ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
  • สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน
แสดงกระทู้
This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
    Messages   Topics Attachments  

  Messages - Tong9
หน้า: [1]
1  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จตุตถฌาน(ฌาน ๔) มีลมหายใจหรือไม่.? มีหลักฐานยืนยันอยู่ใน....... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 05:20:40 am

       ans1 ans1 ans1

     อนุรุทธเถรคาถานี้ แสดงให้เห็นอีกว่า พระพุทธเจ้ามีเวทนา
     จำได้ว่า หนูกบเคยตั้งคำถามว่า พระอรหันต์มีเวทนาหรือไม่
     ข้อธรรมในคาถานี้มีประโยคหนึ่งที่กล่าวว่า
     "พระผู้มีพระภาคทรงอดกลั้นเวทนา ด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน"
     ประโยคนี้จึงยืนยันได้ว่า อรหันต์ยังมีเวทนาอยู่ ไม่ใช้หุ่นยนต์หรือเป็นพระอิฐพระปูนแต่อย่างไร

 
เพราะท่านทั้งหลายเข้าใจผิดว่า  อาการเจ็บป่วยทางกาย  เป็นเวทนาขันธ์
แท้จริงแล้วมันไม่ใช่  เวทนาที่เป็นการเจ็บป่วยทางกาย ไม่ใช่ขันธ์  เป็นเพียงผัสสะทางกาย
การรู้ผัสสะทางกาย  พระพุทธองค์รู้ด้วยอินทรีย์ห้า  หนึ่งในอินทรีย์ห้านั้นก็คือ...ปัญญินทรีย์
อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์หรือของพระพุทธเจ้า   ไม่ใช่เจตสิก
 เพราะว่าอินทรีย์ห้านั้นไม่ได้เกิดจาก  จักขุอินทรีย์  โสต..ชิวหา..ฆาต..กาย
สาเหตุข้างบนคำอธิบายในเรื่อง  เวทนาของพระอรหันต์หรือพระพุทธเจ้าไม่ใช่ขันธ์

ส่วนเรื่องเวทนาของพระพุทธเจ้า  ในเรื่องที่เกี่ยวกับปรินิพานหรือดับขันธ์  เป็นอะไรกันแน่
เราก็ต้องไปเทียบเคียงในมหาปรินิพพานอีกเช่นกัน...
[๑๔๘] เมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการเสด็จ
ปรินิพพาน ท่านพระอนุรุทธะ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ความว่า
                          ลมอัสสาสะปัสสาสะของพระมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น คงที่ ไม่
                          หวั่นไหว ทรงปรารภสันติ ทรงทำกาละ มิได้มีแล้ว พระองค์
                          มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาได้แล้ว ความพ้นแห่งจิต
                          ได้มีแล้ว เหมือนดวงประทีปดับไปฉะนั้น ฯ
 

พระอนุรุธกล่าวถึงเวทนาไว้  แล้วก็จบลงที่ ..ปรินิพาน  ไม่ใช่ดับขันธ์ปรินิพาน
2  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จตุตถฌาน(ฌาน ๔) มีลมหายใจหรือไม่.? มีหลักฐานยืนยันอยู่ใน....... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 04:54:25 am
อยากให้นำเอามหาปรินิพพานสูตรมาเทียบเคียง  อรรถหรือเนื้อหาในมหาปรินิพานสูตร
ไม่ได้มีคำว่า.....ดับขันธ์ปรินิพานเลย  ไม่ว่าจะก่อนหรือหลังปรินิพพาน
เห็นมีแต่คำว่า.....ปรินิพพาน


ดูได้จาก  บทสนทนาของพระพุทธเจ้ากับมาร   หรือพระพุทธเจ้ากับพระอานนท์ (มหาปรินิพพานสูตร)
ผมจะยกให้ดูเป็นบางส่วน.....
    ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอ
พระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค
ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระวาจานี้ไว้ว่า ดูกรมารผู้มีบาป พรหมจรรย์ของเรานี้
จักยังไม่สมบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่ง
พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคนี้สมบูรณ์แล้ว
กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น จนกระทั่งพวกเทวดาและ
มนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ขอพระผู้มีพระภาคจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด ขอพระสุคต
จงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้ เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาค ฯ
            เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสตอบว่า ดูกรมารผู้
มีบาป ท่านจงมีความขวนขวายน้อยเถิด ความปรินิพพานแห่งตถาคตจักมีไม่ช้า
โดยล่วงไปอีกสามเดือนแต่นี้ ตถาคตก็จักปรินิพพาน   



แม้แต่เรื่องที่มีพระอนุรุธเถระมาเกี่ยวข้อง 
นี้เป็นบทสนาทนาระหว่างพระอานนท์กับพระอนุรุธเถระ พระสูตรมีดังนี้....
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้กล่าวถามท่านพระอนุรุทธะว่าพระผู้มีพระภาค
เสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะตอบว่าอานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระ
ภาคยังไม่เสด็จปรินิพพาน ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ ฯ
             ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว ทรง
เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรง
เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าวิญญาณัญ-
*จายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออก
จากอากาสนัญจายตนสมาบัติแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว
ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌาน
แล้ว ทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว ทรงเข้าทุติยฌาน ออกจาก
ทุติยฌานแล้ว ทรงเข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว ทรงเข้าจตุตถฌาน พระ
ผู้มีพระภาคออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลำดับ (แห่งการพิจารณา
องค์จตุตถฌานนั้น) ฯ
 


ที่กล่าวมาเป็นเพียงบางส่วนถ้าต้องการศึกษา  เพื่อการเทียบเคียงไปตามลิ้งครับ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=10&A=1888&Z=3915
3  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: จตุตถฌาน(ฌาน ๔) มีลมหายใจหรือไม่.? มีหลักฐานยืนยันอยู่ใน....... เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2013, 04:09:57 am

       ans1 ans1 ans1

     อนุรุทธเถรคาถานี้ แสดงให้เห็นอีกว่า พระพุทธเจ้ามีเวทนา
     จำได้ว่า หนูกบเคยตั้งคำถามว่า พระอรหันต์มีเวทนาหรือไม่
     ข้อธรรมในคาถานี้มีประโยคหนึ่งที่กล่าวว่า
     "พระผู้มีพระภาคทรงอดกลั้นเวทนา ด้วยพระหฤทัยอันเบิกบาน"
     ประโยคนี้จึงยืนยันได้ว่า อรหันต์ยังมีเวทนาอยู่ ไม่ใช้หุ่นยนต์หรือเป็นพระอิฐพระปูนแต่อย่างไร

 
     ประโยคต่อมาคือ
     "ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคผู้เป็นดวงประทีปของชาวโลกกับทั้งเทวโลก เสด็จดับขันธปรินิพพาน"
     ใครที่เข้าใจว่า พระอรหันต์ไม่ีมีขันธ์ห้า ขอให้พิจารณาคำว่า "ดับขันธปรินิพพาน"
     ทำไมในบาลีต้องใช้คำว่า "ดับขันธ์"


     พระสูตรนี้น่าจะตอบข้อสงสัยของหนูกบ(kobyamkala) ได้ระดับหนึ่่ง

      :25: :25: :25:
รบกวนจขกท  พิจารณาพุทธพจน์จากพระสูตรบทนี้หน่อยครับ.........

  [๑๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุ
ผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรง
วินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม
นี้เป็นวินัย นี้เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้าน
คำกล่าวของภิกษุนั้น ครั้นแล้ว พึงเรียนบทและพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี แล้วสอบ
สวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียง
ในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ ลงในพระวินัยไม่ได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า
นี้มิใช่คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาผิดแล้ว ดังนั้น
พวกเธอพึงทิ้งคำกล่าวนั้นเสีย ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย
ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้ พึงถึงความตกลงในข้อนี้ว่า นี้เป็นคำของ
พระผู้มีพระภาคแน่นอน และพระเถระนั้นจำมาถูกต้องแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอพึงทรงจำมหาประเทศข้อที่สี่นี้ไว้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจำ
มหาประเทศทั้ง ๔ เหล่านี้ไว้ ฉะนี้แล ฯ
 

http://www.84000.org/tipitaka/read/?10/112-116

ผมวางลิ้งไว้ ถ้าจะให้ดีกรุณาเข้าไปอ่านให้หมด   เป็นพระสูตรที่เกี่ยวกับมหาปเทศสี่ครับ
4  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การที่เราหลัง รัก ผู้หญิง อยู่และ รักอยู่ตลอด หลายสิบปี นี่ชื่อว่าหลง หรือ ไม่ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 04:44:00 am
ask1

 การที่เราหลัง รัก ผู้หญิง อยู่และ รักอยู่ตลอด หลายสิบปี นี่ชื่อว่าหลง หรือ ไม่
 และเราจะจัดการ กับความรัก ( ข้างเดียว ) นี้อย่างไร ดีครับ
 มีหลักธรรม อะไร ที่จะช่วยให้ใจไม่นึก ถึง คำว่า รัก ชอบ ต้องการ เธอ หรือไม่ครับ

  thk56
เรามักจะเข้าใจผิดกันระหว่าง  ความรักกับความใคร่  ชอบเอามาผสมปนเปกัน
ความรักกับความใคร่  มันเป็นกิเลสสังโยชน์ที่ต่างกัน  ความรักเป็นกิเลสเบี้องสูง
ส่วนความใคร่เป็นกิเลสเบื้องต่ำ 

ถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ  ความรักเป็นสังโยชน์เบี้องสูงที่เรียกว่า.....รูปราคะ
รูปราคะ(ความรัก) มันจะทำให้จิตมีอาการที่เรียกว่า  โมหะ(หลง)

ส่วนความใคร่เป็นสังโยชน์เบื้องต่ำเรียกว่า.....กามราคะหรือกามคุณห้า
กามราคะ(ใคร่)  มันจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า   โมหะ โลภะ โทสะ

ที่พูดมาเป็นเรื่องของอริยชนครับ  ปุถุชนย่อมต้องไม่เข้าใจ  จะผ่านไปก็ได้ครับ

เข้าประเด็นครับ มันมีวิธีแก้แบบปุถุชนครับ  นั้นก็คือก่อนอื่นคุณต้องรู้ให้ได้ว่า
ที่คุณยังคิดถึงผู้หญิงคนนั้นอยู่  คุณคิดถึงเขาเพราะอะไร  อะไรทำให้ให้คุณคิดถึงเขาครับ

อย่างเช่น คิดถึงรูปร่างหน้าตา  คิดถึงเพราะอยากมีเพศสัมพันธ์(เคยมีมาก่อน) 
หรือเป็นเพราะว่า  คิดถึงเขากลัวว่า เขาจะลำบาก คิดถึงเพราะสงสาร

ถ้าเป็นประเด็นแรกยังพอแก้ได้  แต่ถ้าเป็นประเด็นหลังแก้อยากครับ ต้องเป็นพระอรหันต์เท่านั้น

ถ้าคุณคิดถึงเขาแม้จากกันมาเป็นสิบปีแล้ว  ยังคิดถึงใบหน้าเดิมๆ  คุณก็ลองกลับไปหาเธอดู
หรือไม่ก็ลองไปแอบดูเธอ   คุณก็จะเห็นว่ารูปหรือใบหน้าที่คุณคิดถึงมันไม่มีอยู่แล้ว  คุณจินตนาการไปเองท้งนั้น
คนมันย่อมแก่ลงไปตามวัย รูปร่างหน้าตาย่อมต้องเปลี่ยน  ต่อให้ไปทำศัลยกรรมก็ตาม
:sign0144:
5  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: การให้ทานเป็นเครื่องปรุงแต่งจิต คือ อย่างไร ช่วยอธิบายกันหน่อย เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 04:09:11 am
ขอบอกครับว่า  เนื้อหาที่จขกทเอามาอ้างอิง  มันเป็นการเข้าใจผิดใจอรรถของพระสูตรครับ
จุดมุ่งหมายของพระสูตร  ไม่ได้ต้องการเน้นให้ปฏิบัติ  แต่เป็นการเน้นเพื่อไม่ให้ปฏิบัติครับ
นี้เป็นเป็นการสอนให้เกิด  สัมมาทิฐิในเรื่องของศีลพรตปรามาสครับ

อ่านในวรรคแรกๆจะเข้าใจว่าเป็นการสอนให้ปฏิบัติ  แต่วรรคจบจะบอกครับว่า
ไม่ควรปฏิบัติเช่นนั้น  มันขัดกับจุดประสงค์ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนิพพาน
นิพพานในในพระสูตรบทนี้  ดูตรงที่ยังต้องกลับมาเหมือนเดิม นั้นก็คือยังต้อง
กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ผู้มีทุกข์อีกครับ

ประเด็นสำคัญในพระสูตรก็คือ  ทำทานอย่าหวังผล  ทำด้วยคิดว่าสิ่งที่ทำเป็นแค่
เครื่องปรุงแต่งจิต อย่าไปยึดมั่นกับสิ่งนี้


ปล.  การอ่านพระสูตรต้องอ่านให้หมดทุกวรรค ทุกตอนด้วยสมาธิ
6  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:34:34 am
ขอคำอธิบาย เรื่องการเห็นกายในกาย หน่อยครับ

   ตกลงคำว่าเห็นกาย ในกาย นี่คือเห็น ลมหายใจเข้าออก หรือ ว่าเห็นความเป็น อนัตตา ครับ

  เรียนถามผู้รู้ ด้วยความสงสัยครับ

  thk56

เห็นกายในกาย  ไม่ใช่เห็นลมหายใจเข้าออก    ลมหายใจเข้าออกไม่ใช่กาย  แต่เป็นเพียงกายสังขาร
ถ้าเราแยกรูปนามออกจากกัน  กายก็คือธาตุดิน น้ำ ลมไฟ 

แต่ถ้าเป็นลมหายใจนั้นก็คือการที่  จิตเข้าไปปรุงแต่ง
กายจนเป็นลมหายใจ

การเห็นกายในกาย  มันหมายถึงการปฏิบัติเรื่องกายานุสติปัฏฐาน จนสำเร็จเกิดปัญญาละสักกายทิฐิ
มองเห็นกายนี้เป็นเพียง  มหาภูติรูปสี่ที่มาประชุมกันตามเหตุ  เมื่อหมดเหตุย่อมต้องแตกสลายไป
7  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 08, 2013, 03:17:21 am
 
 กุกกุฬสูตร
ว่าด้วยขันธ์ ๕ เป็นของร้อน
             [๓๓๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปเป็นของเร่าร้อน เวทนาเป็นของ
เร่าร้อน สัญญาเป็นของเร่าร้อน สังขารเป็นของเร่าร้อน วิญญาณเป็นของเร่าร้อน. ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป ย่อมเบื่อหน่ายแม้ใน
เวทนา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสังขาร ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จึงหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำ
เสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3987&Z=3997

 

8  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 10:40:22 am
คำว่า "เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่"
       เป็นเวทนาหรือไม่.?
     
เสวยอารมณ์ที่พึ่งใจและไม่พึ่งใจ  ในส่วนนี้หมายถึงการกระทบทางกาย  เป็นเวทนาทางกาย(ไม่ใช่ใจ)
ไม่ส่งผลให้เกิดทุกข์  ไม่เกิดภพชาติ  จิตพระอรหันต์รู้แค่การกระทบเท่านั้น  เช่นหนักเบา  ดังค่อย
ขมหวาน ฯลฯ  การรู้ของพระอรหันต์เป็นการรู้ที่เรียกว่า  กิริยาจิต รู้ด้วยอินทรีย์ห้าและวางอุเบกขาแล้ว
ขอยกตัวอย่างให้ดูเพื่อความเข้าใจ  อย่างเช่นปุถุชนเกิดการกระทบทางหูโดนใครเขาด่า  รู้ว่าเขาด่า
คำด่าก็ดับไปแล้ว แต่ใจยังโกรธอยู่ยังแค้นกับคำด่านั้น  นี้เรียกว่าขันธ์

แต่พระอรหันต์พอได้ยินเสียงด่าก็รู้ว่านั้นคือคำด่า  รู้แล้วก็จบแค่นั้นไม่มีความคิดแค้นเคืองอีก
นี่เรียกว่ารู้ด้วยกิริยาจิต

ต้องทำความเข้าใจกับสมมุติบัญญัติให้ดี  บางครั้งคำศัพท์เหมือนกัน  แต่สภาวะธรรมไม่เหมือนกันครับ


       เวทนาอยู่ในขันธ์ใช่หรือไม่.?
       [/color][/size]
        :25: :25: :25:
เวทนาที่เกิดขึ้นทางกายจิตรู้เวทนานั้น  แล้วไม่ปรุงแต่งให้เกิดเวทนาทางใจ  เวทนาที่ว่าก็ไม่ใช่ขันธ์
แต่ถ้าเกิดเวทนาทางกายแล้ว  จิตเข้าไปปรุงแต่งในเวทนาทางกาย  จนเกิดเป็นเวทนาทางใจ แบบจึงเรียกว่า
เวทนาขันธ์

       เวทนาจะเกิดได้ก็ต้องผ่านอินทรีย์ ๕ ใช่หรือไม่.?
       อินทรีย์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่
       ลองพิจารณาโดยแยบคายดู.....เข้าใจอย่างไร แจ้งให้ทราบบ้า
อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่  หรือจิตยึดเอาสภาวะวะใดในอินทรีย์๒๒ยึดมาเป็นสภาวะปัจจุบัน
เวทนาทางกายของปุถุชนย่อมต้องผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ตัวใดตัวหนึ่งแล้วแต่ว่า  บุคคลจะเอาอินทรีย์ตัวไหน
ขึ้นมาเป็นสภาวะปัจจุบัน  อย่างเช่น จิตไปรู้การกระทบทางตา อินทรีย์นั้นก็คือ  จักขุอินทรีย์ฯลฯ

อินทรีย์เป็นทั้งขันธ์และไม่ได้เป็น  มันขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยในตัวบุคคลและกิเลส
9  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 10:02:02 am





     ans1 ans1 ans1
     
     ผมไล่เรียงเรื่องขันธ์ ๕ ,เวทนา ๖ และอินทรีย์ ๕ ซึ่งล้วนเป็นพุทธวจนะทั้งสิ้น
     พร้อมกับคำอธิบาย ตามพจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ มาประกอบ
     เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของทั้งสามเรื่อง อันจะนำไปอธิบาย "สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"
     ขอให้ดูประโยคเหล่านี้
      "ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย
       อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว" 


       คำว่า "เสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่"
       เป็นเวทนาหรือไม่.?
       เวทนาอยู่ในขันธ์ใช่หรือไม่.?
       เวทนาจะเกิดได้ก็ต้องผ่านอินทรีย์ ๕ ใช่หรือไม่.?
       อินทรีย์ ๕ อยู่ในขันธ์ ๕ ใช่หรือไม่
       ลองพิจารณาโดยแยบคายดู.....เข้าใจอย่างไร แจ้งให้ทราบบ้าง

        :25: :25: :25:
อินทรีย์ห้าที่คุณยกมามันไม่ใช่อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์  อินทรีย์พระอรหันต์คือ ปัญญา สติ ศรัทธา วิริยะ
และสมาธิ   

อินทรีย์ที่คุณยกมา มันเป็นอินทรีย์ของปุถุชน  อินทรีย์หมายถึงความเป็นใหญ่ที่ข้องเกี่ยวกับกายใจเรา
ในปุถุชนยึดเอา ๑. จักขุนทรีย์   ๒. โสตินทรีย์ ๓. ฆานินทรีย์  ๔. ชิวหินทรีย์  ๕. กายินทรีย์  เป็นใหญ๋
มันก็เลยเกิดการปรุงแต่งเมื่อเกิดการกระทบกับอินทรีย์ทั้งห้านี้  พูดง่ายๆก็คือไปยึดมั่นในรูปจนเกิดการปรุงแต่ง

แต่ในอินทรีย์ห้าของพระอรหันต์  ไม่ได้เป็นอินทรีย์ห้าอย่างที่คุณว่า  พระอรหันต์รู้ด้วยปัญญาว่า
อินทรีย์ที่คุณอ้างมาเป็นเพียง   ธาตุสี่(มหาภูติรูป)ที่มาประชุมกันหมดเหตุมันก็แตกสลาย 
พูดให้ฟังอีกครั้งครับว่า  คุณไม่เข้าใจในเรื่องของอินทรีย์ของพระอรหัต์และอินทรีย์๒๒ครับ



ที่คุณยกมาว่า  เสวยสุขและทุกข์อยู่อารมณ์พึงใจไม่พึงใจ  แล้วถามผมว่า เป็นเวทนาหรือไม่
ผมจะตอบในประเด็นที่เราคุยกันนะครับ   นั้นก็คือประเด็นของพระอรหันต์  อารมณ์ที่คุณยกมา
เป็นเวทนาครับ   แต่ไม่ใช่เวทนาขันธ์   มันเป็นเวทนาในปฏิจสมุบาท  ไม่ใช่เวทนาที่เป็นสังขาร(เวทนาขันธ์)
สรุปก็คือพระอรหันต์ยังมีชีวิต  ย่อมต้องเกิดการกระทบที่ร่างกาย  ย่อมเกิดเวทนา  แต่เวทนาที่ว่า ไม่เกิดขึ้นที่ใจ
ที่เรียกว่าทุกข์ใจ   แต่มันเป็นทุกข์ทางกาย  ทุกข์นี้ไม่ส่งผลต่อภพชาติ  รูปหรือร่างกายนี้เป็นภพชาติอันมีเหตุ
มาจากกองทุกข์หรือสังขารในอดีตชาติ


เวทนาในปฏิจสมุบาทมันมีเหตุมาจาก ผัสสะมีการกระทบเกิดขึ้นที่รูป(กาย)  เมื่อเกิดการกระทบขึ้นแล้ว
พระอรหันต์รู้การกระทบนั้นด้วย  อินทรีย์ห้า  นั้นก็คือรู้ด้วยปัญญา  ที่ประกอบด้วย สติ ศรัทธา วิริยะและ
จบลงที่สมาธิ  อารมณ์ที่รวมกันเป็นสมาธิ จะเกิดสภาวะอุเบกขา(ไม่ยึดผัสสะที่มากระทบ)
10  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:17:16 pm



___________________________________________
 
     เบญจขันธ์ คือ กายกับใจ ครับ
     สภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติที่คุณTong9กล่าว น่าจะเป็นอุปาทานขันธ์มากกว่า
     อย่างไรก็ตาม พจนานุุกรมฯ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ ก็เป็นคัมภีร์ในชั้นอรรถกถา
     ท่านใดจะมีความเห็นต่างออกไป ก็เชิญวิเคราะห์ตามอัธยาศัย
[/size]
      :25:
เบญจขันธ์หรือขันธ์ห้า  ไม่ได้หมายถึงกายใจนะครับ  เบญจขันธ์หมายถึงสภาวะธรรมอันเกิดจากการปรุงแต่งของกายใจครับ
ถ้าจะกล่าวโดยปรมัตถ์  กายก็คือรูปธรรม  ใจก็คือนามธรรม(จิต เจตสิก นิพพาน)

แล้วเรื่องจะให้วิเคราะห์  ผมพอมีธัมมวิจยะและโยนิโสฯอยู่บ้าง  ผมจึงเลือกวิเคราะห์แต่พุทธพจน์ครับ
11  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 02:04:38 pm


 ans1 ans1 ans1
   
    คุณTong9 เพิ่งสมัครเป็นสมาชิกวันนี้เอง ทำให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะมาร่วมสนทนาธรรม
    เป็นเรื่องที่น่ายินดี ที่รับรู้ความเห็นของคุณTong9
    อย่างไรก็ตาม ห้องนี้มีกติกาที่ชัดเจน คือ คุยเป็นเพื่อน(เท่านั้น)
มีด้วยหรือครับ  กติกาคุยเป็นเพื่อน  แต่ผมก็มีเจตนาเป็นกัลณมิตรกับทุกคนอยู่แล้วครับ
ไม่ต้องห่วง

 คุุณTong9  ครับ พจนานุกรมพุทธศาสน์ ของ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อธิบายไว้ว่า   
    นิพพาน 2 (สภาพที่ดับกิเลสและกองทุกข์แล้ว, ภาวะที่เป็นสุขสูงสุด เพราะไร้กิเลสไร้ทุกข์ เป็นอิสรภาพสมบูรณ์)
    1. สอุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานยังมีอุปาทิเหลือ)
    2. อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่อุปาทิเหลือ)


    หมายเหตุ: ตามคำอธิบายนัยหนึ่งว่า
    1. = ดับกิเลส ยังมีเบญจขันธ์เหลือ ( = กิเลสปรินิพพาน)
    2. = ดับกิเลส ไม่มีเบญจขันธ์เหลือ ( = ขันธปรินิพพาน)

    หรือ
    1. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเสวยอารมณ์ที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจทางอินทรีย์ 5 รับรู้สุขทุกข์อยู่
    2. = นิพพานของพระอรหันต์ผู้ระงับการเสวยอารมณ์ทั้งปวงแล้ว   
[/size]

ในพระไตรปิฎกหรือพุทธพจน์ไม่ได้กล่าวอย่างนั้นนี่ครับ  พุทธพจน์กล่าวว่า......
สอุปเสสนิพพาน  คือพระอรหันต์ที่ยังมีอินทรีย์ห้า  มันไม่ใช่ขันธ์ห้าครับ  ความหมายของอินทรีย์ห้าคือ
นามธรรมห้าอย่างที่เป็นใหญ่ของพระอรหันต์  เมื่อคุณรู้ว่าพุทธพจน์กล่าวไว้อย่างนี้  คุณก็ต้องไปศึกษาว่า
อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์คืออะไร  และลักษณะใดเรียกอินทรีย์   ไม่ใช่สรุปเองว่า เป็นขันธ์ห้าหรือมีขันธ์ห้า

และการรับรู้ของพระอรหันต์ไม่ใช่เป็นการเสวยอารมณ์ที่เป็นขันธ์  แต่เป็นเพียงการรับรู้ความรู้สึกด้วยอินทรีย์ห้า
สภาวะที่เกิดขึ้นจึงไม่ใช่อารมณ์ที่เป็นขันธ์  เป็นเพียงกิริยาจิตเท่านั้น


12  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:55:58 am
ท่านขาดความเข้าใจในอินทรีย์ห้า  อินทรีย์ห้าที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวในสอุปาทิเสสคือ...
ศรัทธา๑ ปัญญา๑ วิริยะ๑ สติ๑และสมาธิ๑ ไม่ใช่อินทรีย์ตามที่ท่านยกมา

และเรื่องนิพพานสูตร  เราต้องเอาเรื่อง  รูปที่เกี่ยวกับอนุปาทินนกรูปกับปาทินนกรูปมาเทียบเคียง
สภาวะสอุปาทิเสสนิพพานต้องเทียบกับ  อนุปาทินนกรูป 

นั้นก็คือ  กายใจของพระอรหันต์ที่มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  เป็นอนุปาทินนกรูป
กายของพระอรหันต์ไม่ใช่สังขาร  เพราะพระอรหันต์ละสักกายทิฐิแล้ว  กายของพระอรหันต์
จึงเป็นเพียงรูปที่ไม่มีการปรุงแต่ง  เป็นวิสังขารไม่ใช่สังขาร  รูปที่เห็นจึงไม่ได้เป็นรูปขันธ์
13  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:31:29 am

  ask1    ในพระสูตรท่านว่าไว้  พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน  คือผู้ที่ยังมี.....อินทรีย์ห้าคิดได้ไง  อินทรีย์ห้าไงกลายเป็นขันธ์ห้าไปได้
 ans1    เรื่องนี้ขอยก "ธาตุสูตร" มาแสดงให้เห็นกันชัดๆไปเลย           
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
       ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว
       มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
       ภิกษุนั้นย่อมเสวยอารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่
       เพราะความที่อินทรีย์ ๕ เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
       ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ

       สรุปก็คือ พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีอินทรีย์ ๕ อยู่...ขอรับ



 ask1    ขันธ์ห้ากับอินทรีย์ห้าในพระอรหันต์  มันเป็นคนละเรื่องกันเลย
 ans1    พระอรหันต์หรือผู้มีสภาวะสอุปาทิเสสนิพพาน มีทั้งขันธ์ ๕ และอินทรีย์ ๕


 ask1    ขันธ์ห้ามันเป็นกรรมเป็นเจตนา(กุศลและอกุศล)ส่งผลให้เกิดวิบาก อินทรีย์ห้าของพระอรหันต์เป็นกิริยาเป็น อัพยากฤต ไม่มีผลเป็นวิบาก
 ans1    กิริยาของพระอรหันต์ทำไปแล้วไม่มีผลเป็นวิบาก ไม่สร้างภพ ภพที่อยู่เป็นภพสุดท้าย
           กิริยานี้ภาษาอภิธรรมเรียกว่า "มหากิริยาจิต"


           ผมจะยกพระสูตรมาแสดงในกระทู้ถัดไป โปรดติดตาม

            :25: :25: :25:
ที่ท่านบอกว่า  อรหันต์ที่มีสภาวะ สอุปาทิเสสนิพพาน ยังมีขันธ์ห้าอยู่
ท่านเอามาจากไหนครับ   ในพระสูตรก็ไม่ได้กล่าวว่ามีขันธ์ห้า  แถมตัวท่านเองก็สรุปในพระสูตร
ว่า  มีอินทรีย์ห้า

ผมขอถามด้วยความเกรงใจนะครับว่า   ท่านกำลังกล่าวตู่พุทธพจน์หรือเปล่าครับ
ถ้าเป็นการกล่าวอธิบายความในสมมุติบัญญัติ  จะกล่าวขาดบ้างเกินบ้างก็ไม่เป็นปัญหา
แต่การจะกล่าวถึง  สภาวะธรรมอันเป็นปรมัตถ์  ท่านห้ามกล่าวเกินกล่าวขาดจากพุทธพจน์
มิเช่นนั้นจะเป็นการ...กล่าวตู่พุทธพจน์ครับ
14  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 04:07:51 am


 ask1    ปากบอกรักเทิดทูลพระสูตร แต่เวลาเถึยงกับใครดันอ้างอรรถกถาซะงั้น แถมสิ่งที่อ้างมันคนละเรื่อง
ในความหมายของพระอรหันต์คือ บุคคลผู้มีสภาวะนิพพาน เรียกว่า.....สอุปาทิเสสนิพพาน

 ans1    อรรถกถาไม่ใช่เป็นเรื่องต้องห้าม บัวยังมีหลายระดับ
           บุคคลที่จะเข้าใจพุทธธรรมได้อย่างแทงตลอด สมัยนี้หาได้ไม่ง่าย
           สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นขออรหันต์ที่ยังมีขันธ์ ๕ อยู่(อยู่ในภพ เป็นภพสุดท้าย)
           เทียบกับ อนุปาทิเสสนิพพาน จะไม่มีขันธ์ ๕ แล้ว ภพสิ้นสุด ไม่มีภพ



 อรรถกถา  เป็นสิ่งที่ใช้อธิบายพุทธพจน์  การจะกล่าวอ้างอรรถกถาจะต้องมีพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่กล่าวอ้างขึ้นมาลอยๆครับ

พระพุทธองค์ไม่ได้กล่าวว่า   อรหันต์(สอุปาทิเสส) ยังมีขันธ์ห้า  กล่าวไว้แต่ว่า เหลือแต่อินทรีย์ห้า
ที่หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่า  สอุปาทิเสสนิพพาน  ยังมีขันธ์ห้า  เป็นเพราะเข้าใจผิดไปว่าร่างกายที่ยังอยู่
เป็นขันธ์  ความหมายของขันธ์ไม่ใช่การมีอยู่ของกายใจ  แต่หมายถึงสภาวะที่ยึดหมั่นในสิ่งที่เกิดตามธรรมชาติ
นอกกายใจ เอามาเป็นตัวตนในกายใจตนเองครับ
15  เรื่องทั่วไป / ส่งจิตออกนอก (นั่งเล่นคุยกัน) / Re: ขันธ์ 5 มีในพระอรหันต์ หรือ ไม่ ? เมื่อ: พฤษภาคม 06, 2013, 03:41:11 am

st11 st11 st11 st11 st11 st11 st11


 ask1    ขันธ์ห้าเป็นกองทุกข์ เป็นเหตุแห่งสังขาร ดันบนอกมาได้ว่า พระอรหันต์ยังมีขันต์ห้าอยู่ พระสูตรก็อยู่ในมือ แทนที่จะกางพระสูตรอ่าน แล้วบอกความตามพระสูตร
 ans1    พระพุทธเจ้าตรัสว่า กล่าวโดยย่ออุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ 
           ภิกษุควรเจริญอริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘
           เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อกำหนดรู้ เพื่อความสิ้นไป เพื่อละอุปาทานขันธ์ ๕
           พระพุทธเจ้าบอกให้ "ละอุปาทานขันธ์ ๕" ไม่ใช่ให้ "ละขันธ์ ๕"
           ดังนั้นพระอรหันต์ที่ยังไม่ละสังขาร(ร่างกาย) ยังมีขันธ์ ๕ อยู่
           จะแสดงพระสูตรในกระทู้ถัดไป
[/size

ในอุปาทานขันธ์สูตรกล่าวไว้ว่า........
"  [๓๔๗] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้ ๕ อย่างเป็นไฉน? ได้แก่
               อุปาทานขันธ์คือ รูป ๑
               อุปาทานขันธ์คือ เวทนา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สัญญา ๑
               อุปาทานขันธ์คือ สังขาร ๑
               อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ ๑
      ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุปาทานขันธ์ ๕ อย่างนี้แล.

รูป เวทนา สัญญา สังขารและวิญาณ  เป็นขันธ์ห้า  ในพระสูตรนี้กล่าวว่า
อุปาทานขันธ์คือ รูป๑ เวทนา๑ สัญญา๑ สังขาร๑ วิญญาณ๑  ดังนั้นอุปานขันธ์ก็คือขันธ์ห้านั้นเอง

อุปาทานเป็นเรื่องของปฏิจสมุบาท  ขันธ์ห้าเป็นเรื่องกายใจของเรา
จิตของเราเดิมแท้ประภัสสร แต่เพราะเราไปรับเอากิเลสตัณหา(ปฏิจฯ)เข้ามาในกายในเราทำให้จิตมัวหมองไป
จิตที่มัวหมองนี้ก็คือเกิดขันธ์ห้า  ขันธ์ห้าเป็นสังขารมาปรุงแต่งจิต

ที่พระพุทธเจ้าทรงบอกให้....ละอุปาทานขันธ์ห้า  ความหมายก็คือให้ละขันธ์ห้าเพราะ
อุปาทานขันธ์และขันธ์ห้า เป็นธรรมเดี่ยวกัน  แต่เป็นปัจจัยร่วมกัน  แต่ถ้ากล่าวแยกกัน
อุปาทานเป็นเหตุปัจจัยของขันธ์ห้า

อุปาทานเป็นปฏิจสมุบาทเป็นธรรมชาตินอกกายใจ   ขันธ์ห้าเป็นไตรลักษณ์เป็นธรรมที่เกิดภายในกายใจเรา
การปฏิบัติต้องปฏิบัติที่กายใจของเรา  นั้นก็คือการละวางขันธ์ห้า  กล่าวอีกนัยก็คือ ปฏิบัติเพื่อไม่ไปข้องเกี่ยว
กับอุปาทาน  เมื่อกายใจเราไม่ไปข้องเกี่ยวกับ ตัณหาอุปาทาน  ขันธ์ห้าย่อมไม่เกิด  แต่สิ่งที่เกิดเป็น...นิโรธ
หน้า: [1]