ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 703 704 [705] 706 707 ... 712
28161  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เข้าถึงธรรม...อย่างนี้ถูกหรือป่าวครับ ? เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 07:30:38 pm

1.ทำไม พ่อ แม่ จึงไม่เข้าใจ อะไรกับผมเลยครับ

ตอบ  หน้าที่ของลูกคือ กตัญญู  หลีกเลี่ยง การเบียดเบียนกายใจของพ่อแม่ ให้มากที่สุด
------------------------------------------------------------------

2.การเข้าถึงธรรม บรรลุธรรม คือการกลมกลืินกับธรรมชาติ ข้ามพ้นบัญญัติ สมมุติ ใช่หรือป่าวครับ

ตอบ
  การบรรลุธรรม คือ การตัดกิเลสได้เป็นขั้นๆ  เรียกว่าตัดสังโยชน์ สังโยชน์มี ๑๐ ข้อ
โสดาบันและสกิทาคามีตัดได้ ๓ ข้อแรก อนาคามีตัดได้ ๕ ข้อแรก อรหันต์ตัดได้ทั้งหมด ราลละเอียดอยู่ในลิงค์ที่คุณ AXE ได้บอกไว้

------------------------------------------------------------------

3.การ ที่ผมมองเรื่องการยบวช นั้นไม่ได้เป็นการแก้ปัญหา อะไร ?เพราะ พ่อ แม่นั้น อยากให้ผมบวชให้เขาครับ แต่ผมก็บอกว่า พ่อ แม่ ว่าไม่ต้องบวชหรอก ตอนนี้ผมบวชใจ

ตอบ
  จริงอยู่การบวชไม่ใช่การแก้ปัญหา  ฆราวาสก็ปฏิบัติธรรมได้  แต่สำหรับคนไทยแล้วมันเป็นประเพณีครับ และการบวชก็อานิสงส์ของมันอยู่ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดังนี้


อานิสงส์บวช

...บวชนี้ย่อมมีผลานิสงส์อย่างมากมาย องค์สมเด็จพระบรมศาสดา ตรัสเทศนาอานิสงส์แห่งการบรรพชาอุปสมบทไว้โดยอเนกประการว่า ทาสสฺส อานนฺท

ดูกรอานนท์ บุคคลใดมีศรัทธาบรรพชาทาสกรรมกรให้เป็นสามเณร หรือสามเณร มีอานิสงส์ ๔ กัล์ป
บวชเป็นภิกษุหรือภิกษุณี มีอานิสงส์๘ กัล์ป และถ้าอุปสมบทจะได้รับอานิสงส์ ๑๖ กัล์ป

หากอุปสมบทได้อานิสงส์ ๓๒ กัล์ป ถ้าอุปสมบทตนเองในพระพุทธศาสนา ด้วยศรัทธาเลื่อมใสจะได้อานิสงส์ถึง ๖๔ กัล์ป บุคคลใดได้บรรพชาบุตรตนก็ดี บุตรของผู้อื่นก็ดี ก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ

แล้วพระองค์ตรัสอีกว่าดูกรอานนท์ดังจะเห็นได้จากหญิงผู้หนึ่ง เขามีบุตรอยู่คนเดียว บุตรชายเขาขอไปบวชมารดาก็ไม่ให้บวชบุตรชายจึงหนีไปบวช อยู่มาวันหนึ่งมารดาของสามเณรนั้นออกจากบ้านไปแต่เช้า เพื่อจักแสวงหาฟืน มารดาสามเณรครั้นหาฟืนได้พอสมควรแล้วก็กลับบ้าน พอมาถึงระหว่างทางได้พักอยู่โคนต้นไม้ใหญ่ แล้วลงนอนพักผ่อนก็หลับไป ได้นิมิตรฝันไปว่ามีพระยายมราชมาถามว่า

ดูกรผู้หญิง เธอได้กระทำบุญหรือว่าไม่ได้กระทำเลย มารดาของสามเณรนั้นตอบว่าข้าแต่เจ้า ดิฉันไม่ได้กระทำบุญอย่างไรเลย พระยายมราชทราบแล้ว ก็จับเอาผู้หญิงนั้นไปใส่นรกทันที ได้และเห็นไฟนรกลุกโพรงก็ถามพระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นอย่างไร พระยายมราชว่า อันไฟแดงนั้นเป็นไฟนรก ผู้หญิงจึงบอกว่าเหมือนกับผ้าจีวรของลูกชายของข้าพเจ้าอันได้บวชเป็นสามเณรนั้นแล

พระยายมราชจึงกล่าวว่าดูกรผู้หญิง ลูกชายของเธอยังได้บวชหรือนางก็ตอบว่าลูกชายยังได้บวชเป็นสามเณรอยู่พระยายมราชได้ยินคำของ นางดังนั้นแล้ว จึงนำนางมาคืนไว้เดิมเสีย เหตุอันนี้ก็เพราะบุญของลูกชายตนได้บวชเป็นสามเณร ในพุทธศาสนาไปกั้นไว้ในนรกได้ ครั้นนางตื่นขึ้นมาก็ตกใจกลัวรีบกลับบ้าน ตั้งแต่นั้นนางก็เลื่อมใสในพุทธศาสนา เฝ้าปฏิบัติสามเณรลูกชายของตน มิได้ขาดจนนางได้ตายไปตามอายุขัยก็ไปบังเกิดในสวรรค์ดั้งนี้ เป็นต้น


ที่มา http://www.84000.org/anisong/08.html
------------------------------------------------------------------

4.ผมถือ การปฏิบัติ ตามสติปัฏฐาน ครับ ในส่วนของ อิริยาปถปัพพะ ผมไม่ชอบการนั่งสมาธิ ผมไม่ชอบถือศีลเพราะมันหนัก ผมทานข้าววันละมื้อ สองมื้อบ้างครับ ตามอารมณ์ครับ บางครั้งก็ตอน เที่ยง บางครั้งก็ตอนทุ่ม   บางครั้งก็ดึก ๆ ครับ อย่างนี้ชื่อว่ามีศีลแล้วใช่ไหมครับ

ตอบ  หากคุณเจริญสติได้ถูกต้อง ศีลจะตามมาเองครับ การพิจารณาว่าถือศีลหรือไม่เป็นเรื่องง่ายครับ ให้คุณดูข้อห้ามในศีล ๕ ทำได้ ๑ ข้อ ก็ถือว่ามีศีลแล้ว

หากไม่ชอบนั่งสมาธิ  อิริยาบถอื่นๆก็ทำสมาธิได้เช่นกัน  สมาธิเป็นบาทของวิปัสสนาไม่มีไม่ได้ หรือว่า คุณไม่ชอบทำสมาธิในทุกกรณี  ไม่ต้องทำก็ได้ครับ ให้เดินปัญญาไปเลย ถึงจุดหนึ่งสมาธิก็จะเกิดเอง พระอานนท์ได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติให้เห็นมรรคผล ไว้ ๔ วิธี จะเลือกวิธีไหนก็ได้ เห็นมรรคผลเหมือนกัน มีดังนี้ครับ


๑. เจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น(เจริญปัญญาโดยเจริญสมาธิก่อน )
๒. เจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ( เจริญสมาธิโดยเจริญปัญญาก่อน )
๓. เจริญทั้งสมถะและวิปัสสนาคู่กัน
๔. มีจิตแยกจากความฟุ้งซ่านในธรรม


   ของคุณอยู่ที่ข้อ ๒ คุณเจริญสติไปเรื่อยๆ หากปัญญาแก่รอบแล้ว ถึงจุดหนึ่ง จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง ตอนนี้แหละจะตัดสินมรรคผล เป็นอรหันต์ วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด
------------------------------------------------------------------

5.การพิจารณาเรื่องสมมุติ บัญญัติ ต่าง ๆ การทำตัวให้กลมกลืน กับธรรมชาติ นั้นเป็น วิปัสสนา ใ่ช่หรือป่าวครับ

ตอบ  วิปัสสนา ต้อง เจริญสติปัฏฐาน ๔ เท่านั้น คุณควรทำความเข้าใจเรื่องสติปัฏฐานให้มากๆ และที่สำคัญขณะภาวนา ต้องเห็นไตรลักษณ์ จึงจะพูดได้ว่า  เจริญวิปัสสนาอยู่

------------------------------------------------- 

 การแสดงความเห็นของผม อาจขัดใจคุณอิสรภาพไปบ้างต้องขออภัย

 ขอให้ถือว่า เป็นการคุยเป็นเพื่อนเท่านั้น ไม่ใช่คำตัดสินใดๆ

 สงสัยอะไรถามได้ครับ ยินดีตอบทุกเรื่อง


 ขอให้ธรรมคุ้มครอง

28162  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เจ้ากรรม นายเวร เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:57:56 pm


เจ้ากรรม นายเวร
โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง

"..เจ้า กรรมนายเวร หมายถึงบาปที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไว้กับคนและสัตว์ใน อดีตชาติก็ดี ในชาติปัจจุบันก็ดี อย่างบางคนที่เราฆ่าเขาบ้าง เราทำร้ายเขาบ้าง เขาอาจจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมแล้ว ถ้าเป็นเทวดาเขาไม่สนใจแล้ว แต่ไอ้ตัวบาปที่เราทำไว้ อย่างคนที่ไปขโมยของเขา เจ้าของเขาไม่ติดใจแต่ตำรวจมีหน้าที่ตามไม่ใช่อยากตาม แต่กฎหมายให้ตาม

ฉะนั้น กรรมหรือเวรตัวนี้คือกฎหมาย ถ้าหากปฏิบัติในขั้นสุกขวิปัสสโก ก็จะบอกว่าไม่มีตัวตนเพราะไม่เคยเห็น แต่ว่าตั้งแต่ เตวิชโชขึ้นไปเขาเห็น ดังเรื่องที่อาตมาเล่าให้ฟังประกอบเรื่องนี้

เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗ คืนหนึ่งอาตมาเจริญพระกรรมฐานเสร็จ ก็อุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร ขณะที่อุทิศส่วนกุศลก็มายืนกันมากแต่ไม่ใช่เจ้ากรรมนายเวร เป็นคนมาโมทนาบุญ พอเขาโมทนากันเสร็จ ก็มีชายคนหนึ่งคลานเข้ามา ถือขวานเล่มใหญ่

พอ เข้ามาใกล้ก็บอกว่า "ผมกับท่านหมดเรื่องกัน"
อาตมา ก็ถามว่า "หมดเรื่องอะไร"
เขา ก็บอกว่า "หมดเรื่องที่จะต้องติดตามจองล้างจองผลาญกัน"
ก็ ถามอีกว่า "จองล้างจองผลาญฉันทำไม"
เขา ก็บอกว่า "เปล่าครับ ผมไม่ได้จองล้างจองผลาญ"
ก็ ถามว่า "แล้วเข้ามาทำไม"

เขา ก็เลยเล่าประวัติความเป็นมาให้ฟังว่า "ในอดีตนับเป็นสิบๆ ชาติ ท่านกับผมรบกันมาเรื่อย" เป็นคู่สงครามกัน ตัวเขาเก่งขวานทุกชาติ ส่วนอาตมาเก่งดาบสองมือทุกชาติ ถ้าเวลาให้รบตัวต่อตัว ต้องเอาคู่นี้มารบกัน ถ้าคนอื่นหัวขาด พอถึงเวลากินข้าวก็บอกว่า "พักรบก่อน กินข้าวเสร็จมารบกันใหม่" วันนั้นทั้งวันไม่มีใครเสียท่ากัน

อาตมา ถามว่า "มันมีเวรกรรมอะไรกันล่ะ"
เขา บอกว่า "กฎของกรรมเขาถือว่ามี แต่เวลานี้กฎของกรรมสลายตัวแล้ว"
ก็ เลยถามว่า "เวลานี้ไปเกิดที่ไหน"
เขา ก็บอกว่า "ผมเป็นพรหมครับ"
ถาม ว่า "พรหมยังจองกรรมหรือ"
เขา ตอบว่า "ผมไม่ได้จองแต่กฎของกรรมมันจอง เรื่องของกรรมหนักๆ ระหว่างสงครามหมดกันแค่นี้"



เราอุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวร เขาจะได้รับหรือไม่ได้รับก็ตาม บุญที่เราทำเป็นผลให้เกิดความสุข ไอ้กรรมต่างๆ ที่เป็นอกุศลที่เราได้ทำไปแล้ว เราไปยับยั้งมันไม่ได้ แต่ทว่าถ้าเราทำกรรมดีให้มีกำลังเหนือบาป บาปต่างๆ ก็จะตามเราไม่ทันเหมือนกัน เรียกได้ว่า เป็นการทำบุญหนีบาป ไม่ใช่ทำบุญล้างบาปทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ที่ไม่ทำความชั่วเลยน่ะไม่มี ดังนั้นถ้าเราจะชดใช้บาปก็คงจะชดใช้กันไม่ไหวมีทางเดียวในกิจของพระพุทธ ศาสนาคือ หนีบาปด้วยการปฏิบัติดังนี้


๑) การคิดถึงคุณพระรัตนตรัยคือ พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระอริยสงฆคุณ
๒) ทรงศีล ๕ ให้บริสุทธิ์
๓) มีพรหมวิหาร ๔ ให้ครบถ้วน
๔) มีอิทธิบาท ๔ ทรงตัว
๕) มีการภาวนาให้จิตทรงตัว
๖) พยายามรวบรวมบารมี ๑๐ ประการให้มีในจิตให้ครบถ้วน
๗) พยายามตัดสังโยชน์ ๑๐ ประการให้หมด
๘) จรณะ ๑๕ ปฏิบัติให้ครบถ้วน

เมื่อมีการทรงตัวดังกล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมด ก็เป็นอันว่าไม่ต้องเกิดกันอีกต่อไป นั่นคือตายเมื่อใดก็ไปพระนิพพานอันเป็นแดนที่มีความสุขที่สุด.."


ที่มา  http://www.pranippan.com/
28163  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ทำบุญแล้วได้บาปเป็นอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:52:26 pm

ทำบุญแล้วได้บาปเป็นอย่างไร

โดย..หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง


"..ชาวบ้านเขาทำบุญกันแล้วมีการบวงสรวงอันเชิญเทวดา อันนี้ฉันไม่รู้เขาเชิญให้มาหรือไม่ให้มากันแน่ เราต้องดูส่วนประกอบหลายอย่าง จิตเขาสะอาดแค่ไหน ถ้าสะอาดไม่พอ ท่านได้ยินแต่ว่าท่านไม่มาซะอย่างก็หมดเรื่อง

อย่างทำบุญตามบ้าน ที่เขาทำพิธีอัญเชิญแล้วว่า “สัคเค กาเม จะรูเป ..." บางทีคนเชิญยังเมาแอ่น กลิ่นเหล้าฟุ้ง อย่างนี้เทวดาที่ไหนเขาจะมาล่ะ มีแต่ เปรตกับอสูรกาย มากันเป็นตับ มากันจริง ถ้าเมาแล้วไปว่า “สัคเค.." เข้าแบบนี้พัง

จะเล่าเรื่องให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง คือเรื่องมันเกิดขึ้นโดยบังเอิญ ตอนนั้นฉันมาช่วยเขาที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า 2 ปี มันมีอยู่คืนหนึ่งคนใกล้วัดบ้านเขาห่างจากวัดไม่ถึงครึ่งกิโลเมตร เขาตาย ญาติพี่น้องเขาก็มานิมนต์พระเณรที่วัดนั้นไปสวดอภิธรรมกันทั้งหมด วันนั้นการเจริญกรรมฐานก็เลยต้องพัก พระเณรไปหมดนี่ เหลือฉันอยู่คนเดียว ฉันไม่ได้ไปกับเขา เรื่องกินผีนี่เลิกกินมานานแล้ว

คืนนั้นฉันอยู่คนเดียว ประมาณสัก 2 ทุ่มหรือ 3 ทุ่ม กำลังนอนอยู่ก็เลยนึกขึ้นมาว่า เอ..เราไปเที่ยวนรก สวรรค์ พรหม นิพพาน ไปเที่ยวมาหมดแล้ว แต่ว่าข้างวัดนี่มันมีอะไรบ้าง เราไม่ได้มองเลย ก็เลยคิดว่าออกไปเดินดูข้างวัดดีกว่า ตัวก็นอนอยู่แต่ใจมันก็เดินออกไปรอบๆ วัด

พอไปถึงหลังวัด ตรงนั้นเขามีกองฟืนสำหรับไว้เผาศพอยู่ ก็ไปเจอะวิมานอยู่หลังหนึ่งใกล้ๆ กับกองฟอน ศาลพระภูมินี่ตามบ้านห้ามตั้งทางด้าน ทิศตะวันตก ถ้าดันไปตั้งทางด้านทิศตะวันตกก็มีหวังฉิบหายและตายโหง

ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะว่า อากาศเทวดา เขามาอารักขาอยู่ เราไม่มีสิทธิที่จะใช้อากาศเทวดาเขาได้ เขาไม่ใช่ภุมิเทวดา

เมื่อไปเจอะวิมานหลังนั้นเห็นว่าใหญ่โตพอสมควร เขาก็ไปยืนดู เอ..วิมานของใครวะ บริษัทบริวารข้างล่างมีอยู่ประมาณ 40 เศษ พอเราไปถึงเขาก็ถามพวกนั้นว่า “เฮ้ย..พวกนี้บ้านข้างวัดเขาตาย..ใครไปบ้านหว่า ?”

ที่เขาถามอย่างนี้ เพราะเขาต้องการให้เรารู้ พวกบริษัทก็บอกว่า “ผมไม่ครับ ๆ ๆ” เสียงตอบมาประมาณ 20 เศษ แล้วเขาก็ถามว่า “เป็นอย่างไรบ้างวะ ใครมาบ้าง ไปแล้วได้อะไรมาบ้างล่ะ”
พวกนั้นก็บอกว่า “มันจะไปได้อะไรครับ มันเมากันทั้งบ้าน แม้แต่คนอาราธนาธรรมก็เมาอีเหละเขะขะ"
“ เฮ้ย..มันจะไม่ได้อะไรบ้างเลยหรือ”

“มันไม่ได้อะไรเลยครับ มันมีแต่บาป..บุญไม่มีให้โมทนาเลย”
เราได้ยินแล้วก็จำไว้ พอตอนเช้าพระท่านก็ต้องไปฉันใช่ไหม ฉันเสร็จก็เลยเรียกพระที่เขาปฏิบัติกรรมฐานและมีอารมณ์รู้ได้ให้เข้ามาหา ถามว่า


“นี่..เมื่อคืนนี้ไปสวดที่บ้านนั้น มันเมากันบ้างหรือเปล่า “ เขาบอกว่า
“แหม..หลวงอาครับ มันเมากันหมดทั้งบ้านเลย บารมีเลวครบถ้วนหมด” ก็เลยถามว่า “เวลาแกสวดน่ะ แกสวดให้ผีฟังใช่ไหม”

ที่ว่า "สวดให้ผีฟัง" ก็หมายความว่า สวดตามประเพณีมีฟังบ้าง ไม่ฟังบ้าง ก็เลยถามว่า “เวลาแกสวดน่ะแกเอาจิตดูใครเขาบ้างหรือเปล่า” เขาบอกว่า “ดูครับ” เพราะเคยสอนเขาไว้ว่า เวลาไปสวดอย่าไปเฉยๆ เวลาเขาทำบุญบ้านไหนอย่าไปเฉย ๆ ให้รู้เรื่องด้วย

ก็เลยถามว่า “มีใครมาบ้าง” “มีเปรตกับพวกอสุรกายเป็นตับหมด เปรตมันมาแย่งอาหารกินและพวกอสุรกายมันก็มาแย่งอาหารที่เขาทิ้งแล้วกิน” เลยถามว่า “เทวดาไม่มีเลยหรือ” “ ไม่มีเลยครับ หาไม่ได้เลย”


นี่ความจริงมันเป็นอย่างนี้ เทวดาองค์นั้นท่านต้องการให้เรารู้เรื่องนี้ จึงถามลูกน้อง ความจริงท่านต้องไปถามทำไม เพราะท่านต้องรู้อยู่แล้ว ที่ท่านทำแบบนี้ก็เพื่อต้องการให้เรารู้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยัน
ฉะนั้นวันทำบุญอย่างให้มีบาปและวันทำบุญจริงๆ เวลาเริ่มอย่าให้มันมีบาปเข้ามาปะทะหน้า ถ้าหากมีบาปเข้ามาปะทะหน้าแล้ว บุญมันเข้าไม่ได้หรอก เพราะบาปกับบุญมันไม่ถูกกัน เริ่มต้นงานก็เชือดไก่ เชือดปลา เลี้ยงเหล้า ฯลฯ อารมณ์มันเป็นอกุศลแล้ว อารมณ์กุศลมันก็เข้าไม่ได้

ถ้าจะทำแบบโลกไม่ช้ำธรรมไม่เสีย วันต้นงานให้มันเรียบร้อยทุกอย่าง อย่าให้มันมีบาปเข้ามาปะทะ ถ้าทำบุญเสร็จกิจที่เป็นเรื่องของพระเสร็จแล้ว จะเลี้ยงเหล้ายาปลาปิ้งกันว่ากันไป ให้มันไปอยู่เสียคนละวัน

แหม..บางบ้านบอกทำบุญเยอะ ทำบุญหมดไปตั้งหลายหมื่น พระฉันไปสักกี่ช้อน และอีตอนพระฉันน่ะเป็นบุญหรือเปล่ายังไม่แน่เลย จิตของเจ้าภาพรับบุญหรือเปล่า บางทีรักษาประเพณีกันเกินพอดีไป พอพระจะให้ศีลเจ้าภาพบอกไม่ว่าง อย่างเขาจะถวายทานก็ไม่ว่าง พระจะเทศน์ไม่ว่างอีก บุญมันมีตรงนี้ ถ้าไม่ว่างตรงนี้ แล้วจะเอาอะไ


ฉะนั้นการทำงานใหญ่ ๆ สู้อานิสงส์ของการถวายสังฆทานไม่ได้แบบนี้ลงทุนเท่าไหร่ ถ้าหากว่ากำลังทรัพย์เรามีไม่มากนัก จะถวายของอย่างละนิดอย่างละหน่อยก็ได้ เขาไม่ได้จำกัดและความกังวลแบบนั้นไม่มี สิ่งที่เป็นบาปแบบนั้นไม่มี ผลที่ได้รับต่างกันกับทำแบบนั้นหลายร้อยเท่า ยิ่งทำงานมากเท่าไร ความกังวลก็มากเท่านั้น กังวลดีก็มี กังวลเลวก็มี บางทีก็โมโหโทโสใช่ไหม “แหม..หมดนี่เสือกมาเมาเกะกะซะอีกแล้ว” เรื่องจริง ๆ เป็นอย่างนี้

อย่างการ ถวายสังฆทาน แบบนี้จิตมันบริสุทธิ์ งานก็ไม่มีกังวลมากไม่ต้องไปเลี้ยงเหล้าใคร เวลาจะรับศีลก็ไม่มีใครมาสะกิดข้าง ๆ ว่าแขกมาเวลาจะถวายทานก็ไม่มีใครมากวนใจ ทำอย่างนี้ได้บุญเยอะ บางบ้านเราขึ้นไป โอโฮ้ลงทุนตั้งเยอะ สมัยก่อนตอนที่เทศน์อยู่ ถ้าลงทุนเป็นพันเป็นหมื่นก็แย่แล้วนะ ค่าของเงินมันสูง บางทีตั้งแต่เริ่มต้นงานจนกระทั่งถึงงานเลิก ทำบุญไม่ได้บุญเลยก็มี

แบบนี้บ่อยๆ ก็เลยเบื่อ ไม่ไปดีกว่า จะไปทำไมถ้าไปแล้วเขาไม่ได้บุญ ไม่ใช่ไม่ได้บุญอย่างเดียวนะ มันได้บาปด้วย บางครั้งเอาพระเป็นลูกจ้างเสียอีก ก็ว่าไปตามเรื่องของเขา จะว่าอะไรก็ว่าตามเรื่อง ต้องการอะไรก็พูดส่งเดช มันก็เป็นการปรามาสไปในตัวเสร็จ สบาย..แบบนี้ลงหลายชั้น ไม่ใช่ชั้นเดียวนะ แบบนี้เขาเรียกว่า "ทำบุญแล้วลงนรก..!
"

จาก - หนังสือ "พ่อรักลูก" โดย..พระราชพรหมยาน วัดท่าซุง
(โพสในเว็บ www.kusolsuksa.com)
(koonkru Jr. Member สมาชิก เป็นผู้โพส)
28164  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / กรรมพาให้เกิด เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:44:27 pm

กรรมพาให้เกิด

   คนเราที่มาเกิดก็เนื่องจากกรรมที่ตนเองได้เคยสร้างไว้ในอดีตชาติ บันดาลให้มาเกิด
ตามเหตุปัจจัยที่ได้สะสมไว้ อันเป็นพลังอำนาจของกรรมที่เรียกว่า”ชนกกรรม” หรือกรรมที่พา
ให้เกิด เมื่อกรรมบันดาลให้ไปเกิดในครรภ์ที่ออกลูกเป็นตัว ถ้ากรรมฝ่ายดีมีมากก็จะเกิดเป็น
คน ถ้ากรรมฝ่ายชั่วมากก็จะเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เช่น หมู หมา ช้าง ม้า วัว ควาย

   และถ้ากรรมบันดาลให้เกิดในไข่ คือออกไข่เป็นฟอง แล้วจึงฟักตัว ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดี
ก็เกิดเป็นครุฑ ถ้ากรรมฝ่ายชั่ว ก็จะเกิดเป็น แร้ง กา นก เป็ด ไก่ เป็นต้น

   ในสมัยพุทธกาลมีเศรษฐีผู้หนึ่งมีชื่อว่า “อานันทเศรษฐี” ถึงแม้ว่าจะเป็นเศรษฐี แต่ก็
เป็นคนตระหนี่ ขี้เหนียวและชอบเอาเปรียบผู้อื่น ทานไม่ให้ ศีลไม่รักษา หาทรัพย์มาได้
เท่าใด ก็เก็บรักษาเอาไว้ โดยไม่ยอมจ่ายอะไรเกินจำเป็น


   แม้จะกินก็อดๆ อยากๆ จิตเต็มไปด้วยความโลภ อยากได้ และก็ยิ่งโลภจัดขึ้นทุกวัน
ที่เกิดเป็นเศรษฐีในชาตินี้ได้ ก็เพราะเคยใส่บาตรพระอรหันต์ ที่มาบิณฑบาตหน้าบ้านใน
อดีตชาติโน้น ต่อมาเมื่อเศรษฐีเฒ่าจะถึงแก่กรรม แต่จิตก็เต็มไปด้วย ความหวงและห่วง
ใยในทรัพย์สมบัติ หน้าดำคร่ำเครียด เพราะฉะนั้นกรรมก็พาให้เกิด จึงชักนำไปเกิดในครรภ์
หญิงจัณฑาลยากจนคนหนึ่ง จากนั้นพลังอำนาจของกรรมอุปถัมภ์ฝ่ายชั่วก็สนับสนุน โดย
ดลบันดาลให้คนจัณฑาลในหมู่บ้านนั้น ซึ่งอดอยากอยู่แล้ว อดอยากหนักเข้าไปอีก ในที่
สุดคนจัณฑาลทั้งหลายก็ได้ประชุมหารือ หาคนที่เป็นกาลกิณีโดยแบ่งเป็น 2 พวก ถ้าพวก
ไหนขัดสนลาภก็แสดงว่าคนกาลกิณีอยู่ในพวกนั้น

   ในที่สุดก็หาพบ หญิงจัณฑาลมีครรภ์ จึงถูกขับไล่ออกไปจากหมู่บ้าน ไปอยู่โดดเดี่ยว
 เที่ยวซัดเซพเนจรไปเรื่อยๆ ได้รับความลำบากเป็นหนักหนาต่อมาได้คลอดลูกหน้าตาน่า
เกลียด น่าชัง ยังกับผีเปรตแสนทุเรศไม่เหมือนคน ซึ่งทารกน้อยโตขึ้นจนรู้เดียงสา ก็ได้
กะลาเป็นสมบัติ แล้วอำลาแม่ เที่ยวขอทานเขาเลี้ยงชีวิต ไปทั่วทุกทิศ วันหนึ่งก็ได้เดินทาง
มาถึงปราสาทอันมโหฬาร ก็คลับคลาว่าคุ้นๆ จึงเดินดุ่มๆเข้าไป จึงถูกไล่ทุบตี

   แต่ด้วยความรู้สึกจิตใต้สำนึกว่า ปราสาทนี้ตนเป็นเจ้าของ จึงจะเข้าไปให้ได้ ในที่สุดก็
ถูกทุบตีจนบอบซ้ำหยุดนิ่ง พอดีขณะนั้น พระพุทธองค์ได้เสด็จผ่านมา ด้วยญาณรู้ พระองค์
จึงบอกแก่คนทั้งหลายให้ทราบว่า “ขอทานหน้าเปรตนี้ คือเศรษฐีเจ้าของปราสาทกลับชาติ
มาเกิด” เศรษฐีลูกชายไม่เชื่อ พระพุทธองค์จึงให้เศรษฐีในคราบของขอทานเล่าประวัติของ
ตนในชาติก่อนพร้อมทั้งให้ให้ชี้ขุมทรัพย์อีก 5 แห่ง ที่แอบฝังไว้ไม่ให้ผู้อื่นรู้ก็พิสูจน์ได้ ลูก
เศรษฐีจึงเชื่อเรื่องอำนาจกรรม


   ในเรื่องนี้ แม่ชีก็บรรยายเสมอในเรื่องของอำนาจกรรม ถ้าเกิดมาแล้ว เขาให้เราจำ
ทุกอย่างได้หมดคงวุ่นวายแน่ๆ แต่เมื่อตายแล้ว ธรรมชาติของชีวิตก็ต้องเวียนว่ายตามกรรมที่
ทำมา จึงลบความจำในอดีตหมด แต่ถ้าได้ปฏิบัติกรรมฐานก็อาจล่วงรู้อดีตที่กรรมพาให้เกิด
ก็ได้

ที่มา   http://www.thossaporn.com/article_detail.php?id_edit=9


28165  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / เปิดรหัสกรรมด้วยตนเอง เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:40:09 pm

เปิดรหัสกรรมด้วยตนเอง

        แม่ชีทศพร กล่าวว่า คนเราพอเกิดมาก็มีรหัสกรรมเป็นของตนเอง เช่นคนนี้มีรหัสเลข 5
   คนนี้มีรหัสเลข 3 คนนี้มีรหัสเลข 9  ซึ่งรหัสดังกล่าวมันมีตัวบอกว่าคนเราจะมีมรณะอย่างไร
   ที่ยกตัวอย่างเป็นการอธิบายเปรียบเปรยให้ฟังเข้าใจได้ง่าย รหัสกรรมไม่ใช่ตัวเลข แต่มัน
   คือตัวบอกว่าคนๆนี้จะเป็นอย่างไร จะเจอเจ้ากรรมนายเวรแบบไหน และจะต้องผ่าน
   บทเรียนอะไรบ้างในชีวิต เพื่อพัฒนาจิตวิญญาณให้สูงขึ้น
 
   รหัสกรรมจึงเป็นเครื่องชี้จุดดีจุดด้อยบางอย่างของคนเราที่คล้ายจะสั่งสอนไปในตัว
   ว่าเราเคยผิดพลาดกับสิ่งใดมา ในกรณีที่รหัสกรรมบางอย่างเป็นรหัสบอกข้อเสีย เช่นการ
   แพ้อาหารบางอย่าง การกลัวบางสิ่ง ความเกียจคร้านเป็นนิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ควรได้รับการ
   แก้ไขโดยวิธีใด วิธีหนึ่ง เพื่อไม่ให้รหัสดังกล่าวติดตัวไปจนตัวตาย รหัสกรรมที่ไม่ดีเหมือน
   การตีตราบบาปลงไปในดวงใจของคนผู้นั้น ความกลัวบางอย่างที่ไม่มีเหตุผล และมีความ
   รุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน คือภาวะของกรรมเก่าที่ติดตัวมา ให้เราต้องชดใช้
   เราต้องรู้เท่าทันและหาทางแก้ไข ทั้งทางโลกและทางธรรม

   
        มีตัวอย่างมากมายของคนที่ป่วยด้วยรหัสกรรมประเภทนี้ที่สามารถหายด้วยการปฏิบัติ
   ธรรม เช่น บางคนปวดศีรษะแบบไมเกรนอย่างรุนแรง แม้จะตระเวนรักษาไปหลาย
   โรงพยาบาลก็ยังไม่หาย บางคนพอใช้การนั่งสมาธิเจริญอานาปานัสสติก็สามารถหายขาด
   ได้อย่างอัศจรรย์ สำหรับบางคนอาจจะใช้การรักษาโดยใช้ “อาโปกสิณ” คือการจินตนา
   การถึงความเย็นของน้ำในธรรมชาติมาช่วยดับอาการปวดศีรษะ

        แต่ในกรณีที่เป็นรหัสกรรมที่แสดงถึงข้อดี หรือจุดเด่นในชีวิตของคนๆนั้นก็เป็นการ
   เน้นย้ำว่าเราควรที่พัฒนาความสามารถดังกล่าวเพื่อเป็นการเสริมต่อความสามารถจาก
   อดีตชาติที่ผ่านมา เช่น ให้ลองสังเกตเด็กบางคนจะมีสัมผัสพิเศษชาติที่ผ่านมา เช่น ให้ลอง
   สังเกตเด็กบางคนจะมีสัมผัสพิเศษนั่นเป็นเพราะถ้าตายแบบมีสติ หรือภาวนาก่อนตาย เกิด
   มาก็จะมีสัมผัสที่หกติดมาด้วย สัมผัสที่หกจะมีญาณแรงกล้าแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพลังฌาณ
   สมาบัติก่อนตายและที่สำคัญที่สุดคือการที่จะต่อยอดทางธรรมให้เกิดขึ้นในภพชาติปัจจุบัน
   แต่ส่วนใหญ่ความสามารถพิเศษดังกล่าวมักจะถูกมองว่าเป็นของแปลกและคนที่มีความ
   สามารถดังกล่าวก็จะเกิดความกลัวจนต้องถูกละทิ้งให้เสื่อมไป ยิ่งการละทิ้งความสามารถดัง
   กล่าวหายไปในที่สุด หรือเหลือเพียงความทรงจำลางๆ เท่านั้น

        รหัสกรรม ในส่วนที่เป็นข้อด้อยแก้ไขได้ยาก ลบเลือนได้ยากกว่ารหัสกรรมที่เป็นข้อดี
   ทั้งนี้เพราะรหัสกรรมที่เป็นข้อด้อยนั้นมักเกิดจากอารมณ์ที่รุนแรงในอดีต บางกรณีอย่าง
   การแพ้อาหารชนิดรุนแรงก็ยากที่จะกำจัดทิ้งได้ ทั้งนี้มีการสันนิษฐานว่า ในชาติที่แล้วผู้ที่
   แพ้อาหารชนิดรุนแรงนั้น อาจเคยทำยาเบื่อยาสั่งใส่คนที่เราไม่ชอบด้วยอาหารชนิดนั้นมา
   ก่อน ซึ่งมีความเป็นไปได้สูงมาก แต่นี่ก็เป็นความเชื่อส่วนบุคคลเท่านั้น

        ส่วนผู้ที่กลัวของบางอย่าง หรือกลัวภาวะบางอย่างแน่นอนว่าในอดีตย่อมเคยถูกกดดัน
   จากสถานการณ์บางอย่างเช่นถูกขังในที่มืด ตกน้ำตายชาตินี้จึงไม่กล้าเข้าใกล้น้ำ บางกรณี
   รหัสกรรมอาจซ่อนตัวอยู่ภายในส่วนลึกของจิตใจจนไม่สามารถเห็นทางบุคลิกได้เด่นชัด
   จนกระทั่งมีการประทุออกมา จากความกลัวสุดขีด ความดีใจสุดขีด หรือ อารมณ์ที่ถูก
   ปลดปล่อยออกมาอย่างรุนแรงเมื่อได้รับการกระตุ้น


        รหัสกรรมทุกอย่าง หากถูกไขความลับด้วยปัญญาทางธรรมก็จะทำให้เราสามารถ
   เข้าใจถึงพื้นฐานของคนแต่ละคนได้อย่างลึกซึ้ง และขณะเดียวกันรหัสกรรมก็เป็นสิ่ง
   บ่งชี้ว่า มนุษย์เรานั้นมีการสั่งสมอุปนิสัยใจคอทับถมกันมาแต่อดีตชาติในแต่ละชาตินั้น
   จะมีการสร้างรหัสกรรมของชาตินั้นๆ ขึ้นโดยเฉพาะ ขณะเดียวกันก็พาเอารหัสจาก
   อดีตชาติติดตามมาด้วย เมื่อแต่ละชาติผ่านไป ก็จะมีการผสมผสานนิสัยเก่า และนิสัยใหม่
   ผันแปรเป็นรหัสที่ซับซ้อนขึ้นทุกที อย่างไรก็ตามทุกรหัสนั้นสามารถแก้ได้ เพื่อแปลออก
   มาเป็นคำตอบของชีวิตผู้นั้นว่าเราเคยทำกรรมอันใดมา และวันนี้ควรหลีกเลี่ยงกรรมอะไร
   ควรหลีกเลี่ยงวัตถุ อาหาร หรือใครหรือสถานที่ไหนบ้าง นอกจากนี้ยังเป็นตัวบอกถึงสิ่ง
   ที่เราควรแก้ไขตัวเองเพื่อไม่ให้แพ้สิ่งที่ติดตัวเรามาแต่อดีตชาติ รวมทั้งทำการเพิ่มพูน
   ศักยภาพบางอย่างที่เคยมีมาแต่อดีต

ที่มา  http://www.thossaporn.com/article_detail.php?id_edit=20

28166  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: กรรมอะไร ที่เราต้องโดนด่ากลางที่สาธารณะ เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 03:27:11 pm
พุทธประวัติ
ตอน นางจิญจมาณวิกา

 

ในขณะที่พระบรมศาสดาเสด็จประทับ ณ เชตุวันมหาวิหาร นครสาวัตถี พระภิกษุสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา เป็นอันมากได้สำเร็จมรรคผล ทำให้เกิดลาภสักการะในพระพุทธศาสนามากมาย ฝ่ายพวกเดียรถีย์ นักบวชนอกศาสนาก็เสื่อมลาภ หมดอำนาจ ผู้คนนับถือน้อยลงพากันอิจฉา คิดจะกำจัดพระพุทธองค์เสีย จึงได้ว่าจ้างนางจิญจมานวิกา ให้กล่าวโทษใส่ร้ายพระศาสดา วันหนึ่งขณะที่ฝูงชนกำลังฟังธรรมเทศนาอยู่ นางได้เอาท่อนไม้รองในมีผ้าเก่าพันท้องให้โตขึ้นเหมือนกับว่าตั้งครรภ์แก่ แล้วให้พวกเดียรถีย์เอาไม้ทุบหลังมือหลังเท้า ให้บวมคล้ายหญิงมีคครภ์จวนคลอด เข้าไปยืนอยู่ข้างหน้าฝูงชนแล้วกล่าวขึ้นว่า “ท่านจะมาแสดงธรรมอยู่ทำไม บัดนี้เด็กในครรถ์ของข้าพเจ้าซึ่งเกิดกับท่านใกล้จะคลอดอยู่แล้ว ถึงท่านจะไม่ดูแลก็ควรจะให้พระเจ้าดกศลหรือท่านอนาถบิณฑิกะเศรษฐี หรือนางวิสาขาคนใดคนหนึ่ง ช่วยเลี้ยงดูข้าพเจ้าและลูก”

พระพุทธองค์ทรงหยุดแสดงธรรมและกล่าวกับนาง ว่า “ดูก่อนน้องหญิง เรื่องนี้เจ้ากับเราสองคนเท่านั้นรู้กันว่าจริงหรือไม่จริงตามคำของนาง” นางจึงตอบว่า “จริงทีเดียว เพราะการที่ข้าพเจ้ามีครรภ์ขึ้นนี้ มีแต่ท่านกับข้าพเจ้าเท่านั้นที่รู้กัน”

ในขณะนั้น ท้าวสักกะมีอาการร้อนอาสนะ จึงสอดส่องทิพยจักษุลงมา ทรงทราบว่าหญิงงามแต่ใจทรามกำลังกล่าวตู่พระตถาคต จึงดำริว่า เราจะต้องเป็นผู้ชำระคดีนี้ด้วยตนเอง ว่าแล้วก็เสด็จมาพร้อมกับเทพบุตร ๔ องค์ เทพบุตรได้แปลงเป็นลูกหนูเข้าไปกัดเชือกที่ผูกท่อนไม้รองในติดที่ ท้องของนางจิญจมานวิกา ท่อนไม้นั้นก็ขาดตกลงมาถูกหลังเท้าของนาง ได้รับความเจ็บปวดและเกิดมีลมแรงพัดเอาเสื้อผ้าของนางให้ปลิวขึ้น จนปรากฎแก่คนทั้งหลายว่า นางมิได้ตั้งครรภ์ นางได้กล่าวตู่หาความใสร้ายพระพุทธองค์ คนทั้งหลายพากันลุกฮือขึ้นไล่ทุบตี พอออกไปพ้นประตูพระเชตวันมหาวิหาร นางก็ถูกแผ่นดินสูบ

ที่มา  http://www.dharma-gateway.com/buddha/buddha-history/buddha-history-misc-07.htm
---------------------------------------------------------------------------------------- 

ว่าด้วยบุพกรรมของพระพุทธเจ้า

ในชาติอื่นในกาลก่อน เราเป็นนักเลงชื่อปุนาลิ ได้กล่าวตู่พระปัจเจกพุทธเจ้าชื่อว่าสุรภี ผู้ไม่ประทุษร้าย (ตอบ)   ด้วยวิบากแห่งกรรมนั้น เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ได้เสวยทุกขเวทนาแสนสาหัสหลายพันปีเป็นอันมาก
ด้วยผลกรรมอันเหลือนั้น ในภพหลังสุดนี้ เราจึงได้คำกล่าวตู่เพราะเหตุแห่งนางสุนทริกา เพราะการกล่าวตู่พระเถระนามว่านันทะ สาวกของพระพุทธเจ้า ผู้ครอบงำอันตรายทั้งปวง

เราจึง ท่องเที่ยวอยู่ในนรกสิ้นกาลนาน เราท่องเที่ยวอยู่ในนรกเป็นเวลานาน ถึงหมื่นปี ได้ความเป็นมนุษย์แล้ว ได้การกล่าวตู่เป็นอันมาก  ด้วยผลกรรมที่เหลือนั้น นางจิญจมานวิกามากับหมู่ชน ได้กล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่เป็นจริง

อ้างอิง
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๒  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๔
ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๑
พุทธาปทานชื่อปุพพกรรมปิโลติที่ ๑๐ (๓๙๐)

ที่มา http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=32&A=7849&Z=7924&pagebreak=0

---------------------------------------------------------------------------------------- 

เมื่อถูกด่าควรทำอย่างไร

ปัญหา เมื่อเราถูกโกรธก็ดี ถูกด่าก็ดี เราควรทำอย่างไร ควรจะโกรธตอบ ด่าตอบ หรือควรจะเฉยเสีย ?

พุทธดำรัสตอบ “ ดูก่อนพราหมณ์.....

ท่านด่าเราผู้ไม่ด่าอยู่ ท่านโกรธเราผู้ไม่โกรธอยู่

ท่านหมายมั่นเราผู้ไม่หมายมั่นอยู่ เราไม่รับรู้เรื่องมีการด่าเป็นต้นของท่านนั้น
 
ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าของท่านผู้เดียว
 
ดูก่อนพราหมณ์.... ผู้ใดด่าตอบบุคคลผู้ด่าอยู่

โกรธตอบบุคคลผู้โกรธอยู่ หมายมั่นตอบบุคคลผู้หมายมั่นอยู่....

ผู้นี้ เรากล่าวว่า ย่อมบริโภคร่วมกัน ย่อมกระทำตอบกัน

เรานั้นไม่บริโภคร่วม ไม่กระทำตอบด้วยท่านเป็นอันขาด

ดูก่อนพราหมณ์ เรื่องมีการด่าเป็นต้นนั้น เป็นของท่านผู้เดียว”

อักโกสกสูตรที่ ๒ ส. สํ. (๖๓๒)
ตบ. ๑๕ : ๒๓๘ ตท. ๑๕ : ๒๒๕
ตอ. K.S. I : ๒๐๒
http://www.84000.org/true/121.html

---------------------------------------------------------------------------------------- 

วิธีปฏิบัติเมื่อถูกด่าว่า


ปัญหา เมื่อเราถูกด่าว่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย เราควรจะปฏิบัติอย่างไร?

พุทธดำรัสตอบ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ

กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑

กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑

กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคาย ๑

กล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑

มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่น

จะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สามควรก็ตาม

จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม
 
จะกล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือคำหยาบคายก็ตาม
 
จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม

จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะภายในกล่าวก็ตาม

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน

เราจักไม่เปล่งวาจาลามก

เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์

เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน

เราจักแผ่มตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และจักแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์

ใหญ่ยิ่งหาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท

ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทางซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเธอทั้งหลายถึงศึกษา ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แลฯ ”

กกจูปมสูตร มู. ม. (๒๖๗)
ตบ. ๑๒ : ๒๕๕-๒๕๖ ตท.๑๒ : ๒๐๖-๒๐๗
ตอ. MLS. I : ๑๖๓-๑๖๔
http://www.84000.org/true/024.html

---------------------------------------------------------------------------------------- 

เรื่องกรรมเป็นเรื่องอจินไตย คิดมากไม่ได้  มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ตอบได้

พระพุทธเจ้าก็ยังหนีบุพกรรมไม่พ้น คนธรรมดาอย่างเรา  ต้องยอมรับสภาพครับ

ผมเสนอเรื่องที่ใกล้เคียงกับเรื่องของคุณปกรณ์ได้เท่านี้ครับ

อยากให้ถือว่า นั่นเป็นแบบฝึกหัดที่ดี ในการเจริญสติ (พิจารณาลงเป็นไตรลักษณ์)

เอาเป็นเครื่องวัดระดับธรรมในใจได้

 “ปัญหามา ปัญญามี” 

ขอให้ธรรมคุ้มครองครับ

28167  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: ความเข้าใจที่ผิดพลาด เกี่ยวกับ "หลักกรรม" เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 02:20:02 pm
คุณจำลองครับต้องขอโทษด้วย บทความเรื่องหลักกรรมฯนี้ ข้อความตกไปประโยคหนึ่ง

เป็นประโยคสุดท้าย ดังนี้ครับ

"ไม่ถูกต้องอย่างไรค่อยเทศน์ เอ๊ย มาอธิบายต่อก็แล้วกัน อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ง่วงนอนไหมจ๊ะ"


บทความนี้มีทั้งหมด ๑๘ คอลัมภ์ จะทยอยเสนอเป็นลำดับๆไป

โปรดติดตามตอนต่อไป
:49:
28168  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติธรรม ทำไมต้องแบ่งว่าเป็นกรรมฐาน นั้น กรรมฐานนี้ ครับ เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 01:58:32 pm
 
ยอดมาก ตอบได้ดีมาก ขอยกนิ้วให้ หนุ่มหล่อ ใจดี AXE  :25: :s_good:
28169  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: เข้าถึงธรรม...อย่างนี้ถูกหรือป่าวครับ ? เมื่อ: มีนาคม 12, 2010, 01:53:10 pm

อุปาทาน ๔ (ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส, ความยึดติดอันเนื่องมาแต่ตัณหา ผูกพันเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง - attachment; clinging; assuming)

๑. กามุปาทาน (ความยึนมั่นใน กาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าใคร่ น่าพอใจ - clinging to sensuality)


๒. ทิฏฐุปาทาน
(ความยึดมั่นในทิฏฐิหรือทฤษฎี คือความเห็น ลัทธิ หรือหลักคำสอนต่างๆ - clinging to views)


๓. สีลัพพตุปาทาน
(ความยึดมั่นในศีลและพรต คือ หลักความประพฤติ ข้อปฏิบัติ แบบแผน

 ระเบียบ วิธี ขนบธรรมเนียมประเพณี ลัทธิพิธีต่างๆ ถือว่าจะต้องเป็นอย่างนั้นๆ โดยสักว่ากระทำสืบๆ

กันมา หรือปฏิบัติตามๆ กันไปอย่างงมงาย หรือโดยนิยมว่าขลัง ว่าศักดิ์สิทธิ์ มิได้เป็นไปด้วยความรู้

ความเข้าใจตามหลักความสัมพันธ์แห่งเหตุและผล - clinging to mere rule and ritual)


๔. อัตตวาทุปาทาน
(ความยึดมั่นในวาทะว่าตัวตน คือ ความถือหรือสำคัญหมายอยู่ในภายใน

ว่า มีตัวตน ที่จะได้ จะเป็น จะมี จะสูญสลาย ถูกบีบคั้นทำลายหรือเป็นเจ้าของ เป็นนายบังคับบัญชาสิ่ง

ต่างๆ ได้ ไม่มองเห็นสภาวะของสิ่งทั้งปวงอันรวมทั้งตัวตนว่าเป็นแต่เพียงสิ่งที่ประชุม ประกอบกันเข้า

เป็นไปตรมเหตุปัจจัยทั้งหลายที่มาสัมพันธ์กันล้วนๆ - clinging to the ego-belief)


D.III.230; M.I.66; Vbh.375.   ที.ปา.๑๑/๒๖๒/๒๔๒; ม.มู.๑๒/๑๕๖/๑๓๒; อภิ.วิ.๓๕/๙๖๓/๕๐๖.

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม (ป.อ.ปยุตโต)
28170  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / วิชชาจรณสัมปันโน พุทธคุณข้อที่ ๓ เมื่อ: มีนาคม 11, 2010, 08:58:16 pm

วิชชาจรณสัมปันโน
 
เป็นพุทธคุณ(คุณของพระพุทธเจ้า)ข้อที่ ๓ จากทั้งหมด ๙ ข้อ แปลว่า ผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ

หมายถึง เป็นผู้ได้บรรลุวิชชา โดยเป็นคนแรกที่บรรลุวิชชานั้น

ส่วนสาวกไม่ใช่คนแรกที่รู้ เป็นเพียงรู้ตามพระศาสดาอีกต่อหนึ่งเท่านั้น

จึงมีบทเรียกต่างหากว่า เตวิชโช แปลว่า ผู้มีวิชชาสาม

ส่วนจรณะเป็นข้อปฏิบัติให้บรรลุวิชชา

(วิชชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ)

________________________________________

วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
 
๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน)

๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ)
 
๓. อิทธวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้)

๔. ทิพพโสต (หูทิพย์)

๕. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้)

๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้)

๗. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์)

๘. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ)

________________________________________

จรณะ ๑๕ (ความประพฤติ, ปฏิปทา, ข้อปฏิบัติอันเป็นทางบรรลุวิชชาหรือนิพพาน )

ในบาลีที่มา ท่านเรียกว่า เป็น เสขปฏิปทา คือข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ


๑. สีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล คือ ประพฤติถูกต้องดีงาม สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทเรียบร้อย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย)
 
๒. อปัณณกปฏิปทา ๓   ดู (๑๒๗) อปัณณกปฏิปทา ๓

๓. สัทธรรม ๗   ดู (๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘ ข้อ ๑.

๔. ฌาน ๔   ดู (๙) ฌาน ๔

________________________________________

(๑๒๗) อปัณณกปฏิปทา ๓ (ข้อปฏิบัติที่ไม่ผิด, ปฏิปทาที่เป็นส่วนแก่นสารเนื้อแท้ ซึ่งจะนำผู้ปฏิบัติให้ถึงความเจริญงอกงามในธรรม เป็นผู้ดำเนินอยู่ในแนวทางแห่งความปลอดพ้นจากทุกข์อย่างแน่นอนไม่ผิดพลาด)

๑. อินทรียสังวร (การสำรวมอินทรีย์ คือระวังไม่ให้บาปอกุศลธรรมครอบงำใจ เมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖)

๒. โภชเน มัตตัญญุตา (ความรู้จักประมาณในการบริโภค คือรู้จักพิจารณารับประทานอาหารเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายใช้ทำกิจให้ชีวิตผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนาน มัวเมา)

๓. ชาคริยานุโยค (การหมั่นประกอบความตื่น ไม่เห็นแก่นอน คือ ขยันหมั่นเพียรตื่นตัวอยู่เป็นนิตย์ ชำระจิตมิให้มีนิวรณ์ พร้อมเสมอทุกเวลาที่จะปฏิบัติกิจให้ก้าวหน้าต่อไป)

________________________________________

(๒๘๙) สัปปุริสธรรม ๘ (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี)

๑. สัทธัมมสมันนาคโต (ประกอบด้วยสัทธรรม ๗ ประการ) คือ
ก. มีศรัทธา
ข. มีหิริ
ค. มีโอตตัปปะ
ง. เป็นพหูสูต 
จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว
ฉ. มีสติมั่นคง
ช. มีปัญญา
________________________________________

(๙)  ฌาน ๔
= รูปฌาน ๔

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓)  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา
 
๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔)  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)

________________________________________

ตอบคำถาม

จากรายละเอียดของ วิชชา ๘ จะเห็นว่า เป็นเรื่องของวิปัสสนาและอิทธิฤทธิ์

ซึ่งทั้งสองอย่างต้องใช้สมาธิทั้งสิ้น

ในส่วนของจรณะ จะเห็นมีเรื่องฌานอยู่ด้วย คงทราบกันดีแล้วว่า เป็นสมาธิล้วนๆ

ส่วนข้ออื่นๆขอให้พิจารณาเอาเองนะครับ

ที่มา พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม(ป.อ.ปยุตโต)
และ หนังสือคู่มือ ธรรมวิภาค น.ธ.โท(คณาจารย์แห่งโรงพิมพ์เลี่ยงเชียง)

28171  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ปรึกษาผู้รู้เรื่องการปฏิบัติ สมาธิ ครับ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 08:02:30 pm

คุณจำลองครับ อาการแบบนี้ คำเตือนแบบนี้ เหมือนผมครับ

คุณจำลองชอบหลวงพ่ิอพุธ ควรหาหนังสือที่อธิบายเกี่ยวกับ"สัมมาสมาธิ"มาอ่านดู

หรือของท่านอื่นๆก็ได้นะครับ หาไม่ได้บอกผม จะหาวิธีส่งไปให้

พระอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวว่า
"สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา"

สัมมาสมาธิสำคัญมากครับ ครั้งหนึ่งผมเคยถามแม่ชีทศพรว่า

"ทำไมผมยังขึ้นวิปัสสนาไม่ได้" แม่ชีตอบว่า "สมาธิคุณแข็งไป"

ผมเห็นว่า แข็งไปก็ไม่ดี ใจลอยไปก็ไม่ดี ส่งจิตออกนอกก็ไม่ดี

แล้วอะไรคือ สัมมาสมาธิ จากที่ฟังมาจากพระอาจารย์ท่านหนึ่ง



ลักษณะของจิตที่มีสัมมาสมาธิ  ต้องมีลักษณะดังนี้

ลหุตา   เบา คล่องแคล่ว

มุทุตา   อ่อนโยน

กัมมัญญตา   ความควรแก่การงาน, ภาวะที่ใช้การได้ หรือเหมาะแก่การใช้งาน, ความเหมาะงาน
 
ปาคุญญตา   คล่องแคล่วว่องไว(ไม่ซึมๆทื่อๆ)

อุชุกตา
   ซื่อๆ ซื่อตรงในการรับรับรู้อารมณ์


ส่วนตัวผม ยังพยายามหา สัมมาสมาธิอยู่ครับ


ส่วนคำถาม ๓ ข้อนั้น ผมคิดว่า คุณจำลองน่าจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้ว
28172  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: กราบพระพุทธ อย่าสะดุดเอาทองคำ เมื่อ: มีนาคม 10, 2010, 09:09:27 am
  ยินดีที่คุณโปรแกรมนำเสนอเรื่องนี้ ขออนุโมทนาครับ

  อยากเห็นบทความหรือความคิดเห็นจากคุณโปรแกรมบ่อยๆ



  "คนที่ถูกนินทาอย่างเดียว  หรือ ได้รับการสรรเสริญอย่างเดียว ไม่เคยมีมา 

   แล้วจักไม่มีต่อไป   ถึงในขณะนี้ก็ไม่มี"

28173  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ทุกที่เป็นที่ปฏิบัติธรรม แต่........ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 07:06:37 pm
เห็นด้วยกับคุณจำลองครับ และอนุโมทนากับศรัทธาอันแรงกล้าเรื่องที่ดินของคุณจำลอง

 สิ่งที่ต้องพิจารณาก็คือ "การรอเหตุปัจจัยที่เหมาะสม"

 สักวันความหวังของคุณจำลองต้องเป็นจริง
28174  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ประสพปัญหากับพระอาจารย์ที่ผมนับถือ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:55:36 pm

 อยากเห็นคุณจำลอง แสดงความเห็นแบบนี้บ่อยๆ เพื่อนๆจะได้รับความรู้ที่กว้างขวางยิ่งขึ้น

 ขออนุโมทนากับทุกท่านครับ
28175  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / กิจกรรมวันสงกรานต์ และเรื่องน่ารู้ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:42:06 pm
กิจกรรม วันสงกรานต์


วันจ่ายสงกรานต์
ใน วันจ่ายสงกรานต์ นอกจากเตรียมเครื่องเสื้อผ้าใหม่ๆ ไว้แต่ง เขายังทำขนมกวน สำหรับทำบุญถวายพระ และแจกชาวบ้าน ขนมนั้นโดยมากเป็นขนมเปียกข้าวเหนียวแดง และขนมกะละแมเป็นพื้น การแจกนอกจากจะเป็นเครื่องแสดงไมตรียังเป็นเรื่องอวดฝีมือด้วยว่าใครกวนขนม ได้ดีกว่ากัน

การทำขนมในวันนี้นั้น ถ้าบ้านไหนเจ้าบ้านเป็นผู้มั่งคั่งก็ต้องกวน ขนมอย่างนั้นกันเป็นจำนวนมาก จึงจะพอแจกจ่ายให้สมกับฐานะที่เขากวนในวันสงกรานต์ เพื่อแจกแก่ชาวบ้านเพื่อนบ้าน ก็เพราะ สมัยนั้นหาซื้อได้ยาก จึงต้องทำช่วยตัวเองคนแต่ก่อนไม่มีขนมมาขาย อยากกินก็ต้องทำกินเอง เหตุนี้ในวันสงกรานต์หรือว่าในงานอะไร จึงต้องกวนขนมกันเป็นงานใหญ่ สำหรับเลี้ยงพระ และแจกแก่ผู้ที่นับถือและเพื่อนบ้าน จึงได้มีการกวนขนมกันในเทศกาลสงกรานต์และตรุษสารท มีประเพณีสืบกันมาที่ชาวตะวันตกทำเค้กปีใหม่ไปให้กันหรือกำนัลใคร ที่เรานำแบบอย่าง ชาวตะวันตกมาเพราะสะดวก

ทำบุญตักบาตร

 


สงกรานต์ วันต้นหรือวันมหาสงกรานต์ ชาวบ้านลุกขึ้นแต่ไก่ขัน เพื่อเตรียม ไปตักบาตรถวายพระ พอหุงหาอาหารเสร็จ ก็จัดเตรียมอาหารและสิ่งของถวายพระ บรรจุลงภาชนะมีถ้วยโถโอชามอย่างดี แล้วแต่จะมี แล้วเอาวางเรียงลงในถาด หรือภาชนะอย่างอื่นๆ ที่นิยมในท้องถิ่น เพื่อนำไปทำบุญตักบาตรและเลี้ยงพระประจำหมู่บ้านของตนเรื่องการแต่งตัว จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มใหม่ ซึ่งเตรียมหาไว้ ก่อนหน้าวันสงกรานต์หลายวัน โดยเฉพาะหญิงสาวจะได้แต่งตัวให้สวยพริ้ง เพื่อไปอวดตามวิสัยของคนหนุ่มคนสาวที่รักสวยรักงาม และหญิงสาวพวกนี้ และที่เป็นคนยกเครื่องไทยธรรมของทำบุญ หลังจากตักบาตรเสร็จแล้ว มีเลี้ยงพระฉันเช้าที่ศาลาการเปรียญ โดยมัคนายกเป็นผู้จัดการเรื่องปูเสื่อสาดอาสนะ พอพระฉันเสร็จ ยถาสัพพีอนุโมทนาแล้ว ชาวบ้านก็กลับบ้านกันไป

ก่อพระเจดีย์ทราย
 


ไม่มีกำหนดแน่นอนว่าจะต้องก่อในวันสงกรานต์ ถึงวันอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียงกับ สงกรานต์ ก็มีก่อกัน และไม่จำเป็นต้องก่อที่ในวัดบางแห่งที่อยู่ใกล้แม่น้ำ ตอนเหนือๆ ก่อพระเจดีย์ทรายที่หาดทรายในแม่น้ำก็มี เช่น จังหวัดกำแพงเพชร ในวันก่อ เขามีทำบุญเลี้ยงพระที่หาดทรายด้วย เรียกกันว่า ก่อพระทรายนำไหล เสร็จแล้วก็มีเลี้ยงพระและเลี้ยงดูกันส่วนทางภาคอีสาน บางแห่งเขาทำบุญสงกรานต์เป็นสองระยะ ระยะ แรกทำบุญตักบาตรกลางลานในวันตรุษ ระยะหลังทำบุญตักบาตรที่ลานบ้านในวันสงกรานต์

ทางอำเภอ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีการทำบุญตักบาตรกลางบ้านเหมือนกัน คือเลี้ยงพระกันที่สองข้างถนน จึงเห็นได้ว่าการตักบาตรจะทำกันที่ไหนก็ได้ แล้วแต่สะดวกและนัดกัน ทางจังหวัดนครศรีธรรมราช มีการก่อพระเจดีย์ทราย เป็นสองตอน ตอนที่หนึ่งก่อที่ลานวัดในวันตรุษ และอีกตอนหนึ่งก่อที่ลานบ้านในวันมหาสงกรานต์ การก่อพระเจดีย์ทรายที่กลางลานบ้านเขาก่อแต่องค์เดียวเป็นส่วนรวม จะขนาดเล็กขนาดใหญ่ก็แล้วแต่กำลังที่จะไปหาบขนเอาทรายมาได้มากน้อยเท่าไหร่ สำหรับก่อ

ทรายที่จะนำมาก่อนั้นเอามาจากลำห้วยลำธารหรือตามหาดทราย ในแม่น้ำ แล้วแต่จะสะดวก การขนทรายก็ไม่ต้องจ้างใครที่ไหน พวกหนุ่มๆ สาวๆ และเด็กๆ นั่นแหละเป็นผู้โกยไปขนใส่กระบุงหาบคอนกันมาเวลาเย็น

ปล่อยนกปล่อยปลา

 


เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลานั้น ที่ทำกันมากคือปล่อยปลา เพราะในกรุงเทพฯ ถ้ามีเงินก็หาซื้อเอาไปปล่อยได้สะดวก ปลาที่ปล่อยโดยมากเป็นปลาชนิดที่เขาไม่กินกัน เพราะเป็นลูกปลาตัวเล็กๆ จับเอามามากๆ ได้สะดวกเพราะ มันตกคลักจับเอา มาได้ก็รวมเอามาขายส่ง โดยมากเป็นลูกปลาหมอ เพราะมันอดทน ไม่ตายง่ายเหมือนปลาชนิดอื่น

การแห่ปลา พวกผู้ชายจะไม่แห่ปลาในตำบลของตน แต่มีประเพณีว่า ชายตำบลนี้ต้องเข้าร่วมแห่ปลาตำบลโน้นเพื่อเชื่อมสามัคคีกัน

เรื่อง ปล่อยนกปล่อยปลา ที่มักทำกันในวันสงกรานต์ เพราะก่อนหน้าวันสงกรานต์เป็นหน้าแล้งอากาศร้อนจัดน้ำแห้งขอดขาดตอนเป็น ห้วงๆ คงเหลือแต่ที่มีแอ่งและหนองน้ำ ปลาก็ตกคลัก อีกไม่ช้าพอน้ำแห้งหมด ปลาเหล่านั้นก็จะต้องตาย ชาวบ้านจึงพากันไปจับปลาที่ตกคลัก ถ้าเป็นลูกปลาจะกินไม่ได้เนื้อได้หนังอะไรก็เลี้ยงไว้ในตุ่มเอาบุญ แล้วนำไปปล่อยในวันสงกรานต์ จึงเกิดเป็นประเพณีปล่อยปลา และลามมาถึงปล่อยนกด้วย

บังสุกุลอิฐ
นอกจากปล่อยนกปล่อยปลาในวันสงกรานต์แล้ว ยังมีประเพณีบังสุกุลอัฐญาติ ผู้ใหญ่ การบังสุกุลนั้นทำแต่ครั้งเดียวจะทำในวันสงกรานต์วันไหนแล้วแต่จะสมัครใจและ นัดหมายกัน โดยมากทำในวันสรงน้ำพระ หรือไม่ก็ทำกันใน วันท้ายวันสงกรานต์ ถ้าจะทำกันในวันแรกของสงกรานต์ เมื่อพระฉันเพลแล้ว ให้เสร็จธุระกันไปก็ได้ ตามประเพณีแต่ก่อนเขาไม่เอาอัฐิเข้าบ้าน ถ้าเป็นชาวบ้านมักฝังญาติผู้ใหญ่ไว้ใต้โคนต้นโพในวัด ฝังไส้ตรงเหลี่ยมไหนรากไหนของต้นโพเขาจำเอาไว้ และนิมนต์พระไปบังสุกุลที่ตรงนั้น

เรื่องบังสุกุลอัฐิในวันสงกรานต์ ถ้าว่าถึงประเพณีชาวฮินดูก็ไม่มี เพราะเมื่อเขาเผาศพแล้ว ตามปกติก็ทิ้งอัฐิ
และเถ้าถ่านลงในแม่น้ำ โดยเฉพะแม่น้ำคงคา เพราะฉะนั้นเรื่องบังสุกุลอัฐิก็คงเป็นประเพณีเดิมของเรา
ไม่ใช่ได้มาจากอินเดีย ในท้องถิ่นเราบางแห่ง เมื่อถึงวันสงกรานต์ เขามีพิธีบวงสรวงผีปู่ย่าตายาย ประจำหมู่บ้าน ซึ่งทางภาคอีสานเรียกว่า ผีปู่ตา และภาคพายัพเรียกว่า ผีปู่ย่า ภาคปักษ์ใต้เรียกว่า ผีตายาย และผีประจำเมืองคือผีหลักเมือง และ ผีเสื้อเมืองด้วย

ทางภาคกลางมีประเพณีอันเนื่องด้วยสงกรานต์อีกอย่างหนึ่งคือ ห้ามตักน้ำตำ ข้าวเก็บผักหักฟืน อันเป็นงานประจำวันครัวเรือนและเป็นงานอยู่ในหน้าที่ของผู้หญิง จะต้องเตรียมหาสำรองเอาไว้ให้พร้อม
ก่อนถึงวันสงกรานต์ จะได้ไม่กังวล

สรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำ


การ สรงน้ำพระพุทธรูป มีดอกไม้ ธูปเทียน ไปบูชา แล้วเอาน้ำอบไปประพรมที่องค์พระ ทำเป็นสังเขปพอเป็นพิธีว่าได้แสดงความเคารพบูชาและสรงน้ำท่านในวันขึ้นปี ใหม่แล้ว เมื่ออัญเชิญพระพุทธรูปมา ก็มีการแห่แหนกันอย่างสนุกสนาน สรงน้ำพระพุทธรูปแล้วก็มีการสรงน้ำพระสงฆ์ โดยมากมักเป็นสมภารเจ้าวัดเป็นการสรงน้ำจริงๆ สรงเสร็จครองไตรจีวรใหม่ที่อุบาสกอุบาสิกานำมาถวาย ท่านก็ขึ้นธรรมาสน์เทศน์อำนวยพรปีใหม่ให้แก่ผู้ที่ไปสรงน้ำ นอกจากนี้ยังมีการ รดน้ำญาติผู้ใหญ่ หรือ ผู้ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ เพื่อขอศีลขอพรตามประเพณี

สรงน้ำพระ เสร็จแล้ว ก็ชวนกันเล่นสนุก สาดน้ำ และเลี้ยงกันที่ลานวัด ของที่เลี้ยงมีขนมปลากริมไข่เต่า และลูกแมงลักน้ำกะทิ ซึ่งชาวบ้านเรี่ยไรออกเงิน และจัดทำเอามาเลี้ยงกันด้วยความสามัคคี

เหตุ ที่มีการสรงน้ำ รดน้ำ และสาดน้ำในวันสงกรานต์ เนื่องมาจากความเชื่อ ที่ว่าการสาดน้ำ จะช่วยให้ฝนฟ้าตกบริบูรณ์ประการหนึ่ง น้ำเป็นเครื่องหมายแห่งความอุดมสมบูรณ์ เมื่อมีน้ำการเพาะปลูก ทำไร่ไถนาก็ได้ผล ประการหนึ่ง และถือกันว่าน้ำเป็นเครื่องชำระมลทินให้สะอาดอีกประการหนึ่ง เหตุนี้น้ำจึงเป็นสิ่งที่ใช้ในพิธีต่างๆ อาบน้ำ ซัดน้ำ หรือรดน้ำ เมื่อทำพิธีสมรส อาบน้ำเมื่อตาย อาบน้ำเมื่อโกนจุก หรือบวชนาค ฯลฯ

รดน้ำดำหัว
 


เครื่อง ดำหัวของภาคพายัพ ที่เขานำไปรดน้ำผู้ใหญ่ในวันพญาวัน นอกจากดอกไม้ธูปเทียนและผ้าใหม่สำหรับผลัด เขายังมีหมากพลูไปด้วย เพราะหมากพลูเป็นเครื่องแสดงความเคารพนับถือและ เป็นเครื่องแสดงไมตรีจิตด้วยอีกโสดหนึ่งและยังมีน้ำส้มป่อยและน้ำอบ

น้ำ ส้มป่อยเป็นของใช้แทนสบู่ที่เมื่อก่อนยังไม่มีสิ่งนี้ สำหรับสระผมและชำระร่างกาย ผู้ใหญ่เมื่อรับเครื่องดำหัวแล้ว ก็เอาน้ำส้มป่อยและน้ำอบประพรมบนศีรษะพอเป็นกิริยา ว่าได้ดำน้ำสระหัวแล้ว ต่อจากนั้นก็ให้ศีลให้พร กันตามประเพณี

อนึ่งในวันนี้บางคนยังนำ เสื้อผ้าของเขาสำรับหนึ่ง ต่างคนเอาบรรจุลงขันของตน พร้อมด้วยเครื่องบริขาร มีกล้วย มีอ้อย มีใบขนุน มีใบแก้วเป็นต้น นำไปตั้งที่ลานวัดภายในมณฑลวงด้ายสายสิญจน์ แล้วพระสงฆ์ จะประพรมเสื้อผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำมนต์ เพื่อความบริสุทธิ์ของเสื้อผ้าเพื่อใช้ในปีใหม่ เสร็จแล้วนำกลับมาเก็บไว้อย่างนั้นหลายๆ วัน

ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMainAct.aspx
----------------------------------------------- 

งาน สำคัญบุญสงกรานต์

วันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง
เริ่มจากตอนเช้ามีการยิงปืนขับไล่ เสนียดจัญไร ให้ล่วงลับไปกับสังขานต์ และในแต่ละบ้านมีการทำความสะอาด ตลอดจนตามถนนและตรอกซอยเข้าบ้าน จากนั้นก็ทำความสะอาดชำระล้างร่างกาย สระเกล้าดำหัวให้สะอาดมีจิตใจผ่องใส หลังจากนั้นไปเที่ยวตามหมู่บ้านหรือในปัจจุบันนิยมไปเที่ยวตามสถานที่ท่อง เที่ยวต่างๆ เรียกว่า “ไปแอ่วปีใหม่” วันนี้มีการเล่นรดน้ำกันแล้ว
 


วันที่ 14 เมษายน วันเนา หรือวันเน่า
วัน “ขนทราย” หรือ วันเนา์ วันปู๋ติ วันนี้จะทำสิ่งต่างๆ ที่เป็นมงคล ไม่ด่่าทอหรือทะเลาะวิวาท ตอนเช้าไปจ่ายของและอาหาร เตรียมทำบุญถวายพระ ในวันรุ่งขึ้น วันเตรียมอาหารและเครื่องไทยทานเรียกว่า“วันดา” (คำวันสุกดิบทางภาคอื่น) และทุกบ้านจะทำกับข้าวที่สามารถเก็บไว้ได้หลายวัน เช่น แกงเส้นร้อน แกงอ่อม ฯลฯ หรือไม่ก็จำพวกห่อนึ่ง เช่น ห่อนึ่งไก่ ห่อนึ่งปลา ฯลฯ พร้อมทั้งตระเตรียมอาหารหวาน และเครื่องไทยทานไว้ให้พร้อม

ตอนบ่าย มีการขนทรายจากแม่น้ำ นำไปไว้ที่วัดใกล้บ้าน โดยก่อเจดีย์ทรายตามลานวัด เจดีย์ทรายจะถูกประดับตกแต่งด้วยตุง (ธง) ทำด้วยกระดาษสีตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม และรูปอื่นๆ ชายธงมีการทานช่อ (ทำด้วยกระดาษสีต่างๆ) ตัดเป็นลวดลายติดปลายไม้สำหรับปักที่กองเจดีย์ทรายการทานธงและทานช่อนี้ ด้วยถือคติว่า ผู้บริจาคทานเมื่อตายไปแล้วจะได้อาศัยชายธง หอบหิ้วให้พ้นจากนรกได้ อานิสงส์การทานตุงหรือช่อนี้มีอยู่ในพระธรรมเทศนาใบลานตามวัดทั่วไป เจดีย์ทรายนี้จะทำพิธีถวายทานในวันรุ่งขึ้น มีการปล่อยนกปล่อยปลาอีกด้วย ในวันเดียวกันนี้มีการเล่นน้ำกันอย่างหนัก และเป็นที่สนุกสนานโดยเฉพาะคนหนุ่มคนสาว
 


ทุกๆ ปี เมื่อถึงเทศกาลตรุษสงกรานต์ ชาวเหนือมีประเพณีอย่างหนึ่งที่ยึดถือปฏิบัติ คือ “สุมาคารวะ” ลูกหลานจะมาขอขมาลาโทษในความผิดต่างๆ ที่เคยกระทำมาต่อญาติผู้ใหญ่ ถือว่าเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีของผู้น้อย อันมีต่อผู้ใหญ่ เรียกกันว่า “การไปดำหัว” หรือประเพณีดำหัว การไปดำหัวของคนไทยภาคเหนือ มักจะเริ่มกันใน “วันพญาวัน” (คือวันเถลิงศก)


วันที่ 15 เมษายน วันพญาวัน หรือวันเถลิงศก
ตอนเช้า จัดเตรียมอาหารคาวหวานใส่สำรับไปถวายพระที่วัด และทำบุญตักบาตรและนำไปให้ผู้เฒ่า ผู้แก่ ครูอาจารย์ หรือบุคคลที่ตนเคารพนับถือ เรียกว่าไปทานขันข้าว (ตานขันข้าว) การทานขันข้าวนี้ นอกจากจะทานให้พระ ผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคารพนับถือดังกล่าวแล้วก็มีการถวายทานเพื่ออุทิศส่วนกุศล ถึงญาติพี่น้อง บิดามารดาที่ล่วงลับไปแล้ว โดยพระที่วัดจะแยกย้ายกันนั่งประจำที่บริเวณวัดเพื่อให้ศีลให้พร แก่ผู้ไปทานขันข้าว
เสร็จจากการทำบุญตักบาตร ก็มีการถวายทานเจดีย์ทราย ปล่อยนกปล่อยปลา มีการสรงน้ำพระพุทธเจดีย์ มีการค้ำต้นโพธิ์ภายในวัดและหมู่บ้าน มีการสรงน้ำพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมือง เช่น เชียงใหม่ก็จะมีการสรงน้ำพระพุทธรูป เสตังคมณี (พระแก้วขาว) วัดเชียงมั่น พระเจ้าทองทิพย์ และ พระพุทธสิหิงค์ วัดพระสิงห์ พระเจ้าเก้าตื้อ วัดสวนดอก เสาอินทขิล หรือเสาหลักเมือง ส่วนตามจังหวัดต่างๆ ก็จะมีการไปสักการะบูชาพระพุทธรูปสำคัญประจำบ้าน เมืองตนเช่นเดียวกัน เช่น ลำปาง ก็ไปสรงน้ำพระแก้วมรกตที่วัดพระธาตุลำปางหลวง เมืองน่านที่วัดพระธาตุแช่แห้ง และที่แพร่ก็ไปสรงน้ำ ที่พระธาตุช่อแฮเป็นต้น
 


ตอนบ่าย ก็จะเริ่มการดำหัว และจะทำเรื่อยไปจนถึงวันรุ่งขึ้น หรือวันปากปี
วันที่สี่ เป็นวันปากปี มีการดำหัวตามวัดต่างๆ ที่ใกล้เคียงและห่างไกล ซึ่งมีพระในวัดและในหมู่บ้านนั้นนำไป การไปดำหัวตามวัดนี้มักจะแบ่งแยกกันเป็นสายๆ เพราะบางวัดที่อยู่ห่างไกลก็ไม่ได้ไปกันอย่างทั่วถึงนอกจากวัดที่คนนิยมไป กันอย่างสม่ำเสมอ เรียกตามภาษาเมืองว่า “ไปเติงกั๋น” หรือไปวัดของเจ้าคณะตำบล เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัด หรือพระเถระผู้ใหญ่


ที่มา  http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranImportantAct.aspx
--------------------------------------------

น่ารู้ ก่อนลุย

1. สงกรานต์เป็นเทศกาลขึ้นปีใหม่ของไทย กิจกรรมของสงกรานต์ไม่ได้มีแต่การเล่นน้ำเท่านั้น แต่ยังมีกิจกรรมที่น่าจะทำอีกมาก เช่น การทำบุญ การทำความสะอาดบ้านเรือนและบริเวณบ้าน ซึ่งนับเป็นการช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างหนึ่งด้วย

2. จุดประสงค์ของการรดน้ำ สาดน้ำในเทศกาลสงกรานต์นั้นคือ การอวยพรและขอพรกันด้วยน้ำ มิใช่ตั้งใจให้เป็นการเล่นหรือต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย

3. การประแป้งดินสอพอง แต่เดิมเป็นเพียงการแต่งตัวตามสมัยนิยมของแต่ละคน ดังนั้นใครอยากประแป้งก็ประเอง ไม่ต้องไปประให้เขา การถูกเนื้อต้องตัวผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ไม่ใช่มารยาทที่ดีของสุภาพชน อย่าทำเลย
 


4. การรดน้ำสงกรานต์ที่ถูกต้องมี 2 ประเภท คือ
- การ รดน้ำผู้ใหญ( ธรรมเนียมดั้งเดิมนิยมว่าควรมีอายุ 60 ปีขึ้นไป ) เป็นการรดน้ำเพื่อแสดง
ความเคารพและขอพรจากท่าน เมื่อไปรดน้ำที่มือท่าน ไม่ต้องไปอวยพรท่าน เพราะเราเป็นเด็ก รอรับพรจากท่านก็พอ ผู้ใหญ่จะเป็นผู้ให้พรเอง
- การรดน้ำผู้ใหญ่ที่อยู่ในวัยเดียวกันหรืออ่อนวัยกว่า เป็นการรดน้ำอวยพร ถ้าจะให้สุภาพควรขออนุญาตเสียก่อน แล้วจึงรดน้ำที่หัวไหล่ และสามารถกล่าวอวยพรได้ตามต้องการ ถ้าสนิทสนมกันอยู่แล้วก็สามารถรดน้ำและเล่นสนุกสนานได้ตามประสาเพื่อน แต่ทั้งนี้ก็ควรอยู่ในขอบเขตของมารยาท ศีลธรรม และความปลอดภัย

5. น้ำที่นำมารดและสาดกันถือเป็นสิ่งที่เป็นมงคล ดังนั้นจึงต้องเป็นน้ำสะอาด น้ำอบ น้ำหอมน้ำดอกไม้ ( ไม่จำเป็นต้องเป็นน้ำอบไทยเสมอไป น้ำอบฝรั่งก็ได้ ) แต่ไม่ควรใช้น้ำสกปรกหรือน้ำแข็งเด็ดขาด
 


6. ของรดที่นำไปมอบให้ผู้ใหญ่ ตามธรรมเนียมมักเป็นสิ่งของที่เกี่ยวกับการอาบน้ำและการแต่งตัวเป็นหลัก เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม ผ้านุ่ง ผ้าเช็ดหน้า ผ้าขนหนู สบู่ น้ำหอม แป้ง ของเหล่านี้เป็นของหลักซึ่งจำเป็นต้องมี แต่ไม่จำเป็นต้องให้ทุกอย่างที่กล่าวมา เลือกจัดให้ตามความเหมาะสม ส่วนของอื่นๆ เช่น ดอกไม้ ขนม นั้นเป็นของประกอบ มีก็ได้ ไม่มีก็ได้

7. การกราบเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูง โดยการยอบตัวลง พนมมือ และก้มลงจนมือที่พนมไว้ ท้องแขน และศีรษะจดพื้น ตรงหน้าคนหรือสิ่งที่เราตั้งใจจะกราบ การกราบปกติไม่ต้องแบมือ ไม่ว่าสิ่งของหรือบุคคลนั้นจะเป็นที่เคารพอย่างสูงเพียงใด จะแบมือก็เฉพาะกราบพระพุทธรูป หรือพระสงฆ์เท่านั้น

8. การสรง น้ำพระพุทธรูปหรือรูปเคารพ ไม่ควรรดน้ำลงตรงๆ ที่พระเศียรหรือส่วนศีรษะ ให้รดน้ำลงในส่วนอื่นๆ จะสุภาพเหมาะสมกว่า
 


9. การรดน้ำ ดำหัว เป็นประเพณีของไทยภาคเหนือกลุ่มล้านนา ซึ่งมีรายละเอียดบางอย่างแตกต่างเป็นพิเศษจากภาคอื่นๆ คำว่าดำหัว เป็นภาษาถิ่น ไม่ควรนำไปใช้เรียกการรดน้ำสงกรานต์ของภาคอื่นๆ เพราะจะทำให้ผิดความหมาย

10. สงกรานต์เป็นประเพณีของคนไทยทุกศาสนา ไม่เฉพาะชาวพุทธเท่านั้น การทำบุญก็เลือกถือปฏิบัติตามแนวของศาสนาที่ตนนับถือได้ ส่วนกิจกรรมอื่นๆเป็นของกลางๆใครๆก็ปฏิบัติได้

11. สงกรานต์ปีหนึ่งมีหนเดียว ขอเชิญชวนให้แต่งกายแบบไทยๆ เป็นการอนุรักษ์ขนบธรรมเนียมอันดีงามของเรา เท่ และ ไม่ร้อนดีด้วย

ขอขอบคุณ หนังสือ อ.ส.ท. Young Traveller ที่เอื้อเฟื้อข้อมูล
ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranMustknow.aspx




28176  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ประกาศสงกรานต์ และนางสงกรานต์ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:27:22 pm
ประกาศ สงกรานต์
ปีนี้ สงกรานต์วันพุธ ที่ ๑๔ เมษายน เวลา ๗ นาฬิกา ๒๑ นาที ๐ วินาที



นางสงกรานต์
ทรงนามว่า มณฑาเทวี ทรงพาหุรัตน์ทัดดอกจำปา แก้วไพฑูรย์ เป็นอาภรณ์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเหล็กแหลม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมา บนหลังลา


เกณฑ์นาคให้น้ำ - ปีขาล นาคราชให้น้ำ 3 ตัว ฝนแรกปีงาม กลางปีน้อย ปลายปีมากแล

เกณฑ์ ธัญญาหาร - ชื่อ ปาปะ ข้าวกล้าในภูมินาจะได้ผล 1 ส่วน เสีย 10 ส่วน คนทั้งหลายจะได้ทุกข์ลำบาก ได้ยากเพราะกันดารอาหารบ้าง จะฉิบหายเป็นอันมากแล

เกณฑ์พิรุณศาสตร์ - ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลในฝนตก 300 ห่า ตกในจักรวาล 120 ห่า ตกในหิมพานต์90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า


คำทำนายเกี่ยวกับวันมหาสงกรานต์ วันเนา และวันเถลิงศก ก็มีว่า
๑. ถ้าวันอาทิตย์ เป็น วัน มหาสงกรานต์ ปีนั้นพืชพันธุ์ธัญญาหารไม่สู้จะงอกงามนัก ถ้าวันอาทิตย์เป็น วันเนา ข้าวจะตายฝอย คนต่างด้าวจะเข้าเมืองมาก ท้าวพระยาจะร้อนใจ ถ้าวันอาทิตย์เป็น วัน เถลิงศก พระมหากษัตริย์จะมีพระบรมเดชานุภาพ ปราบศัตรูได้ทั่วทุกทิศ

๒. ถ้าวัน จันทร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ ข้าราชการ ชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนคุณหญิง คุณนายทั้งหลายจะเรืองอำนาจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเนา มักเกิดความไข้ต่างๆ และเกลือจะแพง นางพญาจะร้อนใจ ถ้าวันจันทร์เป็น วันเถลิงศก พระราชินีและท้าวนางฝ่ายในจะ มีความสุขสำราญ

๓. ถ้าวันอังคาร เป็น วันมหาสงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง แต่ถ้าวันอังคารเป็น วันเนา ผล หมากรากไม้จะแพง ถ้าวันอังคารเป็น วันเถลิงศก ข้าราชการ ทุกหมู่เหล่าจะมีความสุข มีชัยชนะแก่ศัตรูหมู่พาล

๔. ถ้าวันพุธ เป็นวัน มหา สงกรานต์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่จะได้รับการยกย่องจากต่างประเทศ ถ้าวันพุธเป็น วันเนา ข้าวปลาอาหารจะแพง แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่ ถ้าวันพุธเป็น วันเถลิงศก บรรดานัก ปราชญ์ราชบัณฑิตจะมีความสุขสำราญ

๕. ถ้า วันพฤหัสบดี เป็น วันมหาสงกรานต์ ผู้น้อย จะแพ้ผู้เป็นใหญ่ และเจ้านาย ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเนา ผล ไม้จะแพง ราชตระกูลจะมีความร้อนใจ ถ้าวันพฤหัสบดีเป็น วันเถลิงศก สม ณชีพราหมณ์จะปฏิบัติกรณียกิจอันดีงาม

๖. ถ้า วันศุกร์ เป็น วันมหาสงกรานต์ พืชพันธุ์ ธัญญาหารจะอุดมสมบูรณ์ ฝนชุก พายุพัดแรง ผู้คนจะเป็นโรคตาและเจ็บไข้กันมาก ถ้าวันศุกร์เป็น วันเนา พริกจะแพง แร้งกาจะเป็นโรค สัตว์ป่าจะเป็นอันตราย แม่หม้ายจะมีลาภ ถ้าวันศุกร์เป็น วันเถลิงศก พ่อค้าคหบดีจะทำมาค้าขึ้น มีผลกำไรมาก

๗. ถ้าวันเสาร์ เป็น วันมหา สงกรานต์ โจรผู้ร้ายจะชุกชุม จะเกิดการเจ็บไข้ร้ายแรง ถ้าวันเสาร์เป็น วันเนา ข้าวปลาจะแพง ข้าวจะได้น้อย ผลไม้จะแพง น้ำน้อย จะเกิดเพลิงกลางเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ถ้าวันเสาร์เป็น วันเถลิงศก บรรดาทหารทั้งปวงจะมีชัยชนะแก่ข้าศึกศัตรู


นอกจากนี้ยังมีคำพยากรณ์อันเป็นความ เชื่อทางล้านนาอีกตำราว่า

หากวัน มหาสงกรานต์ตรงกับวันอาทิตย์

นางสงกรานต์ชื่อ นางแพง ศรี
ปีนั้นข้าวจักแพงมากนัก คนทั้งหลายจักเป็นพยาธิ(เป็นโรค) ข้าศึกจักเกิดมีกับบ้านเมือง หนอนแมลงจักลงกินพืชไร่ข้าวนา ฝนตกบ่ทั่วเมือง คนมั่งมีเศรษฐีจักฉิบหาย ไม้ยางเป็นไม้ใหญ่แก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้ไผ่

หากวันมหาสงกรานต์ตรงกับวัน จันทร์
นางสงกรานต์ชื่อ มโนรา
ปีนั้นงู จักเกิดมีมาก คนทั้งหลายจักเกิดเป็นพยาธิมากนัก ฝนหัวปีดี หางปีบ่พอดี ข้าวกล้าลางที่ดี ลางที่ก็บ่ดี ไม้กุ่มเป็นพญาแก่ไม้ทั้งหลาย ขวัญข้าวอยู่ไม้เดื่อเกลี้ยง

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันอังคาร
นางสงกรานต์ชื่อ รากษส เทวี
ปีนั้นฝนหัวปีดี กลางปีไม่ดี ปลายปีดีมาก ข้าวไร่ข้าวนาจักเสีย ลูกไม้บ่มีหน่วยหลาย(ได้ผลน้อย) บ้านเมืองจักเกิดกลียุค แมลงมีปีกจักทำร้ายพืชผักข้าวกล้ามากนัก ไม้พิมานเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้อ้อยช้าง

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันพุธ
นางสงกรานต์ชื่อ มัน ทะ
ปีนั้นฝนตกบ่ทั่วเมือง หัวปีมีมาก กลางปีน้อย ข้าวในนาจะได้ครึ่งเสียครึ่ง ของบริโภคจะแพง ขุนนางขุนเมืองจะตกต่ำ ไม้สะเดา เป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ที่ไม้คราม

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันพฤหัสบดี
นางสงกรานต์ชื่อ นางกัญญา เทพ
ปีนั้นฝนตกเสมอต้นเสมอปลายชอบตามฤดูกาล ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่จักมีอันตราย ช้างม้าวัวควายจักตายมากนัก ไพร่ราษฎรจักอยู่ดีมีสุข ขุนใหญ่ ปุโรหิต พระสงฆ์จักเป็นทุกข์ ไม้สักเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้ทองกวาว

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันศุกร์
นางสงกรานต์ชื่อ ริ ญโท
ปีนั้น ฝนตกหัวปีดี กลางปีบ่มีหลาย เพลี้ย บุ้งจักกัดกินทำร้ายข้าวนาพืชไร่ อันตรายจักเกิดมีแก่สมณพราหมณ์ ไม้สะเดาเป็นพญาไม้ ขวัญข้าวอยู่ไม้พุทธา

หากวันมหา สงกรานต์ตรงกับวันเสาร์

นางสงกรานต์ชื่อ สา มาเทวี
ปีนั้นฝนแล้ง แมลงต่างๆจักทำร้ายพืชไร่มากนัก ไฟจักไหม้บ้านไหม้เมือง เกิดอัคคีภัยใหญ่ ข้าวยากหมากแพง


ขอขอบคุณ คุณอมรรัตน์ เทพกำปนาท
กลุ่มประชา สัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม
เอื้อ เฟื้อข้อมูลคำทำนายสงกรานต์ ปี ๒๕๕๓

 ที่มา   http://www.songkran.net/App_ASPX/SongkranNotice.aspx


-------------------------------------------------- 

นาง สงกรานต์


นาง สงกรานต์


เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์

 จาก ตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญาแต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตก ไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น

 ยังมีเรื่องราวที่ น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้

วัน อาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค
ทัด ดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัด ดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร


วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วัน ศุกร์ ชื่อ กิมิทา
ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัด ดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง


ขอขอบคุณ บริษัทสยามแกลเลอรี่ จำกัด และสำนักพิมพ์ผ่านฟ้าพาณิชย์
เอื้อเฟื้อภาพประกอบ
ที่มา    http://www.songkran.net/App_ASPX/Lady.aspx




28177  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอประวัติวันสงกรานต์ ด้วยครับ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 06:07:17 pm
3. วันเถลิงศก


    * ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเถลิงศก พระมหากษัตริย์จะรุ่งเรืองด้วยพระเดชานุภาพ จะมีชัยชนะแก่ศัตรูทั่วทิศาทั้งปวงแล

    * ถ้าวันจันทร์เป็นวันเถลิงศก พระราชเทวี และหมู่นางสนม ราชบริพาร จะประกอบไปด้วยสุขและสมบัติทั้งปวง

    * ถ้าวันอังคารเป็นวันเถลิงศก อำมาตย์มนตรีทั้งปวงจะอยู่เย็นเป็นสุข แม้จะต่อยุทธ์ด้วยปัจจามิตร ณ ที่ใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล

    * ถ้าวันพุธเป็นวันเถลิงศก ราชบัณฑิต ปุโรหิตโหราจารย์ จะมีสุขสำราญเป็นอันมาก

    * ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเถลิงศก สมณะพราหมณาจารย์จะปฏิบัติชอบด้วยธรรมวินัยอันประเสริฐแล

    * ถ้าวันศุกร์เป็นวันเถลิงศก พ่อค้าพานิชทั้งหลาย อันไปค้าขายในประเทศต่าง ๆ จะประกอบไปด้วยพัสดุเงินทอง และมีความสุขเป็นอันมากแล

    * ถ้าวันเสาร์เป็นวันเถลิงศก หมู่ทแกล้วทหารทั้งปวง จะประกอบไปด้วยความสุข และวิชาการต่าง ๆ แม้จะกระทำยุทธ์ด้วยข้าศึก ณ ทิศใด ๆ ก็จะมีชัยชนะทุกเมื่อแล ฯ


สงกรานต์ 4 ภาค


สงกรานต์ภาคเหนือ

          หรือ สงกรานต์ล้านนา หรือ "ประเพณีปี๋ใหม่เมือง" อันโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ เริ่มตั้งแต่"วันสังขารล่อง"(13 เม.ย.) ที่มีการทำความสะอาดบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล "วันเนา"หรือ"วันเน่า"(14 เม.ย.) วันที่ห้ามใครด่าทอว่าร้ายเพราะจะทำให้โชคร้ายไปตลอดทั้งปี "วันพญาวัน"หรือ"วันเถลิงศก" (15 เม.ย.) วันนี้ชาวบ้านจะตื่นแต่เช้าทำบุญตักบาตรเข้าวัดฟังธรรม ก่อนจะไปรดน้ำดำหัวขอขมาญาติผู้ใหญ่ในช่วงบ่าย"วันปากปี"(16 เม.ย.)ชาวบ้านจะพากันไปรดน้ำเจ้าอาวาสตามวัดต่างๆเพื่อขอขมาคารวะ และ"วันปากเดือน"(17 เม.ย.)เป็นวันที่ชาวบ้านส่งเคราะห์ต่างๆออกไปจากตัวเพื่อปิดฉากประเพณี สงกรานต์ล้านนา

สงกรานต์ภาคอีสาน


         นิยมจัดกันอย่างเรียบง่าย แต่ว่ามากไปด้วยความอบอุ่น โดยคนอีสานจะเรียกประเพณีสงกรานต์ว่า "บุญเดือนห้า" หรือ"ตรุษสงกรานต์" และจะถือฤกษ์ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เวลาบ่าย 3 โมง เป็นเวลาเริ่มงานโดยพระสงฆ์จะตีกลองโฮมเปิดศักราช จากนั้นญาติโยมจะจัดเตรียมน้ำอบหาบไปรวมกันที่ศาลาวัดเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป แล้วต่อด้วยการรดน้ำดำหัว ปู่ ย่า ตา ยาย และญาติผู้ใหญ่ เพื่อขอขมาลาโทษจากนั้นก็จะเป็นการเล่นสาดน้ำสงกรานต์กันอย่างสนุกสนาน

สงกรานต์ภาคใต้

         ตามความเชื่อของประเพณีสงกรานต์แบบดั้งเดิมที่ภาคใต้แล้ว สงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งการผลัดเปลี่ยนเทวดาผู้รักษาดวงชะตาบ้านเมือง พวกเขาจึงถือเอาวันแรกของสงกรานต์(13 เม.ย.)เป็น"วันส่งเจ้าเมืองเก่า" โดยจะทำพิธีสะเดาะเคราะห์สิ่งไม่ดีออกไป ส่วน"วันว่าง"(14 เม.ย.) ชาวนครจะไปทำบุญตักบาตรที่วัด และสรงน้ำพระพุทธรูป และวันสุดท้ายเป็น"วันรับเจ้าเมืองใหม่"(15 เม.ย.)จะทำพิธีต้อนรับเทวดาองค์ใหม่ด้วยการแต่งองค์ทรงเครื่องอย่างสวยงาม ส่งท้ายสงกรานต์ประเพณีสงกรานต์

สงกรานต์ภาคกลาง

         เริ่มขึ้นในวันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" วันที่ 14 เป็น"วันกลาง"หรือ"วันเนา" วันที่ 15 เป็นวัน"วันเถลิงศก" ทั้ง 3 วันประชาชนจะประกอบพิธีทางศาสนา มีการทำบุญตักบาตร ปล่อยนกปล่อยปลา การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ การสรงน้ำพระ การขนทรายเข้าวัดก่อพระเจดีย์ทราย


พื้นที่เด่นในการจัดงานสงกรานต์ในประเทศไทย



ภาคเหนือ


    * ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง: 13 - 15 เมษายน บริเวณทั่วเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

    * ประเพณีสรงน้ำโอยทาน สงกรานต์ ศรีสัชนาลัย: 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

    * ประเพณีสงกรานต์อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย : 13 -15 เมษายน บริเวณอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

ภาคอีสาน

    * มหาสงกรานต์อีสานหนองคาย(สงกรานต์ไทย-ลาว): 6 - 18 เมษายน บริเวณหาดจอมมณีแม่น้ำโขงและวัดโพธิ์ชัย จังหวัดหนองคาย

    * สงกรานต์นครพนม รื่นรมย์บุญปีใหม่ไทยลาว: 12 - 15 เมษายน อำเภอเมืองนครพนม และอำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม

    * สุดยอดสงกรานต์อีสาน เทศกาลดอกคูน-เสียงแคนและถนนข้าวเหนียว: 8 - 15 เมษายน บริเวณบึงแก่นนคร และถนนศรีจันทร์ จังหวัดขอนแก่น



ภาคกลาง


    * มหาสงกรานต์กรุงเทพมหานคร: 8 - 15 เมษายน บริเวณสนามหลวง ถนนข้าวสาร และรอบเกาะรัตนโกสินทร์

Summer Fave 2007 city on the beach: 12 - 16 เมษายน ลานเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ สี่แยกราชประสงค์ กรุงเทพมหานคร

    * ประเพณีสงกรานต์กรุงเก่า: บริเวณรอบเกาะเมืองอยุธยา

    * ประเพณีสงกรานต์พระประแดง: 20 - 22 เมษายน บริเวณเทศบาลเมืองพระประแดง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

    * งานประเพณีวันไหลพัทยา-นาเกลือ: 18 - 19 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะลานโพธิ์ จังหวัดชลบุรี

    * ประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน: 16 - 17 เมษายน บริเวณชายหาดบางแสน อำเภอเมืองล จังหวัดชลบุรี

    * งานประเพณีสงกรานต์ศรีมหาราชาและประเพณีกองข้าว: 19 - 21 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะเกาะลอย อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี

    * ประเพณีสงกรานต์เกาะสีชัง: 13 - 19 เมษายน บริเวณเกาะสีชังและเกาะขามใหญ่ จังหวัดชลบุรี

ภาคใต้

    * งานเทศกาลมหาสงกรานต์เมืองนครศรีธรรมราช แห่นางดาน: 11- 15 เมษายน บริเวณวัดพระบรมธาตุ และบริเวณสวนศรีธรรมโศกราช จังหวัดนครศรีธรรมราช


    * Songkran the Water Festival on the Beach: 12 - 16 เมษายน บริเวณสวนสาธารณะโลมา และเดอะพอร์ต ศูนย์การค้าจังซีลอน หาดป่าตอง จังหวัดภูเก็ต

    * หาดใหญ่มิดไนท์สงกรานต์: 12 - 13 เมษายน บริเวณถนนนิพัทธ์อุทิศและถนนเสน่หานุสรณ์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

         แม่งานใหญ่ของงานเทศกาลตามพื้นที่เหล่านี้ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และทางจังหวัด

กิจกรรมวันสงกรานต์


ก่อนวันสงกรานต์

         เป็นการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล และต้อนรับชีวิตใหม่ที่จะเริ่มต้นในวันปีใหม่ที่กำลังจะมาถึง กิจกรรมที่ทำ ได้แก่

    * การทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ข้าวของต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น วัด ศาลา บริเวณชุมชน เป็นต้น

    * การเตรียมเสื้อผ้าที่จะสวมใส่ไปทำบุญ รวมทั้งเครื่องประดับ ตกแต่งต่าง ๆนอกจากนี้ ยังมีผ้าสำหรับไปไหว้ผู้ใหญ่เพื่อรดน้ำขอพรด้วย

    * การเตรียมอาหารในการไปทำบุญ ทั้งของคาวของหวาน ที่พิเศษ ได้แก่ การเตรียมขนมที่ถือเป็นเอกลักษณ์ของวันตรุษและวัน สงกรานต์ นั่นคือ ข้าวเหนียวแดงสำหรับวันตรุษ และขนมกวนหรือกาละแม สำหรับวันสงกรานต์

เมื่อถึงวันสงกรานต์
 

เมื่อถึงวันสงกรานต์ เป็นเวลาที่ทุกคนจะยิ้มแย้มแจ่มใส ทำใจให้เบิกบาน เพื่อทำกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งมีดังต่อไปนี้

    * การทำบุญ ตักบาตรตอนเช้า หรือนำอาหารไปถวายพระที่วัด

    * การทำบุญอัฐิ อาจจะทำตอนไหนก็ได้ เช่น หลังจากพระภิกษุ - สามเณรฉันเพลแล้ว หรือจะนิมนต์พระมาสวดมนต์ ฉันเพลที่บ้าน แล้วบังสุกุลก็ได้

    * การทำบุญอัฐิ อาจจะนิมนต์พระไปยังสถานที่เก็บหรือบรรจุอัฐิ หากไม่มีให้เขียนชื่อผู้ที่ล่วงลับไปแล้วลงในกระดาษ เมื่อบังสุกุลเสร็จจึงเผากระดาษแผ่นนั้นเสีย เช่นเดียวกับการเผาศพ

    * การสรงน้ำพระ มี 2 แบบ คือ การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร และการสรงน้ำพระพุทธรูป

         การสรงน้ำพระภิกษุสามเณร จะใช้แบบเดียวกับอาบน้ำ คือ การใช้ขันตักรดที่ตัวท่าน หรือที่ฝ่ามือก็ได้ แล้วแต่ความนิยม หากเป็นการสรงน้ำแบบอาบน้ำพระ จะมีการถวายผ้าสบงหรือถวายผ้าไตรตามแต่ศรัทธาด้วย

         การสรงน้ำพระพุทธรูป อาจจะจัดเป็นขบวนแห่ หรือ เชิญมาประดิษฐานในที่อันเหมาะสม การสรงน้ำจะใช้น้ำอบ น้ำหอม หรือน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบ น้ำหอมประพรมที่องค์พระ
 

    * การก่อพระเจดีย์ทราย จะทำในวันใดวันหนึ่งระหว่างวันที่ 13 - 15 เมษายน โดยการขนทรายมาก่อเป็นเจดีย์ขนาดต่าง ๆ ในบริเวณวัด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้วัดได้ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง หรือถมพื้นต่อไป ถือเป็นการทำบุญอีกลักษณะหนึ่งที่ได้ทั้งบุญและความสนุกสนาน

    * การปล่อยนก ปล่อยปลา เป็นการทำบุญทำทานอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเฉพาะการปล่อยนก ปล่อยปลาที่ติดกับดัก บ่วง ให้ไปสู่อิสระ หรือปลาที่อยู่ในน้ำตื้น ๆ ซึ่งอาจจะตายได้ หากปล่อยให้อยู่ในสภาพแบบเดิม

    * การรดน้ำผู้ใหญ่ หรือการรดน้ำขอพร เป็นการแสดงความเคารพต่อผู้ใหญ่ของครอบครัว หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ การรดน้ำผู้ใหญ่อาจจะรดน้ำทั้งตัวหรือรดเฉพาะที่ฝ่ามือก็ได้ ดังนั้นจึงควรมีผ้านุ่งห่มไปมอบให้ด้วย เพื่อจะได้ผลัดเปลี่ยนหลังจากเสร็จสิ้นพิธีแล้ว

    * การเล่นรดน้ำ หลังจากเสร็จพิธีการต่าง ๆแล้ว เป็นการเล่นรดน้ำ เพื่อเชื่อมความ สัมพันธ์ระหว่างญาติมิตร โดยการใช้น้ำสะอาดผสมน้ำอบหรือน้ำหอม หรือจะใช้น้ำอบก็ได้ รดกันเบา ๆ ด้วยความสุภาพ

    * การเล่นรื่นเริงต่างๆ เช่น เข้าทรงแม่ศรี สะบ้า ลูกช่วง สุดแล้วแต่ความนิยมของท้องถิ่นนั้น ๆ

         ประเพณีปฏิบัติเหล่านี้ อาจจะมีความแตกต่างกันออกไปบ้างตามแต่ละท้องถิ่น การจะยึดถือปฏิบัติอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและความต้องการของ ชุมชนเป็นสำคัญ

สิ่งที่ได้จากการทำบุญสงกรานต์
 

         1. เป็นการแสดงความเคารพบูชาต่อสิ่งที่ตนเคารพ ต่อบิดามารดา และผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

         2. เป็นการชำระจิตใจ และร่างกายให้สะอาด

         3. เป็นการรักษาประเพณีมาแต่เดิม

         4. เป็นการสนุกสนานรื่นเริงในรอบปี และพักจากงานประจำชั่วคราว เพื่อจะไปพักผ่อนหย่อนใจ

         5. เป็นการเตือนสติว่ามนุษย์นั้นผ่านไป 1 ปีแล้วและในรอบปีที่ผ่านมา เราได้ทำอะไรบ้างและควรจะทำอะไรต่อไปในปีที่กำลังจะมาถึง

         6. เป็นการเตรียมตัวบวช ถ้าเป็นผู้ชายโดยเอาระยะเวลานี้บวชกัน เพราะหลังสงกรานต์ต้องเตรียมตัวทำนาแล้ว

         7. เป็นการทำความสะอาดพระ โต๊ะบูชา บ้านเรือน ทั้งในและนอกบ้าน

คุณค่าและสาระจากวันสงกรานต์
 

         จากภาพรวมของกิจกรรมต่าง ๆ ในวันสงกรานต์ จะเห็นได้ว่า สงกรานต์เป็นประเพณีที่งดงาม อ่อนโยน เอื้ออาทร และเต็มไปด้วยบรรยากาศของความกตัญญู ความเคารพซึ่งกันและกัน เป็นประเพณีที่ให้ความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนมนุษย์ในสังคม โดยใช้น้ำเป็นสื่อในการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน มิใช่เทศกาลแห่งน้ำอย่างที่หน่วยงานของรัฐบางแห่งกำลังดำเนินการเพื่อสร้าง จุดขาย สร้างรายได้เข้าประเทศ จนสร้างความเข้าใจผิดให้เกิดขึ้นแก่ประชาชนทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่คนไทยด้วยกันเอง ซึ่งกำลังจะห่างไกลและหลุดลอยไปจากรากเหง้าเดิมของประเพณีสงกรานต์กันไป ทุกที

         ประเพณีที่ถือปฏิบัติและสืบทอดกันมาอย่างยาวนาน เช่น ประเพณีสงกรานต์นี้ จึงย่อมมีความหมายและมีคุณค่าต่อผู้ปฏิบัติ ชุมชนและสังคมเป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ

         วันสงกรานต์เป็นวันแห่งความรัก ความผูกพันในครอบครัว อย่างแท้จริง สมัยก่อนพ่อแม่จะเตรียมเสื้อผ้าใหม่พร้อมเครื่องประดับให้ลูกหลานไปทำบุญ ลูกหลานก็จะเตรียมเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มให้ผู้ใหญ่ได้สวมใส่หลังการรดน้ำขอ พร ปัจจุบันเมื่อถึงวันสงกรานต์ทุกคนจะหาโอกาสกลับบ้านไปหาพ่อแม่รดน้ำขอพร เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นปีใหม่และเป็นกำลังใจกันและกันในการดำรง ชีวิตอยู่ต่อไป

         วันสงกรานต์เป็นวันแห่งการแสดงความกตัญญู โดยการ ปรนนิบัติต่อพ่อแม่และผู้มีพระคุณที่มีชีวิตอยู่ และทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

         วันสงกรานต์ เป็นวันที่ก่อให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน เช่น การได้พบปะสังสรรค์ร่วมกันทำบุญ และการละเล่นสนุกสนานรื่นเริงในยามบ่ายหลังจากการทำบุญ โดยการเล่นรดน้ำในหมู่เพื่อนฝูงและคนรู้จักและการละเล่นตามประเพณีท้องถิ่น

         สงกรานต์เป็นประเพณีที่ก่อให้เกิดความเอื้ออาทรต่อสิ่ง แวดล้อม เพราะในวันนี้ทุกคนจะช่วยกันทำความสะอาดบ้านเรือน สิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างให้สะอาดหมดจดเพื่อจะได้ต้อนรับปีใหม่ด้วยความ แจ่มใส เบิกบาน นอกจากนี้ยังควรช่วยกันทำความสะอาดวัดวาอาราม ที่สาธารณะ และอาคารสถานที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ด้วย

         วันสงกรานต์ เป็นวันทำบุญครั้งสำคัญครั้งหนึ่งของพุทธศาสนิกชน โดยการทำบุญตักบาตร เลี้ยงพระ ฟังเทศน์ ปฏิบัติธรรม และสรงน้ำพระศรัทธาในการทำบุญให้ทาน ซึ่งถือเป็นการเกื้อกูลสูงสุดของมนุษยชาติ และการถือศีลปฏิบัติธรรมซึ่งเป็นเหตุแห่งความเจริญรุ่งเรืองของชีวิต และสามารถสืบทอดพระพุทธศาสนามาได้จนถึงปัจจุบัน

สงกรานต์ในปัจจุบัน และอนาคต


         ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่แผ่ขยายครอบคลุมไปทั่วโลก โดยเฉพาะที่ส่งผลกับประเทศไทย ก่อให้เกิดภาวะวิกฤตกับวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก ประเพณีสงกรานต์ก็ตกอยู่ในวัฏจักรนี้เช่นเดียวกัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นหลายประการที่ยังความเป็นห่วงให้เกิดขึ้นแก่ทุกคน ที่รักและเห็นคุณค่าของประเพณีนี้ จึงมีความพยายามที่จะรณรงค์ทุกรูปแบบเพื่อให้ทุกคนที่เป็นคนไทย รวมทั้งชาวต่างชาติได้รับรู้ถึงความหมาย ความสำคัญ และคุณค่าของประเพณีสงกรานต์ที่แท้จริง

         หากคนไทยทุกคนเข้าใจถึงคุณค่า และแนวทางปฏิบัติของประเพณีสงกรานต์ และร่วมมือกันปฏิบัติให้ถูกต้องเพื่อสืบทอดความหมายและคุณค่า ความเบี่ยงเบน ความรุนแรงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นก็จะหมดไป โดยเฉพาะเกี่ยวกับการเล่นสาดน้ำที่เกินเหตุ ซึ่งนอกจากจะเต็มไปด้วยพฤติกรรมที่เสี่ยงอันตรายทั้งการใช้น้ำสกปรก การใช้น้ำแข็งขว้างปา การใช้อุปกรณ์ฉีดน้ำที่มีแรงดันสูงจนก่อให้เกิดอันตราย การใช้แป้งใช้สีทาตามหน้าตาและเนื้อตัว ฯลฯ ตลอดจนกระทั่งการขยายความหมายของการเล่นสาดน้ำให้เป็นจุดขายของประเพณี สงกรานต์จนเกินจริง ทั้ง ๆ ที่การเล่นรดน้ำเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่แสดงถึงความเอาใจใส่ ความเอื้ออาทร และความหวังดีซึ่งกันและกันเท่านั้น

         เราคนไทยควรใช้ประเพณีสงกรานต์นี้ เป็นโอกาสในการสร้างความรัก ความกตัญญู ความเอื้ออาทร ความเคารพซึ่งกันและกัน เพื่อสานความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อมนุษย์ด้วยกัน มากกว่าจะเป็นเพียงการเล่นสาดน้ำอย่างอึกทึกครึกโครมเท่านั้น โดยละเลยคุณค่า สาระ ที่เป็นแก่นแท้ของประเพณีสงกรานต์ที่งดงามมาและทรงคุณค่ามาแต่อดีต


ที่มา   http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/วันสงกรานต์
28178  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอประวัติวันสงกรานต์ ด้วยครับ เมื่อ: มีนาคม 09, 2010, 05:56:07 pm
วันสงกรานต์
จาก คลังปัญญาไทย, สารานุกรมฟรี


         สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบาง ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"

ความหมายของ วันสงกรานต์


         คำว่า "สงกรานต์" มาจากภาษาสันสฤกตว่า สํ-กรานต แปลว่า ก้าวขี้น ย่างขึ้น หรือก้าวขึ้น การย้ายที่ เคลื่อนที่ คือพระอาทิตย์ย่างขึ้น สู่ราศีใหม่ หมายถึงวันขึ้นปีใหม่ ซึ่งตกอยู่ในวันที่ 13,14,15 เมษายนทุกปี แต่วันสงกรานต์นั้นคือ วันที่ 13 เมษายน เรียกว่า วันมหาสงกรานต์ วันที่ 14 เป็นวันเนา วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศก

         ความหมายของคำอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสงกรานต์ มีดังนี้

         สงกรานต์ ที่แปลว่า "ก้าวขึ้น" "ย่างขึ้น"นั้นหมาย ถึง การที่ดวงอาทิตย์ ขึ้นสู่ราศีใหม่ อันเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกเดือน ที่เรียกว่าสงกรานต์เดือน แต่เมื่อครบ 12 เดือนแล้วย่างขึ้นราศีเมษอีก จัดเป็นสงกรานต์ปี ถือว่าเป็น วันขึ้นปีใหม่ทางสุริยคติ ในทางโหราศาสตร์

         มหาสงกรานต์ แปลว่า ก้าวขึ้นหรือย่างขึ้นครั้งใหญ่ หมาย ถึงสงกรานต์ปี คือปีใหม่อย่างเดียว กล่าวคือสงกรานต์หมายถึง ได้ทั้งสงกรานต์เดือนและสงกรานต์ปี แต่มหาสงกรานต์ หมายถึง สงกรานต์ปีอย่างเดียว

         วันเนา แปลว่า "วันอยู่" คำว่า "เนา" แปลว่า "อยู่" หมายความว่าเป็นวันถัดจากวันมหาสงกรานต์มา 1 วัน วันมหาสงกรานต์เป็นวันที่ดวงอาทิตย์ย่างสู่ราศีตั้งต้นปีใหม่ วันเนาเป็นวันที่ดวงอาทิตย์เข้าที่เข้าทาง ในวันราศีตั้งต้นใหม่เรียบร้อยแล้ว คืออยู่ประจำที่แล้ว


         วันเถลิงศก แปลว่า "วันขึ้นศก" เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ การที่เปลี่ยนวันขึ้นศกใหม่มาเป็นวันที่ 3 ถัดจากวันมหาสงกรานต์ ก็เพื่อให้หมดปัญหาว่า การย่างขึ้นสู่จุดเดิม สำหรับต้นปีนั้นเรียบร้อยดี ไม่มีปัญหาเพราะอาจมีปัญหาติดพันเกี่ยวกับชั่วโมง นาที วินาที ยังไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ที่จะเปลี่ยนศกถ้าเลื่อนวันเถลิงศกหรือวันขึ้นจุลศักราชใหม่มาเป็น วันที่ 3 ก็หมายความว่า อย่างน้อยดวงอาทิตย์ได้ก้าวเข้าสู่ราศีใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 องศาแล้วอาจจะย่างเข้าองศาที่ 2 หรือที่ 3 ก็ได้

         วันสงกรานต์เป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชใหม่ ซึ่ง กษัตริย์สิงหศแห่งพม่า ทรงตั้งขึ้นเมื่อปีกุนวันอาทิตย์ พ.ศ. 1181 โดยกำหนดเอาดวงอาทิตย์เข้าสู่ราศีเมษได้ 1 องศา ประกอบกับไทยเราเคยนิยมใช้จุลศักราช สงกรานต์จึงเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยอีกด้วย

         ในปีแรกที่กำหนดเผอิญเป็นวันที่ 13 เมษายน ซึ่งอันที่จริงไม่ใช่วันที่ 13 เมษายนทุกปี แต่เมื่อเป็นประเพณี ก็จำเป็นต้องเอาวันนั้นทุกปี เพื่อมิให้การประกอบพิธี ซึ่งมิได้รู้โดยละเอียดต้องเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา วันที่ 13 จึงเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี

         ปกติวันสงกรานต์จะมี 3 วัน คือ เริ่มวันที่ 13 เมษายน ถึงวันที่ 15 เมษายน วันแรกคือวันที่ 13 เป็นวันมหาสงกราต์ วันที่พระอาทิตย์ต้องขึ้นสู่ราศีเมษ วันที่ 14 เป็นวันเนา (พระอาทิตย์คงอยู่ที 0 องศา) วันที่ 15 เป็นวันเถลิงศกใหม่ และเริ่มจุลศักราชในวันนี้ เมื่อก่อนจริง ๆ มีถึง 4วัน คือวันที่ 13-16 เป็นวันเนาเสีย 2 วัน (วันเนาเป็นวันอยู่เฉยๆ ) เป็นวันว่าง พักการงานนอกบ้านชั่วคราว

         จะเห็นได้ว่า วันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึง พ.ศ. 2483 ทางราชการจึงได้เปลี่ยนไหม่ โดยกำหนดเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อให้เข้ากับ หลักสากลที่นานาประเทศนิยมปฏิบัติอย่างไรก็ตาม แม้จะมีการเปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่ประชาชนก็ยังยึดถือว่า วันสงกรานต์มีความสำคัญ

ความเป็นมาของวันสงกรานต์


         ตามหลักแล้วเทศกาลสงกรานต์ถูกกำหนดตามการคำนวณโดยหลักเกณฑ์ในคัมภีร์สุริยยาตร์ โดยวันแรกของเทศกาลซึ่งเป็นวันที่พระอาทิตย์ยกเข้าสู่ราศีเมษ (ย้ายจากราศีมีนไปราศีเมษ) เรียกว่า "วันมหาสงกรานต์" วันถัดมาเรียกว่า "วันเนา" และวันสุดท้ายซึ่งเป็นวันเปลี่ยนจุลศักราชและเริ่มใช้กาลโยคประจำปีใหม่ เรียกว่า "วันเถลิงศก" จากหลักการข้างต้นนี้ ทำให้ปัจจุบันเทศกาลสงกรานต์มักตรงกับวันที่ 14-16 เมษายน (ยกเว้นบางปี เช่น พ.ศ. 2551 และ พ.ศ. 2555 ที่สงกรานต์กลับมาตรงกับวันที่ 13-15 เมษายน) อย่างไรก็ตาม ปฏิทินไทยในขณะนี้กำหนดให้เทศกาลสงกรานต์ตรงกับวัน ที่ 13-15 เมษายน ของทุกปี และเป็นวันหยุดราชการ

         สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี


         พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

         การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

ตำนานนางสงกรานต์
 

         ตามจารึกที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กล่าวตามพระบาลีฝ่ายรามัญว่า ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว มีเศรษฐีคนหนึ่ง รวยทรัพย์แต่อาภัพบุตร ตั้งบ้านอยู่ใกล้กับนักเลงสุราที่มีบุตรสองคน วันหนึ่งนักเลงสุราต่อว่าเศรษฐีจนกระทั่งเศรษฐีน้อยใจ จึงได้บวงสรวงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ตั้งจิตอธิษฐานอยู่กว่าสามปี ก็ไร้วี่แววที่จะมีบุตร อยู่มาวันหนึ่งพอถึงช่วงที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ เศรษฐีได้พาบริวารไปยังต้นไทรริมน้ำ พอถึงก็ได้เอาข้าวสารลงล้างในน้ำเจ็ดครั้ง แล้วหุงบูชาอธิษฐานขอบุตรกับรุกขเทวดาในต้นไทรนั้น รุกขเทวดาเห็นใจเศรษฐี จึงเหาะไปเฝ้าพระอินทร์ ไม่ช้าพระอินทร์ก็มีเมตตาประทานให้เทพบุตร องค์หนึ่งนาม "ธรรมบาล" ลงไปปฏิสนธิในครรภ์ภรรยาเศรษฐี ไม่ช้าก็คลอดออกมา เศรษฐีตั้งชื่อให้กุมารน้อยนี้ว่า ธรรมบาลกุมาร และได้ปลูกปราสาทไว้ใต้ต้นไทรให้กุมารนี้อยู่อาศัย

         ต่อมาเมื่อธรรมบาลกุมารโตขึ้น ก็ได้เรียนรู้ซึ่งภาษานก และเรียนไตรเภทจบเมื่ออายุได้เจ็ดขวบ เขาได้เป็นอาจารย์บอกมงคลต่าง ๆ แก่คนทั้งหลาย อยู่มาวันหนึ่ง ท้าวกบิลพรหม ได้ลงมาถามปัญหากับธรรมบาลกุมาร 3 ข้อ ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ก็จะตัดเศียรบูชา แต่ถ้าตอบไม่ได้จะตัดศีรษะธรรมบาลกุมารเสีย ท้าวกบิลพรหมถามธรรมบาลกุมารว่า ตอนเช้าศรีอยู่ที่ไหน ตอนเที่ยงศรีอยู่ที่ไหน และตอนค่ำศรีอยู่ที่ไหน ทันใดนั้นธรรมบาลกุมารจึงขอผัดผ่อนกับท้าวกบิลพรหมเป็นเวลา 7 วัน

         ทางธรรมบาลกุมารก็พยายามคิดค้นหาคำตอบ ล่วงเข้าวันที่ 6 ธรรมบาลกุมารก็ลงจากปราสาทมานอนอยู่ใต้ต้นตาล เขาคิดว่า ขอตายในที่ลับยังดีกว่าไปตายด้วยอาญาท้าวกบิลพรหม บังเอิญบนต้นไม้มีนกอินทรี 2 ตัวผัวเมียเกาะทำรังอยู่ นางนกอินทรีถามสามีว่า พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารแห่งใด สามีตอบนางนกว่า เราจะไปกินศพธรรมบาลกุมาร ซึ่งท้าวกบิลพรหมจะฆ่าเสีย ด้วยแก้ปัญหาไม่ได้ นางนกจึงถามว่า คำถามที่ท้าวกบิลพรหมถามคืออะไร สามีก็เล่าให้ฟัง ซึ่งนางนกก็ไม่สามารถตอบได้ สามีจึงเฉลยว่า ตอนเช้า ศรีจะอยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุก ๆ เช้า ตอนเที่ยง ศรีจะอยู่ที่อก คนจึงเอาเครื่องหอมประพรมที่อก ส่วนตอนเย็น ศรีจะอยู่ที่เท้า คนจึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน ธรรมบาลกุมารก็ได้ทราบเรื่องที่นกอินทรีคุยกันตลอด จึงจดจำไว้

         ครั้นรุ่งขึ้น ท้าวกบิลพรหมก็มาตามสัญญาที่ให้ไว้ทุกประการ ธรรมบาลกุมารจึงนำคำตอบที่ได้ยินจากนกไปตอบกับท้าวกบิลพรหม ท้าวกบิลพรหมจึงตรัสเรียกธิดาทั้งเจ็ดอันเป็นบาทบาจาริกาพระอินทร์มาประชุม พร้อมกัน แล้วบอกว่า เราจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร ถ้าจะตั้งไว้ยังแผ่นดิน ไฟก็จะไหม้โลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ ฝนก็จะแล้ง ถ้าจะทิ้งในมหาสมุทร น้ำก็จะแห้ง จึงให้ธิดาทั้งเจ็ดนำพานมารองรับ แล้วก็ตัดเศียรให้นางทุงษะ ผู้เป็นธิดาองค์โต จากนั้นนางทุงษะก็อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมเวียนขวารอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วเก็บรักษาไว้ในถ้ำคันธุลี ในเขาไกรลาศ


         จากนั้นมาทุก ๆ 1 ปี ธิดาของท้าวกบิลพรหมทั้ง 7 ก็จะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำหน้าที่อัญเชิญพระเศียรท้าวกบิลพรหมแห่ไปรอบ เขาพระสุเมรุ เป็นเวลา 60 นาที แล้วประดิษฐานตามเดิม ในแต่ละปีนางสงกรานต์แต่ละนางจะทำหน้าที่ผลัดเปลี่ยนกันตามวันมหาสงกรานต์ ดังนี้
   
* ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม ทุงษะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกทับทิม อาภรณ์แก้วปัทมราช ภักษาหารอุทุมพร (ผลมะเดื่อ) พระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงสังข์ เสด็จมาบนหลังครุฑ

    * ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม โคราคะเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกปีบ อาภรณ์แก้วมุกดา ภักษาหารเตลัง (น้ำมัน) พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังพยัคฆ์ (เสือ)

    * ถ้าวันอังคารเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม รากษสเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกบัวหลวง อาภรณ์แก้วโมรา ภักษาหารโลหิต พระหัตถ์ขวาทรงตรีศูล พระหัตถ์ซ้ายทรงธนู เสด็จมาบนหลังวราหะ (หมู)

    * ถ้าวันพุธเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มณฑาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจำปา อาภรณ์แก้วไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย พระหัตถ์ขวาทรงเข็ม พระหัตถ์ซ้ายทรงไม้เท้า เสด็จมาบนหลังคัทรภะ (ลา)

    * ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง)

    * ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม กิมิทาเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกจงกลนี อาภรณ์แก้วบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำ พระหัตถ์ขวาทรงขรรค์ พระหัตถ์ซ้ายทรงพิณ เสด็จมาบนหลังมหิงสา (ควาย)

    * ถ้าวันเสาร์เป็นวันมหาสงกรานต์ นางสงกรานต์นาม มโหธรเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกสามหาว อาภรณ์แก้วนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทรายพระหัตถ์ขวาทรงจักร พระหัตถ์ซ้ายทรงตรีศูล เสด็จมาบนหลังมยุรา (นกยูง)

สำหรับความเชื่อทางล้านนานั้นจะมีว่า

    * วันอาทิตย์ ชื่อ นางแพงศรี
    * วันจันทร์ ชื่อ นางมโนรา
    * วันอังคาร ชื่อ นางรากษสเทวี
    * วันพุธ ชื่อ นางมันทะ
    * วันพฤหัส ชื่อ นางัญญาเทพ
    * วันศุกร์ ชื่อ นางริญโท
    * วันเสาร์ ชื่อ นางสามาเทวี

คำทำนายเกี่ยวกับสงกรานต์

         ตามตำราพรหมชาติ ฉบับหลวง ได้ให้คำทำนายเกี่ยวกับวันสงกรานต์ไว้ดังนี้


1. วันมหาสงกรานต์

    * ถ้าปีใดวันมหาสงกรานต์เป็นวันอาทิตย์ ปีนั้นไร่นาเรือกสวน เผือกมัน มิสู้แพงแล

    * ถ้าวันจันทร์เป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้เสนาบดี ท้าวพระยาและนางพระยาทั้งหลาย

    * ถ้าวันอังคารและวันเสาร์ เป็นวันมหาสงกรานต์ จะเกิดอันตรายกลางเมือง จะเกิดเพลิงและโจรผู้ร้าย และจะเจ็บไข้นักแล

    * ถ้าวันพุธ เป็นวันมหาสงกรานต์ ว่าท้าวพระยาจะได้เครื่องบรรณาการมาแต่ต่างเมือง แต่จะแพ้ลูกอ่อนนักแล

    * ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันมหาสงกรานต์ จะแพ้ข้าไท พระสงฆ์ราชาคณะจะได้รับความเดือดเนื้อ ร้อนใจกันแล

    * ถ้าวันศุกร์เป็นวันมหาสงกรานต์ ข้าวน้ำ ลูกหมากรากไม้ทั้งหลายจะอุดม แต่จะแพ้เด็ก ฝนและพายุชุม จะเจ็บตากันมากนักแล ฯ

2. วันเนา


    * ถ้าวันอาทิตย์เป็นวันเนา ข้าวจะตายฝอย จะได้ยินเสียงคนต่างภาษา ท้าวพระยาจะร้อนใจนักแล

    * ถ้าวันจันทร์เป็นวันเนา เกลือจะแพง นางพระยาจะร้อนใจ มักจะเกิดความไข้ต่าง ๆ

    * ถ้าวันอังคารเป็นวันเนา หมากพลู ข้าวปลาจะแพง จะแพ้อำมาตย์มนตรีทั้งปวง

    * ถ้าวันพุธเป็นวันเนา ข้าวจะแพง คนทั้งหลายจะได้รับความทุกข์ร้อน แม่หม้ายจะพลัดที่อยู่

    * ถ้าวันพฤหัสบดีเป็นวันเนา ลูกไม้จะแพง ตระกูลทั้งหลายจะร้อนใจนักแล

    * ถ้าวันศุกร์เป็นวันเนา ข้าวจะแพง แร้งกาจะตายห่า สัตว์ในป่าจะเกิดอันตราย

    * ถ้าวันเสาร์เป็นวันเนา ข้าวปลาจะแพง จะเกิดเพลิงกลางใจเมือง ขุนนางจะต้องโทษ ข้าวจะตายฝอย น้ำจะน้อยกว่าทุกปี สมณชีพราหมณ์จะร้อนใจนัก ผักปลาจะแพงแล ฯ
28179  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / ความเข้าใจที่ผิดพลาด เกี่ยวกับ "หลักกรรม" เมื่อ: มีนาคม 07, 2010, 08:57:55 am




เสฐียรพงษ์ วรรณปก : ความเข้าใจที่ผิดพลาด เกี่ยวกับ "หลักกรรม"

หลักกรรมเป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา แต่น่าประหลาด ชาวพุทธไทยเข้าใจไม่ตรงกับที่ทรงสั่งสอน จะว่าผิดโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่ แต่ไม่ถูกต้องสมบูรณ์ ความเข้าใจไม่ค่อยถูกต้องเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมว่ามีอิทธิพลมาจากวรรณคดีไทยส่วนหนึ่ง มาจากการสอนของผู้รู้ (ที่ไม่รู้จริง) อีกส่วนหนึ่ง เข้าใจผิดกันอย่างไรหรือครับ ผมขอว่าเป็นข้อๆ ดังนี้

    1. คนไทยส่วนมากเข้าใจว่า กรรม คือผลของความชั่วร้ายที่เราได้กระทำไว้แต่ชาติปางก่อน
    2. เชื่อกันว่า กรรมเป็นกฎสำเร็จรูป ตายตัว ที่เราไม่มีโอกาสแก้ไข หรือทำอะไรไม่ได้ มีทางเดียวคือจำต้องยอมรับ
    3. เชื่อว่าทำอย่างใด ต้องได้อย่างนั้นร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง

ยกมาแค่ 3 ข้อก็พอ ขอแถลงเป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้

@@@@@@@

1. เรามักเข้าใจผิดว่า “กรรม” คือผลของความชั่วร้าย ที่ทำไว้แต่ชาติก่อน บันดาลให้เราได้มาเกิด มาเป็น อย่างที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เรื่องร้ายๆ และเรื่องใหญ่ๆ เท่านั้น (เช่น ถูกถอดออกจากตำแหน่ง โดนฟ้องร้องติดคุก ไฟไหม้บ้าน…) จึงเรียกว่ากรรม เรื่องเล็กน้อย (เช่น เดินพลาดตกท่อเทศบาลขาแพลง…) ไม่เรียกว่ากรรม

ส่วนผลของความดีที่ทำไว้แต่ชาติก่อนมาบันดาลให้เป็นไป (เช่น อยู่ๆ ก็มีคนมาเชิญให้เป็นนายกฯ…) ไม่เรียกว่ากรรม กลับเรียก “บุญ” จึงมักมีคำพูดว่า “บุญทำ กรรมแต่ง” หรือ “แล้วแต่บุญแต่กรรม” นี่คือความเข้าใจผิดของคนไทยส่วนใหญ่

ผิดอย่างไร.? ผิดตรงที่คำว่า “กรรม” มิใช่ผล แต่เป็นเหตุ มิใช่เรื่องที่ล่วงไปแล้ว แต่เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องเลวร้ายอย่างเดียว เรื่องดีๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย และมิใช่เฉพาะเรื่องใหญ่ๆ อย่างเดียว เรื่องเล็กๆ ก็เป็น “กรรม” ด้วย

กรรมคือ การกระทำทางกาย วาจา และใจ ที่มีเจตนาเป็นตัวนำ เราตั้งใจทำ พูด คิดเรื่องใด สิ่งใด ทั้งในแง่ดีและไม่ดี เรียกว่า “กรรม” เช่น

     - ผมกำลังพิมพ์ต้นฉบับอยู่ ยุงตัวหนึ่งมากัดผม ผมรำคาญจึงตบให้มันตาย เรียกว่าผมทำกรรมทางกาย เป็นกรรมที่ไม่ดีเรียกว่า “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”
     - กำลังทำงานง่วนอยู่ ก็มีคนมากดกริ่งอ้างว่ามาจากมูลนิธิการกุศลแห่งหนึ่ง มาขอบริจาค ผมโมโหด่าไปเจ็บๆ แสบๆ ไม่ให้แม้แต่บาทเดียว เพราะคนคนนี้เคยมาขอแล้วขออีก เคยสืบได้ว่าไม่มีมูลนิธิดังกล่าวจริง เรียกว่าผมได้ทำกรรมทางวาจา เป็นกรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”
     - อ่านข่าวพบคนที่เป็นศัตรูได้รับตำแหน่งใหญ่โต ผมทนไม่ได้คิดสาปแช่งให้มันพินาศฉิบหายในเร็ววัน อย่างนี้ผมกำลังทำกรรมทางใจ เป็นกรรมไม่ดีเรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป”

ตกลงวันๆ ผมอาจทำกรรมไม่ดีหลายอย่าง หรืออาจทำกรรมดีอีกหลายอย่างก็ได้ ถ้าเป็นกรรมดี ก็เรียกว่า “กุศลกรรม” หรือ “บุญ” กรรมไม่ดี ก็เรียก “อกุศลกรรม” หรือ “บาป” เพราะฉะนั้น “บุญ” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง “บาป” ก็คือกรรมชนิดหนึ่ง ครอบคลุมตั้งแต่เรื่องเล็กๆ ไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆ เป็นเหตุมิใช่ผล เป็นเรื่องปัจจุบัน มิใช่เรื่องที่ล่วงแล้ว


@@@@@@@

2. ความเข้าใจผิดอีกอย่างหนึ่งก็คือ มักจะเข้าใจว่า กรรมเป็นกฎตายตัว ที่เราแก้ไขไม่ได้ ทางเดียวที่ทำได้คือให้ยอมรับสภาพ “ปลงเสียเถอะ” หรือ “เป็นกรรมของสัตว์” เช่น เกิดมายากจนก็ยอมรับสภาพว่า เราทำกรรมไม่ดีไว้ มาชาตินี้จึงจน แล้วก็ยอมรับสภาพอยู่อย่างนั้น ไม่คิดแก้ไข พัฒนาให้มันดีขึ้น มีแต่ทอดอาลัย หรืองอมืองอเท้า

ความเชื่ออย่างนี้ยังไม่ถูกต้อง พุทธศาสนาสอนว่ากรรมเก่ามีจริง จริงอยู่เราเกิดมาจน อาจเป็นเพราะผลของกรรมเก่าที่เราทำไว้ ทำให้มีผลเกิดมายากจน แต่มิได้หมายความว่า กรรมจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขไม่ได้ เราเกิดมาจนเพราะกรรมเก่าส่งผล แต่เราก็สามารถสร้างกรรมใหม่ นั่นคือ พยายามขยันหมั่นเพียรทำงานสร้างเนื้อสร้างตัวอย่างสุดกำลังสามารถ ในที่สุดเราก็อาจเปลี่ยนฐานะจากคนยากจน กลายเป็นผู้มีอันจะกิน หรือร่ำรวยได้

พระพุทธเจ้าสอนให้ยอมรับความจริง แต่ไม่ให้ยอมรับสภาพ ผู้ที่เข้าใจหลักกรรมถูกต้อง เมื่อรู้ว่าความจริงเป็นเช่นนี้ๆ ย่อมจะไม่ยอมรับสภาพ หรือ “ชะงักงัน” อยู่กับที่ หากแต่พยายามแก้ไขปรับปรุง หรือพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม เช่น เกิดมาจน ก็รู้ว่าตนเกิดมาจน อาจเพราะทำกรรมบางอย่างมา ทำให้เราเกิดมาจน แต่ไม่งอมืองอเท้า หรือจำยอมต่อสภาพนั้น พยายามขวนขวายทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยความวิริยะ อุตสาหะ ในที่สุดก็อาจตั้งเนื้อตั้งตัวได้ อย่างนี้จึงจะเป็นความเชื่อเรื่องกรรมที่ถูกต้อง



3. ประการสุดท้าย คนมักเข้าใจว่า ทำกรรมอย่างใด ย่อมต้องได้รับผลเช่นนั้น ทำกรรมดีต้องได้รับผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำกรรมชั่วต้องได้รับผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่มีเปลี่ยนแปลง นี่ก็เข้าใจไม่ถูกต้องเช่นกัน

ไม่ถูกต้องอย่างไร.? ขอเรียนว่า การพูดอะไรตายตัวร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น มิใช่แนวทางของพระพุทธศาสนาดังในกรณีเรื่องตายแล้วเกิด ถ้าพูดในแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิด หรือตายแล้วต้องดับสูญ อย่างนี้ก็ไม่ถูกเช่นกั เพราะตายแล้วเกิดก็มี คือปุถุชนคนมีกิเลส ตายแล้วย่อมเกิดอีก เพราะยังมี “เชื้อคือกิเลส” ทำให้เกิดอยู่ ตายแล้วไม่เกิดก็มี คือพระอรหันต์ เพราะหมด “เชื้อ” ดังกล่าวแล้ว จะพูดโดยแง่เดียวว่า ตายแล้วต้องเกิดหมดทุกคน หรือตายแล้วไม่เกิดทั้งหมดเลย อย่างนี้ไม่ได้ดอกครับ

ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำกรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว นี่จริงแน่นอน แต่มิได้หมายความ “ทำอย่างใดต้องได้อย่างนั้น”

     นาย ก. ยิงเขาตาย ตายไปเกิดชาติหน้า นาย ก. ไม่จำเป็นจะต้องถูกเขายิงตาย
     นาง ข. เอาไข่เค็มใส่บาตรทุกวัน นาง ข. ตายไปเกิดใหม่ ก็ไม่จำเป็นจะต้องกินไข่เค็มทุกมื้อ เช่นเดียวกัน (ขืนเป็นอย่างนี้ก็เค็มตายสิครับ)

     แน่นอน นาย ก. ทำความชั่ว นาย ก. ย่อมได้รับผลสนองในทางชั่ว แต่ไม่จำต้องถูกยิงตาย อาจเป็นผลคล้ายๆ กันนั้น ผลที่หนักพอๆ กับกรรมนั้น
     นาง ข. ทำความดี นาง ข. ย่อมได้รับผลสนองในทางดี แต่ไม่จำต้องกินไข่เค็มทุกวัน อาจได้ผลดีอย่างอื่น ที่มีน้ำหนักพอๆ กันกับกรรมนั้น
     อย่างนี้พระท่านว่า “ได้รับผลสนองที่คล้ายกับกรรมที่ทำ” (กัมมะสะริกขัง วิปากัง = ผลกรรมที่คล้ายกับกรรมที่ทำ)

@@@@@@@

ผลกรรมคล้ายกับกรรมที่ทำอย่างไร.? ผมขอยกเรื่องจริงมาให้ดูสักสองเรื่อง

เรื่องที่หนึ่ง นางโรหิณีน้องสาวท่านอนุรุทธเถระ เป็นโรคผิวหนังอย่างแรง รักษาเท่าใดก็ไม่หาย ต่อมาพระอนุรุทธเถระผู้พี่ชาย แนะนำให้ทำบุญด้วยการกวาดลานวัด ปัดกวาดเช็ดกุฏิ แล้วโรคก็หาย มีพระกราบทูลถามพระพุทธเจ้าว่า นางทำกรรมอะไรไว้ในชาติก่อน

พระองค์ตรัสว่า ชาติก่อนเป็นมเหสีกษัตริย์องค์หนึ่ง หึงสาวนักฟ้อนที่พระเจ้าแผ่นดินโปรดปรานมาก โดยเอาผงหมามุ่ยไปโรยใส่เครื่องแต่งตัวหญิงนักฟ้อน จนนางถูกผงหมามุ่ยกัดคันทรมานมาก มเหสีจอมขี้หึงก็หัวเราะด้วยความสะใจ “สามีข้าใครอย่าแตะนะเว้ย” มาชาตินี้นางจึงเป็นโรคผิวหนังร้ายแรง

กรรมที่นางทำคือ เอาผงหมามุ่ยไปโรยหญิงนักฟ้อน ผลกรรมที่นางได้รับ มิใช่ต้องถูกคนอื่นเอาผงหมามุ่ยมาโรยตอบ แต่เป็นผลกรรมที่คล้ายกันคือ เกิดมามีผิวหนังตะปุ่มตะป่ำ และคัน ดุจถูกผงหมามุ่ย


@@@@@@@

เรื่องที่สอง เรื่องนี้เขาเล่ามา เลยเอามาเล่าต่อ นายคนหนึ่งมีสวนกล้วยอยู่ชายป่า พอกล้วยสุกคาต้น ฝูงลิงก็มากินเกือบหมดทุกครั้ง เจ็บใจมาก วันหนึ่งจึงดักจับได้ลิงตัวหนึ่ง เอาลวดมามัดมือมันแล้วปล่อยไป ลิงพยายามดึงมือเพื่อให้หลุด ยิ่งดึงลวดยิ่งบาดลึกลงไปทุกที เลือดไหลแดงฉานร้องโหยหวน วิ่งเข้าป่าหายไป

นายคนนี้สะใจที่ได้แก้แค้น กาลเวลาผ่านไปเขาได้ลูกชายมาคนหนึ่ง มือสองข้างแป นิ้วติดกันยังกับตีนเป็ด ลูกคนที่สองที่สามเกิดมาพิการ เช่นเดียวกันยังกับแกะออกมาจากพิมพ์เดียวกัน

กรรมที่เขาทำคือ เอาลวดมัดมือลิง ผลกรรมที่เขาได้รับ มิใช่ว่าเขาถูกคนมัดมือ แต่ผลกรรมที่คล้ายกันคือ เขาได้ลูกมาแต่ละคนมือพิการนิ้วติดกัน ดุจดังทำความพิการแก่มือลิง

สรุปก็คือ เราทำอย่างใด ไม่จำเป็นต้องได้อย่างนั้น แต่เราอาจได้ผล “คล้าย” อย่างนั้นครับ

@@@@@@@

อีกประเด็นหนึ่งก็คือ ทำดีไม่จำต้องได้ผลดีร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำชั่วไม่จำต้องได้ผลชั่วร้อยเปอร์เซ็นต์ ทำดีได้ผลดีหรือทำชั่วได้ผลชั่วแน่ แต่ไม่ใช่ “ต้องได้เต็มที่” เป็นแต่เพียงแนวโน้มที่จะได้รับผลนั้นมากที่สุดเท่านั้น ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอย่างอื่นที่จะมาเบี่ยงเบน หรือผ่อนปรนด้วย

ขอยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย สมมติว่า ผมออกจากบ้านมุ่งหน้าจะไปนครปฐม ทันที่ที่ผมขับรถออกจากบ้าน แนวโน้มที่ผมจะถึงนครปฐม ย่อมมีมากเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ไม่ครบร้อยดอกครับ อาจมีเงื่อนไขอย่างอื่นที่ผมไปไม่ถึงนครปฐมก็ได้ เช่น รถตายกลางทาง หรือผมเกิดขี้เกียจเลี้ยวรถกลับเอาดื้อๆ ก็ได้

กรรมที่ทำก็เช่นเดียวกันนั่นแหละ แนวโน้มที่จะให้ผลมีมาก แต่ไม่จำเป็นต้องร้อยเปอร์เซ็นต์ ถึงขนาดใช้คำว่า “ต้อง” มันขึ้นกับเงื่อนไขอย่างอื่นด้วย

คัมภีร์ท่านเปรียบกรรมเหมือนหมาไล่เนื้อ คนทำกรรมเหมือนเนื้อ หมาไล่เนื้อทันเมื่อใดมันก็กัดทันที โอกาสที่หมาจะไล่ทันเนื้อมีมากอยู่ แต่ไม่ถึงกับร้อยเปอร์เซ็นต์ บางครั้งบางที เนื้อก็อาจหลุดรอดไปได้ก็มี ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นที่มาแทรกด้วย






ขอขอบคุณ :-
ที่มา : มติชนสุดสัปดาห์ ฉบับวันที่ 11 - 17 พฤษภาคม 2561
คอลัมน์ : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
ผู้เขียน   : เสฐียรพงษ์ วรรณปก
เผยแพร่ : วันพุธที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2561
wevbsite : https://www.matichonweekly.com/column/article_101374
28180  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ไหว้รอยพระพุทธบาท บนเขาคิชกูฏ ที่จันทบุรี เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 07:25:07 pm

แปลกดีครับ ไม่เคยเห็น

ขออนุโมทนา
28181  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ชีวิต ที่ขาดธรรมะ ย่อมเป็นชีวิตที่อับเฉา เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 07:21:46 pm


มาวะมัญเญถะ ปุญญัสสะ      นะมัตตัง อาคะมิสสะติ
อุทะพินทุนิปาเตนะ      อุทะกุมโภปิ ปูระติ
ปูระติ ธีโร ปุญญัสสะ      โถกัง โถกัมปิ อาจินัง

ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด
ผู้ฉลาดสั่งสมบุญ แม้ทีละน้อยๆย่อมเต็มได้ด้วยบุญ  ฉันนั้น



หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้
ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป
เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน

(พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช)

 :coffee2:
เป็นกำลัังใจให้ครับ
ขอให้ธรรมคุ้มครอง

28182  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สมาธิ มีประโยชน์ มาก จริง คะ เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 07:11:52 pm
:25: :25: :25:

หนู แสนหวาน นี่ช่างประเสริฐ จริง ๆ คะ ยิ่งได้เจอตัวจริง แล้ว น่ารักกว่าในรูปอีก


หนุ่มๆ อุเบกขาเอาไว้  อาจารย์สายทองกำลังทดสอบตบะของเราอยู่  :08:
28183  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / Re: การตัดสินใจ เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 07:01:31 pm

อาจารย์สายทองรับของว่างไหมครับ
:49:
28184  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: โปรดแสดงความเห็นกับการฝึกอบรมครั้งต่อไป เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 06:57:57 pm

อยากให้อาจารย์จัดความสำคัญให้กับ กลุ่มที่ไม่ได้มาปฏิบัติธรรมครั้งที่แล้วก่อน

อย่างเช่น กลุ่มอาจารย์สายทอง กลุ่มคุณนพดล กลุ่มคุณฟ้าใส และกลุ่มอื่่นๆ

ต้องขอโทษที่ไม่ได้เอ่ยนามกลุ่มอื่นๆ จำไม่ได้จริงๆ


ส่วนกลุ่มแก่งขนุน คุณนาฏนพิทย์ เพชรชาลี ช่วยคอมเม้นต์หน่อยครับ
28185  เรื่องทั่วไป / ข่าวสารเพื่อนถึงเพื่อน / ขอเชิญอนุโมทนา การอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมาฯ ที่วัดราชสิทธารามฯ เมื่อ: มีนาคม 05, 2010, 04:33:09 pm

ขอเชิญทุกท่านร่วมกันอนุโมทนากับ การอบรมพระกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ครั้งที่ ๑/๕๓
วันมาฆบูชา ณ วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร(วัดพลับ)ระหว่างวันที่ ๒๗ – ๒๘ กุมภาพันธ์ ถึงวันที่ ๑  ๒๕๕๓





ที่มา http://board.palungjit.com/f107/เรียนเชิญอนุโมทนาการอบรมพระกรรมฐานมัชฌิมา-แบบลำดับ-ครั้งที่-๑-๕๓-วันมาฆบูชา-229700.html
ขอขอบคุณ คุณบุญญสิกขา สมาชิกเว็บพลังจิต
28186  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อธรรม ที่ทำให้เนิ่นช้า ต่อการภาวนา เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 09:16:27 pm

ขออนุญาตประชันกับอาจารย์สายทองสักหน่อยนะครับ ขอเสนอ ปปัญจธรรม ๓ ดูซิใครจะช้ากว่ากัน

ปปัญจะ, ปปัญจธรรม ๓ (กิเลสเครื่องเนิ่นช้า, กิเลสที่เป็นตัวการทำให้คิดปรุงแต่งยืดเยื้อพิสดาร ทำให้เขวห่างออกไปจากความเป็นจริงที่ง่าย ๆ เปิดเผย ก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ และขัดขวางไม่ให้เข้าถึงความจริงหรือทำให้ไม่อาจแก้ปัญหาอย่างถูกทางตรงไปตรงมา — diversification; diffuseness; mental diffusion)
 
๑. ตัณหา (ความทะยานอยาก, ความปรารถนาที่จะบำรุงบำเรอปรนเปรอตน, ความอยากได้อยากเอา — craving; selfish desire)
 
๒. ทิฏฐิ (ความคิดเห็น ความเชื่อถือ ลัทธิ ทฤษฎี อุดมการณ์ต่าง ๆ ที่ยึดถือไว้โดยงมงายหรือโดยอาการเชิดชูว่าอย่างนี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นเท็จทั้งนั้น เป็นต้น ทำให้ปิดตัวแคบ ไม่ยอมรับฟังใคร ตัดโอกาสที่จะเจริญปัญญา หรือคิดเตลิดไปข้างเดียว ตลอดจนเป็นเหตุแห่งการเบียดเบียนบีบคั้นผู้อื่นที่ไม่ถืออย่างตน, ความยึดติดในทฤษฎี ฯลฯ ถือความคิดเห็นเป็นความจริง — view; dogma; speculation)
 
๓. มานะ (ความถือตัว, ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ ถือสูงถือต่ำ ยิ่งใหญ่เท่าเทียมหรือด้อยกว่าผู้อื่น, ความอยากเด่นอยากยกชูตนให้ยิ่งใหญ่ — conceit)

------------------------------------ 

เอ....อาจารย์สายทอง อยู่ ม.แม่ฟ้าหลวงรึเปล่าครับ

ผมเคยไปที่นั่นสองครั้ง สวยมากครับ น่าอยู่ :sign0144: :49: :bedtime2:
28187  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: มหาราหุโลวาทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๓ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๕ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 09:05:29 pm

anumothana sathu

 :s_good:


28188  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ฝากปริศนาธรรมคำ กลอน ไว้ให้ครับ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 09:02:59 pm

นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรตั้งอยู่

นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับไป

เมื่อไหร่จะเบื่อกันหนอ ?????
:25:
28189  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ปฏิจจสมุปบาท โดยย่นย่อ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:54:53 pm



28190  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สิ่งมหัสจรรย์ ในแดนพม่า เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:49:05 pm
 ผมอยากไปไหว้เจดีย์ชเวดากอง ที่พม่า กำลังรอให้เหตุปัจจัยเหมาะสม

 ว่าแต่เรื่องนี้น่าจะโพสต์ที่ห้องส่งจิตออกนอก มากกว่า

 "มหัศจรรย์ ไม่ใช่ มหัสจรรย์ (ผิด)" :smiley_confused1:
28191  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติ พระกรรมฐาน นั้นเริ่มจาก น้อย ไปหา มาก เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:39:38 pm

มาวะมัญเญถะ ปุญญัสสะ      นะมัตตัง อาคะมิสสะติ
อุทะพินทุนิปาเตนะ      อุทะกุมโภปิ ปูระติ
ปูระติ ธีโร ปุญญัสสะ      โถกัง โถกัมปิ อาจินัง

ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด
ผู้ฉลาดสั่งสมบุญ แม้ทีละน้อยๆย่อมเต็มได้ด้วยบุญ  ฉันนั้น

28192  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อย่าท้อถอย ต่อพระกรรมฐาน นะคะ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:36:00 pm
 

คุณแสนหวานเป็นกำลังใจให้นักปฏิบัติ นักปฏิบัติตัวเล็กๆอย่างผม

ก็ขอเป็นกำลังใจให้คุณแสนหวานเช่นกัน และเชื่อว่าทุกคนก็เป็นกำลังใจให้กันและกัน

ขอให้ดูคาถาบทนี้ครับ เพิ่มกำลังใจให้ทุกคนได้เป็นอย่างดี



มาวะมัญเญถะ ปุญญัสสะ      นะมัตตัง อาคะมิสสะติ
อุทะพินทุนิปาเตนะ      อุทะกุมโภปิ ปูระติ
ปูระติ ธีโร ปุญญัสสะ      โถกัง โถกัมปิ อาจินัง


ไม่ควรดูหมิ่นต่อบุญว่า มีประมาณน้อย จักไม่มาถึง
แม้หม้อน้ำย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลง ฉันใด
ผู้ฉลาดสั่งสมบุญ แม้ทีละน้อยๆย่อมเต็มได้ด้วยบุญ  ฉันนั้น



ขอให้ธรรมคุ้มครอง
28193  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระศาสนา จะสูญสิ้นไปจากโลก ดังนี้คะ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:24:37 pm

หนทางยังมีอยู่ ผู้เดินทางยังไม่ขาดสาย ลงมือเสียแต่วันนี้

ก่อนที่กระแสลมแห่งกาลเวลา จะพัดพารอยพระบาทของท่านหายไป

เพราะถึงเวลานั้น พวกเราก็จะต้องระหกระเหินไร้ทิศทาง ไปอีกนานแสนนาน

 
(พระอาจารย์ปราโมช ปาโมชโช)
------------------------------------------------------------ 

หากศรัทธาถดถอย แนะนำให้อ่าน อนาคตวงศ์ ๑๐ พระองค์  :08:

28194  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: การปฏิบัติ สมาธ มีผลตามพระบาลีดังนี้คะ เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 08:05:48 pm

เย ธัมมา เหตุปปะภะวา เตสัง เหตุง ตถาคะโต เตสัญจะ โย นิโรโธ จะ เอวัง วาที มหาสมโณ


สิ่งเหล่าใดเกิดแต่เหตุพระตถาคต (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสเหตุของสิ่งเหล่านั้น
รวมทั้งความดับของสิ่งเหล่านั้นด้วย พระมหาสมณะได้ตรัสไว้อย่างนี้


(พระอัสสชิกล่าวแก่พระสารีบุตร พระสารีบุตรได้ดวงตาเห็นธรรมจากธรรมข้อนี้)
-------------------------------------------------

ขออนุญาตเอาใจอาจารย์สายทอง สักครั้ง อย่าว่ากันนะครับ
ขอเสนอวิปัสสนาญาณ ว่าด้วยอุเบกขาญาณ เชิญทัศนาเลยครับ

---------------------------------------------------

สังขารุเบกขานุปัสสนาญาณ
(สละเสียให้สิ้นอย่าเป็นห่วง)

   ญาณปัญญาอันใดเป็นไปด้วยอาการอุเบกขาใน สังขารธรรมทั้งหลาย มีโทษอันตนเห็นแล้ว ประดุจดังว่าบุรุษมีภรรยาอันตาย
   ญาณกำหนดรู้ด้วยการวางเฉยในรูปนาม กำหนดรู้ด้วยสุญญตะ ความว่างเปล่าจากตัวตน ว่างเปล่าจากนามรูป ว่างเปล่าจาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ

   สังขารุเบกขาญาณ นี้นั้นจะดำเนินไปหลายครั้งหลายคลาจนแก่กล้า ถ้าเห็นนิพพานอันเป็นทางสันติ โดยความสงบ ก็จะสลัดทิ้งความเป็นไปของสังขารธรรมทุกประการ แล้วแล่นตรงไปสู่นิพพานเลยทีเดียว  หากยังไม่แก่กล้า ไม่เห็นนิพพานโดยความสงบ ก็จะมีสังขารเป็นอารมณ์อย่างเดียว วกวนกลับไป กลับมาแล้วกลับมาเล่าๆ เหมือนนกกาของพ่อค้าเดินทะเล



อุปมาด้วยนกกา ของพวกพ่อค้าเดินเรือทะเล

   เล่ากันว่าพวกพ่อค้าเดินเรือทะเลโบราณ เมื่อจะเดินเรือไปในทะเล ได้จับเอานกกาที่เรียกว่า ทิสากากะ คือกาผู้รู้ทิศทางไปด้วย เมื่อเรือถูกพายุ แล่นผิดทิศทาง ไม่แลเห็นฝั่ง พวกพ่อค้าก็จะปล่อยกาผู้รู้ทิศไป กานั้นไปเกาะที่เสากระโดงเรือ บินขึ้นสู่อากาศไปตามทิศน้อยใหญ่ ถ้าเห็นฝั่ง ก็จะบินมุ่งหน้าตรงขึ้นฝั่งทะเลไปเลย

   แต่ถ้าไม่เห็นฝั่ง มันก็บินมาเกาะที่ไม้เสากระโดงเรือ แล้วบินออกไป แล้วบินกลับมาเกาะแล้วๆเล่า สังขารุเบกขาญาณ ก็คล้ายกับนกกานั้นเช่นกัน
 
เรือ เปรียบด้วยรูปนามขันธ์ ๕
นกกา  เปรียบด้วย สังขารุเบกขาญาณถึงขั้นสุดยอด 
ฝั่ง เปรียบด้วย พระนิพพาน


ถ้ากำหนดแล้ว กำหนดเล่า กำหนดบ่อยๆ จนช่ำชองแก่กล้า และผ่านเข้าสู่ญาณเบื้องสูงเป็นวิปัสสนาญาณถึงขั้นสุดยอด  ขั้น วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ
 
พระอนุรุธเถรเจ้า กล่าวว่า วิปัสสนาถึงสุดยอด พร้อมทั้งอนุโลมญาณ นั้นคือ สังขารุเบกขาญาณ ที่เรียกว่า วุฏฐานคามินีวิปัสสนา

พระสุมังคลเถรเจ้า กล่าวอธิบายอีกว่า  สังขารุเบกขาญาณนั้นเอง ที่เรียกว่า สิขาปัตตา (ถึงขั้นสุดยอด) เพราะถึงขั้นสุดยอดของวิปัสสนาญาณ ฝ่ายโลกียะที่ว่าพร้อมด้วยอนุโลมญาณ เพราะรวมทั้งอนุโลมญาณ ซึ่งเป็นที่สุดของวิปัสสนาญาณโลกียะด้วย ที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ เพราะวางเฉยในสังขารธรรมทั้งหลาย และที่เรียกว่า วุฏฐานคามินี เพราะดำเนินไปสู่มรรค ที่เรียกว่า วุฏฐานะ เพราะ  ออกไปจากอบายภูมิเป็นต้นด้วย และออกไปจาก นิมิต คือ สังขาร รูปนาม
 
คำว่า วุฏฐาคามินี นี้เป็นชื่อของญาณทั้งสาม คือ สังขารุเบกขาญาณ ๑ อนุโลมญาณ ๑ โคตรภูมิญาณ ๑ ที่เรียกว่า  สิขาปัตตา เพราะถึงขั้นสุดยอด วิปัสสนาสูงสุด ในโลกียญาณ เพื่อให้เข้าใจความหมาย วุฏฐานคามินีวิปัสสนาญาณ โดยแจ่มแจ้ง ท่านเปรียบเทียบวิปัสสนาญาณด้วยอาการของค้างคาวดังต่อไปนี้


อุปมาด้วยค้างคาว

เล่ากันว่า ค้างคาวตัวหนึ่ง คิดจะไปกินดอก และผลที่ต้นไม้ จึงแอบอยู่ที่ต้นมะทรางที่มีกิ่งอยู่ ๕ กิ่ง เกาะกินอยู่กิ่งหนึ่งก่อน จนไม่เห็นมีดอกผลอะไร ที่จะเกาะกินได้ ณ กิ่งนั้นแล้ว ก็ย้ายไปกิ่งที่ ๒ กิ่งที่ ๓ กิ่งที่ ๔ กิ่งที่ ๕ จนไม่เห็นอะไรที่จะเกาะกินเหมือนกิ่งที่ ๑ แล้ว
 
ค้างคาวตนนั้นจึงคิดว่า ต้นไม้ต้นนี้ไม่มีผลแล้ว จึงทอดอาลัยในต้นไม้ต้นนั้น แล้วไต่ขึ้นไปตามกิ่งตรงกิ่งที่ ๕ ชูหัวออกไปทางคาคบ แหงนดูขึ้นไปข้างบน แล้วโลดขึ้นไปบนอากาศ บินไปแอบอยู่ ณ ต้นไม้ผลอื่น

   ๑.  ค้างคาวเปรียบด้วย พระโยคาวจร ผู้ปฏิบัติถึง สังขารุเบกขาญาณ
   ๒. ต้นมะทราง ๕ กิ่ง คือ อุปาทานขันธ์ ๕
   ๓. ค้างคาวแอบอยู่บนต้นมะทราง คือการยึดขันธ์ ๕
   ๔.การกำหนดรูปขันธ์ แล้วเห็นว่าไม่มีอะไรยึดถือได้  จึงกำหนดรูปขันธ์อื่นต่อไป   เปรียบค้างคาวเกาะกินกิ่งหนึ่งไม่เห็นอะไร ก็ไปเกาะกินกิ่งอื่นต่อไป
   ๕. ค้างคาวทอดอาลัยในต้นไม้ ไม่มีผล เปรียบด้วย โยคีเบื่อหน่าย (นิพพิทาญาณ) ด้วย ไตรลักษณ์
   ๖. อนุโลมญาณ ของโยคี เปรียบด้วยค้างคาว ไต่ขึ้นไปตามกิ่งตรง
   ๗. โคตรภูญาณ  เปรียบด้วย การที่ค้างคางชูหัวออกไปแหงนดูขึ้น ไปข้างบน
   ๘.มรรคญาณ  เปรียบด้วย การที่ค้างคาว โลดไปในอากาศ
   ๙.ผลญาณ เปรียบด้วย การที่ค้างคาวตัวนั้น บินไปแอบอยู่ ณ ต้นไม้ต้นอื่น

อุปสรรคของการบรรลุ  สังขารุเบกญาณ ขั้นสูง มิสามารถผ่านไปสู่ญาณขั้นสูงอื่นๆได้ เพราะ
 
   ๑.เคยตั้งปณิธานปรารถนาพุทธภูมิไว้  และถ้าต้องการปฏิบัติให้บรรลุผ่านสังขารุเบกขาญาณ เอามรรคผล  ต้องตั้งสติกำหนดถอนปณิธานความปรารถนาพุทธภูมิ
   ๒.เคยล่วงเกินท่านบุรพการีเช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์  บิดามารดา พระอุปัชฌาย์ ครูบาอาจารย์ ต้องทำพิธีขอขมาลาโทษก่อน
   ๓. เคยตำหนิติเตียนล่วงเกินพระอริยบุคคล  ต้องขอขมาตามวิธีการ
   ๔. เคยทำ อนันตริยกรรม มีฆ่าบิดามารดา เป็นต้น
   ๕. เป็นพระภิกษุต้องอาบัติปาราชิก  ถ้าอาบัติเล็กน้อยให้แสดงอาบัติ


สังขารุเบกขาญาณมีคุณสมบัติ ๖ ประการ

๑. ละความยินดี ยินร้าย ในรูป นามได้   
๒. ไม่ดีใจ เสียใจ มีสติสัมปชัญญะ กำหนดรู้รูปนาม พระไตรลักษณ์ได้ดี 
๓. วางเฉยในรูปนาม ไตรลักษณ์สังขารทั้งปวง
๔. ปัญญา ตั้งอยู่ได้นาน
๕. กำหนดรู้ ได้ละเอียดอ่อน
๖. เข้าถึงธรรม มีธรรมเป็นอำนาจ มีธรรมเป็นใหญ่


ที่มา
คู่มือ สมถะ-วิปัสสนากรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
ของสมเด็จพระสังฆราชญาณสังวรมหาเถรเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) 
วัดราชสิทธาราม ราชวรวิหาร (พลับ) กรุงเทพฯ
พระครูสังฆรักษ์วีระ ฐานวีโร  รวบรวม เรียบเรียง


28195  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: พระสูตรที่พระพุทธองค์ ทรงตรัสกับ พระราหุล มหาเถรเจ้า พุทธชิโนรส เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 07:15:06 pm

อนุโมทนากับคุณแสนหวาน ที่เกิดปิติในการอ่านพระสูตร

อยากให้คุณแสนหวานเล่าประสบการณ์การนั่งกรรมฐาน แล้วเกิดปิติให้ฟังบ้าง

เพื่อนๆจะได้ร่วมกันอนุโมทนา "สัพทานัง ธัมมะธานัง ชินาติ"
28196  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: อานิืสงค์ แห่งกรรม เมื่อ: มีนาคม 04, 2010, 07:07:55 pm

อนุโมทนาครับอาจารย์สายทอง ตอนนี้มีห้องใหม่แล้ว "เรื่องเล่ากฏแห่งกรรม"

อาจารย์ช่วยโพสต์หน่อยนะครับ 
               
                                        ขอให้ธรรมคุ้มครอง
28197  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / Re: ป่วยเป็นมะเร็ง และเจ็บหลัง ไม่สามารถนั่งขัดสมาธิได้ เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 09:00:48 pm
คุณชูศรี สกุลวงศ์ หากสะกดผิด ต้องขอโทษด้วย

กรรมฐานรักษาโรคได้แน่นอน สมาชิกคนหนึ่งของเว็บนี้มีประสบการณ์

เค้าเป็นมะเร็ง เหมือนคุณชูศรี  หากคุณชูศรีกับเค้ามีวาสนาต่อกัน

คุณกับเค้าคงได้ติดต่อกันในเร็ววัน

การปฏิบัติกรรมฐานไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิ

นั่งบนเก้าอี้ หรือนั่งห้อยขา ก็ทำสมาธิได้เช่นกัน ผมลองมาแล้ว

ตอนนี้พระอาจารย์ที่่จะพาขึ้นกรรมฐานไม่อยู่   

หากสะดวกให้มาที่วัดแก่งขนุน มาหาหลวงพี่เฉย

ที่วัดนี้มีรูปหล่อหลวงปู่สุก ไก่เถื่อน รูปหล่อนี้มีพลังบางอย่าง

ที่บรรเทาอาการป่วยได้ สงสัยอะไร ให้โพสต์ถาม หลวงพี่เฉยนะครับ
28198  เรื่องทั่วไป / เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม / บทสวดมนต์ตัดกรรม ของสมเด็จโต(วัดระฆัง) เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 08:30:56 pm

บทสวดมนต์ตัดกรรมของสมเด็จโต วัดระฆัง



บทสวดมนต์พระไตรญาณ ชินบัญชร
(บทสวดมนต์ตัดกรรม ของสมเด็จโต วัดระฆัง)


บทสวดมนต์พระไตรญาณนี้ เป็นบทสวดของสมเด็จโต สมเด็จโตได้กล่าวเป็นรจนา เป็นธณรรมทานแก่มนุษย์โลก บูชาพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า พระอรหันตเจ้า พระสีวลี พระพรหม เทพเวดาทุกพระองค์ในสวรรค์ทั่วแสนโกฐจักรวาล

สมเด็จโตได่กว่าวไว้ว่า " ผู้ใดสวดบทสวดมนต์ตัดกรรมนี้ จะเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่ สวดทุกเช้าค่ำสามารถขจัดวิบากกรรมให้เบาบางลงได้ แล้วผูนั้นจะไม่ตกอบายภูมิ แม้ได้บูชาชทสวดมนต์นีไว้ที่บ้านเรือน ก็จะป้องกันอันตรายต่างๆได้ ถ้าพกติดตัวเดินทางไปที่ต่างๆ จะทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากถัยจากอุบัติเหตุทั้งปวง"


โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา สัมพุทโธ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ
โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา ธัมโม
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ
โยโส ภะคะวา อรหังสัมมา สาวะกะสังโฆ
อิเมหิ สักกาเรหิ ตัง ภควันตัง อภิปูชะยามิ

อะระหังสัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา พุทธังภะคะวันตัง อะภิวาเทมิ
สวากขาโต ภะคะวะตาธัมโม ธัมมัง นะมัสสามิ
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ สังฆังนะมามิ


นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหัตโต สัมมา สัมพุทธัสสะ(3 รอบ)

พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธธัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระนัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระนัง คัจฉามิ

ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเวระยะมัชชปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ

สัคเค กาเม จะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะคาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละ วิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเกยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธุโวเม สุณันตุ

ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

อิติปิโส ภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทโธ วิชชาจะระณะ สัมปันโน
สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสัทธัมมะสารัตถิ สัตถา เทวะมนุสสานัง
พุทโธ ภะคะวาติ

สะวากขาโตภะคะวะตา ธัมโม สันทิฏฐิโก อะกาลิโก เอหิปัสสิโก
โอปะนะยิโก ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูฮีติ

สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
สามีปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะ ยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคลา
เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ
อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเนยโย
อัญชะลี กะระณีโย อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติ

อุกาสะ อุกาสะ ข้าพเจ้าจะเจริญสวดมนต์ภาวนาธรรม บูชาคุณพระรัตนตรัย
เพื่อสร้างสมทศบารมีธรรมในจิต มีทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ
อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา เจริญอิทธิบาททั้ง 4 ด้วยความพอใจในความเพียร
ให้ความสนใจและความใคร่ครวญพิจารณา ให้งหารนิวรณ์ทั้ง 5 อันมี กามฉันทะความพยาบาท ความง่วงขณะปฏิบัติ ความคิดฟุ้งซ่าน ความลังเลสงสัย ให้มันมลายหายออกไปมีวิตก วิจาร ปีติ สิริร่วมสุข เอกัคคตา เข้ามาแทนที่ให้ถึงฌาณสมาบัติ จนเดินทางเข้าสู่ มรรคาพระอริยบุคคล ล้างธุลีกิเลสให้สูญ ตัดมูลอาสวะให้สิ้น ห่างไกลสังโยชน์ทั้งปวงล่วงถึงพระนิพพานที่ยิ่งใหญ่


ข้ายเจ้าขออาราธนาบารมีพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า และพระอริยสงฆ์ทุกพระองค์ มีสมเด็จโตวัดระฆังเป็นที่สุด จงมาเป็นที่พึ่งแห่งข้าพเจ้า ทำลายทุกข์กายใจให้เหือดหาย ทำลายมารตัณหาให้พินาศ
ขอให้พ้นเคาะห์ปราศจากทุกข์โศกโรคภัยและอันตรายพิบัติทั้งปวง ขอให้ข้าพเจ้ามีอายุยืนยาวมีโชคลาภ มีความสุขสิริสวัสดิ์ เจริญต่อไปทั้งในปัจจุบัน กาลอนาคต ภพหน้า ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ

อุกาสะ อุกาสะ มือของข้าพเจ้าทั้งสิบนิ้ว ขอประนมขึนระหว่างคิ้ว ข้าพเจ้าขอถวายต่างดอกบัวปทุมชาติ จักขุของข้าพเจ้าทั้งสองอันรุ่งเรืองฉายแสงแวววาว ขอถวายต่างธูปเทียนทองนะโมนมัสการ ข้าพเจ้าขอบูชาคุณพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงพระญาณเห็นทั่วทุกทิศแดนไกล พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ให้ภาวนาว่า พุทธังสะระนังคัจฉามิ ธัมมังสะระนังคัจฉามิ สังฆังสะระนังคัจฉามิ ตั้งใจภาวนาไว้ให้ดี สัตรูมีมาแก้ไขได้ทุกประการ ด้วยพุทธานุภาพที่ทรงตั้งมั่น
ในอุเบกขา ทรงเมตตาโปรดสัตว์ทั่วทิศ ทรงฤทธิ์แกล้วกล้า เดชะพระจตุพรหมวิหาร ในน้ำพระหฤทัย มีพระเมตตาทรงพระกรุณาช่วยสัตว์ให้หายเข็ญ

พุทโธพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
ธัมโมพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
สังโฆพุทธัสสะ กำจัดออกไป อย่าเข้ามาใกล้ขอบขัณฑ์เสมา
พวกมารไพรีอย่าเข้ามาใกล้ คนร้ายอกุศลถอยไปให้พ้น สารพัดศัตรูวินาศสันติ

ข้าพเจ้าจะขออาราธนาพระธรรมเจ้า ทั้งแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์ จนจบพระไตรปิฎกอย่างย่อว่า
อาปามาจุปะ คือ พระวินัย
ทีมะสังอังขุ คือ พระสูตร
สังวิธาปุกะยะปะ คือ พระปรมัตถ์
ด้วยเดชะพระธรรมเจ้าทั้งหลาย ขอให้โพยภัยอย่าได้มี จงกำจัด พลัดพรายออกไปให้พ้น

ข้าพเจ้าจะขอไหว้คุณพระสงฆ์อันบริสุทธิ์ พระสงฆ์ทรงเป็นมิตรผูกจิตพิสมัย สังฆัสสัง
มังคะลังโลเก อุมะอะปิ พระสังฆัง จงมารักษาตัวข้าพเจ้า ศัตรูภายนอกเร่งถอยออกไป
ศัตรูภายในบรรลัยสิ้นสุด

หนึ่งนมัสการพระพุทธมาอยู่ตรงหน้า พระธรรมมาอยู่ตรงหลัง พระสังฆังรักษาจิต
พระพรหมผู้เป็นเจ้าสวรรค์มาช่วยกันรักษาตัวข้าพเจ้า เหล่าเทวานพเคราะห์
เสด็จเข้ามาช่วยกันรักษาด้วยเดช
พระอาทิตย์ทั้งหก ทรงประทานมาให้
พระจันทร์สิบห้า ทรงศีลในใจ
พระอังคารแปดองค์ มารักษาภายใน
พระพุทธสิบเจ็ด เป็นที่ชุมนุมคุ้มเสนียดและจัญไร
พระพฤหัสสิบเก้า เข้ามาสิงสู่ให้พรทุกสิ่ง
พระราหูสิบสอง มาช่วยกันรักษาศัตรูมีมามอดม้วยบรรลัย
พระศุกร์ยี่สิบเอ็ด มาช่วยป้องกัน
พระกาฬตัวกล้าร้ายกาจหนักหนา ศัตรูที่ไหนให้บรรลัยที่นั่น

นะโมเมสัพพะเทวานัง สัพพะเคราะห์จะเทวะตา
สุริยัญจะ ปะมุญจะถะ สะสิภุมโมจะเทวานัง
พุทโธลาภัง ภะวิสสะติ ชีโวศุโกร์จะมหาลาภัง
สัพพะทุกข์ สัพพะโศก สัพพะโรค สัพพะภัย
สัพพะเคราะห์ เสนียดจัญไร วนาศสันติ
พระเคราะห์ภายใน พระเคราะห์ภายนอกจงหายไป
พระเคราะห์ปีขอให้เคลื่อน พระเคราะห์เดือนขอให้คลาย
พระเคราะห์วันขอให้หาย มลายสิ้นไป ชัยยะ ชัยยะ

ชิยาสะรากะตา พุทธา เชตะวา มารัง สะวาหะนัง
จะตุสัจจา สะภัง ระสัง เยปิ วิงสุ นะราสะภา
ตัณหังกะราทะโย พุทธา อัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา
สีเส ปะติฏฐิโต มัยหัง พุทโธ ธัมโม ทะวิโลจะเน
สังโฆ ปะติฏฐิโต มัยหัง อุเร สัพพะคุณากะโร
หะทะเย อะนุรุทโธ จะ สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
โกณทัญโญ ปิฏฐิภาคัสมิง โมคคัลลาโน จะ วามะเก
ทักขิเณ สะวะเน มัยหัง อาสุง อานันทราหุลา
กัสสะโป จะ มหานาโม อุภาสุง วะมะโสตัตเก
เกสันเต ปิฏฐิภาคัสมิง สุริโย วะ ปะภังกะโร
นิสินโน สิริสัมปันโน โสภิโต มุนิปุงคะโว
กุมาระกัสสะโป เถโร มะเหสี จิตตะวาทะโก
โส มัยหัง วะทะเน นิจจัง ปะติฏฐาสิ คุณากะโร
ปุณโณ อังคุลิมาโล จะ อุปาลี นันทะสีวะลี
เถรา ปัญจะ อิเม ชาตา นะลาเต ติละกา มะมะ
เสสาสีติ มะหาเถรา ชิตะวันโต ชิโนระสา
ชะวันตา สิละเตเชนะ อังคะมังเคสุ สัณฐิตา
ระตะนัง ปุระโต อาสิ ทักขิเณ เมตตะสุตตะกัง
ธะชัคคัง ปัจฉะโต อาสิ วาเม อังคุลิมาละกัง
ขันธะโมระปัริตตัญจะ อาฏานาฏิยะสุตตะกัง
อากาเส ฉะทะนัง อาสิ เสสา ปาการะสัณฐิตา
ชินา นานาพะละสังยุตตา สัตตะปาการะลังกะตา
วาตะปิตตาทิสัญชาตา พาหิรัชณัตตุปัททะวา
อะเสสา วินะยัง ยันตุ อะนันตะชินะเตชะสา
วะทะโต เม สะกิจเจนะ สะทา สัมพุทธะปัณชะเร
ชินะปัณชะระมัชเณหิ วิหะรันตัง มะหิ ตะเล
สะทา ปาเลนตุ มัง สัพเพ เต มะหาปุริสาสะภา
อิจเจวะมันโต สุคุตโต สุรักโข ชินานุภาเวนะ ชิตุปัททะโว
ธัมมานุภาเวนะ ชิตาริสังโค สังฆานุภาวะนะ ชิตันตะราโย
สัทธัมมานุภาวะปาลิโต จะรามิ ชินะปัณชะเรติ

อิติปิโสภะคะวา นะชาลิติ ฉิมพาลี จะมหาเถโร สุวรรณมามา
โภชนะมามา วัตภุมามา พลาพลังมามา โภคะมามา
มหาลาโภมามา สัพเพชะนา พหูชะนา ภะวันตุเม

พุทโธ ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม
ธัมโม ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม
สังโฆ ชัยยะ เมตตาฉิมพะลีจะมหาเถโร ลาภะลาภัง ภะวันตุเม

ขอนมัสการพระสีวลีเถรเจ้า ผู้ทรงเป็นเลิศในทางลาภสักการะ
พระองค์ทรงมีศักดาฤทธานุภาพหาที่จะอุปมามิได้ พระมหาเถรสีวลี
พระองค์เสด็จไปอยู่ยังสถานที่แห่งใดๆ เทพยดาและมนุษย์
ย่อมมาบูชามิได้ขาดในสถานที่นั้นทุกแห่ง ขอให้เดชะบารมี พระสีวลีเถรเจ้า
จงมาเป็นที่พึ่งแก่ข้าพเจ้าในกาลบัดเดี๋ยวนี้เทอญ

นะพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

โมพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

พุทพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

ธาพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล

ยะพระขันแก้ว แผ้วถางทางพระนิพพาน สินมัคญาณ
ทานบารมี ศีลบารมี ภาวนาบารมี ไมตรี เมตตา กรุณา
มุทิตา อุเบกขา พระคุณสัมปันโน อะระหัตตะผล



บทแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากทุกข์
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากเวร ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากความลำบาก
ขอให้ข้าพเจ้าปราศจากอุปสรรค์ รักษาตนให้มีความสุขตลอดกาลนานเทอญ

บทแผ่เมตตาไม่มีขอบเขต
พรหมโลก 20 ชั้น ดทวโลก 6 ชั้น มนุษย์โลก มารโลก
ยมโลก อบายภูมิทั้ง 4 มีนรก เปรต อสุรกาย สัตว์เดรัจฉาน
ขอให้ทุกดวงจิตและวิญญาณ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด
อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

การให้ทาน ด้วยการให้ธรรมมะ
เป็นการชนะการให้ทั้งปวง ได้กุศลมาก


ที่มา  http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1170671


28199  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / Re: ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนา ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 07:48:05 pm

ผมตอบให้แล้วครับ  กรุณาคลิกที่ลิงค์นี้

http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=431.new#new
28200  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: ทำไม ผู้ฝึกกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ จึงไม่ประสพความสำเร็จในการภาวนา เมื่อ: มีนาคม 03, 2010, 07:45:49 pm

คำถามของคุณกิติศักดิ์จากอีกกระทู้หนึ่่ง
"ผู้ฝึกปฏิบัติภาวนา ไม่ผ่าน ควรทำอย่างไร "
การฝึกภาวนา ในกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ถ้าภาวนาแล้วไม่สามารถผ่านไปได้ ควรทำอย่างไร
------------------------------------------------------

ปัญหาต่างๆที่ถามเอาไว้หลายๆกระทู้ ไม่ทราบว่า คุณกิติศักดิ์ได้เคย
ไปถามหลวงพ่อจิ๋วบ้างหรือยัง หากไปถามมาแล้วอยากให้คุณกิติศักดิ์
เผยแพร่เป็นวิทยาทานบ้าง

มาถึงการตอบคำถาม ขออนุญาตคุณกิติศักดิ์ตอบสองกระทู้พร้อมกัน
ปัญหาของคุณกิติศักดิ์ถามแบบคลุมๆไม่มีรายละเอียดอะไร
ที่สามารถยกมาเป็นประเด็นให้พิจารณาได้
มันติดตรงไหน อย่างไร ควรชี้ลงไปให้เห็นกันชัดๆ

อะไรคือ ผ่าน อะไรคือไม่ผ่าน
อะไรคือก้าวหน้า อะไรคือไม่ก้าวหน้า
เอาอะไรมาวัดว่า ผ่าน และเอาอะไรมาวัดว่า ก้าวหน้า
ช่วยชี้แจงรายละเอียดให้ทราบด้วยครับ

ขอโทษที่ต้องถามกันตรงๆ อยากจะให้เพื่อนสมาชิกได้รับ
ประโยชน์จากกระทู้นี้ จำเป็นต้องมีความชัดเจน เพื่อเอาไว้อ้างอิงได้
และขอให้ถือว่าเป็นการแบ่งประสบการณ์ให้กันนะครับ


ตัวผมเองเคยสอบถามผู้รู้ถึงอุปสรรคของการนั่งกรรมฐาน พอที่จะสรุปสาเหตุได้สองประเด็นใหญ่ๆ
๑.   การไม่ทำตามขั้นตอนของการนั่งกรรมฐานมัชฌิมา แบบลำดับ
๒.   การถูกนิวรณ์ และอุปกิเลส ครอบงำ


ผมขอเสนอขั้นตอนการนั่งกรรมฐาน พร้อมรายละเอียดของนิวรณ์และอุปกิเลส ดังนี้ครับ

ขั้นตอนการนั่งกรรมฐาน
๑. สมาทานศีล
๒. กล่าวคำขอขมาต่อพระรัตนตรัย
๓ .กล่าวคำอธิษฐานอาราธนากรรมฐาน
๔. การวางฐานจิต
   ๔.๑ การสัมปยุตธรรมลงศูนย์นาภี
   ๔.๒ การเลื่อนฐานจิตไปยังฐานจิตต่างๆ(ปัคคาหะนิมิต)
๕. การบริกรรม “พุทโธ” โดยใช้วิธีทีเรียกว่า “สมาธินิมิต”หรือ”บริกรรมนิมิต”
     หากมีนิวรณ์เข้าแทรก ให้แก้ไขโดยใช้วิธีที่เรียกว่า “อุเบกขานิมิต”
๖. การสัมปยุตธาตุ ตามองค์ธาตุของฐานจิตต่างๆ   
๗. เมื่อใกล้จะออกจากกรรมฐาน ให้อธิษฐานขอดูกาย
๘. อธิษฐานขอออกจากกรรมฐาน
๙. สวดคาถาพญาไก่เถื่อน อธิษฐานขอพรตามปรารถนา
๑๐. แผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทุกตัวตน


ขอแนะนำให้อ่านเรื่องนี้ “ความสำคัญของ อธิษฐานบารมี”
http://www.madchima.org/madchima/index2.php?name=knowledge&file=readknowledge&id=30

นิวรณ์ ๕ (สิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม, ธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง )
๑. กามฉันทะ (ความพอใจในกาม, ความต้องการกามคุณ)
๒. พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ)
๓. ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม)
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล)
๕. วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย)


อุปกิเลส  ๑๑  ประการ (เครื่องเศร้าหมองในการเจริญสมาธิ)
๑. วิจิกิจฉา  ความสงสัยในโอภาสนิมิต จิตคลาดเคลื่อนจากสมาธิ แสงสว่างจึงดับ
๒. อมนสิการ จิตไม่กำหนดนึก ว่านั้นอะไร นี่อะไร ทำให้จิตเลื่อนลอย จิต
     จึงเคลื่อนจากสมาธิ   แสงสว่างก็ดับ
๓. ถีนมิทธะ  จิตละเลยการกำหนดรูปนิมิต  จิตจึงง่วงเหง่าหาวนอน  จิต
     จึงเคลื่อน จากสมาธิ รูป จึงดับ แสงสว่างจึงดับ
๔. ฉมฺภิตตฺต ความไหวจิต ไหวกาย เพราะจิตเห็นรูปน่ากลัว จิตจึงเคลื่อน
     จากสมาธิ  แสงสว่าง รูปนิมิตจึงดับ
๕. อุพพิลวิตก ความที่จิต รวบรัด เพ่งเล็งดูรูปนิมิตมากมาย จิตกำเริบฟุ้งซ่าน
    จิตจึงเคลื่อนจาสมาธิรูปนิมิต และแสงสว่างจึงดับไป
๖. ทุฎฐุลล     ความกำหนดจิตดูรูปนิมิตมาก แต่กำหนดดูแต่ช้าๆ จิตคลาย
    ความเพียรลง เกิดความ กระวนกระวาย จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิรูปนิมิต
   โอภาสนิมิตจึงดับ
๗. อจฺจารทฺธวิริย กำหนดความเพียรมากเกินไป จิตจึงคลาดเคลื่อนจากสมาธิ
รูป แสงสว่างจึงดับไป
๘. อติลีนวิริย   กำหนดความเพียรน้อยเกินไป อ่อนเกินไป จิตเคลื่อนจาก
    สมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ
๙. อภิชปฺปา การกำหนดดูรูปปราณีต ตัณหาเกิด จิตจึงเคลื่อนจากสมาธิ รูป
    และแสง สว่างจึงดับไป
๑๐. นานตฺตสญฺญา การกำหนดดูรูปหยาบ รูปปราณีตพร้อมกัน จิตแยกเป็น
       สองฝ่าย จิต จึงเคลื่อน จากสมาธิรูปนิมิต และโอภาสนิมิตหายไป
๑๑. อตินิชฌายิตตฺต  การเพ่งเล่งรูปมนุษย์ อันปราณีต เกิดความยินดี จิต
       เคลื่อนจากสมาธิ รูป  แสงสว่างจึงดับ

เพื่อนๆสมาชิกทุกท่านมีความเห็นเป็นประการใด ช่วยออกมาแถลงกันหน่อยนะครับ

ขอให้ธรรมคุ้มครอง
หน้า: 1 ... 703 704 [705] 706 707 ... 712