อนุโมทนากับคำตอบของคุณประสิทธิ์และคุณTC9 อยากเห็นทั้งสองท่านแสดงความเห็นบ่อยๆครับ
โดยเฉพาะเรื่องกรรมฐานมัชฌิมาฯ ตัวผมเองยังเป็นน้องใหม่อยู่มาก
คุณเล้งฮู้ชง สงสัยชอบหนังจีนกำลังภายในเรื่อง "เดชคัมภีร์เทวดา"
ผมเองก็ชอบ โดยเฉพาะตัวละครชื่อ"ตงฟางฟุป้าย"
ขอทักทายเท่านี้ครับ

ครับชอบคัรบ ชอบตงฟางปู้ป้า่ยเหมือนกันคัรบ แต่ชอบตอนที่เป็นภาพยนต์น่ะคัรบ
ผมเองก็เคยไปฝึกที่ สถาบันจิตตานุภาพ ครับ และก็เข้าใจผิดเรื่อง ภวังค์ เป็นอย่างยิ่ง
จนมาพบพระอาจารย์ ทีี่วัดแก่่งขนุน มากับเพื่อนด้วยกันหลายท่าน นั่งกรรมฐานครั้งแรกกับเพื่อนกันวันนั้น
ไม่มีเรื่อง ภวังค์ ครับนั่งกรรมฐานกันประมาณ 2 ชั่วโมง จิตอยู่ที่บริกรรม คือ พุทโธ ทุกคนทำได้หมด
และมีความรูสึกเหมือนนั่งกรรมฐานเพียง 20 นาที แต่ดูนาฬกิกา แล้ว 2 ชั่วโมง นั่นเป็นครั้งแรกที่ได้นั่งกรรมฐาน
กับพระอาจารย์ โดยไม่ต้องรู้จัก ภวังค์ ผมเชื่อว่าศิษย์ ทีมงานคงจะทราบกันดี ครับ
เท่าที่ฟังพระอาจารย์ ท่านกล่าวว่า จิตเป็นสมาธิมั่นคง ในนิมิต ทั้้ง 3 ก็จะไม่มีภวังค์ และไม่ต้องรู้จัก ภวังค์
ครับ ดังนั้นอันนี้ จะเหมือนหลวงพ่อ พุธ ท่านสอนไว้ว่า ไม่ต้องรู้ัจัก ภวังค์ ก็มีสมาธิได้

นั่นหมายถึง หลวงพ่อวิริยังค์ ผู้เขียน มุตโตทัย ลูกศิษย์หลวงปู่มั่น สอนผิดหรือครับ? ซึ่งถ้าผิด
หลวงพ่อลี วัดอโศการาม
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
หลวงปู่เทสก์ เทสก์รังสี
ก็สอนมาแนวๆเดียวกันนี้คัรบ แล้วผมก็ปฏิบัติตามมาแนวๆเดียวกันนี้ จึงไปแจ้งกรรมฐานกับ พระคุณเจ้าพระอาจารย์วีระ ที่คณะ ๕ ท่านก็เมตตาอธิบายดังกล่าวมาแล้ว นั่นแสดงได้ว่าผม ยังไม่ถึงห้องสามจริงๆ เพราะเข้าใจผิดไปหลงภวังค์อยู่ และพระดชพระคุณเจ้าท่านก็สอบอารมณ์กรรมฐานผิดพลาดหรือคัรบ?
การเป็นเช่นนั้นหรือไม่คัรบ ขอโปรด อธิบายเพื่อขัจดความไม่รู้ของผมด้วย
(บางส่วนจาก เรื่องวิธีรู้แจ้งด้วยจิต ท่านพ่อลี ธัมมธโร กล่าวว่า "อธิบายบริกรรมนิมิต บริกรรมนิมิตคือยึดเอาคำภาวนาเป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นต้นว่าได้ยึดเอาพุทโธบ้าง อรหัง บ้าง บทใดบทหนึ่งนี้ก็เป็นของควรปล่อยวาง ไม่ควรยึด เห็นว่าเรามีจิตมั่นคง มีสติ และมีการพิจารณาอยู่ ให้ปล่อยวาง คือให้หยุดคำบริกรรมเสีย แล้วกำหนดจิตให้รู้อยู่เฉพาะจิตที่รู้อันเดียว)