แสดงกระทู้
|
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to. |
Messages - raponsan
|
หน้า: [1] 2 3 ... 729
|
1
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตก
|
เมื่อ: เมษายน 29, 2025, 09:14:13 am
|
. เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตกคนเราแต่ละคนมีจิตใจแข็งแรงไม่เท่ากัน ความสามารถ ในการรับความกดดันในชีวิตจึงมีไม่เท่ากัน ปัจจุบันระดับความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตผู้คนในสังคมมีสูงมาก คนที่ประสบภาวะเครียด บ่อยๆเป็นระยะเวลายาว นานบางครั้งอาจทำให้เกิดอาการอ่อนล้าทางด้านจิต ใจ หรือบางคนอาจเรียกว่า "จิตตก" ได้
คำว่า "จิตตก" เป็นคำที่ใช้พูดเพื่อบรรยายอาการ แต่ไม่ได้เป็นศัพท์มาตรฐาน ดังนั้น จึงอาจไม่มีคำนิยามโดยเฉพาะเจาะจงที่ชัดเจน สำหรับผู้เขียนอยากให้ความหมายของภาวะจิตตกว่า คือภาวะจิตใจของคนที่ประสบกับความเครียด ความกดดัน เป็นระยะเวลายาวนาน หรืออาจเกิดจากความกดดันที่เกิดขึ้นในระยะเวลาที่ไม่ยาวนานแต่มีความรุนแรงสูง
อาการที่เกิดขึ้นมักเป็นลำดับดังนี้ เบื้องต้นมักจะเกิดจากการคาดว่า เกรงว่าสิ่งที่ไม่ดีจะเกิดขึ้น จะมีความเสียหายเกิดขึ้น คิดว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ จะล้มเหลว ทำให้เกิดอาการวิตกกังวล ได้แก่ อาการใจสั่น เหงื่อออก หายใจไม่อิ่ม นอนไม่หลับ ระบบทางเดินอาหาร ระบบย่อยอาหารปั่นป่วน เป็นต้น
@@@@@@
ส่วนระยะถัดมาเมื่อทราบถึงผลของเหตุการณ์แล้วว่าไม่ได้เป็นไปอย่างที่คิด ไม่สำเร็จ ก็จะเกิดอาการผิดหวัง ท้อแท้ ซึมเศร้า ได้แก่ อาการเบื่ออาหาร นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ คิดช้า ไม่มีกำลังใจ รู้สึกว่าตัวเองไร้คุณค่า ในรายที่อาการรุนแรงอาจมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ อยากฆ่าตัวตาย และอาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย เช่น หูแว่ว ประสาทหลอน หวาดระแวง ซึ่งสามารถก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งกับตนเองและผู้อื่น
เราไม่สามารถรู้ได้ว่าภาวะจิตตกเกิดขึ้นกับเราหรือไม่ เมื่อไร ดังนั้น ทางที่ดีจึงควรทำความรู้จักวิธีการรับมือกับภาวะจิตตกเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นได้ง่าย ควรเพิ่มภูมิคุ้มกันโดยการลดระดับความเครียดในแต่ละวันไม่ให้เกิดการสะสม โดยการพักกายและพักใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่มักจะหลงลืมไป ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และเพียงพอ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพราะคนที่หิวหรือนอนไม่พอ ความอดทนจะต่ำ อารมณ์จะหงุดหงิด ฉุนเฉียวได้ง่าย
นอกจากนี้ในแต่ละวันควร มีเวลาออกกำลังกายเพื่อยืดเส้น ยืดสาย ลดความเครียด และช่วยให้ฮอร์โมนเอนโดรฟินในสมองซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยให้คนเรารู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขหลั่งออกมา นอกจากพักกายแล้ว การพักใจก็ควรทำเป็นประจำ ถ้าทำได้ทุกวันจะเป็นการดี การพักใจที่ว่านี้คือการทำให้ใจได้พักโดยการทำงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วมีความสุข สมองได้พักผ่อน เพื่อช่วยให้อารมณ์ลบในแต่ละวันถูกถ่ายเทออกไป ไม่สะสม จิตใจก็จะผ่องใส สามารถรับแรงกดดันในชีวิตได้ดีขึ้น เกิดภาวะจิตตกได้ยากขึ้น
สำหรับคนที่ตกอยู่ในภาวะจิตตก การจะผ่านภาวะนี้ไปได้ต้องอาศัยทักษะดังนี้
1. ความเชื่อมั่นว่าจะผ่านพ้นปัญหาไปได้ ส่วนจะช้าหรือเร็วเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การเชื่อมั่น ว่าปัญหาจะมีทางออกในที่สุดจะช่วยให้มีกำลังใจสู้ต่อไปได้
2. ความสามารถมองเห็นข้อดีหรือข้อบวกของสิ่งที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปได้ สิ่งนี้เป็นสิ่งที่ต้องฝึก ฝนจึงจะทำได้ดี
3. การมองปัญหาและการวางแผนแก้ไขแบบเป็นขั้นตอน แล้วจัดการแก้ไขไปทีละขั้นละเปลาะ การแก้ไขได้สำเร็จทีละขั้นจะช่วยให้เกิดความมั่นใจว่าจะแก้ปัญหาได้สำเร็จในที่สุด
4. สำหรับคนที่พยายามแก้ปัญหาด้วยตัวเองแล้วยังไม่สำเร็จ อาจต้องอาศัยตัวช่วยคือความช่วยเหลือจากคนรอบข้าง ได้แก่ เพื่อนสนิท หรือญาติผู้ใหญ่ ในการช่วยมองปัญหา ให้คำปรึกษาแนะนำ
@@@@@@@
ในบางรายถ้าประสบปัญหาที่ใหญ่และหนักหนามาก หลังรับความช่วยเหลือจากคนรอบข้างแล้วยังไม่ดีขึ้น และอาจมีอาการวิตกกังวลหรือซึมเศร้าจนไม่สามารถรับผิดชอบหน้าที่การงานได้ อาจจำเป็นต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ เพื่อช่วยเหลือให้ต่อสู้กับปัญหาและผ่านวิกฤตไปให้ได้ หวังว่าผู้อ่านทุกท่านจะไม่ต้องประสบกับภาวะจิตตก ถ้าต้องพบก็ขอให้รับมือได้ อย่างไรก็ตาม อ่านบทความนี้แล้วอย่าลืมพักกายพักใจกันทุกๆ วันด้วยนะครับ ขอขอบคุณ :- ที่มา : มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว (นพ.ไกรสิทธิ์ นฤขัตพิชัย) https://www.thaihealth.or.th/เมื่อตกอยู่ในภาวะจิตตก-2/ ThaiHealth Official | 08 พฤษภาคม 2561
|
|
|
2
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ แท้จริงแล้วเร่าร้อนและ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก
|
เมื่อ: เมษายน 28, 2025, 07:19:02 am
|
. การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ แท้จริงแล้วเร่าร้อนและ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรกนรกเป็นสถานที่มีความเร่าร้อน เป็นสถานที่ลงโทษดวงวิญญาณผู้กระทำบาป แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า สิ่งที่ น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก คือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ ทำไมเป็นเช่นนี้ หาคำตอบไปด้วยกันจากพระสูตรที่มีชื่อว่า ปริฬาหสูตร กันเถอะ
@@@@@@@
พระพุทธเจ้าตรัสขึ้นว่า “เดี๋ยวก่อนภิกษุทั้งหลายนรกเป็นสถานที่มีความเร่าร้อน สัตว์นรกย่อมทนทุกข์ทรมานจากรูปที่ไม่น่าอภิรมย์ที่ตนต้องเห็นด้วยดวงตา รูปที่อยากชมก็หาไม่ได้ในนรกนี้ ถึงจะได้ยินเสียง ได้ลิ้มรส ได้สูดกลิ่น ได้สัมผัสด้วยกาย หรือรู้เข้าใจด้วยการคิด แต่สิ่งที่รับรู้ล้วนเป็นการรับรู้ในสิ่งที่ไม่น่าอภิรมย์ทั้งสิ้น”
พระภิกษุรูปหนึ่งทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มีความเร่าร้อนใดที่มากและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกอีกหรือไม่”
พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ความเร่าร้อนที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกที่เธอถามนั้นมีอยู่จริง”
พระภิกษุทูลถามต่อว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเร่าร้อนอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความเร่าร้อนในนรกเป็นเช่นไร”
พระพุทธเจ้าทรงอธิบายว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันสมณะและพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งก็ตาม หากไม่รู้แจ้งในอริยสัจ 4 แล้วสมณะและพราหมณ์เหล่านั้นต่างยินดีในสังขาร (การปรุงแต่ง) ซึ่งทำให้พวกเขาเกิดความเร่าร้อนใน การเกิด การแก่ การตาย การเศร้าโศก การร่ำไห้ และการคับแค้นใจ สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความทุกข์
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หากสมณะและพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เข้าใจและรู้แจ้งในอริยสัจ 4 ผู้นั้นย่อมไม่ยินดีในสังขาร (การปรุงแต่ง) เมื่อสังขารไม่ทำงาน การเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏย่อมไม่มี ความเร่าร้อนจากการเกิด การแก่ การเจ็บ การตาย การเศร้าโศก การร่ำไห้ และการคับแค้นใจ ย่อมไม่เกิดขึ้น สมณะและพราหมณ์เหล่านั้นย่อมพ้นไปจากความทุกข์ เพราะฉะนั้น เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริง (อริยสัจ 4)”
@@@@@@@
พระสูตรเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า สิ่งที่น่ากลัวและมีความเร่าร้อนยิ่งกว่าขุมนรกคือการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏ พระพุทธศาสนามองว่าการเวียนว่ายเป็นทุกข์ หากปล่อยให้จิตปรุงแต่ง (สังขาร) คิดว่าเราเป็นเรา สิ่งนี้สิ่งนั้นเป็นของ ๆ เรา ใครทำให้เราเจ็บปวด ก็ถือโกรธเคืองจดจำเป็นความแค้น แต่ตามจริงแล้ว ไม่มีเราและของ ๆ เรา
การเข้าถึงนิโรธ การดับแห่งทุกข์ที่คัมภีร์นิยมเรียกว่า “ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา” คือ การเข้าใจในไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา อนัตตาหมายถึงการไม่มีตัวตน เป็นความว่างเปล่าที่ไม่มีอะไร (สุญญตา) เป็นอัมพยากตะ หรืออัมพยากฤต (ความเป็นอุเบกขา ไม่โน้นไปข้างหนึ่งข้างใดที่เป็นกุศลและอกุศล)
หากไม่ต้องการจะประสบพบกับสิ่งที่น่ากลัวยิ่งกว่าขุมนรก (สังสารวัฏ) การเข้าใจถึงอริยสัจ 4 เน้นนิโรธ การดับทุกข์ด้วยไตรลักษณ์ เข้าใจว่าเราไม่มีตัวตน เข้าใจว่าไม่มีสิ่งใดที่เราสามารถบ่งการหรือควบคุมให้เป็นไปได้ดั่งใจ เข้าใจว่าการไร้ซึ่งการปรุงแต่ง (คิด) ช่วยให้ยุติภพ-ชาติ หรือสังสารวัฏได้ ความเร่าร้อนและความน่ากลัวที่ยิ่งกว่าขุมนรกก็จะไม่มาเยือนอย่างแน่นอน ขอขอบคุณ :- ที่มา : ปริฬาหสูตร ภาพ : pinterest https://cheewajit.com/healthy-mind/126264.htmlสุขใจ | December 18, 2018
|
|
|
5
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ศาสนาผี ‘ที่สุดในโลก’
|
เมื่อ: เมษายน 27, 2025, 07:00:19 am
|
. ศาสนาผี ‘ที่สุดในโลก’บางตอนจากหนังสือ ศาสนาผี ของ สุจิตต์ วงษ์เทศ
ศาสนาผีเป็นศาสนามวลชนเก่าแก่ที่สุด และมีคนนับถือมากที่สุดในโลก จึงแผ่ความเชื่อหล่อหลอมคนส่วนมากก่อนมีศาสนาใหญ่สมัยหลัง
แต่ศาสนาผีไม่เอื้อต่อการรวมศูนย์อำนาจ จึงเป็นเหตุให้ศาสนาพราหมณ์, พุทธจากอินเดีย เมื่อแผ่ถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยาและอุษาคเนย์ ได้กลืนศาสนาผีเข้าเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาพราหมณ์, พุทธ ซึ่งทำให้ชนชั้นนำและคนส่วนมากครั้งนั้นนับถือศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ ที่ผสมกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ทางการเมืองการปกครองด้วยการค้ำจุนอำนาจรวมศูนย์ของชนชั้นนำในบ้านเมืองสมัยนั้น แล้วสืบทอดจนสมัยนี้
ประเทศไทยนับถือศาสนาหลักที่ถูกสมมุติเรียกชื่อใหม่ว่า “ศาสนาไทย” อันเป็นมรดกตกทอดการผสมกลมกลืนของศาสนาผี, พราหมณ์, พุทธ นับพันๆ ปีมาแล้ว ซึ่งมีวิถีต่างจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในอินเดีย และศาสนาพุทธในพระไตรปิฎก
โครงกระดูกมนุษย์นับพันปีที่นักโบราณคดีขุดพบในไทยและเพื่อนบ้าน ล้วนเป็นผลจากพิธีกรรมหลังความตายทางศาสนาผี ซึ่งต้องมีนิยามและคำอธิบายตามความเชื่อทางศาสนาผี ที่ต่างกันมากกับความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู กับศาสนาพุทธจากอินเดีย
@@@@@@@
ศาสนาผี มาจากไหน.?
ศาสนาผี หมายถึง ระบบความเชื่อในอำนาจเหนือธรรมชาติ ว่าบันดาลให้เกิดปรากฏการณ์ดีและร้าย ทั้งในโลกผีกับโลกมนุษย์ หรือเมืองผีกับเมืองมนุษย์ โดยจัดให้โลกผีหรือเมืองผีอยู่ต่างมิติ ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ มองไม่เห็น แต่เคลื่อนไหวได้ แยกส่วนได้
[เมื่อเทียบความเชื่อของพราหมณ์กับพุทธจะพบว่าต่างกันมาก เนื่องจากศาสนาผีไม่มีวิญญาณ, ไม่มีเวียนว่ายตายเกิด, ไม่มีโลกหน้า, ไม่มีสวรรค์, ไม่มีนรก, ไม่มีเผาศพ, ไม่มีเทวดา, ไม่มีนางฟ้า, ไม่มียมบาล ฯลฯ]
ความเชื่อผีก่อนหน้านี้ถูกเหยียด และไม่ได้รับการยอมรับเป็นศาสนาจากสังคมทั่วไป แต่ทางวิชาการสากลยกย่องให้ความสำคัญว่าความเชื่อผีเป็นศาสนาหนึ่งในโลกดังนี้
1. ศาสนาผีเป็นศาสนาเก่าแก่ที่สุดในโลก มีอายุหลายพันหลายหมื่นปีมาแล้ว นับไม่ถ้วน
2. ศาสนาผีเป็นศาสนามวลชนเก่าแก่ที่สุด ที่มีคนนับถือมากที่สุดในโลก นับไม่ถ้วน
3. ศาสนาผีไม่เอื้อต่อการรวมศูนย์อำนาจ เป็นเหตุให้ศาสนาที่แผ่เข้ามาจากอินเดีย คือ ศาสนาพราหมณ์-พุทธได้กลืนศาสนาผีเข้าเป็นส่วนหนึ่งเรียก ผี, พราหมณ์, พุทธ เพื่อให้ค้ำจุนอำนาจรวมศูนย์กลางของชนชั้นนำในบ้านเมือง ผีคืออะไร.?
ผี คือ ความเชื่อว่าเป็นสิ่งมีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติที่บันดาลให้เกิดผลกระทบถึงคน ทั้งผลดีและผลไม่ดี
หรืออีกด้านหนึ่งผีเป็นสิ่งประดิษฐ์ตามจินตนาการของมนุษย์จากความเชื่อเรื่องขวัญ
ดังนั้น ผี คือ ขวัญของคนตาย หมายถึง ส่วนไม่เป็นตัวตนของคนตาย เพราะเมื่อขวัญออกจากร่างคนมีชีวิตจะทำให้คนนั้นตาย หรือผีคือขวัญของคนตายที่ออกจากร่าง บางทีเรียกผีขวัญ
@@@@@@@
ผีมาจากไหน.?
มาจาก (1.) ความเชื่อของคนในศาสนาผีเรื่องขวัญ (2.) ว่าคนตายกลายเป็นผี ไม่มีรูปร่าง ไม่มีตัวตน, จับต้องไม่ได้, มองไม่เห็น, เคลื่อนไหวได้, แยกส่วนได้, ไม่มีเสียง ฯลฯ (3.) สิงสู่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลก ได้แก่ คน, สัตว์, พืช, สิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้, อาคารสถานที่ ฯลฯ
ผีมาจากขวัญ คนดั้งเดิมในไทยเชื่อว่าผีมาจากขวัญ (คือส่วนไม่เป็นตัวตน) ตามความเชื่อศาสนาผีว่า “คนตาย ขวัญไม่ตาย” ขวัญกลายเป็นผี ทำให้มีโลก 2 มิติ ทับซ้อนกัน คือ โลกของคน กับ โลกของผี หมายถึง (1.) คนตาย เพราะขวัญหายออกจากร่าง (ไม่รู้หายไปไหน?) (2.) ขวัญไม่ตาย กลายเป็นผี ร่อนเร่ไปไหนต่อไหน ไม่คืนร่าง (3.) ถ้าขวัญคืนร่าง เชื่อว่าคนจะฟื้น
จึงมีพิธีกรรมหลังความตาย เพื่อให้ขวัญคืนร่าง แต่คนไม่เคยฟื้น เพราะขวัญไม่เคยคืนร่าง ดังนั้นขวัญอยู่ต่างมิติในโลกผี
ขวัญ คือ ส่วนไม่เป็นตัวตนอยู่ในคนมีชีวิต ต่อมาเมื่อรู้จัก “วิญญาณ” ตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธ จึงรับคำว่าวิญญาณมาใช้งาน ครั้นนานไปก็ผสมกันระหว่างวิญญาณ, ขวัญ, ผี แล้วปนกันจนแยกไม่ได้
แต่ในความเป็นจริงใช้แทนกันไม่ได้ เพราะวิญญาณมีดวงเดียว แต่ขวัญมีหลายหลากมากกว่าหนึ่ง นอกจากนั้นวิญญาณมีเวียนว่ายตายเกิด แต่ขวัญไม่เวียนว่ายตายเกิด หมายถึง ไม่ตายและไม่เกิด
ผี (ในพุทธ) มาจากวิญญาณ คนไทยทุกวันนี้เชื่อว่าผีมาจากวิญญาณ (คือส่วนไม่เป็นตัวตน) ตามคำสอนพุทธเรื่อง “เวียนว่ายตายเกิด” หมายถึง ตายแล้วเกิด (ใหม่) ไม่รู้จบ
แต่วิญญาณมีดวงเดียว คนตาย วิญญาณดับ ไปจุติใหม่ทันที-ขึ้นสวรรค์/ลงนรก? ดังนั้น ผีจึงไม่มาจากวิญญาณ เพราะวิญญาณไปจุติแล้ว ไม่มีอะไรเหลือ ผีหลายพวก
ผีมี 2 พวกใหญ่ๆ คือ ผีดีและผีร้าย
ผีดี มี 2 ประเภท ซึ่งให้คุณและโทษต่อมนุษย์ คือ ผีดินกับผีฟ้า
ผีดิน หมายถึง ผีพื้นเมืองหลายพันปีมาแล้ว พบทั่วไปในชุมชนเก่าแก่แรกเริ่ม ได้แก่ ผีเรือน, ผีบ้าน, ผีเมือง, ผีดง, ผีป่า, ผีบก, ผีน้ำ (พญานาค) ฯลฯ
ผีฟ้า หมายถึง ผู้เป็นใหญ่บนฟ้า บางทีเรียกเจ้าแห่งฟ้า หรือเจ้าฟ้า
ผีฟ้า โดยสรุปมีความเป็นมาดังนี้
1. แหล่งรวมพลังขวัญของผีบรรพชน หรือผีชนชั้นนำที่ตายแล้วของเผ่าพันธุ์ ซึ่งถูกส่งขึ้นฟ้ารวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับผีขวัญบรรพชนคนก่อนๆ เพื่อปกป้องคุ้มครองคนที่ยังไม่ตายอยู่ในชุมชนพ้นโรคภัยไข้เจ็บและอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร
2. ถูกเรียกอีกชื่อว่าแถน (ราว 2,500 ปีมาแล้ว เมื่อเรือน พ.ศ.1) ซึ่งได้จากภาษาจีนว่าเทียน แปลว่า ฟ้า หมายถึง ผู้เป็นใหญ่บนฟ้า [จากหนังสือ พงศาวดารโยนก ของ พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) เรียบเรียงเมื่อปลายแผ่นดิน ร.5 พ.ศ.2451] หลังจากนั้นเรียกรวมว่า “ผีฟ้าพญาแถน”
แถน คือ ผีฟ้า มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ผู้สร้างทุกอย่างในโลกทั้งดินและฟ้า บรรดาคนในชุมชนบ้านเมืองลุ่มน้ำเจ้าพระยานับพันปีมาแล้วนับถือแถน แต่กลายเสียงกลายรูปเป็นแผน ได้แก่ หลังรับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู รู้จักพรหมเป็นเทวดาผู้สร้างทุกอย่างในจักรวาล มีอำนาจเหมือนแถน จึงเรียกพรหมด้วยคำไท-ไตอันคุ้นเคยว่าแผน แล้วยกเป็นใหญ่ว่า “ขุนแผน” พบในโองการแช่งน้ำตอนพระพรหมตรวจพื้นที่สร้างโลกว่า “ขุนแผน แรกเอาดิน ดูที่” (มีอธิบายละเอียดในหนังสือ โองการแช่งน้ำ ของ จิตร ภูมิศักดิ์ สำนักพิมพ์ดวงกมล พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ.2524 หน้า 39-55)
3. ผีฟ้ากับคนติดต่อสื่อสารกันได้โดยผ่าน “ตัวกลาง” คือ ร่างทรง หรือคนทรงซึ่งเป็นหญิง
4. คนในชุมชนถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดจากผีฟ้า ด้วยจารีตประเพณีพิธีกรรมในศาสนาผี ผ่านหมอมด
5. ต้นตอลัทธิเทวราช (ราว พ.ศ.1400) ด้วยการปรับความเชื่อเข้ากับศาสนาพราหมณ์-ฮินดู โดยเชิญผีขวัญของพระราชาที่สวรรคตขึ้นสวรรค์บนฟ้า เพื่อรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับเทวะ เป็นเทวราชา (ซึ่งไม่มีคตินี้ในอินเดีย) ดังนี้
ผีฟ้าถูกยกเป็นเทวราชา บนฟ้ามีผีขวัญบรรพชนนับไม่ถ้วน รวมพลังเป็นหนึ่งเดียวเรียกผีฟ้า หรือแถน ทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองคนที่มีชีวิตบนโลก เมื่อคนชั้นนำคนใหม่ตายไปก็ส่งผีขวัญรวมเป็นผีฟ้าหรือแถนเพิ่มอีกไม่รู้จบ
ต่อมา หลังรับความเป็นเทวะบนสวรรค์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูจากอินเดีย บรรดาคนชั้นนำอุษาคเนย์ร่วมกันปรับความเชื่อเรื่องผีฟ้าผีแถน (ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิม) เข้ากับเทวะ โดยเชิญผีขวัญคนชั้นนำขึ้นฟ้าไปรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวกับเทวะบนสวรรค์ แล้วเรียกใหม่ว่าเทวราชา ในลัทธิเทวราช
เทวราชาอยู่บนสวรรค์ ควบคุมน้ำบนฟ้า มีพลังอำนาจบันดาลน้ำเหล่านั้นตกเป็นฝนหล่นถึงโลก บังเกิดความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร
ผีร้าย ให้โทษอย่างเดียว เช่น ผีฉมบ-จะกละ-กระสือ-กระหัง (กฎหมายลักษณะเบ็ดเสร็จ 115 ปีก่อนอยุธยา พ.ศ.1778), ผีห่า คือ โรคระบาดทำให้คนตายมาก (เช่น กาฬโรค) หมาเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ นำทางผีขวัญหัวหน้าเผ่าพันธุ์ที่ตายแล้วขึ้นฟ้ารวมพลังเป็นผีฟ้าตามความเชื่อทางศาสนาผีโครงกระดูกหมา (แบบเต็มโครงสมบูรณ์) ในวัฒนธรรมบ้านเชียง ราว 2,500 ปีมาแล้ว ขุดพบ (เมื่อ พ.ศ.2547) ร่วมกับโครงกระดูกมนุษย์ยุคเดียวกัน ที่วัดโพธิ์ศรีใน ต.บ้านเชียง อ.หนองหาน จ.อุดรธานี (ภาพจาก สุรพล นาถะพินธุ อดีตคณบดีคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร) (บน) หมานำผีขวัญของคนตายสู่เมืองฟ้า ตามความเชื่อราว 2,500 ปีมาแล้ว (ลายเส้นของกรมศิลปากรจำลองภาพเขียนสีที่เขาจันทน์งาม อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา) (ล่าง) หมาทำท่าเหินจากฟ้า มีผีขวัญบรรพชนจูงควาย ภาพเขียนสี ราว 2,500 ปีมาแล้ว บนเขาปลาร้า อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี (ลายเส้นคัดลอกของกรมศิลปากร) ภาพแสดงพิธีกรรมเข้าทรงผีฟ้าเพื่อขอความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร ด้วยร่างทรงรวมหมู่คือภาพเขียนรูปคนสวมหน้ากากหัวสามเหลี่ยมตั้งบนรูปทรงกระบอก พร้อมด้วยรูปช้าง, ปลา, เต่า ฯลฯ เมื่อ 2,500 ปีมาแล้ว หรือเรือน พ.ศ.1
รูปหัวสามเหลี่ยมตั้งบนทรงกระบอกเป็นรูปคนใส่หน้ากากสวมเครื่องเข้าทรงในพิธีกรรม (ดังพบทุกวันนี้ในผีตาโขน) ไม่ใช่ตุ้ม (ซึ่งเป็นเครื่องมือดักปลาในแม่น้ำสมัยปัจจุบัน) ใช้จับปลาจำนวนมากเพื่อขายในตลาดของระบบทุนนิยม แต่สังคม 2,500 ปีที่แล้ว ทุกคนจับปลาหากินเองตามอัตภาพ ไม่มีตลาดซื้อขายปลาอย่างทุกวันนี้
พิธีกรรมเซ่นผี (หรือเลี้ยงผี) ของคนหลายชาติพันธุ์ บริเวณสองฝั่งโขง 2,500 ปีมาแล้ว เพื่อ (1.) ขอให้พ้นจากความแห้งแล้ง เพื่อความอุดมสมบูรณ์ในพืชพันธุ์ว่านยาข้าวปลาอาหาร เป็นพิธีกรรมประจำปี มีหน้าแล้งเดือน 4 เดือน 5 ถึงเดือน 6 และ (2.) ขอให้พ้นจากผีร้าย (คือโรคภัยไข้เจ็บ) เพื่อความอยู่ดีกิน หวาน (คือสบาย) เป็นพิธีจร จัดให้มีตามต้องการที่เกิดเหตุไม่ดี หรือมีผู้เจ็บไข้ได้ป่วย
หมอมด ผู้กำหนดนัดหมายและเป็นเจ้าพิธี มีตอนกลางคืนตั้งแต่ย่ำค่ำจนย่ำรุ่ง นานหลายวันหลายคืนต่อเนื่องกัน อาจเป็นเดือน (มด กลายจากคำเขมรว่ามะม๊วด มักเป็นคนเดียวกับหัวหน้าเผ่าพันธุ์ หรือ Chiefdom) เป็นร่างทรงของผีบรรพชน (ผีฟ้า, ผีแถน)
ฆ่าควาย ปรุงอาหารเซ่นผี และเลี้ยงคนที่ร่วมพิธี ส่วนเลือดควายใช้ป้ายหน้าผากและตามตัวตลอดจนเครื่องมือ หลัง เสร็จพิธีมีกินเลี้ยงและร้องรำทำเพลง พร้อมเป่าแคนและกระทุ้งกระบอกไผ่ รวมทั้งเล่นเครื่องมืออื่นๆขอบคุณ : https://www.matichon.co.th/prachachuen/news_5123348วันที่ 3 เมษายน 2568 - 12:41 น.
|
|
|
6
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาว น้ำท่วมกรุงเทพฯ เหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต
|
เมื่อ: เมษายน 27, 2025, 06:19:07 am
|
. ลือสะพัดชายแดนไทย-ลาว น้ำท่วมกรุงเทพฯ เหตุผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีตนครพนม - ใบปลิวว่อนชายแดนไทย-ลาวด้านจังหวัดนครพนม ต้นฉบับพิมพ์เป็นภาษาลาว ระบุเหตุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะผิดคำสาบานพระแก้วมรกตของศักดินาในอดีต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วง 1-2 วันนี้ที่ จ.นครพนม ได้มีใบปลิวเนื้อหาเป็นภาษาลาว ระบุน้ำท่วมกรุงเทพฯ เพราะคำสาบานในอดีต แจกจ่ายแพร่สะพัดในตลาดโต้รุ่ง ร้านคาเฟ่อินเทอร์เน็ต และยังแปลข้อความในใบปลิวจากภาษาลาวเป็นภาษาไทยโพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กต่อๆ กัน
สำหรับข้อความในใบปลิวดังกล่าว ระบุหัวข้อตั้งคำถามน้ำท่วมกรุงเทพฯ เป็นเพราะคำสาบานในสมัยอดีตจริงหรือไม่ ด้วยเหตุใดพระแก้วมรกตของลาวจึงไปอยู่ในประเทศไทย
ข้อความเล่าย้อนไปในอดีตว่า ภายหลังเจ้าอนุวงศ์ได้เสียชัยให้กับสยาม (กรุงเทพฯ) แล้ว ศักดินาสยามก็พยายามจะเอาพระแก้วมรกตไปสถิตไว้อยู่ประเทศไทย พวกเขาได้ใช้ความพยายามหลายวิธี แต่ไม่สามารถยกพระแก้วมรกตขึ้นได้ ฉะนั้น ศักดินาสยามจึงให้หมอดูลาว 5 คนเพื่อไปอ้อนวอนช่วย
โดยมีเหตุผลอ้างอิงว่า ปัจจุบันนั้นเมืองลาวเกิดความวุ่นวายไม่สงบ ฉะนั้น จึงขออัญเชิญพระแก้วมรกตนี้ย้ายไปสถิตที่กรุงเทพฯ ถ้าหากว่าวันใดเมืองลาวมีความสงบ จะอัญเชิญพระแก้วมรกตไปสถิตสถานไว้ที่เมืองลาวเหมือนเดิม ใบปลิวพิมพ์ด้วยอักษรลาว ที่ว่ากันว่าฝั่งลาวมีอยู่ทุกครัวเรือนข้อความยังระบุต่อไปว่า เพื่อเป็นการยืนยันศักดิ์ศรีของศักดินาสยามในเวลานั้น พวกเขาได้สาบานไว้ว่า
“ถ้าหากประเทศไทยไม่ปฏิบัติตามคำสาบานดังกล่าวนี้ ขอให้มีมหันตภัย 5 อย่างเกิดขึ้นแก่ประเทศไทยดังนี้”
(1) ขอให้น้ำท่วมบ้านท่วมเมือง, (2) ขอให้ประเทศไทยไม่มีความสงบ เจริญรุ่งเรือง การเมืองให้มีความสับสนวุ่นวาย, (3) อาณาจักรเดียวขอให้แบ่งเป็นหลายชาติ ความเป็นเอกราชขอให้พังทลาย, (4) ราชบัลลังก์ขอให้ถูกโค่นล้ม, (5) ดินส่วนหนึ่งขอให้จมลงทะเล
เมื่อศักดินาสยามได้ยืนยันคำสาบานดังกล่าวแล้ว หมอดูลาวทั้ง 5 คนจึงพร้อมกันอัญเชิญพระแก้วมรกตตามจุดประสงค์ของไทย จากนั้นศักดินาสยามจึงสามารถยกเอาพระแก้วมรกตของลาวไปประดิษฐานอยู่ที่กรุงเทพฯจนถึงปัจจุบันนี้
@@@@@@@
นอกจากนี้ ในท้ายข้อความในใบปลิวยังอ้างว่า หนังสือฉบับนี้เอามาจากหอสมุดของแขวงหลวงพระบาง ต้นฉบับเป็นภาษาลาว ลงวันที่ 12/2/2010
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้มีข่าวลือสะพัดต่อเนื่องว่า มหาอุทกภัยครั้งใหญ่ของไทย อาจเกี่ยวข้องกับคำสาปหรือคำสาบานของไทยและลาว แต่ยังไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรยืนยันที่อ้างว่ามีบันทึกอยู่ในหอสมุดแห่งชาติลาว
กระทั่งมีผู้นำใบปลิวจากฝั่งลาวมาเผยแพร่ดังกล่าว ผู้นำใบปลิวมาเผยแพร่ยังระบุว่าชาวลาวมีใบปลิวข้อความเนื้อหาข้างต้นแทบทุกครัวเรือนขอบคุณ : https://mgronline.com/local/detail/9540000140061เผยแพร่ : 3 พ.ย. 2554 , 10:41 | โดย : MGR Online
|
|
|
7
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พุทโธของหลวงปู่ชา : พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
|
เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 10:40:24 am
|
. พุทโธของหลวงปู่ชา : พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) หลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปโปรดญาติโยมที่กรุงเทพฯ เมื่อ ๓๑ มีนาคม ๒๕๒๑ ในช่วงสนทนาธรรม ญาติโยมสงสัยว่า พุทโธเป็นอย่างไร.?
หลวงปู่ได้เมตตาตอบว่า
"เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลายทั้งปวงอย่าไปยึดความรู้ที่เราเรียนกับตำหรับตำรา หรือจากครูบาอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ออกให้หมด แล้วก็เวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานั่นแหละ
จิตของเราสงบเราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง ความรู้อะไรๆ ให้มันออกจากจิตของเราความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้ออกจากจิตเองนั่นแหละ มันดี คือ จิตมันสงบทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว
อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต แล้วให้จิตภาวนาเอาเอง ให้จิตเป็นผู้บริกรรมพุทโธ พุทโธอยู่นั่นแหละ แล้วพุทโธนั่นแหละ จะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จัก พุทโธ นั้นเป็นอย่างไร แล้วรู้เอง...เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย"ขอบคุณที่มา :- ภาพจาก : pinterest URL : http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=122&typeID=22&form=9คอลัมน์ : สงบใจไปกับธรรมะ > ปุจฉา วิสัชนา : หลวงปู่ชา > พุทโธเป็นอย่างไร วันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
|
|
|
8
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / จิตวิทยาแนวพุทธ
|
เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 10:07:40 am
|
. จิตวิทยาแนวพุทธ  ความหมายของจิตวิทยาแนวพุทธ
จิตวิทยาแนวพุทธ คือการนำศาสตร์ที่ศึกษาถึงจิตใจ และกระบวนการทางจิตใจคือจิตวิทยา มาอธิบายกระบวนการการเกิดทุกข์และการพ้นทุกข์ อันเป็นสาระสำคัญของพุทธศาสนานั้นเอง ความแตกต่างระหว่างจิตวิทยาแนวพุทธ จิตวิทยาทั่วไป และพุทธศาสนา
จิตวิทยาทั่วไป หมายถึง การศึกษาพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน และสังเกตเห็นได้โดยทางอ้อม ตลอดจนการศึกษากระบวนการทำงานของจิตเพื่อการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ แต่ไม่ได้มีเป้าหมายให้พ้นทุกข์อย่างถาวร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญของจิตวิทยาแนวพุทธ พุทธศาสนา รวมความถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งมีขอบเขตที่กว้างขวาง ทั้งยังรวมไปถึงความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติของชาวพุทธด้วย ขณะที่จิตวิทยาแนวพุทธ จะนำบางส่วนของพุทธศาสนา โดยเฉพาะส่วนแก่นกลางที่กล่าวถึงความทุกข์ทางใจ กระบวนการเกิดและดับของความทุกข์ทางใจ โดยอาศัยคำอธิบายของกระบวนการทางจิตใจที่ใช้กันอยู่ในจิตวิทยามาประยุกต์ เพื่อให้เกิดความเข้าใจสำหรับคนในยุคปัจจุบันที่คุ้นเคยกับจิตวิทยา @@@@@@@
ความหมายของคำว่า “สุข” และ“ทุกข์” ทางใจ
มนุษย์ทุกคนเกิดมาย่อมประสบกับภาวะจิตใจทั้งที่เป็นความสุขและความทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น ถ้าถามว่า ความสุข หมายถึงอะไร เราก็อาจตอบได้ว่า ความสุข หมายถึง การที่เราได้รับความพึงพอใจ ความสมหวังจากสิ่งต่างๆ รอบด้าน จากความหมายดังกล่าว ถ้าถามว่า ความสุขของคุณคืออะไร เราจะได้รับคำตอบที่แตกต่างกันไป เช่น บางคนสุขเพราะได้อยู่กับคนที่รักหรือถูกใจ บางคนสุขเพราะได้ทำงานที่ถูกใจ สุขจากประสบความสำเร็จในการทำงาน สุขจากการได้ทำบุญ สุขจากการรอดภัยอันตราย สุขจากการได้ของถูกใจ หรือบางคนเพียงแค่เจอเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมานานก็เป็นสุขแล้ว ในทำนองเดียวกับคนทั่วไปอธิบายความสุข ความทุกข์ หมายถึงสิ่งที่เราได้รับไม่เป็นที่พึงพอใจของเรา หรือเราสูญเสียสิ่งที่เราไม่อยากให้เสียไป เนื่องจากความทุกข์เป็นสิ่งที่ทุกคนไม่ปรารถนา และพยามหลีกเลี่ยง จึงเป็นเป้าหมายที่สำคัญของการศึกษาและเอาชนะไม่ว่าจะเป็นจิตวิทยาหรือศาสนาต่าง ๆ ความทุกข์ใจ ในทางจิตวิทยาเป็นภาวะยุ่งยากทางจิตใจ
เช่น ความกลัว ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ละอายใจ ความท้อแท้สิ้นหวัง เป็นต้น ความทุกข์นี้เกิดจากการปรับตัวไม่ได้ หรือเสียสมดุลโดยอาจเกิดจากปัจจัยภายใน เช่น ความแปรปรวนในความคิดหรือภาวะอารมณ์ของเราเอง และหรือปัจจัยภายนอกมาทำให้เกิดความคิดและความรู้สึกที่เป็นทุกข์ เช่น การสูญเสียสิ่งรัก การประสบความผิดหวัง การเผชิญภาวะวิกฤติต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน อาชีพ การทำงาน ครอบครัว ความยุ่งยากเหล่านี้อาจเป็นภาวะชั่วคราวของการปรับตัว หรือกระทั่งกลายเป็นความผิดปกติทางจิตใจ  ในทางจิตวิทยา ภาวะเป็นสุขทุกข์ไม่ว่า จะมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้องมากน้อยเพียงใดก็ตาม ในที่สุดก็จะมีจุดร่วมที่เกี่ยวข้องกัน หรือมีสาเหตุจาก 1. ความคิดทางลบ 2. ความรู้สึกเครียดที่สะสมในจิตใจ ความคิดที่ทำให้เกิดทุกข์ ทางจิตวิทยาจัดอยู่ในกลุ่มความคิดทางลบ เช่น คิดแต่สิ่งที่สูญเสีย คิดอยู่แต่กับอดีต มองโลกในแง่ร้าย กลัวการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น ความรู้สึกที่ทำให้ทุกข์ใจจะมีลักษณะร่วม คือ เป็นความเครียดของจิตใจ เมื่อคนเราเผชิญความกดดันต่างๆ รอบตัว ทั้งเรื่องที่รับรู้ว่าเป็นเรื่องเล็กหรือเรื่องใหญ่ เมื่อประกอบกับความคิดทางลบที่ได้กล่าวมาแล้ว ความรู้สึกเครียดก็จะสะสม จนทำให้กลายเป็นความวิตกกังวล หรือนานไปก็กลายเป็นความท้อแท้สิ้นหวัง และซึมเศร้าในที่สุด การศึกษาในปัจจุบันพบว่า แต่ละบุคคลมีความอ่อนไหวภายในตนเองที่จะเกิดความคิดทางลบ และความรู้สึกเครียด จนทำให้เกิดความทุกข์ใจได้ต่างๆ กัน เพราะสาเหตุในด้าน 1. ความคิดทางลบ 2. ปมในจิตใจที่สะสมมาจากวัยเด็ก 3. ประสบการณ์ในตลอดชีวิต @@@@@@@
เมื่อคนเรามีความทุกข์ ไม่ว่าจะเป็นความทุกข์ที่เกิดจากความคิดหรือความรู้สึกก็ตาม จะพยายามที่จะขจัดความทุกข์เหล่านั้น แนวคิดทางจิตวิทยาเสนอกระบวนการพัฒนาตนเองที่จะจัดการกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นโดย 1. การจัดการกับอารมณ์ โดยใช้เทคนิคการผ่อนคลายวิธีต่างๆ ในการคลายเครียด เช่น 1. การหายใจ 2. การผ่อนคลายกล้ามเนื้อ 3. การจินตนาการ เพื่อให้ความรู้สึกนั้นมันออกจากตัวเรา และเกิดอารมณ์ทางบวกในลักษณะของความสงบและผ่อนคลายเข้ามาแทนที่
2. การจัดการกับความคิด โดยปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ให้เป็นคิดทางบวก (Positive Thinking) ตัวอย่าง เมื่อเกิดมหัตภัยพิบัติ ผู้ที่สูญเสีย เกิดความทุกข์ใจเพราะมองแต่ด้านที่ตนสูญเสียไป ก็ปรับเปลี่ยน วิธีคิดเสียใหม่ว่าตนยังมีอะไรเหลืออยู่บ้าง เช่น มีเวลาให้กับตนเองและครอบครัวเพิ่มขึ้น หรือเหตุการณ์นั้นทำให้ เราได้เรียนรู้ที่จะนำมาเป็นบทเรียน เพื่อจะปรับปรุงสิ่งบกพร่องต่อไป @@@@@@@
การพัฒนาตนเองแนวจิตวิทยาทั้ง 2 วิธีการนั้น สามารถช่วยบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้น ให้มีความคิดความรู้สึกที่บรรเทาเบาบางได้ แต่ไม่ใช้วิธีที่ดับทุกข์ เพราะยังไม่ได้เน้นให้หยั่งรู้ถึงความเป็นจริงว่าสิ่งใดก็ตามเมื่อมันเกิดก็ต้องมีดับไป จนสามารถปล่อยวางทั้งในเรื่องนั้นและเรื่องอื่นๆ ได้ หมายเหตุ : ศึกษา เรื่องหลักธรรมมะเพิ่มเติม เช่น วิธีดับทุกข์ เป็นต้น Thank to : http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=132&typeID=22&form=9คอลัมน์ : สงบใจไปกับธรรมะ โดย นายแพทย์ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 12 เดือนมีนาคม พ.ศ.2552
|
|
|
9
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย
|
เมื่อ: เมษายน 26, 2025, 09:47:47 am
|
. คนไทยติดอันดับ 3 มีความสุข-พึงพอใจในชีวิตมากที่สุดในเอเชีย KEY POINTS
• คนไทย “ค่อนข้างมีความสุข” มากถึง 61% แต่ถึงอย่างนั้นก็มีแค่ 18% เท่านั้นที่รู้สึกว่า “มีความสุขมาก” สะท้อนว่าความสุขของคนไทยยังอยู่ในระดับกลาง ๆ ไม่หวือหวา
• “เงิน” คือทั้งตัวสร้างและทำลายความสุขของคนไทย แม้ทั่วโลกจะให้ความสำคัญกับครอบครัวเป็นอันดับหนึ่ง แต่สำหรับคนไทย สถานะทางการเงินคือปัจจัยหลักที่ทั้งทำให้มีความสุขและไม่มีความสุข
• ไทยอยู่อันดับกลางของเอเชียด้านคุณภาพชีวิต โดย 51% ของคนไทยรู้สึกพึงพอใจในชีวิต ตามหลังอินเดียและอินโดนีเซีย แต่สูงกว่าญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ค่อนข้างมาก  เมื่อเร็วๆ นี้ มีรายงานผลสำรวจดัชนีความสุขโลกปี 2025 จาก Ipsos ที่ทำการสำรวจข้อมูลประชากรใน 30 ประเทศทั่วโลกชี้ว่า คนไทยส่วนใหญ่ “ค่อนข้างมีความสุข” โดยระดับความสุขอยู่ที่อันดับที่ 7 ของโลก (จากทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงาน) แต่เมื่อเจาะลึกลงไปเฉพาะในกลุ่มประเทศเอเชีย พบว่า ประเทศไทย เป็นประเทศที่ประชากรมีความสุขและความพึงพอใจในชีวิตมากที่สุด ติดอันดับ 3 จากทั้งหมด 7 อันดับในเอเชีย
ไม่เพียงเท่านั้น รายงานดัชนีความสุขโลกปี 2025 ดังกล่าว ยังเผยให้เห็นจุดที่น่าสนใจอีกว่า ปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้คน “มีความสุข” หรือ “ไม่มีความสุข” ก็พบว่าปัจจัยเรื่อง “การเงิน” ยังคงเป็นเรื่องสำคัญอันดับหนึ่ง โดยเฉพาะในประเทศไทยที่สถานะทางการเงินมีอิทธิพลต่อความรู้สึกมากกว่าประเทศอื่น
'โดยผู้มีรายได้น้อย 38% บอกว่าตนเองไม่มีความสุข เทียบกับ 29% ของกลุ่มรายได้ปานกลาง และ 25% ของกลุ่มรายได้สูง ที่ตอบแบบเดียวกัน'
@@@@@@@
• คนไทยมีความสุขอยู่ระดับกลาง แต่เงินยังเป็นเรื่องใหญ่
ในกลุ่มประเทศเอเชีย คนไทยส่วนใหญ่ระบุว่า “ค่อนข้างมีความสุข” (61%) ขณะที่ 18% บอกว่ามีความสุขมาก และมีเพียง 2% เท่านั้นที่บอกว่าไม่มีความสุขเลย
นอกจากนี้ คนไทยยังรู้สึก “พึงพอใจในคุณภาพชีวิต” ถึง 51% ซึ่งอยู่ในระดับกลาง ๆ ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย (54%) และมาเลเซีย (51%) แต่ห่างจากอินเดีย (74%) ที่เป็นผู้นำอย่างชัดเจน ทั้งนี้ สำหรับข้อมูลด้านระดับความสุข-ความพึงพอใจในชีวิต ของแต่ละประเทศในแถบเอเชีย มีดังนี้ • “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” ยังเป็นหัวใจหลักของความสุข
โดยรวมแล้ว จากการสำรวจใน 30 ประเทศทั่วโลกพบว่า “ความสัมพันธ์กับครอบครัว” และ “ความรู้สึกว่าได้รับความรัก” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่ทำให้คนมีความสุข  แต่ที่น่าสนใจคือ ในประเทศไทยและสวีเดน กลับเป็นเรื่องการเงินที่คนมองว่าเป็นตัวขับเคลื่อนความสุขหลัก ซึ่งสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและความมั่นคงในชีวิตที่ยังคงมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกของผู้คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูปัจจัยที่ทำให้ผู้คนแต่ละประเทศ (ส่วนใหญ่) มีความสุขและไม่มีความสุข ได้แก่
5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้มีความสุข”
- ความสัมพันธ์กับครอบครัว 36% - ได้รับความรัก/เห็นคุณค่า 35% - ควบคุมชีวิตของตัวเองได้ 25% - สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 25% - สถานะทางการเงิน 24%
5 อันดับ “ปัจจัยที่ทำให้ไม่มีความสุข”
- สถานะทางการเงิน 58% - สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ 30% - สุขภาพร่างกาย 25% - สภาพเศรษฐกิจในประเทศ 23% - ความรู้สึกว่าชีวิตไม่มีความหมาย 19% - ช่วงอายุไหนที่คนเรามีความสุขที่สุด?
@@@@@@@
• ผู้หญิงมีระดับความสุขคงที่ตลอดชีวิต แต่ผู้ชายจะพุ่งสูงในวัย 60
รายงานยังชี้ว่า คนเรามักมีความสุขน้อยที่สุดในช่วงวัยกลางคน แต่เมื่ออายุเข้าสู่ 60-70 ปี ความสุขกลับเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในผู้หญิงที่มีระดับความสุขค่อนข้างคงที่มาตลอดชีวิต และพุ่งสูงสุดในช่วงหลังเกษียณ ส่วนผู้ชายจะมีความสุขสูงสุดในวัย 60 ปีขึ้นไปเช่นกัน แต่ก็เคยมีช่วง “พีค” ในวัย 20 ปีเป็นช่วงสั้นๆ
นอกจากนี้ หากดูในภาพรวมทั้งหมด 30 ประเทศตามรายงานชิ้นนี้ จะพบว่า "อินเดีย" ครองอันดับหนึ่ง ด้วยสัดส่วนประชาชนที่บอกว่าตนเองมีความสุขถึง 88% รองลงมาคือเนเธอร์แลนด์ (86%)
ส่วน ฮังการี เป็นประเทศที่มีความสุขต่ำที่สุด (45%) ขณะที่ ตุรกี แม้จะไม่ใช่อันดับสุดท้ายในปีนี้ แต่ก็เป็นประเทศที่มีความสุขลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูลในปี 2011 โดยลดลงถึง 40 จุดเปอร์เซ็นต์ ขณะที่ "ประเทศไทย" ความสุขของคนไทยอยู่ในระดับกลาง ไม่ดีไม่แย่ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้คนไทยมีความสุขหรือไม่มีความสุขก็คือ การเงินส่วนบุคคล นั่นเอง Thank to : https://www.bangkokbiznews.com/lifestyle/1177430By วรุณรัตน์ คัทมาตย์ | 24 เม.ย. 2025 เวลา 18:10 น. อ้างอิง : Ipsos Happiness Index 2025
|
|
|
10
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คติการสร้างสูงส่ง พิมพ์ทรงเลิศล้ำ ศิลปกรรมพระสมเด็จฯ
|
เมื่อ: เมษายน 24, 2025, 09:50:52 am
|
. คติการสร้างสูงส่ง พิมพ์ทรงเลิศล้ำ ศิลปกรรมพระสมเด็จฯตรียัมปวาย ได้กล่าวไว้ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 1 ว่า ในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น ช่างได้สร้างตามรูปแบบที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตได้กำหนดเอาไว้
คำว่า “รูปแบบที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตได้กำหนดเอาไว้” นั้น “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขออนุญาตนำเสนอแนวพิจารณาว่าประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก
ส่วนแรกก็คือการที่ท่านเจ้าประคุณฯ ได้มีการกำหนดคติการสร้าง หรือกรอบแนวคิดที่กำหนดรูปลักษณะเบื้องต้นของพระที่จะสร้าง
และส่วนที่สองคือ พุทธศิลป์พิมพ์ทรง โดยช่างศิลป์จะมีการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรงพระให้มีความงดงามและสอดคล้องกับคติการสร้าง จากนั้นจึงทำการแกะแม่พิมพ์ตามแบบที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อนำเสนอให้กับท่านเจ้าประคุณฯ พิจารณาเพื่อให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะใช้แม่พิมพ์นั้นสร้างพระต่อไป
@@@@@@@
คติการสร้าง
ในเรื่องคติการสร้างนั้น จากหลักฐานที่มีปรากฏ “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” อนุมานว่า ท่านเจ้าประคุณฯ น่าจะได้มีการกำหนดคติการสร้างพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมไว้เป็นสองรูปแบบ สอดคล้องกับช่วงเวลาที่พระพุทธองค์ได้ทรงบำเพ็ญเพียรจนกระทั่งตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า คติการสร้างรูปแบบแรก คือ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาก่อนที่จะทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” และคติการสร้างรูปแบบที่สอง คือ “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
คติการสร้างรูปแบบแรกนั้น สะท้อนให้เห็นในรูปลักษณะของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคแรก ที่เป็นแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น หรือที่เรียกว่าพระสมเด็จเกศไชโย ที่เป็นลักษณะของ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยา” (การทรมานตนให้ลำบากด้วยประการต่าง ๆ เพื่อหาหนทางแห่งการดับทุกข์) องค์พระจะเน้นให้เห็นพระวรกายที่ผ่ายผอมจนมองเห็นพระผาสุกะ (ซี่โครง) ตลอดทั้งพระวรกาย (ส่วนฐานที่มีแบบ 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น นั้น เป็นปริศนาธรรมของท่านเจ้าประคุณฯ) โดยเป็นรูปลักษณะที่เป็นไปตามคติการสร้างรูปแบบแรก ที่แสดงให้เห็นถึง “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาก่อนที่จะทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า”
ในส่วนของคติการสร้างรูปแบบที่สองของท่านเจ้าประคุณฯ นั้น แสดงให้เห็นถึง “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” รูปลักษณะของพระจะแสดงให้เห็นถึงพระวรกายที่สมบูรณ์ ประทับนั่งบนฐาน 3 ชั้น หมายถึงการที่ทรงตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
โดยฐานทั้ง 3 ชั้นนั้น หมายถึง พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ด้วยไตรสิกขา อันมี ศีล สมาธิ ปัญญา เพื่อการพ้นทุกข์ ด้วยอริยสัจสี่ อันมีพระนิพพานเป็นจุดมุ่งหมาย พระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคปลาย หรือที่เรียกว่าแบบพิมพ์ทรงมาตรฐาน สร้างโดยช่างทองหลวง จะสร้างตามคติการสร้างรูปแบบนี้
@@@@@@@
พุทธศิลป์พิมพ์ทรง
เมื่อท่านเจ้าประคุณฯ ได้มีการกำหนดคติการสร้างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาจะเป็นการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรง ซึ่งดำเนินการโดยช่างศิลป์ที่เข้ามาช่วยเหลือท่านเจ้าประคุณฯ ในช่วงเวลานั้น
พุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมที่สร้างในช่วงแรก ที่เป็นแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น จะเป็นแบบลักษณะที่มีพระวรกายผ่ายผอมตามคติการสร้าง ดังที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น มีการออกแบบโดยช่างที่เข้ามาช่วยทำในช่วงแรก ก่อนที่ช่างทองหลวงจะเข้ามาช่วยทำ พุทธศิลป์พิมพ์ทรงจะมีความงดงามทางศิลปะอยู่ในระดับหนึ่ง ไม่ซับซ้อนมีรายละเอียดมากนัก
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องพิมพ์ทรงของพระสมเด็จเกศไชโยนั้น อาจารย์ประชุม กาญจนวัฒน์ ผู้เขียนหนังสือ “สามสมเด็จ” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2523 ได้กล่าวไว้ว่า “...พระสมเด็จเกศไชโยของวัดไชโยวรวิหารจังหวัดอ่างทอง ซึ่งสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างลงกรุไว้ที่วัดนี้นั้น จะมีด้วยกันทั้งหมดก็เพียง 2 พิมพ์เท่านั้น ก็คือ
1. พระสมเด็จเกศไชโยฐาน 7 ชั้น “พิมพ์ใหญ่” และ 2. พระสมเด็จเกศไชโยฐาน 6 ชั้น “พิมพ์เล็ก”...”
@@@@@@@
ในส่วนของพุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมแบบฐาน 3 ชั้น ที่ทำตามคติการสร้างแบบที่สอง “การตรัสรู้เป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ที่ทำในยุคปลาย หรือที่เรียกว่ากลุ่มพิมพ์ทรงมาตรฐาน ออกแบบโดยช่างทองหลวงนั้น ตรียัมปวาย ได้สรุปเป็นพุทธศิลป์ลักษณะไว้ 3 กลุ่ม คือ
1. พุทธศิลป์ประณีต ถอดเค้าจากพุทธศิลป์โบราณชั้นคลาสสิก คือพุทธศิลป์สกุลช่างสุโขทัย เชียงแสน และอู่ทอง พิมพ์ทรงที่ได้รับอิทธิพล ได้แก่ พิมพ์ทรงพระประธาน (พิมพ์ใหญ่) พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ทรงฐานแซม พิมพ์ทรงเกตุบัวตูม และพิมพ์ทรงปรกโพธิ์
2. พุทธศิลป์พื้นเมือง เป็นแบบโบราณ คร่ำๆ เก่าๆ แบบพื้นบ้าน ไม่ได้พัฒนาถึงขั้นสูงสุด ได้แก่ พิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ (พิมพ์นี้ ตามตำราบอกว่าออกแบบพิมพ์ทรงโดยท่านเจ้าประคุณฯ เอง)
3. พุทธศิลป์สังเขป เป็นแบบโมเดิร์นอาร์ต จับเค้าพุทธลักษณะส่วนใหญ่มาย่นย่อลงเป็นเส้นโดยการสังเขป เช่น พิมพ์ทรงสังฆาติ พิมพ์ทรงเส้นด้าย และพิมพ์ทรงฐานคู่ ผู้เชี่ยวชาญพระสมเด็จฯ อาจารย์วิชัย อุทัยสุทธิวิจิตร (ลิ้ม กรุงไทย) ได้กล่าวถึงลักษณะพิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ ไว้ในหนังสือ “อนุสรณ์ ครบ 100 ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)” พิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2515 ไว้ดังนี้
“... พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ที่เรียกกันว่า พิมพ์ทรงพระประธานนั้น มีลักษณะรูปทรงคือ พระพักต์กลม พระเกศยาวคล้ายเปลวเพลิง ไหล่ยก อกตั้ง เข่าโค้งน้อยๆ ช่วงแขนและการซ้อนพระกรผึ่งผายยิ่งนัก ประทับนั่งสมาธิในอาการอันสงบ ดูแล้วเหมือนจะได้รับความบันดาลอันเกิดขึ้นจากพระประธานในโบสถ์วัดระฆังมาก
สำหรับพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ทรงเจดีย์นั้น ลักษณะรูปทรงล่ำสันต้อกว่าพิมพ์ใหญ่เล็กน้อย พระพักต์กลม อกผายนูน ชั้นฐานมีความประสานกลมกลืนและลดหลั่นกันอย่างมีจังหวะ นั่งสมาธิในลักษณะคล้ายพระพุทธรูปเชียงแสน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านคงจะได้สร้างสมเด็จพิมพ์ทรงเจดีย์ ให้มีสาทิศลักษณะของพระแก้วมรกตในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ส่วนพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม รูปทรงเรียวชลูดเล็กน้อย พระพักตร์ตั๊กแตน ประทับนั่งสมาธิในอาการสงบนิ่ง แต่ก็แสดงถึงความงดงามและอ่อนไหวทางพุทธศิลป์ เห็นแล้วเหมือนกับเจ้าประคุณสมเด็จฯ ท่านได้แบบพระสมเด็จพิมพ์ฐานแซมนี้ไปจากพระพุทธสิหิงส์ที่ประดิษฐานอยู่ในพระที่นั่งพุทไธสรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ...” พระสมเด็จฯ ในกลุ่มพิมพ์ทรงมาตรฐานนี้ ถือว่าเป็นพระสมเด็จฯ ที่มีพุทธศิลป์พิมพ์ทรงที่งดงามที่สุดแบบหนึ่ง เมื่อเทียบกับพระเครื่องที่เคยมีการสร้างมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน สมกับที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นจักรพรรดิแห่งพระเครื่อง
เมื่อช่างศิลป์ได้ออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรงเสร็จแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญต่อจากการออกแบบพุทธศิลป์พิมพ์ทรง ก็คือการถ่ายทอดแบบร่างพุทธศิลป์พิมพ์ทรงไปสู่การแกะแม่พิมพ์ โดยที่มีการประยุกต์ใช้หลักการของประติมากรรมแบบนูนต่ำ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสมัยนั้น “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” จะขออธิบายถึงเรื่องนี้โดยละเอียดอีกครั้งเมื่อพูดถึงเรื่องการสร้างแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ
@@@@@@@
น่าสนใจว่า เมื่อท่านเจ้าประคุณฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมในยุคแรก ในแบบฐาน 5 ชั้น 6 ชั้น 7 ชั้น หรือพระสมเด็จเกศไชโย ตามคติการสร้างแบบ “การบำเพ็ญทุกกรกิริยาฯ” ที่มีพระวรกายผ่ายผอมแล้ว เป็นไปได้หรือไม่ว่า ท่านเจ้าประคุณฯ น่าจะให้ช่างชุดเดียวกันนั้น ทำการสร้างพระสมเด็จฯ ตามคติการสร้างแบบ “ตรัสรู้เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า” หรือแบบฐาน 3 ชั้น ที่มีพระวรกายสมบูรณ์ ในคราวเดียวกันด้วย
โดยอาจใช้กรรมวิธีการสร้างรวมถึงเนื้อหามวลสารแบบเดียวกัน ... ถ้ามีการสร้างจริง พุทธศิลป์พิมพ์ทรงของพระสมเด็จฯ แบบฐาน 3 ชั้นในกลุ่มนี้จะมีรูปลักษณะเป็นอย่างไร ... ก่อนที่ต่อมาจะมีช่างทองหลวงเข้ามาช่วยทำพระสมเด็จแบบพิมพ์ทรงมาตรฐาน แบบฐาน 3 ชั้น ที่เป็นพิมพ์ทรงมาตรฐาน ในช่วงยุคปลาย อย่างที่เห็นกัน
อาจารย์ประกิต หลิมสกุล หรือ พลายชุมพล แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เคยกล่าวไว้ว่า พระแท้ของสมเด็จโตนั้นยังมีอีกมากมายหลายพิมพ์ทรงที่ยังไม่เป็นที่นิยมเล่นหา มูลค่าราคายังไม่สูงนัก นักสะสมที่สนใจศึกษาอย่างจริงจัง ย่อมมีโอกาสที่จะได้พระสมเด็จฯ ของท่านเจ้าประคุณฯ มาครอบครองบูชาโดยไม่ยากเย็นเกินไปนัก
@@@@@@@
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่เพจ พระสมเด็จศาสตร์ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูปพระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ครู เพื่อให้ความรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของพระท่านปัจจุบัน พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ฐานแซม เป็นองค์ตำนานที่มีความงดงามที่สุดอีกองค์หนึ่ง
เนื้อหนึกนุ่มผสมหนึกแกร่ง ละเอียดปานกลาง วรรณะขาวงาช้างฉ่ำซึ้ง ไม่ปรากฏการแตกลายงาให้เห็น เป็นพระที่กดพิมพ์ได้ลึกเต็มพิมพ์ ตัดขอบเลยกรอบแม่พิมพ์เล็กน้อย จุ่มรักค่อนข้างหนา รักมีสีแดงปนดำ พิมพ์ทรงถูกต้องตามตำรา ด้านหลังเป็นแบบหลังสังขยา มีขอบกระเทาะที่แสดงถึงธรรมชาติความเก่าทั้งสี่ด้าน เป็นเอกลักษณ์ของพระสมเด็จวัดระฆังฯ เป็นองค์ต้นแบบที่ดีเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯThank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/amulet/285430022 เม.ย. 2568 , 16:20 น. | ไลฟ์สไตล์ > พระเครื่อง > ไทยรัฐออนไลน์ ผู้เขียน : พ.ต.ต.คมสัน สนองพงษ์ อดีตตำรวจพิสูจน์หลักฐาน เพจเฟสบุ๊ค – พระสมเด็จศาสตร์
|
|
|
11
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เรื่องเขาแต่เรากลุ้ม “ภัยเผือกยุค 5G” ระแวง-เครียดแฝง เช็กสัญญาณเตือน.!!
|
เมื่อ: เมษายน 24, 2025, 09:34:51 am
|
. เรื่องเขาแต่เรากลุ้ม “ภัยเผือกยุค 5G” ระแวง-เครียดแฝง เช็กสัญญาณเตือน.!!เรื่องของเราก็ไม่ใช่ แต่ทำไมสนใจเหลือเกิน จิตแพทย์เตือน แต่นี่คือคำตอบของอาการ “เสพติดดรามา” พร้อม “สัญญาณเตือน” เมื่อเข้าใกล้ขีดอันตราย “เสพเกินขนาด!!”
** ระบายประสบการณ์ ผ่าน “เรื่องคนอื่น” **
“คนไทยชอบดรามา” นี่คือเรื่องจริง โดยเฉพาะเมื่อเป็นเรื่อง “ผัวๆ เมียๆ” หรือ “มือที่ 3” ของคนดัง ยืนยันด้วยยอดวิวของ รายการ “โหนกระแส” กับเคสของ “ดาราหนุ่ม ผู้เคยว่ายข้ามแม่น้ำโขง ที่นอกใจแฟน”
แต่ละเทปของเรื่องนี้ ยอดวิวไม่เคยต่ำกว่า 1 ล้านวิว พีคๆ เลยก็คือเทปที่สัมภาษณ์ “สาวมือที่ 3” ที่ทำเอายอดวิวพุ่งทะลุไปถึง “ 5 ล้านวิว” หนำซ้ำ นี่แค่ยอดวิวใน Youtude เท่านั้น ยังไม่นับแพลตฟอร์มอื่นๆ
และความอินฯ ในดรามาของคนไทย ไม่ใช่แค่ตามติดชนิดไม่หลับไม่นอน ตั้งตารออ่านในโซเชียลฯ ทุกความเคลื่อนไหวเท่านั้น บางดรามา บางคนยังเก็บไปคิด ไปเครียดเองก็มี
หนักเข้าก็แบ่งฝั่งกันเชียร์ โต้ไปมา จนกลายเป็น “สงครามน้ำลาย” บนโลกออนไลน์ จนเกิดคำถามว่า อะไรทำให้ชาวโซเชียลฯ อินเรื่องพวกนี้ ทั้งๆ ที่มันไม่ได้เกี่ยวกับเราด้วยซ้ำ? “จีระเดช งามสีสรรค์" นักจิตวิทยาคลินิก ประจำโรงพยาบาลแบงค็อก เมนทัล เฮลท์ (BMHH) ช่วยวิเคราะห์เอาไว้ให้ว่า มันคือธรรมชาติของมนุษย์ส่วนนึง
“ปกติแล้ว มนุษย์มักจะเสพสื่อ หรือเสพสิ่งที่มันกระตุ้นอารมณ์ของเราได้มากอยู่แล้วนะครับ หรือเป็นการตอบสนองความใคร่รู้ของตัวเอง”
ส่วนเรื่อง “ความอินในดรามา” ของคน ก็มี 2 ปัจจัยหลัก คือ
“1.เป็นประเด็นที่เขาให้ความสำคัญ” อย่างการซื่อสัตย์ในความสัมพันธ์ และ
“2.ประสบการณ์ตรง” เช่น บางคนอาจเคยผ่านความรักแย่ๆ มา ซึ่งหากมีข่าวดรามาที่ตรงกับทั้ง 2 ปัจจัยนี้เกิดขึ้น มันก็ทำให้เรา “อินได้ง่าย” และมี “อารมณ์รวม” เป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ การที่เราได้ “คอมเมนต์-พูดคุย” กับคนที่มีความคิดคล้ายๆ กัน หรือ “ตอบโต้-ถกเถียง” กับคนเห็นต่าง ที่เป็นเหมือนวัฒนธรรมของการเสพดรามา
ในเชิงจิตวิทยาแล้ว มันก็เหมือนเป็น “ช่องทางระบายอารมณ์” และ “การสร้างคอนเน็กชั่นทางสังคม” สำหรับคนที่มีความคิดเหมือนๆ กัน ** อินดรามา พาลครอบครัว **
แต่การเสพติดดรามา “ไม่ใช่เรื่องสนุก” นักจิตวิทยารายนี้อธิบายว่า เพราะมันกระตุ้นแต่ “อารมณ์เชิงลบ” ทั้ง “โกรธ” “เดือดดาล” “เศร้า” โดยเฉพาะคนที่อินมากๆ มันอาจกลายเป็น “ปัญหาสุขภาพจิต”ในที่สุด
“เวลาที่เขาไปอินมากๆ ปัญหาอันนึงที่จะเจอบ่อย ก็คือจะเกิดความเครียด หรือว่าเกิดความรู้สึกด้านลบอย่างแน่นอน เช่น รู้สึกกังวล รู้สึกกดดัน บางทีก็โมโหจนรบกวนการใช้ชีวิต”
ซึ่งอารมณ์ด้านลบเหล่านี้ ทำให้เกิด “ฮอร์โมนความเครียด”
และเมื่อสะสมไปนานๆ เข้า มันก็กลายเป็น “ความเครียดแฝง” ที่เราไม่รู้ตัว
และ “การหมกมุ่น”อยู่กับดรามามากๆ อาจทำให้กลายเป็นคน “คิดมาก-หวาดระแวง”ยกตัวอย่าง เราติดตามดรามาชู้สาวมากๆ เราก็อาจระแวงว่า คู่เราจะเป็นแบบนั้น พอระแวงมากๆ เข้า ก็อาจทำให้ความสัมพันธ์พังลงก็ได้ { “จีระเดช" นักจิตวิทยาคลินิก จาก BMHH } และใน “ระดับสังคม” การเสพติดดรามา มันก็มีปัญหาเหมือนกัน เพราะการพูดคุยกันในโซเชียลฯ ที่เรามักอยู่แต่กับกลุ่มคนที่ “มีความเห็นหรือเชื่อไปในทางเดียวกัน” ทำให้เราพิมพ์อะไรไป ก็มีคนสนับสนุนและเห็นด้วยเสมอ
“เราก็อาจจะยึดถือความเชื่อนั่น ว่าเป็นความเชื่อที่ถูกต้อง มันเป็นมุมมองที่ถูกต้อง แล้วเอามาโต้เถียง หรือขัดแย้งกับคนในครอบครัว หรือกลุ่มเพื่อนในชีวิตของเราเอง ในกรณีที่เขาเห็นต่าง ได้เหมือนกัน”
ทำให้เรากลายเป็นคนที่ “ไม่รับฟังความเห็นต่าง” หรือ “ไม่พยายามทำความเข้าใจฝั่งตรงข้าม” เพราะเชื่ออย่างสุดใจว่า “ความคิดเราถูกต้องที่สุดแล้ว” ซึ่งนี่คือจุดเริ่มของความขัดแย้งต่างๆ ในสังคม ** สัญญาณเตือน ต้องหยุด!! **
การเสพข่าวดรามา “เพื่อหาความบันเทิง” หรือ “ตอบสนองต่อมเผือก” ของเรา เป็นเรื่องที่ทำได้ แต่มันก็ต้องมีจุดที่พอดี นักจิตวิทยาอย่าง“จิระเดช”ชี้วิธีสังเกตตัวเองว่า หากมีอาการเหล่านี้ เราต้อง “ลดการเสพดรามา” ได้แล้ว ถ้าไม่อยากมีปัญหาสุขภาพจิต
อย่างรู้สึกว่าตัวเอง ช่วงนี้ “อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ” ทั้งวัน เวลาคุยกับคนรอบข้าง ก็ “หงุดหงิดง่าย” หรือ “รู้สึกขัดใจตลอด” กลับบ้านก็ “นอนไม่หลับ”
ในหัวคิดถึงแต่ประเด็นดรามาที่เกิดขึ้น หรือหลังเสพดรามาเสร็จ ก็กังวลทุกครั้งว่ามันจะเกิดกับเรา หากมีอาการเหล่านี้…“ควรจะลดการเสพลง หรือหยุดเสพไปสักระยะนึงเลย” แต่การจะให้ “เลิกดู เลิกเสพดรามา” อาจเป็นเรื่องที่ “ยาก” เพราะไม่ว่าจะสื่อช่องไหน ก็มักนำเสนอเรื่องเหล่านี้ เพื่อเรียกยอดไลก์ ยอดวิว แต่นักจิตวิทยารายนี้บอกว่า “มันทำได้”
“จริงๆ เราเลือกได้อะครับ ว่าเราจะเข้าไปดู หรือไม่เข้าไปดู เพราะอำนาจในการเสพ มันอยู่ที่มือเรา”
และอีกอย่างที่ต้องลดด้วยคือ “ความอิน” ที่ไม่ว่าเราจะมีความรู้สึกร่วมขนาดไหน สิ่งเดียวที่เราต้องคิดคือ “เราได้ประโยชน์อะไร?” หากจะเทความรู้สึก และเวลาทั้งหมดของเรา ไปกับข่าวเหล่านี้
“เราเสพไปอะ มันมีประโยชน์อะไรกับเราหรือเปล่า การที่เราจะอินไปกับมันขนาดนั้น มันใช่เรื่องของเราจริงๆ ไหม” ขอขอบคุณ :- สกู๊ป : ทีมข่าวMGR Live https://mgronline.com/live/detail/9680000037814เผยแพร่ : 22 เม.ย. 2568 19:29 , ปรับปรุง : 22 เม.ย. 2568 19:29 | โดย : ผู้จัดการออนไลน์
|
|
|
12
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / โหรพยากรณ์สมัย ร.๑ ว่า ราชวงศ์จักรีจะอยู่ได้ ๑๕๐ ปี | ร.๕ รับสั่ง ๐ ตกไปตัวหนึง
|
เมื่อ: เมษายน 22, 2025, 09:53:44 am
|
.  ความรุ่งเรืองของกรุงรัตนโกสินทร์ โหรพยากรณ์สมัย ร.๑ ว่า ราชวงศ์จักรีจะอยู่ได้ ๑๕๐ ปี.! | ร.๕ รับสั่ง ๐ ตกไปตัวหนึ่งหรือเปล่า.!!มีคำพยากรณ์ของโหรหลวงมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แล้วว่า ราชวงศ์จักรีจะยืนยาวอยู่ได้ ๑๕๐ ปี หลังจากเกิดเหตุอัศจรรย์ขึ้นในวันฝังเสาหลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ โดยมีงูเล็ก ๔ ตัวปรากฏขึ้นในหลุมขณะเคลื่อนเสาหลักเมืองลงฝัง และไม่อาจยับยั้งไว้ได้เพราะต้องเป็นไปตามพระฤกษ์ จึงต้องฝังงูเล็กทั้ง ๔ ตัวนั้นในหลุมหลักเมืองไปด้วย ซึ่งสร้างความปริวิตกให้ผู้คนมาเป็นร้อยกว่าปี
ต่อจากนั้นยังเกิดอาเพศอีกเมื่อเกิดพายุกระหน่ำและฟ้าได้ผ่าลงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทจนไฟไหม้วอดหมดทั้งองค์ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสว่าคงเป็นไปตามคำทำนายที่บ้านเมืองจะเจริญรุ่งเรือง และราชวงศ์ของพระองค์จะยืนยาวไปกว่า ๑๕๐ ปี
ทั้งนี้ นายแพทย์มัลคอล์ม สมิธ แพทย์หลวงชาวอังกฤษได้เล่าไว้ใน “ราชสำนักสยามในทรรศนะของหมอสมิธ” อีกตอนว่า มีบันทึกความทรงจำของพระองค์หญิงองค์หนึ่ง ซึ่งก็คือ จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี พระขนิษฐภคินีต่างพระมารดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก วันหนึ่งโหรหลวงได้มาเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวและกราบทูลให้ทรงทราบด้วยน้ำเสียงที่สั่นเครือว่า จากการสำรวจตรวจดวงพระชาตาดู ได้พบว่าในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะเกิดอาเพศขึ้นในบ้านเมือง
@@@@@@@
หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดลมพายุพัดรุนแรงและเกิดฟ้าผ่าลงที่องค์พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท จนถูกไฟเผามอดไหม้ไปทั้งองค์ พระเจ้าอยู่หัวได้ตรัสว่า
“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ คงเป็นไปตามคำทำนายของโหรหลวง นับแต่นี้เป็นต้นไป บ้านเมืองและพระราชวงศ์ของเราจะประสบแต่ความเจริญรุ่งเรือง ผู้สืบทอดราชสมบัติต่อจากเราจะปกครองบ้านเมืองสืบต่อไปอีกนานกว่า ๑๕๐ ปี”
หมอสมิธเล่าว่า เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ่านจดหมายเหตุของกรมหลวงนรินทรเทวีนี้แล้ว ทรงตั้งข้อสังเกตว่า ระยะเวลาปกครองบ้านเมืองของราชวงศ์ของพระองค์นั้นดูจะสั้นเกินไป และทรงมีพระราชดำริว่า อาจจะเป็นความผิดพลาดของเจ้าฟ้าหญิงพระองค์นี้ ที่ทรงบันทึกเลข ๐ ตกไปหนึ่งตัว
ตัวเลข ๑๕๐ ปี นี้เป็นที่หวาดวิตกของผู้คนตลอดมา และมีการกล่าวขานกันมากขึ้นอีกเมื่อใกล้ พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งจะครบ ๑๕๐ ปีตามคำพยากรณ์ในวันที่ ๖ เมษายน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาเปิดสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในวาระครบ ๑๕๐ ปีราชวงศ์จักรี หมอสมิธเล่าว่า
@@@@@@@
“...เริ่มมีเสียงโจษจันไปในทางไม่ดี ซึ่งจริงๆแล้วก็อาจจะเกิดจากฝีมือของผู้ร่วมก่อการเองที่ปล่อยข่าว นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์สำคัญๆที่เป็นลางบอกเหตุเกิดขึ้นหลายสัปดาห์ก่อนหน้านั้น เรื่องราวที่เล่าขานกันว่าราชวงศ์จักรีจะมีอายุเพียง ๑๕๐ ปีเริ่มกลับมาเป็นที่กล่าวขวัญถึงกันอีกครั้ง แม้จะไม่มีเหตุการณ์ที่ปีศาจออกมาส่งเสียงร้องเขย่าขวัญ และต่อต้านเหมือนเช่นที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ จูเลียส ซีซ่าส์ ถูกลอบฆ่า แต่ก็มีผู้พบเห็นว่ามีแม่ชีสวมชุดข่าววิ่งข้ามสะพานหายไปในความมืด และพระเจ้าตากผู้นำกองทัพไทยขับไล่พม่าออกจากประเทศภายหลังเสียกรุง และทรงเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ ได้มาประทับยืนอยู่บนเชิงเทินและทอดพระเนตรลงมาที่เมือง...”
หมอสมิธยังเข้าใจว่าพระเจ้าตากสินเป็นผู้สถาปนาราชวงศ์จักรี
นี่ก็เป็นความเชื่อของคนในอดีตที่ถูกบันทึกไว้ แต่ความจริงจะเป็นเช่นไรก็ได้ประจักษ์แจ้งในวันนี้แล้ว ซึ่งราชวงศ์จักรีได้ยืนยงอยู่ในความจงรักภักดีของชาวไทยมาเป็นเวลา ๒๓๖ ปี และจะยืนยงมั่นคงต่อไปอีกกาลนานขอบคุณ : https://mgronline.com/onlinesection/detail/9610000015813เผยแพร่ : 19 ก.พ. 2561 , 09:18 | โดย : โรม บุนนาค
|
|
|
13
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: 21 เมษายน 2325 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมือง
|
เมื่อ: เมษายน 22, 2025, 09:47:08 am
|
. ภาพจาก bangkokcitypillarshrine.com241 ปี สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เปิดประวัติ ความเชื่อ “เสา-ศาลหลักเมือง”21 เมษายน วันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ กับเรื่องราวของ “ศาลหลักเมือง” และ “เสาหลักเมือง” ในแง่มุมของสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านเมือง และความเชื่อในการสร้าง
วันที่ 21 เมษายน 2566 ย้อนกลับไปวันนี้เมื่อ 241 ปีที่แล้ว ชื่อของ “กรุงรัตนโกสินทร์” ได้ถือกำเนิดขึ้น ในฐานะราชธานีแห่งใหม่ของสยามประเทศ พร้อมทั้งมีการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองสำหรับพระนครขึ้น เพื่อเป็นหลักชัยอันสำคัญของเมืองใหม่แห่งนี้
ขณะเดียวกัน เสาหลักเมือง นอกจากการเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองมานานแล้ว ยังมีตำนานเล่าขานบางอย่างที่ถูกบอกต่อ สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน
“ประชาชาติธุรกิจ” ชวนย้อนเรื่องราว รับวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ไปพร้อมกัน
@@@@@@@
ก่อนจะเป็น “กรุงรัตนโกสินทร์”
ก่อนจะมี “กรุงรัตนโกสินทร์” เป็นราชธานีในปัจจุบันนี้นั้น ย้อนกลับไปในช่วงต้นราชวงศ์จักรี หลังการเข้าปราบดาภิเษกของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 หรือสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ทรงมีดำริว่าพระราชวังเดิมที่กรุงธนบุรีมีวัดขนาบทั้งสองด้าน ทำให้การขยายเมืองไม่สามารถทำให้กว้างขวางออกไปได้ ไม่เหมาะที่จะเป็นราชธานีสืบไป จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระนครแห่งใหม่คือ กรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกหรือฝั่งซ้ายของแม่น้ำเจ้าพระยา
หากจะให้อธิบายโดยง่าย การย้ายราชธานีจาก “ธนบุรี” สู่ “รัตนโกสินทร์” มีเหตุผลในเชิงภูมิศาสตร์ เพราะพื้นที่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นที่ราบลุ่ม สามารถขยายเมืองให้กว้างขวางออกไปได้เรื่อย ๆ ตรงบริเวณที่ตั้งพระนครพื้นที่เป็นแหลม โดยมีแม่น้ำเป็นกำแพงกั้นอยู่เกือบครึ่งเมือง ขณะที่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ เป็นท้องคุ้ง น้ำกัดเซาะตลิ่งพังทลายอยู่เสมอ จึงไม่เหมาะแก่การสร้างอาคารหรือถาวรวัตถุใด ๆ ไว้ริมฝั่งแม่น้ำ
นอกจากการย้ายราชธานีมาอยู่ที่เกาะรัตนโกสินทร์ หรือกรุงเทพมหานคร ในปัจจุบันแล้ว ยังมีการพระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า “กรุงเทพมหานครบวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุทธนา มหาดิลกภพนพรัตน์ราชธานีบุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนจากคำว่า “บวรรัตนโกสินทร์” เป็น “อมรรัตนโกสินทร์”
ก่อนที่ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จะมีการเปลี่ยนนามบางส่วน จาก “…บวรรัตนโกสินทร์…” เป็น “…อมรรัตนโกสินทร์…” แบบที่เราได้ยินกันในปัจจุบัน ภาพจาก bangkokcitypillarshrine.comการสร้างศาล-เสาหลักเมือง
หลังจากมีการสถาปนา “กรุงรัตนโกสินทร์” เป็นราชธานีแห่งใหม่ของสยามแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06.54 น. ซึ่งได้จารึกติดอยู่ที่เสาหลักเมืองว่า “วันอาทิตย์ เดือนหก ขึ้นสิบค่ำ ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 เวลาย่ำรุ่ง 54 นาที ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325”
การฝังเสาหลักเมือง จะมีพิธีตามพระตำราที่เรียกว่า “พระราชพิธีนครฐาน” โดยเสาหลักเมืองต้นแรก ใช้ไม้ชัยพฤกษ์ทำเป็นเสาหลักเมือง ประกับด้านนอกด้วยไม้แก่นจันทน์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางวัดที่โคนเสา 29 เซนติเมตร สูง 187 นิ้ว กำหนดให้ความสูงของเสาหลักเมืองอยู่พ้นดิน 108 นิ้ว ฝังลงในดินลึก 79 นิ้ว มีเม็ดยอดรูปบัวตูม สวมลงบนเสาหลัก ลงรักปิดทอง ล้วงภายในไว้เป็นช่องสำหรับบรรจุดวงชะตาเมือง
เมื่อเวลาผ่านไป เสาหลักเมืองต้นเดิม มีสถาพที่ชำรุด ประกอบกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงตรวจดวงพระชาตาของพระองค์เอง พบว่า ดวงพระชาตาเป็นอริแก่ลัคนาดวงเมือง พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาหลักเมืองใหม่อีก 1 ต้น เคียงคู่เสาหลักเมืองต้นเดิม พร้อมกับบรรจุดวงชะตาเมืองขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการแก้เคล็ด ให้ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยทั้งหลาย ประสบความเจริญรุ่งเรืองวัฒนาถาวรยิ่งขึ้น
การจัดสร้างและบูรณะเสาหลักเมืองในสมัยรัชกาลที่ 4 นี้ ได้มีการขุดเสาหลักเมืองเดิม และจัดสร้างเสาหลักเมืองขึ้นใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุด เป็นแกนไม้สัก ประกับนอกด้วยไม้ชัยพฤกษ์ 6 แผ่น สูง 108 นิ้ว ฐานเป็นแท่นกว้าง 70 นิ้ว บรรจุดวงเมืองในยอดเสาทรงมัณฑ์ที่มีความสูงกว่า 5 เมตร
ขณะที่สถาปัตยกรรมของศาลหลักเมือง ตั้งแต่แรกเริ่มของการมีเสาหลักเมืองนั้น มีลักษณะเป็นศาลา ใช้สำหรับการกันแดดกันฝนเท่านั้น จนทำให้สภาพของเสาหลักเมืองทรุดโทรมอย่างมาก
กระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเสาหลักเมืองต้นเดิมขึ้นใหม่ แทนต้นที่ชำรุดนั้น ได้มีการสร้างศาลหลักเมืองหลังใหม่ มียอดปรางค์ ก่ออิฐฉาบปูนขาว ได้แบบอย่างจากศาลหลักเมืองกรุงศรีอยุธยา เมื่อปีพุทธศักราช 2395 พร้อมทั้งนำเสาหลักเมืองทั้ง 2 ต้น มาประดิษฐาน
ต่อมาได้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ เปลี่ยนแปลงลักษณะรูปศาลเป็นทรงจตุมุข พร้อมทั้งขยายบริเวณศาลให้กว้างขวางออกไป
เมื่อปฏิสังขรณ์สำเร็จสมบูรณ์แล้ว พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ มาประกอบพิธีสังเวยสมโภช เมื่อวันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2513 ภาพจาก bangkokcitypillarshrine.comเสาหลักเมือง-ศาลหลักเมือง กับความเชื่อ
ตลอด 241 ปี นับตั้งแต่มีกรุงรัตนโกสินทร์ และนับตั้งแต่การเสาหลักเมือง มีตำนานและความเชื่อต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมากมาย
อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร นักโหราศาสตร์ และนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสายไสยศาสตร์ และพุทธาคม เคยเล่าไว้ว่า ระหว่างการประกอบพิธียกเสาหลักเมือง มีงูตัวเล็ก ๆ 4 ตัวลงไปอยู่ในหลุม ขณะเลื่อนเสาลงหลุม ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มพิธีมิได้มีผู้ใดพบเห็น ทำให้สายเกินจะแก้ได้ งูทั้งสี่จึงถูกฝังไปพร้อมกันในคราวนั้นเอง
เหตุดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเรียกประชุมเหล่าราชบัณฑิตโหราจารย์ พระราชาคณะและผู้รู้ทั้งปวงซึ่งที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า เหตุการณ์นี้เป็นอวมงคลนิมิต แต่มิอาจบอกได้ว่าจะปรากฏผลออกมาอย่างใด นอกจากจะลงความเห็นว่า งูเล็กทั้งสี่จะเป็นมูลเหตุนำความเสื่อมมาสู่
ในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีสะเดาะห์เคราะห์ ประกอบกับเวลานั้นบังเกิดมีศึกใหญ่กับพม่าที่เรียกว่าสงคราม 9 ทัพ อีก 7 ปี ต่อมาเมื่อเกิดฟ้าผ่าไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสว่า สิ้นพระเคราะห์เมืองแล้ว และจะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี คือถึงปี พ.ศ. 2475
อย่างไรก็ดี ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และช่วงที่มีการบูรณะหลักเมืองทั้ง 2 ใหม่ ก็ไม่มีการปรากฎข่าวการพบซากกระดูกงู หรือซากอื่นใดในหลุมที่มีการฝังหลักเมือง
นอกจากตำนานระหว่างพิธีการยกเสาหลักเมืองแล้ว อีกตำนานหนึ่งที่มีการกล่าวขาน คือ การฝังอาถรรพ์ที่ประตูเมืองด้วยคนเป็น ๆ หรือที่เรียกว่า “อิน จัน มั่น คง” หรือแม้แต่การฝังคนสี่หูสี่ตา (คนมีครรภ์) ลงไปในหลุมหลักเมือง
ทั้งนี้ทั้งนั้น ตำนานที่มีการเล่าขานทั้งหมดนี้ ไม่มีหลักฐานที่ปรากฎแน่ชัดว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงหรือไม่ ?
แต่ตลอดเวลา 241 ปีที่ผ่านมา ของการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เป็นราชธานี จนมาถึง “กรุงเทพมหานคร” ในปัจจุบัน ยังคงความสวยงาม และ “เสาหลักเมือง-ศาลหลักเมือง” ก็ยังคงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่ชาวกรุงเทพฯ คนไทย มาจนถึงทุกวันนี้
Thank to : https://www.prachachat.net/general/news-1268855วันที่ 21 เมษายน 2566 - 18:33 น. ข้อมูลจาก : ศิลปวัฒนธรรม, สำนักงานกิจการศาลหลักเมือง, museumthailand.com, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, National Geographic ฉบับภาษาไทย, สำนักพิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ, สำนักบรรณสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ฤๅ (luehistory.com)
|
|
|
14
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ดวงเมือง และเคล็ดแห่งดวงปราบดาภิเษก ใน ร.1 “เจ้านายจะต้องเป็นทหารจึงต้องโฉลก”.?
|
เมื่อ: เมษายน 22, 2025, 09:38:11 am
|
. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานครดวงเมือง และเคล็ดแห่งดวงปราบดาภิเษก ใน ร.1 “เจ้านายจะต้องเป็นทหารจึงต้องโฉลก”.? ดวงชะตา และฤกษ์ ทั้งที่เป็นของบุคคล และมิใช่บุคคล (สิ่งของ, องค์กร, ประเทศ ฯลฯ) เป็นความเชื่อที่อยู่ในสังคมไทยมานาน มีการศึกษา ค้นคว้า และถ่ายทอดกันอย่างเป็นระบบ เรียกว่า “โหราศาสตร์” เป็นความรู้แขนงหนึ่งที่รัชกาลที่ 1 ทรงให้ความสำคัญ ดังจะเห็นจะได้จากการกำหนดผูก “ดวงเมือง” เมื่อครั้งสร้างกรุงรัตนโกสินทร์
ในส่วนของเนื้อหาที่นำเสนอนี้ คัดมาบางส่วนจากบทความของ ไกรฤกษ์ นานา ที่ชื่อว่า “‘ดวงเมือง’ ชะตากรุงรัตนโกสินทร์ผูกขึ้นเมื่อรัชกาลที่ 1” เผยแพร่ในนิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษายน พ.ศ. 2562 นำมาเสนอดังนี้ @@@@@@@
ผูก “ดวงเมือง” เมื่อแรกสร้างกรุง
ดวงชะตาของประเทศไทยถูกคำนวณและกำหนดจากตำแหน่งของดวงดาวตามทัศนะโหรานภาศาสตร์ ระบบนิรายนะ ดวงชะตานี้ได้คำนวณตามเวลาขณะที่ทำพิธีฝังเสาหลักเมือง เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2325 เวลาดวงอาทิตย์ขึ้นแล้วประมาณ 52 นาที (แต่ในพงศาวดารระบุว่า 54 นาที – ไกรฤกษ์ นานา)
“พระฤกษ์” เบื้องต้นของดวงเมืองกรุงรัตนโกสินทร์มีระบุอยู่ในบทสร้างกรุงฯ ของพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1 ชำระโดยสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) มีใจความว่า
สร้างกรุงรัตนโกสินทร์
พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์นี้ เริ่มต้นแต่ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 ปี (พ.ศ. 2325) เมื่อพระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว พระองค์เป็นปฐมในพระบรมราชวงศ์ปัตยุบันนี้ได้ทรงรับอัญเชิญของเสนามาตย์ราษฏรทั้งหลาย เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครอบครองสยามประเทศ และทรงปราบปรามความจลาจลในกรุงธนบุรีเรียบร้อยแล้ว จึ่งทรงพระราชดำริว่าเมืองธนบุรีนี้ ฝั่งฟากตะวันออกเป็นที่ชัยภูมิดีกว่าที่ฟากตะวันตก โดยเป็นที่แหลมมีลำแม่น้ำเป็นขอบเขตต์อยู่กว่าครึ่ง
ถ้าตั้งพระนครข้างฝั่งตะวันออก แม้นข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนครก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างฝั่งตะวันตก ฝั่งตะวันออกนั้นเสียแต่เป็นที่ลุ่ม เจ้ากรุงธนบุรีจึ่งได้ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกซึ่งเป็นที่ดอน แต่ก็เป็นที่ท้องคุ้งน้ำเซาะทรุดพังอยู่เสมอไม่ถาวร พระราชนิเวศน์มนเทียรสถานเล่า ก็ตั้งอยู่ในอุปจาร ระหว่างวัดแจ้งและวัดท้ายตลาดขนาบอยู่ทั้ง 2 ข้าง ควรเป็นที่รังเกียจ ทรงพระราชดำริดังนี้ จึ่งดำรัสสั่งให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ได้ตั้งพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อ ณ วันอาทิตย์เดือนหกขึ้นสิบค่ำ ฤกษ์เวลาย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที
พระราชวังใหม่ให้ตั้งในที่ซึ่งพระยาราชาเศรษฐีและพวกจีนอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่แต่ก่อน โปรดให้พระยาราชาเศรษฐี และพวกจีนย้ายไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ที่สวน ตั้งแต่คลองวัดสามปลื้มไปจนถึงคลองวัดสามเพ็ง จึ่งได้ฐาปนาสร้างพระราชนิเวศน์มนเทียรสถาน ล้อมด้วยปราการระเนียดไม้ไว้ก่อน พอเป็นที่ประทับอยู่ควรแก่เวลา [1]
อันว่าดวงชะตานี้ได้คำนวณตามเวลาขณะที่ทำพิธีฝังหลักเมือง ในวันที่ 21 เมษายน 2325 ตรงกับปีขาล วันกลียุคศักราช 1,783,568 วัน ดวงอาทิตย์อุทัย 0620
ดวงอาทิตย์ ในวันนี้ได้โผล่ขึ้นที่ขอบฟ้าเวลา 0620 แต่เวลาเริ่มฝังหลักเมืองเป็นเวลา 0654 แสดงว่าดวงอาทิตย์ได้โผล่ขึ้นจากขอบฟ้ามาแล้วประมาณ 52 นาที คิดเป็นมุมสูงจากขอบฟ้าประมาณ 13 องศา
ดวงจันทร์ อยู่ภาคทางทิศตะวันออก อประจักราหรือภาคมืดในตำแหน่งใกล้เคียงกับปาตละพินทุทำมุมกับดวงอาทิตย์ประมาณ 92 องศา 48 ลิปดา
ดาวอังคาร กำลังจะโผล่ขึ้นจากขอบฟ้าในตำแหน่งอสุระสนธยา ทำมุมกับดวงอาทิตย์ประมาณ 39 องศา 22 ลิปดา ทางทิศตะวันออก
ดาวพุธและดาวศุกร์ ได้โผล่ขึ้นจากขอบฟ้าไปแล้วอยู่ในตำแหน่งเทวะสนธยาและกำลังอยู่ในภาคปูรวะจักรา โดยดาวพุธทำมุมกับดวงอาทิตย์ 25 องศา 49 ลิปดา ทางทิศตะวันตก ส่วนดาวศุกร์ทำมุมกับดวงอาทิตย์ 38 องศา 37 ลิปดา ทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกัน
ดาวพฤหัสและดาวเสาร์ ได้พ้นตำแหน่งศิโรพินทุไปแล้ว และอยู่ในภาคปูรวะจักรา โดยดาวพฤหัสทำมุมกับดวงอาทิตย์ 123 องศา 9 ลิปดา ทางทิศตะวันตก ส่วนดาวเสาร์ทำมุมกับดวงอาทิตย์ 123 องศา 22 ลิปดา ทางทิศตะวันตกเช่นเดียวกัน [3]
หลักเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ภายในศาลหลักเมือง (ต้นซ้าย) เสาหลักเมืองเดิมครั้งรัชกาลที่ 1 และ (ต้นขวา) เสาหลักเมืองใหม่ครั้งรัชกาลที่ 4 ภาพถ่ายเมื่อปี พ.ศ. 2525 (ภาพจาก “พระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์กับประชาชน”)การพิจารณาดวงชะตาเดิมโดยสังเขปของประเทศไทย อาจจะพิจารณาจากดวงดาวแต่ละดวงได้ดังนี้
ดวงอาทิตย์ หมายถึง พระมหากษัตริย์ ผู้นำประเทศ อธิปตัย นายกรัฐมนตรี ฯลฯ ดวงอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนเกษตรภพที่ 5 สถิตย์อยู่ในตำแหน่งปรมะอุจจ ซึ่งเป็นเรือนเกษตรของดาวอังคาร และร่วมกับลัคนาในราศีเมษ ได้รับแสงจากดาวพฤหัส และอยู่ในตำแหน่งภาวะการกะ เรียกว่า ลัคนาการกะ มีความหมายว่า ประเทศไทยจะต้องมีพระมหากษัตริย์ มีผู้นำประเทศและอธิปตัยอย่างแน่นอนและมั่นคง เป็นที่ยอมรับนับถือของประเทศทั่วๆ ไป และโดยที่ดวงอาทิตย์เป็นเจ้าเรือนภพที่ 5 ด้วย แสดงว่าการสืบพระราชสันตติวงศ์ก็ดี การที่จะมีผู้นำประเทศก็ดี ย่อมจะต้องมีติดต่อเรื่อยไปโดยไม่มีการขาดตอน และจะได้รับการสนับสนุนจากผู้ทรงคุณวุฒิ สมณชีพราหมณ์จารย์ ตลอดจนประชาชน และโดยที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งภาวะการกะ ซึ่งหมายความว่า เป็นประเทศที่รักศักดิ์ศรีถือเกียรติ เป็นต้น
ดวงจันทร์ หมายถึง หลักทรัพย์ อัตราการเกิด ฯลฯ ดวงจันทร์เป็นเจ้าเรือนอุจจภพที่ 2 นับจากลัคนา และสถิตย์อยู่ในตำแหน่งเกษตรภพที่ 4 เป็นดาวโทน ไม่ได้รับแสงดาวดวงใดทั้งสิ้น แต่ตนเองมีแสงมากพอสมควร และอยู่ในตำแหน่งภาวะการกะ เรียกว่า มาตฤการกะ มีความหมายว่า ประเทศไทยจะต้องมีหลักฐานของตนเองอย่างมั่นคง มีพระราชอาณาเขตเป็นที่แน่นอน ไม่มีทางที่จะเป็นเมืองขึ้น หรือถูกยื้อแย่งดินแดนไปเป็นของประเทศอื่น
ดาวอังคาร หมายถึง บุรุษในเครื่องแบบ แสนยานุภาพ อาวุธยุทธภัณฑ์ ฯลฯ ดาวอังคารเป็นเจ้าเรือนลัคนา เจ้าเรือนเกษตรภพที่ 8 เจ้าเรือนอุจจภพที่ 10 เป็นดาวโทน สถิตย์อยู่ในภพที่ 2 ซึ่งเป็นเรือนเกษตรของดาวศุกร์ และไม่ได้รับแสงจากดาวดวงใดเลย แต่ดาวอังคารยังให้แสงถึงเรือนของตนเองอีกด้วย คือ ในภพที่ 8 นับจากลัคนา มีความหมายว่า ในยามสงครามก็ดี ในยามที่บ้านเมืองได้รับภยันตรายใดๆ ก็ดี กำลังทหารที่มีอยู่นั้นสามารถป้องกันเอกราชและอธิปตัยของประเทศชาติได้เสมอ
ดาวพุธ หมายถึง การค้าขาย พ่อค้าวาณิชย์ ฯลฯ ดาวพุธเป็นเจ้าเรือนเกษตรภพที่ 3 และภพที่ 6 นับจากลัคนา แต่สถิตย์อยู่ในตำแหน่งนิจจในเรือนเกษตรของดาวพฤหัสซึ่งเป็นภพที่ 12 นับจากลัคนา เป็นดาวที่ได้รับแสงจากดาวศุกร์ ซึ่งเป็นอุจจ และราหู ในสถานะที่สถิตย์อยู่เรือนเดียวกัน นอกจากนี้ดาวพุธยังเป็นโยคะมารกะของลัคนาราศีเมษ ดาวพุธเป็นดาวเคราะห์วงในมีระยะเชิงมุมถึง 25 องศา 49 ลิปดาซึ่งเกือบเพ็ญ และถูกตำแหน่งคือเป็นเทวะสนธยา มีความหมายว่า บรรดาพ่อค้าทั้งหลายจะไม่มีอำนาจควบคุมการบริหารงานหรือมีอำนาจเหนือรัฐบาล และโดยที่ดาวพุธเป็นนิจจอยู่ภพที่ 12 ด้วย ซึ่งเป็นเหตุที่บรรดาพ่อค้าทั้งหลายไม่กล้าที่จะดำเนินการผิดศีลธรรมอันจะเป็นเหตุที่จะก่อความเดือดร้อนให้แก่ประเทศ
ดาวพฤหัส หมายถึง อำมาตย์ผู้ใหญ่ พราหมณ์ปุโรหิต ผู้ทรงคุณวิชา ฯลฯ ดาวพฤหัสสถิตย์อยู่ในภพที่ 9 ได้ตำแหน่งเกษตร และเป็นเจ้าเรือนเกษตรภพที่ 12 เป็นเจ้าเรือนอุจจภพที่ 4 ได้รับแสงจากดาวเสาร์ในสถานะที่อยู่ร่วมเรือนเดียวกัน ได้รับแสงจากดาวอังคาร และยังให้แสงถึงลัคนาและดวงอาทิตย์อีกด้วย นอกจากนี้ยังอยู่ในตำแหน่งภาวะการกะ ซึ่งเรียกว่า ศุภการกะ และกำลังวักระหรือพักร มีความหมายว่า บ้านเมืองจะอยู่เย็นเป็นสุข ประชาชนจะอยู่ดีกินดี มีศีลธรรม มีมาตรฐานการครองชีพที่เหมาะสมกับสถานะของตนเอง ผู้ที่คิดก่อความไม่สงบต่อประเทศชาติหรือผู้ที่ไม่มีศีลธรรมจะต้องพ่ายแพ้ต่อฝ่ายธรรมะเสมอ
ดาวศุกร์ หมายถึง การเงิน งบประมาณ เงินกู้ ฯลฯ ดาวศุกร์สถิตย์อยู่ในภพที่ 12 ได้ตำแหน่งอุจจในเรือนเกษตรของดาวพฤหัส เป็นเจ้าเรือนเกษตรภพที่ 2 และภพที่ 7 นับจากลัคนา ดาวศุกร์ได้รับแสงจากดาวพุธ ซึ่งเป็นนิจจ และราหู ในสถานะที่สถิตย์ร่วมเรือนเดียวกัน ดาวศุกร์เป็นดาวเคราะห์วงใน มีระยะเชิงมุม 38 องศา 37 ลิปดา ซึ่งนับว่าอยู่ในอาณัติเพ็ญ แต่ผิดตำแหน่ง คือเป็นเทวะสนธยา มีความหมายว่า สถานภาพทางการเงินค่อนข้างจะมั่นคงมาก เป็นเงินตราสกุลแข็งสกุลหนึ่ง นอกจากจะมีเงินคงคลังเก็บสำรองไว้แล้วยังได้รับการช่วยเหลือทางด้านเงินตราจากต่างประเทศเสมอๆ
ดาวเสาร์ หมายถึง ชนชั้นกรรมาชีพ ผู้ก่อการร้าย การโฆษณาชวนเชื่อ ฯลฯ ดาวเสาร์สถิตย์อยู่ในภพที่ 9 ในเรือนเกษตรของดาวพฤหัสร่วมกับดาวพฤหัส และได้รับแสงจากดวงอังคาร ดาวเสาร์เป็นเจ้าเรือนเกษตรภพที่ 10 ภพที่ 11 เป็นเจ้าเรือนอุจจภพที่ 7 นับจากลัคนา และยังให้แสงถึงภพที่ 11 ซึ่งเป็นเรือนเกษตรของตนเองอีกด้วย กำลังอยู่ในตำแหน่งวักระ มีความหมายว่า การโฆษณาชวนเชื่อก็ดี การก่อการร้ายหรืออื่นๆ ซึ่งจะเป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศชาติแล้ว จะไม่มีหนทางที่จะเอาชนะต่อฝ่ายรัฐบาลได้เลย และยังไม่สามารถจะเอาชนะจิตใจของประชาชนได้อีกด้วย การที่ดาวอังคารให้แสงถึง หมายความว่า แม้จะมีการก่อการร้ายใดๆ ก็ตามกำลังทหารของฝ่ายรัฐบาลสามารถปราบปรามได้สิ้น
ราหู หมายถึง ฝ่ายตรงข้ามกับประชาธิปไตย ลัทธินอกแบบ ฯลฯ ราหูสถิตย์อยู่ในภพที่ 12 ร่วมกับดาวพุธ และดาวศุกร์ มีความหมายว่า ลัทธินอกแบบก็ดี คอมมิวนิสต์ก็ดี ซึ่งเข้ามาแพร่ขยายในประเทศไทยจะต้องวินาศในที่สุด นอกจากนั้นประเทศไทยไม่มีการแสวงหาเมืองขึ้น ไม่มีความปรารถนาในดินแดนของผู้อื่นสำหรับประเทศชาติใกล้เคียงกันแล้ว ประเทศไทยสามารถเสียสละบางสิ่งบางประการให้ได้เสมอ [3] ภาพถ่ายทางอากาศหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เห็นแนวถนนหน้าพระลานจากแม่น้ำเจ้าพระยาผ่านหน้าพระบรมมหาราชวัง และถนนหลักเมืองข้างกระทรวงกลาโหม (ที่มา ภาพถ่ายทางอากาศโดยปีเตอร์ วิลเลียม ฮันท์)ดวงพระฤกษ์ปราบดาภิเษก รัชกาลที่ 1
ต่อมายังพบอีกว่าได้มีการผูกดวงพระราชวงศ์จักรี (ดวงปราบดาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ด้วยในวันที่ 10 มิถุนายน 2325 มีรายละเอียดดังนี้
@@@@@@@
พระราชพิธีปราบดาภิเษก (พ.ศ. 2325)
ครั้น ณ วันจันทร์ เดือนแปดบุรพาษาฒขึ้นค่ำหนึ่ง ปีขาล จัตวาศก จุลศักราช 1144 ปี (พ.ศ. 2325) ให้ตั้งการพระราชพิธีปราบดาภิเษกโดยสังเขป นิมนต์พระราชาคณะสวดพระปริตรพุทธมนต์ครบ 3 วันแล้ว รุ่งขึ้น ณ วันพฤหัสบดี เดือนแปดบุรพาษาฒขึ้นสี่ค่ำเวลารุ่งแล้ว 4 บาท ได้มหามงคลฤกษ์
พระบาทสมเด็จบรมนารถบพิตรพระเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งบัลลังก์ศรีสักหลาด ประดับด้วยเรือจำนำท้ายพระยาข้าทูลละอองธุลีพระบาททั้งปวง แห่โดยขะบวนพยุหยาตราหน้าหลังพรั่งพร้อม เสด็จข้ามปาริมคงคามาณฝั่งตะวันออก เสด็จขึ้นฉนวนหน้าพระราชวังใหม่ ทรงพระราชยานตำรวจแห่หน้าหลังเสด็จขึ้นยังพระราชมนเทียรสถาน ทำการพระราชพิธีปราบดาภิเษก ขณะนั้นพระชนมายุได้ 46 พรรษา ได้เสวยไอศวรรยาธิปัติถวัลยราชย์ดำรงแผ่นดินสยาม
ในกาลครั้งนั้น สมเด็จพระสังฆราชและพระราชาคณะผู้ใหญ่ประชุมพร้อมกัน ได้คิดขนานพระนามถวายจารึกลงในพระสุพรรณบัฏว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร ตรีภูวเนตรวรนารถนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์ สกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลยคุณอขนิษฐ์ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชไชย พรหมเทพดิเทพนฤบดินทร์ ภูมินทรปรมาธิเบศร โลกเชฏฐวิสุทธิ์ รัตนมกุฎประเทศคตามหาพุทธางกูร บรมพบิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว ณ กรุงเทพมหานครบวรทวาราวดี ศรีอยุธยามหาดิลกภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์ อุดมพระราชนิเศน์มหาสถาน ตามโบราณจารีตสืบมา [1]
โดยในวันนั้นได้มีการผูกพระฤกษ์ เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งนับถือกันว่าเป็นดวงเริ่มพระราชวงศ์จักรีโดยแท้จริง
@@@@@@@
เคล็ดแห่งดวงปราบดาภิเษก ในรัชกาลที่ 1
1. ราชวงศ์นี้เจ้านายจะต้องเป็นทหารจึงต้องโฉลก ด้วยกษัตริย์ต้นราชวงศ์คือพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงเป็นทหาร ได้อำนาจมาก็ด้วยจากกำลังทหารหนุนหลังอยู่
ขณะเวลาเข้าครองอำนาจนั้น ดาวอังคารลอยอยู่เหนือฟ้าพอดี เรียกว่าดาวทหารเข้ามามีอิทธิพลในราชวงศ์
2. ดวงชะตาได้จตุสดัยเกณฑ์ มี 2, 4, 3 อยู่ในภพเกณฑ์ มีดาว 3 เป็นปัศวะเกณฑ์
3. ดาว 5 คือ สมณะ ไปกุมเสาร์อริอยู่ในภพปุตตะ บ่งถึงอาณาประชาราษฎร์ได้รับความสุขดี แต่มักไม่สามัคคีกัน คณะสงฆ์แตกแยกออกจากกัน
4. ดาว 1 คือกษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เป็นดาวตนุลัคน์และอยู่ในภพมรณะ กุม 8 กับ 6 มหาอุจ บ่งถึงกษัตริย์จะเป็นอันตราย กษัตริย์มักมีพระโรคเบียดเบียนถึงแก่สวรรคตในวัยอันไม่สมควร ด้วยไปอยู่ภพมรณะ มักเป็นเหตุจากสิ่งต่างๆ ดาว 1, 6, 8 อยู่ภพมรณะ บ่งว่า รัชกาลที่ตรงกับเลขนี้มักมีอันตราย กล่าวคือ
รัชกาลที่ 1 มีศึกใหญ่ของพม่ามาประชิด ต้องไปรบราฆ่าฟันเสียชีวิตกันมาก มีเรื่องยุ่งยากภายในระหว่างวังหลวงกับวังหน้า มีศึกร้อนรุ่มตลอดรัชกาล
รัชกาลที่ 6 มีขบถนายสิบ พระองค์ทรงมีพระโรคภายในพระนาภีประจำ และต้องมีพระชนมายุสั้นจากโรคภัยนั้น
รัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต ด้วยถูกลอบปลงพระชนม์
ดาว 5 คือ รัชกาลที่ 5 เป็นเกษตร ทำให้รัชกาลนี้มีความรุ่งเรืองมั่นคงเจริญหลายทาง มีดาว 0 เจ้าแห่งการปฏิรูปเล็ง บ่งว่าจะมีการปฏิรูปหลายๆ ทางเกิดขึ้นพร้อมกับความเจริญอย่างใหญ่หลวง ด้วยดาว 5 เป็นเกษตรในภพที่ 5 ให้คุณมาก แต่มีดาว 7 อริ ซึ่งเป็นดาวร้ายมากุมอยู่ทำให้พระองค์ต้องผจญกับศัตรูนอกพระราชอาณาเขต เข้ามาย่ำยีแดนไทยและฮุบเอาแผ่นดินลาวเขมรไปจากอ้อมอกของไทย
ดาว 4 คือ รัชกาลที่ 4 ตรีโกณถึงดาวมฤตยูองค์เดียว มีดาว 5 เกษตร โยคหลัง รัชกาลนี้ดีเด่นในด้านแสวงหาความรู้ความเจริญของโลกมาปฏิรูปในประเทศ ดาวมฤตยูที่สัมพันธ์ถึง 4 อยู่บ่งว่า รัชกาลของพระองค์ได้เปลี่ยนโฉมหน้าประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมเข้าสู่ยุคใหม่ทัดเทียมกับอาณาอารยประเทศทั้งหลายทั่วโลก
รัชกาลที่ 3 เป็นดาวอังคารประ ประคือความเสื่อมแต่ลอยเด่นไม่ถูกเบียน พระองค์ขึ้นครองราชย์โดยไม่เป็นไปตามการสืบสายราชวงศ์โดยแท้ เพราะพระองค์มิใช่เจ้าฟ้า ดังนี้พระองค์จึงไม่ยอมสวมมงกุฎ สมกับดาว 3 ประจำรัชกาล เป็นประ พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระศาสนา ก่อสร้างวัดวาอารามไว้มาก ด้วยมีดาว 9 (คือศาสนา) ไปกุม 3 อยู่ และดาวพลูโต (ก็คือพระปรมัตถธรรม) เล็งดาว 3 เช่นกัน
รัชกาลที่ 2 ดาว 2 เป็นนิจกุมพลูโต มีดาว 5 เกษตรนำหน้า รัชกาลนี้รุ่งเรืองทางกวีนิพนธ์ พระองค์ทรงยังความเจริญแก่ประเทศมาก ด้วยดาว 2 นิจ ไปอยู่เรือน 3 ประ กลับจูงให้เด่น (ตามทฤษฎีที่ว่า เสียพบเสียกลายเป็นดี) ดาว 2 นิจส่งผลให้พระองค์พอใจอยู่แต่ในรั้วในวัง (ดาว 2 เป็นเจ้าเรือนวินาศนะ ซึ่งวินาศนะ แปลว่า เก็บตัว ไม่เปิดเผย)
รัชกาลที่ 7 ได้ขึ้นครองราชย์ในขณะภาวะการเงินของชาติประสบมรสุมอย่างหนัก ดาว 7 เป็นดาวอริมากุมดาว 5 ควรจะได้ผลดีเยี่ยม แต่ก็ถูกตรึงกากะบาทจากบาปเคราะห์ 18 ที่มีน 0 ที่เมถุน, เนปจูนที่กันย์ ดาว 7 เป็นบาปเคราะห์อยู่แล้ว เมื่อถูกบาปเคราะห์ตรึงกากะบาทจึงเกิดโทษมาก ส่งผลให้พระองค์ต้องทรงสละราชสมบัติ ภายหลังจากสูญเสียอำนาจแก่กลุ่มปฏิวัติ 24 มิถุนายน 2475 ไป
ดาว 7 เป็นดาวอริอยู่แล้วจึงเปราะไม่อาจต้านทานแรง จตุโกณแบบกากะบาทของบาปเคราะห์ได้ สู้ดาว 5 คือรัชกาลที่ 5 ไม่ได้ ด้วยดาว 5 เป็นเกษตร ที่มีศักดิ์ศรีสูงย่อมอาจต้านทานดาวใดๆ ได้ ถึงกระนั้นก็ยังโดนศัตรูนอกประเทศมารุกราน เอาดินแดนไปเกือบครึ่งประเทศ
รัชกาลที่ 9 เลข 9 กุมดาว 3 อยู่ บ่งว่าจะรับอันตรายจากอุบัติเหตุ เพราะดาว 3 เป็นดาวเกี่ยวกับอุบัติเหตุโดยตรง ผลก็คือพระองค์ต้องประสบอุบัติเหตุร้ายแรงที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่พระเนตรข้างขวา
จึงเห็นว่า ดวงราชวงศ์จักรีนี้สำคัญมาก ดาวประจำรัชกาลสถิตย์อยู่ในดวงราชวงศ์จักรีก็สามารถนำมาทำนายได้อย่างแม่นยำ [2]
ผู้มีญาณเสริมว่า พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระปรีชาสามารถในการกำหนดพระฤกษ์ตั้งเสาหลักเมือง ช่วยเสริมดวงเมืองให้ราชอาณาจักรของพระองค์อยู่รอดปลอดภัยมาได้อย่างน่าอัศจรรย์…
@@@@@@@@
อ่านเพิ่มเติม :-
• 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 : รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมือง • การสร้าง “หลักชัย แกนเมือง” ตามตำราพิชัยสงคราม ในรัชกาลที่ 1 • โหราศาสตร์ กับการเมืองไทย สู่ “สงครามจิตวิทยา” ในคราวปฏิวัติ 2475 !? • โหราศาสตร์ กับข้อห้าม แต่งงานวันพุธ-เผาผีวันศุกร์-ขึ้นบ้านใหม่วันเสาร์
ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : เสมียนนารี เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2568 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 7 มิถุนายน 2564 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_68786เอกสารประกอบการค้นคว้า :- [1] พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร์ รัชชกาลที่ 1, พิมพ์พระราชทานแจกในงานพระราชทานเพลิงศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตนจาตุรนต์ ที่พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส 2478. [2] พลูหลวง. โหราศาสตร์ พิชัยสงคราม-ดวงเมือง. สำนักพิมพ์เกษมบรรณกิจ, 2518. [3] สมภพ ภิรมย์, ศาสตราจารย์ นาวาเอก. กุฎาคาร. โรงพิมพ์กรุงสยามการพิมพ์, 2513.
|
|
|
15
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / 21 เมษายน 2325 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมือง
|
เมื่อ: เมษายน 22, 2025, 09:16:39 am
|
. "พิธีตั้งเสาหลักเมือง" จิตรกรรมฝาผนัง จัดแสดงภายในอาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติ21 เมษายน 2325 รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ทำพิธีวางเสาหลักเมืองณ วันเสาร์ แรม 9 ค่ำ เดือน 5 จุลศักราช 1144 ปีขาล จัตวาศก หรือวันที่ 6 เมษายน พุทธศักราช 2325 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จเข้าพระนครปราบดาภิเศก แล้วมีพระราชโองการให้ตั้งกรุงเทพมหานครยังฝั่งบุรพทิศจากนั้นจึงได้มีพระราชดำรัสสั่งให้ พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่สร้างพระนครใหม่ข้างฝั่งตะวันออก ได้ตั้งพิธียก “เสาหลักเมือง” ณ วันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ
อาจารย์เทพ สาริกบุตร ผู้รู้ได้เล่าถึงขั้นตอนงานพระราชพิธีนี้อย่างละเอียด โดยตอนหนึ่งได้กล่าวว่า ในการฝัง “เสาหลักเมือง” ซึ่งได้กระทำในวันที่ 21 เมษายน พุทธศักราช 2325 นั้น การประกอบพิธีหาใช่จะเป็นไปโดยเรียบร้อยไม่ ด้วยปรากฏว่า เมื่อโหราฯ ย่ำฆ้องบอกกำหนดพระฤกษ์ ชีพ่อพราหมณ์เป่ามหาสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์ แตรสังข์และพิณพาทย์ เจ้าหน้าที่ประจำปืนใหญ่เป็นมหาพิชัยฤกษ์เริ่มพระราชพิธีอัญเชิญเสาหลักเมืองลงสู่หลุม โดยวางไว้บนแผ่นศิลายันต์
ทันใดนั้นก็ได้เกิดเหตุมหัศจรรย์ขึ้น เมื่อได้พบงูตัวเล็กๆ 4 ตัวลงไปอยู่ในหลุม ขณะเลื่อนเสาลงหลุม ทั้งๆ ที่ก่อนเริ่มพิธีมิได้มีผู้ใดพบเห็น ทำให้สายเกินจะแก้ได้ งูทั้งสี่จึงถูกฝังไปพร้อมกันในคราวนั้นเอง
เหตุดังกล่าวทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงเรียกประชุมเหล่าราชบัณฑิตโหราจารย์ พระราชาคณะและผู้รู้ทั้งปวงซึ่งที่ประชุมต่างเห็นตรงกันว่า เหตุการณ์นี้เป็นอวมงคลนิมิต แต่มิอาจบอกได้ว่าจะปรากฏผลออกมาอย่างใด นอกจากจะลงความเห็นว่า งูเล็กทั้งสี่จะเป็นมูลเหตุนำความเสื่อมมาสู่ “พิธีตั้งเสาหลักเมือง” จิตรกรรมฝาผนัง จัดแสดงภายในอาคารภาพปริทัศน์ อนุสรณ์สถานแห่งชาติในการนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงประกอบพระราชพิธีสะเดาะห์เคราะห์ ประกอบกับเวลานั้นบังเกิดมีศึกใหญ่กับพม่าที่เรียกว่าสงคราม 9 ทัพ อีก 7 ปี ต่อมาเมื่อเกิดฟ้าผ่าไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทราภิเษกมหาปราสาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงมีพระราชดำรัสว่า สิ้นพระเคราะห์เมืองแล้ว และจะถาวรลำดับกษัตริย์ถึง 150 ปี คือถึงปี พ.ศ. 2475
เรื่องนี้ คุณฟองสนาน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโหราศาสตร์ได้กล่าวในงาน สโมสรศิลปวัฒนธรรมเสวนา ประจำเดือนพฤศจิกายน 2558 “เปิดฟ้าอ่านดาว สืบสาวตำนานดวงเมือง” ไว้ว่า
“ดวงเมืองคอดกิ่ว 7 ปี 7 เดือน คือดวงเมืองตอนตั้งเสาหลักเมือง ดวงเมืองตก 7 ปี 7 เดือน หลังจากนั้นจะลำดับถาวรกษัตริย์ไปอีก 150 ปี ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงเถียง ทรงบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ได้เลยว่าคนไทยเขียนผิด 150 นี่มัน 500 ปี เป็นไปไม่ได้หรอกที่จะแค่ 150 ปี ปรากฏว่า 150 ปี 2475 แม่นยิ่งกว่าตาเห็น ทรงแม่นยิ่งกว่าตาเห็น…”
ต่อมาถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระองค์ทรงมีพระราชดำริให้บรรจุดวงชะตาพระนครอีกครั้ง ด้วยเหตุที่หลักเมืองเก่าชำรุด โดยมิได้ระบุว่ามีเหตุผลอื่นประกอบด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ดีหากจะทรงแก้ไขดวงชะตาพระนครใหม่ก็เป็นไปด้วยทรงพระปรีชาสามารถในทางโหราศาสตร์ยิ่งของพระองค์
ทั้งนี้ ดวงชะตาพระนครที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงทำขึ้นใหม่นี้ไม่เป็นที่ปรากฏแพร่หลายทั่วไป การทำนายดวงเมืองจากอดีตถึงปัจจุบันก็ยังยึดตามดวงชะตาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 1 ทรงวางไว้เดิมนั่นเอง
@@@@@@@
อ่านเพิ่มเติม :-
• ผังเมืองกรุงรัตนโกสินทร์ กับกำเนิดสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) • ถนนแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ : ถนนเก้าสายสั้นๆ ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน • “สวนลุมพินี” สวนสาธารณะแห่งแรกของกรุงรัตนโกสินทร์ กับที่มาของชื่อ “ลุมพินี”ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : กองบรรณาธิการศิลปวัฒนธรรม เผยแพร่ : วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ.2568 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 21 เมษายน 2560 website : https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_8473
|
|
|
16
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ปกิณกะธรรม โดย หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง
|
เมื่อ: เมษายน 21, 2025, 07:30:13 am
|
. ปกิณกะธรรม หลวงพ่อพระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง)มีข้อธรรมมากมาย ที่มักมีผู้สงสัยใคร่รู้อยู่เป็นจำนวนมาก และหลวงพ่อพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤาษีฯ วัดท่าซุง ท่านได้เมตตาแสดงไว้ในที่ต่างๆ ศูนย์พุทธศรัทธา จึงคัดเลือกและรวบรวมประมวลข้อธรรมดังกล่าวเป็น ปกิณกะธรรม
@@@@@@@
๑. หนี้กรรมการฆ่าสัตว์
ให้จำไว้ด้วยว่า สัตว์ทุกประเภท เนื้อแท้จริงๆเขาเป็นคน อาศัยคนที่ทำความชั่ว ทำตัวให้ตกในบาปอกุศล เมื่อตกอบายภูมิคือนรกมาแล้ว ผ่านนรก ผ่านเปรต ผ่านอสุรกายมาแล้ว ก็มาเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน เป็นการชำระกรรมหนักขั้นสุดท้าย แต่ว่าไม่ใช่ชีวิตเดียวนะ
ชำระกรรมหนักขั้นสุดท้ายนี้ ไม่ใช่ครั้งเดียว เคยฆ่าปลามากี่ตัว ต้องเกิดเป็นปลาให้เขาฆ่าเท่านั้นครั้ง หนักใจตรงเกิดเป็นยุงละซี่ จำไม่ได้ ถือว่าต้องใช้ชีวิตตามที่ฆ่าเขา พวกทำได้กำไรที่สุดคือพวกเรือตังเก โอ้โฮ วันหนึ่งแกล่อเป็นลำๆ เลย ไปเห็นใจหายวาบ ไอ้สัตว์ทุกประเภทก็คือคน ก็รวมความว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย เหมือนกันใช่ไหม ร่างกายเต็มไปด้วยความสกปรกโสโครก แล้วก็รักสุข เกลียดทุกข์เหมือนกัน
๒. อายุขัยและวิธีต่ออายุ
การต่ออายุก็ต้องทำให้มันถูก ถ้าทำไม่ถูกแล้วก็เสียเงินเปล่า ถ้าบังเอิญเป็นอายุขัยต่อเท่าไรก็ไม่สำเร็จผล เพราะเชื้อไฟเดิมดับ หมดบุญบารมีที่ทำมา การหมดบุญบารมีนั้นแม้อายุขัยก็ไม่แน่ บางคนเป็นเด็กก็หมดอายุขัย บางคนเป็นหนุ่มเป็นสาว บางคนวัยกลางคน บางคนก็ถึงวัยแก่ อายุขัยนี่ไม่แน่นอนนัก คำว่าอายุขัยนี่หมายความว่า ก่อนที่จะเกิด กฎของกรรมดีหรือกรรมชั่ว กำหนดชีวิตให้มาเท่าไร ถ้ากำหนดชีวิตมา ๒๐ ปี ก็ต้องแค่ ๒๐ ปี ๑๐ ปีก็ต้อง ๑๐ ปี ๓ วันก็ต้อง ๓ วัน นี่เป็นอายุขัย ต่อไม่ได้ ถ้าตายก่อนนั้นเขาเรียก อุปฆาตกรรม หรือว่า อกาลมรณะ อย่างนี้ต่อได้
และถ้าบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลาย จะต่ออายุแบบนี้ ก็ต่อมันทุกวันก็หมดเรื่องกัน วิธีต่อทุกวันก็หมายความว่า ให้ทุกท่านมีความเคารพในพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์อย่างจริงจัง และต้องเว้นจากกรรมที่เป็นปาณาติบาต ถ้ามีเวลา เดินผ่านไปมีใครเขาหาปลาหาเต่าที่เขาจะฆ่ามันให้ตาย ก็ซื้อพอกำลังที่เราจะซื้อได้ แล้วก็นำไปปล่อยในที่ปลอดภัย ไม่ใช่ปล่อยในหม้อข้าวหม้อแกงของเรานะ ไปปล่อยในสถานที่ที่เขาจะมีความสุข ในแม่น้ำก็ได้ในหนองคลองบึงก็ได้ ปล่อยให้เขารอดชีวิต
@@@@@@@
๓. วิธีต่ออายุป้องกันอุปฆาตกรรม
ตามวิธีโบราณจารย์ ท่านสอนไว้อย่างนี้นะว่า วิธีต่ออายุใหญ่ คือถึงปีหนึ่งถ้าเป็นวันเกิดหรือเป็นวันสำคัญของเรา วันไหนก็ได้ ทำกับข้าวทำอาหารพิเศษตามที่เราพอใจ เท่าที่ทุนจะพึงมี จัดการใส่บาตรแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา แล้วก็ถ้าหากว่ามีเงิน ก็สร้างพระพุทธรูปสักองค์
พระพุทธรูปนี้จะเป็นพระดินเหนียวก็ได้ พระปูนซิเมนต์ก็ได้ เป็นปูนพลาสเตอร์ก็ได้ หรือพระโลหะก็ได้ ไม่จำกัด เพราะเป็นรูปพระแล้ว มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ต้องมีหน้าตักไม่น้อยกว่า ๔ นิ้ว ถวายไว้เป็นสมบัติของสงฆ์
หลังจากนั้นก็เอาสัตว์ที่จะพึงถูกฆ่าตาย อย่างที่เขานำเอามาขายเพื่อแกงหรือที่เขาทอดแหสุ่มปลาได้ ถ้ามีสตางค์ก็ไปซื้อเขาสักตัวสองตัวตามกำลังแล้วปล่อยไป และก็อุทิศส่วนกุศลให้แก่เจ้ากรรมนายเวรและเทวดาที่ปกปักรักษาชีวิตเรา
ท่านบอกว่าถ้าทำอย่างนี้เป็นนิจ คำว่าอุปฆาตกรรม คือกรรมที่เข้ามาลิดรอนก่อนอายุขัยก็ดี และอกาลมรณะการที่จะตายก่อนอายุขัยก็ดี จะไม่มีสำหรับผู้ที่ทำแบบนี้ แต่ทว่าถ้ากรรมอย่างนี้เข้ามาถึง แค่ป่วยไม่มากก็เป็นของธรรมดา
๔. วิธีช่วยคนป่วยใกล้ตาย
การช่วยคนป่วยหนักจริง ๆ อย่าปล่อยให้หนักจนกระทั่งไม่มีความรู้สึก ตอนที่สติยังดีอยู่ ให้นิมนต์พระไปสวดสักครั้งหนึ่ง ไม่ใช่สวดพระอภิธรรม แต่เป็นการสวดพระปริตร วงสายสิญจน์ล้อมรอบ ถ้าผู้ป่วยจะต้องตายเพราะสิ้นอายุขัยก็ต้องตายแน่ สายสิญจน์ป้องกันไม่ได้ แต่ว่าถ้าท่านผู้นั้นจะตาย อย่าลืมว่าคนป่วยก็เหมือนคนที่ตกน้ำ ว่ายน้ำไม่เป็น เราส่งอะไรให้เกาะ เขาก็จะเกาะ ส่งไม้ให้เกาะเธอก็เกาะ ส่งสุนัขเน่าให้เกาะเธอก็เกาะ เพราะต้องการมีชีวิตอยู่
ก็เช่นกัน ถ้าคนป่วยเห็นพระสวดพระปริตร ก่อนสวดมีการสมาทานศีล จิตของคนป่วยในตอนนั้น ก็จะรับสมาทานศีลด้วยสติสัมปชัญญะที่สมบูรณ์ ทำให้เป็นคนที่มีศีล เวลาที่มีการสวดพระปริตร จิตก็จะฟังพระสวดด้วยความเคารพ จิตจะยึดอยู่กับพระ หลังจากพระกลับแล้ว จิตจะจับอารมณ์นั้นตลอด ในขณะป่วยไม่มีโอกาสทำลายศีล เพราะกำลังป่วยไม่สามารถจะไปฆ่าใครหรือไปลักขโมยใคร ถือว่าเป็นคนป่วยที่มีศีลบริสุทธิ์ ถ้ามีการถวายทานด้วย ไม่ว่าทานนั้นจะเป็นธูปเทียน ดอกไม้ ปัจจัยหรือโภชนาหารก็ตาม ถือว่าเป็นการถวายทานแก่พระสงฆ์ กำลังของทานจะช่วยคนป่วยได้อีกแรงหนึ่ง
อีกประการหนึ่ง ด้านอนุสสติ ถ้ามีพระพุทธรูปด้วย จิตของเธอจะจับพระพุทธรูปเป็นพุทธานุสสติ จำเสียงสวดมนต์เป็นธรรมานุสสติ การนึกถึงพระสงฆ์ที่สวดก็เป็นสังฆานุสสติ ถ้าเป็นอายุขัยที่จะพึงตาย บาปกรรมใดๆ ที่ทำมาแล้วในกาลก่อนจะไม่มีโอกาสให้ผลในเวลานั้น เหลือแต่บุญอย่างเดียวที่จะประคับประคองคนนั้น ให้ไปสวรรค์ ไปพรหมโลก หรือไปนิพพาน
@@@@@@@
๕. อานิสงส์การถวายสังฆทาน
การถวายสังฆทาน ๑ ครั้งในชีวิต และถวายด้วยจิตที่บริสุทธิ์มีศรัทธาแท้ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ผลของสังฆทานนี้จะดลบันดาลให้แก่บุคคลผู้ถวาย เกิดไปทุกชาติขึ้นชื่อว่าความยากจนเข็ญใจไม่มี ในแดนใดที่เต็มไปด้วยความทุกข์ยากลำบากขัดสน คนที่ถวายสังฆทานแล้วจะไม่ไปเกิดที่นั่น ผลที่ให้ไปไกลมาก กล่าวว่าแม้แต่พระพุทธญาณเองก็ยังไม่เห็นผลที่สุดของการถวายสังฆทาน
คำว่าไม่เห็นที่สุดของการถวายสังฆทาน หมายความว่า แม้แต่บุคคลผู้เป็นเจ้าของสังฆทาน บำเพ็ญบารมีแล้วเกิดไปอีกกี่แสนชาติก็ตาม จนกระทั่งเข้าพระนิพพาน อานิสงส์นั้นก็ยังไม่หมด นี่เป็นอำนาจของการถวายสังฆทาน
ทีนี้การถวายทานแก่พระ มีผลไม่เสมอกันอยู่อย่างหนึ่ง คือหมายความว่า ถวายทานแก่พระที่มีจิตกำลังฟุ้งซ่านไปด้วยอำนาจของนิวรณ์ ๕ ประการอย่างนี้ เราถวายกี่หมื่นกี่แสน อานิสงส์ก็ไม่มาก จะถวายสักเท่าไรอานิสงส์ได้แต่ว่าไม่มาก
ถ้าหากว่าถวายแก่ท่านผู้ปฏิบัติกรรมฐาน ถ้าหากเข้าถึงจิตบริสุทธิ์ เรื่องบริสุทธิ์แค่ไหนก็ช่าง อย่างน้อยที่สุดก็มี ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ บางท่านก็เข้าถึงฌานสมาบัติ บางท่านก็เป็นพระอริยเจ้าก็เข้าถึงผลสมาบัติ เป็นต้น อย่างนี้มีผลมาก
๖. วิหารทาน (การก่อสร้างถาวรวัตถุ)
พระพุทธเจ้าท่านบอกว่าการถวายทานกับพระองค์เอง ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง ถวายสังฆทาน ๑๐๐ ครั้งมีผลไม่เท่ากับถวายวิหารทาน ๑ ครั้ง นี่พระพุทธเจ้าท่านตรัสอย่างนี้
แต่มีบางท่านบอกว่า พระนี่ไม่น่าจะทำการก่อสร้าง ควรจะสอนคนให้เป็นพระหรือสอนให้เป็นคน สอนคนให้เป็นคนน่ะไม่ต้องไปสอนเขา เขาเป็นคนกันอยู่แล้ว ทีนี้สอนคนให้เป็นมนุษย์น่ะสอนยาก สอนคนให้เป็นพระนี่สอนยาก ในเมื่อญาติโยมพุทธบริษัทมีใจเป็นพระขึ้นมา ทำไมจะต้องลิดรอนกำลังใจกัน เพราะการก่อสร้างเป็นความดีของญาติโยม การทำบุญทุกอย่างเป็นเรื่องของพระ ถ้าคนจิตใจไม่ถึงพระนี่ทำบุญไม่ได้เลย
@@@@@@@
๗. วัตถุมงคล
การแจกพระ บางท่านอาจจะคิดว่าไม่มีผลหรือทำให้คนติดวัตถุ ถ้าถือว่าเป็นวัตถุก็น่าติ แต่ถ้าถือว่าเป็นพระก็ต้องคิด ที่พ่อแจกพ่อไม่เคยโฆษณาว่าพระที่พ่อแจกไปมีอานุภาพอะไร มีความต้องการอยู่อย่างเดียวคือ ให้คนมีความรู้สึกว่ามีพระอยู่ที่ตัว อารมณ์ที่รู้สึกว่ามีพระอยู่กับตัวอารมณ์ย่อมเป็นกุศล กุศลนิดหน่อยถ้ามีความรู้สึกบ่อยๆ สามารถทำให้คนที่ตายไปแล้ว จิตนึกถึงพระอยู่เสมอ อย่างเบาก็เกิดเป็นเทวดา อย่างกลางก็เกิดเป็นพรหม อย่างสูงก็ไปนิพพาน
แบบพ่อค้าที่หวังกำไรน้อย แต่ได้บ่อยๆ ก็รวยได้ฉันนั้น แต่ทว่าความรู้สึกนึกคิดของคนอื่นเป็นอย่างไรนั้น พ่อไม่คำนึง คำนึงอย่างเดียวคือสงเคราะห์คนบารมีอ่อน คนที่มีบารมีเป็นปรมัตถบารมี พ่อไม่ห่วง พวกนั้นท่านไม่ต้องเกาะราวหรือไม้เท้าก็เดินไหว สำหรับคนที่บารมีอ่อน ยังต้องเกาะราวและไม้เท้า จึงต้องอาศัยวัตถุคือพระพุทธรูปสงเคราะห์
๘. การฟังธรรมในสมัยพุทธกาล
คนสมัยนั้นท่านฟังเทศน์ครั้งเดียวก็จบกิจ ท่านไม่ได้ฟังเฉยๆ หมายความว่า ฟังด้วยความตั้งใจ การตั้งใจจำถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าเทศน์ ตัวนี้เป็นสมาธิ และเมื่อจำแล้วก็พยายามคิดตามไปด้วย ตัวนี้เป็นปัญญา
ฉะนั้น เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเทศน์ คนทุกคนพร้อมไปด้วยศีล หมายความว่าเวลานั้นใจเราบริสุทธิ์ ปราศจากปัญจเวร ๕ ประการ และมีความตั้งใจฟังคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระทรงธรรม์บรมศาสดา และคิดตามกระแสพระสัทธรรมเทศนาขององค์สมเด็จพระทรงสวัสดิ์โสภาคด้วยปัญญา เมื่อเทศน์จบ ใจท่านก็จบจากกิจของพระพุทธศาสนา นั่นคือเป็นพระอรหันต์ หากว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านทำได้อย่างนั้น ก็เชื่อว่าจะมีผลเช่นเดียวกัน ขอบคุณที่มา :- ปกิณกะธรรม หลวงพ่อพระราชพรหมยาน เขียนบน 19 กุมภาพันธ์ 2010 โดย ศูนย์พุทธศรัทธา https://buddhasattha.com/ปกิณกะธรรม-หลวงพ่อฤาษี/
|
|
|
18
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / กินอาหาร แบบละเลียด เคี้ยวช้า ๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไร.?
|
เมื่อ: เมษายน 19, 2025, 08:12:08 am
|
.  ที่มาของภาพ, Getty Images กินอาหาร แบบละเลียด เคี้ยวช้า ๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพ อย่างไร.? แม้หลายคนจะเคยชินกับการกินแบบอัตโนมัติ มือตักอาหารใส่ปากในขณะที่สายตาก็จับจ้องมองจอโทรทัศน์หรือโทรศัพท์มือถือไปด้วย ทำให้อาหารถูกกลืนลงท้องอย่างรวดเร็วจนหมดจานไปโดยไม่รู้ตัว แต่ก็มีน้อยคนที่จะรู้ว่า หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมากินอาหารให้ช้าลงโดยค่อย ๆ เคี้ยวอย่างมีสติ กลับจะส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างมหาศาล
จังหวะการเคี้ยวกลืนคำข้าว มีอิทธิพลต่อการดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนเราอย่างคาดไม่ถึง ตั้งแต่เรื่องประสิทธิภาพของการย่อยและการทำงานของระบบทางเดินอาหาร, การเกิดความรู้สึกอิ่มและพึงพอใจในมื้ออาหาร, ไปจนถึงการควบคุมน้ำหนักและการดูแลสุขภาพโดยรวม
@@@@@@@
เคี้ยวช้า ๆ ช่วยย่อยอาหารได้ดีขึ้น
ลิเวีย ฮาเซกาวะ นักโภชนาการซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซาเปาลูของบราซิล อธิบายถึงเรื่องนี้ว่า "การเคี้ยวบดอาหารในปากอย่างช้า ๆ ช่วยทำให้อาหารชิ้นใหญ่มีขนาดเล็กลง ซึ่งก็จะส่งผลให้ย่อยง่ายขึ้นตามไปด้วย ฉันมักจะพูดเตือนผู้ป่วยซึ่งมาบำบัดที่คลินิกของตัวเอง ด้วยการเปรียบเทียบให้พวกเขาเห็นภาพอย่างง่าย ๆ ว่า กระเพาะอาหารนั้นไม่มีฟัน หากเรากลืนอาหารคำโตลงไป กระบวนการย่อยก็จะเชื่องช้าและมีประสิทธิภาพลดลง"
ฮาเซกาวะยังกล่าวเสริมว่า "นอกจากนี้ การเคี้ยวข้าวมากครั้งยังช่วยกระตุ้นการผลิตเอนไซม์ช่วยย่อยในน้ำลาย ซึ่งก็จะส่งผลให้การดูดซึมสารอาหารของร่างกายดีขึ้น"
หากอาหารถูกกลืนลงท้องไปทั้งที่ยังไม่ได้เคี้ยวให้ละเอียดพอ กระเพาะอาหารจะต้องทำงานหนักขึ้น จนเกิดอาการท้องอืดและอาหารไม่ย่อยได้ "นั่นคือเหตุผลที่ว่า ทำไมบางคนรู้สึกแน่นท้องและเฉื่อยชาอยู่นานหลายชั่วโมงหลังมื้ออาหาร" ฮาเซกาวะกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการคนนี้ยังแนะนำว่า แม้จะไม่มีการกำหนดจำนวนครั้งที่คนเราควรจะเคี้ยวบดอาหารแต่ละคำอย่างแน่นอนตายตัว ทว่าหัวใจสำคัญของเรื่องนี้ที่ควรต้องปฏิบัติตามเสมอ คือการเคี้ยวอาหารให้ละเอียดเป็นเวลานานพอ จนกระทั่งมีเนื้อสัมผัสที่นุ่มลงและมีความคงตัวในระดับที่กลืนลงคอได้ง่ายเสียก่อน เราจึงค่อยตั้งสติกลืนอาหารนั้นลงไป ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้ไม่ต้องอาศัยการเพ่งสมาธิเพื่อนับจำนวนครั้งที่เคี้ยวเลย
"ส่วนการกินในขณะที่มีสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่นการกินไปดูโทรทัศน์ไป, กินอาหารพร้อมกับไถหน้าจอมือเล่น, หรือกินพร้อมกับคุยจ้ออย่างออกรสกับเพื่อนฝูง ล้วนส่งผลในทางลบกับการเคี้ยวกลืนคำข้าว เพราะอาจนำไปสู่การกินเร็วและเผลอกลืนอากาศลงท้องมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ท้องอืดได้" ฮาเซกาวะกล่าว
@@@@@@@
ความอิ่มและปัญหาน้ำหนักตัว
ศาสตราจารย์ แซนเดอร์ เคิร์สเทน ผู้อำนวยการภาควิชาโภชนศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยคอร์เนลของสหรัฐฯ บอกว่า "การกินเร็วทำให้ร่างกายได้รับพลังงานเข้าไปอย่างรวดเร็ว โดยการบริโภคพลังงานนี้คิดเป็นอัตราการได้รับแคลอรีต่อนาทีที่สูงขึ้นมาก นักวิจัยได้เผยผลการพิสูจน์ทดลองที่ยืนยันแล้วว่า การกินเร็วทำให้เราเผลอกินอาหารเกินปริมาณที่ควรได้รับไปไม่น้อย"
ศ.เคิร์สเทนยังบอกว่า การเคี้ยวและกลืนอาหารช้า ๆ ทำให้คำข้าวมีเวลาอยู่ในปากนานขึ้น ซึ่งพฤติกรรมนี้จะกระตุ้นการส่งสัญญาณประสาท เพื่อไปปลุกเร้าให้ระบบทางเดินอาหารเริ่มทำงานและมีปฏิกิริยาตอบสนองไวขึ้น รวมทั้งกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องออกมาด้วย
"สมองมนุษย์ต้องใช้เวลารับรู้ประมาณ 2-3 นาที ก่อนจะหลั่งฮอร์โมนที่ทำให้รู้สึกอิ่มและพึงพอใจกับมื้ออาหาร ดังนั้นคนที่กินเร็วจึงมีแนวโน้มจะบริโภคอาหารเข้าไปมากเกินความจำเป็น เพราะร่างกายไม่มีเวลาจะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าคุณอิ่มแล้ว" ศ.เคิร์สเทนกล่าว เธอยังบอกว่าผลที่จะตามมาคือการได้รับพลังงานหรือแคลอรีเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว พลังงานส่วนเกินนี้จะถูกนำไปเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน
 ที่มาของภาพ, Getty Images ความเสี่ยงทำร้ายสุขภาพในระยะยาว
การกินเร็วยิ่งทำให้ปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับการย่อยอาหารย่ำแย่ลงกว่าเดิม เช่นอาจทำให้อาการกรดไหลย้อน (acid reflux) หรือเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบ (gastritis) รุนแรงขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีอาการกรดไหลย้อนอยู่แต่เดิมแล้วนั้น หากเผลอไผลรีบกินดื่มอย่างรวดเร็ว อาการจะกำเริบขึ้นมาทันที
"ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่เป็นสาเหตุเบื้องหลังของเรื่องนี้ คือสภาพความเป็นอยู่ของจุลชีพชนิดต่าง ๆ ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ของมนุษย์ (gut microbiota) หากอาหารถูกส่งไปถึงลำไส้ในสภาพเป็นก้อนใหญ่ที่ยังไม่ถูกย่อยจนละเอียด มันอาจไปรบกวนสมดุลของแบคทีเรียในลำไส้ และส่งผลกระทบต่อระบบย่อยอาหารทั้งหมดได้" ฮาเซกาวะกล่าว
นักโภชนาการจากบราซิลผู้นี้ยังแนะนำว่า หากกินเร็วจนติดเป็นนิสัย ซ้ำยังมีพฤติกรรมการกินอื่น ๆ ที่ไม่ดีต่อสุขภาพร่วมด้วย วิถีชีวิตหรือไลฟ์สไตล์เช่นนี้อาจนำไปสู่โรคอ้วน และมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยด้วยภาวะผิดปกติของระบบเผาผลาญอีกหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวานประเภทที่สอง, ภาวะไขมันพอกตับ, โรคหัวใจและหลอดเลือด, ภาวะความดันโลหิตสูง, รวมทั้งโรคมะเร็งบางชนิดอย่างเช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, มะเร็งเต้านม, และมะเร็งตับอ่อน
@@@@@@@
สารพัดวิธีที่ช่วยให้กินช้าลง
ฮาเซกาวะให้คำแนะนำข้อแรกแก่ผู้ที่ต้องการปรับปรุงพฤติกรรมการกิน โดยบอกว่าให้วางช้อนส้อมและมีดที่เป็นอุปกรณ์ช่วยนำอาหารเข้าปากลง ในขณะที่กำลังเคี้ยวอาหารอยู่
"อย่าถือช้อนส้อมติดมือไว้ตลอดเวลา เพราะจะทำให้คุณกินเร็วโดยไม่รู้ตัว การทำสิ่งง่าย ๆ เช่นวางช้อนส้อมลงบนจานตอนกำลังเคี้ยวและกลืนอาหาร ก่อนจะหยิบมันขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเริ่มตักอาหารคำต่อไป ช่วยชะลอความเร็วในการกินลงอย่างมาก จำไว้ว่าอันดับแรกให้ใช้ช้อนส้อมตักหรือจิ้มอาหาร ก่อนจะนำเข้าปากและวางช้อนส้อมลงระหว่างที่เคี้ยว ปล่อยให้มันอยู่บนโต๊ะหรือบนจานไปแบบนั้น จนกว่าจะเริ่มตักอาหารคำต่อไป" ฮาเซกาวะกล่าว
คำแนะนำลำดับถัดไปคือควรเคี้ยวอาหารจนกว่ามันจะอ่อนนุ่มลง หากสามารถเคี้ยวอาหารให้มีสภาพแหลกเละจนเกือบจะเหลวได้ยิ่งดี "สภาพของเนื้อสัมผัสแบบนั้นคือสัญญาณบ่งชี้ว่า คุณได้เคี้ยวอาหารจนมันละเอียดดีแล้ว ซึ่งการทำเช่นนี้จะชะลอความเร็วในการกินของคุณให้ช้าลงไปโดยปริยาย"
ฮาเซกาวะยังแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งเบี่ยงเบนความสนใจขณะกินข้าว โดยต้องงดเว้นอย่างเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นการจับจ้องมองจอโทรทัศน์ หรือการเล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วยขณะเคี้ยวกลืนอาหาร เพราะจะทำให้ลืมตัวไม่ได้สังเกตว่ากินอาหารเข้าไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว รวมทั้งไม่อาจรับรู้ว่าตนเองกำลังกินเร็วหรือกินช้าอยู่ ดังนั้นการมีสติอยู่กับปัจจุบันจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ดีที่สุด
"พยายามอย่าพูดคุยมากไปขณะกำลังกินข้าว เพราะการสนทนาสามารถเบี่ยงเบนความสนใจของคุณได้เช่นกัน ซึ่งอาจทำให้กินเร็วขึ้นจนแทบจะไม่ได้เคี้ยวโดยไม่รู้ตัว ดังนั้นการพูดให้น้อยจะช่วยให้คุณมีสมาธิอยู่กับการกินได้ตลอดมื้ออาหาร" ฮาเซกาวะกล่าวทิ้งท้ายThank to : https://www.bbc.com/thai/articles/cx20pj8gmxnoAuthor : จูเลีย กรานชี | บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส | 18 เมษายน 2025
|
|
|
19
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘ความตายสีดำ’ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอโยธยา-อยุธยา
|
เมื่อ: เมษายน 19, 2025, 07:13:36 am
|
. กรุงศรีอยุธยามุมกว้างที่มองจากบ้านฮอลันดา ชุมชนสถานีการค้าของชาวยุโรปที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ภาพ "กรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ" โดย ฟาน เดอ อา ในหนังสือ กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง ของ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช สำนักพิมพ์มติชนสุจิตต์ วงษ์เทศ : ‘ความตายสีดำ’ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจอโยธยา-อยุธยาอโยธยาเป็นรัฐเริ่มแรกของคนไทย ชาวสยาม แล้วสืบเนื่องเป็นอยุธยาราชอาณาจักรสยามแห่งแรกของไทย โดยมีหลักฐานวิชาการโบราณคดีและประวัติศาสตร์สนับสนุนเต็มไปหมด ตั้งแต่ผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์, ศรีศักร วัลลิโภดม ฯลฯ ล่าสุด รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล (มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
ส่วนสุโขทัยเติบโตเป็นรัฐจากการหนุนหลังของอโยธธา ดังนั้นสุโขทัยจึงไม่ใช่รัฐเริ่มแรกของคนไทย ชาวสยาม และไม่ใช่ราชอาณาจักรสยามแห่งแรก
“สตอรี่” ของอโยธยา-อยุธยา มีมากนับไม่ถ้วน ล้วนมีพลังดึงดูดนักท่องเที่ยวสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจยาวนาน โดยเฉพาะโรคระบาดในประวัติศาสตร์โลก
BLACK DEATH ตามหลักฐานวิชาการที่รับรู้ต่อๆ กันมาคือกาฬโรค หรือ “ความตายสีดำ” อยู่ในประวัติศาสตร์โลก เริ่มระบาดครั้งใหญ่ในยุโรปแล้วแพร่ไปทั่วโลกถึงจีน และอุษาคเนย์ ผู้คนล้มตายเป็นก่ายกองเมื่อช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 1889-1894
@@@@@@@
การระบาดของ BLACK DEATH ตรงกับไทยในแผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดี กษัตริย์รัฐอโยธยาตอนปลาย ต่อเนื่องสถาปนารัฐอยุธยา
อโยธยาเป็นรัฐเริ่มแรกของคนพูดภาษาไทย เรียกตนเองว่าไทย เป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โลก ย่อมหนีไม่พ้นการระบาดของความตายสีดำ จึงมีคนตายมากทั้งเจ้านายและประชาชน ซึ่งคนสมัยนั้น (ยังไม่รู้จักวิทยาศาสตร์) เชื่อว่าเป็นการกระทำของผี ซึ่งเรียก “ผีห่า” ต้องแก้เคล็ดด้วยการย้ายที่อยู่ หมายถึงย้ายศูนย์กลางอำนาจ แล้วเรียกนามเมืองที่ผูกขึ้นใหม่ว่า “กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา” เรียกสั้นๆ ว่า “อยุธยา”
BLACK DEATH เหตุการณ์ประวัติศาสตร์โลกที่กระทบถึงไทยสมัยอโยธยา-อยุธยา
ส่วนประวัติศาสตร์ไทยกระแสหลักไม่รับรู้ BLACK DEATH จึงไม่มีกาฬโรคระบาดในประวัติศาสตร์ช่วงรอยต่อ แต่กลับสร้างสตอรี่เป็นเอกเทศว่า “อหิวาต์ระบาด” ซึ่งขัดแย้งหลักฐานภูมิภาคและประวัติศาสตร์โลก
BLACK DEATH ในประวัติศาสตร์โลก มีหลักฐานในหนังสือร้อยพันเรื่องราวในประวัติศาสตร์โลก (สำนักพิมพ์มติชน พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2567) ซึ่งควรร่วมกันทำความเข้าใจเรื่องจริงของโลก ที่ส่งผลสะเทือนถึงไทยในประวัติศาสตร์การสลายตัวของอโยธยาและการตั้งต้นของอยุธยา
“ความตายสีดำ” เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจเป็นนิรันดร์ให้อโยธยา-อยุธยา แต่ไฉนผู้หวังรวยเฉพาะหน้ามุ่งทำลายซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่จบสิ้นที่อโยธยา-อยุธยา ดังมีเหตุการณ์ต่อไปนี้
@@@@@@@
ยกเลิกพื้นที่สีเขียว-ทำอุตสาหกรรม
ด้านตะวันออกของเมืองอโยธา-อยุธยาเป็นทุ่งนาโล่งกว้างไกล แหล่งปลูกข้าวสมัยอโยธยา-อยุธยา เคยถูกเรียก “ทุ่งหลวง” (พบในนิราศเจ้าฟ้ากุ้งของสุนทรภู่)
มีวัดวาอารามและชุมชนสืบเนื่องสมัยอโยธยา-อยุธยา เคยเป็นสนามรบหลายครั้งหลายหน และเคยมีประวัติศาสตร์ทับซ้อนหลายยุคหลายสมัย
เคยมีกฎหมายเป็นพื้นที่สีเขียวเพื่อเกษตรกรรม แต่ยกเลิกไปเพื่อทำเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งเท่ากับทำลายหลักฐานประวัติศาสตร์อโยธยา-อยุธยานับไม่ถ้วน ที่ควรรักษาคุณค่าเพื่อสร้างมูลค่าทางการท่องเที่ยวตลอดกาล จะขอสรุปจากเอกสารทางการมาให้อ่านดังนี้
“จ.พระนครศรีอยุธยา ในระยะประมาณ 37 ปีที่แล้ว ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 เป็นต้นมา การอุตสาหกรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว เพราะมีการคมนาคมสะดวก และอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ รวมทั้งทางรัฐบาลได้ส่งเสริมการลงทุนด้วยการประกาศยกเลิกพื้นที่สีเขียวที่เคยสงวนไว้สำหรับการเกษตรกรรม และกำหนดให้อยุธยาเป็นเขตส่งเสริมการลงทุน
อยุธยาจึงกลายเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม และมีอุตสาหกรรมใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมาย
มีทั้งอุตสาหกรรมบริการ, อุตสาหกรรมการเกษตร, อุตสาหกรรมผลิตอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีพื้นที่เพื่ออุตสาหกรรมประมาณ 60.65 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 2.37 ของพื้นที่จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับภาคเอกชน ได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมที่ จ. พระนครศรีอยุธยา จำนวน 3 แห่ง สวนอุตสาหกรรม 1 แห่ง และเขตอุตสาหกรรมอีก 1 แห่ง
จ. พระนครศรีอยุธยา กำลังเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็วท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ ชาวอยุธยาจะต้องเผชิญกับผลกระทบต่างๆ หลายด้าน”
[จากหนังสือ วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รัฐบาลพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2542 หน้า 9-10] กรุงศรีอยุธยามุมกว้างที่มองจากบ้านฮอลันดา ชุมชนสถานีการค้าของชาวยุโรปที่ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเกาะเมืองอยุธยา ภาพ "กรุงศรีอยุธยาท่ามกลางพายุ" โดย ฟาน เดอ อา ในหนังสือ กรุงศรีอยุธยาในแผนที่ฝรั่ง ของ ธวัชชัย ตั้งศิริวานิช สำนักพิมพ์มติชนทำลายแล้ว ทำลายอีก และทำลายต่อไป
เพิ่งอ่านข้อมูลของ “นายช่าง” ในข่าวสด พบว่ามีความพยายามทำลายอโยธยา-อยุธยาซ้ำอีก จะคัดมาทั้งหมดดังนี้
นอกเกาะเมืองอยุธยา
จากผังเมืองฉบับปี 2552 ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน ระบุถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเกาะเมืองเป็นพื้นที่สีชมพู หรือชุมชนเพื่อการอยู่อาศัย
ปัจจุบันนี้กรมโยธาธิการและการผังเมืองได้จัดทำร่างผังเมืองรวมพระนครศรีอยุธยาขึ้นใหม่ เรียกว่า “โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง” ตั้งแต่ปี 2562 และยังมิได้ประกาศบังคับใช้ได้ ปรับปรุงเป็นร่างผังพัฒนาผังเมืองขึ้น โดยมีสาระสำคัญของการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. ศูนย์กลางพาณิชยกรรมและบริการท่องเที่ยว 2. พื้นที่รองรับการขยายตัวของพื้นที่อยู่อาศัย 3. พื้นที่เพื่อการอนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมของชาติ เพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจด้านท่องเที่ยวในเขตอุทยานประวัติศาสตร์
แต่การกำหนดครั้งนี้ละเลยพื้นที่ที่มีอาคารชุมชนทางประวัติศาสตร์ที่อยู่นอกเกาะเมือง หรือตำบลนอกมือง เช่น หันตรา หรือเมืองอโยธยาเดิมซึ่งมีอาคารโบราณสถานเก่าแก่อยู่เป็นจำนวนมาก กลับเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพื่อการพาณิชยกรรม ซึ่งน่าวิตก
เพราะอยุธยาอยู่ในฐานะเมืองหลวงมีอายุกว่า 400 ปี และมีอายุเกือบ 700 ปีมีเรื่องราวที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ เพื่อเป็นฐานของการพัฒนาสังคม พื้นที่ และวิถีชีวิต เพื่อเป็นแนวทางจัดการการอนุรักษ์
การกำหนดเขตพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์อย่างเดียวจึงไม่พอ จำเป็นต้องมีกฎเกณฑ์ระเบียบในการใช้ประโยชน์ในอาคารเก่า ระเบียบวิธีการบำรุงรักษาและการสร้างอาคารบ้านเรือนที่มีคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งเท่าที่กำหนดไว้ในการพัฒนาเมืองคงไม่พอ จำเป็นต้องมีกฎกระทรวงควบคุมอาคารในพื้นที่นั้นให้ชัดเจนมากกว่าที่กำหนดไว้ในทางผังเมือง
@@@@@@@
เรื่องสำคัญต่อมาคือ การกำหนดแผนผังสำหรับการจราจรขนส่งที่เป็นโครงข่ายสำหรับการท่องเที่ยวที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน ก็จะต้องจัดทำและจัดวางให้ชัดเจน เพราะ ทุกวันนี้ไม่ปรากฏแผนที่ แผนผัง และเรื่องราวที่มาของอาคารทางประวัติศาสตร์นั้นให้มากพอ พร้อมข้อมูลทั้งทางเดินทางและความสัมพันธ์ของโยงใยข้อมูลทางประวัติศาสตร์และสังคมได้ชัดเจน
ต้องกลับไปทำรายละเอียดเรื่องดังกล่าวให้ชัดเจน มิฉะนั้นภายใต้โครงข่ายคมนาคมขนส่ง โครงข่ายสาธารณูปโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน จะเป็นอุปสรรคและข้อขัดข้องที่จะเรียนรู้ความเป็นอยุธยาเมืองที่ยิ่งใหญ่ในอดีตไป
นักท่องเที่ยวประเภทอนุรักษ์ที่อยากเรียนรู้ความเป็นประวัติศาสตร์ของอยุธยา จึงกลายเป็นนักท่องเที่ยวที่ไร้จุดหมาย นอกจากไปดูของเก่าแล้วอุทานชื่นชมพร้อมกับ เหยียบอิฐเก่าไปเท่านั้น
และนั่นคือผังเมืองที่กำลังจะประกาศใช้
งานลอยกระทงล่าสุดนี้ที่เขตอุทยานประวัติศาสตร์ รวมถึงวัดไชยวัฒนาราม การเข้าถึงวัดยุ่งยาก สับสน จนหลงทาง รถติดจนขยับไม่ได้ ที่จอดรถไม่พอ ไม่มีแผนที่เล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ และความสำคัญของพื้นที่ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการให้ความรู้ทางการท่องเที่ยว
หากยังชวนให้คนมาเที่ยวแล้วเจอสภาพอย่างนี้ คงตอบสนองนโยบายของจังหวัดได้ยากว่าจะเพิ่มประสิทธิภาพของการท่องเที่ยวได้อย่างไร
ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : สุจิตต์ วงษ์เทศ | วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 - 16:59 น. ที่มา : คอลัมน์เลาะรั้ว โดย “นายช่าง” ใน ข่าวสด ฉบับวันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2567 หน้า 4) URL : https://www.matichon.co.th/columnists/news_4919668
|
|
|
20
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / คาถาของท่านพระยายม คาถาระงับทุกขเวทนา
|
เมื่อ: เมษายน 19, 2025, 06:33:07 am
|
. คาถาของท่านพระยายม โดยหลวงพ่อฤๅษี วัดท่าซุงผู้ถาม : “คุณแม่ป่วยอาการหนักร่อๆ แร่ๆ ก็อยากจะให้หลวงพ่อช่วยสงเคราะห์ หาวิธีย่อๆ ให้แกตายสะดวกๆ ได้ไหมครับ.?”
หลวงพ่อ : “ฉีดมอร์ฟีนเข้าไป หายปวด ตายไม่ตายไม่เกี่ยว…ยานี้เพียงแค่ระงับทุกขเวทนาเท่านั้น เอายังงี้ดีกว่า ถ้าคนนี้มีความมั่นใจนะ ฉันมีคาถาอยู่บทหนึ่งเป็น คาถาของพระยายม ใช้เยอะได้ผลมาก แต่ระวังให้ดีนะ ถ้าแกหายดีขึ้นแล้วก็แกนั่งบ่น “ไอ้ทรัพย์ของกู ไอ้ทรัพย์ของไอ้นั่น ไอ้ทรัพย์ของไอ้นี่ มึงเอาอันไหนก็เอาไป” นี่ยุ่งเชียวนะ
คือว่า ปี ๒๕๐๘ ฉันไปสอนกรรมฐานที่วัดสะพาน สอนมโนยิทธิเต็มกำลังน่ะ แล้วก็บังเอิญเจ้าอาวาสน่ะเป็นโรคทรมาน เป็นแล้วแน่นทะลึ่งพรวดๆ ใช่ไหม…แล้วไอ้ตอนกลางวันวันหนึ่งฉันนอนอยู่ พระยายมท่านก็มา ท่านเจ้าอาวาสท่านชื่อ สำเภา บอกว่า
“อย่างโรคท่านสำเภานี่ คาถาเขามี ระงับทุกขเวทนาได้ แต่ว่าคาถาของผมกันให้ไม่ตายไม่ได้ รักษาโรคให้หายก็ไม่ได้ แต่เวทนาจะไม่มี”
@@@@@@@
คาถาท่านมี ๕ คำ คือ นะ โม พุท ธา ยะ เท่านี้เองนะ ฉันใช้มาเยอะแล้วมีผลจริงๆ แล้วท่านอาจารย์สำเภาจะตายใช่ไหม…แน่นทะลึ่งพรวดๆ เห็นเข้าก็ไปเป่า แต่ก่อนจะเป่าให้คนเขาจุดธูปบอกพระพุทธเจ้าก่อนนะ ขออาราธนาบารมีแล้วบอกพระยายม ก็ใช้ไม่ถึง ๒ นาทีก็เงียบสงบ เวลาเป่าอยู่นั้นสงบมาก พอเลิกเดี๋ยวโดดอีกแล้ว เขาเอาไปใช้หลายคนได้ผล
แล้วมีครั้งหนึ่งไปที่โรงพยาบาลตำรวจ บังเอิญคนเขาถูกยิงด้วยลูกซอง กระสุนก็จมลงไปไม่ลึกมาก หมอก็ดึงกระสุนออก แกไม่ฉีดยาชา เสียงโอ้ยๆๆ ผู้อำนวยการคนเก่าเขาเจอเข้า เขาเลยบอก “หลวงพ่อช่วยคนนั้นเขาหน่อยครับ”
ไอ้ฉันก็ไม่มีอะไรใช่ไหม ฉันไม่มีอะไร ก็เลยนึกถึงคาถาพระยายมได้ ฉันไม่ได้รับรองนะว่ามีผลแค่ไหน ก็ไปยืนอยู่ทางด้านหัวแก ก็นึกถึงคาถาพระยายม ไม่ถึง ๒ นาทีแกก็คุย หมอก็ดึงไปเรื่อย แกก็ยิ้มก็คุยตลอดเวลา ต่อมาเขาก็ไปถามว่าเป็นอย่างไร เขาบอกตอนนั้นมันรู้สึกหนึบๆ ธรรมดาไม่เจ็บอย่างแต่ก่อน
คาถาบทนี้มีประโยชน์มาก ทุกคนอนุญาตให้ใช้ได้นะ แต่ว่าก่อนที่จะใช้นี่ให้จุดธูปบอกพระพุทธเจ้าก่อน ขอบารมีท่านนะ ทั้ง ๕ พระองค์ แล้วบอกพระยายมผู้ให้ เป่าไม่ลงแรงมากนะ นึกในใจเฉยๆ นี่ให้ไปแล้วหลายสิบรายการได้ผล ป่วยกระสับกระส่ายนี่ได้ผลมากนะ สงบนะ สบายมาก สรุปแล้วคือ ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น ใช้ “นะโมพุทธายะ” แล้วอย่าลืมนึกถึงพระพุทธเจ้ากับพระยายมนะ
ท่านบอกว่าคนนี้เวลาตายไม่ตกนรกแน่ ท่านเอาบัญชีมาให้ดู บุญเก่าเขาดีมาก ถ้าบังเอิญทุกขเวทนาบรรเทาลง ให้ใช้เทปที่เกี่ยวด้วยพระนิพพานให้ฟัง ฟังได้ ได้ยินแน่ ท่านบอกว่าถึงยังไงได้ยินแน่ เพราะคนนี้กำลังบุญดีมาก ถ้าฟังที่เกี่ยวกับพระนิพพานแล้วจะไปเลย จะไปจุดนั้นเลย ถ้าตายนะ ถ้าไม่ตายก็แล้วไป
แต่ว่าไอ้ทุกขเวทนาที่มีอยู่ ถอยหลังจากชาตินี้ไม่นับนะ ๓ ชาติถอยหลังไป ๓ ชาติ ทรมานแมว ตีแมวเจ็บมากไปหน่อย ขาลากไป คือตีแล้วมันเจ็บ แล้วเราไม่ได้รักษามัน มันก็มาสนอง
และท่านสั่งว่า ทุกคนถ้าจะใช้คาถาบทนี้ ให้เอาพระพุทธรูปมาตั้งใกล้ๆ คนป่วย ให้คนป่วยเห็นง่ายๆ แล้วจะมีผลมาก แล้วท่านจะใช้กำลังท่านช่วยด้วย
คาถาต่างๆ นี่ ถ้าเจ้าของไม่ช่วยด้วยนี่ ได้ผลไม่ถึง ๑๐ เปอร์เซ็นต์ กำลังท่านช่วย พระพุทธเจ้าท่านช่วย และพระอริยะต่างๆ ท่านก็บอกให้ทำตามนั้น และก็ทุกคนทุกรายที่จะทำนะ”ขอขอบคุณ :- เรื่อง : คาถาของท่านพระยายม เขียนบน 11 พฤศจิกายน 2014 โดย ศูนย์พุทธศรัทธา จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้า ๑๐๔-๑๐๗ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) website : https://buddhasattha.com/คาถาของท่านพระยายม/
|
|
|
21
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / บันทึก "เที่ยวเมืองนรก" ของ นางบุญชู ศรีผ่อง | ที่มาของ "คาถาคุ้มภัย"
|
เมื่อ: เมษายน 18, 2025, 10:34:09 am
|
. เที่ยวเมืองนรก : บันทึกโดย นางบุญชู ศรีผ่อง อดีตครูโรงเรียนวัดจุฬามณี ตายครั้งแรกพบชาย ๔ คนมารับ
วันนั้นเป็นวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๙๕ ข้าพเจ้าได้ไปทำกิจวัตรประจำวันของข้าพเจ้า คือเป็นครูน้อยประจำโรงเรียนประชาบาล ต.สามโก้ ๔ (วัดมงคลธรรมนิมิตร) อ.วิเศษไชยชาญ จ.อ่างทอง ตามปกติ แต่วันนั้นเป็นที่ข้าพเจ้ารู้สึกเกียจคร้าน ไม่มีกำลังใจที่จะสอนเด็ก และประกอบกับความง่วงผิดปกติ ซึ่งข้าพเจ้าก็ไม่ได้ไปอดนอนที่ไหนมา แต่เป็นเพราะเหตุใดไม่ทราบทำให้ข้าพเจ้าง่วงอยากจะหลับอยู่เสมอ
ในวันนั้นเลยเป็นเหตุให้จิตใจของข้าพเจ้าไม่เป็นปกติ แต่ข้าพเจ้าก็จำทนสอนต่อไปจนหมดเวลา ๑๕.๑๕ น. ซึ่งเป็นเวลาเลิกทำการสอน พอปล่อยเด็กกลับบ้านแล้ว ข้าพเจ้าก็เดินมาบ้านซึ่งห่างจากโรงเรียนประมาณ ๓ เส้นเศษ ข้าพเจ้ามาถึงบ้านก็เริ่มผลัดเปลี่ยนเครื่องแต่งตัว และปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน คือ หุงข้าว กวาดบ้าน ถูบ้าน และอาบน้ำตนเองและบุตร
เมื่อเสร็จงานบ้านแล้วข้าพเจ้าก็นำเสื่อมาปูและนอนเล่นกับบุตร ๒ คน ในขณะนั้นเวลา ๑๖.๓๐ น.เศษ ต่อมาข้าพเจ้าหลับไปเมื่อไรไม่ทราบ มารู้สึกตัวต่อเมื่อตัวข้าพเจ้าเองมายืนอยู่ใต้ร่มไม้ มีร่มมะพร้าว ขนุน มองดูสวยงามมาก มะพร้าวและขนุนกำลังมีผลดก แต่ข้าพเจ้าก็ไม่ทราบว่า ที่ข้าพเจ้ายืนอยู่นี้เป็นที่ใด
ข้าพเจ้ามองดูไปรอบๆ ตัวของข้าพเจ้า บังเอิญสายตาของข้าพเจ้าก็มองไปพบถนนสายหนึ่ง ยาวเหยียดไปข้างหน้า ด้วยความอยากรู้ ข้าพเจ้ายกเท้าจะเดินไปเที่ยวถนนสายนั้น แต่ยังมิทันที่เท้าของข้าพเจ้าจะถูกกับถนน ข้าพเจ้าก็ต้องสะดุ้ง เพราะได้ยินเสียงพูด แต่เสียงดังเหลือเกิน ดังคล้ายตวาด
@@@@@@@
เสียงนั้นดังมาจากข้างหน้าของข้าพเจ้า ว่า “อ้อ…บุญชู เหมาะเลย มาเถิด นายให้มารับ ถึงเวลาแล้ว”
ข้าพเจ้าได้ยินดังนั้นก็บอกเขาว่า “ไม่ไปหรอก” พร้อมกับผละออกวิ่งทันที
แต่ชายทั้ง ๔ คนมารับก็เดินตาม และพูดว่า “ถึงเวลาแล้ว ไม่ไปไม่ได้”
ข้าพเจ้าก็หันไปบอกเขาว่า “ลุงไปบอกกับนายเถิดว่าฉันผลัดไปก่อน ฉันยังไม่ไปหรอก”
แต่เขาก็ตอบมาอีกว่า “ผลัดกับข้าไม่ได้ เอ็งต้องไปผลัดเอง”
เมื่อหมดทางเลี่ยง ข้าพเจ้าจึงบอกว่า “ถ้าเช่นนั้นต้องคอยก่อนฉันต้องไปบอกคนทางบ้านเสียก่อน เพราะที่มาเที่ยวนี้ไม่มีใครรู้”
แล้วข้าพเจ้าก็เดินมาหน้าบ้าน และเดินเข้ารั้วบ้านขึ้นบันไดไป ก็พบว่าบนบ้านสว่างไปด้วยตะเกียงเจ้าพายุ และมีชาวบ้านมานั่งกันอยู่เต็มบ้านพร้อมทั้งร้องไห้ ข้าพเจ้าขึ้นบันไดได้ก็ผละวิ่งจากตรงบันไดไปหาสามีของข้าพเจ้าซึ่งนั่งอยู่ข้างๆ หมอ ข้าพเจ้าเสียหลักสะดุดชายเสื่อล้มลงไป
@@@@@@@
เมื่อข้าพเจ้าลุกขึ้นมา ชาวบ้านใกล้เคียงที่มานั่งอยู่บนบ้าน ข้างๆ ข้าพเจ้านั้น ต่างพากันถอยหลังหนีไปรวมกันอยู่หน้าครัวหมด และก็ต่างชิงถามกันว่า “ครูฟื้นแล้วหรือ ครูไม่ตายหรือ ครูไม่ได้หลอกพวกฉันไม่ใช่หรือ”
ข้าพเจ้าก็บอกพวกนั้นว่า “อย่ากลัวฉันเลย แต่ฉันอยากจะพูดอะไรด้วยสักหน่อยแล้วก็จะต้องไป เพราะเขามารับฉันแล้ว ฉันอยู่ไม่ได้ ฉันยังไม่อยากตาย ขอผลัดเขา เขาไม่ยอม เขาบอกให้ไปผลัดกับยมบาลเอง ฉันจึงจะต้องไป และฉันขอร้องด้วยทุกๆ คนว่า ขอให้เก็บศพฉันไว้ ๓ วันก่อน ถ้าไม่กลับหมายความว่าเขาไม่ยอม จึงค่อยจัดการเผา”
พอดีได้ยินเสียงสุนัขหอนขึ้น และข้าพเจ้าได้ยินเสียงเรียกข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจึงบอกว่า “โน่นเขาเร่งมาแล้วฉันไปละ ลาก่อนทุกๆ คน”
นายเจ็กที่เป็นหมอแกจึงเอาธูปเทียนมาให้ข้าพเจ้า และบอก “พระอรหัง พระอรหัง” ตอนนี้ข้าพเจ้าเกือบจะหมดสติแล้ว รับคำพระอรหังได้ ๒ ครั้งก็หมดสติวูบไป มารู้สึกตัวว่าตัวของข้าพเจ้าเองได้มาเดินอยู่บนถนนสายนั้นเสียแล้ว
ตายครั้งที่ ๒ พบยมบาล
ในระยะที่ข้าพเจ้าฟื้นและตายไปใหม่นี้ คือฟื้นตอนประมาณ ๒๒.๐๐ น. และตายไปใหม่ประมาณ ๒๒.๐๖ น. ตลอดทางที่เดินไปนั้นข้าพเจ้าอยู่ตรงกลาง มีคนขนาบข้าง ๒ คน และอยู่หน้า ๒ คน หลัง ๑ คน เดินมาพักใหญ่จึงมาพบโต๊ะตั้งอยู่ข้างทางเดิน มีอาหารหลายชนิดตั้งอยู่บนโต๊ะ มีเหล้า ข้าว หมู ไก่ ขนมจีนน้ำยา และขนมอีกหลายชนิด
คนทั้ง ๔ ตรงเข้าไปที่โต๊ะและเรียกข้าพเจ้าว่า “บุญชูยังไม่ได้กินข้าว มากินเสียซี”
ข้าพเจ้าก็ตรงเข้าไปกินกับเขา เมื่ออิ่มแล้วก็ถามเขาว่า “ของของใคร นี่เรามากินของของเขาไม่ว่าเอาหรือ.?”
คนที่มีท่าทีว่าเป็นหัวหน้าบอกข้าพเจ้าว่า “ไม่มีใครว่าหรอก เพราะเซ่นผีไว้ อีก ๒ วัน ข้าจะกลับมาเอา”
ข้าพเจ้าถามเขาว่า “บ้านใครเล่า”
เขาตอบว่า “โน่นยังไงเล่า บ้านนางหล่ำ หัวตะพาน เขาทำบุญต่ออายุไว้ อีก ๒ วันเถิดข้าจะมาเอาตัวไป”
ข้าพเจ้ามองตามมือก็เห็นบ้านหลังนี้อยู่ข้างๆ บ้านๆ หนึ่งมีลูกกรงสีเขียว ต่อจากบ้านนางหล่ำมาอีกพักใหญ่ จึงพบขบวนคนยืนอยู่สองฟากถนน ต่างไชโยโห่ร้องรับข้าพเจ้า และร้องบอกกันว่า “พวกเรามาอีกคนแล้วโว้ย”
ข้าพเจ้าบอกกับเขาว่า “ฉันไม่มาเป็นพวกแกหรอก”
@@@@@@@
พวกนี้ส่วนมากไม่นุ่งผ้ากันเลย จากพวกนี้ไปก็ถึงสวนดอกไม้ใหญ่ ดอกนั้นสวยมากเป็นทองคำทั้งดอก ใบเป็นสีเขียวเป็นมันเหมือนมรกต ข้าพเจ้าตรงเข้าไปเก็บบ้าง ก็ถูกห้ามไม่ให้เก็บ เขาบอกว่า ถ้ายังอยากจะกลับละก้ออย่าไปเก็บ ถ้าเก็บแล้วเอ็งจะกลับไม่ได้ ข้าพเจ้าต้องเดินผ่านมาด้วยความเสียดาย
ต่อจากนี้มีบ้านเล็กๆ เป็นแถว ข้าพเจ้ารู้สึกสงสัยเพราะน้อยบ้านนักที่จะมี ๒–๓ คน โดยมากบ้านละ ๑ คน บางบ้านมีคนอยู่ใต้ถุนเต็มไปหมด ข้าพเจ้าถามก็ได้ความว่า ที่บางบ้านมีคนอยู่มากบ้างน้อยบ้าง เกี่ยวกับทำบุญของแต่ละบุคคล บางคนทำบุญไว้ดี ก็ได้อยู่บ้านสวยงาม บางคนร่วมกันทำบุญสร้างด้วยกันทำพร้อมกันก็ไปอยู่บ้านเดียวกัน บางคนทำบุญ แต่ก่อนที่จะทำว่าเขาเสียก่อน ทำโดยไม่ตั้งใจจะทำก็ไปอาศัยใต้ถุนเขาอยู่
ต่อจากบ้านที่มีเรียงรายไปอีกไกล เดินพักใหญ่ก็พบลานกว้างใหญ่ มีต้นไทรขนาด ๒๐ คนโอบ มีแท่นหินและโต๊ะหินอยู่โคนต้นไทร มีชายคนหนึ่ง ดำ ผมหยิกตาพอง รูปร่างใหญ่โตนั่งอยู่บนแท่นหินนั้น
ชายทั้ง ๔ และข้าพเจ้าเดินมาถึงตรงนี้ ก็ถูกเรียกว่า “เฮ้ย…พามาตรงนี้ซิ มาถามไถ่กันดูก่อน อีนี่ดื้อนักเรียกไม่ค่อยจะมา”
ข้าพเจ้าและชายทั้ง ๔ จึงเดินเข้าไปหยุดตรงหน้า พอข้าพเจ้าเงยหน้าขึ้นดูก็รู้สึกดีใจว่า ยมบาลคนนี้รูปร่างเหมือน นายเชย สิงหมี ผู้ใหญ่บ้านที่ข้าพเจ้ารู้จัก จึงถามว่า “อ้าว…ตาเชยมาเมื่อไหร่เล่า”
แต่กลับถูกตวาดว่า “เชยๆ อะไร เอ็งรู้จักข้าตั้งแต่เมื่อไร”
@@@@@@@
ทำให้ข้าพเจ้าเงียบเสียงทันที แต่ก็ยังนึกสงสัยว่า ยมบาลนี่ถ้าไม่ชื่อเชย ทำไมรูปร่างจึงเหมือนผู้ใหญ่เชยจริงๆ คล้ายกับจะเป็นลูกฝาแฝดทีเดียว แต่ยมบาลตัวใหญ่มาก ข้าพเจ้าจะพูดกับยมบาลต้องแหงนหน้าดู ข้าพเจ้ายืนอยู่ตรงหน้าคล้ายกับเอาลูกหนูไปยืนอยู่ตรงหน้าวัวตัวเขื่องๆ ทีเดียว
“เอ็งทำไมดื้อนัก ข้าให้คนไปรับยังวิ่งหนี”
ข้าพเจ้าตอบไปว่า “ฉันเป็นห่วงลูกเพราะลูกยังเล็กอยู่”
คราวนี้ยมบาลสะดุ้งทันที ร้องว่า “อ้าวพวกมึงทำไมไปทำระยำอย่างนี้เล่า ผิดตัวเสียแล้ว อีนั่นมันไม่มีลูกนี่หว่า”
เสร็จแล้วก็ไปพลิกบัญชีดู และบอกว่า “อีคนนั้นชื่อ บุญชู จิตทอง บ้านต้นโพธิ์ หมู่ ๑ จังหวัดสิงห์ฯ ตายเวลาตี ๑ ครึ่ง เป็นไข้ทับระดูตาย อีนี่ตายตั้งแต่ ๕ โมงเย็นเป็นลมตาย ไม่ใช่ๆ ผิดตัว เอ็งจัดแจงเตรียมไปเอาอีคนนั้นมา” เดินชมสภาพเมืองนรก
พอ ๔ คนนั้นเตรียมตัวไป ยมบาลก็หันหน้ามาบอกข้าพเจ้าว่า “จะดูอะไรก็ดูเสียประเดี๋ยวจะให้เขาเอากลับไปส่ง”
ข้าพเจ้าจึงเดินดูเห็นทนายความคนหนึ่งกำลังขึ้นต้นงิ้ว ต้นงิ้วนี้น่ากลัวมาก คือสูง แหงนมองเห็นยอดลิบๆ หนามไม่ยาว แต่พอขึ้นไปหนามยาวออกเองได้ แทงทะลุท้อง ทะลุอกออกมา ตายอยู่กับหนาม เขาก็เอาคีมเหล็กจับตรงเอว ดึงออกมาวางตรงโคนต้น เอาน้ำในโอ่งใหญ่มาราดแล้วก็กลับฟื้นขึ้นมาอีก จะเลี่ยงไม่ได้ เพราะใต้ต้นก็มีทหารถือหอกคอยแทง
ข้าพเจ้าเห็นผู้หญิงคนหนึ่งขึ้นต้นงิ้ว ซึ่งข้าพเจ้ารู้จัก ชื่อม้วน จึงถามเขาว่า “เอ๊ะ…ผู้หญิงก็ขึ้นต้นงิ้วด้วยหรือ?”
เขาบอกว่า “ทำไมเล่า มันนอกใจผัว ไปเป็นชู้กับตาหอม” ต่างขึ้นๆ ลงๆ อยู่เช่นนั้น
ข้าพเจ้ายังได้พบชายอีกคนหนึ่งซึ่งข้าพเจ้าเคยรู้จัก ชื่อนายเปลื่อง จินดาวัด ถูกตัดนิ้วด้วนกุดหมด ถามได้ความว่าชอบยิงนกในวัดเสมอ บางคนก็เคยทุบหัวควาย ก็ถูกล่ามโซ่และถูกเชือดเนื้อเสียงร้องอู้ๆ น่ากลัวมาก ข้าพเจ้ามองดูด้วยความหวาดเสียว
พอข้าพเจ้าเดินดูต่อไปอีก ก็ได้ยินเสียงยมบาลบอกกับข้าพเจ้าว่า “หิวข้าวก็ไปกินซี่ ของเราอยู่โน่น”
@@@@@@@
ข้าพเจ้าจึงเดินไปดู เห็นโต๊ะใหญ่ตัวหนึ่ง มีของเกือบเต็ม มีขันใส่ข้าว ซึ่งข้าพเจ้าจำได้ว่า ขันลูกนี้ข้าพเจ้าเคยใส่ข้าวไปใส่บาตร ข้าวยังเต็มขัน และควันร้อนขึ้นฉุยอยู่ ทั้งๆ ที่ขันลูกนี้ ข้าพเจ้าจำได้ว่าอยู่ที่บ้านของข้าพเจ้า หม้อแกง ถ้วย ชาม ถาด ที่ข้าพเจ้าพบที่นี่ ก็ยังอยู่บ้านข้าพเจ้าทั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีน้ำขวดตั้งโต๊ะ
ข้าพเจ้าจึงถามเขาว่า “เอ๊ะ…ของฉันทำไมมีน้ำครึ่งขวดเท่านั้นเล่า และบางโต๊ะทำไมไม่มี”
เขาบอกว่า “พวกเมืองมนุษย์นั้นเต็มที มันไปทำบุญมันเอาข้าวกับขนมไปทำเท่านั้น มันไม่เอาน้ำมาทำบุญ มันจึงต้องอดน้ำ”
ข้าพเจ้าได้ถามถึงวิธีทำบุญด้วยน้ำ ก็ได้ความว่า ให้เอาน้ำไปใส่ขวดหรือขันที่ตั้งอยู่หน้าพระสงฆ์ เมื่อใส่บาตรเสร็จแล้วจึงกรวดน้ำแผ่กุศลต่อไป น้ำที่นำไปใส่ขวดหรือขันนี่แหละจึงจะได้กินน้ำ ถ้ามิฉะนั้นแล้วจะไม่ได้กินน้ำ ข้าพเจ้าจึงบอกกับเขาว่า ฉันได้กลับมา จะมาบอกพวกชาวบ้าน พบบัญชีคนตาย
เมื่อข้าพเจ้าเดินออกมาตรงโต๊ะอาหาร ยมบาลก็โยนบัญชีมาให้ข้าพเจ้าดู ในบัญชีนั้นมีตัวหนังสือใหญ่ๆ แผ่นกระดาษใหญ่เท่ากับแผ่นกระดานดำที่สอนเด็ก ข้าพเจ้ามองดูมีชื่อคนมาก แต่ข้าพเจ้าก็พยายามจำแต่คนที่ข้าพเจ้ารู้จัก จำมาได้ดังนี้ คือ
๑. บุญชู จิตทอง ตีหนึ่งครึ่ง ไข้ทับระดู ๕ กุมภาพันธ์ ๙๕ ๒. นางหล่ำ ๗ กุมภาพันธ์ ๙๕ ๓. นางฉาย บุญวงศ์ ๔ มีนาคม ๙๕ ๔. นายแม่น ทองสติ ๔ กรกฎาคม ๙๕ ๕. นายปลอด สีสิงห์ อีก ๒ ปี (๔ กุมภาพันธ์ ๙๗)
ข้าพเจ้าจะขอเปิดดูอีก แต่เขาไม่ยอมให้เปิด เขาบอกว่า “เอ็งหมดสิทธิ์ที่จะเปิดแล้ว เอ็งเป็นคนใจบุญเปิดไม่ได้หรอก เดี่ยวไปเที่ยวบอกเขาหมด เมื่อก่อนนี้เอ็งเป็นคนทำบัญชีให้ข้า ข้าคิดถึงเอ็ง อีก ๕ ปี ข้าจะให้ไปรับ เพราะเอ็งจะลำบากอีกมาก”
ข้าพเจ้าบอกว่า “อีก ๕ ปี ฉันไม่มาหรอก”
@@@@@@@
ยมบาลหัวเราะแล้วพูดว่า “เอ็งอยากลำบากก็ตามใจเอ็ง แต่ถ้าเอ็งไม่มา เอ็งต้องบวชลูกให้ข้า ข้าก็จะไม่ไปรับเอ็ง”
“แต่ว่าจะให้คาถาเอ็งไว้ป้องกันตัวบทหนึ่ง เอ็งพยายามท่องอยู่เสมอ อันตรายและความลำบากจะลดน้อยลงไป คาถานี้เอ็งบอกให้ทั่วๆ ไปเถิด เอาบุญ เพราะต่อๆ ไปในเมืองมนุษย์จะยุ่งใหญ่ เอ็งคอยจำนะ ข้าจะบอกให้ ก่อนท่องตั้ง นะโม เสียก่อนนะ แล้วท่อง จะลงจากบ้านหรือจะนอน ท่องอยู่เสมอๆ จะคุ้มภัยเอ็งได้”
ปะโตเมตัง ปะระชิวินัง สุขะโต จุติ จิตะเมตะ นิพพานัง สุขะโต จุติ
ข้าพเจ้าจำไว้เพื่อนำมาบอกยังมนุษยโลกต่อไป และก็เป็นที่น่าแปลกว่า ข้าพเจ้าได้ฟังเพียงครั้งเดียวก็จำได้ พบ “บุญชู” ตัวจริง
และก็พอดีเขานำ บุญชู จิตทอง มา บุญชูคนนี้กับข้าพเจ้ารูปร่างเหมือนกันมาก ข้าพเจ้าได้ยินเสียงยมบาลดุบุญชูว่า
“เอ็งนี่จะตายแล้วยังจะก่อเวร ไปลักพุทราเขามากินและผิดสำแดงพุทรา จึงตาย”
แล้วเขาก็สั่งให้ตีบุญชู ข้าพเจ้ารู้สึกกลัวจริงๆ เพราะการทรมานต่างๆ ของขุมนรกนี้เป็นที่นาหวาดเสียวมาก เมื่อบุญชูคนโน้นถูกตีด้วยหวายแล้ว ยมบาลก็สั่งให้ชายทั้ง ๔ นำข้าพเจ้ามาส่ง
มาระหว่างทาง ชายคนหนึ่งซึ่งมีท่าทางคล้ายกับเป็นหัวหน้า ได้เตือนข้าพเจ้า “อย่าลืมนะ อีก ๕ ปี เอ็งต้องบวชลูกให้พวกข้า”
ข้าพเจ้ารับคำ แต่แล้วข้าพเจ้าก็ต้องผละออกเดินห่างจากแก เพราะเวลาแกพูดมีหนอนร่วงออกมาจากปากมาก จึงถามแกว่า “ลุงจ๋า ลุงซื่ออะไรทำไมลุงจึงเป็นดังนี้”
แกก็บอกว่า “ข้าชื่อเอื้อม คนดอนรัก(คนในตำบลดอนรัก) ไปถามดูเถิดมีคนรู้จัก ลูกข้าชื่อไอ้เจือ เมื่อก่อนข้าเลี้ยงช้าง ได้เงินค่าจ้างเดือนละตำลึง เงินเหลือข้าก็ซื้อเหล้ากิน ผลแห่งการกินเหล้านี่แหละหนอนจึงกินปากข้า”
พอมาถึงบ้าน ข้าพเจ้าเข้าบ้านไม่ได้ เพราะล้อมสายสิญจน์และซัดข้าวสารไว้ จนกระทั่งลุงเอื้อมแกจับข้าพเจ้าเหวี่ยงโครมขึ้นมาบนบ้าน ทำให้บ้านไหวยวบ คนหนีกันหมด เหลือแต่ลูกสาวของข้าพเจ้าอายุได้ ๔ ปีนั่งอยู่และถามข้าพเจ้า “แม่ไม่ตายหรือ” พอบอกว่าไม่ตายหรอก จึงได้เรียกขึ้นมาบนบ้าน ข้าพเจ้ารู้สึกใจหายเพราะตอนที่ฟื้นมานี้เป็นเวลา ๘.๐๕ น.เศษ และต่อโลงเสร็จเรียบร้อยแล้ว
@@@@@@@
พวกชาวบ้านและพระขอร้องให้ข้าพเจ้าเล่าให้ฟ้ง และข้าพเจ้าได้ถามถึงลุงเอื้อม ก็ได้ความว่าเป็นพี่ชายนายทัน ผู้ใหญ่บ้าน และตายไปประมาณ ๓๐ ปีแล้ว ผู้มีชื่ออยู่ในบัญชี ข้าพเจ้าก็นำมาเล่าให้ชาวบ้านและพระฟังจนหมด
และต่อมาเมื่อวันที่ ๗ นางหล่ำตาย วันที่ ๔ มีนาคม นางฉายตาย วันที่ ๔ กรกฎาคม นายแม่นตาย ต่อมาคนสุดท้ายนายปลอด สีสิงห์ กำหนด ๒ ปี พอครบก็ตายพอดี แต่ก่อนตายแกไปเที่ยวขุดละลายหัวคันนาที่แกเคยรุกเขา มาคืนให้เจ้าของหมด
และต่อมาชายคนหนึ่งทางห้วยคันแหลม ได้สั่งลูกหลานไว้ หลังจากข้าพเจ้าฟื้นมาแล้ว “กูตายไปละก้อ มึงเอาขวานใส่โลงไปให้กูด้วย กูจะเอาขวานไปโค่นต้นงิ้ว”
พอตายลูกหลานก็เอาขวานใส่ไปให้จริงๆ ต่อมาแกกลับมาเข้าทรงเด็กๆ ให้ไปขุดขวานขึ้น แกบอกว่า “ไม่ไหวละ มันเอาขวานทุบหัวเสียอีกด้วยซิ แทนที่จะเอาขวานไปโค่นต้นงิ้ว”
ในที่สุดพวกลูกต้องไปขุดเอาขวานขึ้น.
(จบบันทึกของครูบุญชูไว้เพียงแค่นี้ เรื่องตายแล้วฟื้นนี้มีประสบเหตุการณ์หลายราย การที่ไปพบเห็นในสภาพต่างๆ คล้ายๆ กันนั้น ก็เป็นไปตามอำนาจของบุญกุศลของผู้นั้น หรือแล้วแต่เจ้าหน้าที่เขาจะอนุญาตให้พบเห็นได้ แต่ก็พอเป็นข้อพิสูจน์ได้ว่า คนเราตายแล้วไม่สูญ นรกสวรรค์มีจริง ทำกรรมดีได้ดี ทำกรรมชั่วได้ชั่วอย่างแน่นอน)
ขอขอบคุณ :- เรื่อง เที่ยวเมืองนรก โดยครูบุญชู ศรีผ่อง เขียนบน 11 พฤศจิกายน 2014 โดย ศูนย์พุทธศรัทธา จากหนังสือ หลวงพ่อตอบปัญหาธรรม ฉบับพิเศษ เล่ม ๔ หน้า ๙๐-๑๐๑ (หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง) website : https://buddhasattha.com/เที่ยวเมืองนรก-ครูบุญชู/
|
|
|
22
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ทำไมการ ‘จัดบ้านใหม่’ ทำให้ใจเราพองโต?
|
เมื่อ: เมษายน 18, 2025, 10:13:37 am
|
. ทำไมการ ‘จัดบ้านใหม่’ ทำให้ใจเราพองโต.?Summary
การจัดบ้านใหม่เป็นโอกาสให้เราได้เคลียร์ของ กระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ เปลี่ยนมุมมองต่อมุมเดิมๆ ที่เราเห็นทุกวัน และทำให้เรารู้สึกว่าเราควบคุมชีวิตตัวเองได้ นี่เองคือเหตุที่การแต่งบ้านจึงกลายเป็นสิ่งที่ทำให้หัวใจของเราพองโตได้ ‘บ้าน’ เป็นพื้นที่ที่มักมอบความมั่นคงให้เรา
ในอุดมคติ หลังจากเราใช้เวลาและพลังงานไปกับการเผชิญโลกภายนอกที่ไม่แน่นอน เมื่อเราเดินกลับเข้าบ้าน (ที่อาจจะเป็นบ้านเดี่ยว หรือห้องเช่าใดๆ ก็ได้) เราจะรับรู้ได้ถึงความเคยชิน ความนิ่ง และความคุ้นเคย เรารู้ว่าของเครื่องใช้อะไรอยู่ที่ไหน เรารู้ว่ามุมไหนที่เราใช้พักผ่อนได้ เรารู้จักเตียงของเราดีกว่าที่เรารู้จักเพื่อนคนไหนในโลก
แม้ความแน่นิ่งของบ้านจะเป็นสิ่งที่เราถวิลหา รู้หรือเปล่าว่าหนึ่งในการฮีลใจที่ทำได้ง่ายที่สุดคือการ ‘จัดบ้านใหม่’ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเราต้องเสียเงินซื้ออะไรเพิ่มเข้ามาเติมใส่บ้านเราเลย แค่จับนั่นจับนี่ย้ายที่เล็กน้อยก็สามารถบูสต์อารมณ์ความรู้สึกของเราได้แล้ว
ในห้วงเวลาแบบนี้ที่เกิดเหตุให้พื้นที่ปลอดภัยของเราสั่นคลอนและมีเหตุให้เราต้องขยับย้ายเฟอร์นิเจอร์ไปไว้ตรงนั้นตรงนี้ ถือว่าเป็นโอกาสดีๆ ที่เราจะมาเข้าใจตัวเอง ว่าทำไมการจัดบ้านใหม่ทำให้เรารู้สึกดีได้ โดยพื้นฐานที่สุด การจัดบ้านใหม่เป็นโอกาสให้เราได้เคลียร์ของ งานวิจัยมากมายบอกว่าสมองไม่ชอบเวลาพื้นที่ของเรารกรุงรัง การมองเห็นของวางระเกะระกะทำให้เราต้องใช้กำลังในการเพ่งโฟกัสมากขึ้น โฟกัสซึ่งเราควรจะได้เก็บไว้ใช้ทำอย่างอื่น เช่น คิดงานหรือทำงานสร้างสรรค์
พูดถึงงานสร้างสรรค์ การจัดบ้านใหม่สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์ของเราได้ด้วย เฟอร์นิเจอร์ต่างๆ ภายในบ้านย่อมมีข้อจำกัดของมัน บางชิ้นก็ใหญ่ไป บางอย่างก็เป็นบิวท์อิน การได้ใช้สมองแก้ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ นี้สามารถมอบความรู้สึกเติมเต็มให้กับเราได้ นอกจากนั้นมันยังเป็นโอกาสให้เราได้พิจารณาหน้าที่ของพื้นที่ในบ้านอีกด้วย เช่น เราอาจจะอยากเปลี่ยนห้องรับแขกของเราจากพื้นที่ที่เอาไว้ดูทีวี ให้กลายเป็นที่ที่แขกมารวมตัวและสื่อสารกัน เราเลยหาเก้าอี้จากตรงนั้นตรงนี้มาเพิ่ม แล้ววางมันตรงข้ามกับโซฟา
แต่เวลาเราจัดห้องเราไม่ได้นึกถึงเพียงประโยชน์ใช้สอยเท่านั้น แต่เราพิจารณาสิ่งที่จะชุบชูหัวใจของเราได้ด้วย เช่น การย้ายโต๊ะทำงานมาให้ห้องที่มีแสงแดดอ่อนๆ การหยิบของตกแต่งเล็กๆ น้อยๆ ที่มีสีสันมาประดับไว้ในห้องที่เคยเรียบ หรือการนำต้นไม้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่ ก็ทำให้ความรู้สึกของห้องเราเปลี่ยนไป การปรับเปลี่ยนพื้นที่เหล่านี้ทำให้กิจวัตรประจำวันของเราเปลี่ยนแปลงไป จากที่เรารู้อยู่แล้วว่าตื่นเช้ามาเราต้องเดินไปหยิบของตรงนี้ แล้วไปนั่งตรงนั้น แต่อยู่ดีๆ สมองเรากลับต้องประมวลอะไรใหม่ๆ เพราะทุกอย่างย้ายที่ไปหมดแล้ว การปรับเปลี่ยนผังของห้องด้วยการเรียงเฟอร์นิเจอร์ใหม่สามารถกระตุ้นสมองของเราให้ทำงานต่างไปจากเดิม ทำให้วันของเราสดใหม่ขึ้นมา
ที่สำคัญที่สุดคือการจัดบ้านใหม่ทำให้เรารู้สึกว่าเราควบคุมชีวิตตัวเองได้ การจัดห้องใหม่หลังภัยพิบัติที่ทำให้เรารู้สึกว่าบ้านไม่ปลอดภัย สามารถช่วยให้เราได้รู้สึกเป็นเจ้าข้าวเจ้าของของพื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง และแม้ว่าจะต้องผจญโลกภายนอกที่เราไม่อาจควบคุมได้ เรายังเหลือพื้นที่ที่แสดงออกความเป็นเรารออยู่เสมอ
นอกจากนั้น การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ตรงนี้ก็แปลได้ว่าตัวตนของเรานั้นไม่แน่นิ่งตลอดกาลอีกด้วย การจัดห้องใหม่เป็นเหมือนเครื่องเตือนใจว่าความเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่เพียงที่ปลายนิ้วขอขอบคุณ :- creator : ทัศนา พุทธประสาท | 4 เม.ย. 68 Thairath Plus › Everyday › Life Live & Learn › Lifestyle URL : https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/105329อ้างอิง : neurolaunch.com, psychologytoday.com, racgp.org.au
|
|
|
25
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / ‘ปิดโหมดเครียด’ ด้วย Relaxation Response และกิจกรรมเล็กๆ ที่ตัดเสียงรบกวน
|
เมื่อ: เมษายน 15, 2025, 07:09:44 am
|
. ‘ปิดโหมดเครียด’ ด้วย Relaxation Response และกิจกรรมเล็กๆ ที่ตัดเสียงรบกวนทั้งภายนอกและภายใน Summary
• เรามักได้ยินว่าวิธีการรับมือกับสถานการณ์กระทบกระเทือนจิตใจ คือการ 'พยายามฟื้นคืนกิจวัตรของตัวเอง' แต่มันเป็นสิ่งที่ทำยากกว่าพูด หลายๆ คนจึงต้องการตัวช่วย หนึ่งในตัวช่วยนั้นคือการทำกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้เกิดปฏิกิริยา Relaxation Response หรือการปิดโหมดเครียด  เมื่อเราอ่านคู่มือวิธีรับมือกับสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ โดยเฉพาะภัยพิบัติที่ขัดขวางการใช้ชีวิตของเรา คำแนะนำที่โผล่ขึ้นมาบ่อยๆ คือ ‘พยายามฟื้นคืนกิจวัตรของตัวเอง’
เป็นคำแนะนำที่เข้าใจได้ ในระหว่างที่เราพยายามรักษาจิตใจของตัวเอง กิจวัตรของเราก่อนหน้าจะถูกเหตุการณ์เหล่านั้นขัดขวาง ทำหน้าที่เหมือนหมุดหมายที่เราอยากจะไปให้ถึง อย่างไรก็ตาม เมื่อเราลองทำดูจริงๆ การหวนคืนสู่กิจวัตรที่เราเคยทำทุกวันนั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายกว่าทำอย่างมาก เพราะเรายังมีความวิตกกังวลเล็กๆ น้อยๆ ยังมีห้วงอารมณ์แปลกประหลาดที่เรายังไม่สามารถสลัดหลุดออกจากตัวอยู่
นอกจากเรื่องที่อยู่ภายใน ยังมีปัจจัยภายนอกอีก ทั้งข่าวสารที่กระตุ้นความกังวลแต่ก็จะไม่ตามก็ไม่ได้ โซเชียลมีเดียที่ไหลไปไม่หยุดพาอารมณ์ความรู้สึกมากมายมาหาเรา แถมยังมีคนรอบข้างที่เราต้องคอยดูแล
ดูเหมือนว่ากว่าเราจะไปถึงจุดที่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติ เราอาจต้องอาศัยตัวช่วยหลายๆ อย่าง บางคนอาจต้องการความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญ บ้างก็อาจจะต้องทำโซเชียลดีท็อกซ์บางรูปแบบ หรือสำหรับบางคน เราอาจจะต้องลองเสริมอะไรใหม่ๆ เข้ามาในกิจวัตรของเราด้วย ก่อนหน้านี้ไทยรัฐพลัสเคยพูดถึงวิธีการเช่น การ Grounding ผ่านการใช้งานศิลปะมาเป็นตัวช่วยมาก่อน แต่อีกหนึ่งรูปแบบกิจกรรมที่เราสามารถนำเข้ามาใช้ไ้ด้คือ กิจกรรมที่ใกล้เคียงกับการทำสมาธิ
@@@@@@@
การทำสมาธิที่ว่าเราไม่ได้หมายถึง การหลับตานั่งฟังบทสวดมนต์ และไม่ได้หมายความถึง Guided Meditation ที่มีครูคอยบรรยายสิ่งที่เราต้องทำเพื่อให้เราจดจ่อ แต่เราหมายความถึงกิจกรรมที่จะ ‘ปรับโหมด’ สมองเราชั่วขณะ ให้เราตัดสิ่งรอบข้างออก แต่ก็ไม่ถึงกับทำให้เราหัวโล่งจนจมอยู่กับความคิดของตัวเอง
ตัวอย่างของกิจกรรมแบบที่ว่าคือการถักไหมพรม การประกอบโมเดลพลาสติก การชงชา ฯลฯ ซึ่งเมื่อมองดูโดยผิวเผิน ดูไม่มีจุดร่วมอะไรกันเลย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นกิจกรรมที่ส่งผลกระทบแบบเดียวกันต่อสมองของเรา นั่นคือมันทำให้ร่างกายเราเกิดปฏิกิริยาชื่อว่า ‘Relaxation Response’
โดยปกติแล้ว เมื่อเราเครียด ร่างกายจะเข้าสู่โหมด ‘สู้หรือหนี’ (Fight or flight) ที่ร่างกายจะปล่อยฮอร์โมนทำให้เราหัวใจเต้นเร็ว ความดันเลือดสูง หายใจถี่ ที่เป็นอย่างนั้นเพราะว่าร่างกายคิดว่าเรากำลังตกอยู่ในอันตรายและเราต้องตัดสินใจทุกอย่างอย่างรวดเร็ว
แม้ว่า Fight or flight จะทำให้เราเอาชีวิตรอดจากสถานการณ์อันตรายได้ ในชีวิตประจำวันของเราความเครียดไม่ได้มาจากสัตว์นักล่าอย่างเดียวอีกต่อไป มันอาจจะมาจากอีเมลที่เจ้านายส่งมาทวงงาน หรือจากห้องแชตของเพื่อนที่งานเราเพราะเราไม่ได้ตอบ และบ่อยครั้งร่างกายของเราตีความความเครียดเกินความพอดี ซึ่งทำให้เราเหนื่อยจากการเข้าโหมดนี้อย่างไม่สมเหตุสมผล
@@@@@@
เฮอร์เบิร์ต เบนสัน ผู้ก่อตั้งสถาบัน Harvard’s Mind/Body Medical Institute คือผู้บัญญัติคำว่า Relaxation Response ขึ้นในหนังสือของเขา เขาเรียกมันว่าเป็นขั้วตรงข้ามของ Fight or flight response และเป็นเหมือนการกดปิดการตอบสนองสู้หรือหนี ซึ่งสามารถทำได้ผ่านทั้งการหายใจเข้าออกเป็นจังหวะและการเล่นโยคะ และการทำกิจกรรมแบบการถักไหมพรมได้ด้วย
เหตุที่การถักไหมพรมถึงมอบความผ่อนคลายให้กับเรา เป็นเพราะว่าการเคลื่อนมือเป็นท่าทางซ้ำไปซ้ำมาทำให้หัวใจเราเต้นช้าลง ความดันเลือดต่ำลง และลดฮอร์โมนที่ก่อความเครียด เช่นเดียวกันกับเวลาเราเล่นโยคะ
หากใครเคยถักไหมพรมหรือทำกิจกรรมที่ใช้กล้ามเนื้อมือเล็กๆ น้อยๆ ที่ไม่ซับซ้อนแบบนี้ จะเข้าใจความรู้สึกดังกล่าว มันเป็นกิจกรรมที่เปลี่ยนห้วงความคิดของเรา ในขณะที่เราจดจ่ออยู่กับงานคราฟต์ตรงหน้า เราก็ไม่ได้นึกถึงมันในระดับที่เครียดหรือกดดัน คิดเพียงว่าเราจะถักไปทิศไหน ลายอะไร ยาวเท่าไหร่
หากใครที่ต้องการเวอร์ชั่นที่คิดน้อยยิ่งกว่าการถักไหมพรมที่เรามีอิสระทำยังไงก็ได้ การประกอบโมเดลพลาสติกก็มักมาพร้อมกับคู่มือ ที่เราเพียงทำตามได้สบายๆ ไม่ต้องคิดอะไรมาก หรือถ้าใครเป็นสายของกิน การพักสมองด้วยการชงชาเขียวและชงกาแฟก็สามารถทำให้เราเข้าโหมดนี้ได้
เราโฟกัสกับสิ่งเล็กๆ ตรงหน้าของเราเกินกว่าจะไปเล่นมือถือหรือไปคิดมากต่อปัญหาชีวิต จนเรียกได้ว่ามันอนุญาตให้เราตัดเสียงรบกวนทั้งภายนอกและภายในได้ในชั่วขณะหนึ่ง
@@@@@@@
อีกเหตุผลที่การใช้วิธีทำสมาธินี้แตกต่างจากวิธีการอื่นๆ คือปลายทางเราจะได้บางอย่างออกมา อาจมาในรูปแบบหมวกไหมพรม ผ้าห่มนุ่มๆ ชาเขียวอร่อยๆ หุ่นยนต์พลาสติกตัวน้อย หรือรถถังคันจิ๋วสักคัน การได้รับผลผลิตเช่นนั้นออกมาสามารถเพิ่มพูนความพอใจในตัวเองและได้สะกิดต่อมความคิดสร้างสรรค์ของเรา
เพราะอย่างนี้เองเราอาจจะสามารถ ‘ถักทอ’ นำกิจกรรมเช่นนี้เข้าไปอยู่ในกิจวัตรประจำวันของเราอาจช่วยลดความเครียดของเรา มีห้วงเวลาที่เราไม่ต้องสนใจเรื่องราวต่างๆ ในโลกสักชั่วโมงสองชั่วโมง และช่วยเป็นอีกก้าวในการเดินหน้ากลับสู่กิจวัตรเดิมของเราได้ ใครจะรู้ ระหว่างทางเราอาจจะได้รับงานอดิเรกใหม่ๆ มาอยู่ในมือก็ได้
แล้วถ้าวิธีนี้ไม่เวิร์คสำหรับเรา ก็ไม่ได้เสียหายอะไรเลย เพราะว่าอย่างน้อยเราก็ได้ของเจ๋งๆ ที่เราสรรค์สร้างขึ้นมาเองอยู่ในมืออยู่ดี ขอขอบคุณ :- creator : ทัศนา พุทธประสาท | 3 เม.ย. 68 Thairath Plus › Everyday Life › Live & Learn › Lifestyle URL : https://plus.thairath.co.th/topic/everydaylife/105327อ้างอิง : researchgate.net, journals.sagepub.com, aarp.org, nytimes.com, psychologytoday.com
|
|
|
26
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นักวิชาการเผย จารึกวัดดังสะท้อนว่า อโยธยามีมาก่อนอยุธยาจริง ไม่ใช่เมืองในตำนาน
|
เมื่อ: เมษายน 15, 2025, 06:04:52 am
|
. นักวิชาการ เผย จารึกวัดดัง สะท้อนว่า อโยธยา มีมาก่อนอยุธยาจริง ไม่ใช่แค่เมืองในตำนานนักวิชาการ เผย จารึกวัดอินทารามวรวิหาร เขตธนบุรี สะท้อนว่า อโยธยา มีอยู่จริง มีมาก่อนอยุธยา ไม่ใช่แค่เมืองในตำนาน ไม่ได้มโน
กรณีวัดอินทารามวรวิหาร แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี ค้นพบจารึกบนฐานพระพุทธรูปศิลปะสุโขทัย ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในเก๋งจีน ศาลารายของพระอุโบสถ ปรากฏคำสำคัญว่า ‘ศรีอโยธยา’ รวมถึงนามบุคคลในพงศาวดาร ระบุศักราชตรงกับ พ.ศ.1974 ในรัชกาลเจ้าสามพระยา แห่งกรุงศรีอยุธยา เผยแพร่คำอ่านอย่างไม่เป็นทางการ โดย รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล และผศ. ธนโชติ เกียรติณภัทร อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ความคืบหน้า เมื่อวันที่ 13 เม.ย.68 รศ.ดร.รุ่งโรจน์ ภิรมย์อนุกูล อาจารย์คณะมนุษยศาสตร์ ม.รามคำแหง ผู้เข้าบันทึกภาพและอ่านจารึกดังกล่าว กล่าวว่า หนึ่งในความสำคัญของจารึกนี้ในมุมมองของตน คือ การร่วมยืนยันถึงการมีอยู่จริงของ ‘อโยธยา’ ซึ่งมีมาก่อนกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือ แม้คำว่าศรีอโยธยาในจารึกนี้ จะหมายถึงกรุงศรีอยุธยาอย่างแน่นอน แต่สะท้อนถึงความทรงจำในชื่อเมืองเดิมก่อน พ.ศ.1893 เนื่องจากจารึกนี้ ไม่ใช่จารึกของราชสำนักส่วนกลาง แต่เป็นของมูลนายหรือชนชั้นนำ ของศรีสัชนาลัยในสมัยอยุธยาตอนต้น เพราะฉะนั้นเป็นไปได้หรือไม่ว่า ยังคงติดกับชื่อเก่าของกรุงศรีอยุธยา นั่นคืออโยธยา “อโยธยาเป็นชื่อเก่าก่อน พ.ศ.1893 ต่อมาเมื่อย้ายราชสำนักมาอยู่ที่หนองโสน ก็เปลี่ยนชื่อเป็นอยุธยา แต่คนแถบข้างนอก ยังเรียกชื่อเดิมตกค้างอยู่ ไม่ต้องยกตัวอย่างไกลมาก เนื่องจากกรณีเช่นนี้ เอกสารทางล้านนา เชียงใหม่ที่เขียนขึ้นในช่วงหลัง ก็ยังเรียกอยุธยาว่าอโยธยา ส่วนพม่าสมัยมังระ ยกทัพมาตีอยุธยา แผ่นดินพระเจ้าเอกทัศน์ ก็ยังเรียกโยเดีย คืออโยธยาอยู่เลย แต่ถ้าเป็นเอกสารที่ออกจากราชสำนักอยุธยาเอง ก็เรียกอยุธยาหมดแล้ว เช่น ในพระอัยการต่างๆ”
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าว
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวด้วยว่า คำว่าศรีอโยธยายังปรากฏในจารึกอื่นๆ ในอยุธยา เช่น จารึกลานทอง วัดส่องคบ จังหวัดชัยนาท ยุคต้นกรุงศรีอยุธยา เขียนด้วยอักษรขอม ภาษาไทย สะท้อนว่าเป็นชื่อที่ขุนนางในหัวเมืองยังคงเรียกอยู่
“เอาง่ายๆ กรุงเทพฯ คือกรุงรัตนโกสินทร์ สุนทรภู่ ยังเรียกว่าอยุธยาอยู่เลย ส่วนการบอกว่าคำว่าอโยธยากับอยุธยาคือคำเดียวกันนั้น นั่นคือกวีโวหาร แต่ปัญหาคือทำไมบางครั้งเรียกอโยธยา บางครั้งเรียกอยุธยาเป็นเพราะย้ายเมืองใช่หรือไม่ ผมไม่เถียงว่า คำว่าอโยธยา ในจารึกสมัยอยุธยา ไม่ว่าจะเป็นจารึกวัดส่องคบ รวมถึงจารึกที่ฐานพระพุทธรูปสุโขทัยที่วัดอินทาราม ซึ่งพบใหม่นี้ หมายถึงกรุงศรีอยุธยา แต่ผมมองว่า มันสะท้อนถึงการเคยมีอยู่จริงของอโยธยา ที่มีมาก่อนอยุธยาไม่ใช่แค่เมืองในตำนาน ไม่ได้มโน”
รศ.ดร.รุ่งโรจน์ กล่าวขอบคุณ : https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_971757513 เม.ย. 2568 - 18:01 น.
|
|
|
27
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บันทึกกรรมฐาน โดย สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
|
เมื่อ: เมษายน 14, 2025, 09:23:43 am
|
. อริยสัจจ์ ๔การอบรมในวันนี้ จะสืบต่อจากที่ได้กล่าวมาแล้วถึงโพชฌงค์ แต่จะย้อนกล่าวเพื่อให้อนุสนธิกันว่า การปฏิบัติในสติปัฏฐานนั้น ทำทางสมถะและทำทางวิปัสสนา ในหมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต ดำเนินทางสมถะ ครั้นถึงหมวดธรรมก็เริ่มมาทางวิปัสสนา
แต่เมื่อปฏิบัติทางสมถะ ก็อาจพิจารณา ในหมวดนิวรณ์ หมวดขันธ์ หมวดอายตนะ ให้รู้ลู่ทางเกิดของสังโยชน์ ของนิวรณ์ แล้วก็กลับมาตั้งจิตไว้ในอานาปานสติ เมื่อจะมีอะไรมาทำให้วอกแวกนั้น แล้วก็กลับมาตั้งจิตไว้ในสมาธิ จนจิตตั้งมั่นแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ ซึ่งเมื่อแน่วแน่มาก ก็เข้าถึงขั้นฌาน ตามลำดับขั้นตามที่กล่าวมาแล้ว
คราวนี้ ในขั้นปฏิบัติต่อไป ก็น้อมจิตที่เป็นสมาธินั้นมาดำเนินทางวิปัสสนาโดยตรง การดำเนินทางวิปัสสนาโดยตรงนั้น จะต้องพิจารณาขันธ์อายตนะ เพราะว่าขันธ์อายตนะนี้เป็นภูมิ เป็นภาคพื้นของวิปัสสนา เมื่อกำหนดขันธ์ ดูอายตนะ สติก็จะตั้งมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ และจะสืบต่อมาโดยลำดับ จนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ได้กล่าวแล้ว อุเบกขานั้น ก็คือการดูธรรมนั้น ก็หมายถึงว่าดู ปัญจขันธ์นั้น ดูที่ไหน ก็ดูที่จิต จิตที่ตั้งมั่น
ฉะนั้น จะกล่าวว่าดูที่จิตตั้งมั่นก็ได้ เมื่อจิตตั้งมั่น ตั้งมั่นในอะไร ตั้งมั่นอยู่ใน ปัญจขันธ์ ก็จะพบปัญจขันธ์ ความจริงของปัญจขันธ์ก็จะปรากฏ ความจริงของปัญจขันธ์นั้นคือเกิดดับ รูปขันธ์ในอดีตก็เกิดดับมาโดยลำดับ ในปัจจุบันก็เกิดอยู่ในปัจจุบัน ในอนาคตก็จะเกิดดับในอนาคต
@@@@@@@
แต่ว่าดูในปัจจุบันเท่านั้น ลมหายใจเข้าก็เกิด ออกก็ดับ อิริยาบถต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เท่ากับเกิดดับอยู่เสมอ อาการ ๓๑ หรือ ๓๒ รวมเข้าก็เป็นธาตุธาตุ ๔ หรือธาตุ ๕ นี้ก็เกิดดับอยู่เสมอ แต่เพราะมีสันตติ คือความสืบต่อตามลำดับ จึงไม่ปรากฏ แต่ถ้าพิจารณาก็อาจปรากฏได้
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ก็เกิดดับอยู่เสมอ เมื่อเห็นความเกิด เห็นความดับชัดเจนขึ้น ทุกขสัจจ์ ความจริงคือ ทุกข์ก็ปรากฏขึ้น เมื่อดูที่ทุกขสัจจะ สมุทัยสัจจะก็ปรากฏ คือ อัตตาหรือเรา ซึ่งยึดอยู่ที่ปัญจขันธ์ ยึดนี้เป็นอุปาทาน ยึดด้วยอะไร ยึดด้วยตัณหา ตัณหาอุปาทานก็ปรากฏ
และเมื่อสมุทัยสัจจะปรากฏหน้าตาขึ้นแก่ปัญญาที่ดูอยู่กิเลสนั้น มีปกติต้องหลบหน้าปัญญา เหมือนอย่างของไม่จริงหรือของปลอม เมื่อรู้ว่าจริง ความปลอมปรากฏขึ้น ก็ไม่เป็นที่ต้องการ เมื่อดูอยู่ รู้หน้าตาของสมุทัย สมุทัยก็จะสงบ นิโรธคือความดับก็ปรากฏขึ้น
สมุทัยปราฏขึ้นแก่อะไร ปรากฏขึ้นแก่ความรู้ ความรู้นั้นก็เป็นรู้ปล่อย ความรู้วางก็ปรากฏขึ้น เป็นมรรค ซึ่งเมื่อประมวลถึงอาการทั้งปวงของมรรค ก็เป็นองค์ ๘ คือ เมื่อจะดูความรู้ความเห็นนั้น ก็เป็นสัมมาทิฏฐิ เมื่อจะดูความดำริ ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ เมื่อจะดูความปกติกายปกติวาจา ก็เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ ดูความเป็นอยู่ ก็เป็นสัมมาอาชีวะ ดูความเพียรที่ปฏิบัติอยู่นั้น ก็เป็นสัมมาวายามะ ดูตัวสติของตนในเวลานั้นก็เป็นสัมมาสติ ดูความตั้งใจมั่นก็เป็นสัมมาสมาธิ ประกอบกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มรรคสัจจะก็ปรากฏขึ้น
เมื่อปฏิบัติให้สัจจะทั้ง ๔ ปรากฏขึ้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวดังนี้ ถ้าความปรากฏขึ้นนั้นเป็นกุปปธรรม ก็ชื่อว่าได้รับผลที่ยังเป็นกุปปธรรม ถ้าความปรากฏขึ้นนั้นเป็นอกุปปธรรมก็ได้รับผลที่เป็นอกุปปธรรม แต่แม้ว่าได้รับผลที่เป็นกุปปธรรม คือ ยังกำเริบได้ ก็ยังชื่อว่าได้รู้ทางดำเนิน และได้รับความสุขอันเกิดจากการปฏิบัติ
การบรรยายในวันนี้ จึงเป็นอันว่าจบสติปัฏฐาน หมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต และหมวดธรรม สติปัฏฐานนี้เป็นหนทางอันเอก คือเป็นทางดำเนินอันเดียว เพื่อวิสุทธิ คือ ความหมดจดซึ่งจะทำให้ล่วงโสกะ ปริเทวะ ดับทุกข์โทมนัส เป็นทางที่จะให้ดำเนินไปเพื่อญายธรรม เพื่อนิพพาน
เพราะฉะนั้น จึงเป็นพระสูตรที่ควรจะสนใจ ควรจะเข้าใจและควรที่จะได้ปฏิบัติ เมื่อได้ปฏิบัติอยู่เสมอ จะทำให้ได้ประสบรสของพระพุทธศาสนา ผู้ที่รู้สึกจืดชืดในพระพุทธศาสนา เกิดความเบื่อหน่ายดังที่เรียกว่า อนวิรติ ในพระพุทธศาสนา สงสัยในพระพุทธศาสนา ก็เพราะไม่ได้พิจารณาให้เข้าใจในสติปัฏฐานไม่ได้ลองปฏิบัติ แต่ถ้าหากพิจารณาให้เข้าใจและลองปฏิบัติดูจนได้รับรสในการปฏิบัติบ้างแล้ว ก็จะเห็นค่าของพระพุทธศาสนายิ่งนัก
จบการอบรมกรรมฐานเพียงเท่านี้
(-จบแล้วครับ-)
|
|
|
28
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บันทึกกรรมฐาน โดย สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
|
เมื่อ: เมษายน 13, 2025, 08:24:17 am
|
. โพชฌงค์วันนี้จะกล่าวถึงการปฏิบัติทางจิตสืบต่อไป ได้กล่าวมาแล้วในหมวดกาย หมวดเวทนา หมวดจิต และหมวดธรรมะถึงข้อให้กำหนดอายตนะ ซึ่งมีแนวการปฏิบัติเนื่องกันมาโดยตลอดด้วย ตั้งจิตให้เป็นสมาธิอยู่ในอารมณ์ข้อหนึ่ง ให้เป็นหลักอารมณ์ที่ให้ตั้งเป็นหลักไว้นั้น คือ อานาปานสติ สติกำหนดลมหายใจเข้าออก แต่ก็ให้กำหนดตรวจกายให้ทั่วๆ ไปด้วย แล้วมาพักอยู่ที่ส่วนอานาปานะ
เมื่อประสบเวทนาอันใด เมื่อจิตเป็นอย่างใด ก็ให้รู้ เพื่อมิให้เป็นอันตรายแก่สมาธิในอานาปานสติ ประคองอานาปานสตินั้น และก็ให้ตรวจดูอาการของจิต คือ ว่าแยกออกไปจากจิต คือ ดูนิวรณ์ในจิต ที่ล่อแหลมอยู่ ก็คือ ง่วงกับฟุ้ง ดังที่กล่าวแล้ว
นอกจากนี้ก็สงสัย แต่ถ้ามีสติตื่นอยู่ ง่วงก็จะไม่เกิด ฟุ้งก็จะไม่เกิด และเมื่อคอยระงับตัณหา คือ ตัวอยากที่จะประสบผลไว้ สงสัยก็ไม่เกิด ประคองอานาปานสตินั้นไว้ และก็สำรวจดูขันธ์ดูอายตนะสืบต่อไป พอให้รู้ทางเกิดของนิวรณ์ แต่ในขั้นนี้ก็พอให้รู้ลู่ทางไว้เท่านั้น ต้องการให้ประคับประคองอานาปานสติไว้ให้เป็นจุดเดียว ไม่เช่นนั้นก็จะฟุ้งซ่าน ใจแตกไม่รวม
@@@@@@@
คราวนี้จะย้อนมาเตือนให้ระลึกถึงหลักของการปฏิบัติที่ทิ้งไม่ได้ คือ
อาตาปี มีความเพียร ไม่เกียจคร้านย่อหย่อน ตั้งสัจจะว่าจะทำก็ต้องทำ
สมฺปชาโน มีความรู้ ไม่ให้เผลอตัว ให้รู้ตัวทั้งที่เป็นส่วนรูปกาย ให้รู้ว่านั่งอยู่อิริยาบถอย่างไร อาการอย่างไร ให้รู้นามกาย ความคิดเป็นอย่างไร สติเป็นอย่างไร ความกำหนดเป็นอย่างไร
สติมา มีสติ คือ มีสติกำหนดอยู่ที่ลมหายใจเข้าหายใจออก ไม่ปล่อยให้สติเลื่อนลอย เมื่อจะเลื่อนลอยไป ก็ต้องชักกลับเข้ามาคุมสติให้อยู่ที่
และ เนยฺย โลเก อภิชฺฌาโทมนสฺสํ กำจัดความยินดียินร้ายในโลก โดยเฉพาะ ก็คือ เมื่อเกิดความยินดีอะไรขึ้นในขณะปฏิบัติ เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ปรากฏนิมิตที่ชอบใจก็ตาม ก็ต้องระงับความยินดี เมื่อเกิดความยินร้ายขึ้น เพราะเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เมื่ออึดอัดรำคาญ หรือว่าประสบนิมิตที่ไม่ชอบใจ อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องระงับความยินร้ายนั้น ความคิดก็ตาม อารมณ์ก็ตาม นิมิตก็ตาม อันใดอันหนึ่งที่ปรากฏขึ้นที่จะล่อให้ยินดียินร้าย ก็ต้องละทั้งหมด
หลักอันนี้ทิ้งไม่ได้ คนที่ทำการปฏิบัติแล้วสติเสียไป ก็เพราะเหตุว่าทิ้งหลักอันนี้
ทำไม่สำเร็จ ก็เพราะขาดอาตาปี มักจะสะดุ้งเหมือนอย่างเป็นโรคประสาท ก็เพราะขาดสัมปชาโน ใจลอย คือ ยิ่งทำสมาธิไปยิ่งเป็นคนใจลอยเผลอไผล ก็เพราะขาดสติมา ป้ำเป๋ออะไรไปบ้าง ก็เพราะขาดการกำจัดความยินดียินร้าย ในความคิด ในอารมณ์ ในนิมิตอะไรที่เกิดขึ้น
เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติแล้ว หลักทั้ง ๔ นี้ทิ้งไม่ได้ ยิ่งทำสมาธิละเอียดขึ้นเท่าใด หลักทั้ง ๔ นี้ก็ต้องละเอียดยิ่งขึ้นเท่านั้น
@@@@@@@
และเมื่อได้ปฏิบัติในสมาธิ ในเบื้องต้นก็จะได้อุปจาร คือว่า สมาธิเฉียดๆก่อน แล้วก็จะได้อัปปนา คือ แนบแน่นเข้า โดยลำดับ ต้องอาศัยอุปกรณ์คือ ๑ วิตก ๒ วิจาร วิตกนั้น ได้แก่ การนำจิตเข้ามาสู่อารมณ์ของสมาธิ ที่เปรียบเหมือนอย่างการเคาะระฆังขึ้นทีแรก วิจารนั้น ได้แก่ การนำจิตให้คลุกเคล้าอยู่กับอารมณ์ เหมือนอย่างเสียงครางของระฆัง
ในตอนต้นจะต้องใช้วิตกวิจารอยู่เรื่อย คือ เมื่อชักจิตเข้ามาอยู่กับอารมณ์ จิตก็มักจะหลุดออกไป แลบออกไปโน้น แลบออกไปนี้ ก็คอยคอยชักกลับเข้ามาอยู่เสมอ โดยต้องใช้อยู่เสมอ จนจิตค่อยเชื่องเข้า และค่อยแน่วอยู่กับอารมณ์ของสมาธิ เรียกว่า คลุกเคล้าอยู่กับอารมณ์ของสมาธิ
เมื่อจิตเริ่มคลุกเคล้าเข้ามาดั่งนี้ ก็เริ่มเป็นวิจาร เมื่อค่อยเป็นวิจารขึ้น อันนี้ก็เรียกว่า เริ่มจะได้อุปจาร คือ เฉียดๆเข้ามาแล้ว
เมื่อเฉียดๆเข้ามาดังนี้ ก็เริ่มจะได้ปีติ ความอิ่มกายอิ่มใจ บางทีก็ถึงกับขนลุกซู่ ได้สุข คือ ความสบายกายสบายใจ แต่ก็อย่าให้ฟุ้งไปเพราะปีติ เพราะถ้าสุขฟุ้งไป เพราะปีติเพราะสุข ก็เสียสมาธิ ต้องคอยคุมสติไว้ไม่ให้ฟุ้งไป
เพราะปีติเพราะสุข และเมื่อกายใจเป็นสุข จิตก็จะตั้งมั่นเป็นเอกัคคตา คือ มีอารมณ์เดียว ซึ่งเกิดจากวิเวก คือสงัดจากกาม และจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เพราะในเวลานั้น กามก็สงบไปจากจิต อกุศลธรรมก็สงบไปจากจิต
@@@@@@@
เมื่อถึงขั้นนี้ จึงชื่อว่า ได้อัปปนาสมาธิขั้นแรก เป็นสมาธิที่แน่วแน่ เรียกว่าได้ ปฐมฌาน คือความเพ่งที่หนึ่ง เพราะฉะนั้น ปฐมฌานจึงมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
คราวนี้ เมื่อรักษาเอกัคคตาอันนี้ไว้สนิทแนบเนียนยิ่งขึ้น วิตก วิจาร ก็เลิกใช้ เพราะว่าจิตก็หนึ่งแล้ว ไม่ต้องคอยเฝ้าชักจิตเข้ามาสู่อารมณ์ ซึ่งเรียกว่าวิตก ไม่ต้องคอยเฝ้าประคองจิตไว้ให้แน่วแน่อยู่กับอารมณ์ ซึ่งเป็นวิจาร เพราะว่าจิตแน่วแน่เป็นหนึ่งอยู่ได้แล้ว วิตกวิจารก็หมดหน้าที่ เอกัคคตานั้นก็ละเอียดเข้า เรียกว่าเกิดจากสมาธิ คือความตั้งใจมั่น เป็นเอกัคคตาข้างในเข้า เมื่อถึงขั้นนี้ก็เรียกว่าได้ ทุติยฌาน ความเพ่งที่สอง มีองค์สามคือ ปีติ สุข เอกัคคตา
เมื่อรักษาเอกัคคตาอันนี้ไว้ให้แน่วแน่ยิ่งขึ้น ความรู้สึกซู่ซ่าทางกายทางจิตซึ่งเป็นปีติก็สงบ เพราะว่าความรู้สึกที่เป็นปีตินี้ มีในจิตยังไม่เป็นเอกัคคตาเต็มที่ เมื่อเป็นเอกัคคตาเต็มที่ ปีติคือ ความรู้สึกซู่ซ่าก็กลายเป็นของหายไป ก็สงบไป เมื่อถึงขั้นนี้ก็เป็น ตติยฌาน ความเพ่งที่สาม ซึ่งมีองค์สองคือ สุข กับ เอกัคคตา
เมื่อรักษาเอกัคคตาอันนี้ให้แน่วแน่ยิ่งขึ้น ก็สิ้นความรู้สึกเป็นสุข กลายเป็นอุเบกขา คือ ไม่ทุกข์ไม่สุข เพราะเมื่อยังรู้สึกเป็นสุขอยู่ จิตก็ยังแย่งมารู้สึก ก็แปลว่า จิตยังเป็นสองง่าม คือว่า แน่วอยู่กับอารมณ์ด้วย รู้สึกด้วย เมื่อเอกัคคตาละเอียดเข้า จิตก็มารวมอยู่กับเอกัคคตาอันเดียว ไม่ออกมารู้สึกข้างนอก ลักษณะอันนี้ก็เป็นอุเบกขา คือไม่ทุกข์ไม่สุข เมื่อถึงขั้นนี้ก็เป็นจตุตถฌาน คือ ฌานที่สี่ มีองค์สอง คือ เอกัคคตา อุเบกขา ในทางปฏิบัตินั้น จะปฏิบัติทำสมาธิให้มากเรื่อยขึ้นไปจนถึงฌานชั้นที่สี่ หรือจะเอาแต่ฌานชั้นที่หนึ่งก็ได้ ที่สองก็ได้ ที่สามก็ได้ จิตที่เป็นเอกัคคตาแม้ด้วยฌานชั้นที่หนึ่ง ก็เรียกว่า เป็นจิตที่อ่อน ที่ควรแก่การงาน พอที่จะใช้ปฏิบัติในวิปัสสนาสูงขึ้นไปได้
เพราะฉะนั้น เมื่อถึงขั้นนี้แล้ว ก็น้อมจิตที่เป็นเอกัคคตานั้น ไปจับพิจารณาเบญจขันธ์ที่เคยตรวจดูมาคราวหนึ่งอย่างคร่าวๆ แล้วให้ชัดเจน ตรวจดูอายตนะ ตรวจดูให้รู้จักหน้าตาของเบญจขันธ์ว่า รูปมีลักษณะหน้าตาอย่างไร เวทนามีลักษณะหน้าตาอย่างไร สัญญามีลักษณะหน้าตาอย่างไร สังขารมีลักษณะหน้าตาเป็นอย่างไร
และตรวจดูทางเกิดนามธรรม คือ ทางเกิดของเวทนา สัญญา สังขาร ก็ตรวจสืบไปถึงอายตนะ ดูลักษณะหน้าตาของอายตนะภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย มนะ , ดูลักษณะหน้าตาของอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมะ คือ เรื่องราว นามธรรมเกิดขึ้นอาศัยอายตนะกระทบกัน คือ เกิดอายตนะ
และเมื่อสิ้นวาระ ก็ดับไปคราวหนึ่งๆ เช่นว่า เมื่อตาเห็นรูป ก็เกิดวิญญาณ ความรู้สึกเห็นรูป เกิดเวทนา ความรู้สึกเป็นทุกข์ เป็นสุข หรือเฉยๆ เกิดสัญญา ความจำได้หมายรู้ในรูป เกิดสังขารคือ ความคิดปรุงหรือความปรุงคิดในรูป
ในตอนนี้เอง สังโยชน์คือ เครื่องผูกก็เข้ามาผูกอารมณ์ไว้กับจิต เมื่อผูกอารมณ์ไว้กับจิต ถ้าอารมณ์นั้นเป็นที่ตั้งของฉันทราคะ ก็เกิดกามฉันท์ ถ้าอารมณ์นั้นเป็นที่ตั้งของโทสะ ก็เกิดพยาบาท ถ้าอารมณ์นั้นเป็นที่ตั้งของโมหะ ก็เกิดถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และ วิจิกิจฉา อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอันว่า อายตนะนี้เองนำให้เกิดนามธรรม นำให้เกิดเครื่องผูกจิต คือผูกจิตไว้กับอารมณ์ หรือ ผูกอารมณ์ไว้กับจิต แล้วก็นำให้เกิดนิวรณ์
@@@@@@@
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ตั้งสติมั่นคง ให้เป็นตัว รู้ตัวตื่นอยู่ตามเป็นจริง เมื่อตั้งสติมั่นเป็นตัวตื่นตัวรู้อยู่ดังนี้ ก็เป็น สติสัมโพชฌงค์ขึ้น ก็ย่อมจะเกิดปัญญาวิจัย คือว่า แยกออกได้เป็นส่วนๆ ว่า นี่เป็นเบญจขันธ์คือนามรูป นี่เป็นอายตนะ ภายในภายนอก นี่เป็นสังโยชน์ผูกใจเข้าแล้ว นี่เป็นนิวรณ์ ดูจนวิจัยออกไปได้ดังนี้ ก็เป็นธรรมวิจยสัมโพชฌงค์
เมื่อวิจัยออกไปได้แล้ว ก็ทำหน้าที่ละส่วนที่เป็นกิเลส อบรมส่วนที่เป็นสติให้มากขึ้น แต่ว่าในขั้นนี้นั้น ละเป็นสำคัญ คือ ละส่วนที่เป็นกิเลสออกไปเสีย ด้วยวิธีป้องกันอย่างหนึ่ง ละอย่างหนึ่ง คือ มีสติวิจัยอยู่ อายตนะก็จะไม่เป็นทางก่อกิเลสตั้งต้น แต่สังโยชน์ แต่ว่าถ้าเผลอสติ อายตนะก็จะเป็นทางก่อกิเลสตั้งต้น แต่สังโยชน์ ถ้าก่อขึ้นในใจ ก็ต้องดู ดูให้รู้ว่านี่กิเลส จนกิเลสสงบ ก็ชื่อว่าละด้วยการดูให้รู้ อันนี้เรียกว่าเป็น วิริยสัมโพชฌงค์
เมื่อละกิเลสออกไป ก็ฟอกจิตใจให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ผล คือปีติก็เกิดขึ้น เป็นปีติที่ละเอียด คือเป็นความดูดดื่มใจอันเกิดจากการวิจัยการละส่วนที่เป็นกิเลสออกไป เป็นปีติที่ประกอบด้วยความสุขอยู่ในตัว ทำให้สุขกาย สุขใจ มีความละเอียดยิ่งขึ้น เป็นปีติสุขที่ละเอียดกว่าปีติสุขในสมาธิ อันนี้ก็เป็นปีติสัมโพชฌงค์
เมื่อเป็นปีติสัมโพชฌงค์ ใจก็ตั้งมั่นแน่วแน่ยิ่งขึ้น ก็เป็นสมาธิสัมโพชฌงค์ เมื่อใจตั้งมั่นแน่วแน่ยิ่งขึ้น ก็เพ่งดูธรรมะนั้นด้วยจิต สมาธินั้น คือดูความจริงที่ปรากฏขึ้น กิเลสที่อาศัยอายตนะเกิดสงบ ความจริงของปัญจขันธ์ไม่ปรากฏก็เพราะไม่ดู หรือว่าดู แต่ว่ายังมีฝ้าอยู่ในจิตปิดบังไว้ เมื่อชำระฝ้าในจิตออกไปเสียได้ และใช้จิตที่บริสุทธิ์นั้นดูปัญจขันธ์ ดูลักษณะหน้าตาของปัญจขันธ์นั้นนั่นแหละให้ปรากฏ ความจริงของปัญจขันธ์ก็จะปรากฏขึ้น
ดูอยู่เฉยๆ ไม่ต้องไปตกแต่งความจริง เพราะถ้าไปตกแต่งความจริง เป็นความจริงที่ตกแต่งขึ้นแล้ว ก็ไม่ใช่ความจริงที่แน่แท้ ดูให้ความจริงนั้นให้ปรากฏเป็นความจริงขึ้นเอง ดูที่ไหน ก็ดูที่ปัญจขันธ์อันนี้ เมื่อดูอยู่ด้วยสมาธิจิตที่เป็นสัมโพชฌงค์ ก็เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์
@@@@@@@
ฉะนั้น เมื่อการปฏิบัติมาถึงขั้นนี้ ก็เลื่อนจากสมาธิมาปฏิบัติขั้นปัญญา หรือเลื่อนจากขั้นสมถะมาในขั้นวิปัสสนา เมื่อมาถึงขั้นวิปัสสนาแล้ว ก็ต้องยกปัญจขันธ์ขึ้นเป็นอารมณ์ ในขั้นของสมถะนั้น ยกอานาปานสติเป็นอารมณ์ เมื่อมาถึงขั้นวิปัสสนา ยกปัญจขันธ์ขึ้นเป็นอารมณ์ เมื่อยกปัญจขันธ์เป็นอารมณ์ ก็ดำเนินมาตั้งแต่ขึ้นสติสัมโพชฌงค์เป็นลำดับ จนถึงอุเบกขาสัมโพชฌงค์
พิจารณาตรวจดูแล้ว จะปฏิบัติในสมาธิ หรือจะลองหัดพิจารณาในด้านวิปัสสนาก็ได้ ถ้าพิจารณาในด้านวิปัสสนาก็ยกปัญจขันธ์ขึ้นเป็นอารมณ์ ดูปัญจขันธ์ ดูอายตนะภายในภายนอก ดูสังโยชน์ ดูให้รู้ให้ทั่วถึง แล้วก็วิจัยว่าอันไหนเป็นอะไร เป็นอย่างๆ แล้วก็เลื่อนขึ้นไปเป็นวิริยะ คือว่าละ ละด้วยดูให้รู้ ส่วนที่เป็นกิเลสก็จะสงบ แล้วผลก็เป็นปีติ เมื่อเป็นปีติ เป็นสุขแล้ว ก็จะเป็นสมาธิ เป็นอุเบกขา อุเบกขานั่นก็มิใช่อื่นก็กลับมาดูปัญจขันธ์นั้น ให้ความจริงของปัญจขันธ์ปรากฏ
นี้เป็นแนวปฏิบัติในขั้นวิปัสสนาตามสติปัฏฐาน
|
|
|
29
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / มวลสารวิเศษ พระสมเด็จวัดระฆังฯ คุณค่าดั่งเพชรเม็ดงาม
|
เมื่อ: เมษายน 10, 2025, 07:32:46 am
|
. มวลสารวิเศษ พระสมเด็จวัดระฆังฯ คุณค่าดั่งเพชรเม็ดงามพระสมเด็จวัดระฆังฯ กลุ่มองค์ครูนั้น นอกจากพิมพ์ทรง เส้นสายลายเซ็น ที่มีความเป็นเอกลักษณ์แล้ว เนื้อหามวลสารยังมีลักษณะเฉพาะตัว หรือที่เรียกว่าเนื้อนิยม มีความงดงามโดดเด่น ยากที่จะทำเลียนแบบได้
@@@@@@@
ตรียัมปวาย ได้อธิบายถึงลักษณะเด่นของเนื้อพระสมเด็จฯ ว่าต้องมีลักษณะสำคัญคือ
“พิจารณาได้ง่าย” หรือ “เนื้อจัด” โดยขยายความว่าหมายถึง “ความละเอียด ความนุ่ม ความแกร่ง น้ำหนัก ความหนึก ความฉ่ำ ความซึ้ง การแตกลายงา การแตกลายสังคโลก การลงรักเก่าทองเก่า การลงทองล่องชาดเก่า แป้งโรยพิมพ์ และทรายเงินทรายทอง ...”
ปัจจัยที่มีผลต่อสุนทรียะ หรือความวิจิตรงดงามของพระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่านเจ้าประคุณฯ สมเด็จโตนั้น มีอยู่มากมายหลายประการ “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขอนำเสนอแนวทางพิจารณา โดยเริ่มจากขั้นตอนแรกในการสร้างพระสมเด็จฯ คือขั้นตอนการทำมวลสารวิเศษ ซึ่งมีผลอย่างมากต่อลักษณะของเนื้อพระที่ปรากฏออกมา
ครูอาจารย์หลายท่าน อธิบายไปในทิศทางใกล้เคียงกัน พอสรุปได้ว่า ...
มวลสารที่ใช้สร้างพระนั้น ประกอบด้วย มวลสารหลักคือ ปูนขาวที่ทำจากปูนเปลือกหอย ดินสอพองที่มีใช้มาแต่โบราณกาล มีน้ำมันตังอิ้ว หรือน้ำอ้อย เป็นตัวประสานเนื้อพระเข้าด้วยกัน และยังมีมวลสารย่อย
เช่น เม็ดพระธาตุ (เม็ดปูนขนาดเล็กมีสีขาวออกเหลือง) ปูนเก่าจากพระพุทธรูปที่ชำรุด ก้อนสีเทา เศษอิฐแดง (บางท่านสันนิษฐานว่าเป็นชิ้นส่วนพระกำแพงซุ้มกอ) เศษชิ้นส่วนสีดำของก้านธูป (หรืออาจเป็นขี้เถ้าจากการเผาเปลือกหอย) เศษจีวร เศษไม้ (ไม้ไก่กุ๊ก) เม็ดทรายเงิน เม็ดทรายทอง (น่าจะมาจากทองคำเปลวที่ถูกตำละเอียด) ผงเกสรดอกไม้ ข้าวสุก และกระดาษฟาง เป็นต้น
และที่สำคัญก็คือ ผงวิเศษ 5 ประการ ที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้ปลุกเสก เพื่อให้พระสมเด็จวัดระฆังฯ ของท่าน ทรงคุณอันวิเศษ ตามคติการสร้างพระเครื่องที่สืบทอดกันมา ...
@@@@@@@
นิรนาม ผู้ชำนาญการพระเครื่อง ผู้ถ่ายทอดเคล็ดวิชาพระสมเด็จฯ ลงในนิตยสาร “พรีเชียส” ของผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ และนิตยสาร “อาณาจักรพระเครื่อง” ของอาจารย์ปรีชา เปี่ยมธรรม ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า
“... เยื่อกระดาษได้จากกระดาษฟางหรือกระดาษสา มาแช่น้ำข้ามคืน จนกระดาษละลายเป็นเมือกดีแล้ว จึงนำเอามากรองเพื่อเอาเยื่อกระดาษมาผสมผสานบดตำลงไป เชื่อกันว่าตัวเยื่อกระดาษนี้เป็นตัวหนึ่งที่ทำให้เนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ มีความหนึกนุ่ม เนื้อจึงไม่แห้งและกระด้าง ...”
นิรนาม ยังได้บอกอีกว่า ท่านมหาช้วน อดีตเจ้าอาวาสวัดบางจาก อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม (ท่านมหาช้วนเป็นคนเปิดกรุ สมเด็จหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก) เล่าให้ฟังว่า ขุนบางช้าง ผู้เคยมีส่วนช่วยหลวงพ่ออ้น วัดบางจาก สร้างพระสมเด็จวัดบางจาก บอกกับท่านว่า ส่วนผสมที่สำคัญก็คือ ตัวเมือกกระดาษ หรือเยื่อกระดาษนั่นเอง ที่ทำให้เนื้อพระสมเด็จของหลวงพ่ออ้น มีความหนึกนุ่มไม่แพ้เนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ เป็นที่ยอมรับกันในหมู่นักสะสมว่า มีความใกล้เคียงกับเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ มากที่สุด
(หลวงพ่ออ้น วัดบางจาก เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่วัดระฆังฯ ระยะหนึ่ง และน่าจะได้มีส่วนช่วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จโตสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ ด้วยเช่นกัน) ฉันทิชัย (ฉันทิชย์ กระแสสินธุ์) ผู้เขียนหนังสือประวัติและเกียรติคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) ตีพิมพ์เมื่อปี พ.ศ. 2495 ได้กล่าวถึง “ผงวิเศษ 5 ประการ” ไว้ว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้กวดขันในการปั้นดินสอพอง เป็นอันมาก เพื่อหวังจะให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ในการเขียนพระคาถา เพื่อทำผงวิเศษนี้
@@@@@@@
ดินสอพองของท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต มีส่วนประกอบ คือ
“ดินโป่ง 7 โป่ง, ดินตีนท่า 7 ท่า, ดินหลักเมือง 7 หลัก, ขี้เถ้าไส้เทียนบูชาในพระอุโบสถ, ขี้ไคลเสมา, ขี้ไคลประตูวัง, ขี้ไคลเสาตะลุงช้างเผือก, กระแจะตะนาว (กระแจะที่ปรุงด้วยเครื่องหอม มีจันทน์แดง จันทน์หอม จันทนา และไม้หอม), น้ำบ่อ 7 รส, ดินสอ (ดินขาว), ดอกไม้พืชพันธุ์ต่างๆ เช่น ดอกกาหลง ยอดสวาท ยอดรักซ้อน ราชพฤกษ์ ชัยพฤกษ์ (ใบหรือดอกก็ได้) พลูร่วมใจ (โคนก้านของใบชนกัน) พลู 2 ทาง ...”
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ท่านเอาสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ ผสมเข้ากันดีแล้ว ประพรมด้วยน้ำพระพุทธมนต์ ปั้นเป็นแท่งดินสอ เขียนหัวใจพระคาถาต่างๆ ในกระดานชนวน แล้วลบออก
โดยผงวิเศษ 5 ประการ ที่เกิดจากการเขียนพระคาถาดังกล่าวประกอบด้วย
1. ผงปัถมัง มีอานุภาพทางอิทธิฤทธิ์ อยู่ยง คงกระพัน แคล้วคลาด 2. ผงอิธะเจ มีอานุภาพทางเมตตามหานิยม 3. ผงมหาราช มีอานุภาพทางเสน่ห์ ป้องกันและถอนคุณไสยได้ 4. ผงพุทธคุณ มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม กำบัง สะเดาะ และล่องหน 5. ผงตรีนิสิงเห มีอานุภาพทางด้านเมตตามหานิยม แคล้วคลาด ปัดป้องสิ่งอัปมงคลเสนียดจัญไร ตรียัมปวาย อธิบายว่า ผงวิเศษทั้งหมดเป็นชุดเดียวกัน โดยท่านเจ้าประคุณฯ เริ่มจากการเขียนพระคาถา เพื่อทำผงปัถมังเป็นอันดับแรก แล้วจึงลบออก จากนั้นจึงนำผงที่ได้มาปั้นเป็นดินสอใหม่ เพื่อเขียนพระคาถาบทที่สอง เพื่อทำผงอิธะเจ แล้วจึงลบออก ทำเช่นนี้ต่อไป จนได้ผงตรีนิสิงเห เป็นผงวิเศษสุดท้าย กรรมวิธีทำผงวิเศษ กระทำในพระอุโบสถ ผงวิเศษทั้ง 5 จึงทรงกฤติยาคมเข้มข้นที่สุด
พระสมเด็จวัดระฆังฯ เป็นลักษณะพระเนื้อผง ซึ่งเป็นเนื้อที่มีความละเอียดโดยธรรมชาติ แม้ที่บอกว่าเป็นเนื้อหยาบแต่ก็ต้องมีความละเอียดอยู่ในตัว ตรียัมปวาย ได้อธิบายขยายความในเรื่องนี้ว่า
“เนื้อที่ละเอียดเกินไป มักจะขาดความซึ้งไปบ้าง เช่นเนื้อเกสรดอกไม้และเนื้อปูน จะมีความซึ้งน้อยกว่าเนื้อกระแจะจันทน์ แต่ถ้าเป็นเนื้อที่ค่อนข้างหยาบ เช่น เนื้อกระยาสารทและเนื้อขนมตุ้บตั้บ มีความซึ้งเหมือนกัน แต่ขาดความนุ่มนวล และถ้าเป็นเนื้อกระแจะจันทน์ จะเป็นเนื้อที่มีความละเอียดพอดี”
เนื้อผงเดิมๆ จะมีคุณสมบัติที่แตกเปราะได้ง่าย จึงต้องมีการใส่ส่วนผสมอื่นๆ เช่นน้ำอ้อย หรือน้ำมันตังอิ๊ว ที่มีคุณสมบัติทำให้เนื้อพระสมเด็จฯ มีความเหนียวและยึดเกาะตัวกัน เพื่อให้ขึ้นรูปได้ง่ายและยังสามารถรักษารูปทรงได้เป็นร้อยปีโดยไม่แตกเปราะในภายหลัง พบว่าในพระสมเด็จวัดระฆังฯ และพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม มักจะปรากฏคราบน้ำมันตังอิ๊วให้เห็นบนผิวพระไม่มากก็น้อย การสร้างพระสมเด็จวัดระฆังฯ นั้น เป็นลักษณะของ “ปูนตำ”
@@@@@@@
โดย ตรียัมปวาย พูดถึงขั้นตอนการสร้างพระ ที่มีการตำโขลกส่วนผสมต่างๆ ลงในครกเข้าด้วยกัน ปูนตำชนิดนี้อาจจัดเข้าประเภท “ปูนน้ำมัน” เนื่องจากมีการผสมน้ำมัน คือน้ำมันตังอิ๊ว เข้าไปด้วย ปูนน้ำมันนี้ถือว่าเป็นวัสดุที่ใช้ในงานปั้นปูน ที่เป็นงานประณีตศิลป์แขนงหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ และเป็นหมวดหมู่หนึ่งของช่างสิบหมู่คือ ช่างปูน ในการตำปูนจะต้องกะปริมาณให้พอดี เพราะเมื่อผสมกับน้ำมันตังอิ๊วแล้ว ถ้าไม่มีการเก็บรักษาอย่างถูกต้องจะมีการแห้งแข็งตัวเมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่ง ไม่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้
ขั้นตอนการตำปูนนี้ มีความสำคัญมาก วิธีการตำตามตำราโบราณนั้น น่าจะมีผลต่อการแยกแยะเนื้อพระสมเด็จวัดระฆังฯ กลุ่มเนื้อองค์ครูออกจากเนื้อประเภทอื่น หนังสือของ ตรียัมปวาย บอกแต่เพียงว่า ในขั้นตอนการทำมวลสารวิเศษ นั้น เป็นการนำเอามวลสารต่างๆ มาตำโขลกเข้าด้วยกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่จะได้มาซึ่งเนื้อพระสมเด็จฯ ที่มีความงดงามวิจิตร มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวนั้น จะต้องใช้ความชำนาญ ในการผสมมวลสารต่างๆ ที่เป็นสูตรเฉพาะตัวในอัตราส่วนที่เหมาะสม
การตำมวลสารให้มีความละเอียดด้วยวิธีการและระยะเวลาที่ถูกต้อง รวมถึงการเตรียมปูนขาวจากการเผาปูนเปลือกหอย ที่จะต้องผ่านขั้นตอนที่พิถีพิถัน ตามองค์ความรู้ของช่างชั้นครู ระดับช่างสิบหมู่ หรือช่างทองหลวงในราชสำนัก ที่เข้ามาช่วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต สร้างพระสมเด็จฯ กลุ่มองค์ครู ในขณะนั้น
@@@@@@@
น่าสนใจว่า งานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชร ที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ มีความโดดเด่นไม่แพ้ช่างสิบหมู่ กล่าวกันว่า งานศิลปกรรมของสกุลช่างเมืองเพชรนั้น เหมือนกับอยุธยาที่มีชีวิต และยังมีเอกลักษณ์เฉพาะในด้านกรรมวิธีการผลิตปูนปั้น ... อาจนำมาเทียบเคียง เพื่อช่วยอธิบาย ในเรื่องนี้ได้
เช่น ในการเตรียมปูนขาวที่ได้จากการเผาปูนเปลือกหอยนั้น ต้องนำปูนขาวไปแช่น้ำหมักทิ้งไว้เป็นเวลา 1 เดือน เรียกว่า การหมักปูน เพื่อลดความเค็มของปูน (ลดความเป็นด่าง) ทั้งยังช่วยให้ปูนเหนียว เมื่อนำไปใช้จะจับตัวได้ดี (มีความเป็นไปได้ว่า ที่มีการทดสอบโดยใช้ขมิ้น แล้วพบว่าไม่ทำปฏิกิริยากับเนื้อพระสมเด็จฯ อาจเกิดด้วยสาเหตุนี้
แต่ทั้งนี้การทดสอบด้วยวิธีนี้อย่างเดียว ไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าจะเป็นพระแท้) การตำปูน ที่ต้องใช้วิธีการตำที่เหมาะสม รู้ได้จากประสบการณ์ของผู้ตำ เมื่อนำไปทำพระ จึงจะได้เนื้อพระที่มีความละเอียดหนึกขึ้นเงา และยังมีการผสมเยื่อกระดาษที่มาจากกระดาษฟางในปูนที่ตำที่คล้ายกับสูตรการทำพระสมเด็จฯ ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของสกุลช่างเมืองเพชร
@@@@@@@
อาจารย์ประกิต หลิมสกุล หรือ พลายชุมพล แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรุณาให้ข้อมูลว่า พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ที่เนื้อสวยจัดๆ นั้น เนื้อพระมีความงดงามประดุจเพชรเม็ดงามเลยทีเดียว ...
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่เพจเฟซบุ๊ก พระสมเด็จศาสตร์ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูป พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ครู อีกองค์หนึ่ง เพื่อให้ความรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของพระท่านปัจจุบัน พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ องค์ตำนาน ที่งดงามมากอีกองค์หนึ่ง มีตำหนิพื้นฐานตรงตามตำรา มีเส้นสายลายเซ็นเชิงช่างเป็นกลุ่มองค์ครูที่คุ้นตา มีการลงรักปิดทองคำเปลวเก่า ให้ความรู้สึกมีมนต์ขลัง ตัดปีกกว้างกว่ากรอบแม่พิมพ์ มีตำหนิสำคัญคือเม็ดพระธาตุขนาดเล็กปรากฏให้เห็นหลายจุด
เนื้อพระมีความหนึกนุ่มผสมหนึกแกร่ง เนื้อมีความละเอียดซึ่งเป็นลักษณะที่สำคัญมากของพระสมเด็จวัดระฆังฯ (ถึงแม้จะมีลักษณะเนื้อหยาบเมื่อเทียบกับพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม แต่ในความเป็นจริงแล้วลักษณะของพระเนื้อผงจะต้องมีความละเอียดเป็นพื้นฐาน) มีวรรณะงดงามซึ้งตาเป็นสีขาวอมเหลือง มีรอยรูพรุนขนาดเล็ก ที่น่าสนใจคือด้านหลังองค์พระเป็นแบบหลังเรียบ ขอบองค์พระมีรอยกระเทาะแสดงให้เห็นถึงธรรมชาติความเก่า ถือว่าเป็นองค์ต้นแบบที่ดีเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : พ.ต.ต.คมสัน สนองพงษ์ อดีตตำรวจพิสูจน์หลักฐาน เพจเฟสบุ๊ค – พระสมเด็จศาสตร์ URL : https://www.thairath.co.th/lifestyle/amulet/2852057ไลฟ์สไตล์ > พระเครื่อง | ไทยรัฐออนไลน์ | 9 เม.ย. 2568 12:00 น.
|
|
|
30
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / นักจิตวิทยาแนะนำ กิจวัตรประจำวันเพียง 1 นาที ช่วยลดเครียดในช่วง “หมดไฟ” ได้จริง.
|
เมื่อ: เมษายน 10, 2025, 07:15:08 am
|
. นักจิตวิทยาแนะนำ กิจวัตรประจำวันเพียง 1 นาที ช่วยลดเครียดในช่วง “หมดไฟ” ได้จริง.!!จากระดับความเครียดของผู้คนที่พุ่งสูงขึ้น มีคนจำนวนมากมีอาการหมดไฟในการทำงาน เช่น รู้สึกเหนื่อยหรือหมดแรง เศร้าโกรธและหงุดหงิด หรือเหนื่อยล้าทางร่างกายโดยรวม และหลายคนยังยอมรับว่าไม่มีเวลาสำหรับกิจวัตรเพื่อสุขภาพ ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพระบุว่า "Micro-Wellness" ที่ใช้เวลาเพียง 60 วินาที อาจเปลี่ยนชีวิตของเราได้
Micro-Wellness (ไมโครเวลเนส) คือ แนวคิดเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในช่วงเวลาสั้นๆ อาศัยรูปแบบที่เล็กน้อยและสามารถเพิ่มลงในกิจวัตรที่มีอยู่แล้วได้ ซึ่งไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่หรือการลงแรงมากๆ แต่เน้นที่สามารถเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็กๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน ซึ่งมีผลต่อสุขภาพและความสุขในระยะยาว เช่น การทำสมาธิหายใจ1 นาที หรือการเฉลิมฉลองชัยชนะเล็กๆ น้อยๆ 2 นาที หรือการนั่งสมาธิ 3 นาที
"โจ เฮมมิงส์" (Jo Hemmings) นักจิตวิทยาพฤติกรรม กล่าวว่า
“ภาวะหมดไฟอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น สุขภาพ การทำงาน ชีวิตที่บ้าน และความสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือผู้คนต้องรู้จักสัญญาณและอาการต่างๆ เพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดที่ต่อเนื่องยาวนานซึ่งอาจส่งผลต่อความเป็นอยู่ที่ดีของพวกเขา เพื่อช่วยต่อสู้กับปัญหานี้ ขอแนะนำให้คุณให้เวลาในการดูแลตนเอง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม เริ่มต้นด้วยพิธีกรรมเพื่อการผ่อนคลายร่างกายเล็กๆ น้อยๆ เช่น การหายใจอย่างมีสติเป็นเวลาไม่กี่นาทีต่อวัน จากนั้นค่อยๆ เพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ ระบุตัวกระตุ้นที่ทำให้จิตใจรู้สึกเหนื่อยล้าและแก้ไขมัน อาจเป็นการลดเวลาที่ใช้หน้าจอ หรือก้าวออกจากเทคโนโลยีที่ช่วยให้คุณเชื่อมต่อกับชีวิตจริงด้วยทัศนคติที่รอบคอบและเป็นบวกมากขึ้น”
“วิค โฮป” (Vick Hope) ร่วมมือกับ Perfectil สร้างคู่มือ Micro-Wellness Rituals ขึ้นมา โดยอิงคำแนะนำเชิงปฏิบัติจากกิจวัตรเพื่อสุขภาพของเธอเอง เพื่อช่วยให้ผู้อื่นจัดการกับวิถีชีวิตที่ยุ่งวุ่นวาย และปรับปรุงความเป็นอยู่โดยรวมให้ดีขึ้น แม้ว่าจะใช้เวลาเพียงสั้นๆ ก็ตาม
"เช่นเดียวกับร่างกายของเรา จิตใจของเราก็ต้องการเวลาพักผ่อนและการดูแลเอาใจใส่เพื่อให้เจริญเติบโต นั่นเป็นเหตุผลที่ฉันหลงใหลในการแบ่งปันกิจวัตรเล็กๆ น้อยๆ เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเอง หวังว่าสิ่งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ใช้เครื่องมือเหล่านี้ในการจัดการความเครียด และช่วยรักษาสมดุลในชีวิตประจำวัน การให้ความสำคัญกับตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับงาน ครอบครัว และความกดดันในชีวิตประจำวันและความรับผิดชอบต่อผู้อื่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และเราทุกคนต่างก็เคยละทิ้งความเป็นอยู่ที่ดีของตัวเองเพื่อมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเรา แต่โปรดจำไว้ว่าคุณเองก็มีความสำคัญเช่นกัน เราทุกคนต้องหาเวลาฝึกฝนที่ช่วยให้เราโอบรับและดูแลสุขภาพจิตของเรา และยอมรับจุดแข็งภายในของเรา ไม่ว่าจะเป็นการเขียนไดอารี่ โยคะ การทำสมาธิ หรือการเดินเล่นในธรรมชาติ ขอให้มีชีวิตที่สมดุลและมีสุขภาพดี” 1. หายใจเข้าลึกๆ ใช้ชีวิตอย่างสดใส (1 นาที)
ลมหายใจเป็นเครื่องมือฝึกสติที่ทรงพลังอย่างยิ่ง ผ่านการหายใจแบบมีคำแนะนำ ให้ฃยึดตัวเองอยู่กับปัจจุบัน ค้นหาความสงบภายในท่ามกลางความวุ่นวายในแต่ละวัน เพื่อควบคุมระบบประสาทและลดความวิตกกังวล ปล่อยให้การหายใจเข้าแต่ละครั้งนำความสงบมาให้ และการหายใจออกแต่ละครั้งจะช่วยคลายความตึงเครียด แม้ว่าจะเป็นเพียง 1 นาทีก็ตาม
พักเป็นระยะสั้นๆ ตลอดทั้งวันเพื่อโฟกัสที่การหายใจเพียงอย่างเดียว การหายใจเข้าลึกๆ อย่างมีสติสัก 1-2 นาที จะช่วยรีเซ็ตระดับความเครียดได้ หรือลองใช้เทคนิค 4-7-8 ซึ่งประกอบไปด้วยการหายใจเข้า 4 วินาที กลั้นหายใจ 7 วินาที และหายใจออก 8 วินาที เพราะรูปแบบการหายใจนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อลดความวิตกกังวล
2. ก้าวเล็กๆ มหัศจรรย์ยิ่งใหญ่ (2 นาที)
เช่นเดียวกับท่าเต้น การดูแลสุขภาพจิตต้องอาศัยการฝึกฝน เริ่มต้นจากสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ใจดีกับตัวเอง และเฉลิมฉลองทุกย่างก้าวของการเดินทางของเรา แม้ว่าจะเป็นเพียงการจำไว้ว่าตนเองต้องทานอาหารเสริมก็ตาม! ใช้เวลา 2 นาทีเพื่อเฉลิมฉลองความสำเร็จเหล่านี้และตระหนักถึงสิ่งที่คุณรู้สึกขอบคุณ
@@@@@@@
3. เต้นรำเพื่อคลายความตึงเครียด (4 นาที)
การมีสุขภาพดีไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องจริงจังหรือในสถานที่เงียบสงบเสมอไป การปลดปล่อยความตึงเครียดออกจากร่างกายด้วยการเคลื่อนไหว ก็สามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ได้เช่นเดียวกัน เพียงเปิดเพลงโปรด ปล่อยตัวตามสบาย และปล่อยให้เอนดอร์ฟินช่วยเพิ่มอารมณ์ตลอดทั้งวัน
4. ปลดล็อกเสียงภายในของตนเอง (5 นาที)
ค้นพบพลังแห่งการไตร่ตรองตนเองด้วยการเขียนบันทึกเป็นอาวุธลับ ใช้เวลาอยู่กับตัวเองสักพักเพื่อระบายความคิด ความรู้สึก ความฝัน และความกังวลลงบนกระดาษ แม้ในวันที่ยากลำบาก การใช้เวลา 5 นาทีในการเขียนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในหัวลงไป ก็สามารถลดพลังจากความคิดที่ล้นหลามได้ ทำให้ความคิดเหล่านั้นคลี่คลายลง และให้มุมมองแก่ตนเอง เมื่อเห็นความคิดเหล่านั้นอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นในคำที่เขียนไว้ตรงหน้า และการใช้เวลาสักครู่ในแต่ละวันเพื่อคิดหรือจดสิ่งที่รู้สึกขอบคุณลงไป จะช่วยเปลี่ยนทัศนคติจากความเครียดไปสู่การชื่นชมด้านต่างๆ ในชีวิต ที่เห็นคุณค่าและเป็นประโยชน์ต่อความเป็นอยู่
5. แบ่งปันความงามภายใน (5 นาที)
เชื่อมโยงกับผู้อื่น แบ่งปันประสบการณ์ของตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนรอบตัว ยอมรับความงามภายในของตนเอง มีส่วนร่วมในปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเชิงบวกสั้นๆ โดยการใช้เวลาเพียง 5 นาทีในแต่ละวัน เพื่อเชื่อมต่อกับเพื่อนร่วมงานหรือเพื่อนบ้านด้วยชาสักถ้วย หรือส่งข้อความหาเพื่อน จะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น และให้การสนับสนุนเพื่อร่วมกันนำแสงสว่างและความคิดเชิงบวกมาสู่โลกของเราขอขอบคุณ ข้อมูล : getsurrey | S! News : สนับสนุนเนื้อหา URL : https://www.sanook.com/news/9774678/08 เม.ย. 68 (19:21 น.)
|
|
|
31
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระราชโอรสธิดา 29 พระองค์ ในพระเจ้าตาก มีพระองค์ใด ทรงเป็นต้นสกุลใดบ้าง.?
|
เมื่อ: เมษายน 10, 2025, 07:03:50 am
|
. พระบรมรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วัดปากพิงตะวันตก อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลกพระราชโอรสธิดา 29 พระองค์ ในพระเจ้าตาก มีพระองค์ใด ทรงเป็นต้นสกุลใดบ้าง.? แม้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธนบุรี ผู้รวมแผ่นดินให้กลับมาเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง จะทรงครองราชย์เพียง 15 ปี แต่พระองค์ก็ทรงทำคุณประโยชน์มากมาย ทั้งยังทรงมีพระราชโอรสและพระราชธิดาถึง 29 พระองค์ พระราชโอรสธิดา 29 พระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีใครบ้าง?
ข้อมูลจากลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ ๔ สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี และ สายสัมพันธ์ของสกุล จาตุนรงคกุล ระบุว่าพระองค์มีพระราชโอรสธิดา 29 พระองค์ ดังนี้
@@@@@@@
1. สมเด็จพระมหาอุปราชเจ้าฟ้ากรมขุนอินทรพิทักษ์ พระนามเดิมคือ จุ้ย พระราชโอรสลำดับที่ 1 ในสมเด็จพระราชินี (กรมหลวงบาทบริจา) ทรงดำรงพระราชตำแหน่งรัชทายาท และถูกสำเร็จโทษเมื่อ วันเสาร์ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงเป็นต้นสกุลสินสุขและอินทรโยธิน
2. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายน้อย พระราชโอรสลำดับที่ 2 ในสมเด็จพระราชินี ถูกสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2325
3. พระองค์เจ้าชายอัมพวัน ในเจ้าจอมมารดาทิม (หม่อมราชวงศ์ ราชตระกูลกรุงเก่าธิดาท้าวทรงกันดาล ทองมอญ) พระญาติแห่งสกุลศรีเพ็ญ
4. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศพงศ์ พระราชโอรสลำดับที่ 1 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม หรือเรียกในราชสำนักนครศรีธรรมราชว่า ทูลกระหม่อมฟ้าหญิงใหญ่ ราชธิดาของพระเจ้านครศรีธรรมราช) สมัยรัชกาลที่ 2 พระองค์ทรงเป็นพระพงษ์อำมรินทร์ หรือพระพงษ์นรินทร์ ต้นสกุลพงษ์สิน
5. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงโกมล 6. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงบุบผา 7. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสิงหรา 8. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายศิลา ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาประชาชีพ ต้นสกุลศิลานนท์
@@@@@@@
9. พระองค์เจ้าชายอรนิกา บรรพบุรุษแห่งสกุล “รัตนภาณุ” พระราชโอรสองค์ที่ 1 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน (ธิดาอุปราชจันทร์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นต้นสกุลจันทโรจวงศ์) ถูกสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2352 พร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต
10. พระองค์เจ้าหญิงสุมาลี 11. พระองค์เจ้าชายธำรง 12. พระองค์เจ้าชายละมั่ง ในรัชกาลที่ 3 เป็นพระยาสมบัติบาล 13. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายเล็ก
14. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายทัศไภย พระราชโอรสองค์ที่ 2 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ในรัชกาลที่ 2 เป็นพระอินทอำไพหรือพระอินทรอภัย ถูกสำเร็จโทษเมื่อ พ.ศ. 2358 พระองค์ทรงเป็นพระบิดาเจ้าจอมมารดาน้อย ต้นสกุลนพวงศ์และสุประดิษฐ์
15. พระองค์เจ้าหญิงจามจุรี 16. พระองค์เจ้าหญิงสังวาล พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินฯ ณ วัดพรานนก จ.พระนครศรีอยุธยา17. พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณ พระราชบุตรองค์ที่ 2 ในเจ้าจอมมารดาอำพัน ธิดาเจ้าอุปราชจันทร์ พระองค์เจ้าหญิงสำลีวรรณทรงเป็นพระราชชายากรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 2 และถูกสำเร็จโทษพร้อมกับสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิต เมื่อวันพุธ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2352
18. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายนเรนทร พระราชโอรสองค์ที่ 3 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 เป็นพระนเรนทรราชา และดำรงพระชนม์มาถึงรัชกาลที่ 3 ต้นสกุลรุ่งไพโรจน์
19. พระองค์เจ้าชายคันธวงศ์ 20. พระองค์เจ้าชายเมฆิน 21. พระองค์เจ้าชายอิสินธร 22. พระองค์เจ้าหญิงประไพพักตร์ ในเจ้าจอมมารดาเงิน
23. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าชายสุพันธุวงศ์ ในเจ้าจอมมารดาฉิมใหญ่ (พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) พระองค์จึงทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอในรัชกาลที่ 1 ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าอภัยธิเบศร์ และทรงได้ทรงกรมเป็นกรมขุนกษัตรานุชิต ก่อนจะถูกสำเร็จโทษพร้อมกับเจ้าชายที่เป็นโอรสเล็ก ๆ อีก 6 พระองค์ เมื่อวันพุธ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2352
@@@@@@@
24. พระองค์เจ้าชายบัว
25. สมเด็จฯ เจ้าฟ้าหญิงปัญจปาปี พระราชบุตรองค์ที่ 4 ในกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ พระองค์ทรงเป็นพระชายาเจ้าฟ้ากรมขุนอิศรานุรักษ์ ราชภาคิไนยในรัชกาลที่ 1
26. เจ้าน้อย (ในฐานะเป็นพระราชบุตรบุญธรรมแห่งพระมหาอุปราชนครศรีธรรมราช) ในเจ้าจอมมารดาเจ้าหญิงปราง หรือทูลกระหม่อมฟ้าหญิงเล็กของนครศรีธรรมราช กนิษฐานภคินีของกรมบริจาภักดีศรีสุดารักษ์ สมัยรัชกาลที่ 2 เจ้าน้อยทรงเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช มีสกุลที่สืบต่อมาคือ ณ นคร, โกมารกุล, จาตุรงคกุล
27. พระองค์เจ้าชาย 28. พระองค์เจ้าชายหนูแดง 29. พระองค์เจ้าหญิงสุดชาตรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ รัชกาลที่ 1 (ภาพลายเส้นบนธนบัตรใบละ 500 บาท พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2539)ทั้งหมดนี้คือ พระราชโอรสธิดา 29 พระองค์ ในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ยังไม่นับรวมพระราชโอรสธิดาพระองค์อื่นที่ไม่ปรากฏพระนาม หรือไม่มีการบันทึกไว้
อ่านเพิ่มเติม :-
•“เจ้าฟ้าจุ้ย” พระราชโอรสองค์ใหญ่พระเจ้าตาก “เกือบ” ได้เป็นพระเจ้ากรุงกัมพูชา ? • สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช กับประเด็นที่ทรงถูก “ดิสเครดิต” ในประวัติศาสตร์ • พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงมีพระมเหสี เจ้าจอมมารดา เจ้าจอม กี่พระองค์ เป็นใครบ้าง?ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : ปดิวลดา บวรศักดิ์ เผยแพร่ : วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ.2568 เผยแพร่ในระบบออนไลน์ครั้งแรก : เมื่อ 9 เมษายน 2568 website : https://www.silpa-mag.com/history/article_151053อ้างอิง : ปรีดา ศรีชลาลัย, 2441-2523. ลำดับสกุลเก่าบางสกุล ภาคที่ 4 สกุลเชื้อสายพระราชวงศ์กรุงธนบุรี; และ, สายสัมพันธ์ของสกุลจาตุรงคกุล. [ม.ป.ท.]:โรงพิมพ์การรถไฟ, 2522. สืบค้นเมื่อวันที่ 1979. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:176458.https://race.nstru.ac.th/nstru_portal/arc/resources/infographic/nakhon/journal/June59/466594_compressed.pdf
|
|
|
32
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระสมเด็จวัดระฆังฯ พุทธคุณมากล้น ใครได้ครอบครอง โชคดีร่ำรวย
|
เมื่อ: เมษายน 08, 2025, 07:50:27 am
|
. พระสมเด็จวัดระฆังฯ พุทธคุณมากล้น ใครได้ครอบครอง โชคดีร่ำรวยพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม พิมพ์ฐานแซม พระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆสิตาราม เป็นองค์พระประธานในพระชุดเบญจภาคี ท่านผู้สร้างคือ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
พุทธคุณความศักดิ์สิทธิ์ของพระสมเด็จฯ ระฆังฯ มีมากมาย นับว่าเป็นพระเครื่องยอดนิยมอันดับหนึ่งตั้งแต่มีวงการพระเครื่องมา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เกิดในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ที่พระนครศรีอยุธยา ท่านมีอายุยืนยาวนานถึง 5 แผ่นดิน โดยในสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเป็นหนึ่งในบุคคลไม่กี่คนที่อยู่ทันเห็นรัชกาลที่ 1 พระองค์จริง
ทั้งนี้ เมื่อท่านอุปสมบท รัชกาลที่ 1 ทรงพระเมตตารับเป็นนาคหลวง อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ท่านเป็นศิษย์ของสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน พระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งเป็นผู้สร้างพระสมเด็จฯ อรหังขึ้น ทั้งนี้ ว่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้ดำเนินรอยตามการสร้างพระตามสมเด็จพระสังฆราช (สุก) ไก่เถื่อน
@@@@@@@
ในปี พ.ศ. 2407 ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “สมเด็จพระพุฒาจารย์” หลังจากนั้น 2 ปี ในปี พ.ศ. 2409 ท่านได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังโฆสิตาราม สำหรับมูลเหตุในการสร้างพระสมเด็จฯ วัดระฆังนั้น เล่ากันว่า
เมื่อครั้งที่ท่านขึ้นไปเยี่ยมญาติที่จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นเมืองหนึ่งที่มีชื่อเสียงเรื่องพระพิมพ์ ในครั้งนั้นท่านได้พบพระพิมพ์โบราณที่วัดเสด็จซึ่งเป็นวัดร้าง ท่านจึงได้นำพระพิมพ์เหล่านั้นกลับมาบางส่วนพร้อมทั้งดำริที่ว่าจะสร้างพระเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนาเหมือนดังที่คนโบราณได้กระทำมา
สำหรับมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระสมเด็จฯ ประกอบด้วย ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ (เอาเปลือกหอยมาเผาเป็นปูนขาว) ผงพุทธคุณ ซึ่งเกิดจากการเขียนอักขระลงบนกระดานชนวนแล้วลบ จากนั้นนำผงที่ได้มาปั้นแล้วนำมาเขียนใหม่ ทำแบบนี้ซ้ำ ๆ โดยเริ่มจากผงปถมัง ผงอิทธิเจ ตรีนิสิงเห มหาราช และพุทธคุณ ผงที่ได้จึงมีอานุภาพสูงสุด ส่วนผสมอื่น ๆ ได้แก่ ใบลานเผา ดอกไม้แห้ง เศษจีวรพระ และเนื้อพระประสานด้วยน้ำมันตังอิ้ว เพื่อกันการแตกร้าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) สำหรับขั้นตอนกรรมวิธีนั้น นำเอามวลสารผสมแล้วนำมาตำเป็นเนื้อพระสมเด็จ ปั้นเป็นแท่งสี่เหลี่ยม ตัดออกเป็นชิ้น ๆ (เรียกว่าชิ้นฟัก) นำเนื้อพระสมเด็จชิ้นฟักวางลงที่แม่พิมพ์ ซึ่งแกะจากหินชนวน แล้วกดเนื้อพระกับแม่พิมพ์ ตัดขอบพระเป็นรูปสี่เหลี่ยม โดยใช้ตอกตัดดอกไม้ไผ่ที่ใช้จักสาน สำหรับแม่พิมพ์พระสมเด็จฯ วัดระฆัง มีทั้งหมด 5 พิมพ์ คือ
1. พิมพ์ใหญ่ (พิมพ์ประธาน) 2. พิมพ์ฐานแซม 3. พิมพ์เจดีย์ 4. พิมพ์ปรกโพธิ์ 5. พิมพ์เกศบัวตูม
พุทธคุณของพระสมเด็จวัดระฆังสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายด้าน ขึ้นชื่อในด้าน “เมตตามหานิยม” เป็นอย่างมาก
ผู้ที่บูชาพระสมเด็จเชื่อว่าจะได้รับความเมตตาจากผู้คนรอบข้าง ทำให้มีคนช่วยเหลือเกื้อกูล มีเสน่ห์และได้รับความนิยมชมชอบ เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการเจรจา การค้าขาย หรือต้องพบปะกับผู้คนบ่อยครั้ง พุทธคุณที่โดดเด่นอีกด้านคือ “ความแคล้วคลาด”
@@@@@@@
เชื่อกันว่าผู้ที่บูชาจะปลอดภัยจากภยันตรายต่าง ๆ ทั้งจากอุบัติเหตุ อันตรายทางกาย และอันตรายจากศัตรู รวมถึงการป้องกันจากสิ่งชั่วร้าย ไม่ว่าจะเป็นคุณไสยหรือมนต์ดำ พุทธคุณด้าน “โชคลาภและความเจริญรุ่งเรือง” ทำให้ผู้ที่บูชามีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและการเงิน ธุรกิจประสบความสำเร็จ ช่วยดึงดูดโชคลาภและโอกาสดี ๆ ให้เข้ามาในชีวิต
การบูชาพระสมเด็จวัดระฆังช่วยให้จิตใจสงบและมั่นคง มีสติและสมาธิในการดำเนินชีวิต ความศรัทธาต่อพระพุทธคุณของพระเครื่องจะช่วยให้ผู้บูชามีความมั่นใจในสิ่งที่ทำ ไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคหรือความยากลำบาก อีกทั้งยังมีพุทธคุณในการ “ป้องกันคุณไสยและสิ่งชั่วร้าย” เป็นที่นิยมในหมู่ผู้ศรัทธาที่เชื่อว่าจะป้องกันอาถรรพ์หรือพลังลบต่าง ๆ ทำให้ผู้ที่บูชาปลอดภัยจากพลังอันไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ การมีพระสมเด็จวัดระฆังยังช่วยเพิ่มบารมีแก่ผู้ที่ต้องการความเคารพและการยอมรับจากผู้อื่นอีกด้วย วันนี้ผมนำสุดยอดพระเครื่องของวงการมาให้ชมครับ องค์นี้คือพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ฐานแซม เป็นองค์ที่สมบูรณ์แบบมากไม่มีชำรุดอุดซ่อมใดๆ และที่สำคัญพระองค์นี้อยู่ในหน้าปกหนังสือพระเครื่องโบราณ ถูกตีพิมพ์เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว ถือว่าเป็นอีกหนึ่งองค์ที่เรียกว่าอยู่ในทำเนียบองค์ตำนานอีกหนึ่งองค์ ซึ่งต้องบอกเลยว่าจะหาพระสวยสมบูรณ์แบบนี้ในยุคนี้ได้ยากยิ่งนัก นี่คือจักรพรรดิแห่งพระเครื่องเมืองไทย ที่หาชมได้ยากยิ่ง
ชี้ตำหนิ จำพิมพ์พระให้แม่น ใบหน้าพระพักตร์ลักษณะคล้ายรูปไข่ เส้นเกศจรดซุ้มและทะลุออกมาเล็กน้อย เส้นซุ้มจะหนาเป็นสันคมมีมิติ รอบขอบตัดมองเห็นชัดเจน ลักษณะการตัดขอบของวัดระฆังจะตัดชิดซุ้ม องค์พระเนื้อจะมีความแห้ง เม็ดมวลสารหดตัวเป็นก้อนๆ มีคราบเป็นคราบแป้งโรยพิมพ์ เพื่อไม่ให้เนื้อขององค์พระติดพิมพ์ ที่บริเวณฐานแต่ละชั้นจะมีเส้นเล็กๆ เพิ่มขึ้นมา นี่คือที่มาของชื่อ “ฐานแซม” ด้านหลังมีโพรงที่เกิดจากมวลสารหดตัวเป็นธรรมชาติ และมีการหดตัวลักษณะเป็นเม็ดก้อนๆ มวลสารจะมีเม็ดสีแดงส้มเป็นเม็ดมวลสารมาจากพระกรุทุ่งเศรษฐี เนื้อมวลสารตุ๊บตั๊บเป็นธรรมชาติของพระสมเด็จวัดระฆัง จะมีเม็ดมวลสารเม็ดขาวเม็ดดำ และมีรอยเศษไม้ ตามตำนานเล่าว่าเป็นไม้ไก่กุก
ด้านข้างจะเห็นลักษณะของพระจะแอ่นเล็กน้อยและพิมพ์ฐานแซมส่วนมากองค์พระจะบางๆ ด้านข้างของวัดระฆังจะเป็นแบบสับตัดตรง ไม่เบี้ยว มีโพรงที่เกิดจากเม็ดมวลสารหดตัว รอยย่นเป็นธรรมชาติ  โทนบางแค ขอขอบคุณ :- ผู้เขียน : หยิบกล้องส่องพระ by โทน บางแค Line : @tone8888 | เพจ : โทน บางแค FC. URL : https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/2830091#aWQ9NjcyZDkwMzcwZjg4NmEyMjVlYjljZjI0JnBvcz0wJnJ1bGU9MCZjb250ZW50X3NpdGU9dGhhaXJhdGgtb25saW5l10 ธ.ค. 2567 09:19 น. | ดวง > ความเชื่อ | ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
33
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เปิดที่มา "ประเพณีก่อเจดีย์ทราย" จากความเชื่อสู่ประเพณีคู่สงกรานต์ 2568
|
เมื่อ: เมษายน 08, 2025, 07:31:28 am
|
. เปิดที่มา "ประเพณีก่อเจดีย์ทราย" จากความเชื่อสู่ประเพณีคู่สงกรานต์ 2568ก่อเจดีย์ทราย ประเพณีดั้งเดิมของไทย สืบสานต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะจัดขึ้นพร้อมกับวันสงกรานต์ โดยมีจุดเริ่มต้นเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางพุทธศาสนา เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ปัจจุบันประเพณีก่อเจดีย์ทรายไม่เพียงแต่จัดขึ้นเพื่อทำบุญใหญ่ แต่นิยมจัดขึ้นโดยเน้นเพื่อการเฉลิมฉลอง เพิ่มสีสันให้ช่วงเทศกาลวันสงกรานต์แทน
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายคืออะไร
ก่อเจดีย์ทราย คือ การก่อเจดีย์ทรายเป็นรูปทรงต่างๆ ในพื้นที่ที่จัดเตรียมไว้ หรือในพื้นที่จะก่อเจดีย์ทรายบริเวณวัด เพื่อให้สะดวกต่อการขนไปไว้บริเวณต่างๆ โดยการก่อเจดีย์ทรายเกิดขึ้นจากความเชื่อ ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนเกิดเป็นประเพณี ซึ่งปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เข้ากับยุคสมัยมากขึ้น
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ประวัติเริ่มต้น
ตามประวัติเดิม ประเพณีก่อเจดีย์ทราย เริ่มจากความเชื่อในทางศาสนาพุทธ โดยเชื่อว่า เมื่อมีโอกาสได้ไปทำบุญ เข้าวัด ในระหว่างเดินทางกลับ จะมีเศษดิน หิน ทราย กรวด ติดเท้ากลับออกไปด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ที่อยู่ในพื้นที่วัด ถือเป็นสมบัติของพระศาสนา ดังนั้น การที่นำเศษดิน หิน ทราย กลับไป ถือว่าผิดศีลข้อ 2 ฐานลักทรัพย์
ในทุกๆ ปี จึงมีการจัดกิจกรรมประเพณีก่อเจดีย์ทรายในช่วงสงกรานต์ เมื่อหลังจากก่อเสร็จแล้ว ผู้ที่เข้าร่วมงานจะช่วยกันขนทรายไปยังบริเวณวัด เตรียมสำหรับใช้บูรณปฏิสังขรณ์สิ่งปลูกสร้างภายในบริเวณวัด ถือเป็นการสะสมบุญกุศลอีกรูปแบบหนึ่ง ความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีก่อเจดีย์ทราย 2568
นอกจากความเชื่อเกี่ยวกับพุทธศาสนาในข้างต้น ยังพบว่า มีตำนานความเชื่อเกี่ยวกับประเพณีก่อเจดีย์ทราย สงกรานต์จากคัมภีร์พระพุทธศาสนา คือ พระเจ้าปเสนทิโกศลได้เสด็จไปยังเมืองสาวัตถี ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าและเผอิญเห็นหาดทรายมีสีขาวบริสุทธิ์ จึงเกิดความศรัทธา ก่อทรายเป็นเจดีย์ทราย 84,000 กอง ตามจำนวนพระธรรมขันธ์ถวาย โดยเชื่อว่าเป็นบุญใหญ่ จึงถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมา
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคไหน
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายพบได้ในทุกภาคทั่วประเทศไทย เพียงแต่จะมีรูปแบบประเพณีที่แตกต่างกัน ดังนี้
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคกลาง
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคกลาง จะใช้ชื่อเรียกเดิมคือ “ประเพณีก่อเจดีย์ทราย” เน้นเฉลิมฉลองและจัดกิจกรรมพื้นบ้านอื่นร่วมด้วย เช่น ขบวนแห่วันสงกรานต์ การรำวง การประกวดนางสงกรานต์ รวมถึงการแข่งขันประกวดก่อเจดีย์ทราย
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคเหนือ
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย สงกรานต์ ทางภาคเหนือ เรียกว่า “ประเพณีปี๋ใหม่เมือง” นิยมขนทรายเข้าวัดในช่วงบ่าย จุดเด่นของประเพณีภาคเหนือ จะนิยมใช้ตุงมาประดับตกแต่ง และจะมีการบูชารอยพระพุทธบาทด้วยเจดีย์ทราย
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคอีสาน
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคอีสาน เดิมทีเรียกว่า “ประเพณีบุญตบประทาย” นอกจากการขนทรายและก่อเจดีย์ ยังมีการแห่พระพุทธรูป ทำบุญตักบาตร และสรงน้ำพระร่วมด้วย
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันตก
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันตก สืบทอดต่อกันมาเป็นระยะเวลาหลายปี ประเพณีจะเริ่มจากการขนทรายไปยังบริเวณวัด ก่อเจดีย์ทราย มีขบวนผ้าป่า และมีการถวายสำรับกับข้าว อาหารหลากหลายชนิดที่บริเวณวัด
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันออก
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันออก ถือเป็นประเพณีที่สำคัญ เรียกว่า “ปีใหม่ไทย” ของชาวเล โดยนิยมจัดกิจกรรมก่อเจดีย์ทรายบริเวณริมทะเล เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ในบางพื้นที่จะมีการขุดทรายตามแหล่งน้ำ เพื่อนำไปก่อเจดีย์ทราย เรียกว่า “ประเพณีก่อพระทรายน้ำไหล” แต่ในระยะเวลาต่อมา ประเพณีดังกล่าวจางหายตามกาลเวลา จึงเหลือเพียง “วันไหล”
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคใต้
ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคใต้ นอกจากจะก่อเจดีย์ทราย ยังมีการจุดเปรียงเพิ่มสีสันและความสวยงาม พร้อมทั้งมีพิธีแห่นางกระดานในช่วงเทศกาลสงกรานต์ร่วมด้วย ประเพณีก่อเจดีย์ทรายวันไหนบ้าง
ประเพณีก่อเจดีย์ทรายมีกำหนดเวลาจัดที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ดังนี้
- ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคกลาง จัดพร้อมกับวันสงกรานต์ - ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคเหนือ จัดช่วงวันที่ 1 หรือ 2 ของวันสงกรานต์ - ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคอีสาน จัดพร้อมกับวันสงกรานต์ - ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันตก จัดหลังจากเทศกาลสงกรานต์ 1-2 วัน - ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคตะวันออก จัดหลังจากเทศกาลสงกรานต์ 5-6 วัน - ประเพณีก่อเจดีย์ทราย ภาคใต้ จัดพร้อมกับวันสงกรานต์
ก่อเจดีย์ทราย ใช้ทรายอะไร
การก่อเจดีย์ทรายไม่มีกำหนดตายตัวว่า จะต้องใช้ทรายประเภทใด แต่ตามประเพณีความเชื่อท้องถิ่นในบางพื้นที่ จะมีการใช้ทรายจากแหล่งน้ำต่างๆ นอกจากจะได้ทำบุญใหญ่ ยังเป็นการช่วยทำความสะอาดแหล่งน้ำสาธารณะ ให้น้ำไหลผ่านได้อย่างสะดวก
ประเพณีการก่อเจดีย์ทรายเริ่มจางหายตามการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย ดังนั้น ในบางพื้นที่จึงมีการจัดกิจกรรมประกวดการแข่งขันก่อเจดีย์ทราย สงกรานต์ เป็นประจำทุกปี เพื่อดำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีเดิม ส่งต่อให้กับคนรุ่นใหม่ ในขณะเดียวกันก็เป็นการเฉลิมฉลอง เพิ่มสีสันในช่วงวันสงกรานต์.Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/culture/26758964 เม.ย. 2568 16:17 น. | ไลฟ์สไตล์ > วัฒนธรรม > ไทยรัฐออนไลน์
|
|
|
34
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บันทึกกรรมฐาน โดย สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
|
เมื่อ: เมษายน 07, 2025, 09:33:52 am
|
. ธัมมานุปัสสนานิวรณ์ – ขันธ์ – อายตนะวันนี้จะอบรมธรรมปฏิบัติในหมวดธรรม การตั้งสติกำหนดใจให้เป็นสมาธินั้น ในสติปัฏฐานให้รวมใจมากำหนดที่กายอันนี้ ตรวจดูส่วนต่างๆที่กายอันนี้ เหมือนดังที่ได้อธิบายแล้ว แต่ก็เป็นการตรวจดูทั่วๆไป เหมือนอย่างเข้าไปในบ้านแห่งหนึ่ง ก็ตรวจดูในบ้านนั้นทั่วๆไป แต่การที่จะนั่งพักนอนพักในบ้านเพียงแห่งเดียว ชอบใจจะนั่งพักนอนพักที่ไหน ก็นั่งพักนอนพักที่นั้น
ในกายอันนี้ก็เหมือนกัน เมื่อตรวจดูทั่วๆ ไปแล้วจะนั่งที่ไหน ก็กำหนดเอาไว้จุดหนึ่ง แต่ให้อยู่ภายในกายอันนี้ เช่น กำหนดลมหายใจเข้า กำหนดลมหายใจออกด้วยตั้งนิมิตคือที่กำหนดไว้ เช่น ริมฝีปากเบื้องบน หรือปลายกระพุ้งจมูก ซึ่งเป็นที่ลมกระทบดังที่กล่าวมาแล้ว
และเมื่อรู้สึกเวทนาอย่างใด ก็ให้รู้ เช่นว่าเมื่อได้รับทุกขเวทนา เช่น ถูกยุงกัด หรือว่าร้อน หรือว่าส่งใจนึกออกไปข้างนอกในเรื่องทำให้เป็นทุกข์ ก็ให้รู้ แล้วก็ต้องให้รู้ด้วยว่า มีอะไรเป็นเครื่องล่อให้เกิดเวทนาอันนั้น และเมื่อไม่แพ้ทุกขเวทนา ยังตั้งใจไว้มั่นต่อไป ทุกขเวทนาก็จะค่อยๆสงบไป คราวนี้เมื่อได้รับสุขเวทนา คือความสบาย ก็ต้องให้รู้ และก็ต้องให้รู้ด้วยว่า อะไรมาเป็นเครื่องล่อสุขเวทนา เช่นว่าได้รับลมเย็น หรือบางทีใจแล่นออกไปข้างนอก ไปพบอารมณ์ที่น่ายินดี ก็เกิดความยินดีขึ้น
เมื่อคอยรู้เวทนาอยู่อย่างนี้ เวทนาที่มีเครื่องล่อข้างนอกก็จะน้อยลง ใจก็จะสงบเข้าๆ จนถึงสงบมาก ก็จะได้รับเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข ที่เรียกว่าเป็น อุเบกขา นี้ก็เหมือนกัน บางทีเฉยๆ ด้วยโมหะ ก็ต้องให้รู้ว่า ความโง่นั่นเองมาทำให้เฉยๆ แต่เมื่อปฏิบัติตั้งจิตให้มั่นต่อไป จนเกิดความรู้สึกเป็นอุเบกขา เพราะจิตสงบนั่นแหละ เรียกว่าเป็นอันเจริญการปฏิบัติสูงขึ้น
@@@@@@@
คราวนี้ก็ต้องให้ดูเข้ามาถึงจิตใจ จิตใจเป็นอย่างใด ก็ต้องให้รู้ และจิตใจนั้นเป็นฝ่ายที่เป็นกิเลส ก็เนื่องมาจากเวทนานั่นเอง สุขเวทนาก็มาปรุงให้จิตมีราคะ ทุกขเวทนาก็มา ปรุงให้จิตมีโทสะ อทุกขมสุขเวทนามาปรุงให้จิตมีโมหะ
แต่ว่าถ้าคอยดูให้รู้อยู่ เวทนาก็ปรุงจิตไม่ได้ จิตก็ปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ดังนี้เป็นต้น ก็ต้องกำหนดดูให้รู้แต่ถ้าเพียงเท่านี้ จิตกับกิเลสก็ยังเนื่องกัน ฉะนั้น ก็ต้องกำหนดให้ลึกซึ้งเข้าไปอีกชั้นหนึ่ง คือ ให้ดูเฉพาะกิเลส คือ ภาวะในจิตว่าเป็นอย่างไร ไม่ต้องคำนึงถึงตัวจิต แต่ดูภาวะในจิต กามฉันท์มีหรือไม่ พยาบาทมีหรือไม่ ถีนมิทธะ ความง่วงวุนเคลิบเคลิ้ม มีหรือไม่ อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่าน รำคาญ มีหรือไม่ วิจิกิจฉา ความเคลือบแคลงสงสัย มีหรือไม่
เมื่อทำสมาธิ ตั้งจิตกำหนดลมหายใจดังกล่าวแล้วอยู่ ถ้าสติกำหนดมั่นคง นิวรณ์ก็ไม่มีโอกาส แต่ว่าถ้าจิตแลบออกไป ก็ต้องคอยดูให้รู้ใจว่า กามฉันท์เข้ามาหรือเปล่า พยาบาทเข้ามาหรือเปล่า เป็นต้น
บางทีกามฉันท์สงบ พยาบาทสงบ แต่ก็ยังมีล่อแหลมอยู่อีก ๒ คือ ง่วงกับฟุ้งซ่าน ถ้ากำหนดสติไม่ตั้งมั่น ใจก็ฟุ้งออกไป นี้ก็ให้รีบรู้แล้วก็ชักเข้ามา เมื่อชักเข้ามา จิตสงบ
บางทีง่วง เพราะว่าความง่วงกับความสงบใกล้กัน ก็ต้องให้รู้ให้ตื่นอยู่ อย่าให้หลับ อย่าให้เผลอไผล บางทีใจตื่นอยู่ด้วยสติและด้วยรู้ แต่ก็ไม่เห็นจะได้จะถึงอะไร ก็สงสัยจะไม่มีผลกระมัง หรือว่าอะไรจะมาปรากฏต่อไป ก็คิดสงสัยไป ดังนี้ ก็เป็นอันตรายแก่สมาธิ ฉะนั้น ก็ต้องอย่าสงสัย หน้าที่ก็คือว่า ดำเนินการปฏิบัติต่อไป และผลของการปฏิบัติก็จะมาปรากฏขึ้นเอง
@@@@@@@
การที่คอยกำหนดให้รู้ทันนิวรณ์ และคอยระงับนิวรณ์ดังกล่าวมานี้ เป็นการเลื่อนการปฏิบัติขึ้น อีกชั้นหนึ่ง เข้าในหมวดธรรม แต่ว่าก็ควรจะรู้ต่อไปอีกว่า นิวรณ์นั้นเดินมาทางไหน อาศัยอะไร นิวรณ์นั้นอาศัยเบญจขันธ์เข้ามา คืออาศัยรูป อาศัยเวทนา อาศัยสัญญา อาศัยสังขาร อาศัยวิญญาณ
รูปก็ คือ รูป-กายที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้ง ๔ เป็นมหาภูตรูป และประกอบด้วยอุปาทายรูป รูปอาศัย รวมกันเป็นรูปกาย เวทนา ก็คือความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ ไม่ทุกข์ไม่สุข สัญญานี้ ก็คือ ความจำได้หมายรู้ สังขาร ก็คือความคิดปรุงหรือความปรุงคิด วิญญาณ ก็คือความรู้สึกเห็นรูป ได้ยินเสียง ได้ดมกลิ่น ได้ลิ้มรส ได้ถูกต้องสิ่งที่กายถูกต้อง และได้รู้เรื่องรูป เรื่องเสียงเป็นต้น ในอดีตที่ได้ประสบพบผ่านมาแล้ว เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เป็นนามธรรม รวมเรียกว่านามรูป นามรูปอันนี้เป็นที่อาศัยเกิดของกิเลส ถ้าไม่มีนามรูป กิเลสก็ไม่มีที่อาศัยเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ก็ต้องดูให้รู้ที่อาศัย เท่ากับว่าให้รู้บ้านของกิเลส คราวนี้เมื่อรู้บ้านของกิเลสแล้ว ก็ต้องรู้ประตูบ้าน บ้านนั้นถ้าหากปิดประตูหน้าต่างหมด อะไรก็เข้ามาไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ กิเลสจึงจะเข้ามาได้ เพราะฉะนั้น เมื่อรู้จักบ้านของกิเลส คือ เบญจขันธ์ อันได้แก่นามรูปนี้แล้ว ก็ต้องรู้ประตูหน้าต่างของบ้าน ซึ่งเป็นทางเข้าของกิเลสด้วย ก็ได้ แก่อายตนะภายใน ๖ ซึ่งเป็นตัวทวาร ๖ ก็ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมนะ ทั้ง ๖ นี้เรียกว่า ทวารก็ได้ คือ เป็นประตู สำหรับอารมณ์เข้ามา
อารมณ์ก็คือ อายตนะภายนอก ๖ อัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ และธรรมะคือเรื่อง เมื่อเรียกคู่กับอายตนะภายใน ก็เรียกว่าอายตนะภายนอก แต่เมื่อ เรียกคู่กับทวาร ก็เรียกว่าอารมณ์ จะเรียกอย่างไหนก็ได้
อายตนะภายในก็ดี ทวารก็ดี ก็เป็นอันเดียวกัน อายตนะภายนอกก็ดี อารมณ์ก็ดี ก็หมายความถึงอันเดียวกัน อารมณ์เป็นสิ่งที่เข้ามา ทวารเป็นประตูเข้า เบญจขันธ์นั้นเป็นบ้าน จิตก็เท่ากับว่าเป็นเจ้าของบ้านที่อยู่ข้างใน
อารมณ์ที่เข้ามานั้น โดยปกติก็เข้ามาเป็นสังโยชน์ คือมาผูกมัดรัดรึงจิตไว้ เมื่อมาผูกมัดรัดรึงจิตไว้ จึงได้เกิดเป็นนิวรณ์ ถ้าหากว่า อารมณ์ไม่เข้ามาผูกจิต นิวรณ์ก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้น จิตต้องรู้จักว่า นี่เป็นบ้านอาศัยของกิเลส นี่เป็นทวาร คือ ประตู บ้านสำหรับกิเลสจะเข้ามา และนี่เป็นอารมณ์คือ เป็นสิ่งที่เข้า
@@@@@@@
ถ้ารู้อยู่ดังนี้ อารมณ์ก็จะไม่เข้ามารัดรึงจิตได้ คือไม่เข้ามาเป็น สังโยชน์ เครื่องประกอบเครื่องรัดรึงผูกมัดจิต เพราะฉะนั้น จึงต้องคอยมีสติอยู่เต็มตัว สติต้องให้อยู่เต็มบ้าน สติต้องให้อยู่เต็มทุกประตู เมื่อมีสติคอยรับรองอยู่ ดังนี้ อารมณ์ก็เข้ามาผูกมัดจิตไม่ได้ ก็เกิดนิวรณ์ขึ้นไม่ได้ แต่ถ้าหากว่าเผลอสติเข้าเมื่อใด อารมณ์ก็เข้ามาผูกมัดจิตได้ เมื่อผูกมัดจิตได้ ก็เกิดเป็นนิวรณ์ขึ้น
เพราะฉะนั้น ก็ต้องให้มีสติรู้ลู่ทางไว้รอบคอบ การที่กำหนดให้รู้จักขันธ์ ๕ ให้รู้จักอายตนะภายในภายนอก ให้รู้จักสังโยชน์ คือ อารมณ์ที่เข้ามาผูกรัดรึงจิตไว้ให้ตลอด ดังนี้ ก็เป็นการรู้ที่เป็นการป้องกันตัวด้วย เป็นการแก้ไขด้วย แต่ถ้าหากว่าไม่รู้ ก็ชื่อว่าไม่รู้การป้องกันการแก้ไข ทำสมาธิก็ไม่สำเร็จ
ฉะนั้น ในหมวดธรรมะนี้ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสสอนให้กำหนดให้รู้จักนิวรณ์ ให้รู้จักขันธ์ ๕ ให้รู้จักอายตนะ ให้รู้จักสังโยชน์ พร้อมทั้งให้รู้ในด้านสงบระงับและวิธีปฏิบัติ ก็ตรวจดูลู่ทางให้รู้ให้ทั่วถึง แต่ว่าการกำหนดใจให้เป็นสมาธินั้น ก็กำหนดอยู่ในอานาปานสติเป็นหลัก และเมื่ออะไรจะพล๊อบแพล็บเข้ามา ก็ให้รู้ลู่รู้ทางแล้ว ก็จะแก้ไขได้ทันท่วงที กลับมาทำใจให้ตั้งมั่นแน่วแน่ได้ยิ่งๆ ขึ้นไป
วันนี้ก็ยุติเพียงเท่านี้
|
|
|
35
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / พระสมเด็จฯ สองยุค
|
เมื่อ: เมษายน 05, 2025, 10:29:57 am
|
. พระสมเด็จฯ สองยุคมีคำถามยอดฮิตในหมู่นักสะสม ว่าพระสมเด็จวัดระฆังฯเริ่มสร้างปีไหนกันแน่ ถ้าอ้างตามตำรา ตรียัมปวาย ก็ต้องบอกว่า ปี พ.ศ. 2409 ...
ตรียัมปวาย อ้างถึงบันทึกของพระอาทรพัตรพิสิฐ (เล็ก อุณหะนันท์) ที่ได้สัมภาษณ์พระธรรมถาวร (ช่วง จันทโชติ) ศิษย์ใกล้ชิด ท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ไว้ในหนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่อง เล่มที่ 1 ว่า “เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯ ของท่านขึ้น เมื่อตัวเจ้าคุณพระธรรมถาวรบวชได้ 2 พรรษาแล้ว ... (เจ้าคุณพระธรรมถาวร อุปสมบท เมื่อ พ.ศ. 2407 โดยมีท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต เป็นพระอุปัชฌาย์)”
น่าสนใจว่า “พระสมเด็จฯ” ข้างต้นนี้หมายความว่าอย่างไร และก่อนปี พ.ศ. 2409 ท่านเจ้าประคุณฯ ได้มีการสร้างพระเครื่องอื่นๆ ไว้หรือไม่ ...
ตรียัมปวาย ได้กล่าวถึงการสร้าง “พระพิมพ์หลวงพ่อโต” โดยอ้างถึงคำกล่าวของนายกนก สัชชุกร ที่ได้สัมภาษณ์พระธรรมถาวรว่า “เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้าง (พระพิมพ์หลวงพ่อโต) ไว้ตั้งแต่ยังครองสมณศักดิ์ที่พระธรรมกิตติ แล้วติดแผ่นกระดานไว้ในโบสถ์วัดระฆังฯ เตรียมจะประดับฝาผนังโบสถ์ ...”
และยังอ้างถึงคำกล่าวของ พระราชธรรมภาณี เจ้าอาวาสวัดระฆังฯ ไว้ด้วยว่า
“เจ้าคุณเฒ่า (พระธรรมถาวร) เคยเล่าว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระหลวงพ่อโตเนื้อดินเผาขึ้นในระยะแรกๆ ก่อนที่จะสร้าง พระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม ... มีลักษณะสัณฐานแตกต่างกับหลวงพ่อโต วัดกระทิง อยุธยา เป็นอันมาก ของเจ้าพระคุณฯ นั้น มีขนาดย่อมกว่าประมาณ 1 ใน 3 กรอบค่อนข้างเรียวชลูด ยอดแหลม ไม่ป้านเหมือนของอยุธยา องค์พระไม่ล่ำสันขึงขัง และพระเกศแบบบัวตูม”
(พระหลวงพ่อโต พบที่วัดบางกระทิง จ.พระนครศรีอยุธยา และยังพบตามกรุวัดต่างๆ ทั้งในอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง มีสัณฐานเป็นรูปสามเหลี่ยม นั่งขัดสมาธิราบบนฐานบัวคว่ำบัวหงาย องค์พระคมชัดนูนเด่น พระพักตร์ใหญ่ พุทธศิลป์เป็นฝีมือของช่างสมัยอยุธยา อายุกว่า 400 ปี)
@@@@@@@
หนังสือทำเนียบพระราชาคณะกรุงรัตนโกสินทร์ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ บันทึกไว้ว่า ท่านเจ้าประคุณฯ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระธรรมกิตติ เมื่อปี พ.ศ. 2395 และต่อมาอีก 2 ปี ในปี พ.ศ. 2397 ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะชั้นผู้ใหญ่ที่ พระเทพกวี แล้วจึงได้รับสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) เมื่อปี พ.ศ. 2407
(อาจารย์ประกิต หลิมสกุล หรือ “พลายชุมพล” แห่งหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ กรุณาให้ข้อมูลว่า ในสมัยนั้น พระราชาคณะชั้นเทพ จะสูงกว่า ชั้นธรรม ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงต่อมาในยุคหลัง)
ซึ่งหมายถึงว่าท่านเจ้าประคุณฯ ได้เคยสร้างพระเครื่องพิมพ์อื่นที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2409 เช่นพระพิมพ์ “หลวงพ่อโต” ไว้ด้วยเช่นกัน และได้เริ่มสร้างพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2409 เป็นต้นมา จนถึง ปี พ.ศ. 2415 ซึ่งเป็นปีที่ท่านละสังขาร ...
คำว่า พระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม จึงน่าจะหมายถึง พระเครื่องที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณฯ หลังจากได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะแล้วนั่นเอง
จากข้อมูลเหล่านี้ “ศาสตร์แห่งพระสมเด็จ” ขออนุญาตนำเสนอแนวทางการแบ่งยุค ของพระเครื่องที่ท่านเจ้าประคุณฯ เป็นผู้สร้าง ออกเป็น 2 ยุค เรียกว่า เป็นยุคก่อนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะหรือ ยุคพระพิมพ์ และยุคหลังได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะหรือ ยุคพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม

ข้อมูลพยานหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระเครื่องที่ท่านเจ้าประคุณฯ สร้าง ในยุคก่อนได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ (ยุคพระพิมพ์) นั้นมีน้อยมาก สันนิษฐานว่า ท่านเจ้าประคุณฯ และญาติโยมที่เกี่ยวข้อง น่าจะสร้างตามรูปแบบของพระเครื่องหรือพระพิมพ์ ที่มีมาแต่ก่อน และเป็นที่เคารพศรัทธา ในยุคนั้น เช่นพระพิมพ์หลวงพ่อโตวัดบางกระทิง ตามที่ปรากฏในหนังสือของ ตรียัมปวาย หรืออาจจะเป็นพระพิมพ์อื่นเช่น พระรอดลำพูน หรือพระกำแพงซุ้มกอ ที่มีการสร้างมาก่อนหน้านั้นแล้วหลายร้อยปีก็เป็นไปได้ ...
ในส่วนของพระเครื่องที่ท่านสร้างในยุคหลัง คือหลังจากได้รับสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) หรือที่เรียกว่า พระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม นั้น มีผู้แต่งหนังสือตำรา อธิบายถึงพิมพ์พระสมเด็จฯ แบบต่างๆ ไว้มากมายหลายเล่ม
หนังสือปริอรรถาธิบายแห่งพระเครื่องฯ เล่มที่ 1 ของ ตรียัมปวาย ได้สรุปความในเรื่องนี้ จากผู้ที่ได้สัมภาษณ์พระธรรมถาวร เช่น พระอาจารย์ขวัญ “วิสิฏโฏ” พระอาทรพัตรพิสิฐ และนายกนก สัชชุกร ไว้ว่า
“แต่เดิมนั้นชาวบ้านต่างพากันแกะแม่พิมพ์ของตนมาเอง และมาช่วยกันแกะพิมพ์พระ ต่อมาเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ให้นายเทดแกะแม่พิมพ์แบบสี่เหลี่ยมขึ้นก่อน และชาวบ้านก็แกะเป็นพิมพ์สี่เหลี่ยมขึ้นบ้าง ตอนนี้เข้าใจว่าเจ้าพระคุณคงจะได้แกะแม่พิมพ์แบบสี่เหลี่ยมเป็นตัวอย่างขึ้นมาก่อน คือได้แก่พิมพ์ทรงเศียรบาตรอกครุฑ นอกจากนั้นก็คือ สมเด็จฯ กรมพระบำราบปรปักษ์ อีกทั้งเจ้าวังหลังพระองค์หนึ่ง รับราชการในกรมช่างสิบหมู่ ก็ได้ทรงช่วยแบบพิมพ์สี่เหลี่ยมด้วย และในที่สุด หลวงวิจารณ์เจียรนัย ช่างทองหลวง ได้ดัดแปลงแก้ไขโดยออกแบบแม่พิมพ์ที่ทันสมัยขึ้น ถวายเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็ได้ใช้สร้างพระสมเด็จฯ ตลอดมาและเลิกสร้างจากแม่พิมพ์เก่านั้นเสีย”
@@@@@@@
กล่าวโดยสรุป ในปัจจุบัน พระสมเด็จฯ ที่พอจะหาพยานหลักฐาน ไม่ว่าจะเป็นพยานวัตถุหรือเอกสารตำรา มาสนับสนุนว่าเป็นพระสมเด็จฯ ที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณฯ จะเป็นพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นพระสมเด็จฯ แบบสี่เหลี่ยม รุ่นแรกๆ แบบพิมพ์ทรง 5 ชั้น 6 ชั้น และ 7 ชั้น (พระสมเด็จเกศไชโย) หรือพระสมเด็จฯ รุ่นที่สร้างหลังจากนั้น ที่เป็นแบบฐาน 3 ชั้น (พระสมเด็จวัดระฆังฯ, พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม) ในส่วนของพระพิมพ์อื่นที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณฯ นั้น หลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ยังมีอยู่อย่างจำกัด การพิสูจน์ว่าเป็นพระที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณฯ หรือไม่นั้น ยังทำได้ค่อนข้างยาก
รายละเอียดเพิ่มเติมสามารถหาอ่านได้ที่ เพจเฟสบุ๊ค พระสมเด็จศาสตร์ ขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รังสรรค์ ต่อสุวรรณ ที่กรุณาเอื้อเฟื้อรูป พระสมเด็จวัดระฆังฯ องค์ครู อีกองค์หนึ่ง เพื่อให้ความรู้ และขอขอบคุณท่านเจ้าของพระท่านปัจจุบัน พระองค์นี้เป็นพระสมเด็จวัดระฆังฯ พิมพ์ใหญ่ ที่งดงามมากอีกองค์หนึ่ง เป็นองค์ต้นแบบที่ดีเพื่อใช้ในการศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับพระสมเด็จวัดระฆังฯ
Thank to : https://www.thairath.co.th/lifestyle/amulet/28509713 เม.ย. 2568 11:00 น. | ไลฟ์สไตล์ > พระเครื่อง > ไทยรัฐออนไลน์ ผู้เขียน : พ.ต.ต.คมสัน สนองพงษ์ อดีตตำรวจพิสูจน์หลักฐาน เพจเฟสบุ๊ค – พระสมเด็จศาสตร์
|
|
|
36
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / คิดตามธรรม แก้อาการจิตตก เมื่อรู้สึกหดหู่เศร้าใจจากเหตุการณ์ในข่าว
|
เมื่อ: เมษายน 05, 2025, 10:00:56 am
|
. คิดตามธรรม แก้อาการจิตตก เมื่อรู้สึกหดหู่เศร้าใจจากเหตุการณ์ในข่าวเมื่อเหตุภัยความรุนแรงเกิดขึ้นในสังคมมากขึ้นขณะที่เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการรับรู้ข่าวสารที่โศกเศร้าสะเทือนใจ ส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้คนมากมายซึมซับความหดหู่จนรู้สึกจิตตกเป็นอย่างมาก ยิ่งผู้ที่ประสบการณ์ร่วมกับเหตุสะเทือนขวัญยิ่งรู้สึกถึงความสูญเสียและความเจ็บปวด ความรู้สึกเหล่านี้จำเป็นต้องทำความเข้าใจและปรับใจตนเองเป็นอย่างยิ่ง
@@@@@@@
ทำอย่างไรเมื่อรู้สึกหดหู่และจิตตก
ความรู้สึกหดหู่และจิตตกมากจากการรับข่าวสารเหตุการณ์ที่น่าเศร้าและน่าสะเทือนขวัญ แม้ไม่ใช่ความสูญเสียและความเจ็บปวดเพราะกระทบกับตนหรือครอบครัวโดยตรง แต่ความรู้สึกนี้เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเศร้า เสียใจ หรือกลัว เมื่อทราบข่าว คำแนะนำเบื้องต้นเหล่านี้อาจช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้
1. อนุญาตให้ตัวเองรู้สึกเศร้าและเสียใจ เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกแบบนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น อย่าพยายามเก็บกดความรู้สึกของคุณเอาไว้
2. พูดคุยกับคนที่ไว้ใจได้ พูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของคุณกับคนที่คุณไว้ใจ เช่น เพื่อน ครอบครัว หรือนักบำบัด จะช่วยให้คุณรู้สึกดีขึ้นและได้กำลังใจจากผู้อื่น
3. ดูแลตัวเองให้ดีที่สุด ทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนหลับให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยให้คุณรู้สึกมีพลังและดีขึ้น
4. เปลี่ยนโฟกัสจากการติดตามข่าวสาร หันมามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น ฟังเพลง อ่านหนังสือ ใช้เวลากับธรรมชาติ หรือทำกิจกรรมที่คุณชอบ
นอกจากนี้ คุณสามารถช่วยเหลือผู้อื่นที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์กราดยิงได้อีกด้วย เช่น บริจาคเงินหรือสิ่งของให้กับองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือเหยื่อ หรืออาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น การทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณรู้สึกมีความหมายและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้อื่น
@@@@@@@
ข้อคิดทางธรรมช่วยให้ใจสงบ แก้อาอาการจิตตก
สำหรับผู้ต้องการความสงบทางจิตใจ เหตุการณ์ที่ยากลำบาก หลักคิดทางธรรม หรือธรรมะสอนใจสามารถช่วยเยียวยาจิตใจผู้คนได้เสมอ เหล่านี้อาจช่วยให้คุณสามารถนำมาปรับใช้เพื่อช่วยให้รู้สึกดีขึ้นจากเหตุการณ์ในสังคมได้
1. ความทุกข์เป็นธรรมดา ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงความทุกข์ได้ การรับรู้เหตุการณ์ที่น่าเศร้าและน่าสะเทือนขวัญ เป็นเหตุอันควรที่จะรู้สึกเศร้า เสียใจ หรือกลัว คุณยอมรับความทุกข์นี้และอย่าพยายามเก็บกดเอาไว้
2. ความทุกข์เป็นบทเรียน หลายเหตุการณ์อาจทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตและความสัมพันธ์ของเรามากขึ้น อาจทำให้เราเห็นถึงด้านมืดของมนุษย์และสังคม และอาจทำให้เรามีแรงจูงใจที่จะทำอะไรบางอย่างเพื่อเปลี่ยนแปลงโลกให้ดีขึ้น
3. ความทุกข์เป็นโอกาสในการเจริญปัญญา เราสามารถเรียนรู้และเติบโตจากประสบการณ์ที่ยากลำบากได้ เหตุการณ์เลวร้ายอาจทำให้เราเข้าใจโลกและตัวเราเองได้ดีขึ้น และอาจทำให้เรามีมุมมองที่กว้างขึ้นและเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น แนวทางปฏิบัติการใช้ธรรมนำใจเยียวยาตนเอง
1. ฝึกสติ การฝึกสติช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะและรับรู้ความรู้สึกของเราได้อย่างมีสติ การฝึกสติสามารถทำได้โดยการทำสมาธิ การนั่งสมาธิจะช่วยให้เราใจสงบและผ่อนคลาย และช่วยให้เรารับมือกับความทุกข์ได้ดีขึ้น
2. ฝึกความเมตตา การฝึกความเมตตาช่วยให้เราเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น เราสามารแผ่ความรักและความเห็นอกเห็นใจทั้งผู้ถูกกระทำและผู้ที่ก่อเหตุด้วยได้
3. ช่วยเหลือผู้อื่น การช่วยเหลือผู้อื่นช่วยให้เรารู้สึกมีความหมายและมีส่วนร่วมในสังคม การช่วยเหลือผู้อื่นสามารถทำได้โดยการบริจาคเงินหรือสิ่งของให้กับองค์กรการกุศลที่ช่วยเหลือเหยื่อ หรืออาสาสมัครช่วยเหลือผู้ประสบภัย เป็นต้น
@@@@@@@
โกรธแค้นและสาปแช่งผู้ก่อเหตุไม่ใช่ทางออก
อย่างไรก็ตามในหลายสถานการณ์เราต่างเข้าใจดีว่าความรุนแรงนั้นส่งผลให้ประชาชนรู้สึกโกรธแค้นและสาปแช่งผู้ก่อเหตุ เพราะเหตุการณ์นี้สร้างความสูญเสียและความเจ็บปวดให้กับครอบครัวของผู้ที่ได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกเช่นนี้เมื่อเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงขึ้น
แต่การโกรธแค้นและสาปแช่งผู้ก่อเหตุอาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด เพราะอาจนำไปสู่ความรุนแรงหรือทำให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิม ในทางธรรมการสาปแช่งผู้อื่นยังถือเป็นมโนกรรมอย่างหนึ่งที่เรียกได้ว่าเป็นบาปแรง ก่อเวรไม่จบสิ้น ทั้งเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว ไม่มีอดีตใด ที่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขได้ ยิ่งจมกับความเจ็บแค้นนานยิ่งไม่ส่งผลดีต่อตนเอง
ดังนั้นแทนที่จะโกรธแค้นและสาปแช่งผู้ก่อเหตุจนบาปติดตัวมาเปลี่ยนเป็นการพยายามเข้าใจสาเหตุของการก่อเหตุ และหาวิธีป้องกันไม่ให้เหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นอีกในอนาคต สิ่งสำคัญคือการร่วมมือร่วมใจกันสร้างสังคมที่ปลอดภัยและปราศจากความรุนแรง เพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถเติบโตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพ
เมื่อทราบถึงต้นตอสาเหตุที่แน่ชัดแล้ว จึงเริ่มปรับใจตนเองและดูแลคนในครอบครัวอย่างใกล้ชิด มิให้ตกเป็นเหยื่อของอกุศลกรรมที่ไร้ซึ่งความเมตตา Thank to : https://www.sanook.com/horoscope/263207/04 ต.ค. 66 (01:54 น.) | S! Horoscope : สนับสนุนเนื้อหา
|
|
|
37
|
เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: บันทึกกรรมฐาน โดย สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน)
|
เมื่อ: เมษายน 05, 2025, 09:21:50 am
|
. จิตตานุปัสสนาคราวนี้ที่เวทนาจะเป็นอย่างใดนั้น ถ้าจิตไม่เป็นไปอย่างนั้น ก็ไม่เป็นอะไร แต่ว่าโดยปกติ เวทนามักจะชักจิตใจให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่ง คือว่าเมื่อมีสุขเวทนา ก็ชักให้จิตมีราคะ ความติดความยินดี ความกำหนัด ทุกขเวทนา ก็ชักจิตให้มีโทสะ คือความไม่ชอบ ความหงุดหงิด ความรำคาญ ความขัดเคือง อทุกขมสุขเวทนา ก็ชักจิตให้มีโมหะ คือ ความหลง สยบติดอยู่ เพราะฉะนั้น เมื่อพิจารณาให้ละเอียดเข้ามาอีก ก็ต้องมาดูที่จิต
จิตมีราคะหรือไม่มีราคะ ก็ให้รู้ จิตมีโทสะหรือไม่มีโทสะ ก็ให้รู้ จิตมีโมหะหรือไม่มีโมหะ ก็ให้รู้
นอกจากนี้ก็ให้รู้อาการของจิตปลีกย่อยที่ประกอบอยู่กับหัวข้อทั้ง ๓ นี้ คือว่า จิตหดหู่หรือฟุ้งซ่าน ก็ให้รู้ จิตที่กว้างขวางหรือคับแคบ ก็ให้รู้ จิตที่ยิ่งไม่ยิ่ง ก็ให้รู้ จิตที่ตั้งมั่นหรือไม่ตั้งมั่น ก็ให้รู้ จิตที่หลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น ก็ให้รู้
โดยปกตินั้น เมื่อจิตมีราคะ โทสะ โมหะ ก็เป็นจิตที่หดหู่หรือฟุ้งซ่าน เป็นจิตที่คับแคบ เป็นจิตที่ไม่ตั้งมั่น เป็นจิตที่ไม่หลุดพ้น แต่ถ้าจิตปราศจากราคะ โทสะ โมหะ ก็เป็นจิตที่กว้างขวาง เป็นจิตที่ยิ่ง เป็นจิตที่ตั้งมั่น เป็นจิตที่หลุดพ้นคอยดูจิตของตนว่าเป็นอย่างใด การที่ตั้งสติกำหนดจิตดังกล่าวมานี้ เรียกว่าเป็น จิตตานุปัสสนา
@@@@@@@
ในขั้นแรกก็ตั้งสติกำหนดกายในกาย ต่อมาก็กำหนดเวทนาในเวทนา เพื่อจะได้ดูให้ใกล้ชิดเข้ามา เพราะเวทนานี้เป็นตัวร้ายที่จะคอยทำลายการปฏิบัติ ถ้าไม่ดูให้ดีแล้วก็จะทำลายสมาธิ และเมื่อจะดูให้ละเอียดเข้ามาอีก ก็ให้ดูจิต เพราะว่า สำคัญอยู่ที่จิตนี่เอง แปลว่าดูให้ใกล้ชิดเข้ามาที่สุด
ในการปฏิบัติทั้ง ๓ ขั้นที่กล่าวมานี้ ถ้าในขั้นฝึกหัดตรวจเรื่อยๆมา ตรวจกายเรื่อยๆมา ตรวจเวทนาเรื่อยๆมา ตรวจจิตเรื่อยๆมา คล้ายกับว่า เราอพยพเข้าไปอยู่กุฏิใหม่ก็เดินดูเสียให้ทั่ว อะไรอยู่ที่ไหนบ้าง กว้างขวางเท่าไร แต่ว่าเวลาที่เราจะพักจริงๆ นั้น เราก็พักอยู่เพียงแห่งเดียว เช่นว่า จะนอน ก็ตั้งเตียงนอนแห่งเดียว ไม่ใช่ว่าเดินไปรอบๆ อยู่วันยังค่ำคืนยังรุ่ง ก็เป็นอันว่าไม่ต้องพักกันเท่านั้น
เพราะฉะนั้น ถึงเวลาที่พักจริงๆ นั้น เราพักอยู่เพียงแห่งเดียว นี่ก็เหมือนกัน เราก็พักอยู่เพียงแห่งเดียว คือว่า ถ้าชอบอานาปานสติ ก็พักอยู่ที่อานาปานสติ เป็นแต่เพียงว่าคอยดูเอาไว้ มีเวทนาอะไรโผล่เข้าจะขัดขวาง ก็ให้รู้ มีจิตอะไรโผล่เข้ามา ก็ให้รู้ แล้วก็ประคับประคองอยู่เพียงแห่งเดียวนั้น ให้แน่วแน่ต่อไป นั่นแหละ การปฏิบัติจึงจะดำเนิน
ในวันนี้ก็ยุติเพียงเท่านี้
|
|
|
39
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / เหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหว ในสมัยพุทธกาล
|
เมื่อ: เมษายน 02, 2025, 07:31:06 am
|
. เหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหว ในสมัยพุทธกาล เนื้อหาในพระสูตรนี้พอสังเขป เหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหว 8 เหตุการณ์ ในสมัยพุทธกาล
1. ธาตุกำเริบ (ธาตุดิน น้ำ ไฟลม) 2. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์ (เทวดา สัมณะพราหมณ์) 3. ก้าวลงสู่พระครรภ์ (จากเทวดาชั้นดุสิต) 4. ประสูติ (สวนลุมพินีวัน) 5. ตรัสรู้ (โคนต้นโพธิ์) 6. แสดงพระธรรมจักร (แสดงครั้งแรกกับปัจวัคคีย์) 7. ปลงสังขาร (90 วันก่อนปรินิพพาน) 8. เสด็จดับขันธปรินิพพาน (โคนต้นสาละคู่ เมืองกุสินารา) เหตุแห่งการเกิดแผ่นดินไหว ในสมัยพุทธกาล พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
ดูกรพระอานนท์ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการเหล่านี้แล เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ๘ ประการเป็นไฉน ฯ
๑. ธาตุกำเริบ ดูกรอานนท์ มหาปฐพีนี้ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัดอยู่ย่อมยังน้ำให้ไหว น้ำไหวแล้ว ย่อมยัง แผ่นดินให้ไหว อันนี้เป็นเหตุ เป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ ปรากฏ ฯ
๒. อานุภาพของผู้มีฤทธิ์ อีกประการหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ ถึงความเป็นผู้ชำนาญใน ทางจิต หรือว่าเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญาเพียง เล็กน้อย เจริญอาโปสัญญาอย่างแรงกล้า เขาย่อมยังแผ่นดินนี้ให้สะเทือนสะท้าน หวั่นไหวได้ อันนี้เป็นปัจจัยข้อที่สอง เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ
๓. พระโพธิสัตว์ก้าวลงสู่พระครรภ์ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์จุติจากชั้นดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สาม เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ
๔. เสด็จออกจากครรภ์พระมารดา อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระโพธิสัตว์มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจาก พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้ เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ
๕. บรรลุพระสัมโพธิญาณ อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ ปรากฏ ฯ
๖. ทรงแสดงพระธรรมจักร อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตให้อนุตรธรรมจักรเป็นไป เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อม สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ ปรากฏ ฯ
๗. ทรงปลงอายุสังขาร อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตมีพระสติสัมปชัญญะทรงปลงอายุสังขาร เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็น ปัจจัยข้อที่เจ็ด เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ
๘. เสด็จดับขันธปรินิพพาน อีกประการหนึ่ง เมื่อใด พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ย่อมสะเทือนสะท้านหวั่นไหว อันนี้เป็นเหตุเป็น ปัจจัยข้อที่แปด เพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ปรากฏ ฯ
ดูกรอานนท์ เหตุ ๘ ประการ ปัจจัย ๘ ประการเหล่านี้แลเพื่อให้แผ่นดินไหวใหญ่ ปรากฏ ฯขอบคุณบทธรรมจาก : https://www.anakame.com/page/1_Sutas/500/515.htmขอบคุณภาพจาก : https://www.panmai.com/พระนางสิริมหามายาทรงสุบินนิมิต/
|
|
|
40
|
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / สุขแบบพุทธ เติมสุขให้ใจ
|
เมื่อ: เมษายน 02, 2025, 07:13:39 am
|
. สุขแบบพุทธ เติมสุขให้ใจพุทธศาสนามีหลักธรรมคำสอนที่กว้างขวางและลึกซึ้ง โดยรวมแล้วอาจจะแบ่งแบบกว้างที่สุดได้เป็นสองส่วน ที่เรียกว่า ธรรม และ วินัย ซึ่งเป็นคำที่ใช้กันในสมัยพุทธกาล “ธรรม” คือ ความจริงที่พระองค์ค้นพบ และทรงนำมาแจกแจงแสดงเป็นคำสอน วินัย คือ สิ่งที่พระองค์ทรงบัญญัติขึ้นเพื่อนำมาเป็นข้อประพฤติปฏิบัติ การจะเข้าถึง “ธรรม” นั้นต้องควบคู่ไปกับการปฏิบัติที่เรียกว่า “วินัย” ไปพร้อมกัน
ในส่วนของการเชื่อมโยงกันระหว่างสองส่วนนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ( ป.อ. ปยุตโต) ที่สรุปไว้ว่า เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือหลักไตรลักษณ์ พระพุทธเจ้าทรงสอนเพื่อประโยชน์สองอย่างคือ
1. เพื่อจะให้เราทำใจให้เป็นอิสระ หลุดพ้น ไม่ยึดติด ถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย เพราะความยึดติด ถือมั่นในสิ่งต่างๆ นั้นเป็นเหตุให้เรามีความทุกข์
2. เพราะเหตุที่ว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ทุกอย่างจะเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่เป็นไปตามความปรารถนาของเรา
คำสอนของพระพุทธองค์จึงสอนคนทั้งหลายให้มีความไม่ประมาทในการทำสองสิ่ง คือ การทำจิต และ ทำกิจ จะเห็นได้ว่าส่วนของ “ธรรม” หากเข้าใจหรือเข้าถึงแล้วจะโยงไปสู่ความมีอิสรภาพของบุคคล ส่วน “วินัย” หรือแนวทางการปฏิบัติต่อตนเอง ผู้อื่น สิ่งของหรือเรื่องราวต่างๆ จึงเป็นแนวปฏิบัติต่อคนอื่นสิ่งอื่นอย่างสอดคล้องต่อความเป็นจริงตามหลักธรรม
@@@@@@@
พระไพศาล วิสาโล ได้ขยายความเพิ่มเติมว่า “ทำกิจ หมายถึง การทำหน้าที่หรือความประพฤติที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นรวมทั้งวัตถุสิ่งของ และสิ่งแวดล้อม ที่แสดงออกผ่านทางกายและวาจา ส่วน ‘ทำจิต’ หมายถึงการฝึกฝนพัฒนาจิต การวางจิตวางใจ จะเรียกว่าเป็น การกระทำภายในก็ได้”
เพราะทัศนะของพุทธศาสนาเห็นว่าการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมแบบหมกมุ่นลุ่มหลง ปล่อยกายปล่อยใจไปตามแรงผลักดันของกิเลส หรือการหลีกเร้นปลีกตัวเองออกไปจากสังคม ไม่ยุ่งเกี่ยวหรือรับผิดชอบใดๆ ต่อสังคม อยู่อย่างกดข่มตัวเอง เป็นการปฏิบัติที่สุดโต่งทั้งสองด้าน ไม่ได้ทำให้มนุษย์ใช้ชีวิตอย่างมีความหมายอย่างแท้จริง
เมื่อมองกลับมายังสังคมในปัจจุบันที่สถาบันต่างๆ และกลุ่มคนในสังคมเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เหตุปัจจัยต่างๆ ไม่เชื่อมโยงกันทั้งสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อนเข้าใจได้ยาก ชีวิตถูกผลักดันด้วยความเร็วในทุกมิติ ผู้คนจำนวนมากคาดหวังความสำเร็จในชีวิตอย่างรวดเร็วและวัดค่าความสำเร็จด้วยสิ่งที่เป็นวัตถุรูปธรรม หรือการมีตัวตนที่จะได้รับการยอมรับจากคนอื่นหรือสังคมตามกระแสสังคม ส่งผลต่อความเครียดความวิตกกังวลของผู้คน
สะท้อนผ่านอัตราการป่วยทางจิตใจเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมก็มีความเหินห่าง มีรอยร้าวระหว่างกัน แบ่งแยกเป็นกลุ่มเฉพาะมากยิ่งขึ้น ขาดความไว้วางใจระหว่างกัน ทำให้ทางมูลนิธิเครือข่ายพุทธิกาเห็นว่าหลักการของพุทธศาสนาที่มีอยู่เดิม โดยเฉพาะในเรื่องทำจิตและทำกิจสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบรรเทาปัญหาดังที่กล่าวมาได้ไม่มาก็น้อย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาเป็นแนวทางเพื่อเรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติของจิตใจซึ่งอยู่ภายในตัวบุคคลและการวางท่าทีต่อความเปลี่ยนแปลงหรือการปฏิบัติต่อคนอื่นสิ่งอื่น การทำกิจหรือการขวนขวายทำการต่างๆ อย่างไม่ประมาท อาจเป็นสิ่งที่แนวคิดอื่นนอกเหนือไปจากพุทธศาสนาก็ส่งเสริมกันอยู่แล้ว
แต่สิ่งที่เพิ่มมาในมุมมองของพุทธศาสนาคือการทำจิต ด้วยการรู้จักปล่อยวางต่อสิ่งต่างๆ ที่เราเข้าไปสัมพันธ์หรือกระทำการต่างๆ อย่างมองให้เห็นความจริงว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาของสรรพสิ่งต่างๆ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยยากจะไปบังคับให้เป็นไปตามใจเราได้
ความสุขในมุมมองของพุทธศาสนา
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) เสนอไว้ว่า พุทธศาสนาคือระบบพัฒนาความสุข ในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาต่างได้มีการกล่าวถึงความสุขไว้อย่างหลากหลายมากมายและมีการจัดแบ่งไว้เป็นระดับชั้นและประเภท มีการจัดกลุ่มเป็นคู่ เป็นหมวด ไต่ระดับไปจนถึงความสุขที่สูงที่สุดแต่ละประเภทแต่ละระดับ ก็มีข้อดีข้อด้วยในตนเอง การให้ความหมายของความสุขไว้หลากหลายเป็นระดับ การแบ่งเช่นนั้นเป็นการสื่อสารไปด้วยว่าความสุขเองพัฒนาขึ้นไปตามลำดับได้ และสมควรที่ต้องพัฒนาด้วย เพื่อให้ไปสู่ความสุขที่ดีเลิศที่สุด
ในด้านหนึ่งความสุขคือการได้สนองความต้องการ หรือได้สิ่งต่างๆ สมความอยากหรือสมปรารถนา คู่ของการแบ่งคู่หนึ่งคือ
1. ความสุขที่ต้องอาศัยวัตถุ (อามิสสุข, สามิสสุข) เป็นความสุขที่คนในยุคปัจจุบันแสวงหากัน โดยเฉพาะในสังคมที่เน้นการบริโภคหรือการมีวัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นความสุขที่เกิดจากการได้เสพรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส เป็นความสุขที่ต้องอาศัยปัจจัยภายนอก ถ้าอยากจะสุขต้องมีวัตถุสิ่งของต่างๆ เพิ่มมากขึ้น
2. ความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยวัตถุ (นิรามิสสุข) เป็นความสุขที่ไม่ต้องอิงอาศัยสิ่งภายนอก หรือวัตถุภายนอก ไม่ขึ้นกับวัตถุหรือสิ่งที่นำมาเสพนำมาบริโภค เป็นความสุขที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความสุขที่เกิดจากการเรียนรู้ฝึกฝนและทำงานกับตัวเอง เพื่อให้ตระหนักและรับรู้ถึงความสุขที่เกิดขึ้นได้ในตนเองโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นใดที่ภายนอกมาประกอบสร้าง
และถึงที่สุดเป็นความสุขที่เกิดจากอิสรภาพจากความเข้าใจสรรพสิ่งตามความเป็นจริง เป็นอิสระจากแรงผลักดันของความอยากมี อยากได้ อยากเป็น (ตัณหา) ตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม อาทิ ความสุขจากการทำดี ความสุขจากการให้ทาน ความสุขจากการบำเพ็ญภาวนา และความสุขจากการทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยความเพียรของตัวเอง
@@@@@@@
มาติเยอ ริการ์ ภิกษุชาวฝรั่งเศสในนิกายวัชรยาน กล่าวไว้ว่า
“ไม่มีใครปฏิเสธว่าสิ่งที่พึงปรารถนาที่สุดคือ การมีอายุยืน สุขภาพดี อยู่อย่างอิสระในประเทศที่สงบสุขซึ่งกฎหมายได้รับความเคารพ การได้รักและเป็นที่รัก มีโอกาสได้รับการศึกษาและได้รับข้อมูลข่าวสาร มีสิ่งยังชีพที่เพียงพอ สามารถเดินทางไปได้ทั่วโลก สามารถทำสิ่งดีๆ ให้แก่ผู้อื่นมากเท่าที่ทำได้และการได้พิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม ผลการศึกษาด้านสังคมวิทยาในประชากรทุกกลุ่มระบุอย่างชัดเจนว่า มนุษย์มีความสุขมากกว่าเมื่ออยู่ในสภาพดังที่กล่าวมา ใครละที่ต้องการนอกเหนือไปจากนี้ แต่การเอาความหวังไปฝากไว้กับโลกภายนอก สุดท้ายเราก็จะผิดหวัง”
สภาวะที่ท่านอ้างถึงเป็นสภาวะที่มนุษยชาติในสังคมสมัยใหม่ต้องการ สภาพสังคมที่ทำให้ผู้คนมีโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและคาดเดาไม่ได้ในปัจจุบัน แต่ขณะเดียวกันท่านได้เน้นในท้ายที่สุดว่า เราก็อาจจะผิดหวังได้หากเรายึดมั่นกับสภาพสังคมแห่งอุดมคตินี้
@@@@@@@
“การเอาความหวังไปฝากไว้กับโลกภายนอก สุดท้ายเราก็จะผิดหวัง”
การกล่าวเช่นนี้มาจากฐานการมองชีวิตและโลกที่ตั้งอยู่บนหลักไตรลักษณ์ (หรือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) เพราะแม้เราจะสร้างเงื่อนไขปัจจัยให้เกิดสภาพแวดล้อมภายนอกที่ดีและเกื้อกูลต่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าสิ่งเหล่านั้นจะนำพาความสุขมาให้เราได้อย่างถาวรและยั่งยืน สรรพสิ่งย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามกฏของไตรลักษณ์
ถึงที่สุดแล้วมุมมองต่อความสุขของพุทธศาสนาจึงเชื่อมโยงกับเรื่องอิสรภาพ มีสภาวะจิตที่ปลอดโปร่งผ่องใส ไม่มีความอยากความต้องการที่จะสนองความสุขที่ต้องอิงอาศัยสิ่งภายนอกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นสภาวะที่เกิดอิสรภาพภายใน พ้นจากบีบคั้นของตัวตนอันเป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นมาเอง และอิสรภาพภายนอก คือพ้นจากบีบคั้นทางสังคมหรือการเอาเปรียบจากผู้คน
มูลนิธิเครือข่ายพุทธิกาจึงประยุกต์แนวคิดเหล่านี้ออกมาเป็นกิจกรรมหรือกระบวนการ “เติมสุข” ที่มีหลักการพื้นฐานอยู่ 3 ข้อ คือ การฝึกที่จะรับรู้สิ่งที่เกิดขึ้นกับกายและใจของเรา การเปลี่ยนมุมมองหรือการมีทัศนคติต่อปัญหาหรือสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต ด้วยมุมมองที่ต่างออกไปจากความเคยชินเดิมที่เรามี และการใส่ใจที่จะช่วยเหลือคนอื่นหรือสิงอื่น เมื่อรับรู้ปัญหาของคนหรือสิ่งอื่นนั้นขอขอบคุณ :- นภนาท อนุพงศ์พัฒน์ : เรื่อง เครือข่ายพุทธิกา | 8 กรกฎาคม 2024 https://budnet.org/buddhist-happiness/
|
|
|
|