ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - ทินกร
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10
121  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:40:23 pm
ภาพต่อไป
122  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:38:58 pm
ภาพต่อไป
เป็นการขึ้นกรรมฐาน
123  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:33:20 pm
ภาพต่อไป
124  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:31:25 pm
ภาพต่อไป
125  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:30:13 pm
ภาพต่อไป
126  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:08:19 pm
ภาพต่อไป
127  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:07:22 pm
ภาพต่อไป
128  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / ภาพงานวันปฏิบัติกรรมฐาน 19 20 21 ณ วัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 20, 2010, 02:01:19 pm

เริ่มจากการจัดเตรียมก่อนเวลางาน
129  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ขอทราบตำนาน ก่อพระเจดีย์ทราย หน่อยครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 10:58:54 am
มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทราย มีเรื่องเล่าว่าพระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถีพร้อมบริวาร ได้เห็นหาดทรายขาวบริสุทธิ์ก็เกิดจิตศรัทธาก่อทรายเป็นเจดีย์ ๘ หมื่น ๔ พันองค์ แล้วอุทิศเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา และสังฆบูชา เมื่อพระองค์ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าก็ได้ทูลถามถึงอานิสงส์การก่อเจดีย์ทรายดังกล่าว พระพุทธเจ้าตรัสว่า การที่มีจิตเลื่อมใสศรัทธาก่อเจดีย์ทรายถึง ๘ หมื่น ๔ พันองค์หรือเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือ จะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเพียบพร้อมไปด้วยยศถาบรรดาศักดิ์ มีบริวารและเกียรติยศชื่อเสียง หากตายก็จะได้ขึ้นสวรรค์ พรั่งพร้อมด้วยสมบัติและมีนางฟ้าเป็นบริวาร ด้วยอานิสงส์ดังกล่าวจึงทำให้คนโบราณนิยมก่อเจดีย์ทรายเป็นประเพณีมาจนทุกวันนี้
130  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:25:29 am
พี่เค้าบอกยังไม่ว่างเลยมาช่วยตอบกระทู้แทนให้ครับ
131  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:06:56 am
พระเถระเป็นเหตุให้บัญญัติพระวินัย

โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระเถระทั้งหลาย ผลัดเปลี่ยนกันกล่าวสอนพวกภิกษุณี สมัยนั้น ถึงวาระของท่านพระจุลปันถกที่จะกล่าวสอนพวกภิกษุณี พวกภิกษุณีพูดกัน อย่างนี้ว่า วันนี้โอวาทเห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยวพระคุณเจ้าจุลปันถกะจะกล่าวอุทาน อย่างเดิมนั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ แล้วพากันเข้าไปหาท่านพระจุลปันถกะ อภิวาทแล้วนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.

ท่านพระจุลปันถกได้ถามภิกษุณีเหล่านั้น ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ดังนี้ว่า พวกเธอพร้อมเพรียงกันแล้วหรือ น้องหญิงทั้งหลาย?

ภิกษุณี พวกดิฉันพร้อมเพรียงกันแล้ว เจ้าข้า.

พระจุลปันถก ครุธรรม ๘ ประการยังเป็นไปดีอยู่หรือ น้องหญิงทั้งหลาย?

ภิกษุณี ยังเป็นไปดีอยู่ เจ้าข้า.

ท่านพระจุลปันถกพูดว่า นี่แหละเป็นโอวาทละ น้องหญิงทั้งหลาย แล้วได้กล่าวอุทาน นี้ซ้ำอีก ว่าดังนี้:

"ความโศก ย่อมไม่มีแก่มุนีผู้มีจิตตั้งมั่น ไม่ประมาท

ศึกษาอยู่ในโมเนยยปฏิปทา ผู้คงที่ ผู้สงบระงับ มีสติทุกเมื่อ"

ภิกษุณีทั้งหลายได้สนทนากันอย่างนี้ว่า เราได้พูดแล้วมิใช่หรือว่าวันนี้ โอวาท เห็นจะไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะประเดี๋ยว พระคุณเจ้าจุลปันถกะ จะกล่าวอุทานอย่างเดิม นั่นแหละซ้ำๆ ซากๆ

ท่านพระจุลปันถกะได้ยินคำสนทนานี้ของภิกษุณีพวกนั้น ครั้นแล้วท่านเหาะขึ้นสู่เวหา จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง ทำให้ควันกลุ้มตลบขึ้นบ้าง ทำให้เป็นไฟโพลงขึ้นบ้าง หายตัวบ้าง อยู่ในอากาศกลางหาว กล่าวอุทานอย่างเดิมนั้น และพระ พุทธพจน์อย่างอื่นอีกมาก.

ภิกษุณีทั้งหลายกล่าวชมอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์นัก ชาวเราเอ๋ย ไม่เคยมีเลย ชาวเราเอ๋ย ในกาลก่อนแต่นี้ โอวาทไม่เคยสำเร็จประโยชน์แก่พวกเรา เหมือนโอวาทของพระคุณเจ้าจุลปันถกะเลย คราวนั้น ท่านพระจุลปันถกะกล่าวสอนภิกษุณีเหล่านั้นจนพลบค่ำ ย่ำสนธยา แล้วได้ส่ง กลับด้วยคำว่า กลับไปเถิด น้องหญิงทั้งหลาย จึงภิกษุณีเหล่านั้น เมื่อเขาปิดประตูเมืองแล้ว ได้พากันพักแรมอยู่นอกเมือง รุ่งสายจึงเข้าเมืองได้ ประชาชนพากัน เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุณีพวกนี้เหมือนไม่ใช่สตรีผู้ประพฤติพรหมจรรย์ พักแรมอยู่กับพวกภิกษุในอารามแล้ว เพิ่งจะพากันกลับเข้าเมืองเดี๋ยวนี้ ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อยต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ท่านพระจุลปันถกเมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว จึงยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค

ทรงสอบถาม

พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามว่า ดูกรจูจุลปันถกะ ข่าวว่า เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว เธอยัง กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่ จริงหรือ?

พระจุลปันถกะทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.

ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท

พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรจุลปันถกะ เมื่อพระอาทิตย์ตกแล้ว ไฉน เธอจึง ยังได้กล่าวสอนพวกภิกษุณีอยู่เล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชน ที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:

พระบัญญัติ

๗๑ ๒ ถ้าภิกษุ แม้ได้รับสมมติแล้ว เมื่อพระอาทิตย์อัสดงค์แล้ว กล่าวสอนพวกภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.

 
132  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:06:31 am
ทรงสถาปนาพระเถระไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ

ต่อมาพระศาสดาประทับนั่งเหนือธรรมาสน์ ทรงสถาปนาพระจุลปันถกเถระ ไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ ผู้เนรมิตกายมโนมัยได้ ทรงสถาปนาพระมหาปันถกเถระไว้ในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ

ในเรื่องการเป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เนรมิตกาย อันสำเร็จได้ด้วยใจนั้น ก็เพราะ ภิกษุทั้งหลายเหล่าอื่น เมื่อจะเนรมิตกายให้เกิดขึ้น ก็ทำให้เกิดขึ้น ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง แต่ทำคนมากให้บังเกิดเป็นเหมือนคนเดียวกันไม่ได้ ชื่อว่ากระทำกิริยาอาการได้อย่างเดียวเท่านั้น ส่วนพระเถระชื่อว่าจุลปันถก นิรมิตพระ ๑,๐๐๐ รูป ได้ด้วยขณะจิตเดียว และแต่ละรูปกระทำกิริยาอาการได้ต่าง ๆ กัน เพราะฉะนั้น ท่านชื่อว่า เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้นิรมิตมโนมัยกาย

บรรดาทั้งสองรูปนั้น พระจุลปันถกเถระท่าน กล่าวว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ เพราะได้รูปาวจรฌาน ๔ พระมหาปันถกเถระท่านกล่าวว่า เป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ

พระมหาปันถกะ ชื่อว่า ผู้ฉลาดใน ปัญญาวิวัฎฎะ เพราะเป็นผู้ฉลาดในวิปัสสนา

อนึ่ง ในภิกษุ ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในลักขณะแห่งวิปัสสนา

อนึ่ง รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่งลงสมาธิ รูปหนึ่งฉลาดในการหยั่ง ลงสู่วิปัสสนา

อีกนัยหนึ่ง ใน ๒ รูปนี้ รูปหนึ่งฉลาดในการย่อองค์ รูปหนึ่งฉลาดในการย่ออารมณ์

อีกนัยหนึ่ง องค์หนึ่งฉลาดในการ กำหนดองค์ องค์หนึ่งฉลาดในการกำหนดอารมณ์

อีกอย่าง หนึ่ง พระจุลปันถกเถระ เป็นผู้ได้รูปาวจรฌาณ ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ พระมหาปัณถกะเป็นผู้ได้อรูปาวจรฌาน ออกจากองค์ฌานแล้วบรรลุพระอรหัต ฉะนั้น จึงชื่อว่าเป็นผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะ
 
133  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:06:07 am
บุรพกรรมของพระเถระ

ภิกษุทั้งหลายจึงทูลวิงวอนว่า เมื่อไรพระเจ้าข้า พระศาสดา ทรงนำอดีตนิทานมาแสดงแก่ภิกษุเหล่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงตรัสแสดง จุลลกมหาเศรษฐีชาดก ไว้ดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี ในแคว้นกาสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลเศรษฐี เจริญวัยแล้ว ได้รับตำแหน่งเศรษฐี ได้ชื่อว่าจุลลกเศรษฐี จุลลกเศรษฐีนั้นเป็นบัณฑิตฉลาด เฉียบแหลมรู้นิมิตทั้งปวง วันหนึ่งระหว่างทางที่จุลลกเศรษฐีนั้นจะไปเข้าเฝ้าพระราชา เห็นหนูตายในระหว่างถนน คำนวณดวงดาวและฤกษ์ในขณะนั้นแล้ว ก็กล่าวขึ้นว่า กุลบุตรผู้มีปัญญา อาจเอาหนูตายตัวนี้ไปกระทำการเลี้ยงดูภรรยาและ ประกอบการงานได้.

กุลบุตรผู้ยากไร้คนหนึ่งชื่อว่า จูฬันเตวาสิก ได้ฟังคำของเศรษฐีนั้น แล้วคิดว่า ท่านเศรษฐีผู้นี้ถ้าไม่รู้จริง ก็จักไม่พูด ดังนั้นจึงเอาหนูไปขายในตลาดแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นอาหารแมว ได้ทรัพย์กากณึกหนึ่ง จึงซื้ออ้อยด้วยทรัพย์หนึ่งกากณึกนั้น แล้วเอาหม้อใบหนึ่งตักน้ำไป เขาเห็นพวกช่างดอกไม้มาจากป่าจึงให้ชิ้นอ้อยคนละหน่อยหนึ่ง แล้วให้ดื่มน้ำกระบวยหนึ่ง พวกช่างดอกไม้เหล่านั้นได้ให้ดอกไม้คนละกำมือแก่เขา.

แม้ในวันรุ่งขึ้น เขาก็เอาค่าดอกไม้นั้นซื้ออ้อยและน้ำดื่มหม้อหนึ่ง ไปยังสวนดอกไม้ทีเดียว พวกช่างดอกไม้ได้ให้กอดอกไม้ที่เก็บไปแล้วครึ่งกอ แก่เขาในวันนั้นแล้วก็ไป ไม่นานนัก เขาก็ได้เงิน ๘ กหาปณะ โดยวิธีการนี้.

ในวันมีลมพายุฝนวันหนึ่ง ไม้แห้งกิ่งไม้และใบไม้เป็นอันมากในพระราชอุทยาน ถูกลมพัดตกลงมา คนเฝ้าอุทยานไม่เห็นวิธีที่จะทิ้งไม้แห้งกิ่งไม้และใบไม้เหล่านั้น เขาจึงไปในพระราชอุทยานนั้นแล้วกล่าวกะคนเฝ้าอุทยานว่า ถ้าท่านจักให้ไม้และใบไม้เหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักนำของทั้งหมดออกไปจากสวนนี้ของท่าน คนเฝ้าอุทยานนั้นรับคำว่า เอาไปเถอะนาย จูฬันเตวาสิกจึงไปยังสนามเล่นของพวกเด็ก ๆ ให้อ้อยแก่เด็กเล่านั้น แล้วให้ขนไม้และใบไม้ทั้งหมดออกไปโดยเวลาครู่เดียว แล้วให้กองไว้ที่ประตูอุทยาน ในกาลนั้นช่างหม้อหลวงเที่ยวหาฟืนเพื่อเผาภาชนะดินของหลวง เห็นไม้และใบไม้เหล่านั้นที่ประตูอุทยานจึงซื้อเอาจากจูฬันเตวาสิกนั้น วันนั้นจูฬันเตวาสิกได้ทรัพย์ ๑๖ กหาปณะ และภาชนะ ๕ อย่างมีตุ่มเป็นต้น ด้วยการขายไม้.

เมื่อมีทรัพย์ ๒๔ กหาปณะ จูฬันเตวาสิกนั้นจึงคิดว่า เรามีวิธีนี้ แล้วตั้งตุ่มน้ำดื่มตุ่มหนึ่งไว้ในที่ไม่ไกลประตูพระนคร บริการคนหาบหญ้า ๕๐๐ คนด้วยน้ำดื่ม คนหาบหญ้าเหล่านั้นกล่าวว่า สหาย ท่านมีอุปการะมาก แก่พวกเรา พวกเราจะกระทำอะไรแก่ท่านได้บ้าง จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า เมื่อเรามีเรื่องจะขอให้ท่านช่วย ก็ขอให้ท่านช่วยเราด้วย แล้วเที่ยวไปข้างโน้นข้างนี้ ทำความสนิทสนมไว้กับเหล่าผู้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งบก และขนส่งทางน้ำ.

เหล่าคนผุ้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งทางบกได้บอกแก่จูฬันเตวาสิกนั้นว่า พรุ่งนี้ พ่อค้ามาจักพาม้า ๕๐๐ ตัวมายังนครนี้ นายจูฬันเตวาสิกนั้นได้ฟังแล้ว จึงได้ไปติดต่อกับพวกคนหาบหญ้าว่า วันนี้ ท่านจงให้หญ้าแก่เราคนละกำ และเมื่อเรายังไม่ได้บอกขายหญ้า ท่านทั้งหลายอย่าขายหญ้าของตน ๆ คนหาบหญ้าเหล่านั้นรับคำแล้วก็นำหญ้า ๕๐๐ กำ มาลงที่ประตูบ้านของจูฬันเตวาสิกนั้น พ่อค้าม้านั้นไม่สามารถหาหญ้าสำหรับม้าของตนได้เนื่องจากไปถามพวกคนเกี่ยวหญ้าก็ไม่มีใครขายหญ้าให้ พ่อค้าม้าเหล่านั้นจึงไม่ได้อาหารสำหรับม้าในพระนครทั้งสิ้นจึงต้องซื้อหญ้าจากจูฬันเตวาสิกนั้นในราคาหนึ่งพัน แล้วเอาหญ้านั้นไป.

แต่นั้นล่วงไป ๒  ๓ วัน สหายผู้ทำงานเกี่ยวกับการขนส่งทางน้ำบอกแก่จูฬันเตวาสิก นั้นว่า เรือใหญ่มาจอดที่ท่าแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้นคิดว่า เรามีวิธีนี้ จึงเอาเงิน ๘ กหาปณะไปเช่ารถ ซึ่งเพียบพร้อมด้วยบริวารทั้งปวง แล้วไปยังท่าเรือด้วย ทำประหนึ่งเป็นผู้มียศอันยิ่งใหญ่ แล้วจึงติดต่อกับนายเรือ โดยให้แหวนวงหนึ่งเป็นมัดจำแก่นายเรือ แล้วให้กั้นม่านนั่งอยู่ในที่ไม่ไกล สั่งคนไว้ว่า เมื่อพ่อค้าภายนอกมา พวกท่านจงบอก โดยการบอกประวิงไว้สามครั้ง เมื่อเหล่าพ่อค้าจากเมืองพาราณสีประมาณร้อยคนทราบว่าเรือมาแล้ว จึงมาติดต่อนายเรือกล่าวขอซื้อสินค้า นายเรือจึงกล่าวว่า มีพ่อค้าใหญ่ซึ่งอยู่ที่นั้น ที่นั้น ได้ให้มัดจำไว้แก่เราเสียแล้ว เราขายสินค้าให้แก่ท่านไม่ได้ พ่อค้าเหล่านั้นได้ฟังดังนั้นจึงมายังที่พักของจูฬันเตวาสิกนั้น คนผู้รับใช้ใกล้ชิดจึงบ่ายเบี่ยงประวิงเวลาไว้สามครั้ง ตามที่จูฬันเตวาสิกสั่งไว้ พ่อค้าประมาณ ๑๐๐ คนนั้น จึงเสนอให้ทรัพย์คนละพัน เพื่อเป็นผู้มีหุ้นส่วนเรือกับจูฬันเตวาสิกนั้น แล้วจากนั้นพ่อค้าจึงเสนอให้อีกคนละพัน เพื่อให้จูฬันเตวาสิกขายหุ้นในส่วนของจูฬันเตวาสิกเพื่อให้สินค้าให้เป็นของพ่อค้านั้นทั้งหมด

จูฬันเตวาสินถือเอาทรัพย์สองแสนกลับมาเมืองพาราณสี คิดว่า เราควรเป็นคนกตัญญู จึงให้ถือเอาทรัพย์แสนหนึ่งไปยังที่อาศัยของจุลลกเศรษฐี ลำดับนั้น จุลลกเศรษฐีจึงถามจูฬันเตวาสิกนั้นว่า ดูก่อนท่าน เธอทำอะไรจึงได้ทรัพย์นี้ จูฬันเตวาสิกนั้นกล่าวว่า ข้าพเจ้าได้ทำตามวิธีที่ท่านกล่าวจึงได้ทรัพย์ภายใน ๔ เดือนเท่านั้น แล้วเล่าเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่หนูตายเป็นต้นไป ท่านจุลลหมหาเศรษฐีได้ฟังคำของจูฬันเตวาสิกนั้นแล้วจึงคิดว่า บัดนี้ เราควรจะผูกมาณพนี้ให้อยู่กับเราจึงจะควร จึงยกธิดาของตนให้กับจูฬันเตวาสิก เมื่อท่านเศรษฐีล่วงลับไปแล้ว จูฬันเตวาสิกนั้นก็ได้ตำแหน่งเศรษฐี ในนครนั้น ฝ่ายพระโพธิสัตว์ก็ได้ไปตามยถากรรม.

TitleBoxพระศาสดาตรัสเรื่องนี้แล้วทรงตรัสพระคาถาว่าดังนี้

บุคคลผู้มีปัญญา มีปัญญาเห็นประจักษ์ ย่อม

ตั้งตนได้ด้วยทรัพย์อันเป็นต้นทุนแม้เล็กน้อย

ดุจบุคคลก่อไฟอันน้อย ให้โพลงขึ้นได้ ฉะนั้น.


แล้วทรงประชุมชาดกว่า จูฬันเตวาสิกในกาลนั้น ได้เป็นพระจุลปันถกใน บัดนี้ ส่วนจุลลกมหาเศรษฐีในกาลนั้นได้เป็นเราเองแล

 
134  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:05:39 am
จุลปันถกสำเร็จพระอรหัต

ท่านนั่งเอามือคลำผ้าท่อนเล็กที่พระศาสดาประทานนั้น ภาวนาว่า รโชหรณํ รโชหรณํ เมื่อท่านลูบคลำอยู่ เช่นนั้น ผ้าผืนนั้นก็เศร้าหมอง เมื่อท่านลูบคลำอยู่บ่อย ๆ ก็กลายเป็นเหมือนผ้าเช็ดหม้อข้าว ท่านอาศัยความแก่กล้าแห่งญาณ เริ่มตั้งความสิ้นไป และความเสื่อมไปในผ้านั้น คิดว่า ผ้านี้โดยปกติสะอาดบริสุทธิ์ เพราะอาศัยอุปาทินนกสรีระ จึงเศร้าหมอง แม้จิตนี้ก็มีคติเป็น อย่างนี้เหมือนกัน

พระศาสดาทรงทราบว่า จิตของจุลลปันถกะขึ้นสู่วิปัสสนาแล้ว จึงตรัสว่า จุลลปันถกะ เธออย่ากระทำ ความสำคัญว่า ท่อนผ้าเก่านั่นเท่านั้นเป็นของเศร้าหมองย้อมด้วยฝุ่นธุลี แต่ ธุลีคือราคะเป็นต้นเหล่านั้นมีอยู่ในภายใน เธอจงนำธุลีคือราคะเป็นต้นนั้นไปเสีย แล้วทรงเปล่งโอภาสเป็นผู้มีพระรูปโฉมปรากฏเหมือนประทับนั่งอยู่เบื้องหน้า ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า

ราคะเรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่าธุลี คำว่า ธุลีเป็นชื่อของราคะ

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โทสะ เรียกว่าธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโทสะ

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้ว ย่อมอยู่ในศาสนาของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี

โมหะ เรียกว่า ธุลี แต่ฝุ่นละอองไม่เรียกว่า ธุลี คำว่าธุลีนี้ เป็นชื่อของโมหะ

ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นละธุลีนั้นได้แล้วย่อมอยู่ในศาสนสของพระพุทธเจ้าผู้ปราศจากธุลี
 

ในเวลาจบคาถา พระจุลปันถกะบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลาย

ได้ยินว่า ในอดีตชาติกาลก่อน พระจุลลปันถกะนั้นเป็นพระราชา กำลังทำประทักษิณพระนคร เมื่อพระเสโทไหลออกจากพระนลาต จึงเอาผ้าขาวบริสุทธิ์เช็ดพระนลาต ผ้านั้นได้เศร้าหมองไป พระราชานั้นทรงได้อนิจจสัญญา ความหมายว่าไม่เที่ยง ว่าผ้าอันบริสุทธิ์เช่นนี้ เกิดเศร้า หมองก็เพราะร่างกายนี้ สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ด้วยเหตุนั้น ผ้าที่เป็นเครื่องนำธุลีออกไปจึงเป็นปัจจัยวิปัสสนาแก่พระจุลลปันถกะนั้น.

พระจุลปันถกเถระแสดงฤทธิ์

วันรุ่งขึ้น พระศาสดาเสด็จไปพร้อมกับภิกษุ ๕๐๐ ประทับ นั่งในนิเวศน์ของหมอชีวกโกมารภัจ ส่วนพระจุลปันถกะไม่ได้ไปเพราะตนไม่ได้รับนิมนต์นั่นเอง ขณะนั้น พระจุลลปันถกะคิดว่า พี่ชายของเราพูดว่า ในวิหารไม่มีภิกษุ เราจักประกาศความที่ภิกษุทั้งหลายมีอยู่ในวิหาร แก่พี่ชายของเรานั้น แล้วท่านก็นิรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ซึ่งเหมือนกันและกันอย่างนี้ทำให้อัมพวันทั้งสิ้นเต็มไปด้วยภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพวกหนึ่งทำการสาธยาย บางพวกทำบทภาณ บางพวกธรรมกถา บางพวกสวดสรภัญญะ ถามปัญหา แก้ปัญหา ย้อม ต้ม เย็บ ซักจีวรเป็นต้นมีประการต่างๆ

ครั้นถึงเวลาภัต ท่านชีวกโกมารภัจเริ่มถวายข้าวยาคู พระศาสดาทรงเอาพระหัตถ์ปิดบาตร หมอชีวกทูลถามว่า เพราะเหตุไร พระองค์จึงไม่ทรงรับพระเจ้าข้า ตรัสว่า ยังมีภิกษุอีกรูปหนึ่งในวิหาร ชีวก หมอชีวกจึงส่งบุรุษไปว่า พนาย จงไปนิมนต์พระคุณเจ้าที่อยู่ในวิหารมาที แม้พระจุลปันถกเถระเนรมิตภิกษุ ๑,๐๐๐ รูป ในเวลาใกล้ ที่บุรุษนั้นมาถึง ทำไมให้เหมือนกันแม้สององค์เดียว องค์หนึ่งๆ กระทำกิจของสมณะเป็นต้นว่า กะจีวรไม่เหมือนกับองค์อื่น ๆ บุรุษ นั้น เห็นภิกษุมีมากในวิหารจึงกลับไปบอกหมอชีวกว่า นายท่าน ภิกษุในวิหารนี้มีมากผมไม่รู้จักพระคุณท่านที่จะพึงนิมนต์มาจาก วิหารนั้น หมอชีวกจึงทูลถามพระศาสดาว่า ภิกษุอยู่ในวิหาร ชื่อไร พระเจ้าข้า

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า.ชื่อจุลปันถกะ ชีวก

หมอชีวกกล่าวกะบริวารของตนว่า ไปเถิดท่าน จงไปถามว่า องค์ไหนชื่อจุลลปัณถกะ แล้วนิมนต์มา

บุรุษนั้นกลับมายังวิหาร ถามว่า องค์ไหนชื่อจุลปันถกะ ขอรับ กล่าวว่า เราชื่อจุลปันถกะ เราชื่อจุลปันถกะ ทั้ง ๑,๐๐๐ รูป บุรุษนั้นกลับไปบอกหมอชีวกอีกว่า ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ทุกองค์บอกว่า เราชื่อจุลปันถกะ ข้าพเจ้าไม่ทราบว่า จุลปันถกะ องค์ไหนที่ท่านให้นิมนต์ หมอชีวกทราบได้โดยนัยว่า ภิกษุมีฤทธิ์เพราะแทงตลอดสัจจะแล้วจึงกล่าวว่า เจ้า จงจับที่ชายจีวรภิกษุองค์ที่กล่าวก่อน บุรุษนั้นไปวิหารกระทำ อย่างนั้นแล้ว ในทันใดนั้น ภิกษุประมาณ ๑,๐๐๐ รูป ก็อันตรธาน ไป บุรุษนั้นพาพระเถระมาแล้ว พระศาสดาจึงทรงรับข้าวยาคู ในขณะนั้น.

เมื่อพระทศพลกระทำภัตกิจเสร็จแล้ว พระศาสดาตรัสเรียกหมอชีวกมาว่า ชีวก ท่านจงรับบาตรของพระจุลลปันถกะ พระจุลลปันถกะนี้จักกระทำอนุโมทนาแก่ท่าน หมอชีวกได้กระทำอย่างนั้น พระเถระกล่าวธรรมกถาอนุโมทนาภัตร พระเถระกล่าวธรรมกถามีประมาณเท่าคัมภีร์ ทีฆนิกายและมัชฌิมนิกาย แล้วพระพุทธองค์เสด็จกลับพระวิหาร

ครั้นในเวลาเย็น ภิกษุทั้งหลายประชุมกันริมด้านในโรงธรรมสภา นั่งปรารภเรื่องพระคุณของพระศาสดาว่า อาวุโส ทั้งหลาย พระมหาปันถกไม่รู้อัธยาศัยของพระจุลลปันถกะ ไม่อาจให้เรียนคาถาเดียวโดยเวลา ๔ เดือน ฉุดออกจากวิหาร โดยกล่าวว่า จุลลปันถกะนี้โง่เขลา แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ประทานพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแก่พระจุลลปันถกะนั้น ในระหว่างภัตคราวเดียวเท่านั้น เพราะพระองค์เป็นพระธรรมราชาผู้ยอดเยี่ยม น่าอัศจรรย์ ชื่อว่าพุทธพลังใหญ่หลวง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความเป็นไปของเรื่องนี้ในโรงธรรมสภา ทรงพระดำริว่า วันนี้เราควรไปจึงเสด็จไปประทับนั่งเหนืออาสนะที่เขาจัด ไว้แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย เธอพูดอะไรกัน

ภิกษุ.ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า พวกข้าพระองค์มิได้กล่าว เรื่องอะไร ๆ อื่น กล่าวแต่คุณของพระองค์เท่านั้นว่า พระจุลปันถกะ ได้ลาภใหญ่แต่สำนักของพระองค์ ดังนี้

พระผู้มีพระภาค ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระจุลลปันถกะบรรลุถึงความเป็นใหญ่ในธรรมทั้งหลายในบัดนี้ เพราะ อาศัยเราก่อน แม้ในปางก่อน จุลลปันถกะนี้ก็ถึงความเป็นใหญ่ในโภคะแม้ในโภคะทั้งหลาย ก็เพราะอาศัยเราเช่นกัน

 
135  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:05:19 am
จุลปันถกโดนพี่ชายขับไล่

ท่านพยายามเรียนคาถานี้อย่างเดียวเวลาก็ล่วงไปถึง ๔ เดือน คราวนั้น พระมหาปันถกะกล่าวกะท่านว่า ปันถกะเธอเป็นคนอาภัพ ในศาสนานี้ เธอจำคาถาแม้บทเดียวก็ไม่ได้เป็นเวลาถึง ๔ เดือน เธอจะทำกิจของบรรพชิตให้สำเร็จได้อย่างไร เธอจงออกไปจากวิหารนี้เสีย แล้วท่านพระเถระก็ปิดประตู ท่านถูกพระเถระขับไล่จึงไปยืนร้องไห้อยู่ ณ ท้ายพระวิหาร เพราะไม่ปรารถนาความเป็นคฤหัสถ์ และเพราะความรักในพระพุทธศาสนา.

ความที่ท่านพระเถระขับไล่สามเณรจุลปันถกนั้น ต่อมาภิกษุทั้งหลายสนทนากันว่า “ผู้มีอายุทั้งหลาย พระมหาปันถกะได้กระทำเช่นนี้ ชะรอยความโกรธนั้นย่อมเกิดมีขึ้นแม้แก่พระขีณาสพทั้งหลาย.”

พระศาสดาทรงทราบเรื่องที่ภิกษุพูดกันจึงเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ?” เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องที่ตนพูดกันอยู่ จึงตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย กิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น ย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพทั้งหลาย แต่บุตรของเราทำกรรมนั้นเพราะความที่ตนเป็นผู้มุ่งอรรถเป็นเบื้องหน้า และเพราะเป็นผู้มุ่งธรรมเป็นเบื้องหน้า”

พระพุทธเจ้าโปรดจุลปันถกะ

สมัยนั้น พระศาสดา ทรงเข้าอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ อยู่ในชีวกัมพวันสวนมะม่วงของหมอชีวก ในคราวนั้น พระมหาปันถกได้เป็นพระภัตตุเทสก์ผู้แจกภัต หมอ ชีวกโกมารภัจถือของหอมและดอกไม้เป็นอันมากไปอัมพวันของตน บูชาพระศาสดา ครั้นเมื่อฟังธรรมแล้วลุกขึ้นจากอาสนะ ถวายบังคมพระทศพลแล้วเข้าไปหาพระมหาปันถกถามว่า ท่านผู้เจริญ ในสำนักของพระศาสดา มีภิกษุเท่าไร ? พระ มหาปันถกกล่าวว่า มีภิกษุ ประมาณ ๕๐๐ รูป หมอชีวกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ พรุ่งนี้ ท่านจงพาภิกษุ ๕๐๐ รูปมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ไปรับภิกษาใน นิเวศน์ของผม พระเถระกล่าวว่า พระจุลลปันถกเป็นผู้เขลา มีธรรมไม่งอกงาม อาตมภาพจะนิมนต์เพื่อภิกษุที่เหลือ ยกเว้นพระจุลลปันถกนั้น

พระจุลปันถกะได้ฟัง คำนั้นก็โทมนัสเหลือประมาณ พระศาสดาทรงเห็นพระจุลลปัณถกะ ร้องไห้อยู่ ทรงดำริว่า จุลปันถกะเมื่อเราไปจักบรรลุอรหัต จึงเสด็จ ไปแสดงพระองค์ในที่ที่ไม่ไกลแล้วตรัสว่า ปันถกะ เธอร้องไห้ ทำไม

พระจุลลปันถกะกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระพี่ชายฉุดคร่าข้าพระองค์ออก ด้วยเหตุนั้น ข้าพระองค์จะไปด้วยคิดว่าจัก เป็นคฤหัสถ์ พระศาสดาตรัสว่า จุลลปันถกะ การบรรพชาของเธอชื่อว่ามีในสำนักของเรา เธอถูกพระพี่ชายฉุดคร่าออกไป เพราะเหตุไรจึงไม่มายังสำนัก ของเรา มาเถิด เธอจะได้ประโยชน์อะไรกับความเป็นคฤหัสถ์ เธอจงอยู่ในสำนักของเรา แล้วทรงพาพระจุลลปันถกะไป ให้พระจุลลปันถกะนั้นนั่งที่หน้ามุขพระคันธกุฏี ตรัสว่า จุลลปันถกะ เธอจงผินหน้าไปทางทิศตะวันออก จงอยู่ ในที่นี้แหละ ลูบคลำผ้าท่อนเก่าไปว่า รโชหรณํ รโชกรณํ ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป ผ้าเป็นเครื่องนำธุลีไป แล้วทรงประทานผ้าเก่าอันบริสุทธิ์ซึ่งทรงเนรมิตขึ้นด้วยฤทธิ์

 
136  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:04:50 am
มหาปันถกออกบวช

ในเด็กทั้งสองคนนั้น จุลปันถก ยังเป็นเด็กเล็กนัก ส่วนมหาปันถกไปฟังธรรมกถาของพระผู้มีพระภาคเจ้ากับคุณตา เมื่อเขาฟังธรรมต่อพระพักตร์พระศาสดาอยู่เป็นประจำ จิตก็น้อมไปในบรรพชา เกิดศรัทธา ฟังธรรมแล้ว เพราะค่าที่ตนสมบูรณ์ด้วยอุปนิสัย เป็นผู้มีความประสงค์จะบรรพชา เขาจึงพูดกับตาว่า ถ้าตาอนุญาต หลานจะออกบวช ตากล่าวว่า พูดอะไรพ่อ การบรรพชาของเจ้าเป็นความเจริญทั้งแก่เราแลทั้งแก่ โลกทั้งสิ้น เจ้าจงบวชเถิดพ่อ ดังนี้แล้วก็พากันไปยังสำนักพระศาสดา ท่านตานั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระศาสดาแล้ว พระศาสดาจึงตรัสมอบภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่งว่า เธอจงให้ทารกนี้บวชเถิด พระเถระบอกตจปัญจกกัมมัฎฐานแก่ทารกนั้นแล้ว เมื่อเขาบรรพชาแล้ว เล่าเรียนพระพุทธพจน์ได้เป็นจำนวนมาก พอมีอายุครบ๒๐ ปี อุปสมบทแล้ว ทำมนสิการโดยอุบายอันแยบคายโดยพิเศษ เป็นผู้ได้อรูปฌาน ๔ ออกจากอรูปฌาน ๔ นั้นแล้ว ก็พยายามยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต

จุลปันถกออกบวช

ท่านพระมหาปันถกเถระยับยั้งอยู่ด้วยความสุขในฌาน ความสุขในมรรค ความสุข ในนิพพาน จึงคิดว่า เราอาจให้ความสุขชนิดนี้แก่จุลปันถกะได้ไหม หนอ แต่นั้นจึงไปยังสำนักของเศรษฐีผู้เป็นตา กล่าวว่า ท่านมหาเศรษฐี ถ้าโยมอนุญาต อาตมาจะให้จุลปันถกะบวช เศรษฐีกล่าวว่า จงให้บวชเถิดท่าน ขณะนั้นจุลปันถกมีอายุได้ ๑๘ ปี พระเถระให้จุลปันถกะบวชแล้วให้ตั้งอยู่ในศีล ๑๐ สามเณรจุลปันถกะ ด้วยความเป็นคนเขลา ซึ่งเป็นบุรพกรรมเมื่อครั้งพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า พระจุลลปันถกบวชอยู่ แล้วได้ทำการหัวเราะเยาะภิกษุผู้เขลารูปหนึ่ง ในเวลาที่ภิกษุรูปนั้นเรียนอุเทศ ภิกษุนั้นละอาย เพราะการเย้ยหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย เมื่อพระเถระผู้พี่ชายให้เรียนคาถาบทหนึ่งบทเดียวว่า.

อ้างถึง
เชิญท่านดูพระอังคีรส ผู้รุ่งเรืองอยู่

ดุจพระอาทิตย์ส่องแสงอยู่ในอากาศ

เหมือนดอกปทุมวิเศษชื่อโกกนุทะ

มีกลิ่นหอมบานอยู่แต่เช้าไม่ปราศจากกลิ่นฉะนั้น
 
เป็นเวลา ๔ เดือนก็ไม่สามารถท่องจำได้

 
137  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:04:09 am
มารดาส่งบุตรทั้งสองไปอยู่กับตา

เมื่อชนเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น เด็กมหาปันถกะได้ยินเด็กอื่น ๆ เรียก อา ลุง ปู่ ย่า จึงถามว่ามารดาว่า แม่จ๋า เด็กอื่น ๆ เรียกปู่ เรียกย่า ก็ญาติของพวกเราในที่นี้ไม่มีบ้างหรือ นางตอบว่า จริงสิ ลูก ญาติของเราในที่นี้ไม่มีดอก แต่ในกรุงราชคฤห์ ตาของเจ้าชื่อธนเศรษฐี ในกรุงราชคฤห์นั้นมีญาติของเจ้าเป็นอันมาก เด็กก็ถามว่า เพราะเหตุไรเราจึง ไม่ไปกันในกรุงราชคฤห์นั้นละแม่ นางผู้เป็นแม่ก็มิได้เล่าเรื่องสาเหตุที่ตนต้องออกมาอยู่ที่นี้มาแก่บุตร แต่ครั้นเมื่อบุตรพูดบ่อย ๆ เข้านางจึงบอกสามีว่า เด็ก ๆ เหล่านี้รบเร้าเหลือ เกิน ถ้าเรากลับไปแล้วพ่อแม่ของเราเห็นแล้วจักกินเนื้อเราหรือ มาเถอะ เราจะพาเด็ก ๆ ไปรู้จักสกุลตายาย แต่สามีนางกล่าวว่า ฉันพาเธอและลูก ๆ ไปยังตระกูลเธอได้ แต่ฉันไม่อาจอยู่สู้หน้ากับบิดา มารดาของเธอได้ นางผู้เป็นภรรยาจึงกล่าวว่า ดีละนาย เราควรให้เด็ก ๆ เห็นตระกูลตา ด้วยอุบายอย่างหนึ่งจึงควร ทั้งสองคนจึงพาทารกไปจนถึงกรุงราชคฤห์ เมื่อถึงแล้วได้พักที่ศาลาแห่งหนึ่งใกล้ประตูนคร มารดาเด็กจึงได้ส่งข่าวไปบอกแก่มารดาบิดาว่า ตนได้พาบุตร ๒ คนมา อันว่าสัตว์ที่เวียนว่ายอยู่ ในสงสารวัฎ ชื่อว่าจะไม่เป็นบุตรจะไม่เป็นธิดากันไม่มี มารดาบิดาของนางเมื่อได้ฟังข่าวนั้นแล้วก็ส่งคำตอบไปว่า คนทั้งสองมีความผิดต่อตระกูลมาก  ทั้ง ๒ คนไม่อาจอยู่ในตระกูลได้  จงเอาทรัพย์เท่านี้ไปและจงไปอยู่ยังสถานที่ที่เหมาะสมเถิด แต่จงส่งเด็กๆ มาให้เรา ธิดาเศรษฐีรับเอาทรัพย์ที่มารดาบิดาส่งไป แล้วมอบเด็กทั้ง ๒ ไว้ในมือคนที่มาส่งข่าวแล้วนั้น ตั้วแต่นั้นมาเด็กทั้ง ๒ นั้นเติบ โตอยู่ในตระกูลของตา

 
138  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:03:47 am
กำเนิดเป็นจุลปันถกในสมัยพระสมณโคดมพุทธเจ้า

ได้ยินว่า ธิดาของธนเศรษฐีในกรุงราชคฤห์ กระทำการลักลอบได้เสียกับทาสของตนเอง แล้วก็กลัวว่าเรื่องจะปิดเอาไว้ไม่อยู่ก็จะเป็นอันตรายแก่ตนและสามี จึงได้คิดที่จะไปยังถิ่นที่ไม่มีคนรู้จัก จึงได้รวบรวมเอาแต่ของที่สำคัญ ๆ แล้วก็หนีออกไปจากเมืองนั้น ต่อมานางก็เกิดตั้งครรภ์ ครั้นเมื่อครรภ์แก่จัด นางจึงปรารถนาจะกลับไปคลอดยังตระกูลของตน แต่เมื่อครั้นนางปรึกษากับสามี สามีก็ผัดผ่อนเรื่อยมา จนกระทั่งครรภ์แก่จัด นางจึงตัดสินใจออกจากเรือนของตนเดินทางไปยังตระกูลของนาง แล้วได้สั่งความไว้กับเพื่อนบ้านว่าให้บอกสามีว่าตนจะไปคลอดยังตระกูลของนาง ครั้นเมื่อสามีของนางเดินทางกลับมาถึงบ้านก็ทราบว่านางเดินทางไปยังตระกูลตนก็ได้ติดตามไป และไปทันกันในระหว่างทาง และนางก็ได้คลอดบุตรในระหว่างทางนั้นเอง ทั้งสองจึงได้ตัดสินใจเดินทางกลับด้วยเห็นว่าไม่มีประโยชน์ที่จะกลับไปยังตระกูลของนางผู้เป็นภรรยาเนื่องจากนางก็ได้คลอดเสียแล้ว สองสามีภรรยาตั้งชื่อ บุตรว่า ปันถกะ เพราะทารกนั้นเกิดในระหว่างทาง ต่อมาอีกไม่นานนัก นางก็ตั้งครรภ์บุตรอีกคนหนึ่ง เรื่องก็เป็นอย่างเดิมอีก คือบุตรคนที่สองก็ได้เกิดระหว่างทางเช่นเดียวกัน เขาจึงตั้งชื่อบุตรที่เกิดก่อนว่า มหาปันถก บุตรที่เกิด ที่หลังว่า จุลปันถก

 
139  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:03:36 am
บุรพกรรมในสมัยพระกัสสปพุทธเจ้า

ครั้นท่านจุติจากภาพนั้นแล้วไปบังเกิดในเทวโลก เมื่อ ๒ พี่น้องเวียนว่ายอยู่ใน เทวดาและมนุษย์ล่วงไปถึงแสนกัป จุลปันถกะได้ออกบวชในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เจริญโอทาตกสิณ ตลอดเวลา ๒๐,๐๐๐ ปี  ครั้งหนึ่งในระหว่างที่บวชอยู่นั้นท่านเป็นผู้มีปัญญา และได้กรรมโดยทำการหัวเราะเยาะ ในเวลาที่ภิกษุผู้เขลารูปหนึ่งเรียนอุเทศ ภิกษุนั้นเกิดความอายเพราะการเย้นหยันนั้นจึงไม่เรียนอุเทศ ไม่ทำการสาธยาย จึงเป็นผลกรรมส่งผลในสมัยปัจจุบันที่ท่านได้เป็นผู้โง่เขลา ไม่สามารถเรียนรู้พระธรรมได้เร็ว

นับแต่นั้น เขาได้สั่งสมบุญทั้งหลาย ท่องเที่ยวไปในภูมิเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เสวยสมบัติทั้งสองอยู่ 
 
140  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:03:15 am
บุรพกรรมในสมัยพระปทุมุตตรพุทธเจ้า

ก็ในอดีตกาลครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ มีกุฎมพี ๒ พี่น้อง เป็นชาวเมืองหงสวดี เลื่อมใสในพระศาสดาไปฟังธรรมในสำนักพระศาสดาเป็นนิตย์ วันหนึ่งน้องชายได้เห็นพระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งผู้ประกอบด้วยองค์ ๒ ไว้ใน ตำแหน่งเอตทัคคะว่า ภิกษุรูปนี้เป็นยอดของเหล่าภิกษุผู้เนรมิตกายมโนมัย และเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะในศาสนาของเรา จึงคิดว่า น่าอัศจรรย์หนอ ภิกษุนี้เป็นคนเดียวทำ ๒ องค์ให้บริบูรณ์ได้ แม้เราก็ควรเป็นผู้บำเพ็ญมีองค์ ๒ เที่ยวไปในศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคตเช่นกันดังนี้

เขาจึงนิมนต์พระศาสดา ถวายมหาทานสิ้นเวลา ๗ วัน แล้วทูลพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุที่พระองค์สถาปนาไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า เป็นยอดในศาสนาของพระองค์ด้วยองค์มโนมัย และด้วยความเป็นผู้ฉลาดในเจโตวิวัฎฎะ ใน ๗ วันก่อนนี้ ขอให้ข้าพระองค์ก็ได้เป็นเหมือนภิกษุนั้น ด้วยผลแห่งบุญที่ข้าพระองค์กระทำนี้เถิด พระศาสดาทรงตรวจดูอนาคตก็ทรงเห็นว่า ความปรารถนาท่านจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ว่า ในอนาคตในที่สุดแห่งแสนกัป พระพุทธเจ้าพระนามว่า โคตมะ จักทรงอุบัติขึ้น พระองค์จักสถาปนาเธอไว้ในฐานะทั้ง ๒ นี้ ดังนี้ ทรงกระทำอนุโมทนา แล้วเสด็จกลับไป

.แม้พี่ชายของท่านในวันหนึ่ง เห็นพระศาสดาทรงสถาปนา ภิกษุผู้ฉลาดในปัญญาวิวัฎฎะไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะก็กระทำบุญกุศลเหมือนอย่างนั้น กระทำความปรารถนาที่จะเป็นเช่นภิกษุนั้น พระ ศาสดาก็ทรงพยากรณ์ท่านเช่นเดียวกัน แล้วทั้ง ๒ พี่น้องนั้น เมื่อพระศาสดาปรินิพพานแล้ว ได้กระทำการะบูชาด้วยทองที่พระเจดีย์ที่บรรจุพระสรีระ

ในจุลลปันถกเถราปทาน ได้กล่าวถึงท่านไว้อีกอย่างหนึ่งดังนี้

ในสมัยแห่งพระปทุมุตระพุทธเจ้า ท่านได้เป็นดาบสบำเพ็ญภาวนาอยู่ในอาศรมใกล้ภูเขาหิมวันต์ ครั้งหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จหลีกเร้นออกจากหมู่พระสาวก ประทับอยู่ ณ ภูเขาหิมวันต์ ท่านได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับนำเอาฉัตรประกอบด้วยดอกไม้และใบบัว ๗ ใบเข้าไปถวายพระบรมศาสดา ท่านได้ประคองฉัตรดอกไม้ด้วยมือทั้งสองถวายแด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงรับทรงอนุโมทนา แล้วตรัสว่า ดาบสได้ประคองฉัตรใบบัว ๗ ใบให้แก่เรา เราจักพยากรณ์ดาบสนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว

ดาบสนี้จักเสวยเทวรัช สมบัติอยู่ตลอด ๒๕ กัป และจักเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๔ ครั้ง จะท่องเที่ยวสู่กำเนิดใดๆ คือ ความเป็นเทวดาหรือมนุษย์ ในกำเนิดนั้นๆ จักทรงไว้ซึ่งดอกปทุมอันตั้งอยู่ในอากาศ ในแสนกัป พระศาสดาพระ นามว่าโคดมโดยพระโคตร ซึ่งมีสมภพในวงศ์พระเจ้าโอกกากราช จักเสด็จอุบัติในโลก ดาบสผู้จักได้ความเป็นมนุษย์ เมื่อพระศาสดาทรงประกาศพระศาสนา จักเป็นผู้สามารถในการเนรมิตกายอันบังเกิดแล้วด้วยใจ จักมีพี่ชายซึ่งมีชื่อว่าปันถกเหมือนกับตน แม้ทั้งสองคนเสวยประโยชน์อันสูงสุดแล้ว จักยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง

 
141  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 09:02:54 am
:25:   ประวัติพระจุลปันถกเถระ   :25:

เอตทัคคะเลิศกว่าพวกภิกษุผู้นฤมิตกายอันสำเร็จด้วยใจ

เอตทัคคะเลิศกว่าพวกภิกษุผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ


 พระเถระรูปนี้ ได้บำเพ็ญบุญสมภารไว้ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อน ๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานในภพนั้น ๆ ไว้เป็นอันมาก และการที่พระพุทธองค์ทรงแต่งตั้งท่านให้เป็นเอตทัคคะถึง ๒ ประการเช่นนั้น ด้วยเหตุ ๒ ประการคือ เหตุที่ท่านมีคุณอันยิ่งกว่าเหล่าภิกษุทั้งหลายในเรื่องดังกล่าว คือภิกษุรูปอื่นๆ เมื่อประสงค์จะนิรมิตกายด้วยการอธิฐานย่อมนิรมิตได้ ๓ รูป หรือ ๒ รูป หรือย่อมนิรมิตหลายรูปให้เป็นเหมือนกับรูปเดียวได้ และทำกิริยาอาการได้อย่างเดียวเท่านั้น แต่พระจุลปันถกเถระนิรมิตได้ ๑,๐๐๐ รูปโดยนึกครั้ง เดียวเท่านั้น และทั้ง ๑,๐๐๐ รูปนั้นก็สามารถทำกิริยาอาการได้ต่าง ๆกัน  มิได้ทำกิริยาอาการอย่างเดียว เพราะฉะนั้นพระเถระจึงเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุผู้นิรมิตกายสำเร็จแต่ใจ  นอกจากนั้นยังเนื่องมาจากการที่ท่านได้ตั้งความปรารถนาไว้ตลอดแสนกัป อีกด้วย ตามเรื่องที่จะกล่าวตามลำดับดังต่อไปดังนี้
 
142  กรรมฐาน มัชฌิมา / เกี่ยวกับ วัด พระสงฆ์ พระธาตุ พระเครื่อง / Re: ขอประวัติ พระจูฬปันถก ด้วยคะ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 18, 2010, 02:50:50 am
 ;) :72:  เห็นพี่ณฐพลสันต์ บอกว่าวันที่ 22 ครับถึงจะกลับมาตอบ  ผมเลยอาสาตอบให้ก่อน เพราะพี่เค้าถือศีล 8 อยู่ที่วัดครับ
143  กรรมฐาน มัชฌิมา / กิจกรรมของ สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน / Re: อาจารย์สนธยานำคณะศิษย์กรรมฐาน สระบุรี ร่วมแสดงมุทิตา หลวงพ่อจิ๋ว เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2010, 04:40:00 pm
 :25: :s_good: :25:
144  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2010, 03:19:57 pm
 :25: :25: :25: :25:   
145  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา เมื่อ: กุมภาพันธ์ 17, 2010, 01:48:20 pm
การจำแนกองค์คุณ 9 ประการ โดยระดับแห่งศีล สมาธิ ปัญญา   
 
146  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ฝึก กรรมฐาน เดือน กุมภาพันธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 05:21:45 pm
ที่ไม่สามารถรับเนื่องจาก
กำลังพิจารณา อยู่ เพราะพื้นที่ในการใช้งานไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการติดต่อมาจำนวนมาก
147  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: มีญาติ ป่วยเป็นโรคแบบไม่ทราบสาเหตุ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 09:02:32 am
โรคประเภท รักษา ไม่หาย
คงต้องใช้ กรรมฐาน เท่านั้นแหละครับ ถึงจะล้างมันออกไปได้
 
ถ้าจะไปเสียให้พวกพ่อมดหมอผี ก็จะเสียเวลาป่าว เสียตังค์ด้วย
 
ใช้พุทธานุสติ เพื่อขอบารมีท่าน จะได้บรรเทา กรรมได้ครับ
 
สาธุล่วงหน้า 
148  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: กรรมฐาน จะช่วยชีวิตได้อย่างไรครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 16, 2010, 08:37:28 am
ในความคิดผม    :25: :25:
ธรรมะ  คือ ธรรมชาติ
การปฏิบัติธรรม คือการเข้าไปรู้ เข้าไปเห็น ตามความเป็นจริง เพื่อความสงบ และ สันติสุข
กรรมฐาน เป็นเครื่องมือ เป็นวิธีการ เพื่อให้เข้าถึง ธรรมะ ให้เร็วขึ้น ง่ายขึ้น ตรงขึ้น
 
และเมื่อ เข้าถึงธรรม จากกรรมฐาน ความเห็น ความเข้าใจ ตามความเป็นจริง ก็จะทำให้ตนเอง
และบุคคลรอบข้าง เกิดความสงบและสันติสุข ครับ
 :25: :25: :25:
149  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: การปฏิบัติสมาธิ โดยใช้เสียงเพลงนำ เป็นสมาธิ หรือป่าวครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2010, 04:38:05 pm
ผมก็ชอบฟังนะ เพราะมันทำให้เพลินดี เปิดเบาๆ พอฟังได้
 ::) ::) ::) ???
150  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ฝึก กรรมฐาน เดือน กุมภาพันธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2010, 11:05:59 am
 :angel: :angel: ;D ;D :angel: :angel:
151  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ย้ายแล้ว: บรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อนวัดแก่งขนุน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 15, 2010, 06:48:25 am
หัวข้อนี้ได้ถูกย้ายไปบอร์ด กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน.

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=357.0
152  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ขณิกะ อุปจาระ และ อัปนาสมาธิ มันมีความแตกต่างกันไหมครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 04, 2010, 09:33:09 pm
อ้างถึง
ขณิกสมาธิ คือ สมาธิที่พึ่งเริ่มจับตัวได้ชั่วขณะ หรือ ปะเีดี๋ยวปะด๋าว
สำหรับ ผู้รู้ทางปริยัติ ก็จะว่าเป็นสมาธิ ที่มีชั่วขณะ แต่สำหรับผู้ปฏิบัติภาวนาแล้ว ขณิกะสมาธิ มีถึง 3 ระดับ
แบ่งออกเป็น หยาบ กลาง และประณีต เท่าที่ผู้ฝึกในกรรมฐาน

สำหรับ ขณิกสมาธิ หมายถึงจิตที่เดินเข้าสู่ องค์แห่งปีติทั้ง 5 ไ้ด้
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ ก็ ระดับ 3 ของปฐมฌานแล้ว
อ้างถึง
อุปจารสมาธิ คือ สมาธิที่รวมตัวได้ค่อนข้างแน่นอน แต่ยังไม่มั่นคง

สำหรับ อุปจาระสมาธิ เป็นสมาธิที่เฉียดเป็น ฌาน แต่ผลของ สมาธิ ตั้งจิตอยู่ในความสุขสมาธิ
พูดเทียบอารมณ์ในกรรมฐาน แล้ว ผ่าน วิตก ผ่าน วิจาร เข้าสู่ปีติ และ สุข ก็ ระดับ 4 ของปฐมฌานแล้ว
ผู้ได้ อุปจาระสมาธิ ในปฏิสัมภิทามรรค และ อภิธรรม ปริจเฉทที่ 9 นั้นกล่าวว่า จิตตั้งอยู่ในสุขตั้งแต่ 1 ทิวาราตรี ( 24 ชั่วโมง ) ดังนั้นในสายสุกขวิปัสสก ย่อมเข้า อุปจาระสมาธิ แล้วพิจารณาองค์ วิปัสสนา ย่อมสำเร็จ มรรค ผล ในวิปัสสนา สำเร็จเป็นพระอริยะบุคคลสุกขวิปัสสก เจริญอุปจาระสมาธิในองค์วิปัสสนา ที่รูแจ้งในวิปัสสนา นี้เรียกว่า ผลสมาบัติ

อ้างถึง
อัปนาสมาธิจะเป็นพวกที่เล่นฌานใช้กัน คือจะดำดิ่งไม่รับรู้ภายนอก อยู่ในองค์อย่างเดียว จัดเป็นสมถะร่วนๆ
อัปปนาสมาธิ นั้นหมายถึงจิต ที่รวมเป็นเอกัคคตารมณ์ คือ รวมศูนย์จิตได้เป็นหนึ่งเดียว ตั้งแต่ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ( ในส่วนรูปฌาน )
อากาสานัญจายตนะฌาน อากิญจัญยายตนะ วิญญานัญจายตนะฌาน เนวนาสัญญายตนะฌาน ( อรูปฌาน ) ผู้ที่เข้าฌานได้ ไม่ได้ตัดอารมณ์ภายนอก แต่หากมีอารมณ์ รับรู้ได้ทั้งภายในและภายนอก ในแนวกรรมฐานทั่วไปนั้น จัดเป็นสมถะัล้วน ๆ อาจจะใช่ แต่ถ้าผู้ใดได้ฝึก อานาปานสติ อันประกอบด้วย สโตริกาญาณ 16 และ ญาณสติถึง 200 ญาณสติ ก็ไม่ได้เป็นสมถะ อย่างที่ท่านทั้งหลาย เข้าใจ

นี่เป็นข้อความที่ปรากฏใน อานาปานสติสูตร และ ฌานุเบกขาสูตร ตัตรมัชฌุเบกขาสูตร ในพระอภิธรรม


อนุโมทนา สาธุ จ้า
ละเอียดจริงๆ เข้าใจแล้ว และจะตั้งใจปฏิบัติให้ยิ่งๆ ขึ้นไปครับ
153  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คนฝึกกรรมฐาน จะรู้อนาคต ได้จริงหรือป่าวครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 09:11:55 pm
กว่าจะถึงอรหันต์
พระวังคีสเถระ

เคาะกระโหลกของคนตาย
รู้ไปนรกสวรรค์
แต่กระโหลกอรหันต์
เคาะพลันไม่รู้ที่ไป.

อดีตชาติของพระวังคีสเถระนั้น เคยเกิดในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า ปทุมุตระ เติบโตอยู่ใน ตระกูลผู้มั่งคั่งแห่งนครหังสวดี

วันหนึ่ง ได้มีโอกาสเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ได้ฟังธรรมเทศนาแล้ว เกิดปีติ อันประเสริฐยิ่ง ยินดีในคุณของพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้ง ให้เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุ ที่มีปฏิภาณ (ไหวพริบใน การกล่าวโต้ตอบได้ฉับพลันทันทีและแยบคาย) จึงนิมนต์พระพุทธเจ้า พร้อมด้วยหมู่สงฆ์ ให้เสวย และ ฉันภัต (อาหาร) ตลอด ๗ วัน

ในวันสุดท้ายนั้น ได้ถวายผ้าครอง แล้วหมอบกราบลงที่พระบาททั้งสองของพระองค์ จากนั้นจึง ลุกขึ้น ยืนประนมมือในที่อันควร ด้วยความศรัทธาเบิกบานใจ แล้วกล่าวสรรเสริญคุณของ พระองค์ อย่างมากมาย ปรารถนาจะเป็นภิกษุผู้เลิศด้วยปฏิภาณอย่างนั้นบ้าง

พระพุทธองค์ก็ได้ทรงพยากรณ์เขาว่า ในอนาคตกาลเขาจะได้เช่นนั้นสมดังปรารถนา เขายินดียิ่งนัก มีจิตประกอบด้วยเมตตา กระทำกุศลผลบุญจนตลอดสิ้นอายุขัย

ก็เพราะกรรมดีที่ได้สะสมไว้นั่นเอง ในการเกิดชาติสุดท้ายนั้น จึงได้เกิดที่นครสาวัตถีของ แคว้นโกศล ในสกุลปริพาชก (นักบวชพวกหนึ่งในชมพูทวีป ชอบสัญจรไปที่ต่างๆ เพื่อแสดง ทรรศนะปรัชญา ทางศาสนาของตน) ในวังคชนบท จึงได้ชื่อว่า วังคีสะ

เพียงแค่อายุได้ ๗ ขวบ ก็เป็นผู้รู้พระเวท (ความรู้ทางศาสนา) ทุกคัมภีร์ แกล้วกล้าในวาทศาสตร์ (วิชาว่าด้วยศิลปะการใช้ถ้อยคำให้ประทับใจ) มีเสียงไพเราะ มีถ้อยคำอันวิจิตร สามารถย่ำยีวาทะ ของผู้อื่นได้

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงมัวเมาในวาทะเป็นเลิศของตน ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ จากบ้านสู่บ้าน จากเมือง สู่เมือง โต้ตอบวาทะกับใครๆจนเป็นที่เลื่อมใสของมหาชนเป็นอันมาก

ครั้นผ่านกาลไป จนกระทั่งเป็นผู้รู้เดียงสาดีแล้ว แต่ยังอยู่ในช่วงปฐมวัย (อายุ ๑-๓๓ ปี) วันหนึ่ง ณ นครราชคฤห์ของแคว้นมคธ อันมีความเจริญรุ่งเรืองยิ่ง เต็มไปด้วยคณาจารย์เจ้าลัทธิต่างๆ วันนั้น วังคีสะได้พบเข้ากับพระสารีบุตรเถระ ท่านถือบาตรเดินอย่างสำรวมดี ตาไม่ลอกแลก แลดูเพียงระยะ ชั่วแอก พูดแต่พอประมาณ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ด้วยอาการอันน่าเลื่อมใส

วังคีสะเห็นแล้วเป็นที่อัศจรรย์ใจตนยิ่งนัก ถึงกับกล่าวชมเชยพระสารีบุตรเถระ ด้วยถ้อยคำ อันวิจิตร เป็นอันมาก แต่พระเถระได้บอกแก่เขาว่า

"พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาของเราต่างหาก ที่ควรได้รับการชมเชยนั้น"

แล้วพระเถระผู้เป็นนักปราชญ์ยอดฉลาด ก็ได้สนทนาเป็นอย่างดียิ่งแก่วังคีสะ ให้ยินดีด้วย ปฏิภาณ อันวิจิตร ถ้อยคำอันประกอบด้วยวิราคธรรม (ธรรมอันเป็นไปเพื่อความสิ้นราคะ) ที่หาฟังได้ยาก ทำให้วังคีสะ เบิกบานในธรรม บังเกิดความศรัทธาแรงกล้า ถึงกับซบศีรษะ ลงแทบเท้าของท่าน แล้วขอว่า

"ได้โปรดบรรพชาให้กระผมด้วยเถิด"

เมื่อเป็นดังนี้ พระสารีบุตรเถระจึงพาวังคีสะไปเฝ้าพระพุทธเจ้าองค์สมณโคดมในวันนั้น ได้เข้าเฝ้า แล้ววังคีสะ ซบศีรษะลงที่พระบาทของพระศาสดา แล้วนั่งลงในที่ใกล้ๆนั้น

พระพุทธองค์เห็นวังคีสะแล้ว ทรงสนทนาด้วย และตรัสถามว่า

"ดูก่อนวังคีสะ ได้ฟังมาว่าท่านสามารถเก่งกล้ารู้วิชามากมาย แม้เพียงได้เคาะศีรษะของ คนที่ตาย ไปแล้ว ก็รู้ว่าตายแล้วจะไปสู่สุคติ (ทางไปดี) หรือทุคติ (ทางไปชั่ว) จริงหรือไม่?"

วังคีสะก็ทูลรับรองความจริงข้อนี้ของตน

"ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้มนต์ชื่อฉวสีสะ เพียงใช้เล็บมือเคาะศีรษะ แม้ของคน ที่ตาย ไปถึง ๓ ปีแล้ว ก็จะรู้ได้ถึงที่ที่เขาไปเกิด นั่นเป็นวิชาพิเศษที่ข้าพระองค์มีจริง"

พระศาสดาทรงฟังคำตอบแล้ว จึงให้นำกระโหลกศีรษะมา ๓ อัน ให้วังคีสะบอกที่ไปของ เจ้าของ ศีรษะเหล่านั้น วังคีสะเคาะศีรษะแรกแล้ว กราบทูลอย่างภาคภูมิใจว่า

"เป็นศีรษะของคนที่ไปเกิดในนรก (ทุคติ) พระเจ้าข้า"

พอเคาะศีรษะที่สอง ก็ทูลอย่างเชื่อมั่นว่า

"เป็นศีรษะของคนที่ไปเกิดเป็นเทวดา (สุคติ) พระเจ้าข้า"

เมื่อเคาะศีรษะสุดท้าย เขาไม่อาจรู้ถึงที่ไปเกิดของเจ้าของศีรษะนั้นได้ แม้จะร่ายมนต์ซ้ำแล้ว ซ้ำอีก เคาะกระโหลกศีรษะ อยู่เนิ่นนานก็ตาม จนเหงื่อไหลหยดจากหน้าผาก หมดมานะถือดี ในวิชาของตน ได้แต่นิ่งอยู่

พระศาสดาทรงเห็นเช่นนั้น จึงตรัสถามว่า

"ลำบากไหม วังคีสะ"

"ข้าพระองค์ไม่สามารถรู้ที่ไปเกิดของท่านผู้นี้ได้ ถ้าพระองค์ทรงทราบ โปรดตรัสบอกเถิด"

"เรารู้ดี ทั้งรู้ยิ่งกว่านี้อีกด้วย นี้เป็นศีรษะของพระอรหันต์ ผู้หมดกิเลสสิ้นเกลี้ยงแล้ว ไปสู่ปรินิพพาน (ไม่เกิดอีกแล้วในที่ไหนๆ)"

วังคีสะฟังคำตรัสจบ ก็หมอบกราบลงจรดพระบาทของพระศาสดา อ้อนวอนขอบรรพชาทันที พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงรับสั่งกับพระนิโครธกัปปเถระที่อยู่ใกล้ๆ

"เธอจงเป็นอุปัชฌาย์ (ผู้นำเข้าบวชในหมู่สงฆ์และเป็นผู้ปกครองดูแลรับผิดชอบฝึกสอน ให้การศึกษา) ให้วังคีสะบวชเถิด"

เมื่อบวชแล้วได้ไม่นาน วังคีสภิกขุอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ เขตเมืองอาฬวี กับพระนิโครธกัปปะ ผู้เป็น อุปัชฌาย์ เพราะยังเป็นภิกษุใหม่เพิ่งบวช จึงให้คอยดูแลเฝ้าวิหารไว้

มีอยู่วันหนึ่ง สตรีสาวหลายคนล้วนแต่งกายประดับประดาเสียงดงาม ได้พากันเข้าไปในวิหาร ภิกษุวังคีสะ เห็นสตรีเหล่านั้นแล้ว ก็เกิดความกระสันขึ้น มีความกำหนัดยินดีรบกวนจิตใจ จึงบังเกิด ความสลดใจด้วยคิดว่า

"ไม่ใช่ลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ ที่เกิดความกำหนัดรบกวนจิต ก็แล้วเราจะมัว รอใคร มาช่วยบรรเทากิเลสให้เล่า อย่ากระนั้นเลย เราควรบรรเทาความกำหนัดเสีย ทำให้จิต ยินดีในกุศล เกิดขึ้นแก่ตน ด้วยตนเองเถิด"

ภิกษุวังคีสะจึงตั้งจิตเจริญวิปัสสนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งเห็นจริง) สอนตนเองว่า

"ยอดนักแม่นธนูฝีมือเลิศ มีใจแกล้วกล้ามั่นคง สามารถยิงลูกศรออกไป ทำให้ศัตรูตั้งพันหนี กระจัด กระจายไปได้ ฉันใด

แม้สตรีมากยิ่งกว่าพันจะมา ก็ไม่อาจจะเบียดเบียนเราได้ฉันนั้น เพราะเราเป็นผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ในธรรม เป็นผู้ออกบวชแล้ว เป็นผู้ไม่มีเหย้าเรือนแล้ว มีใจยินดีไปในทางสู่พระนิพพาน

ภิกษุควรละการครุ่นคิดไปในกาม ละความยินดีในภรรยาและบุตร ละการครองเรือน โดยประการ ทั้งปวง ไม่สร้างตัณหา (กิเลสทะยานอยาก) ดังป่าชัฏในที่ไหนๆอีก เพราะทุกสิ่ง ในโลกเป็นของไม่เที่ยง ล้วนต้องทรุดโทรมแตกทำลายไปทั้งสิ้น ผู้ที่รู้แจ้งแทงตลอดอย่างนี้ได้ ย่อมเป็นผู้หลุดพ้น

ปุถุชน(คนกิเลสหนา)ย่อมติดหลง หมกมุ่นพัวพันอยู่กับรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง กลิ่นที่ได้ดม รสที่ได้ลิ้ม และสัมผัสที่ได้แตะต้อง แต่ภิกษุควรเป็นผู้ไม่หวั่นไหว กำจัดความพอใจในกามคุณ ๕ นั้นเสีย เพราะผู้ไม่ติดอยู่ในกามคุณ ๕ บัณฑิตเรียกว่า มุนี (ผู้มีปัญญารู้แจ้ง)

ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต มีใจมั่นคงได้แล้ว เป็นผู้ไม่ลวงโลก มีปัญญาแก่กล้า ไม่ทะเยอทะยาน ดับกิเลส ได้สิ้นเกลี้ยง ย่อมรอคอยเวลาเฉพาะปรินิพพานเท่านั้น"

ภิกษุวังคีสะจึงบรรเทาความกำหนัดได้ด้วยตนเองเช่นนี้ กระทั่งมีอยู่วันหนึ่ง มีโอกาสเป็น ปัจฉาสมณะ (พระผู้ติดตามหลัง) ของพระอานนท์เถระ จึงถามถึงวิธีดับราคะ พระเถระ ได้สอนว่า

"จิตเร่าร้อนถึงกามราคะ ก็เพราะความสำคัญผิด สัญญาวิปลาส (จิตกำหนดรู้คลาดเคลื่อน จากความจริง) ฉะนั้นท่านจงละเว้นนิมิต (ต้นเหตุ) ที่สวยงามเสีย เพราะนิมิตนั้นเป็นที่ตั้ง แห่งราคะ จงเห็นสังขารทั้งหลายเป็นของแปรปรวน-เป็นทุกข์-ไม่ใช่ของตน จงดับราคะ อันแรงกล้า อย่าให้ถูก ราคะเผาผลาญบ่อย จงเจริญจิตในอสุภกัมมัฏฐาน (พิจารณา เห็นสังขาร เป็นของสกปรกน่ารังเกียจ) อบรมจิตให้ตั้งมั่นเด็ดเดี่ยวด้วยดี จงมีกายคตาสติ (สติในการ พิจารณากายเพื่อลดละกิเลส) เป็นผู้มากด้วยความเบื่อหน่ายในกาม แล้วที่สุดจงถอนอนุสัย (กิเลสอย่างละเอียดที่แฝงตัว นอนเนื่อง อยู่ในสันดาน) คือ มานะ (ความถือตัว) เสียให้สิ้น เพราะการรู้เท่าทันมานะ จะทำให้ท่าน เป็นผู้สงบ ระงับกิเลสได้"

เมื่อได้วิธีปฏิบัติแล้ว ภิกษุวังคีสะก็ได้ลดละกามราคะจนเหลือเบาบางลงอย่างรวดเร็ว จึงเกิดปีติ ในมรรคผลของตนยิ่งนัก เพราะเป็นผู้มีไหวพริบปฏิภาณดีนั่นเอง แล้วก็เพราะเหตุดังนี้ จึงทำให้ บางครั้ง ก็บังเกิดจิตดูหมิ่นภิกษุทั้งหลายขึ้นมา แต่ก็ด้วยการฝึกฝนและปฏิภาณของตน นั่นแหละ ทำให้ได้สำนึกละอายแก่ใจ มีความคิดอบรมตนว่า

"ไม่เป็นลาภของเราหนอ เราได้ชั่วเสียแล้วหนอ ที่ได้ดูหมิ่นเพื่อนภิกษุทั้งหลายผู้มีศีลเป็นที่รัก ด้วยไหวพริบ ปฏิภาณของเรา

ฉะนั้นจงละทิ้งมานะ (ความถือตัว) เสีย ละทิ้งทางแห่งความเย่อหยิ่งให้หมดสิ้น เพราะผู้ลบหลู่ ใครๆ ให้มัวหมอง จะต้องได้รับความเดือดร้อนตลอดกาลนาน จะไปตกนรก (เร่าร้อนใจ) ของคน กิเลสหนา ต้องเศร้าโศก อยู่เพราะความทะนงตนแต่ถ้าหากปฏิบัติธรรมถูกตรง ชนะกิเลส ด้วยมรรค (ข้อปฏิบัติ ให้ถึงความดับทุกข์ได้คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมไม่เศร้าโศก จะได้รับ เกียรติคุณ และความสุข บัณฑิตทั้งหลาย จึงเรียกผู้กระทำได้เช่นนี้ว่า ผู้เห็นธรรม

เราไม่ควรมีกิเลสตรึงใจในโลกนี้ ควรมีแต่ความเพียรให้ถูกตรง ละนิวรณ์(กิเลสกั้นจิตไม่ให้ได้ดี แล้วเป็นผู้บริสุทธิ์ ละมานะไม่ให้มีเหลือ เป็นผู้สงบระงับกิเลสด้วยวิชชา (ความรู้แจ้ง)"

ก็เพราะความละอายใจในการดูหมิ่นภิกษุทั้งหลาย ภิกษุวังคีสะจึงพากเพียรบำเพ็ญตน ด้วยตนเอง จนหลุดพ้นมานะทั้งปวงได้ สามารถบรรลุธรรมสำเร็จ เป็นพระอรหันต์องค์หนึ่งแล้ว

แต่เพราะภิกษุทั้งหลายไม่รู้ว่า พระวังคีสเถระได้อรหัตตผลแล้ว และยังเห็นมีนิสัยมักกล่าวชม สรรเสริญ พระศาสดามากมายหลายที่หลายแห่งเสมอๆ ทั้งยังพูดจาไพเราะเหมือนประจบ เที่ยวยกย่อง สรรเสริญไปทั่ว ไม่ว่าจะเป็นพระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ พระอัญญาโกณฑัญญเถระก็ตาม โดยดูเหมือนว่าไม่ใส่ใจในการปฏิบัติธรรมเลย เหล่าภิกษุ จึงพากันสนทนากันว่า

"ท่านวังคีสะนี้อาศัยปฏิภาณเอาแต่พูดจาไพเราะ ไม่ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนธรรมอย่างแท้จริงเลย"

ครั้นพระศาสดาทรงรู้เรื่องแล้ว จึงได้ตรัสกับภิกษุทั้งหลายว่า

"ท่านวังคีสะบรรลุธรรมแล้ว ครอบงำทางผิดแห่งกิเลสมารได้แล้ว ทำลายกิเลสเครื่องตรึงใจ ได้หมดสิ้นแล้ว ปลดเปลื้องเครื่องผูกทั้งปวงแล้ว ตัณหามานะทิฐิไม่อาจอิงแอบได้เลย

เธอทั้งหลายจงรู้เถิดว่า วังคีสะสามารถจำแนกธรรม กล่าวธรรมได้ทันทีโดยไม่ต้องตรึกตรอง ไว้ก่อน ไม่มีใครอื่น จะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลายที่มีปฏิภาณ เหมือนดังวังคีสะนี้เลย

วังคีสะได้บอกทางไว้หลายประการ เพื่อให้ข้ามห้วงน้ำคือกามเป็นต้น ก็ในเมื่อวังคีสะ ได้บอกทาง อันไม่ตายไว้ให้แล้ว ภิกษุทั้งหลายที่ได้ฟังแล้ว ก็ควรเป็นผู้ตั้งอยู่ในความเป็น ผู้เห็นธรรม ไม่ง่อนแง่น คลอนแคลนในธรรม

วังคีสะเป็นผู้ทำแสงสว่างให้เกิดขึ้น แทงตลอดแล้วซึ่งธรรมฐิติ (ความมั่นคงในธรรม) ทั้งปวง แสดงธรรม อันเลิศตามกาลได้อย่างฉับพลัน เพราะรู้เองและทำให้แจ้งได้เอง

เมื่อวังคีสะแสดงธรรมด้วยดีแล้วอย่างนี้ พวกเธอจะประมาทไปไย ต่อธรรมของท่านผู้รู้แจ้ง แล้วเล่า จงอย่าประมาทเลย"

พระศาสดาทรงแต่งตั้งพระวังคีสเถระ ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ (ผู้ยอดเยี่ยมพิเศษในทางใด ทางหนึ่ง) ผู้เลิศด้วยปฏิภาณกว่าภิกษุทั้งปวงแล้ว พระเถระมีวิชชา ๓ (ความรู้แจ้ง ๑. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ = รู้ระลึกชาติของกิเลสตนได้ ๒. จุตูปปาตญาณ = รู้การเกิดและ ดับของกิเลสสัตว์โลกได้ ๓. อาสวักขยญาณ = รู้ความหมดสิ้นไปของกิเลสตนได้) ได้บรรลุแล้ว มีอภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ได้แล้วคือ อิทธิวิธี (มีฤทธิ์ทางใจสู้กิเลสได้) ทิพพโสต (หูทิพย์แยกแยะ กิเลสได้) เจโตปริยญาณ (รู้วาระจิต มีกิเลสหรือไม่ของตนและของผู้อื่น) และทิพพจักขุ (ตาทิพย์ มองทะลุกิเลสได้)

พระวังคีสเถระเผากิเลสทั้งปวงแล้ว หลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลายในโลกได้แล้ว เหมือนลูกศร หลุดออก จากแล่งไปแล้ว

ณวมพุทธ
พุธ ๑๔ เม.ย.๒๕๔๗
(พระไตรปิฎกเล่ม ๑๕ ข้อ ๗๒๗-๗๖๐
พระไตรปิฎกเล่ม ๒๖ ข้อ ๔๐๑
พระไตรปิฎกเล่ม ๓๓ ข้อ ๑๓๔
อรรถกถาแปลเล่ม ๕๓ หน้า ๔๘๔)

- สารอโศก อันดับที่ ๒๖๙ กุมภาพันธ์ - มีนาคม ๒๕๔๗ -

หาได้เท่านี้ครับ ต้องขออภัย
154  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: คนฝึกกรรมฐาน จะรู้อนาคต ได้จริงหรือป่าวครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 09:03:37 pm
แต่ผมยังไม่เคยได้ยินเลยครับ แต่ว่าเดียวจะลองหามาลงให้ครับ
แต่ก็รบกวนพี่ ณัฐพลสันต์ ด้วยครับ เพื่อพี่มีข้อมูลอยู่ครับ
155  เรื่องทั่วไป / แจ้งปัญหาการใช้งานบอร์ด / Re: อยากเล่าเรื่องกฏแห่งกรรม ครับ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 03, 2010, 06:28:43 pm
อยากเล่าเรื่องจริงชีวิตกฏแห่งกรรม ครับ

จะโพสต์ในห้องไหนดีครับ แนะนำหน่อยครับ มีหลายตอน จะพยายามพิมพ์มาลงให้ครับ
ห้องส่งจิตออกนอก ได้เลยครับ
156  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ยืน เดิน นั่ง นอน ท่านชอบอิริยาบถไหน เมื่อ: กุมภาพันธ์ 02, 2010, 01:43:24 pm
ส่วนตัวแล้วชอบนั้ง (แบบติดสบาย) แต่อันที่ใจจริงคือ
แบบไหนก็ได้ T T ขอให้สำเร็จอย่างเดียว สาธุ ๆ ๆ
157  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ฝึก กรรมฐานเข้มข้น เดือน กุมภาพันธ์ เมื่อ: กุมภาพันธ์ 01, 2010, 10:18:09 am
อยากทราบวัตถุประสงค์ การอบรมพระกรรมฐานเข้มข้น เจ้าคะ
ตามนี้เลยจ้า
เรื่องรายชื่อ เป็นสิทธิส่วนบุคคล แสดงรายชื่อในนี้ไม่ได้ นะจ๊ะ
ถ้าอยากรู้จัก ฟ้าใส จะต้องมาวันที่ 19 20 21 กุมภาพันธ์ ด้วยนะจ๊ะ อาจารย์อยากให้มาด้วย

ส่วนการฝึกกรรมฐาน ฝึกกลุ่มละ  1 ครั้ง หมายความว่าจบสำหรับเบื้องต้น และก็จะประชาสัมพันธ์ ให้รุ่น 1
มาช่วยฝึก รุ่น 2 ( พระอาจารย์ จะได้เหนื่อยน้อยลงหน่อย )

เพิ่มเติมว่าฝึกความคล่องแคล่วในพระธรรมปีติ ส่วนลักษณะ ในรุ่นที่หนึ่ง
เพื่อให้รุ่นที่ 1 มาช่วยเหลือและให้กำลังใจในรุ่นที่ 2
เพื่อเป็นการพบปะ ศิษย์กรรมฐาน ที่ได้ร่วมปฏิบัติกับพระอาจารย์สนธยา


 
158  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: 20 สาเหตุที่ควรรู้ของชาวพุทธ... เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 09:03:41 pm
11. สาเหตุที่เกิดมายากจนขัดสน
 ๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว
 ๒. : ปล้นชิงวิ่งราว ลักเล็กขโมยน้อย
 ๓. : เสี้ยมสอนให้ผู้อื่นเป็นขโมย หรือชี้ช่องทาง
 ๔. : กล่าวชมเชยเทคนิคในการลักขโมย
 ๕. : รู้เห็นเป็นใจกับแก๊งมิจฉาชีพ ๑๘ มงกุฏ
 ๖. : รีดไถพ่อแม่จนอัตคัดฝืดเคือง
 ๗. : เบียดเบียนจตุปัจจัยของนักบวช ผู้ทรงศีล
 ๘. : เห็นเขามั่งคั่งร่ำรวยเกิดจิตคิดละโมบ
 ๙. : ขัดขวางผลประโยชน์ที่ผู้อื่นจะได้รับ
 ๑๐. : โขกสับคนจนอย่างไม่ปราณี
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงยากจน กล่าวคือมีฐานะความเป็นอยู่ค่อนข้างอัตคัด ขัดสนในปัจจัย ๔ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีพเป็นต้นว่าที่พักอาศัย ไม่มีเป็นของตน ต้องขออาศัยหรือเช่าทำมาหากิน บ้างขาดแคลนเสื้อผ้า สวมใส่ต้องทนเหน็บหนาวทุกข์ทรมาน บ้างข้างปลาอาหารไม่พอกินพอใช้ อด ๆ อยาก ๆ หาเช้ากินค่ำหรือต้องขอเขากิน บ้างยามเจ็บไข้ได้ป่วยเงิน ทองไม่เพียงพอค่าเยียวยารักษา ชีวิตมีหนี้สินล้นพ้นตัวเพราะมีเหตุให้เสีย ทรัพย์อยู่เสมอ กล่าวได้ว่าตกอยู่ในสภาพยากจนขัด
 
 
 12. สาเหตุที่เกิดมามั่งคั่งร่ำรวย
 ๑. : ใจบุญสุนทาน ชอบเผื่อแผ่แบ่งปัน
 ๒. : บริจาคทรัพย์สินเงินทองเป็นจำนวนมาก
 ๓. : ฝึกฝนผู้อื่นให้รู้จักการให้ การอุทิศเสียสละ
 ๔. : เห็นผู้อื่นทำบุญบริจาคก็บังเกิดจิตอนุโมทนา
 ๕. : กล่าวชมเชยผู้อุทิศตนบำเพ็ญประโยชน์
 ๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบภัย
 ๗. : พบเห็นคนอดอยากยากจนเกิดความสงสาร
 ๘. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่ไม่ขาดตกบกพร่อง
 ๙. : ถวายจตุปัจจัยแก่นักบวช ผู้ทรงศีล
 ๑๐. : เห็นเขาได้รับผลตอบแทนก็พลอยปลาบปลี้มยินดี
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมั่งคั่งร่ำรวย กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีฐานะความเป็นอยู่ ค่อนข้างสุขสบาย เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นเจ้าของมรดกฯ ชีวิตอุดม ด้วยปัจจัย ๔ และเงินทองทรัพย์สมบัติโชคลาภวาสนา กล่าวได้ว่าเกิดมา บนกองเงินกองทอง ไม่ต้องตรากตรำลำบากก็มีกินมีใช้จนชั่วชีวิต แต่ อย่างไรก็ดีหากชาตินี้ไม่สร้างบุญตุนไว้เป็นทุนสำรอง เท่ากับกินบุญเก่า ให้หมดไป เกิดชาติใหม่ไร้คนอุปถัมภ์ต้องถอยหลังไปเริ่มต้นตั้งหลักกว่า จะกรุยทางสร้างตัวขึ้นมาได้ก็ต้องรอจนถึงบั้นปลายชีวิตนั่นเอง.
 
 
 13. สาเหตุที่เกิดมาโง่เขลาเบาปัญญา
 ๑. : คบคนพาลเป็นมิตร (โง่เขลา, ชั่วร้าย)
 ๒. : เอาความรู้ความฉลาดไปใช้ในทางผิด
 ๓. : ไม่ได้ใช้ความรู้ความฉลากแยกแยะผิดชอบชั่วดี
 ๔. : เห็นเขามีความรู้การศึกษาเกิดความไม่สบายใจ
 ๕. : หวงแหนวิชาความรู้ อมภูมิไม่เปิดเผย
 ๖. : ปิดกั้นโอกาสในการเรียนรู้ (เผาโรงเรียน)
 ๗. : ยกย่องชมเชยคนทำความผิด
 ๘. : รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
 ๙. : ความคิดมิจฉา ขัดแข้งกับเหตุผล เชื่อเรื่องงมงาย
 ๑๐. : ลบหลู่พระธรรมคำสอน ฯ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงโง่เขลาเบาปัญญา กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดอ่าน ที่ตื้นเขิน พัฒนาการด้านสมองค่อนข้างเชื่องช้าเป็นต้นว่า หัวทึบ หัว ขี้เลื่อย สมองฝ่อ ความจำเสื่อม ไอคิวเตี้ย ไอเดียต่ำ ปัญญานิ่มฯ บุคคลเหล่านี้มีพฤติกรรมไม่เหมือนคนปกติ มักสับสนในตนเอง เข้าใจ เรื่องราวต่าง ๆ ได้ยากแม้ว่าเป็นเรื่องง่าย ๆ ของคนทั่วไป ชีวิตจึงหมด โอกาสทางด้านการศึกษา กล่าวได้ว่าเป็นบุคคลที่ตกอยู่ในสภาพเป็นรอง ผู้อื่นทางด้านความคิดไปตลอดชีวิตนั่นเอง.
 
 
 
 14. สาเหตุที่เกิดมาฉลาดปราดเปรื่อง
 ๑. : คบหาสมาคมกับบัณฑิต (ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์)
 ๒. : แบ่งปันความรู้ให้คำปรึกษาเป็นวิทยาทาน
 ๓. : ส่งเสริมผู้คนให้เห็นความสำคัญของวิชาความรู้
 ๔. : ถ่ายทอดวิชาความรู้ด้วยความเต็มใจ
 ๕. : เปิดโลกการศึกษาให้ชนทุกชั้น
 ๖. : ยกย่องชมเชยความคิดสร้างสรรค์
 ๗. : รู้จักแยกแยะผิดชอบชั่วดี
 ๘. : ไม่รังเกียจเหยียดหยามคนโง่เขลาเบาปัญญา
 ๙. : ความคิดเที่ยงตรง รับฟังเหตุผล ไม่หลงงมงาย
 ๑๐. : จรรโลงพระธรรมคำสอนฯ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงฉลาดปราดเปรื่อง กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีความคิดสติ ปัญญาเฉียบแหลม ไหวพริบปฏิภาณดีเยี่ยม พัฒนาการทางสมองโดด เด่น เรียนรู้ได้ไว มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ รู้รอบและรอบรู้ สารพัด บุคคลเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มผู้บริหาร นักวิเคราะห์ นักวางแผน ครู อาจารย์ ด็อคเตอร์ ศาสตราจารย์หรือนักวิทยาศาสตร์ซึ่งมีบทบาท ด้านวิจัย ด้านความรู้และการศึกษา กล่าวได้ว่าข้อได้เปรียบของบุคคล เหล่านี้คือมีความคิดและสติปัญญาที่เป็นเลิศนั่นเอง.สนชั่วชีวิตนั่นเอง.
 
 
 
 
 15. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์นรก
 ๑. : พอใจในการทำลายชีวิตคนหรือสัตว์ให้ตกล่วง
 ๒. : พอใจในการลักขโมย ทุจริต ฉ้อโกง ยักยอก
 ๓. : พอใจในการประพฤติผิดหญิงชาย (ทั้งที่เต็มใจหรือข่มขืน)
 ๔. : พอใจในการพูดโกหกหลอกลวงปลิ้นปล้อน
 ๕. : พอใจในการพูดจาเหลวไหลไร้สาระ
 ๖. : พอใจในการวิจารณ์นินทา ส่อเสียด ให้ร้ายป้ายสี
 ๗. : พอใจในการพูดจาหยาบคาย ด่าประณาม สาปแช่ง
 ๘. : พอใจในความอยากได้เป็นเจ้าของ (โดยไม่ชอบธรรม)
 ๙. : พอใจในการปองร้ายหรือวางแผนลอบทำร้ายผู้อื่น
 ๑๐. : พอใจในความคิดตามแบบฉบับของตน (ไม่สนถูกผิด)
 
 
 
 16. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเปรต
 ๑. : ตระหนี่ถี่เหนียว เห็นแก่ตัว:โลภในทรัพย์สินเงินทอง
 ๒. : ไม่ยินดีในการบริจาคให้ทาน: เพราะคิดว่าไม่มีผลกำไร
 ๓. : ทุจริต หลอกลวง ฉ้อราษฎร์บังหลวง
 ๔. : หาประโยชน์ในทางมิชอบ: ใช้อำนาจบังคับกดขี่ข่มเหง
 ๕. : ตัดสินบน ใช้ตำแหน่งบังหน้าหากิน
 ๖. : รีดไถ เก็บส่วน รีดนาทาเร้น ข่มขู่
 ๗. : ฉกชิงวิ่งราว เลี้ยงปากท้องด้วยมิจฉาอาชีพ
 ๘. : ปล่อยเงินกู้เรียกเก็บดอกเบี้ยอย่างขูดเลือดขูดเนื้อ
 ๙. : ทุบตีพ่อแม่ ใช้วาจาหยาบคาย เป็นคนเนรคุณ
 ๑๐. : ทำลายเครื่องให้ทานที่มีผู้นำไปถวายพระสงฆ์องค์เจ้าฯ
 
 
 
 
 17. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นอสุรกาย
 
 ๑. : มีใจอิจฉาริษยาเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า
 ๒. : หยิ่งยโส อวดดี ทะนงตน ใจมีอคติ
 ๓. : ดื้อรั้นเอาแต่ใจตนเอง
 ๔. : มารยาทต่ำทราม หยาบคาย
 ๕. : แก้ตัว มีแต่ข้ออ้าง ไม่รับผิดชอบ โยนความผิดให้ผู้อื่น
 ๖. : บันดาลโทสะ โกรธง่าย โมโหร้าน อารมณ์รุนแรง
 ๗. : ชอบกลั่นแกล้ง ทดสอบ ลองภูมิ เย้ยหยัน
 ๘. : มีจิตอาฆาตพยาบาลเคียดแค้น ไม่รู้จักให้อภัย รอทวงคืน
 ๙. : ใจคออำมหิตดุร้าย นิยมการทำลายใช้กำลัง เป็นอันธพาล
 ๑๐. : มีนิสัยชอบความฉิบหาย ชอบทำสงคราม ยกพวกตีกัน
 
 
 18. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน
 ๑. : เบียดเบียนชีวิตคนสัตว์ไม่เว้น (เกิดเป็นสัตว์หนีการตามล่า)
 ๒. : กู้หนี้ยืมสินไม่ชดใช้คืน (เป็นช้างม้าวัวควายใช้แรงงาน)
 ๓. : มักมายในกามราคะ ไม่รู้พอ (เป็นสัตว์ผสมพันธุ์ไม่เลือกหน้า)
 ๔. : ปากเป็นอาวุธสร้างวจีกรรมหนำใจ (เป็นสัตว์น้ำใช้ปากหายใจ)
 ๕. : มัวเมาในรสสุรายาเสพติดฯ (เป็นสัตว์ที่กินของสกปรก)
 ๖. : ทรยศต่อผู้มีคุณ ประเทศชาติบ้านเมือง
 ๗. : เชื่อว่าตายแล้วยังได้กลับมาเกิดเป็นคนอีกแม้ว่าทำชั่ว
 ๘. : เชื่อว่าชีวิตสัตว์ไม่ได้มาจากคน คนตายแล้วก็จบสิ้น
 ๙. : เช้าใจว่ากฎแห่งกรรมเป็นเรื่องงมงาย ชีวิตหลังความตายไม่มี
 ๑๐. : เชื่อว่าการเหนือเกิดพ้นตายเป็นเรื่องเกินความจริง
 
 
 
 19. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นมนุษย์
 ๑. : เว้นขาดจากการเบียดเบียนทำลายชีวิตคนสัตว์
 ๒. : เว้นขาดจากการขโมยของผู้อื่นเป็นของตน
 ๓. : เว้นขาดจากการประพฤติผิดหญิงชาย
 ๔. : เว้นขาดจากการใช้วาจาคำพูดไปสร้างความเสียหาย
 ๕. : เว้นขาดจากการเสพสุรายาเสพติด
 ๖. : มีใจเมตตาโอบอ้อมอารี เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
 ๗. : ทำมาหากินในทางสุจริต ไม่เอารัดเอาเปรียบ ไม่เห็นแก่ตัว
 ๘. : รู้จักผิดชอบชั่วดี บาปบุญคุณโทษ
 ๙. : มีมารยาท วาจาสุภาพไม่หยาบคาย มีสัมมาคารวะ
 ๑๐. : ใช้ความคิดสติปัญญาในทางที่ชอบ
 
 
 
 
 20. สาเหตุที่ไปเกิดเป็นเทพเทวา
 ๑. : มีใจเกรงกลัวและละอายต่อบาป
 ๒. : นิยมการทำบุญ บริจาคให้ทานอยู่เสมอ
 ๓. : มีจิตเมตตาสงสาร ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก
 ๔. : ประพฤติตนอยู่ในศีล
 ๕. : ใจเย็น สุขุม รู้จักควบคุมอารมณ์ รู้จักให้อภัย
 ๖. : มีวินัย เจ้าระเบียบ รักความสะอาดเรียบร้อย
 ๗. : พูดจาอ่อนหวาน ไพเราะเสนาะหู
 ๘. : มีความจริงใจ อัธยาศัยที่ดี เป็นมิตรกับทุกคน
 ๙. : รักษาสัจจะ ไม่ผิดคำพูด รักความยุติธรรม
 ๑๐. : เป็นผู้เจริญธรรม ชอบศึกษาใฝ่หาธรรม ยึดมั่นในความดี
 
 
 
 ...
 
 
 
 
 
 
 
 ที่มา หนังสือ "รู้ชีวิต กำหนดชีวิต"    
159  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / 20 สาเหตุที่ควรรู้ของชาวพุทธ... เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 09:03:05 pm
20 สาเหตุที่ควรรู้ของชาวพุทธ...

 1. สาเหตุที่เกิดมาอายุสั้น
 ๑. : เข่นฆ่าชีวิตสัตว์น้อยใหญ่ไม่เว้น
 ๒. : เรียกให้ผู้อื่นฆ่าหรือสั่งให้ฆ่า
 ๓. : ชื่นชมกับฝีมือการล่า/ฆ่าสัตว์ที่ตนไปเห็นมา
 ๔. : มีความสุขใจเมื่อเห็นคนกำลังล่า/ฆ่าสัตว์
 ๕. : หวังว่าคนที่เราเกลียดชังจะตายวันตายพรุ่ง
 ๖. : เห็นศัตรูคู่อริตายไป เกิดความสุขใจ
 ๗. : ทำลายรังของสัตว์เดรัจฉาน
 ๘. : เรียกให้ผู้อื่นทำลายหรือสั่งให้ทำลายรังของสัตว์
 ๙. : จัดงานบุญงานบวชแต่เอาชีวิตสัตว์น้อยใหญ่มาสังเวย
 ๑๐. : เห็นการทารุณสัตว์เป็นเรื่องสนุก (ชนไก่ ชนวัวฯ)
 ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุสั้น กล่าวคือมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ไม่นาน ต้องมี อันถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยเยาว์ วัยรุ่น หรือไม่พ้นวัยกลางคน อย่างไรก็ดี หากได้ชดเชยด้วยการทำความดีสร้างบุญกุศลบ้าง อาจต่อชะตาได้แค่ ช่วงหนึ่งเท่านั้น แต่ก็ไม่เสียเที่ยวได้เกิดมา ที่น่าเป็นห่วงสำหรับคนที่ยัง มัวตะบอยเสเพลเถลไถล ผลกรรมของการปาณาติบาตนั้นแรงมากยาก ผ่อนผัน ชีวิตต้องเผชิยเคราะห็ร้ายเป็นกิจวัตร พึงสำนึกอยู่เสมอว่า ความสุขสบายไม่ได้ช่วยให้อายุยืน จำต้องชดใช้ชีวิตคืนเมื่อถึงเวลา.
 
 2. สาเหตุที่เกิดมาอายุยืน
 ๑. : เว้นขาดจากการเข่นฆ่าทำร้ายชีวิตสัตว์น้อยใหญ่
 ๒. : ตักเตือนผู้อื่นให้ละเว้นการเข่นฆ่า
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
 ๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นผู้อื่นละเว้นการเข่นฆ่า
 ๕. : หาทางช่วยเหลือสัตว์ที่กำลังถูกฆ่า ถูกทรมาน
 ๖. : ปลอบขวัญให้กำลังใจแก่คนที่กำลังหวาดกลัว
 ๗. : คิดหาอุบายช่วยคนขวัญอ่อน
 ๘. : เห็นคนประสบเหตุเภทภัยก็บังเกิดความสงสาร
 ๙. : เห็นคนกลุ้มอกกลุ้มใจก็คิดหาวิธีช่วยเหลือ
 ๑๐. : บริจาคข้าวปลาอาหารแก่ผู้อดอยากหิวโหย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมทีได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีอายุยืน แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ไม่ได้เข่นฆ่าทำลาย ชีวิตสัตว์ แต่เอาสัตว์มาขังไว้ในกรงเลี้ยงดูอุดมสมบูรณ์ เช่นนี้อนาคต ชาติแม้ว่าได้อายุขัยที่ยืนยาวก็จริงอยู่ แต่ชะรอนชะตาชีวิตนั้นก็ถูกริดรอน ทอนบุญบางอย่างไปตามเหตุที่สร้างไว้ กล่าวคือเป็นคนที่มีอายุยืนแต่ขาด อิสรภาพต้องอยู่เฝ้าบ้านไปจนแก่ เพราะอำนาจแห่งกรรมจำกัดขอบเขต ไว้แล้ว การออกนอกบ้านแต่ละครั้งไม่วายมีเหตุให้ต้องรีบร้อนกลับบ้าน ด้วยความเป็นห่วง ชีวิตเช่นนี้ก็ไม่ต่างจากนกในกรงทองนั่นเอง.
 
 
 3. สาเหตุที่เกิดมามีโรคมาก
 ๑. : ชอบทุบตีทรมานสัตว์อย่างโหดร้ายทารุณ
 ๒. : เรียกใช้ไหว้วานให้ผู้อื่นทำแทน
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นผู้อื่นกระทำทารุณกับสัตว์
 ๔. : มีความสุขเมื่อเห็นคนกำลังจับสัตว์มาทรมาน
 ๕. : สร้างความหนักใจให้พ่อแม่เป็นทุกข์
 ๖. : ใส่ร้ายป้ายสีนักบวชผู้ทรงศีล
 ๗. : ดีใจเมื่อรู้ว่าศัตรูคู่อริล้มป่วยอาการหนัก
 ๘. : เห็นศัตรูคู่อริอาการดีขึ้นเกิดความไม่พอใจ
 ๙. : ใช้ยาปลอม จ่ายยาไม่ตรงโรค ไม่รักษาจรรยาแพทย์
 ๑๐. : กินตามใจปาก ไม่คำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงกลายเป็นคนขี้โรค กล่าวคือ มีโรคติดตัวมาตั้งแต่เกิด หรืออาจเป็นเมื่อโตขึ้น บาปกรรมที่ทำไว้คือโรคภัยที่เบียดเบียนความทุกข์ ทรมานเป็นผลมาจากแรงกรรม สามวันดีสี่วันไข้ไม่หยุดหย่อน โรคเรื้อรัง รักษากี่หมอผ่าตัดกี่ครั้งก็ยังไม่หาย วิทยาศาสตร์ตามไม่ทันเพราะโรคล้ำ หน้า เหตุจากจิตใจของมนุษย์ชั่วร้ายขึ้นทุกวัน ลองคิดดูสิว่าการแพทย์ เจริญแต่ทำไมผู้คนขยันเป็นโรคไม่หยุดหย่อน คนยุคใหม่ตายด้วยโรคมาก ที่สุด หากแก้ที่โรคไม่ได้ผลก็ลองหันมาแก้กรรมกันดูบ้าง.
 
 
 
 4. สาเหตุที่เกิดมาห่างไกลจากโรคภัย
 ๑. : เว้นขาดจากการทุบตีหรือทรมานสัตว์
 ๒. : ตักเตือนผู้อื่นไม่ให้จับสัตว์มาทุบตีหรือทรมาน
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อผู้อื่นล้มเลิกการทารุณสัตว์
 ๔. : เกิดความสุขใจเมื่อเห็นสัตว์ปลอดภัยจากถูกทรมาน
 ๕. : ปรนนิบัติรับใช้พ่อแม่หรือผู้ป่วยด้วยความเต็มใจ
 ๖. : ช่วยเหลือผู้ประสบเคราะห์ภัยฯ
 ๗. : เห็นศัตรูคู่อริหายจากโรคภัยก็เกิดความเจริญใจ
 ๘. : บริจาคยารักษาโรค
 ๙. : เกิดความสงสารเมื่อเห็นผู้อื่นเป็นทุกข์ทรมาน
 ๑๐. : บริโภคอาหารโดยคำนึงถึงสภาพร่างกาย
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีสุขภาพดี กล่าวคือตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยชราความ ทุกข์ทรมานจากโรคภัยไข้เจ็บไม่มีย่างกรายมารบกวนแม้แต่น้อย เพราะ เหตุที่เคยได้ช่วยเหลือดูแลผู้อื่นไว้ในปางก่อน ชาตินี้จึงได้ร่างกายที่แข็ง แรงเป็นของขวัญ อีกทั้งเงินทองยังมีเหลือเอาไปทำบุญ เพราะการบุญ นั่นแล คือหลักประกันสุขภาพที่ได้ซื้อไว้ตั้งแต่ชาตินี้ ชาติหน้าไม่ต้องเสีย ทรัพย์เป็นเงินหมื่นเงินแสนเป็นค่ายารักษา อย่างนี้ก็มีความสุขไปตลอด ชีวิตดั่งคำพังเพยที่ว่า "ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ" นั่นเอง.
 
 
 
 5. สาเหตุที่เกิดมาอัปลักษณ์
 ๑. : อารมณ์หงุดหงิด ขุ่นเคือง โมโหง่าย
 ๒. : ฝังใจอาฆาตพยาบาทเคียดแค้น
 ๓. : ฉีกหน้า ไม่ไว้หน้า ทำให้คนอื่นขายขี้หน้า
 ๔. : ไม่ให้เกียรติผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส (หยามหน้า)
 ๕. : โกหกหลอกลวงต้มตุ๋น (ปั้นหน้า)
 ๖. : ใส่ร้ายป้ายสี (ทำผู้อื่นเสียหน้า)
 ๗. : ขัดขวางกีดกันไม่ให้คนทำดี
 ๘. : ทำลายสาธารณสมบัติ (หน้าตาของสังคม)
 ๙. : เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน (ตำแหน่งบังหน้า)
 ๑๐. : เห็นคนหน้าตาอัปลักษณ์ รังเกียจหัวเราเยาะ
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนอัปลักษณ์ กล่าวคือ รูปร่างหน้าตาผิดแผกไป จากคนทั่ว ๆ ไปคือ รูปชั่ว ตัวดำดึก หน้าตาเหยเก ตัวเตี้ย แขนขาสั้น ฯ เหล่านี้เกิดจากใจอัปลักษณ์ เป็นผลกรรมที่มาถึงกาลสุกงอมในชาตินี้ เตือนหญิงชายอย่างหลงไหลรูปลักษณ์แค่ภาพพจน์เพียงภายนอก หากไม่ รู้จักยับยั้งชั่งใจใฝ่ทางชั่วกลั้วทางผิด มีหวังชาติหน้าได้อภิสิทธิ์รูปชั่วตัว อัปลักษณ์ สวยทางตรงคือสั่งสมความดี สวยชาตินี้ไม่กี่ปีก็สร่าง อยาก สวยอนันตกาลพึงบ่มความงามไว้ในจิตใจ.
 
 
 
 
 6. สาเหตุที่เกิดมาหน้าตาดี
 ๑. : อารมณ์เยือกเย็นสุขุม อดทนอดกลั้น
 ๒. : มีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เห็นอกเห็นใจ
 ๓. : กล่าวชมเชยเมื่อเห็นคนทำความดี
 ๔. : ยกคุณงามความดีให้ผู้อื่น
 ๕. : สุภาพอ่อนโยนต่อผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้อาวุโส
 ๖. : สมทบทุนหรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่ง
 ๗. : ดูแลทำความสะอาดสถานที่ปฏิบัติธรรม
 ๘. : ตกแต่งประดับประดาสถานที่ปฏิบัติธรรม
 ๙. : ให้เกียรติคนอัปลักษณ์โดยไม่คิดรังเกียจ
 ๑๐. : เชื่อว่ารูปร่างหน้าตา คือวาสนามาจากชาติก่อน
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ซาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงมีรูปร่างหน้าตาดี กล่าวคือเป็นที่ต้องตาต้องใจของ ผู้คนที่พบเห็น ใครต่อใครก็ชื่นชมในความสวยความงาม กล่าวได้ว่า ไม่เป็นสองรองใคร เข้าตากรรมการทุกเหลี่ยมทุกมุม หากเกิดเป็นชาย ก็หล่อเหลาเอาการ เป็นสตรีก็สวยปานนางฟ้านางงามเป็นดาวดารา เป็น บุญตากับคนได้พบเห็น อย่างไรก็ดีหากสวยแล้วโอหังอีกทั้งยังถือดี สวย อย่างนี้ชื่อว่าสวยแค่กระพี้ประชาชีจะครหา หากสวยทั้งทียังคงไว้ซึ้ง ความดีคือ คุณสมบัติของกุลสตรีศรีเรือนนั่นเอง.
 
 
 7. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนรังเกียจ
 ๑. : มีใจอิจฉาริษยา
 ๒. : รู้สึกไม่พอใจไม่ว่าใครได้ดี
 ๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมแล้วสะใจ
 ๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังแล้วด่าว่าสาดเสียเทเสีย
 ๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับแล้วเกิดความสนุกสุขใจ
 ๖. : ทำลายสาธารณะสมบัติส่วนรวม
 ๗. : เป็นคนเนรคุณ หรือทรยศต่อผู้มีพระคุณ
 ๘. : ทำลายความสามัคคีให้แตกแยก
 ๙. : ขัดแย้งไม่ให้ผู้อื่นลงรอยกัน
 ๑๐. : ทำตัวเป็นอุปสรรค เป็นคนเจ้าปัญหา (ก่อกวน)
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่รังเกียจของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่สังคมไม่ ต้อนรับไม่ยินดีด้วย ถึงแม้เป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้มาอยู่ในตำแหน่ง เป็นเจ้าใหญ่นายโต แต่สุดท้ายจะต้องถูกประท้วง ถูกขู่ ถูกทำร้ายจาก คนส่วนใหญ่คือประชาชนหรือลูกจ้างบริวาร สร้างความไม่พอใจจนถูก ขับไล่ไสส่ง บุคคลเมื่อมีบาปติดตัวมาเช่นนี้เข้าไปสู่สังคมใดก็จะนำความ ฉิบหายไปสู่สังคมนั้น กล่าวได้ว่าเป็นตัวเสนียด เป็นอัปมงคล พึงระวัง พฤติกรรมของบุคคลอันนำมาซึ่งความพินาศเช่นนี้แล.
 
 
 
 8. สาเหตุที่เกิดมาผู้คนนิยมชมชอบ
 ๑. : ไม่มีใจอิจฉาริษยา
 ๒. : รู้สึกเบิกบานใจไม่ว่าใครได้ดี
 ๓. : เห็นความฉิบหายล่มจมก็แสงความเสียใจ
 ๔. : เห็นเขามีชื่อเสียงโด่งดังก็พลอยยินดีไปด้วย
 ๕. : เห็นเขาชื่อเสียงย่อยยับก็คิดหาทางช่วยเหลือ
 ๖. : บริจาคสิ่งปลูกสร้างเป็นสาธารณะสมบัติมากมาย
 ๗. : ประกาศคุณงามของผู้มีพระคุณให้ฟุ้งขจร
 ๘. : ส่งเสริมความสามัคคีให้เกิดขึ้น
 ๙. : สมานความขัดแย้งที่แตกร้าวให้ลงรอยกัน
 ๑๐. : คลี่คลายปัญหา เป็นที่ปรึกษาไขข้อข้องใจ
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นที่ชื่นชอบของผู้คน กล่าวคือเป็นบุคคลที่มหาชนให้ ความเคารพยกย่องอย่างท่วมท้นล้นหลาม พูดได้ว่าเป็นคนของประชาชน เป็นบุคคลแถวหน้าระดับผู้นำประเทศ ผู้นำกองทัพ ผู้นำองค์กรต่าง ๆ อีกทั้งบุคคลซึ่งเป็นขวัญใจของมหาชนที่ให้การต้อนรับอย่างคับคั่งไม่ว่า แฟนเพลง แฟนหนัง แฟนละคร แฟนฟุตบอล เป็นต้น ที่เป็นเช่นนี้เนื่อง จากอำนาจแห่งกรรมดีที่สั่งสมไว้เป็นบารมีแผ่นไพศาลดั่งสนามแม่เหล็กซึ่ง ดึงดูดความนิยมและครองใจมหาชนไว้ตราบนานเท่านาน.
 
 
 
 
 9. สาเหตุที่เกิดมาต่ำต้อย
 ๑. : ทำตัวเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
 ๒. : ไม่เคารพบิดามารดา ซ้ำดูถูกเหยียดหยาม
 ๓. : ไม่เคารพผู้มีพระคุณ ฯ
 ๔. : ไม่เคารพนักบวช ผู้ทรงศีล ฯ
 ๕. : ไม่เคารพต่อครูบาอาจารย์ ฯ
 ๖. : ไม่ให้เกียรติผู้ประพฤติพรหมจรรย์
 ๗. : ไม่เต็มใจรับใช้ผู้อาวุโสกว่า
 ๘. : ไม่มีสัมมาคารวะ ความอ่อนน้อมถ่อมตน
 ๙. : ปฏิเสธความหวังดีที่พ่อแม่พร่ำเตือนอบรมสั่งสอน
 ๑๐. : กดขี่ข่มเหงลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งอกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงเป็นคนต่ำต้อย กล่าวคือเป็นบุคคลที่ผู้อื่นดูถูกเหยียด หยาม เป็นคนไม่มีเกียรติ ไม่มีศักดิ์ศรีในสายตาของใคร ๆ (ดูไม่ขึ้น) ต้อง ใช้ชีวิตอยู่อย่างต่ำต้อยด้อยค่า ถึงความชั่วไม่มีแต่ความดีที่ปรากฏก็ไม่มี คนเห็น มักถูกมองข้ามเสมอแม้เป็นเจ้าของผลงานหรือถูกผู้อื่นฉวยเอา ประโยชน์ไป หากไม่ถูกกลั่นแกล้งก็ถูกโกงเงินค่าจ้างค่าแรง ถูกใช้แรง งานอย่างกดขี่ ชีวิตต้องเร่ร่อนหากินด้วยการแบมือขอและยกมือไหว้ซึ่ง เป็นกรรมแต่ปางก่อนที่ไม่เคยให้ความเคารพใคร ๆ นั่นเอง.
 
 
 
 
 10. สาเหตุที่เกิดมาสูงศักดิ์
 ๑. : ไม่เป็นคนเย่อหยิ่งยโส จองหองลำพองตน
 ๒. : เคารพบิดามารดา
 ๓. : เคารพผู้มีพระคุณ
 ๔. : เคารพผู้ออกบวช ผู้ทรงศีล นักบุญ
 ๕. : ให้เกียรติผู้บำเพ็ญพรหมจรรย์
 ๖. : เคารพครูบาอาจารย์
 ๗. : เต็มใจรับใช้ผู้สูงอายุ
 ๘. : มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน
 ๙. : รับฟังคำว่ากล่าวตักเตือน
 ๑๐. : มีความกรุณาต่อลูกจ้างบริวาร
ด้วย เหตุแห่งกุศลกรรมที่ได้สั่งสมไว้แต่ชาติปางก่อน เมื่อบุคคล มาเกิดในชาตินี้จึงสูงศักดิ์ กล่าวคือเป็นบุคคลที่มีเกียรติ มีบารมี มียศ ศักดิ์ เป็นที่นับหน้าถือตาและเคารพยำเกรงของผู้คน ไม่ว่าจะเป็นผู้มี ฐานะหรือชนชั้นธรรมดา กล่าวได้ว่ามหาชนให้ความเคารพยกย่องและ สรรเสริญ บุคคลเหล่านี้มักถูกเชิญไปเป็นเกียรติ เป็นประธาน เป็นผู้ มอบของรางวัลในพิธี รัฐพิธี หรือพระราชพิธีต่าง ๆ อย่างไรก็ดีบุคคล เช่นนี้เมื่อเข้าไปอยู่ร่วมในสังคมใดก็จะเป็นสิริมงคลนำมาซึ่งความรุ่งเรือง รุ่งโรจน์สู่สังคมนั้นนั่นเอง.
 
160  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: เชิญผู้มีจิตศรัทธา ร่วมสร้างรอยพระพุทธบาทจำลอง เมื่อ: มกราคม 29, 2010, 04:44:27 pm
อนุโมทนา จ้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 10