ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - raponsan
หน้า: 1 ... 705 706 [707] 708 709 710
28241  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไก่ฟ้าพระยาลอ เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 01:16:38 pm
 
ไก่ฟ้าพระยาลอ


28242  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ไก่ฟ้าพระยาลอ เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 01:12:29 pm

ไก่ฟ้าพระยาลอ (ไม้ดอกไม้ประดับ)

ไต่ตามปราถนา จนสูงได้เท่าเทียบต้นไม้ใหญ่


ไก่ฟ้าพระยาลอ
ไม้ประดับที่มีชื่อแสนไพเราะนี้
ลำต้นเป็นไม้เลื้อย...ไต่เลื้อยพันเกาะกิ่งไม้ตามปราถนาจนสูงได้จนเท่าเทียบกับต้นไม้ใหญ่เชิดหน้าชูตาได้อย่างสง่างาม
ใบ...มีรูปทรงเป็นรูปหัวใจ
ดอกไก่ฟ้าพระยาลอ...ก็มีรูปทรงที่ดูสวยงามแปลกตาเหมือนนกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้

ขอเก็บลงมาดูใกล้ๆ

 


      ต้นนี้ปลูกในกระถาง





     
แหล่งที่มา:หน้าบ้านเฮียศักดิ์...
บ้านพักทหารค่ายเขาตูม(ค่ายสิรินธร) ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
สวัสดีค่ะ
ขอให้มีความสุขทุกท่านค่ะ
---------------------------------------------------------
โดย  คุณหนูรี อิสระ
ที่มา  http://gotoknow.org/blog/naree122/238767

28243  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / ขอชื่นชมกับกุศลกรรมที่คุณแอ็กซ์ได้สร้างเอาไว้ เมื่อ: มกราคม 17, 2010, 12:08:39 pm
ขอชื่นชมกับกุศลกรรมที่คุณแอ็กซ์ได้สร้างเอาไว้ คุณทำได้ถูกต้องแล้ว
 
ตอบคำถามข้อ ๑.
การที่คนเราสละแรงใจ แรงกาย ทรัพย์สิน รวมทั้งเวลา เพื่อที่จะสร้างบุญบารมี เป็นสิ่งที่สมควรแล้ว
ถึงแม้คุณอาจรู้สึกลำบากใจบ้าง เนื่องจากทำไปด้วยสถานการณ์บังคับ จิตที่ไม่ค่อยผ่องใสนัก อาจทำให้บุญที่ได้ก่อขึ้นไม่เต็มร้อย แต่ขอให้พิจารณาสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า

" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่าบุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำยังเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมาทีละหยาดๆ ฉันใด นักปราชญ์สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญ ฉันนั้น "


ขอให้คุณแอ็กซ์สั่งสมบุญบารมีต่อไปเถิดครับ  จะได้มากหรือน้อยอย่างไร ขอให้เอาศรัทธานำไว้ก่อน

ตอบคำถามข้อ ๒.และ ๓.
การที่คุณพยายามสร้างหลักฐานมาต่อสู้คดีนั้น เป็นเรื่องสมควรแล้ว
เนื่องจากผู้บาดเจ็บมีเจตนากล่าวความเท็จ  คนทำผิดศีลข้อ ๔ และข้อ ๕
ควรได้ผลกรรมที่สมควรแก่เหตุ


ตอบคำถามข้อ ๔.
การทำทานที่ได้อานิสงส์สมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วยเจตนา ๓ กาล

           - ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์)
               
           - ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์)
               
           - ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์)
         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต


   หากคุณแอ็กซ์ทำบุญด้วยใจบริสุทธิ์ทั้ง  ๓ กาล ไม่ต้องสังสัยลังเล คุณได้บุญแน่นอน
แต่ในส่วนของคนที่คุณอุทิศให้นี่ซิ  หากเป็นกรณีที่เขาไม่อนุโมทนากับบุญที่คุณแอ็กซ์ทำไป
ผมเดาโดยไม่มีหลักการอะไรรองรับว่า  ไม่ได้
     แต่หากเป็นกรณีที่เขาอนุโมทนากับคุณ อย่างน้อยใจของเขาก็เป็นกุศลชั่วขณะหนึ่ง
ส่วนการจองเวรนั้น  ไม่มีใครตอบได้  นอกจากตัวเขาเอง



ตอบคำถามข้อ ๕.
คุณถามว่า เวลาอารมณ์เสีย หรือกลัวอะไรขึ้นมา  คุณจะมีเหงื่อออก 
อาการนี้ ผมไม่ทราบว่าคุณไปปรึกษาหมอแล้วหรือยัง

ผมขอเสนอทางเลือก คือ ต้นเหตุเกิดจาก อารมณ์ที่จิตคุณปรุงแต่งขึ้นมา
ขอให้ใช้วิธีดูจิต เพื่อให้อารมณ์นั้นดับลงไปเร็วๆ เหงื่อของคุณก็จะไม่ออก
การดูจิตปฏิบัติอย่างไร ขอให้ดูคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล หรือ
พระอาจารย์ปราโมชย์ ปาโมชโช



ตอบคำถามข้อ ๖.
ผู้ปฏิบัติธรรมทุกคน หากเจอเหตุการณ์แบบนั้น โดยส่วนตัวคิดว่า  ต้องทำเหมือนคุณนั่นแหละ
แต่อาจมีบางคน  เมื่ออยู่ในสถานการณ์นั้น อาจตกใจจนขาดสติ จนเตลิดหนีไปก็เป็นได้
ผมให้คุณแอ็กซ์ภูมิใจได้เลยว่า คุณเป็นคนที่มีสติที่ดีไม่ตกใจง่าย เป็นบุญของคุณแล้ว


28244  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การกระทำความดี ทำยาก เห็นผลช้า เมื่อ: มกราคม 16, 2010, 08:20:34 pm
พระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลปัจจุบัน เคยมีพระราชดำรัสว่า

“การกระทำความดี ทำยาก เห็นผลช้า แต่จำเป็นต้องทำ
หากไม่ทำความดี ความชั่วจะเข้าครอบงำ”


ขอชื่นชมกับการพยายามทำความดีของคุณแอ็กซ์  ขอให้ยึดมั่นกับการทำดีต่อไป
 มาถึงคำถามของคุณแอ็กซ์ ผมขอให้ความเห็นดังนี้

ตอบคำถามข้อแรก   
ควรแยกระหว่าง  การกระทำดี กับ ผลของการกระทำ
การทำดี  เป็นกุศลแน่นอน แต่ผลของกุศลกรรม ไม่มีใครตอบได้ว่า จะมาเมื่อไหร่
กฏแห่งกรรมมีกลไกที่ซับซ้อน เกินกว่าที่จะเข้าใจได้ มีแต่พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่พยากรณ์ได้
เรื่องนี้ยังเป็นอจินไตย  เป็นเรื่องที่คนธรรมดาอย่างเราๆไม่ควรคิด คิดมากไปอาจเสียสติได้
เป็นเรื่องที่อยู่เกินกว่าสติปัญญาของเรา

   
         การทำดีของคุณ อาจมีผลกระทบกับคนรอบข้าง  ซึ่งเป็นเรื่องปรกติ  คนเสียประโยชน์หรือไม่เห็นด้วยจะแสดงออก ทางวาจา ทางกาย  ต่างๆนานา  และแน่นอน ทำให้คุณรู้สึกไม่สบายใจ
 
         อยากให้คิดว่า หากคุณเป็นผู้พิพากษาจำเป็นต้องลงโทษจำเลยไปตามพยานหลักฐาน เพื่อผดุงความยุติธรรม แต่คุณกลับไม่ยอมตัดสินลงโทษตามที่ควรจะเป็น เนื่องจากเกินความสงสาร กลัวจำเลยจะไม่พอใจ  กลัวจำเลยอาฆาต กลัวตัวเองจะเดือนร้อนหากตัดสินลงโทษ  ถ้าคุณทำอย่างนั้นมันเป็นเรื่องที่ถูกต้องหรือเปล่า ลองคิดดู

ตอบคำถามข้อสอง
การพูดมุสา ผิดศีลอยู่แล้วคุณก็รู้  กฏกติกาขององค์กรต่างๆมีให้ปฏิบัติตาม  ไม่ได้มีไว้ให้ละเว้น คนทำผิดควรได้รับการปฏิบัติอย่างไรคุณก็รู้อยู่แก่ใจ  คุณมีหน้าที่อะไรต้องปฏิบัติหน้าที่นั้น


ตอบคำถามข้อสาม
การทำทานของพระเวสสันดร มีทั้งคนยกย่องและติเตียน คุณคงเข้าใจ ขอให้คิดว่า สรรเสริญและนินทาเป็นของคู่กัน โลกมันก็เป็นแบบนี้แหละ   ขอให้ใช้อุเบกขา  อดทน อุสาหะ ทำดีต่อไป 

   สักวันข้างหน้าต้องเป็นวันของคุณแน่นอน ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณแอ็กซ์
 ที่สำคัญ อย่าให้ความชั่วครอบงำนะครับ อย่ายอมเด็ดขาด


28245  ธรรมะสาระ / กระดานข่าวทางวัดแก่งขนุน / Re: ถามเรื่องการบวชเป็นชีที่วัด เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 04:10:06 pm
คิดดีแล้วหรือ การบวชไม่ใช่ solution ของการดับทุกข์นะครับ

ที่บ้านของคุณสายฝนก็มีปัญหาอย่างหนึ่ง

ที่วัดก็มีปัญหาอีกอย่างหนึ่ง

ทุกที่ก็มีปัญหาของมันเอง

การทดแทนบุญคุณพ่อมีหลายวิธี ไม่ใช่มีเฉพาะบวชชี

แต่ถ้าไตร่ตรองดีแล้ว ก็อนุโมทนาครับ

ติดต่อพระอาจารย์สนธยา ที่ ๐๘๑-๔๓๓-๓๖๕๙
28246  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / อย่าหน้าบูดหลาย ทำใจให้ยิ้มได้บ่ เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:53:05 pm

ขอมอบรูปสวยๆนี้ให้คุณสายฝน เผื่อจะคิดอะไรออกบ้าง

 
คุณสายฝน ควรหางานอดิเรกทำนะครับ เวลาที่รู้สึกว่า

 ตัวเองเคียดแค้นใครบางคนอยู่

 การปฏิบัติธรรมเป็นเรื่่องดี แต่เวลาโกรธแค้นใคร

 ไม่ควรทำสมาธินะครับ ทำอย่างไงก็ไม่สงบหรอก

 เคล็ดลับก็คือ ความสุขก่อให้เกิดสมาธิ

 หาอะไรทางโลกทำเพลินๆไปก่อน

 ทุกข์ที่คุณเห็นอยู่ตรงหน้า มันเป็นของชั่วคราว

 ผมขอเป็นกำลังใจให้คุณสายฝนทุกเมื่อ นะคร้าบ
28247  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:31:34 pm
ตอนที่ ๑๐
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข

ความโกรธ ไม่ว่ามากหรือน้อย โกรธนาน หรือไม่นาน
ล้วนทำลายความสุข ทำลายสุขภาพ เป็นโทษทั้งต่อตัวเอง
และคนรอบข้าง สำหรับผู้มีสติปัญญาแล้วจะเห็นความโกรธ
เป็นอารมณ์ของผู้ไร้ปัญญา ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
ตัดความโกรธด้วยความมีสติข่มใจไว้
และถอนรากเหง้าของความโกรธด้วยเมตตาภาวนา

พระพุทธองค์ตรัสสรรเสริญการฆ่าความโกรธไว้ว่า
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมอยู่เป็นสุข
บุคคลฆ่าความโกรธได้ ย่อมไม่โศกเศร้า



…………………… เอวัง ……………………



 


ประวัติและปฏิปทาพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=20086

รวมคำสอนพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
http://www.dhammajak.net/book-mitsuoe/2.html
http://www.dhammajak.net/dhamma/dhamma18.php

วัดป่าสุนันทวนาราม-มูลนิธิมายา โคตมี และแผนที่
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=24&t=20076

28248  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 03:09:48 pm
เหตุสมควรโกรธ...ไม่มีในโลก
ที่มา  http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=523

 
โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
วัดป่าสุนันทวนาราม
บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี


ตอนที่ ๑
ชีวิตคือทุกข์.....ไม่มากก็น้อย

ชีวิตคนเราดูแล้วหลากหลายแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน
ชีวิตของ..... เด็กเล็กๆ อายุ 3 – 4 ขวบ
ชีวิตของ..... คนเฒ่าคนแก่ อายุ 100 ปี
ชีวิตของ..... คนยากจน ขอทานข้างถนน
ชีวิตของ..... มหาเศรษฐี

ชีวิตของ..... คนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้
ชีวิตของ..... คนจบปริญญาเอก
ชีวิตชอง..... นักโทษประหาร
ชีวิตของ..... ผู้ได้รับเกียรติเป็นบุคคลตัวอย่าง
ชีวิตของ..... นักเลงการพนัน
ชีวิตของ..... ผู้ดีในสังคม

แต่ดูลึกๆ แล้ว ชีวิตของเราก็พอๆ กัน
ในความรู้สึก สุข ทุกข์ ดีใจ พอใจ สุขใจ
โกรธ น้อยใจ เสียใจ กลัว ฯลฯ

ชีวิตคือทุกข์ ไม่มากก็น้อย

ทุกข์ร้อน ทุกข์หนาว ทุกข์แบบไม่รู้ร้อนรู้หนาวก็มี
แต่คนเราเกลียดทุกข์ กลัวทุกข์ พยายามหนีจากทุกข์
แสวงหาความสุขกันทั้งนั้น ตามสติปัญญาและ
ความสามารถของแต่ละบุคคล หัวใจของมนุษย์ต่าง
ก็เรียกร้อง “ความสุขๆ ๆ” กันทุกคน แต่ที่เราหนี
ไม่พ้นจากทุกข์ เพราะพวกเราอยู่ในท่ามกลางไฟกันทั้งนั้น

..... ดอกไม้ ..... ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

ไฟ..... คือ..... โทสะ
ไฟ..... คือ..... โลภะ
ไฟ..... คือ..... โมหะ

เมื่อเราสามารถดับไฟได้ เมื่อนั้นก็เย็นสงบสุข
ไฟโทสะ ร้ายกาจ เป็นข้าศึกต่อความสุข
ถอนโทสะเพียงสิ่งเดียวออกจากจิตใจ
ก็จะไม่ต้องต่อสู้กับคนรอบตัว
โลกทั้งหมดจะสงบเย็น
มีแต่คนน่ารัก มีแต่คนน่าสงสาร
ควรแก่การเมตตา กรุณา


ตอนที่ ๒
ไฟเสมอด้วยความโกรธไม่มี

พระพุทธเจ้าเปรียบเทียบ ความโกรธ ว่าเหมือนไฟ
เช่น ไฟไหม้ป่า เผาทำลายทุกสิ่งทุกอย่างที่ขวางหน้า
ความโกรธ มีพลัง มีอำนาจทำลายทุกสิ่งทุกอย่าง
ยิ่งกว่าไฟไหม้ป่าเสียอีก มีแต่โทษ ไม่มีคุณแม้แต่นิดเดียว

จะเห็นได้ว่าคนโบราณมีการอบรมสั่งสอนลูกหลานให้กลัว
และระมัดระวังไฟ เพราะอันตรายมาก โดยเฉพาะ ไฟไหม้บ้าน
ไฟไหม้ป่า ล้วนแต่เผาทำลาย พรึบเดียว ชั่วข้ามคืน
ทำลายทั้งทรัพย์สมบัติจนหมดตัว และยังอาจ
ทำลายชีวิตผู้คน บางครั้งเป็นพันๆ หมื่นๆ คนทีเดียว

แต่ความโกรธ อันตรายยิ่งกว่าไฟ
ไฟเสมอด้วยโกรธไม่มี

เพราะความโกรธจะทำลายแม้แต่น้ำใจของเรา
คนที่เรารักสุดหัวใจก็ดี คนที่รักเราก็ดี
ชื่อเสียง คุณงามความดีที่สะสมไว้ตั้งแต่อเนกชาติ
ถูกทำลายย่อยยับได้ด้วยความโกรธ
ความโกรธ โมโห ครั้งเดียว สามารถทำลายได้ทุกสิ่งทุกอย่าง
น่ากลัวยิ่งกว่าไฟไหม้ !!!!!

ความโกรธนี้ฆ่าผู้มีพระคุณมาหลายต่อหลายคนแล้ว
ฆ่าคนที่เรารัก คนที่รักเรา คู่รักที่ต่างรักใคร่
ชอบพอกัน บางครั้งในที่สุด ความโกรธก็ทำให้
เลิกร้างกัน ทำให้ชีวิตครอบครัวต้องแตกแยก
จนถึงทำให้ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าลูกก็มี
ผู้ใหญ่ในระดับประเทศโกรธกัน จนเป็นเหตุให้กลายเป็นสงคราม
ฆ่ากันตาย เป็นพันๆ หมื่นๆ แสนๆ ก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว

..... ดอกไม้ ..... พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า สัตว์ทั้งหลายที่เราเห็นกันด้วยตา
นับแต่มด ยุง กบ เขียด แมว สุนัข
วัว ควาย มนุษย์ อย่างน้อยชาติหนึ่งเคยเป็น
พ่อแม่พี่น้องกันในวัฏสงสารที่ยืดยาว
ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาเคยรักกันเกลียดกันมาอย่างนี้
จนทุกวันนี้ และต่อไปอีกหลายภพหลายชาติ
ตราบเท่าที่ยังไม่บรรลุมรรคผลนิพพาน

เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไม่ควรประมาท ทำใจให้สงบน้อมเข้ามาสู่ตน
พิจารณาดูว่า มีใครบ้างที่เราอาฆาตพยาบาท ถ้ามีรีบให้อภัย
อโหสิกรรมเสียแต่บัดนี้ อย่างน้อย ก็ชาตินี้ ก่อนตาย
จะได้ไม่ต้องเป็นคู่เวรคู่กรรมกันอีกต่อไป

อย่าคิดว่า เราต่างคนต่างอยู่ไม่เป็นไร
แม้จะอยู่คนละจังหวัด คนละประเทศก็ตาม
ก็จะมีโอกาสพบกันในชาติหน้า
และมีโอกาสมากด้วย ถ้าหากมีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ดูใจของตน
ก็เห็นชัด คิดถึงใครก็ดี คิดแค้นใจอาฆาตพยาบาทใครก็ตาม

นั่นแหละ ! ระวังให้ดี
ต่อไปจะเกิดมาพบกัน
และทำความเดือดร้อนให้แก่กัน
นับภพนับชาติไม่ถ้วน

ฉะนั้น ไม่ให้คิดมีเวรแก่กัน จงให้อภัย และอโหสิกรรมแก่กัน
ไม่ให้คิดอาฆาตพยาบาท ไม่ให้คิดเบียดเบียนกัน
มีแต่ปรารถนาดีต่อกัน พยายามทำแต่กรรมดี ให้ทาน
เอื้อเฟื้อกัน มีปิยวาจา พูดดี พูดไพเราะ
ทำประโยชน์ ช่วยเหลือสังคม วางตนเหมาะสม
เสมอต้นเสมอปลาย การประพฤติปฏิบัติต่อกันอย่างนี้
จะทำให้เราอยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขในปัจจุบัน
และเป็นการสร้างกรรมที่ดีต่อกัน

อนาคตถ้าเกิดมาพบกันอีก
ก็จะเป็น พ่อแม่พี่น้อง เพื่อนฝูงที่ดีต่อกัน
เกื้อกูลสนับสนุนซึ่งกันและกัน


ไฟไหม้บ้าน – ดับไฟก่อน

เมื่อเรากระทบอารมณ์ที่ไม่พอใจ จะโกรธ อยากโกรธ
หยุดทำ หยุดพูด หยุดคิด หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
จนกว่าใจจะสงบสบาย เมื่อเราไม่พอใจ ไม่ต้องคิด
อย่าคิดไปตามอารมณ์ คิดว่า ทำไมเขาทำอย่างนี้
เขาไม่น่าทำเช่นนี้

..... ดอกไม้ ..... พิจารณาดู..... สมมติเมื่อเรากำลังกลับเข้าบ้าน
มองเห็นควัน มีไฟลุกขึ้น ไฟกำลังไหม้บ้านของเรา
ถึงแม้เรามองเห็นว่า มีใครวิ่งหนีไปก็ตาม
เราไม่ต้องคิดสงสัยว่า เขาเป็นผู้ร้ายหรือเปล่า
สิ่งที่ต้องทำก่อนทุกอย่างคือ วิ่งเข้าไปหาทางดับไฟ
ให้เร็วที่สุด หาน้ำ หาเครื่องดับไฟ ผ้าห่ม ฯลฯ
ทำดีที่สุดเพื่อที่จะดับไฟให้สำเร็จ

เมื่อดับไฟแล้ว จึงค่อยคิดหาสาเหตุว่า ทำไมจึงเกิดไฟไหม้
เช่น เป็นอุบัติเหตุ หรือมีใครลอบวางเพลิง
มีใครประสงค์ร้ายคิดทำลายทรัพย์สมบัติของเราหรือไม่

เมื่อเกิดอารมณ์ ไม่พอใจ ไม่ต้องคิดหาเหตุว่าใครผิด ใครถูก
ระงับความร้อนใจของตัวเองให้ได้เสียก่อน
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ เมื่อใจสงบแล้ว
จึงค่อยคิดด้วยสติปัญญา ด้วยเหตุผล


ตอนที่ ๔
สอนใจตัวเองก่อน

เมื่อเราเป็นผู้ใหญ่ เป็นครู เป็นพ่อแม่
มีลูกน้อง มีลูกศิษย์ มีลูก
สมมติว่าเราเป็นพ่อแม่ มีลูก
เมื่อลูกทำผิดจริงๆ แล้วเราโกรธ ใจร้อน อย่าเพิ่งสอนลูก
สอนใจตัวเองให้ระงับอารมณ์ร้อน ให้ใจเย็น ใจดี
มีเมตตาก่อน จนรู้สึกมั่นใจว่าใจเราพร้อมแล้ว
และดูว่าลูกพร้อมที่จะรับฟังไหม ถ้าเราพร้อม
แต่ลูกยังไม่พร้อม ก็ยังไม่ต้องพูด เพราะไม่เกิดประโยชน์

เราพร้อมที่จะสอน เขาพร้อมที่จะฟัง
จึงจะเกิดประโยชน์ เป็นการสอน

ถ้าเราสังเกตดู บางครั้ง ใจเรารู้สึกเหมือนอยากจะสอน
แต่ความจริงแล้ว เราเพียงอยากระบายอารมณ์ของเรา
สิ่งที่เราพูดแม้เป็นเรื่องจริง แต่ก็แฝงด้วยความโกรธ
เพราะยังเป็นความใจร้อน มีตัณหา

ถ้าใจเราโกรธ พูดเหมือนกัน คำพูดเดียวกัน นั่นคือโกรธ
ถ้าใจเราดี ใจเขาดี คำพูดของเราเป็นประโยชน์ นั่นคือสอน

เมื่อเราอยู่ในสังคม สิ่งที่ต้องระวังคือ หากเห็นใครทำผิด
อย่ายึดมั่นถือมั่นในความรู้สึกและความคิดของตน
อย่ายินดี ยินร้าย ใจเย็นๆ ไว้ก่อน
พยายาม อบรมใจตนเองว่า
ธรรมชาติของคนเรา มักจะมองข้ามความผิดของตนเอง
ชอบจับผิดแต่คนอื่น

..... ดอกไม้ ..... มองเห็นความผิดคนอื่นเหมือนภูเขาใหญ่
เห็นความผิดตนเท่ารูเข็ม
ตดคนอื่นเหม็นเหลือทน
ตดตนเองเหม็นไม่เป็นไร
ปากคนอื่นเหม็นเหลือทน
ปากของตนเหม็นไม่รู้สึกอะไร

เรามักทุ่มเทใจ
ไปอยู่ที่ความรู้สึกนึกคิดของตนเอง
อย่าเชื่อความรู้สึก อย่าเชื่ออารมณ์ อย่ายินดียินร้าย
พยายามรักษาใจเย็น ใจดี ใจกลางๆ
ปกติเราทำผิดเหมือนกัน เท่ากันหรืออาจจะมากกว่าเขา
แต่ความรู้สึกของเรา มักจะรังเกียจเขา
และไม่เห็นความผิดของตัวเองเลย น่ากลัวจริงๆ

สังเกตดู คนที่ขี้บ่น ขี้โมโห ว่าคนอื่นทำอะไรไม่ดี ไม่ถูก
ตัวของเขาเอง คิดดี พูดดี ทำดีไหม….. ก็อาจจะไม่
เราเองก็เหมือนกัน เมื่อเราเกิดอารมณ์ไม่พอใจ
อย่าเชื่อความรู้สึก ให้ระงับอารมณ์เสีย ทำใจเป็นกลางๆ ไว้

อย่าเชื่อความรู้สึก
อย่าเชื่ออารมณ์
อย่ายินดียินร้าย


ตอนที่ ๕
เรื่องเล็กกลายเป็นเรื่องใหญ่ ก็เพราะโกรธ

..... ดอกไม้ ..... เรื่องนี้อาจเป็นประสบการณ์ของผู้ขับขี่รถยนต์
หลายๆ คนก็เป็นได้ แต่ที่ต้องมาเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์
ก็เพราะผู้ขับรถยนต์เป็น ดาราสาวที่มีชื่อเสียง
คืนวันเกิดเหตุ เธอได้ขับรถไปบนถนนเส้นทางสายสุพรรณบุรี
เธอขับด้วยความเร็วเนื่องจากขณะนั้นดึกแล้ว
ถนนว่างและสองข้างทางก็เปลี่ยว
แต่ขณะขับอยู่ก็ได้มีรถกระบะคันหนึ่งเลี้ยวออกมา
จากข้างทางตัดหน้ารถเธอไปอย่างหวุดหวิด

เธอโกรธจัด เลยพยายามเร่งเครื่องตามจะแซง
และบีบแตรไล่หลังคิดว่า จะสั่งสอน
ฝ่ายเจ้าของรถกระบะคงมองเห็นว่าเป็นผู้หญิง
ขับรถมาคนเดียว จึงแกล้งเหยียบเบรกอย่างกระทันหัน
จนรถของดาราสาวเข้าไปชนท้าย แล้วเธอก็ต้องตกใจ
กลัวเป็นอย่างมาก เมื่อมองเห็นว่ารถกระบะคันหน้านั้นมีผู้ชาย
อยู่ในรถ 4–5 คนด้วยกัน เธอนึกถึงเหตุการณ์ร้ายแรงที่อาจจะเกิดขึ้น

หากผู้ชายกลุ่มนี้หน้ามืดขึ้นมาหรือคิดจะแก้แค้น เธอจะทำอะไรได้
แต่ก็ยังโชคดีที่รถไม่เป็นอะไรมาก เธอจึงรีบออกรถแล้วขับหนีไป
จนเจอสถานีตำรวจ และได้เข้าแจ้งความเรื่องเลยกลายเป็น
ข่าวหนังสือพิมพ์ให้ชาวบ้านได้ทราบไว้เป็นบทเรียนว่า.........

อารมณ์โกรธเพียงชั่ววูบที่ทำให้เราทำอะไรลงไป
อย่างขาดสติยั้งคิดนั้น อาจทำให้เกิดเรื่องร้ายแรง
ที่ต้องเสียใจไปตลอดชีวิตก็ได้
โดยเฉพาะเรื่องการแก้แค้น หรือเอาชนะกันบนท้องถนน
จุดจบของเรื่องมักไม่พ้นอุบัติเหตุที่ต้องสูญเสียด้วยกันทั้งนั้น

..... ดอกไม้ ..... มีเรื่องจริงที่ขอยกมาเป็นตัวอย่างอีกกรณีหนึ่ง คือ.....
เรื่องของ หนุ่มเจ้าโทสะ ที่ขับรถมาตามทางในซอยแคบๆ แห่งหนึ่ง
ในกรุงเทพ ซึ่งรถสวนกันไม่ได้ ระหว่างขับมาถึงทางแยก
ก็มีรถอีกคันหนึ่งเลี้ยวออกมา ทั้งๆ ที่ควรจอดรถชะลออยู่ก่อน
จึงทำให้อีกคันหนึ่งขับผ่านไปไม่ได้
รถสองคันจอดเผชิญหน้ากันอยู่สักครู่ ไม่มีใครยอมใครก่อน
หนุ่มเจ้าโทสะเกิดฉุนเฉียวหยิบปืนขึ้นมาคิดว่าจะขู่
แต่อีกฝ่ายหนึ่งก็มีปืน เลยชักปืนขึ้นมายิงหนุ่มเจ้าโทสะ
จนเสียชีวิตคารถไปเลย

จริงๆ แล้วเรื่องร้ายแรงแบบนี้คงไม่เกิดขึ้น ถ้าคนเรารู้จัก
ระงับอารมณ์โทสะลงเสียบ้าง ไม่ต้องคิดจะเอาชนะกัน
และปล่อยวางเสียตั้งแต่แรก การขับรถบนท้องถนน
เป็นเรื่องธรรมดาที่จะต้องมีการกระทบกระทั่ง
ทั้งโดยเจตนาและไม่เจตนา การที่เราจะใช้รถใช้ถนน
ให้มีความปลอดภัยนั้น นอกจากจะไม่ประมาทแล้ว

เราต้องเรียนรู้ที่จะให้อภัยแก่กัน
รู้จักระงับโทสะ ไม่ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่
จะได้ไม่เกิดความเดือดร้อนเสียหายอย่างคาดไม่ถึงดังกล่าว


ตอนที่ ๖
เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร

ในสมัยโบราณ มีหนุ่มใหญ่คนหนึ่งเกิดในตระกูลซามูไร
มีนามว่า เซ็นไก เมื่อเขาศึกษาวิชาการและจริยธรรมของ
ซามูไรจบแล้ว ไปทำงานเป็นเจ้าหน้าที่อารักขาขุนนางผู้หนึ่ง
เขาเป็นหนุ่มรูปงาม จึงเป็นที่ต้องตาต้องใจของภรรยาขุนนาง
เธอทอดสะพานให้ จนหนุ่มเซ็นไกลืมตัว ลืมหน้าที่
ลักลอบเป็นชู้กับภรรยาขุนนาง ต่อมาขุนนางผู้เป็นสามีจับได้
เซ็นไกจึงฆ่าขุนนางผู้นั้นเสีย แล้วพาภรรยาของเขาหนีไป
เมื่ออยู่ด้วยกัน ความรักเริ่มจืดจาง เป็นเหตุให้แหนงหน่าย
และแยกทางกัน เซ็นไกต้องอยู่อย่างเดียวดาย
และเริ่มมองเห็นความผิดของตนเอง สำนึกบาปของตน
รำพึงว่า ทำอย่างไรหนอจึงจะลบล้างบาปกรรมอันนี้ได้

วันหนึ่งเซ็นไกผ่านมาที่ภูเขาสูงชันลูกหนึ่ง
ประชาชนที่จำเป็นต้องสัญจรผ่านภูเขาลูกนี้
ต้องเสี่ยงอันตรายปีป่ายข้ามไป
เขาจึงตกลงใจเจาะภูเขาเพื่อเป็นทางสัญจร
เขาทำด้วยความเหนื่อยยาก ทำเพียงลำพังผู้เดียว
แต่จิตใจเต็มไปด้วยความสุข เพราะเขาเห็นว่าสิ่งที่เขาทำ
แม้ยากลำบาก แต่ผลที่ได้คือประโยชน์ของคนจำนวนมาก

บุตรของขุนนางที่ถูกฆ่า บัดนี้เป็นหนุ่มใหญ่และเป็นซามูไร
เที่ยวตามหาเซ็นไก เพื่อแก้แค้นแทนบิดา เมื่อมาพบเขาที่นี่
จึงลงมือจะแก้แค้น เซ็นไกขอร้องวิงวอนว่า
อย่าเพิ่งทำลายทางแห่งบุญโดยเอาชีวิตเขาในตอนนี้เลย
ขอเวลาอีก 2 ปี เมื่อเจาะภูเขาเสร็จแล้ว
ก็จะขอชดใช้ด้วยชีวิต

ซามูไรหนุ่มเห็นว่า คำขอร้องมีเหตุผล และเห็นว่าเซ็นไก
ไม่มีทางหนีรอดไปได้ จึงตกลงรอคอย ขณะที่รอก็ดูการทำงาน
เจาะภูเขาของเซ็นไกจนเกิดความเห็นใจ และในบางครั้ง
ซามูไรหนุ่มก็ลงมือช่วยทำงานด้วย เมื่องานเจาะภูเขาลุล่วง
ต่อไปก็เหลือแต่งานแก้แค้น เซ็นไกนั่งขัดสมาธิก้มหน้า
ก้มคอลงเพื่อให้ซามูไรหนุ่มใช้ดาบฟัน แต่แล้วซามูไรหนุ่ม
ก็กลับเก็บดาบเข้าฝัก ทรุดตัวลงเบื้องหน้าเซ็นไก

..... ดอกไม้ ..... กล่าวว่า “ข้าพเจ้าจะฆ่าครูของข้าพเจ้าได้อย่างไร”
เพราะในช่วงเวลา 2 ปี ที่เฝ้าดู ซามูไรหนุ่มได้บทเรียน
แห่งการใช้ชีวิตว่า คนที่เคยชั่วเมื่อเขาสำนึกชั่วแล้ว
มิใช่ว่าจะกลับมาเป็นคนดีไม่ได้ ควรให้โอกาสแก่ผู้ซึ่ง
กลับตัวเป็นคนดี ไฟพยาบาทที่อยู่ในจิตใจ
ของซามูไรหนุ่มมานานจึงดับมอดลง ใจของเขาสว่าง
เมื่อรู้จักให้อภัย และเข้าใจว่าเวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร


ตอนที่ ๗
แม่ขี้บ่น.....ลูกต้องไม่ขี้โกรธ

ให้เราพิจารณาดูว่า นิสัยขี้บ่นของแม่นั้น
เราจะช่วยทำให้ลดลงได้ไหม ปกติก็จะเปลี่ยนได้ยาก
หรือเปลี่ยนไม่ได้ เราคงต้องปล่อยให้เป็นอย่างนั้น
ไม่ต้องคิดจะให้เปลี่ยน มองให้เห็นว่า อารมณ์ของแม่
เหมือนลมฟ้าอากาศ มีทั้งหนาว เย็น ร้อน ฝนตก
แห้งแล้ง มีลม ไม่มีลม ลมแรงและพายุ

อารมณ์ของแม่ที่ไม่ถูกใจเรา เปรียบเหมือนสภาวะอากาศ
ที่เราไม่ชอบ เช่น หนาวไป ร้อนไป สิ่งที่เราต้องทำก็คือ
ป้องกันรักษาตัวไม่ให้ทุกข์ จิตใจก็เหมือนกัน
เราต้องป้องกันด้วยใจดีมีเมตตา
ใช้สติปัญญารักษาใจไม่ให้ทุกข์ คือหน้าที่ของเรา

หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม
มีสติมั่นคง ใจเราก็ไม่ยินดียินร้าย
ถึงอย่างไรก็สำรวมกาย วาจา การแสดงออกทางกายให้เป็นปกติ
ทางวาจาให้พูดดีๆ ไพเราะน่าฟัง ใจก็คิดดี มีเมตตา
เห็นอกเห็นใจแม่ พยายามรักษาความรู้สึกที่ไม่ยึดมั่นถือมั่น
ถึงแม้ว่าไม่ชอบ ก็อดทน อดกลั้นไว้
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ

พิจารณาดูว่า อารมณ์ขี้บ่นเป็นเหมือนอาการท้องผูก
ของเสียเก็บไว้ในร่างกายนานๆ ทำให้ไม่สบาย
เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เมื่อกินยาระบายเข้าไป
ระบายของเสียออกมาได้ ก็รู้สึกสบายกาย
สำหรับคนขี้บ่น อารมณ์หงุดหงิด เป็นของเสียที่สะสมไว้ในใจ
ถ้าเก็บกดไว้จะเครียด เป็นโรคประสาทได้
เมื่อได้ระบายออกมาทางวาจา เขาก็ค่อยสบายใจขึ้น

ตามรายงานของจิตแพทย์ พบว่าผู้หญิงอเมริกันวัยกลางคน
มีความรู้สึกปฏิเสธ หรือไม่พอใจ มากถึงประมาณ 30,000
ครั้งต่อวัน หรือทุก 3 วินาที ความรู้สึกชอบ ไม่ชอบนี้
เกิดจากการรับรู้ทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
แต่ถ้าเรามีสติปัญญา เราจะจัดการกับความรู้สึกได้ถูกต้อง
โดยไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เก็บเอามาคิดปรุงแต่ง
ตรงกันข้าม ถ้าไม่ฉลาด ก็จะยึดถือ นำมาคิดปรุงแต่ง
แสดงออกทางวาจา เป็นคนขี้บ่น
ประสบการณ์ภายในใจของมนุษย์เราจริงๆ แล้วมีพอๆ กัน
แต่บางคนเก็บสะสม เหมือนอาการท้องผูก

คำพูดที่ไม่พอใจคือ บ่น ไม่มีใครอยากฟัง
แต่เมื่อแม่ของเราบ่น ให้เข้าใจว่าท่านกำลังทุกข์ไม่สบายใจ
เราควรเสียสละ ใจดีพอที่จะรับเป็นสุขภัณฑ์ที่ดีให้แก่แม่
เป็นสุขภัณฑ์สะอาด ใช้ได้สะดวก มีน้ำไหลแรงๆ หน่อย
แม่บ่นเมื่อไรก็ใจดีรับฟัง แม่จะสบายใจ ไม่ต้องขัดใจ
ยิ่งของเสียออกมากยิ่งดีต่อสุขภาพ อายุยืน
แต่เราก็ต้องระวัง ถ้าคุณภาพสุขภัณฑ์ไม่ดีพอ
เราจะ...สกปรกน่าดู

เราต้องมีสติปัญญา เมตตา กรุณา ขันติ
เป็นคุณธรรมประจำใจ
เป็นโอกาสที่เราจะสร้างคุณงามความดี
และเข้าใจธรรม ทำได้ดี ทำได้มากเท่าไร
ก็เท่ากับเราก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม
แล้วในที่สุดจะรู้สึกขอบคุณแม่
ที่เป็นแบบฝึกหัดให้แก่เราได้พัฒนาจิตใจ

..... ดอกไม้ ..... เป็นสุขภัณฑ์ที่ดีให้แก่แม่


ตอนที่ ๘
ความโกรธ กับการระบายอารมณ์โกรธ

อารมณ์โกรธ เป็นอารมณ์หนึ่งที่เราทุกคนมีไม่มากก็น้อย
และแสดงออกลักษณะต่างๆ กัน บางคนก็โกรธง่าย หายเร็ว
เมื่อหายแล้วก็เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำตัวตามปกติได้
แต่บางคนโกรธแล้วเกิดอาฆาตพยาบาท ผูกใจเจ็บ
คอยหาทางแก้แค้น บางคนก็มีลักษณะโกรธแล้วเก็บไปคิด
ไม่ยอมลืม โกรธขึ้นมาคราวใด ก็หวนกลับไปคิดทบต้น
ที่เคยมีเรื่องตั้งแต่ในอดีต เอากลับมาคิดแล้วคิดอีก
ผูกโกรธไว้เหนียวแน่น โกรธเล็ก โกรธใหญ่
คิดๆ ๆ ซ้ำๆ ซากๆ อยู่อย่างนั้น

สำหรับปุถุชน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีอารมณ์โกรธ
แต่ที่น่าคิดก็คือ เราจะสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีแค่ไหน
จะปลดปล่อยมันออกมาอย่างไร
และที่สำคัญจะแก้ปัญหาอย่างไร

น้ำ = ความโกรธ (จิตที่มีโทสะ)
ความร้อน = ปัจจัยปรุงแต่งให้โกรธ
ไอน้ำ = อารมณ์โกรธ

หากเปรียบเทียบการระบายอารมณ์โกรธ
เหมือนไอน้ำร้อนที่ระเหยออกมาจากกาต้มน้ำที่กำลังเดือด
ไอน้ำจะค่อยๆ ระบายออกมาทางพวยกา แต่ถ้าไม่มีทางระบาย
ไอน้ำ คงจะสะสมจนระเบิดเมื่อไรก็ได้

ไอน้ำมาจากไหน ความร้อนนี่เองที่ทำให้เกิดไอน้ำ

1. ถ้าเราไม่สะทกสะท้านต่อความร้อน ไอน้ำก็ไม่เกิด
คือเราจะไม่ยินดียินร้ายต่อปัจจัยแห่งความโกรธ
เมื่อมีเรื่องไม่ถูกใจ ไม่พอใจเข้ามากระทบ เราก็ไม่โกรธ

2. ถ้าเราไม่สามารถทนความร้อนนั้นได้
ก็ควรจะหาวิธีระบายความร้อนนั้น เช่น กาน้ำ
ยังมีรูระบาย ไอน้ำก็หายไปอย่างรวดเร็ว
เปรียบเหมือนว่า ถ้าเราโกรธ เราก็หาทางระบาย
ทีละนิดทีละหน่อย ในแบบที่เขาทำกัน

ตัวอย่างเช่น

ทำงานหนักขึ้น
ซื้อของ
ร้องเพลง
เล่นกีฬา

บางคนก็มีวิธีแปลกๆ เช่นมีอุบาสิกา 2 คน เขามีที่ระบาย
ความโกรธอยู่บริเวณไร่อ้อย อยู่ไกลออกจากวัดไปสักหน่อย
ปลอดจากผู้คน เวลาที่อุบาสิกาคนหนึ่งโกรธ เขาจะชวนกันไป
ที่ไร่อ้อย แล้วก็ตะโกนดังๆ จนสุดเสียงระบายความโกรธ
หายโกรธแล้วจึงพากันกลับบ้าน

ในประเทศโรมาเนีย มีนักศึกษายากจนคนหนึ่ง
วัย 22 ปี สามารถหารายได้พิเศษได้อาทิตย์ละ 770 บาท
โดยเปิดบริการ “รับจ้างถูกด่า” เพราะเห็นช่องทางว่า
ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในปัจจุบันทำให้คนมีความเครียด
หงุดหงิดกันมาก จึงเสนอบริการให้นักธุรกิจระบายความโกรธ
โดยการตะโกน ตะคอก โวยวายใส่หน้าตนได้อย่างเต็มที่
ผลปรากฏว่ามีคนสนใจไปใช้บริการเกินความคาดหมาย
แต่ระบายความโกรธด้วยวิธีนี้แล้ว จะสบายใจคลายเครียด
ไปได้สักกี่วันไม่ทราบได้ ถือว่าไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร

ยังดีกว่าบางคนเวลาโกรธแล้วระบายออก
โดยการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ทำร้ายร่างกายผู้ที่อ่อนแอกว่า
หรือบางคนหาทางระบายที่เป็นอบายมุข เป็นโทษ
เช่น ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ เที่ยวกลางคืน ตรงกันข้ามกับคนที่ฉลาด
ก็จะหันหน้าเข้าวัด ศึกษาธรรม สวดมนต์ ฟังเทศน์นั่งสมาธิ

เราจัดการกับความโกรธได้อย่างไรบ้าง

(1) เมื่อโกรธ หาทางระบาย

(2) เมื่อโกรธ ให้มีความละอายเกรงกลัวต่อบาป (หิริโอตตัปปะ)
และข่มใจไว้ (ทมะ)

(3) ระวังไม่ให้เกิดไฟโทสะ สำรวมอินทรีย์ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ใจ ไม่ยินดียินร้าย (ศีล)

(4) ถอนรากเหง้าแห่งความโกรธ คือ ทำให้น้ำ (โทสะในใจ) แห้ง
โดยการเจริญเมตตาภาวนา (สมาธิ) เจริญวิปัสสนา (ปัญญา) จนสิ้นอาสวะกิเลส

อย่างไรก็ตาม ความโกรธนี้ คือทางเสื่อมที่มีแต่ทุกข์โทษ
เพียงอย่างเดียว ผู้รู้ทั้งหลายมองเห็นโทษของความโกรธแล้ว
จึงกล่าวไว้ว่า เมื่อมีบุคคลโกรธเรา แล้วเราโกรธตอบ
ถือว่าเราโง่กว่าเขาเสียอีก

หากเราสังเกตเห็นคนที่ชี้นิ้วด่าว่ากัน มือที่ชี้นิ้วนี้ก็สอนเรา
ชัดเจนอยู่แล้วว่า นิ้ว 3 นิ้ว ชี้กลับมาที่ตัวเรา
เปรียบเหมือนคำหยาบ คำด่า ที่เราต้องการทำให้เขาเจ็บใจ
หรือทำให้คนที่อยู่รอบตัวเราไม่สบายใจเป็นทุกข์นั้น
ความจริงแล้วตัวเองนั่นแหละ เป็นทุกข์มากกว่าเขาเป็น 3 เท่า

ในหลายๆ กรณี เราอาจจะมีความรู้สึกว่า เรามีเหตุผลสมควร
ที่จะโกรธเขา อย่างไรก็ตาม เมื่อเราโกรธ เท่ากับเราแพ้ตัวเอง
ผู้มีปัญญาย่อมไม่โกรธ ถึงแม้ว่าเขาจะทำอะไรไม่ดีแค่ไหนก็ตาม

ในโลกนี้ไม่มีคำว่า สมควรโกรธ


ตอนที่ ๙
ละความโกรธด้วยความรักและเมตตา

..... ดอกไม้ ..... เมตตาตรงข้ามกับโทสะ และพยาบาท
ซึ่งเป็นความโกรธ ความมุ่งร้าย
เมตตาเป็นความรักความปรารถนาดีให้มีความสุข
เป็นความรักที่บริสุทธิ์ ไม่ใช่ความรักที่เป็นราคะคือความใคร่
ดังนั้นหากเราหมั่นอบรมจิตให้เมตตาตั้งขึ้นในจิตใจได้
จิตใจก็จะพ้นจากโทสะพยาบาท

เพื่อให้มีเมตตาเป็นพื้นฐานของจิต เราควรพิจารณาว่า

ตัวเรารักสุข เกลียดทุกข์ฉันใด
คนอื่น สัตว์อื่นก็รักสุข เกลียดทุกข์ฉันนั้น

ผู้ที่จะแผ่เมตตาได้ จะต้องทำใจตัวเองให้มีเมตตาก่อน
คือทำจิตใจตัวเองให้อ่อนโยน สงบเย็น
แล้วจึงแผ่เมตตาแก่ผู้อื่น
เพราะการจะแผ่สิ่งใดออกมาได้
จิตใจจะต้องมีคุณสมบัตินั้นอย่างแท้จริง

..... ดอกไม้ ..... การเจริญเมตตาภาวนา
เราต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ธรรมชาติของจิตเป็นประภัสสร
บริสุทธิ์ผ่องใส โดยธรรมชาติ ความเบิกบานใจ สุขใจ นั้นมีอยู่
เป็นอยู่แต่ดั้งเดิม แต่ทุกวันนี้ ที่พวกเราไม่สบายใจ ทุกข์ใจ
เพราะมีอารมณ์ กิเลสเครื่องเศร้าหมองครอบงำจิต

เราสามารถเจริญสติน้อมเข้าไปสัมผัสกับความเบิกบานใจ
สุขใจที่มีอยู่ได้ หน้าที่ของเราคือ ต้องสร้างกำลังใจ เจริญสติ
สมาธิ ปัญญา รู้จักกุศโลบายที่จะน้อมเข้าไปสู่ธรรมชาติ
ของจิตประภัสสร โดยมีวิธีปฏิบัติ
ในการเจริญเมตตาภาวนา ดังนี้

..... ดอกไม้ ..... วิธีปฏิบัติ

วิธีที่ 1 น้อมเข้ามาที่ลมหายใจ

ข้าศึกต่อความสุข คือ ความคิดผิด ความคิดไม่ดีของตนเอง
ไม่ใช่การที่เขากระทำดีหรือไม่ดีต่อเรา ไม่ว่าเขาจะไม่ดี
ขนาดไหน ถ้าใจเราดีแล้ว ไม่มีปัญหาอะไรเลย
ศัตรูร้ายกาจที่แท้จริงคือ ใจไม่ดี ความคิดไม่ดีของตนนั่นเอง

ผู้เจริญเมตตาภาวนา ควรระวังรักษาใจ
ระวังความคิดผิดให้มากที่สุด อะไรไม่ดี อย่าคิดเลย
สุขภาพไม่ดี อากาศไม่ดี รัฐบาลไม่ดี
ถึงแม้ใครทำอะไรผิดจริงๆ ผิดมากขนาดไหน
ก็ไม่ต้องคิดว่า “ใคร” หรือ “อะไร” ไม่ดี

เริ่มต้นปรับท่านั่งให้สบายๆ หยุดคิด ทำใจสบายๆ
หายใจสบายๆ บางครั้งจิตใจไม่เบิกบาน มีความรู้สึกไม่ดี
เศร้าๆ ไม่สบายใจ ทุกข์ใจ หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ
ทำความรู้สึกคล้ายกับว่า หนีจากความรู้สึกไม่ดี ไม่สบายใจ
ทุกข์ใจ น้อมเข้าไปอยู่กับลมหายใจ เอาลมหายใจเป็นที่พึ่ง
ที่ระลึก ตั้งสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวทั่วถึงลมหายใจ
ปรับลมหายใจสบายๆ หายใจเข้าสบาย หายใจออกสบาย
น้อมเข้าไปอยู่กับลมหายใจ ละลายความรู้สึกเข้าไปในลมหายใจ
จนรู้สึกกลมกลืน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับลมหายใจ
มีความรู้สึกตัวทั่วถึง ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก

พร้อมกับระลึกถึงปีติสุข
ทุกครั้งที่ หายใจเข้า หายใจออก
จิตใจของเราจะเบิกบาน สงบ สบายใจ มีปีติสุข
เท่ากับว่า หายใจเข้า หายใจออกคือ สุขใจ สบายใจ
หายใจเข้าสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ
หายใจออกสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ

หายใจเข้าสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ
หายใจออกสบายๆ มีปีติสุข สบายใจ สุขใจ

วิธีที่ 2 ดึงปีติสุขในใจออกมา

เริ่มต้น ปรับท่านั่งสบายๆ
หยุดคิด ทำใจสงบ ปรับลมหายใจสบายๆ
น้อมเข้าไป ตั้งสติที่กลางกระดูกสันหลัง ระดับหัวใจ
สมมติว่าศูนย์กลางของจิตใจ อยู่ที่นั่น
เป็นจิตประภัสสร บริสุทธิ์ ผ่องใสโดยธรรมชาติ
ความเบิกบานใจ ปีติสุข อยู่ที่นั่น
ทำความรู้สึกว่าจุดนั้นเป็นจุดร้อนๆ
ความรู้สึกร้อนๆ และปีติสุข
ลักษณะเหมือนไอน้ำ ระเหยออกมาจากที่นั่น

หายใจเข้า ดึงเอาปีติสุขออกมา
คล้ายกับว่า ใช้นิ้วค่อยๆ ดึงออกมาเรื่อยๆ
หายใจออก ตั้งสติอยู่ข้างใน
ความรู้สึกที่ดี ดันออกมาข้างหน้าต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
อุปมาเหมือนกับว่ามีหมอนใบหนึ่งมีรูเล็กๆ อยู่ตรงกลาง
เราเอานิ้วจับอยู่ที่ปุยนุ่นแล้วค่อยๆ ดึงออกมาเรื่อยๆ

สมมติให้กลางกระดูกสันหลัง เป็นจุดศูนย์กลางของจิตประภัสสร
เป็นจุดสัมผัสกับพุทธภาวะ คือภาวะแห่งผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
เป็นพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธเจ้า
และอริยสาวกทั้งหลาย เป็นเมตตา กรุณา ปีติสุข
ที่มีอยู่ในจักรวาล ไหลออกมาผ่านจุดศูนย์กลางจิตของเรา
อุปมาเหมือนท่อที่มีสายน้ำไหลแยกออกมาจากทางน้ำใหญ่

เมื่อเราฝึกจนชำนาญแล้ว จะรู้สึกว่าการหายใจคือปีติสุข
ความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ สัมผัสกับเราแต่เพียงส่วนหน้า
เราน้อมเข้าไป ตั้งสติอยู่ที่จุดกลางกระดูกสันหลัง
เมื่อความรู้สึกที่ดี ปีติสุข ไหลออกมาแล้ว
ความรู้สึกที่ไม่ดี ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้ ในใจเราจะมีแต่ปีติสุข
เป็นความรู้สึกที่ดี สบายใจ สุขใจ

วิธีที่ 3 ชำระออกซึ่งความไม่สบายใจ

ทำความเห็นให้ถูกต้องว่า ความไม่สบายใจ ทุกข์ใจนี้ ไม่ใช่เรา
ไม่ใช่ของเรา เมื่อเห็นอะไร ได้ยินอะไร รู้อะไร ที่ไม่ถูกใจ
ไม่ชอบใจ เราจะเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ เป็นทุกข์
ก็เป็นเรื่องธรรมดา หรือเมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่ง
ความรู้สึกนั้นเปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัยใหม่ๆ
ก็ถือเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าความรู้สึกทุกข์ ไม่สบายใจติดค้าง
อยู่ในหัวใจนานๆ ก็จะเป็นความผิดปกติ เป็นกิเลส
มีอุปาทานยึดมั่นถือมั่น ทำให้จิตใจเศร้าหมอง

หากเทียบกับแอ๊ปเปิ้ล ความรู้สึกไม่ชอบใจ ทุกข์ใจ
เปรียบเหมือน ขี้ฝุ่น ขี้ดิน ติดบนเปลือกแอ๊ปเปิ้ล
ความรู้สึกไม่ชอบใจ ทุกข์ใจ ที่ติดในหัวใจนานๆ เป็นตำหนิ
เหมือนแอ๊ปเปิ้ลที่เริ่มเน่าแล้ว ต้องรีบจัดการ
ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะเน่าหมดทั้งลูก

ผู้เจริญเมตตา ภาวนา ให้มีนิสัย ที่รักสะอาดอยู่เป็นประจำ
เมื่อเกิดความรู้สึกไม่ดี ไม่ชอบ ให้หยุดคิด หยุดคิดว่าอะไรไม่ดี
หายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ ความรู้สึกไม่ดีก็จะหายไป
ถ้าไม่หาย ตั้งใจมากขึ้นหน่อย
แทนที่จะคิดว่าใครหรืออะไรไม่ดี
นึกในใจว่า ดีๆ ๆ
ตั้งใจกำหนดลมหายใจยาวๆ

สมมติลมหายใจเป็นมีด ส่วนที่เน่าคือ ความรู้สึกไม่ดี
ไม่สบายใจ เศร้าหมองใจ เอาลมหายใจเข้า หายใจออก เป็นมีด
ตัดความรู้สึกไม่สบายใจ ทุกข์ใจ ทิ้งไป
เหมือนตัดส่วนที่เน่าของแอ๊ปเปิ้ล
ตั้งใจ มีสติกำหนดรู้ที่ลมหายใจเข้า หายใจออก
ไม่นานความรู้สึกก็จะเบา สงบ สบายใจ
มีลมหายใจเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับความสุขใจ สบายใจ

วิธีที่ 4 ปล่อยวางความโกรธให้เร็วขึ้น

เมื่อเรามีนิสัย ขี้โกรธ ขี้โมโห เห็นอะไร ได้ยินอะไร
กระทบอารมณ์ คงจะห้ามความโกรธไม่ได้
ก็ไม่ต้องห้าม ให้โกรธตามเคยนั่นแหละ
แต่พยายามปล่อยวางให้เร็วขึ้น ไม่ผูกใจเจ็บ ให้อภัย
ให้อโหสิกรรมเร็วขึ้น เช่นเรารู้อยู่ว่าปกติโกรธขนาดนี้
จะไม่สบายใจอยู่ 3 วัน พยายามปล่อยวางภายใน 2 วัน
จากนั้น ลดให้เหลือ 1 วัน ครึ่งวัน
3 ชั่วโมง จนเหลือ ครึ่งชั่วโมง เป็นต้น
การต่อสู้กับอารมณ์โกรธ ให้เอาหัวใจนักกีฬามาสู้

อย่าเอาจริงเอาจังกับเหตุการณ์จนเกินไป
โอปนยิโก น้อมเข้ามาดูใจ ดูอารมณ์
เอาสติปัญญา ต่อสู้กับอารมณ์ตัวเอง
ให้มีความพอใจ ความสุขในการแก้ปัญหา แก้อารมณ์ของตน
เมื่อเราเห็นความก้าวหน้าในการต่อสู้กับอารมณ์แล้ว
ลึกๆ ภายในใจก็จะมีความพอใจ
ในท่ามกลางความโกรธได้เหมือนกัน

พิจารณาธรรมชาติของอารมณ์โกรธ
ตามสติกำลังของตัวเองก่อน เมื่อเข้าใจดีแล้ว
ปล่อยวางความรู้สึกโกรธ ตั้งสติที่ท้อง หายใจออกยาวๆ
สบายๆ หายใจเข้าตามปกติ เน้นที่หายใจออกยาว สบายๆ
ทำเช่นนี้จะช่วยผ่อนคลาย กายเย็น ใจเย็น อารมณ์สบายๆ
มีความสบายใจ

หายใจออกยาวๆ สบายๆ


28249  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / การเจริญพรหมวิหาร ๔ เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 02:41:42 pm
การเจริญพรหมวิหาร ๔
   
สำหรับวันนี้ ความจริงคิดว่าจะจบสมถะภาวนา เว้นไว้แต่อรูป ๔ ประการ  ยังมีพระท้วงว่าขาดพรหมวิหาร ๔ ไปอาจจะพลั้งเผลอไป วันนี้ก็จะขอพูดเรื่องพรหมวิหาร ๔ ในด้านสมถภาวนา ความจริงพรหมวิหาร ๔ นี้เป็นกรรมฐานเลี้ยงทั้งศีล  เลี้ยงทั้งสมาธิ เลี้ยงทั้งปัญญา เพราะว่ามีพรหมวิหารสี่เสียอย่างเดียว อารมณ์จิตก็สบาย มีความเยือกเย็น เราจะเห็นว่าเมตตาความรัก กรุณาความสงสาร สองอย่างนี้ก็สามารถจะคุ้มศีลให้บริบูรณ์ทุกอย่าง เพราะศีลทุกข้อคำจะทรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยเมตตาและกรุณาทั้งสองอย่าง

   เมตตาแปลว่าความรัก กรุณาแปลว่าความสงสาร ถ้าเรามีความรักเรามีความสงสารเสียแล้ว เราก็ทำลายชีวิตสัตว์ไม่ได้ ลักขโมยของเขาไม่ได้ ยื้อแย่งความรักเขาไม่ได้ พูดโกหกมดเท็จไม่ได้ ดื่มสุราเมรัยไม่ได้ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อดื่มสุราเมรัย ถ้าเรามีความรักความสงสารคนทางบ้าน เพื่อน บิดามารดา เราก็ไม่สามารถจะทำความชั่วโดยขาดสติสัมปชัญญะ

   เป็นอันว่าในพรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะสองประการ คือ เมตตา   กรุณาทั้งสองประการนี้ สร้างความเยือกเย็นให้เกิดกับจิตสามารถทำศีลให้บริสุทธิ์ เมื่อศีลบริสุทธิ์สมาธิก็ตั้งมั่น ความเร่าร้อนของจิตไม่มี จิตไม่มีความกระวนกระวายก็เป็นสมาธิ มีข้อหนึ่งสำหรับด้านสมาธิจะใช้เฉพาะเมตตากรุณาทั้งสองประการก็ไม่พอ ต้องมีมุทิตา อุเบกขา อารมณ์จิตจึงจะทรงสมาธิได้มั่นคง

   มุทิตาความมีจิตอ่อนโยน ตัดความอิจฉาริษยาออกจากจิต พลอยยินดีเมื่อบุคคลอื่นได้ดีแล้ว อารมณ์อิจฉาริษยาตัวนี้เป็นอารมณ์ที่มีความร้ายแรงมาก เมื่อเห็นใครเขาได้ดีก็ทนไม่ได้เกรงเขาจะเกินหน้าเกินตาตัวไป หากมีมุทิตาคือตัดอิจฉาริษยาออก มันพ้นไปจากจิต ความเร่าร้อนมันก็ไม่มี เห็นใครเขาได้ดีแทนที่เราจะคิดว่าเขาเกินหน้าเกินตาไป กลับพลอยยินดีกับความดีที่เขาจะพึงได้  เพราะอาศัยความสามารถและบุญวาสนาบารมีของเขาเป็นสำคัญ  อารมณ์มุทิตาจิตนี้สร้างความดีให้เกิด ในเมื่อใครเขาทำความดีได้ เราพลอยยินดีกับเขาด้วยเป็นอันช่วยให้เราดีขึ้น แทนที่จะทำลายเราให้เสื่อมไป คนที่เขาได้ดีมีความชอบก็เกิดมีความรักในเรามีความเมตตาในเรา แทนที่เขาจะเหยียดหยามกลับจะคบเป็นมิตรที่ดี เราก็มีความสุข

   สำหรับอุเบกขาในด้านสมถภาวนามีอารมณ์วางเฉยคือ เฉยแต่เฉพาะอารมณ์ที่เข้ามายุ่งกับจิตที่ไม่เนื่องกับอารมณ์ที่เราต้องการ อย่างเรากำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก จิตมันหยุดอยู่เฉพาะลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว ไม่ไปยุ่งกับอารมณ์ภายนอกทั้งหมด คือไม่สนใจกับแสงสีใดๆ อย่างนี้เป็นต้น จะเห็นผลว่าอุเบกขาคือความวางเฉยในด้านสมถภาวนา มีอารมณ์ทำจิตให้ทรงตัว มีอารมณ์จิตเป็นฌาน

   รวมความว่าพรหมวิหาร ๔ มีประโยชน์ทั้งในด้านศีลและด้านสมาธิทั้งสองประการ ขอให้ท่านนักปฏิบัติผู้มีความปรารถนาในการทรงฌานให้เป็นปกติ ถ้าเราสามารถทรงพรหมวิหาร ๔ จิตก็ประกอบด้วยพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา คืออารมณ์เบาตลอดวัน ทั้งวันมีความรู้สึกรักในคนและสัตว์เสมอด้วยเรา ไม่คิดประทุษร้ายสัตว์ ไม่คิดจะทำลายสัตว์ เพราะมีความรักและมีความสงสาร จิตใจก็จะมีแต่ความเยือกเย็นเพราะอารมณ์ไม่เกิดเป็นศัตรูกับใคร อย่างนี้ใจสบาย ศีลไม่ขาด สมาธิก็ทรงตัว

   ต่อมาข้อมุทิตาเราก็ไม่มีความอิจฉาริษยา เมื่อบุคคลอื่นได้ดีกลับมีจิตปรานีพลอยยินดีกับบุคคลที่เขามีความดี แสดงความยินดีร่วมกับเขา อันนี้ก็มีความสบายใจ

   ถ้ามีอุเบกขาเข้ามาควบคุมใจเข้าไว้ไม่ยอมให้อารมณ์อื่นใดเข้ามายุ่งกับจิตไม่ทำอารมณ์ให้กระสับกระส่าย อุเบกขาแปลว่าความวางเฉย ในเมื่อจับกรรมฐานกองใดกองหนึ่งขึ้นพิจารณาหรือภาวนา ก็ให้จิตทรงอยู่ในอารมณ์นั้น แสดงว่าจิตของเราจิตของบุคคลใดที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ จิตของบุคคลนั้นก็จะเป็นผู้ทรงฌานตลอดเวลาจำไว้ให้ดีนะ

   การที่เราทำอะไรไม่ได้ดีในด้านสมาธิจิตหรือวิปัสสนาญาณ เริ่มแต่การรักษาศีลให้บริสุทธิ์ไม่ได้ก็แสดงว่าเราขาดพรหมวิหาร ๔ ถ้าอารมณ์จิตของเราตั้งอยู่ในพรหมวิหาร ๔ ตลอดเวลา เรื่องฌานสมาบัติเป็นเรื่องเล็กจริงๆ เพราะฌานสมาบัติจะทรงขึ้นมาได้และศีลบริสุทธิ์ได้เพราะความเยือกเย็นของจิต ไม่มีความเร่าร้อนของจิต เมื่อจิตมีความเยือกเย็นไม่กระวนกระวายไม่กระสับกระส่าย ไม่มีความโหดร้าย ไม่คิดอิจฉาริษยา  ทำร้ายใคร ใจก็เป็นสุข อารมณ์ก็เป็นกุศล เราจะทรงจิตในพระกรรมฐาน ๔๐ กอง แยกอย่างใดอย่างหนึ่งก็ทรงไว้ได้ดี นี่เป็นอารมณ์ของฌาน

   มาว่ากันถึงวิปัสสนาญาณพรหมวิหาร ๔ เลี้ยงวิปัสสนาญาณให้มีการทรงตัวด้วย การที่มีพรหมวิหาร ๔ ครบถ้วนบริบูรณ์จึงเป็นพระอริยะเจ้าได้ง่าย เราจะเห็นว่าการเป็นพระอริยะเจ้าอย่างพระโสดาบันจะต้องทรงศีลห้าบริสุทธิ์ แล้วเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เรียกว่าสรณาคมน์ครบถ้วนบริบูรณ์ คนที่มีพรหมวิหาร ๔ มีอารมณ์เมตตากรุณาทั้ง ๒ ประการแสดงว่าศีลไม่ขาดสักตัว เป็นอันว่าข้อที่เรียกว่า สีลัพพตปรามาส ย่อมไม่ปรากฏขึ้นกับจิต ถ้าทำลายสีลัพพตปรามาสเสียได้ มีศีลบริสุทธิ์ เข้าเป็นจุดพระโสดาบันข้อที่หนึ่ง

   สำหรับการเคารพในไตรสรณาคมน์ การที่เราทรงศีลบริสุทธิ์ก็แสดงว่าเรามีความเคารพในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเราสมาทานว่า พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่ง เมื่อพระสงฆ์ให้ที่พึ่งคือ ศีลห้าประการและศีลแปดประการศีลอุโบสถก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศีลห้าประการให้ปฏิบัติเป็นปกติ ให้เป็นประจำทุกวัน ในเมื่อเรามีพรหมวิหาร ๔ ศีลไม่ขาดทรงได้ ก็เป็นอันว่าเราเป็นพระโสดาบันได้อย่างง่ายดาย มีพรหมวิหาร ๔ เป็นของดีแบบนี้

   และประการที่ ๒ นอกจากความเป็นพระโสดาบัน เราจะเป็นพระอนาคามีเห็นว่าไม่ยากอีกเพราะเหตุว่าพรหมวิหาร ๔ เป็นเหตุทำลายความโกรธความพยาบาท ที่นี้มาเหลือแต่กามฉันทะ ในเมื่ออาศัยอารมณ์จิตทรงฌาน พิจารณาอสุภกรรมฐานประกอบอีกเพียงเล็กน้อยจิตก็จะเข้าถึงความเป็นพระอนาคามี

   พูดถึงความเป็นพระอรหันต์ ถ้าจิตเที่ยงจริงถึงขนาดนี้แล้วก็เป็นของไม่ยาก เพราะพระอรหันต์ตัดเหตุที่เป็นอนุสัย คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา นี้เป็นของไม่ยาก แต่เป็นของละเอียด ความจริงก้าวเข้าสู่การเป็นพระอนาคามีนั้นก็มีความสุข เพราะว่าการจากชาตินี้ไปแล้วจะไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหมก็ตาม เราก็ไม่กลับลงมาเกิดเป็นมนุษย์อีก เราก้าวเข้าไปสู่พระนิพพานเลยโดยไม่ถอยหลังลงมา

   ฉะนั้นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงแนะนำให้บรรดาพุทธบริษัทผู้ปรารถนาจะเข้าถึงฌานสมาบัติและทรงมรรคผล ให้บรรดาพุทธศาสนิกชนทุกคนแผ่เมตตาจิตไปในทิศทั้งปวงเสียก่อน ในอันดับแรกก่อนที่เราจะทรงจิตเป็นสมาธิ ก็ตั้งใจแผ่เมตตาจิตและกรุณาความสงสารไปในทิศที่ครอบจักรวาลทั้งหมด โดยกำหนดจิตไว้เสมอว่าเราจะไม่เป็นศัตรูกับใคร เราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะสงเคราะห์คนและสัตว์ที่ได้รับความทุกข์ยากให้มีความสุขตามฐานะของกำลังที่เราพอจะช่วยได้ เราเปล่งวาจาและคิดออกไปแบบนี้ด้วยความจริงใจเป็นปกติทุกวัน ต่อไปก็จะเกิดอาการชิน อารมณ์จิตของเราจะไม่มีความโกรธไม่มีความพยาบาท ไม่มีความเคียดแค้นมุ่งประทุษร้ายใคร

   ขึ้นชื่อว่าศีล ๕ ประการที่จะละเมิดมันจะขาดไปได้ก็เพราะอาศัยความชั่ว ความเลวทรามของจิต ความโหดร้ายของจิต เมื่อจิตมีความโหดร้าย เราก็ฆ่าสัตว์ได้ ฆ่าคนได้ ลักขโมยเขาได้ ยื้อแย่งความรักเขาได้ พูดโกหกมดเท็จได้ ทั้งนี้จิตประกอบไปด้วยความรักความสงสารมันก็ทำอะไรไม่ได้ทุกอย่างที่ชื่อว่าความชั่ว อารมณ์แบบนี้ถ้าเรานึกอยู่ตลอดวันว่าเราจะเป็นมิตรกับคนและสัตว์ทั้งหมด เราจะมีความรักและเกื้อกูลให้ทุกคนมีความสุข ใหม่ๆมันก็ลืมบ้างเหมือนกัน อาจจะมีอาการเผลอ

เมื่อทำนานๆจะเกิดอาการเคยชินมันก็เป็นปกติของจิต เรียกว่าไม่ต้องระมัดระวังเรื่องความโกรธจริงๆ ความคิดประทุษร้ายพยาบาทจองล้างจองผลาญบุคคลอื่นก็ไม่มี ถ้าเราจะสงสัยว่ามันจะชินได้อย่างไร ก็ดูตัวอย่างบทสวดมนต์ที่พวกเราท่องกัน ท่องกันเกือบล้มเกือบตายกว่าจะได้แต่ละบท และต่อมาก็ได้ตั้งหลายๆ บททั้ง ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน เราก็ได้กัน ปาฏิโมกข์เราก็สามารถจะสวดได้ภายหลังที่สวดได้คล่องแคล่วโดยมากเราสวดอย่างชนิดไม่ต้องนึก ใครเขาขึ้นต้นบทมาเราก็ว่าไปได้โดยไม่ต้องคิด เพราะว่าอาการชินของจิตที่มีความจดจำเป็นปกติ พอขึ้นนะโมก็ว่าไปได้เรื่อยๆทุกบท ใครเขาขึ้นบทไหนก็ว่าบทนั้นได้โดยไม่ต้องนึกถึงตัวหนังสือ ข้อนี้เป็นข้อเปรียบเทียบให้เห็นว่า

   แม้แต่การใช้พรหมวิหาร ๔ เป็นปกติ ใหม่ๆเราก็มีการอดลืมไม่ได้อาการเคยชินจิตที่เป็นพรหมวิหาร ๔ ก็เกิดเป็นสภาวะปกติ
   มีความรักเป็นปกติ
   มีความสงสารเป็นปกติ
   มีจิตใจอ่อนโยนไม่อิจฉาริษยาใคร พลอยยินดีกับบุคคลอื่นที่ได้ดีเป็นปกติ


   สำหรับอุเบกขาความวางเฉยในด้านวิปัสสนาญาณไม่ช้ามันก็ปกติคือ วางเฉยในสังขารที่เรียกว่า สังขารุเบกขาญาณ ร่างกายมันจะแก่มันจะเสื่อม มันจะป่วยไข้ไม่สบาย จะมีอาการพลัดพรากจากของรักของชอบใจหรือความตายจะเข้ามาถึงตัว อารมณ์มันก็เฉย อุเบกขานี่เฉย เฉยตอนไหน เฉยตอนคิดว่ามันเป็นเรื่องธรรมดาของคนที่เกิดมาและสัตว์ที่เกิดมา มันมีสภาพความไม่เที่ยงเป็นปกติ เมื่อไม่เที่ยงแล้วมีความเปลี่ยนแปลงไปเราก็กลับไม่ทุกข์ เพราะถือว่าปกติของมันเป็นอย่างนั้น เมื่อความตายจะเข้ามาถึงจริงๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา

   เมื่อจิตยอมรับนับถือว่ามันเป็นธรรมดา ความหวั่นไหวก็ไม่เกิดขึ้น จิตมีความวางเฉยมีอารมณ์สบาย ทางด้านวิปัสสนาญาณถ้าวางเฉยต่ออารมณ์ทั้งหลายได้มี โลภะความโลภ ราคะความรัก โทสะความโกรธ โมหะความหลง สิ่งทั้งหลายเหล่านี้มันยั่วยวนจิตให้เกิดอารมณ์เยือกเย็นและความเร่าร้อน แปลว่าจิตของเรา ถ้าวางเฉยจากอารมณ์ทั้งหลายเหล่านี้ได้ถือว่ามันไม่เป็นสาระไม่เป็นแก่นสาร ไม่มีความสำคัญก็ชื่อว่าเราใช้พรหมวิหาร ๔ โดยเฉพาะอุเบกขาได้ครบถ้วน อยู่ในขั้นที่เรียกว่าสังขารุเบกขาญาณ คือวางเฉยในขันธ์ห้า โดยยึดถือว่า ขันธ์ห้า มันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา เราไม่มีในขันธ์ห้า ขันธ์ห้าไม่มีในเราเพีนงแค่นี้ก็จะเห็นว่าความเยือกเย็นของจิตเมื่อเกิดขึ้นเต็มที่ โดยเฉพาะวิปัสสนาญาณที่เราเจริญมาก็ไม่เสื่อมคลาย ในเมื่อการทรงวิปัสสนาญาณ คือสังขารุเบกขาญาณได้ เพราะอาศัยอุเบกขาจิตเป็นสำคัญ นี่ความเป็นพระอริยะเจ้าก็เข้ามาใกล้ เรียกว่าถึงความเป็นพระอริยะเจ้าได้ทันทีทันใด เพราะอะไรล่ะ เพราะเราปลดร่างกายเสียได้แล้ว ปลดสักกายทิฏฐิ คือความเห็นว่าสภาพร่างกายเป็นเราเป็นของเรา ยึดถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา จิตสบายเป็นสังขารุเบกขาญาณ ในเมื่อวางขันธ์ห้าเสียได้แล้วอย่างนี้ก็ชื่อว่าการปฏิบัติจิตของเราเข้าขั้นถึงความเป็นอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลสูงสุดในพระพุทธศาสนา

   ต่อนี้ ไปกาลเวลาที่จะพูดก็หมดแล้ว ขอทุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัยจนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
   

ที่มา หนังสือกรรมฐาน ๔๐ ของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

28250  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / แค้นมากๆ ต้องเจริญพรหมวิหาร ๔ เมื่อ: มกราคม 14, 2010, 02:35:35 pm
พรหมวิหาร ๔

          พรหมวิหาร แปลว่า  ธรรมเป็นที่อยู่ของพรหม คำว่า พรหม แปลว่า ประเสริฐ เป็น
อันได้ความว่า คุณธรรม ๔ อย่างนี้  เป็นคุณธรรมที่ทำผู้ประพฤติปฏิบัติให้เป็นผู้ประเสริฐ คือเป็นมนุษย์

ประพฤติธรรม ๔ ประการนี้ ก็เป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐโดยคุณธรรม ถ้าตายจากมนุษย์ก็เป็นเทวดาผู้
ประเสริฐโดยบุญญาธิการ คือ ไปเกิดบนชั้นพรหม นอกจากความประเสริฐโดยธรรมในสมัยที่เป็น
มนุษย์แล้ว ท่านว่าคุณธรรม ๔ ประการนี้ ยังให้อานิสงส์เป็นความสุขแก่ผู้ปฏิบัติถึง ๑๑ ประการ ตามที่ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคดังต่อไปนี้


          ๑. สุขัง สุปฏิ นอนหลับเป็นสุข เหมือนนอนหลับในสมาบัติ
          ๒. ตื่นขึ้นก็มีความสุข มีอารมณ์แช่มชื่นหรรษา ไม่มีความขุ่นมัวในใจ
          ๓. นอนฝัน ก็ฝันเป็นมงคล มิฝันเห็นสิ่งลามก
          ๔. เป็นที่รักของมนุษย์ เทวดา พรหม และภูติผีทั้งปวง
          ๕. เทวดาและพรหม จะรักษาให้ปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง
          ๖.จะไม่มีอันตรายจากเพลิง ไม่มีอันตรายจากสรรพาวุธและยาพิษ
          ๗. จิตจะตั้งมั่นในอารมณ์สมาธิเป็นปกติ สมาธิที่ได้ไว้แล้วจะไม่เสื่อม จะเจริญรุดหน้ายิ่งขึ้น
          ๘. มีดวงหน้าผุดผ่องเป็นปกติ
          ๙. เมื่อจะตาย จะมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ สติมิฟั่นเฟือน
          ๑๐. ถ้ามิได้บรรลุมรรคผลในชาตินี้ เพราะทรงพรหมวิหาร ๔ นี้ ผลแห่งการเจริญพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็จะส่งผลให้ไปเกิดในพรหมโลก
          ๑๑. มีอารมณ์แจ่มใส  จิตใจปลอดโปร่ง ทรงสมาบัติ วิปัสสนา และทรงศีลบริสุทธิ์ผุดผ่อง
เป็นปกติ


          รวมอานิสงส์การทรงพรหมวิหาร ๔ มี  ๑๑  ประการด้วยกัน ต่อนี้ไปจะได้นำหัวข้อพรหม-
วิหาร ๔ มากล่าวไว้เพื่อศึกษา

หัวข้อพรหมวิหาร ๔

          ๑. เมตตา ความรัก อันเนื่องด้วยความปรารถนาดี ไม่มีอารมณ์เนื่องด้วยกิเลสที่นับเนื่อง
ในกามารมณ์ร่วมในความรู้สึก
          ๒. กรุณา ความสงสารปรานี มีความประสงค์จะสงเคราะห์ให้พ้นทุกข์
          ๓. มุทิตา ความมีจิตชื่นบาน พลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คือไม่มีจิตริษยาเจือปน
          ๔. อุเบกขา มีอารมณ์เป็นกลางวางเฉย ไม่เอียงซ้ายเอียงขวา คือทรงความเป็นธรร


          คำอธิบายในพรหมวิหาร ๔ นี้ ไม่น่าจะต้องอธิบายมาก เพราะเป็นธรรมประจำใจชินหูอยู่
เป็นปกติแล้วจะขอย้ำเพื่อความแน่ใจไว้สักเล็กน้อย ตามธรรมเนียมของนักเขียนจะไม่เขียนเลยก็จะ
เสียธรรมเนียม

          ๑. เมตตา แปลว่า ความรัก  หมายถึงความรักที่มุ่งเพื่อปรารถนาดี แต่ต้องไม่หวังผลตอบ
แทนใด ๆ จะเป็นผลตอบแทนทางกำลังใจ หรือวัตถุก็ตาม จึงจะตรงกับคำว่า เมตตาในที่นี้ ถ้าทำไป
แล้วหวังตอบแทนบุญคุณด้วย ด้วยการแสดงออกของผู้รับเมตตาหรือหวังตอบแทนด้วยวัตถุ ความต้อง
การอย่างนั้นถ้าปรากฏในความรู้สึกเป็นเมตตาที่เจือด้วยอารมณ์กิเลส ไม่ตรงต่อเมตตาในพรหมวิหารนี้

          ลักษณะของเมตตา ควรสร้างความรู้สึกคุมอารมณ์ไว้ตลอดวันว่า เราจะหวังสร้างความเมตตา
สงเคราะห์ เพื่อนที่เกิด แก่ เจ็บ ตาย ที่มีในโลกนี้ทั้งมวล เราจะไม่สร้างความสะเทือนใจ ความลำบาก
กายให้เกิดมีขึ้นแก่คนและสัตว์ เพราะความสุขความทุกข์ของคนและสัตว์ทั้งมวล เราถือว่าเป็นภาระ
ของเราที่จะต้องสงเคราะห์หรือสนับสนุน ความทุกข์มีขึ้น เราจะมีทุกข์เสมอด้วยเขา ถ้าเขามีสุข
เราจะสบายใจด้วยกับเขา  มีความรู้สึกรักคนและสัตว์ทั่วโลก เสมอด้วยรักตนเอง

          ๒. กรุณา  แปลตามศัพท์ว่า ความสงสาร  หมายถึงความปรานี ปรารถนาให้เขาพ้นทุกข์
ความสงสารปรานีนี้ ก็มีอาการที่ไม่หวังผลตอบแทนเช่นเดียวกับเมตตา มุ่งหน้าสงเคราะห์คนและ
สัตว์ที่มีความทุกข์อยู่ ให้หมดทุกข์ตามกำลังกาย กำลังปัญญา กำลังทรัพย์เท่าที่จะทำได้
          ลักษณะกรุณา ก็คือการสงเคราะห์ในการให้ปันด้วยวัตถุ ตามกำลังที่พอจะช่วยได้ ถ้าวัตถุ
ของเรามีไม่พอ ก็พยายามแสวงหามาสงเคราะห์โดยธรรม คือหามาโดยชอบธรรม ทั้งนี้หมายความ
ว่า ถ้าผู้ที่จะสงเคราะห์ขัดข้องทางวัตถุ ถ้าตนเองแสวงหามาได้ไม่พอเหมาะพอดี ก็แนะนำให้ผู้หวัง
สงเคราะห์ไปหาใครคนใดคนหนึ่งที่คิดว่าเขาจะสงเคราะห์ เป็นการชี้ช่องบอกทาง ถ้าเขาขัดข้องด้วย
วิชา ก็สงเคราะห์บอกกล่าวให้รู้ตามความรู้ ถ้าตนเองรู้ไม่ถึงก็แนะนำให้ไปหาผู้ที่เราคิดว่ามีความรู้
พอบอกได้

          ๓. มุทิตา  แปลตามศัพท์ว่า  มีจิตอ่อนโยน   หมายถึงจิตที่ไม่มีความอิจฉาริษยาเจือปน
มีอารมณ์แจ่มใสแช่มชื่นตลอดกาลเวลา เห็นใครได้ดีก็ผ่องใส ชื่นอกชื่นใจ มีอาการคล้ายกับตนพลอย
ได้ด้วย ทั้งนี้อารมณ์ของท่านที่มีมุทิตาประจำใจนั้น คิดอยู่เสมอว่า ถ้าคนทั้งโลกมีโชคดีด้วยทรัพย์
และมีความเฉลียวฉลาดเหมือนกันทุกคนแล้ว โลกนี้จะเต็มไปด้วยความสุขและเยือกเย็น ปราศจาก
ภยันตรายทั้งมวล คิดยินดี ให้ชาวโลกทั้งมวลเป็นผู้มีโชคดีตลอดวันและคืน อารมณ์พลอยยินดีนี้
ต้องไม่เนื่องเพื่อผลตอบแทน ถ้าหวังการตอบแทนแม้แต่เพียงคำว่าขอบใจ  อย่างนี้เป็นมุทิตาที่อิง
กิเลส ไม่ตรงต่อมุทิตาในพรหมวิหารนี้ ความแสดงออกถึงความยินดีในพรหมวิหาร ไม่หวังผลตอบแทน
ด้วยกรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

          ๔. อุเบกขา แปลว่าความวางเฉย ไม่ใช่เฉยตลอดกาล ใครจะเป็นอย่างไรก็เฉย ความวาง
เฉยในพรหมวิหารนี้ หมายถึงเฉยโดยธรรม คือทรงความยุติธรรมไม่ลำเอียงต่อผู้ใดผู้หนึ่ง ที่จะต้องได้
รับทุกข์หรือรับสุข พร้อมกันนั้นก็มีอารมณ์ประกอบด้วยความเมตตาปรานี พร้อมที่จะสงเคราะห์ใน
เมื่อมีโอกาส

          พรหมวิหาร  ๔ นี้ ขออธิบายเพียงย่อ ๆ ไว้เพียงเท่านี้ เพราะเป็นธรรมที่ชินหูชินใจของ
ทุก ๆ คนอยู่แล้ว พูดมากไปก็ชวนรำคาญมากกว่าชวนฟัง
 
ที่มา คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
28251  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เรื่องนี้เป็นผลของการทำกรรมดี เป็นเรื่องของอจินไตย เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 04:07:03 pm
อาจารย์สายทอง อ่านแล้วคงเข้าใจ จุดประสงค์โดยรวมนะครับ

ว่าผมต้องการสื่ออะไรให้อาจารย์เข้าใจ


  ผมคิดว่าธรรมทานมีผลกระทบแบบโดมิโน และที่สำคัญมีพุทธภาษิต รับรองไว้ชัดเจน

                 สพฺพทานํ  ธมฺมทานํ  ชินาติ
                 "การให้ธรรมทาน    ชนะการให้ทั้งปวง"



  ส่วนการไปดูแลพระสงฆ์ที่อาพาธ โดยส่วนตัวผมขอคิดง่ายๆว่า
                 
      การถวายอาหาร ทำให้เรามีกิน
      การถวายยา     ทำให้เราเจ็บป่วยน้อยลง
      การรับใช้        ทำให้เรามีคนช่วยเหลือ

      การถวายปัจจัยอื่นๆ ก็มีผลตามสมควรแก่เหตุนั้นๆ

  การที่จะเปรียบเทียบว่า อย่างไหนอานิสงส์มากกว่ากันนั้น

  เป็นการยาก แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
 
  เรื่องนี้เป็นผลของการทำกรรมดี เป็นเรื่องของอจินไตย

  ที่คนธรรมดาคิดไม่ได้ครับ  ต้องถามพระพุทธเจ้าคนเดียว

  หรือถามผู้มีญาณทัสนะอันยิ่ง



  ถ้าผมเป็นอาจารย์ผมจะทำทั้งสองอย่างพร้อมกัน

  จะทำในรูปของสังฆทาน ต้องมีพระสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป

  นอกจากปัจจัยต่างๆที่ควรถวายแล้ว

  ผมจะถวายหนังสือธรรมะหรือสื่อธรรมะต่างๆ

  ให้คณะสงฆ์เป็นจำนวนมากพอ ที่ท่านสามารถจะนำไปแจกต่อได้
                                     



  อย่างไรก็แล้วแต่ ที่อาจารย์ถามว่าควรทำอย่างไหนก่อน

  อันนี้อาจารย์ควรเลือกเอง ทำอย่างไหนสะดวก มีความสุข

  และเบียดเบียนผู้อื่นน้อยที่สุด ทำไปเลยครับ  ส่วนผมขออนุโมทนา
28252  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / สรุปอานิสงส์ของทาน เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 03:27:50 pm
สรุปอานิสงส์ของทาน
(บางส่วนจากหนังสือ วิถีชาวพุทธ)
   

ที่มา  http://main.dou.us/                                                                                                                                                                                                                                         
สรุปท้ายบท           

           จากที่ได้ศึกษาเรื่องทานมาทั้งหมดนั้น เราอาจสรุปสาระสำคัญที่ผู้ทำทานจะได้รับดังต่อไปนี้ คือ
           

           ผลในปัจจุบัน (เป้าหมายระดับต้น)

           1. ได้ความสุข ความสบายใจทันทีหลังจากที่ได้ให้ไปแล้ว
           2. ได้อานิสงส์ในปัจจุบัน  ที่เป็นเหตุนำให้ชีวิตมีความสุข และความสำเร็จทั้งปวง
           3. ได้ฝึกนิสัยรักในการทำทาน โดยการกำจัดความโลภ หรือความตระหนี่ที่มีอยู่ในใจให้หมดสิ้นไป ซึ่งนิสัยนี้จะทำให้กลายมาเป็นผู้ที่ไม่ยึดติดในวัตถุสิ่งของนอกตัวใดๆ คือมีปกติพร้อมจะสละให้เป็นทาน ได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นอามิส เช่น ทรัพย์สินเงินทองของนอกตัว เลือดเนื้ออวัยวะ หรือแม้กระทั่งชีวิตก็    สละได้ ถ้าเป็นไปเพื่อการสั่งสมบุญบารมี เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ ที่เอาชีวิตเป็นเดิมพันสร้างบารมีมา จนได้ตรัสรู้ธรรม
          4. ได้ตอกย้ำความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ของตนเองให้มั่นคง ว่าการให้ทานเป็นความดี และเป็นสิ่งที่ต้องทำ โดยหมั่นให้ทานเพื่อตอกย้ำจนความเห็นนี้เข้าไปติดอยู่ในใจ จนกระทั่งไม่ว่าจะไปเกิด ในภพชาติไหน ก็ยังคงมีความเห็น และนิสัยรักการให้ทานอยู่นั่นเอง



          ผลในอนาคต (เป้าหมายระดับกลาง)

          5. ผู้ให้ทานย่อมมีสุคติโลกสวรรค์เป็นที่ไป
          6. หากกลับมาเกิดเป็นมนุษย์ครั้งใด ทานกุศลที่สั่งสมไว้ ย่อมจะกลายมาเป็นหลักประกันให้ได้เสบียง คือ มีโภคทรัพย์สมบัติเกิดขึ้นมารองรับเอาไว้ ชีวิตก็จะมีแต่ความสุขสบาย ไม่ต้องลำบากหรือยากจน ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

                                      "ผู้ไม่มีบุญ จะเป็นผู้มีศิลป์หรือไม่ก็ตาม
                                      ย่อมขวนขวายรวบรวมทรัพย์ไว้เป็นอันมาก
                                      ผู้มีบุญย่อมใช้สอยทรัพย์เหล่านั้น"           
 
           ดังนั้น ผู้ที่สั่งสมทานกุศลไว้ดี เกิดมาจึงมีเวลาและโอกาสจะทำความดี ทั้งให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญสมาธิภาวนา ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปได้มากกว่า และง่ายกว่าคนอื่นๆ ทั่วไป หรืออาจกล่าวอีก  นัยหนึ่งได้ว่า ทาน ก็คือพื้นฐานสำคัญ ที่รองรับการทำความดีทุกรูปแบบของมนุษย์นั่นเอง
         


          ผลที่สุด (เป้าหมายระดับสูงสุด)

          7. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย
          การทำทาน จึงเป็นหัวใจของความสำเร็จในชีวิตมนุษย์ทุกคน เพราะนอกจากจะทำได้ง่ายแล้ว ทานยังเป็นพื้นฐานให้สามารถทำความดีอื่นๆ ตามมาได้อย่างสะดวกสบาย ดังนั้น จึงควรขวนขวายในการ ทำทาน เพราะไม่นานทุกชีวิตก็ต้องจากโลกนี้ไป ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน อาทิตตสูตร ว่า

                                   "เมื่อเรือนถูกไฟไหม้ เจ้าของเรือนขนเอาภาชนะใดออกไปได้ ภาชนะนั้น
                         ย่อมเป็นประโยชน์แก่เขา ส่วนสิ่งของที่ขนออกไปไม่ได้ ย่อมถูกไฟไหม้ ฉันใด
                                   โลก (คือหมู่สัตว์) อันชราและมรณะเผาแล้ว   ก็ฉันนั้น    ควรนำออก (ซึ่ง
                        โภคทรัพย์สมบัติ) ด้วยการให้ทาน เพราะทานวัตถุที่บุคคลให้แล้ว   ได้ชื่อว่านำ
                        ออกดีแล้ว ทานวัตถุที่บุคคลให้แล้วนั้น   ย่อมมีสุขเป็นผล  ที่ยังมิได้ให้ ย่อมไม่
                        เป็น เหมือนเช่นนั้น โจรยังปล้นได้ พระราชายังริบเอาไปได้ ไฟยังไหม้ได้ หรือ
                        สูญหายไปได้
                                   อนึ่ง   บุคคลจำต้องละร่างกายพร้อมด้วยสิ่งเครื่องอาศัยด้วยตายจากไป
                        ผู้มีปัญญารู้ชัดดังนี้แล้ว ควรใช้สอยและให้ทาน เมื่อได้ให้ทานและใช้สอยตาม
                        ควรแล้ว จะไม่ถูกติฉิน เข้าถึงสถานที่อันเป็นสวรรค์"
28253  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / อานิสงส์ของสังฆทาน จากเวลามสูตร เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 03:23:56 pm
อานิสงส์ของสังฆทาน
(บางส่วนจากหนังสือ วิถีชาวพุทธ)
   

ที่มา  http://main.dou.us/                                                                                                                                                                                                                                         
           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงอานิสงส์ของสังฆทานว่ามีผลมาก ดังเรื่องต่อไปนี้
                                                                             เวลามสูตร
           พราหมณ์ผู้หนึ่งชื่อว่าเวลามะ อยู่ในชมพูทวีป เวลามพราหมณ์นั้นเป็นคนมีจิตใจเลื่อมใสต่อการบริจาค ทาน ได้จัดสร้างโรงทานขึ้นที่บ้านของตน และประกาศให้คนทั้งหลายที่อยู่ในชมพูทวีปนี้มารับทาน คือ  รับอาหารที่โรงทานนี้ได้ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน หรือถ้าหากบุคคลใดไม่มีที่พักอาศัยหรือเครื่องนุ่งห่มแล้ว ขอให้มาแจ้งความประสงค์ต่อตน จะได้จัดการให้ทานแก่ผู้นั้นโดยทั่วถึงทั้งหมด และในวันสุดท้ายได้ให้ถาดทอง ถาดเงิน ถาดสำริด ซึ่งมีทองและเงินอยู่เต็มถาด อย่างละ 84,000 และช้าง รถ หญิงสาว บัลลังก์ ซึ่งประดับอย่างงดงาม อย่างละ 84,000 โคนมอีก 84,000 ตัว และผ้าคู่อีก 84,000 คู่ ทานที่เวลาม-พราหมณ์ทำนั้นได้ชื่อว่า "มหาทาน" อานิสงส์ของการให้มหาทาน มีมากน้อยเพียงไร พระพุทธองค์ทรงเปรียบเทียบเป็นข้อๆ ไว้ ดังนี้

           1. การทำทานของเวลามพราหมณ์นี้ ย่อมได้อานิสงส์ถึงอสงไขยภพ

           2. อานิสงส์ที่เวลามพราหมณ์ได้รับนี้ ยังสู้อานิสงส์ของผู้ถวายอาหารแด่พระโสดาบันบุคคลเพียง องค์เดียว และ
               ครั้งเดียวไม่ได้

           3. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระโสดาบันบุคคล 100 องค์  ยังสู้อานิสงส์ของการ ถวายอาหารแด่
               พระสกทาคามีบุคคลเพียงองค์เดียว และครั้งเดียวไม่ได้

           4. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระสกทาคามีบุคคล 100 องค์ ยังสู้อานิสงส์ของการ ถวายอาหาร
               แด่พระอนาคามีบุคคลเพียงองค์เดียว และครั้งเดียวไม่ได้

           5. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระอนาคามีบุคคล 100 องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการ ถวายอาหาร
               แด่พระอรหันต์บุคคลเพียงองค์เดียว และครั้งเดียวไม่ได้

           6. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระอรหันต์ 100 องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการถวายอาหารแด่พระ
               ปัจเจกพุทธเจ้าองค์เดียว และครั้งเดียวไม่ได้

           7. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระปัจเจกพุทธเจ้า 100 องค์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการ ถวายอาหาร
               แด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว และครั้งเดียวไม่ได้

           8. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์เดียวนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการ ถวาย
               อาหารแด่ภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย (สังฆทาน) มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขไม่ได้

           9. อานิสงส์ที่ได้รับจากการถวายอาหารแด่ภิกษุสงฆ์ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประมุขนั้น ก็ยัง สู้อานิสงส์ของ
             การสร้างวิหารทาน (ถาวรทาน) แด่ภิกษุสงฆ์ที่อยู่ทั่วทั้ง 4 ทิศไม่ได้ (การถวายอาหารเป็น  สังฆทาน มี
             อานิสงส์น้อยกว่าการถวายถาวรทานเป็นสังฆทาน)

           จากนั้นพระศาสดาทรงแสดงอานิสงส์ของการสร้างบุญที่มีมากยิ่งกว่าสังฆทานขึ้นไป ดังนี้

          อานิสงส์ที่ได้รับจากการสร้างวิหารเพื่อสงฆ์ทั้ง 4 ทิศนั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการเข้าถึงไตรสรณ-คมน์ไม่ได้

อานิสงส์ที่ได้รับจากการเข้าถึงไตรสรณคมน์นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ของการสมาทานศีล 5 ศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์นั้นไม่ได้

           อานิสงส์ที่ได้รับจากการสมาทานศีล 5 ศีล 8 พร้อมด้วยไตรสรณคมน์ ก็ยังสู้อานิสงส์ของการ แผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุขเพียงชั่วครู่หนึ่งไม่ได้

           อานิสงส์ที่ได้รับจากการแผ่เมตตาให้แก่สัตว์ทั้งหลายมีความสุข เพียงชั่วครู่นั้น ก็ยังสู้อานิสงส์ ของการเจริญวิปัสสนาเพียงชั่วครู่ไม่ได้

           จะเห็นได้ว่าอานิสงส์ของการบำเพ็ญสังฆทานจะมีผลมากกว่าปาฏิปุ คคลิกทาน แต่อานิสงส์ของ  การรักษาศีล และการเจริญวิปัสสนามีมากกว่านั้นอีก แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่าจะมุ่งแต่เจริญวิปัสสนา เพียงอย่างเดียวโดยไม่ทำทาน เพราะการให้ทานย่อมมีประโยชน์แก่บุคคลทุกจำพวก
28254  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / ธรรมทาน เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 03:16:49 pm
ธรรมทาน
(บางส่วนจากหนังสือวิถีชาวพุทธ)
 

ที่มา  http://main.dou.us/                                                                                                                                                                                                                                   
4.1 ประเภทของธรรมทาน
           ธรรมทาน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ วิทยาทาน และ อภัยทาน

           4.1.1. วิทยาทาน
           วิทยาทาน คือ การให้ความรู้ ยังแบ่งออกได้อีกเป็นวิทยาทานทางโลก และวิทยาทานทางธรรม

           วิทยาทานทางโลก คือ การสั่งสอนให้เกิดความรู้ความสามารถในเชิงศิลปวิทยาการ เพื่อนำไปประกอบสัมมาอาชีพเลี้ยงชีวิต และสามารถดำเนินชีวิตต่อไปได้ด้วยความสะดวกสบายทุกอย่าง ดังนั้น ทางพระพุทธศาสนาได้จัดความรู้ว่าเป็นขุมทรัพย์อย่างหนึ่ง ชื่อ องฺคสมนิธิ แปลว่า ขุมทรัพย์ติดตัวได้ บุคคลผู้มีความรู้ดี จึงเปรียบได้ว่ามีขุมทรัพย์ติดตัวไป ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็เชื่อมั่นได้ ว่าจะสามารถใช้ปัญญา รักษาตัวเองให้อยู่รอดปลอดภัยได้แน่นอน
                   
           วิทยาทานทางธรรม (จัดเป็นธรรมทานแท้) คือ การให้ความรู้ที่เป็นธรรมะนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่ประเสริฐ ด้วยเหตุที่ว่า การดำเนินชีวิตของแต่ละคนนั้น ถ้าขาดเสียซึ่งหลักธรรม ชีวิตก็จะพบแต่ความทุกข์ เดือดร้อน ผิดหวังตลอดไป ต่อเมื่อได้ยินได้ฟังธรรม และนำมาประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ย่อมเกิดความเจริญงอกงามในชีวิตของตน ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง สะอาด บริสุทธิ์ ผ่องใส ในที่สุดก็ทำให้รู้แจ้งเห็นแจ้งในพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเข้าถึงความสุขที่แท้จริงได้
           
           การให้คำสอนที่ถูกต้องที่เป็นธรรมะนั้น เปรียบได้กับการให้ขุมทรัพย์ที่เป็นอมตะติดตัวไว้ หรือให้ประทีปแสงสว่างที่คอยติดตามไป ดังนั้น บัณฑิตทั้งหลายจึงกล่าวว่า การให้ธรรมทาน เปรียบเหมือนการให้ ขุมทรัพย์ หรือประทีปที่จะเป็นเครื่องส่องทางชีวิต ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้องดีงาม นำชีวิตไปสู่ความสุข ความเจริญ
         
           และเมื่อยังต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ย่อมเป็นผู้ไม่ตกต่ำ มีชีวิตที่ดีงาม ได้เกิดในสุคติภพ เมื่ออบรมบ่มบารมีแก่กล้าแล้ว ย่อมสละละกิเลสได้โดยสิ้นเชิง เข้าถึงพระนิพพานได้ เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "การให้ธรรมะย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

           4.1.2 อภัยทาน
           อภัยทาน คือ การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีภัยแก่ตนและผู้อื่น ไม่ถือโทษโกรธเคือง ในการล่วงเกินของผู้อื่น ไม่มีเวร ไม่ผูกเวรกับผู้ใด ทั้งยังมีจิตเมตตาปรารถนาดีต่อผู้อื่นเป็นนิตย์
           
           การให้อภัย เป็นการให้ที่ไม่ต้องลงทุนอะไรเลย เป็นการให้ที่ง่าย แต่ที่บางคนทำได้ยาก เพราะมีกิเลสอยู่ในใจ ต้องอาศัยการฟังธรรม ประพฤติปฏิบัติธรรมบ่อยๆ จนเกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นคุณประโยชน์ของการให้อภัย แล้วจะให้อภัยได้ง่ายขึ้น

           หากมองเผินๆ จะดูเหมือนว่าการให้อภัยเป็นการให้ประโยชน์สุขแก่ผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีความสุขสบายใจ แต่แท้ที่จริงแล้ว ผู้ที่ได้รับประโยชน์สุขมากที่สุดก็คือตนเอง เพราะทุกครั้งที่ให้อภัยได้ จะรู้สึกปลอดโปร่ง เบากายเบาใจ สดชื่นแจ่มใส มีความสุข

           นอกจากนี้ การช่วยเหลือผู้ที่ตกอยู่ในอันตรายให้ปลอดภัย หรือพ้นจากอันตรายนั้นได้ เช่น การช่วยปล่อยสัตว์ที่เขาจะนำไปฆ่าให้พ้นจากการถูกฆ่า ดังประเพณีปล่อยสัตว์ปล่อยปลา ก็นับว่าเป็นอภัยทานเช่นกัน เพราะได้ให้ความไม่มีภัย ให้ความเป็นอิสระแก่สัตว์เหล่านั้น
                 
           การให้ความปลอดภัย ให้ความไม่มีเวรไม่มีภัยแก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการไม่เบียดเบียน จัดเป็นการให้ที่สูงขึ้นไปอีก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสเรียกว่า มหาทาน ซึ่งท่านจัดไว้ในเรื่องศีล (บทที่ 6)
                 
           ส่วนการให้อภัย คือ ทำตนเป็นผู้ไม่มีภัยกับตนเอง ใครที่สามารถสละภัย คือโทสะออกจากใจได้ มีจิตใจสงบ สะอาด จิตจะประกอบไปด้วยเมตตา  เมื่อทำไปแล้วถึงระดับหนึ่ง จัดว่าเป็นการภาวนา ที่เรียกว่า เมตตาภาวนา ซึ่งมีอานิสงส์สูงยิ่ง
บทที่4 ธรรมทาน


4.2 อานิสงส์ของธรรมทาน         
           ธรรมทานนี้มีอานิสงส์มาก ดังที่มีการพรรณนาคุณไว้ในอรรถกถาธรรมบท ว่า
                   
           แม้ทายกจะถวายจีวรอย่างดีที่สุดแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระอรหันตเจ้า ทั้งหลาย ที่นั่งติดๆ กันเต็มห้องจักรวาลนี้  ก็ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าการอนุโมทนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท และจีวรทานนั้นมีค่าไม่ถึง 1 ใน 16 แห่งพระคาถาที่พระพุทธองค์ทรงอนุโมทนา
                 
           แม้ทายกจะถวายโภชนะข้าวสาลี กอปรด้วยสูปะพยัญชนะ (แกงและกับข้าว) อันประณีต เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ดี จะถวายเภสัชทาน มี เนยใส เนยเหลว น้ำผึ้ง เป็นต้น ให้เต็มบาตรพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่นั่งติดๆ เต็มห้องจักรวาลก็ดี ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท
 
                 
           อนึ่ง  ทายกจะถวายเสนาสนะ  มีมหาวิหาร  หรือโลหปราสาทหลายแสนหลัง   ยังมีอานิสงส์น้อยกว่าธรรมทาน  ที่พระพุทธเจ้าอนุโมทนาด้วยพระคาถาเพียง 4 บาท
                 
           การแสดงธรรม  การบอกธรรม  การฟังธรรม  มีอานิสงส์ยิ่งใหญ่และประเสริฐกว่าจีวรทาน  บิณฑบาตทาน  เสนาสนทานทุกอย่าง  เพราะว่าชนทั้งหลายที่ยังเป็นมิจฉาทิฏฐิ  ไม่รู้ถึงคุณของพระรัตนตรัย  จะทำบุญมากมายขนาดนั้นได้ก็ต่อเมื่อได้ฟังธรรม  เพราะถ้าไม่ได้ฟังธรรมจนมีศรัทธา  และรู้ถึงคุณค่าของการทำทานแล้ว  จะถวายข้าวสวยสักทัพพี  ข้าวต้มสักกระบวยก็ยังยาก  แต่หากได้ฟังธรรมจนมีศรัทธา  ความอยากทำทานหรือการทำความดีอื่น ๆ ก็จะเกิดตามมาโดยง่าย  ดังตัวอย่างเรื่องของโรชะมัลลกษัตริย์1  ดังนี้
         
           ครั้งนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปทางพระนครกุสินารา  พร้อมด้วยภิกษุหมู่ใหญ่ประมาณ 1,250 รูป
         
           พวกมัลลกษัตริย์ชาวกุสินารา  ได้ทรงทราบข่าว  จึงได้ตั้งกติกาไว้ว่า  ผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน  500  กษาปน์
         
           โรชะมัลลกษัตริย์ซึ่งเป็นพระสหายของพระอานนท์ไม่มีศรัทธา  แต่เพราะกลัวว่าจะถูกปรับสินไหมจึงให้การต้อนรับพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็น อย่างดี  ครั้นรับเสด็จแล้ว  จึงเข้าไปหาท่านพระอานนท์
           
           ท่านพระอานนท์ชื่นชมเขาว่า
           
           "ท่านโรชะ   การรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าของท่านโอฬารแท้"
           
           โรชะมัลลกษัตริย์ตรัสว่า
           
           "พระ คุณเจ้าอานนท์  พระพุทธเจ้าก็ดี  พระธรรมก็ดี  พระสงฆ์ก็ดี  ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าใหญ่โต  พวกญาติต่างหากได้ตั้งกติกาไว้ว่า  ผู้ใดไม่ต้อนรับเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า  จะต้องถูกปรับสินไหมเป็นเงิน 500 กษาปน์  ข้าพเจ้านั้นแล  ได้ต้อนรับสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเช่นนี้  เพราะกลัวญาติปรับสินไหม"   
           
           ท่านพระอานนท์แสดงความไม่พอใจว่า  ไนโรชะมัลลกษัตริย์จึงได้ตรัสอย่างนี้  แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า  กราบทูลว่า
           
           "พระพุทธเจ้าข้า  โรชะมัลลกษัตริย์ผู้นี้  เป็นคนมีชื่อเสียง  มีคนรู้จักมาก  และความเลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้  ของคนที่มีผู้รู้จักมากเช่นนี้  มีอิทธิพลมากนัก  ขอประทานพระวโรกาส  ขอพระองค์ทรงกรุณาโปรดบันดาลให้โรชะมัลลกษัตริย์เลื่อมใสในพระธรรมวินัยนี้ ด้วยเถิด  พระพุทธเจ้าข้า"           
           
            พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับคำพระอานนท์แล้ว  ทรงแผ่เมตตาจิตไปยังโรชะมัลลกษัตริย์  แล้วทรงลุกจากที่ประทับเสด็จเข้าพระวิหาร  ครั้นโรชะมัลลกษัตริย์อันพระเมตตาจิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกต้องแล้ว  ได้เที่ยวค้นหาตามวิหารไปทั่วทั้งบริเวณทุกแห่ง  แล้วตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า
             
           "ท่านเจ้าข้า เวลานี้พระผู้มีพระภาคเจ้าอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองคืนั้นประทับอยู่ที่ไหนเพราะข้าพเจ้าใคร่จะเฝ้าพระองค์"       

           ภิกษุทั้งหลายถวายพระพรว่า
             
           "ท่านโรชะ  พระวิหารนั่นเขาปิดพระทวารเสียแล้ว  ขอท่านโปรดสงบเสียง  เสด็จเข้าไปทางพระวิหารนั้น  ค่อยๆย่องเข้าไปที่หน้ามุข  ทรงระแอม  แล้วทรงเคาะพระทวารเถิด  พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงเปิดพระทวารรับท่าน  ถวายพระพร"
       
           โรชะมัลลกษัตริย์ทรงทำตามที่ได้รับแนะนำ  เมื่อเขานั่งต่อเบื้องพนะพักตร์พระศาสดาเรียบร้อยแล้ว  พระพุทธองค์จึงทรงแสดงอนุปุพพิกถา  คือ ทรงประกาศเรื่องทาน  ศีล  สวรรค์  โทษของกามอันต่ำช้า  อันเศร้าหมอง  และอานิสงส์ในการออกจากกามให้เขาฟัง   เมื่อทรงทราบว่าโรชะมัลลกษัตริย์มีจิตคล่อง  มีจิตอ่อน  มีจิตปราศจากนิวรณ์  มีจิตเบิกบาน  มีจิตผ่องใสแล้ว  จึงทรงแสดงพระธรรมเทศนา  คือ  อริยสัจที่ลุ่มลึกยิ่งขึ้นไป  จนโรชะมัลลกษัตริย์มีดวงตาเห็นธรรม  บรรลุเป็นพระโสดาบัน ณ ที่นั้นเอง
       
           โรชะมัลลกษัตริย์ได้ทรงเห็นธรรมแล้ว  ได้รู้ธรรมแจ่มแจ้ง  ได้หยั่งลงสู่ธรรมแล้ว  ข้ามความสงสัยได้แล้ว  ปราศจากถ้อยคำแสดงความสงสัย  ถึงความเป็นผู้องอาจ  ไม่ต้องเชื่อผู้อื่นในคำสอนของพระศาสดา  ได้กราบทูลคำนีแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
         
           "ขอประทานพระวโรกาส  ขอพระคุณเจ้าทั้งหลาย  โปรดรับจีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  และคิลานปัจจัย  เภสัชบริขาร  ของข้าพระพุทธเจ้าผู้เดียว  อย่ารับของคนอื่น"         
           
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
         
           "ดูก่อนโรชะ   แม้อริยบุคคลผู้ใดได้เห็นธรรมแล้วด้วยญาณของพระเสขะ  ด้วยทัสสนะของพระเสขะเหมือนอย่างท่าน  ก็คงมีความปรารถนาอย่างนี้ว่า  โอ  พระคุณเจ้าทั้งหลายคงกรุณารับจีวร  บิณฑบาต  เสนาสนะ  คิลานปัจจัยเภสัชบริขารของพวกเราเท่านั้น  คงไม่รับของผู้อื่นเป็นแน่  เพราะฉะนั้นแล  ภิกษุทั้งหลายจักรับปัจจัยของท่านด้วย  ของคนอื่นด้วย"         

           จากเรื่องข้างต้นจะเห็นได้ว่า  การได้ฟังธรรม  สามารถน้อมนำจิตใจ  และเปลี่ยนบุคคลจากที่ไม่มีความเลื่อมใส  ให้หันกลับมาเลื่อมใส  และยังทำให้เขามีโอกาสที่จะได้สั่งสมบุญใหญ่ติดตัวไปอีกด้วย
         
           อานิสงส์ของธรรมทานอีกประการหนึ่ง  คือ  ยกเว้นพระพุทธเจ้า  และพระปัจเจกพุทธเจ้าแล้ว  แม้พระสาวกทั้งหลาย  เช่น  พระสารีบุตร  ผู้เป็นเลิศด้วยปัญญาญาณ  ขนาดสามารถนับเม็ดฝนที่ตกอยู่ตลอดกัปได้  ก็ยังไม่สามารถบรรลุอริยผล  มีโสดาปัตติผล  เป็นต้น  โดยลำพังตนเองได้  ต่อมาเมื่อได้ฟังธรรมจากพระอัสสชิ  และพระศาสดา  จึงสามารถบรรลุเป็นพระโสดาบัน  และเป็นพระอรหันต์ได้  ดังนั้น  "ธรรมทานจึงประเสริฐที่สุด"  ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบท้าวสักกเทวราชและเทวดาทั้งหลายที่มาทูลถามว่า
                                   
                                 " การให้อะไร                    ชนะการให้ทั้งปวง
                                  รสแห่งอะไร                     ชนะรสแห่งทั้งปวง
                                 ความยินดีในอะไร             ชนะความยินดีทั้งปวง
                                 ความสิ้นไปแห่งอะไร        ชนะทุกข์ทั้งปวง"         
           

           พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตอบว่า
                                     
                                 สพฺพทานํ         ธมฺมทานํ     ชินาติ
                                 สพฺพรสํ             ธมฺมรโส      ชินาติ 
                                 สพฺพรตึ             ธมฺมรติ        ชินาติ
                                 ตณฺหกฺขโย       สพฺพทุกฺขํ    ชินาติ 

                     
                               การให้ธรรมทาน                   ชนะการให้ทั้งปวง
                                 รสแห่งธรรม                          ชนะรสทั้งปวง
                                 ความยินดีในธรรม                 ชนะความยินดีทั้งปวง
                                 ความสิ้นไปแห่งตัณหา         ชนะทุกข์ทั้งปวง
                                 ผู้ใดให้ธรรมเป็นทาน            ผู้นั้นชื่อว่าให้พระนิพพานแก่คน           


28255  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / การทำทานที่สมบูรณ์แบบ เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 03:07:40 pm
การทำทานที่สมบูรณ์แบบ
(บางส่วนจากหนังสือ วิถีชาวพุทธ )
 

ที่มา  http://main.dou.us/                                                                                                                                                                                                                                   
3.5.2 ผลของทานแต่ละประเภท
           ผลของการทำทานโดยทั่วไปแล้ว ย่อมทำให้ผู้ให้เกิดความอิ่มใจ มีความสุขสบายใจ แม้จะทำเพียงเล็กน้อยก็ตาม ก็ให้อานิสงส์แก่ผู้ทำทานนั้นได้ ที่จะไม่ให้ผลนั้นเป็นไม่มี ไม่ว่าสิ่งของที่ต้องการจะทำทานนั้นเป็นอะไรก็ตาม ทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ฯลฯ ยิ่งทำทานถูกเนื้อนาบุญด้วยแล้ว ยิ่งได้รับอานิสงส์มาก
       
           ดังนั้น เมื่อเราทำทาน จึงมักตั้งจิตอธิษฐานขอให้ผลบุญที่ได้จากการทำทานนั้น ส่งผลให้เราได้ในสิ่งที่ปรารถนา ซึ่งนอกจากการอธิษฐานจิตกำกับแล้ว ทานบางอย่างก็ให้อานิสงส์โดยตัวของทานเอง ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสถึงอานิสงส์ของทานในกินททสูตร ดังนี้
       
           ครั้งหนึ่งเทวดาทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า
             
                      "บุคคลให้สิ่งอะไรชื่อว่าให้กำลัง ให้อะไรชื่อว่าให้วรรณะ ให้อะไรชื่อว่าให้ความสุข
           ให้อะไรชื่อว่าให้จักษุ และบุคคลเช่นไรชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ข้าพระองค์ทูลถาม
           ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"
       
           พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
             
                      "ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
                      ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ
                      ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข
                      ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ
                      และผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง
                      ส่วนผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมฤตธรรม

           ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง
           อัตภาพของคนเรานั้น จะดำรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยอาหาร ขาดอาหารแล้วชีวิตไม่อาจดำรงอยู่ได้ แม้บุคคลจะมีรูปร่างใหญ่โตแข็งแรง มีกำลังมากปานใด หากไม่ได้รับประทานอาหาร ร่างกายก็ขาดกำลัง ส่วนบุคคลผู้มีกำลังน้อย ถ้าได้รับประทานอาหารบริบูรณ์แล้ว ย่อมมีกำลังขึ้นมาได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาค-เจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้อาหาร ชื่อว่าให้กำลัง"

        ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ              
 
           บุคคลแม้จะมีผิวพรรณดี มีรูปงามเพียงไร หากแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สกปรก ขาดรุ่งริ่ง หรือไม่มี เสื้อผ้าเลย ย่อมไม่น่าดู ทั้งยังน่าเกลียดและถูกเหยียดหยามได้ ส่วนผู้ที่นุ่งห่ม ด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด เรียบร้อย ย่อมดูงาม เป็นที่ชื่นชมแก่ผู้พบเห็น ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า"ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้วรรณะ"
       
          ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข              

           บุคคลที่เดินทางไกล บางครั้งอาจพบกับความยากลำบาก จากถนนหนทางที่ยาวไกลบ้าง ถนนที่ ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อบ้าง หรือรกไปด้วยหญ้าหรือขวากหนามที่แหลมคม หรือได้รับอันตรายจากสัตว์มี พิษที่หลบซ่อนตัวอยู่บ้าง ต้องเผชิญกับแสงแดดที่แผดกล้า หรือมีฝนลมแรงบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อม ทำให้เกิดความทุกข์ ความไม่สะดวกสบาย หากมีผู้ให้ยานพาหนะไว้ใช้สอย ให้อุปกรณ์ในการเดินทาง เช่น ร่ม รองเท้า หรือคอยถากถางหนทางให้เดินได้สะดวกยิ่งขึ้น สร้างบันได หรือสร้างสะพานไว้ให้ ผู้นั้นย่อม ได้ชื่อว่าให้สิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกสบาย คือให้ความสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข"

         ผู้ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ               
           บุคคลทั้งหลาย แม้มีดวงตาก็ไม่สามารถมองเห็นในที่มืดได้ ต่อเมื่อมีประทีปโคมไฟให้แสงสว่าง จึงสามารถมองเห็นทุกสิ่งทุกอย่างตามความปรารถนาได้ ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ประทีป โคมไฟ ได้ชื่อว่าให้จักษุ"
         
           ผู้ให้ที่พักอาศัย ชื่อว่าให้ทุกสิ่งทุกอย่าง              

           ตามธรรมดาของคนเดินทางไกล ย่อมเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเสียกำลังไป และย่อมปรารถนาที่จะ เข้าสู่ที่พักอาศัย เมื่อพักผ่อนสักครู่ก็จะได้กำลังคืนมา หรือผู้ที่ออกสู่กลางแจ้งต้องตากแดดตากลม ทำให้ผิวพรรณหมองคล้ำลงได้ ต่อเมื่อได้เข้ามาพัก ผิวพรรณจึงกลับงดงามดังเดิม ผู้ที่เดินทางผ่านแดดร้อน อันตรายต่างๆ ในระหว่างทาง เมื่อได้พักอาศัยจะมีความสุขสบายปลอดภัยขึ้น หรือเดินอยู่ในท่ามกลาง แสงแดดร้อนจ้า นัยน์ตาย่อมพร่ามัวไม่แจ่มใส เมื่อได้พักสักครู่ ดวงตาก็ใช้การได้ดีดุจเดิม ดังนั้น พระผู้มี-พระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ที่อยู่อาศัย เป็นผู้ให้ทุกสิ่งทุกอย่าง"
         
          ผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมฤตธรรม             

           ผู้ให้ธรรมะเป็นทาน ได้ชื่อว่าชนะการให้ทั้งปวง เหตุเพราะว่าเมื่อบุคคลได้ฟังธรรม ย่อมเกิดความ ศรัทธาเลื่อมใส รู้จักว่าสิ่งใดเป็นบาป สิ่งใดเป็นบุญ บุคคลจะละบาปได้ก็เพราะได้ฟังธรรม จะทำบุญถวาย ทานได้ก็เพราะได้ฟังธรรม ถ้าไม่ได้ฟังธรรม ก็จะไม่มีศรัทธา เมื่อไม่มีศรัทธา ก็กลายเป็นมิจฉาทิฏฐิ แม้สิ่งของ สักเล็กน้อยเพียงข้าวทัพพีหนึ่ง ก็มิอาจจะให้ได้ จะรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ศีล 227 หรือจะเจริญภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ บูชาพระรัตนตรัย ล้วนทำไม่ได้ทั้งสิ้น แต่จะทำได้ก็เพราะว่าได้ฟังธรรม เพราะฟังแล้วรู้จักบุญบาป ว่าทำอย่างนี้จะได้บุญมาก ทำอย่างนี้จะได้มนุษย์สมบัติ ได้ทิพยสมบัติ ได้นิพพานสมบัติ  ฉะนั้น การให้ธรรมทาน จึงชื่อว่าชนะการให้ทั้งปวง

           ส่วนผู้ใดมีสติปัญญา นำธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสั่งสอนให้แก่ชนทั้งหลาย ผู้นั้นชื่อว่า ได้ให้น้ำอมฤตธรรม เพราะว่าชนทั้งหลายจะสำเร็จมรรคผลนิพพาน จะล่วงชาติกันดาร ชรากันดาร  พยาธิกันดาร มรณกันดารได้ ก็เพราะอาศัยการฟังพระสัทธรรม จะถึงอมตมหานิพพานเป็นที่สุขเกษม ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เป็นเอกันตบรมสุข (สุขอย่างยิ่งโดยส่วนเดียว) เพราะได้อาศัยการฟังพระสัทธรรม
         
           ผู้ที่ได้ฟังธรรมย่อมมีจิตที่ผ่องใส ยกใจของตนเองให้สูงขึ้นจากบาปกรรมทั้งหลาย มีกำลัง ใจทำความดีต่อไป และคุณความดีนั้นก็จะเจริญงอกงาม จนทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด ส่วนผู้แสดงธรรม ก็ได้ชื่อว่าให้สิ่งที่ประเสริฐ ให้เส้นทางของการสร้างความดี พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า "ผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมฤตธรรม"



3.5.3 ทำทานต่างกันให้ผลไม่เหมือนกัน       

           การทำทานทุกครั้งย่อมมีอานิสงส์ดังที่ได้กล่าวมาแล้วแต่ต้น แต่ผลที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่าจะเหมือนกันทุก ครั้งไป เพราะขึ้นอยู่กับปัจจัยรอบข้างหลายประการ ตั้งแต่ความต่างแห่งวัตถุ ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ  ที่ให้เจตนาที่ให้ทาน กาลเวลาที่ให้ทาน หรือผู้รับทานแตกต่างกัน เป็นต้น ซึ่งจะได้ยกความแตกต่างในการทำทานมาดังนี้
       
           ความแตกต่างที่เจตนา 3 กาล               

           ผู้ใดก่อนที่จะให้ทานเกิดความดีใจ (ปุพพเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปฐมวัย (ตั้งแต่เกิดถึงอายุ 25 ปี1) ของผู้นั้นพบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งดีงาม
               
           ผู้ใดขณะที่ให้ทาน เกิดความเลื่อมใส (มุญจนเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติ หน้า ให้ชีวิตในมัชฌิมวัย (อายุ 26-50 ปี) ของผู้นั้น พบกับความสุข ความสบาย บริบูรณ์ด้วยโภคทรัพย์สมบัติ
               
           ผู้ใดหลังจากที่ให้ทานแล้ว เกิดความเบิกบานใจ ไม่เสียดายทรัพย์ (อปราปรเจตนาบริสุทธิ์) อานิสงส์แห่งบุญย่อมส่งผลในภพชาติหน้า ให้ชีวิตในปัจฉิมวัยของผู้นั้น (อายุ 51 ปี ขึ้นไป) ถึงพร้อมด้วย ความสุข สมหวังในสิ่งอันพึงปรารถนาทุกประการ สามารถใช้ทรัพย์ได้อย่างเบิกบานใจ ไม่เป็นเศรษฐีที่มีความตระหนี่ถี่เหนียว
         
           และเมื่อผู้ใดสามารถรักษาเจตนาให้บริสุทธิ์ครบทั้ง 3 ระยะอย่างนี้ได้ ก็ย่อมได้บุญมาก และมีความสุขสมบูรณ์ไปจนตลอดชีวิต
         
           จะเห็นได้ว่าเจตนามี 3 ระยะ แต่ละระยะจะส่งผลในแต่ละวัย ถ้าเจตนาดีจะส่งผลดี แต่ถ้าเจตนา ระยะใดเสียไป วัยนั้นก็จะเสียไปด้วย เช่น ก่อนจะให้ทาน ผู้ให้รู้สึกไม่ค่อยเต็มใจนัก แต่ครั้นถึงเวลาให้ เห็นพระภิกษุจำนวนมากมาย จึงเกิดความเลื่อมใสขึ้น ยินดีในการให้นั้น และหลังจากให้แล้ว นึกถึงบุญทีไร ก็เกิดความปีติเบิกบานใจทุกครั้ง บุญที่ทำนี้จะส่งผลให้เกิดในภพชาติหน้า คือ ในช่วงปฐมวัย จะมีชีวิตที่ลำบาก ต้องต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆ มากมาย ต่อเมื่อถึงมัชฌิมวัย จึงจะเริ่มประสบกับความสุข ความสำเร็จ และ   ปัจฉิมวัยก็มีความสุขความสบาย สามารถใช้ทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สุข และสร้างบุญกุศลได้อย่างเต็มที่ เป็นต้น
         
           อีกนัยหนึ่ง ในภพชาตินี้ ถ้าในช่วงปฐมวัยเรามีความสุขดี มัชฌิมวัยก็เจริญก้าวหน้าในอาชีพการงาน แต่ปัจฉิมวัยกลับพบแต่อุปสรรค มีทรัพย์ก็เสียดาย ไม่กล้าทำบุญ ไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย แสดงว่าในอดีตนั้น เวลาทำบุญ ปุพพเจตนาและมุญจนเจตนาดี แต่อปราปรเจตนาเสียไป ทำบุญแล้วใจไม่เลื่อมใส เสียดายทรัพย์ ดังนี้เป็นต้น
         
           ดังที่ได้เคยกล่าวมาแล้วว่า การให้ทานจะมีผลมากนั้น ต้องขึ้นอยู่กับเจตนาที่บริสุทธิ์ของผู้ให้ทั้ง 3 ระยะ เป็นสำคัญ คือ ก่อนให้ก็ดีใจ ขณะให้ก็เลื่อมใส และหลังจากให้แล้วก็ปีติเบิกบานใจ หากสามารถประคองเจตนาทั้ง 3 ระยะนี้ได้  นั่นย่อมหมายถึงอานิสงส์ผลบุญที่จะเกิดขึ้นอย่างสุดประมาณ ดังที่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน ทานสูตร ว่า
         
                      "ภิกษุทั้งหลาย ทานที่ประกอบด้วยองค์ 6 คือ
    องค์ของผู้ให้ 3 อย่าง
    องค์ ของผู้รับ 3 อย่าง

                      องค์ของผู้ให้ 3 อย่าง (เจตนา 3) คือ ก่อนให้ก็ดีใจ กำลัง ให้ก็มีใจผ่องใส ครั้นให้เสร็จแล้วมีความเบิกบานใจ
         
                      องค์ของผู้รับ 3 อย่าง คือ เป็นผู้ปราศจากราคะ หรือปฏิบัติเพื่อความไม่มีราคะ เป็นผู้ปราศจากโทสะ หรือปฏิบัติเพื่อความไม่มีโทสะ เป็นผู้ปราศจากโมหะ หรือ ปฏิบัติเพื่อความไม่มีโมหะ
         
     ทานที่ประกอบด้วยคุณลักษณะ 6 ประการนี้ เป็นบุญใหญ่ นับไม่ได้ ประมาณไม่ได้ ยิ่งใหญ่นัก เหมือนน้ำในมหาสมุทร นับหรือคำนวณไม่ได้ว่ามี ขนาดเท่าใด ทานที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะ
           เหล่านี้ ย่อมเป็นที่หลั่งไหลแห่งบุญ หลั่งไหลแห่งกุศล นำความสุขมาให้ ให้อารมณ์เลิศด้วยดี
           มีวิบากเป็นสุข เป็นไปพร้อมเพื่อการเกิดขึ้นในสวรรค์ ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ที่น่าปรารถนา     
           น่ารักใคร่ น่าพอใจ"
         
           แต่หากไม่สามารถประคับประคองเจตนาให้บริสุทธิ์ทั้ง 3 ระยะได้ ผลบุญย่อมลดหย่อนลงไป ตามส่วนที่ควรจะเป็น



            แตกต่างที่เนื้อนาบุญ       

           นอกจากเจตนาที่บริสุทธิ์ทั้ง 3 ระยะแล้ว ปฏิคาหกหรือผู้รับทานนั้นก็เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการ หนึ่ง ที่ทำให้ผลแห่งทานมีมากหรือน้อยแตกต่างกัน การให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล มีความบริสุทธิ์ เป็นทักขิไณยบุคคล ชื่อว่าเป็นทานที่มีผลมาก มีผลไพศาล ส่วนทานที่ให้ในบุคคลผู้ทุศีล หามีผลมาก มีอานิสงส์มากไม่ ดังที่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ใน ปสาทสูตร ว่า
       
                      "สงฆ์ทั้งหลายก็ดี คณะทั้งหลายก็ดี มีประมาณเท่าใด สงฆ์สาวกของตถาคต
           ปราชญ์กล่าวว่าเป็นยอดแห่งสงฆ์ แห่งคณะทั้งปวงนั้น สงฆ์สาวกของตถาคตคือใคร
           คือคู่แห่งบุรุษ 4 บุรุษ บุคคล 8 (หมายถึงพระอริยเจ้า) นี่สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ
           ภาคเจ้า ผู้ควรของคำนับ ผู้ควรของต้อนรับ ผู้ควรของทำบุญ ผู้ควรทำอัญชลี
           ผู้เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า สัตว์เหล่าใดเลื่อมใสในพระสงฆ์ สัตว์เหล่า
           นั้นจึงชื่อว่าเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ เมื่อเลื่อมใสในวัตถุอันเลิศ ก็ย่อมได้ผลอันเลิศ"
 


           แตกต่างที่เวลา        

           เวลาในการให้ทานก็มีผลต่ออานิสงส์ที่เกิดขึ้นได้เช่นกัน บางคนเมื่อเกิดความเลื่อมใสในที่ใดก็  ให้ทานทันที แต่กับบางคนจะให้ทานก็ต่อเมื่อตนเองมีความพร้อม หรือบางคนคิดจะให้ก็บังเกิดความลังเล เพราะความตระหนี่เข้าครอบงำ กว่าจะตัดใจให้ได้ก็ล่วงเลยเวลาไปนาน
       
           การให้ทานในเวลาที่แตกต่างกัน ย่อมมีอานิสงส์แตกต่างกันไม่น้อย นั่นคือ ผู้ที่ให้ทานทันทีที่จิต เลื่อมใส โดยไม่รีรอว่าจะต้องพร้อมก่อน ไม่ลังเลหรือนึกเสียดาย ในเวลาบุญให้ผล ก็ย่อมได้รับอานิสงส์  ก่อนใคร และได้อย่างเต็มที่ไม่มีตกหล่น แต่หากทำบุญช้าหรือลังเลอยู่ บาปอกุศลก็ได้ช่อง ถึงคราวบุญ  ส่งผลก็ส่งให้ช้า และได้อย่างไม่เต็มที่อีกด้วย    พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า
                 
                      "บุคคลพึงรีบขวนขวายในความดี  พึงห้ามจิตเสียจากบาป
                       เพราะว่า  เมื่อบุคคลทำความดีช้าอยู่  ใจจะยินดีในบาป


                 
           แตกต่างที่ทำตามลำพังหรือทำร่วมกันเป็นหมู่คณะ
       
           คนบางคนแม้ร่ำรวยเป็นเศรษฐีมีทรัพย์มาก แต่กลับขาดเพื่อนพ้องบริวาร เวลาทำกิจการงานหรือ ประสบอุปสรรคอันใด ก็ไม่มีใครช่วยเหลือเกื้อกูล
       
           คนบางคนแม้ยากจนไม่มีทรัพย์สมบัติ แต่กลับมีเพื่อนพ้อง และญาติพี่น้องบริวารมากมายที่คอยช่วยเหลือให้พึ่งพาได้ในยามที่ต้องการ
       
           คนบางคนไม่มีทั้งทรัพย์สมบัติ ไม่มีทั้งเพื่อนพ้องบริวาร จะทำมาหาเลี้ยงชีพหรือทำกิจการงาน ก็ลำบากยากแค้น
       
           แต่คนบางคนกลับสมบูรณ์พร้อมทั้งทรัพย์สมบัติ ทั้งบริวาร จะทำกิจการงานอันใด ก็สำเร็จ สมปรารถนา ชีวิตจึงมีความสุขอย่างเต็มที่
       
           เหตุที่ทำให้คนเหล่านี้มีความแตกต่างกัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถึงเหตุนั้นไว้ว่า
               
                      "คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง แต่ไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมได้แต่โภคทรัพย์สมบัติ ไม่ได้บริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง แต่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมไม่ได้โภคทรัพย์สมบัติ แต่ได้บริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนไม่ให้ทานด้วยตนเอง และไม่ชักชวนผู้อื่น ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมไม่ได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ
               
                      คนบางคนให้ทานด้วยตนเอง และชักชวนผู้อื่นด้วย ไม่ว่าจะเกิดภพชาติใดๆ
                      ย่อมได้ทั้งโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ
         
           จากพุทธพจน์ที่กล่าวในเบื้องต้น ทำให้เห็นอานิสงส์ของการทำ และไม่ทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้ กับตนเองและผู้อื่นว่า "บุคคลที่ทำบุญเอง แต่ไม่ได้ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นผู้ที่ร่ำรวยด้วยทรัพย์สมบัติ แต่ไม่มีพวกพ้องบริวาร" เพราะว่า เมื่อบุคคลทำบุญด้วยตนเอง ชื่อว่าเขาได้รักษาทรัพย์สมบัติ ของตนไว้ แต่เขาไม่ได้ชักชวนผู้อื่นทำบุญ ชื่อว่าเขาไม่ได้ติดตามรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น เสมือนปล่อยให้ทรัพย์นั้นถูกไฟไหม้จนหมดสิ้น ฉะนั้นเวลาไปเกิดในภพชาติใด จึงมีโภคทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ไม่มีบริวาร เมื่อทำกิจการใดๆ ก็ต้องเหน็ดเหนื่อยยากลำบากมาก ไม่มีคนช่วยเหลือ เพราะขาดพวกพ้อง
       
           "บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญเอง ได้แต่ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นคนยากจน แต่มีพวกพ้องบริวาร"
       
           เพราะว่าไม่รักษาทรัพย์สมบัติของตนเองไว้ ได้แต่ตามรักษาทรัพย์สมบัติให้คนอื่น ฉะนั้นไปเกิดใน ภพชาติใด ตนจึงต้องลำบาก และยากจนข้นแค้น แต่เวลาจะทำอะไร ก็มีคนคอยช่วยเหลือสนับสนุนตลอดเวลา
       
           "บุคคลที่ไม่ได้ทำบุญด้วยตนเอง และไม่ชักชวนผู้อื่นทำบุญ จะไปเกิดเป็นคนยากจน ทั้งไม่มีพวกพ้องบริวาร"
 
           เพราะว่า ไม่รักษาทั้งทรัพย์สมบัติของตนเองและผู้อื่น บางทีถึงกับขัดขวางคนอื่นไม่ให้ทำอีก ฉะนั้นไปเกิดในภพชาติใด ก็พบแต่ความลำบากยากจน ต่ำต้อย ไม่มีพวกพ้อง จะทำอะไรก็ลำบากมาก และไปเกิดกับกลุ่มชนที่มีความลำบากด้วยกัน มีแต่คนรังเกียจ
         
           ส่วน "บุคคลที่ทำบุญเอง และชักชวนผู้อื่นทำบุญด้วย ย่อมร่ำรวยด้วยโภคทรัพย์สมบัติ และบริวารสมบัติ"         
           เพราะว่า นอกจากตนเองได้รักษาทรัพย์สมบัติของตนไว้ดีแล้ว ยังติดตามไปรักษาทรัพย์สมบัติให้ผู้อื่น ฉะนั้นไปเกิดในภพชาติใด ก็จะมั่งคั่งร่ำรวย และมีแต่คนที่ซื่อสัตย์สุจริต บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ มาเป็นพวกพ้องบริวาร คนภัยคนพาลเข้าใกล้ไม่ได้ จะทำสิ่งใดก็สำเร็จได้โดยง่าย
         
           อานิสงส์ของทานมีคุณอย่างไม่อาจประมาณหรือนับได้ เราต่างโชคดีที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้พบพระพุทธศาสนา ได้ศึกษาคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จนรู้และเข้าใจ ว่าจะต้องใช้เวลาของชีวิตที่ค่อยๆ หมดไปด้วยความไม่ประมาท ด้วยการสั่งสมบุญ มีทานกุศลเป็นต้น
         
           ดังนั้น จงอย่านิ่งนอนใจ พึงขวนขวายในการให้ทาน ทั้งทำด้วยตนเอง ทั้งชักชวนผู้อื่น ทำจนกระทั่งเกิดเป็นนิสัยรักการให้ติดตัวไปข้ามภพข้ามชาติ และพึงระลึกไว้เสมอว่า เมื่อเรามีจิตเลื่อมใสในที่ใด ก็ต้องรีบให้ในที่นั้น อย่ามัวแต่ชักช้าชะล่าใจ จนกิเลสหรือความตระหนี่เข้ามาครอบงำใจได้เด็ดขาด เมื่อมีมากก็ให้มาก มีน้อยก็ให้น้อย ค่อยๆ สั่งสมบุญไปอย่างเต็มกำลัง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า
         
                      "บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า บุญมีประมาณน้อย จักไม่มาถึง แม้หม้อน้ำ
           ยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาดๆ) ได้ฉันใด ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา)   
           สั่งสมบุญแม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น"


28256  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ผมขอเชิญอาจารย์สายทอง ช่วยมาตอบปัญหา ประจำอยู่ห้องสอบถามปัญหาชีวิต เมื่อ: มกราคม 12, 2010, 11:53:51 am
ผิดคะ ผิืดแน่นอน เพราะใจของหนูรู้คำตอบแล้วตั้งแต่แรกว่าผิด

แต่ความรัก ( ความหลง ) อาจจะทำให้ตาบอดได้คะ
เพราะฉันเคยเห็นหนุ่มสาวที่เป็นลูกศิษย์ ที่มาเรียนมักจะเสียเพราะเรื่องความรักเป็นส่วนใหญ่ถึง 80 %
บางคนถึงกับจบการศึกษาก่อนกำหนดด้วยการ ลาออกจากการศึกษา เลยคะและบั้นปลายชีวิตที่เห็นแล้วประสพความสำเร็จนั้น เห็นมีน้อยมากคะ 80 % ก็ประมาณ 5 % เท่านั้นที่สามารถประคองสู้ชีวิตด้วยได้ แต่พอไปไล่ดูการประคองชีวิตของ 5% นี้แล้วกับปรากฏว่าเป็นเพราะศาสนอยู่ในสายเลือด เป็นคนใจดี ทำบุญสุนทาน รู้จักฟังธรรม และเพราะบิดา มารดา จะอยู่ตรงข้ามกับพวกเขาคือเป็นมิจฉาทิฏฐิ คะ


  อาจารย์สายทอง ตอบได้ดีครับ อยากเห็นอาจารย์ตอบปัญหาชีวิตให้คนในวัยเรียนบ่อยๆ

โดยเฉพาะปัญหาของกลุ่มผู้หญิง หรือ ผู้มีใจเป็นหญิง รวมทั้งทอมด้วยนะครับ

 กลุ่มนี้มีอารมณ์ที่อ่อนไหวมาก (sensitive) ควรได้รับการแนะนำหรือให้ความเป็นเพื่อน

จากผู้หญิงด้วยกัน ผมว่าเรื่องนี้อาจารย์สายทองทราบดีอยู่แล้ว

ปัญหาของผู้หญิง ผู้ชายอย่างผมไม่มีวันเข้าใจ

ผมขอเชิญอาจารย์สายทองมาตอบประจำอยู่ห้องสอบถามปัญหาชีวิต

หรือถ้าใครมาโพสต์ที่ห้องส่งจิตออกนอกก็รบกวนอาจารย์ด้วย

ผมคิดว่าผู้หญิงหลายคนกำลังรอคำแนะนำจากอาจารย์อยู่

 Please come for all of woman.
28257  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คำกรวดน้ำพระเจ้าพิมพิสารนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 05:26:26 pm
คำกรวดน้ำพระเจ้าพิมพิสารนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ

กรวดน้ำอิมินาแปล


(ประธานนำ)หันทะ มะยัง อุททิสสะนาธิฏฐานะคาถาโย ภะณามะ  เส
 
อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ                    ด้วยบุญนี้  อุทิศให้
อุปัชฌายา  คุณุตตะรา                      อุปัชฌาย์  ผู้เลิศคุณ
อาจะริยูปะการา  จะ                          แลอาจารย์  ผู้เกื้อหนุน
มาตาปิตา จะ ญาตะกา                      ทั้งพ่อแม่ แลปวงญาติ
สุริโย จันทิมา ราชา                          สูรย์จันทร์  แลราชา
คุณะวันตา  นะราปิ  จะ                       ผู้ทรงคุณ  หรือสูงชาติ
พรัหมะมารา จะ อินทา จะ                    พรหม  มาร และอินทราช
โลกะปาลา จะ เทวะตา                      ทั้งทวยเทพ และโลกบาล
ยะโม  มิตตา  มะนุสสา  จะ                ยมราช  มนุษย์มิตร
มัชฌัตตา  เวริกาปิ  จะ                     ผู้เป็นกลาง  ผู้จ้องผลาญ
สัพเพ สัตตา สุขี โหนตุ               ขอให้เป็นสุขศานติ์,ทุกข์ทั่วหน้าอย่าทุกข์ทน
ปุญญานิ   ปะกะตานิ  เม                      บุญผอง ที่ข้าทำ จงช่วยอำนวย ศุภผล
สุขัง  จะ  ติวิธัง  เทนตุ                      ให้สุข  สามอย่างล้น
ขิปปัง  ปาเปถะ โว มะตัง                   ให้ลุถึง  นิพพานพลัน


                   อิมินา  ปุญญะกัมเมนะ           ด้วยบุญนี้  ที่เราทำ
อิมินา  อุททิเสนะ  จะ                       แลอุทิศ  ให้ปวงสัตว์
ขิปปาหัง  สุละเภ  เจวะ                     เราพลันได้  ซึ่งการตัด
ตัณหุปาทานะเฉทะนัง                       ตัวตัณหา  อุปาทาน
เย  สันตาเน  หินา  ธัมมา                 สิ่งชั่ว  ในดวงใจ
ยาวะ  นิพพานะโต  มะมัง                 กว่าเราจะถึงนิพพาน
นัสสันตุ  สัพพะทา  เยวะ                 มะลายสิ้น  จากสันดาน
ยัตถะ  ชาโต  ภะเว  ภะเว                ทุก ๆ  ภพ ที่เราเกิด
อุชุจิตตัง  สะติปัญญา                     มีจิตตรง และสติ ทั้งปัญญา อันประเสริฐ
สัลเลโข  วิริยัมหินา                        พร้อมทั้ง  ความเพียรเลิศ เป็นเครื่องขูดกิเลสหาย
มารา  ละภันตุ  โนกาสัง                  โอกาส อย่าพึงมี แก่หมู่มารทั้งหลาย
กาตุญจะ  วิริเยสุ  เม                       ป็นช่องประทุษร้าย ทำลายล้างความเพียรจม
พุทธาทิปะวะโร  นาโถ                       พระพุทธะผู้บวรนาถ
ธัมโม  นาโถ  วะรุตตะโม                   พระธรรมที่  พึ่งอุดม
นาโถ  ปัจเจกะพุทโธ  จะ                   พระปัจเจกะพุทธะสมทบ
สังโฆ  นาโถตตะโร  มะมัง                 พระสงฆ์ ที่พึ่งผยอง
เตโสตตะมานุภาเวนะ                        ด้วยอานุภาพนั้น
มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา                    ขอหมู่มาร  อย่าได้ช่อง
ทะสะปุญญานุภาเวนะ                      ด้วยเดชบุญ  ทั้งสิบป้อง
มาโรกาสัง  ละภันตุ  มา                    อย่าเปิดโอกาสแก่มาร  เทอญ.



นมัสการพระอรหันต์    ๘  ทิศ


  หันทะ  มะยัง สะระภัญเญนะ  พุทธะมังคะละคาถาโย  ภะณามะ เส.

          สัมพุทโธ  ทิปะทัง  เสฏโฐ              นิสินโน  เจวะ  มัชฌิเม
          โกณฑัญโญ  ปุพพะภาเค จะ         อาคะเณยเย  จะ  กัสสะโป
          สารีปุตโต  จะ  ทักขิเณ                 หะระติเย  อุปาลี  จะ
          ปัจฉิเมปิ  จะ  อานันโท                 พายัพเพ  จะ  คะวัมปะติ
          โมคคัลลาโน  จะ  อุตตะเร             อิสาเณปิ  จะ  ราหุโล
          อิเม  โข  มังคะลา  พุทธา              สัพเพ  อิธะ  ปะติฏฐิตา
          วันทิตา  เต  จะ  อัมเหหิ                สักกาเรหิ  จะ  ปูชิตา
          เอเตสัง  อานุภาเวนะ                    สัพพะโสตถี  ภะวันตุ  โน
                             อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
                             นะมัสสะมาโน  ระตะนัตตะยัง  ยัง
                             ปุญญาภิสันทัง  วิปุลัง  อะลัตถัง
                             ตัสสานุภาเวนะ  หะตันตะราโย  ฯ

 


คำกรวดน้ำของพระเจ้าพิมพิสาร

อิทัง  เม  ญาตีนัง โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย.
ขอบุญนี้จงสำเร็จ แก่ญาติทั้งหลาย ของข้าพเจ้าเถิด
ขอญาติทั้งหลายจงเป็นสุข ๆ เถิด.

ที่มา http://www.watnongjanson.com/Kuad%20nam.htm

28258  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 05:18:38 pm


    ๘. พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา – ประจำทิศอิสาณ

    พระราหุล เป็นโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะ (พุทธโอรส) กับพระนางยโสธรา หรือพิมพา ประสูติวันเดียวกันกับที่พระบิดาเสด็จออกบวช ดังนั้น ท่านจึงเจริญพระชันษาเติบโตขึ้นมาโดยมิเคยเห็นพระพักตร์รู้จักพระบิดาเลย จวบจนครั้นเมื่อพระบรมศาสดาตรัสรู้แล้ว เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ ประทับอยู่ที่นิโครธารามที่พระประยูรญาติสร้างถวาย

        ในวันรุ่งขึ้นเวลาเช้าทรงปฏิบัติ พุทธกิจ เสด็จเข้าไปบิณฑบาตในพระนครกบิลพัสดุ์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระเจ้าสุทโธทนะพระบิดาในระหว่างถนน ให้พระบิดาดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติผล ในวันที่ ๒ เสด็จเข้าไปรับบิณฑบาตในพระราชนิเวศน์ ทรงแสดงธรรมโปรดพระบิดาและพระนางมหาปชาบดีโคตรมี เมื่อจบพระธรรมเทศนาพระบิดาดำรงอยู่ในพระสกทาคามี ส่วนพระนางมหาปชาบดีโคตรมี ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล

        ครั้นล่วงถึงวันที่ ๗ แห่งการเสด็จเยือนพระนครกบิลพัสดุ์ พระนางพิมพาราชเทวี ประดับตกแต่งองค์ราหุลกุมารราชโอรสด้วยอาภรณ์อันวิจิตรแล้วตรัสสอนให้ไปทูล ขอทรัพย์สมบัตินั้นในฐานะเป็นทายาทสืบสันติวงศ์

        เมื่อราหุลกุมาร เสด็จเข้าไปเฝ้าสมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบถวายบังคมแล้ว ทอดพระเนตรดูพระสัพพัญญู บังเกิดความรักในพระบิดา ทรงปราโมทย์โสมนัสตรัสเรื่องอื่น ๆ โดยมิได้กราบทูลขอทรัพย์สมบัติพระพุทธองค์ ทรงพระพุทธองค์กระทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จกลับสู่นิโครธาราม ส่วนราหุลกุมารก็เสด็จติดตามไปจนถึงอาวาส โดยไม่มีผู้ใดสามารถกราบทูลทัดทานได้ เมื่อสบโอกาสจึงกราบทูลขอทรัพย์สมบัติอันเป็นสิ่งที่รัชทายาทผู้สืบราชสันติ วงศ์สันติวงศ์จะพึงได้รับ



        พระบรมศาสดา ได้ทรงสดับดังนั้นแล้วทรงดำริว่า “ราหุลกุมารปรารถนาทรัพย์สมบัติอันเป็นของพระบิดา ถ้าตถาคตจะให้ขุมทองแก่เธอแล้ว ก็จะเป็นสิ่งชักนำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร ด้วยเป็นสิ่งหาสาระแม้สักนิดหนึ่งก็หามีไม่ อย่ากระนั้นเลย เราจะมอบอริยทรัพย์อันเป็นสิ่งประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนานี้แก่เธอ ซึ่งจะจำให้เธอเป็นโลกุตรทายาท สืบสกุลในพุทธวงศ์นี้สืบไป"

        ครั้นแล้วทรงมีพระดำรัสสั่งให้พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร จัดการบรรพชาให้แก่ราหุลกุมารในวันนั้น ด้วยวิธีให้รับไตรสรณคมน์ และสามเณรราหุล ได้ชื่อว่าเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา

        ฝ่ายพระเจ้าสุทโธทนะ เมื่อทราบว่าราหุลกุมารบรรพชาแล้ว ทรงโทมนัสเป็นอย่างยิ่งด้วยหวังไว้แต่เดิมว่า เมื่อพระราชโอรสสิทธัตถะออกบวชแล้วก็หวังจะได้นันทกุมารสืบราชสมบัติต่อ แต่พระบรมศาสนาก็ทรงพานันทะออกบวช ทำให้ผิดหวังเป็นคำรบสอง แต่ก็ยังมีหวังอยู่ว่าจะให้ราหุลกุมารหลานรัก เป็นทายาทสืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้สืบราชสมบัติต่อไป แต่แล้วพระพุทธองค์ก็ทรงนำไปบวชเสียอีก จึงหมดสิ้นผู้จะสืบสายรัชทายาท ทรงดำริต่อไปอีกว่า หากเป็นเช่นนี้อีกไม่นาน บรรดากุมารในศากยสกุลก็จะถูกนำไปบวชจนหมดสิ้น อนึ่ง ความทุกข์โทมนัสอย่างนี้ก็จะเกิดแก่บิดามารดาในสกุลอื่น ๆ ด้วยเหตุสิ้นคนสืบสกุล จึงรีบเสด็จไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าที่นิโครธาราม กราบทูลขอประทานพระพุทธอนุญาตว่า

        “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ นับต่อแต่นี้ไป ถ้ากุลบุตรผู้ใดแม้ประสงค์จะบวชในพระพุทธศาสนา หากมารดาบิดายังมิยอมพร้อมใจกันอนุญาตให้บวชแล้วขอได้โปรดงดเสีย อย่าได้ให้บรรพชาแก่กุลบุตรผู้นั้นเลย” พระบรมศาสดา ได้ประทานพรตามที่พระพุทธบิดากราบทูลขอ แล้วถวายพระพรลา พาพระนันทะ และสามเณรราหุล พร้อมด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์เสด็จกลับสู่มหานครราชคฤห์


        เมื่อ ราหุลกุมาร บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว ตามเสด็จพระบรมศาสดา และพระสารีบุตร เถระอุปัชฌาย์ของตน ไปยังสถานที่ต่าง ๆ เมื่ออายุครบก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ วันหนึ่ง ขณะที่พระราหุลพักอยู่ที่สวนมะม่วง ในกรุงราชคฤห์ พระบรมศาสดาเสด็จไปที่นั่น ทรงแสดงพระธรรมเทศนาราหุโลวาทสูตร ให้ท่านฟังหลังจากนั้นทรงสอนในทางวิปัสสนา ทรงยกอายตนะภายใน และภายนอกขึ้นแสดงพระราหุล ส่งจิตไปตามกระแสพระธรรมเทศนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


        พระราหุล เป็นผู้มีอัธยาศัยใคร่ต่อการศึกษาพระธรรมวินัย ทุกวันที่ท่านตื่นขึ้นมาเวลาเช้า ท่านจะกำทรายให้เต็มฝ่าพระหัตถ์แล้วตั้งความปรารถนาว่า “วันนี้ ข้าพเจ้าพึงได้รับคำสั่งสอนจากสำนักพระบรมศาสดา สำนักพระอุปัชฌาย์และสำนักพระอาจารย์ทั้งหลายให้ได้ประมาณเท่าเม็ดทรายใน กำมือของข้าพเจ้านี้” ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา ให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา

        ในขณะเมื่อท่านยังเป็นสามเณรเล็ก ๆ อยู่นั้น ท่านเป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายจน เป็นที่เลื่องลือในหมู่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่า ครั้งนั้นพุทธบริษัททั้งหลาย ฟังธรรมกันยามค่ำคืน โดยมีพระเถระผลัดเปลี่ยนกันแสดงธรรม เมื่อสิ้นสุดการแสดงธรรมแล้ว พระเถระผู้ใหญ่ต่างก็กลับที่พักของตน ส่วนพระภิกษุผู้บวชใหม่ และสามเณรรวมทั้งอุบาสก ที่ไม่สามารถจะกลับที่พักได้เพราะค่ำมือจึงอาศัยนอนกันในโรงธรรมนั้น เนื่องจากเป็นพระบวชใหม่ จึงไม่สำรวมในการนอน ทำให้เกิดภาพที่ไม่น่าดู รุ่งเช้า อุบาสกทั้งหลายพากันติเตียนและความทราบไปถึงพระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์จึงรับสั่งประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบท “ห้ามภิกษุนอนร่วมในที่มุงที่บังเดียวกันกับอนุปสัมบัน (อนุปสัมบัน คือ ผู้มิใช่พระภิกษุ) ถ้านอนร่วมต้องอาบัติปาจิตตีย์”

        ครั้นในคืนต่อมา สามเณรไม่สามารถจะนอนร่วมกับพระภิกษุได้ และเมื่อไม่มีที่จะนอน พระราหุลท่านจึงเข้าไปนอนในเว็จกุฏี (ส้วม) ของพระบรมศาสดา เมื่อเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธองค์เสด็จไปพบเธอนอนในที่นั้น และทรงทราบว่าเพราะเธอไม่มีที่นอนอันเนื่องมาจากพุทธบัญญัติทำให้พระองค์สลด พระทัยจึงดำริว่า “ต่อไปภายหน้า สามเณรน้อย ๆ จะได้รับความลำบาก เพราะขาดผู้ดูแลเอาใจใส่” จึงรับสั่งให้ประชุมสงฆ์แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มเติมว่า:-“ให้ภิกษุนอนร่วมกับอนุปสัมบันได้ ๓ คืน ถ้าเกิน ๓ คืน พระภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์”

        ท่านพระราหุลเถระ ดำรงอายุ สังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพานที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ณ ดาวดึงส์เทวโลก ท่านมีอายุไม่มากนัก เพราะท่านนิพพานก่อนพระพุทธองค์ผู้เป็นพระบิดา ก่อนพระสารีบุตรผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ ก่อนพระมหาโมคคัลลานะผู้เป็นพระอาจารย์

        ขอ ให้ผลของกุศลที่ข้าพเจ้าได้เรียบเรียงเนื้อความมาทั้งหมดนี้ ด้วยความสักการะบูชายิ่ง จงเป็นตบะ เดชะ พลวะปัจจัย ให้ชีวิตของข้าพเจ้า มีความเจริญรุ่งเรื่องในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ.


 



ที่มา
การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ตอน ๑
http://www.thaimisc....gaew&topic=9983

การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ตอน ๒
http://www.thaimisc....gaew&topic=9986

การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ตอน ๓
http://www.thaimisc....gaew&topic=9992

การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ตอน ๔
http://www.thaimisc....aew&topic=10001

เครดิต   http://larndham.org/



28259  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 05:12:59 pm

    ๖. พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)

        พระควัมปติ เป็นกลุ่มเพื่อนพระยสะ ตั้งแต่ครั้งยังเป็นฆราวาส และได้ออกบวชตาม พระกลุ่มนี้มี ๕๔ รูป แต่ที่ปรากฏชื่อและได้รับจัดเข้าเป็นพระอสีติมหาสาวกมีเพียง ๔ รูป คือ พระวิมละ พระสุพาหุ พระปุณณชิ และพระควัมปติ

        พระควัมปติ เกิดในวรรณะไวศยะ ในตระกูลเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี แคว้นกาสี เมื่อท่านทราบว่า ยสะ ออกบวช ท่านและสหาย จึงพร้อมใจกันเดินทางไปหาพระยสะ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ด้วยความศรัทธา พระยสะได้พาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า หลังจากกราบทูลให้ทรงทราบถึงประวัติส่วนตัวของแต่ละท่านแล้วได้ทูลขอให้พระ พุทธเจ้าแสดงธรรมให้ฟัง พระพุทธเจ้าได้ตรวจดูอุปนิสัยแล้วก็ได้ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔ ให้ฟังตามลำดับ เมื่อจบพระธรรมเทศนา ทั้ง ๔ ท่านก็ได้ดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นพระโสดาบัน ครั้นแล้วได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงบวชให้ด้วยวิธีบวชแบบเอหิภิกขุอุปสัมปทาอย่างที่ทรงประทานแก่ พระปัญจวัคคีย์

        หลังจากบวชแล้ว พระพุทธเจ้ายังคงแสดงธรรมโปรดอยู่เนือง ๆ ไม่ช้าก็ได้บรรลุอรหัตผล และอยู่ในคณะพระธรรมจาริกรุ่นแรกที่พระพุทธเจ้าทรงส่งไปประกาศพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๖๐ รูป

        พระควัมปติ คราวหนึ่งได้จำพรรษาอยู่ ณ ป่าอัญชนวัน เมืองสาเกตกับพระพุทธเจ้าและ พระภิกษุสามเณรจำนวนมากปรากฏว่า เสนาสนะไม่พอ พระภิกษุและสามเณรที่ไม่ได้เสนาสนะต้องพากันไปจำวัดตามหาดทรายชายฝั่งแม่น้ำ สรภูซึ่งอยู่ใกล้ ๆ วิหาร ตกเที่ยงคืนเกิดฝนตกน้ำหลาก พระเณรต้องหนีน้ำกันจ้าละหวั่น ความทราบถึงพระพุทธเจ้า พระองค์จึงทรง ใช้พระควัมปติให้ไปใช้ฤทธิ์กั้นสายน้ำช่วยพระและเณรที่กำลังเดือดร้อน ท่านไปตามพุทธบัญชาแล้วใช้พลังฤทธิ์กั้นสายน้ำไม่ให้ไหลมารบกวนพระและเณรอีก อยู่มาวันหนึ่งท่านกำลังนั่งแสดงธรรมให้เทวดาฟัง พระพุทธเจ้าทอดพระเนตรเห็น จึงตรัสสรรเสริญท่านว่า เทวดาและมนุษย์ต่างพากันนอบน้อมพระควัมปติ ผู้ใช้ฤทธิ์ห้ามแม่น้ำสรภูไม่ให้ไหล


    พระควัมปติมิได้มีตำแหน่งเอตทัคคะ ทั้งนี้เพราะท่านมิได้ตั้งความปรารถนาตำแหน่งเอตทัคคะใด ๆ ไว้แต่อดีตชาติเช่นเดียวกับพระยสะ เพียงแต่ได้ตั้งจิตปรารถนาเพื่อการเป็นพระมหาสาวกไว้เท่านั้น

    แต่ในหนังสือตำนานพระพุทธสาวก ภาค ๑ โดยพระธรรมโกศาจารย์ นั้นได้เขียนไว้ว่า..พระควัมปติ - ประจำทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ) หมายถึง พระมหากัจจายนะ

    พระมหากัจจายนะ เป็นบุตรของพราหมณ์ปุโรหิตประจำราชสำนักพระเจ้าจัณฑปัชโชต กรุงอุชเชนี เมืองหลวงของแคว้นอวันตี พระ กัจจายนะเดิมเป็นคนมีรูปร่างงาม และเป็นคนใฝ่เรียนรู้อยู่ตลอดเวลาคือ ได้ศึกษาพระเวทต่างๆ จนมีความรู้แตกฉาน ต่อมาเมื่อบิดาของท่านได้เสียชีวิตลง ท่านก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปุโรหิตในพระราชสำนักสืบแทนบิดาต่อไป

    พระเจ้าจัณฑปัชโชตทรงทราบว่าพระ พุทธเจ้าเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงมีพระราชประสงค์จะกราบทูลอาราธนาให้พระพุทธองค์เสด็จมาโปรดชาวเมืองอุชเช นี จึงรับสั่งให้ท่านกัจจายนะไปกราบทูลเชิญเสด็จ ท่านกัจจายนะได้ทูลของพระบรมราชานุญาตต่อพระเจ้าจัณฑปัชโชตที่จะอุปสมบทด้วย เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตแล้ว ท่านกัจจายนะพร้อมด้วยบริวาร ๗ คน ก็ได้เดินทางไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้ฟังธรรมเทศนาจนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ และทูลของอุปสมบท

    หลังอุปสมบทแล้วไม่นาน ท่านพระกัจจายนะได้กราบทูลอาราธนาให้พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังเมืองเมืองอุชเชนี พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า"เธอไปเองเถิด เมื่อเธอไปแล้ว พระเจ้าจัณฑปัชโชตจักทรงเลื่อมใส"


    พระมหากัจจายนะ พร้อมกับพระภิกษุ ๗ รูปนั้น จึงได้เดินกลับไปยังเมืองอุชเชนี และได้แสดงธรรมให้พระเจ้าจัณฑปัชโชตและชาวเมืองอุชเชนีฟัง เมื่อพระเจ้าจัณฑปัชโชตได้ฟังธรรมที่พระมหากัจจายนะแสดงนั้น ก็ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแล้วประกาศตนเป็นอุบาสกนับถือพระรัตนตรัยเป็น สรณะ พร้อมด้วยพสกนิกรเป็นจำนวนมาก
    ท่านพระมหากัจจายนะได้แสดง "ภัทเทกรัตตสูตร" จนได้รับคำชมเชยจากพระพุทธเจ้า และได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าในตำแหน่งเอตทัคคะ(เป็นเลิศกว่าผู้อื่น)ในทางขยายความแห่งภาษิตให้พิสดาร

    พระมหากัจจายนะ มีชื่ออีกชื่อว่า พระควัมปติ แต่มหาชนไม่นิยมเรียก เพราะชื่อไปซ้ำกับสาวกอีกองค์หนึ่งที่เป็นสหายของพระยสะ จึงคงเรียกชื่อท่านตามสกุลว่า “มหากัจจายนะ”แต่เติมคำว่า มหาเข้าไปด้วยท่านเป็นเถระชั้นมหาสาวกเช่นเดียวกับพระมหากัสสปะ

        และการที่ท่านพระมหากัจจายนะเป็นผู้ที่มีรูปงาม ทำให้พระภิกษุอื่นๆ เมื่อเห็นท่านแต่ไกลเข้าใจผิดว่าพระพุทธองค์กำลังเสด็จมา จึงพากันลุกขึ้นยืนต้อนรับบ่อยครั้ง ครั้นเข้ามาใกล้จึงประจักษ์ชัดว่าเป็นพระมหากัจจายนะ(พระควัมปติ) จึงได้พากันให้ชื่อใหม่ท่านว่า “ภควัมปติ” ซึ่งแปลว่า เหมือนพระผู้มีพระภาค เมื่อท่านทราบเรื่องนี้เข้า เกรงว่าจะเป็นโทษซึ่งพาให้คนทั้งหลายเข้าใจผิดเพราะร่างกายของท่านไปเหมือน พระพุทธเจ้าเข้า ท่านจึงได้อธิษฐานเปลี่ยนรูปเพื่อให้ไม่เหมือนพระศาสดา ด้วยอำนาจแห่งฌานอภิญญา รูปของท่านจึงอ้วนท้องยุ้ยไม่งามเหมือนเมื่อก่อน ใครเห็นก็จำได้ไม่เกิดความเข้าใจผิด

        บ้างก็กล่าวว่า เพราะมีเกิดเรื่องประหลาดขึ้น คือมีบุตรเศรษฐีคนหนึ่ง เห็นว่าท่านมีรูปงาม นึกอกุศลอยากได้ภรรยาที่มีลักษณะงามเหมือนท่าน ทันใดนั้นเขาก็กลายเป็นสตรีเพศทันที ด้วยความละอายเขาจึงได้ไปอาศัยอยู่ที่เมืองตักศิลาจนมีสามีและบุตร ต่อมาเมื่อได้ไปขอขมาท่านพระมหากัจจายนะ จึงได้กลับเพศเป็นชายดังเดิม ว่ากันว่าตั้งแต่นั้นมา ท่านพระมหากัจจายนะได้อธิษฐานให้ร่างกายของท่านอ้วนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนชาวพุทธยุคหลังได้สร้างรูปพระอ้วนลงพุงเป็นอนุสรณ์ให้แก่ท่าน เรียกกันว่า "พระสังกัจจายน์"หรือ "พระสังกัจจาย"

        พระมหากัจจยานะได้ทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนาไปยังแคว้นอวันตี และได้นำกุลบุตรออกบวชใน พระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก ท่านได้นิพพานหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานไม่นานนัก


   
 ๗. พระมหาโมคคัลลานเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีฤทธิ์ – ประจำทิศอุดร (เหนือ)

        พระมหาโมคคัลลานะ เป็นบุตรพราหมณ์นายบ้านในหมู่บ้านโกลิตคาม ได้ชื่อว่า “โกลิตะ” ตามชื่อของหมู่บ้าน มารดาชื่อ โมคคัลลี คนทั่วไปจึงเรียกท่านว่า “โมคคัลลานะ” ตามชื่อของมารดา ท่านเป็นสหายกับอุปติสสมาณพ เที่ยวแสวงหาความสุขความสำราญ ตามประสาวัยรุ่น และพ่อแม่มีฐานะร่ำรวย นอกจากนี้ยังมีอุปนิสัยใจคอเหมือนกัน และยังได้ออกบวชพร้อมกันอีกด้วย

        พระมหาโมคคัลลานะ เมื่ออุปสมบทได้ ๗ วัน ได้ไปทำความเพียรอยู่ที่ป่าใกล้บ้านกัลป์ลาวาลมุตตาคาม แขวงมคธ ถูกถีนมิทธารมณ์ คือ ความง่วงเหงาเข้าครอบงำ ไม่สามารถจะทำความเพียรได้ ขณะนั้น พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ ณ สวนเภสกลาวัน ใกล้เมืองสุงสุมารคิรี อันเป็นเมืองหลวงของแคว้นภัคคะ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าพระโมคคัลลานะ โงกง่วงอยู่ จึงทรงทำปาฏิหาริย์ให้เห็นปรากฏประหนึ่งว่าเสด็จประทับอยู่ตรงหน้า ทรงแสดงอุบายสำหรับระงับความง่วงตามลำดับ ดังนี้:-

        ๑. โมคคัลลานะ เมื่อเธอมีสัญญาอย่างใดแล้ว เกิดความง่วงขึ้น เธอจงทำไว้ในใจซึ่งสัญญาอย่างนั้นให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๒. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรตรึกตรองถึงธรรมที่ได้เรียนมาแล้ว ได้ฟังมาแล้วให้มาก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๓. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสาธยายธรรมที่ได้เรียนได้ฟังมาแล้วให้มากจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๔. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรยอนช่วงหูทั้งสองข้าง และลูบตัวด้วยฝ่ายมือจะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๕. ถ้ายังละไม่ได้ เธอจงลุกขึ้นแล้วลูบนัยน์ตา ลูบหน้าด้วยน้ำเหลียวดูทิศทั้งหลาย แหงนดูดาว จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๖. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรทำไว้ในใจถึงอาโลกสัญญา ถือ กำหนดความสว่างไว้ในใจเหมือนกัน ทั้งกลางวันและกลางคืน ทำใจให้เปิด ให้สว่าง จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๗. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรเดินจงกรมสำรวมอินทรีย์ มีจิตใจไม่คิดไปภายนอก จะเป็นเหตุให้ละความง่วงได้

        ๘. ถ้ายังละไม่ได้ เธอควรสำเร็จสีหไสยาสน์ นอนตะแคงขวา ซ้อนเท้าให้เลื่อมกัน มีสติสัมปชัญญะ หมายใจว่าจะลุกขึ้นเป็นนิตย์ เมื่อตื่นแล้วควรรีบลุกขึ้นด้วยตั้งใจว่า เราจะไม่ประกอบความสุขในการนอนและการเคลิ้มหลับอีกจะเป็นเหตุให้ละความง่วง ได้


    แล้วได้ประทานพระโอวาทอีก ๓ ข้อ คือ:-

    ๑. โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจะไม่ชูงวง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นนั่น เป็นนี่ เข้าไปสู่สกุล เพราะถ้าภิกษุถือตัวเข้าไปสู่สกุลด้วยคิดว่าเขาจะต้องต้อนรับเราอย่างนั้น อย่างนี้ ถ้าคนในสกุลเขามีการงานมาก ก็จะเกิดอิดหนาระอาใจ ถ้าเขาไม่ใส่ใจต้องรับ เธอก็จะเก้อเขินคิดไปในทางต่าง ๆ เกิดความฟุ้งซ่านไม่สำรวม จิตก็จะห่างจากสมาธิ

    ๒. โมคคัลลานะ เธอจงทำไว้ในใจว่า เราจักไม่พูดคำอันเป็นเหตุเถียงกันเพราะถ้าเถียงกันก็จะต้องพูดมาก และผิดใจกัน เป็นเหตุให้ฟุ้งซ่านไม่สำรวม และจิตก็จะห่างจากสมาธิ

    ๓. โมคคัลลานะ ตถาคตไม่สรรเสริญการคลุกคลีด้วยประการทั้งปวง แต่ก็ไม่ตำหนิการคลุกคลีไปทุกอย่าง คือ เราไม่สรรเสริญการคลุกคลีกับหมู่ชน ทั้งคฤหัสถ์และบรรพชิต แต่เราสรรเสริญการคลุกคลีด้วยเสนาสนะ อันสงบสงัดปราศจากเสียงอื้ออึง ควรแก่การหลีกเร้นอยู่ตามสมณวิสัย

        ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานะ ได้กราบทูลถามถึงข้อปฏิบัติอันเป็นธรรมชักนำไปสู่การสิ้นตัณหา เกษมจากโยคะคือกิเลสเครื่องประกอบให้จิตติดอยู่ พระพุทธองค์ ตรัสสอนในเรื่องธาตุกรรมฐาน โดยใจความว่า “ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เมื่อได้สดับว่าธรรมทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ควรกำหนดธรรมเหล่านั้น ในยามเมื่อเสวยเวทนา อันเป็นสุขหรือทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง และให้พิจารณาด้วยปัญญา อันประกอบด้วยความหน่าย ความดับ และความไม่ยึดมั่น จิตก็จะพ้นจากอาสวกิเลส เป็นผู้รู้ว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว”


    พระ มหาโมคคัลลานะ ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านเป็นกำลังสำคัญของพระศาสนา ช่วยแบ่งเบาภารกิจ และยังพุทธดำริต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยดี เพราะท่านมีฤทธิ์มีอานุภาพยิ่งกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ จนได้รับการยกย่องจากพระบรมศาสดา แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องซ้าย โดยทรงยกย่องให้เป็นอัครสาวกคู่กับพระสารีบุตรว่า:-

    “พระสารีบุตรเป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา เปรียบเสมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร พระโมคคัลลานะ เป็นพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เปรียบเสมือนนางนมผู้เลี้ยงทารกที่เกิดมาแล้ว พระสารีบุตร ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระโมคคัลลานะ ย่อมแนะนำให้ตั้งอยู่ในคุณเบื้องสูงขึ้นไป”

        วันเวลาผ่านไปตามลำดับ เข้าสู่ปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระพักอยู่ที่กาฬศิลา ในมคธชนบทนั้น พวกเดียรถีย์ ทั้งหลาย มีความโกรธแค้นพระมหาโมคคัลลานเถระ เป็นอย่างมาก เพราะความที่ท่านมีฤทธานุภาพมาก สามารถกระทำอิทธิฤทธิ์ ไปเยี่ยมชมสวรรค์และนรกได้ แล้วนำข่าวสารมาบอกแก่ญาติมิตรของผู้ไปเกิดในสวรรค์และนรกให้ได้ทราบประชาชน ทั้งหลายจึงพากันเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาทำให้พวกเดียรถีย์ ต้องเสื่อมคลายความเคารพนับถือจากประชาชน ลาภสักการะก็เสื่อมลง ความเป็นอยู่ก็ลำบากฝืดเคือง จึงปรึกษากันแล้วมีความเห็นอันเดียวกันว่า “ต้องกำจัดพระมหาโมคคัลลานะ เพื่อตัดปัญหา”

        ตกลงกันแล้ว ได้ติดต่อจ้างโจรให้ฆ่าพระเถระ พวกโจรใจบาป ได้รับเงินสินบนแล้วพากันไปล้อมจับพระเถระถึงที่พัก แต่พระเถระรู้ตัวและหลบหนีไปได้ถึง ๒ ครั้ง ในครั้งที่ ๓ พระเถระได้พิจารณาเห็นกรรมเก่า ที่ตนเคยทำไว้ในอดีตชาติติดตามมา และเห็นว่ากรรมเก่านั้นทำอย่างไรก็หนีไม่พ้น จึงยอมให้พวกโจรจับอย่างง่ายดาย และถูกพวกโจรทุบตีจนกระดูกแตกแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี พวกโจรแน่ใจว่าท่านตายแล้ว จึงนำร่างของท่านไปทิ้งในป่าแห่งหนึ่ง แล้วพากันหลบหนีไป


        กล่าว กันว่าในอดีตชาติ พระมหาโมคคัลลานเถระ เกิดเป็นลูกคนเดียวของพ่อแม่ ต่อมาเมื่อเจริญเติบโตขึ้นพ่อแม่ทั้งสองประสบเคราะห์กรรมตาบอดด้วยกันทั้ง สองคนเป็นภาระที่ลูกชายคนเดียวต้องปรนนิบัติเลี้ยงดู การงานทุกอย่างทั้งนอกบ้านในบ้าน ต่อมาพ่อแม่เห็นลูกชายอยู่ในวัยที่สมควรจะมีครอบครัวได้แล้ว จึงจัดการสู่ขอหญิงสาวที่มีชาติตระกูลใกล้เคียงกัน ให้มาแต่งงาน

        เมื่อแต่งงานแล้วเวลาผ่านนาน ๆ ไป ลูกสะใภ้ก็เริ่มรังเกียจ จึงหาวิธีกำจัดท่านทั้งสองด้วยการยุแหย่สามีให้เกลียดชังพ่อแม่ “เอาท่านใส่เกวียนไปฆ่าทิ้งในป่า” ภรรยา เสนอความคิดเห็น สามีแม้จะไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้ เพราะตนเป็นคนรักและกตัญญูต่อพ่อแม่มาตลอด แต่เมื่อภรรยารบเร้าไม่รู้จบสิ้น จึงใจอ่อนยอมทำตามที่ภรรยาแนะนำ รุ่งเช้า ได้จัดหาอาหารเลี้ยงดูพ่อแม่เป็นอย่างดี แล้วให้พ่อแม่นั่งบนเกวียนออกเดินทาง พอมาถึงกลางป่าส่งเชือกบังคับโคให้พ่อถือไว้แล้วพูดหลอกว่า:-

        “คุณพ่อจับปลายเชือกนี้ไว้ โคจะลากเกวียนไปตามทางนี้ ทราบว่าในป่านี้มีพวกโจรซุ่มอยู่ ลูกจะลงเดินตรวจดูโดยรอบ” เมื่อลงเดินได้สักครู่หนึ่ง ก็เปลี่ยนเสียงร้องตะโกนประหนึ่งว่าเสียงโจรดักซุ่มอยู่ แล้วเข้ามาทุบตีทำร้ายบิดามารดา ฝ่ายบิดามารดาเชื่อว่าเป็นโจรจริง ๆ แม้จะถูกทุบตีอยู่ก็ยังร้องบอกให้ลูกรีบหนีไป พ่อแม่แก่แล้วไม่ต้องเป็นห่วง ลูกจงรักษาชีวิตไว้เถิด ลูกชายพอได้ยินเสียงมารดาบิดาร้องบอกให้รีบหนีไปไม่ต้องเป็นห่วงพ่อแม่ ก็กลับคิดได้ว่าตนทำกรรมหนัก พ่อแม่แม้จะถูกเราทุบตีอยู่นี้ ก็ยังร้องคร่ำครวญด้วยความรักและห่างใยให้เรารีบหนีไปโดยมิได้คำนึงถึงชีวิต ของตนเอง จึงเข้ามาบีบนวดให้แล้วบอกกับพ่อแม่ว่า“บัดนี้พวกโจรหนีไปหมดแล้ว”

        จากนั้นก็นำท่านกลับมาปรนนิบัติดูแลที่บ้านเป็นอย่างดี ลูกชาย เมื่อตายแล้วต้องชดใช้กรรมในนรกเป็นเวลานาน เมื่อพ้นจากนรกแล้วมาเกิดใหม่ ต้องถูกทุบตีจนแหลกละเอียดอีกหลายร้อยชาติ

        ในชาติสุดท้ายนี้แม้จะได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีฤทธิ์ สามารถจะดำดินล่องหนหายตัวได้ เหาะเหินเดินอากาศได้ แต่ก็ไม่สามารถจะหนีผลกรรมได้ ท่านจึงยอมให้พวกโจรจับทุบจนร่างแหลกเหลวดังกล่าวมานั่นเอง

        พระมหาโมคคัลลานเถระ คิดว่า “เราควรไปกราบทูลลาพระผู้มีพระภาค ก่อนจึงปรินิพพาน” จึงประสานกระดูกด้วยกำลังฌาน เหาะมาเฝ้าพระบรมศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลลาปรินิพพาน พระพุทธองค์ตรัสถามว่า “โมคคัลลานะ เธอจะปรินิพพาน ที่ไหน เมื่อไร ?”

        “ข้าพระองค์ จะนิพพานที่กาฬศิลาในวันนี้ พระเจ้าข้า”

        “โมคคัลลานะ ถ้าอย่างนั้น เธอจงแสดงธรรมแก่ตถาคตก่อน ด้วยว่าการได้เห็นพระเถระเช่นเธอนี้ จะไม่มีอีกแล้ว”

        พระเถระได้รับพระพุทธบัญชาเช่นนั้นจึงทำปาฏิหาริย์เหาะขึ้นไปบนอากาศแสดงพระ ธรรมเทศนาแล้วลงมาถวายอภิวาทกราบทูลลาไปยังกาฬศิลา และปรินิพพาน ณ ที่นั้น ตรงกับวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ หลังจากพระสารีบุตรนิพพานได้ ๑๕ วัน


        พระผู้มีพระภาค เสด็จไปพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ทั้งหลาย ทรงเป็นองค์ประธานจุดเพลิงฌาปนกิจศพให้ท่าน ขณะนั้น ฝนดอกไม้ทิพย์ตกลงมาโดยรอบบริเวณ มหาชนพากันประชุมทำสักการะอัฐิธาตุตลอด ๗ วัน พระพุทธองค์โปรดให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ ที่ใกล้ซุ้มประตูแห่งพระเชตวัดมหาวิหารนั้น
 

28260  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 05:06:20 pm
๔. พระอุบาลีเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงพระวินัย - ประจำทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)

        พระอุบาลี เกิดในตระกูลช่างกัลบก ในกรุงกบิลพัสดุ์ เมื่อเจริญเติบโตขึ้นได้รับแต่งตั้งให้ทำหน้าที่เป็นช่างกัลบก หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ช่างภูษามาลา มีหน้าที่ตัดแต่งพระเกศาประจำราชสกุลศากยะ

        ในสมัยที่พระพุทธองค์ เสด็จมาโปรดพระประยูรญาติที่นครกบิลพัสดุ์ แล้วเสด็จไปประทับที่อนุปิยอัมพวัน ซึ่งเป็นแว่นแคว้นของมัลลกษัตริย์ เจ้าชายศากยะทั้ง ๕ พระองค์ คือเจ้าชายภัททิยะ เจ้าชายอนุรุทธะ เจ้าชายภัคคุ เจ้าชายกิมพิละ และเจ้าชายอานนท์ ได้ตัดสินพระทัยออกบวช โดยอุบาลีภูษามาลาก็ได้ตามเสด็จด้วย ครั้นเห็นว่าได้มาไกลพอสมควรแล้วเจ้าชายศากยะจึงส่งนายอุบาลีกลับ และทรงเปลื้องเครื่องประดับออก เอาภูษาห่อแล้วมอบให้กับนายอุบาลีเพื่อใช้เป็นทรัพย์ในการเลี้ยงชีพต่อไป

        ขณะที่เดินทางกลับนั้นอุบาลีคิดว่า ถ้ากลับไปแล้ว เจ้าศากยะอาจคิดว่าเราลวงเจ้าชายมาประหารแล้วชิงเอาเครื่องประดับตกแต่งมา เขาจึงแก้ห่อเครื่องประดับแล้วเอาเครื่องประดับนั้นแขวนไว้บนต้นไม้ แล้วหันหลังกลับเดินตามไปเฝ้าศากยกุมารเพื่อขอบวช เหล่าขัตติยกุมารก็เห็นด้วย จึงพาอุบาลีผู้เป็นภูษามาลาเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคกราบทูลขอบวช โดยทรงขอให้พระพุทธองค์ บวชให้นายอุบาลีนี้ก่อน ด้วยเหตุเพื่อลดมานะความถือตัวของตนเองที่เป็นวงศ์กษัตริย์ เพราะเมื่อบวชหลังนายอุบาลีก็ต้องทำความเคารพผู้ที่บวชมาก่อน แม้ผู้นั้นจะเคยเป็นมหาดเล็กรับใช้และเป็นช่างภูษามาลาก็ตาม


        พระอุบาลี เมื่อบวชแล้ว ได้ศึกษาพระกรรมฐานจากสมเด็จพระผู้มีพระภาค หลังจากนั้นท่านมีความประสงค์จะไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่า เพื่อหาความสงบตามลำพัง แต่เมื่อกราบทูลลาพระผู้มีพระภาคแล้ว พระองค์ไม่ทรงอนุญาต ได้มีรับสั่งว่า “อุบาลี ถ้าเธอไปอยู่ในป่าบำเพ็ญสมณธรรม ก็จะสำเร็จเพียงวิปัสสนาธุระ แต่ถ้าเธออยู่ในสำนักของตถาคต ก็จะสำเร็จธุระทั้งสอง คือ ทั้งวิปัสสนาธุระ และคันถธุระ (การเรียนคัมภีร์ต่าง ๆ )”

        ท่านปฏิบัติตามพระพุทธดำรัสที่ตรัสแนะนำ ได้ศึกษาพระพุทธพจน์ไปพร้อมกับเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ไม่นานก็บรรลุพระอรหัตผลในพรรษานั้น

        หลังจากนั้นท่านก็เป็นกำลังสำคัญ ในการเผยแผ่พระศาสนา เพราะความที่ท่านอยู่ใกล้ชิดพระบรมศาสดาโดยตรง ท่านจึงมีความรู้ความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษ ในด้านพระวินัย ท่านช่วยอบรมสั่งสอนถ่ายทอดความรู้ด้านพระวินัยให้แก่ศิษย์ลัทธิวิหาริกของ ท่านเป็นจำนวนมาก ถ้ามีอธิกรณ์เกิดขึ้นแก่ภิกษุสงฆ์หรือเกี่ยวกับพระวินัยแล้ว พระพุทธองค์จะทรงมอบให้ท่านเป็นผู้วินิจฉัย และตัดสินความ เช่นกรณีภิกษุณีท้อง ซึ่งพระบรมศาสดาทรงอนุโมทนาสาธุการแก่พระเถระว่า “ชำระความได้ถูกต้องยุติธรรม”

        ในการทำปฐมสังคายนา มติของที่ประชุมสงฆ์ได้มอบให้ท่านรับหน้าที่วิสัชนาพระวินัย โดยรวบรวมพระวินัยที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในที่ต่าง ๆ เกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ นำมาจัดรวบรวมเป็นหมวดหมู่จนเป็น พระวินัยปิฎก ที่เป็นหลักฐานให้ศึกษากันในปัจจุบันนี้ ด้วยท่านพระอุบาลีเถระ เป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านพระวินัยนี้เอง จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในแหน่งเอตทัคคะเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงพระวินัย ท่านพระอุบาลีเถระ ดำรงอายุสังขาร โดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน

    ๕. พระอานนท์เถระ เอตทัคคะในทาง “ผู้เป็นพหูสูต” – ประจำทิศประจิม (ตะวันตก)

        พระอานนท์ เป็นพระราชโอรสของพระสุกโกทนะ และพระนางกีสาโคตรมี ออกบวชพร้อมกับเจ้าชายอนุรุทธะและอุบาลี เมื่อท่านบวชแล้ว ได้ฟังโอวาทจากพระปุณณมันตานี ได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน

        พระอานนท์ได้รับเลือกเป็นพุทธอุปัฎฐากใน ช่วงปฐมโพธิกาลหลังจากตรัสรู้แล้ว ๒๐ พรรษา ขณะนั้น ยังไม่มีพระภิกษุใดปฏิบัติรับใช้พระพุทธองค์เป็นประจำ มีแต่พระภิกษุผลัดเปลี่ยนวาระกันปฏิบัติ เช่น พระนาคสมาละ พระนาคิตะ พระอุปวาณะ พระสาคตะ และพระเมฆิยะ เป็นต้น บางคราวการผลัดเปลี่ยนบกพร่อง องค์ที่ปฏิบัติอยู่ออกไป แต่องค์ใหม่ยังไม่มาแทน ทำให้พระพุทธองค์ต้องประทับอยู่ตามลำพัง บางครั้งพระภิกษุผู้ปฏิบัติ ก็ดื้อดึงขัดรับสั่งของพระพุทธองค์

        เช่นครั้งหนึ่ง เป็นวาระของพระนาคสมาลเถระ ท่านได้ตามเสด็จพระพุทธองค์ไปทางไกล พอถึงทาง ๒ แพร่ง พระเถระทราบทูลให้เสด็จไปอีกทางหนึ่ง แต่พระองค์ทรงตรัสห้ามว่า

        “อย่าเลย นาคสมาละ ไปอีกทางหนึ่งจะดีกว่า”

        พระนาคสมาละ ไม่ยอมเชื่อฟังพระดำรัส ขอแยกทางกับพระพุทธองค์ ทำท่าจะวางบาตรและจีวรของพระผู้มีพระภาคที่พื้นดิน พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

        “นาคสมาละ เธอจงส่งบาตรและจีวรมาให้ตถาคตเถิด”

        พระนาคสมาละ ถวายบาตรและจีวรแด่พระพุทธองค์แล้วแยกทางเดินไปตามที่ตนต้องการ ไปได้ไม่ไกลนักก็ถูกพวกโจรทำร้ายจนศีรษะแตกวิ่งกลับมาเฝ้าพระบรมศาสดา กราบทูลเล่าเรื่องให้ทรงทราบ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า

        “อย่าเสียใจไปเลย นาคสมาละ ตถาคตห้ามเธอก็เพราะเหตุนี้”

        พระ พุทธองค์ ได้รับความลำบากพระวรกายเพราะถูกปล่อยให้ประทับอยู่ตามลำพังหลายครั้ง ภิกษุสงฆ์จึงประชุมเลือกสรรผู้มาทำหน้าที่ปฏิบัติพระองค์เป็นประจำ และ มีฉันทามติมอบหมายให้พระอานนท์เถระรับหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากตลอดไป ด้วยเห็นว่าท่านเป็นผู้มีสติปัญญา ขยัน อดทน รอบคอบ และเป็นพระญาติใกล้ชิด ย่อมจะทราบพระอัธยาศัยเป็นอย่างดี


        แต่ก่อนที่พระเถระจะตอบรับทำหน้าที่เป็นพุทธอุปัฏฐากนั้น ท่านได้กราบทูลขอพร ๘ ประการ ดังนี้:-

        ๑ ขออย่าประทานจีวรอันประณีตแก่ข้าพระองค์
        ๒ ขออย่าประทานบิณฑบาตอันประณีตแก่ข้าพระองค์
        ๓ ขอได้โปรดอย่าให้ข้าพระองค์อยู่ในที่ประทับของพระองค์
        ๔ ขอได้โปรดอย่าพาข้าพระองค์ไปในที่นิมนต์
        ๕ ขอพระองค์จงเสด็จไปสู่ที่นิมนต์ ที่ข้าพระองค์รับไว้
        ๖ ขอให้ข้าพระองค์พาบริษัทที่มาจากแดนไกลเข้าเฝ้าพระองค์ได้ในขณะที่มาถึงแล้ว
        ๗ ถ้าข้าพระองค์เกิดความสงสัยขึ้นเมื่อใดขอให้ข้าพระองค์เข้าเฝ้าทูลถามความสงสัยได้เมื่อนั้น
        ๘ ถ้าพระองค์แสดงพระธรรมเทศนาเรื่องใด ในที่ลับหลังข้าพระองค์ขอได้โปรดตรัสพระธรรมเทศนาเรื่องนั้น แก่ข้าพระองค์อีกครั้ง


        พระบรมศาสดา ได้สดับคำกราบทูลขอพรของพระอานนท์เถระแล้ว ได้ตรัสถามถึงคุณและโทษของพร ๘ ประการ ซึ่งพระอานนท์ได้กราบทูลว่า:-

        “ข้า แต่พระผู้มีพระภาค ถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๑-๔ ข้างต้น ก็จะมีคนพูดติฉินนินทา ได้ว่า พระอานนท์ ปฏิบัติบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดา จึงได้ลาภสักการะมากมายอย่างนี้ การปฏิบัติอุปัฏฐากมิได้หนักหนาอะไรเลย และถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อที่ ๕-๗ ก็จะมีคนพูดได้อีกว่าพระอานนท์ จะบำรุงอุปัฏฐากพระบรมศาสดาไปทำไม แม้กิจเพียงเท่านี้ พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงอนุเคราะห์ อนึ่ง โดยเฉพาะถ้าข้าพระองค์ไม่ได้รับพรข้อสุดท้ายแล้ว หากมีผู้มาถามข้าพระองค์ว่า ธรรมข้อนี้พระพุทธองค์ทรงแสดงที่ไหน ถ้าข้าพระองค์ไม่ทราบ เขาก็จะตำหนิได้ว่า พระอานนท์ ติดตามพระบรมศาสดาไปทุกหนแห่ง ดุจเงาตามพระองค์ แต่เหตุไฉนจึงไม่รู้แม้แต่เรื่องเพียงเท่านี้

        พระ บรมศาสดา เมื่อได้สดับคำชี้แจงของพระอานนท์แล้ว จึงประทานสาธุการ และพระราชทานอนุญาตให้ตามที่ขอทุกประการ ตั้งแต่นั้นมา ท่านพระเถระก็ปฏิบัติหน้าที่บำรุงอุปัฏฐากพระพุทธองค์ตลอดมา ตราบเท่าถึงเสด็จเข้าสู่ปรินิพพาน


    พระอานนท์เถระ ได้ปฏิบัติพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด มิได้ประมาทพลาดพลั้ง ได้ฟังพระธรรมเทศนาทั้งที่ทรงแสดงแก่ตนและผู้อื่น ทั้งที่แสดงต่อหน้าและลับหลัง อีกทั้งท่านเป็นผู้มีสติปัญญาทรงจำไว้ได้มาก จึงเป็นผู้ฉลาดในการแสดงธรรม พระบรมศาสดาทรงยกย่องท่านในตำแหน่ง เอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งปวง ถึง ๕ ประการ คือ เป็นพหูสูต เป็นผู้มีสติ เป็นผู้มีคติ เป็นผู้มีความเพียร และเป็นพุทธอุปัฏฐาก

    ในกาลที่พระพุทธองค์ใกล้ปรินิพพาน พระอานนท์เถระมีความน้อยเนื้อต่ำใจที่ตนยัง เป็นพระโสดาบันอยู่ อีกทั้งพระบรมศาสดาบรมครูก็จะเสด็จเข้าสู่พระปรินิพพานในอีกไม่ช้า จึงหลีกออกไปยืนร้องไห้แต่เพียงผู้เดียวข้างนอก พระพุทธองค์รับสั่งให้ภิกษุไปเรียกมา แล้วตรัสเตือนให้คลายทุกข์โทมนัสพร้อมทั้งตรัสพยากรณ์ว่า....

    “อานนท์ เธอจะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ ในวันทำปฐมสังคายนา” เมื่อพระบรมศาสดาปรินิพพานแล้ว พระมหากัสสปเถระได้นัดประชุมพระอรหันต์ขีณาสพ จำนวน ๕๐๐ องค์ เพื่อทำปฐมสังคายนา โดยมอบให้พระอานนท์รับหน้าที่วิสัชนาพระสูตรและพระอภิธรรม

    แต่เนื่องจากพระอานนท์ยังเป็นพระโสดาบันอยู่ ท่านจึงเร่งทำความเพียรอย่างหนักแต่ก็ยังไม่สำเร็จจนเกิดความอ่อนเพลีย ท่านจึงปรารภที่จะพักผ่อนอิริยาบถสักครู่ จึงเอนกายลงบนเตียง ในขณะที่เท้าพ้นจากพื้น ศีรษะกำลังจะถึงหมอน ท่านก็สำเร็จเป็นพะอรหันต์ ในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือ ไม่ได้อยู่ในอิริยาบถอย่างใดอย่างหนึ่งทั้ง ๔ อย่าง คือ อิริยาบถยืน เดิน นั่ง หรือนอน นับว่าท่านบรรลุเป็นพระอรหันต์แปลกกว่าพระเถระรูปอื่น ๆ


    พระอานนท์เถระ ดำรงอายุสังขารอยู่นานถึง ๑๒๐ ปี พิจารณาเห็นว่าสมควรที่จะปรินิพพานได้แล้ว ท่านจึงเชิญญาติทั้งฝ่ายศากยะและฝ่ายโกลิยะ ไปที่ริมฝั่งแม่น้ำโรหิณี ซึ่งกั้นเขตแดนระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์ และกรุงเทวทหะ

    ก่อนที่จะปรินิพพาน ท่านเหาะขึ้นไปบนอากาศได้แสดงธรรมสั่งสอนเทวดาและพระประยูรญาติทั้งสองฝ่าย ตลอดทั้งพุทธบริษัทอื่น ๆ เมื่อจบพระธรรมเทศนาแล้วท่านได้ตั้งสัตยาธิษฐานว่า....

    “เมื่ออาตมานิพพานแล้ว ขอให้อัฐิธาตุของอาตมานี้จงแยกออกเป็น ๒ ส่วน จงตกลงที่ฝั่งกรุงกบิลพัสดุ์ ของพระประยูรญาติฝ่ายศากยวงศ์ ส่วนหนึ่ง และจงตกที่ฝังกรุงเทวทหะของพระประยูรญาติฝ่ายโกลิยวงศ์ส่วนหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้พระประยูรญาติทั้งสองฝ่ายทะเลาะวิวาทกันเพราะแย่งอัฐิ ธาตุ”

    ครั้นอธิษฐานเสร็จแล้ว ก็ดับขันธปรินิพพาน ณ เบื้องบนอากาศ ในท่ามกลางแม่น้ำโรหิณี นั้น เตโชธาตุก็เกิดขึ้น เผาสรีระของท่านเหลือแต่กระดูกและแยกออกเป็น ๒ ส่วน แล้วตกลงบนพื้นดินของ ๒ ฝั่งแม่น้ำโรหิณีนั้นสมดังที่ท่านอธิษฐานไว้ทุกประการ ท่านได้ชื่อว่าเป็นพุทธสาวกที่ได้บรรลุกิเลสนิพพาน และขันธนิพพานแปลกกว่าพระสาวกรูปอื่น ๆ





 

28261  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 05:03:20 pm
    ๒.พระมหากัสสปะเถระ เอตทัคคะในทางผู้ทรงธุดงค์ – ประจำทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)

        เดิมเป็นบุตรของกปิลพราหมณ์ ตระกูลกัสสปะในบ้านมหาติฏฐะ แคว้นมคธ ชื่อเดิมของท่านคือ “ปิปผลิ” แต่คนทั่วไปมักเรียกท่านตามวงศ์ตระกูลว่า “กัสสปะ” เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ได้เข้าพิธีอาวาหมงคลกับนาง “ภัททกาปิลานี” วัย ๑๖ ปี โดยที่ทั้งสองฝ่ายไม่เต็มใจ ภายหลังจากแต่งงานกันแล้ว การครองคู่ของคนทั้งสองจึงไม่เหมือนสามีภรรยาคู่อื่น ๆ เพราะสักแต่ว่าอยู่ร่วมห้องกันเท่านั้น แม้เวลาจะขึ้นเตียงนอนก็ขึ้นกันคนละข้าง มีแจกันดอกไม้ตั้งอยู่ตรงกลางเตียง ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองอยู่ร่วมกันนั้น มิได้สัมผัสถูกต้องกันเลยจึงไม่มีบุตรหรือธิดาสืบสกุล เมื่อบิดามารดาถึงแก่กรรม ทั้งสองสามีภรรยาซึ่งมีความเบื่อหน่ายเพศฆราวาสจึงพร้อมใจกันสละทรัพย์ สมบัติทั้งหมดให้ญาติและบริวาร แล้วพากันออกบวช จัดหาผ้ากาสาวพัสตร์และบริขารพากันปลงผม แล้วครองผ้ากาสาวพัสตร์ อธิษฐานเพศบรรพชิตบวชอุทิศต่อพระอรหันต์ในโลกแล้วเดินร่วมทางกันไป

        พอถึงทางสองแพร่งจึงแยกทางกัน ปิปผลิไปทางขวา ส่วนนางภัททกาปิลานี ไปทางซ้าย นางเดินทางไปพบสำนักปริพาชกแล้วได้เข้าไปขอบวชในสำนักนั้น เนื่องด้วยขณะนั้น พระผู้มีพระภาคยังมิได้ทรงอนุญาตให้สตรีบวชในพระพุทธศาสนา ต่อเมื่อพระนางปชาบดีโคตรมีได้บวชแล้ว นางจึงได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักของพระเถระ ศึกษาพระกรรมฐาน บำเพ็ญวิปัสสนา ก็ได้บรรลุพระอรหัตผล


        ฝ่ายปิปผลิมานพ เมื่อเดินทางไปได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบมา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา”


    เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบทได้ ๘ วัน พุทธบริษัทั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรมสั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทานธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:-

    ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร
    ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
    ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร

    เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์ และเป็นผู้มักน้อยสันโดษ

        ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการ อยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรม ศาสดา ได้ทราบข่าวจากอาชีวกะว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าวว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระพุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำอะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว”

        พระมหากัสสปะเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระ พุทธองค์ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป

        ในคัมภีร์พระสาวกนิพพานกล่าว่า พระมหากัสสปะเถระ เมื่อทำหน้าที่เป็นประธานในการทำปฐมสังคายนาแล้ว ได้พักอยู่ที่พระเวฬุวันมหาวิหาร กรุงราชคฤห์ ดำรงอยู่ถึง ๑๒๐ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ๑ วัน ท่านได้ตรวจดูอายุสังขารของท่านแล้วทราบว่าจะอยู่ได้อีกเพียงวันเดียวเท่า นั้น ท่านจึงประชุมบรรดาภิกษุผู้เป็นศิษย์ของท่านแล้วให้โอวาทเป็นครั้งสุดท้าย สั่งสอนภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนมิให้เสียใจกับการจากไปของท่าน ให้พยายามทำความเพียรและอย่าประมาท แล้วพระเถระก็เข้าไปถวายพระพรลาพระเจ้าอชาตศัตรู จากนั้นท่านได้พาหมู่ภิกษุไปยังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพต แสดงอิทธิปาฏิหาริยิ์ และให้โอวาทแก่พุทธบริษัทแล้ว อธิษฐานจิต ขอให้ภูเขาทั้ง ๓ ลูกมารวมเป็นลูกเดียวกัน ซึ่งในภูขาทั้ง ๓ ลูกนั้นมีภูเขาเวภารบรรพตสถานที่ทำปฐมสังคายนารวมอยู่ด้วย แล้วท่านก็ดับขันธ์เข้าสู่พระนิพพาน ณ ที่นั้น นอกจากนี้ท่านยังได้อธิษฐานว่า ขอให้สรีระของท่านยังคงสภาพเดิมไม่สูญ สลาย จนกระทั่งพระศาสนาพระศรีอริยเมตไตร ซึ่งพระองค์จะพาหมู่ภิกษุสงฆ์มายังภูเขากุกกุฏสัมปาตบรรพตแล้ว ยกสรีระของพระเถระวางบนพระหัตถ์ขวาชูขึ้นประกาศสรรเสริญคุณของพระเถระแล้ว เตโชธาตุก็จะเกิดขึ้นเผาสรีระของท่านบนฝ่าพระหัตถ์ของพระศรีอริยเมตไตร พุทธเจ้านั้น


    ๓.พระสารีบุตรเถระ เอตทัคคะในทางผู้มีปัญญา - ประจำทิศทักษิณ (ทิศใต้)

        เดิมชื่อว่า อุปติสสะ เป็นบุตรของวังคันตะ หัวหน้าหมู่บ้านอุปติสสคาม ตำบลนาลันทา เพราะมารดาชื่อว่า นางสารี จึงนิยมเรียกกันว่า สารีบุตร มีสหายสนิทชื่อว่า โกลิตะ ซึ่งเป็นบุตรของหัวหน้าหมู่บ้านโกลิตคาม แต่เพราะภรรยาชื่อว่า นางโมคคัลลี โกลิตะจึงถูกเรียกกันว่า โมคคัลลานะ ตามชื่อของมารดา ทั้งสองตระกูลนี้ มีความเกี่ยวข้องมานานถึง ๗ ชั่วอายุคนดัง นั้น มาณพทั้งสองได้ เข้าศึกษาศิลปะวิทยาในสำนักของอาจารย์คนเดียวกันเมื่อจบการศึกษาก็เป็น เพื่อนเที่ยวร่วมสุขร่วมทุกข์ หาความสนุกความสำราญ ดูการเล่นมหรสพตามประสาวัยรุ่น และให้รางวัลแก่ผู้แสดงบ้างตามโอกาสอันควร

        วันหนึ่งทั้งสองพร้อมด้วยบริวาร ไปดูมหรสพด้วยกันเช่นเคย แต่ครั้งนี้มิได้มีความสนุกยินดี เบิกบานใจเหมือนครั้งก่อน ๆ เลย ทั้งสองมีความคิดตรงกันว่า “ทั้งคนแสดงและทั้งคนดู ต่างก็มีอายุไม่ถึงร้อยปีก็จะตายกันหมด ไม่เห็นมีประโยชน์อะไรเลยกับการหาความสุขความสำราญแบบนี้ เราควรแสวงหาโมกขธรรม จะประเสริฐกว่า” ทั้งสองเมื่อทราบความรู้สึกและความประสงค์ของกันและกันแล้ว จึงตกลงกันนำบริวารฝ่ายละครึ่ง รวมได้ ๕๐๐ คนออกบวชที่สำนักของ สญชัยปริพาชก ตั้งแต่มาณพทั้งสองมาบวชอยู่ด้วยแล้วก็เจริญรุ่งเรืองด้วยลาสักการะ และคนเคารพนับถือมากขึ้น มาณพทั้งสองศึกษาอยู่ในสำนักนี้ไม่นาน ก็สิ้นความรู้ของอาจารย์ เมื่อถามถึงวิทยาการที่สูงขึ้นไปอีก อาจารย์ก็ไม่สามารถจะสอนให้ได้ จึงปรึกษากันว่าควรพยายามแสวงหาอาจารย์ ผู้สามารถแสดงโมกขธรรมได้และสัญญาต่อกันว่า “ถ้าผู้ใดได้อมตธรรมก่อน ผู้นั้นจงบอกแก่กันให้รู้ด้วย”


        วันหนึ่งอุปติสสะได้พบพระอัสสชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในจำนวนพระปัญจวัคคีย์ ซึ่งจาริกมาถึงกรุงราชคฤห์ ได้เห็นท่านแสดงออกซึ่งปฏิปทาอันน่าเลื่อมใส ด้วยเรียบร้อยไปทุกอิริยาบถ แม้การทอดจักษุก็แต่พอประมาณ ซึ่งแปลกไปจากบรรพชิต ที่เคยเห็นมาแต่กาลก่อน จึงเดินตามไปห่าง ๆ เมื่อพระเถระได้รับอาหารพอสมควรแล้วออกไปสู่ที่แห่งหนึ่งเพื่อทำภัตตกิจ อุปติสสปริพาชก จึงคอยเฝ้าปฏิบัติอยู่ เมื่อเสร็จภัตกิจแล้ว จึงกราบเรียนถามว่า ใครเป็นศาสดาของท่าน พระเถระตอบว่า “ปริพาชกผู้มีอายุ เราบวชจำเพาะพระมหาสมณะศากยบุตรผู้เสด็จออกจากศากยสกุล พระองค์เป็นศาสดาของเรา”

        แล้วพระอัสสชิเถระ ก็กล่าวหัวข้อธรรมมีใจความว่า:-

        เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ? ตถาคโต
        เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณฯ

        “ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด (เกิดแต่เหตุ) พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้นและความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้”

        อุปติสสะ เพียงได้ฟังหัวข้อธรรมนี้จากพระเถระเท่านั้นก็สำเร็จเป็นพระโสดาบัน เกิดธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา”

        ส่วน โกลิตะ ผู้เป็นสหาย เมื่อเห็นอุปติสสะเดินมาแต่ไกลด้วยใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ผิวพรรณมีสง่าราศีกว่าวันอื่น ๆ จึงคิดว่า “วันนี้ สหายของเรา คงได้พบอมตธรรมเป็นแน่” เมื่อสหายเข้ามาถึงจึงรีบสอบถาม ก็ได้ความตามที่คิดนั้น และเมื่ออุปติสสะแสดงหัวข้อธรรมให้ฟัง ก็ได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็น พระโสดาบันเช่นเดียวกัน สองสหายตกลงที่จะพาบริวารไปเฝ้าพระบรมศาสดา


    ขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธรรมอยู่ท่ามกลางบริษัทสี่ ได้ทอดพระเนตรเห็นสองสหายพร้อมด้วยบริวาร เดินมาแต่ไกล จึงตรัสแก่ภิกษุทั้งหลายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริพาชกสองสหายที่กำลังเดินมานั้น คือ คู่อัครสาวก ของตถาคต”

    เมื่อปริพาชกทั้งสองพร้อมด้วยบริวารมา ถึงที่ประทับ กราบถวายบังคมแล้วนั่งในที่อันสมควร ได้สดับพระธรรมเทศนาจบลงแล้ว บรรดาบริวารทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตผล เว้นอุปติสสะและโกลิตะ ผู้เป็นหัวหน้า ต่อจากนั้นพระพุทธองค์ประทานการอุปสมบทแก่พวกเธอทั้งหมดด้วยวิธี “เอหิภิกขุอุปสัมปทา” และทรงบัญญัตินามให้ท่านอุปติสสะว่า “พระสารีบุตร” และให้ท่านโกลิตะว่า “พระโมคคัลลานะ” ตามมงคลนามของมารดา

    พระสารีบุตร หลังจากอุปสมบทแล้วได้ ๑๕ วัน ได้ติดตามพระพุทธองค์ ซึ่งเสด็จไปประทับพักที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ วันหนึ่งขณะที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ที่ถ้ำสุกรขาตา ที่ภูเขาคิชกูฏนั้น และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาโปรด ทีฆนขะ (ซึ่งเป็นหลานชายของพระสารีบุตร เที่ยวติดตามหาลุงจนพบ) ขณะนั้นพระสารีบุตร ได้นั่งถวายงานพัดอยู่เบื้องหลังพระศาสดา ได้ฟังพร้อม ส่งจิตพิจารณาไปตามกระแสพระธรรมเทศนานั้น จิตก็หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ที่บุคคลจัดให้คนอื่น ส่วน ทีฆนขะ หลายชายก็ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แสดงตนเป็นอุบาสก ในพระพุทธศาสนา

    เมื่อพระสารีบุตร ได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้ว ปรากฏว่าเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถแสดงพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร และอริยสัจ ๔ ได้เหมือนพระพุทธองค์ และเป็นกำลังสำคัญของพระบรมศาสดา ในการประกาศเผยแผ่พระศาสนา พระพุทธองค์ ได้ทรงประกาศยกย่อง พระสารีบุตร ในท่ามกลางสงฆ์และ ทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเอตทัคคะเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้มีปัญญา และทรงแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง พระอัครสาวกเบื้องขวา


    นอกจากนี้ พระพุทธองค์ยังทรงยกย่องพระสารีบุตรเถระ อีกหลายประการกล่าวคือ

        ๑. เป็นผู้มีปัญญาอนุเคราะห์เพื่อนบรรพชิตด้วยกัน เช่น สมัยที่พระบรมศาสดาประทับอยู่ที่เมืองเทวทหะ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลลาไปปัจฉาภูมิชนบททรงรับสั่งให้ไปลาพระสารีบุตรก่อน เพื่อท่านจะได้แนะนำสั่งสอน มิให้เกิดความเสียหายในระหว่างการเดินทางและในสถานที่ที่ไปนั้นด้วย

        ๒. ยกย่องท่านเป็น “พระธรรมเสนาบดี” ซึ่งคู่กับ “พระธรรมราชา” คือ พระองค์เอง

        ๓. ยกย่องท่านเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวที เป็นเลิศ เช่น ท่านนับถือ พระอัสสชิเป็นอาจารย์ เพราะท่านเข้ามาสู่พระพุทธศาสนาด้วยการฟังธรรมจากพระอัสสชิ ทุกคืนก่อนที่ท่านจะนอน ท่านได้ทราบข่าวว่าพระอัสสชิอยู่ทางทิศใด ท่านจะนมัสการไปทางทิศนั้น ก่อนแล้วจึงนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้น

        ในปัจฉิมโพธิกาล ขณะที่พระบรมศาสดาประทับ ณ พระวิหารเชตวัน เมืองสาวัตถี พระสารีบุตรถวายวัตปฏิบัติแด่พระบรมศาสดาแล้ว กราบทูลลาไปสู่ที่พักของตนนั่งสมาธิเข้าสมาบัติ เมื่อออกจากสมาบัติแล้วพิจารณาตรึกตรองว่า “ธรรมดาประเพณีแต่โบราณมา พระบรมศาสดาทรงนิพพานก่อน หรือพระอัครสาวกนิพพานก่อน” ก็ทราบแน่ชัดในใจว่า “พระอัครวสาวกนิพพานก่อน”

        จากนั้นได้พิจารณาอายุสังขารของตนเองก็ทราบว่า “จะมีอายุดำรงอยู่ได้ อีก ๗ วัน เท่านั้น” จึงพิจารณาต่อไปว่า “เราควรจะไปนิพพานที่ไหนดีหนอ และพระเถระ ก็นึกถึงพระราหุลว่า พระราหุล ไปนิพพานที่ปัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ ที่ดาวดึงส์เทวโลก พระอัญญาโกณฑัญญะ ไปนิพพานที่สระฉัททันต์ ป่าหิมพานต์” ลำดับนั้น พระเถระได้ปรารภถึงมารดาของตนว่าได้เป็นมารดาของพระอรหันต์ถึง ๗ องค์ ถึงกระนั้นก็ยังไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย ครั้นพระเถระพิจารณาไปก็ได้ทราบว่ามารดานั้นมีอุปนิสัยแห่งพระโสดาบัน จึงตกลงใจที่จะไปนิพพานที่บ้านของตน เพื่อโปรดมารดาเป็นวาระสุดท้าย


        ในราตรีสุดท้ายนั้น แม้พระเถระเกิดอาพาธอย่างแรงกล้า ถึงกับอาเจียนและถ่ายออกมาเป็นโลหิต แต่ก็อดกลั้นด้วยขันติธรรม ได้แสดงธรรมโปรดมารดา พรรณา พระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณ ยังมารดาให้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา ได้ชื่อว่ากระทำปฏิการะสนองคุณมารดาดังที่ตั้งใจมา ปิดประตูนรก เปิดประตูสวรรค์ ให้แก่มารดาได้สำเร็จ

        เมื่อแสงเงินแสงทอง อันเป็นสัญญาณแห่งรุ่งอรุณปรากฏขึ้น พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร ก็ดับขันธปรินิพพาน ในวันปุรณมีขึ้น ๑๕ ค่ำ เพ็ญเดือน ๑๒ ครั้นเมื่อสว่างดีแล้ว พระจุนทะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์และหมู่ญาติ ประกอบพิธีคารวะศพพระเถระแล้วนำไปสู่เชิงตะกอนทำพิธีฌาปนกิจ

        เมื่อเพลิงดับแล้วพระจุนทะได้นำอัฐิธาตุ และบริขารคือบาตรและจีวรของพระสารีบุตร ไปถวายแด่พระพุทธองค์ ซึ่งก็รับสั่งให้สร้างเจดีย์บรรจุอัฐิพระเถระที่ซุ้มประตู แห่งพระเชตวันมหาวิหารนั้น

 
   

28262  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 04:59:41 pm
การนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ โดย วยุรี
ที่มา http://picdb.thaimisc.com/

 


            แทบทุกครั้งที่มีการสวดมนต์ทำวัตร ในห้องเสือพิทักษ์ พวกเราจะขาดไม่ได้ซึ่งการสวดบท พุทธมังคลคาถา หรือเรียกว่า คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งมีเนื้อความดังนี้

            สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ
            นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
            โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ
            อาคเณยเย จะ กัสสะโป
            สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
            หะระติเย อุปาลิ จะ
            ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท
            พายัพเพ จะ ควัมปะติ
            โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร
            อีสาเนปิ จะ ราหุโล
            อิเม โข มังคะลา พุทธา
            สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
            วันทิตา เต จะ อัมเหหิ
            สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
            เอเตสัง อานุภาเวนะ
            สัพพะโสตถี ภะวันตุโน

            อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
            นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยังยัง
            ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
            ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย


            เวลาสวดบทนี้ครั้งใด ใจจะนึกไปถึงภาพภายในเชตวันมหาวิหาร ที่อาจารย์บุษกรเคยพาพวกเราไปสักการะ ณ ประเทศอินเดียถึง ๒ ครั้ง โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นอัฏฐเจดีย์ ที่ครั้งนั้นพระวิทยากรอธิบายว่า..เป็นที่ประชุมพระอรหันตสาวกหลังจากที่ไปเผยแผ่ธรรมะกลลับมา และแต่ละองค์ก็จะนั่งประจำทิศต่างๆ โดยมีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

            ประการสำคัญพระอรหันต์แปดทิศ ล้วนแต่มีฤทธิ์ทุกองค์ อีกทั้งเป็นมหาเถระผู้ยิ่งใหญ่ในทางพระพุทธศาสนา จึงทำให้รู้สึกว่าเวลาสวดครั้งใดจิตใจจะมีความศรัทธาเพิ่มขึ้นทุกครั้งไป


        และ ในสองสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ เมื่อสวดมนต์บทนี้เสร็จก็ได้รับความเมตตาจากท่านอาจารย์ ที่นำความหมายของบทสวดมาให้พวกเรา (ซึ่งส่วนใหญ่จะรู้แต่เพียงว่าพระสาวกองค์ใดอยู่ทางทิศไหนเท่านั้น) นอกจากความหมายแล้ว ท่านยังสอนให้พวกเราทำความรู้สึกว่าได้อยู่ในสถานที่แห่งนั้น....สถานที่ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับ มีเราหมอบกราบสักการะบูชาอยู่ข้างๆ และยังรายล้อมด้วยพระอรหันต์ผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ดังคำแปลที่ว่า....

        สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า ทรงประทับนั่งอยู่ท่ามกลาง มี
        ท่านอัญญาโกญฑัญญะ อยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
        ท่านพระมหากัสสปะ อยู่ทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
        ท่านพระสารีบุตร อยู่ทางทิศทักษิณ (ใต้)
        ท่านพระอุบาลี อยู่ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
        ท่านพระอานนท์ อยู่ทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก)
        ท่านพระภควัมปติ อยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
        ท่านพระโมคคัลลานะ อยู่ทางทิศอุดร (เหนือ)
        ท่านพระราหุล อยู่ทางทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)


            ด้วยสรรพมงคลอันพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ประดิษฐานอยู่ ณ ทิศทั้งหลายเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ทำการกราบไหว้สักการบูชาซึ่งท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย เหล่านั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

            ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการซึ่งพระรัตนตรัย และด้วยการนมัสการพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายนี้

            ข้าพเจ้าได้รับแล้วซึ่งความหลั่งไหลของบุญอย่างไพบูลย์ (บุญอันเกิดจากการระลึกถึงพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ) ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขออันตรายทั้งหลายจงถึงความพินาศสิ้นไปเทอญ

            ตอนนั้นได้ทำความรู้สึกว่าได้หมอบกราบ พระองค์ท่านทางเบื้องขวา (เหมือนกับเวลาท่านอาจารย์พาไปเวียนเทียนที่พุทธมณฑล จุดที่พวกเรานั่งสวดมนต์คือด้านขวาที่พระหัตถ์ประทานพร) เมื่อสวดถึงพระเถระเจ้าที่สถิตย์อยู่ตามทิศต่างๆ รายรอบตัวเรานั้น สร้างความรู้สึกปลอดภัยให้กับจิตใจเป็นอย่างมาก ....พอสวดจบ จิตสงบ (อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน) จนทำให้สามารถนั่งสมาธิต่อไปได้อีกนาน ....จึงนำเรื่องนี้มาบอกกล่าวให้พี่ๆ น้องๆ ได้นำไปทดลองด้วยตนเอง


        วันนั้นพอสวดเสร็จ ท่านอาจารย์บอกให้พวกเราหันใจไปทางทิศตะวันออก ฉะนั้นเบื้องหน้าของพวกเราจะปรากฏ ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านผู้รู้ราตรีนาน (มีประสบการณ์มาก สำเร็จเป็นองค์แรก)นั่งตรงกลาง เบื้องซ้ายของท่านคือ พระราหุล ซึ่งดำรงตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ใคร่ในการศึกษา และว่านอนสอนง่าย ส่วนเบื้องขวาของท่านคือ พระมหากัสสปะ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์ และเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ......ท่านทั้งสามนี้นับได้ว่าเป็นองค์แทนพระไตรปิฏกให้กับพวกเรา ทั้งนี้เพราะ

        พระราหุลผู้เป็นเลิศในด้านใคร่ในการศึกษา เป็นองค์แทน พระสูตร เพราะพระสูตรเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลมีไว้เพื่อให้ได้ศึกษา

        พระอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นเอตทัคคะด้านผู้รู้ราตรีนาน (มีประสบการณ์มาก สำเร็จเป็นองค์แรก) การสำเร็จของท่านนั้นด้วยการรับฟังพระธรรมจักกัปปวัตนสูสตร ซึ่งนอกจากกล่าวถึงทางที่ไม่ควรข้อง และทางสายกลางแล้ว ใจความสำคัญก็คืออริยสัจ ๔ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ซึ่งสรุปลงแล้วเป็นเรื่องราวที่เราได้ศึกษาในพระอภิธรรม ส่วน

        พระมหากัสสปะ ซึ่งได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในด้านเลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์ และเป็นผู้มักน้อยสันโดษ นับเป็นองค์แทนของพระผู้ทรงวินัยธรรม ซึ่งว่าด้วยข้อวัตรต่างๆนั่นเอง

        และเมื่อเราหันหลังกลับไปทางทิศตะวันตก...เบื้องขวา และซ้ายของพระพุทธองค์ ก็คือพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ผู้เป็นเลิศในด้านมีปัญญามาก และพระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ผู้เป็นเลิศในด้านมีอิทธิฤทธิ์มาก ซึ่งทั้งสององค์ล้วนเป็นสาวกคู่บารมีของพระพุทธองค์

        ส่วนเบื้องหลังนั้น ได้แก่ พระอานนท์พุทธอนุชา ที่นอกจากเป็นพุทธอุปัฏฐากแล้ว ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศด้านผู้ทรงพหูสตร ได้รับฟังจากท่านอาจารย์ (ซึ่งฟังจากหลวงพ่อมา) ว่า เรื่องราวที่ท่านพระอานนท์ฟังมานั้น แม้จะไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ตอนที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรม เพียงแต่กลับมาเล่าให้ฟังในภายหลังก็ตาม แต่เพราะด้วยอิทธิของพระมหาสาวกที่อยู่ด้านขวา และซ้ายของท่านพระอานนท์ คือ ท่านพระอุบาลี และพระภควัมปติ ซึ่งมีฤทธิ์ที่จะช่วยทำให้พระอานนท์เมื่อได้รับฟังเรื่องราวที่พระพุทธองค์ นำมาบอกกล่าวในภายหลังแล้ว ได้รู้สึกเหมือนกับว่าได้อยู่ในเหตุการณ์นั้นจริงๆ

            ฟังจากท่านอาจารย์แล้ว เกิดความปีติเป็นอย่างมาก และเมื่อได้นำไปปฏิบัติต่อที่บ้าน เกิดความรู้สึกที่ดีหลายๆ อย่าง จึงนำเรื่องราวมาบอก พร้อมนำประวัติของพระเถระเจ้าทั้งแปดองค์มานำเสนอ เพื่อประกอบเรื่องนี้ให้สมบูรณ์ขึ้น

        ๑. พระอัญญาโกณฑัญญะ เอตทัคคะในทางรัตตัญญู – ประจำทิศบูรพา (ตะวันออก)

        พระอัญญาโกณฑัญญะ เกิดในตระกูลพราหมณ์ในหมู่บ้านโทณวัตถุ อันไม่ห่างไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ “โกณฑัญญะ” เมื่อ เจริญเติบโตขึ้นได้ศึกษาศิลปะวิทยาจบไตรเพท และวิชาการทำนายลักษณะอย่างเชี่ยวชาญ ท่านเป็นหนึ่งในพราหมณ์ ๘ คน ที่ถูกคัดจาก ๑๐๘ คน เพื่อทำพิธีทำนายพระลักษณะตามราชประเพณี ให้แก่เจ้าชายสิทธัตถะเมื่อประสูติได้ ๕ วัน เนื่องจากท่านมีอายุน้อยที่สุดจึงทำนายเป็นคนสุดท้าย และเป็นเพราะท่านได้สั่งสมบารมีมาครบถ้วนตั้งแต่อดีตชาติ และการเกิดในภพนี้ก็จะเป็นภพสุดท้าย จึงมีปัญญามากกว่าพราหมณ์ทั้ง ๗ คนแรก

        เมื่อได้พิจารณาตรวจดูพระลักษณะของพระกุมาร โดยละเอียดแล้ว ได้ยกนิ้วขึ้นเพียงนิ้วเดียวเป็นการยืนยันการพยากรณ์อย่างเด็ดเดี่ยวเป็นนัย เดียวเท่านั้นว่า “พระราชกุมาร ผู้บริบูรณ์ด้วยมหาบุรุษลักษณะอย่างนี้ จะไม่อยู่ครองเพศฆราวาสอย่างแน่นอน จักต้องเสด็จออกบรรพชา และได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างมิต้องสงสัย”

            ครั้นกาลเวลาล่วงเลยมาถึง ๒๙ ปี เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบรรพชา โกณฑัญญะพราหมณ์ทราบข่าวก็ดีใจ เพราะตรงกับคำทำนายของตน จึงรีบไปชวนบุตรของพราหมณ์ทั้ง ๗ คนที่ร่วมทำนายด้วยกันให้ออกบวชตามเสด็จพระมหาบุรุษ ซึ่งบุตรพราหมณ์เหล่านั้นยอมออกบวชเพียง ๔ คน คือ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และ อัสสชิ ท่านโกณฑัญญะ พร้อมด้วยมาณพทั้ง ๔ คน (รวมเป็น ๕ จึงได้นามว่า “ปัญจวัคคีย์”) จึงออกบวช สืบเสาะถามหาพระมหาบุรุษไปตามสถานที่ต่าง ๆ จนมาพบพระองค์กำลังบำเพ็ญความเพียรอยู่ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม

            ด้วยความมั่นใจว่าพระองค์จะได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างแน่นอน จึงพากันเข้าไปทำกิจวัตรอุปัฏฐาก จัดน้ำใช้ น้ำฉัน และ ปัดกวาดเสนาสนะ เป็นต้น ด้วยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดพวกตนให้รู้ตามบ้าง เมื่อพระมหาบุรุษ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างอุกฤษฏ์เป็นเวลาถึง ๖ ปี ก็ยังไม่ได้บรรลุพระโพธิญาณ ทรงพระดำริว่า “วิธีนี้คงจะไม่ใช่ทางตรัสรู้” จึงทรงเลิกละความเพียรด้วยวิธีทรมานกาย หันมาบำเพ็ญเพียรทางจิต เลิกอดพระกระยาหาร กลับมาเสวยตามเดิม เพื่อบำรุงพระวรกายให้แข็งแรง ฝ่ายปัญจวัคคีย์ เห็นพระโพธิสัตว์ละความเพียรนั้นแล้ว ก็รู้สึกหมดหวัง จึงพากันเหลีกหนีทิ้งพระโพธิสัตว์ ให้ประทับอยู่ตามลำพังพระองค์เดียว

            ครั้นพระโพธิสัตว์ ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว ทรงดำริพิจารณาหาบุคคลผู้สมควรจะรับฟังพระปฐมเทศนา พระองค์ทรงระลึกถึงอาจารย์ทั้งสองที่พระองค์เคยเข้าไปศึกษา คือ อาฬารดาบสกาลามโคตร แต่ได้ทราบว่าท่านได้ถึงแก่กรรมไปได้ ๗ วัน แล้วและอีกท่านหนึ่ง คือ อุทกดาบสรามบุตร แต่ก็ได้ทราบด้วยพระญาณว่าท่านเพิ่งจะสิ้นชีพไปเมื่อวันวานนี้เอง ต่อจากนั้น พระพุทธองค์ทรงระลึกถึง ปัญจวัคคีย์ ผู้ซึ่งเคยมีอุปการคุณแก่พระองค์เมื่อสมัยทำทุกรกิริยา และทรงทราบว่าขณะนี้ท่านทั้ง ๕ พักอาศัย อยู่ที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ทรงดำริดังนี้แล้ว จึงได้เสด็จพุทธดำเนินไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันเพื่อโปรดปัญจวัคคีย์

            พระพุทธองค์ ทรงประกาศพระสัพพัญญุตญาณแก่เหล่าปัญจวัคคีย์ โดยตรัสพระธรรมจักรกัปวัตนสูตร เป็นปฐมเทศนา เมื่อจบพระธรรมเทศนา ธรรมจักษุ คือ ดวงตาเห็นธรรมอันปราศจากธุลีมลทิน เกิดขึ้นแก่โกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา” เพราะความที่ท่านเป็นพระเถระ ผู้มีอายุพรรษากาลมาก มีประสบการณ์มาก จึงได้รับยกย่องจากพระบรมศาสดา ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นเลิศกว่าภิกษุ ทั้งหลายในทาง ผู้รัตตัญญู หมายถึง ผู้รู้ราตรีนาน


        ในบั้นปลายชีวิต พระอัญญาโกณฑัญญะ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ชอบหลีกเร้นอยู่ในสถานที่อันสงบวิเวกตามลำพัง

        ในคัมภีร์มโนรถปูรณี และคัมภีร์ธุรัตวิลาสินี กล่าวไว้ตรงกันว่า เป็นเวลา ๑๒ ปี ก่อนที่ท่านจะนิพพาน ท่านได้กราบทูลลาพระบรมศาสดาไปจำพรรษา ณ ป่าหิมพานต์ บริเวณใกล้สระฉัททันต์ตามลำพัง เป็นเวลานาน ๑๒ ปี

            วันที่ท่านจะนิพพาน ท่านพิจารณาอายุสังขารแล้ว ได้มาเฝ้าพระพุทธองค์ เพื่อกราบทูลลานิพพาน ครั้นพระพุทธองค์ประทานอนุญาตแล้ว ท่านเดินทางกลับยังป่าหิมพานต์ และนิพพานในบรรณศาลาที่พักริมสระฉัททันต์นั้น พระผู้มีพระภาคพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกจำนวนมาก ได้เสด็จไปทำฌาปนกิจศพให้ท่าน

           
28263  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บทสวดนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 04:54:50 pm
http://www.oknation.net/blog/home/video_data/824/8824/video/24878/24878.mp3



บทสวดนมัสการพระอรหันต์ ๘ ทิศ


คำนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ  เรียกอีกอย่างว่า  พุทธมงคลคาถา
    นอก จากพระคาถาชินบัญชรอันลือชื่อของท่านแล้ว พุทธมังคลคาถาถือเป็นอีกหนึ่งบทคาถาของท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์  ที่ถือว่ามีอิทธิฤทธิ์ด้านลาภผลและมงคลทั้งปวง  เพราะคำว่าพุทธมังคลคาถานี้ คือการนมัสการบูชาพระอรหันต์แปดทิศ ซึ่งล้วนแต่เป็นพระมหาเถระที่ยิ่งใหญ่ทั้งสิ้น

.....................................................................

คำบาลี
สัมพุทโธ ทิปะทัง เสฏโฐ
นิสินโน เจวะ มัชฌิเม
โกณฑัญโญ ปุพพะภาเค จะ
อาคเณยเย จะ กัสสะโป
สารีปุตโต จะ ทักขิเณ
หะระติเย อุปาลิ จะ
ปัจฉิเมปิ จะ อานันโท
พายัพเพ จะ ควัมปะติ
โมคคัลลาโน จะ อุตตะเร
อีสาเนปิ จะ ราหุโล
อิเม โข มังคะลา พุทธา
สัพเพ อิธะ ปะติฏฐิตา
วันทิตา เต จะ อัมเหหิ
สักกาเรหิ จะ ปูชิตา
เอเตสัง อานุภาเวนะ
สัพพะโสตถี ภะวันตุโน

อิจเจวะมัจจันตะนะมัสสะเนยยัง
นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยังยัง
ปุญญาภิสันทัง วิปุลัง อะลัตถัง
ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย


คำแปล
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประเสริฐกว่าสัตว์สองเท้า ทรงประทับนั่งอยู่ท่ามกลาง มี
ท่านอัญญาโกญฑัญญะ อยู่ทางทิศบูรพา (ตะวันออก)
ท่านพระมหากัสสปะ อยู่ทางทิศอาคเนย์ (ตะวันออกเฉียงใต้)
ท่านพระสารีบุตร อยู่ทางทิศทักษิณ (ใต้)
ท่านพระอุบาลี อยู่ทางทิศหรดี (ตะวันตกเฉียงใต้)
ท่านพระอานนท์ อยู่ทางทิศปัจฉิม (ตะวันตก)
ท่านพระภควัมปติ อยู่ทางทิศพายัพ (ตะวันตกเฉียงเหนือ)
ท่านพระโมคคัลลานะ อยู่ทางทิศอุดร (เหนือ)
ท่านพระราหุล อยู่ทางทิศอิสาณ (ตะวันออกเฉียงเหนือ)

ด้วยสรรพมงคลอันพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้ประดิษฐานอยู่ ณ ทิศทั้งหลายเหล่านี้ ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้ทำการกราบไหว้สักการบูชาซึ่งท่านผู้ประเสริฐทั้งหลาย เหล่านั้น ขอความสวัสดีจงมีแก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย

ข้าพเจ้าขอนอบน้อมนมัสการซึ่งพระรัตนตรัย และด้วยการนมัสการพระอริยสาวกเจ้าทั้งหลายนี้

ข้าพเจ้าได้รับแล้วซึ่งความหลั่งไหลของบุญอย่างไพบูลย์ (บุญอันเกิดจากการระลึกถึงพระอรหันต์ทั้งแปดทิศ) ด้วยอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยนั้น ขออันตรายทั้งหลายจงถึงความพินาศสิ้นไปเทอญ
........................................................................


ทิศบูรพา
พระ อรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระอัญญาโกณทัญญะ ซึ่งเป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา และเป็นพระสงฆ์ผู้สำเร็จพระอรหันต์องค์แรก ถ้าท่านใดอยากเป็นผู้ชนะก่อนใคร โบราณถือว่าต้องบูชาพระจันทร์ก่อน เพื่อเสริมส่งให้มีเมตตามหานิยม ให้มีความสำเร็จก่อนผู้ใด ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นพระประจำวันจันทร์ (พระพุทธรูปยืน ปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ขวาแบอยู่ระดับหน้าอก พระหัตถ์ซ้ายห้อยอยู่ข้างตัว หรือพระพุทธรูปยืนปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้งสองแบอยู่ระดับอก) แล้วได้จัดให้พระปริตบทยันทุน เป็นคาถาสวดสำหรับวันจันทร์ โดยสวด 15 จบ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภคุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความเจริญปราศจากโรคาพยาธิทั้งปวง และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทกระทู้ 7 แบก สำหรับสวดภาวนาประจำวันจันทร์ คือ คาถา " อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา "

ทิศอาคเนย์
พระอรหันต์ประจำทิศได้แก่ พระมหากัสสป เป็นพระสาวกที่พระพุทธเจ้าทรงยกย่องว่าเป็นเลิศกว่าพระอื่น ถือธุดงควัตร เป็นพระสงฆ์ที่มีร่างกายเสมอเหมือนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ มีร่างกายใหญ่โตมาก พระองค์จึงได้ประทานผ้าสังฆาฎิให้กับพระมหากัสสป ถ้าท่านใดอยากได้ความเป็นใหญ่ มีผู้คนยอมรับนับหน้าถือตาก็ควรบูชาพระอังคาร ซึ่งอยู่ประจำทิศอาคเนย์ตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางไสยยาสน์ (นอน) เป็นพระประจำวันอังคาร และพระปริตบทขัดกรณียเมตตาสูตร เป็นคาถาสวดสำหรับพระอังคาร โดยสวด 8 จบบูชา พระปางไสยาสน์ เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ และคุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทเรียกฝนแสนห่า เป็นคาถาภาวนาประจำพระอังคาร คือคาถา " ติ หัง จะ โต โร ถิ นัง "

ทิศทักษิณ
พระอรหันต์ประจำทิศ ได้แก่ พระสารีบุตร ซึ่งเป็นเอตทัคคะ ผู้เลิศทางปัญญา แม้นกำเม็ดทราย 1 กำมือ ก็สามารถนับได้ ถ้าผู้ใดอยากมีปัญญาเฉลียวฉลาด มีวาจาอ่อนหวานไพเราะ บริสุทธิ์ ก็ให้บูชาพระพุธ ซึ่งชุบมาจากคชสารตามคติทางพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร เป็นพระประจำวันพุธ (กลางวัน) และจัดให้สวดบทขัดพระปริตบทสัพพาสี เป็นคาถาสวดประจำสำหรับวันพุธ โดยสวด 17 จบ เพื่อบูชาพระปางอุ้มบาตร เพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภคุ้มภัยอันตรายได้ และจะมีความสุขสวัสดียิ่งๆ ขึ้นไป และยังจัดให้คาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์เกลื่อนสมุทร เป็นคาถาประจำพระพุธด้วย คือ " ปิ สัม ระ โล ปุ สัต พุท "

ทิศหรดี
พระอรหันต์ประจำทิศ คือ พระอุบาลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะในด้านการทรงพระวินัย เปรียบอยู่ในกฏระเบียบ ซึ่งถ้าผู้ใดต้องการให้บุตรหลานอยู่ในระเบียบวินัยไม่หลงมัวเมาในอบายมุข ก็ควรบูชาพระเสาร์ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปนั่งปางนาคปรก และจัดคาถายะโตหัง เป็นคาถาบทสวดสำหรับพระเสาร์ โดยสวด 10 จบ ตามกำลังวัน บูชาพระนาคปรกเพื่อจะได้ช่วยคุ้มกันอันตรายต่างๆ ช่วยให้เกิดโชคลาภ จะมีความสุขความเจริญ และเกิดความสวัสดี มีมงคลตลอดกาลนานและยังให้บทสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์คลายจักร เป็นคาถาประจำพระเสาร์อีกด้วยคือ " โส มา ณะ กะ ริ ถา โธ "

ทิศปัจจิม
พระ อรหันต์ประจำทิศ คือพระอานนท์ ซึ่งเป็นพุทธอุปัฐาก เลขาส่วนตัวของพระพุทธเจ้า ดูแลทุกอย่าง ตั้งแต่ก่อนตื่นนอนและหลังจำวัด แม้ว่าพระพุทธองค์ไปแสดงธรรมเทศนาที่ใด ถ้าพระอานนท์ไม่ได้ไป จะต้องกลับมาแสดงธรรมให้พระอานนท์ฟังโดยเฉพาะอีกครั้ง ผู้ใดอยากให้บุตรหลาน ฉลาด รอบรู้ หูตากว้างไกลก็ควรบูชาพระพฤหัส พระพฤหัสชุบมาจากฤาษี 19 ตน ซึ่งมีความฉลาด หลักแหลม ปัญญา ดี รอบรู้ตามคติของพระพุทธศาสนา จัดให้พระพุทธรูปปางสมาธิ เป็นพระพุทธรูปประจำวันพฤหัส และจัดให้สวดคาถา
บทขัดพระปริตบทปุเรนตัมโพ โดยสวด 19 จบ ตามกำลังวันบูชาพระปางสมาธิ เพื่อจะช่วยคุ้มอันตรายต่างๆ และช่วยให้เกิดโชคลาภด้วย มีความสุขความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป และยังให้พระสวดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพ เป็นคาถาประจำวันพฤหัสบดีด้วยคือ " ภะ สัม มัม วิ สะ เท ภะ "

ทิศพายัพ
พระ อรหันต์ประจำทิศ คือ พระควัมปติ หรือพระสิวลี ซึ่งเป็นเอตทัคคะเลิศกว่าพระภิกษุทั้งหลายในเรื่องโชคลาภ ซึ่งตรงกับนพเคราะห์คือ พระราหูซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งขุมทรัพย์ทั้งหลายทั้งปวง มีอำนาจบารมีเป็นที่เกรงกลัว ผู้ใดอยากให้บุตรหลานมีโชคลาภ บารมีต้องบูชาพระราหู ให้คอยปกปักรักษาตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ เป็นพระปางประจำราหู และกำหนดบทสวด บทกินนุ สัน ตะ ระมาโน วะ เป็นบทสวดประจำวันพุธกลางคืน ควรสวด 12 จบ ตามกำลังวัน เพื่อบูชาพระปางป่าเลไลยก์ เพื่อคุ้มภัยให้สิ่งร้ายกลายเป็นดีและจะมีความสุขสวัสดี และได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์พลิกแผ่นดินเป็นคาถาประจำราหู คือ " คะ พุท ปัน ทู ทัม วะ คะ "


ทิศอุดร
ตรงกับพระอรหันต์ประจำ ทิศ คือ พระโมคคัลลา ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ ตรงกับนพเคราะห์คือพระศุกร์ ผู้ใดอยากให้มีกิจการการค้ารุ่งเรือง ซื้อง่ายขายคล่อง พูดเป็นเงินเป็นทอง มีความสุขสบายในครอบครัวก็ควรบูชาพระศุกร์ตามคติทางพระพุทธศาสนา ได้จัดให้พระพุทธรูปยืนปางทรงรำพึง พระหัตถ์ทั้งสองวางทับกันที่หน้าอก เป็นพระประจำวันศุกร์และได้จัดคาถาบทขัดธชัคคสูตร เป็นบทสวดประจำพระศุกร์ โดยสวด 21 จบ ตามกำลังวันเพื่อช่วยให้เกิดโชคลาภ คุ้มกันภัยอันตรายใดๆ จะมีความสุขสวัสดีตลอดกาลนาน และยังได้จัดพระคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทตวาดฟ้าป่าหิมพานต์เป็นคาถาประจำวันศุกร์ คือ " วา โธ โน อะ มะ มะ วา "

ทิศอีสาน
ตรง กับพระอรหันต์ คือ พระราหุล ซึ่งเป็นเอตทัคคะในเรื่องของการศึกษา ใคร่ต่อการศึกษาเรียนรู้ ตรงกับนพเคราะห์คือพระอาทิตย์ ซึ่งชุบมาจากราชสีห์ผู้ใดอยากให้บุตรหลานมีปัญญาเฉียบแหลม สติปัญญาเป็นเลิศ มีฤทธิ์ มียศ ชื่อเสียงก็ควรจะบูชาพระอาทิตย์ และจัดให้พระปริตบทโมรปริต เป็นคาถาสวดสำหรับพระอาทิตย์ ควรสวด 6 จบ ตามกำลังวัน เพื่อให้เกิดโชคลาภ คุ้มภัยอันตราย จะมีความเจริญรุ่งเรืองและความสุขสวัสดีตลอดกาล และยังได้จัดเอาคาถาพระอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์แปลงรูปเป็นคาถาภาวนาสำหรับพระอาทิตย์ด้วยคือ " อะ วิ สุ นุต สา นุ ติ "

ตรงกลาง
มีพระเกตุอยู่ท่ามกลางจักรวาล ตรงกับองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งเป็นประธานของ พระอรหันต์ทั้ง 8 ทิศ เมื่อบูชาพระเกตุเท่ากับเสริมเดช เดชานุภาพผู้ที่ไม่ทราบวันเดือนปีเกิดของตนเองควรบูชาพระเกตุ ซึ่งมีกำลังดี และจัดให้พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นปางของพระเกตุ และให้สวดคาถาบท พุทโธ จ มัชฌิโม เสฏิโฐ เป็นคาถาประจำพระเกตุโดยสวด 9 จบ เพื่อคุ้มกันเสนียดจัญไร ให้แคล้วคลาดปลอดภัยและได้จัดพระคาถานวหรคุณเป็นคาถาภาวนาประจำพระเกตุ คือ " อะ ระ หัง สุ คะ โต ภะ คะ วา "

ซึ่งจะเห็นได้ว่าคาถาบูชาพระประจำต่างๆ นั้น ก็ถอดออกมาจากบทสวดพระพุทธคุณ 56 นั่นเอง กล่าวคือ

อิ ติ ปิ โส ภะ คะ วา อะ
ระ หัง สัม มา สัม พุท โธ วิ
ชา จะ ระ ณะ สัม ปัน โน สุ
คะ โต โล กะ วิ ทู อะ นุต
ตะ โร ปุ ริ สะ ทัม มะ สา
ระ ถิ สัต ถา เท วะ มะ นุ
สา นัง พุท โธ ภะ คะ วา ติ
๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘


แถวตั้งที่ 1 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทกระทู้ 7 แบก เป็นคาถาสวดพระจันทร์ 15 จบ
แถวตั้งที่ 2 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทเรียกฝนแสนห่าเป็นคาถาสวดพระอังคาร 8 จบ
แถวตั้งที่ 3 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์เกลื่อนสมุทรเป็นคาถาพระพุธ 17 จบ
แถวตั้งที่ 4 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์คลายจักรเป็นคาถาสวดพระเสาร์ 10 จบ
แถวตั้งที่ 5 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์ขว้างจักรตรึงไตรภพเป็นคาถาสวดพระพฤหัส 19 จบ
แถวตั้งที่ 6 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์พลิกแผ่นดิน เป็นคาถาสวดพระราหู 12 จบ
แถวตั้งที่ 7 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทตวาดฟ้าป่าหิมพานต์ เป็นคาถาสวดพระศุกร์ 21 จบ
แถวตั้งที่ 8 บทคาถาอิติปิโส 8 ทิศ บทนารายณ์แปลงรูป เป็นคาถาสวดพระอาทิตย์ 6 จบ

ที่มา  http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=32287.0
28264  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / หน้าที่ของลูก เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 02:41:19 pm
หน้าที่ของลูก
โดย พระสุธรรมเมธี (เขมกะ)
บิดามารดา...เป็นบุรพาจารย์ของบุตร

1. พ่อแม่เลี้ยงเรามาแล้ว ก็เลี้ยงท่านตอบ
2. ช่วยทำหน้าที่ของลูกกิจการงานของพ่อแม่
3. ดำรงวงศ์ตระกูลของพ่อแม่
4. ประพฤติตนให้เป็นคนสมควรรับทรัพย์ มรดกของพ่อแม่
5. เมื่อพ่อแม่ล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศให้ท่าน
6. มั่นอยู่ในกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่
7. เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสั่งสอน ของพ่อแม่ในทางที่ถูกต้องโดยเคร่งครัด
28265  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / พระคุณแม่ เมื่อ: มกราคม 11, 2010, 02:31:01 pm

เรื่อง พระคุณแม่
โดย พระราชสุทธิญาณมงคล
ที่มา  http://www.jarun.org/v5/th/lgeneral010201.html   


ท่านโปรดจำไว้วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่ เพราะวันที่ลูกเกิดนั้น แม่อาจต้องเสียชีวิต การออกศึกสงครามเป็นการเสี่ยงชีวิตสำหรับคนเป็นพ่อฉันใด การคลอดลูกก็เป็นการเสี่ยงตายสำหรับคนเป็นแม่ฉันนั้น ในสมัยโบราณที่วิทยาการต่างๆ ยังไม่เจริญก้าวหน้าเหมือนสมัยนี้ อัตราการตายเพราะคลอดลูกมีสูงมาก คนโบราณเขาจึงกล่าวว่า วันเกิดของลูกคือวันตายของแม่ เมื่อคลอดลูกแล้ว "แม่" ก็ยังต้องประคบประหงมเลี้ยงดู ให้ดื่มเลือด ในอกเป็นอาหาร ยามที่ลูกเจ็บป่วยก็อมยาพ่น ฝนยาทา รักษากันไปตามมีตามเกิด แม่เฝ้ากล่อมเกลี้ยงเลี้ยงลูกจนเติบใหญ่ กระทั่งลูกแต่งงานมีเหย้ามีเรือนไปแล้ว แม่ก็ยังเฝ้าห่วงใยรักใคร่ไม่จืดจาง

ตั้งแต่อาตมาคอหัก หายใจทางสะดือ ได้พองหนอยุบหนอคิดถึงแม่ทุกลมหายใจ อาตมาเห็นความทุกข์อย่างแสนสาหัสของคนเป็นแม่ ก็ตอนที่เป็นหมอตำแยทำคลอดให้ผู้หญิงคนหนึ่ง แม้ว่าเรื่องราวจะผ่านพ้นมาห้าสิบกว่าปีแล้ว ก็ยังจำภาพเหตุการณ์ครั้งนั้นได้ติดตาติดใจมากระทั่งทุกวันนี้

สมัยนั้นอาตมาอายุสิบหก แต่ยังไม่ประสีประสาอะไร ยังเปลือยกายกระโดดน้ำตูมๆ กับเพื่อนอย่างสนุกสนาน แต่เด็กสมัยนี้อายุสิบหกเป็นหนุ่มกันแล้ว ตอนนั้นอาศัยอยู่กับยาย ลำบากลำบนมาก ต้องหาเงินเรียนเอง ตื่นตั้งแต่ตีสาม หาบของไปขายที่ตลาดบางขาม ห่างจากบ้านไป 14 กิโลเมตร ถึงตลาดตี 4 กว่า ก็นั่งขายของซึ่งเป็นพวกผักสวนครัวที่ช่วยกันปลูกกับยาย พอตีห้าก็ขายหมด บางวันขายไม่ค่อยดีก็ไปหมดเอา 7 โมง จากนั้นก็หาบกระจาดเปล่ากลับบ้าน หิวข้าวก็ต้องอดทน เพราะยายสั่งไม่ให้ซื้อเขากิน ให้กลับมากินบ้านเรา ยายว่าซื้อเขากินมันแพง จานละตั้งสามสตางค์ สู้กลับมากินข้าวที่บ้านไม่ได้ อาตมาก็จำเป็นต้องเชื่อยาย บางทีกว่าจะถึงบ้านหิวแทบลมจับ

อยู่ มาวันหนึ่ง ขณะที่อาตมาหาบกระจาดเปล่ากลับบ้าน ก็พบกับผู้หญิงคนหนึ่งกลางทาง เขากำลังท้องแก่ จะเดินทางไปคลอดลูกที่บ้านแม่ของเขา ที่ต้องเดินทางไปคลอดบ้านแม่ เพราะเขาอยู่กับพ่อผัวแม่ผัว ซึ่งรังเกียจว่าเขาจนและไม่ยอมช่วยเหลือเกื้อกูลแต่ประการใด เดินทางไปได้ครึ่งทางก็เกิดปวดท้องนอนร้องครวญครางอยู่ใต้ต้นไทร พอเห็นอาตมาเดินผ่านมาเขาก็ดีใจร้องบอกกับอาตมาให้ช่วยเขาด้วย เขาปวดท้องใจจะขาดอยู่แล้ว ช่วยเอาลูกออกให้ที อาตมาถึงจะอายุสิบหกแต่ก็ยังไม่รู้ว่าเขาออกลูกกันอย่างไร ผู้ใหญ่เขาเคยพูดให้ฟังว่าเขาออกลูกทางปาก บางคนก็บอกออกทางสะดือ บางคนก็ว่าออกทางก้น อาตมาก็เชื่อนึกว่าเป็นอย่างนี้จริงๆ ที่แท้ก็ถูกผู้ใหญ่หลอก เพิ่งมารู้ความจริงตอนทำคลอดครั้งนี้นั่นแหละ

ผู้หญิงคนนั้นเขาก็ร้องใหญ่บอกปวดมากแล้วก็เป็นลูกท้องแรก จึงยังไม่เคยมีประสบการณ์เรื่องการคลอดลูกมาก่อน ได้ยินเขาร้องโอยๆ อาตมาก็ทำอะไรไม่ถูก เลยถามเขาว่าจะให้ช่วยอย่างไร เขาก็บอกช่วยดึงเด็กออกจากท้องให้เขาที มันกำลังจะออกแล้ว อาตมาก็ยังงงอยู่เลย นึกถึงเทวดา ก็นึกตามประสาเด็กๆ ไม่รู้ว่าเทวดามีจริงหรือเปล่า แต่ยายเคยเล่าให้ฟังบ่อยๆ ก็คิดว่าคงจะมีมั้ง เลยประนมมือบอก รุกขเทวดาประจำต้นไทรให้ช่วย แล้วก็ร่ายคาถาชุมนุมเทวดาที่ยายเคยสอนจนจำได้ขึ้นใจ พอว่าคาถาจบ เทวดาเข้าสิงอาตมาเลย ที่รู้ว่าเทวดาเข้าสิงเพราะท่านมากระซิบข้างหูว่า "ดึงเด็กออกมา ดึงเด็กออกมา" อาตมาถาม "ดึงยังไง เด็กอยู่ที่ไหน" เทวดาบอก "อยู่ในท้อง เอามือล้วงเข้าไปในผ้านุ่งก็จะเจอหัวเด็ก" อาตมาก็ทำตามดึงพรวดสุดแรงเลย เสียงผู้หญิงร้องกรี๊ดและสลบเหมือดไป
   

อาตมาก็ตกใจเพราะเห็นไส้ยาวๆ ติดตัวเด็กออกมา คิดว่าเราคงดึงไส้ผู้หญิงคนนั้นออกมาหมดท้องกระมัง เขาคงต้องตายแน่ๆ จะทำยังไงดีหนอ เสียงเทวดากระซิบข้างหูว่า "ไม่ตายหรอก แค่สลบไปเท่านั้น" ไปจัดการตัดสายรกให้เด็กก่อน ที่เธอเห็นนั้นแหละเรียกว่า สายรก ไม่ใช่ไส้เขาหรอก" อาตมาก็ถามว่า "เอาอะไรตัดล่ะ มีดพร้าก็ไม่มี" เทวดาบอก "เอาเล็บของเธอนั่นแหละ จิกแน่นๆ แล้วดึง มันจะขาดเอง" สมัยนั้นหนุ่มรุ่นๆ เขานิยมไว้เล็บยาวกันเรียกว่าเป็นแฟชั่น อาตมาก็ไว้กับเขา คือเขาจะไว้เล็บข้างละสองนิ้ว นิ้วหัวแม่มือกับนิ้วก้อย อาตมาก็ทำตามที่เทวดาบอก พอรกขาดเลือดพุ่งเลย เด็กส่งเสียงร้องอุแว้ๆ ลั่นป่า เทวดาบอกอีกว่า "ไปเอาฝุ่นมาโรงตรงแผล" อาตมาก็กอบฝุ่นโรยลงไป

ปรากฏว่าเลือดหยุดไหลแต่เด็กไม่หยุดร้อง เทวดาก็กระซิบข้างหูอีกว่า "ดูดเลือดที่คั่งในปากออกมา" อาตมาก็เอามือง้างปากเด็ก ดูดเลือดและเสมหะออก แล้วบ้วนทิ้ง ไม่ได้นึกรังเกียจ เพราะกลัวเด็กจะตาย เทวดาบอกอีกว่า "เอากระบอกไปตักน้ำมาหยอดปาก" พอดีมีกระบอกไม้อันหนึ่งแขวนอยู่ที่กิ่งไทร ไม่ทราบเหมือนกันว่าใครนำไปแขวนไว้ ข้างๆ ต้นไทรมีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่ง อาตมาจึงหยิบกระบอกเดินไปตักน้ำมาหยอดใส่ปากเด็ก เจ้าหนูหยุดร้องไห้เลย ดูดหยดน้ำจากนิ้วมืออาตมาเสียงดังจั๊บๆ เป็นภาพที่ซึ้งใจอาตมามาจนถึงทุกวันนี้ ได้เห็นสัญชาติญาณการดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของชีวิต ก็ตอนที่เจ้าหนูดูดน้ำจากนิ้วมือนี้แหละ พอได้น้ำเจาหนูก็หยุดร้อง ส่วนแม่นั้นสักพักเขาก็ฟื้นถามว่า "ลูกเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย" พอรู้ว่าได้ลูกชายก็ดีใจ อาตมาก็เลยช่วยพากลับบ้านทั้งแม่ทั้งลูก หญิงคนนั้นเป็นเจ้าของตลาดท่าแค ลพบุรี ร่ำรวยมาก นี่แหละที่ทำให้อาตมาเห็นใจคนเป็นแม่และรักแม่มาตั้งแต่บัดนั้น อาตมาสงสารลูกผู้หญิงมาก เห็นคนท้องเดินมาก็จะแผ่เมตตาขอให้เขาคลอดง่าย เพราะเราเห็นว่าการคลอดลูกนั้นเป็นการเสี่ยงชีวิตเหมือนการออกศึกสงครามทีเดียว




เดี๋ยวนี้อาตมาไม่สอนคนแก่เพราะคนแก่ไม่มีพิษมีภัย อีกไม่นานก็ตายแล้ว สอนเด็กรุ่นใหม่แทนเพราะเมื่อคนรุ่นใหม่ดี รุ่นต่อๆ ไปก็จะดีไม่เป็นวายร้ายหรือภัยสังคม สอนเด็กว่าวันเกิดของเราอย่าพาเพื่อนมาให้พ่อแม่ทำครัวเลี้ยงนะ เธอจะบาป ทำมาหากินไม่ขึ้น เธอต้องเลี้ยงพ่อเลี้ยงแม่ให้อิ่มก่อน แล้วจึงไปเลี้ยงเพื่อนทีหลังจึงจะถูกต้อง

พ่อแม่เลี้ยงลูกเปรียบเสมือนปลูกต้นไม้ ปลูกอย่างมีระเบียบแบบแผน ต้นไม้ก็จะขึ้นอย่างมีระเบียบสวยงามตามแบบตามแผนที่วางไว้ ถ้าปลูกอย่างไม่มีระเบียบปลูกตรงโน้นต้นหนึ่ง ตรงนี้ต้นหนึ่ง นึกจะปลูกตรงไหนก็ปลูก เกะกะเต็มไปหมด มองดูรกรุงรัง หาความสวยงามไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้จะไปโทษต้นไม้ว่ามันขึ้นไม่เป็นระเบียบจะถูกหรือ จะต้องโทษคนปลูก เพราะคนปลูกไม่มีระเบียบ ต้นไม้จึงขึ้นอย่างไม่มีระเบียบ


ความรักของแม่มีหลายรูปแบบ มีแม่คนหนึ่งมาบอก "หลวงพ่อเจ้าคะ ดิฉันเลี้ยงลูกมานี่ ลูกมันไม่เอาไหนเลย ขอมาฝากบวช 7 วัน" บอกเสร็จก็ออกไปสักครู่ก็กลับมาอีก กำชับอีกว่า "สอนลูกฉันให้ดีๆ นะ" ออกไปอีก กลับมาย้ำอีกทีว่า "ช่วยสอนลูกฉันให้ดีๆ นะ" อาตมาก็ต้องเรียกเข้ามานั่ง แล้วให้คติธรรม "นี่โยมน่ะเป็นแม่เขาใช่ไหม" "ใช่เจ้าค่ะ" "โยมสอนลูกมาตั้ง 20 ปี เอาดีไม่ได้ แล้วจะมาให้อาตมาสอน 7 วันจะดีหรือ" อย่างนี้ต้องเรียกว่าจะมากไป สอนลูกไม่เอาไหน ไม่ใช่ลูกไม่ดีนะ ตัวแม่ไม่ดี ไม่เคยสอนลูกสวดมนต์ไหว้พระเลย อยากให้ลูกดีต้องสอนให้ลูกสวดมนต์ ลูกจะมีระเบียบวินัย โตขึ้นไม่เถียงพ่อเถียงแม่ เมื่ออยู่ในวัยศึกษาก็รับผิดชอบสูง แม้ไปศึกษายังต่างประเทศลูกจะวางตัวดี พ่อไม่ไม่ต้องคอยติดตามทุกฝีก้าวทุกระยะ
   

อีกรายเป็นแม่ปริญญาโท มาให้อาตมาช่วยเป่าหัวให้ลูกชายหน่อยจะสอบเข้ามหาวิทยาลัย อาตมาบอก "ขอเจริญพร ขอตั้งสติสักนาที" คิดหนอ เห็นหนอ แม่คนนี้หนอ เป่าให้ไม่ได้หนอ เป่าแล้วเสียลมจากคอเราหนอ เมื่อคืนนี้แม่เอาหนังมาดูถึงตอนตี 2 นี่หรือจะให้เป่าหัว เป่าแทบตายก็ไม่ได้เรื่อง จึงบอกไปว่า "หนู หลวงพ่อเป่าไม่ได้ เมื่อคืนดูหนังอะไรกัน" ลูกชายบอก "จริงหลวงพ่อ ตี 2 ผมง่วง ยังดึงผมหยิกผมให้ลุกมาดูด้วย" แม่อย่างนี้จะให้สอบเข้าได้อย่างไร อย่างนี้พระเป่าหัวก็เป็นพระโง่ เพี้ยงดีๆ ยังไง เป่าแล้วดีเป่าแล้วรวย แต่ขี้เกียจสะบัดอย่างนี้ก็ช่วยไม่ได้ถ้าไม่ช่วยตัวเองก่อน

ขอฝากไว้คนที่เป็น "แม่" นั้นต้องทำให้ถูกต้อง ถูกบทหมดจดเหมาะเจาะอยู่ที่ "แม่" ส่วนพ่อมีความสำคัญไม่เท่าแม่ พ่อเปรียบเสมือนพระอาทิตย์ที่ให้ความอบอุ่น ส่วนแม่เปรียบเสมือนพระจันทร์ หากพ่อเล่นการพนันไม่เอาไหนไม่เป็นไร แม่นั้นสำคัญมาก แม่จะต้องรักษาลูกไว้ แม่ที่ดีต้องเป็นแม่แบบแม่แผน แม่แปลน แม่บันได แม่บ้านแม่เรือน แม่เคหะศาสตร์ แม่แผนผัง แม่กุญแจอยู่ตรงนี้ ลูกจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับแม่เป็นหลักให้ลูก ไม่ใช่พ่อ ถึงพ่อแสนดี แม่ฉุยแฉกแตกราน สุรุ่ยสุร่ายไม่เอาไหน ไม่รู้จักเก็บงำทำให้ดี ไม่เป็นแบบที่ดีของลูก รับรองบ้านนั้นเจ๊งแน่ๆ ถ้าพ่อดีแม่ดีเปรียบเสมือนอาคารแน่นลูกดีมีปัญญา เหมือนมีเฟอร์นิเจอร์ราคาแพงประดับบ้าน ฉะนั้น พ่อแม่เท่านั้นที่ทำความดีให้กับลูก ทำถูกให้กับหลาน เป็นกฎแห่งกรรม จากการกระทำของพ่อแม่ ทำให้ลูกชอบ พูดให้ลูกเชื่อ ตามใจในสิ่งที่ถูก ทำตัวอย่างให้ลูกดู สร้างความดีให้ลูกเห็น โบราณท่านว่าไว้ อย่าอยู่ว่าง อย่าห่างผู้ใหญ่ ลูกจะหลงทางได้ง่าย

อีกเรื่องต้องเรียกว่า หนามแหลมใครเสี้ยม มะนาวกลมเกลี้ยงใครไปกลึง เรื่องมีอยู่ว่า มีเด็กประถม 4 คนหนึ่ง เดี๋ยวนี้เป็นดอกเตอร์อยู่สหรัฐอเมริกา พ่อกินเหล้า สูบกัญชายาฝิ่น ชอบเล่นการพนัน ตีไก่อยู่ที่บางระจัน สิงห์บุรี แม่ก็หาหวยตามวัด อาตมาดูหนูคนนี้แล้วบอกต้องเป็นใหญ่เป็นโตแน่ จดไว้เป็นกฎแห่งกรรม ติดตามดูแลโดยต่อเนื่อง อาตมาประสบมาเราก็ต้องจดต้องจำ จึงจะกำหนดจดจำ ก็จดชื่อไว้ บอกเด็กไปว่าหลวงพ่อจะสอน จะให้ตังค์ไป 100 บาท ถามว่า เขาเกิดวันอะไร เขาบอกเกิดวันอังคาร หลวงพ่อสอนเด็กคนนี้ครั้งเดียวจำได้ บอกวันเกิด หนูซื้อขนม 2 ห่อ เรียกพ่อแม่มาคู่กันแล้วกราบนะลูกนะ พ่อก็เมา แม่ก็บอกเดี๋ยวจะรีบไปวัด ลูกก็บอกเดี๋ยว ความผิดอันใดที่ลูกพลั้งเผลอด้วยกาย วาจา ใจ ที่คิดไปไม่ดีต่อคุณพ่อคุณแม่ ขอให้คุณพ่อคุณแม่อโหสิกรรมให้แล้วล้างเท้าให้พ่อแม่ ลูกไม่มีสตางค์ ลูกซื้อขนมมา 2 ห่อ ให้แม่ก่อน 1 ห่อ เพราะแม่อุ้มท้องมา แล้วจึงให้พ่ออีก 1 ห่อ ลูกขอปฏิญาณตนว่า ลูกขอเป็นลูกที่ดีต่อพ่อแม่แล้วจะเป็นศิษย์ที่ดีของครูบาอาจารย์ ลูกจะไม่ทำให้พ่อแม่ผิดหวัง แล้วลูกจะเรียนหนังสือให้เก่งให้ก้าวหน้า พ่อฟังแล้วน้ำตาร่วง สร่างเมาเลย ส่วนแม่ก็ร้องไห้ ลูกไปโรงเรียนแล้ว พ่อแม่ก็สำนึกได้บอกลูกมันปฏิญาณตนเป็นคนดีแล้ว เรายังทำตัวอย่างไม่ดีให้ลูกดูอีกหรือ ตกลงพ่อแม่ก็ปฏิญาณตนกัน พ่อก็บอกข้าจะเลิกสูบกัญชา เลิกกินเหล้า และข้างฝ่ายแม่ก็เลิกหาหวยตามวัด ลูกจบปริญญาโทที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปต่อดอกเตอร์ที่สหรัฐฯ ได้ดีแล้วเขาก็ไม่ลืมวัดอัมพวัน ไม่ลืมอาตมา ยังมาทำบุญถวายข้าวสารทีละ 50 กระสอบ
   

อาตมาไม่สอนใครไปสู่สวรรค์นิพพาน แต่สอนกรรมฐานให้ระลึกชาติได้ ระลึกบุญคุณคนได้ นึกถึงพ่อแม่ นึกถึงตัวเองและสงสารตัวเอง จะได้ทำแต่สิ่งดีๆ แค่นี้พอก่อน บางคนลืมพ่อลืมแม่ อย่าลืมนะการเถียงพ่อเถียงแม่ไม่ดี ขอบิณฑบาต สอนลูกหลานอย่าเถียงพ่อแม่ อย่าคิดไม่ดีกับพ่อแม่ ไม่งั้นจะก้าวหน้าได้อย่างไร ก้าวถอยหลังเลยดำน้ำไม่โผล่



หนี้บุญคุณอันยิ่งใหญ่เหลือจะนับจะประมาณนั้น คือหนี้พระคุณของบิดามารดา คำพังเพยเปรียบเทียบสั่งสอนมาสองพันกว่าปีแล้ว ว่าจะเอาท้องฟ้าหรือแผ่นดินมาเป็นกระดาษ เอาเขาพระสุเมรุมาศมาเป็นปากกา จะเอาน้ำมหาสมุทรมาเป็นน้ำหมึก ก็ไม่สามารถจะจารึกพระคุณของบิดามารดาไว้ได้ เพราะน้ำในมหาสมุทรจะเหือดแห้งหมด ก่อนที่จะจารึกพระคุณบิดามารดาได้จบสิ้น คนอื่นที่เป็นเพื่อนที่รักหรือยอดหัวใจก็ยังมีโทษแก่ตัวเรา รักเราไม่จริงเหมือนบิดามารดา เขาพึ่งเราได้จึงมารักเรา

นี่แหละท่านทั้งหลายเอ๋ย เป็นหนี้บุญคุณพ่อแม่มากมาย ยังจะไปทวงนาทวงไร่ ทวงตึกรามบ้านช่องมาเป็นของเราอีกหรือ ตัวเองก็พึ่งตัวเองไม่ได้ ช่วยตัวเองไม่ได้ สอนตัวเองไม่ได้แล้ว เป็นคนอัปรีย์จัญไรในโลกมนุษย์ ไปทวงหนี้พ่อแม่ พ่อแม่ให้แล้ว เรียนสำเร็จแล้วยังช่วยตัวเองไม่ได้ มีหนี้ติดค้างรับรองทำมาหากินไม่ขึ้น
   
   

คนไม่ทำกิจวัตร ไม่ปฏิบัติหน้าที่ ไม่รับผิดชอบ แปลว่า คนนั้นเกลียดตัวเอง กินเหล้าเมาสุรา เล่นการพนัน เที่ยวสรวลเสเฮฮา กินโต้รุ่ง พ่อแม่ก็เสียใจยังไปว่าพ่อแม่ ไปทวงหนี้ เอาทรัพย์สมบัติพ่อแม่มาฉุยแฉกแตกราน นี่คือลูกสะสมหนี้ ไม่ยอมใช้หนี้ เดี๋ยวนี้ตัวเราไม่สงสารแล้วกินเหล้าเข้าไป ทรัพย์สมบัติพ่อแม่ให้มาก็ขายแจกจ่ายให้หมด ไม่มีเหลือเลย ตัวเองก็จะขายตัวกิน ขายตัวเองเขาก็ไม่เอาอีก เพราะขี้เกียจเช่นนี้ ขอฝากท่านเป็นข้อคิด พ่อแม่นั้นมีบุญคุณต่อเรามากในมาตาปิตุคุณสูตร พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า ลูกจะให้แม่นั่งบนบ่าขวา ให้พ่อนั่งบนบ่าซ้าย ถ่ายอุจจาระปัสสาวะลงไปบนบ่าลูก ลูกเป็นผู้เช็ดให้ หาอาหารมาป้อนให้ กระทั่งจนท่านตายหรือกระทั่งลูกตายไป ก็ไม่สามารถจะตอบแทนพระคุณค่าป้อนข้าวป้อนน้ำนมที่ท่านได้ถนอมกล่อมเกลี้ยงบำรุงเลี้ยงมาอย่างดีได้

ทำอย่างไรให้ได้ชื่อว่า ได้ทดแทนบุญคุณพ่อแม่อย่างเลิศที่สุด สรุปคือ ถ้าพ่อแม่เป็นมิจฉาทิฏฐิแล้ว ลูกสามารถชักจูงพ่อแม่ให้กลับเป็นสัมมาทิฎฐิได้นั้น ถือว่าได้ทดแทนคุณอย่างเลิศ เช่น พ่อแม่มีความเห็นผิด เป็นต้นว่าไม่เชื่อเรื่องบาปบุญคุณโทษ แล้วลูกสามารถชักจูงชี้แจงให้ท่านมีความเห็นที่ถูกต้อง เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว บุญบาปมีจริง ถ้าทำอย่างนี้ได้ถือว่า ทดแทนบุญคุณอย่างเลิศที่สุด

วิธีใช้หนี้พ่อแม่ไม่ยากเลยลูกทั้งหลายเอ๋ย จงสร้างความดีให้กับตัวเองและก็เป็นการใช้หนี้ตัวเองนี่เป็นเรื่องสำคัญ ตัวเราพ่อให้หัวใจแม่ให้น้ำเลือดน้ำเหลืองแล้วอยู่ในตัวเรา จะไปแสวงหาพ่อที่ไหน จะไปแสวงหาแม่ที่ไหนอีกเล่า บางคนรังเกียจ "แม่" ว่าแก่เฒ่าไม่สวยไม่งาม พอตัวเองแก่ก็เลยถูกหลานรังเกียจ จึงเป็นกงกรรมกงเกวียนยืดเยื้อกันต่อไปอีก ใครที่คุณแม่ล่วงลับไปแล้วก็ให้หมั่นทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ท่าน และถ้าจะทำบุญด้วยการมาเจริญกรรมฐานแล้วอุทิศส่วนกุศลไป การทำเช่นนี้ ถือว่าได้บุญมากที่สุดทั้งฝ่ายผู้ให้และผู้รับ
   

ถ้าไม่มี "แม่" เราทุกคนก็ไม่ได้เกิด อันนี้เป็นความจริงที่ไม่ต้องพิสูจน์ ผู้ใดก็ตามที่คุณแม่ยังมีชีวิตก็ให้กลับไปหาแม่ ไปกราบเท้าขอศีลขอพรจากท่าน จะได้มั่งมีศรีสุข ส่วนคนที่เคยทำไม่ดีไว้กับท่านก็นำเทียนแพไปกราบขออโหสิกรรมล้างเท้าให้ท่านด้วย เป็นการขอขมาลาโทษ
28266  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความหมายของคำว่า "นิพพาน" โดยพิสดาร เมื่อ: มกราคม 10, 2010, 11:51:29 am
๔. ปฏิปัสสัทธินิโรธ  ความดับกิเลสอย่างสงบระงับไปในขณะแห่งอริยผลนั่นเอง  ไม่ต้องขวนขวายเพื่อการดับอีก  เหมือนคนหายโรคแล้ว  ไม่ต้องขวนขวายหายาเพื่อดับโรคนั้นอีก

๕. นิสสรณนิโรธ  แปลตามตัวว่า  ดับกิเลสด้วยการสลัดออกไป  หมายถึง  ภาวะแห่งการดับกิเลสนั้นยั่งยืนตลอดไป  ได้แก่  นิพพานนั่นเอง  เหมือนความสุข  ความปลอดโปร่งอันยั่งยืนของผู้ที่หายโรคแล้วอย่างเด็ดขาด


ในบรรดานิโรธ ๕  นั้น  นิโรธหรือนิพพานข้อที่ ๑ นั้น  เป็นของปุถุชนทั่วไป  ข้อที่ ๒  เป็นของท่านผู้ได้ฌาน  ข้อ ๓ – ๕  เป็นของพระอริยบุคคล




****  พระอริยบุคคล  หมายถึงผู้ใด  ****

ท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว  ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นไป  ท่านเรียกว่า  พระอริยบุคคล  คือ  ท่านผู้ประเสริฐมีคุณธรรมสูง  มี  ๔  จำพวกด้วยกัน  คือ


๑. พระโสดาบัน  ละสังโยชน์กิเลส  (กิเลสซึ่งหน่วงเหนี่ยวสัตว์ไว้ในภพ)  ได้  ๓  อย่าง  คือ  สักกายทิฏฐิ  ความเห็นว่าขันธ์ ๕  เป็นตัวตนหรือของตน , วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัยในคุณพระรัตนตรัยในทางดำเนินให้ถึงนิพพาน , สีลัพพตปรามาส  การลูบคลำศีลและพรต  กล่าวคือ  มิได้ประพฤติศีลหรือบำเพ็ญพรตเพื่อความบริสุทธิ์  และเพื่อความขัดเกลากิเลส  แต่เพื่อลาภสักการะ  ชื่อเสียง  เป็นต้น  การประพฤติศีลบำเพ็ญพรตอย่างงมงายก็อยู่ในข้อนี้เหมือนกัน  ฯลฯ


๒. พระสกทาคามี  ละสังโยชน์ได้เหมือนพระโสดาบัน  แต่มีคุณธรรมเพิ่มขึ้น  ทำราคะ  โทสะ  และโมหะให้เบาบางลง


๓. พระอนาคามี  ละกิเลสเพิ่มขึ้นอีก  ๒  อย่าง  คือ  กามราคะ  ความกำหนัดในกามคุณ  และปฏิฆะ  ความหงุดหงิดรำคาญใจ


๔. พระอรหันต์  ละสังโยชน์เพิ่มขึ้นอีก  ๕  อย่าง  คือ  รูปราคะ  ความติดสุขในรูปฌาน  ,อรูปราคะ  ความติดสุขในอรูปฌาน , มานะ  ความทะนงตัว , อุทธัจจะ  ความฟุ้งซ่าน  ,อวิชชา  ความเขลา  ความไม่รู้ตามเป็นจริง
 
นิพพาน  หรือความดับทุกข์ นั้น  เป็นความต้องการโดยธรรมชาติของมนุษย์  ใครบ้างไม่ต้องการดับทุกข์  เมื่อความทุกข์เกิดขึ้น  คนเราก็ทุรนทุรายใคร่ดับ  ถ้าดำเนินการให้ถูกวิธี  ก็ดับได้  ถ้าดำเนินการผิดวิธีก็ดับไม่ได้  หรือถ้าดับได้ก็เป็นอย่างเทียม  การดับทุกข์ได้ครั้งหนึ่งเราเรียกกันเป็นโวหารว่า  “ความสุข”  ซึ่งมีทั้งอย่างแท้และอย่างเทียม  ความสุขที่เจือด้วยทุกข์จัดเป็นสุขเทียม  เช่น  สุขจากการสนองความอยากได้  หรือสุขที่ได้จากกามคุณ



ความสุขแท้จริงหรือสุขที่ไม่เจือทุกข์นั้น  ท่านมีคำเรียกว่า  นิรามิสสุข  เช่น สุขจากการบำเพ็ญคุณงามความดีต่างๆ เป็นสุขที่ละเอียดประณีตกว่า  ยั่งยืนกว่ามีคุณค่าสูงกว่า
นิโรธหรือนิพพานควรจะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตคนทุกคน  เพราะถ้าปราศจากจุดมุ่งหมายนี้เสียแล้ว  มนุษย์จะว้าเหว่เคว้งคว้าง  หาทิศทางแห่งชีวิตที่ดำเนินไปสู่ความร่มเย็นไม่ได้



****    ความมีอยู่จริงและเป็นไปได้แห่งนิพพาน    ****

บางท่านอาจมีความเห็นว่า  นิพพานเป็นสิ่งไม่มีอยู่จริง  และเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะหมดกิเลสบรรลุสภาวะที่ทางศาสนาเรียกว่า  นิพพาน  ผู้ที่ข้องใจเรื่องนี้เป็นเพราะเขาไม่เคยฝึกจิตเลย  มีชีวิตอยู่ด้วยการตามใจตัวเองแต่ประการเดียว  ถ้าเขาต้องการยับยั้งตนบ้างก็เพราะในเวลานั้นหรือในเรื่องนั้นเขาไม่อาจตามใจตัวเองเพราะมีอุปสรรคอย่างอื่นขวางอยู่  เขาต้องอดทนด้วยความกระวนกระวายใจ  แต่พอโอกาสเปิดหรือมีช่องทางที่จะตามใจตัวเองได้  เขาก็ตามใจตัวเองอยู่ร่ำไป  เขาไม่รู้จักสำรวมตน  ไม่รู้จักยับยั้งตนหรือความต้องการของตน  จิตของเขาคลุกอยู่กับกิเลสจนเกรอะกรังมืดมิด  ไม่อาจเห็นแสงสว่างแห่งจิตได้  เปรียบเหมือนกระจกใสที่โคลนจับจนหนา  บุคคลไม่อาจเห็นความใสของกระจก  และเมื่อไม่เห็นความใสของกระจก  ก็ไม่อาจเห็นภาพของตน  ที่อาศัยกระจกนั้นสะท้อนออกมาได้  คือกระจกนั้นหมดคุณภาพในการสะท้อนภาพ 



แต่เมื่อบุคคลขัดเอาโคลนออกหรือฝุ่นละอองซึ่งจับหนาออกมาแล้ว  ทำกระจกนั้นให้ใส  เขาย่อมมองเห็นความใสของกระจกและเงาของตนตามเป็นจริงที่กระจกนั้นสะท้อนภาพออกมา  ทำนองเดียวกัน  เมื่อจิตสะอาด  มีรัศมีตามสภาพของมัน (ประภัสสร)  ย่อมเห็นตามเป็นจริง  เมื่อโสโครกด้วยกิเลส  ย่อมมองไม่เห็นเลยหรือไม่เห็นตามเป็นจริง


ปกติภาพของจิตนั้นผ่องใส  แต่เศร้าหมองไปเพราะกิเลสที่จรมา  เมื่อสามารถกำจัดกิเลสได้จิตย่อมผ่องใสดังเดิม  เปรียบเหมือนน้ำ  ปกติภาพของน้ำคือใสสะอาดไม่มีสีไม่มีกลิ่น  แต่มีสีมีกลิ่นเพราะสารอย่างอื่นลงไปผสม  เมื่อสามารถกำจัดสารนั้นออกโดยวิธีกลั่นกรอง  หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างใดอย่างหนึ่ง  น้ำนั้นย่อมบริสุทธิ์ดังเดิม  ดังที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปว่า  “น้ำกลั่น”  คือน้ำที่กลั่นแล้ว  กลายเป็นน้ำบริสุทธิ์

อนึ่ง  กิเลสที่อยู่ตื้น เช่น  วีติกกมกิเลส  กล่าวคือ ความชั่วทางกาย  วาจา  บุคคลอาจละมันได้ด้วยศีล  หรือการสำรวมอินทรีย์  ควบคุมกาย วาจาให้อยู่ในสุจริต  ดีงามอยู่เสมอ  เมื่อนานเข้าย่อมกลายเป็นความเคยชิน  สามารถให้เป็นไปได้โดยง่าย  ไม่ต้องฝืน  เข้าทำนองการอบรมบ่มนิสัยจนอิ่มตัว  หรืออยู่ตัวแล้ว  ย่อมเป็นได้เองไม่ต้องบังคับ 



ส่วนกิเลสที่อยู่ละดับกลางที่เรียกว่า  ปริยุฏฐานกิเลส  ห่อหุ้มจิตอยู่ชั้นนอก  เช่น  นิวรณ์ ๕  มีกามฉันทะ  ความพอใจในกาม เมื่อได้ประสบอารมณ์อันน่าพอใจ  เป็นต้น  บุคคลย่อมกำจัดเสียได้ด้วยกำลังสมาธิ  เป็นการข่มไว้ชั่วคราวเหมือนกินยาคุมโรคไว้ไม่ให้ลุกลาม  และให้มีกำลังอ่อนลงเพื่อสะดวกแก่การกำจัดในขั้นสุดท้าย



กิเลสที่อยู่ลึกลงไป  เรียกว่า  อนุสัย  ห่อหุ้มจิตอยู่ชั้นใน เช่น  กามราคะ  ภวราคะ (ความพอใจในภพ)  เป็นต้น  บุคคลสามารถกำจัดเสียได้ด้วยปัญญา  ความรู้แจ้งในเรื่องชีวิต  โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิปัสสนาปัญญาอันละเอียดลึกซึ้ง  เป็นศัตราอันคมกล้าสำหรับฟาดฟันกิเลสให้ขาดสะบั้นลง



เปรียบกิเลสเหมือนสัตว์ร้ายเป็นต้นว่า  งู  การควบคุมกาย วาจา  ให้เรียบร้อยปราศจากโทษ  เหมือนการขังงูไว้ในเขตจำกัดไม่ให้เลื้อยไปไหนตามใจชอบ  สมาธิ คือการทำจิตให้สงบเหมือนการเอาไม่หนีบคองูไว้ให้อยู่กับที่  และให้เพลากำลังลง (สมาธิเหมือนไม้หนีบ)  ปัญญาเหมือนศัตราอันคมฟาดฟันคองูให้ขาดสะบั้นแยกหัวกับตัวออกจากกัน  ไม่มีพิษอีกต่อไป
 
การละกิเลสเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ด้วยการอบรมกาย วาจา ใจ เมื่อการละกิเลสเป็นสิ่งเป็นไปได้  นิพพานก็เป็นสิ่งเป็นไปได้  เพราะนิพพานก็คือการละกิเลสมีตัณหา เป็นต้น  สมดังที่พระบรมศาสดาตรัสว่า  ตณฺหาย  วิปฺปหาเนน  นิพฺพานํ  อิติ  วุจฺจติ  “เพราะละตัณหาได้  เราเรียกว่า นิพพาน”


พระสารีบุตรได้ตอบปริพาชกผู้หนึ่ง  ชื่อชัมพุขาทกะว่า  “ความสิ้นราคะ  โทสะ  และโมหะ  อันนี้แลเรียกว่านิพพาน”

นอกจากนี้  ความดับภพก็เรียกว่านิพพานเหมือนกัน  สมดังที่พระสารีบุตรกล่าวกับพระอานนท์ว่า  “ภวนิโรโธ  นิพฺพานํ  การดับภพเสียได้ชื่อว่านิพพาน”  (อังคุตตรนิกาย  ทสกนิบาต  พระไตรปิฎกเล่ม ๒๔ หน้า ๑๑)

รวมความว่า  พระนิพพานหรือทุกขนิโรธนั้นเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง  เป็นไปได้จริงและมีเป็นขั้นๆ ละเอียดประณีตขึ้นไปโดยลำดับ
 


****    สภาพแห่งนิพพาน    ****

สภาพแห่งนิพพานเป็นอย่างไร  ยากที่จะอธิบายได้  แม้สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเองก็อธิบายในเชิงปฏิเสธว่า  อันนั้นก็ไม่ใช่  อันนี้ก็ไม่ใช่  แต่นิพพานมีอยู่แน่ๆ ดังเช่นพระพุทธดำรัสที่ปรากฏในขุททกนิกาย  อุทาน  พระไตรปิฎกเล่ม ๒๕  หน้า ๒๐๖  ว่า

“ภิกษุทั้งหลาย  อายตนะนั้น(คือนิพพานนั้น) ไม่ใช่ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม  ไม่ใช่อากาสานัญจายตนะ,  ไม่ใช่วิญญานัญจายตนะ,  ไม่ใช่อากิญจัญญายตนะ, เนวสัญญานาสัญญายตนะ,  ไม่ใช่โลกนี้  ไม่ใช่โลกอื่น,  ไม่ใช่ดวงจันทร์  ดวงอาทิตย์  ไม่ใช่การมา  การไป  ไม่ใช่การดำรงอยู่,  การจุติ  และอุบัติ  อายตนะนั้นหาที่ตั้งมิได้,  ไม่เป็นไป  ไม่มีอารมณ์  แต่อายตนะนั้นมีอยู่  นั่นแหละเป็นที่สุดแห่งทุกข์”


 แปลความว่า  พระพุทธองค์ท่านไม่มีภาษาจะเรียกนิพพานเหมือนกัน  แต่ทรงยืนยันว่ามีอยู่แน่ๆ จะเปรียบด้วยอะไรก็ไม่เหมือน  ไม่มีคำเรียกในโลกียวิสัย  โดยอาจเปรียบให้ฟังว่า  เปรียบเหมือนชายผู้หนึ่งเกิดในชนบท  เจริญเติบโตในชนบท  แต่ต่อมาเขาได้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพ ฯ  และได้เข้าชมโบสถ์พระแก้ว  ได้นมัสการพระแก้วมรกต  เขาได้เห็นด้วยตนเอง  สัมผัสสถานที่นั้นด้วยตนเอง  ต่อมาเขากลับไปชนบทได้เล่าให้หมู่ญาติฟังว่าที่กรุงเทพฯ  มีสถานที่แห่งหนึ่งเขาเรียกว่า โบสถ์พระแก้วหรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  สวยงามมากงามเหลือเกิน  พวกญาติสนใจชวนกันซักถามขอให้เขาเล่าให้ฟัง  อุปมาให้ฟังก็ได้ว่าโบสถ์พระแก้วนั้นเป็นอย่างไร  เหมือนอะไรในหมู่บ้านนี้  ตำบลนี้  หรือในเมืองนี้เท่าที่เขาพอจะมองเห็นได้  บุรุษผู้นั้นมองไม่เห็นสิ่งใดเหมือน  จึงปฏิเสธเรื่อยไปว่า  อย่างนั้นก็ไม่ใช่อย่างนี้ก็ไม่ใช่  ไม่มีอะไรเหมือน  ไม่เหมือนอะไร  แต่โบสถ์พระแก้วมีอยู่จริง  มีอยู่แน่ๆ เขาได้เห็นมาแล้วด้วยตนเอง


อีกอุปมาหนึ่ง  เปรียบเหมือนสัตว์น้ำ เช่นปลาผู้เกิดในน้ำ  เจริญเติบโตในน้ำ  ไม่เคยเห็นบกไม่เคยขึ้นบก  ต่อมามีเต่าตัวหนึ่งซึ่งเป็นสัตว์ที่อยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก เที่ยวไปบนบก  ไปเห็นช้างซึ่งมีรูปร่างใหญ่โตเหลือเกิน  จึงนำเรื่องนี้ไปเล่าให้หมู่ปลาฟัง  ฝูงปลาขอให้เทียบให้ดูว่าใหญ่อย่างไร  เหมือนอะไรที่พวกมันเคยเห็น  และพอจะนึกรู้ได้  เต่าก็ตอบปฏิเสธเรื่อยไปว่าไม่เหมือนอย่างนั้นไม่เหมือนอย่างนี้  แต่ช้างมีอยู่แน่ๆ เพราะได้เห็นกับตามาแล้ว
พระนิพพานก็เป็นทำนองนั้น  คือไม่เหมือนอะไร  และไม่มีอะไรเหมือน




คุณภาพแห่งนิพพาน


คุณภาพหรือคุณสมบัติแห่งนิพพาน  พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้มากอย่าง  ขอยกมากล่าวเพียง  ๒  ประการ  คือ

๑. พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง  เพราะไม่ถูกกิเลส  มีราคะ  โทสะ  และโมหะ  เป็นต้นเบียดเบียน  ปุถุชนเดือดร้อนอยู่เพราะ ความอยากอันใด  ความยึดมั่นอันใด  ความอยากและความยึดมั่นอันนั้นไม่มีในนิพพาน  เพราะฉะนั้นนิพพานจึงเป็นสุขอย่างยิ่ง


๒. พระนิพพานสงบอย่างยิ่ง  ประณีตอย่างยิ่ง  เป็นที่สงบระงับสังขารทั้งปวง  เป็นที่สละคืนซึ่งอุปธิทั้งปวง  เป็นที่สิ้นตัณหา  เป็นที่คลายกิเลส  เป็นที่ดับแห่งกิเลสทั้งปวง


ข้อมูลจากนายวศิน  อินทสระ
*************************************************************



ทฤษฎีว่าด้วยนิพพาน

ผู้ที่ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานจนมรรคญาณปรากฏขึ้น บรรลุพระโสดาบัน  พระสกทาคามีพระอนาคามีแล้วเท่านั้น   จึงจะมีปัญญาเข้าใจนิพพานได้อย่างถูกต้อง  และพระอรหันต์เท่านั้นที่จะรู้แจ้งเห็นจริงในลักษณะแห่งนิพพาน  และสัมผัสนิพพานได้อย่างแท้จริง   สำหรับปุถุชนทั่วไปย่อมไม่มีใครที่จักสามารถเข้าใจซาบซึ้ง  และรู้รสชาติแห่งนิพพานได้อย่างแน่นอน  จริงอยู่มีผู้พยายามอธิบายถึงลักษณะของนิพพานว่า  มีลักษณะเป็นอย่างนั้น  อย่างนี้ ก็ว่ากันไปตามสติปัญญาและจินตนาการ  คาดคะเนเอาตามความนึกคิดของตน

นิพพานนั้น  แบ่งออกได้เป็น  ๒  ประเภท คือ นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่
(สอุปาทิเสสนิพพาน)  อย่างหนึ่งกับนิพพานของพระอรหันต์ที่ดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว   (อนุปาทิเสสนิพพาน)  อีกอย่างหนึ่ง

นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น  ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่า  พระอรหันต์ทั้งหลาย  กิเลสสังโยชน์ของท่านดับหมดแล้วแต่ร่างกายและจิตของท่านยังมีอยู่  เรียกว่า   ยังมีขันธ์  ๕  เหลืออยู่ คือ มีรูป  เวทนา  สัญญา  สังขาร  วิญญาณ   แต่มีความบริสุทธิ์ยิ่งกว่าคนธรรมดาสามัญ  จิตที่เป็นอกุศลไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้เลย  ร่างกายยังมีความต้องการอาหาร  พักผ่อนหลับนอนมีการเจ็บป่วยอยู่  แต่จิตใจของท่านเป็นอุเบกขา  บริโภคอาหารด้วยความต้องการของร่างกาย  มิใช่ความอยากที่เจือปนไปด้วยกิเลส  ตัณหา 

เมื่อร่างกายเจ็บป่วย ก็มีทุกขเวทนาทางกายเท่านั้น  ทุกขเวทนาทางจิตแม้แต่น้อยหนึ่งก็ไม่มี  จิตของพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเป็นแต่เพียงอาศัยกายเท่านั้น  เหมือนนกอาศัยรัง  ไม่ถือว่ารังเป็นตัวตนของนก  จิตจึงมีแต่ความผ่องแผ้วอยู่เป็นนิจ   เป็นชีวิตที่เกษมสันต์บริสุทธิ์  นอกจากนั้นพระอรหันต์ทั้งหลายย่อมเข้าสู่อรหัตตผลสมาบัติ  น้อมเอานิพพานเป็นอารมณ์ได้ตามปรารถนาระหว่างที่ยังมีชีวิตอยู่

นิพพานของพระอรหันต์ที่ดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้วนั้น  เป็นกรณีที่พระอรหันต์ดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว  จึงปราศจากร่างกายและจิต  ที่เรียกว่า   ปราศจากขันธ์   ๕  คือ รูป  เวทนา   สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  ซึ่งดับสนิทไม่มีเหลือแล้ว   จึงแตกต่างจากนิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีชีวิตอยู่

ตามปกติ ผู้ที่มิใช่พระอรหันต์เมื่อถึงแก่ความตายแล้วจิตยังไม่ดับสนิท  ต้องไปเกิดในภพภูมิต่าง ๆ อีก  ตามอำนาจแห่งผลกรรม  ตามอำนาจแห่งกรรมอารมณ์  กรรมนิมิตอารมณ์คตินิมิตอารมณ์  หรือตามสภาวะพลังจิตของตน  ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น  พระอรหันต์เท่านั้น  เมื่อดับขันธ์สิ้นชีวิตแล้ว  จิตหรือขันธ์  ๕ จึงจะดับสนิท  ไม่ต้องไปเกิดตามอำนาจแห่งผลกรรมอีก  เป็นการดับสนิทที่แท้จริงตลอดกาลนิรันดร

ปัญหามีว่า  แล้วนิพพานนั้นคืออะไร ?  นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง  ที่จิตของพระอริยะหรือพระอรหันต์เท่านั้นที่จะสัมผัสได้ จิตของปุถุชนไม่อาจสัมผัสได้เป็นธรรมชาติที่บริสุทธิ์เยือกเย็น  ความทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายดับสนิท เป็นความสุขอันยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงปราศจากปัจจัยปรุงแต่ง  จึงไม่มีลักษณะเกิดขึ้น  ตั้งอยู่   แล้วดับไปเหมือนสิ่งต่าง ๆ มีลักษณะคงที่และนิรันดร  แต่มิใช่บ้านเมือง  โลก  ภพภูมิต่าง ๆ 

นิพพานไม่ใช่จิต แต่จิตของพระอริยะหรือพระอรหันต์สัมผัสได้  นิพพานไม่ใช่สิ่งประกอบเข้ากับจิต  ที่เรียกว่า  เจตสิก

เพราะสิ่งที่ประกอบเข้ากับจิตทั้งหลาย  เช่นปีติ  สุข  อุเบกขา เป็นต้น  เป็นสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง  เกิดขึ้น  ตั้งอยู่  แล้วก็ดับไปได้ไม่คงที่  ไม่เป็นที่นิรันดร

นิพพานนั้นเป็นธรรมชาติที่มีอยู่ใกล้ตัวเรา ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งให้เกิดขึ้น  จึงไม่เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุและปัจจัย  มีลักษณะคงที่  และนิรันดร จิตที่สัมผัสนิพพานได้จะเป็นจิตที่เยือกเย็น  ความทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายดับสนิท  เป็นความสุขอันยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง  แต่จิตที่จะสัมผัสนิพพานได้นั้น   จะต้องเป็นจิตที่ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน  จนมรรคญาณปรากฏ  กิเลสและสังโยชน์ทั้งหลายดับสนิทหมดแล้ว   ความจริงจิตที่ดับกิเลสและสังโยชน์ได้สนิทแล้ว   ก็เป็นจิตที่เยือกเย็นความทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายดับสนิท   และเป็นความสุขอัดยอดเยี่ยมอย่างแท้จริงอยู่ในตัวเองแล้ว  สภาวะที่จิตสัมผัสอยู่ดังกล่าวนั้นเอง  เรียกว่า “นิพพาน”

จิตที่มีกิเลสและสังโยชน์ย่อมจะมีความทุกข์  ความเร่าร้อน  ถูกห่อหุ้มไว้ด้วยตัณหา  อุปาทานเป็นจิตที่ไม่อาจสัมผัสความเยือกเย็น  และความสุขอันยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง  และนิรันดร  อย่างพระนิพพานได้

จิตที่ได้รับการฝึกอบรมสมาธิหรือสมถกรรมฐาน  จะเป็นจิตที่เริ่มบริสุทธิ์ผุดผ่องมากขึ้น  จิตจะเริ่มรู้รสของปราโมทย์ปีติ  ความสงบระงับ  (ปัสสัทธิ)  สุข  ที่ปราศจากอามิส  อุเบกขา  ความว่าง  (อากาสานัญจายตนะ)  เป็นต้น  อันเกิดจากอำนาจของสมาธิ  หรือสมถกรรมฐาน  แต่ธรรมชาติดังกล่าวเกิดขึ้นโดยมีปัจจัยปรุงแต่ง  จึงเป็นสภาวะชั่วคราว  ไม่คงทนถาวร  เกิดขึ้นตั้งอยู่  แล้วก็ดับไป  เมื่อออกจากฌานสมาบัติ  จิตเสื่อม  สภาวะดังกล่าวก็หายไปจากจิตได้  สภาวะจิตดังกล่าวจึงไม่อาจสัมผัสนิพพาน  ซึ่งมีลักษณะคงทนถาวร  และไม่มีปัจจัยปรุงแต่งได้จึงต้องฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน ให้จิตเกิดปัญญาญาณเพิ่มมากขึ้น   จนมรรคญาณปรากฏ  บรรลุพระโสดาบัน  พระสกทาคามี พระอนาคามี  และพระอรหันต์  ในที่สุด 

ในขณะที่  มรรคญาณและผลญาณปรากฏขึ้นนั้นเอง  จิตได้สัมผัสกับนิพพานซึ่งเป็นธรรมชาติที่เยือกเย็นความทุกข์และความเร่าร้อนทั้งหลายดับสนิทและเป็นความสุขอันยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง   และหลังจากนั้นก็จะสามารถสัมผัสกับนิพพานได้ตามปรารถนา  โดยการกำหนดจิตเข้าสู่ผลญาณสมาบัติ

ความจริงเรื่องนิพพาน  แม้นิพพานในปัจจุบัน(สอุปาทิเสสนิพพาน)  ก็เป็นการยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้  เพราะเป็นสิ่งที่ลุ่มลึก  ยากที่จะเห็น  ยากที่จะรู้  ไม่ใช่สิ่งที่จะหยั่งถึงได้ด้วยการคาดคะเน  นึกคิด  จินตนาการเอาตามความเข้าใจของตนเองได้เลย



ผมขอแสดงไว้เท่านี้ก่อน ความจริงฉบับเต็มมีเป็นร้อยหน้า
ที่มา  http://gotokhow.org

28267  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ความหมายของคำว่า "นิพพาน" โดยพิสดาร เมื่อ: มกราคม 10, 2010, 11:38:15 am
นิพพานคืออะไร
           
- ความหมายของนิพพาน
- นิพพาน…อย่างไร
- ทฤษฎีว่าด้วยนิพพาน
- นิพพาน คือ ความจริงสูงสุด
- ลักษณะของความจริงที่เรียกว่านิพพาน
- ความจริงสูงสุดในคำสอนของพุทธศาสนา
- ปัญหาเรื่อง นิพพาน ของคนยุคปัจจุบัน...?

ความหมายของนิพพาน

คำว่า  “นิพพาน”  มาจาก  นิ  อุปสรรค  แปลว่า  ออกไป   หมดไป  ไม่มี  เลิก+วาน  แปลว่าพัดไป  หรือเป็นไปบ้าง   เครื่องร้อยรัดบ้าง  ใช้เป็นกิริยาของไฟหรือการดับไปหรือของที่ร้อนเพราะไฟ  แปลว่า  ดับไฟหรือดับร้อน  หมายถึง  หายร้อน  เย็นลง  หรือเย็นสนิท  (แต่ไม่ใช่ดับสูญ)  แสดงสภาวะทางจิตใจ  หมายถึง  เย็นใจ  สดชื่น ชุ่มชื่นใจ   ดับความร้อนใจ  หายร้อนรน  ไม่มีความกระวนกระวาย  หรือแปลว่า  เป็นเครื่อง  ดับกิเลส  คือ  ทำให้ราคะ   โทสะ  โมหะ  หมดสิ้นไป  แต่ในปัจจุบันนิยมแปลว่า  ไม่มีตัณหาเครื่องร้อยรัด   หรือออกไปแล้วจากตัณหาที่เป็นเครื่องร้อยรัดติดไว้กับภพ  นิพพานเป็นการดับสนิทของไฟ  กล่าวคือ  ไฟคือราคะ  ไฟคือโทสะ  นิพพานจึง หมายถึง  สภาพเย็นสนิท

นิพพาน ตามความหมายเชิงอรรถ   พูดในเชิงภาพพจน์หรืออุปมาเมื่อ  อวิชชา  ตัณหา  อุปาทาน  ดับไป  นิพพานก็ปรากฏแทนที่พร้อมกัน  หรืออาจกล่าวได้ว่า  การดับอวิชชา  ตัณหาอุปาทาน  นั่นแหละ  คือ  นิพพาน  “จิตใจเปิดเผยกว้างขวางไม่มีประมาณ  โปร่งโล่ง  เป็นอิสระเป็นภาวะที่แจ่มใส  สะอาด  สว่างสงบ   ละเอียดอ่อน  ประณีต   ลึกซึ้ง”  สำหรับผู้เข้าถึงก็รู้เห็นประจักษ์แจ้งเองเมื่อนั้น  ดังคุณบท  คือ  คำแสดงคุณลักษณะของนิพพานว่า  “นิพพาน อันผู้บรรลุเห็นได้เองไม่ขึ้นกับกาลเวลา  เรียกให้มาดได้  ควรนอบน้อมเอามาไว้  อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”ส่วนข้อความภาวะโดยตรงจะยกมาประกอบพิจารณาดังพุทธพจน์ที่ปรากฏในขุททกนิกาย  อุทานมีเรื่องหนึ่งว่า  คราวหนึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมมีกถาเกี่ยวกับนิพพานแก่ภิกษุทั้งหลายพระพุทธองค์ได้ทรงเปล่งอุทานว่า

.....มีอยู่นะ  ภิกษุทั้งหลาย  อายตนะที่ไม่มีปฐวี  ไม่มีอาโป  ไม่มีเตโช  ไม่มีวาโย   ไม่มีอากาสานัญจายตนะ  ไม่มีวิญญาณัญจายตนะ  ไม่มีอากิญจัญญายตนะ   ไม่มีแนวสัญญายตนะไม่มีโลกนี้  ไม่มีปรโลก  ไม่มีดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ทั้งสองอย่าง  เราไม่กล่าวอายตนะนั้นว่าเป็นการมา  การไป  การหยุดอยู่  การจุติ   การอุบัติ  อายตนะนั้นไม่มีที่ตั้งอาศัย  (แต่ก็)ไม่เป็นไป ทั้งไม่ต้องมีเครื่องยึดหน่วง  นั่นแหละคือจุดจบของทุกข์

ขุ.อุ.๒๕/๑๕๘/๑๗๕.  พระไตรปิฎกภาษาไทย  ฉบับหลวง ๒๕๑๔.



จากพุทธพจน์ข้างต้นนี้ย่อมเป็นเครื่องยืนยันได้ว่า  ผู้ปฏิบัติย่อมเข้าถึงได้ในสภาวะที่ปราศจากกิเลสด้วยสติปัญญาของมนุษย์เอง  ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น  ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้เพราะธรรมดาของมนุษย์   เมื่อไม่เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใดก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าพื้นเทียบภาวะของนิพพาน  นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใดทีปุถุชนเคยรู้เคยเห็นดังนั้นปุถุชนจึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้  แต่จะว่านิพพานไม่มีก็ไม่ถูก

การบรรลุนิพพานและธรรมขั้นสูงอื่น ๆ   เป็นสิ่งที่มีอยู่และเป็นไปได้จริงว่า  ในเมื่อทำปัญญาให้เกิดขึ้น  ดังพุทธพจน์เป็นเครื่องแสดงว่าพระพุทธองค์ทรงยืนยัน  ทรงตรัสโต้มติของพราหมณ์คนหนึ่งผู้เห็นว่าเป็นไปไม่ได้ที่มนุษย์จะรู้จะเห็นญาณทรรศนะวิเศษยิ่งกว่าธรรมดาของมนุษย์ความว่า

นี่แน่ะ  มาณพ  เปรียบเหมือนคนตาบอดแต่กำเนิด  เขาไม่เห็นรูปดำ รูปขาว  รูปเขียว  รูปเหลือง  รูปแดง รูปสีชมพู   รูปที่เรียบเสมอและไม่เรียบ  ไม่เห็นหมู่ดาว  ดวงจันทร์  ดวงอาทิตย์ (ถ้า)   เขากล่าวว่า  รูปดำ  รูปขาวไม่มี  คนเห็นรูปดำรูปขาวก็ไม่มี   รูปเขียวไม่มี คนเห็นรูปเขียวก็ไม่มี  ฯลฯ  ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ไม่มี  คนเห็นดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็ไม่มี ข้าฯ   ไม่รู้  ข้า ฯ   ไม่เห็นสิ่งนั้น  ๆ  เพราะฉะนั้น   สิ่งนั้น ๆ  ย่อมไม่มี   เมื่อเขากล่าวดังนี้   จะชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือมาณพ  มาณพทูลตอบว่า  ไม่ถูกต้องพระองค์จึงตรัสต่อไปว่า  ข้อนี้ก็เช่นกัน  พราหมณ์โปกขรสาติ  โอปมัญญาโคตร ผู้เป็นใหญ่ในสุรควัน  เป็นคนมือบอดไม่มีจักษุการที่เขาจะรู้เห็นธรรมบรรลุญาณทัศนะวิเศษอันประเสริฐเหนือกว่ามนุษยธรรม  จึงเป็นไปไม่ได้

ม.ม.๑๓/๗๑๙/๖๕๖.  พระไตรปิฎกภาษาไทย  ฉบับหลวง ๒๕๑๔.

ประเภทนิพพาน


ตามภาวะที่แท้จริง  นิพพานมีอย่างเดียวเท่านั้น  แต่ที่แยกประเภทออกไป  เพื่อแสดงอาการของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับนิพพานบ้าง  พูดถึงนิพพานโดยปริยายคือความหมายบางด้านเท่านั้นโดยจำแนกได้  ๒  ประการคือ

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ได้แก่  นิพพานธาตุยังมีเบญจขันธ์เหลือ  หมายถึง  นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังมีชีวิตอยู่และยังเกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์


๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ได้แก่  นิพพานธาตุไม่มีเบญจขันธ์ เหลือ  หมายถึง  นิพพานของพระอรหันต์ผู้ที่ดับขันธ์แล้วและไม่เกี่ยวข้องกับเบญจขันธ์

เพื่อที่จะศึกษาวิเคราะห์เรื่องนิพพานให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่ง ๆ  ขึ้นไปจะได้ยกสาระสำคัญเกี่ยวกับสอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ   ดังความปรากฏใน  ขุททกนิกาย  อิติวุตตกะ  ว่า

แท้จริงพระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคองค์อรหันต์ได้ตรัสไว้  ข้าพเจ้าได้สดับมานี้  ภิกษุทั้งหลายนิพพานธาตุ  ๒  อย่างเหล่านี้  กล่าวคือ  สอุปาทนิเสสนิพพานธาตุ  และอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ภิกษุทั้งหลาย  สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ  เป็นไฉน  ภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุในธรรมวินัยเป็นอรหันต์สิ้นอาลวะแล้ว  อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว  ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว   ปลงภาระลงได้แล้วบรรลุประโยชน์ตนแล้ว  มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้วหลุดพ้นแล้ว  เพราะ  รู้ชอบ  อินทรีย์   ๕  ของเธอยังดำรงอยู่เทียว  เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหายเธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ  ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์   อันได้เป็นความสิ้นราคะความสิ้นโทสะ  ความสิ้นโมหะ  ของเธอ  อันนี้เรียกว่า  สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  เป็นไฉน  ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระอรหันต์สิ้นอาสวะ....หลุดพ้นแล้ว  เพราะรู้ชอบอารมณ์ที่ได้เสวย  (เวทยิต)  ทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของเธอซึ่งเธอไม่ติดใจเพลินแล้ว  (อนภินันทิต)  จักเป็นของเย็น   ข้อนี้เรียกว่า  อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ

ในตอนท้ายของพระสูตร   พระพุทธองค์ได้ตรัสคาถาประพันธ์ว่า  นิพพานธาตุ  ๒  อย่าง  เหล่านี้  พระผู้ทรงจักษุ  ผู้คงที่  ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด  ได้ทรงประกาศไว้แล้ว  (คือ)  นิพพานธาตุอย่างหนึ่งเป็นทิฏฐธัมมิกะ  (มีในปัจจุบันหรือทันตาเห็น)   ชื่อว่าสอุปาทิเสส  เพราะสิ้นตัณหาเครื่องไปสู่ภพส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง   เป็นสัมปรายิกะ  (มีในเบื้องหน้าสัมปรายิกะหรือเป็นของล้ำ)  เป็นที่ภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น  ชื่อว่า  อนุปาทิเสส  ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้  มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ  ชนเหล่านั้นยินดีในนิพพาน  เป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรมอันเป็นสาระ  เป็นผู้คงที่  ละภพได้ทั้งหมด

ขุ.อิติ. ๒๕/๒๒๒/๒๓๑. พระไตรปิฎกภาษาไทย  ฉบับหลวง.



จากพุทธพจน์ที่แสดงนิพพานธาตุ  ๒  อย่างดังกล่าวมาแล้ว  จะเห็นได้ว่าเป็นการกล่าวถึงนิพพานโดยบรรยายอาการ  หรือลักษณะแห่งการเกี่ยวข้องกับนิพพาน  กล่าวคือเป็นการกล่าวถึงนิพพานเท่าที่เกี่ยวข้องกับบุคคลผู้บรรลุ  หรืออาจกล่าวได้ว่า  ใช้บุคคลผู้บรรลุนิพพานเป็นอุปกรณ์สำหรับทำความเข้าใจเกี่ยวกับนิพพาน  มิใช่เป็นการบรรยายภาวะของนิพพานล้วน ๆ  โดยตรง  และ

อาจจะชี้แจงได้อีกว่า  ผู้ที่บรรลุพระอรหันต์เป็นบุคคลผู้ซึ่งดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง  ปราศจากการเสพอารมณ์ทั้งที่พอใจและไม่พอใจ  ย่อมไม่ยึดมั่นในอารมณ์ทั้งที่เป็นอิฏฐารมณ์คืออารมณ์ที่น่าปรารถนา  และอนิฏฐารมณ์คือ  อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา  หลักการนี้ก็เป็นเครื่องยืนยันได้อีกว่านิพพานนั้นอาจมีผู้เข้าใจได้อย่างแน่นอน
 
นิพพานซึ่งแบ่งเป็น  ๒  ประเภทนั้น  นิพพานอย่างแรกในรุ่นอรรถกถาว่า  กิเลสปรินิพพาน  (ดับกิเลสสิ้นเชิง)  นิพพานอย่างที่สอง  ตรงกับคำที่คิดขึ้นใช้ในรุ่นอรรถกถาว่า  ขันธปรินิพพาน  (ดับขันธ์  ๕  สิ้นเชิง)   สำหรับความหมายของนิพพานทั้งสองอย่างนั้น  พระราชวรมุนี (ประยุทธ์  ปยุตฺโต)   ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

๑.   สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ   แปลว่า  ภาวะของนิพพานที่เป็นไปกับด้วยอุปธิเหลืออยู่หรือนิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์  ๕  ได้แก่  นิพพานของพระอรหันต์  ในเวลา ที่เสวยอารมณ์ต่าง ๆ  รับรู้สุขทุกข์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕   หรือนิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕   ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์พูดอีกอย่างหนึ่งว่านิพพานท่ามกลางกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง ๕  ซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์  ๕   โดยฐานเป็นอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรับรู้นิพพานในข้อนี้  เป็นด้านที่เพ่งถึงผลซึ่งปรากฏออกมาในการรับรู้  หรือการเกี่ยวข้องกับโลก  คือ  สิ่งแวดล้อมในการดำรงชีวิตตามปกติของพระอรหันต์ 

ดังนั้น  จึงเล็งไปที่ความหมายในแง่ของความสิ้นราคะ  โทสะ  และโมหะ  ซึ่งทำให้การรับรู้หรือเสวยอารมณ์ต่าง ๆ  เป็นไปด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ  ขยายความออกไปว่า  สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ได้แก่  ภาวะจิตของพระอรหันต์นั้นผู้ยังมีอินทรีย์สำหรับอารมณ์ต่าง ๆ  บริบูรณ์ดีอยู่ตามปกติเสวยอารมณ์ทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ  ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมชาติของมัน  การเสวยอารมณ์หรือเวทนานั้น  ไม่ถูกกิเลสครองงำหรือชักจูง  จึงไม่ทำให้เกิดตัณหา  ทั้งในทางบวกและทางลบ  (  ยินดี-ยินร้าย-ชอบ-ชัง-ติดใจ-ขัดใจ)     พูดอีกอย่างหนึ่งว่าไม่มีตัณหาที่จะปรุงแต่งภพหรือชักนำไปสู่ภพ  (ภวเนตฺติ) 


ภาวะนี้มีลักษณะที่มองได้ ๒  ด้าน ด้านหนึ่ง  คือ  การเสวยอารมณ์  นั้นเป็นเวทนาอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ในตัว   เพราะไม่มีสิ่งกังวลติดข้องค้างใจหรือเงื่อนปมใด ๆ   ภายในที่จะมารบกวน  และอีกด้านหนึ่งเป็นการเสวยอารมณ์อย่างไม่สงบ  ไม่อภินันท์  ไม่ถูกครอบงำ  หรือผูกมัดตัว   ไม่ทำให้เกิดการยึดติดหรือมัวเมาเป็นเงื่อนงำต่อไปอีก   ภาวะเช่นนี้ย่อมเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในการดำรง ชีวิตามปกติของพระอรหันต์เป็นเรื่องปัจจุบันเฉพาะหน้า  แต่ละเวลาแต่ละขณะที่รับรู้อารมณ์ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งเรียกว่าทิฏฐิธรรม  แปลว่า  อย่างที่เห็น ๆ  กัน  หรือทันตา

เห็นในเวลานั้น ๆ ตามความหมายดังที่กล่าวมานี้นิพพานธาตุอย่างที่หนึ่ง  จึงต้องเป็นภาวะของพระอรหันต์ที่ยังทรงชีพและดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องกับโลกภายนอกอยู่ตามปกติ   อย่างที่เห็น ๆ  กันและทันตาเห็นปัจจุบัน
 
๒  อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  แปลว่า  ภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่   หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์  ๕  ได้แก่  นิพพานของพระอรหันต์พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕   หรือ  นิพพานของพระอรหันต์ที่นอกเหนือจากความเกี่ยวข้องกับขันธ์  ๕   ในกระบวนการรับรู้  เสวยอารมณ์ 

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า   ภาวะของนิพพานเองล้วน ๆ  แท้ ๆ  ซึ่งประจักษ์แก่พระอรหันต์ในเมื่อประสบการณ์ในกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง  ๕   สิ้นสุดลงหรือในเมื่อไม่มีการรับรู้หรือในเมื่อไม่มีการเกี่ยวข้องกับการรับรู้อารมณ์ทางประสาททั้ง  ๕   เหล่านั้น   (รวมทั้งอารมณ์ผ่านทางประสาททั้ง  ๕  นั้น  ที่ยังค้างอยู่ในใจ) 

ขยายความออกไปว่า  อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  ได้แก่ภาวะนิพพานที่พระอรหันต์ประสบอันเป็นส่วนที่ลึกซึ้งลงไปหรือล้ำเลยออกไปกว่าที่มองเห็นกันได้พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์หรือรับรู้ประสบการณ์ทางอินทรีย์ทั้ง  ๕   แล้ว  กล่าวคือ  หลังจากรับรู้ประสบการณ์  หรือเสวยอารมณ์  โดยไม่อภินันท์  ด้วยตัณหา  ไม่เสริมแต่งคลอเคลียหรือกริ่มกรุ่นด้วยกิเลสคือราคะ  โทสะ  และโมหะ  (อภินันทิตะ)  แล้ว  อารมณ์หรือประสบการณ์เหล่านั้น ก็ไม่ค้างคาที่จะมีอำนาจครอบงำชักจูงหรือรบกวนต่อไปอีก  จึงกลายเป็นของเย็น  (สีติภวิสฺสนฺติ)  คือสงบราบคาบหมดพิษสงไป  ไม่อาจก่อชาติก่อภพขึ้นได้อีก

พูดเป็นสำนวนว่า   พระอรหันต์มีความสามารถพิเศษที่จะทำให้อารมณ์หรือประสบการณ์ต่าง ๆ  ที่ผ่านเข้ามา  มีสภาพเป็นกลางปราศจากอำนาจครอบงำหน่วงเหนี่ยว   กลายเป็นของสงบเย็นอยู่ใต้อำนาจของท่าน  พระอรหันต์จึงได้ชื่อที่เป็นคุณลักษณะอย่างอื่นว่า  สีติภูตะ  หรือสีตะ  แปลว่า  เป็นผู้เย็นแล้ว  ภาวะที่ประจักษ์โดยปราศจากประสบการณ์เสริมแต่งค้างคาอยู่  หรือภาวะที่ประสบในเมื่อไม่มีอารมณ์ภายนอกคั่งค้างครองใจหรือคอยรบกวนอย่างเช่นนี้ 

นับว่าเป็นภาวะชั้นในซึ่งอยู่นอกเหนือจากการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก   ล้ำเลิศไปกว่าระดับการรับรู้ทางอินทรีย์  ๕   พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ที่พัวพันอยู่กับขันธ์  ๕  เป็นอารมณ์  ท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว  ก็จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์  คือประจักษ์หรือประสบนิพพานในฐานะที่เป็นธัมมายตนนิพพาน  ในข้อที่สองนี้   เป็นด้านที่เพ่งถึงภาวะของนิพพานเองแท้ ๆ  ที่ประจักษ์แก่พระอรหันต์พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก  นอกเหนือจากการดำเนินชีวิตตามปกติ   เป็นภาวะที่พูดถึงหรือบรรยายได้เพียงแค่ลักษณะของการเกี่ยวข้องกับนิพพานนั้น  ถึงจุดที่ประสบการณ์ที่รู้ที่เข้าใจกัน  ซึ่งไม่ใช่นิพพานได้สิ้นสุดลงส่วนภาวะของนิพพานเองแท้ ๆ   ซึ่งลึกเลยไปกว่านั้น   เป็นเรื่องของผู้ประสบและประจักษ์เองจะรู้และเข้าใจ  คือเป็นสันทิฏฐิกะ  ดังได้กล่าวมาแล้ว
 
ถ้าจะอุปมาเปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนที่ว่ายน้ำฝ่ากระแสคลื่นลมในทะเลใหญ่  ผู้บรรลุนิพพานก็เหมือนคนที่ขึ้นฝั่งได้แล้ว   ภาวะที่ขึ้นอยู่บนฝั่งแล้ว   ซึ่งเป็นภาวะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัวของมันเอง  มีความปลอดโปร่งโล่งสบาย  ซึ่งบุคคลผู้นั้นประสบอยู่ภายใน  ประจักษ์แก่ตนเองโดยเฉพาะ  เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน  ส่วนภาวะที่ไม่ถูกบีบคั้นคุกคาม  ไม่ติดขัดจำกัดตัวอยู่ในเกลียวคลื่น  ไม่ถูกขัดไปขัดมา  ไม่เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจนองคลื่นลม  สามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบข้างอย่างเป็นอิสระและได้ผลดี   ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ตามความปรารถนาเปรียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน

หรือถ้าจะอุปมาให้ใกล้ตัวมากกว่านั้นเปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนเจ็บไข้  ผู้บรรลุนิพพานก็เหมือนคนที่หายป่วยแล้วหรือคนที่สุขภาพดี  ไม่มีโรค  ความไม่มีโรค  หรือความแข็งแรงมีสุข ภาพดีนั้นเป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง  ซึ่งบุคคลผู้รู้นั้นจะประสบประจักษ์อยู่ภายในตนเองโดยเฉพาะ  ภาวะนี้จะอิ่มเอิบชื่นบานปลอดโปร่ง  โล่งสบายคล่องเบาอย่างไร  เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวของผู้นั้น  คนอื่นอาจคาดหมายตามอาการและเหตุผล  แต่ก็ไม่สามารถประสบเสวยได้  ภาวะนี้เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน  ส่วนภาวะอีกด้านหนึ่งซึ่งเนื่องอยู่ด้วยกันนั่นเอง  และอาจแสดงออกได้หรือมีผลต่อการแสดงออกในการดำเนินชีวิตหรือติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ  คือ  ความไม่ถูกโรคบีบคั้น   ไม่อึดอัด  ไม่อ่อนแอ ไม่ถูกขัดขวาง    ถ่วงหรือชะงักงันด้วยความเจ็บปวดและอ่อนเปลี้ย  เป็นต้น  สามารถขยับเขยื้อน  เคลื่อนไหวทำอะไรต่าง ๆ  ได้ตามต้องการ ภาวะนี้เทียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน

สรุปความว่า  นิพพานมีอย่างเดียว  แต่แบ่งออกเป็น  ๒  ด้าน  ด้านที่หนึ่ง  คือ  นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส  ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก  หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน  ด้านที่สอง  คือ  นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะของผู้บรรลุซึ่งไม่อาจหยั่งถึงได้ด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์   ๕   เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์  ๕  ทั้งหมดอนุปาทิเสสนิพพาน  คือ  นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติเมื่อสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวัน  พูดอีกอย่างหนึ่งว่า  อนุปาทิเสสนิพพาน  คือ  นิพพานตามความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็นอารมณ์  สอุปาทิเสสนิพพาน คือ  นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์  ๕  เป็นอารมณ์

นอกจากนี้ยังมีข้อความเกี่ยวกับนิพพานหลายแห่ง  แต่ในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึงเฉพาะอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอย่างเดียว เช่น  พระพุทธพจน์แสดงพระธรรมวินัยว่า  มีความอัศจรรย์เหมือนดังมหาสมุทร  ๘  ประการว่า  “แม้ภิกษุจำนวนมากมายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ  นิพพานธาตุจะปรากฏว่าพร่องหรือเต็มเพราะเหตุนั้นก็หามิได้  เปรียบได้กับสายฝนที่หลั่งลงจากฟากฟ้า  มหาสมุทรจะทำให้มหาสมุทรปรากฏเป็นความพร่องหรือเต็มไปเพราะเหตุนี้ก็หามิได้”  ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่าเมื่อเป็นพระอรหันต์ล้วนคงตัวอยู่อย่างนั้นไม่มีเสื่อมหรือผันแปรเป็นอย่างอื่นได้อีกเลย


 ๏๏๏๏๏๏๏๏ .:: นิพพาน…อย่างไร ::. ๏๏๏๏๏๏๏๏ 




สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้สำรอกตัณหา ดับตัณหา  ไม่มีอาลัยในตัณหา  เมื่อพ้นจากตัณหาได้  ไม่มีเหตุแห่งทุกข์  ความดับทุกข์ก็เกิดขึ้น  เปรียบเหมือนความร้อนกับความเย็น  เมื่อไม่มีเหตุแห่งความร้อน  ความเย็นย่อมปรากฏขึ้น  ความดับทุกข์ย่อมเกิดขึ้นตามสัดส่วนแห่งตัณหาที่ละได้  เหมือนความมืดกับความสว่างเป็นข้าศึกกัน  เมื่ออย่างหนึ่งเพิ่มอย่างหนึ่งต้องลดลง 


นิโรธเป็นชื่อหนึ่งของนิพพาน  นิโรธกับนิพพานจึงเป็นอย่างเดียวกัน  เป็นไวพจน์ของกันและกัน  การเรียนรู้เรื่องนิโรธ  ก็คือการศึกษาให้เข้าใจซึ่งนิพพานนั่นเอง


นิพพาน  แปลตามตัวอักษรว่า  การออกจากตัณหาบ้าง  ความดับกิเลสบ้าง  ความสงบระงับความกระวนกระวายบ้าง  ยังมีคำอื่นอีกมากที่มีความหมายเท่ากับนิพพาน  เช่น  วิมุติ  เป็นต้น


การศึกษานิพพานในแง่ของความสงบ  ดูเหมือนจะทำให้เข้าใจง่ายขึ้น  เพราะความสงบเป็นสิ่งที่ทุกคนเคยได้รับรู้ได้สัมผัสอยู่เสมอ  แต่มักเป็นความสงบชั่วคราว  แล้วกลับวุ่นวายใหม่อีก


คราวใดที่เรามีความรู้สึกต้องการ  หรือปรารถนาอะไรสักอย่างหนึ่ง  แต่ยังไม่ได้สิ่งนั้น  เวลานั้นจิตใจของเราย่อมกระวนกระวาย  ถ้ามีความต้องการรุนแรงมาก  ความกระวนกระวายก็มีมาก  พอเราได้สิ่งนั้นสมความต้องการแล้ว  ความกระวนกระวายก็สงบลง  กลายเป็นความสงบ  แต่เป็นความสงบชั่วคราว  ตัวอย่าง  เช่น  เรากระหายน้ำ  ความกระวนกระวายย่อมเพิ่มขึ้นตามความรุนแรงของความกระหาย  พอได้ดื่มน้ำในขนาดที่ต้องการ  ความกระวนกระวายนั้นก็สงบระงับลงระยะหนึ่ง  ไม่นานนักก็จะกระหายอีก  และต้องดื่มอีก  แต่ในขณะที่เราอิ่มอยู่นั้น  ใครจะเอาน้ำวิเศษอย่างไรมาให้เราก็ไม่ปรารถนาดื่ม  แต่ในขณะที่กระหายจัด  แม้รู้ว่าน้ำนั้นเจือด้วยของโสโครกบางอย่างซึ่งอาจให้เกิดโรคได้ภายหลัง  บางทีคนก็ยอมเสี่ยงเพราะไม่อาจทนต่อความกระหายได้


ความกระหายทางจิตก็เช่นเดียวกัน  ถ้ากระหายจัดบุคคลย่อมอาจทำอะไรลงไป  เพื่อระงับความกระหายนั้น  บางทีถูก  บางทีผิด  เพราะรู้บ้าง  เพราะไม่รู้บ้าง  บางทียอมทำทั้งๆ ที่รู้  เพราะไม่อาจหยุดยั้งความกระหายที่กำลังเร้าความรู้สึกอยู่อย่างรุนแรงนั้นได้  พอได้สมปรารถนาแล้ว  ความกระวนกระวายก็ระงับไป  เหลืออยู่แต่ความสงบ  ในขณะที่สงบอยู่นั้น  จิตของบุคคลย่อมหวนระลึกถึงเหตุผลความควรไม่ควร  ความรู้จริงเห็นแจ้งในสิ่งที่ควรทำ  และควรเว้น  ท่านลองคิดดูว่า  แม้นิพพานอย่างโลกๆ ยังให้เหตุผลให้ความสงบสุข  ความสว่างไสวแก่ท่านถึงเพียงนี้  ถ้าเป็นนิพพานจริงๆ นิพพานซึ่งเกิดขึ้นเพราะการละกิเลสได้  จะให้ความสงบสุข  ความสว่างไสวแก่ท่านสักเพียงใด
 
เกี่ยวกับนิโรธ  หรือ  นิพพานนี้  ท่านแสดงไว้  ๕  ประการ  คือ



๑. ตทังคนิโรธ  คือ  ดับกิเลสได้ชั่วคราว  เช่น  เมื่อเมตตากรุณาเกิดขึ้น  ความโกรธและความคิดพยาบาทคือความคิดเบียดเบียนย่อมดับไป  เมื่ออสุภสัญญา  คือ  ความกำหนดว่าไม่งามเกิดขึ้น  ราคะ  ความกำหนัดยินดีในกามคุณ ๕ ย่อมดับไป  รวมความว่า  ดับกิเลสด้วยองค์ธรรมที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว


๒. วิขัมภนนิโรธ คือ  ดับกิเลส หรือข่มกิเลสไว้ได้ด้วยกำลัง ฌาน  เช่น  ข่มนิวรณ์ ๕  ไว้ด้วยกำลังฌาน (นิวรณ์  คือ  สิ่งที่ขัดขวางจิต  ไม่ให้ก้าวหน้าในคุณธรรม  มี ๕ อย่าง  คือ 

๑.กามฉันท์  พอใจในกามคุณ  ๒.พยาบาท  คิดร้ายผู้อื่น  ๓.ถีนมิทธะ  ความหดหู่  ซึมเซา  ๔.อุทธัจจกุกกุจจะ  ความฟุ้งซ่านและรำคาญ  ๕.วิจิกิจฉา  ความลังเลสงสัย    ฌาน  คือการเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่มีหลายลำดับขั้น)  ตั้งแต่ปฐมฌานเป็นต้นไป  ตลอดเวลาที่ฌานยังไม่เสื่อม  บุคคลผู้ได้ฌานย่อมมีอาการเสมือนหนึ่งผู้ไม่มีกิเลส  ท่านเปรียบเหมือนศิลาทับหญ้า  ตลอดเวลาที่ศิลาทับอยู่  หญ้าย่อมไม่อาจงอกงามขึ้นมาได้  เป็นเสมือนหนึ่งว่าตายแล้ว  แต่พอยกศิลาออกหญ้าย่อมงอกงามได้อีกและอาจงอกงามกว่าเดิมก็ได้  หรือเหมือนโรคบางอย่างที่ถูกคุมไว้ด้วยยา  ตลอดเวลาที่ยามีกำลังอยู่  โรคย่อมสงบระงับไป


๓. สมุจเฉทนิโรธ  ความดับกิเลสอย่างเด็ดขาด  เป็นความหลุดพ้นของท่านผู้ละกิเลสได้แล้ว  กิเลสใดที่ท่านละได้แล้วกิเลสนั้นไม่เกิดขึ้นอีก  ไม่หวนกลับมาหาท่านอีก  เปรียบเหมือนหญ้าที่ถูกขุดรากทิ้งแล้ว  ถูกแดดแผดเผาจนแห้งแล้ว  งอกขึ้นไม่ได้อีก  ตัวอย่างเช่น  การตัดกิเลสของพระอริยบุคคล ๔ จำพวก  มีพระโสดาบัน  เป็นต้น 
28268  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / ขอทำกรรมฐานอย่างเดียว ไม่ไปนิพพานได้ไหม เมื่อ: มกราคม 10, 2010, 11:25:31 am
ภาวนา ๒ (การเจริญ, การทำให้เกิดให้มีขึ้น, การฝึกอบรมจิตใจ : mental development)

๑. สมถภาวนา (การฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ, การฝึกสมาธิ : tranquillity development)

๒. วิปัสสนาภาวนา (การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง, การเจริญปัญญา : insight development)

สองอย่างนี้ ในบาลีที่มาท่านเรียกว่า ภาเวตัพพธรรม และ วิชชาภาคิยธรรม. ในคัมภีร์สมัยหลัง บางทีเรียกว่า กรรมฐาน (อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งงานเจริญภาวนา, ที่ตั้งแห่งงานทำความเพียรฝึกอบรมจิต, วิธีฝึกอบรมจิต — stations of mental exercises; mental exercise; สังคห.๕๑ ; Comp. 202)
________________________________________

สมถะ ธรรมเป็นเครื่องสงบระงับจิต, ธรรมยังจิตให้สงบระงับจากนิวรณูปกิเลส, การฝึกจิตให้สงบเป็นสมาธิ (ข้อ ๑ ในกรรมฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)

สมถกัมมัฏฐาน กรรมฐานคือสมถะ, งานฝึกจิตให้สงบ ดู สมถะ

วิปัสสนา
ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม; ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็นของมันเอง (ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒) ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์

วิปัสสนากัมมัฏฐาน
กรรมฐานคือวิปัสสนา ดู วิปัสสนา
________________________________________

ภาวนา ๓ (การเจริญ หมายถึงการเจริญกรรมฐานหรือฝึกสมาธิขั้นต่างๆ — stages of mental culture)
 
๑. บริกรรมภาวนา (ภาวนาขั้นบริกรรม, ฝึกสมาธิขั้นตระเตรียม ได้แก่ การถือเอานิมิตในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์กรรมฐาน เช่น เพ่งดวงกสิณ หรือนึกถึงพุทธคุณเป็นอารมณ์ว่าอยู่ในใจเป็นต้น กล่าวสั้นๆ คือ การกำหนดบริกรรมนิมิตนั่นเอง — preliminary stage) ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐

๒. อุปจารภาวนา (ภาวนาขั้นจวนเจียน, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอุปจาร ได้แก่ เจริญกรรมฐานต่อไป ถึงขณะที่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นในกรรมฐานที่เพ่งวัตถุก็ดี นิวรณ์สงบไปในกรรมฐานประเภทนึกเป็นอารมณ์ก็ดี นับแต่ขณะนั้นไปจัดเป็นอุปจารภาวนา — proximate stage) ขั้นนี้เป็น กามาวจรสมาธิ ได้ในกรรมฐานทั้ง ๔๐; อุปาจารภาวนา สิ้นสุดแค่โคตรภูขณะ ในฌานชวนะ

๓. อัปปนาภาวนา (ภาวนาขั้นแน่วแน่, ฝึกสมาธิขั้นเป็นอัปปนา ได้แก่ เสพปฏิภาคนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วนั้นสม่ำเสมอด้วยอุปจารสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน คือ ถัดจากโคตรภูขณะในฌานชวนะเป็นต้นไป ต่อแต่นั้นเป็นอัปปนาภาวนา - concentrative or attainment stage)
ขั้นนี้เป็นรูปาวจรสมาธิ ได้เฉพาะในกรรมฐาน ๓๐ คือ หักอนุสสติ ๘ ข้างต้น ปฏิกูลสัญญา ๑ และจตุธาตุวัตถาน ๑ ออกเสีย คงเหลือ อสุภะ ๑๐ และกายคตาสติ ๑ (ได้ถึงปฐมฌาน) อัปปมัญญา ๓ ข้อต้น (ได้ถึงจตุตถฌาน) อัปปมัญญาข้อท้ายคืออุเบกขา ๑ กสิณ ๑๐ และ อานาปานสติ ๑ (ได้ถึงปัญจมฌาน) อรูป ๔ (ได้อรูปฌาน)
________________________________________

วิปัสสนาญาณ ๙
(ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือที่จัดเป็นวิปัสสนา คือ เป็นความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง — insight-knowledge)
 
๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไปแห่งเบญจขันธ์ จนเห็นชัดว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นครั้นแล้วก็ต้องดับไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on rise and fall)

๒. ภังคานุปัสสนาญาณ (ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้นแล้ว คำนึงเด่นชัดในส่วนความดับอันเป็นจุดจบสิ้น ก็เห็นว่าสังขารทั้งปวงล้วนจะต้องสลายไปทั้งหมด — knowledge of contemplation on dissolution)

๓. ภยตูปัฏฐานญาณ (ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น — knowledge of the appearance as terror)
 
๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงซึ่งล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัวไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์ — knowledge of contemplation on disadvantages)

๕. นิพพทานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงเห็นด้วยความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ — knowledge of contemplation on dispassion)
 
๖. มุญฺจิตุกัมยตาญาณ (ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปจากสังขารเหล่านั้น — knowledge of the desire for deliverance)

๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ (ญาณอันคำนึงพิจารณาหาทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลายขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองหาอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป — knowledge of reflective contemplation)
 
๘. สังขารุเปกขาญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, คือ เมื่อพิจารณาสังขารต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามความเป็นจริง ว่า มีความเป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงวางใจเป็นกลางได้ ไม่ยินดียินร้ายในสังขารทั้งหลาย แต่นั้นมองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงแล่นมุ่งไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารเสียได้ — knowledge of equanimity regarding all formations)
 
๙. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณแล่นมุ่งตรงไปสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ ต่อจากนั้นก็จะเกิดโคตรภูญาณมาคั่นกลาง แล้วเกิดมรรคญาณให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป — conformity-knowledge; adaptation-knowledge)
ธรรมหมวดนี้ ท่านปรุงศัพท์ขึ้น โดยถือตามนัยแห่งคัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค นำมาอธิบายพิสดารในวิสุทธิมรรค แต่ในอภิธัมมัตถสังคหะ ท่านเติม สัมมสนญาณ (ญาณที่กำหนดพิจารณานามรูป คือ ขันธ์ ๕ ตามแนวไตรลักษณ์ — Comprehension-knowledge) เข้ามาเป็นข้อที่ ๑ จึงรวมเป็น วิปัสสนาญาณ ๑๐ และเรียกชื่อญาณข้ออื่นๆ สั้นกว่านี้ คือ เรียก อุทยัพพยญาณ ภังคญาณ ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ อนุโลมญาณ
________________________________________

ข้อธรรมด้านบนนำมาจาก พจนานุกรม พุทธศาสน์ ของท่านเจ้าคุณปยุตโต
พอสรุปได้ว่า  กรรมฐานมี ๒ อย่าง คือ

    ๑.สมถกรรมฐาน เป็นการทำสมาธิ อย่างเดียว
   ๒.วิปัสสนากรรมฐาน เป็นการเจริญปัญญา เพื่อให้ถึงนิพพาน(ความหมายของนิพพานจะอธิบายต่อไป)


ตอบคำถามว่า ขอทำกรรมฐานอย่างเดียว ไม่ไปนิพพานได้ไหม  ขอตอบว่าได้ ทำได้ ๒ ทาง คือ

   ๑. เจริญสมถกรรมฐาน คือ ทำสมาธิอย่างเดียว สูงสุดของสมาธิ คือ อรูปฌาน ๔ หรือสมาบัติ ๘ การที่จะได้อรูปฌาน๔ ต้องได้รูปฌาน ๔ ก่อน จากนั้นจึงจะสามารถทำอรูปฌาน ๔ได้ นี่เป็นกฏตายตัว อรูปฌาน ๔ มีมาก่อนพุทธกาล อาฬารดาบส อาจารย์ของพระพุทธเจ้าของเราก็ได้ อรูปฌาน ๔
พระพุทธเจ้าเองก็ได้อรูปฌาน๔ ก่อนที่พระองค์จะตรัสรู้ โดยเรียนจากอาฬารดาบสนั่นเอง

   ๒. เจริญวิปัสสนากรรฐาน การทำวิปัสสนาต้องผ่าน วิปัสสนาญาณ หากผ่านญาณที่ ๙ ก็จะเข้านิพพาน แต่หากไม่ประสงค์จะเข้านิพพาน ก็ให้หยุดที่ญาณที่ ๘ บำเพ็ญบารมีเป็นพระโพธิสัตว์ต่อไปเรื่อยๆ

เลือกเอานะครับชอบแบบไหน ขออนุโมทนา



ตอบคำถามที่ว่า ทำไมต้องทำเพื่อนิพพาน


   จุดประสงค์ของ การเข้านิพพานเป็นการหนี การเวียน ว่าย ตาย เกิด ใน ๓๑ ภพภูมิ ซึ่งเป็นคติในศาสนาพุทธ เชื่อว่า มี  นรก เปรต อสูรกาย เดรัจฉาน สวรรค์ และพรหม รวมทั้งหมดแล้วมี ๓๑ ชั้น  ทุกคนถ้าไม่เข้านิพพาน ไม่มีทางที่จะหนีวงจรนี้ได้

    ศาสนาพุทธสอนให้เชื่อว่า  การเวียน ว่าย ตาย เกิด อยู่ภายใน ๓๑ ภพภูมินี้เป็นทุกข์ การเข้าสู่นิพพาน
คือ การหยุดวงจร การเวียน ว่าย ตาย เกิด นั่นเอง  และเชื่อว่า นิพพาน คือ บรมสุข
   
   หากใครยังสนุกกับการเวียน ว่าย ตาย เกิด ภายใน ๓๑ ภพภูมินี้  ก็เป็นสิทธิของท่านนะครับ

28269  เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / กรรมออนไลน์-ไฮสปีด-ผ่านดาวเทียม เมื่อ: มกราคม 10, 2010, 07:05:20 am
:'( :'( :'( :'( :'(
กลุ้มใจ ๆๆๆๆ แฟนบอกให้ทิ้ง พ่อ แม่ หนู เพื่อไปอยู่กับเขา

หากทำไปจะเป็นบาปมหันต์!!!! ตายไปตกนรกทันที!!!

ทำมาหากินอะไรไม่เจริญหรอกหนู มีแต่ฉิบหายล่มจม

กฏแห่งกรรมตอนนี้มันพัฒนาไปไกลมากนะหนู


มันออนไลน์-ไฮสปีด-ผ่านดาวเทียม

 มันผ่านมือถือของหนูได้ด้วยนะ
28270  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การขัดใจพ่อแม่เป็นบาป เมื่อ: มกราคม 10, 2010, 06:37:50 am
คือแฟนหนู เป็นมุสลิม ทางบ้านแฟนบอกว่าถ้าแต่งกันต้องให้หนูเปลี่ยนศาสนา แต่ทางบ้านหนูคุณพ่อ คุณแม่ เป็นผู้นับถือพุทธศาสนา หนูกลุ้มใจมาก มันอึดอัดเพราะความรัก หรือความหลง บอกไม่ถูก อยากได้คำชี้แนะโดยไวหน่อยนะคะ


    หนูขันทองครับ การรักใครชอบใครเป็นสิทธิืของหนูโดยชอบธรรม
    แต่การแต่งงานของหนูเป็นเรื่องสำคัญของพ่อแม่

    - ในกรณีที่พ่อแม่หนูไม่ยอมให้หนูเปลี่ยนศาสนา  หนูควรปฏิบัติตาม

    "การขัดใจพ่อแม่เป็นบาป แม้กระทั่งทรัพย์สินที่เป็นของรับไหว้
    หากนำมาใช้ จะสร้างปัญหาให้กับหนูและแฟนหนูในภายหลัง"

    ผมไม่ได้พูดเองนะครับ นี่เป็นคำพูดของแม่ชีทศพร เทวาพิทักษ์
    ผมเคยไปหาท่านที่วัดพิชัยญาตฯและคุยกันทางโทรศัพท์สองสามครั้ง
    เป็นที่ทราบกันดีว่า คติทางพุทธถือว่าพ่อแม่เป็นอรหันต์ของลูกๆ
    ต้องดูแลบำรุงท่านทั้งกายและใจ



    - แต่ถ้าพ่อแม่หนูยอมให้เปลี่ยนศาสนาได้ และหนูยังประสงค์
    ปฏิบัติธรรมตามแนวพุทธ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามคนศาสนาอื่น
    ปฏิบัติตามแนวของท่าน

    ในบัตรประชาชนจะระบุว่าใครนับถือศาสนาใด
    เป็นเพียงสิ่งสมมุติ ไม่ใช่ประเด็น(อันนี้ผมพูดเอง)
   



    สิ่งที่หนูยังไม่ได้บอกก็คือ หนูเต็มใจที่จะเปลี่ยนหรือเปล่า
    และหนูรู้หรือยังว่ามุสลิมต้องปฏิบัติตัวอย่างไร


      จะผิดหรือถูกอย่างไร ผมตอบไม่ได้
    แต่กฏแห่งกรรม ยุติธรรมเสมอ
28271  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / เรียนอภิธรรมมา ๗ ปี ไม่เคยเข้าใจเลย เมื่อ: มกราคม 09, 2010, 12:19:37 pm
วันอาทิตย์วันนีก่อนสิ้นปี ผมได้ไปที่วัดมหาธาุตุ และ วัดสามพระยา เพื่อไปสังเกตุการณ์ เรื่องการศึกษาพระอภิธรรม ผมไปเห็นมีแต่ ฆราวาสทั้งชายและหญิง มาเรียนอภิธรรมกันมาก และบางห้องสอนพระสงฆ์อีกด้วยซ้ำ
ซึ่งวัดสามพระยา ด้านบนจะมีพระคุณเจ้าสอนอยู่บ้าง

คำถามครับ
1.ทำไมพระสงฆ์ไม่ค่อยสนใจศึกษาพระอภิธรรม
2.คฤหัสถ์ที่ครองเรื่อน ศึกษาพระอภิธรรม แล้วทำไมชอบทะเลาะกัน
3.มีการใช้วาจาปรามาสพระสงฆ์ที่เรียน โดยการข่มเรื่องความรู้ ( ผมนั่งฟังอยู่ )



ผมขอนำประวัติอภิธรรมบางตอนมาให้อ่าน

ในช่วง ๖ พรรษาแรกของการประกาศศาสนา พระพุทธองค์ยังมิได้ ทรงตรัสสอนพระอภิธรรมแก่ผู้ใด เพราะพระอภิธรรมเป็นธรรมะที่เกี่ยวข้อง กับปรมัตถธรรมล้วนๆ ยากแก่การที่จะอธิบายให้เข้าใจได้โดยง่าย บุคคลที่ จะรับอรรถรสของพระอภิธรรมได้นั้นต้องเป็นบุคคลที่ประกอบด้วยศรัทธา อันมั่นคงและได้เคยสั่งสมบารมีอันเกี่ยวกับปัญญาในเรื่องนี้มาบ้างแล้วแต่ กาลก่อน

 แต่ในช่วงต้นของการประกาศศาสนานั้นคนส่วนใหญ่ยังมีศรัทธา และมีความเชื่อใน
พระพุทธศาสนาน้อย ยังไม่พร้อมที่จะรับคาสอนเกี่ยวกับปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมะอันลึกซึ้งได้ พระองค์จึงยังไม่ทรงแสดงให้ ทราบเพราะถ้าทรงแสดงไปแล้วความสงสัยไม่เข้าใจหรือความไม่เชื่อย่อมจะ เกิดแก่ชนเหล่านั้น เมื่อมีความสงสัยไม่เข้าใจหรือไม่เชื่อแล้ว ก็จะเป็นเหตุให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนต่อพระอภิธรรมได้ ซึ่งจะเป็นผลร้ายมากกว่าผลดี

ที่มา เอกสารประกอบการเรียนของ อภิธรรมโชติกะวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
.........................................................


   เป็นที่ทราบกันดีว่า พระองค์ทรงสอนอภิธรรมให้พระสรีบุตรเป็นองค์แรก
แต่เป็นพรรษาที่ ๗ หลังพระองค์ตรัสรู้แล้ว และหลังจากพระสารีบุตรบรรลุอรหันต์แล้ว

ผมเห็นว่า พระองค์เลือกพระสารีบุตรเพราะมีปัญญาสูงกว่าคนอื่น
เนื่องจากปรมัตธรรมเป็นธรรมที่ยากที่จะเข้าใจ

เพื่อนๆลองคิดดูเล่นๆ ว่าทำไมพระองค์สอนพระที่สำเร็จอรหันต์แล้ว

ผมฟังเทศน์ของพระอาจารย์ปราโมชย์ ปาโมชโช บ่อยๆ
มีตอนหนึ่ง ลูกศิษย์พูดว่า เรียนอภิธรรมมา ๗ ปี ไม่เคยเข้าใจเลย
แต่พอมาปฏิบัติตามคำสอนของอาจารย์ปราโมชย์(ดูจิต) ทำให้เข้าใจในอภิธรรม

พระอาจารยืปราโมชย์ได้กล่าวเสริมว่า
" มีอาจารย์สอนอภิธรรมมาหาท่าน(ให้ท่านสอนดูจิต) ก็พูดเหมือนคุณ
การสอนดูจิตของหลวงพ่อเป็นการสอนอภิธรรมล้วนๆ"

อาจารย์ยังพูดต่อไปว่า ท่านศึกษาอภิธรรม หลังจากท่านได้เห็นธรรมแล้ว
พบว่า อภิธรรมถูกต้อง ยกเว้นเรื่อง..........
การเรียนอภิธรรมก่อนเห็นธรรมมีข้อเสียคือ จะฟุ้งในธรรม คิดมาก
และเอาสมมุติบัญญัตินำ เป็นเหตุให้บรรลุธรรมได้ยาก


ตอบคำถามแรก
 อาจเป็นเพราะ มันยาก หรือ คิดว่าการเจริญวิปัสสนาไม่จำเป็นต้องรู้ปรมัตธรรม

ตอบคำถามข้อสอง
อยากให้มองว่า เป็นการสนธนาธรรมตามกาล ที่อยู่ในมงคล ๓๘ ประการ

ตอบคำถามข้อสุดท้าย
ปรามาสก็ต้องไ้ด้รับกรรม ให้ความรู้ก็คือให้ธรรมทาน สนธนาธรรมก็เป็นมงคล



การสนธนาธรรมครั้งนี้เป็นมงคลสูงสุด
อนุโมทนาครับ
28272  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: สาเหตุที่พระสงฆ์ ในปัจจุบันน้อยลง เมื่อ: มกราคม 08, 2010, 10:45:24 pm
- การบวชไม่ใช่ solution (วิธีแก้ไขปัญหา) ประเพณีการบวชเเรียนสมัยก่อนกับสมัยนี้
มีวัตถุประสงค์ต่างกัน สมัยก่อนไม่มีโรงเรียนสอนหนังสือ วิชาการต่างๆอยู่ที่วัดเสียส่วนใหญ่

- การสอนธรรมะสมัยนี้ ผมคิดว่า เน้นทฤษฎีมากเกิดไป อาจเกิดจากหาคนเก่งปฏิบัติยาก

- ที่ผ่านมามีการอบรมวิปัสสนาจารย์ แจกประกาศนียบัตร มาแล้วมากมายหลายรุ่น
ผมเคยคุยกับบุคคลเหล่านั้น บางคนยังเล่นเกม ดูหนัง เดินห้างอยู่เลย
บางคนมาสอนผมเดินจงกรม บอกให้เดินสวยๆ

   ลองคิดให้ดีว่า เดินสวยๆเกี่ยวข้องอะไรกับมรรคผล

   ผมคิดว่าหลายคนสอนแต่รูปแบบ แต่ไม่สามารถดูสภาวะจิตได้

   สรุปก็คือ หาคนสอนปฏิบัติเก่งๆยาก

   หรือไม่ก็ คนทีเกิดสมัยนี้ บุญบารมีไม่ถึง ที่จะได้เจอคนสอนเก่งๆุ

   อย่าคิดมากเลยครับ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในโลกนี้

   ล้วนเป็นไปตามกระแสของวิบากกรรมทั้งสิ้น

28273  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / “ผู้มีศรัทธา เที่ยวจาริกไปสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล จะได้พุทธานุสสติ” เมื่อ: มกราคม 08, 2010, 12:59:41 pm
พุทธพจน์
   "ดูก่อนอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่า

     พระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี
     พระตถาคตตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี
     พระตถาคตยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี
     พระตถาคตเสด็จปรินิพพานในที่นี้ก็ดี

   ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้วจักทำกาละลง
ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์"


สัทธาจริต
          ท่านที่เกิดสัทธาความเชื่อ เชื่อโดยปกติ หรืออารมณ์แห่งความเชื่อเริ่มเข้าสิงใจก็ตาม
ท่านให้เจริญกรรมฐาน ๖ อย่าง  คือ  อนุสสติ ๖ ประการ ดังต่อไปนี้
 (๑) พุทธานุสสติกรรมฐาน
(๒) ธัมมานุสสติกรรมฐาน 
(๓) สังฆานุสสติกรรมฐาน 
(๔) สีลานุสสติกรรมฐาน 
(๕) จาคา-นุสสติกรรมฐาน 
(๖) เทวตานุสสติกรรมฐาน
อนุสสติทั้ง ๖ อย่างนี้  จะทำให้จิตใจของท่านที่ดำรงสัทธาผ่องใส
คำสอนของ ลพ.ฤาษีลิงดำ จากเว็บพลังจิต


ความเห็นส่วนตัว
-  คนเรา มีจริต นิสัย วาสนา ชอบ ไม่ชอบ ที่ต่างกัน (นานาจิตตัง)

 - กรรมฐานมี ๔๐ กอง ใครชอบกองไหน ก็ทำไป อยากทำทั้งหมดก็ไม่ผิดกติกา

      “ผู้มีศรัทธา เที่ยวจาริกไปสังเวชนียสถาน ๔ ตำบล จะได้พุทธานุสสติ”

   อนุโมทนาครับ
28274  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: วัตถุมงคล เป็นเรื่องของความงมงายหรือไม่ เมื่อ: มกราคม 08, 2010, 10:22:00 am
- ฟุตบาตเป็นของ กทม. เ้จ้าหน้าที่ กทม.มีอำนาจหน้าที่ตามที่ำกฏหมายกำหนดไว้เท่านั้น

- ปรามาสพระรัตนตรัย หรืองมงายเรื่องใดเรื่องหนึ่งนั้น เป็นเรื่องของมิจฉาทิฏฐิ
ไม่มีกฏหมายใดบังคับเอาไว้

- แต่ละคนมีสัมมาทิฏฐิไม่เสมอกัน บางคนอาจกำลังแสวงหา บางคนไม่พร้อมที่จะมี

- วัดมหาธาตุฯมีหน้าที่เผยแผ่คำสอนอยู่แล้ว โดยส่วนตัวเห็นว่า เพียงคำสอนอย่างเดียว
ไม่สามารถทำให้คนมีสัมมาทิฏฐิได้ นอกจากต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง


“ท่อนไม้ที่ลอยไปตามแม่น้ำ มีแนวโน้มที่จะไหลออกสู่มหาสมุทร ฉันใด
จิตมนุษย์นี้ไซร์ ย่อมมีแนวโน้มที่จะไหลสู่พระนิพพาน ฉันนั้น”
28275  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / การละรูปฌาน และอรูปฌาน ทำได้อย่างไร เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 05:11:59 pm
การละรูปฌาน และอรูปฌาน ทำได้อย่างไร

ขอนำคำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำมาอธิบายดังนี้

ต่อแต่นี้ไปก็ทบทวนสังโยชน์อีก ๕ ประการ ที่องค์สมเด็จพระประทีปแก้วกล่าวว่า " เรื่องนี้เป็นอนุสัย " มันเป็นกำลังใจที่ทำยากสักนิดหนึ่ง สังโยชน์ ๕ ประการ คือ

รูปราคะ การหลงใหลใฝ่ฝันในรูปฌาน คือเมาในการเข้าฌาน เห็นว่าการเข้าฌานนี่เป็นของประเสริฐ เป็นของเลิศ เป็นของดี พอที่จะโอ้อ้วดใครต่อใครว่าเรา ทรงฌานได้ดี ใช้เวลานาน การเมาในรูปฌานอย่างนี้ไม่ดีแน่ เพราะว่ารูปฌานก็ดี
 
อรูปฌานก็ดี ทั้งสองประการนี้ เป็นเพียงแต่บันได หรือว่า เครื่องรองรับที่จะก้าวไปสู่ พระนิพพาน ถ้าจิตใจของเรายับยั้งอยู่แค่รูปฌานและอรูปฌานมันก็ใช้ไม่ได้ คือว่า ท่านทั้งหลายถ้าจะทิ้งรูปฌานและอรูปฌาน

โดย เฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้รูปฌานหรือว่าได้อรูปฌานด้วยก็ตาม ได้ฌานอะไรก็ตาม จะต้องทรงฌานไว้เสมอ ไม่ใช่ว่าถ้าเราจะไม่เมาในรูปฌานและอรูปฌาน นั่นเราไม่เกาะในรูปฌานและอรูปฌาน มันก็ไม่ถูก เรื่องฌานนี้ต้องเกาะ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองก็ยังทรงใช้ ในสมัยที่เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระที่เป็นพระอรหันต์ทุกองค์ ก็ต้องทรงฌานเป็นปกติ

แต่ว่า ฌานของพระอริยเจ้าเรียกว่า โลกุตตรฌาน กำลังฌาน " ฌานัง " แปลว่า " การเพ่ง " หรือว่า " การตั้งใจ " กำลังใจพ้นจากสภาวะของโลก นั่นก็คือไม่ติดอยู่ในกามฉันทะ ไม่ติดอยู่ในโลภะ ไม่ติดอยู่ในความโกรธพยาบาท ไม่ติดอยู่ในความหลง เป็นกำลังฌานที่ตั้งใจตรงโดยเฉพาะ พระนิพพาน
   
ฉะนั้น การที่ไม่ติดอยู่ในรูปฌานและอรูปฌาน แทนที่จะติดอยู่โดยเฉพาะว่ารูปฌานและอรูปฌานเป็นของดี สามารถทรงกำลังจิตให้มั่นคง จิตเราจะตั้งตรง ไว้เฉพาะรูปฌานและอรูปฌาน อย่างนี้เราไม่เอา เราก็เปลี่ยนเป็นว่าใช้กำลังใจให้เป็นฌาน แต่ฌานนี้อยู่ใน อุปสมานุสสติกรรมฐาน คือ เอาอุปสมานุสสติกรรมฐานเข้ามาเป็นอารมณ์ อุปสมานุสสติกรรมฐาน ก็คือ นึกถึงพระนิพพานเป็นอารมณ์ เห็นว่าโลกเป็นทุกข์ เทวโลกและพรหมโลกเป็นสุขจริงแต่สุขไม่นาน หมดบุญวาสนา บารมีเมื่อไรก็ต้องลงกลับมาเกิดกันใหม่ มันก็ยุ่งกันอีก เป็นทุกข์ เราไม่ต้องการ

ฉะนั้น ฌานในที่นี้ให้ตั้งไว้ในอุปสมานุสสติกรรมฐาน จิตใจมีความพอใจในพระนิพพานเป็นอารมณ์ อย่างนี้ชื่อว่าไม่หลงในรูปฌานและอรูปฌานนะ
   
ตอนที่ ๖ ตัดสังโยชน์ ๑๐ เป็นพระอรหันต์
จาก หนังสือ พรหมวิหาร ๔
http://www.luangporruesi.com/306.html
________________________________________

ความเห็นส่วนตัว

เท่าที่ฟังครูบาอาจารย์มา  พอสรุปได้ว่า  อรูปฌาน  อธิบายได้ยากมาก การได้มาก็ยาก
การละรูปฌาน และอรูปฌาน เป็นการตัดสังโยชน์ของ อริยบุคคล ระดับอรหันตมรรค

อนุโมทนาครับ

28276  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / รูปฌาน และอรูปฌาน คือ อะไร เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 05:08:50 pm
รูปฌาน และอรูปฌาน  คือ อะไร

ขอนำความหมายใน พจนานุกรม พุทธศาสน์ ของ ท่าน ป.อ.ปยุตโต มาแสดงดังนี้

ฌาน ๒ ประเภท (ภาวะจิตที่เพ่งอารมณ์จนแน่วแน่ — absorption)
 
๑. รูปฌาน ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นรูปาวจร — Jhanas of the Fine-Material Sphere)

๒. อรูปฌาน ๔ (ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์, ฌานที่เป็นอรูปาวจร —Jhanas of the Immaterial Sphere)
 
คำว่า รูปฌาน ก็ดี อรูปฌาน ก็ดี เป็นคำสมัยหลัง เดิมเรียกเพียงว่า ฌาน และ อารุปป์.
D.III. 222; Dhs. 56.    ที.ปา. ๑๑/๒๓๒/๒๓๓; อภิ.สํ. ๓๔/๑๙๒/๗๘. ________________________________________

ฌาน ๔ = รูปฌาน ๔ (the Four Jhanas)

๑. ปฐมฌาน (ฌานที่ ๑ — the First Absorption)  มีองค์ ๕ คือ  วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา

๒. ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒ — the Second Absorption)  มีองค์ ๓ คือ  ปีติ สุข เอกัคคตา

๓. ตติยฌาน (ฌานที่ ๓ — the Third Absorption)  มีองค์ ๒ คือ  สุข เอกัคคตา

๔. จตุตถฌาน (ฌานที่ ๔ — the Fourth Absorption)  มีองค์ ๒ คือ  อุเบกขา เอกัคคตา

คัมภีร์ฝ่ายอภิธรรม นิยมแบ่งรูปฌานนี้เป็น ๕ ขั้น เรียกว่า ฌานปัญจกนัย หรือ ปัญจกัชฌาน โดยแทรก ทุติยฌาน (ฌานที่ ๒) ที่มีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เพิ่มเข้ามา แล้วเลื่อนทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตฌาน ในฌาน ๔ ข้างต้นนี้ออกไปเป็น ตติยฌาน จตุตถฌาน และปัญจมฌาน ตามลำดับ (โดยสาระก็คือ การจำแนกขั้นตอนให้ละเอียดมากขึ้นนั่นเอง)
M.I.40    ม.มู. ๑๒/๑๐๒/๗๒
________________________________________

ฌาน ๘ = รูปฌาน ๔ + อรูปฌาน ๔ (อรูปฌาน ๔   ดู (๑๙๙) อรูป ๔)

อรูป หรือ อารุปป์ ๔ (ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์ คืออรูปฌาน, ภพของสัตว์ผู้เข้าถึงอรูปฌาน, ภพของอรูปพรหม - absorptions of the Formless Sphere; the Formless Spheres; immaterial states)

๑. อากาสานัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดอากาศคือช่องว่างหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of space)

๒. วิญญาณัญจายตนะ (ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of infinity of consciousness)

๓. อากิญจัญญายตนะ (ฌานอันกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรๆ เป็นอารมณ์ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of nothingness)

๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ (ฌานอันเข้าถึงภาวะมีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้ - sphere of neither perception nor non-perception)

D.III.224; S.IV.227.   ที.ปา.๑๑/๒๓๕/๒๓๕; สํ.สฬ.๑๘/๕๑๙/๓๒๖.D.III.
________________________________________

ต่อไปขอนำรายละเอียดของ รูปฌาน มาแสดง
ตามลิงค์นี้http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=159.0
 (มัชฌิมา)

________________________________________

ในส่วนของอรูปฌานมีรายละเอียดังนี้

อรูปฌาน ๔
 
          ต่อไปนี้จะได้อธิบายถึงวิธีปฏิบัติในอรูปฌาน คือฌานที่ไม่มีรูป ๔ อย่างคือ อากาสานัญ-
จายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานา สัญญายตนะรวม  ๔ อย่างด้วยกัน
อรูปฌานทั้ง ๔ นี้เป็นฌานละเอียดและอยู่ในระดับฌานที่สูงสุด ท่านที่ปฏิบัติได้อรูปทั้ง ๔ นี้แล้ว
เจริญวิปัสสนาญาณ ย่อมได้บรรลุมรรคผลรวดเร็วเป็นพิเศษ เพราะอารมณ์ในอรูปฌานและอารมณ์
ในวิปัสสนาญาณมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก ต่างแต่อรูปฌานเป็นสมถภาวนา มุ่งดำรงฌานเป็นสำคัญ
สำหรับวิปัสสนาภาวนามุ่งรู้แจ้งเห็นจริงตามอำนาจของกฎธรรมดาเป็นสำคัญ  แต่ทว่าอรูปฌานนี้
ก็มีลักษณะเป็นฌานปล่อยอารมณ์ คือไม่ยึดถืออะไรเป็นสำคัญ ปล่อยหมดทั้งรูปและนามถือความ
ว่างเป็นสำคัญ

อานิสงส์อรูปฌาน

          ท่านที่ได้อรูปฌานทั้ง ๔ นี้ นอกจากจะมีผลทำให้จิตว่าง มีอารมณ์เป็นสุข ประณีตในฌาน
ที่ได้แล้ว ยังมีผลให้สำเร็จมรรคผลง่ายดายอย่างคาดไม่ถึงอีกด้วย นอกจากนั้นท่านที่ได้อรูปฌานนี้แล้ว

เมื่อสำเร็จมรรคผลจะได้เป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ  คือมีคุณสมบัติพิเศษ  เหนือจากที่ทรง
อภิญญา ๖ อีก ๔ อย่าง สำหรับท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณนี้ ท่านทรงอภิญญา ๖ และ คุณสมบัติพิเศษอีก ๔ คือ

ปฏิสัมภิทา ๔
          ๑. อัตถปฏิสัมภิทามีปัญญาแตกฉานในอรรถ คือฉลาดในการอธิบายถ้อยคำที่ท่านอธิบาย
มาแล้วอย่างพิสดาร  ถอดเนื้อความที่พิสดารนั้นให้ย่อสั้นลงมาพอได้ความชัดไม่เสียความ
          ๒. ธัมมปฏิสัมภิทา ฉลาดในการอธิบายหัวข้อธรรม ที่ท่านกล่าวมาแต่หัวข้อให้พิสดาร
เข้าใจชัด
          ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา มีความฉลาดในภาษา รู้และเข้าใจภาษาทุกภาษาได้อย่างอัศจรรย์
          ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา  มีปฏิภาณเฉลียวฉลาด สามารถแก้อรรถปัญหาได้อย่างอัศจรรย์
          ปฏิสัมภิทาญาณนี้  มีความแปลกจากอภิญญา ๖ อยู่อย่างหนึ่ง คือท่านที่จะทรงปฏิสัมภิทา
หรือทรงอรูปฌานนี้ได้ ท่านต้องได้กสิณ  ๑๐  และทรงอภิญญามาก่อนแล้วจึงจะปฏิบัติต่อในอรูปนี้ได้

ถ้าท่านนักปฏิบัติที่ไม่เคยเรียนกสิณเลย   หรือทรงกสิณได้บางส่วนยังไม่ถึงขั้นอภิญญา  แล้วท่าน
มาเรียนปฏิบัติในอรูปนี้ย่อมปฏิบัติไม่สำเร็จ

 เพราะการที่ทรงอรูปฌานได้ ต้องใช้กสิณ  ๙  ประการปฐวี เตโช วาโย อาโป นีล ปีตะ โลหิตะ โอทาตะ อาโลกะ เว้นอากาสกสิณอย่างเดียว เอามาเป็นบาทของอรูปฌาน  คือต้องเอากสิณ ๘ อย่างนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งมาตั้งขึ้น แล้วเข้าฌานในกสิณนั้นจนถึงจตุตถฌาน แล้วเพิกนิมิตในกสิณนั้นเสีย คำว่าเพิก หมายถึงปล่อยไม่สนใจในกสิณนั้นการที่จะปฏิบัติในอรูปฌาน ต้องเข้ารูปกสิณก่อนอย่างนี้ ฉะนั้นท่านที่จะเจริญในอรูปฌานจึงต้องเป็นท่านที่ได้กสิณจนคล่องอย่างน้อย  ๙  กอง จนชำนาญและได้อภิญญาแล้ว จึงจะมาปฏิบัติในอรูปฌานนี้ได้

 ฉะนั้นท่านที่ได้ปฏิสัมภิทาญาณจึงเป็นผู้ทรงอภิญญาด้วย สำหรับอภิญญากับปฏิสัมภิทาญาณนี้ มีข้อแตกต่างกัน
อยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติควรทราบ อภิญญานั้น ท่านที่ปฏิบัติกสิณครบ ๑๐ หรืออย่างน้อยครบ ๘ ยกอา
โลกกสิณและอากาสกสิณเสีย เมื่อชำนาญในกสิณทั้ง ๑๐  หรือทั้ง  ๘  นี้แล้ว ก็ทรงอภิญญาได้ทันที
ในสมัยที่เป็นฌานโลกียส่วนปฏิสัมภิทาญาณ  ๔  นี้  เมื่อทรงอรูปฌานที่เป็นโลกียฌานแล้วยังทรง
ปฏิสัมภิทาไม่ได้ต้องสำเร็จมรรคผลอย่างต่ำเป็นพระอนาคามี  หรือพระอรหัตตผลปฏิสัมภิทาจึงจะ
ปรากฏบังเกิดเป็นคุณพิเศษขึ้นแก่ท่านที่บรรลุ ข้อแตกต่างนี้นักปฏิบัติควรจดจำไว้

๑. อากาสานัญจายตนะ

          การอธิบายในอรูป ๔ นี้ ขอกล่าวแต่พอเป็นแนวเล็กน้อยเท่านั้น เพราะเป็นกรรมฐานละเอียด
ทั้งผู้ที่จะปฏิบัติก็ต้องทรงอภิญญามาก่อน  เรื่องการสอนหรืออธิบายในกรรมฐานนี้   มีความสำคัญ
อยู่อย่างหนึ่ง  คือ ถ้ากรรมฐานกองใดท่านผู้อธิบายไม่ได้มาก่อน ก็อธิบายไม่ตรงตามความเป็นจริง
ท่านที่จะอธิบายได้ถูกต้องและตรงจริง ๆ  ก็ต้องได้กรรมฐานกองนั้น ๆ  มาก่อน ผู้เขียนนี้ก็ เช่นกัน

อาศัยที่ศึกษาเรื่องของกรรมฐานมาเฉพาะประเภทวิชาชาสาม  สำหรับเรื่องของวิชชาสามเรียนมา
พอเขียนได้อ่านออก ถึงแม้จะไม่ได้สำเร็จ  มรรคผลใด ๆ  ก็ตาม แต่ก็ฟังคำสอนมาพอเอาตัวรอด
ได้บ้างพอควร ไม่ถึงเก่งและถ้าไปโดนท่านที่ฉลาดจริงเข้า ท่านอาจไล่เบี้ยเอาจนมุมเหมือนกันส่วน
ด้านอภิญญานั้น อาศัยที่เคยศึกษาในกสิณบางส่วนมาบ้าง พอเห็นทางไร ๆ แต่ก็ได้ไม่ครบแต่ถึงจะได้
ไม่ครบก็ทราบว่าแนวของกสิณมีแนวเป็นอันเดียวกัน  ฉะนั้นเรื่องอภิญญาพอจะแอบ  ๆ  ฟุ้งได้บ้าง
พอสมควร       
   
          อากาสานัญจายตนะนี้ ท่านกล่าวไว้ในวิสุทธิมรรคว่า ก่อนที่จะเจริญอรูปอากาสานัญจายตนะ
นี้ ท่านจะเข้าจตุตถฌานในกสิณกองใดกองหนึ่งแล้วให้เพิก คือไม่สนใจในกสิณนิมิตนั้นเสีย ใคร่ครวญ
ว่ากสิณนิมิตนี้เป็นอารมณ์ที่มีรูปเป็นสำคัญความสุข ความทุกข์ที่เป็นปัจจัยของภยันตราย มีรูปเป็น
ต้นเหตุ เราไม่มีความต้องการในรูปแล้วละรูปนิมิตกสิณนั้น ถืออากาศเป็นอารมณ์จนวงอากาศเกิดเป็น
นิมิตที่มีขอบเขตกว้างใหญ่ แล้วย่อให้สั้นลงมา อธิษฐานให้เล็กใหญ่ได้ตามประสงค์ ทรงจิตรักษาอากาศ
ไว้โดยกำหนดใจว่าอากาศหาที่สุดมิได้ดังนี้ จนจิตเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นฌาน ๔ ในอรูปฌาน

๒. วิญญาณัญจายตนะ
          อรูปนี้กำหนดวิญญาณเป็นอารมณ์   โดยจับอากาสานัญจายตนะ  คือกำหนดอากาศจาก
อรูปเดิมเป็นปัจจัย ถือนิมิตอากาศนั้นเป็นฐานที่ตั้งของอารมณ์  แล้วกำหนดว่า อากาศนี้ยังเป็นนิมิต
ที่อาศัยรูปอยู่   ถึงแม้จะเป็นอรูปก็ตาม  แต่ยังมีความหยาบอยู่มาก เราจะทิ้งอากาศเสีย ถือเฉพาะ
วิญญาณเป็นอารมณ์  แล้วกำหนดจิตว่า  วิญญาณหาที่สุดมิได้  ทิ้งอากาศและรูปทั้งหมดเด็ดขาด
กำหนดวิญญาณ คือถือวิญญาณ ตัวรู้เป็นเสมือนจิต โดยคิดว่า เราต้องการจิตเท่านั้น รูปกายอย่างอื่น
ไม่ต้องการ จนจิตตั้งอยู่เป็นอุเบกขารมณ์


๓. อากิญจัญญายตนะ
   อรูปนี้กำหนดความไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ โดยเข้าฌาน  ๔ ในวิญญาณแล้วเพิก
วิญญาณคือไม่ต้องการวิญญาณนั้น  คิดว่าไม่มีอะไรเลยเป็นสำคัญ อากาศก็ไม่มี วิญญาณก็ไม่มี
ถ้ายังมีอะไรสักอย่างหนึ่งแม้แต่น้อยหนึ่ง ก็เป็นเหตุของภยันตราย ฉะนั้น การไม่มีอะไรเลยเป็นการ
ปลอดภัยที่สุด แล้วก็กำหนดจิต ไม่ยึดถืออะไรทั้งหมด จนจิตตั้งเป็นอุเบกขารมณ์ เป็นจบอรูปนี้


๔. เนวสัญญานาสัญญายตนะ
          เนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ กำหนดว่า มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือทำความรู้สึก
ตัวเสมอว่า  ทั้งมีสัญญาอยู่นี้ ก็ทำความรู้สึกเหมือนไม่มีสัญญา คือไม่ยอมรับรู้จดจำอะไรหมด ทำตัว
เสมือนหุ่นที่ไร้วิญญาณไม่รับรู้ ไม่รับอารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น หนาวก็รู้ว่าหนาวแต่ไม่อาเรื่อง ร้อนก็รู้ว่าร้อน
แต่ไม่ดิ้นรนกระวนกระวายมีชีวิตทำเสมือนคนตาย  คือไม่ปรารภสัญญาคำจดจำใดๆ ปล่อยตามเรื่อง
เปลื้องความสนใจใด ๆ ออกจนสิ้น จนจิตเป็นเอกัคคตาและอุเบกขารมณ์

           เป็นจบเรื่องอรูปกันเสียที เขียนมานี้อึดอัดเกือบตาย เป็นอันว่าเขียนไว้คร่าว ๆ ไม่รับรอง
ผิดถูกเพราะปฏิบัติไม่ได้  ก็ไม่ยอมรับรอง เรื่องกรรมฐานนี้เดาไม่ได้ ขืนเดาก็เละหมด  สมัยเป็นนัก
เทศน์เคยถูกท่านอาจารย์ไล่เบี้ยอารมณ์กรรมฐานเสียงอม เดาท่านก็ไม่ยอม ท่านให้ตอบตามอารมณ์
จริง ๆ  ผิดนิดท่านให้ตอบใหม่  ท่านทรมานเอาแย่ แต่ก็ขอบคุณท่าน ถ้าท่านไม่ทำอย่างนั้น ก็คง
ไม่สนใจอะไรเลย เพราะกลัวขายหน้าคนฟังเทศน์ ที่ไหนบกพร่องก็รีบซ่อม ถึงอย่างนั้น พอเจออภิญญา
กับสมาบัติเข้าคราวไร เป็นยกธงขาวหราทุกที


คำสอนของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ
ที่มา เว็บพลังจิต
28277  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / กรรมที่ปรากฏเมื่อใกล้จะตาย เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 03:33:35 pm


กรรมที่ปรากฏเมื่อใกล้จะตาย
 

คนเราทุกคนเกิดมาแล้วต้องตาย จะตายช้าตายเร็วก็ต้องตายแน่ แต่เมื่อใกล้จะตายนั้นจะมีกรรมมาปรากฏในช่วงนั้น ถ้าเราทำกรรมดี และกรรมชั่วไว้ กรรมดี และกรรมนั้น ๆ ก็จะมาปรากฏให้เห็นในช่วงสุดท้ายในชาตินี้ และจะสิ้นสุดเมื่อเข้าไปสู่ชาติใหม่ หรือภพใหม่ ลักษณะของจิตที่จักกรรมเอาในขณะนั้น ในคัมภีร์พระอภิธรรมท่านเรียกว่า “ มรณาสันนวิถี ” หมายถึง วิถี(ทาง) ที่จิตใกล้จะตายไปยึดถือ ในขณะนั้นจิตจะเข้าสู่วิถีของมันที่จะเคลื่อนเข้าไปสู่ภพใหม่ คือจุติ(การตาย) จิตจะปรากฏ …..เมื่อจุติจิตปรากฏแล้วปฏิสนธิจิต (การเกิด) ก็จะปรากฏต่อจากจุติจิต

ปกติแล้ว จิตในขณะนั้นจะอยู่ในภวังค์เหมือนอย่างคนนอนหลับ แต่เมื่อมันจะเคลื่อนไหวไปเป็นจุติจิตมันจะรับอารมณ์ของกรรมก่อน คือ นำกรรมที่สั่งสมเอาไว้เข้าไปสู่โลก(ภพ)หน้า การที่นำกรรมที่สั่งสมไว้เข้าไปสู่ภพหน้า จิตนั้นจะต้องรับอารมณ์

คำว่า “อารมณ์” ในที่นี้หมายถึง สิ่งที่จิตเข้าไปยึดไว้ ไม่ได้หมายถึง อารมณ์ดี,อารมณ์ร้ายอย่างที่ชาวโลกเขาใช้กันไม่ …อารมณ์ในที่นี้ คือ สิ่งที่จิตเข้าไปยึดถือไว้ ท่านเรียกว่า “อารมณ์”

อารมณ์จะมาปรากฏแก่จิตของผู้ใกล้จะตาย 3 อารมณ์ คือ

1. กรรม ถ้าเรียกให้ชัดตามคัมภีร์พระอภิธรรมก็เรียกว่า “กรรมอารมณ์ ๆ คือ กรรม”
2. กรรมนิมิต หรือ กรรมนิมิตอารมณ์ ๆ คือ กรรมนิมิต
3. คตินิมิต หรือ คตินิมิตอารมณ์ ๆ คือ คตินิมิต

โดยทั้ง 3 กรรมนี้ จะมาปรากฏทางใจเมื่อใกล้จะตาย


กรรม นั้นหมายถึง การกระทำของเราเองซึ่งเราอาจจะทำทั้งกรรมดี และกรรมาชั่ว กรรมดีเรียกว่า “กุศลกรรม” กรรมชั่ว เรียกว่า “อกุศลกรรม” และทั้งกรรมดี และกรรมชั่ว มันจะมาปรากฏให้เราเห็นเมื่อเราใกล้จะตาย

กรรมนิมิต นั้นหมายถึง เครื่องหมายของการทำกรรม เช่นถ้าเราใช้อุปกรณ์อะไร อย่างไรทำ เมื่อจวนจะตาย อุปกรณ์ในการทำกรรมนั้น ๆจะเข้ามาปรากฏเป็นเครื่องหมายให้เราทราบ (นิมิต หมายถึงเครื่องหมาย) ส่วนคำว่า “คตินิมิต” นั้นหมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ให้เรารู้ว่าแดนที่เราจะไปเกิดที่ไหน /ภพไหน/ชาติไหน มันมีเครื่องหมายบ่งบอกให้เรารู้ว่า ผู้นั้นจะไปดี หรือไปชั่วให้ดูที่คตินิมิต

เมื่อใกล้จะตายกรรมมาปราฏอย่างไร คือถ้าคนเรามีกรรมดีมาปรากฏเช่น เคยทำบุญให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา เป็นคนกตัญญูรู้คุณ เลี้ยงดูพ่อแม่อย่างใดอย่างหนึ่งในจำนวนบุญกิริยาวัตถุ10 ข้อ

ทำไว้มาก เมื่อใกล้จะตาย กรรมนั้นจะเข้ามาเป็นอาสันนกรรม คือ ทำให้คนนั้นรู้สึกแช่มชื่นเบิกบานใจ ไม่กระวนกระวาย แม้เมื่อตอนป่วยหนักผู้นั้นจะกระวนกระวายเป็นบ้างก็ตาม…..แต่เมื่อใกล้จะขาดใจนั้นเขาไปอย่างสงบ เช่นบางคนจุดธูปเทียน บูชาพระ บางคนภาวนาว่าพุทโธ ๆ จากไป บางคนภาวนาว่า อรหังๆ จากไป คือไปด้วยจิตเบิกบาน และแม้จะเจ็บป่วยขนาดไหนก็ตาม…..แต่เมื่อใกล้จะตายวินาทีสุดท้ายของเขานั้น เขาไปอย่างดี ไปอย่างสงบ ไม่ทุรนทุราย แม้ทุรนทุรายทางร่างกาย แต่ทางจิตใจนั้นเขาสงบ……..ลักษณะเช่นนี้จะปรากฏกับผู้ที่ทำความดีไว้มาก และนี่คือลักษณะกรรมดีที่มาปรากฏเมื่อใกล้จวนเจียนจะตาย

แม้ในขณะนั้น บางคนมีกรรมนิมิตมาปรากฏ กรรมนิมิตที่ปรากฏนั้นคือ อย่างไร คือ ถ้าเขาผู้นั้นเคยทำดีเอาไว้ เมื่อเขาจวนจะตาย กรรมดีนั้นย่อมเข้ามาปรากฏในทางมโนทวาร เช่น คนที่เคยใส่บาตรเมื่อใกล้จะตายย่อมมีภาพทัพพี ขันข้าว หรือภาพพระสงฆ์ที่กำลังรับบาตรมาปรากฏเป็นมโนภาพ(เหมือนภาพในความฝัน) เมื่อเขาจะตาย เช่น เห็นภาพตัวเองกำลังถวายจีวร พระภิกษุสามเณร เห็นภาพตัวเองกำลังนั่งสมาธิ หรือทำความดีต่างๆ เห็นอุปกรณ์ที่ตนเองใช้ในการทำความดี เช่น เห็นหม้อข้าว ทัพพี เห็นเครื่องบวชนาค เป็นต้น มันเห็นชัดเจนเป็นภาพ ๆ ไปเลย ภาพเหล่านี้จะมาปรากฏแก่บุคคลที่ทำความดีเอาไว้ ท่านเรียกว่า “กรรมนิมิตฝ่ายดี”

ส่วนคนที่ทำกรรมชั่วไว้ เวลาใกล้จะตาย กรรมชั่วนั้นจะมาปราฏเป็นภาพในทางใจ (มโนภาพ)
ทำให้วุ่นวายใจหรือกระวนกระวาย กระสับกระส่ายเดือดร้อนไม่สงบ เช่น บางคนที่เคยชนไก่เป็นประจำ เมื่อเขาใกล้จะตายก็ร้องทำเสียงเหมือนกับไก่ชน กันเช่น ทำเสียงว่า “ปั๊บๆ ,เอาเข้าไปๆๆ และบางคนเอามือตัวเองชนกัน บางคนร้องเหมือนหมู เพราะเคยฆ่าหมู บางคนร้องเหมือนวัว หรือควาย เพราะเคยฆ่าไว้ ซึ่งพวกนี้เมื่อใกล้ตายจะกระสับกระส่ายดิ้นทุรนทุรายอย่างทรมาน ทำอะไรแปลกๆ เช่น มีเรื่องตัวอย่างชายคนหนึ่ง ตายด้วยการกรอกน้ำร้อนที่กำลังเดือดจัดเข้าในปากตัวเอง ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ) วัดเทพศิรินทราวาส กทม. ได้เล่าไว้ ว่า

"คนขโมยของที่ถูกไฟไหม้"

กล่าวกันว่า ได้เกิดไฟไหม้บ้านเรือนหลังหนึ่งขึ้น ที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพฯ นี้เอง เมื่อหลายปีแล้ว คนในบ้านใกล้เคียงตกใจขนของหนีไฟเป็นการใหญ่ ในขณะนั้นก็มีเรือลำหนึ่งเข้ามาเทียบเข้าไปแล้ว เจ้าของเรือก็ตะโกนบอกให้ขนของมาลงเรือ และใส่เต็มเรือแล้ว ชายเจ้าของเรือก็แจวเรือออกไปอย่างรวดเร็ว เป็นการโกงซึ่ง ๆ หน้า ในขณะที่คนอื่นเขาเดือดร้อนไปรู้จะไปเรียกร้องเอาอะไรจากใครเขาก็นำของที่โกง หรือขโมยมานั้นไปเป็นของตัวเองอย่างสบายใจโดยไม่คิดถึงความเดือดร้อนของคนอื่น

ต่อมาชายที่โกงเขาไปนั้นเกิดอาการเจ็บป่วยไม่สบายขึ้น อาการที่ปรากฏคือ ต้องการดื่มน้ำร้อนจัด ๆ ยิ่งร้อนเท่าไรก็ยิ่งชอบใจ ในที่สุดก็ไม่พอใจที่ลูก ๆ หาว่าเอาน้ำเย็นมาให้ดื่ม ทั้ง ๆ ที่เป็นน้ำร้อนเดือดจัดแท้ ๆ ….ในที่สุดแกเอาเตาถ่านและกาน้ำมาต้มที่ใกล้กับที่ที่แกนอนเจ็บอยู่ พอน้ำเดือดพล่าน มีควันพุ่งออกมาเต็มที่ แกก็จะลุกขึ้นยกกาน้ำร้อนเทใส่ปากดื่มทางพวยกา พอแกดื่มเสร็จก็ร้องเฮ้อ…คล้ายกับว่าชื่นใจเหลือเกิน แล้วก็ตายไป เรื่องนี้มีผู้เห็นมากมาย……นี้เป็นเพราะกรรมบันดาลหรือให้ผล แท้ ๆ

เรื่องนี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงกรรมารมณ์ คือ อารมณ์ของกรรม ถือว่าเป็นภาพที่ชัดเจนมาก เช่นบอกว่า “อย่ามาฆ่าฉันๆ คือเขาเห็นเป็นคนถือหอก ถือดาบมาทำท่าจะฆ่าตน เขาจึงร้องออกมาว่าอย่าฆ่าฉัน ๆ อย่าเข้ามา ๆ ร้องทั้ง ๆ ที่ญาติ พี่น้อง ลูกหลานไม่ได้เห็นอะไรเลย แต่คนๆ นี้มองเห็นคนถือดาบ ถือหอก หรือสัตว์ที่ตัวเคยฆ่าจะเข้ามาทำร้าย หรือกัดตัวเองเข้า โดยร้องออกไปอย่างนั้น


 
• โดย พระเทพวิสุทธิกวี (พิจิตร ) วัดโสมนัสวิหาร
ที่มา http://www.agalico.com/main/index.php?id=66


____________________________________________________________

28278  ธรรมะสาระ / สนทนาธรรม ทั่วไป ตามความชอบใจของท่าน / Re: กรรมอะไรที่ทำให้ตาบอด และพิการ เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 03:22:51 pm
ตาบอดหรือเป็นโรคตา

กรรมจาก   เคยทำร้ายสัตว์ที่ดวงตา หรือไม่เคยทำบุญเติมน้ำมันตะเกียงในชาติก่อนหรือเคยทำลายไฟฟ้าของวัด ของที่สาธารณะ
ลดกรรม   ซื้อโคมไฟ หลอดไฟถวายวัด ถวายเทียนห่อใหญ่ถวายไฟฉาย เติมน้ำมันตะเกียงทุกวันพร!ะ บริจาคเงินในกล่อง ซื้อน้ำมันเติมตะเกียงที่วัด


พิการ ร่างกายไม่สมประกอบ

กรรมจาก   เคยทุบตีพ่อแม่ ด่าพ่อแม่ หรือทำร้ายพ่อแม่
ลดกรรม   หมั่นทำบุญไหว้พระ ปล่อยนกปล่อยปลา ถือศีล 5 ศีล 8 เจริญภาวนา นั่งวิปัสสนากรรมฐาน


เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต


กรรมจาก   ฆ่าสัตว์ ทรมานสัตว์ ทำร้ายคนไว้ในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ
ลดกรรม
  ตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรในอดีตชาติปัจจุบันชาติรวมถึงสรรพสัตว์ทั้งหลายให้ได้กุศลและอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน ปล่อยสัตว์ลงน้ำในวันเกิดตนเองกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวรได้รับและอโหสิกรรมถวายยาเข้าวัด หรือช่วยเหลือคนป่วย


ที่มา เว็บพลังจิต


28279  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อนิมิตตเจโตสมาธิ เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 11:59:37 am
ต่อไปเป็นคำตอบข้อสาม

ขอนำความหมายของคำต่างๆ ตามพจนานุกรม พุทธศาสน์ มาแสดงเพื่อความเข้าใจ ดังนี้

สมาธิ ๓ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)

๑. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)

๒. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)

๓. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)
 
อนิจจลักษณะ ลักษณะที่เป็นอนิจจะ, ลักษณะที่ไม่เห็นว่าเป็นของไม่เที่ยง ไม่คงที่ ได้แก่
๑) เป็นไปโดยการเกิดขึ้นและสลายไป คือ เกิดดับๆ มีแล้วก็ไม่มี
๒) เป็นของแปรปรวน คือ เปลี่ยนแปลงแปรสภาพไปเรื่อยๆ
๓) เป็นของชั่วคราว อยู่ได้ชั่วขณะๆ
๔) แย้งต่อความเที่ยง คือ โดยสภาวะของมันเอง ก็ปฏิเสธความเที่ยงอยู่ในตัว

เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ เช่น สมาบัติ ๘ เป็นเจโตวิมุตติอันละเอียดประณีต (สันตเจโตวิมุตติ)
...............................................................

คำว่า “เจโตสมาธิอนิมิตร” ที่คุณกล่าวถึง ผมหาไม่เจอ
ที่หาเจอคือคำว่า “อนิมิตตเจโตสมาธิ”
แต่ในพจนานุกรม พุทธศาสน์ กลับไม่มีคำนี้
อย่างไรก็ตาม พอที่จะสรุปความหมายได้ดังนี้

เจโต คือ จิต  ถ้าหมายเอาการหลุดพ้นเป็นเกณฑ์ ควรจะเป็นคำเต็มๆว่า เจโตวิมุตติ ซึ่งหมายถึง
ความหลุดพ้นแห่งจิต, การหลุดพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจการฝึกจิตหรือด้วยกำลังสมาธิ

ปัญหามีอยู่ว่า เจโตวิมุตติ มี ๒ ขั้น คือ รูปสมาบัติ ๔ กับ อรูปสมาบัติ ๔
และทั้งสองขั้น บรรลุเป็น อนาคามี(ผล) และ อรหันต์ได้
ถ้าจะพูดถึงการเข้านิโรธสมาบัติแล้ว ต้องเป็น เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติ ๔ เท่านั้นที่เข้าได้
ส่วนขั้นรูปสมาบัติ ๔ เข้าได้แต่ผลสมาบัติเท่านั้น
...............................................................

มาถึง คำว่า อนิมิตตสมาธิ   อนิมิตตสมาธิ คือ “สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต
ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ”
จากคำอธิบายเรื่อง สมาธิ ๓ ข้างบน จะเห็นว่า
การเจริญวิปัสสนานั้น เมื่อนำเอาไตรลักษณ์มาพิจารณา
เพื่อให้หลุดพ้นสำเร็จเป็นอริยบุคคลขั้นต่างๆนั้น
ไม่จำเป็นต้องพิจารณาทั้ง ๓ ข้อ คือ ทุกข์ อนิจจัง และอนัตตา
สามารถเลือกข้อใดข้อหนึ่งมาพิจารณาก็ได้ สำเร็จได้เหมือนกัน
...............................................................

ดังนันคำว่า “อนิมิตตเจโตสมาธิ” หรือ คำว่า “เจโตสมาธิอนิมิตร” ที่คุณกล่าวถึง
ควรจะหมายถึง ผู้ที่หลุดพ้นดัวยกำลังสมาธิ โดยการพิจารณาอนิจจลักษณะ
...............................................................

ผมขอสรุปคำตอบให้คุณดังนี้

ผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้น รูปสมาบัติ ๔ เข้านิโรธสมาบัติไม่ได้
เข้าได้เฉพาะผลสมาบัติ เท่านั้น บุคคลที่จะเข้าผลสมาบัติได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

-   โสดาบัน(ผล) ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้)
-   สกิทาคา ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๓ ข้อแรกได้ ข้อที่เหลือเบาบางลงไปเมื่อเทียบกับโสดาบัน)
-   อนาคามี ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
-   อรหันต์ ได้ รูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

ผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้น อรูปสมาบัติ ๔ เข้าได้ทั้งนิโรธสมาบัติ
เข้าผลสมาบัติ บุคคลที่เข้าสมาบัติทั้งสองได้ ต้องมีคุณสมบัติดังนี้

๑.อนาคามี(ผล)บุคคล ได้ อรูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
๒.อรหันตบุคคล ได้ อรูปสมาบัติ ๔ (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

อนึ่งผู้เป็น “อนิมิตตเจโตสมาธิ” ขั้นรูปสมาบัติ ๔ และขั้นอรูปสมาบัติ ๔ ต่างก็อยู่ในกลุ่มของพระอุภโตภาควิมุต

...............................................................

สรุปคำตอบโดยย่อ

สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ และ อเนญชสมาบัติ เป็นตัวเดียวกัน
ต่างกันที่ การหยิบองค์ธรรมองค์ไหน มาอธิบายความหมายเท่านั้น

ผู้ที่จะเข้าสมาบัตินี้ได้ ต้องเป็นบุคคลที่หลุดพ้นด้วย เจโตวิมุตติ
พร้อมทั้งได้ อรูปสมาบัติ ๔ หรือ สมาบัติ ๘(ปัญญาวิมุตติเข้าไม่ได้)

และต้องเป็นอริยบุคคล ในระดับอนาคามี(ผล) และอรหันต์เท่านั้น

ในส่วนของ “อนิมิตตเจโตสมาธิ” เป็นเพียงแค่ตัวเลือกหนึ่ง
ในวิธีพิจารณาไตรลักษณ์(ทุกข์ อนิจจัง และ อนัตตา)เท่านั้น

“อนิมิตตเจโตสมาธิ” เป็นการพิจารณาอนิจจลักษณะ
ไม่ได้เป็นนิโรธสมาบัติแต่อย่างไร

ผมตอบคำถามทั้งหมดให้แล้วนะครับ สงสัยอะไรก็ถามได้
ขออนุโมทนา

28280  กรรมฐาน มัชฌิมา / ถามตอบ ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับ กรรมฐาน / อเนญชสมาบัติ เมื่อ: มกราคม 07, 2010, 11:50:18 am
ต่อไปเป็นคำตอบข้อสอง


จากการค้นหาคำแปลของ คำว่า “อเนญชา”  พบว่า น่าจะมาจากคำเต็มๆว่า อเนญชาภิสังขาร จากพจนานุกรม พุทธศาสน์ ได้ให้ความหมายไว้ว่า

อเนญชาภิสังขาร คือ เครื่องปรุงแต่งที่มั่นคง, สิ่งที่ปรุงแต่งชีวิตจิตใจของสัตว์ทั้งหลาย
กล่าวโดยสรุป มี ๓ อย่าง คือ บุญ บาป และอเนญชา-ภิสังขาร หมายถึง อรูปสมาบัติ ๔.

อภิสังขาร ๓ (สภาพที่ปรุงแต่ง, ธรรมมีเจตนาเป็นประธานอันปรุงแต่งผลแห่งการกระทำ, เจตนาที่เป็นตัวการในการทำกรรม — volitional formation; formation; activity)

๑. ปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นกามาวจรและรูปาวจร — formation of merit; meritorious formation)

๒. อปุญญาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นปฏิปักษ์ต่อบุญคือเป็นบาป, สภาพที่ปรุงแต่กรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย — formation of demerit; demeritorious formation)
 
๓. อาเนญชาภิสังขาร (อภิสังขารที่เป็นอเนญชา, สภาพที่ปรุงแต่งภพอันมั่นคง ไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร ๔ หมายเอาภาวะจิตที่มั่นคงแน่วแน่ ด้วยสมาธิแห่งจตุตถฌาน — formation of the imperturbable; imperturbability-producing volition)
 
อภิสังขาร ๓ นี้ เป็นความหมายของสังขารในหลักปฏิจจสมุปบาท ท่านแสดงไว้อีกนัยหนึ่งเพิ่มจากนัยว่าสังขาร ๓ ดู (๑๑๙) สังขาร ๓
...............................................................

ขอนำอรรถกถาบาลีจากเว็บ http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=14&i=343 บางส่วนมาแสดงดังนี้

“บทว่า อเนญฺชํ ความว่า ใส่ใจอเนญชสมาบัติคือ อรูปสมาบัติ ว่า เราจักเป็นอุภโตภาควิมุตติ.”

“บทว่า ตสฺมึเยว ปุริมสฺมึ ท่านกล่าวหมายถึงฌานที่เป็นบาท.”

              “ ก็เมื่อภิกษุนั้นออกจากฌานที่เป็นบาท ที่ยังไม่คล่องแคล่ว ใส่ใจสุญญตาในภายใน จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น.
แต่นั้นใส่ใจไปในภายนอกว่า ในสันดานของผู้อื่นเป็นอย่างไรหนอ จิตย่อมไม่แล่นไปในสุญญตาสมาบัตินั้น. แต่นั้นใส่ใจทั้งภายในและภายนอกว่า
ในสันดานของตนบางครั้งเป็นอย่างไร ในสันดานของผู้อื่นบางครั้งเป็นอย่างไร จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในสุญญตาสมาบัตินั้น.”

“แต่นั้น ผู้ประสงค์จะเป็นอุภโตภาควิมุตติ ใส่ใจอเนญชาสมาบัติว่า ในอรูปสมาบัติเป็นอย่างไรหนอแล จิตย่อมไม่แล่นไป แม้ในอเนญชาสมาบัตินั้น.
ภิกษุผู้ละเพียร ไม่พึงประพฤติตามหลังอุปัฏฐากเป็นต้น ด้วยคิดว่า บัดนี้จิตของเรายังไม่แล่นไป แต่พึงใส่ใจถึงฌานอันเป็นบาทให้สม่ำเสมอด้วยดีอย่างเดียว.”

...............................................................


เมื่่อ ดูความหมายของคำว่า อเนญชา และอ่านอรรถกถาแล้ว จะเห็นว่า
อเนญชภสมาบัติ หมายถึง อรูปสมาบัติ ๔ นั่นเอง และยังเป็นส่วนหนึ่งของอุภโตภาควิมุตติ

จากคำอธิบายและคำตอบในข้อแรก จะเห็นว่า อุภโตภาควิมุตติ หมายถึง
ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน คือ ได้ทั้งเจโตวิมุตติ ขั้นอรูปสมาบัติก่อน แล้วได้ปัญญาวิมุตติ
อเนญชสมาบัติ จึงอยู่ในส่วนแรกของอุภโตภาควิมุตติ คือ เจโตวิมุตติ ขั้นอรูปฌาน นั่นเอง

ดังนั้น คนที่จะเข้าอเนญชสมาบัติได้ นอกจากต้องอยู่ในกลุ่มของพระอุภโตภาควิมุต ได้อรูปสมาบัติ ๔ หรือ สมาบัติ ๘ แล้ว  จะต้องเป็น

๑.อนาคามี(ผล)บุคคล (ตัดสังโยชน์ ๕ ข้อแรกได้)
๒.อรหันตบุคคล (ตัดสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อได้หมด)

คำตอบข้อสองเหมือนกับคำตอบข้อแรกทุกประการ(เพราะว่า อเนญชสมาบัติ ก็คือ สัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ)


หน้า: 1 ... 705 706 [707] 708 709 710