ความสำคัญของพระพุทธานุสสติ นั้น เพียงระลึกในพระพุทธคุณ 9 เพียงพอหรือไม่
เราดำเนินจิตตาม อานาปานสติ เลยไม่ได้หรือครับ
พระพุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานที่หวังผลได้ 3 ประการครับ
1.อุคคหนิมิต
2.อุปจาระสมาธิ
3.บรรลุเป็นพระโสดาบัน
เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับทุกจริต โดยเฉพาะ สัทธาจริต ครับ
ส่วนอานาปานสติ หวังผลได้
1.อุคคหนิมิต
2.ปฏิภาคนิมิต
3.อัปปนาสมาธิ
4.พระอริยะบุคคลทุกระดับ
5.อภิญญา6
เป็นกรรมฐานที่เหมาะกับ วิตกจริต และโมหะจริตโดยตรง
สำหรับกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
จะปูพื้นด้วยพุทธานุสสติ 3 ห้อง
คือ พระธรรมปีติ 5 พระยุคลธรรม 6 พระสุขสมาธิ 2 สำเร็จอุปจาระสมาธิ ( แน่นอน )
จากนั้นจึงให้เข้าห้องที่ 4 คือพระอานาปานสติ มี ปฏิภาคนิมิตเป็นกำลัง เรียนพระอานาปานสติ 9 ฐาน
สามารถประยุกต์ใช้ใน นวหรคุณได้ด้วยครับ
สำหรับท่านที่ต้องการปฏิับัติ อานาปานสติเลย เรียกว่า อานาปานสติสันโดด นั้นต้องอยู่ที่พระอาจารย์ผู้บอก
หรือสอนกรรมฐานครับ ต้องมีการทดสอบกันก่อนครับ เท่าที่ทราบมาก็เป็นอย่างนั้นไม่ใช่ห้ามครับ
เพราะอันที่จริง พระกรรมฐานที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสแสดงนั้นไม่จำเป็นต้องฝึกทุกกรรมฐานก็ได้ครับ ถ้าภาวนา
มีเป้าหมายเพื่อพระนิพพาน
แต่ความเป็นจริงเป็นไปไม่ได้ครับ เราใช้กรรมฐานมากกว่าหนึ่งครับ
เช่น ใช้กรรมฐาน เมตตาด้วยการแผ่เมตตา เทวตานุสสติ มรณัสสติ จาคานุสสติ อุปสมานุสสติ กายคตาสติ
เป็นต้น ถ้าเป็นพระแถมเข้าไปอีก ปัจเวก อาหาร ( อาหาเรปฏิกูลสัญญา )
เห็นหรือไม่ครับว่าความเป็นจริง เราใช้กรรมฐานเดียวไม่ได้ ต้องใช้ให้ถูกสภาวะ ด้วยครับ
[709] โคจรมูลกะ
"ภิกษุ ผู้ฉลาดในโคจร ในสมาธิ และ อภินิหาร ในสมาธิ ยิ่งใหญ่ และได้เปรียบ พึงเคารพในสมาธิ"
คำว่า "โคจร" ในที่นี้ หมายถึงเรื่อง อะไระ ครับ เพื่อน ๆ ชาวกรรมฐานช่วยวิเคราะห์กันหน่อยนะครับ
โคจร น่าจะหมายการเดินจิตนะครับ พูดถึงการเดินจิตที่ชัดเจนปรากฏในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับครับ
และอานาปานสติ ที่มีูรูปแบบการเดินจิต
ทั้งหมดนี้ขอยกความดีที่พระอาจารย์สนธยา ช่วยสอนแนะนำผมไว้เมื่อสองปีที่แล้วครับ