธานแล้ว ต่างพนมกรถวายอภิวาทพร้อมเปล่งเสียงแซ่ซ้องสาธุการ
และกลับสู่ทิพยวิมานของตน

 

            พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงอา ฬารดาบสกาลามโคตร  และอุทกดาบสรามบุตร
แต่ทรงทราบด้วยทิพยจักษุญาณว่า ท่านทั้งสองเพิ่งจะสิ้นชีพ ทำให้พระองค์นึกเสียดาย
เป็นอย่างยิ่ง หากท่านทั้งสองได้ฟังพระธรรมก็จะได้บรรลุพระนิพพานอันเป็นบรมสุข

ที่มาจากพระไตรปิฎก อรรถกถาและคัมภีร์ที่เกี่ยวข้อง
http://buddha-thushaveiheard.com/All_page_04/html_1-40/SC_18.html

22182  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / "การตักบาตร" ทำอย่างไรได้บุญ...เต็มร้อย เมื่อ: มิถุนายน 07, 2010, 11:40:40 am
"การตักบาตร" ทำอย่างไรได้บุญ...เต็มร้อย


เปิดปูมวิถีการตักบาตร ทำอย่างไรได้บุญ...เต็มร้อย

การตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้

วัตถุประสงค์ของการตักบาตร
นอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทาน เพื่อบูชาคุณแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

1. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา
2. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม
3. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติ ทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร


การตักบาตรจึงเป็น ประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณร ได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชน เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วย เพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม

ประวัติการทำบุญตักบาตร
การทำบุญตักบาตรนี้ มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาต ก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า 2 คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง

บาตร เป็นภาชนะจำเป็นของพระภิกษุจะขาดเสียมิได้ นับเข้าในจำนวนบริขารอย่างหนึ่งในบริขาร 8 ตามปกติพระจะไปอยู่ที่ใด ต้องมีบาตรประจำตัวไปด้วย และการออกบิณฑบาตก็ออกในเวลาเช้า ตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าองค์ ทรงบำเพ็ญเป็นพุทธกิจประจำวัน โดยปกติ พระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป


เมื่อพระภิกษุสามเณร ต้องออกบิณฑบาตตอนเช้าทุกวัน ชาวบ้านก็ตักบาตรทุกวัน แต่บางคนตักบาตรเฉพาะในรอบวันเกิดประจำปี และมักจะตักบาตรพระจำนวนเท่าอายุ หรือเกินกว่าอายุ ถ้าเป็นวันสำคัญทางศาสนา ก็มักจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด แต่บางคราวเช่นในเทศกาลปีใหม่ และตรุษสงกรานต์ จะมีการชุมนุมตามที่ที่กำหนดไว้ เช่น สนามหลวง พุทธมณฑล ในโรงเรียน ในสถาบัน หรือ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง แล้วแต่จะนัดหมายกัน นอกจากนี้ยังมีการตักบาตรที่มีชื่อเฉพาะอีก เช่น ตักบาตรเทโว ตักบาตรข้าวสาร ตักบาตรดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น

วิธี ปฏิบัติในการตักบาตร

โดยปกติพระภิกษุสามเณร จะเดินเรียงลำดับอาวุโส ไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมาก จึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป

การตักบาตรเป็นสังฆทาน คือการถวายโดยไม่เจาะจง จึงควรตั้งใจว่าจะทำบุญตักบาตร แก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนา โดยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมา ก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นและรูปอื่นๆ ไปตามลำดับโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ
2. นำอาหารที่เตรียมไว้ไปคอยตักบาตร ก่อนที่จะตักบาตรควรตั้งจิตถวายด้วยศรัทธา และความเคารพ ตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป
3. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ
4. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้
5. หลังจากตักบาตร ควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ หรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว


การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
คำอธิษฐาน ในการตักบาตรจะใช้ภาษาบาลี หรือภาษาไทยหรือใช้ทั้งสองภาษาก็ได้ ดังนี้
“สุ ทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ” ถอดความว่า “ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้านี้จงสิ้นอาสวกิเลสเทอญ”

คำกรวดน้ำแบบย่อ
“อิทัง เม ญาตินัง โหตุ “ ถอดความว่า “ขอส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติข้าดั่งตั้งใจ “


ขอขอบ คุณข้อมูลข่าว :สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=icyiceberg&date=26-02-2009&group=6&gblog=38


22183  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / วันอัฏฐมีบูชา มีความสำคัญอย่างไร เมื่อ: มิถุนายน 05, 2010, 01:52:34 pm
วันอัฏฐมีบูชา(วันสำคัญที่ถูกลืม )


เนื้อหาโดยย่อของ  “วันอัฏฐมีบูชา” วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ

ความหมาย
เนื่องด้วยอัฏฐมี คือวันแรม ๘ ค่ำ แห่งเดือนวิสาขะ (เดือน ๖) เป็นวันที่ถือกันว่าตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ เมื่อถึงวันนี้แล้ว พุทธศาสนิกชนบางส่วน ผู้มีความเคารพกล้าในพระพุทธองค์ มักนิยมประกอบพิธีบูชา ณ ปูชนียสถานนั้น ๆ วันนี้จึงเรียกว่า "วันอัฏฐมีบูชา"

ประวัติความเป็นมา

เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน แล้ว ๘ วัน มัลลกษัตริย์แห่งนครกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณ มกุฏพันธนเจดีแห่งกรุงกุสินารา วันนั้นเป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความสังเวชสลดใจ และวิปโยคโศกเศร้าเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้นเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนบางส่วน โดยเฉพาะพระสงฆ์และอุบาสกอุบาสิกาแห่งวัดนั้น ๆ ได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะภายในวัด เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่

ความสำคัญ
โดย ที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาว พุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติ ภาวนามัยกุศล

พิธีอัฏฐมีบูชา
การประกอบ พิธีอัฏฐมีบูชานั้น นิยมทำกันในตอนค่ำและปฏิบัติอย่างเดียวกันกับประกอบพิธีวิสาขบูชา ต่างแต่คำบูชาเท่านั้น

ขอขอบคุณเนื้อหาจาก www.dhammathai.org
ที่มา  http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=3147

---------------------------------------------------

ความเป็นมาของวันอัฏฐมีบูชาโดยละเอียด
 

วัน อัฐมีบูชา เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘ วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้

ความสำคัญ
โดยที่วันอัฏฐมีคือวันแรม ๘ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันที่มีเหตุการณ์สำคัญทางพระพุทธศาสนา ถือเป็นวันที่ตรงกับวันที่ตรงกับวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเป็นวันที่ชาว พุทธต้องวิปโยค และสูญเสียพระบรมสรีระแห่งองค์พระบรมศาสดา ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงยิ่ง และเป็นวันควรแสดงธรรมสังเวชและระลึกถึงพระพุทธคุณให้สำเร็จเป็นพุทธานุสสติ ภาวนามัยกุศล

การบำเพ็ญกุศลเนื่องในพิธีวันอัฏฐมีบูชา
การบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฐมีบูชานี้ มีไม่กี่แห่งที่จัด เพราะในเมืองไทยมักไม่เป็นที่นิยม แม้สมัยก่อนอาจจะมีงานฉลองในพิธีวันอัฏฐมีบูชาบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ก็เลิกราไปมากแล้ว คงมีไม่กี่วัด เฉพาะในกรุงเทพ ที่ยังจัดพิธีเฉลิมฉลองในวันนี้อยู่ เช่นวัดราชาธิวาส ส่วนการบำเพ็ญกุศลในวันนี้ ก็เหมือนกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอื่นๆ มีการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา และมีการเวียนเทียนในตอนค่ำ บางวัดในบางจังหวัด ยังมีการนิยมบำเพ็ญกุศลเนื่องในวันอัฎฐมีบูชานี้อยู่บ้าง บางแห่งถึงกับจัดเป็นงานใหญ่ มีการจำลองเหตุการณ์วันถวายพระเพลิงพุทธสรีระ เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ครั้งพุทธกาลด้วย เช่น วัดพระบรมธาตุทุ่งยั้ง จ.อุตรดิตถ์


ประวัติความเป็นมา
พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ พวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด ๗ วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๘ คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง

การจัดเตรียมพระศพ
พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระ อานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า ๕๐๐ คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด

อัศจรรย์จุดไฟไม่ติด

จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า ๔ คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ ๕๐๐ รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี

พระมหากัสสปะขอเข้าเฝ้าพระศาสดา
ครั้งนั้นพระมหากัสสปะเถระและหมู่ภิกษุเดินทางจากเมืองปาวา หมายจะเข้าเฝ้าพระศาสดา ระหว่างทาง ได้พบกับพราหมณ์คนหนึ่ง ถือดอกมณฑารพสวนทางมา พระมหากัสสปะได้เห็นดอกมณฑารพก็ทราบว่า มีเหตุการณ์ไม่ปกติเกิดขึ้น ดอกไม้นี้มีเพียงในทิพย์โลก ไม่มีในเมืองมนุษย์ การที่มีดอกมณฑารพอยู่ แสดงว่าจะต้องมีอะไร เกิดขึ้นกับพระศาสดา พระมหากัสสปะถามพราหมณ์นั้นว่า ได้ข่าวอะไรเกี่ยวกับพระศาสดาบ้างหรือไม่ พราหมณ์นั้นตอบว่า พระสมณโคดมได้ปรินิพพานไป ล่วงเจ็ดวัน แล้ว


พระภิกษุที่ไม่เป็นอรหันต์ร่ำไห้


"พระศาสดาปรินิพพานแล้ว" คำนี้เสียดแทงใจของพระภิกษุปุถุชนยิ่งนัก พระภิกษุศิษย์ของพระมหากัสสปะบางรูป ที่ยังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็กลิ้งเกลือกไปบนพื้น บ้างก็คร่ำครวญร่ำไห้ ว่า "พระศาสดาปรินิพพานเสียเร็วนัก" ส่วนพระภิกษุผู้เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว ย่อมเกิดธรรมสังเวชว่า "แม้พระศาสดา ผู้เป็นดวงตาของโลก ยังต้องปรินิพพาน สังขารธรรมไม่เที่ยงแท้เสียจริงหนอ"

ภิกษุรูปหนึ่งพูดจาบจ้วงพระศาสดาและพระธรรมวินัย

แต่ในหมู่ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปนั้น เสียงของสุภัททะ วุฑฒบรรพชิตก็ดังขึ้น "ท่านทั้งหลายอย่าไปเสียใจเลย พระสมณโคดมนิพพานไปซะได้ก็ดีแล้ว จะได้ไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไช ว่าสิ่งนี้สมควรกับเรา สิ่งนี้ไม่สมควรกับเรา"
คำพูดของหลวงตาสุภัททะ เป็นที่สังเวชต่อ พระมหากัสสปะยิ่งนัก ท่านคิดว่า "พระผู้มีพระภาคยังนิพพานไปได้ไม่นาน ก็มีภิกษุบาปชนกล่าวจาบจ้วงพระศาสดา จาบจ้วงพระธรรมวินัยเช่นนี้ ถ้าเวลาผ่านไป ก็คงมีภิกษุบาปชนเช่นนี้ กล่าวจาบจวงพระธรรมวินัยเกิดขึ้นเป็นอันมาก" แต่ท่านก็ยั้งความคิดเช่นนี้ไว้ก่อน เพราะยังไม่ถึงเวลาที่จะกระทำสิ่งใดๆ นอกจากจะต้องจัดการ ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระเสียก่อน



อัศจรรย์พระยุคลบาทยื่นออกมาตามคำอธิษฐาน


เมื่อพระมหากัสสปะ และภิกษุ ๕๐๐ รูป เดินทางมาถึงสถานที่ถวายพระเพลิงมกุฏพันธนเจดีย์แล้ว ห่มจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ รอบเชิง ตะกอน ๓ รอบ พระมหากัสสปะเปิดผ้าทางพระบาทแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองด้วยเศียรเกล้า โดยท่านกำหนดว่าตรงนี้เป็นพระบาทแล้ว เข้าจตุตถฌาน อันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกจากฌานแล้วอธิษฐานว่า "ขอพระยุคลบาท ของพระองค์ที่มีลักษณะเป็นจักรอันประกอบด้วยซี่พันซี่ ขอจงชำแรกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ พร้อมทั้งสำลี ไม้จันทน์ ออกเป็นช่อง ประดิษฐานเหนือเศียรเกล้าของข้าพระองค์ด้วยเถิด" เมื่ออธิษฐานเสร็จ พระยุคลบาทก็แหวกคู่ผ้า ๕๐๐ คู่ออกมา พระเถระจับยุคลบาทไว้มั่น และน้อมนมัสการเหนือเศียรเกล้าของตน มหาชนต่างเห็นความอัศจรรย์นั้น ก็ส่งเสียงแสดงความอัศจรรย์ใจ เมื่อพระเถระและภิกษุ ๕๐๐ รูป ถวายบังคมแล้ว ฝ่าพระยุคลบาทก็เข้าประดิษฐานในที่เดิม

 

อัศจรรย์ไฟลุกขึ้นเอง
 ครั้นแล้วเปลวเพลิงก็ลุกโพลงท่วมพระสรีระของพระศาสดา ด้วยอำนาจของเทวดา ในการเผาไหม้นี้ ไม่มีควันหรือเขม่าใดๆฟุ้งขึ้นเลย เมื่อเพลิงใกล้จะดับ ก็มีท่อน้ำไหลหลั่งลงมาจากอากาศ และมีน้ำพุ่งขึ้นจากกองไม้สาละ ดับไฟที่ยังเหลืออยู่นั้น เหล่าเจ้ามัลละก็ปะพรมพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยของ หอม ๔ ชนิด รอบๆบริเวณ ก็โปรยข้าวตอกเป็นต้น แล้วจัดกองกำลังอารักขา จัดทำสัตติบัญชร (ซี่กรงทำด้วยหอก) เพื่อป้องกันภัย แล้วให้ขึงเพดานผ้าไว้เบื้องบน ห้อยพวง ของหอม พวงมาลัย พวงแก้ว ให้ล้อมม่านและเสื่อลำแพนไว้ทั้งสองข้าง ตั้งแต่มกุฏพันธนเจดีย์ จนถึงศาลาด้านล่าง ให้ติดเพดานไว้เบื้องบน ตลอดทางติดธง ๕ สีโดยรอบ ให้ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำ พร้อมกับตามประทีปมีด้ามไว้ตามถนนทุกสาย

ฉลองพระบรมธาตุ ๗ วัน
พวกเจ้ามัลละนำพระธาตุทั้งหลายวางลงในรางทองแล้ว อัญเชิญไว้บนคอช้าง นำพระธาตุเข้าพระนครประดิษฐานไว้บนบัลลังก์ที่ทำด้วยรัตนะ ๗ อย่าง กั้นเศวตร ฉัตรไว้เบื้องบน แล้วจัดกองกำลังอารักขาอย่างนี้คือ "จัดเหล่าทหารถือหอกล้อมพระธาตุไว้ จากนั้นจัดเหล่าช้างเรียงลำดับกระพองต่อกันล้อมไว้ พ้นจากเหล่าช้างก็เป็น เหล่า ม้าเรียงลำดับคอต่อกัน จากนั้นเป็นเหล่ารถ เหล่าราบรอบนอกสุดเป็นทหารธนูล้อมอยู่" พวกเจ้ามัลละจะจัดฉลองพระบรมธาตุตคลอด ๗ วัน ต้องการความมั่นใจว่า ๗ วัน นี้แม้จะมีการละเล่นก็เป็นการละเล่นที่ไม่ประมาท

เกิดการแย่งชิงพระบรมธาตุ
หลังจากนั้น เมื่อข่าวการปรินิพพานของพระพุทธเจ้า และการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ พระสรีระกลายเป็นพระบรมสารีริกธาตุแล้ว เหล่ากษัตริยน์ในนครต่างๆ เมื่อทราบข่าวก็ปรารถนาจะได้พระบรมธาตุไปบูชา จึงส่งสาสน์ ส่งฑูตมาขอพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคของเรา" "พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น กษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราจึงมีส่วนที่จะได้พระบรมธาตุบ้าง" เหล่ามัลละกษัตริย์ก็ไม่ยอมยกให้ ด้วยเหตุผลว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองของเรา" ดังนั้น กษัตริย์ในพระนครต่างๆ เช่น พระเจ้าอชาตศัตรู จอมกษัตริย์แคว้นมคธ และกษัตริย์เหล่าอื่นๆ จึงยกกองทัพมาด้วยหวังว่า จะแย่งชิงพระบรมสารีริกธาตุ เมื่อยกกองทัพ มาถึงหน้าประตูเมือง ทำท่าจะเกิดศึกสงครามแย่งชิงพระบรมธาตุ

โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมธาตุ
ครั้งนั้น พราหมณ์ผู้ใหญ่คนหนึ่ง คือ โทณพราหมณ์ หวั่นเกรงว่าจะเกิดสงครามใหญ่ จึงขึ้นไปยืน บนป้อมประตูเมือง ประกาศว่า "พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทรงสรรเสริญขันติ สรรเสริญสามัคคีธรรม การที่เราจะมาประหัตประหารเพราะแย่งชิง พระบรมธาตุ ของพระองค์ผู้ประเสริฐ ย่อมไม่สมควร ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงยินดีในการที่จะแบ่งกันไปเป็น ๘ ส่วน และนำไปบูชายังบ้านเมืองของท่านทั้งหลายเถิด เพราะ ผู้ศรัทธาในพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นมีมาก"

ในพระไตรปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตรได้กล่าวถึงเหตุการณ์ขณะที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรม สารีริกธาตุ ว่า หมู่คณะเหล่านั้นตอบว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่าน นั่นแหละจงแบ่ง พระสรีระพระผู้มีพระภาคออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อย เถิด

โทณ พราหมณ์ รับคำของ หมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระพระผู้มีพระภาค ออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าว กะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูกรท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย ขอพวกท่าน จงให้ตุมพะนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้า จักกระทำพระสถูป และกระทำการฉลองตุมพะบ้าง ทูตเหล่านั้นได้ให้ตุมพะแก่โทณพราหมณ์ ฯ

เจ้าโมริยะมาทีหลังได้พระอังคาร
พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้สดับข่าวว่า พระผู้มีพระภาค เสด็จปรินิพพาน ในเมืองกุสินารา จึงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาค เป็นกษัตริย์ แม้ เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระ พระผู้มีพระภาคบ้าง จักได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค พวกเจ้ามัลละ เมือง กุสินาราตอบว่า ส่วนพระสรีระพระผู้มี พระภาคไม่มี เราได้ แบ่งกันเสียแล้ว พวกท่านจงนำพระอังคารไปแต่ที่นี่เถิด พวกทูตนั้น นำ พระ อังคารไปจากที่นั้นแล้ว ฯ

สถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุมีทั้งหมด ๑๐ แห่ง
๑. ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธ พระนามว่า อชาตศัตรู เวเทหิบุตร ได้กระทำ พระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในพระนครราชคฤห์
๒. พวก กษัตริย์ ลิจฉวีเมืองเวสาลี ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองเวสาลี
๓. พวกกษัตริย์ ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ก็ได้กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกบิลพัสดุ์
๔. พวกกษัตริย์ถูลีเมือง อัลกัปปะ ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมือง อัลกัปปะ
 ๕. พวกกษัตริย์ โกลิยะเมืองรามคาม ก็ได้กระทำพระสถูปและการฉลอง พระสรีระพระผู้มี พระภาคในเมืองรามคาม
๖. พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกะ ก็ได้ กระทำพระสถูป และการฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองเวฏฐทีปกะ
๗. พวก เจ้ามัลละเมืองปาวา ก็ได้กระทำพระสถูปและ การฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาค ในเมืองปาวา
๘. พวกเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ก็ได้กระทำพระสถูป และการ ฉลอง พระสรีระพระผู้มีพระภาคในเมืองกุสินารา
๙. โทณพราหมณ์ ก็ได้กระทำสถูปและ การฉลอง ตุมพะ
๑๐. พวกกษัตริย์โมริยะ เมืองปิปผลิวัน ก็ได้กระทำพระสถูปและการ ฉลองพระอังคารในเมือง ปิปผลิวัน ฯ


พระสถูปบรรจุพระสรีระมีแปดแห่ง เป็นเก้าแห่งทั้งสถูปบรรจุตุมพะ เป็นสิบแห่ง ทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคาร ด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อ พระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว ฯ

พระบรมสารีริกธาตุมีทั้งหมด ๘ ทะนาน อยู่ที่ไหนบ้าง
พระสรีระของพระพุทธเจ้าผู้มีพระจักษุ แปดทะนาน เจ็ดทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีระอีกทะนาน หนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ ประเสริฐ อันสูงสุด
พวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม
พระเขี้ยวองค์หนึ่งเทวดา ชาวไตรทิพย์บูชาแล้ว
ส่วนอีกองค์หนึ่ง บูชากันอยู่ใน คันธารบุรี
อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ใน แคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ
อีกองค์หนึ่ง พระยานาคบูชากันอยู่ ฯ


ด้วยพระเดชแห่งพระสรีระพระพุทธเจ้า นั้นแหละ แผ่นดินนี้ ชื่อว่า ทรงไว้ซึ่งแก้วประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ ประเสริฐที่สุด พระสรีระของพระพุทธเจ้า ผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาผู้สักการะๆ สักการะดีแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์ใด อันจอมเทพจอมนาคและจอมนระบูชาแล้ว อัน จอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลาย จงประนม มือ ถวายบังคมพระสรีระนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นพระพุทธเจ้า ทั้งหลายหาได้ยากโดยร้อยแห่งกัป ฯ พระทนต์ ๔๐ องค์ บริบูรณ์ พระเกศา และ พระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานำไปองค์ละองค์ๆ โดยนำต่อๆ กันไปในจักรวาล ดังนี้แล ฯ
( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาปรินิพพานสูตร ข้อที่ ๑๕๙-๑๖๒)

ที่มา  http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=jkmf&month=16-08-2008&group=1&gblog=3
----------------------------------------------------------- 

22184  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เหนื่อยนัก....ก็พักได้ เมื่อ: มิถุนายน 05, 2010, 08:34:19 am
เหนื่อยนัก....ก็พักได้


เพลง Superman (It's Not Easy)
ศิลปิน: Five For Fighting

John Ondrasik (เจ้าของเสียงร้อง)

อัลบัม America Town


เนื้อเพลง Superman (It’s Not Easy)

I can’t stand to fly
I’m not that naive
I’m just out to find
The better part of me

I’m more than a bird…I’m more than a plane
More than some pretty face beside a train
It’s not easy to be me

Wish that I could cry
Fall upon my knees
Find a way to lie
About a home I’ll never see

It may sound absurd…but don’t be naive
Even Heroes have the right to bleed
I may be disturbed…but won’t you concede
Even Heroes have the right to dream
It’s not easy to be me

Up, up and away…away from me
It’s all right…You can all sleep sound tonight
I’m not crazy…or anything…

I can’t stand to fly
I’m not that naive
Men weren’t meant to ride
With clouds between their knees

I’m only a man in a silly red sheet
Digging for kryptonite on this one way street
Only a man in a funny red sheet
Looking for special things inside of me

It’s not easy to be me.


ที่มา  http://music.virginradiothailand.com/lyrics/1334

ฟังเสียงเพลงได้ที่  http://music.virginradiothailand.com/song/1334
ดาวน์โหลดเสียงเพลงนี้(mp3)ได้ที่ http://www.mediafire.com/?zmzyatzh4nm#2
ชมมิวสิควิดีโอได้ที่  http://www.moremove.com/readboard.aspx?wb_id=3462
 

เพลงนี้เป็นเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง “Bandits” ไม่ใช่เรื่อง Superman

เนื้อเพลงและความหมายของเพลง Superman (It’’s Not Easy)

I can”t stand to fly     ฉันไม่อาจทนฝืนบิน
I”m not that naive      ฉันไม่ได้ไร้เดียงสาถึงเพียงนั้น
I”m just out to find      ฉันแค่อยากค้นหา
The better part of me      ตัวตนอีกด้านของตัวเอง
I”m more than a bird: I”m more than a plane      ฉันเป็นมากกว่านก ฉันเป็นมากกว่าเครื่องบิน
More than some pretty face beside a train       ฉันเป็นมากกว่าคนหน้าตาดีทั่วไปตามทางรถไฟ
It’’s not easy to be me       ไม่ง่ายเลยนะที่จะเป็นฉัน
Wish that I could cry      ฉันก็อยากร้องให้บ้างเหมือนกัน
Fall upon my knees      อยากคุกเข่าลงอย่างอ่อนล้า
Find a way to lie      แล้วหาเรื่องโกหกปลอบตัวเอง
About a home I”ll never see      ถึงเรื่องบ้านเกิด ที่ฉันเองไม่เคยได้เห็น
It may sound absurd: but don”t be naive      อาจจะฟังดูตลก แต่อย่าไร้เดียงสาถึงเพียงนั้นเลย
Even Heroes have the right to bleed       วีรบุรุษก็มีสิทธิ์จะบาดเจ็บเลือดออกเช่นกัน
I may be disturbed:but won”t you conceed      ฉันอาจจะเพี้ยนไปแล้ว แต่คุณไม่เห็นด้วยหรือว่า
Even Heroes have the right to dream       แม้แต่วีรบุรุษ ก็มีความฝันกับเขาเหมือนกัน
It’’s not easy to be me      ไม่ง่ายเลยนะที่จะเป็นฉัน
Up  up and away away from me      บินให้สูงขึ้นไป ไกลไปจากตัวตนของฉัน
It’’s all right: You can all sleep sound tonight       แน่นอน…คุณทั้งหลายหลับสบายได้เลยคืนนี้
I”m not crazy:or anything:     ฉันไม่ได้บ้าหรือเป็นอะไรหรอกนะ
I can”t stand to fly      ฉันไม่อาจทนฝืนบิน
I”m not that naive     ฉันไม่ได้ไร้เดียงสาถึงเพียงนั้น
Men weren”t meant to ride     คนเราไม่ได้เกิดมาเพื่อจะบิน
With clouds between their knees      และไม่ได้อยู่เหนือเมฆตลอดเวลา
I”m only a man in a silly red sheet     ฉันก็แค่ผู้ชายธรรมดากับผ้าคลุมสีแดงตลกๆ
Digging for kryptonite on this one way street     เฝ้าขุดหาคริปโตไนท์บนถนนสายนี้
Only a man in a funny red sheet     ก็แค่ผู้ชายธรรมดาที่มีผ้าแดงตลกๆ ติดไหล่
Looking for special things inside of me     พยายามที่จะค้นหาสิ่งพิเศษบางอย่างในตัวตนของตัวเอง
Inside of me     ในตัวตนของตัวเอง
Inside of me     ในตัวตนของตัวเอง
It’’s not easy to be me.     มันไม่ง่ายเลยที่จะเป็นฉัน


ที่มา  http://blog.homdee.com/เรียนภาษาอังกฤษจากเพลง.html
 

เมื่อก่อนผมเคยฝันว่าเหาะได้ และก็ฝันอยู่บ่อยๆ แต่พอหันมาปฏิบัติธรรม เท่าที่จำได้ ไม่เคยฝันว่าเหาะได้อีกเลย
เพลงนี้ผมชอบเป็นพิเศษ ตอนที่เพลงนี้ออกมาใหม่ๆ พอหาเนื้อเพลงได้ ก็พยายามแปล แต่ก็แปลได้อย่างผิวเผิน

ผมชอบท่อนที่ร้องว่า

More than some pretty face beside a train       
(ฉันเป็นมากกว่าคนหน้าตาดีทั่วไปตามทางรถไฟ)


มันทำให้นึกถึง หนังเรื่องซุปเปอร์แมนภาคแรก ซึงเป็นภาคที่ผมชอบมากที่สุด
ผมว่ามันดูคลาสสิค  ถ้าเป็นแนวเพลง ก็จะเป็นแบบ “Golden Oldies”

เพื่อนๆอาจจะงง  อยู่ดีๆผมเอาเพลงมาโพสต์ทำไม
ความจริงมีอยู่ว่า ผมรู้สึกเหนื่อย  เหนื่อยหน่ายที่ต้องต่อสู้กับกิเลส(นิวรณ์)
พอเราละตัวหนึ่งได้ อีกตัวมันก็จะขึ้นมาแทน มันไม่ง่ายเลยที่จะรับมือกับกิเลส
การหาความสุขทางโลกที่ไม่ผิดศีล เป็นทางออกของผม
ผมไม่ได้ฟังเพลงนี้มาประมาณไม่ต่ำกว่า 5 ปีแล้ว

เพื่อนๆท่านใดรู้สึกเหนื่อยกับชีวิตของตนเอง
ขอแนะนำให้ฟังเพลงอยู่กับบ้านครับ ประหยัดดีด้วย
อย่างไงก็แล้วแต่ “ทุกคนสามารถเป็นกำลังใจให้กันและกันได้”
สู้ สู้ ครับ



 :49: :58: :58: :58:

22185  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / วิธีเสริม "ความงามอย่างมีคุณค่า" เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 09:23:47 pm
วิธีเสริม ความงามอย่างมีคุณค่า

              อันความงามนั้นเป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนใฝ่ ฝันคะนึงหาอยู่แล้ว  และที่ว่างามนั้นอย่างไหนจึงจะ เรียกว่างามอันนี้โบราณกาลท่านได้เคยกล่าวไว้ ว่ามี 5 อย่างด้วยกันที่เรียกว่าเบญจกัลยาณี มีอะไรบ้างลองมาดูกัน

เบญจกัลยาณี ความงามของสตรี 5 อย่าง คือ

1. เกสกลฺยาณํ ผมงาม คือ หญิงที่มีผมยาวถึงสะเอวแล้ว ปลาย ผมงอนและแวววาวเหมือนหางนกยูง

2. มํสกลฺยาณํ เนื้องาม คือ หญิงที่มีริมฝีปากแดงระเรื่อ ตามธรรมชาติเหมือนตำลึงสุกเมื่อหุบปากลงก็เรียบสนิท

3. อฏฺฐิกลฺยาณํ กระดูกงาม คือหญิงที่มีฟันสีขาวประดุจสังข์ ฟันขาวเรียบสนิทชิดเสมอกันดีราวกับเพชรที่เจียระไนไว้อย่างสวยงาม และเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบ

4. ฉวิกลฺยาณํ ผิวงาม คือ หญิงที่มีผิวงามละเอียด ถ้าดำก็ดำดังดอกบัวเขียว ถ้าขาวก็ขาวดังดอกกรรณิการ์ ผิวพรรณสวยถ้าดำก็ดำขำ ไม่ดำด่างขาวก็ขาวนวลเนียน

5. วยกลฺยาณํ วัยงาม คือ หญิงที่แม้จะคลอดบุตรถึง ๑๐ ครั้ง ก็ยังคงสภาพร่างกายที่ดูสาวและสวยดุจคลอดครั้งเดียว หรือ แม้อายุจะมากแล้วก็ตาม ก็ยังคงความสวยสมวัยอยู่ได้นั่นเอง
 

หญิงใดมีครบตามนี้  ย่อมเป็นที่ หมายปองของบันดาชายหนุ่มทุกคนแต่ว่างามที่ว่านี้เป็นความงามภายนอกซึ่งมีวัน แห้งเหี่ยว โรยรา ตามวัย แต่นอกจากนี้แล้วยังมีความงามอีกอย่างซึ่งเป็นความงามที่แม้เวลาจะผ่านไปนาน สักเท่าใด ความงามนี้ก็ไม่มีวันเสื่อมคลาย นั่นคือความงามภายใน  เป็นความงามตามที่พระพุทธองค์ตรัสสอนไว้ เรียกว่า”เบญจกัลยาณ ธรรม”คือ ธรรมที่ทำให้คนเป็นคนงาม  ได้แก่

1. ใจดีมีเมตตา เมตตากรุณา คือ ความรักและปรารถนาดีที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข และมีความสงสารคิดที่จะช่วยให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์ภัยความเดือด ร้อนทั้งปวง เอื้อเฟื้อและแบ่งปันน้ำใจให้ สังคม มีจิตใจเมตตาปราณีต่อเพื่อนมนุษย์ หรือแม้กระทั่งต่อหมู่สัตว์ ทั้งหลาย มักจะมีหน้าตาที่ผ่องใสอิ่มเอิบ มีสง่าราศี ผิดกับคนที่มีจิตอาฆาตพยาบาทเบียดเบียนต่อผู้อื่น ความเมตตาอย่างไม่มีข้อจำกัด ถือว่าเป็นตัวยาที่วิเศษในการ ที่จะเสริมความงามให้อย่างยิ่งยวด

2. ใฝ่หาอาชีพสุจริต สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต ไม่หลอกลวงหรือโกงคนอื่นให้ เสียหายไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวงไม่ทรยศต่อสังคมประเทศชาติ เช่น ค้ายาเสพติดหรือค้าประเวณี เป็นต้น ไม่เป็นคนลักเล็กโขมยน้อย อันจะก่อความเดือดร้อนตามมา เพราะการเห็นแก่สิ่งเล็กน้อย เห็นว่าไม่มีใครรู้ แต่ถึงแม้ไม่มีใครรู้ ฟ้าก็รู้ ถึงแม้ฟ้าไม่รู้ แต่เรารู้ ทำมาหากินที่สุจริตแม้จะรวยช้า แต่ก็มีความสุขนาน ดีกว่าทุจริตประพฤติมิชอบ รวยเร็ว แต่ก็อยู่ไม่นาน อยู่ได้ด้วยความหวาดระแวง ไม่มีความสุข หน้าตาก็ไม่ผ่องแผ้ว อันเกิดจากจิตใจที่ไม่สะอาด

3. ไม่คิดเฟ้อฟุ้ง กามสังวร คือ การสำรวมระวัง ควบคุมตนในเรื่องกามารมณ์ ความต้องการทางเพศให้พอเหมาะพอ ดี ไม่ให้หลงใหลในรูปเสียง กลิ่น รส สัมผัส ตามกระแสแฟชั่นนิยม ที่ผิดธรรมผิดทางหรือเกินพอดี จนทำให้ตนเอง ครอบครัว และสังคมต้องเดือดร้อน พอใจยินดีในคู่ครองตัว ไม่มัวเมาเจ้าชู้ ควบคุม และยับยั้งอารมณ์ที่ก่อให้เกิดปัญหา รักษาจิตของตนให้ดี ไม่ให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล เพราะบางครั้งอำนาจของอารมณ์ อาจทำให้อนาคตพังทลายลงได้ในพริบตา นำมาซึ่งความน่ารังเกียจต่อผู้ พบเห็น ฉะนั้นจะทำอะไรก็ให้อยู่ในความพอดี เมื่อพอดีก็จะพองาม ความงามที่แท้จริงก็จะตามมา

4. มุ่งมั่นจริงใจ มีสัจจะ คือ มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ จริงใจต่อตนเองและผู้อื่น ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ไม่สับปรับกลับกลอกที่เรียกว่า หน้าไหว้หลังหลอก เป็นคนตรงต่อหลักการและความถูกต้อง การเป็นคนมีสัจจะ จะเป็นเสน่ห์อย่างมากในการเข้าสังคม เป็นที่เชื่อถือของคนในสังคม ไม่ว่าใครก็ตามจะให้ความไว้วาง ใจอย่างไม่รีรอ นับว่าเป็นความงามที่มีผลสำคัญ ต่อชีวิต หน้าที่การงาน อันจะส่งผลถึงอนาคตความมั่นคง ในชีวิต

5. ทำสิ่งใดให้รู้ตัว มีสติสัมปชัญญะ คือ ฝึกตนให้เป็นคนหนักแน่นในอารมณ์ รู้จักยั้งคิด และควบคุมความรู้สึกตัวอยู่เสมอว่าสิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ สิ่งใดมีคุณให้โทษมีประโยชน์และไร้สาระ ตลอดจนระวังมิให้เป็นคนมัวเมาประมาทในทุกลมหายใจเข้าออก มีสติรู้ตัวอยู่ทุกขณะจิต คิดไม่ผิดพลาด พูดไม่ผิดพลาด และทำไม่ผิดพลาด การมีสตินับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ต่อชีวิตอย่างมาก ความระลึกได้ และความรู้สึกตัวในทุกขณะที่ กระทำจะก่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยหรือแทบจะไม่มีเลย

การมีสตินั้นเป็นข้อสำคัญที่พระพุทธองค์ได้ตรัสสอน เพราะสติเป็นหัวใจของทุกอย่าง ของทุกการกระทำ หรือที่เรียกว่า สมาธิ ก็คือการฝึกสตินั่นเอง เมื่อฝึกสติบ่อยเข้า ความหลงมัวเมาในมายาก็จะไม่มี เมื่อไม่มีความหลงการรู้ตาม ความเป็นจริงก็จะเกิดขึ้นมา และเมื่อใดที่มีสติรู้ตามความ เป็นจริงแล้วจิตก็จะไม่มีความทุกข์ เมื่อไม่มีความทุกข์ความสุขก็ จะบังเกิด เมื่อสุขบังเกิดความสบายใจ ความผ่องใส แช่มชื่น ความปีติ เอิบอิ่ม ปรากฏในจิตใจ ก็จะเปล่งประกายฉายออกมาทางสีหน้า กิริยาท่าทาง ที่เรียบร้อยงดงามความสวยงามที่แท้จริงก็จะเกิดขึ้น

 

    ความงามที่เป็นรูปกายภายนอกถือว่าเป็นรูปสมบัติ ใครมีพร้อมบริบูรณ์นับว่าโชคดี ที่เกิดมาหล่อสวย รวย ฉลาด แต่ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปกว่าก็ควรจะมีความงามที่เกิดจากภายใน คือ ธรรมสมบัติควบคู่กันไปด้วย เป็นการเสริมสวยสร้างเสน่ห์ให้กับตนเองด้วยวิธีง่ายๆ ที่ไม่ต้องอดอาหาร ไม่ต้องเจ็บตัว และไม่ต้องกลัวจน เรียกว่าสวยแบบมีคุณค่า จ่ายแพงกว่าทำไม ประหยัดกว่ากันเยอะเลย สวยแบบนี้เขาเรียกว่าสวยนาน สวยไม่สร่าง ดูอย่างไรก็ไม่จืดใครๆ ก็อยากที่จะคบค้าสมาคมด้วย จึงถือว่าเป็นสุดยอดของความสวย ที่คุณสามารถสร้างขึ้นมาด้วย ตัวของคุณเอง จะสวยอย่างเบญจกัลยาณี จะต้องมีเบญจกัลยาณธรรมด้วย

ที่มา : http://board.palungjit.com/showthread.php?t=127992
22186  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / สีผิวของมนุษย์ ถูกกำหนดด้วยกรรมอะไร เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 08:47:43 pm


ถาม – ผิวสีถูกกำหนดขึ้นจากกรรมอะไรคะ?

    มีปัจจัยหลายประการครับ ถ้าพูดแบบผิวเผินที่สุด สีของผิวกายในปัจจุบันชาติ สะท้อนให้เห็นสีของจิตในอดีตชาติ ถ้าสั่งสมกรรมชนิดที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นเมตตามากๆ ผิวพรรณก็จะออกแนวโน้มไปทางขาวละเอียด แต่ถ้าสั่งสมกรรมชนิดที่ปรุงแต่งจิตให้เป็นพยาบาทมากๆ ผิวพรรณก็จะออกแนวโน้มไปทางดำกระด้าง
 
    คุณสมบัติหลักๆอันเป็นเครื่องชี้ว่าจิตมีเมตตาสูง ได้แก่ ความเป็นคนโกรธยากหายง่าย และเป็นผู้สละให้คนอื่นง่ายแต่กอบโกยเข้าตัวยาก การมีเมตตาสูงมิใช่สิ่งที่จงใจกำหนดได้เองลอยๆ แต่ต้องเป็นผู้กระทำกรรมทางกาย วาจา ใจในทางเป็นกุศล ดังนี้

๑) ความคิดในเชิงสละมลทินออกจากจิต นับแต่ความคิดสละความตระหนี่ ความคิดสละความผูกใจเจ็บแค้นอาฆาต และความคิดสละความเห็นผิดทำนองคลองธรรม นอกจากนี้ยังมีทางลัดแบบภิกษุในพุทธศาสนา คือเจริญเมตตา ตั้งจิตไว้เป็นสุขอย่างใหญ่ แล้วแผ่ไปไม่มีประมาณ กระทั่งเป็นอัปปมัญญา คือรวมจิตถึงฌานด้วยอำนาจความสุขที่แผ่ไปทั่วทุกทิศอย่างไร้ขอบเขตนั้น หากเจริญเมตตาได้เป็นปกติตลอดชีวิต ก็ยากที่จะเกิดโทสะเปื้อนจิตได้เกินอึดใจ อย่าว่าแต่จะยกระดับขึ้นเป็นความอาฆาตพยาบาทยืดเยื้อยาวนาน

๒) คำพูดในเชิงประนีประนอมประสานประโยชน์ นับแต่คำพูดถึงความจริงอย่างตรงไปตรงมา คำพูดที่ไพเราะเสนาะหู คำพูดที่นุ่มนวลปราศจากการให้ร้าย และคำพูดที่เปี่ยมด้วยสติไม่เพ้อเจ้อเลอะเทอะ วจีกรรมที่ขาวสะอาดจะปรุงแต่งจิตให้ขาวสะอาดตามไปด้วย และเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทได้ยากเช่นกัน

๓) การกระทำในเชิงให้คุณ นับแต่การเก็บมือไม้และกายส่วนต่างๆไม่ให้เบียดเบียนผู้อื่นในทางใดทางหนึ่ง ไปจนกระทั่งการใช้มือไม้และกายส่วนต่างๆสงเคราะห์ผู้ต้องการความช่วยเหลือ แม้เมื่อให้ทานยังค้อมหลังก้มลงให้ ไม่ใช่โยนให้อย่างเศษเดน ความนุ่มนวลทางกิริยาจะปรุงแต่งจิตให้โน้มน้อมไปในทางถ่อมตน ปราศจากความกระด้าง เป็นปฏิปักษ์กันกับนิสัยก้าวร้าว ไม่เป็นที่ตั้งของโทสะและพยาบาท

 



    กรรมขาวที่กล่าวมาข้างต้นจะทำให้ ‘ใจดี’ มีประกายเมตตา มีความขาว ซึ่งยิ่งประกอบกันมากเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้นิมิตของ ‘กายใน’ เป็นไปในทางขาวมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อเกิดใหม่จริง พลังกรรมก็จะรวมตัวไปคุมรูปร่างและผิวพรรณวรรณะให้เหมือนกายในดังกล่าวนั่นเอง

    ส่วนคุณสมบัติหลักๆอันเป็นเครื่องชี้ว่าจิตมีความพยาบาทสูง ได้แก่ ความเป็นคนโกรธง่ายหายช้า และเป็นผู้สละให้คนอื่นยากแต่กอบโกยเข้าตัวง่าย การมีความพยาบาทสูงมิใช่สิ่งที่จงใจกำหนดได้เองลอยๆ แต่ต้องเป็นผู้กระทำกรรมทางกาย วาจา ใจในทางเป็นอกุศล ดังนี้

๑) ความคิดในเชิงสะสมมลทินเข้าจิต นับแต่ความคิดโลภเอาเข้าตัว ความคิดผูกใจเจ็บไม่เลิก และความคิดหลงสำคัญผิดอันเป็นไปเพื่อความฟุ้งซ่านแส่ส่าย ความมืดดำเป็นอกุศล นอกจากนี้ยังมีทางด่วนพิเศษไปสู่ความหายนะทางจิต คือเลือกเชื่อ หรือปลูกฝังความเชื่อตามลัทธิที่ชักชวนให้หลงผิด เช่น ร่ำเรียนไสยดำ นับถือบูชายักษ์มารเป็นสรณะ ปฏิเสธบุญคุณพ่อแม่แต่หันไปเลื่อมใสบุญคุณเทพหรือเจ้าลัทธิแทน ความหลงผิดจะทำให้จิตมืด จิตมืดจะเป็นที่ตั้งของโทสะและพยาบาทได้ง่าย

๒) คำพูดในเชิงก่อโทษและเพิ่มรอยร้าว นับแต่คำพูดบิดเบือนความจริง คำพูดก้าวร้าวหยาบคาย คำพูดให้ร้าย และคำพูดไร้สติที่ทำให้ใจเราใจเขาพล่านไปอย่างปราศจากทิศทาง วจีกรรมที่ดำสกปรกจะปรุงแต่งจิตให้ดำสกปรกตามไปด้วย และเป็นที่ตั้งแห่งพยาบาทได้ง่ายเช่นกัน

๓) การกระทำในเชิงให้โทษ นับแต่การลงไม้ลงมือเบียดเบียนผู้อื่นในทางใดทางหนึ่ง ไปจนกระทั่งการเก็บมือเก็บไม้ไม่ยอมสงเคราะห์ผู้ต้องการความช่วยเหลือ การเคลื่อนไหวแบบผลุนผลันปึงปัง การนิยมวิธีใช้กำลังบังคับผู้อ่อนแอกว่า ก็ล้วนเป็นที่มาของใจกระด้างกระเดื่อง เป็นมิ่งมิตรกันกับนิสัยก้าวร้าว เป็นที่ตั้งอันมั่นคงของโทสะและพยาบาท



   

        กรรมดำที่กล่าวมาจะทำให้ ‘ใจดำ’ มีความมืดชนิดแผ่รังสีอำมหิต ซึ่งยิ่งหนาแน่นเท่าใด ก็จะยิ่งทำให้นิมิตของ ‘กายใน’ เป็นไปในทางดำมากขึ้นเท่านั้น และเมื่อเกิดใหม่จริง พลังกรรมก็จะรวมตัวไปคุมรูปร่างและผิวพรรณวรรณะให้เหมือนกายในดังกล่าวนั่นเอง

    ทั้งนี้ทั้งนั้นนะครับ ต้องกล่าวว่า ถ้า ‘กายใน’ เสื่อมลงหรือเจริญขึ้น ขัดแย้งกับ ‘ของเก่า’ อย่างเห็นได้ชัด คุณไม่ต้องรอเกิดครั้งหน้าก็สามารถเห็นเค้านิมิตกายใหม่ได้ผ่านผิวพรรณนี่เอง เท่าที่ผมเห็นกับตามาหลายครั้งนะครับ บางคนนี่แรกๆดูดำๆสกปรก หรือแม้ผิวขาวก็ดูหมองไร้ราศี พอหันมาศรัทธากรรมวิบาก

       หมั่นให้ทานรักษาศีลเป็นนิตย์ ผิวพรรณก็เปล่งปลั่งสดใสขึ้นชนิดคนรอบข้างอ้าปากหวอกันเป็นแถว ยิ่งถ้าบุญเก่าดีอยู่แล้ว และมาตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยว บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม ไม่ผิดศีลแม้ด้วยความคิด ก็แทบเห็นจะจะชนิด ‘ขาวด้วยบุญใหญ่ข้ามคืน’ กันเลยทีเดียว
 
      กล่าวโดยสรุป ถ้าจิตกระเดียดไปทางอารมณ์ดี จะมีกระแสเมตตาคุมรูปให้ขาวละเอียด สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าความไม่ถือโกรธมีวิบากเป็นผิวพรรณประณีต ถ้าจิตกระเดียดไปทางเจ้าโทสะ จะมีกระแสอาฆาตคุมรูปให้ดำกระด้าง สมดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าความมักโกรธมีวิบากเป็นผิวพรรณทราม





ถาม – ผิวขาวกับผิวดำมีหลายแบบ ขาวซีดก็มี ขาวอมชมพูก็มี ดำน่าเกลียดก็มี ดำเนียนตาก็มี อย่างนี้ขึ้นอยู่กับความต่างของเมตตาหรือพยาบาทอย่างไรคะ?

ขอจำแนกลักษณะผิวเป็นข้อๆพร้อมกรรมอันเป็นต้นเค้าดังนี้ครับ

๑) ผิวขาวเผือด เกิดจากการมีความโกรธเบาบาง ไม่ค่อยผูกพยาบาท ทว่าขณะเดียวกันก็เมตตาแบบงั้นๆ คือไม่ได้มีความรักเอ็นดูในเพื่อนร่วมทุกข์ทั้งคนและสัตว์สักเท่าไร


๒) ผิวขาวอมชมพู เกิดจากการมีจิตฝักใฝ่ในเมตตาธรรม และเป็นเมตตาที่ทอรัศมีออกมาจากความเอ็นดูรักใคร่คนและสัตว์อย่างลึกซึ้ง ขอให้สังเกตว่าคนผิวขาวสวย มักมีเนื้อหนังนุ่มแน่นและเนียนละเอียดเหมือนแผ่นหยกด้วย ผู้มีความสมบูรณ์แบบทางผิวพรรณชนิดไร้ที่ติประเภทนี้ จะสะท้อนอดีตกรรมในปางก่อน คือเต็มเปี่ยมด้วยเมตตาอย่างไร้ที่ติตลอดชีวิต จึงมีกำลังส่งจากกรรมเก่าคุมรูปให้ขาวสวยอย่างยืดเยื้อยาวนาน แม้พลาดพลั้งทำบาปอกุศลก็ไม่เห็นผลเปลี่ยนแปลงเป็นความเสื่อมโทรมคล้ำหมองของผิวง่ายนัก
 
๓) ผิวดำขำ เกิดจากการมีเมตตาที่เจืออยู่ด้วยโทสะอ่อนๆ ขอให้นึกถึงคนปากร้ายใจดี ซึ่งก็แยกย่อยได้อีกหลายแบบ ปากร้ายน้อยใจดีมาก ปากร้ายมากใจดีน้อย ถ้าปกติใจดีแบบเยือกเย็น ก็จะเป็นตัวกำหนดความเนียนของผิวมากเป็นพิเศษ


 


๔) ผิวดำน่าเกลียด เกิดจากการมีแต่โทสะท่าเดียว หาเมตตาทำยายาก ขอให้นึกถึงคนใจร้าย มักโกรธ โกรธง่ายหายช้า คุณจะไม่นึกไม่ออกเลยว่าจิตใจเขามีความสว่างหรือมีความเย็นกับใครได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าใจร้ายแล้วปากยังพ่นเป็นแต่คำหยาบคาย ชาติถัดมาจะมีผิวพรรณทรามถึงขั้นรู้สึกเป็นปมด้อย หรือกระทั่งเป็นโรคผิวหนังบางอย่างที่ส่งกลิ่นเหม็นผิดปกติ ชำระให้สะอาดหรือประพรมให้หอมได้ยาก

     ขอให้สังเกตว่าบางคนทั้งผิวทั้งกลิ่นปากจะน่ารังเกียจควบคู่กัน นั่นก็เพราะกรรมทางวาจาบางอย่างมีวิบากแรง แสดงผลทั้งทางผิวหนังและกลิ่นปากอย่างชัดเจน นอกจากนี้ แม้หันมาใฝ่ใจทำทานรักษาศีล ก็อาจต้องใช้เวลา หรือต้องใช้กำลังใจมากหน่อย ผิวพรรณจึงจะดูเปล่งปลั่งขึ้นได้ด้วยรัศมีบุญใหม่


๕) ผิวไม่ดำไม่ขาว ไม่งามไม่น่าเกลียด คือเป็นกลางๆ เกิดจากการมีเมตตาและพยาบาทในแบบที่คาดเดาได้ เรียกว่าสถานการณ์เป็นอย่างไรก็ใจดีใจร้ายตามกระแสโลกไปเรื่อย ไม่มีการควบคุมตัวเอง ไม่มีหลักการใดเป็นพิเศษ เช่น ถ้าโดนด่าแรงๆก็จะโกรธแรงและผูกใจเจ็บแรง พอเขามาง้อหรือขอโทษก็ค่อยอโหสิให้ แตกต่างจากพวกใจดี ที่แม้โดนเล่นงานก่อนก็ทำใจอภัยได้เอง

     โดยไม่ต้องมีใครมาขอโทษ แล้วก็แตกต่างจากพวกใจร้าย ที่แม้ใครทำดีให้ก็อาจหมั่นไส้ จับผิดเพ่งโทษได้ สำหรับผิวเป็นกลางๆนี้ก็คือคนทั่วไปในระดับเฉลี่ย แปรปรวนตามกรรมใหม่ง่าย คือถ้าทำบาปมากๆผิวอาจแปรเป็นหมองคล้ำอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าทำบุญใหญ่ๆผิวอาจผุดผาดขึ้นทันตา





    นอกจากนี้ยังอาจมีกรณียกเว้นที่ไม่เข้าข่ายข้างต้น เช่นบางคนมีผิวดำสนิท ทั้งที่จิตใจดีงามมาก ไม่มีเค้าเลยว่าจะเคยเป็นพวกเจ้าโทสะ นั่นเป็นเพราะอดีตชาติเคยเห็นแล้วชอบใจในผิวสีแบบนั้น เป็นกรรมทางใจที่ส่งให้ไปเสวยภพของคนผิวดำสนิทได้เหมือนกัน พูดง่ายๆคือโลภะพาไป และในทางตรงข้าม หากชอบให้ของ ชอบให้อภัย ชอบช่วยคน มีความโลภน้อยยิ่ง ถึงแม้ขี้หงุดหงิดขึ้งเคียดเก่งก็อาจจะยังมีบุญฝ่ายขาวคุ้มผิวให้ขาวได้อยู่

อีกพวกคือไม่ได้เจ้าโทสะ แต่จมปลักอยู่กับความหม่นหมองเศร้าสร้อยเป็นนิตย์ อันนี้ก็มีสิทธิ์เกิดเป็นคนผิวดำคล้ำหมองไม่น่าดูได้เหมือนกัน พูดง่ายๆคือโมหะพาไป และในทางตรงข้าม หากฝึกที่จะมีสติตื่นตัวสดใส เป็นอยู่ด้วยความกระตือรือร้น เกิดปัญหาแล้วใช้ปัญญามากกว่าอารมณ์ อันนี้แม้อารมณ์บูดอยู่เรื่อยๆก็ไม่ถึงขั้นทำให้ผิวพรรณหยาบกร้านนัก

    ขอตั้งข้อสังเกตอีกแง่หนึ่ง คือการบำรุงผิวและการรู้จักเคล็ดลับออกกำลังกายให้เลือดลมเดินดี อาจทำให้ผิวงามขึ้น แต่จะขาดรัศมีหรือกระแสทางใจที่ก่อให้เกิดความรู้สึกด้านดี คล้ายคุณเห็นหุ่นขี้ผึ้งของยอดฝีมือไร้ที่ติ พอสัมผัสใกล้ชิดก็รู้สึกว่าขาดชีวิตจิตใจ แห้งแล้ง ไม่ชุ่มชื่น แตกต่างจากความงามที่เปล่งออกมาจากแรงบุญ ซึ่งชวนให้เกิดความชื่นใจ รู้สึกมีชีวิตชีวาได้ยิ่งกว่ากันมาก



 


ถาม – ถวายดอกบัวแด่พระภิกษุสงฆ์จะช่วยเรื่องผิวพรรณจริงหรือไม่?
จริงครับ! แถมอาจเป็นความงามชวนตะลึงผิดธรรมดาเสียด้วย!

    อย่างไรก็ตาม บุญที่ตกแต่งผิวให้งามแลตะลึงได้การนี้ ต้องสร้างจากความปลื้มปีติโสมนัสเป็นตัวชูโรง คือขณะน้อมถวายดอกบัวนั้น จิตต้องหน่วงบุญไว้หนักแน่น มีความตั้งมั่น มีความสุกสว่าง มีความเบากายสบายใจ อิ่มเอมเปรมปรีดิ์กับการถวายโดยปราศจากมลทินทางใจใดๆ

   ความเนียนงามของกลีบบัวที่ตาเห็น รวมทั้งกลิ่นดอกบัวที่จมูกได้กลิ่น มักเหนี่ยวนำให้จิตผู้หญิงนึกปรารถนาถึงการมีผิวพรรณงามละเอียด พอไปบวกกับการมีใจยินดี คิดว่าเราจะเอาของหอมของงามนี้ถวายเป็นบูชาแด่ภิกษุผู้สูงส่งที่วัด หรือแด่พระปฏิมาที่ศักดิ์สิทธิ์ที่บ้าน นิมิตของกรรมที่เกิดขึ้นให้รับรู้ทางใจในขณะนั้นย่อมชัดเจน เสมือนผิวกายโดยรอบกลายเป็นดอกบัวแสนหอมแสนงามขึ้นมาชั่วขณะ

    นิมิตกรรมเกิดขึ้นก่อนในใจเรา รูปจริงๆค่อยตามมาทีหลัง ซึ่งอาจหมายถึงความเปลี่ยนแปลงที่เห็นทันตาชาตินี้ ในกรณีที่ไม่มีกรรมเก่ามาต้านมากนัก แต่โดยมากบุญอันเกิดจากการอาศัยเครื่องเหนี่ยวนำจิตทำนองนี้ จะให้ผลชัดเจนก็ต่อเมื่อเกิดใหม่แล้ว

 



    พูดให้ง่ายคือบุญที่ตกแต่งผิวให้งามนั้น ทั้งจิตและเจตนาต้องสอดคล้องกัน กับทั้งทำบ่อยจนขึ้นใจไปทั้งชีวิต กระทั่งนิมิตกรรมแข็งแรงตั้งมั่น เป็นส่วนประกอบตกแต่งอัตภาพใหม่อย่างชัดเจน

   คุณหนูอารมณ์ร้ายหลายคนก็เข้าเกณฑ์นี้แหละครับ ผู้หญิงที่อดีตชาติทำบุญอันเจืออยู่ด้วยความโลภในรูปงาม ชาติถัดมาที่ความปรารถนาสัมฤทธิ์ผล บุญเผล็ดผลดังใจ ก็จะมีความทะนงหลงรูปงามแห่งตนยิ่งยวด กับทั้งยึดมั่นถือมั่นรุนแรงว่าโฉมแห่งตนเป็นเลิศกว่าใคร

    เพียงอวดรูปสมบัติก็เพียงพอจะชนะใจทุกคนได้แล้ว ความเย่อหยิ่งจึงตามมา ความเอาแต่ใจจึงตามมา ความฉุนเฉียวง่ายจึงตามมา และชวนให้คนมองไม่อยากนึกว่าผิวงามกับเมตตาจะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน


    โดยมากถ้ามักโกรธฉุนเฉียวง่าย เมื่อหมดบุญอันเกิดแต่การถวายดอกบัว หญิงเจ้าของผิวงามเหล่านี้มักเปลี่ยนแปลงอย่างสุดขั้ว หากกรรมอันเจือด้วยความโกรธง่ายไม่เร่าร้อนขนาดส่งถึงนรก ยังพอจะกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ได้อีกครั้ง ก็กลายเป็นหญิงผิวพรรณทราม กะดำกะด่าง หยาบกร้านไม่ชวนทัศนา ไม่เหลือเค้า ไม่เหลือร่องรอยเดิมไปเลยครับ



ที่มา  เว็บพลังจิต
ต้องขออภัยเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่ทราบชื่อผู้โพสต์และที่มาที่ชัดเจน
22187  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมของคนไทย ทำกันไว้เอง ตอนที่ ๑. เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 07:10:59 pm
กรรมของคนไทย ทำกันไว้เอง
(ถึงเวลามาแก้กรรมกันเสียที)

ธรรมกถาของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)


- ๑ -
เจอวิกฤตการเมือง คือเจอจุดพลิกฟื้นคนไทย

๑.๑ คนทั่วไป พอกายป่วย ใจก็ป่วย
ลองมองดูคนเจ็บคนไข้ที่ว่าสุขภาพร่างกายไม่ดี ถูกโรคเบียดเบียน เมื่อร่างกายเจ็บป่วย จิตใจก็มักจะไม่สบายไปด้วย พอจิตใจไม่สบาย ก็เกิดปัญหาข้างในหลายอย่าง เช่น ท้อแท้ หดหู่ เซื่องซึม เหงาหงอย เบื่อหน่าย เป็นต้น บางทีก็ถึงกับเครียด คับแค้นใจ หมดหวัง สิ้นหวัง ฯลฯ เหล่านี้ เราถือว่าเป็นสภาพจิตที่ไม่ดี เป็นความป่วยทางจิตใจ กลายเป็นว่า ไม่ได้ป่วยแต่กายอย่างเดียว ใจก็ป่วยไปด้วย เลยอ่อนแอป้อแป้ไปหมด นี่แค่คนเจ็บคนไข้เท่านั้น

๑.๒ ใช้ปัญญาพลิกฟื้นใจ ให้เป็นผู้กระทำ
เรามาพิจารณากันดู เอาแค่ที่คนไข้ก่อนว่า เมื่อคนไข้ถูกโรคภัยไข้เจ็บโจมตีทางร่างกายนั้น ก็บอบช้ำไปด้านหนึ่งแล้ว เรียกว่า ถูกกระทำทางด้านร่างกาย คือ ร่างกายถูกโรคมันทำเอา

แต่ปัญหายังเกิดซ้อนขึ้นมาอีกว่า ทั้งที่ความจริงนั้น โรคไม่ได้ไปทำอะไรกับใจของเขาเลย ใจของเขาก็อยู่เป็นปกติ แต่กลายเป็นว่า ด้านที่ถูกกระทำมากที่สุด กลายเป็นจิตใจ พอกายถูกกระทำแล้ว ใจก็พลอยถูกกระทำด้วย ทั้งๆ ที่ใจอยู่ดีๆ แต่กลายเป็นตัวถูกกระทำไปเสียนี่

ปัญหาสำคัญที่ตรงนี้ ก็คือ คนทำตัวให้เป็นผู้ถูกกระทำไปเสีย ใจพลอยไปถูกกระทำ เหมือนกับที่กายได้ถูกกระทำ แต่ที่จริงนั้น ใจไม่ได้ถูกโรคกระทำอะไรเลย แล้วใครทำล่ะ ก็ตัวนั่นแหละทำเสียเอง เพราะฉะนั้น ต้องจับจุดนี้ให้ได้ คือ ก็อย่าให้ใจถูกกระทำซิ นี่มันเรื่องอะไรล่ะ เราถูกกระทำ เราก็แย่

แม้แต่แค่เป็นฝ่ายตั้งรับก็ไม่เอา อย่าทำอย่างนั้น เราต้องเป็นผู้กระทำต่อมันจริงๆ นะ ใจเรายังเป็นอิสระอยู่นี่ เราเพลี่ยงพล้ำไปบ้าง ก็ด้านเดียวเท่านั้น อีกด้านหนึ่งยังเป็นของเราเต็มที่ ต้องวางท่าทีให้ถูก


ขณะนี้ร่างกายของเราถูกโรคกระทำแล้ว เราก็พลิกตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำต่อโรค ทางกายก็หันไปทำต่อมัน คือทำการบำบัดรักษา และทางใจที่เป็นอิสระอยู่ ก็ช่วยให้กำลังเสริมเข้าไป แล้วยังมีปัญญาซึ่งสำคัญที่สุดอีกตัวหนึ่ง เอาปัญญานั้นมาใช้หาทางเป็นฝ่ายกระทำให้ได้ผลดีที่สุด

จุดสำคัญข้อแรก ก็คือ เรายอมตัวเป็นผู้ถูกกระทำ หรือทำตัวเราให้เป็นผู้ถูกกระทำเสียเอง จึงเสียท่า เสียกระบวนไปหมดเพราะฉะนั้น ต้องคอยนึกไว้ คือ มีสติบอกตัวเองไว้ ไม่ว่าต่อเรื่องอะไร เราต้องเป็นผู้กระทำ อย่าปล่อยตัวลงไปให้ถูกกระทำ ถ้าเราผันตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำได้ จิตใจจะดีขึ้นมาเองเลย
 
พอเจอกับสถานการณ์ ดูท่าชักจะไม่ดี สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือ ต้องได้สติตั้งหลัก และรู้ตัวขึ้นมาเลยว่า นี่... ทำไมเอาตัวของเราลงไปเป็นผู้ถูกกระทำเสียล่ะ อย่าทำตัวเองอย่างนั้น หยุด..แล้วตั้งตัวขึ้นมาเป็นผู้กระทำซะ พอเริ่มเป็นผู้กระทำ เราก็เข้มแข็ง มีกำลังขึ้นมาทันที

ถ้าเป็นผู้ถูกกระทำ เราก็ยอบแยบ อ่อนแอ ป้อแป้ ปวก เปียก แล้วก็มีแต่จะถอย จะแพ้ จะสูญเสีย และจะหมด จะสิ้น เราจึงต้องเป็นผู้กระทำต่อปัญหาให้ได้

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

๑.๓ พอเหลียวดูเห็นคนอื่นที่เขาทุกข์กว่า ทุกข์ของเราก็เล็กลงมาทันใด
ขอแทรกนิดหนึ่ง เดี๋ยวจะลืมไป วิธีคิด วิธีมอง ก็เป็นเรื่องสำคัญ คนที่เป็นโรคภัยไข้เจ็บ บางทีก็ไปหมกมุ่นครุ่นคิดอยู่กับเรื่องตัวเองว่า เราแย่แล้ว นี่เราจะเป็นอย่างไรต่อไป เราจะไม่มีชีวิตที่ดี เราจะมีแต่ความทุกข์ เราจะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ นี่ก็คือมัวไปหวาดกลัว มัวแต่ท้อแท้ มัวหมดหวัง มัวแต่เสียใจ ก็เลยมองเห็นแต่เรื่องทุกข์และเรื่องร้าย แล้วก็จมอยู่ในนั้น

แต่ความจริง ถ้ามองให้ดี เหลียวดูทางอื่นบ้าง มองให้กว้างออกไป ก็จะเห็นว่า ที่เราเป็นโรคนี้นั้น เรามีฐานะอย่างนี้ อยู่ในภาวะอย่างนี้ ยังขนาดนี้ แล้วคนอื่นอีกไม่น้อยเลยก็เป็นโรคอย่างเรานี้ หลายคนก็ยิ่งกว่านี้ แล้วคนที่เขายากจนแร้นแค้น ไม่มีเงินจะใช้จ่ายในยามจำเป็น ไม่มีญาติมิตรดูแล เขาเจ็บป่วยเจอเคราะห์อย่างนี้ จะยิ่งแย่ขนาดไหน

พอมองดูให้ทั่วๆ ออกไป กลายเป็นว่า ความเจ็บป่วยของเรานี่เรื่องเล็กแล้ว คนอื่นที่เขาทุกข์ยิ่งกว่าเรามีเยอะแยะ ทีนี้ ก็คิดสงสารคนอื่น กลายเป็นว่าโรคภัยมาเตือนเรา ให้เราคิดสงสารเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ให้รู้จักมอง รู้จักเหลียวแลดูทุกข์ภัยของมนุษย์ทั้งหลาย นอกจากว่าเราจะได้ไม่ประมาทแล้ว ก็คิดหาทางว่าจะช่วยเหลือเขาอย่างไรต่อไป

เมื่อไรหายโรค เราจะต้องไปช่วยคนอื่นเป็นการใหญ่คิดอย่างนี้ก็เลยกลายเป็นบุญเป็นกุศล บางทีก็เลยหายโรคไปแทบไม่รู้ตัวอย่างน้อย ถึงแม้ตัวเองจะมีโรคภัยมาก ยากจน ไม่มีทรัพย์ ไม่มีฐานะอะไร ก็ยังมองเห็นได้ว่า คนที่อยู่ในภาวะที่แย่กว่าเรายังมีอีก เพราะฉะนั้น อย่ามัวครุ่นคิดจับเจ่าจมอยู่กับเรื่องเศร้าของตัวเอง การปล่อยใจอย่างนั้น มีแต่จะทำให้ยิ่งทุกข์ ยิ่งเลวร้ายไปกันใหญ่


เมื่อใจไม่มัวทุกข์มัวเศร้า ก็เอาปัญญามาใช้แก้ปัญหา บำบัดเยียวยาให้หายโรค และบำรุงรักษาร่างกายให้ดีที่สุดที่จะทำได้ถึงสังคมจะเลวร้าย บ้านเมืองไทยยามนี้จะวิกฤต ก็ยังไม่ร้ายเท่าที่อื่นหลายประเทศ ยังไม่หมดสิ้นอย่างครั้งเผากรุงเก่า อยู่ที่เราคนไทยจะใช้ปัญญาค้นหาเหตุปัจจัยของปัญหา และรวมกำลังกันแก้ไขป้องกันไม่ให้มีอันเป็นไปอย่างในบทเรียนแห่งความวิบัติเช่นนั้น

- จบตอนที่ ๑ -


22188  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / เขาว่า “ท่านพ่อลี” เป็น “พระเจ้าอโศกมหาราช” จริงหรือ? (ยกเครดิตให้ “คุณหมวยจ้า”) เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 10:19:21 am

เขาว่า “ท่านพ่อลี” เป็น “พระเจ้าอโศกมหาราช” จริงหรือ ? (ยกเครดิตให้ “คุณหมวยจ้า”)

ท่านพ่อลี  ธมฺมธโร(พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์)
 วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ



คำอธิษฐานเสี่ยงทายบารมี ณ เจดีย์ ถ้ำพระสบาย จ.ลำปาง
โพสต์โดยสมาชิกเว็บพลังจิต lepus

ผมอ่านเจอมาจากประวัติหลวงปู่จาม มหาปุญโญ ในเว็บลานธรรมครับ ซึ่งมีกล่าวเกี่ยวกับเรื่องอดีตชาติของหลวงพ่อลีไว้ด้วยครับ.....

....พ.ศ. ๒๔๙๙อายุ ๔๖ปี พรรษาที่ ๑๗ ถ้ำพระสบายที่ถ้ำพระสบายอ.แม่ทะจ.ลำปางท่านพ่อลี ธมฺมธโรวัดอโศการามขณะสมณศักดิ์เป็นพระครูสุทธิธัมมาจารย์ได้นำคณะญาติโยม จัดสร้างเจดีย์เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ในถ้ำพระสบายโดยมีเจ้าแม่สุข ณลำปางแม่เลี้ยงเต่าจันทรวิโรจน์แม่เหรียญกิ่งเทียนเป็นเจ้าศรัทธาใหญ่ตามคำ ปรารภของท่านพ่อลีให้จัดสร้างและทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์และด้วยจิตอธิฐานของ ท่านพ่อลีได้เกิดต้นโพธิ์ขึ้นเอง๓ต้นบริเวณหน้าถ้ำพระสบาย

   เมื่อสร้างเจดีย์เสร็จท่านพ่อลีได้นิมนต์ หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ หลวงปู่แว่น ธนปาโล พระอาจารย์น้อย สุภโร ไปทำพิธีเจริญพระพุทธมนต์โดยต่างองค์ก็ต่างสวดบทมนต์ตามถนัดตั้งแต่หัวค่ำจน ถึงตีสี่จึงจบเสร็จพิธีพิธี ที่แปลกแต่ละองค์จะมีพานไว้ข้างหน้าเพื่อเสี่ยงทายบารมีและจะนั่งอยู่องค์ละ ทิศของเจดีย์ หลวงปู่แว่น ธนปาโลนั่งอยู่หน้าถ้ำจึงอธิษฐานว่าถ้าพระธาตุเสด็จมาในพานของใครมากน้อยก็ แสดงว่าผู้นั้นได้ทำประโยชน์แก่พระพุทธศาสนามากน้อยตามปริมาณที่พระธาตุ เสด็จมา แต่ละองค์ก็สวดบทมนต์ที่ตนถนัดหรือจำมาได้ตลอดเวลารวมทั้งสวดปาฏิโมกข์เมื่อ สวดถึงประมาณตีสี่ปรากฏว่าเสียงตกกราวลงมาคล้ายกระจกแตกจึงให้สัญญาณหยุดสวด เจริญพระพุทธมนต์แล้วจึงได้ตรวจดูในพานของแต่ละท่านที่วางอยู่หน้าที่นั่ง

    ปรากฏว่าในพานของท่านพ่อลีมีพระธาตุมากที่สุด รองลงมาก็เป็นของหลวงปู่จาม ต่อมาก็พระอาจารย์น้อย,หลวงปู่ตื้อและหลวงปู่แว่น ตามลำดับ ในมติคณะสงฆ์ ตอนนั้นได้มอบหมายให้หลวงปู่ตื้อเป็นผู้วินิจฉัยถึงเหตุผลว่าทำไมจึงเป็น เช่นนั้นเพราะทุกองค์ยอมรับในความสามารถเข้าฌาณของหลวงปู่ตื้อว่ามีญาณทัศนะเป็นที่แน่นอน

เมื่อหลวงปู่ ตื้อเข้าสมาธิเล็งญาณดูในอดีตจึงแจ้งให้คณะสงฆ์ทราบร่วมกันว่าท่านพ่อลีเป็น พระเจ้าอโศกมหาราช หลวงปู่จามเป็นกษัตริย์ ชื่อเทวนัมปิยะของประเทศศรีลังกา พระอาจารย์น้อยเป็นเสนาอำมาตย์ของกษัตริย์ศรีลังกาองค์นั้น(เทวนัมปิยะ) หลวงปู่ตื้อเป็นโจรมีเมตตาคนจนตั้งปางโจรอยู่แถวถ้ำพระสบายปล้นคนรวยเอาไป ช่วยคนจน หลวงปู่แว่นเจ้าเมืองลำปางในอดีตช่วง นั้นท่านพ่อลีได้บอก หลวงปู่จามอีกว่า“ได้พบสาวกของท่านองค์หนึ่งเป็นเจ้าแห่งผีที่ผานกเค้า (จ. เลย) อย่าลืมไปโปรดเขาด้วย”

ต่อมาท่านพ่อลีได้ชวนหลวงปู่จามลงไปกรุงเทพฯเพื่อไป สร้างวัดที่นาแม่ขาวที่สมุทรปราการ( วัดอโศการามในปัจจุบัน) แต่หลวงปู่จามออกอุบายอ้างว่าชอบที่จะหาสถานที่วิเวกต่อไป


   หลวงปู่จามเล่าว่าชอบที่จะไปภาวนาที่ถ้ำเชียงดาวถ้ำปากเปียงถ้ำจันทร์ถ้ำพระ สบายและถ้ำอื่นๆในเขตเชียงใหม่ซึ่งล้วนเป็นสถานที่สัปปายะ...

    ก่อนหน้านั้นเคยสงสัยเหมือนกัน ว่าท่านพ่อลี ทำไมชื่อวัดจึงต้องเป็นวัดอโศการามด้วย ...ที่แท้เพราะว่าอดีตชาติของท่านคือ พระเจ้าอโศกมหาราชนี่เอง


ที่มา
http://board.palungjit.com/f63/เขาว่าท่านพ่อลี-เป็นพระเจ้าอโศกมหาราช-จริงหรือ-146417.html
โพสต์โดย คุณลีลาวดี

------------------------------------------------------------ 

เหตุที่ต้องให้เครดิตคุณหมวยจ้า

เนื่องจากตอนเสริช์หารูปของพระเจ้าอโศกฯ ให้คุณหมวยจ้า
เผอิญไปเจอบทความนี้ในเว็บพลังจิต  และคิดว่าเรื่องนี้น่าสนใจ
เลยนำมาโพสต์ให้อ่านกัน  นี่ถ้าไม่มีคุณหมวยจ้า  ผมก็ไม่ทราบว่า
บทความนี้จะได้โพสต์เมื่อไหร่ ต้องขอขอบคุณคุณหมวยจ้า มา ณ โอกาสนี้


ขอให้ธรรมคุ้มครอง

22189  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ตามรู้จิต ตามรู้ความคิด โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 07:44:57 am

การตามรู้จิต ตามรู้ความคิด
คำเทศนาของ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๑

ท่านนักปฏิบัติธรรมผู้เจริญทุกท่าน เมื่อวานนี้ได้กล่าวถึงในหลักการนั่งสมาธิเกี่ยวกับการบริกรรมภาวนาพุทโธ การบริกรรมภาวนานั้น เป็นการปฏิบัติสมาธิขั้นสมถะอารมณ์ของสมถกรรมฐานมี ๔๐ ประการ มีพุทธานุสสติปรากฏอยู่ด้วยข้อหนึ่ง

ดังนั้น การภาวนาบริกรรมพุทโธอันเป็นพุทธานุสสติจึงจัดอยู่ในขั้นสมถกรรมฐาน ซึ่งเรียกว่าบริกรรมภาวนา ซึ่งท่านทั้งหลายก็เคยได้ยินได้ฟังและได้เคยศึกษามาแล้วว่ากรรมฐานอันใดเกี่ยวเนื่องด้วยบริกรรม กรรมฐานนั้นชื่อว่า สมถกรรมฐาน


๑. สมถภาวนา มุ่งเอาเพียงสมาธิอย่างดียว
นอกจากเราจะมาบริกรรมภาวนาพุทโธแล้ว เราจะใช้คำใดคำหนึ่งมาบริกรรมภาวนาก็ได้ทั้งนั้น เช่น จะใช้คำว่า ธัมโม สังโฆ หรือ อิติปิโส ภควา เป็นต้น คำใดคำหนึ่งสุดแท้แต่ใจชอบ ความมุ่งหมายของการบริกรรมภาวนาก็เพื่อให้จิตสงบเป็นสมาธิตามลำดับ ตั้งแต่ขั้นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ซึ่งจัดอยู่ในระดับฌาน นี้คือความมุ่งหมายของสมถภาวนา

ทีนี้ ผลที่จะพึงเกิดขึ้นจากการภาวนาเพื่อให้จิตเป็นสมถกรรมฐาน เป็นสมาธิ ก็เพื่อกำจัดนิวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคขัดขวางคุณงามความดีไม่ให้เกิดขึ้น ท่านทั้งหลายก็ทราบอยู่แล้ว
ทีนี้ มีปัญหาว่า ถ้าหากว่าเรามาบริกรรมภาวนา จิตมันไม่สงบเป็นขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ และอัปปนาสมาธิ ทำอย่างไรๆ ก็ไม่สงบ ถ้าหากว่านักปฏิบัติภาวนาทำจิตให้เข้าสู่ระดับอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็เป็นอันว่าชาตินี้ทั้งชาติเราก็ต้องตายเปล่า เพราะการภาวนาไม่ได้ผล เมื่อเป็นเช่นนั้นเราจะทำอย่างไร


 st12 st12 st12

๒. ทำอัปปนาสมาธิไม่ได้  จะทำอย่างไร
ท่านเคยได้ยินมิใช่หรือว่า มีพระอรหันต์จำพวกหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า “สุขวิปัสสโก” (ผู้เจริญวิปัสสนาล้วน) ในเมื่อเราบริกรรมภาวนาจิตไม่เป็นอัปปนาสมาธิ เราก็ใช้อุบายวิธีอย่างอื่น เป็นต้นว่า เราจะพิจารณาอารมณ์กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่โดยภาวนาอสุภกรรมฐาน หรือภาวนาธาตุววัฏฐาน

หรือจะภาวนาวิปัสสนากรรมฐานเสียเลยทีเดียว เช่น ยกเอารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมาพิจารณาน้อมเข้าไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ด้วยหัวคิดและสติปัญญาที่เราเรียน เราทรงจำมา คือ ใช้ความคิดอย่างที่เรารู้ตามแบบตามแผนที่จำมาด้วยสัญญา คิดเอา ปรุงเอา แต่งเอา ว่ารูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ก็ว่าเอาเอง พร้อมๆ กับน้อมใจเชื่อลงไปว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาไปจริงๆ

แต่ในขณะที่เราพิจารณาอยู่นั้น บางทีจิตอาจจะสงบลงเป็นสมาธิเพราะการค้นคิดในเหตุผล ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร ว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันเป็นภาคปฏิบัติ ก็เป็นอุบายที่จะทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เหมือนกัน

 
 gd1 gd1 gd1

เพราะฉะนั้น ถ้าหากเราภาวนาให้จิตเป็นอัปปนาสมาธิไม่ได้ ก็ยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาพิจารณาโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ภาษาคัมภีร์เรียกว่า พิจารณาพระไตรลักษณ์ คือน้อมใจไปว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา จนครบขันธ์ทั้งห้านั้นแหละ ตั้งแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

โดยนึกคิดเอา คือจนกระทั่งจิตมันชำนาญจนเชื่อมั่นลงไปว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นการปลูกศรัทธา ความเชื่อมั่นในตัวเอง และเชื่อมั่นในคุณธรรม เราจะได้เกิดความปลื้มปีติ ความเบิกบานสำราญใจ ในธรรมะที่เราพิจารณานั้น แล้วก็จะมี สติ มี วิริยะ มี สมาธิ แล้วก็มี ปัญญา เป็นลำดับๆ ไป
เป็นอุบายสำหรับสร้างให้จิตเกิดพละ คือจิตเกิดศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา อันนี้เป็นสิ่งจำเป็นที่เราจะต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นด้วยพิจารณาสภาวธรรม


 st11 st11 st11 st11

๓. จิตติดสุข เป็นเพียงสมถะ
อีกนัยหนึ่ง ถ้าเราจะมาอาศัยลำพังเพียงบริกรรมภาวนาให้จิตสงบเป็นสมาธิ หรืออัปปนาสมาธิ ไม่มีการก้าวไปข้างหน้า ไม่มาข้างหลัง จิตก็ไม่มีความรู้ความเห็นอะไรเกิดขึ้น ทำทีไรก็ได้แต่ปีติ สุข เอกัคคตา ปีติ สุข เอกัคคตา อยู่อย่างนั้น ถ้าจิตมันติดอยู่แต่เพียงเท่านี้ก็เรียกว่า จิตมันติดความสุขอยู่ในขั้นสมาธิ มันก็ได้เพียงแค่ขั้นสมถะเท่านั้นเอง

๔. ชำนาญอัปปนาสมาธิ แต่วิปัสสนาไม่ได้  ต้องทำอย่างไร
เพราะฉะนั้น ผู้ที่ฝึกฝนจิตของตนเองอยู่ในขั้นอัปปนาสมาธิจนชำนิชำนาญแล้ว ถ้าจิตไม่ปฏิวัติตัวเองไปสู่ภูมิวิปัสสนา ก็พิจารณาเอาด้วยปัญญาความคิดสดๆ ร้อนๆ เพื่อเป็นแนวทางให้จิตเกิดความรู้ความเข้าใจในสภาวธรรม เมื่อจิตมีความรู้ความเข้าใจเชื่อมั่นในความเป็นของสภาวธรรมว่า มีความเป็นเช่นนั้นจริง แล้วมันจะเกิดศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ขึ้นเป็นคุณธรรมของจิต

 



๕. ภาวนาแล้วฟุ้งซ่าน แก้อย่างไร
และอีกอย่างหนึ่ง การบริกรรมภาวนาก็ดี หรือการพิจารณาสภาวธรรมก็ดี ทำเท่าไร ภาวนาเท่าไร จิตไม่สงบ ได้แต่ความฟุ้งซ่านรำคาญ มีแต่ส่งกระแสไปในทางอื่น ถ้าหากเราไม่สามารถจะควบคุมจิตของเราอยู่ในอารมณ์ภาวนา หรือในแนวทางแห่งสภาวธรรมที่เรายกขึ้นมาพิจารณา ไม่สามารถที่จะให้อยู่ในเรื่องในราวที่เราต้องการนั้นได้ เราก็ปล่อยให้จิตมันปลงไปตามยถากรรม
 
แต่เราต้องกำหนดสติพิจารณาตามรู้ตามเห็นความคิดของตนเอง อย่าละ พร้อมๆ กันนั้นก็เอาพระไตรลักษณ์ตามจี้มันไปเรื่อย คือจี้ว่าอย่างไร จี้ว่าความคิดนี้มันก็ไม่เที่ยงมันเกิดขึ้นแล้วมันก็ดับไป มันก็มีแต่เกิดแต่ดับ สภาวธรรมทั้งหลายในโลกนี้ ทั้งในกายในใจ ทั้งนอกกายนอกใจ


 :25: :25: :25:

ทุกสิ่งทุกอย่างที่ได้ชื่อว่าเป็นสภาวธรรมนั้น มันต้องตกอยู่ในลักษณะทั้ง ๓ ค อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ด้วยกันทั้งนั้น จุดรวมใหญ่ของมันอยู่ที่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา คือ อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง ทุกขตา ความเป็นทุกข์ อนัตตตา ความไม่เป็นตัวไม่เป็นตน เอาความคิดอันนี้ตามรู้ความคิดความเห็นของตน
 
ตามจี้ไปเรื่อย แต่อันนี้ต้องใช้ความพากเพียรพยายามอดทนหน่อย เพราะความฟุ้งซ่านรำคาญของจิตนั้น ล้วนแต่จะทำให้เกิดความเดือดร้อน ทำให้จิตมันฟุ้งเรื่อยไป แต่เราก็ต้องอาศัยขันติ คือ ความอดทน ตั้งสติสัมปชัญญะ กำหนดตามรู้ตามเห็นไปเรื่อยๆ ในเมื่อจิตมันไปจนถึงที่สุดแล้ว มันก็หยุดของมันเอง มันหยุดอยู่ที่ไหนก็กำหนดรู้อยู่ที่นั้น อย่าใช้ความคิดต่อไปอีก จนกว่าจิตนั้นมันจะเคลื่อนที่ของมันไปเอง แล้วเราก็ตามรู้ตามเห็นไปเรื่อย อันนี้เป็นวิธีการอันหนึ่งซึ่งเป็นการปฏิบัติอนุวัติตามจริตและนิสัย ของนักปฏิบัติซึ่งอาจจะไม่ตรงกัน


 ans1 ans1 ans1

๖. พระจูฬปันถก สำเร็จด้วยผ้าขาวผืนเดียว
การที่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงวางหลักกรรมฐานไว้ถึง ๔๐ ประการ ก็เพราะทรงเห็นว่าคนเกิดมาบนโลกนี้มันต่างจิตต่างใจต่างอุปนิสัยวาสนาบารมี บางคนก็มีจิตใจอุปนิสัยชอบอย่างหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็ชอบอย่างหนึ่ง ไม่ตรงกัน

เพราะฉะนั้น คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงมีมากมายก่ายกอง ยกตัวอย่างเช่น พระจูฬปันถก ใครจะสอนท่านก็ไม่ได้ มีแต่พระพุทธเจ้าพระองค์เดียว ใครจะสอนให้ท่านเรียนคาถาเพียงบาทเดียว ท่านก็จำไม่ได้ แต่พระพุทธเจ้าสอนว่า รโชหรณํ รชํ หรติ มอบผ้าขาวให้ผืนเดียว ท่านก็บริกรรมภาวนาอยู่ จิตก็ปลงตกลงไปว่า

 ans1 ans1 ans1

ผ้านี้เดิมมันก็เป็นของขาวสะอาดแต่มาถูกด้วยเหงื่อไคลของตัวเราเอง ก็เกิดเป็นของสกปรกไปได้ นี้มันก็เป็นลักษณะเป็นทุกข์ ไม่เที่ยง เป็นอนัตตาทั้งนั้น เสร็จแล้วก็ปลงจิตลงสู่สภาวะความเป็นพระอรหันต์ สำเร็จพระอรหันต์ แล้วก็สามารถสำเร็จปฏิสัมภิทา สามารถแสดงอิทธิฤทธิ์ได้หลายอย่างตามพุทธประวัติที่กล่าวไว้ ท่านทั้งหลายก็คงทราบอยู่แล้ว

การกล่าวธรรมะเป็นคติเตือนใจสำหรับบรรดาท่านนักปฏิบัติธรรมทั้งหลายในวันนี้ก็เห็นว่าพอสมควรแก่เวลา จึงขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้…


ที่มา http://www.geocities.com/wiroj_c/dhamma/preach27.doc
ขอบคุณภาพจาก http://www.dhammajak.net/ , http://www.champa.kku.ac.th/
22190  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิธีอ่านภาษาบาลี เมื่อ: มิถุนายน 02, 2010, 07:33:26 am
วิธีอ่านภาษาบาลี

 

คำในภาษาบาลี เมื่อนำมาเขียนถ่ายทอดเป็นภาษาไทยแล้ว จะมีลักษณะที่ควรสังเกตประกอบการอ่าน ดังนี้

๑. ตัวอักษรทุกตัวที่ไม่มีเครื่องหมายใดอยู่บนหรือล่าง และไม่มีสระใดๆ กำกับไว้ ให้อ่านอักษรนั้นมีเสียง "อะ" ทุกตัว เช่น

     อรหโต อ่านว่า อะ-ระ-หะ-โต
      ภควา อ่านว่า ภะ-คะ-วา
      นมามิ อ่านว่า นะ-มา-มิ
      โลกวิทู อ่านว่า โล-กะ-วิ-ทู

๒. เมื่อตัวอักษรใดมีเครื่องหมาย  ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้แสดงว่าอักษร นั้นเป็นตัวสะกดของอักษรที่อยู่ข้างหน้า ผสมกันแล้วให้อ่านเหมือนเสียง อะ+(ตัวสะกด) นั้น เช่น

     สมฺมา (สะ+ม = สัม) อ่านว่า สัม-มา
      สงฺโฆ (สะ+ง = สัง) อ่านว่า สัง-โฆ

ยกเว้นในกรณีที่พยัญชนะตัวหน้ามี เครื่องหมายสระกำกับอยู่แล้ว ก็ให้อ่านรวมกันตามตัวสะกดนั้น เช่น
     
      พุทฺโธ      อ่านว่า พุท-โธ
      พุทฺธสฺส    อ่านว่า พุท-ธัส-สะ
      สนฺทิฏฺฺฺฺ ฺฐิโย อ่านว่า สัน-ทิฏ-ฐิ-โย
      ปาหุเนยฺโย อ่านว่า ปา-หุ-เนย-โย


๓. เมื่ออักษรใดมีเครื่องหมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนตัวอักษร ให้อ่านให้เหมือนอักษรนั้นมีไม้หันอากาศและสะกดด้วยตัว "ง" เช่น
     
      อรหํ     อ่านว่า อะ-ระ-หัง
      สงฺฆํ     อ่านว่า สัง-ฆัง
      ธมฺมํ     อ่านว่า ธัม-มัง
      สรณํ    อ่านว่า สะ-ระ-นัง
      อญฺญํ   อ่านว่า อัญ-ญัง

แต่ถ้าตัวอักษรนั้นมีทั้งเครื่อง หมาย  ํ (นฤคหิต) อยู่ข้างบนและมีสระอื่นกำกับอยู่ด้วย ก็ให้อ่านออกเสียงตามสระที่กำกับ + ง (ตัวสะกด) เช่น
   
      พาหุํํํํ ํํ อ่านว่า พา-หุง


๔. เมื่ออักษรใดเป็นตัวนำแต่มีเครื่องหมาย ฺ (พินทุ) อยู่ข้างใต้ด้วย ขอให้อ่านออกเสียง "อะ" ของอักษรนั้นเพียงครึ่งเสียงควบไปกับอักษรตัวตาม เช่น
     
      สฺวากฺขาโต อ่านว่า สะหวาก-ขา-โต

 

ที่มา   http://www.fungdham.com/proverb-bale.html


22191  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ธรรมจักร” บนธงชาติอินเดีย กับ “เสาอโศก” สัมพันธ์กันอย่างไร เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 08:02:46 pm
“ธรรมจักร” บนธงชาติอินเดีย กับ  “เสาอโศก” สัมพันธ์กันอย่างไร




ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa

http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
22192  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระเจ้าอโศกมหาราช "อัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ของพระพุทธศาสนา เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 07:42:42 pm
พระเจ้าอโศกมหาราช "อัครศาสนูปถัมภกที่ยิ่งใหญ่ที่สุด" ของพระพุทธศาสนา







ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa

http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm
22193  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / มหาสถูปแห่งเกสรียา ต้นกำเนิดของกาลามสูตร เมื่อ: มิถุนายน 01, 2010, 02:28:03 pm
มหาสถูปแห่งเกสรียา  ต้นกำเนิดของกาลามสูตร


 
ที่มา   หนังเล่าเรื่องอินเดีย ภาค ๓  เขียนโดย venfaa
        http://www.kanlayanatam.com/tammabook.htm



กาลามสูตรกังขานิยฐาน ๑๐ (หมายถึง วิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย หรือหลักความเชื่อ ที่ตรัสไว้ในกาลามสูตร)
 
๑. มา อนุสฺสเวน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามกันมา)
 
๒. มา ปรมฺปราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา)
 
๓. มา อิติกิราย (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ)
 
๔. มา ปิฎกสมฺปทาเนน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์)

๕. มา ตกฺกเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะตรรก)
 
๖. มา นยเหตุ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมาน)
 
๗. มา อาการปริวิตกฺเกน (อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล)
 
๘. มา ทิฏฺฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้าได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว)
๙. มา ภพฺพรูปตาย (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้ )
 
๑๐. มา สมโณ โน ครูติ (อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้เป็นครูของเรา)
     
ต่อเมื่อใด รู้เข้าใจด้วยตนว่า ธรรมเหล่านั้น เป็นอกุศล เป็นกุศล มีโทษ ไม่มีโทษ เป็นต้นแล้ว จึงควรละหรือถือปฏิบัติตามนั้น
 
     สูตรนี้ ในบาลีเรียกว่า เกสปุตติยสูตร ที่ชื่อกาลามสูตร เพราะทรงแสดงแก่ชนเผ่ากาลามะ แห่งวรรณะกษัตริย์ ที่ชื่อเกสปุตติยสูตร เพราะพวกกาลามะนั้นเป็นชาวเกสปุตตนิคม


A.I.189     องฺ.ติก.๒๐/๕๐๕/๒๔๑.
ที่มา   พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
22194  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ถ้ำอชันตา (Ajanta Caves) เมื่อ: พฤษภาคม 29, 2010, 01:44:44 pm

ถ้ำอชันตา Unseen in India


ถ้ำอชันตา นับว่าเป็นหนึ่งใน Unseen in India ที่คนทั่วไปอาจไม่รู้จัก ในขณะที่นักประวัติศาสตร์ศิลป์ทั่วโลกคุ้นเคยกับพุทธสถานแห่งนี้เป็นอย่างดี ในฐานะเป็นที่รวมความงามทางพุทธศิลป์ ทั้งด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม โบราณ ซึ่งสร้างจากแรงศรัทธาและความมุ่งมั่นพยายามของผู้ปฏิบัติธรรมในละแวกนั้น

อชันตาเป็นชื่อหมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่งใกล้ถ้ำนั้น ห่างจากเมืองออรังคบาดไปทางตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 104 กม. เป็นถ้ำที่มีการขุดเจาะภูเขาเข้าไป เรียงกันถึง 30 ถ้ำ เพื่อใช้เป็นห้องโถงสำหรับสวดมนต์ และประกอบศาสนกิจ รวมถึงเป็นที่พำนักพระสงฆ์ จะเรียกว่า เป็นวัดในพุทธศาสนาแห่งหนึ่งก็ว่าได้

ถ้ำนี้มีกำเนิดก่อนคริสตศักราชราว 200 ปี (พ.ศ.350) เดิมทีเป็นผลงานที่สร้างโดยพระสงฆ์นิกายหินยาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นช่างแกะสลักชาวฮินดูในวรรณะล่างที่เปลี่ยนมานับถือศาสนา พุทธ ต่อมานิกายมหายานจึงเริ่มเข้าไปผสมผสานภายหลัง มีผู้สันนิษฐานว่าพระสงฆ์เลือกถ้ำแห่งนี้เนื่องจากเป็นสถานที่ที่สงบเงียบ ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเส้นทางส่งสินค้าของชาวอาหรับโบราณมากนัก จนกระทั่งกองทัพมุสลิมเข้ามายึดอินเดีย ถ้ำอชันตาก็หายไปจากความทรงจำของผู้คน ต่อมาใน ค.ศ.1819 นายทหารอังกฤษชื่อ นายจอห์น สมิธ ได้ออกล่าสัตว์ในเขตนั้น และพบถ้ำดังกล่าว เขาแทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง เพราะไม่นึกไม่ฝันว่าคนสมัยนั้นจะมีความพยายามสูงส่ง ขนาดเจาะหินภูเขาเป็นที่อยู่อันใหญ่โตมโหฬารด้วยมือได้เช่นนี้

ถ้ำที่มีความสวยงามและเลื่องชื่อในด้านจิตรกรรมฝาผนังและรูปปั้น ก็คือ ถ้ำที่ 1 ซึ่งภายในมีภาพวาดพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และพระปัทมปาณีถือดอกบัว เอียงพระเศียรแสดงสีหน้าอ่อนโยนและเมตตา ในขณะที่ถ้ำที่ 2 มีความงดงามไม่แพ้กัน ต่างกันเพียงจิตรกรรมฝาผนังของถ้ำนี้เป็นเรื่องการประสูติของพระพุทธองค์และ พระสุบินของพระนางสิริมหามายา

ส่วนวิหารในถ้ำที่ 19 เป็นตัวอย่างสถาปัตยกรรมหินแกะสลักที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความโดดเด่นที่เพดานด้านบนเป็นทรงเกือกม้า และมีรูปปั้นเทพารักษ์ยืนตรงขอบหน้าต่าง โดยทั้งหมดเป็นฝีมือของพระสงฆ์นิกายมหายานที่สื่อให้เห็นถึงชีวิตความเป็น อยู่และพระ ราชวังอันหรูหราของพระพุทธเจ้าก่อนออกผนวชเพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต

ที่กล่าวมานี้ เป็นเพียงตัวอย่างของไฮไลต์เด่นๆ ในถ้ำอชันตาเท่านั้น เพราะถ้ำอื่นๆ ยังมีศิลปะและจิตรกรรมฝาผนังที่อธิบายถึงหลักธรรมในพุทธศาสนาและพุทธประวัติ มากมาย

และในปี พ.ศ.2545 รัฐบาลอินเดียได้อนุมัติงบประมาณเพื่อติดตั้งระบบไฟใยแก้วออฟติกที่ทันสมัย ในทุกถ้ำ และจัดซื้อรถประจำทางปลอดสารพิษจำนวน 10 คัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับนักประวัติศาสตร์ที่เข้ามาศึกษาค้นคว้าหาความหมาย และปรัชญาที่แฝงอยู่ในสถาปัตยกรรมแห่ง นี้ ทั้งยังสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เข้ามาสัมผัสกับความวิจิตรอลังการของถ้ำ อชันตาเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย


คัดลอกมาจาก
เรื่องจากต่างแดน : ถ้ำอชันตา Unseen in India
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 29 พฤศจิกายน 2547 14:01 น. 
http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=9098
22195  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / “ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา” เมื่อ: พฤษภาคม 26, 2010, 12:18:34 pm

เช้าวัน ตรัสรู้ นางสุชาดากับทาสีมาถวายข้าวมธุปายาส โดยสำคัญว่าเทวดา
ภาพที่ ๒๒ สมุดภาพพระพุทธประวัติ ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชก

“ข้าวมธุปายาส” มีความสำคัญอย่างไรกับ “วันวิสาขะบูชา”

   นับตั้งแต่พระมหาเสด็จออกบวชเป็นต้นมาจนถึงวันที่เห็นอยู่ในภาพนี้  เป็นเวลาย่างเข้าปีที่  ๖
ตอนนี้พระมหาบุรุษเริ่มเสวยอาหารจนพระวรกายมีกำลังเป็นปกติแล้ว  และวันนี้เป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๖  ก่อนพระพุทธเจ้านิพพาน ๔๕  ปี  สตรีที่กำลังถวายของแด่พระมหาบุรุษคือนางสุชาดา  เป็นธิดาของคหบดีผู้หนึ่งในหมู่บ้าน   ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม  ของที่นางถวายคือข้างมธุปายาส   คือ   ข้าวที่หุงด้วยนมโคล้วน  เป็นอาหารจำพวกมังสวิรัติ  ไม่ปนเนื้อ  ไม่เจือปลา  ใช้สำหรับบวงสรวงเทพเจ้าโดยเฉพาะ
 
   ปฐมสมโพธิเล่าว่า  นางสุชาดาเคยบนเทพเจ้าไว้ที่ต้นไทรเพื่อให้ได้สามีผู้มีชาติสกุลเสมอกัน
และได้ลูกที่มีบุญ   เมื่อนางได้สมปรารถนาแล้ว   จึงหุงข้าวมธุปายาสเพื่อแก้บน  ก่อนถึงวันหุง  นางสุชาดา  สั่งคนงานให้ไล่ต้อนฝูงโคนมจำนวนหนึ่งพันตัวเข้าไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ  ให้แม่โคกินชะเอมเครือ  กินอิ่มแล้วไล่ต้อนออกมา     แล้วแบ่งแม่โคนมออกเป็นสองฝูงๆ  ละ  ๕๐๐  ตัว  แล้วรีดเอานมจากแม่โคนมฝูงหนึ่งมาให้แม่โคนมอีกฝูงหนึ่งกิน   แบ่งและคัดแม่โคนมอย่างนี้เรื่อยๆ  ไปจนเหลือแม่โคนม  ๘  ตัว  เสร็จแล้วจึงรีดน้ำนมจากแม่โคนมทั้ง  ๘  มาหุงข้าวมธุปายาส


   หุงเสร็จแล้ว  นางสุชาดาสั่งให้นางทาสีหญิงรับใช้ไปทำความสะอาดปัดกวาดบริเวณต้นไทร 
นางทาสีไปแล้วกลับมารายงานให้นางสุชาดาทราบว่า  เวลานี้รุกขเทพเจ้าที่จะรับเครื่องสังเวยได้สำแดงกายให้ปรากฏ  นั่งรออยู่ที่โคนต้นไทรแล้ว  นางสุชาดาดีใจเป็นกำลัง  จึงยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูนหัวเดินมาที่ต้นไทรพร้อมกับนางทาสี   ก็ได้เห็นจริงอย่างนางทาสีเล่า   นางจึงน้อมถาดข้าวมธุปายาสเข้าไปถวาย   พระมหาบุรุษทรงรับแล้วพระเนตรดูนาง    นางทราบพระอาการกิริยาว่า     พระมหาบุรุษไม่มีบาตรหรือภาชนะอย่างอื่นรับอาหาร  นางจึงกล่าวคำมอบถวายข้าวมธุปายาสพร้อมทั้งถาดนั้น
 
   ถวายเสร็จแล้วก็ไหว้    แล้วเดินกลับบ้านด้วยความยินดี   และด้วยความสำคัญหมายว่า   พระมหาบุรุษนั้นเป็นรุกขเทพเจ้า


ที่มา  http://www.84000.org/tipitaka/picture/f22.html



ข้าวมธุปายาส
    พุทธศาสนิกชนทั้งหลายรู้จัก “มธุปายาส” ซึ่งเป็นอาหารโบราณตั้งแต่ครั้งพุทธกาลจากเรื่องราวในพุทธประวัติ โดยมีนางสุชาดาเป็นผู้ปรุงถวายพระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หนังสือ “พระปฐมสมโพธิกถา” พระนิพนธ์ในสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรสมีกล่าวอรรถาธิบาย ขั้นตอนในการหุงข้าวมธุปายาสของนางสุชาดาไว้เป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ถอดความมาได้ดังนี้
 
   “ก่อนที่จะถึงวันวิสาขปุรณมี เพ็ญเดือนหกนางสุชาดาก็ใช้ให้บุรุษทาสีกรรมการทั้งหลายเอาฝูงแม่โคจำนวน 1000 ตัวไปเลี้ยงในป่าชะเอมเครือ เพื่อให้แม่โคทั้งหมดได้บริโภคเครือชะเอม อันจะทำให้น้ำนมมีรสหวานหอม
 
    แล้วแบ่งโคนมออกเป็น 2 พวก พวกละ 500 ตัว เพื่อรีดเอาน้ำนมจากแม่โค
    500 ตัวในกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 500 ตัวในกลุ่มหลังบริโภค   
    ครั้นแล้วก็แบ่งแม่โคในกลุ่มหลังจำนวน 500 ตัว ออกเป็น 2 พวก พวกละ 250 ตัว
    แล้วรีดเอาน้ำนมแม่โค 250 ตัวจากกลุ่มแรกมาให้แม่โคอีก 250 ตัว ในกลุ่มหลังบริโภค
    กระทำการแบ่งกึ่งกันเช่นนี้ลงมาทุกชั้นๆ จนเหลือ 16 ตัว แล้วแบ่งออกเป็น 2 พวก พวกละ 8 ตัว
    นำน้ำนมของแม่โค 8 ตัวแรกมาให้อีก 8 ตัวสุดท้ายบริโภค ทำเช่นนี้เพื่อจะให้น้ำนมของแม่โค 8 ตัวที่เหลือมีรสหวานอันเลิศจนกระทั่งเหลือแม่โคที่จัดไว้ใช้ 8 ตัว


    ในคืนก่อนวันเพ็ญเดือน 6 หนึ่งวัน นางจึงนำภาชนะมารองเพื่อเตรียมจะรีดน้ำนมใส่ลง ขณะนั้นน้ำนมก็ไหลออกมาเองจนเต็มภาชนะเป็นมหัศจรรย์ปรากฏ นางสุชาดาเห็นดังนั้น ก็รู้สึกปิติยินดีเข้ารับภาชนะซึ่งรองน้ำนมนั้นด้วยมือ ตน นำมาเทลงในภาชนะใหม่แล้วใส่ลงในกระทะนำขึ้นตั้งบนเตา ใส่ฟืนเตรียมก่อเพลิงด้วยตนเอง

    เวลานั้นสมเด็จอัมรินทราธิราชก็เสด็จลงจุดไฟให้โชติช่วงขึ้น
    ท้าวมหาพรหมทรงนำทิพย์เศวตฉัตร มากางกั้นเบื้องบนภาชนะที่หุงมธุปายาสนั้น
    ท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 ได้มาประทับยืนรักษาเตาไฟทั้ง 4 ทิศ
    เหล่าเทพยดาทั่วทั้งหมื่นโลกธาติ ต่างพากันนำเอาโภชนาหารอันเป็นทิพย์มาโปรย ใส่ลงในกระทะด้วย
    เมื่อน้ำนมเดือดก็ปรากฏเป็นฟองใหญ่ไหลเวียนขวาทั้งสิ้น จะกระเซ็นตกลงพื้นแผ่นดินแม้นสักหยดหนึ่งก็ไม่มี

    
    ครั้นสำเร็จเสร็จสมบูรณ์ดี นางจึงนำมาบรรจุลงในถาดทองคำข้าวมธุปายาสอันหุงเสร็จเรียบร้อยก็พอดี ไม่มีพร่อง ไม่มีเกิน แล้วปิดฝาด้วยถาดทองอีกใบหนึ่งห่อหุ้มด้วยผ้าขาวบริสุทธิ์ เมื่อนั้นนางก็จัดแต่งอาภรณ์ให้เรียบร้อย ยกถาดทองคำซึ่งบรรจุมธุปายาสอันโอชะทูนขึ้นไว้บนศีรษะของตนแล้วเดินนำไปสู่ ที่ประทับแห่งพระบรมโพธิสัตว์”

   ข้าวมธุปายาสในครั้งพุทธกาล เป็นอาหารที่ปรุงให้มีรสหวานนุ่ม
   มีส่วนผสมของ ข้าวอ่อนที่ยังไม่สุกจัดคั้นออกจากรวงเป็นน้ำ
   แล้วหุงกับน้ำนมสดเจือด้วยน้ำผึ้งมีความข้นพอที่จะปั้นให้เป็นคำได้


 

ประเพณีการกวนข้าวทิพย์ ของไทย
    จากคติศรัทธาความเชื่อของชาวพุทธในประเทศไทยได้ขนานนาม “ข้าวมธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวกระยาทิพย์” หรือ “ข้าวทิพย์”
    ประเพณีการหุงข้าวทิพย์ในวันเพ็ญเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชาพบว่า มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
    ประเพณีนี้สืบต่อลงมาจนถึงรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วว่างเว้นไปและกลับมาเกิดขึ้นอีกครั้งในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ถือเป็นโบราณราชประเพณีปฏิบัติสืบมาจนกระทั่งทุกวันนี้

    
  สำหรับของที่นำมาปรุง “ข้าวทิพย์” และวิธีการกวนตามแบบไทย มีบันทึกไว้ในหนังสือ “พระราชพิธีสิบสองเดือน” พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เรียบเรียงได้ดังนี้

ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์
ของที่นำมาปรุงข้าวทิพย์ 5 ประเภทคือ
    ก. ประเภทถั่ว
    ข. ประเภทข้าว พืชเป็นหัว เมล็ดธัญพืช
    ค. ประเภทน้ำตาล
    ง. ประเภทน้ำมัน
    จ. ประเภทผลไม้ อันได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้คั้นน้ำ ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอม



ของปรุง “ข้าวทิพย์”
เครื่องปรุงทั้ง 5 ประเภทประกอบด้วยของชนิดต่างๆ ดังนี้

ก. ประเภทถั่ว ได้แก่
    1. ถั่วราชมาษ
    2.ถั่วดำ
    3.ถั่วเหลือง
    4.ถั่วเขียว
    5. ถั่วขาว
    6.ถั่วทอง
    7.ถั่วลิสง
    8. ถั่วแม่ตาย


ข.ประเภทข้าว พืชเป็นหัวและเมล็ดธัญพืช ได้แก่
    1. ข้าวอ่อนที่คั้นเป็นน้ำนม
    2.ข้าวสารหอม
    3. ข้าวเม่า
    4. ข้าวฟ่าง
    5.ข้าวตอก
    6. ข้าวโพด
    7.ขนมปังจืด (ป่นหยาบพอเป็นเกร็ด)
    8.สาคูวิลาด
    9. สาคูลาน
    พืชเป็นหัว
    10. มันเทศ
    11. เผือก
    12. แห้วไทย
    13. แห้วจีน
    14. กระจับสด
    เมล็ดธัญพืช
    15.เมล็ดงา
    16. เมล็ดแตงอุลิด
    17. ลูกเดือย
    18. ผลมะกล่ำใหญ่

ค.ประเภทน้ำตาล ได้แก่
    1. น้ำผึ้ง
    2. น้ำอ้อยสด
    3. น้ำอ้อยแดง
    4. น้ำตาลกรวด
    5. น้ำตาลทราย
    6. น้ำตาลหม้อ

ง.ประเภทไขมัน ได้แก่
    1. เนย
    2. น้ำนมโค
    3. มะพร้าวแก่
    4. มะพร้าวอ่อน

จ.ประเภทผลไม้ (ใช้ผลไม้แดงและทุกชนิดที่หาได้)
ผลไม้สดได้แก่
    1. ทับทิม
    2. ลูกพลับสด
    3. ละมุด
    4. สาลี่
    5. กล้วยหอม
    6. กล้วยไข่
    7. กล้าย
    8. น้อยหน่า
    9. เงาะ
    10. ลางสาด
    ผลไม้คั้นน้ำ ได้แก่
    1.ส้มเขียวหวาน
    2. ส้มเกลี้ยง
    3. ส้มมะเป้น
    4. ส้มซ่า
    5. ส้มตรังกานู
    ผลไม้แห้ง ได้แก่
    1. พลับแห้ง
    2. อินทผลัม
    3. ลำไย
    4. พุทราริ้ว
    5. ลิ้นจี่
    ผลไม้กวน ได้แก่
    1.ทุเรียนกวน
    2. สัปปะรดกวน
    ผลไม้แช่อิ่ม ได้แก่
    1.ผลชิด
    2. ผลกระท้อน

พร้อมทั้งสมุนไพรปรุงรสได้แก่ ชะเอมสด ชะเอมเทศ รวมของทั้งหมด 62 รายการ



การเตรียมของปรุง
     1. ของที่ต้องนำมาโขลกตำ ได้แก่ ข้าวอ่อนเจือด้วยน้ำโขลกแล้วคั้น น้ำที่ใช้เป็นน้ำมนต์ถือว่าเป็นสิ่งศิริมงคลและให้ผลทางจิตใจ ชะเอมสดและชะเอมเทศโขลกคั้นเอาน้ำมาเจือในน้ำนม แทนคติว่าแม่โคถูกเลี้ยงในป่าชะเอม (กิ่งชะเอม เมื่อทุบให้แตกใช้ขัดถูฟัน มีสรรพคุณรักษาโรคเหงือก ทำให้ฟันแข็งแรงและบำรุงสายตา)
    2. ของที่ต้องนำมาหั้นฝานให้เป็นชิ้นเล็กได้แก่ ผลไม้สด ผลไม้แห้ง ผลไม้กวน ผลไม้แช่อิ่ม
    3. ของที่ต้องนำมาหุงเปียกได้แก่ ประเภทข้าว สาคู ลูกเดือย
    4. ของที่ต้องนำมาแช่น้ำให้นิ่มแล้วนึ่งให้สุก ได้แก่ ประเภทถั่ว
    5. ของที่ต้องนำมาคั่ว ได้แก่ ถั่วลิสง งา ถั่วลิสงและงาต้องแยกกันคั่ว ไม่นำมาคั่วรวมกัน เพราะของแต่ละอย่างใช้เวลาทำให้สุกไม่เท่ากัน ถั่วลิสงจะสุกช้ากว่างาอย่างนี้กระมังจึงมีสุภาษิตของไทยที่ว่า “กว่าถั่งจะสุกงาก็ไหม้” หมายความถึงการทำงานที่ขาดระเบียบ ไม่มีขั้นตอน ไม่รู้จักจัดลำดับความสำคัญ ว่าสิ่งใดควรทำก่อน ทำหลังเป็นเหตุให้งานเสียหายได้
    6. ของที่ต้องนำมาคั้นน้ำ ได้แก่ ผลไม้ประเภทส้ม ทับทิม
    7. ของที่ต้องนำมากวนให้เหนียวพอเป็นยางมะตูม ได้แก่ น้ำตาลหม้อซึ่งใช้เป็นหลักจริงๆ ส่วนน้ำผึ้ง น้ำอ้อยสด น้ำอ้อยแดง น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ใส่พอสังเขป
    8. น้ำมันที่ใช้กวน ได้แก่ กะทิซึ่งใช้มะพร้าวแก่ขูดแล้วคั้นด้วยน้ำมะพร้าวอ่อน น้ำนมโค และเนยใช้เจือ
ขณะกวนใส่เพียงนิดหน่อย เรียกว่า ใส่พอเป็นพิธี บางทีกวนกระทะใหญ่โตใช้เนยเพียงช้อนเดียว เมื่อกวนเสร็จจะมีกลิ่นหอมของกะทิและน้ำตาลมากกว่ากลิ่นของนมเนย อันเป็นแบบฉบับขนมอย่างไทยๆ



ขั้นตอนในการใส่ของปรุง “ข้าวทิพย์”
    1. เคี่ยวกะทิและน้ำตาลใช้ไฟ ปานกลางอย่าแรงเกินไปจะทำให้น้ำตาลไหม้
    2. เมื่อเดือดได้ที่ นำของที่หุงเปียกและนึ่งไว้แล้วได้แกประเภทข้าว และถั่วลงกวน
    3. ใส่ผลไม้สดที่หั่นฝานเป็นชิ้นเล็กๆ ตามความเหมาะสมลงกวนเพื่อทำให้ผลไม้สดลดความชื้น เมื่อกวนเสร็จจะสามารถเก็บไว้ได้นาน ไม่ชื้นหรือขึ้นราง่าย
    4. ขณะกวนหากเครื่องปรุงข้นเหนียวหรือแห้งเกินไปสามารถเติมน้ำผลไม้คั้นได้ ตามสมควร
    5. เหยาะน้ำนมสด เนย และน้ำนมข้าวอ่อนที่คั้นกับชะเอมพอประมาณ
    6. ใส่ผลไม้แห้ง ผลไม้แช่อิ่ม และผลไม้กวน ที่หั่นฝานดีแล้วลงกวนคลุกเคล้าเบาๆ จนส่วนผสมกระจายทั่วกันดี ผลไม้แห้งต่างๆ เมื่อใส่ลงในกระทะแล้วจะใช้เวลากวนอีกเพียงชั่วครู่ เพื่อรักษากลิ่นหอมตามธรรมชาติของผลไม้ไว้
    7. เสร็จแล้วยกลงจึงโรยด้วยของที่คั่วสุก ได้แก่ ถั่วลิสงคั่ว งาคั่ว



ลักษณะของข้าวทิพย์เมื่อกวนเสร็จ
     จะมีความเหนียวพอประมาณ เมื่อเย็นสนิทแล้วสามารถนำมาปั้นหรือกดลงพิมพ์เป็นชิ้นได้ ไม่แข็งกระด้าง หอมกลิ่นผลไม้ต่างๆ กะทิ และน้ำตาลมีสีสรรของส่วนผสม สามารถมองเห็นเนื้อข้าวสีของผลไม้ และส่วนผสม อื่นๆ ได้ดี มองดูน่ารับประทาน
     สิ่งสำคัญในการกวนข้าวทิพย์ ขณะกวนต้องกวนไปทางเดียวกันคือ วนขวาไปตลอด จนกระทั่งเสร็จ เพื่อให้ขนมมีความเหนียวและกะทิไม่แยกตัวจากน้ำตาล

    

สัดส่วนที่ใช้เครื่องปรุงแต่ละอย่างไม่กำหนดตายตัว
   ขึ้นอยู่กับความชอบของผู้ปรุง แต่ส่วนใหญ่จะหนักน้ำตาลหม้อกะทิและข้าว สำหรับขนมปังจืดผึ่งแห้งแล้วนำมาป่นเป็นเกร็ดสำหรับโรย คงเป็นอิทธิพลของขนมตามแบบฝรั่งที่แผ่เข้ามาในสมัยต้นๆ รัชกาล
   ในพระราชพิธีกวนข้าวทิพย์ ฟืนที่ใช้ติดไฟเคี่ยวกะทิและกวน ใช้ไม้ชัยพฤกษ์และไม้พุทราสองอย่างเท่านั้น เชื้อไฟก็ใช้ส่องด้วยแว่นขยายจุดขึ้นเรียกว่า “ไฟฟ้า” เป็นความหมายว่าไฟเกิดจากฟ้า ถือเอาตามคติที่พระอินทร์เป็นผู้ลงมาจุดไฟในเตาให้นางสุชาดานั้นเองผู้กวน

  ข้าวทิพย์จะเป็นหน้าที่ของเด็กหญิงพรหมจรรย์ อายุไม่เกิน 12 ปี ทั้งสิ้น



จากประวัติความเป็นมาและกรรมวิธีในการหุงข้าวมธุปายาส ที่พรรณนามาทั้งหมดจึงสรุปมูลเหตะที่ชาวพุทธทั้งหลายกล่าวยำย่อง “มธุปายาส” ว่าเป็น “ข้าวทิพย์” ได้ 3 ประการคือ

   1. เป็นของที่มีรสอันโอชะล้ำเลิศและกระทำได้ยากผู้ที่จะสามารถปรุงขึ้นได้ ต้องอาศัยบารมี คือมีความพร้อมทั้งกำลังทรัพย์ กำลังกายคือบริวารผู้คน และกำลังสติปัญญาล่วงรู้ขั้นตอนในการปรุง เห็นได้ว่ามิใช่วิสัยของคนธรรมดาจะทำได้อย่างครบถ้วนบริบูรณ์
   2. เป็นของที่ปรุงขึ้นถวายแด่ผู้มีบุญญาธิการ ผู้ควรสักการะบูชา ปรุงขึ้นเป็นการเฉพาะ เช่น เพื่อเป็นเครื่องสังเวยต่อเทพยดา เป็นต้น รวมความก็คือทั้งผู้ปรุงและผู้รับต่างต้องมีบุญบารมีมากจึงจะกระทำได้
   3. เป็นอาหารที่พระพุทธเจ้าทรงเสวยแล้วสามารถตรัสรู้บรรลุอนุตตรสัมโพธิญาณได้


  ฉะนั้น “ข้าวทิพย์” ก็คือ สมญานามอันเกิดจากความรู้สึกที่ลึกซึ้งในจิตใจว่า เป็นของสูงของวิเศษล้ำค่าหาที่เปรียบมิได้นั้นเอง




ข้อคิดจาก “ข้าวทิพย์”
   พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้เป็นข้อพิจารณาว่า “ข้าวทิพย์ที่เรากวนอยู่ในราชพิธีทุกวันนี้ เห็นจะเกิดขึ้นด้วยนึกเอาเอง ดูตั้งใจจะให้มีถั่ว งา นม เนยและผลไม้ต่างๆ ให้พร้อมทุกอย่าง เป็นอันรวมรสต่างๆมาลงในอันหนึ่งอันเดียว จนเรียกกันในคำประกาศว่า “อเนกรสปายาส”

   ของที่นำมาปรุงเป็น “ข้าวทิพย์” ของไทยไม่ปรากฏนามว่าใครเป็นผู้กำหนดขึ้น แต่เมื่อพิจารณาให้ละเอียดก็จะพบว่า การปรุงข้าวทิพย์ของไทยมีส่วนประกอบของหมู่อาหารตามหลักโภชนาการสมัยใหม่ สามารถจัดคู่เปรียบเทียบได้ดังนี้

     1. ของปรุงประเภทถั่วต่างๆ ก็คือหมู่อาหารโปรตีน
     2. ของปรุงประเภทข้าว พืชเป็นหัวและธัญพืช ก็คือ หมู่อาหารคาร์โบไฮเดรท (แป้งและน้ำตาล)
     3. ของปรุงประเภทน้ำมันกะทิ เนย ก็คือหมู่อาหารไขมัน
     4. ของปรุงประเภทผลไม้สด ผลไม้แห้งต่าง ๆ ก็คือ หมู่อาหารวิตามินและเกลือแร่


     เครื่องปรุงในข้าวทิพย์ไม่เพียงแต่ครบถ้วนตามหลักโภชนาการในปัจจุบันเท่านั้น
     แต่ยังสอดคล้องเข้ากันได้อย่างน่าอัศจรรย์ กับหลักในการกินอาหารธรรมชาติของชาวตะวันตก
     อาหารมังสะวิรัติของคนเอเซีย และหลักการกินเจของชนชาวจีนซึ่งถ่ายทอดกันมานับ เป็นพันๆปีแล้ว


    ของปรุงที่มากมายในข้าวทิพย์ล้วนเป็นหมวดหมู่อาหารอันทรงคุณค่า ที่บรรพชนในอดีตมุ่งหวังให้คนรุ่นลูกหลาน มิใช่ต้องการให้เราบริโภค “ข้าวทิพย์” เพียงปีละครั้งเดียวตามประเพณีเท่านั้น
    การประพฤติปฏิบัติธรรมต้องกระทำอยู่ทุกวัน ดังเช่นความชั่วทั้งปวงย่อมต้องไม่กระทำในทุกที่ไม่ว่าทั้งที่ลับหรือที่ แจ้งการทำความดีก็ต้องทำอยู่ทุกเวลาไม่เลือกทำเฉพาะวันใดวันหนึ่งและการทำ จิตใจให้ผ่องใสก็ต้องทำอยู่ทุกขณะจิตไม่ว่าจะหลับหรือตื่นการบริโภคอาหารที่ มีคุณค่าเราก็ย่อมต้องบริโภคเป็นประจำทุกวันเช่นกัน



    พระโบราณจารย์ได้กล่าวอรรถกถาย้ำเตือนพุทธบริษัททั้งหลายเอาไว้ว่า “เป็นพุทธประเพณีที่พระมหาบุรุษบรมโพธิสัตว์ทุกพระองค์ จักต้องได้เสวยข้าวทิพย์เสียก่อน จึงจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า” 

    คำกล่าวอันเป็นปริศนาธรรมนี้ชี้ชัดว่า ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามแนวทางแห่งพุทธะจักต้องบริโภค “ข้าวอันเป็นทิพย์” คือ อาหารที่บริสุทธิ์สะอาดปราศจากเลือดเนื้อและชีวิตทั้งหลายเสียก่อน อันเป็นหนทางนำไปสู่ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานในที่สุด นี่เป็นหน้าที่แรกเริ่มของผู้ประพฤติธรรมจักต้องขึดถือปฏิบัติด้วยกันทุกคน ดังเช่นที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์

    การรู้จักรับประทานแต่ผักผบไม้และเมล็ดธัญญพืชย่อมทำให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพพลานามัยดี เมื่อสุขภาพกายดีสุขภาพจิตก็ดีและสติปัญญาก็ดีตาม ต่างเกี่ยวเนื่องโยงใยเป็นสายสัมพันธ์กันโดยตลอด การรู้จักความถูกต้องในการกิน ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งต่อชีวิตตนเองและชีวิตผู้อื่นจึงเรียกได้ว่า
    “กินอย่างพุทธะ เพื่อความเป็นพุทธะ กินอย่างถูกต้องเพื่อความถูกต้อง”

    ความดีงามความบริสุทธิ์สะอาดความเบิกบานทั้งกายและใจก็จะบังเกิดขึ้น อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของการปฏิบัติธรรม ฉะนั้นข้าวทิพย์จึงเป็นอาหารสำหรับผู้ปฏิบัติธรรมโดยแท้ ข้าวทิพย์มิใช่เป็นเพียงสมญานามเท่านั้น แต่ข้าวทิพย์ที่พระพุทธองค์ได้ทรงเสวยแล้วก็คือ อาหารทิพย์ของมหาชนทั้งโลกนั้นเอง

 

ที่มา http://thai.mindcyber.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=137&page=10
22196  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / คางคกสูบบุหรี่ เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:55:48 pm
คางคกสูบบุหรี่


    พูดกันมานานแล้วว่า มนุษย์ เป็นสัตว์ประเสริฐ มนุษย์เกิดมาได้เพราะกรรม เก่า- กรรมดี มีมากจึงได้มาเกิดเป็นมนษย์ มีโอกาสที่จะได้ทำกรรมดร เพื่อสร้างบารมีให้กับตัวเอง เผื่อว่าสิ้นชีวิตไปเกิดในปรภพภูม อันสมศักดิ์ศรี ไม่ต้องไปเกิดเป็น หมู หมา กา ไก่ ใช้กรมมทีละชีวิต

        พูดถึงสัตว์ ๔ ขา เชื่อว่าทุกคนคงรู้จัก และบางท่านเคยเห็น “ น้ำตา วัว ควาย ” ที่ไหลรินจนเปียกหน้า สัตว์ทุกชนิดไม่มีสิทธิขอชีวิตต่อผู้สังหารมัน สัตว์ที่ว่านี้ ซึ่งในหัวใจถึงกรรมที่เกาะกุมอยู่ มันไม่มีโอกาสร้องโอ้ย..ได้เหมือนผู้คนอย่างเรา ๆ อย่าได้ไปรังแกเขาอีกเลย....เวรกรรมนั้นลงโทษเขาอยู่แล้ว ที่ให้มาเหน็ดเหนื่อยเป็นขี้ข้าหาเลี้ยงคน...

    วัยรุ่น ๒ คน ชื่อ อ้อมกับตั้ม ชื่นชอบกับแกมกีฬาที่ไม่เหมือนใคร คือได้จับสัตว์พวกต่าง ๆ มาทารุนทรมานเป็นที่สนุกสนานแก่สองหนุ่มวัยคนองอย่างยิ่ง โดยมิได้นึกถึงเวรกรรมและจะคิดว่าสัตว์เหล่านั้นมันก็เจ็บปวดกลัวความตาย เหมือนกับพวกเขา     ในวัยเด็ก ๆ นั้นแทบทุกคนจะชื่นชอบในการ ยิงนกตกปลา จับปูนา กบเขียด หรือจับจิ้งหรีด เอามาให้มันกัดกัน สิ่งที่ว่ามานี้เป็นเรื่องธรรมดา เมื่อกาลเวลาล่วงเลยไป อายุมากขึ้นการทำบาปกรรมรังแกสัตว์ ควรจะน้อยลง
 

    ความจริงแล้วเด็ก ๆ เปรียบเหมือนผู้คมนักโทษจากตัวเวร กรรมให้ลงโทษสัตว์ ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเขาเคยเป็นมนุษย์ที่สร้างกรรมไม่ดี แต่ก็มีหลายคนพอเติบโตจนเป็นหนุ่ม ก็ยังมีนิสัยรังแกสัตว์ที่ยังไม่เลิกรา

    อีแร้งที่ลงมากินหมาเน่ากลางทุ่งกลางนาเป็นฝูงนั้น จะมีตัวหนึ่งที่หัวจะมีสีแดง ตำเหน่งเป็นพญาแร้ง สัตว์น่ารังเกียจอย่างนี้ชอบกินซากสัตว์เน่า ๆ แต่ก็มี มนุษย์ใจบาปตามไปรังควานมัน โดยเอาใบตาลมัดด้วยเชือกทำเป็นบ่วงไว้ใกล้ ๆ หมาเน่า ทันทีที่ฝูงอีแร้งรายล้อมหมาเน่า พวกมันไม่เห็นคน อ้อมกับตั้มและพรรคพวกก็กรูกันวิ่งออกจากป่า ที่ซ่อนตัว ส่งเสียงเอะอะตีเกราะเคาะไม้     ฝูงอีแร้งที่ไม่รู้เนือรู้ใต้ต่างตกใจรีบโผบินขึ้นฟ้า แต่มันเป็นนกที่มีน้ำหนักมาก ดังนั้นการบินขึ้นมันจึงต้องการทางวิ่งหรือรันเวย์ ๒ ขาก้าววิ่งด้วยความเร็วสูงขึ้น เมื่อพ้นดิน บินอยู่ในอากาศ มันถึงได้รู้ว่าที่ขาของมันนั้นมีใบตาลผูกเชือกบ่วงรัดไว้ มันตกใจบินสูงขึ้นไปลิ่ว ๆ

    เด็กหนุ่มวัยคะนองทั้งหลายที่ชอบรังแกสัตว์ต่างหัวเราะชอบใจตบมือกระโดดโล้น เต่น เมื่อเห็นใบตาลติดขาอีแร้ง บินลากของหนัก ๆ ไปชั่วชีวิตบินสูงลิ่วขึ้นบนท้องฟ้าคู่กับขาอีแร้ง

    นี่ก็เป็นอีกแกมหนึ่งที่สองหนุ่มชื่นชอบมาก คือจับเอาคางคกมาครั้งละหลาย ๆ สิบตัว แรก ๆ เริ่มเล่นเอาบุหรี่ที่ฉุนจัดจุดใส่ปากคางคก สัตว์ชนิดนี้พอหายใจออกก็พ่นควันบุหรี่ออกด้วย มองดูเหมือนกับคนสูบบุหรี่ หมดบุหรี่เพียงครึ่งมวน คางคกมีอันมึนงงต่อควันบุหรี่ นอนหงายท้องตึงทำตาปริบ ๆ

    เกมนี้มิได้หยุดหย่อนเพียงแค่นี้จากบุหรี่เปลียนเป็นประทัดยัดใส่ปากคางคก เพราะมันสะใจมากกว่ากัน ประทัดเป็นมวนดูเหมือนคางคกมันสูบบุหรี่ ซึ่งมันเองได้แต่ทำตาปริบ ๆ เพราะปล่อยทิ่งก็ไม่ได้ มันขยับปากใช้ขาของมันเขียออก แต่ก็ไร้ผล เพราะประทัดยัดแน่นคับปากด้วยถูกยัดเข้าไปลึก คางคกนิ่งอึดอัด

    ทั้งสองคนจุดประทัดไปที่สายชนวนพู่นั้นจะมีเสียงการเชียร์อย่างสนุกสนานกัน อย่างเต็มที่ ชนวนไฟลามสั้นเข้าแค่ไหน ชีวิตคางคกก็สั้นตาม วิญญาณที่ต้องชดให้กรรมจากการเป็นมนุษย์ให้กลับเป็นสัตว์และคงหลายชาติที่ คางคกจะได้มาเกิดเป็นมนุษย์ได้     เสียงประทัดแตกดังปัง พร้อมเสียงไชโยไห่ร้องของสองหนุ่มที่สนุกกับชีวิตที่วิงวอนขอชีวิตไม่ได้ ร้องโอย.. ๆ ก็ไม่เป็น เมื่อแรงอัดตัวของประทัดฉีก เศษกระดาษสีแดงส้มฟุ้งกระจายควันตลบ กลิ่นดินประสิวโชยเข้าจมูก ขณะเดียวกันกับวิญญาณที่เกิดมาเป็นคางคกได้ล่องลอยออกจากร่างอย่างน่าสมเพช

    เมื่อหมดเสียงดังจนแสบแก้วหูสิ่งที่ปรกกฏให้เห็นชัดก็คือ ปากขากรรไกรฉีกขาดไปถึงท้อง พุงแตกลำไส้ขาด สุดอนาถนอนคว่ำนอนหงายไปเป็นแถวเป็นแนว

   ไม่มีใครกล้าไปห้ามพวกเขา เพราะ “ กรรมใคร เวรมัน ” ใครได้มาเห็นต่างก็สลดใจ     จากวินาทีนี้เป็นนาที ถึงแม้คนเห็นไม่กี่คนก็ตามที แต่เวรกรรมมันมีจริงและเริ่มตามเป็นเงาเข้ามาอย่างช้า ๆ     เวลาผ่านไปหลายปีอ้อมกับตั้มได้ไปสมัคเป็น อ.ส. ที่จังหวัดสมใจกับที่เขาอยากรับใช้ชาติ ทั้งอ้อมกับตั้มซึ่งโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ลืมเรื่องราวของเกมรังแกอีแร้งกับคางคกคาบประทัดเสียสนิท

    คืนนั้นอ้อมกลับจากมาจากดูหนังขายยาที่วัดเหนือหมู่บ้าน คงจะมีดีกรีเหล้าเข้าไปบ้าง ขณะเดินกลับนั้น การเป็น อ.ส. ย่อมไม่รู้ว่าใครเป็นมิตรหรือศัตรู เขาแกะเอาระเบิดมือชนิดลูกเกลี้ยงมาถือไว้ หากเกิดอะไรขึ้น ลูกแตกระเบิดมือก็ช่วยได้ทัน หรือไม่ก็แลกชีวิตต่อชีวิต จนกลับมาถึงที่พัก     ไม่มีผู้ใดยืนยันได้ว่าเพราะอะไร แต่ระเบิดนั้นกระเดืองหลุดเกิดระเบิดดั่งสนั่นหวั่นไหว ค่ายพักที่เขาพักอยู่นั้นพัง ผาปลิว หลังคาหลุดเป็นแถบ ๆ เมื่อเสียงระเบิดสงบทุกคนที่อยู่ใกล้ ๆ แตกตืนเข้ามาดูก็ได้พบว่า ชิ้นส่วนร่างกายเขาฉีกกระจุยเหมือนหมูบะช่อ ท้องแตกไส้ทะลักกระเด็นไปเกือบถึงเสาธง     หน้าตาเละจนจำไม่ได้ แขนขาขาด สถาพศพใครเห็นก็ต้องเบือนหน้าหนี ถ้าคนตรงนั้นรู้อดีตเขามาก่อนคงพูดว่า

    “ เหมือนคางคกที่ท้องแตกแขนขาขาดกระจุย เช่นเดียวกัน ”


    กรรมติดตามลงโทษคนที่มีจิตใจต่ำทราม โหดร้ายอย่างไม่ยอมลดละ ส่วนอีกคนหนึ่งคือนายตั้มนั้น รู้ข่าวว่าไปได้ภรรยาอยู่อีกจังหวัดหนึ่ง ขอให้เชื่อเถอะว่ากรรมนั้นมีจริง การทำร้ายชีวิตสัตว์ก็เหมือนไปกู้เงินเขามา แน่นอน ผู้รับสภาพเป็นเจ้าหนี้ย่อมติดตามทวงทรัพย์สินตนคืนทุกวิถีทางและรูปแบบอย่า คิดว่าจะพนีพ้นไปได้...

    คนที่ไม่เชื่อเหล่านี้มีแต่เถียงข้าง ๆ คู ๆ ไม่เชื่อเรื่องอะไรทั้งสิ้น โอกาสของเขาจะยิ่งน้อยลงทุกที ๆ ทางที่ดีควรเร่งสร้างทำบุญทำทานรักษาศีลสร้างกรรมดีกันไว้ให้มาก ๆ เพราะกฏของกรรมนั้นไม่เคยที่หยุดหรือละเว้นและอโหสิเวทนาให้แก่ใครเลย...


ที่มา   http://larnbuddhism.com/godgram/godgram/



22197  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทำบุญอะไรจึงได้ไป สวรรค์ในแต่ละชั้น ? เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:51:02 pm
ทำบุญอะไรจึงได้ไป สวรรค์ในแต่ละชั้น ?
 

สวรรค์ คือ ภูมิอันเป็นที่อยู่ของเทวดา เป็นโลกที่อยู่อาศัยของกายละเอียดสวรรค์อันเป็นทิพย์ ที่มีรัศมีสว่างไสวรอบกายตลอดเวลา มีทั้งหมด 6 ชั้น
 
    เหตุที่ทำให้มาเกิดเป็นเทวดา เพราะได้สร้าง บุญกุศลไว้เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ เมื่ออุบัติขึ้นก็ตั้งอยู่ในวัยหนุ่มสาวทันที งดงามตลอดเวลา จนกว่าจะถึงเวลาจุติ ไม่มีความแก่บังเกิดขึ้นเหมือนในเมืองมนุษย์

    วิมานปราสาท คือ ที่อยู่อาศัยของเทวดา ล้วนมีความวิจิตรงดงาม มีขนาดแตกต่างกัน มีความเป็นอยู่สะดวกสบาย มีอาหารทิพย์บังเกิดขึ้น มีบริวารคอยรับใช้ใกล้ชิด เสื้อผ้าเป็นทิพย์ วิจิตรงดงาม บังเกิดขึ้นให้สวมใส่ กิจกรรมแต่ละวันก็มีการเที่ยวเพลิดเพลินบันเทิงอยู่กับการชมสวน

    การสังสรรค์กันระหว่างทวยเทพทั้งหลาย ส่วนจะอุบัติขึ้น ณ สวรรค์ชั้นไหน เป็น เทวดาประเภทใด และอยู่ในฐานะอะไรนั้น ก็ขึ้นอยู่กับบุญที่ตัวเองสั่งสมมาเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ซึ่งได้มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกเล่มที่37 เรื่อง ทานสูตร สรุปย่อได้ดังนี้

สวรรค์ ชั้น จาตุมหาราชิกา
 

    เกิดบนสวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา มีจากหลายสาเหตุ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญไม่ค่อยเป็นไม่รู้หลักการทำบุญ และไม่ค่อยได้สั่งสมบุญ นานๆทำครั้งหนึ่ง เมื่อทำก็ทำน้อย หรือทำบุญเอาคุณ บุญที่ได้ก็ไม่บริสุทธิ์ ไม่สมบูรณ์ บาปในตัวก็มีอยู่ แต่ว่าบุญมากกว่า เมื่อละโลกใจนึกถึงบุญก่อนก็ไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ ณ เชิงเขาสิเนรุ
 
    สวรรค์ชั้นนี้จะมีความหลากหลายมากที่สุด เพราะอยู่ใกล้ชิดกับพื้นมนุษย์มากกว่าสวรรค์ชั้นอื่นๆ และมีบางส่วนที่มีที่อยู่ซ้อนกับภูมิมนุษย์ ที่ได้ชื่อ สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา เพราะมีเทพผู้เป็นใหญ่ครองสวรรค์ชั้นนี้อยู่ 4 ท่าน คือ
 
ท้าวธตรฐ ปกครองเทวดา 3พวก ได้แก่ คนธรรพ์ วิทยาธร กุมภัณฑ์
ท้าววิรุฬหก ปกครองพวกครุฑ
ท้าววิรูปักษ์ ปกครองพวกนาค
ท้าวเวสสุวรรณ ปกครองพวกยักษ์

 
สวรรค์ ชั้น ดาวดึงส์


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งดีงาม เป็นสิ่งที่ควรทำกระทำแล้วก็สั่งสมบุญ สั่งสมเทวธรรม มีหิริโอตตัปปะด้วย เมื่อละโลกก็จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่ที่หน้าตัดของเขาสิเนรุ ที่ชื่อว่า ดาวดึงส์ เพราะเป็นที่อยู่ของเทพผู้ปกครองภพถึง 33องค์ โดยมี ท้าวสักกเทวราช หรือ พระอินทร์ เป็นประธาน และที่สำคัญมี พระธาตุจุฬามณี ซึ่งทุกวันพระเทวดาจะมาประชุมกันที่สุธรรมาเทวสภา เพื่อรับฟังโอวาทจากท้าวสักกะ
 
สวรรค์ ชั้น ยามา
 

    เกิดบนสวรรค์ชั้นยามา คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญเพราะอยากจะสืบทอด และรักษาประเพณีแห่งความดีงามนั้นไว้ ทำนองว่าวงศ์ตระกูลสร้างสมความดีมาอย่างไร ก็อยากจะรักษาประเพณีไว้ หรือผู้หลักผู้ใหญ่สอนอย่างไร บรรพบุรุษทำมาอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ทำกันไปตามธรรมเนียม เช่น เห็นปู่ย่าสร้างโบสถ์ บำรุงวัด สร้างพระประธาน ก็ทำตามนั้นด้วย หรือพระภิกษุที่รักษาพระพุทธศาสนาเอาไว้ ตามธรรมเนียมปฏิบัติ ที่พระต้องมีหน้าที่รักษาพระพุทธศาสนา เมื่อละโลกแล้ว ส่วนใหญ่จะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น ดุสิต


    เกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต หรือในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยาเรียกกันว่า ดุสิตบุรี คือ เมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ ทำบุญเพื่อปรารถนาสงเคราะห์โลก ปรารถนาให้ชาวโลกมีความสุข มีความคิดที่ยิ่งใหญ่ ไม่ใช่เพื่อตนเองอย่างเดียว แต่เพื่อสงเคราะห์โลก เพื่อนมนุษย์ และสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วย เมื่อละโลกแล้วก็จะไปสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงถัดจากสวรรค์ชั้นยามาขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น นิมมานรดี


    เกิดบนสวรรค์ชั้นนิมมานรดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ เห็นผู้อื่นทำบุญแล้วได้รับการยกย่องส่งเสริม จึงอยากจะทำบุญนั้นบ้าง อยากจะเป็นอย่างนั้นบ้าง เมื่อละโลกแล้วจะไปบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นดุสิตขึ้นไป
 
สวรรค์ ชั้น ปรนิมมิตวสวัตดี


    เกิดบนสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี คือ เมื่อครั้งเป็นมนุษย์ ทำบุญด้วยความเลื่อมใส เคารพในทาน ทำแล้วมีความรู้สึกปลื้มใจ ในบุญที่ทำนั้น เมื่อละโลกแล้วจะบังเกิดบนสวรรค์ชั้นนี้ ซึ่งตั้งอยู่สูงจากสวรรค์ชั้นนิมมานรดีขึ้นไป
 
ความเป็นอยู่ของสวรรค์แต่ละชั้น


    ความเป็นอยู่ของชาวสวรรค์แต่ละชั้น จะมีความประณีตยิ่งๆขึ้นไปตามลำดับชั้น ถ้าใครทำบุญมามาก จนครบทุกอย่างดังที่กล่าวมาแล้วนั้น ปรารถนาจะไปอยู่ ณ ที่ใด ก็สามารถจะไปสวรรค์ชั้นที่ต้องการได้ เหตุแห่งการกระทำที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นเป็นสาเหตุหลักๆ เป็นภาพรวมของการทำบุญที่ทำให้ไปเกิดในสวรรค์ในแต่ละชั้น แต่อาจจะมีองค์ประกอบและปัจจัยอย่างอื่นเสริมอีกด้วย

22198  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าทำให้เสียชาติเกิดเลย เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:38:36 pm
พบพระพุทธศาสนาแล้ว อย่าทำให้เสียชาติเกิดเลย


มนุษย์ผู้มีใจสูง มี ๔ จำพวก
   สัตว์โลกที่ชื่อว่า  มนุษย์  เพราะอรรถว่าเป็นเหล่ากอแห่งพระมนู 
ก็พระโบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมกล่าวว่า  สัตว์โลกทั้งหลายที่ชื่อว่า
มนุษย์ เพราะเป็นผู้มีใจสูง.
   มนุษย์เหล่านั้นมี  ๔  จำพวกคือ
 
พวกมนุษย์ชาวชมพูทวีป  ๑ 
พวกมนุษย์ชาวอมรโคยาน (อปรโคยานทวีป) ๑
พวกมนุษย์อุตตรกุรุ ๑ 
พวกมนุษย์ชาวปุพพวิเทหะ  ๑


เกิดเป็นมนุษย์แสนยาก
   ในสังยุตตนิกาย กล่าวความเกิดเป็นมนุษย์แสนยาก ความว่า
   แผ่นดินใหญ่นี้แลมากกว่า  ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรง
ช้อนไว้ที่ปลายพระนขามีประมาณน้อย  เมื่อเทียบกับแผ่นดินใหญ่ 
ฝุ่นเล็กน้อยที่พระผู้มีพระภาคทรงช้อนไว้ที่ปลายพระนขา (เล็บ)
ย่อมไม่ถึงซึ่งการนับ  การเปรียบเทียบ  หรือแม้ส่วนเสี้ยว
 
   ดูกรภิกษุทั้งหลายฉันนั้นเหมือนกัน  สัตว์ที่จุติในพวกมนุษย์
แล้วกลับมาเกิดในพวกมนุษย์  มีน้อย  โดยที่แท้  สัตว์ที่จุติจาก
มนุษย์ไปแล้ว  กลับไปเกิดในนรก  มีมากกว่า  ฯลฯ.


   ดูกรภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้นเหมือนกัน  สัตว์ที่จุติจากมนุษย์
ไปแล้ว  จะกลับมาเกิดในพวกมนุษย์  มีน้อย  โดยที่แท้  สัตว์ที่
จุติจากมนุษย์ไปแล้ว กลับไปเกิดในกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน 
มีมากกว่า  ฯลฯ.
 

ปฏิปทาให้มาเกิดเป็นมนุษย์

   สิกขาบท  ๕  อย่าง  ศีล ๕
   ๑.  ปาณาติปาตา  เวรมณี    [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์] 
   ๒. อทินนาทานา  เวรมณี   [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการลักทรัพย์]
   ๓. กาเมสุมิจฉาจารา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม] 
   ๔. มุสาวาทา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการพูดเท็จ]
   ๕. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา  เวรมณี  [เจตนาเป็นเครื่องงดเว้น 
      จากการดื่มน้ำเมา  คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท] 

มนุษย์ในโลกมี ๔ จำพวก

ในตมสูตรได้กล่าวถึงบุคคล ๔ จำพวก ความว่า
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก ๔ จำพวก
เป็นไฉน คือ    
                        ผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑
         ผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปจำพวก ๑
         ผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปจำพวก ๑
         ผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปจำพวก ๑

   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
         
   บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างสาน  ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือ
ในตระกูลคนเทหยากเยื่อ อันเป็นตระกูล เข็ญใจ มีข้าว น้ำและ
โภชนะน้อย เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภคและผ้านุ่งห่ม
ได้โดยฝืดเคือง
   อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ มีโรคมาก
เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือพิการไปแถบหนึ่ง
ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
   เขาซ้ำประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจาและด้วยใจ
ครั้นประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง       
อบาย ทุคติ วินิบาต นรก บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้ว มีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯ         
   
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้มืดมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลต่ำ คือ ตระกูลจัณฑาล
ตระกูลช่างสาน ตระกูลนายพราน ตระกูลช่างเย็บหนัง หรือตระกูล
คนเทหยากเยื่อ อันเป็นตระกูลเข็ญใจ มีข้าว น้ำและโภชนะน้อย
เป็นอยู่โดยฝืดเคือง หาของบริโภคและผ้านุ่งห่มได้โดยฝืดเคือง
   อนึ่ง เขามีผิวพรรณทราม ไม่น่าดู เป็นคนแคระ มีโรคมาก
เป็นคนตาบอด เป็นคนง่อย เป็นคนกระจอก หรือเป็นคนพิการไป
แถบหนึ่ง ไม่ได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ ระเบียบดอกไม้
ของหอมเครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป ตามสมควร
แต่เขาประพฤติสุจริตด้วยกาย ด้วยวาจาและด้วยใจ ครั้นประพฤติ
สุจริตด้วยกาย วาจา ใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นผู้มืดมาแล้วมีสว่างต่อไป อย่างนี้แล ฯ
       
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีมืดต่อไปเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูล
มั่งคั่งมีทรัพย์มาก มีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่า
ปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สินเหลือล้น
   อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก เป็นผู้มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ
ระเบียบดอกไม้ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
แต่เขาประพฤติทุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติทุจริต
ด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไปอย่างนี้แล ฯ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้สว่างมาแล้ว มีสว่างต่อไปเป็นอย่างไร 
       
บุคคลบางคนในโลก เกิดมาในตระกูลสูง คือ ตระกูลกษัตริย์มหาศาล
ตระกูลพราหมณ์มหาศาล หรือตระกูลคหบดีมหาศาล อันเป็นตระกูล
มั่งคั่ง มีทรัพย์มากมีโภคะมาก มีทองและเงินมาก มีเครื่องใช้ที่น่า
ปลื้มใจมากมาย มีทรัพย์สินเหลือล้น
   อนึ่ง เขามีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส ประกอบด้วยความเป็นผู้มี
ผิวพรรณงามยิ่งนัก มีปรกติได้ข้าว น้ำ ผ้านุ่งห่ม ยานพาหนะ
ระเบียบดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่อยู่อาศัย และประทีป
เขาย่อมประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา และด้วยใจ ครั้นประพฤติสุจริต
ด้วยกาย วาจา และใจแล้ว เมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีสว่างต่อไปอย่างนี้แล
   ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
--------------------------------------------------------------------------------

   

**ผู้เรียบเรียงอยากจะยกตัวอย่างอีกเรื่องให้เห็นในยุคปัจจุบัน
เรื่องที่บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป คือ

ระดับความยากของการเกิดเป็นมนุษย์   
ได้ยินว่า  การเกิดที่จะได้อย่างยากในยุคปัจจุบันมี ๔ อย่างคือ
   
เกิดมาเป็นมนุษย์ ยากอย่างที่หนึ่ง
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา ยากอันดับสอง
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา และอยู่ในสมัย
ที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  ยากอันดับสาม.
   เกิดมาเป็นมนุษย์ อยู่ในแดนของพุทธศาสนา  อยู่ในสมัย
ที่พุทธองค์มีพระชนม์ชีพอยู่  และได้พบพระพุทธองค์ได้ฟังเทศนา
จากพุทธองค์  ยากอันดับสี่.


พบพุทธศาสนาแล้ว ควรทำอย่างไร
   ในยุคปัจจุบัน  ประเทศไทยเราถือว่า ในอยู่แดนของพุทธศาสนา
และเราได้มีโอกาสได้เกิดมาเป็นมนุษย์แล้ว  ถือว่า เรายังโชคดีที่ยังอยู่
ในเกณฑ์การเกิดยาก อันดับสอง  เพราะยังมีหลักธรรมให้ประพฤติ
ปฏิบัติได้  แต่สิ่งที่น่าห่วงก็คือ  การศึกษาหลักธรรมในปัจจุบัน  มี
บางท่านเห็นผิดไปจากความเดิม   อันเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย
   เหมือนดั่งคำอาจารย์ที่ว่า  จับงูที่หาง  จะถูกงูกัดตาย    หรือ
ดังความว่า บุคคลเป็นผู้สว่างมาแล้วมีมืดต่อไป  ฉะนี้เป็นต้น
   ฉะนั้น  ภิกษุ อุบาสก อุบาสิกา  ที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา
จึงควรขวนขวายหาความรู้ในหลักธรรม  โดยความสุขุมรอบคอบ
พิจารณาไตร่ตรอง  ใคร่ครวญ  สอบถาม  เทียบเคียง กับบัณฑิตและ
ครูบาอาจารย์


เราเดินมาถูกทางหรือเปล่า

   สิ่งหนึ่งที่จะพึงให้เราสังเกตุได้ว่า การศึกษาในธรรมของเรา
มาถูกทางหรือเปล่า คือ สังเกตุในจิตใจของตัวเราว่า เรามีความ
โลภอยากได้  มีความโกรธอาฆาต  และหลงไปกับสิ่งต่าง ๆ น้อย
หรือมากกว่าเดิม เช่น  มีมิจฉาทิฏฐิ  ดื้อรั้น  ถือดี  ขัดเคืองใจง่าย 
ไม่ฟังคำเตือนของกัลยาณมิตร ถือว่า เราเดินทางผิด   
   แต่ถ้าหากศึกษาธรรมแล้ว  เริ่มเข้าใจสภาวความจริงของธรรมชาติ
ว่า  ทุกสิ่งในโลกทั้งหมดล้วน  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่ และดับไป  ทุกสิ่งล้วน
อาศัยเหตุอาศัยปัจจัยจึงเกิดขึ้น  ไม่มีอะไรเป็นอยู่คงอยู่ด้วยตัวมันเอง
โดยไม่อาศัยปัจจัยปรุงแต่งขึ้น   สิ่งที่เราเห็นหรือสัมผัสในขณะนั้น
ก็เพราะสิ่งนั้นอาศัยเหตุ อาศัยปัจจัยจึงมีขึ้น  เมื่อหมดปัจจัยอันปรุงแต่ง
ขึ้นแล้ว  สิ่งนั้นก็มิได้มีอยู่จริง   เมื่อเข้าใจอย่างนี้แล้ว ให้สังเกตุจิตใจ
เราเองว่า เรามีโลภอยากได้จนเกินเหตุหรือเปล่า
 

      เราเป็นคนถือดีหรือเปล่า 
      เราเป็นคนโกรธง่ายหรือเปล่า
      เราหลงไปติดยึดกับสภาพแวดล้อมหรือเปล่า
      เรามีจิตใจอ่อนโยน มีสัมมาคารวะหรือเปล่า
      เรามีเมตตา กรุณา ต่อสรรพสิ่งทั้งหลายมากขึ้นหรือเปล่

   
หากเราสังเกตุแล้ว  เห็นว่า สิ่งที่ดีที่กล่าวมามีมากขึ้นในจิตใจ 
สิ่งที่ไม่ดีที่กล่าวมามีน้อยลงในจิตใจ   ถือว่า เราเดินทางถูก

อย่าได้เสียชาติเกิด   
เมื่อเรามีความเห็นตรง  ก็จงพัฒนาจิตให้สูงยิ่ง ๆ ขึ้น
เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ  อันเป็นกองทุกข์ทั้งสิ้น.
อย่าให้เหมือนคำว่า เข้าถ้ำสมบัติแล้วออกมามือเปล่า  อันจะเป็น
การเสียชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์และได้พบพระพุทธศาสนา**

   
ที่มา
พระไตรปิฎก ฉบับธรรมทาน
#ขุทฺทก.อ. ๑/๖/๑๔๒; ม.อุ. ๑๔/๕๗๙-๕๙๖;ที.ปา. ๑๑/๒๘๖.
#สํ.สฬ. ๑๘/๕๙๘-๖๐๑; สํ.ม. ๑๙/๑๗๙๒-๑๗๙๓; องฺ.จตุกฺก.๒๑/๘๕


22199  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ที่มาของการภาวนาแบบ “พองหนอ ยุบหนอ” เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:27:49 pm

ที่มาของการภาวนาแบบ “พองหนอ ยุบหนอ”

ที่มาของพองหนอ ยุบหนอ
คนเป็นจำนวนมากยังมีความสงสัยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 โดย
การตั้งสติไว้ที่หน้าท้องพร้อมกับคำภาวนาว่า “พองหนอ” และ “ยุบหนอ” ตามการเคลื่อนไหวของท้องในขณะนั้น สาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่งของปัญหานี้คือคนเหล่านี้คุ้นเคยกับการปฏิบัติแบบอานาปานสติภาวนามาก่อน โดยการกำหนดจิตไว้ที่ปลายจมูกหรือริมฝีปากบนพยายามสังเกตลมหายใจเข้าออก ว่าสั้นหรือยาว หยาบหรือละเอียด นอกจากนั้นในบางสำนักยังมีการสอนใจเจริญพุทธานุสสติควบคู่ไปด้วย กล่าวคือ ให้กำหนดจิตหรือผู้รู้ไว้ที่ลมหายใจ ซึ่งมีการสัมผัสที่ปลายจมูก พร้อมกับนึกในใจว่า “พุท” เวลาหายใจเข้า และ “โธ” เวลาหายใจออก

การปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานตามแนวอานาปานสติสูตร ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมานานแล้ว ในประเทศไทยและประเทศอื่นที่นับถือพุทธศาสนา
ด้วยเหตุนี้หลายคนจึงสงสัยว่าการภาวนา “พองหนอ (rising)” และ “ยุบหนอ (falling)” เป็นแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในพระไตรปิฎกหรือเปล่า มีการปฏิบัติกันเช่นนี้ในสมัยก่อนหรือไม่ หรือเป็นวิธีปฏิบัติของวิปัสสนาจารย์ในยุคหลัง ความลังเลสงสัยเช่นนี้ก่อให้เกิดทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือบางคนพยายามศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมหาแหล่งที่มาของ “พองหนอและยุบหนอ” สิ่งที่สำคัญคือต้องการจะทราบว่าเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือไม่ ถ้าเป็นจริงตามนี้มีหลักฐานอะไรมายืนยันบ้าง เมื่อทราบข้อเท็จจริงแล้วจะก่อให้เกิดศรัทธาและปสาทะในการปฏิบัติธรรมอย่างแน่วแน่ต่อไปผลเสียคือว่าทำให้การปฏิบัติย่อหย่อนไม่เต็มที่มีแต่ความเคลือบแคลงสงสัยและมีโอกาสจะบรรลุเป้าประสงค์ตามที่ต้องการได้ยาก

มหาสติปัฏฐานสูตร
ในมหาสติปัฏฐานสูตรที่ปรากฎอยู่ในคัมภีร์มหาวรรคทีฆนิกายซึ่งเป็นพระสูตรที่ค่อนข้าง
ยาวมาก พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า
“ทางสายนี้เป็นทางสายเอกหรือทางสายเดียวเท่านั้น (The onlyway)”

1. เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย
2. เพื่อระงับความเศร้าโศกและคร่ำครวญ
3. เพื่อดับความทุกข์กาย (ทุกข์) และความทุกข์ใจ (โทมนัส)
4. เพื่อบรรลุญายธรรม คือ อริยมรรค
5. เพื่อเห็นแจ้งพระนิพพาน


ทางสายเดียวนี้คือ“สติปัฏฐาน 4”

สติปัฏฐาน แปลว่า ที่ตั้งของสติซึ่งได้แก่ กาย (body) เวทนา (feeling) จิต (mind) และธรรม
(mind-objects) สติปัฏฐาน 4 จำแนกออกเป็น 4 หมวด ดังนี้

1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูกาย
2. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูเวทนา
3. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูจิตหรือความคิด
4. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การมีสติเข้าไปตั้งและตามดูธรรมหรืออารมณ์ที่เกิดกับจิต


กรรมฐานที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตรนี้ยังสามารถจำแนกออกได้เป็น 21
กรรมฐานดังนี้ (ดูรูปที่ 1)
 


ในบรรดากรรมฐาน 21 อย่างนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า อานาปานปัพพะ (ข้อกำหนด
ลมหายใจเข้า-ออก) และปฏิกูลปัพพะ (ข้อกำหนดอาการ 32 ของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
ว่าเป็นของน่ารังเกียจ) เป็นข้อปฏิบัติทั้งสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐาน และสามารถทำให้
เกิดอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิระดับฌาน หรืออุปจารสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่เข้าไปเฉียดใกล้ต่อฌาน
ในบรรดากรรมฐานที่เหลือ 19 อย่างนี้ นวสีวถิกาปัพพะ (ข้อกำหนดด้วยป่าช้า 9 ชนิด) เป็นสมถกร
รมฐานล้วน ส่วนที่เหลือคือ อิริยาบถ 4 สัมปชัญญะ 4 และการกำหนดธาตุ 4 เป็นวิปัสสนา
กรรมฐานล้วน

วิปัสสนาขณิกสมาธิ
ความจริงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิ (momentary
concentration) ได้แก่สมาธิเพียงชั่วขณะเท่านั้น ผู้ปฏิบัติต้องพยายามกำหนดอารมณ์ที่เป็นปรมัตถ์
คือ รูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ตั้งสติกำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง
รวมทั้งอาการต่าง ๆ เช่น การเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การลิ้มรส การสัมผัสและการนึกคิดเป็น
ต้น ขณะเดียวกันต้องกำหนดอารมณ์ต่าง ๆ ให้เห็นเป็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ความทนได้ยาก (ทุก
ขัง) และความไม่ใช่ตัวตน (อนัตตา) เมื่อกำหนดเช่นนี้ติดต่อกันอย่างไม่ขาดสาย กำลังของสมาธิจะ
เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสามารถกำจัดนิวรณ์ต่าง ๆ ได้


ฉะนั้นวิปัสสนาขณิกสมาธิจึงมีกำลังเท่ากับสมถอุปจารสมาธิ และเมื่อวิปัสนาญาณสูงขึ้นถึงระดับหนึ่ง เช่น อุทยพยญาณ ภังคญาณ แล้วก็จะมีกำลังมากคล้าย ๆ กับอัปปนาสมาธิ

อย่าเข้าใจผิดว่าการปฏิบัติวิปัสสนาต้องตั้งสติกำหนดที่อารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียวโดยไม่ต้องย้ายไปกำหนดที่อารมณ์อื่น สมาธิจะได้ตั้งมั่น จิตไม่วอกแวกเช่น ขณะกำหนดอาการพอง-ยุบ พอมีการได้ยิน การปวด การคิด เกิดขึ้นและเป็นอารมณ์ที่ชัดกว่า ก็ไม่ยอมกำหนด การปฏิบัติเช่นนี้เป็นการเข้าใจผิด สมาธิที่เกิดขึ้นเป็นเพียงสมถสมาธิส่วนวิปัสสนาขณิกสมาธินั้นมีรูปนามปรมัตถ์เป็นอารมณ์ ต้องตั้งสติจนได้สมาธิชั่วขณะหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าขณิกสมาธิ

แต่วิปัสสนาขณิกสมาธิเมื่อมีกำลังแก่กล้าพอ ก็สามารถทำให้บรรลุถึงโลกุตตรอัปปนาสมาธิ คือ เข้าถึงมรรคผล นิพพานได้ อุปมาเหมือนเมล็ดงาที่มีขนาดเล็กมากเมล็ดหนึ่ง ๆ ย่อมมีน้ำมันน้อย ยังไม่อาจทำให้เกิดเป็นน้ำมันขึ้นมาได้ แต่เมื่อเอาหลาย ๆ เมล็ดรวมกันเข้าก็ได้น้ำมันมาก ข้อนี้ฉันใดวิปัสสนาขณิกสมาธิก็ฉันนั้น โยคีบุคคลที่มีจิตไปถึงไหน ก็ตั้งสติกำหนดไปที่นั้น ได้ขณิกสมาธิเกิดขึ้นมาทันที ไม่เรียกว่าใจฟุ้งซ่านเมื่อขณิกสมาธิมีกำลังมากเท่ากับอุปจารสมาธิแล้ว การกำหนดอารมณ์อันหนึ่งกับอีกอันหนึ่งนั้นระหว่างกลางอารมณ์ทั้งสองกิเลสนิวรณ์เข้าไม่ได้

รูปแบบของวิปัสสนายานิก

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนววิปัสสนายานิก หรือสุทธวิปัสสนากรรมฐาน (pure
insight meditation) ซึ่งเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาล้วน ๆ โยคีหรือผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดรูปธรรม
(materiality) และนามธรรม (mentality) ที่เป็นปรมัตถ์ ในขณะที่ทวารทั้ง 6 รับรู้อารมณ์ภายนอก
(รูป เสียง กลิ่น รส สิ่งสัมผัส และธรรมารมณ์) ตัวอย่างเมื่อมีรูป (คลื่นแสง) มากระทบกับตาจะเกิด
การเห็นขึ้น ให้ตั้งสติกำหนดในใจว่า “เห็นหนอ ๆๆ” ในขณะที่มีการเห็นเกิดขึ้นจะมีองค์ประกอบที่
สำคัญ 3 อย่างคือ

1. ตา เป็นรูป ซึ่งเป็นที่เกิดของจักขุวิญญาณ คือ การมองเห็น
2. รูปหรือคลื่นแสงก็เป็นรูป
3. จักขุวิญญาณ คือการเห็น เป็นนาม


ดังนั้น ทุกครั้งที่มีการกำหนดว่า “เห็นหนอ ๆ ๆ” ด้วยความเพียร (อาตาปี) สติ (สติมา) และ
สัมปชัญญะ (สัมปชาโน) จะมีเพียงรูป (คือ ตา กับคลื่นแสงที่มากระทบกับตา) และนาม (คือจักขุ
วิญญาหรือการเห็น) เกิดขึ้น รูปและนามที่เกิดขึ้นก็มีการเกิดและการดับอยู่ตลอดเวลาอย่างถี่ยิบ
เพราะเป็นรูปนามปรมัตถ์ ต่อมาก็จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตน ในขณะ
นั้นจะไม่มีสิ่งสมมุติหรือบัญญัติ (concepts) เช่น ฉันเห็น เขาเห็น เธอเห็น สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขาเกิดขึ้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับโยคีผู้เริ่มปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน มักประสบความยากลำบากอย่าง
มากในการกำหนดรูปนามที่เกิดขึ้นทางทวารทั้ง 6 วิปัสสนาจารย์ในสมัยก่อนจึงนิยมให้กำหนดตาม
หมวดอิริยาบทใหญ่ 4 (อิริยาปถปัพพะ) หมวดอิริยาบทย่อย 4 (สัปชัญญะปัพพะ) และหมวดกำหนด
ธาตุ 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ)


ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้โดยทางวิปัสสนา เมื่อเริ่มปฏิบัติให้นั่งในท่าสมาธิแบบพระพุทธรูป ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาวางลงบนมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติให้มั่นเอาสติไปกำหนดที่ท้องบริเวณสะดือ ให้สังเกตแต่เพียงอาการคือการแสดงออกมา (manifestation)ซึ่งได้แก่การเคลื่อนไหว (movement or motion) ของท้องขณะที่ท้องพองออกให้กำหนดในใจว่า“พองหนอ” และขณะที่ท้องยุบลงให้กำหนดในใจว่า “ยุบหนอ” ไม่ให้มีการออกเสียง เป็นแต่เพียงการกำหนดในใจ (a mental note) เท่านั้น ปล่อยให้การหายใจดำเนินไปตามปกติไม่ต้องไม่สนใจกับลมหายใจเข้าออก และรูปร่างสัณฐานของท้อง จำไว้ว่าสนใจแต่เพียงอาการพองและอาการยุบของท้องเท่านั้น

การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ
“อการกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” (ภาษาไทย) “rising-falling” (ภาษาอังกฤษ) หรือ“อนนมติ-โอนมติ” (ภาษาบาลี) นั้น เป็นเพียงคำภาวนา ซึ่งเป็นอารมณ์บัญญัติ (conventionalconcept) เพื่อก่อให้เกิดสมาธิเท่านั้นไม่ใช่เป็นอารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate reality) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน ดังนั้น นอกเหนือจากการกำหนดในใจว่า “พองหนอ ยุบหนอ” แล้วโยคีจะต้องพยายามสังเกตดู “อาการพอง-อาการยุบ” ซึ่งเป็นอารมณ์ปรมัตถ์ แน่นอนในระยะเริ่มต้นโยคีมักจะกำหนดได้แต่เพียงอารมณ์บัญญัติก่อน

ต่อไปเมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ(ความสงบและความตั้งมั่นของจิต) และปัญญา (ความรู้) พัฒนามากขึ้น ๆ ก็จะค่อย ๆ เห็นอารมณ์ปรมัตถ์คือ อาการพอง-อาการยุบ ชัดขึ้น ๆ เป็นลำดับ การกำหนดอารมณ์ของกรรมฐาน “พองหนอ-ยุบหนอ” คือการกำหนด “วาโยโผฏฐัพพรูป” ซึ่งหมายถึงรูปตามที่ลมถูกต้องนั่นเอง

ธาตุลมกับอาการพองและอาการยุบ
ธาตุลม (วาโยธาตุ) มี 2 อย่าง คือ
1. วาโยธาตุภายในและ
2. วาโยธาตุภายนอก

ในที่นี้วาโยธาตุภายในมีอยู่ 6 ประการคือ
1. ลมที่ขึ้นเบื้องสูง ซึ่งก่อให้เกิดอาการเรอ สะอึก หรืออาเจียน
2. ลมที่พัดลงสู่เบื้องล่าง ซึ่งทำให้มีการถ่ายปัสสาวะและอุจจาระออกจากร่างกาย
3. ลมที่อยู่ในท้องภายนอกระบบทางเดินอาหาร
4. ลมในกระเพาะและลำไส้
5. ลมที่เดินตามเส้นประสาทไปตามแขนขา และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ก่อให้เกิดการยืน
การนั่ง การเดิน การคู้ การเหยียด และอิริยาบทย่อยอื่น ๆ และ
6. ลมหายใจเข้าและออก


ส่วนวาโยธาตุภายนอก ได้แก่ ลมที่อยู่ภายนอกร่างกาย เช่น ลมมรสุม ลมไต้ฝุ่น ลมประจำ
ทิศ ลมร้อน ลมเย็น ลมที่เกิดจากพัดลม เป็นต้น

จากหลักฐานดังกล่าวจะเห็นได้ว่า การกำหนดอาการพองและอาการยุบของท้อง มิใช่การ
กำหนดลมหายใจเข้าและลมหายใจออกซึ่งอยู่ในหมวดอานาปานปัพพะ แต่เป็นการกำหนดวาโย
ธาตุหรือธาตุลมซึ่งอยู่ในหมวดธาตุมนสิการปัพพะ ดังที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐาน
สูตรว่า “ภิกษุพิจารณาดูกาย นี้แหละ ตามที่สถิตอยู่ ตามที่ตั้งอยู่โดยความเป็นธาตุว่า ในการนี้มี ธาตุ
ดิน (the earth element) ธาตุน้ำ (the water element) ธาตุไฟ (the fire element) และธาตุลม (the wind element)


ในขณะปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ธาตุทั้ง 4 จะปรากฏอาการให้รู้เป็นปัจจุบันธรรม
ตัวอย่างในอิริยาบทนั่ง ร่างกายของโยคีจะมีลักษณะตึงและเคร่ง เพื่อให้ทรงตัวอยู่ได้ในอิริยาบทนี้
ด้วยอำนาจของธาตุลมเหมือนลูกโป่งที่ถูกอัดจนแน่นด้วยลม จนมีลักษณะพองและตึง ความแข็ง
(hardness) หรือความอ่อน (softness) คือลักษณะเฉพาะของธาตุดินบางครั้งรู้สึกอุ่นหรือร้อนบริเวณท้องหรือก้นที่สัมผัสกับพื้น ความอุ่น (warmth) หรือความร้อน (hotness) คือธาตุไฟที่ปรากฎออกมาการที่ท้องหรือส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเกาะกุมกันจนมีรูปร่างเฉพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ผนังหน้าท้อง การเกาะกุม (cohesion) เช่นนี้ คือ ลักษณะของธาตุน้ำ ส่วนอาการหรือการเคลื่อนไหว (motion)ของท้องเวลาท้องพองออกและท้องยุบลง คือปรากฎการณ์ของธาตุลม
ธาตุทั้ง 4 เป็นรูปที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้ เรียกว่า อวินิพโภครูป สิ่งที่เป็นรูปทุก
อย่างแม้แต่ปรมาณูที่เล็กที่สุดจะต้องมีคุณสมบัติที่มีอยู่เป็นประจำ 8 อย่างคือ

1. ปฐวี (คือสภาพแข็งและอ่อน)
2. อาโป (คือสภาพเอิบอาบและเกาะกุม)
3. เตโช (คือสภาพร้อนและเย็น)
4. วาโย (คือสภาพเคร่งตึงและเคลื่อนไหว)
5. วัณณะ (คือสี)
6. คันธะ (คือกลิ่น)
7. รสะ (คือรส) และ
8. โอชา (คืออาหารรูป)


ธาตุลมทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของร่างกาย

การเคลื่อนไหวของร่างกายเกิดจากอำนาจของธาตุลม เมื่อเราคู้แขนเข้ามา เหยียดแขน
ออกไป หรือแสดงพฤติกรรมทางกายอย่างใดอย่างหนึ่ง แสดงว่าธาตุลมกำลังทำงานอยู่ ตัวอย่าง
สำหรับการเดิน ก่อนที่การเดินจะเกิดขึ้น จิตจะทำหน้าที่เป็นผู้สั่งทำให้วาโยธาตุแล่นไปทั่วร่างกาย
โดยเฉพาะบริเวณขาทั้งสองข้าง ผลที่ตามมาคือพฤติกรรมของการเดิน

โดยสรุปจิตที่อยากเดินนั้นเป็นเหตุ ส่วนอาการเดินที่เกิดขึ้นเป็นผล สิ่งที่น่าสนใจมากคือ ปรากฎการณ์ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักสรีรวิทยาทางการแพทย์ ในสมองของแต่ละคนจะมีส่วนที่ควบคุมการเคลื่อนไหว เช่น การเคลื่อนไหวของร่างซีกซ้ายจะถูกควบคุมโดยสมองซีดขวา เมื่อเราต้องการจะยกมือซ้าย จิตที่ประกอบด้วยเจตนาจะสั่งให้สมองซีกขวาจะส่งกระแสประสาท (nerve impulse) ไปตามเซลล์
ประสาท (neurons) จากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งไปสู่เส้นประสาท (nerve fibers) ที่ไปเลี้ยง
บริเวณแขนและมือซ้าย กระแสประสาทจะก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวของมือตามที่ต้องการ ความ
จริงแล้วกระแสประสาทก็คือ ธาตุลมนั้นเอง เพราะมีหน้าที่เหมือนกันคือ การทำให้เกิดการ
เคลื่อนไหว (movement) ในร่างกาย


ในการเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้าโยคีกำหนดแต่เพียงรูปร่างสัณฐานของ ท้อง แขน
ขา หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตยังคงเป็น
อารมณ์บัญญัติ (conventional concepts) ซึ่งเป็นอารมณ์ของสมถกรรมฐานทำให้จิตสงบและตั้งมั่น แต่ยังไม่สามารถทำลายสักกายทิฏฐิ คือ ความเห็นผิดว่าเป็นตัวเราของเขา เป็นสัตว์ บุคคล เรา เขา

ทำนองนี้ได้ แต่ถ้าโยคีพยายามกำหนดการเคลื่อนไหวของท้องพร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ” หรือกำหนดการเคลื่อนไหวของเท้า พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “ยกหนอ ย่าง
หนด เหยียบหนอ” (สำหรับการเดินจงกรม 3 ระยะ) ในลักษณะเช่นนี้อารมณ์ที่ปรากฎกับจิตจะเป็น
อารมณ์ปรมัตถ์ (ultimate realities) ซึ่งเป็นอารมณ์ของวิปัสสนากรรมฐาน การกำหนดที่ถูกต้อง
เช่นนี้จะนำไปสู่วิปัสสนาญาณที่ค่อย ๆ สูงขึ้นตามลำดับ จนเห็นแจ้งประจักษ์ในความไม่เที่ยง
(อนิจจัง) ความเป็นทุกข์ (ทุกขัง) และความไม่มีตัวตน (อนัตตา) ของรูปนาม เห็นรูปนามเกิดดับ
อย่างถี่ยิบ จนเกิดความกลัว ความเห็นโทษ ความเบื่อหน่าย ความปรารถนาที่จะพ้นไปจากรูปนาม
และจนสุดท้ายคือ บรรลุมรรคญาณและผลญาณในที่สุด


ประวัติวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์

ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฎฐานาจริยะเจ้า สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม
จังหวัดชลบุรีได้เล่าไว้ ในเรื่อง “วิปัสสนาวงศ์” เกี่ยวกับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติ
ปัฏฐาน 4 หรือแบบ “พองหนอ-ยุบหนอ” มีหลักฐานยืนยันว่าการปฏิบัติแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณ
กาลในราวพุทธศักราช 235 มีอรหันต์องค์หนึ่งนามว่า พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมด้วยพระ
อรหันต์ 1,000 รูป ได้ร่วมกระทำตติยาสังคายนา ที่เมืองปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ โดยมี
พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นศาสนูปถัมภก หลังจากเสร็จสิ้นในการทำสังคายนาครั้งที่สามแล้ว ท่านได้
ส่งสาวกที่เป็นพระอรหันต์นำพระพุทธศาสนาไปเผยแพร่และประดิษฐานยังที่ต่าง ๆ รวม 9 สาย
ด้วยกัน

ในแคว้นสุวรรณภูมิมีพระโสณะอรหันต์ และพระอุตตระอรหันต์ นำพระพุทธศาสนามา
ประดิษฐานที่เมืองตะโทง (Thaton) หรือสุธรรมนครในประเทศสหภาพพม่า ตามประวัติได้มีการ
สืบทอดวิปัสสนาวงศ์พระอรหันต์เรื่อยมาไม่ขาดสาย จนถึงสมัยของวิปัสสนาจารย์ติรงคะ สะยาดอ
พระมโน อรหันต์ พระมิงกุลโตญ สะยาดอ และพระมิงกุล เชตวัน สยาดอ ตามลำดับ
พระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ หรือภัททันตะนารทเถระแห่งเมืองมะละแหม่ง เป็นผู้ที่
มีชื่อเสียงมากในการสอนวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 จนกิตติศัพท์ของท่านขจรไป
ไกลในประเทศสหภาพพม่า


สมัยนั้นสานุศิษย์ของท่านผู้หนึ่งที่มีคนรู้จักกันดีทั่วไปในวงการพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท คือ พระอาจารย์มหาสีสะยาดอ หรือ ภัททันตะ โสภณมหาเถระ อัคคมหาบัณฑิต ผู้เป็นอดีตเจ้าอาวาสวัดมหาสี และเจ้าสำนักสาสนยิตตา ซึ่งเป็นสถานที่สำหรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ใหญ่และมีชื่อเสียงที่สุดในเมืองย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า พระอาจารย์ ดร.ภัททันตะ อาสภมหาเถระ อัคคมหากัมมัฏฐานาจริยะ ผู้เป็นสานุศิษย์องค์หนึ่งของพระอาจารย์มหาสีสะยาดอ ได้เมตตาเล่าให้ผู้เขียนฟังว่าพระอาจารย์มิงกุล เชตวัน สะยาดอ มีความสามารถในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างช่ำชอง ท่านสามารถกำหนดสติได้ ทั้งที่ปลายจมูก โดยสังเกตการกระทบของลมหายใจเข้าออกที่บริเวณนี้ (แบบอานาปานปัพพะ) และที่บริเวณท้องโดยสังเกตอาการพองและอาการยุบ (แบบธาตุมนสิการปัพพะ)

การเผยแพร่วิปัสสนาแบบพองหนอยุบหนอ
เมื่อพระอาจารย์มหาสี สะยาดอ ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับท่านได้พิจารณาดูอย่างรอบ
คอยกลับมีความเห็นว่า การกำหนดสติที่บริเวณท้องทำได้ง่ายกว่า และได้ผลดีกว่าด้วย
โดยปกติลมหายใจเข้า-ออก เป็นรูปที่ละเอียดอ่อน เป็นอารมณ์ของกรรมฐานที่กำหนดได้
ยาก เมื่อวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความ
รู้ตัวทั่วพร้อม) มีพลังมากขึ้น ลมหายใจจะค่อย ๆ ละเอียดอ่อนและเบาลง ๆ จนดูเหมือนว่าจะหยุด
หายใจ ในสถานการณ์เช่นนี้ โยคีบางคนหาที่กำหนดไม่ได้ ทำให้จิตฟุ้งซ่านและซัดส่าย


แม้ว่าอานาปานสติจะเป็นยอดของกรรมฐานทั้งหมด แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้กล่าวไว้ว่า
“ก็อานาปานสติกรรมฐานนี้เป็นของยาก อบรมได้ยาก เป็นภูมิแห่งมนสิการของผู้เป็นมหาบุรุษเท่านั้น
กล่าวคือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรทั้งหลาย”

ส่วนการกำหนดสติที่บริเวณท้องโดยสังเกตการเคลื่อนไหวของท้อง ซึ่งเกิดจากอำนาจของ
ธาตุลมทำให้สะดวกกว่า เพราะว่าวาโยโผฏฐัพพรูป หรือรูปที่ลมถูกต้อง เป็นรูปที่หยาบกว่ารูปอัน
เกิดจากการสัมผัสของลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูก นอกจากนั้นคนสมัยนี้ไม่ละเอียดอ่อนเหมือน
คนสมัยก่อน


ดังนั้นการกำหนดสติที่บริเวณท้องจึงเหมาะสมกว่า ด้วยเหตุผลเหล่านี้ เมื่อเริ่มมีการ
สอนวิปัสสนากรรมฐาน พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จึงแนะนำให้โยคีทุกคนกำหนดสติไว้ที่หน้า
ท้องบริเวณสะดือ และพยายามสังเกตอาการพอง-อาการยุบ พร้อมกับการกำหนดในใจว่า “พอง
หนอ-ยุบหนอ”

ในช่วงเวลานี้หลายคนมีความเห็นขัดแย้งกับแนวการสอนแบบนี้อย่างรุนแรง เขา
เหล่านี้คิดว่าเป็นวิธีการสอนวิปัสสนากรรมฐานแบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น โดยพระอาจารย์มหาสี สะ
ยาดอ เป็นคำสอนที่ไม่มีอยู่ในพระไตรปิฎก หรือมิใช่คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จาก
หลักฐานที่ได้กล่าวมาแล้วจะเห็นได้ชัดว่าวิธีการสอนแบบนี้มีมาตั้งแต่โบราณกาลเป็นแนวปฏิบัติที่
นิยมแพร่หลายในประเทศสหภาพพม่าเป็นระยะเวลานานก่อนที่พระอาจารย์มหาสี สะยาดอ จะ
นำมาใช้สอนโยคีผู้เป็นศิษย์


ฉะนั้น การกำหนดในใจว่า “พองหนอ-ยุบหนอ” ที่บริเวณท้องคือการสังเกตธาตุลม (วาโย
ธาตุ) ที่มีสภาวะลักษณะคือการเคลื่อนไหวอย่างชัดเจน เป็นแนวทางปฏิบัติวิปัสสนา กรรมฐานที่
สอดคล้องกับหลักคำสอนในมหาสติปัฏฐานสูตร ที่ว่าด้วยการมีสติตามดูกาย (กายานุปัสสนาสติปัฏ
ฐาน) ในข้อกำหนดเกี่ยวกับการพิจารณากายโดยความเป็นธาตุทั้ง 4 (ธาตุมนสิการปัพพะ) อาการ
พอง-อาการยุบ คือรูปที่เกิดขึ้นจากการสัมผัสของธาตุลมนี้เรียกว่า วาโยโผฏฐัพพรูป เป็นรูปปรมัตถ์
ที่มีลักษณะของวาโยธาตุชัดเจนคือการเคลื่อนไหว

พระพุทธองค์ทรงเทศนาไว้ในบาลีสังยุติการยว่า
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจงเป็นผู้มีโยนิโสมนสิการ ตั้งสติ กำหนดที่รูป ถ้ามีสมาธิแล้ว รูปนั้น
อนิจจังก็ดี ทุกขังก็ดี อนัตตาก็ดี ย่อมเห็นได้ชัดเจนแน่นอน


ยังทรงเทศน์อีกว่า “โยคีบุคคลที่โผฏฐัพพารมณ์ถูกต้องสัมผัสนั้นตั้งสติกำหนดรู้เห็นอยู่ว่าไม่เที่ยงบุคคลนั้นอวิชชาหายไปวิชชาญาณปรากฏ”

ดังนั้น การกำหนด “พองหนอ-ยุบหนอ” จึงเป็นการสังเกตวาโยโผฏฐัพพรูปด้วยโยนิโสมนสิการ อันประกอบด้วยอาตาปีหรือวิริยะ (ความเพียร) สติ (ความระลึกได้) สมาธิ (ความตั้งมั่นแห่งจิต) และสัมปชัญญะ (ความรู้ตัวทั่วพร้อม) มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นคำสอนของพระพุทธองค์ที่ตรัสไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เมื่อพลังของปัจจัยดังกล่าวแก่กล้าพอเพียงแล้วผู้ปฏิบัติ (โยคี) จะเห็นความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์และความไม่ใช่ตัวตนของรูปธรรมและนามธรรม มีสัมมาทิฏฐิและวิชชาญาณเกิดขึ้น จนสามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้ในที่สุด


อ้างอิง
วิปัสสนากรรมฐาน(แนวมหาสติปัฏฐานสูตร)
รวบรวมเป็นวิทยาทานโดย…..พระราชพุทธิญาณ
เจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ วัดบุพพาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่
ประธานศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นวัดบุพพาราม
กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

22200  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ปฏิปทาอันพิสดาร ของ พระเถระชาวพม่า เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2010, 01:19:13 pm
ปฏิปทาอันพิสดารของ พระเถระชาวพม่า


ปฏิปทาที่น่าสนใจของพระวายามเถระ






ที่มา
หนังสือ อานาปานทีปนี วิธีเจริญอานาปานสติ
พระญาณธชเถระ (แลดีสยาดอ) รจนา
พระพรหมโมลี  ตรวจชำระ
พระคันธสารภิวงศ์  แปลและเรียบเรียง

หน้า: 1 ... 553 554 [555] 556 557 558