- สนง.ส่งเสริมพระกรรมฐาน «
- กระทู้เมื่อเร็วๆ นี้
1
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เครื่องเติมอากาศ www.เครื่องเติมอากาศ.net เครื่องเติมอากาศในบ้าน เติมออกซิเจนบำบ
เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:44:27 pm
|
||
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1 | ||
ดันกระทู้
|
2
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: กล่องกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น คือกล่องกระดาษที่มีความหนาของกระดาษลอน 5 ชั้น
เมื่อ: วันนี้ เวลา 02:12:53 pm
|
||
เริ่มโดย todaytimepost11 - กระทู้ล่าสุด โดย todaytimepost11 | ||
ขออนุญาต อัพเดทกระทู้
|
3
เรื่องทั่วไป / forward mail หรือ จดหมายส่งถึงกัน / Re: เครื่องเติมอากาศ ทำหน้าที่ดึงอากาศจากภายนอกเข้ามาเติมอากาศภายในบ้าน
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:52:02 pm
|
||
เริ่มโดย aventure1 - กระทู้ล่าสุด โดย aventure1 | ||
ดันกระทู้
|
4
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน ฉบับร่าง SQ Skill รู้สังคม
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:33:37 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
ฉบับร่าง รอเพิ่มเติมประกอบเรื่อง และเรียบเรียงข้อมูล ..วันเสาร์ 15:00 น. หลังจากภูทำการบ้านเสร็จ ภู : อ๊าาาา เสร็จแล้ว... (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ เก่งมากภู ตอนนี้ก็หยุดพรุ่งนี้อีกวัน วันจันทร์ต้องไปเรียนแล้วนะ ภู : อื้อ.. (◍•ᴗ•◍) ชิว : งั้นจากนี้ภูต้องไปพบปะผู้คนแล้วหัดเข้าสังคมแล้ว ภู : (;ŏ﹏ŏ) กังวลนิดๆ กลัวเขาจะ Toxic แล้วภูจะทนไม่ได้ ชิว : ไม่ต้องกังวล เพราะเราฝึกได้ การฝึกนี้เรียกว่า รู้ชุมชน ก็คือ รู้สังคมนั่นเอง พอเรียนรู้แล้วภูกํทพลองได้จากไปเล่นดับกลุ่มเพื่อที่หมู่บ้านไง ภู : อืม ก็น่าลองนะ ( ̄ヘ ̄;) ชิว : แน่นอนสิ ถ้าทำได้ก็เท่ากับว่าภูสามารถใช้ชีวิตได้ทั้งกับกุ่มคนทุกระดับชนชั้น กับ เพื่อน ครู พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา คนรวย คนจน คนมีฐานะสูงศักดิ์ คนที่ที่มีอัตภาพฐานะสูงกว่า คนที่มีอัตภาพฐานะเสมอกัน คนที่มีอัตภาพฐานะต่ำกว่า สังคมต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับไหน Toxic หรือดีเลิศ หรือเสมอดัน หรือด้อยกว่า ภู : ว้าวว...น่าสนใจมากเลย อย่างนี้ก็เยี่ยมเลย ชิว : ใช่แล้ว การรู้สังคม เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ และ สภาพแวดล้อมต่างๆ ซึ่งจะให้คุณประโยชน์สูงในการพบปะ เข้าหา วางตัว สนทนา ดำรงชีพใช้ชีวิตอยู่กลุ่มคนสถานที่ต่างๆ วิถีชีวิตต่างๆ ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ..ได้ด้วยดี ภู : ว้าวววว..งั้นชิวสอนภูเลย (☆▽☆) ชิว : โอเช..เยย !! ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ชิว : รู้จักชุมชน ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น กล่าวคือ..การรู้ชุมชน หรือ สังคม.. ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักกลุ่มบุคคล รู้จักหมู่คณะ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา ต้องทำกิริยาหรือปฏิบัติแบบนี้ จะต้องพูดอย่างไร ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างไร เป็นต้น ก็ภิกษุเป็นปริสัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักบริษัทว่า นี้บริษัทกษัตริย์ นี้บริษัทคฤหบดี นี้บริษัทสมณะ ในบริษัทนั้น เราพึงเข้าไปหาอย่างนี้ พึงยืนอย่างนี้ พึงทำอย่างนี้ พึงนั่งอย่างนี้ พึงนิ่งอย่างนี้... ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ชิว : ซึ่งการจะเข้าถึงกลุ่มคนแต่ละระดับได้ เราก็จำเป็นต้องรู้จักสิ่งที่ทำให้กลุ่มบุคคลนั้นๆรวมกันอยู่ได้ รู้ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนะธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ข่าวสารสถานการณ์ความเป็นอยู่ของกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ รู้ว่าสังคม-ชุมชนที่เราเข้าหาเป็นกลุ่มคนประเภทใด สถานะอย่างไร มีวิธีการคบหา พบปะ สนทนากับเขาอย่างไร ต้องวางตัวอย่างไร ต้องปฏิบัติต่อเขายังไง ให้เหมาะสม ภู : งืมๆๆ.. ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ข่าวสาร สถานการณ์ความเป็นอยู่ เพื่อการจะใช้วางตัวต่อเขา ชิว : เมื่อจัดกลุ่มวิธีการเข้าหากลุ่มคนหรือสังคม เราก็จะแยกกลุ่มใหญ่ได้ดังนี้ 1. กลุ่มคนในพื้นที่นี้ๆ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีขนบธรรมเนียมประเพณีเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหาอย่างไร เช่น กลุ่มคนประเทศต่างๆ กลุ่มคนจังหวัดต่างๆ กลุ่มคนอำเภอต่างๆ กลุ่มคนองค์กรต่างๆ กลุ่มคนหมู่บ้านต่างๆ กลุ่มคนในตรอก-ซอก-ซอยต่างๆ กลุ่มคนครอบครัวต่างๆ เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร ภู : งืมๆๆ.. ความเชื่อ วิถีชีวิต วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ของคนในพื้นที่หรือสถานที่นั้น 2. กลุ่มคนที่มีฐานะนี้ๆ มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร มีขนบธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหายังไง เช่น พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ เจ้าขุน มูลนาย เจ้าสัว กลุ่มผู้บริหาร กลุ่มผู้อำนวยการ กลุ่มผู้จัดการ กลุ่มเพื่อนร่วมงาน ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดี ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่กลางๆ ผู้มีฐานะความเป็นอยู่ที่ด้อย กลุ่มครู กลุ่มเพื่อน ครอบครัวตนเอง คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร ภู : งืมๆๆ.. ฐานะ ตำแหน่ง ชนชั้น อายุ 3. กลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถระดับนี้ๆ เขามีวิถีชีวิตอย่างไร มีรูปแบบการพบปะเข้าหาเช่นไร มีข่าวสารสถานการณ์เป็นเช่นใด ควรเข้าหาอย่างไร เช่น กลุ่มคนที่มีความฉลาด มีความรู้ ความสามารถมาก กลุ่มคนที่มีความรู้ความสามารถกลางๆ คนที่มีความรู้ความสามารถน้อย เราจะต้องเข้าหาอย่างไร พบปะอย่างไร ต้องประพฤติตัวต่อเขาอย่างไร วางตัวเช่นไร สนทนาอย่างไร คบหาอย่างไร จุนเจืออย่างไร ภู : งืมๆๆ แล้วภูจะรู้ได้ยังไงว่าใครเก่งแค่ไหน ไม่เก่งแค่ไหน ยากจัง แค่เพื่อนปกติยังเข้ากาไม่ได้เลย (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ภูก็ต้องเริ่มจาก..ไม่เรียกร้องเอาคุณค่าตัวเองจากใคร ไม่ต้องอยากให้ใครมายกยอปอปั้นภู แต่ภูเรียนรู้ที่จะเข้าใจเขาแทน ให้เขาได้แสดงความสามารถออกมา แต่ไม่ใช่ว่าเราต้องเป็นคนโง่ แต่เป็นคนฉลาดที่ไม่ต้องไปอวดรู้ใคร ฉลาดที่จะรับฟัง ฉลาดที่จะเปิดทางให้พวกเขาแสดงศักยภาพความรู้ความสามารถออกมาแทน ภู : ว้าว..ดีเลยสินี่ ชิว : ใช่มั้ยล่ะ..นั่นก็เพราะการดึงความสามารถของกลุ่มคน หรือ บุคคล ให้สามารถแสดงศักยภาพออกมาได้เต็มที่และเต็มใจทำได้นั้น เป็นสุดยอดคนยิ่งกว่าที่จะตนเองจะไปแสดงศักยภาพของตนให้ผู้อื่นเห็น หรือ ยอมรับโดยที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สิ่งใด นอกจากได้สมใจอยากใน ลาภ ยศ สรรเสริญ ที่ตนมุ่งหวังให้ได้รับสรรเสริญเยินยอจากผู้อื่น..เพราะไม่เพียงทำให้เรารู้ความสามารถคนได้ ยังสามารถเรียนรู้ในสิ่งที่ตนไม่เคยรู้ สามารถเข้าหาพึ่งพาแบ่งปันกันได้ถูกทาง ถูกความถนัด ความสามารถที่แต่ละคนมีได้อีกด้วยนะ ภู : โอ้ว..ดีเลยสินี่ เหมือนเลือกขุนศึกของพระราชาเลย ชิว : ใช่แล้ว..โดยภูสามารถรับฟังกลุ่มคน หรือ บุคคล เหล่านั้นพูดแสดงความสามารถ โดยให้ยึดมั่นในใจว่า..จะใช้ปัญญาไตร่ตรอง โดยไม่เข้าไปมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับพวกเขา แล้วพิจารณาพื้นฐานได้ดังนี้.. 1. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมาถูก แต่เรารู้มาก่อนแล้ว เราก็ควรให้เกียรติชื่นชมเขา และ เห็นว่ามีความเห็นตรงกัน เรามีความรู้ถูกต้องในระดับหนึ่ง 2. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมา แล้วเราไม่มีความรู้ในสิ่งนั้น ก็ไม่ต้องไปขัดแย้ง หรืออวดตนให้้เขาฟังเรา แต่เราก็ต้องรู้จักรับฟัง สังเกตุ วิเคราะห์ ไตร่ตรองตามหลักความ ให้แสดงต่อเขาถึงความสนใจในสิ่งนั้น แล้วให้เขาแสดงแนวทาง กลักการ วิธีคิด วิธีทำ เหตุผล อธิบายในสิ่งนั้นเพิ่มเติมให้เราเจ้าใจ แล้วเราก็ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม 3. หากสิ่งใดที่เขาแสดงมาไม่ถูก แต่เรารู้สิ่งที่ถูกต้องแล้ว เราก็ควรให้เกียรติเขา และ ไม่ควรพูดขัดแย้งให้เขาต่อต้านเรา เราไม่ควรไปดูถูกดูแคลนเขา แต่เราควรศึกษาในมุมมองของเขาเพื่อสอบถามความเห็น แนวความคิด จับจุดความคิดนั้นของเขา โดยอาจกล่าวถามถึงมุมมองความเชื่อ ความรู้เห็นตามจริง หลักการ แนวทางวิธีของเขาที่มีต่อสิ่งนั้น ว่ามีความรู้เห็นอย่างไร ใช้หลักการใด มีวิธีคิดอย่างไร จึงสรุปผลหรือแสดงผลลัพธ์ออกมาได้อย่างนั้น เมื่อรู้แนวคิดเขาว่าผิด ถูก บิดเบือน หรือยังไม่ครบพร้อมเพียงไร สามารถจับจุดปิดพลาดหรือรู้ประเด็นสำคัญที่เขาเข้าใจผิดแล้ว เราก็สามารถพูดกล่าวถึงประเด็นสำคัญเปิิดมุททองความเห็นที่จะใช้ชักจูงให้เขาคิดวิเคราะห์ตามในทางของเรา คือ พูดตามสิ่งที่เขารู้ โดยจุดประเด็นถึงข้อสังเกตุบางสิ่ง ให้สอดแทรกเสริมในเชิงการคิดวิเคราะห์..เพื่อให้เขาไตร่ตรองตามเรา..แล้วน้อมใจมาในสิ่งที่เราเสริมให้เขาวิเคราะห์ตามนั้น หากบอกให้เขารู้ตามไม่ได้..ก็ให้ปล่อยวาง วางเฉยโดยคิดเสียว่า..เราอาจจะยังไม่เก่งพอที่จะแนะนำพวกเขา..เรายังต้องเรียนรู้เพิ่มเติม หรือ เราจับประเด็นสนใจของพวกเขาไม่ได้..จึงไม่สามารถแสดงชักจูงให้เขารู้เห็นตามเราได้ หรือ พวกเขาไม่ได้มีบุญสัมพันธ์เกื้อหนุนความรู้กันกับเรา ภู : งืมๆๆ ยาวนะจะจำได้ไหม ชิว : ภูก็จำว่า พิจารณาการแสดงความรู้ ความสามารถ ของกลุ่มคนสังคมพวกเขาที่แสดงออกกับเราว่า.. 1.) สิ่งใดเขาและเรารู้เข้าใจตรงกัน..ให้ยินดีร่วมกัน 2.) สิ่งใดเราไม่รู้ไม่เข้าใจ..ให้รับฟัง แล้ววิเคราะห์ พิจารณาให้ถี่ถ้วน 3.) สิ่งใดเขารู้เข้าใจผิด..ให้แนะนำเปิดมุมมองสิ่งที่ถูกต้อง และ ปล่อยวาง ภู : งืมๆๆ..จำได้ละ 1.) รู้ตรงกันให้ยินดี 2.) เราไม่รู้ให้ฟัง 3.) เขาไม่รู้ให้แนะนำ..แล้วปล่อยวสง ชิว : ภูเก่งมาก…อีกประการก็คือ.. รู้ว่าคนฉลาดกลุ่มนั้นเขาชอบคิดพูดอะไร สิ่งที่กลุ่มเขาสนใจคืออะไร เขาใช้ปัญญาในการแสดงอย่างไร ไม่เอาอารมณ์ความรู้สึกของตนมาปนกับสิ่งที่ต้องทำยังไง / รู้ว่าคนที่ไม่ฉลาดกลุ่มนั้น เขาจะเปิดใจรับรู้รับฟังในสิ่งใด หรือ เขามีความเชื่อ ความรู้เห็นมาอย่างไร ใช้อารมณ์ความรู้สึกในอคติเพราะ..รัก ชัง หลง กลัว โดยไม่ใช้ปัญญาความรู้ในการคิดวิเคราะห์ทำความเข้าใจในสิ่งใด ภู : งืมๆๆ ชิว : การรู้ชุมชนหรือสังคม ทั้ง 3 ข้อนี้ คนยุคใหม่ หรือ นักจิตวิทยา หรือ นักวิชาการต่างชาติ เรียกว่า SQ ..แต่โดยคำสอนของพระพุทธเจ้านั้นมีหลักการใช้ที่ลึกซึ้งลงไปถึงการเข้าถึงใจคนในกลุ่มนั้นๆ เพื่อแสดงธรรมอันเป็นทางพ้นทุกข์ที่เกื้อกูลกลุ่มคนเหล่านั้นได้ถูกตรงอุปนิสัยใจคอ..ให้สามารถเห็นแจ้งตามได้ ดังนั้นหากเรานำมาใช้ทางโลก ..ตรงนี้ภูต้องใช้ครบทั้ง การรู้เหตุ → รู้ผล → รู้ตน → รู้ประมาณ(Skill ประเมิน) → รู้กาล(Skill ควบคุม/ประเมินเวลาตามสถานการณ์) ในการเปิดใช้ Skill ประเมินสังคม ที่เรียกว่า SQ ความฉลาดในการเข้าสังคม ตามวิถีชาวพุทธดังนี้.. ๑. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ เป็นการรู้โครงสร้าง จุดเริ่มต้น สารตั้งต้น รู้เหตุเกิด รู้องค์ประกอบเหตุ รู้หน้าที่การทำงานในแต่ละองค์ประกอบของสิ่งนั้นๆ และ รู้หลักการที่จะนำมาใช้กับสิ่งนั้น ในการสร้าง การพัฒนา การปรับกลยุทธแก้ไข เพื่อให้ดำรงอยู่กับสิ่งนี้นสภาพแวดล้อมนั้นได้ด้วยดี ไม่ขัดแย้ง เช่น เราต้องการเข้ากลุ่มเขา(กลุ่มคนรวย, กลุ่มคนจน, กลุ่มคนมักโลภ, กลุ่มมักโกรธ โวยวาย, กลุ่มคนมักหลง) เราจะต้องทำอย่างไร จะทำอย่างไรเป็นที่ยอมรับในกลุ่มเขา คบหาได้ไม่แคลงใจ เราต้องทำอย่างไร มีวิธีการอย่างไร ต้องทำเหตุเช่นไร นั่นคือ..ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ แล้วศึกษาเรียนรู้ สังเกตุ วิเคราะห์ ไตร่ตรอง เฟ้นหาหลักการแนวทางต่างๆ เพื่อเข้าหาและเข้าถึงกลุ่มคนนั้นได้จริงตามผลลัพธ์ที่ประสงค์มุ่งหมายนั้น ข้อสังเกตุ..เมื่อประมวลมาโดยรวมก็จะเห็นได้ว่า..การรู้เหตุ เป็นการรู้เหตุเกิดและองค์ประกอบเหตุ พร้อมกับรู้หลักวิธีการที่ใช้ปฏิบัติดำเนินการต่อสิ่งนั้นๆ ไมว่าจะเป็น ตนเอง, กลุ่มคนในชุมชนหรือสังคม, คน, สัตว์, สิ่งของ ซึ่งหลักวิธีการจะใช้แตกต่างกันไปตามแต่สถานการณ์ต่างๆ จึงกล่าวได้ว่า การรู้เหตุ คือ การปรับตัวตามสถานการณ์ต่างๆ โดยใช้องค์ความรู้ต่างๆนั่นเอง ภู : งืมๆๆๆ เหมือนจะยากจัง แต่พอบอกข้อสังเกตุ ภูก็เริ่มจะจับจุดได้ละว่า ปรับตัวตามสถานการณ์ ชิว : ภูเก่งมากเลย งั้นฟังต่อนะ..หลักการเราที่ใช้เฟ้นหาความรู้ในการนำมาใช้กับเหตุที่ดีที่สุดก็คือ..พุทโธอริยะสัจ ๔ เราต้องนำ พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาจากเพื่อเฟ้นหาสิ่งที่เราเจาะจงจะรู้ รู้เหตุเกิดและองค์ประกอบจริงของสิ่งนั้นๆ รู้เหตุทำ คือ หลักการ แนวทาง วิธีปฏิบัติทั้งหลาย ที่เราจะต้องนำมาใช้ได้จริงๆ ถูกต้อง ถูกกาล ถูกตรงต่อสถานการณ์นั้นๆ เป็นการรู้ความต้องการหลักการความรู้ที่เราจะต้องนำมาใช้ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ ณ เวลานั้นๆ สถานที่นั้นๆ นั่นเอง ตลอดจนทำให้รู้ผลสืบต่อจากการกระทำนั้นได้ชัดเจน ทั้งยังสืบต่อไปถึงการรู้ผล ว่าหากอยากได้ผลลัพธ์อย่างนี้ หรือ สถานการณ์เช่นนี้ๆ เราจะต้องทำเหตุใด ทำสิ่งใด ใช้สิ่งใด ต้องใช้ปัญญาความรู้ในหลักวิธีการแนวทางอันใดปฏิบัติทำเพื่อตอบโจทย์ความต้องการให้ได้ผลลัพธ์อันนั้น ภู : งืมๆๆ พุทโธอริยะสัจ ๔ หาความปารถนา และวิธีการทำสนองตอบ ชิว : ดังนั้น การคิดลงในอริยะสัจ ๔ จึงเป็นทางประเสริฐ เป็นทั้งการรู้เหตุตามจริง รู้ผลตามจริง รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุการใด มีหลักการกระทำให้เป็นไปอย่างไร รู้ทั้งการกระทำนั้นๆเพื่อสิ่งใด มีอะไรเป็นผลสืบต่อ ตลอดจนถึงเป็นการเดินปัญญาเพื่อรู้ความมุ่งหมายต้องการของใจ ทั้งความต้องการของตนเอง ความต้องการของสถานการณ์ ความต้องการของกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ และ ความต้องการของใจบุคคล เพื่อตอบสนองความต้องการของสิ่งนั้นได้ถูกตรงทาง สามารถตอบโจทย์ความต้องการของสิ่งนั้นๆได้ สามารถพบปะ พูดคุย เอื้อเฟื้อ เกื้อกูล เปิดมุมมองความเห็น การแก้ปัญหาในสถานการณ์ การแก้ปัญหาในกลุ่มคน และ การแก้ปัญหาระหว่างบุคคลซึ่งกันและกันได้ หลักการคิดลงอริยะสัจ ๔ มีหลักจดจำดังนี้.. 1. ทุกข์หรือปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..คืออะไร (การกระทำ การแสดงออก สภาพที่เกิดขึ้นเป็นอยู่ สภาพที่เกิดขึ้น สภาวะที่เป็นอยู่ ความไม่สบายกายไม่สบายใจในสิ่งใด หม่นหมองกายใจ อัดอั้นคับแค้้นสิ่งใด ยึดมั่นสิ่งใด) 2. สมุทัย เหตุแห่งทุกข์หรือเหตุแห่งปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..คือสิ่งใด (เหตุให้กระทำ / เกตุความยึดมั่นถือมั่นเหล่านั้น / ต้องการสิ่งใด / ความต้องการของใจคืออะไร / มีความคาดหวังปรารถนาในสิ่งใด / ต้องการอยากได้สิ่งใด อยากมีในสิ่งใด / ผลักไสสิ่งใด ไม่ต้องการในสิ่งใด อยากให้ไม่มีสิ่งใด) 3. นิโรธ ความดับสิ้นทุกข์หรือความดับสิ้นปัญหา ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..เป็นแบบไหน (สภาวะที่ปลดเปลื้องทุกข์ของสิ่งนั้นเป็นเช่นไร / สิ่งใดคือผลสำเร็จประโยชน์สุข / อะไรคือความพ้นทุกข์ / สิ่งใดที่บังเกิดขึ้นแล้วทำให้ทุกข์นั้นดับสิ้นไป) 4. มรรค ทาง / หลักการ / แนวทาง/ วิธีการดับทุกข์หรือทางแก้ปัญหา..ที่เหตุ ของสิ่งนั้นๆ /สถานการณ์นั้นๆ /สังคมนั้นๆ /กลุ่มคนนั้นๆ /บุุคคลนั้นๆ..เป็นเช่นใด (ต้องอาศัยสิ่งใด ต้องทำอย่างไร ปฏิบัติยังไง โดยการปฏิบัติแล้วจะเป็นทางปฏิบัติเพื่อให้บังเกิดสิ่งที่ตรงกันข้ามกับเหตุแห่งทุกข์เสมอๆ ปฏิบัติสะสมไปจนเกิดขึ้นบริบูรณ์เป็นปกติ เช่น ไฟไหม้ การดับไฟก็ต้องใช้น้ำดับ ไม่ใช่จุดไฟต่อเพื่อดับไฟ) ภู : อ่า..ยาวมาก (*﹏*;) ชิว : สรุปโดยย่อ • การรู้เหตุ ก็คือ การรู้จักการปรับตัวตามสถานการณ์..เพื่อให้เข้ากับเหตุการณ์ สิ่งแวดล้อม กลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ และ บุคคลที่ตนต้องพบปะคบหา..ได้อย่างลงตัว เหมาะสม เป็นไปได้ด้วยดี • การรู้เหตุ เป็นการ..ใช้ปัญญา~ไม่ใช้อารมณ์ความรู้สึกในการดำรงชีพ (อริยะสัจ ๔) โต้ตอบ กระทำต่อสถานการณ์ สถานที่ กลุ่มคน หรือบุคคลนั้นๆ กล่าวคือ..เป็นการใช้ปัญญา (ความรู้เห็นและเข้าใจชัดแจ้งตามจริง) ปฏิภาณ (ไหวพริบ ทักษะ ความสามารถ) ~ โดยไม่ใช่อารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตามเจตคติ รัก ชัง หลง กลัว (อคติ ๔ คือ ฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ) กล่าวโดยย่อทั้งหมดนี้เป็นการ..ใช้ความรู้วิเคราะห์ไตร่ตรอง..โดยไม่เข้าไปมีอารมณ์ความรู้สึกร่วมกับเขา ในการรับฟังหรือตอบโต้กลับสถานการณ์ ภู : งืมๆ เข้าใจละ ใช้ปัญญา..ไม่ใช้ความรู้สึกตอบโต้สถานการณ์ ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ชิว : ทีนี้ิชิวจะกล่าวถึงหลักการที่นำมาใช้วิเคราะห์หาเหตุ หลักการที่จะนำมาตอบโจทย์ความต้องการของสังคมนั้นๆ • การรู้เหตุในส่วนของตน เป็นการตอบโจทย์ความต้องการของตัวเราเองในด้านปัญญา การศึกษา เรียนรู้ วิเคราะห์ ค้นคว้า วินิจฉัย ฝึกฝน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีคุณค่า ดั่งมหาบุรุษแห่งยุคสมัย หรือ ในสถานการณ์ต่างๆนั่นเอง การรู้เหตุ เป็นการรู้สิ่งที่ตนเองต้องมี เป็นปัญญาความรู้ที่ต้องทำให้เกิดขึ้นในตน ต้องเพิ่มส่วนที่ขาดในตน ต้องละส่วนที่ส่งผลเสียและเป็นทุกข์ภัยในตน และ รักษาสิ่งดีที่มีประโยชน์ในตนให้คงไว้ (อิทธิบาท ๔ + สัมมัปปธาน ๔) เพื่อที่จะนำไปใช้ตอบโจทย์สถานะการณ์ต่างๆของตน เป็นการศึกษาเรียนรู้หลักการ แนวทาง วิธีการ วิธีคิดเพื่อตอบโจทย์ปัญหา หรือ โจทย์ความต้องการของสภาพแวดล้อมและสิ่งต่างๆ ทั้งหน้าที่การงาน กฎเกณฑ์ ระเบียบวินัย รวมทั้ง ตนเอง รู้ประมาณตน รู้ประเมิณสถานการณ์ กลุ่มคน สังคม บุคคล ที่ดำรงอยู่รอบตัวเรา หรือ กลุ่มคน สังคม บุคคล ที่เราต้องเข้าพบปะคบหา ได้อย่างลงตัว เหมาะสม ควรแก่สถานการณ์ในปัจจุบันกาลและภายภาคหน้านั่นเอง • การรู้เหตุในส่วนของการรู้ชุมชน กลุ่มคน สังคม องค์กร ในพื้นที่นั้นๆ ก็คือ ปัญญาในการเข้าสังคม..เป็นการปรับตัวตามสถานการณ์ด้วยปัญญา คือ การศึกษาเรียนรู้หลักวิธีการให้เรารู้จักกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ ..รู้สังคมกลุ่มของเขาว่า..มีหลักการความเชื่ออย่างไร มีจริตอุปนิสัยแบบใด มีทิศทาง/แนวทางความคิดเช่นไร มีวิธีคิดแบบไหน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่เช่นใด มีความรู้และความสามารถทางใด มีการติดส่อสือสารในระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆที่แสดงต่อกันเช่นไร (กำหนดรู้ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ จากการกระทำของเขา) แล้วศึกษาเรียนรู้หลักการที่จะอยู่ร่วมกับกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ เรียนรู้หลักการที่จะนำมาใช้ในการเข้าพบปะเจรจาคบหากับกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆ เรียนรู้ในการปรับตัวให้สามารถกลมกลืนเข้ากับสภาพแวดล้อมกลุ่มคนในสังคมพื้นที่นั้นๆได้ โดยอาศัยหลักแนวทางในการเรียนรู้ศึกษาดังนี้.. ๑.๑) รู้ว่ากลุ่มคนนั้นๆ พื้นที่ชุมชนนั้นๆ สังคมนั้นๆ องค์กรนั้นๆ มีสิ่งใดประกอบร่วมให้พวกเขาอยู่ด้วยกันได้ กลุ่มคนในแต่ละระดับมีสิ่งใดที่ประชุมรวมเขาเข้าด้วยกัน มีธาตุที่ถูกกัน(ศัพท์วัยรุ่นสมัยนี้เรียกว่า..มีเคมีตรงกัน) ชักจูงเข้าหากันอย่างไร (ความเชื่อ อุปนิสัย ความคิด อุดมการณ์) มีหลักเกณฑ์การแบ่งแยกกลุ่มคนตามระดับฐานะหน้าที่การงานความรับผิดชอบอย่างไร มีการปฏิบัติอย่างไรต่อกันในแต่ละระดับฐานะ โดยปริยายเทียบเคียงที่พึงพิจารณาด้วยหลักการใน ธรรม ๖ ประการ ดังนี้ คือ.. ก. ศรัทธา ความเชื่อ(เจตคต |
5
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน บทส่งท้าย Skill รู้กาล
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:29:51 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
บทส่งท้าย Skill รู้กาล และ บรรณานุกรม
สาธยายธรรมอ้างอิง กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลคือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น... ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ธัมมัญญูสูตร ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็น กาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู กาลัญญู ด้วย ประการฉะนี้ ฯ หลักแนวคิดอ้างอิง รู้จักคำว่า คิดในปัจจุบัน และ การจัดการในปัจจุบัน การคิดปัจจุบัน..ไม่ใช่ว่า..รู้ว่างานจะต้องทำ หรือ จะต้องใช้ในวันและเวลาพรุ่งนี้ ไม่ใช่ตอนนี้ แล้วปล่อยและละเลย มารอจัดการในวันพรุ่งนี้เอา แล้วมาบอกว่ารอทำในปัจจุบัน มันก็จะเกิดความยุงยากวุ่นวาย ก็จะไม่ทันการ แต่การคิดในปัจจุบัน คือ คิดในสิ่งที่รับรู้ หรือ กระทำอยู่ในขณะนั้น แล้วจัดการกับสิ่งที่ได้รับรู้ และ ความคิดที่มีต่อสิ่งนั้น ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมควรแก่กาล กล่าวคือ เป็นการไม่ส่งจิตออกนอก เช่น เรียนอังกฤษอยู่ใจก็จดจ่อเอาใจใส่ในสิ่งมี่เรียนในเวลาปัจจุบัน ไม่เผลอไผลไปคิดเรื่องอื่น, หรือ..ปัจจุบันครูสั่งการบ้านต้องส่งในสัปดาห์หน้า / หัวหน้ามอบหมายงานให้ทำซึ่งเป็นแผนงานการประชุมในสัปดาห์หน้า สิ่งนี้ก็เป็นงานของปัจจุบัน เป็นหน้าที่ของปัจจุบันที่ต้องทำ เพียงแต่มีระยะเวลาจัดทำและต้องส่งงสนในสัปดาห์หน้าเท่านั้น ส่วนการคิดในสิ่งที่ไม่เป็นปัจจุบัน คือ การกระทำที่เป็นการส่งจิตออกนอกนี้ เป็นอาการที่จิตไม่รู้ในกิจหน้าที่ของตนในปัจจุบันที่ควรกระทำ แต่ไปรำลึกถึง ตรึกถึง นึกถึง ตรองถึง คำนึงถึงสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ตนใจปัจจุบัน เช่น กำลังทำงานปัจจุบันอยู่ แต่ไปนึกถึงเลิกงาน, กำลังเรียนคณิตศาสตร์ ไปคิดภาษาไทย หรือ ไปคิดเรื่องรักใคร่ เป็นต้น ..เมื่อจะกล่าวถึงการวางแผนดำรงชีวิต ก็การวางแผนนั้นเป็นกิจหน้าที่ของตนในทุกๆวัน เพื่อสืบต่อผลสำเร็จใจวันพรุ่งนี้ ดังนั้น การวางแผน ก็คือ การจัดการปฏิบัติทำในปัจจุบันเพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่มุ่งหมาย เป็นกิจหน้าที่การงานของตนที่ต้องทำในปัจุบันทุกวัน โดยการวางแผน ก็คือ การรู้หลักการ แนวทาง วิธีการนั่นเอง เป็นการรู้เหตุ ทำเหตุ ซึ่งเป็นกิจหน้าที่ของตนในทุกๆวัน ในทุกๆขณะเวลา ชื่อว่า ผู้รู้เหตุที่จะสืบต่อไปสู่ผลในปัจจุบัน แล้วทำเหตุนั้น ส่วนการดำเนินชีวิตตามแผนการนั้น เป็นการรู้ผล รู้ว่าสิ่งนี้ที่ทำเพื่อมุ่งหมายผลอย่างไร ทำเพื่อประโยชน์สิ่งใด มีอะไรเป็นผลสืบต่อ ธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ไม่มีขัดกัน เป็นธรรมจองปัจจุบันกาล คือ เป็นการกระทำในปัจจุบัน (เหตุ) ที่ให้ผลสืบต่อในกาลต่อไป (ผล) โดยการจัดการและจัดสรรการกระทำทั้งหมด ให้ถูกต้องเหมาะสมควรแก่กาลนี้..ก็คือ..การรู้ลำดับความสำคัญ การรู้ว่่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด เวลานี้ไม่ควรทำสิ่งใด เวลานั้นควรทำสิ่งใด เวลานั้นไม่ควรสิ่งใด สิ่งนั้นควรทำเวลานี้ สิ่งนี้ควรทำเวลานั้น สิ่งโน้นควรทำเวลาใด พอถึงเวลาก็จัดการตามที่วางไว้นั้น นี่คือ..การรู้เวลา ที่เรียกว่า การรู้กาล ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอน เป็นแผนการดำเนินงาน เป็นการจัดตารางเวลาของตนนั่นเอง อุปมา..เปรียบเหมือนนักเรียนมีตารางเรียนในแต่ละวันอยู่แล้ว เมื่อรู้หน้าที่ตน หลังทำการบ้านเสร็จ ก่อนนอนก็ต้องจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ไว้ เมื่อตื่นเช้ามา หลังทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็สะพายกระเป๋าไปเรียนได้ทันทีเลย นี่คือการเตรียมแผนงานในปัจจุบัน อุปไมย..เปรียบการจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ ในคืนวันนี้ ก็คือ..หน้าที่การงานสิ่งที่เราต้องทำของวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำวันของพรุ่งนี้ เพราะเป็นหน้าที่การงานตามระเบียบวินัยของเราในวันนี้นั่นเอง ..ส่วนชุดอุปกรณ์การเรียนที่เราจัดไว้ตามตารางเรียนวันพรุ่งนี้ คือ สิ่งที่เราต้องการใช้งานในวันพรุ่งนี้ คือ ผลสืบต่อจากการกระทำในปัจจุบันนั่นเอง ..ทั้งหมดก็ปัจจุบันขณะนั้นทั้งนั้น การจัดการตรงนี้เรียกว่าปัญญา ..ดังนั้นการเตรียมแผนงานที่ต้องทำ ก็คือสิ่งจำเป็น เช่น วันนี้เราได้รับมอบหมายให้จัดทำแผนงานดำเนินการมีกำหนดส่งในอีก 3 วัน ก็แผนงานนั้นที่จริงก็คืองานของวันนี้ที่เราได้รับมอบหมายมา แต่มีหมายกำหนดการส่งงาน..ในอีก 3 วัน ข้างหน้าเท่านั้นเอง ดังนั้นมันก็คืองานของวันนี้ที่เราต้องตรวจสอบว่ามีงานอะไรบ้างเนื้อหาเช่นไร ต้องเตรียมเอกสารอะไร ลำดับงานยังไง โดยมีระยะเวลาจัดการอีกสองวันข้างหน้า ******************* • การใช้ธรรมธรรมแก้ทางตามกาล (ธรรมอันเป็นฆ่าศึกต่อกัน) ธรรมการแก้กิเลสต่างๆ เป็นกรรมฐานที่ใช้อบรมจิตแก้กิเลส และ การใช้โพชฌงค์ตามกาล โพชฌงค์ หรือ โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ หรือองค์ของผู้ตรัสรู้ มีเจ็ดอย่างคือ สติ (สติสัมโพชฌงค์) ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง ธัมมวิจยะ (ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์) ความเฟ้นธรรม ความสอดส่องสืบค้นธรรม วิริยะ (วิริยสัมโพชฌงค์) ความเพียร ปีติ (ปีติสัมโพชฌงค์) ความอิ่มใจ ปัสสัทธิ (ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์) ความสงบกายใจ สมาธิ (สมาธิสัมโพชฌงค์) ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วในอารมณ์ อุเบกขา (อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ความมีใจเป็นกลาง เพราะเห็นตามเป็นจริง ******************* สติเป็นคู่ปรับกับอวิชชา ธัมมวิจยะเป็นคู่ปรับกับทิฏฐิ (สักกายทิฏฐิ และสีลัพพัตปรามาส) วิริยะเป็นคู่ปรับกับวิจิกิจฉา ปีติเป็นคู่ปรับกับปฏิฆะ ปัสสัทธิเป็นคู่ปรับกับกามราคะ สมาธิเป็นคู่ปรับกับภวราคะ (รูปราคะ อรูปราคะ (ภพที่สงบ) กับ อุทธัจจะกุกกุจจะ (ภพที่ไม่สงบ ความฟุ้งซ่าน)) อุเบกขาเป็นคู่ปรับกับมานะ ******************* ธัมมวิจยะและวิริยะทำลายทิฏฐิและวิจิกิจฉาอนุสัย บรรลุเป็นพระโสดาบันและหรือพระสกทาคามี ปีติและปัสสัทธิทำลายปฏิฆะและกามราคะอนุสัย บรรลุเป็นพระอนาคามี สมาธิ อุเบกขาและสติทำลายรูปราคะ อรูปราคะ อุทธัจจกุกกุจจะ มานะ อวิชชาอนุสัย บรรลุเป็นพระอรหันต์ สติ ความระลึกได้ ธรรมดาสตินั้นเป็นธรรมชาติทำลายโมหะคือความหลง ท่านกล่าวว่าโมหะทำให้เกิดอวิชชา และอวิชชาทำให้เกิดโมหะเช่นกัน ดังนั้นผู้เจริญสติจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำลายอวิชชาลงเสียได้ ธัมมวิจยะ ความพิจารณาในธรรมจนเห็นชัดตามความเป็นจริงย่อมทำลายสักกายทิฏฐิในตัวตนว่าขันธ์ 5 เป็นตัวกู (อหังการ) ของกู (มมังการ) ลงเสียได้และย่อมทำลายสีลัพพัตตปรามาส การถือมั่นในศีลพรตอย่างผิด ๆ ด้วยการเห็นตามความเป็นจริงว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎแห่งกรรม วิริยะ ความแกล้วกล้าของจิต ที่เพียรพยายามด้วยศรัทธาที่มั่นคง จนประสบผลจากการปฏิบัติจนสิ้นความสงสัยในคุณของพระรัตนตรัย คือเป็นความศรัทธาในระดับวิริยะ คือมีความแกล้วกล้า (วิร ศัพท์ แปลว่ากล้า) อันหมายถึงความเพียรอันเกิดจากความแกล้วกล้าเพราะศรัทธา ปีติ ความสุขจากความแช่มชื่นใจของปีติ ย่อมดับสิ้นซึ่งพยาบาทและปฏิฆะความไม่พอใจใด ๆ ลงเสียได้ ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ ย่อมทำให้กามราคะที่เกิดเมื่อเกิดย่อมต้องอาศัยการนึกคิดตรึกตรองในกาม เมื่อสำรวมกายคืออินทรีย์ 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และสำรวมใจไม่ให้คิดตรึกตรองในกาม ย่อมยังกามราคะที่จะเกิดไม่ให้เกิดเสียได้ สมาธิ ความตั้งใจมั่น สมาธิระดับอัปปนาสมาธิย่อมกำจัดความฟุ่งซ่านรำคาญใจลงเสียได้ และสมาธิระดับอรูปราคะย่อมทำลายความยินดีพอใจในรูปราคะเสียเพราะความยินดีในอรูปราคะ และสมาธิระดับนิโรธสมาบัติย่อมต้องทำลายความยินดีพอใจในอรูปราคะเสียเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ (ในชั้นนี้ ผู้ปฏิบัติที่สามารถละปฏิฆะและกามราคะได้เด็ดขาด ย่อมบรรลุเป็นพระอนาคามีที่มีปกติเข้าถึงนิโรธสมาบัติได้แล้ว) อุเบกขา ความวางเฉย คือวางเฉยในสมมุติบัญญัติและผัสสะเวทนาทั้งหลาย ทั้งหยาบ เสมอกัน และปราณีต จนข้ามพ้นในความเลวกว่า เสมอกัน ดีกว่ากัน จนละมานะทั้งหลายลงเสียได้ ******************* อ้างอิง https://th.m.wikipedia.org พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 241 พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลธรรม" พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) "พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์" อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ แหล่งข้อมูลอื่น เจริญสติปัฏฐาน๔ บำเพ็ญโพชฌงค์๗ ให้บริบูรณ์ ในวิกิซอร์ซ ******************* โพชฌงค์ตามกาล จำเพาะภาวะจริตของผู้เขียนนำมาใช้ เพื่อแสดงว่าธรรมของพระพุทธเจ้าให้ผลได้ไม่จำกัดกาล 1.) ใช้อสุภะ ละ กามฉันทะ [เป็นการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ คือ กายคตาสติ หรือ กายานุปัสสนา และ เวทนานุปัสสนา(อารมณ์ความรู้สึก สุขเวทนา กามคุณ ๕) ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ โสมนัสเวทนา วินิจฉัยทำความรู้เห็นตามจริง / เจริญในปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา เพื่อละกามฉันทะ] 2.) ใช้เมตตา ละ พยาบาท [เป็นการเจริญสติสัมโพชฌงค์ ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ คือ เวทนานุปัสสนา(อารมณ์ความรู้สึก สุขเวทนา และ โสมนัสเวทนา) และ จิตตานุปัสนา(เจตนา ความคิดนึก) ทำความรู้เห็นตามจริง / เจริญในธัมมะวิจยะ วิริยะ ปิติ(ความอิ่มเอมก็ดี ซาบซ่านก็ดี โยกโคลงก็ดี ตัวเบาลอยก็ดี น้ำตาไหลจากความอิ่มเอมซ่านใจก็ดี ล้วนเป็นจุดเริ่มต้นจากอาการที่กายเริ่มแยกจากจิตเข้ามาสัมผัสรู้เพียงสุขภายใน อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ) เพื่อละพยาบาท] 3.) ใช้ธัมมะวิจยะสัมโพชฌงค์ วิริยะสัมโพชฌงค์ ปิติสัมโพชฌงค์ ละ จิตหดหู่ ซึมเศร้า เซื่องซึม ง่วงซึม 4.) ใช้ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ (สุขเป็นรอยต่อระหว่างปัสสัทธิและสมาธิ) สมาธิสัมโพชฌงค์ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ละ ความฟุ้งซ่าน วิตกกังวล งุ่นง่าน กระสับกระส่าย กระวนกระวาย รำคาญใจ 5.) ใช้สติสัมโพชฌงค์ พิจารณาจิตตานุปัสสนา ธัมมานุปัสสนา เข้าเห็นการกระทำใน ทุกข์(การกระทำ และ ผลสืบต่อของการกระทำ), สมุทัย(เหตุให้กระทำ), นิโรธ(การหยุดกระทำ และ ผลสืบต่อของการกยุดกระทำ), มรรค(เหตุละการกระทำ) ..จนรู้ชัดในธรรมทั้งหลายที่เป็นกุศลและอกุศล มีโทษและไม่มีโทษ เลวและประณีต เป็นฝ่ายดำและฝ่ายขาว ละ ความลังเล สงสัย ติดข้องใจ เคลือบแคลงใจ บทอ้างอิงจากพระไตรปิฏก https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=19&siri=123 https://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=19&A=3277&Z=3327 ****************** .. ภิกษุ ท.! ภิกษุ .. เจริญ อสุภะ เพื่อละ ราคะ เจริญ เมตตา เพื่อละ พยาบาท เจริญ อานาปานสติ เพื่อตัดเสียซึ่งวิตก เจริญ อนิจจสัญญา เพื่อถอน อัสมิมานะ เจริญ ธาตุ เพื่อสลัดออกซึ่ง วิจิกิจฉา ******************* ๓. เมตตาสูตร ถอนอัสมิมานะได้แล้ว สลัดวิจิกิจฉาด้วยธาตุ ..อรหัตมัคที่ถอนอัสมิมานะได้แล้วนี้ เป็นเครื่องสลัดออกซึ่งลูกศร คือ วิจิกิจฉา (ความสงสัย เคลือบแคลง) ..ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธาตุ เป็นเครื่องสลัดออก ๖ ประการนี้แล ฯ ******************* [ ๑๔๕ ] ดูกรราหุล! เธอจงเจริญ เมตตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อ เธอเจริญเมตตาภาวนาอยู่ ..จักละพยาบาทได้ เธอจงเจริญ กรุณาภาวนาเถิด ..เมื่อเจริญกรุณาภาวนาอยู่ ..จักละวิหิงสาได้ เธอจงเจริญ มุทิตาภาวนาเถิด ..เมื่อเจริญมุทิตาภาวนาอยู่ ..จักละอรติได้ เธอจงเจริญ อุเบกขาภาวนาเถิด ..เมื่อเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่ ..จักละปฏิฆะได้ เธอจงเจริญ อสุภภาวนาเถิด ..เมื่อเจริญอสุภภาวนาอยู่ ..จักละราคะได้ เธอจงเจริญ อนิจจสัญญาภาวนาเถิด ..เมื่อเจริญอนิจจสัญญาภาวนาอยู่ จักละอัสมิมานะได้ ******************* ..ราหุโลวาทสตร.. ..ราหุล ! .. เธอจงอบรมจิตให้หนักแน่น เสมอด้วยแผ่นดินเถิด " ..(เสมอด้วยธาต ๕ .. ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ).. " เมื่อเธออบรมจิต ให้เสมอด้วยแผ่นดินอยู่ ผัสสะทั้งหลายที่น่าพอใจ และไม่น่าพอใจอันเกิดขึ้นแล้ว จักไม่กลุ้มรุมจิตตั้งอยู่ ฉันนั้นเหมือนกัน ..เปรียบเหมือนคนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้าง ไม่สะอาดบ้าง คูถบ้าง มูตรบ้าง น้ำลายบ้าง น้ำหนองบ้าง เลือดบ้าง ลงที่แผ่นดิน แผ่นดินจะอึดอัดหรือระอา ก็หาไม่ ******************* ..การกำหนดสุขให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ สิ่งที่กำลังทำอยู่ ที่เรียกว่า..รู้ความโสมนัสที่ควรเสพ และ รู้ความโสมนัสที่ไม่ควรเสพ เป็นการใช้ พุทโธวิมุตติสุขร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ + โพชฌงค์ตามกาล ว่าด้วย จิตตสังขาร เวทนา สัญญา สังขาร เป็นปัญญาทำให้จิตเราตั้งขึ้น ขจัดความหดหู่ ท้อถอย เหนื่อยถ่าย เกียจคร้าน ง่วงซึม จนถึงขจัด Toxic อันเป็นเหตุให้หดหู่ซึมเศร้าได้เลยนะ ให้ทำโสมนัสที่ควรเสพดังนี้.. วิธีใช้..พุทโธวิมุติสุข ทำความสุขที่ควรเสพ (โสมนัส) พุทโธวิมุตติสุขนี้..คือ นิโรธ เป็นผลจากความดับทุกข์ เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ • เป็นทั้งการแผ่เมตตาให้ตนเองไปในตัว คือ ปรารถนาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ตนเอง สุขไปถึงดวงจิตของจน น้อมไปในการสละ สละให้ผู้อื่นถึงความเผื่อแผ่(เป็นการเมตตาผู้อื่น) สละคืนอุปธิถึงความพ้นกิเลส • เป็นทั้งกรุณา คือ ความเกื้อกูล เผื่อแผ่ แบ่งปันสุข ถึงสุขที่เนื่องด้วยใจ สุขอยู่ที่จิต รวมลงอยู่ที่จิต จนอัดปะทุพลั่งพลูสุขอันแช่มชื่นซาบซ่านขึ้นมาฟุ้งกระจายไปทั่ว ที่พ้นจากสุขที่เนื่องด้วยกาย คือ กามคุณ ๕ มีอาการที่แผ่ไป • เป็นทั้งอุปสมานุสสติกรรมฐาน ธรรมชาตินั้นสงบรำงับจากความปรุงแต่ง ธรรมชาตินั้นไม่มี ธรรมชาติที่สละคืน ถึงความว่าง ความสงบ ความไม่มี • เป็นทั้งการทำปัสสัทธิความสงบใจจากความปรุงแต่งจิต สงบจากความรู้สึกนึกคิด สงบจากไฟกิเลสสุมใจ • เป็นทั้งเหตุใกล้ให้สติเกิดขึ้นและทำสติให้ตั้งมั่น เมื่อเดินลมตามจุดพักลมต่างๆ ทำให้ใจมีกำลังตั้งมั่นหนักแน่นตาม • เมื่อใช้คู่กับ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็จะละกิเลสที่เกิดมีขึ้นได้ดี • หมายเหตุ ทำไมผู้เขียนจึงกล่าวรวบยอดว่า พุทโธวิมุติสุข และ พุทโธอริยะสัจ ๔ คือ ธรรมแก้ได้ในหลายอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดและจริตนิสัย นั่นเพราะ พุทโธ คือ คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ว่าด้วยความเป็น ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน / ก็เมื่อเป็นผู้รู้ ย่อมรู้กายใจตน รู้กิเลสตน รู้ของจริงต่างหากจากสมมติ รู้กิริยาจิตตน รู้ทางแก้กิเลสและจริตนิสัย รู้การทำไว้ในใจตนเพื่อเป็นละกิเลส รู้โพชฌงค์ รู้ชิชชา คือ รู้ในอริยะสัจ ๔ รู้วิมุตติ / ก็เมื่อเป็นผู้ตื่น ย่อมตื่นจากสมมติกิเลสของปลอม รู้ออกจากกิเลส อุปกิเลส อุปนิสัยกิเลส เดินโพชฌงค์ตามกาลได้ ทำกิจในอริยะสัจ ๔ ได้ / ก็เมื่อเป็นผู้เบิกบาน ถึงปัญญา ถึงญาณ ถึงมรรค ถึงผล อริยะสัจ ๔ ทำกิจในรอบ ๓ อาการ ๑๒ ย่อมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ถึงวิมุตติสุข พ้นจากกิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งปวงได้ นี่คือคุณของ “พุทโธ” ซึ่งกว้างใหญ่มาก พระพุทธเจ้า จึงชื่อว่า..พุทธะ • ส่วน..วิมุตติสุข นั้นคือ พระนิพาน เป็นอมตะสุข สุขจากการหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องเศร้าหมอง เป็นอมตะสุขตามคุณของพระนิพพาน • ส่วน..อริยะสัจ ๔ นั้นคือ สัจจะ เป็นธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมเอก เป็นวิชชา ให้เข้าถึงความพ้นทุกข์ วิมุตติสุข 1. เมื่อปรารถนาใคร่เสพในสิ่งที่ชอบที่ติดตราตรึงใจ กระหายอยากได้ โหยหา ตราตรึง หมายใคร่ต้องการ ติดใจใคร่เสพในสิ่งที่ปรนเปรอบำเรอตน หรือ ลุ่มหลงอบายมุข ๖ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขจากความอิ่มเต็มกำลังใจ อิ่มเต็มจนเพียงพอแล้วไม่ต้องการอีก มีชิวิตอยู่อย่างปกติสุขเย็นใจโดยปราศจากความติดใคร่ร้อนรนแสวงหาโหยหาให้ได้เสพย์ได้ครอบครองในสิ่งนั้นๆ มีชีวิตเป็นปกติสุขชื่นบานได้โดยไม่ต้องอิงพึ่งพาอาศัยในสิ่งนั้นๆ ..นิพพิทาวิราคะ สุขที่หลุดพ้นจาก..ราคัคคิ คือ ไฟราคะ ได้แล้ว..ก็สุขอิ่มเต็มกำลังใจนี้เป็นผลจากการไม่มี คือ.. • ไม่มีความอยาก หลุดพ้นความกระสันอยากแล้ว หลุดพ้นความกระหายแล้ว หลุดพ้นจากความทะยานอยากอันร้อนรนดิ้นรนแสวงหาจากความใคร่เสพแล้ว • ไม่มีสิ่งใดมากระทบใจเราได้อีก คือ ไม่มีสิ่งใดมากระทบใจเราให้ติดตราตรึงใจ-โหยหา-หมกมุ่น-ผูกใฝ่-กระหายใคร่เสพได้อีก • สุขจากความไม่มีใจเข้ายึดครองตัวตนในสิ่งนั้น หรือ สิ่งอื่นใดในโลกอีก • สุขจากความไม่มีใจเข้าผูกยึดหมายมั่นในสิ่งนั้น หรือ สิ่งอื่นใดในโลกอีก ไม่มีใจโหยหาต้องการสิ่งใดอีก • มันอิ่มเต็มกำลังใจ สงบ สบาย อิ่มเอมกายใจ ซาบซ่าน ไม่ต้องการสิ่งใดจากภายนอก มันสุขรื่นรมย์อยู่ภายในใจ ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาเอาสิ่งใดให้เป็นทุกข์ ไม่มีสิ่งขาดใดในชีวิต ไม่ต้องกระหายใคร่เสพให้ร้อนรนหมกมุ่นเป็นทุกข์ทรมาน ไม่ต้องกระวนกระวายเป็นทุกข์เพราะแสวงหา ไม่ทุกข์เพราะต้องการให้ได้มา ไม่ต้องทุกข์เพราะใคร่เสพ มันอิ่มเต็มกำลังใจเพียงพอแล้ว • สุขนี้ก็ชื่อว่า..วิมุตติสุข คือ อิ่มเต็มกำลังใจ ไม่อยากอีก เพราะกามมันอิ่มไม่เป็น มันจึงทุกข์ร้อนดิ้นรนแสวงหา แต่วิมุตติสุขนี้มันอิ่มเต็มกำลังใจไม่ต้องการสิ่งใดอีก ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครหรือสิ่งใดในโลกอีก เพราะไม่มีใจครองแล้ว ไม่เอาใจเข้ายึดกอดสิ่งใดมาผูกขึ้นไว้เป็นสุขของตนอีก (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่รู้จักอิ่ม รู้จักพอ รู้จักเต็ม ไม่ต้องดิ้นรนแสวงหาเอาสิ่งนั้นมาปรนเปรอตนให้เป็นทุกข์เร่าร้อนถูกไฟราคะสุมใจจากความทะยานอยากได้มาครอบครองนั้นอีก • การเข้าถึงนิพพิทาวิราคะที่แท้จริงนั้น ต้องเข้าไปรู้เห็นตามจริง โดยทรงอารมณ์สุขนั้นไว้ แล้วน้อมเข้ามาพิจารณา เห็นว่าไม่งาม(อสุภะ) ก็สักแต่ว่าธาตุ เป็นแค่ธาตุที่อาศัยเกิดประชุมกัน เพื่อละความติดตราตรึงใจ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ จนรู้ชัดว่า..จิตรู้สิ่งใดสิ่งนั้นคือสมมติทั้งหมด สิ่งใดถูกรู้สิ่งนั้นไม่ใ่ช่ตัวตน ไม่มีตัวตน 2. เมื่อเอาความสุขสำเร็จของจนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่นสิ่งอื่น แล้วประสบกับความไม่สมปรารถนา ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่พอใจ เกิดความหดหู่ ซึมเศร้า โศรกเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ความแช่มชื่น เบิกบาน รื่นรม เย็นใจ พลั่งพลูมาจากภายในใจ สุขเกิดที่กายใจตน เพราะสุขจากของอื่นภายนอกมันสุขเพียงชั่วคราว แค่มีสิ่งมากระทบเล็กน้อยก็ดับไป นึกถึงเมื่อไหร่ก็ทุกข์แสวงหาเมื่อนั้น ส่วนสุขที่เนื่องด้วยใจ ที่ไม่ยึดเอาสิ่งภายนอกมาเป็นสุขของตน มั้นตั้งอยู่ได้นาน นึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ สุขโดยไม่อิงอาศัยในกามคุณ ๕ อีก (กามคุณ ๕ คือ ๑. สุขเพราะตาได้สัมผัสเห็นสิ่งที่ชอบที่พึงใจ / ๒. สุขเพราะหูได้สัมผัสเสียงที่ชอบที่พึงใจ / ๓. สุขเพราะจมุกได้สัมผัสกลิ่นที่ชอบที่พึงใจ / ๔. สุขเพราะลิ้นได้สัมผัสรสที่ชอบที่พึงใจ / ๕. สุขเพราะกายได้สัมผัสความรู้สึกทางกายที่ชอบที่พึงใจ) 3. เมื่อเคร่งเครียด หรือ กดดัน หรือ อึดอัด กระวนกระวาย ร้อนรนใจ หรือ ประหม่า หรือ วิตกกังวลกลัว หรือ ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นอมตะสุขที่เกิดจากเป็นธรรมชาติที่สงบ ธรรมชาตินั้นสบาย ธรรมชาตินั้นผ่อนคลาย ธรรมชาตินั้นไม่มี คือ พ้นแล้วจากเจตนาความรู้สึกนึกคิดปรุงแต่งกายใจทั้งปวง มันปรอดโปร่ง มันโล่ง มันเบา เย็นกาย เย็นใจ หมดความกระทำไว้ในใจ ถึงความสงบรำงับจากการกระทำปรุงแต่งทั้งปวง ถึงความว่าง ถึงความไม่มี ถึงความสละคืน นี่คือ คุณสมบัติหนึ่งของพระนิพพาน เป็นอุปสมานุสสติกรรมฐาน เป็น วิมุตติสุข (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่ถึงความสงบ ความสบาย ความว่าง ความไม่มี ความสละคืน นิพพาน 4. เมื่อโกรธแค้น เกลียดชัง ต่อต้าน ผลักไส ริษยา พยาบาท อาฆาตแค้น เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขที่เนื่องด้วยใจ ที่สงบเย็นใจเข้าไปในดวงจิต (ตามฐานจิต..ที่อก หรือ ลิ้นปี่ หรือ ท้องน้อย หรือ อาการอัดอั้นคับแค้นกายใจ โกรธเกลียด ชิงชัง ริษยาเกิดอยู่ที่ไหน ก็ให้ถือเอาจุดนั้นเป็นฐานที่ตั้งของจิต แล้วปักจิตเอาความสุขเย็นใจลงไปที่จุดนั้น) มีใจกว้างออก แผ่ออก ขยายออก มีอาการที่ใจคลายออก ปล่อย ไม่ผูกใจ อาการที่ใจคลายปมโทสัคคิในใจออก สุขจากการที่ใจของเราหลุดพ้นจากการผูกปม-มัดปม-ผูกมัด-รัดตรึง-ยึดเกี่ยว-ดึงรั้งเอาไฟโทสะอันร้อนรุ่มมาอัดสุมเผาไหม้อยู่ในกายใจตน มันแช่มชื่น ปรอดโปร่ง เบาโล่ง สบาย เย็นใจ ไม่เร่าร้อนทิ่มแทงตน เป็นอาการสุขเย็นใจนั้น มันพลั่งพลูจากดวงจิตเอ่อล้นขึ้นมา มันอัดแน่นภายในใจแผ่ซ่านไปทั่วทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นลักษณะของเมตตาสุขในความเย็นใจไม่เร่าร้อน อาการที่ใจแผ่กว้างออกเอื้อเฟื้อสุข เป็นสุขที่หลุดพ้นจาก..โทสัคคิ คือ ไฟโทสะ ได้แล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เย็นใจ เบา ผ่อนคลาย ไม่ติด ไม่ขัด ไม่ขุ่น ไม่ข้อง มีแต่ใจที่ผ่องใส ร่าเริง ปรอดโปร่ง อิ่มสุข เอิบอิ่ม ซาบซ่าน สงบ สบาย ร่มรื่น ชื่นบาน เป็นสุข 5. เมื่อป่วย หรือ หยุดเรียน หรือ ปิดเทอม หรือ บวช ไม่มีสิ่งใดเป็นภาระ เป็นกาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ อาการที่แช่มชื่น เบิกบาน อิ่มเอม เย็นใจ ซาบซ่าน ซัดผ่านตามลมหายใจเข้าจากปลายจมูกเข้ามาปะทะที่เบื้องหน้า มีสุข ผ่อนคลาย เป็นที่สบายกายใจ สละคืนหมดสิ้นความรู้สึกนึกคิดอันเศร้าหมองและกิเลสอุปธิทั้งปวงออกทิ้งไป..จากเบื้องหน้า ออกทางปลายจมูก ตามหายใจออก / มีจิตตั้งจิตจับที่จิตไว้ในภายในใจ มีความแช่มชื่นรื่นรมย์รวมลงอยู่ในดวงจิต แล้วปะทุพลั่งพลูความชื่นบาน ซาบซ่าน เป็นสุขจากภายในใจขึ้นมา (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เย็นใจ ไม่ติด ไม่ข้อง ไม่แวะสิ่งใด มีใจสดใส เบิกบาน หมดความวิตกกังวล สงบ สบาย ปรอดโปร่ง ปล่อยวาง ว่าง โล่ง ชื่นบาน มันสบายกว่าที่ยึดเอากายเป็นอารมณ์ เห็นสุขเกิดที่ใจ อยู่ที่ใจเลือกเสพ สติอยู่เป็นเบื้องหน้า หมดความลุ่มหลงปรุงแต่ง 6. เมื่ออยู่ในแวดวงกลุ่ม Toxic ที่โรงเรียน ที่ทำงาน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข สุขที่เนื่องด้วยใจตน ไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เมื่อหนีสังคม Toxic ไม่พ้น ให้น้อมนึกถึงความสุขที่ตนอยู่กับคนกลุ่มนั้นได้โดยไม่ทุกข์ สุขที่ใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่ม Toxic ได้โดยไม่ทุกข์ร้อนสุมไฟ โกรธ เกลียด ชัง..ใส่ใจตน เราเก่ง เราสุขที่ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขาเหล่านั้นเกินความจำเป็น เหมือนเขาเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมในฉากละครทีวีฉากหนึ่งเท่านั้น ไม่คิดสืบต่อ Toxic จากเขา ไม่มีความติดใจข้องแวะอะไรกับเขาเหล่านั้น มันเย็น เบาใจ ปลอดโปร่ง โล่ง สุขสบายใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญในเรื่อง Toxic ไม่คิดสืบต่อ Toxic มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ละความขุ่นข้องขัดเคืองใจ โกรธ เกลียด ชัง ซึมเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ออกเสียจากใจเราได้ ให้ดำรงอยู่โดยความสุขเบาใจ ไม่ติดใจข้องแวะโลก(กลุ่มสังคม Toxic) ) 7. เมื่อคิดจะทำสิ่งใดตามอารมณ์ รัก ชัง หลง กลัว หรือ คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ไม่ดีตามความรู้สึกนึกคิดที่..โลภ ใคร่ โกรธ เกลียด ชัง พยาบาท ลุ่มหลง คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุติติสุข อันเป็น..นิโรธ..ความสุขในการมีใจเป็นมหากุศล มีใจสูงเหนือ..รัก-โลภ-โกรธ-หลง / มีกาย-วาจา-ใจ ตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้งปวง / มีใจแช่มชื่น ผ่องใส ชื่นบาน..พ้นแล้วจากกิเลสที่หน่วงตรึงจิต..มีใจหลุดพ้นจากสิ่งทุกข์ร้อนกายใจทั้งปวง..คือ เป็นสุขพ้นแล้วจาก..รัก โลภ ตระหนี่ หวงแหน โกรธ เกลียด ชัง ริษยา ผลักไส ดิ่ง ซึมเศร้า โศรกเศร้า เสียใจ ขุ่นข้อง มัวหมอง อัดอั้น คับแค้น ลุ่มหลง มัวเมา กลัว / สุขในการทำสิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ปราศจากการทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีสติตั้งไว้อยู่เป็นเบื้องหน้ายั้งคิด แยกแยะ เห็นคุณ-โทษ-ถูก-ผิด-ดี-ชั่ว รู้เลือกเสพอารมณ์์ความรู้สึกนึกคิดที่ดีงาม มีคุณประโยชน์สุข อิ่มเอม ซาบซ่าน เย็นกายสบายใจ รื่นรมย์ใจ ปราศจากอกุศลธรรมทั้งปวง / นอนก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่มีสิ่งที่ทำให้เราต้องหวาดกลัว หวาดระแวง เป็นโทษ ทุกข์ ภัย..ต่อตนเองในภายหลัง ไปที่ใดก็เย็นใจ อยู่ที่ใดก็สบายใจ ชีวิตเป็นสุขพ้นจากทุกข์ภัยแล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีในการทำสิ่งดีมีกุศล ยินดีในการ หยุด/เลิก..คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ชั่วตามอารมณ์ความรู้สึกใน..รัก โลภ โกรธ หลง / ยินดีในการทำใจสละคืนเจตนาความคิดนึกกระทำตามใจ..รัก โลภ โกรธ หลง / มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ดำรงมั่นในการตัดทิ้งความคิด Toxic ใคร่ได้ เกลียด ชัง ซึมเศร้า หลง กลัว ออกจากใจ) • กุศล แปลว่า ถูกต้อง เหมาะสม ดี จิตใจดี สิ่งดีงาม / สภาวะจิตผ่องใส ปรอดโปร่ง ไม่มีทุกข์-โทษ-ภัย-พยาบาท-ลุ่มหลง / ความฉลาดของจิต จิตฉลาดพอใจยินดีเลือกเสพย์เลือกทำแต่สิ่งดีงาม(บุญ) / อาการที่จิตไม่จับอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดใน..รัก ชัง หลง กลัว ให้หน่วงตรึงจิต..มีผลเป็นความอิ่มเอมใจ ซาบซ่าน ฟูใจ ชื่นบาน สุข คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธ-วิมุตติสุข คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธ-อริยะสัจ ๔ 8. เมื่อจะทำงานบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้นึกถึง..สุขจากผลสำเร็จของงานที่ทำ ให้นึกถึงความสุขสำเร็จ ความสะอาดเรียบร้อย สิ่งดีงามจากการทำงานบ้านนั้น มันสะอาดตา สบายใจ มีระเบียบ ปรอดโปร่ง เป็นสุข เหมือนอยู่ท่ามกลางความสะอาดงดงามฉันนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) 9. เมื่อจะกำลังจะเข้าเรียน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..สุขจากผลสำเร็จของสิ่งที่เราเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติทำ ให้นึกถึงความสุขจากการที่เราได้เรียนรู้ เข้าใจ ทำได้ งานครบ ประสบผลสำเร็จ สอบได้คะแนนดีๆ เก่ง ฉลาด มันสุข มันชื่นบานใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) 10. เมื่อจะทำการบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำการบ้านนั้น + รู้เหตุ (หลักวิธีการทำของการบ้าน) + รู้ผล (เนื้อหาหลักวิธีการ/เนื้อหาการบ้าน, ความต้องการของงาน) + รู้ตน (ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน (ตนเอง + สิ่งที่ทำ/การบ้าน + สถานการณ์ = ยาก/ง่าย, มาก/น้อย, ช้า/เร็ว) + Skill รู้กาล (ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ) ให้นึกถึงการบ้านวิชาต่างๆ นึกถึงเราทำการบ้านเสร็จสิ้น มีงานส่งครู มันว้าวมาก ไม่ต้องเหนื่อยแก้ส่งการบ้าน แถมได้ฝึกฝนตนเองให้เก่งขึ้น มันสบายกายใจจริงๆ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) แล้วเปิดใช้ Skill ประเมิน ลำดับความสำคัญ ดังนี้.. • นึกว่าการบ้านวิชาใดมีมากน้อยเพียงใด แต่ละวิชาทำสิ่งใดบ้าง แล้วนึกถึงว่า..เราทำสิ่งใดวิชาใดก่อน |
6
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน รู้กาล(Skill ควบคุมเวลา)
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:27:50 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
..SKILL รู้กาล คือ..
• รู้ว่าตนต้องใช้เวลาในการทำในสิ่งนั้นๆมากน้อยเพียงไร (ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานนั้นๆ) • รู้ลำดับความสำคัญของสิ่งที่ทำเปรียบเปรียบกับเวลาปัจจุบัน..เป็นการรู้ว่าเวลาใดควรทำสิ่งใด เวลานี้ควรแก่กิจหน้าที่การงานใด • สิ่งใดตรงกับเวลาและสถานการณ์ปัจจุบันให้ทำก่อน • สิ่งใดเป็นหน้าที่ในปัจจุบันให้ทำทันที • สิ่งใดเป็นจุดหลักสำคัญที่ส่งผลสืบต่อไปในส่วนอื่นๆให้ทำก่อน • สิ่งใดสามารถทำเสร็จสิ้นได้ทันทีให้ทำได้เลย • สิ่งใดเร่งด่วน..ให้ประเมิณงาน (รู้เหตุ คือ หลักการ + แนวทาง + วิธีการ และ รู้ผล คือ เนื้อหา + ความต้องการของงาน + วิธีการข้อที่ใช้ทำหรือแก้ไขที่ตรงจุด + ผลสำเร็จ) + สถานการณ์ + ระยะเวลาที่ใช้ดำเนินงาน + การลำดับจัดสรรที่เหมาะสม..แล้วลงมือทำทันที • สิ่งใดที่ไม่ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบันให้ทำในเวลาถัดไป • สิ่งใดยังไม่ใช่เรื่องเร่งด่วนให้ทำในเวลาถัดไป • สิ่งใดไม่ใช่หน้าที่ในปัจจุบันให้ทำในเวลาถัดไป • สิ่งใดที่ไม่ใช่จุดหลักและใช้ระยะเวลานานในการดำเนินงานให้ทำภายหลัง ..ภูตื่นมา 05:40 น. ทำธุระส่วนตัว เสร็จ 06:10 ก็รีบมาทำการบ้าน ชิวก็เห็นดีด้วย เพคาะเป็นการรู้หน้าที่มีความรับผิดชอบ แต่พอทำไปได้ 40 นาที ภูปวดมือ พอนึกถึงการบ้านมีเยอะ ก็เริ่มเครียดไม่อยากทำ (。ŏ﹏ŏ) ..ชิวจึงออกมา แล้วสอนภูว่า..หากมีงานเร่งด่วน หรือ สิ่งจำเป็นต้องทำ ภูก็ควรจัดการลำดับความสำคัญของงานทั้งหมดไว้ก่อน เพราะการลำดับจัดการนั้นคือสิ่งที่ปัจจุบันที่ต้องทำ เรียกว่า การวางแผนงาน หากมาทำวันที่ทำงานเลย มันจะวุ่นวายจนทำไม่ได้ ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ) ชิว : โดยการจัดการนี้ก็คือ..การรู้ลำดับความสำคัญ การรู้ว่่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด เวลานี้ไม่ควรทำสิ่งใด เวลานั้นควรทำสิ่งใด เวลานั้นไม่ควรทำสิ่งใด สิ่งนั้นควรทำเวลานี้ สิ่งนี้ควรทำเวลานั้น สิ่งโน้นควรทำเวลาใด พอถึงเวลาก็จัดการตามที่วางไว้นั้น นี่คือ..การกำหนดรู้การกระทำที่เหมาะต่อเวลา เรียกว่า การรู้กาล เพราะเป็นที่สิ่งต้องทำในปัจจุบันตลอดเวลา เพื่อจะรู้ว่าเวลานี้ควรทำสิ่งใด สิ่งนี้ควรทำเวลาใด จึงเป็นสิ่งปัจจุบันที่ต้องทำ เป็นการจัดตารางเวลางานของตนในปัจจุบันเพื่อประโยชน์สุขของตนในวันข้างหน้านั่นเอง ภู : งืมๆ (。ŏ﹏ŏ) ชิว : เปรียบเหมือนภูมีตารางเรียนในแต่ละวันอยู่แล้ว เมื่อรู้หน้าที่ตน หลังทำการบ้านเสร็จ ก่อนนอนก็ต้องจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ไว้ เมื่อตื่นเช้ามา หลังทำธุระส่วนตัวเสร็จ ก็สะพายกระเป๋าไปเรียนได้ทันทีเลย นี่คือการเตรียมแผนงานในปัจจุบัน เปรียบการจัดตารางเรียนของวันพรุ่งนี้ ในคืนวันนี้ ก็คือ..หน้าที่การงานสิ่งที่เราต้องทำของวันนี้ ไม่ใช่สิ่งที่ต้องทำวันของพรุ่งนี้ เพราะเป็นหน้าที่การงานตามระเบียบวินัยของเราในวันนี้นั่นเอง ..ส่วนชุดอุปกรณ์การเรียนที่เราจัดไว้ตามตารางเรียนวันพรุ่งนี้ คือ สิ่งที่เราต้องการใช้งานในวันพรุ่งนี้ ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ส่วนการบ้านภู ภูรู้อยู่แล้วต้องทำวิชาอะไรบ้าง การที่ภูคิดจัดการไว้ว่าจะทำงานอย่างไรเขาเรียกว่า แผนการลำดับงาน คือ การบ้านมี 5 วิชา → ภูดูให้รู้ก่อนว่าแต่ละวิชาทำตามหลักการวิธีใด..นี่เรียกว่ารู้เหตุในปัจจุบัน..เพราะการดูนั้น คือ ปัจจุบัน ไม่ใช่การคิดว้าวุ่นอนาคต เมื่อรู้เหตุ คือ หลักวิธีทำในแต่ละวิชาแล้ว ก็พิจารณาผลว่า → วิชานี้จะทำสำเร็จได้ต้องใช้วิธีจัดการแบบใด → วิชานี้มีความยากง่ายอย่างไร → ประเมินสิ่งที่ต้องทำ → แล้วประเมินระยะเวลาในการทำ → แล้วจัดเรียงลำดับความสำคัญตามยากง่ายและระยะเวลาที่ใช้ทำ → วิชาไหนต้องส่งก่อนทันทีให้ทำก่อน + แต่หากยังไม่ต้องส่งทันทีและทีเวลาทำก็ให้พิจารณาว่า..วิชาไหนทำง่าย หรือ เสร็จไว ก็ทำก่อน → สิ่งไหนต้องใช้ความคิดเยอะ หรือ ใช้เวลาทำนานก็จัดไว้ภายหลัง เพื่อไม่ให้โหลด (Load ภาระ) งานอื่น ภู : อ่อ..อย่างนี้นี่เอง (ノ゚0゚)ノ→ ชิว : เพราะเมื่อวานภูไม่ได้ทำ วันนี้ภูจึงควรตื่นมาทำกิจส่วนตัวเสร็จแล้ว ให้ทำ..พุทโธวิมุตติสุขร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ ทำความรู้หน้าที่ รู้เหตุ รู้ผล เปิดใช้ Skill ประเมินสถานการณ์ ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำสิ่งนั้นๆ เพื่อรู้สิ่งที่ภูควรทำ รู้ลำดับ รู้ทางปฏิบัติ ภู : โอ้ว..(✧Д✧)→ ชิว : โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลามีงานเร่งเยอะๆ, หรือ..จัดการไม่ถูก, หรือ..รู้สึกท้อแท้มองว่างานนี้ยากและเยอะเกินไป ยิ่งควรทำพุทโธวิมุตติร่วมกับพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณาการกระทำ..เพื่อรู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้เกิดจากเหตุใด..หรือ รู้ว่าหลักการนี้ๆมีวิธีทำอย่างไร, และ เพื่อรู้ผล คือ รู้ว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่นี้มาจากการกระทำนี้ๆ รู้ผลจากการกระทำเป้าหมาย วิธีการนี้ใช้แก้ไขสิ่งใด แล้วประเมินสถานการณ์เทียบระยะเวลาดำเนินการ เพื่อประโยชน์ดังนี้.. • ประการที่ ๑ เพื่อปรับสภาพจิตใจให้สงบ สบาย ปลอดโปร่ง ก่อนทำกิจการงานใด..เหมือนไปโรงเรียนครูให้เข้าแถวหน้าเสาธงสงบนิ่งสบายๆก่อน 3-5 นาที เพื่อให้จิตสงบไม่ฟุ้งซ่านวุ่นวายควรแก่งานนั่นเอง • ประการที่ 2 เพื่อประเมินสิ่งที่ทำ ประเมินเวลา ลำดับความสำคัญ รู้สิ่งที่ควรทำ รู้ทางปฏิบัติเพื่อตอบของโจทย์ปัญหา ..การทำพุทโธวิมุตติสุข จุดจะนี้สำคัญมาก..เพราะถ้าเรานึกถึงสุข..แต่ว่าสุขที่ใจเราหมายรู้นั้นผิดต่อหน้าที่การงานในปัจจุบันของตน จะทำให้เมื่อออกจากสมาธิแล้วมาเจอหน้าที่การงานที่ต้องทำ ก็ทำให้เบื่อหน่ายได้ ก่อให้เกิดผลเสียกับใจตนเอง • เช่น.. ภูต้องเรียน หรือ ทำการบ้าน แต่ไปกำหนดสุขในวิมุตติสุข ที่เบิกบาน เป็นสุข ไม่มีกิจ ไม่มีสิ่งใดต้องทำอีก พอออกจากสมาธิมาเจอสิ่งที่ต้องทำ ก็จะเกิดเหนื่อยหน่าย เบื่อ จะไม่อยากเรียน ไม่อยากทำการบ้าน ติดอยู่ในสุขสบายนั้น • หรือ หากภูคิดถึงสุขจากการหมดชั่วโมงเรียนรายวิชา เลิกเรียน ไม่มีการบ้าน กลับบ้าน ทำให้ปลดเปลื้องไม่มีทุกข์ เพราะเลิกเรียน เลิกงานกลับบ้าน เสร็จสิ้นผ่านพ้นไปวันๆแล้ว..ก็สุขในตอนทำวิมุตติสุขนั้นมันสุขจริง..แต่ความหมายรู้ในสุขนี้ มันกลับจะยิ่งพอกพูนความคิด Toxic ทำให้เมื่อออกจากสมาธิแล้ว ภูไม่อยากเรียน ภูไม่อยากทำงาน เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ต่อต้านได้ อยากเลิกเรียน เลิกงานไวๆด้วยซ้ำ ภู : อ่าาาา..งืมๆๆ จริงด้วย..รู้สึกเหมือนตอนที่ภูไปโรงเรียนเลย แหะๆ (^~^;)ゞ ชิว : ดังนั้นต้องกำหนดสุขให้ตรงกับสถานการณ์ปัจจุบัน หรือ สิ่งที่กำลังทำอยู่ นี้เรียกว่า..รู้ความโสมนัสที่ควรเสพ และ รู้ความโสมนัสที่ไม่ควรเสพ ที่เคยสอนภูไว้เรื่องจิตตสังขารตอนฝึกพุทโธอริยะสัจ ๔ ไง เป็นปัญญาทำให้จิตเราตั้งขึ้น ขจัดความหดหู่ ท้อถอย เหนื่อยถ่าย เกียจคร้าน ง่วงซึม จนถึงขจัด Toxic อันเป็นเหตุให้หดหู่ซึมเศร้าได้เลยนะ ให้ทำความสุข(โสมนัส)ที่ควรเสพดังนี้.. วิธีใช้..พุทโธวิมุติสุข ทำความสุขที่ควรเสพ (โสมนัส) 1. ถ้าเคร่งเครียด หรือ กดดัน หรือ อึดอัด กระวนกระวาย ร้อนรน หรือ ประหม่า หรือ วิตกกังวล หรือ ฟุ้งซ่าน ไม่สงบ หรือ มีใจอัดอั้นพลุุกพ่านไม่ปกติเย็นใจ หรือ ติดตรึงใคร่เสพสุขจากภายนอก หรือ ถูก Toxic หรือ กลัว หรือ ป่วย หรือ หยุดเรียน หรือ ปิดเทอม หรือ บวช ไม่มีสิ่งใดเป็นภาระ คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข อาการที่แช่มชื่น เบิกบาน อิ่มเอม เย็นใจ เป็นที่สบายกายใจ ปลอดโปร่ง รื่นรมย์ ปะทุพลั่งพลูความชื่นบาน ซาบซ่าน เป็นสุขจากภายในใจขึ้นมา (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร • พุทโธวิมุตติสุขนี้..คือ สุขที่เนื่องด้วยใจ, เป็นทั้งการแผ่เมตตาให้ตนเองไปในตัว คือ ปารถนาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ความสุขให้แก่ตนเอง, เป็นทั้งการทำปัสสัทธิความสงบใจไปในตัว, เป็นทั้งการทำสติให้ตั้งมั่นเมื่อเดินลมตามจุดพักลมต่างๆ ทำให้ใจมีกำลังตั้งมั่นหนักแน่นตาม เมื่อใช้คู่กับ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็จะละกิเลสที่เกิดมีขึ้นได้ดี) 2. ถ้าอยู่ในแวดวงกลุ่ม Toxic ที่โรงเรียน ที่ทำงาน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..วิมุตติสุข สุขที่เนื่องด้วยใจตน ไม่เอาความสุขสำเร็จไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น เมื่อหนีสังคม Toxic ไม่พ้น ให้น้อมนึกถึงความสุขที่ตนอยู่กับคนกลุ่มนั้นได้โดยไม่ทุกข์ สุขที่ใช้ชีวิตอยู่ในกลุ่ม Toxic ได้โดยไม่ทุกข์ร้อนสุมไฟ โกรธ เกลียด ชัง..ใส่ใจตน เราเก่ง เราสุขที่ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขาเหล่านั้นเกินความจำเป็น เหมือนเขาเป็นเพียงสิ่งแวดล้อมในฉากละครทีวีฉากหนึ่งเท่านั้น ไม่คิดสืบต่อ Toxic จากเขา ไม่มีความติดใจข้องแวะอะไรกับเขาเหล่านั้น มันเย็น เบาใจ ปลอดโปร่ง โล่ง สุขสบายใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีใน วิมุตติสุข อันเป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญในเรื่อง Toxic ไม่คิดสืบต่อ Toxic มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ ละความขุ่นข้องขัดเคืองใจ โกรธ เกลียด ชัง ซึมเศร้า เสียใจ ร่ำไร รำพัน ออกเสียจากใจเราได้ ให้ดำรงอยู่โดยความสุขเบาใจ ไม่ติดใจข้องแวะโลก(กลุ่มสังคม Toxic) ) 3. ถ้าคิดจะทำสิ่งใดตามอารมณ์ รัก ชัง หลง กลัว หรือ คิด พูด ทำ..ในสิ่งที่ไม่ดีตามความรู้สึกนึกคิดที่..โลภ ใคร่ โกรธ เกลียด ชัง พยาบาท ลุ่มหลง คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึง..สุขในการทำสิ่งที่เป็นกุศลดีงาม ปราศจากการทำร้ายเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น มีสติยั้งคิด แยกแยะ คุณ โทษ ถูก ผิด มันสุขกายสบายใจ นอนก็เป็นสุข ตื่นก็เป็นสุข ไม่มีสิ่งที่ทำให้เราต้องหวาดกลัว หวาดระแวง เป็นโทษ ทุกข์ ภัย ต่อตนเองในภายหลัง ไปที่ได้ก็เย็นใจ อยู่ที่ใดก็สบายใจ ชีวิตเป็นสุขพ้นจากทุกข์ภัยแล้ว (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร คือ พอใจยินดีในการทำสิ่งดีมีกุศล ยินดีในการ หยุด / เลิก ทำสิ่งที่ชั่วตามอารมณ์ความรู้สึกใน..รัก โลภ โกรธ หลง ยินดีในการทำใจสละคืนความคิดนึกกระทำตามใจรัก โลภ โกรธ หลง มีความเพียรประครองใจตนไว้อยู่ดำรงมั่นในการตัดทิ้งความคิด Toxic ใคร่ได้ เกลียด ชัง ซึมเศร้า หลง กลัว ออกจากใจ) คลิกเพื่อดู..วิธีทำ พุทโธวิมุตติสุข 4. ถ้าทำงานบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้นึกถึงผลสำเร็จจากงานที่ทำ ให้นึกถึงความสุขสำเร็จ ความสะอาดเรียบร้อย สิ่งดีงามจากการทำงานบ้านนั้น มันสะอาดตา สบายใจ มีระเบียบ ปรอดโปร่ง เป็นสุข เหมือนอยู่ท่ามกลางความสะอาดงดงามฉันนั้น (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) 5. ถ้ากำลังเข้าเรียน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึงผลสำเร็จจากสิ่งที่เราเรียนรู้ ฝึกฝน ปฏิบัติทำ ให้นึกถึงความสุขจากการที่เราได้เรียนรู้ เข้าใจ ทำได้ งานครบ ประสบผลสำเร็จ สอบได้คะแนนดีๆ เก่ง ฉลาด มันสุข มันชื่นบานใจ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) 6. ถ้าทำการบ้าน คือ กาลอันควรแก่เวลานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำการบ้านนั้น + รู้เหตุ (หลักวิธีการทำของการบ้าน) + รู้ผล (เนื้อหาหลักวิธีการ/เนื้อหาการบ้าน, ความต้องการของงาน) + รู้ตน (ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน (ตนเอง + สิ่งที่ทำ/การบ้าน + สถานการณ์ = ยาก/ง่าย, มาก/น้อย, ช้า/เร็ว) + Skill รู้กาล (ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานจนแล้วเสร็จ) ให้นึกถึงการบ้านวิชาต่างๆ นึกถึงเราทำการบ้านเสร็จสิ้น มีงานส่งครู มันว้าวมาก ไม่ต้องเหนื่อยแก้ส่งการบ้าน แถมได้ฝึกฝนตนเองให้เก่งขึ้น มันสบายกายใจจริงๆ (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) แล้วเปิดใช้ Skill ประเมิน ลำดับความสำคัญ ดังนี้.. • นึกว่าการบ้านวิชาใดมีมากน้อยเพียงใด แต่ละวิชาทำสิ่งใดบ้าง แล้วนึกถึงว่า..เราทำสิ่งใดวิชาใดก่อน แล้วมันสบายเสร็จไว ผ่อนคลาย มีเวลาทำอย่างอื่นได้ (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..นิโรธ เปิดใช้งาน Skill ประเมิน, รู้กาล) • นึกถึงหลักการ บทเรียน เนื้อหา วิธีทำ แต่ละรายวิชาที่มี (ไม่ใช่นึกถึงความยากลำบากตรากตรำที่ต้องทำ..แต่ให้นึกถึงว่า..วิชานี้ๆมีวิธีทำอย่างไร ใช้ระยะเวลาในการดำเนินงาน..นาน..หรือ..เร็ว) • นึกถึงความสำเร็จ คือ การที่เราทำการบ้านเสร็จได้ด้วยดีนั้น มันทำให้เราเก่ง เรามีงานส่งครู ไม่ต้องตามแก้ มันสบาย เป็นสุข (พุทโธอริยะสัจ 4 ว่าด้วย..มรรค รู้เหตุ, รู้ผล, เปิดใช้งาน Skill ประเมิน, รู้กาล) อีกทั้งจะทำให้เรารู้ลำดับความสำคัญได้ว่า เราจะทำการบ้านวิชาใดก่อนจึงจะดีกับเราได้อีกด้วย ทำให้เราทำงานได้ไวสำเร็จโดยเร็ว มีเวลาส่วนตัว ไม่มีเรื่องเร่งรีบให้เคร่งเครียด การบ้านมันแค่นี้เอง • เมื่อเวลางมือทำการบ้าน เราก็แค่ทำไปสังเกตุ วิเคราะห์ทำความเข้าใจไป ไม่เข้าใจก็ให้ถาม หรือ ตั้งสมมติฐานเพื่อทดสอบ แล้วทดลองฝึกฝนทำ หรือ จดไว้ว่ามีสิ่งใดต้องทบทวนใหม่อีกครั้ง เมื่อมีเวลาก็กลับไปทบทวนใหม่ เมื่อเข้าใจแล้วก็จดบันทึกไว้กันลืมในแบบที่เราเข้าใจง่าย กลับมาทบทวนได้ มันแค่นี้เอง สบายมาก เมื่อการบ้านเสร็จครบหมด เราก็มีเวลาทำอะไรอีกเยอะแยะ (อาศัย..ฉันทะ + วิริยะ + จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ พอใจยินดีเต็มใจทำ + มุ่งมั่นตั้งใจทำเพือความสำเร็จ + ความเอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำการบ้านให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี) 7. ถ้าทำงานปฏิบัติตามหน้าที่ความรับผิดชอบตน ทำกิจการงานตามหน้าที่ปฏิบัติที่ต้องทำของตน คือ กาลอันควรแก่เวลาให้เรานึกถึงผลลัพธ์ และ ผลสำเร็จจากการทำงานนั้น + หลักวิธีการทำ + เนื้อหา/ความต้องดารของงาน + ตน(ความรู้และทักษะความสามารถที่ตนมี) + Skill ประเมิน + กาล(ระยะเวลาแล้วเร็จ) ให้หมายรู้สุขจากการทำการที่สำเร็จครบพร้อมดีงาม มีผลสำเร็จของงานออกมาเป็นที่พึงพอใจ สามารถตอบโจทย์ความต้องการของใจทีมงาน หัวหน้างาน ลูกค้าได้ดี ทำงานได้สำเร็จ คล่องแคล่วว่องไว ถามได้ ตอบได้ชัดเจน (เป็นการสร้าง..ฉันทะอิทธิบาท ๔ ให้เกิดประกอบขึ้นด้วย วิริยะอิทธิบาท ๔ ความเพียร) (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..นิโรธ) • การทำงานของเรา จะต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถตอบโจทย์ความต้องการของใจได้บ้างหนอ ไม่มากก็น้อย ดีกว่าไม่ได้เลย เช่น เพื่อนร่วมงานในทีม หัวหน้างาน ลูกค้า มักจะสอบถามความคืบหน้าของงาน ใช้อะไรดำเนินการ ตอนนี้ดำเนินการถึงไหนแล้ว สถานะดำเนินการเป็นอย่างไร ติดปัญหาสิ่งใด มีแผนการรองรับหรือมีแนวทางแก้ไขอย่างไร เวลาไหนจึงจะสำเร็จ สิ่งเหล่านี้คือ คำถามซ้ำๆของทุกๆงาน (หากเป็น Creative ก็จะมีเรื่องมุมมอง แนวคิด จินตนาการ เข้ามา ซึ่งจะจัดอยู่ในแผนงาน แผนผังมุมมองแนวคิด) • สรุปโดยรวมก็คือ เราต้องรู้หลักการทำงาน เข้าใจเนื้อหาของงาน รู้การดำเนินงาน รู้วิธีทำ และ การแก้ไขสถานการณ์ (พุทโธอริยะสัจ ๔ ว่าด้วย..มรรค รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตน, เปิดใช้งาน Skill ประเมิน และ รู้กาล) • ดังนั้นแนวทางแก้ไขตอบโจทย์ปัญหาของเรานี้ ที่ต้องทำก็มีดังนี้.. 7.1) รู้เหตุ(รู้หลักการแนวทางปฏิบัติ) เราก็ต้องมีความรู้ในงานของเรา คือ รู้และมีแผนการทำงานในสิ่งที่ทำ 7.2) ทำเหตุ การลงมือปฏิบัติงาน การดำเนินงานตาม PLAN ที่วางไว้ (อาศัย..ฉันทะ + วิริยะ + จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ พอใจยินดีเต็มใจทำ + ความมุ่งมั่นตั้งใจทำให้สำเร็จ + ความเอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี) 7.3) รุู้เหตุ(รู้กิจ และ รู้วิธีการ) + รู้ผล อาศัย..จิตตะ + วิมังสา ในอิทธิบาท ๔ เอาใจใส่ในงาน + สอดส่องดูแล..โดยใช้ทักษะความสามารถที่ตนมี ในการทำงานให้ได้ผลสำเร็จออกมาดีงาม เรียบร้อยไปได้ด้วยดี มีการตรวจสอบความคืบหน้าของงานที่กำลังอยู่เป็นระยะๆ เมื่อการดำเนินงานมาถึงจุดนี้แล้วจะสืบต่อผลอย่างไร จะต้องปฏิบัติตามแนวทางใดสืบต่อไปอีก คุณภาพของงาน 7.4) รู้ผล + รู้ประมาณ(Skill ประเมิน) + รู้กาล เป็นการประเมินผลสำเร็จ หรือ ประเมินระยะเวลาแล้วเสร็จ(EET) เป็นการประเมินผลคร่าวๆ ถึงกำหนดการณ์ระยะเวลาที่ใช้ดำเนิงานที่คาดว่าจะแล้วเสร็จ จากการปฏิบัติงานที่ทำอยู่ จะใช้เวลาโดยประมาณ..กี่นาที..กี่ชั่วโมง..กี่วัน..กี่เดือน ที่มีความเป็นไปได้ว่าตะแล้วเสร็จที่แน่นอน หรือ ใกล้เคียงที่สุด 7.5) กำหนด..รู้ผล หากมีข้อผิดพลาด หรือ ล่าช้า เราจะทำสิ่งใดต่อ มีแผนงานไว้รองรับอย่างไร ใช้หลักการข้อใดในการแก้ไขให้ตรงจุด (กลับไปใช้หลักการตามข้อที่ 7.1 - 7.4 อีกครั้ง) ภู : โอเคเลย..(☆▽☆) ชิว : งั้นภูรีบทำ พุทโธวิมุตติสุข + รู้เหตุ + รู้ผล + รู้ตน + รู้ประมาณ + รู้กาล ได้เลย ..จากนั้นภูจึงทำตามชิวบอก กำหนดเข้าวิมุตติสุขในการทำการบ้าน นึกถึงความสำเร็จ ดีงามหากทำการบ้านเสร็จ ก็เกิดความยินดีทำ มีใจอยากทำให้เสร็จ แล้วภูก็พิจารณา เหตุ ผล หลักการวิธีทำการบ้านแต่ละวิชา ประเมินความมากน้อย ยากง่าย แล้วพิจารณาเวลาในการทำการบ้านของแต่ละวิชาเทียบกับความสามารถตน ก็ได้ข้อสรุปลำดับวิชา วิชาที่จดบันทึกลอกจากหนังสือไม่มาก ภูก็ทำก่อน วิชาที่มีจดจากหนังสือและคำนวณไม่มากก็ทำรองลงมา วิชาที่เน้นการคำนวณเยอะทำยาก ก็เอาไว้มีหลังจะได้ไม่กินเวลาทำวิชาอื่น แล้วก็ลงมือทำ ..เมื่อพอถึงเวลา 8:20 น. ชิวจึงเตือนภูว่า ชิว : ภูไม่รู้เวลาอีกแล้วนะ ภู : ห๊ะ.. (ノ゚0゚)ノ→ โอ้ว ได้เวลาไปซื้อข้าวแล้วนี่นา ชิว : เวลาทำงานอย่างนี้ภูก็ควรจะตั้งเวลาเตือนความจำไว้นะ ใช้มือถือตั้งนาฬิกาปลุกไว้สิ ทำตารางเวลาตัวเองไว้ว่าเวลานี้ต้องทำสิ่งใด ใช้ทุกอย่างให้เป็นประโยชน์ ภู : โอ้ว..(✧Д✧)→ เข้าใจแล้ว.. ..หลังภูออกไปกินข้าวเสร็จกลับมา 09:30 น. ก็เริ่มปั่นการบ้านต่อ โดยตั้งนาฬิกาปลุกไว้ตอน 12:20 น. เพื่อพักทานข้าวเที่ยง ..เมื่อนาฬิกาปลุกดัง ภูทำงานเสร็จไป 3 วิชา ออกไปซื้อข้าวด้วยความรู้สึกดีว่า ตนเองทำอะไรก็คล่องขึ้นง่ายขึ้น ไม่หลงลืม การจัดตารางเวลามันดีอย่างนี้นี่เอง การรู้ว่าสิ่งไหนควรทำเวลาใด ลำดับตามความสำคัญ นี่สินะการรู้กาล ภูนึก..ว้าวว..ในใจ ..ภูกลับถึงบ้าน 13:10 น. แล้วเริ่มทำการบ้านต่อ ประมาณเวลา 15:00 น. ภูทำการบ้านอีก 2 วิชา เสร็จ แล้วก็ยืนขึ้นบิดขี้เกียจยืดเส้นสาย แล้วเก็บของเข้าที่ ภู : โอ้ว.. (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ทำเสร็จแล้ว.. ชิว : ภูเก่งมากๆเลย ชิวววว Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ทีนี้รู้หรือยังว่า การลำดับความสำคัญแล้วจัดสรรเวลาทำงานให้ลงตัวมันดีแค่ไหน ภู : โอ้ว ดีมากๆเลยชิว (≧▽≦) ภูชอบ มันไม่ยากเลยเนอะ แค่ทำสิ่งไหนได้ก่อนให้ทำก่อน อันไหนง่ายทำก่อน อันไหนทำเสร็จได้เลยใก้ทำก่อน แล้วค่อยเรียงตามระยะเวลาที่ต้องใช้ในการทำงาน ว้าวววววว (☆▽☆) นึกว่าวันนี้จะไม่เสร็จซะละ 5555 ชิว : การรู้กาล หรือ SKILL รู้กาล เป็น Skill ที่รู้ความเหมาะสม รู้กาละเทศะ ว่าเวลานี้ควรทำอะไร ไม่ควรทำอะไร และ ยังเป็น Skill ควบคุมเวลาในชีวิตประจำวันของเราด้วยนั่นเอง ภู : ว้าววว เท่เลย SKILL ควบคุมเวลา (☆▽☆) ชิว : เช่น ถ้าภูเข้าเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ ภูควรจะตั้งใจเรียนคณิต หรือนั่งเล่นเกม หรือ คิดวิชาอังกฤษหรือไม่ เพราะอะไร ภู : ไม่ เพราะจะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง ชิว : ถูกต้อง..แล้วถ้าเราเรียนไม่เข้าใจ ควรถามทันทีตอนนั้น หรือ ต้องรอให้ครูสอนเสร็จก่อน ภู : ถามเลยทันที เอ๊ะ หรือจะถามตอนสอนเสร็จ ชิว : ถ้าครูกำลังสอนในเรื่องนั้นอยู่ ก็ให้ฟังครูสอนในเรื่องนั้นให้จบก่อน แล้วค่อยถามก่อนครูจะเปลี่ยนไปสอนในเรื่องอื่น บอกว่าครูครับภูไม่เข้าใจตรงนี้พอจะอธิบายเพิ่มได้ไหมครับ มีวิธีจับจุดประเด็นหลักยังไงครับ ถ้าครูถามว่ามีใครไม่เข้าใจไหม ก็ให้ยกมือขึ้นขอถามทันที แต่หากไม่มีโอกาสถามในชั่วโมงเรียน ก็รอดูตอนชั่วโมงว่างของครูแล้วค่อยไปสอบถามเพิ่มเติม ถ้ายังไม่เข้าใจอีก..เราก็ลองหาความรู้เพิ่มเติมจากหลายๆช่องทาง เช่น ถามเพื่อน หรือ ใช้อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์เสาะหาตามกูเกิล หรือ ยูทูป เพราะคนเรามีวิธีเข้าถึงที่ต่างกัน บางครั้งเราอาจจะเข้าใจในหลักวิธีทำและการจดจำอีกแนวทาง นี่ก็เป็นการรู้กาละเทศะ รู้กาล ภู : โอเชเยย (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ชิว : อีกอย่าง ภูต้องรู้ว่าเวลาไหนควรเล่น เวลาไหนควรทำสิ่งใด เช่น ถ้าเสร็จกิจหน้าที่การงานที่ต้องทำหมดแล้ว ก็แบ่งเวลาเล่นได้ ภู : เย้ๆๆๆ (≧▽≦) ชิว : อย่าเพิ่งดีใจ ภูต้องกำหนดรู้ทบทวนตนก่อน ว่ายังมีสิ่งใดต้องทำอีกไหม ภูต้องเปิดใช้ Skill ประเมินตนเอง + Skill รู้กาล ก่อนเลย ภู : ได้เลย (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ ..แล้วภูก็นั่งกำหนดรู้กิจของตน ก็รู้ว่าตนยังเหลือขอการบ้านในวันนี้ ล้างจาน กวาดบ้าน ที่ควรละคือเล่นเกม ที่ควรรักษาคือวินัย เมื่อพิจารณาเรื่องขอการบ้าน รู้สถานการณ์เทียบกับเวลาตอนนี้ อีก 30 นาที เพื่อนๆถึงจะเลิกเรียนกัน ตอนนี้ภูมีไลน์กลุ่มเพื่อน เบอร์โทรเพื่อน กลุ่มไลน์ห้อง กลุ่มไลน์ตามรายวิชาแล้ว เนื่องจากได้ให้เพื่อนดึงเข้ากลุ่มให้ จึงเป็นเรื่องง่ายในการขอการบ้านเพื่อน โดยสามารถพิมพ์ของในไลน์กลุ่มรายวิชา ตามตารางเรียนของวันนี้ได้เลย ..เมื่อภูนั่งพิจารณา ลำดับความสำคัญร่วมกับระยะเวลาที่ใช้ทำแล้ว ก็เห็นว่า การบ้านก็เพียงแค่ไลน์แจ้งขอการบ้านจากครู ข้อนี้สำคัญ อีกทั้งทำได้ง่ายและเสร็จไว แต่ต้องรอช่วงเวลา 15:40 น. เพราะตอนเลิกเรียนเพื่อนหรือครูจะไม่ติดเรียนกรือติดสอนอยู่ / ล้างจาน ทำได้ทันที มีจานชามเพียง 4 ใบ ใช้เวลาไม่นาน ทำเสร็จก็ได้เวลาของานครูพอดี / กวาดบ้าน ใช้เวลานาน ..ภูก็จึงสรุปว่า..ล้างจาน → ขอการบ้านครูในกลุ่มไลน์ของรายวิชา → กวาดบ้าน แล้วลงมือทำทันที ..ล้างจานเสร็จ ก็ขอการบ้านครูในไลน์โดยแท็คครูทิ้งไว้ทุกวิชา รอครูตอบกลับประมาณ 5 นาที เมื่อยังไม่มีก็กวาดบ้านในทันที ใช้เวลา 30 นาที กวาดบ้านเก็บของ 16:25 น. ภูมาเปิดดูไลน์อีกครั้ง พบมีครูตอบกลับมา 4 วิชา ภูส่งสติ๊กเกอร์ขอบคุณครูตอบกลับ ชิว : การบ้านมีกี่วิชา ต้องส่งวันไหนหรอภู ภู : มี 4 วิชา ส่งวัน อังคารกับวันศุกร์หน้า ชิว : แล้วการบ้านที่ครูสั่งเป็นของวันนี้ ปัจจุบันนี้ หรือวันไหน ภู : อ่า..ครูสั่งมาวันนี้ แต่ส่งในอีก 4 วัน ชิว : ถ้าสั่งวันนี้ก็คืองานของวันนี้ แต่มีระยะเวลาในการทำอีก 3 วัน คือ เสาร์ อาทิตย์ จันทร์ แต่ควรทำให้เสร็จภายในวันอาทิตย์นี้ เพื่อไปไปโหลดภาระการบ้านวิชาอื่นในวันจันทร์ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำวันนี้ตอนนี้คืออะไร ภู : งืมๆๆๆ (ภูนึกถึงเรื่องเมื่อเช้า) ทำพุทโธวิมุตติสุขในการบ้าน + Skill ประเมินการบ้าน + Skill รู้กาล ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำ + การจัดลำดับความสำคัญ แล้วนำมาเทียบกับเวลาในปัจจุบัน ชิว : ถูกต้อง ภูเก่งมากๆ ตอนนี้รู้หลักการแล้ว งั้นลงมือทำเลย ..แล้วภูก็ทำ พุทโธวิมุตติสุขในการบ้าน + Skill ประเมินการบ้าน + Skill รู้กาล ประเมินระยะเวลาที่ใช้ในการทำ + การจัดลำดับความสำคัญ แล้วเทียบกับเวลาในปัจจุบัน..ก็สรุปผลออกมาว่า วันนี้จะทำ 2 วิชา เพราะมีน้อยทำได้ไว ถ้ามีเวลาเหลือ ค่อยทำต่อ แต่จะทำหลังทานข้าวเย็นเสร็จ เพราะตอนนี้ขอผ่อนคลายเล่นเกมก่อนที่ปะป๊าจะมาในอีก 1:30 ชั่วโมง (≧▽≦) เพราะทำการบ้านมาทั้งวันแล้ว.. ชิว : จัดสรรเวลาให้ดีๆนะภู จะได้ไม่ยุ่งยากภายหลัง.. SKILL รู้กาล คือ การเปิดใช้ Skill ประเมิน (ประเมินตนเอง + ประเมินสิ่งที่ทำ ประเมินสถานการณ์ + ประเมินความต้องการที่จำเป็นต้องใช้ + ประเมินระยะเวลาที่ทำ) + การลำดับความสำคัญจัดสรรตามเวลาที่เหมาะสมกับปัจจุบัน คือ รู้ว่าเวลานี้ควรแก่กิจหน้าที่การงานใด-ไม่ควรแก่การทำสิ่งใด เวลาไหนควรแก่กิจหน้าที่การงานใด-ไม่ควรแก่การทำสิ่งใด..นั่นเอง เรื่องของเวลาจะข้องเกี่ยวกับทุกสิ่งที่ทำจึงต้องให้ความสำคัญให้ดี ทุกๆคนมีเวลาเท่ากัน คือ 1 วัน มี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมง มี 60 นาที 1 นาที มี 60 วินาที เหมือนกันทุกคนบนโลก ถ้าจัดสรรเวลาที่ควรทำ และ ไม่ควรทำได้ลงตัว ก็จะสามารถใช้เวลาใน 1 วันนี้นเกิดประสิทธิภาพได้มากมาย ภู : โอ้ว เยสเซอร์ รับทราบแล้วครับ (ノ゚0゚)ノ→ คุยกันท้ายตอน กาลัญญุตา เป็นผู้รู้จักกาลคือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น... ธัมมัญญูสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ 23 ธัมมัญญูสูตร [๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๗ ประการ เป็นผู้ ควรของคำนับ ฯลฯ เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ธรรม ๗ ประ การเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นธัมมัญญู รู้จักธรรม ๑ อัตถัญญู รู้จักอรรถ ๑ อัตตัญญู รู้จักตน ๑ มัตตัญญู รู้จักประมาณ ๑ กาลัญญู รู้จักกาล ๑ ปริสัญญู รู้จักบริษัท ๑ ปุคคลปโรปรัญญู รู้จักเลือก คบคน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นธัมมัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ไวยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ หากภิกษุไม่พึงรู้จักธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู แต่เพราะภิกษุรู้ธรรม คือ สุตตะ ... เวทัลละ ฉะนั้นเราจึงเรียกว่าเป็นธัมมัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตถัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ หากภิกษุไม่พึงรู้เนื้อความ แห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่งภาษิตนี้ๆ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็น อัตถัญญู แต่เพราะภิกษุรู้เนื้อความแห่งภาษิตนั้นๆ ว่า นี้เป็นเนื้อความแห่ง ภาษิตนี้ๆ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตถัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นอัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักตนว่า เรา เป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ถ้าภิกษุไม่ พึงรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ เราก็ไม่พึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักตนว่า เราเป็นผู้มีศรัทธา ศีล สุตะ จาคะ ปัญญา ปฏิภาณ เพียงเท่านี้ ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นอัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นมัตตัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ รู้จักประมาณในการรับ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร หากภิกษุไม่พึงรู้จัก ประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เราก็ ไม่พึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู แต่เพราะภิกษุรู้จักประมาณในการรับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ฉะนั้น เราจึงเรียกว่าเป็นมัตตัญญู ภิกษุเป็นธัมมัญญู อัตถัญญู อัตตัญญู มัตตัญญู ด้วยประการฉะนี้ ฯ ก็ภิกษุเป็นกาลัญญูอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักกาลว่า นี้ เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาล หลีกออกเร้น หากภิกษุไม่พึงรู้จักกาลว่า นี้เป็นกาลเรียน นี้เป็นกาลสอบถาม นี้เป็นกาลประกอบความเพียร นี้เป็นกาลหลีกออกเร้น เราไม่พึงเรียกว่าเป็น กาลัญญู แต่เพราะภิก |
7
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน บทส่งท้าย Skill ประเมิณ
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:25:33 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
บทขยาย การใช้ SKILL ประเมิน
เป็นส่วนขยายของวิธีการฝึกทักษะความสามารถในการประเมิน ❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️ หลักแห่งความสำเร็จทั้งเรียนและงาน ♻️ ตั้งใจ ➡️ ขยัน ➡️ ทบทวนตรวจสอบ ↩️ ↕️ ↕️ ↕️ ↪️ เข้าใจ ➡️ ทำได้ ➡️ งานครบ ♻️ ❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️ อย่ายอมแพ้ โดยหลักการที่สืบต่อกันตามลำดับ คือ ตั้งใจ ➡️ ขยันเรียนรู้ฝึกฝน ➡️ หมั่นทบทวนบทเรียน ➡️ ตรวจสอบงานที่ทำส่งครู ➡️ ก็จะทำให้เข้าใจบทเรียน ➡️ ทำได้ ➡️ ส่งงานครูครบ โดยหลักการที่เป็นเหตุและผลกัน คือ ตั้งใจ «↔️» ก็เข้าใจ ขยัน «↔️» ก็ทำได้ ทบทวน/ตรวจสอบ «↔️» ก็งานครบ **************** สัปปริสธรรม 7 รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล 1. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ (หลักพิจารณา) 1.1 รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ 1.1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง 1.1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ 1.1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร 1.2. รู้เหตุหรือหลักการ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า 1.2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา) 1.2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ) เช่น.. หลงป่าต้องทำอย่างไร มีวิธีเอาตัวรอดเช่นไร หรือ..หากเกิดไฟไหม้ต้องทำเช่นใด มีวิธีปฏิบัติแบบไหน หรือ..น้ำท่วมต้องทำแบบไหน หรือ..เป็นไข้ต้องรักษายังไง หรือ..เราได้ศึกษาเรียนรู้ในพระสูตรต่างๆ เพื่อรู้ว่า ณ สถานที่นี้ๆ เวลานี้ๆ พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแก่ใคร ทรงพบเจอบุคคลฐานะอย่างนี้ มีอัตภาพชีวิตความเป็นอยู่อย่างนี้ มีอุปนิสัยแบบนี้ คือ พระราชา ขุนนาง พ่อค้า ชาวบ้าน ผู้มีทิฏฐิอย่างนี้ ผู้มีทิฏฐิอย่างนั้น ผู้มักโลภ ตระหนี่ บ้าอำนาจ ผู้มักโกรธ ริษยา พยาบาท ผู้มักหลงเชื่อง่าย ลุ่มหลงง่าย หัวช้า ฉลาด พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมต่อคนที่มีความแตกต่างกันนั้นอย่างไร ใช้หลักการใด ใช้วิธีการใด ในการสั่งสอนให้บุคคลเหล่านั้น ชุมชนนั้นๆ ได้รู้และเห็นชอบตามได้ ทรงแก้ไขทิฏฐิอุปนิสัยนั้นยังไง ทรงแก้ไขปัญหานั้นด้วยวิธีใด ทรงแสดงธรรมแนะนำสั่งสอนแบบใด เพื่อว่าเมื่อเราได้เจอคนประเภทนั้นๆ หรือ ตกอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ ก็จะสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ เพราะรู้ธรรมวิธีแก้ปัญหาสถานการณ์นั้นๆจากพระสูตรแล้ว และ รู้ว่าพระธรรมนั้นๆมีความหมายอย่างไรจากการศึกษาปฏิบัติจนเข้าใจแจ้งชัด • [ผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ, พุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณาการกระทำ เข้าถึง “สัมมาทิฏิฐิ” ความเห็นชอบ รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุ ผลมีเพราะเหตุมี ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ กำหนดรู้ปัญหาแล้วพิจารณาหาเหตุ หรือ วิเคราะห์หลักการที่นำมาใช้ รู้เหตุกระทำ รู้เหตุเกิด รู้เหตุดับเหตุ] • (อุปมาเหมือนรู้ตัวทุกขฺ์จึงรู้สมุทัย แจ้งนิโรธจึงเห็นมรรค อุปมาเหมือนรู้ว่า..น้ำปลา ทำมาจากอะไร มีวิธีทำอย่างไร อาศัยรู้ด้วยอริยะสัจ ๔ และ แจ้งชัดอิทัปปัจยตา รู้เหตุให้เกิดทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งนิโรธ สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ เห็นในอริยะสัจ ๔ รู้การกระทำ รู้เหตุกระทำ รู้เหตุเกิด รู้เหตุละ) 2. รู้ผล คือ รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล (หลักพิจารณา) รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำ และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า 3.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน) 3.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น) 3.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ) • [รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล, รู้ผลของกรรม(การกระทำ) ..เป็นผลสืบต่อจากการ “รู้เหตุปัจจัย” ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ ถึงสัมมาทิฏฐิ จึงเกิดผลสืบต่อคือ “ศรัทธา” ความเชื่อด้วยปัญญาเห็นจริง ว่าทุกๆการกระทำมีผลสืบต่อ การกระทำทุกอย่างให้ผลเสมอ(กัมมสัทธา, วิปากสัทธา, กัมมัสสกตาสัทธา, ตถาคตโพธิสัทธา), ศรัทธาพละ, สัทธินทรีย์, เพราะรู้ว่ากรรมมีผลสืบต่อ รู้ว่ากรรมให้ผล จึงทำเหตุดับเหตุด้วยการสำรวมระวังการกระทำที่ให้ทุกข์ โทษ ภัยเป็นผล นั่นคือ เจริญศีล เพื่อมุ่งหมายให้ได้ผลลัพธ์จากการกระทำที่ดีงามเย็นใจ ไม่เร่าร้อนภายหลังจากการกระทำของตน ถึงความบริสุทธิ์กายใจไร้มลทิน เป็นต้น] • (อุปมาเหมือนรู้ว่าการเจริญมรรคให้มากก็เพื่อละสมุทัย ผล คือ เข้าถึงถึงนิโรธ หรือ การเจริญโพชฌงค์ตามกาลเพื่อละสังโยชน์ รู้ความมุ่งหมายที่ทำในสิ่งนั้น ว่าทำสิ่งนี้แล้วจะได้ผลเช่นนี้ อาศัยรู้ด้วยอริยะสัจ ๔ และ แจ้งชัดอิทัปปัจยตา เกิดสัมมาทิฏฐิ ส่งผลให้เกิด ศรัทธา เชื่อในกรรมด้วยปัญญา ศรัทธาพละ สัทธินทรีย์ ทำให้รู้ว่า ทุกๆการกระทำให้ผลเสมอ รู้ผลของกรรม รู้ทุกข์เป็นผลมาจากสมุทัย, นิโรธเป็นผลมาจากดับสมุทัย ดับสมุทัยด้วยการใช้มรรคละสมุทัย, การใช้โพชฌงค์ ๑๔ ละ สังโยชน์ ๑๐ มี วิชชาและวิมุตติเป็นผล) • เมื่อรู้ทั้งเหตุและผล ก็เป็นการปฏิบัติให้เข้าถึง พุทโธอริยะสัจ ๔ 3. รู้ตน คือ ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาเพื่อรู้สิ่งที่ตนมีตนเป็นอยู่ ทั้งร่างกาย, จิตใจ, ทรัพย์สิน สิ่งของ, อุปนิสัย, วินัย, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะความสามารถตน ลงธรรม ๖ คือ ลง สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ตลอดจนรู้ความต้องการของใจตน รู้จักตอบโจทย์แก้ไขปัญหาของตน รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ เพื่อความเหมาะสมดีงาม และ รู้มหาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ รู้กาย, รู้เวทนา, รู้จิต, รู้ธรรม แล้วเจริญโพชฌงค์ตามกาล ๑๔ ให้มากเพื่อลด ละ ขจัด ในสิ่งที่ควรละหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ตน 4. รู้ประมาณ คือ รู้ประเมิณความเหมาะสมตามกาล (Skill ประเมิน) ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณารู้โจทย์ความต้องการของสิ่งที่เราประเมิน เพื่อรู้ว่าสิ่งใดที่ควรทำ-สิ่งใดที้ไม่ควรทำ..ตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ ให้เหมาะสมดำเนินไปได้ด้วยดี รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ ทั้งต่อตนเอง, ต่อช่วงระยะเวลา, ต่อสถานการณ์, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อบุคคล 5. รู้กาล คือ รู้ว่าเวลาใดเราควรทำสิ่งใดจึงจะประกอบด้วยประโยชน์ ไม่มีโทษ อาศัยการรู้มารยาทความเหมาะสม รู้ทำเนียมปฏิบัติ รู้สิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน รู้สิ่งที่ควรทำทีหลัง รู้สิ่งที่ควรละ รู้สิ่งที่ควรรอ ในสถานการณ์นั้นๆ ต่อตนเอง, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อกลุ่มคน, ต่อบุคคล อาศัยใช้ร่วมกันกับการประเมิณสถานการณ์ ท่าที การแสดงออก, ผลกระทบ, รู้ความต้องการของสถานการณ์, คุณประโยชน์สุข และ ทุกข์ โทษ ภัย 6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคม รู้วิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของสังคมชุมชนนั้นๆ, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้สถานการณ์ในชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้ความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ คือ รู้โจทย์ปัญหาและวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้นๆ เพื่อการวางตัวเหมาะสม และรู้วิธีเข้าหาสังคมชุมชน หรือ ชนชั้นนั้นๆ - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา 7. รู้บุคคล คือ รู้ว่าคนๆนี้มีอุปนิสัยใจคอเช่นไร, มีความต้องการของใจอย่างไร, จะตอบสนองโจทย์ปัญหาของใจเขาอย่างไร, ควรจะเข้าหาด้วยวิธีการใด - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา ***************************** พุทโธอริยะสัจ ๔ https://writer.dek-d.com/ThepKrean/writer/viewlongc.php/?id=2599447&chapter=8 เวบธัญวลัย https://www.tunwalai.com/story/831555 ************************ การรู้ประมาณตน คือ การรู้ความเหมาะสมพอดีของตน ก็เป็นการ “วินิจฉัยไตร่ตรองวัดค่าปริมาณความเหมาะสมพอดีของตนเอง” ที่เรียกว่า “การประเมิณ” นั่นเอง ..อุปมา..เปรียบเหมือนลูกโป่งสามารถบรรจุก๊าซหรืออากาศได้มากเท่าไหร่ หากไม่รู้ประมาณความจุของลูกโป่ง แล้วเราอัดก๊าซเข้าไปเยอะๆต้องการให้ได้ลูกโป่งใบใหญ่ๆ มันก็แตกและใช้การไม่ได้..ฉันใด ..อุปไมย..เปรียบลูกโป่งเป็นตัวเรา เปรียบก๊าซที่อัดบรรจุเข้าในลูกโป่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ต้องจ่าย ต้องทำ..ฉันนั้น ดังนั้น..เราจึงต้องประเมินตนเองในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่เราต้องใช้ ต้องทำ ต้องพึ่งพา เช่น เงิน เวลา สิ่งของ เป็นต้น รวมไปถึงศักยภาพทักษะความสามารถของตนเอง ที่จะต้องใช้ในสถานการณ์นั้นๆ (SKILL) เพื่อรู้การประมาณตนที่พอดี พอเหมาะ พอควร และ พอเพียงเพื่อดำเนินสิ่งที่ต้องทำต่อไปได้ด้วยดี นี่จึงชื่อว่า SKILL ประเมิน SKILL ประเมิน มีหลายระดับ คือ.. • LV.1 ใช้ประเมินตนเอง • LV.2 ใช้ในการวางแผนชีวิต แผนงาน • LV.3 ใช้ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน • LV.4 ใช้ประเมินสังคม กลุ่มคน ระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆ • LV.5 ใช้ประเมินบุคคล • แต่หลักการใช้จะคล้ายๆกัน เพราะหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นครบพร้อมดีแล้ว อยู่ที่เรานำมาประยุกต์ใช้ คือ.. • ใช้หลัก รู้เหตุ, รู้ผล, รู้วิถีชีวิต, รู้ความต้องการของใจ และ รู้กาล มาประเมินสิ่งต่างๆ • เพราะเราเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดา จึงสามารถเข้าถึงได้แบบคนธรรมดาทั่วไป ที่มีตามกำลังของสติปัญญาที่จะเข้าถึงได้ จึงต้องรู้ว่าธรรมนี้เราประยุกต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสะสมปัญญา เป็นหลักการที่น้อมนำเอาพระสัทธรรมมาประยุกต์ใช้สะสมเหตุ แต่ก็จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนจากหลักปฏิบัตินี้ไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน การใช้ SKill ประเมิน เพื่อมาวินิจฉัยปรับความสมดุลของตนเอง ให้เข้าปัจจุบันสถานการณ์นั้นๆ คือ.. 1. รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ 1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง 1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ 1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร หมายเหตุ : ที่แยกรู้กิจ ออกจาก รู้เหตุ มาแสดงต่างหากเพื่อให้เข้าใจง่าย และเน้นความสำคัญในการรู้หน้าที่ตน เพื่อสร้างระเบียบวินัยให้ตนเอง เป็นเหตุละความเกียจคร้าน เหนื่อยหน่าย เบื่อ และเป็นระเบียบวินัยในตนเอง ถ้ารู้หน้าที่มีวินัยในตนเอง งานก็สำเร็จได้ด้วยดี มีความเพียร สัมมัปปธาน ๔ หรือ วิริยะบารมีเป็นผล 2. รู้เหตุ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า 2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา) 2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ) 3. รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำหรือที่เกิดขึ้นอยู่นั้น และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่ทำที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า 3.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน) 3.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น) 3.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ) 4. รู้ตน คือ รู้จักพิจารณาตนอัตภาพความเป็นอยู่ของตน และ ศักยภาพที่ตนมี ว่า..ดีจุดใด ด้อยจุดใด 4.1) สุขภาพกายและจิตใจตน 4.2) รู้อัตภาพชีวิตความเป็นอยู่ตน 4.3) สัทธา คือ เชื่อด้วยอริยะสัจ ๔ / ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก เชื่อว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อ 4.4) ศีล คือ ความปกติของใจ / การสำรวมระวังการกระทำ คือ ทำในสิ่งที่มีประโยชน์-ไม่มีโทษ เพราะการกระทำทุกอย่างส่งผลเสมอ ส่งผลใจเย็นใจสบาย ไม่เร่าร้อน 4.5) สุตะ คือ ความรู้ การเรียนรู้ / หมั่นเรียนรู้ศึกษา เรียนรู้กลักการ วิธีการ และหาความรู้ใหม่ๆเพิ่มเติมเสมอ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิต 4.6) จาคะ คือ การสละให้ และ การสละคืน / หมั่นขจัด Toxic (พุทโธวิมุตติสุข + พุทโธอริยสัจ ๔) 4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจรู้แจ้งเห็นจริง / หมั่นทบทวนทำความเข้าใจในสิ่งที่เรียนรูให้กระจ่างใจ จนรู้แจ้งแทงตลอด 4.8) ปฏิภาณ คือ ไหวพริบ คล่องแคล่ว ว่องไว / หมั่นฝึกฝนเพิ่มทักษะความสามารถต่างๆให้ตนเองจนชำนาญ ทำได้คล่องแคล่ว ว่องไว 5. รู้ละ คือ รู้ว่าสิ่งใดทำแล้ว ส่งผลเสีย มีโทษ มีทุกข์ มีภัย สิ่งนั้นควรละ ควรขจัดออกไป 6. รู้รักษา คือ รู้ว่าสิ่งใดกระทำแล้ว มีในตนแล้วประกอบไปด้วยประโยชน์สุข ไม่มีโทษภัย สิ่งนั้นควรรักษาให้คงไว้ หมายเหตุ : ที่แยก รู้ละ และ รู้รักษา ออกมาจากการ รู้ตน เพื่อให้จดจำเน้นความสำคัญในการปรับ ลด ละ และ รักษา สมดุลในกายใจตน การละ จัดเป็นจาคะ คือ ความสละคืนอุปธิ สละคืนอกุศลกรรม เมื่อทำประจำก็มีความเพียรละ และ เพียรรักษาเป็นผล เป็น สัมมัปปธาน ๔ เป็น วิริยะบารมี ด้วยเช่นกัน 7. รู้ลำดับ คือ รู้จักลำดับความสำคัญ รู้ในสิ่งที่ควรทำที่ตรงต่อสถานการณ์ ว่าควรทำสิ่งใดก่อนหลัง ความเป็นผลสืบต่อกัน ตรงสถานการณ์ขณะนั้น ความจำเป็น ระยะเวลาในการทำ • เมื่อย่นย่อลงจะเหลือเพียง • • นำพุทโธ อริยะสัจ ๔ คือ ความรู้เหตุ, ความรู้ผล, รู้กาละเทศะ..มาประเมิณเปรียบเทียบกับความรู้ตน หรือ สิ่งที่ตนเองทำ, ที่ตนเองมี, ที่ตนเองเป็นอยู่ SKILL ประเมินตนเอง ก็คือ การรู้ความต้องการ เอามาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเอง คือ รู้กิจของตน, รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตนเอง, รู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่, รู้สิ่งที่ตนเองขาด ที่ควรทำให้เกิดมีขึ้น ที่จำเป็นจะต้องมี, สิ่งที่ไม่่ควรมีอยู่ที่ควรกำจัดออกไป, สิ่งที่ควรคงรักษาไว้, ลำดับความสำคัญ เมื่อเปิดใช้สกิลประเมิน จะต้องพิจารณาไตร่ตรองดังนี้.. 1. รู้กิจของตนในปัจจุบัน คือ รู้หน้าที่และระเบียบวินัยข้อปฏิบัติของตน รู้ว่าตนมีหน้าที่อะไร..มีระเบียบวินัยข้อปฏิบัติอย่างไร, รู้ว่าสิ่งที่ตนต้องทำในช่วงเวลานี้ๆคืออะไร, เพื่อรู้ว่าตนมีหน้าที่ต้องทำในสิ่งใด, ปัจจุบันขณะนี้มีสิ่งใดที่ตนต้องทำบ้าง, รู้ตารางเวลาการทำงานของตน (การรู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นการทำเหตุสะสมความเพียร..ที่จะส่งผลให้เราตัดความขี้เกียจ เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ออกไปจากใจเราได้ ให้สามารถทำตามกิจหน้าที่ของตนได้เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นข้อนี้ก็เป็นหนึ่งใน “เหตุ” แต่จับแยกออกมาให้ภูรู้ความสำคัญและจดจำง่ายเท่านั้นเอง) • โดยให้ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วทบทวนสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบันขณะนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..วันนี้ตนมีกิจการงานสิ่งใดที่จะต้องทำบ้าง แล้วในปัจจุบันเวลานี้กิจการงานที่จะต้องทำคืออะไร มีสิ่งใดบ้าง 2. รู้เหตุปัจจัยของสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นหรือทำอยู่.. • เพื่อรู้สาเหตุและองค์ประกอบเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นหรือทำอยู่ • เพื่อรู้แนวทางวิธีการจัดการที่จะให้ผล กำหนดรู้เหตุจากสิ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน เพื่อรู้สภาวะ รู้การกระทำ รู้กระบวนการ รู้เหตุการกระทำ รู้หลักวิธีการที่ควรปฏิบัติ รู้ว่าสิ่งที่ตนทำอยู่นั้นต้องการใช้ความรู้ในหลักวิธีการและสิ่งใดทำ รู้หลักการที่ต้องศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติม รู้หน้าที่และการกระทำในสิ่งอันเป็นปัจจัยองค์ประกอบเหตุต่อกันที่ทำให้เกิดผลลัพธ์นั้น (เหตุ = หลักการ และ วิธีทำ / ปัจจัย คือ องค์ประกอบเหตุ ให้เกิดผล), รู้เหตุและองค์ประกอบเหตุของสิ่งที่ทำ, รู้ว่ากิจหรือสิ่งที่ตนกำลังทำนั้น..ต้องมีสิ่งใด-ต้องใช้สิ่งใด-ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง, มีวิธีการทำเช่นใด • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนจะทำสิ่งนั้นได้จะต้องมีสิ่งใด ต้องใช้หลักการใด มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นองค์ประกอบ ต้องใช้ความรู้หลักการและสิ่งใดทำบ้าง มีวิธีการทำอย่างไร..เพื่อรู้หลักวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติในสิ่งนั้น 3. รู้ผลสืบต่อจากสิ่งที่ทำ พิจารณาจากสิ่งที่ทำ.. • เพื่อรู้ผลกระทบสืบต่อ • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่ตนทำ (รู้ความต้องการของใจ) • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่คนอื่นทำ (รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นสื่อสารกับเรา) • เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำ (รู้หลักการ แนวทาง วิธีการที่จะนำมาใช้ให้ถูกตรงกับสิ่งนั้น) กำหนดรู้ผล เพื่อรู้ความมุ่งหมายต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้นที่แสดงผลออกมาอย่างนั้น รู้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน หรือ กำหนดรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดมีขึ้นสืบต่อจากสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือ กำหนดรู้ผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นหากตนกระทำสิ่งใดไป หรือ ทำผลสำเร็จที่ต้องการให้ประจักษ์แจ้งเห็นชัดตามจริง รู้ความหมายที่ผู้อื่นสื่อสารแสดงออก รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นสื่อสารกับเรา (เขาแสดงออกมาอย่างนี้ ต้องการจะสื่อสารอะไรกับสาร หมายความเช่นใด มีความมุ่งหมายอย่างไร ต้องการสิ่งใด อยากได้ผลตอบกลับเช่นไร) เพื่อเลือกเฟ้นแนวทาง..วิธีการจัดการ วิธีรับมือ วิธีปฏิบัติที่ตรงจุด เพื่อไปสู่ผลลัพธ์ที่ต้องการได้สำเร็จ • รู้ความต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้นที่แสดงผลอยู่นั้นว่า..มีความมุ่งหมายอะไร ต้องการผลลัพธ์เช่นไร (ผล = เป้าหมายที่ต้องการ), รู้ว่าหากทำสิ่งใดไปจะเกิดผลกระทบยังไง, ทำสิ่งใดจะส่งผลอย่างไร, สิ่งที่ทำอยู่นี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร, รู้ความหมาย, จุดประสงค์ที่มุ่งหมาย, ทำเพื่อความมุ่งหมายอะไร, รู้ว่าสิ่งที่ทำอยู่นี้มาจากหลักการใด, หลักการนั้นๆมีความมุ่งหมายอะไร, กำหนดข้อปฏิบัตินี้ไว้เพื่อจุดประสงค์อะไร, หากต้องการให้ได้ผลลัพธ์เป้าหมายแบบไหนจะต้องทำอย่างไร • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำสิ่งนี้มีจุดประสงค์อะไร มีความมุ่งหมายต้องการสิ่งใด สิ่งที่ภูทำนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร หากต้องการผลลัพธ์แบบไหนจะต้องทำยังไง คือ รู้วิธีทำให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือความทุ่งหมายที่ต้องการนั้น 4. รู้ตนเอง คือ รู้สภาพร่างกายและจิตใจตนเอง รู้อััตภาพชีวิตของตน รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ ความรู้และทักษะความสามารถของตนเองที่มีอยู่ (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนมีอยู่) รู้สิ่งที่ตนขาด ส่วนที่ขาด สิ่งของที่ขาด ที่ต้องทำให้มี ต้องเพิ่ม ที่ต้องหาหรือสร้างทดแทน ความรู้ความสามารถที่ตนขาดไป (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนขาดไป) • โดยมองดูสิ่งที่ตนต้องทำ หรือ เผชิญหน้าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำอะไรในตอนนี้ได้บ้าง..เพื่อรู้สิ่งที่ตนมีอยู่ สิ่งที่ตนขาดไป และ สิ่งที่ตนสามารถทำได้ในทันที 4.1) รู้สภาพร่างกายและจิตใจของตน คือ รู้สุขภาพร่างกายของตนในปัจจุบัน ว่า..แข็งแรง หรือ ป่วยไข้ / รู้สภาพจิตใจของตนในปัจจุบัน ว่า..สภาพจิตใจปกติ แจ่มใส หรือ หน่วงตรึงจิตให้เศร้าหมอง คือ คิด อคติ ๔ ได้แก่ มีสภาพจิตใจที่เอนเอียงเป็นไปใน.. 4.1.1) รัก (ยินดี, อยาก, ใคร่, โหยหา, หมายใจใคร่เสพ, เสน่หา) 4.1.2) ชัง (ยินร้าย, หดหู่, ซึมเศร้า, โกรธ, เกลียด, ผลักไส, แค้น, คิดร้าย, อาฆาต, พยาบาท) 4.1.3) หลง (ใช้อารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้ปัญญา, ลุ่มหลง, งมงาย, โลเล, ไม่รู้จริง หรือ ใช้ปัญญาแสวงหาประโยชน์โดยไม่รู้ถูก-ผิด..แล้วทำตามที่ใจใคร่อยากหรือเกลียดชัง) 4.1.4) กลัว (ขลาดกลัว, หวาดกลัว, หวาดระแวง, พะวง, สะเทือนใจ, หวั่นใจ, ใจสั่น, ไม่สงบ) 4.2) รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ คือ รู้ว่าตนมีสิ่งที่จะใช้ทำในกิจการงานนั้นๆอยู่หรือไม่ มีมากน้อยเท่าไหร่ เพียงพอจะทำสิ่งนั้นหรือไม่ รู้อัตภาพความเป็นอยู่ของตน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นเพียงพอให้ใช้งานหรือไม่ หรือ สามารถใช้จ่ายได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น เงิน สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ตลอดไปจึงถึงทักษะความรู้ความสามารถของตน 4.3) ศรัทธา หรือ สัทธา คือ ใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึกรู้ชัดว่า..ทุกการกระทำมีผลสืบต่อทั้งหมด พิจารณาใช้ความรู้เหตุและรู้ผลก่อนทำ เพื่อก่อประโยชน์สุขไม่มีทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเองให้ได้มากที่สุด และ แผ่ไปถึงผู้อื่นด้วย.. 4.4) ศีล คือ สำรวมระวังการกระทำ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสืบต่อที่จะเกิดขึ้นว่ามีคุณหรือโทษก่อนกระทำ เป็นกฎเกณฑ์ ระเบียบ วินัย หน้าที่ ข้อปฏิบัติ จึงต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง ที่เรียกว่า มีวินัยในตนเอง เพื่อทำให้กิจหน้าที่การงานของตนดำเนินไปได้ด้วยดีจนสำเร็จ เป็นการสร้างปลูกฝังความเพียร ตัดทิ้งความขี้เกียจ ท้อแท้เบื่อหน่ายออกจากใจ ให้ผลเย็นใจไม่เร่าร้อน 4.5) สุตะ คือ การศึกษาใฝ่หาความรู้ เรามีความรู้มากน้อย รู้ว่าน้อยก็ต้องศึกษาเพิ่ม ขาดความรู้กลักการใด ไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาค้นคว้าวินิจฉันเพิ่ม เมื่อรู้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้แจ้งชัด รู้เหตุ รู้ผล 4.6) จาคะ คือ อุปนิสัยดี แจ่มใส ขจัด Toxic ออกจากใจตลอดเวลา เพราะเมื่อไม่มี Toxic ก็จะทำให้วินิจฉัยสิ่งต่างๆได้โดยปราศจากความอคติลำเอียงในใจเพราะ รัก ชัง หลง กลัว ทำให้สมองโล่งไม่มีความอยากลากดึงปิดกั้นใจจากความจริง ก่อให้เกิดปัญญาเข้าใจชัด 4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจแจ้งเห็นชัดตามจริง ในสิ่งที่ทำ หรือ ในสิ่งที่กำลังศึกษาเรียนรู้อยู่นั้น ไม่เข้าใจก็ต้องค้นคว้าทำความเข้าใจ คนเราแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างกัน ถนัดต่างกัน ลงใจต่างกัน เราจึงต้องศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในแบบของเรา จึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุด และทำให้รู้ได้แจ้งชัดถูกต้องตามจริง 4.8) ปฏิภาณ คือ ทักษะความสามารถ (Skill) ความคล่องแคล่วว่องไว มีไหวพริบในการพูดหรือทำตอบโต้สนองกลับสถานการณ์หรือผู้อื่น อันเป็นผลมาจากการมีความรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่ทำที่เรียนรู้ คือ 4.8.1) รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด ทักษะความเข้าใจในหัวข้อหลักการ วิธีการ วิธีทำ จำแนกประเภทได้ ลำดับขั้นตอนได้ สรุปโดยย่อได้ใจความ 4.8.2) รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล ทักษะความเข้าใจในการรู้ความหมายวัตถุประสงค์ที่ทำ อธิบายขยายความได้ถูกต้องตามจริง 4.8.3) รู้หลักภาษาที่ใช้ ทักษะความเข้าใจในการใช้ภาษาสื่อสารกับคนในแต่ละพื้นที่ชุมชน กลุ่มคน สังคม และ ส่วนบุคคล ให้เข้าใจได้ง่าย และ ถูกต้องตรงกัน • หากในตนมีข้อใดข้อหนึ่งขาดไปในข้อ 4.1-4.8 นี้ ก็จะต้องหมั่นฝึกฝนให้เกิดมีขึ้นมา ให้มีเพียงพอ ต้องทำเพิ่มในส่วนที่ไม่มี เพิ่มหรือทดแทนในส่วนที่ขาดหายไป 5. รู้สิ่งใดที่ควรละ ที่ตนไม่ควรทำ คือ สิ่งใดที่เมื่อทำแล้ว จะส่งผลเสียต่อตนเองและผู้อื่น ไม่ถูกสถานที่ ไม่ถูกทาง ไม่ถูกกาลเทศะ มีทุกข์ โทษ ภัย • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนมีสิ่งใดที่เป็นอุปสรรคต่อสถานการณ์นั้น หรือ หากทำสิ่งใดจะส่งผลเสีย เพื่อรู้สิ่งที่ต้องกำจัดให้หมดไปในตอนนั้น 6. รู้สิ่งใดที่ตนควรรักษาให้คงไว้ เปรียบเทียบกับ สิ่งที่ตนเผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ตนมีสิ่งใดที่เพียงพอเหมาะสมสำหรับใช้ในสถานการณ์นั้นแล้ว เพื่อรู้สิ่งที่ควรรัักษาให้คงอยู่ไว้ 7. รู้ลำดับความสำคัญ เปรียบเทียบกับ สิ่งที่ตนเผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น • โดยมองดูสิ่งที่ตนกำลังทำ หรือ เผชิญหน้าอยู่ในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า 7.1) ส่งใดที่เกี่ยวเนื่องสืบต่อกัน สิ่งใดมีสิ่งนี้จึงมีได้ สิ่งใดเป็นเหตุและผลต่อกัน 7.2) สิ่งใดที่มีตรงกับสถานการณ์ในปัจจุบัน หากชักช้าจะส่งผลเสียไม่ทันการณ์ สิ่งนั้นต้องทำในทันที 7.3) สิ่งใดที่ต้องมีในสถานการณ์นั้น แต่ยังไม่จำเป็นต้องใช้ในปัจจุบันทันที สิ่งนั้นสามารถรอทำในลำดับต่อมาได้ 7.4) สิ่งใดที่ต้องมีในสถานการณ์นั้น แต่ต้องทำสะสมปริมาณไปเรื่อยๆจนเต็มครบพร้อม ต้องใช้เวลานาน สิ่งนั้นควรค่อยๆทำสะสมเหตุไปเรื่อยๆ • พิจารณาเพื่อรู้ลำดับความสำคัญ ..การประเมิณที่นี้ ทำไว้เพื่อให้ตนเองได้รู้ ส่วนที่มี ที่ขาด ที่เกิน แล้วเพิ่ม หรือลด หรือคงไว้..ตามความเหมาะสมพอดีของตน ไม่ให้สุดโต่งเกินตัว หรือ เหลาะแหละ ผิดพลาด พลาดพลั้งบ่อยๆ แต่สามารถทำให้ตนเองก้าวไปข้างหน้าได้ด้วยดี SKILL ประเมินสถานการณ์ เป็นการประเมินเพื่อให้สามารถแก้ไขสถานการณ์นั้นได้ เพราะทำให้รู้โจทย์ปัญหา สิ่งที่ใช้ตอบโจทย์ปัญหา เรามีดีสิ่งใดที่ควรคงรักษาไว้ เราขาดสิ่งใดที่ควรเพิ่มเติมทดแทน เราเกินสิ่งใดที่ควรลดละลงให้พอดี เป็นการใช้อริยะสัจ ๔ กำหนดรู้ทุกข์ ละสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้ง ทำมรรคให้มาก ร่วมกับ อิทธิบาท ๔ เข้าวิเคราะห์ตนเอง, สถานการณ์, ความรู้ การเรียน, การทำงาน, แผนก, ฝ่าย, สังคม, พื้นที่ชุมชน ห |
8
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน รู้ประมาณ(Skill ประเมิน)
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:23:39 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
..วันพฤหัสบดี เวลา 06:50 น. : ภูตื่นมาอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟัน เข้าห้องน้ำ เสร็จ 07:25
..07:30 น. : ชิวให้ภูเริ่มฝึกฝนบำบัดจิตตน 1. ฝึกรู้ตน 15 นาที รู้สถานะตน เดินจงกรม รู้ทันลมหายใจว่ากำลังหายใจเข้าหรืออก สั้นหรือยาว โดยปักหลักรู้ลักษณะลมหายใจไว้ที่ปลายจมูก เอาปลายจมูกเป็นจุดที่ตั้งของสติ รู้อัตภาพตน ( ´◡‿◡` ) 2. ฝึกพุทโธวิมุตติสุข 10 นาที ( ´◡‿◡` ) 3. พุทโธอริยะสัจ ๔ 10 นาที ทำตอนที่ยังมีสติและสมาธิดี ดังนี้.. 3.1) กำหนดรู้สภาพจิตใจตนในขณะนั้น ว่าเป็นอย่างไร มีความรู้สึกเช่นไร 3.2) สืบค้นหาเหตุเกิดของสภาพจิตใจนั้น 3.3) ทำความรู้แจ้งเมื่อใจไม่มีทุกข์ หรือ เป็นสุขพ้นจากทุกข์นั้นแล้ว รู้ความรู้สึกที่เกิดขึ้นอยู่นั้น(นิโรธ) ว่ามีลักษณะอาการอย่างไรบ้าง สิ่งใดดับ(สมุทัย) สิ่งใดมี(มรรค) โดยใจรู้ความรู้สึกได้ที่ไหน ก็เอาใจตัวรู้คือสติจับที่จุดนั้น ( ´◡‿◡` ) 4. ฝึกทำใจให้ในลักษณะอาการของความดับทุกข์นั้นให้มาก โดยน้อมนึกถึงลักษณะอาการแบบนี้ เอาใจน้อมไว้ที่ดวงจิตจับตรงจุดเหนือสะดือ ..08:15 น. : ภูมองดูนาฬิกาเสร็จ เห็นยังเช้าอยู่ ภูก็นั่งเล่นเกม ..09:20 น. : ภูหิวข้าวจัด จึงหยิบเงิน 70 บาท ออกไปซื้อข้าว (โดยที่มีชิวลิยิยู่ด้านบน แอบมองดูพฤติกรรมของภูอยู่ห่างๆ) พอภูเดินมาถึงแถวร้านอาหารตามสั่งที่ภูเคยซื้อ มีร้านข้าวมันไก่เปิดใหม่ ตอนนี้นร้านประจำคนน้อยแต่ภูไม่ซื้อ จะไปลองร้านข้าวมันไก่เปิดใหม่เพราะเห็นคนเยอะดูน่าอร่อยมาก แต่คิวก็ยาวมากทำให้รอนาน 45 นาที ก็ยังไม่ได้สั่ง ทนไม่ไหวจึงกลับไปสั่งร้านเดิม ภูหิวจัดจึงบอกเอาพิเศษ เอาไข่เจียวด้วย ก็พอดีร้านเดิมเริ่มมีคน ใช้เวลา 20 นาที กว่าจะได้กินก็ 10:27 น. หลังกินเสร็จ 10:50 น. จ่ายค่าข้าวไป 60 บาท ภูก็ไปเซเว่นใกล้บ้านเพื่อซื้อเลย์สักห่อ ในเซเว่นมีแต่เลย์ห่อละ 20 บาท ภูจึงหยิบไป พอจะไปจ่ายเงิน ภูล้วงกระเป๋ากลับมีเงินเกลือแค่ 10 บาท จึงนึกขึ้นได้ว่าหิวจัด จึงหยิบเงินแค่ 60 บาท แล้วเดินก็เดินกลับบ้าน 11:00 น. ..14:35 น. : ภูจะออกไปซื่อข้าวมันไก่ เพื่อจะกินตอนบ่าย 3 จึงรีบไปซื้อข้าวมันไก่ แต่ร้านก็บอกขายหมดแล้ว ภูจึงเดินจากไปแบบคับข้องใจในวันนี้มาก แล้วไปซื้ออาหารตามสั่ง ภู : วันนี้มันอะไรเนี่ย ทำไมมีแต่เรื่องขัดข่องไปหมด ทำอะไรก็ไม่ได้ แย่ไปหมดเลย วันนี้มันวันซวยจองเราหรือไงนะ ( ╬ಠ益ಠ) ..16:00 น. : ภูทำการฝึกรู้ตนกับชิวอีกรอบ เมื่อทบทวนสถานะภาพตนก็นึกขึ้นได้ว่า ตนเรียนอยู่ มีหน้าที่ต้องเรียน ชิวทบทวนรู้ตนกับภู ชิว : หน้าที่ของนักเรียน คืออะไร ภู : ตั้งใจเรียน ทำงานส่งครู ชิว : ดีมาก หลักการเรียนและการศึกษาทำงานทุกอย่าง เราต้องจำหลักการดังนี้ คือ.. ❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️ หลักแห่งความสำเร็จทั้งเรียนและงาน ♻️ ตั้งใจ ➡️ ขยัน ➡️ ทบทวนตรวจสอบ ↩️ ↕️ ↕️ ↕️ ↪️ เข้าใจ ➡️ ทำได้ ➡️ งานครบ ♻️ ❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️❄️ อย่ายอมแพ้ ชิว : โดยหลักการที่สืบต่อกันตามลำดับ คือ ถ้าภูตั้งใจ → ขยันเรียนรู้ฝึกฝน → หมั่นทบทวนบทเรียน → ตรวจสอบงานที่ทำส่งครู → ก็จะทำให้ภูเข้าใจบทเรียน → ทำได้ และส่งงานครูครบ ภู : อืมๆๆๆ เห็นจะจริง ชิว : ในอีกทางที่สื่อกันในเป็นคู่เหตุและผลกัน คือ ตั้งใจ «-» ก็เข้าใจ, ขยัน «-» ก็ทำได้, ทบทวน/ตรวจสอบ «-» ก็งานครบ ภู : จริงด้วย ชิว : ถ้าทำตามนี้รัับรองเรีบนได้เกรดสูงแน่นอน ภู : (☆▽☆) ว้าวๆๆๆ.. ภู : งั้นแย่แล้ว !!! กี่โมงแล้วๆๆๆๆๆ 16:10 น. ภูต้องไปสอบถามและขอจดลอกเอาบทเรียนที่ครูสอน, การบ้าน, กับโครงงานที่ตรูสั่งจากเพื่อนมาทำก่อน ต้องมีงานส่งวันจันทร์เยอะแน่ヽ((◎д◎))ゝ ..จากนั้นภูก็วิ่งหน้าตั้งปั่นจักรยานไปหาเพื่อนที่อยู่อีกหมู่บ้านซึ่งเรียนห้องเดียวกัน เพื่อไปสอบถามและขอจดลอกเอาบทเรียนที่ครูสอน การบ้าน และโครงงานในช่วงที่หยุดเรียนจากเพื่อน จะได้ทำส่งครูเพราะกลัวจะเยอะแล้วทำไม่ทัน เพราะจะต้องไปเรียนและส่งครูในวันจันทร์ ..หลังจากืี่ถึงบ้านเพื่อน 16:18 น. ภูก็ร้องเรียกเพื่อน พอเพื่อนออกมาก็ขอยืมสมุดเพื่อไปลอกบทเรียนที่ครูสอนกับสอบถามการบ้านและรายงาน เพื่อนบอกยังไม่ว่าง ต้องช่วยพ่อแม่เอาของไปลงที่ตลาดเพื่อขายของก่อน ..ภูจึงรอจนถึง 16:49 น. เพื่อนกลับมา ก็ต้องรอเพื่อนอาบน้ำเพราะขนยกของตัวเปื้อน ..17:10 น. เพื่อนก็บอกว่าครูให้ดารบ้านหน้าไหนในหนังสือภูก็จดใส่ดระดาษไว้ มีทั้งหมด 5 วิชา และยืมสมุดเพื่อนมาจดได้ 3 วิชา ส่วนรายงานโครงงานไม่มี (ภูก็รอดไปสินะ อิอิ) ..17:25 น. ภูก็รีบปั่นจักรยานกลับบ้านเพราะถึงเวลาต้องจัดเตรียมถ้วยจานไว้รอแะป๊าซื้อข้าวเย็นกลับมาหลังเลิกงาน ..17:40 น. ถูถึงบ้าน รีบล้างมือเอาถ้วย จาน ช้อนมาวางรอไว้ที่โต๊ะ หุงข้าว แล้วไปอาบน้ำ ..18:10 น. ปะป๊ากลับถึงบ้าน ก็สังเกตุเห็นว่าภูดูสภาพอิดโรยหมดแรง จึงถามภูว่าไปทำอะไรมา ภูตึงตอบว่าปั่นจักรยานไปสอบถามงานช่วงวันหยุดเพื่อนมาคับ ปะป๊าก็บอกว่าดีแล้วรู้จักรับผิดชอบตัวเอง ทำให้ได้ตลอด จะได้เป็นผู้เป็นคนดับเขาได้สักที (ทั้งๆที่ในใจก็ดีใจจนใจฟูที่ลูกรู้จัดรับผิดชอบต่อหน้าที่) ..19:10 น. ทานข้าวเสร็จ เก็บของเสรผ็จ ภูก็เอากระดาษจเงานวางไว้บนโต๊ะเครื่ิงเขียน พร้อมถอนหายใจ แบบหมดอาลัยตายหยาก พร้อมบ่น..เฮ้อ..หมดแรง .วันนี้คงไม่มีแรงจดงานแล้ว นี่มันวันอะไรของภูกันนะ (〒﹏〒) จากนั้นชิวก็บินออกมา ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ภู : ชิวมาแย้วเหยอ..เฮ้อออ..โคตรเหนื่อยเลย วันนี้วุ่นวายมาก จะกินข้าวมันไก่ก็ไม่ได้ วิ่งวุ่นเรื่องการบ้านอีก เฮ้อ.. (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ชิวเห็นแล้ว ตลอดทั้งวันชิวติดตามดูภู ภูพลาดตรงไม่รู้ประมาณตนเอง จึงจัดการทุกอย่างไม่ลงตัวไว ภู : ยังไงอะ ไม่รู้ประมาณตน คืออะไรหรอ ชิว : ก็รู้ความพอดีตน รู้ประมาณตนเอง ไม่รู้ประเมิณสถานการณ์ และสิ่งที่ต้องใช้ตอบโจทย์ความต้องการของใจภูไง ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ชิวจะอธิบายเปรียบเทียบให้ฟังนะ แต่ก่อนที่จะรู้สกิลประเมิน ภูต้องรู้จัก หลักแห่งมหาบุรุษ 7 ประการ ก่อน เพราะคือที่มาของ SKILL ประเมิน ภู : ว้าว..ชื่อเท่มากๆเลย หลักแห่งมหาบุรุษ 7 ประการ ชิว : ถูกต้องและชื่อคือของจริง เป็นหลักของยอดคนเลยนะ มีดังนี้.. สัปปริสธรรม 7 รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล 1. รู้เหตุ คือ รู้ว่าผลนี้มีอะไรเป็นเหตุ (หลักพิจารณา) 1.1 รู้กิจของตน มีระเบียบวินัยในตน รู้กิจในหน้าที่การงานของตน ที่ตนทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบอยู่ 1.1.1) รู้หน้าที่ รู้ว่ากิจการงานหน้าที่ความรับผิดชอบของตนมีอะไรบ้าง 1.1.2) รู้งาน มีความรู้และความเข้าใจชัดเจนในสิ่งที่ทำ 1.1.3) รู้วิธี รู้ว่างานที่ทำมีหลักวิธีในการปฏิบัติหน้าที่การงานนั้นๆอย่างไร 1.2. รู้หลักการ ผลนี้เกิดแต่เหตุใด รู้ว่าผลทุกอย่างล้วนมีเหตุให้เกิดขึ้น ผลทุกอย่างอยู่ที่การกระทำ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองสืบค้นหาเหตุของสิ่งที่แสดงผลปรากฏขึ้นมาอยู่นั้น รู้เหตุเกิด หรือ เหตุกระทำของสิ่งนั้น และ เฟ้นหาแนวทางการจัดการในสิ่งนั้น คือ รู้ในสิ่งที่ทำว่า 1.2.1) รู้เหตุเกิด ผลที่ปรากฏอยู่นั้น มีเหตุและปัจจัยองค์ประกอบอย่างไร มีเหตุการกระทำเช่นใดจึงเกิดสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์สืบค้นหาเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดมีขึ้น หรือ แสดงผลอย่างนั้นออกมา) 1.2.2) รู้เหตุทำ ส่งที่ทำอยู่นั้น เราต้องใช้ความรู้ในหลักใด มีวิธีการเช่นไร ต้องทำแบบไหน ต้องใช้สิ่งใดเป็นส่วนประกอบเหตุทำให้เกิดผลลัพธ์ในสิ่งนั้นขึ้นมาได้ (ใช้วิเคราะห์ค้นคว้าหาความรู้ เพื่อเฟ้นหาหลักการแนวทางที่ตนจะนำมาใช้ทำสิ่งนั้น เพื่อให้สำเร็จผลได้ประโยชน์สุขที่ต้องการ) 2. รู้ผล คือ รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล (หลักพิจารณา) รู้ผล คือ เหตุนี้มีอะไรเป็นผล รู้ว่าการกระทำทุกอย่างมีผลสืบต่อทั้งหมด การกระทุกอย่างให้ผลเสมอ เป็นการวินิจฉัยไตร่ตรองรู้แจ้งชัดผลสืบต่อจากการกระทำ ตั้งความมุ่งหมาย หรือ รู้ผลสืบต่อในสิ่งที่ทำ และ รู้ความมุ่งหมายที่ต้องการจากสิ่งที่เกิดขึ้น รู้ในสิ่งที่ทำว่า 2.1) รู้ผลลัพธ์ สิ่งที่ทำอยู่นี้จะให้ผลอย่างไร มีผลสืบต่อเช่นใด มีอะไรเป็นผล (ใช้วิเคราะห์สิ่งที่จะเกิดขึ้นสืบต่อจากปัจจุบัน, ผลสืบต่อจากการกระทำของตน) 2.2) รู้ความต้องการ สิ่งที่ทำอยู่นี้มีจุดประสงค์ที่มุ่งหมายอะไร ต้องการได้รับผลตอบสนองกลับอย่างไร หรือ ผลที่ปรากฏอยู่นี้หมายความว่าอย่างไร สื่อความหมายว่าอย่างไร, มีจุดประสงค์อะไร, บ่งบอกถึงความมุ่งหมายต้องการในสิ่งใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้ความต้องการของใจตนเอง และ การสื่อสารเพื่อรู้ความต้องการของผู้อื่น หรือ สิ่งอื่น) 2.3) รู้สรุปแนวทาง ผลลัพธ์ที่ต้องการจากสิ่งที่ทำนี้ ต้องใช้หลักวิธีการปฏิบัติข้อใด (ใช้วิเคราะห์เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำในขณะนั้นๆ) • เมื่อรู้ทั้งเหตุและผล ก็เป็นการปฏิบัติให้เข้าถึง พุทโธอริยะสัจ ๔ 3. รู้ตน คือ ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณาเพื่อรู้สิ่งที่ตนมีตนเป็นอยู่ ทั้งร่างกาย, จิตใจ, ทรัพย์สิน สิ่งของ, อุปนิสัย, วินัย, ความรู้, ความเข้าใจ, ทักษะความสามารถตน ลงธรรม ๖ คือ ลง สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ตลอดจนรู้ความต้องการของใจตน รู้จักตอบโจทย์แก้ไขปัญหาของตน รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ เพื่อความเหมาะสมดีงาม และ รู้มหาสติปัฏฐาน ๔ ได้แก่ รู้กาย, รู้เวทนา, รู้จิต, รู้ธรรม แล้วเจริญโพชฌงค์ตามกาล ๑๔ ให้มากเพื่อลด ละ ขจัด ในสิ่งที่ควรละหรือสิ่งที่ให้โทษแก่ตน 4. รู้ประมาณ คือ รู้ประเมิณความเหมาะสมตามกาล (Skill ประเมิน) ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้พุทโธอริยะสัจ ๔ มาพิจารณารู้โจทย์ความต้องการของสิ่งที่เราประเมิน เพื่อรู้ว่าสิ่งใดที่ควรทำ-สิ่งใดที้ไม่ควรทำ..ตอบโจทย์ความต้องการนั้นๆ ให้เหมาะสมดำเนินไปได้ด้วยดี รู้ว่าสิ่งใดขาด-ควรเพิ่ม, รู้ว่าสิ่งใดเกิน-ควรลดละ, รู้ว่าสิ่งใดพอดี-ควรคงไว้ ทั้งต่อตนเอง, ต่อช่วงระยะเวลา, ต่อสถานการณ์, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อบุคคล 5. รู้กาล คือ รู้ว่าเวลาใดเราควรทำสิ่งใดจึงจะประกอบด้วยประโยชน์ ไม่มีโทษ อาศัยการรู้มารยาทความเหมาะสม รู้ทำเนียมปฏิบัติ รู้สิ่งที่ควรทำในปัจจุบัน รู้สิ่งที่ควรทำทีหลัง รู้สิ่งที่ควรละ รู้สิ่งที่ควรรอ ในสถานการณ์นั้นๆ ต่อตนเอง, ต่อสถานที่, ต่อสังคม, ต่อกลุ่มคน, ต่อบุคคล อาศัยใช้ร่วมกันกับการประเมิณสถานการณ์ ท่าที การแสดงออก, ผลกระทบ, รู้ความต้องการของสถานการณ์, คุณประโยชน์สุข และ ทุกข์ โทษ ภัย 6. รู้ชุมชน คือ รู้สังคม รู้วิถีชีวิตการประพฤติปฏิบัติของสังคมชุมชนนั้นๆ, ขนบธรรมเนียมประเพณีของชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้สถานการณ์ในชุมชนสังคมนั้นๆ, รู้ความต้องการของชุมชนสังคมนั้นๆ คือ รู้โจทย์ปัญหาและวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้นๆ เพื่อการวางตัวเหมาะสม และรู้วิธีเข้าหาสังคมชุมชน หรือ ชนชั้นนั้นๆ - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา 7. รู้บุคคล คือ รู้ว่าคนๆนี้มีอุปนิสัยใจคอเช่นไร, มีความต้องการของใจอย่างไร, จะตอบสนองโจทย์ปัญหาของใจเขาอย่างไร, ควรจะเข้าหาด้วยวิธีการใด - ใช้ความรู้เหตุ รู้ผล รู้ประมาณ, รู้กาล ด้วยพุทโธอริยะสัจ ๔ พิจารณา ***************************** ชิว : การที่ภูฝึกทุกวันก็เป็นเหตุของ..หลักแห่งมหาบุรุษนี้ คือ พุทโธอริยะสัจ ๔ ก็คือ การรู้เหตุ + รู้ผล และ ในส่วนการฝึกรู้ตนหมวดกาย (สร้างสติสัมปะชัญญะ) + พุทโธวิมุตติสุข (รู้เวทนา) + พุทธโธอริยะสัจ ๔ (รู้จิตตสังขาร) ก็คือการรู้ตนนั่นเอง ซึ่งเมื่อฝึกคล่องแล้วจะส่งผลต่อ..การรู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม รู้บคคล ภู : ว้าว..ชื่อเท่มากๆเลย ภูจะเป็นมหาบุรุษแล้ว ชิว : ใช่..สิ่งที่ชิวบอกภูไม่ใช่แค่บำบัดจิตซึมเศร้า แต่เป็นการเข้าถึงการใช้ชีวิตอย่างมหาบุรุษเลยนะ ทีนีมาต่อเรื่องการใช้สกิลประเมิน ก็คือการรู้ประมาณ ในหลักแห่งมหาบุรุษข้อที่ 4 นั่นเอง การรู้ประมาณตน คือ การรู้ความเหมาะสมพอดีของตน ก็เป็นการ “วินิจฉัยไตร่ตรองวัดค่าปริมาณความเหมาะสมพอดีของตนเอง” ที่เรียกว่า “การประเมิน” นั่นเอง ..อุปมา..เปรียบเหมือนลูกโป่งสามารถบรรจุก๊าซหรืออากาศได้มากเท่าไหร่ หากไม่รู้ประมาณความจุของลูกโป่ง แล้วเราอัดก๊าซเข้าไปเยอะๆต้องการให้ได้ลูกโป่งใบใหญ่ๆ มันก็แตกและใช้การไม่ได้..ฉันใด ..อุปไมย..เปรียบลูกโป่งเป็นตัวเรา เปรียบก๊าซที่อัดบรรจุเข้าในลูกโป่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้ ต้องจ่าย ต้องทำ..ฉันนั้น ดังนั้น..เราจึงต้องประเมินตนเองในสถานการณ์ต่างๆ สิ่งที่เราต้องใช้ ต้องทำ ต้องพึ่งพา เช่น เงิน เวลา สิ่งของ เป็นต้น รวมไปถึงศักยภาพทักษะความสามารถของตนเอง ที่จะต้องใช้ในสถานการณ์นั้นๆ (SKILL) เพื่อรู้การประมาณตนที่พอดี พอเหมาะ พอควร และพอเพียงเพื่อดำเนินสิ่งที่ต้องทำต่อไปได้ด้วยดี ..ชิวจึงเรียกการรู้ประมาณตนนี้ว่า SKILL ประเมิน ภู : งับป๋ม (。◕‿◕。)➜ ชิว : ยกตัวอย่าง เมื่อเช้า หลังฝึกรู้ตนหมวดกาย ฝึกพุทโธวิมุตติรู้สุขที่ตน ฝึกพุทโธอริยะสัจ ๔ รู้จิตตนเสร็จแล้ว ภูนั่งเล่นเกมต่อทันที ปล่อยจนตัวเองหิวจัด แล้วหุนหันพลันแล่นออกไปซื้อข้าว..แต่ถ้าภูรู้ประมาณตน ก็จะไม่วุ่นวายอย่างวันนี้ไง ภู : อ่าาาา (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ถ้าภูฝึกบำบัดจิตเสร็จ ภูดูเวลาก็ควรจะรู้ว่าต่อไปตัวเองต้องกินข้าว ปกติกินเวลาไหน แล้วจัดเตรียมเงินเผื่อจำเป็นต้องใช้เอาไว้ และควรออกไปซื้อข้าวไว้ก่อน เพราะคนทุกคนต้องกินข้าวเพื่อหล่อเลี้ยงสารอาการให้ร่างดาย และอีกอย่างก็ใกล้เวลาต้องทานข้าวทานยาแล้ว ส่วนเกมนี้เล่นตอนไหนก็ได้ แต่ภูใช้ความอยากเล่นเกมเป็นใหญ่ไงเลยว้าวุ่นเลย คริๆๆ นี่เรียกว่า..ภูไม่รู้ประมาณตน ภู : อ่าาาา แล้วมันประมาณตนเองยังไงอะ (。ŏ﹏ŏ) ชิว : ก็ภูไม่รู้ประมาณตนเองว่า ร่างกายภูเป็นอย่างไร ภูต้องทานข้าวทานยาเวลาไหน ไม่รู้ความจำเป็นที่จะต้องใช้เวลาให้คุ้มค่าของตน แถมไม่ประมาณตนเองว่ามีเงินแค่ไหนยังจะไปซื้อขนมต่ออีก 5555 ภู : อ่าาาา ชิวอะ (。ŏ﹏ŏ) อายมากเลย ชิว : ดังนั้นจากนี้ไป ภูต้องเรียนรู้และเปิดใช้งาน SKILL ประเมิน สกิลนี้จะมีในตัวเราทุกคน อยู่ที่เราสามารถดึงมาใช้ได้มากน้อยเพียงไร ส่วนจะเกิดประโยชน์ได้มากน้อยแค่ไหนนั้น..ก็อยู่ที่ว่าภูรู้สถานการณ์ปัจจุบันแค่ไหน ประเมิณถูกจุดไหม รู้ชัดเหตุหรือไม่ รู้แจ้งผลเพียงใด รู้ลำดับความสำคัญดีแค่ไหน และใช้ถูกเวลามากน้อยเพียงใด แต่หากภูฝึกฝนใช้จนชำนาญแล้ว ก็จะสามารถใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ SKILL ประเมิน มีหลายระดับ คือ LV.1 ใช้ประเมินตนเอง, LV.2 ใช้ประเมินสถานการณ์ในปัจจุบัน, LV.3 ใช้ประเมินสังคมกลุ่มคนระดับฐานะความเป็นอยู่ต่างๆ, LV.4 ใช้ประเมินบุคคล, LV.5 ใช้วางแผน • แต่หลักการใช้จะคล้ายๆกัน เพราะหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นครบพร้อมดีแล้ว อยู่ที่เรานำมาประยุกต์ใช้ คือ.. • ใช้หลัก รู้เหตุ, รู้ผล, รู้วิถีชีวิต, รู้ความต้องการของใจ และ รู้กาล มาประเมินสิ่งต่างๆ • เพราะเราเป็นเพียงปุถุชนคนธรรมดา จึงสามารถเข้าถึงได้แบบคนธรรมดาทั่วไป ที่มีตามกำลังของสติปัญญาที่จะเข้าถึงได้ จึงต้องรู้ว่าธรรมนี้เราประยุกต์นำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพื่อสะสมปัญญา เป็นหลักการที่น้อมนำเอาพระสัทธรรมมาประยุกต์ใช้สะสมเหตุ แต่ก็จะได้รับประโยชน์อย่างแน่นอนจากหลักปฏิบัตินี้ไม่มากก็น้อย แต่ไม่มีทางที่จะไม่ได้เลย ขึ้นอยู่กับความสามารถของแต่ละคน ภู : อ่าาาา งับ (。ŏ﹏ŏ) ชิว : งั้นมาเรียนรู้การฝึก “SKILL ประเมิน Level 1 ประเมินตนเอง” กันเลย SKILL ประเมินตนเอง ก็คือ การรู้ความต้องการ เอามาเปรียบเทียบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น นั่นเอง คือ รู้กิจของตน, รู้เหตุ, รู้ผล, รู้ตนเอง, รู้สิ่งที่ตนเองมีอยู่เป็นอยู่, รู้สิ่งที่ตนเองขาด ที่ควรทำให้เกิดมีขึ้น ที่จำเป็นจะต้องมี, สิ่งที่ไม่่ควรมีอยู่ที่ควรกำจัดออกไป, สิ่งที่ควรคงรักษาไว้, ลำดับความสำคัญ เมื่อภูเปิดใช้สกิลประเมิน ภูจะต้องพิจารณาไตร่ตรองดังนี้.. 1. รู้กิจของตนในปัจจุบัน คือ รู้หน้าที่และระเบียบวินัยข้อปฏิบัติของตน พิจารณาจากสิ่งที่ทำ.. • รู้หน้าที่ • รู้งาน • รู้วิธี (การรู้หน้าที่และมีระเบียบวินัยในตนเอง เป็นการทำเหตุสะสมความเพียร..ที่จะส่งผลให้เราตัดความขี้เกียจ เกียจคร้าน เบื่อหน่าย ออกไปจากใจเราได้ ให้สามารถทำตามกิจหน้าที่ของตนได้เป็นผลสำเร็จ ดังนั้นข้อนี้ก็เป็นหนึ่งใน “เหตุ” แต่จับแยกออกมาให้ภูรู้ความสำคัญและจดจำง่ายเท่านั้นเอง) • โดยให้ทำความรู้ตัวทั่วพร้อมแล้วทบทวนสิ่งที่ต้องทำในปัจจุบันขณะนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..วันนี้ภูมีกิจการงานสิ่งใดที่จะต้องทำบ้าง แล้วในปัจจุบันเวลานี้กิจการงานที่จะต้องทำคืออะไร มีสิ่งใดบ้าง เช่น ภูรู้ปัจจุบันว่ามีกิจการงานสิ่งใดที่ภูจะต้องทำในขณะนี้บ้าง ภูอบรมจิตเสร็จ 08:15 น. ในเวลานั้นมีกิจการงานใดที่ภูต้องทำบ้าง เมื่อทบทวนพิจารณาก็จะรู้ว่า ต้องกินข้าวกินยาให้ตรงเวลา ซื้อข้าว ฝึกทบทวนบทเรียน จดงาน ทำการบ้าน ทำแบบฝึกหัด ล้างจาน กวาดบ้าน ถูบ้าน เป็นต้น ภูก็จะรู้ทันทีว่าตนต้องทำอะไรในวันนี้บ้าง สิ่งที่จำเป็นต้องทำใตเวลานี้ คือ ไปซื้อข้าว เพราะต้องกินให้ตรงเวลา 2. รู้เหตุปัจจัยของสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่ปรากฏขึ้นมาอยู่ในปัจจุบัน หรือ สิ่งที่ทำอยู่ ว่า..ผลนี้เกิดแต่เหตุใด.. • เพื่อรู้สาเหตุและองค์ประกอบเหตุที่ทำให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นมาได้ • เพื่อรู้หลักการแนวทาง และ วิธีการจัดการที่จะให้ผลนั้น (เหตุ = หลักการ, แนวทาง และ วิธีทำ / ปัจจัย คือ องค์ประกอบเหตุ ให้เกิดผล) • โดยมองดูสิ่งที่ภูกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูจะทำสิ่งนั้นได้จะต้องมีสิ่งใด ต้องใช้หลักการใด มีอะไรเป็นเหตุ มีอะไรเป็นองค์ประกอบ ต้องใช้ความรู้หลักการและสิ่งใดทำบ้าง มีวิธีการทำอย่างไร..เพื่อรู้หลักวิธีการที่จะนำมาปฏิบัติในสิ่งนั้น เช่น.. ภูต้องกินข้าวจะไปซื้อข้าว(สิ่งที่ต้องการรู้เหตุ) ภูต้องรู้สิ่งใดและใช้สิ่งใดบ้าง หลักการที่ต้องใช้ก็คือ.. 1. รู้ว่าตนเองต้องการอะไร..กินข้าวมันไก่ (ผลลัพธ์ที่ต้องการ) 2. รู้วิธีการที่ใช้ตอบโจทย์ความต้องการนั้นว่า..ภูต้องใช้เหตุวิธีการใดและสิ่งใด องค์ประกอบใดจึงจะใช้ซื้อข้าวมันไก่ได้ คือ.. 2.1) รู้ราคา ข้าวมันไก่ราคาเท่าไหร่ ธรรมดากี่บาท พิเศษกี่บาท (องค์ประกอบเหตุสิ่งที่ต้องรู้) 2.2) รู้ว่าตนมีเงินเท่าไหร่ เพียงพอซื้อข้าวมันไก่ไหม หรือ เพียงพอซื้อได้ในราคาพิเศษ หรือ ธรรมดา มีเงินเพียงพอจะซื้อได้แค่ไหน แล้วก็เตรียมเงิน (องค์ประกอบสิ่งที่ต้องใช้) 2.3) รู้สถานที่ตั้งร้าน รู้เวลาร้านเปิดกี่โมง • นี่เป็นกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบของหลักการรู้เหตุปัจจัยในสิ่งที่ทำ เปรียบเหมือนภูจะคูณเลขได้ ภูก็ต้องรู้หลักการคูณ ดังนั้นหลักการที่ภูต้องการ ก็คือ รู้แม่สูตรคูณนั่นเอง เปรียบเหมือนครูสั่งภูทำรายงานโครงงานใดๆ(รายงานคือผลสำเร็จที่ต้องการ)..ภูก็ต้องรู้หลักการเขียนรายงาน รู้วิธีทำรายงาน ว่า รายงาน 1 เล่ม ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง มีลำดับและวิธีเขียนอย่างไรบ้าง ๑.) คำนำ, ๒.) มีสารบัญ, ๓.) เนื้อหา + รูปหรือแผนภูมิประกอบเนื้อหา, ๔.) บทสรุป..เป็นต้น เปรียบเหมือนเมื่อภูจะทำรายงาน..ภูก็ต้องรู้ว่าต้องใช้สิ่งใดบ้าง คำนำเขียนเองจาก “จุดประสงค์ของเนื้อหา” ที่ทำเป็นสิ่งแรกในรายงานที่สามารถเขียนได้ทันที (ดังนั้นจึงเป็นส่วนแระกอบรอง), สารบัญตั้งเองตามลำดับหน้าของเนื้อหา ดังนั้นสารบัญแม้อยู่ก่อนเนื้อหาแต่ต้องทำหลังเนื้อหาเพราะต้องใช้เลขหน้ากำกับ (ดังนั้นจึงเป็นส่วนประกอบรอง), บทสรุปก็มาจากเนื้อหาที่เขียนทั้งหมดแล้วสรุปเนื้อหา (ดังนั้นจึงเป็นส่วนประกอบรอง) เอาไว้เขียนภายหลัง ดังนั้น “เนื้อหาของโครงงาน” ที่จะเขียนลงรายงานนั้นเป็นส่วนหลักที่จะต้องมี ส่วนประกอบต่อมาที่ต้องใช้ก็คือ ปกรายงาน สมุดกระดาษรายงาน ปากกา ไม้บรรทัด แม๊คเย็บดระดาษ เทปติดรวบเล่ม 3. รู้ผลสืบต่อจากสิ่งที่ทำ พิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น ผลที่ปรากฏขึ้นมาอยู่ในปัจจุบัน หรือ สิ่งที่ทำอยู่..ว่า..เหตุนี้มีอะไรเป็นผล.. • เพื่อรู้ผลกระทบสืบต่อ • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่ตนทำ (รู้ความต้องการของใจตนเอง) • เพื่อรู้จุดมุ่งหมายที่คนอื่นทำ (รู้ความต้องการของใจที่ผู้อื่นที่สื่อสารกับเรา) • เพื่อรู้สิ่งที่ตนต้องทำ • โดยมองดูสิ่งที่ภูกำลังจะทำในปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำสิ่งนี้มีจุดประสงค์อะไร มีความมุ่งหมายต้องการสิ่งใด สิ่งที่ภูทำนี้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์เช่นไร หากต้องการผลลัพธ์แบบไหนจะต้องทำยังไง คือ รู้วิธีทำให้สำเร็จได้ตามเป้าหมายหรือความทุ่งหมายที่ต้องการนั้น ยกตัวอย่างเช่น ประการที่ 1 ที่ภูต้องไปซื้อข้าว เพื่อจะได้กินข้าวอิ่มท้องและกินยาให้ตรงเวลา ไม่เป็นโรคกระเพาะ..สิ่งนี้คือรู้ความมุ่งหมาย คือ ความต้องการของใจที่ทำ ประการที่ 2 ภูมีเงิน 70 บาท ไปซื้อข้าวสั่งพิเศษราคา 60 บาท ผลคือจะเหลือเงินเพียง 10 บาท แต่หากกินข้าว 50 บาท จะเหลือเงิน 20 บาท ซื้อขนมได้ ภูก็จะรู้ผลลัพธ์จากการกระทำได้ว่า ประหยัดจุดนี้ก็จะมีกินมีใช้จุดในจุดนั้น ภูต้องการให้มีเงินใช้ในส่วนไหนมาก..ภูก็ต้องประหยัดเงินในอีกส่วนนั้น นี่คือ ผลลัพธ์จากการกระทำ รู้ว่าทำอย่างไรให้ผลอย่างไร ประการที่ 3 ภูเจอโจทย์คำถามว่า 5 เท่า ของ 15 เป็นเท่าไหร่ แล้วรู้ทันทีว่านี่คือ โจทย์การคำนวณวิชาคณิตศาสตร์ เป็นหลักการคูณ เขาต้องการรู้ผลคำตอบด้วยหลักการคูณเลข ภูสามารถใช้กลักการคูณแก้ไขได้ทันที 5 × 15 = 75 เป็นต้น นี่ก็คือรู้ผล คือ รู้ความต้องการของผล รู้ว่าผลลัพธ์เนื้อหานี้ๆมาจากหลักการใด รู้ว่าผลลัพธ์ข้อนี้ต้องใช้วิธีการใดทำเพื่อตอบโจทย์ปัญหานี้ ประการที่ 4 ภูเคยเรียนรู้วิธีการซ่อมไฟภายในบ้าน หรือ เคยเห็นช่างมาซ่อมหลอดไฟที่บ้านและการเหตุเสียต่างๆมา เมื่อภูเห็นหลอดไฟที่บ้านกระพริบ แสงไฟอ่อนเหลือง หรือ ไม่สว่าง ขอบตรงขั้วหลอดไฟมีสีดำ ภูเห็นแล้วรู้ทันทีว่า..หลอดไฟเสีย ต้องซื้อหลอดไฟมาเปลี่ยนใหม่ นี่ก็ชื่อว่ารู้ผล คือ รู้สิ่งที่เกิดขึ้น รู้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะต้องแก้ไขอย่างไร สิ่งที่ต้องการจากปัญหานี้คืออะไร เช่น หลอดไฟ ไขควง คีม เทปพันสายไฟ เราต้องทำสิ่งใด ใช้วิธีการใดแก้ไข เป็นการใช้ประสบการณ์ที่เคยเรียนรู้ เคยเห็น เคยทำมาก่อน นี่ภูใช้สแตนด์ Gold Experience Requiem ของ โจรูโน่ โจบาน่า เลยนะนี่ (。•̀ᴗ-)✧ คริๆ ถ้าภูรู้กิจ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน แล้วเปิดใช้สกิลประเมินได้ รู้กาล รู้สังคม รู้บุคคล ก็จะไม่มีใครสามารถโจมตีภูได้ เพราะการโจมตีนั้นจะไม่มีวันไปถึงความจริงได้เลย [ภูร้องว้าวเลย (☆▽☆) เพราะชอบการ์ตูนเรื่อง JoJo ล่าข้ามศตวรรษ] 4. รู้ตนเอง คือ รู้สภาพร่างกายและจิตใจตนเอง รู้อััตภาพชีวิตของตน รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ ความรู้และทักษะความสามารถของตนเองที่มีอยู่ (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนมีอยู่) รู้สิ่งที่ตนขาด ส่วนที่ขาด สิ่งของที่ขาด ที่ต้องทำให้มี ต้องเพิ่ม ที่ต้องหาหรือสร้างทดแทน ความรู้ความสามารถที่ตนขาดไป (สัทธา, ศีล, สุตะ, จาคะ, ปัญญา, ปฏิภาณ ที่ตนขาดไป) • โดยมองดูสิ่งที่ภูต้องทำ หรือ เผชิญหน้าในสถานการณ์ปัจจุบันนั้น แล้ววินิจฉัยไตร่ตรองว่า..ภูทำอะไรในตอนนี้ได้บ้าง..เพื่อรู้สิ่งที่ภูมีอยู่ สิ่งที่ภูขาดไป และ สิ่งที่ภูสามารถทำได้ในทันที 4.1) รู้สภาพร่างกายและจิตใจของตน คือ รู้สุขภาพร่างกายของตนในปัจจุบัน ว่า..แข็งแรง หรือ ป่วยไข้ / รู้สภาพจิตใจของตนในปัจจุบัน ว่า..สภาพจิตใจปกติ แจ่มใส หรือ หน่วงตรึงจิตให้เศร้าหมอง คือ คิด อคติ ๔ ได้แก่ มีสภาพจิตใจที่เอนเอียงเป็นไปใน.. 4.1.1) รัก (ยินดี, อยาก, ใคร่, โหยหา, หมายใจใคร่เสพ, เสน่หา) 4.1.2) ชัง (ยินร้าย, หดหู่, ซึมเศร้า, โกรธ, เกลียด, ผลักไส, แค้น, คิดร้าย, อาฆาต, พยาบาท) 4.1.3) หลง (ใช้อารมณ์ความรู้สึก ไม่ใช้ปัญญา, ลุ่มหลง, งมงาย, โลเล, ไม่รู้จริง หรือ ใช้ปัญญาแสวงหาประโยชน์โดยไม่รู้ถูก-ผิด..แล้วทำตามที่ใจใคร่อยากหรือเกลียดชัง) 4.1.4) กลัว (ขลาดกลัว, หวาดกลัว, หวาดระแวง, พะวง, สะเทือนใจ, หวั่นใจ, ใจสั่น, ไม่สงบ) 4.2) รู้สิ่งที่ตนมีอยู่ คือ รู้ว่าตนมีสิ่งที่จะใช้ทำในกิจการงานนั้นๆอยู่หรือไม่ มีมากน้อยเท่าไหร่ เพียงพอจะทำสิ่งนั้นหรือไม่ รู้อัตภาพความเป็นอยู่ของตน เพื่อรู้ว่าสิ่งที่ตนเองมีอยู่นั้นเพียงพอให้ใช้งานหรือไม่ หรือ สามารถใช้จ่ายได้มากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็น เงิน สิ่งของ อุปกรณ์ต่างๆ ฯลฯ ตลอดไปจึงถึงทักษะความรู้ความสามารถของตน 4.3) ศรัทธา หรือ สัทธา คือ การใช้ปัญญาไม่ใช้ความรู้สึก รู้ชัดว่า..ทุกการกระทำมีผลสืบต่อทั้งหมด พิจารณาใช้ความรู้เหตุและรู้ผลก่อนทำ เพื่อก่อประโยชน์สุขไม่มีทุกข์ โทษ ภัย ต่อตนเองให้ได้มากที่สุด และ แผ่ไปถึงผู้อื่นด้วย..ภูมีข้อนี้หรือไม่ เพราะเห็นยังเล่นเกมจนลืมกินข้าว หยุดยาวจนไม่สนการบ้าน ( ภูทำหน้ามุ่ย (;ŏ﹏ŏ) ) 4.4) ศีล คือ การสำรวมระวังการกระทำที่ให้โทษ ส่งผลให้เย็นใจเป็นสุข เป็นกฎระเบียบ วินัย หน้าที่ ข้อปฏิบัติ จึงต้องมีความรับผิดชอบในตนเอง ที่เรียกว่า มีวินัยในตนเอง เพื่อทำให้กิจหน้าที่การงานของตนดำเนินไปได้ด้วยดีจนสำเร็จ เป็นการสร้างปลูกฝังความเพียร ตัดทิ้งความขี้เกียจ ท้อแท้เบื่อหน่ายออกจากใจ 4.5) สุตะ คือ การศึกษาใฝ่หาความรู้ เรามีความรู้มากน้อย รู้ว่าน้อยก็ต้องศึกษาเพิ่ม ขาดความรู้กลักการใด ไม่เข้าใจก็ต้องศึกษาค้นคว้าวินิจฉันเพิ่ม เมื่อรู้แล้วก็ต้องทำความเข้าใจให้แจ้งชัด รู้เหตุ รู้ผล 4.6) จาคะ คือ อุปนิสัยดี แจ่มใส ขจัด Toxic ออกจากใจตลอดเวลา เพราะเมื่อไม่มี Toxic ก็จะทำให้วินิจฉัยสิ่งต่างๆได้โดยแราศจากความอคติลำเอียงในใจเพราะ รัก ชัง หลง กลัว ทำให้สมองโล่งไม่มีความอยากลากดึงปิดกั้นใจจากความจริง ก่อให้เกิดปัญญาเข้าใจชัด 4.7) ปัญญา คือ ความเข้าใจแจ้งเห็นชัดตามจริง ในสิ่งที่ทำ หรือ ในสิ่งที่กำลังศึกษาเรียนรู้อยู่นั้น ไม่เข้าใจก็ต้องค้นคว้าทำความเข้าใจ คนเราแต่ละคนมีความรู้ความเข้าใจที่ต่างกัน ถนัดต่างกัน ลงใจต่างกัน เราจึงต้องศึกษาค้นคว้าทำความเข้าใจในแบบของเรา จึงจะเกิดผลประโยชน์สูงสุด และทำให้รู้ได้แจ้งชัดถูกต้องตามจริง 4.8) ปฏิภาณ คือ ทักษะความสามารถ (Skill) ความคล่องแคล่วว่องไว มีไหวพริบในการพูดหรือทำตอบโต้สนองกลับสถานการณ์หรือผู้อื่น อันเป็นผลมาจากการมีความรู้แจ้งแทงตลอดในสิ่งที่ทำที่เรียนรู้ คือ 4.8.1) รู้ว่าผลนี้เกิดแต่เหตุใด ทักษะความเข้าใจในหัวข้อหลักการ วิธีการ วิธีทำ จำแนกประเภทได้ ลำดับขั้นตอนได้ สรุปโดยย่อได้ใจความ 4.8.2) รู้ว่าเหตุนี้มีอะไรเป็นผล ทักษะความเข้าใจในการรู้ความหมายวัตถุประสงค์ที่ทำ อธิบายขยายความได้ถูกต้องตามจริง 4.8.3) รู้หลักภาษาที่ใช้ ทักษะความเข้าใจในการใช้ภาษาสื |
9
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน พุทโธอริยะสัจ ๔
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:21:06 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
..หลังจากภูปิดคอมฯ เก็บของเสร็จ 16:43 น. ภูก็คิดจะออกไปสนามฟุตบอล แต่ใจก็เกิดกลัว ระแวงว่าตนเองจะเจอเหยียดหยามอีกไหมนะ จะมีใครเปิดใจเล่นด้วยไหมนะ จึงนั่งตรึงเครียดอยู่หน้าบ้าน..แต่ชิวก็แอบมองตามดูอยู่ แล้วผลจากการฝึกสติของภู ก็ทำให้ภูนึกถึงสิ่งที่ชิวสอนขึ้นได้ว่า เวลาตรึงเครียดว้าวุ่นใจ..ให้ทำ “พุทโธวิมุตติสุข” แก้ความตรึงเครียดในใจนั้น โดยเอาความสุขมาตั้งไว้ที่กายใจตัวเอง..
..แล้วภูก็ทำภาวนาพุทโธ หายใจเข้าช้าๆ “พุท” รู้ลมเคลื่อนจากปลายจมูก ใจน้อมเอาความแช่มชื่น ซายซ่าน เย็นใจพัดผ่านโพลงจมูก เข้ามาปะทะที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงกะโหลกสมองไม่ยึดอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดอันใด ทำใจรับรู้แค่ความแช่มชื่น โล่งใจ ซ่านเบา สบาย เป็นสุขอยู่ที่โพรงสมองจนสุดลมหายใจเข้า ..แล้วหายใจออกช้าๆ “โธ” รู้ลมเคลื่อนออกจากโพรงกะโหลก ลมพัดเอาความปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เย็นใจมาที่เบื้องหน้า เคลื่อนไปที่โพรงจมูก จับรู้ความผ่อนคลายเย็นใจที่ปลายจมูกจนสุดลมหายใจออก..เมื่อทำไปได้ 10 นาที ก็เบาโล่งใจ สดชื่น ยิ้มร่าเริง ..ก็ทำให้ภ็เกิดความรู้เห็นและเข้าใจว่า..ความสุขนี้มันอยู่ที่กายใจเราทำ ไม่ใช่มีได้เพราะผู้อื่น เมื่อรู้เห็นเข้าใจดั้งนั้น ภูจึงคิดว่า..ตนเองพร้อมรับมือทุกสถานการณ์แล้ว จึงออกไปที่สนามฟุตบอลในหมู่บ้าน.. ..เมื่อมาถึงสนามฟุตบอล เพื่อนๆเห็นก็ทัักตามปกติ แต่ก็็ต่างถามภูว่า..สุขภาพจิตใจดีหรือยัง ถ้ายังไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งมาร่วมทีมเล่นเตะบอลชิงเงินเดิมพัน..ภูก็ยิ้มร่าไม่เป็น แต่ยืมบอลเตะเล่นออกกำลังกายหน่อยดท่านั้นพอ..เพื่อนก็โยนบอลให้ภู..ภูก็พููดขอบใจ แล้วก็เลี้ยงบอลเตะเล่นโต้กับกำแพงเล่นตนเดียว ด้วยเพราะภูทำพุทโธวิมุตติ ใจคลายจากวิตกกังวลพร้อมเผชิญหน้าสู้กับสิ่งที่จะพบเจอไม่ว่าดีหรือร้าย ทำให้ใจไม่ผูกพะวงคาดหวังกับใคร ก็เลยไม่มีเรื่องให้ทุกข์ จึงสามารถเล่นปกติทั่วไปได้แม้จะเตะบอลคนเดียว.. ..พอเพื่อนๆเตะบอลเดิมพันกันเสร็จตอน 17:40 ก็ชวนภูมาเตะเล่นฝึกซ้อมสนุกสนานทั่วไป แต่ก็มีที่หลุดด่ากันบ้าง แต่ภูก็ไม่ได้ใส่ใจให้ความสำคัญกับคำพูดเพื่อนๆ จึงยิ้มหัวเราะรับ แล้วเตะบอลกับเพื่อนต่อจนถึงเวลา 18:00 น. ภูก็บอกเพื่อนกลับบ้าน.. ..เพื่อนๆที่เห็นภูวันนี้ก็รู้สึกว่าภูแจ่มใสไม่คิดเล็กคิดน้อย ต่างก็พูดว่า ภูวันนี้เอ็งสุดยอดเลยว่ะ ไม่คิดเล็กคิดน้อยฆ่าตัวตายอีก..ภูก็ตอบไปว่า..ไม่รู้สินะ เพราะเห็นว่าการด่ากันมันก็เรื่องปกติมั้ง..พอไม่คาดหวังว่าใครจะพูดดีด้วย หรือ ต้องมาเล่นด้วย เห็นว่ามันเป็นรื่องปกติ ใครๆก็อยากจะชนะกันทั้งนั้นแหละ ก็เลยไม่ใส่ใจเรื่องคำพูด จึงไม่มีอะไรมาผูกกระทบสะเทือนใจ..แล้วเพื่อนก็ต่างพูดว่า..แกสุดยอดว่ะภู..ภูก็หัวเราะแล้วก็เดินกลับบ้าน.. ..พอกลับมาถึงบ้าน ปะป๊าก็กลับมาพอดีซื้อกับข้าวมาพร้อม บอกให้ภูเตรียมถ้วยจานมากินข้าว.. ..เวลา 19:10 น. ภูทานข้าว ล้างจาน อาบน้ำเสร็จ ขึ้นนั่งเล่นบนห้อง ชิวก็บินออกมาหาภู..พอชิวเห็นว่าวันนี้ภูอารมณ์ดี จิตใจภูแจ่มใสร่าเริง เหมาะสมกับการเรียนรู้ จึงเริ่มจากการสอบถามเรื่องราววันนี้ที่ไปเตะบอลว่าเป็นยังไงบ้าง.. ชิว : วันนี้เตะบอลกับเพื่อนสนุกมั้ย ภู : ก็ดีนะ..สนุกดี สบายๆ ชิว : เยี่ยมเลย..สังเกตุุมั้ยว่าทำไมวันนี้ภูไม่เคร่งเครียด ภู : ตอนก่อนออกจากบ้านก็เครียดนะ เลยทำพุทโธวิมุตติแบบชิวบอก ก็รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย ก็เลยคิดว่า..เราแค่ไปเตะบอล ใครจะเล่นด้วยไม่เล่นด้วยก็ช่างมัน เราแค่ไปออกกำลังกาย หากมีคนว่าก็ช่างมัน เราไม่อย่าสนใจมัน มันก็เลยคิดว่าต้องเจออยู่แล้วตามปกติ ถ้ารู้สึกไม่ดีก็แค่กลับบ้าน มันก็เลยไม่ได้สนใจอะไรมาก ชิว : เยี่ยมเลยดีมากๆ..แล้วภูสังเกตุุมั้ยกับตอนแรกที่เกิดปัญหาวิ่งให้รถชน ตอนนั้นภูคิดยังไง ภู : เหมือนว่าตอนนั้นภูอยากให้ทุกคนเล่นด้วย อยากให้ทุกคนดีด้วย แต่กลับมีแต่คำพูดและการกระทำแย่ๆมา ไม่มีใครยอมรับภู ทำให้ภูรู้สึกโดดเดี่ยว ภูก็เลยเสียใจ ชิว : ถูกแล้ว นี่ภูเก่งมากๆเลยนะ ภู : โย่ว ( ╹▽╹ ) ชิว : ภูอยากจะแก้ได้ทุกสถานการณ์ไหม ภู : ก็อยากนะ..ต้องทำไงเหรอ ชิว : ภูก็ต้องมารู้คุณสมบัติของพระพุทธเจ้า ว่าด้วย พุทโธ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน เพื่อเข้ารู้ตนในหมวดจิตก่อน ภู : ทำไงอะชิว ( . ❛ ᴗ ❛. )っ ยากมั้ยอะ ![]() ชิว : พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔ ก็คือ.. พุทโธ กับ อริยะสัจ ๔ ผู้รู้ คือ รู้ในอริยะสัจ ๔ รู้กิจของอริยะสัจ ๔ ผู้ตื่น คือ ทำกิจในอริยะสัจ ๔ ผู้เบิกบาน คือ เห็นแจ้งผลสำเร็จ ภู : ยังไงต่ออะ เหมือนสั้นแต่ทำยากมั้ยอะ (´-﹏-`;) ชิว : การรู้สัจจะ รู้อริยะสัจ ๔ คือ ทุกข์ ความไม่สบายกายใจทั้งปวง (อุปาทาน) หรือ ปัญหา สมุทัย เหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุแห่งปัญหา นิโรธ ความดับทุกข์ หรือ ความดับสิ้นปัญหา มรรค ทางดับทุกข์ (มรรค คือ การสำรวมระวังกรรม) หรือ ทางแก้ไขปัญหา ภู : งืมๆๆๆๆ (*・~・*) เหมือนในวิชาสังคม พระพุทธศาสนาเลย ชิว : การรู้กิจหน้าที่ของสัจจะที่ต้องทำ รู้กิจ(หน้าที่)ในอริยะสัจ ๔ ที่ต้องเอามาปฏิบัติ คือ.. ๑. ทุกข์ หรือ ปัญหา ควรกำหนดรู้ ๒. สมุทัย หรือ เหตุแห่งปัญหา ควรละ ๓. นิโรธ หรือ ความดับสิ้นปัญหา ควรทำให้แจ้ง (ควรทำให้เห็นปรากฏแจ้งชัด) ๔. มรรค หรือ ทางแก้ไขปัญหา ควรเจริญให้มาก (ควรทำให้เกิดมีขึ้นจนครบองค์บริบูรณ์) ภู : ต้องทำยังไงอะชิว (*・~・*) ชิว : ก็ต้องรู้หลักการเฟ้นหาสัจจะทั้ง 4 ข้อ ดังนี้ การพิจารณาหาสัจจะทั้ง ๔ ๑. การหาตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาชีวิต ..ให้กำหนดรู้พิจารณาไตร่ตรองที่..การกระทำ ว่ากระทำเช่นไร การกระทำใดคือตัวทุกข์ ๒. สมุทัยเหตุแห่งทุกข์ หรือ เหตุของปัญหาชีวิต ..ให้สืบค้นหาต้นเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ รู้ลักษณะของเหตุสิ่งจูงใจว่าเป็นเช่นไร ๓. นิโรธ ความดับพ้นทุกข์ หรือ ความดับพ้นสิ้นไปปัญหา ..ทำความดับสิ้นพ้นเหตุจูงใจกระทำ ให้ปรากฏชัดจนเห็นแจ้งว่า..เมื่อเหตุกระทำใดๆดับไปแล้ว ลักษณะอย่างใดดับไป และมีสิ่งใดปรากฏขึ้นมา สิ่งที่ปรากฏขึ้นมีลักษณะเช่นไร มีสิ่งใดเป็นองค์ประกอบ ๔. มรรค ทางดับทุกข์ หรือ ทางแก้ปัญหา ..พิจารณาองค์ประกอบในนิโรธให้แจ้ง ว่ามีองค์ประกอบเป็นเช่นไร..มีสิ่งใด-ไม่มีสิ่งใด ทางดับเหตุให้กระทำ ก็คือ องค์ประกอบอันนั้น..การวินิจฉัยไตร่ตรองเจาะลึกให้เข้าเห็นถึงกระกระทำของมรรคที่ดับสมุทัยเหตุสิ่งจูงใจให้กระทำ คือ โพชฌงค์ ซึ่ง โพชฌงค์นี้เป็น สติ สมาธิ ที่แยบคาย ในองค์มรรค เป็นการใช้เหตุอันเป็นองค์ ๘ ของจิตแห่งมรรคละเหตุแห่งทุกข์ ทำให้มรรคมีองค์ ๘ บริบูรณ์ ภู : อ่า..ยาวอะ จนเหมือนจะเข้าใจแต่ก็ไม่เข้าใจ (^~^;)ゞ ชิว : งั้นภูจำหลักอย่างนี้.. สรุปหลักการพิจารณาและใช้ อริยะสัจ ๔ 1. ทุกข์ คือ สิ่งที่เป็นทุกข์ทั้งปวง ควรกำหนดรู้ : เป็นอุปนิสัยการกระทำ (จิตสำนึกในทางไม่ดี) 2. สมุทัย คือ เหตุแห่งทุกข์ ควรละ : เป็นเหตุจูงใจให้เกิดอุปนิสัยการกระทำ [อนุนิสัยกิเลส], (จิตใต้สำนึกในทางไม่ดี) 3. นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ควรทำให้แจ้ง : เป็นความดับสิ้นอุปนิสัยการกระทำ (หลุดพ้นจิตใต้สำนึกในทางไม่ดี) 4. มรรค คือ ทางดับทุกข์(เหตุดับทุกข์) ควรทำให้มาก : เป็นทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำ (สร้างจิตสำนึกที่ดีจนเป็นจิตใต้สำนึก) (เป็นการประครองใจให้สำรวมระวังกรรม(การกระทำ) เป็นสิ่งที่ควรทำสะสมเหตุให้มากจนเกิดมีขึ้นเต็มบริบูรณ์ เพื่อให้ทางดับ(เหตุดับ)อุปนิสัยการกระทำนั้น มีกำลังมากพอที่จะใช้ดับเหตุอุปนิสัยการกระทำ [อนุสัยกิเลส]) • โพชฌงค์ คือ องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้ ควรทำการโยนิโสมนสิการให้แยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอด : เป็นสติและสมาธิในมรรคมีองค์ ๘ ที่ได้ทำการพิจารณาโดยแยบคายจนรู้แจ้งแทงตลอดแล้ว เป็นเหตุล้างเหตุอุปนิสัยกิเลสในสันดาน [อนุสัยกิเลส] โดยการใช้ทางดับ(เหตุดับ)ทุกข์ มาชำระล้าง เหตุแห่งทุกข์) ภู : งืมๆๆๆ งงๆ อยู่ ชิิว : งั้นให้ภูทำแบบนี้นะ..การกำหนดรู้ทุกข์ ให้ภูลองทำใจให้สะบายๆ แล้วนึกวิเคราะห์ดูนะว่า..ตอนภูเกิดอาการซึมเศร้า ภูเป็นยังไง มีกระทำทาง กาย วาจา ใจ อย่างไรบ้่าง ลองใช้ผลจากการฝึกสติทำสมาธิหวนระลึกดูนะ ติ๊กต็อกๆๆ ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน) แรกเริ่มเลยใช่มั้ย : พอภูเจอเรื่องอะไรกระทบใจ ภูก็จะคิดด้วยความรู้สึกว่า..สิ่งที่ภูเจอมันมีแต่เรื่องไม่ดี มีแต่สิ่งร้ายๆ ไม่มีคนสนใจ มีแต่คนทำร้ายภู ทำไมมันมีแต่เรื่องแย่ๆในชีวิต ทำไมไม่มีความสุขเหมือนตนอื่นเขา : ตอนที่ภูคิดว่าชีวิตไม่มีความสุขเลย ก็รู้สึกแย่เอามากๆ ก็รู้สึกใจมันหดหู่ยังไงไม่รู้..แล้วมันก็ไม่อยากรับรู้อะไร..พอเสร็จภูก็คิดซ้ำๆวนๆ มันก็เกิดความคิดว่าโลกนี้ไม่ต้องมีเราก็ได้ หรือ บางครั้งก็คิดว่า ตายมันไปเสียให้จบๆ จะได้ไม่ต้องเจอสิ่งพวกนี้อีก หรือ ตายชดใช้ความผิดมันไปเลย คิดซ้ำๆอยู่อย่างนั้น : ตอนที่คิดวนๆซ้ำๆ ใจมันก็คิดว่าใช่ มันเป็นอย่างนั้น ชีวิตเรามันมีแค่นั้น ก็เลยตัดสินใจฆ่าตัวตาย ชิว : ภูเห็นการกระทำที่เป็นตัวทุกข์มั้ย ภู : ฆ่าตัวตายหรอ ชิว : ก่อนที่จะฆ่าตัวตาย ภู : ย้ำคิดย้ำทำ ชิว : ถูกต้อง..แล้วก่อนย้ำคิดย้ำทำล่ะ ภู : ก็คิดว่าชีวิตภูไม่เคยได้รับสิ่งดีมีความสุขอย่างใครเขาเลย ชิว : มาถูกทางแล้ว..มีก่อนหน้านั้นอีกมั้ย ภู : ก็คิดว่ามีแต่สิ่งไม่ดีเกิดกับภู มีแต่คนทำร้าย มีแต่คนทำเรื่องแย่ๆใส่ภู มีแต่คนด่า คนแกล้งทำร้ายภู ชิว : ดีมากถูกทางแล้ว ภูสังเกตุมั้ยว่า.. : ทุกอย่างเกิดจากการคิด แล้วก็ยึดเอาความคิดแง่ลบมาเป็นชีวิตตัวตนของภู ทั้งการคิดและยึดความคิด..ก็ล้วนแต่เป็นการกระทำทางใจทั้งสิ้น : เมื่อการกำหนดรู้ตัวทุกข์ คือ การกำหนดรู้การกระทำ ดังนั้น..การกระทำที่เป็นตัวทุกข์ หรือ ปัญหาของภู ก็คือ การคิดในทางลบที่บั่นทอนจิตใจตนเอง แล้วยึดเอาความคิดนั้นมาเป็นตัวตนชีวิตของตัวเอง ภู : ยังไงนะ..?? ชิว : เพราะภูคิดในแง่ร้ายบั่นทอนสุขเพิ่มทุกข์ให้ตนเอง, ย้ำคิดย้ำทำในสิ่งที่ทำร้ายตัวเอง จึงหดหู่ ห่อเหี่ยว แล้วก็ยึดหลงคล้อยตามความคิดนั้นจนเกิดซึมเศร้าแล้วกระทำในทางที่ผิด ภู : งืมๆๆๆ...ก็จริงแฮะ ชิว : การกระทำ..ที่ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าของภู ก็คือ ความคิด Toxic ภู : อ่า..ฮะ.. ชิว : ซึ่งกระบวนการของความคิด Toxic นี้ จะเกิดขึ้นเพราะ.. : Toxic เป็นการที่ใจภูไปหวนนึกคิดยึดเอาเรื่องราวในสิ่งที่หดหู่ใจมาคิดซ้ำๆ วนๆ จนหลงติดอยู่ในวังวนความคิดที่ภูหดหู่ใจ ซึมเศร้า จนเกิดการทำร้ายตนเอง..ดังนั้น ความคิด Toxic คือ ตัวทุกข์ หรือ ตัวปัญหาของภู ภู : งืมๆ พอจะเข้าใจแต่ก็งงๆหน่อย อธิบายเพิ่มได้มั้ยอะชิว ชิว : ยกตัวอย่าง..ลองกำหนดรู้หวนคิดวิเคราะห์ดูว่า..วันนี้ที่ภูไปเตะบอลนะ ทั้งๆที่เจอเพื่อนด่าเหมือนกันใช่ไหม.. แล้วทำไมภูไม่เกิดอาการซึมเศร้าล่ะ..นั่นเพราะภูไม่คิดในทาง Toxic ที่บั่นทอนจิตใจตนเองใช่มั้ย ภู : จริงด้วย !!..โอ้ว้าวว.. (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ มันแค่นี้เองเนอะ ชิว : งั้นทุกข์ของภูก็คือความคิด ยึดหลงความคิด Toxic ตัวเอง ภู : อ่า..ทุกข์ คือ ความคิด Toxic ชิว : ความคิด Toxic นี้แหละ คือสิ่งที่ต้องดับให้สิ้นไป ภู : โอเช.. <( ̄︶ ̄)> ชิว : แล้วภูจะดับความคิด Toxic ได้ยังไง ภูก็ต้องสืบค้นหาเหตุจูงใจให้เกิดความคิด Toxic นั้น ภู : เหตุคืออะไรอะ ?? ชิว : ภูลองนึกย้อนทบทวนๆสืบค้นหาปมในใจไปสิว่า ทำไมถึงคิดในแง่ร้าย ทำไมคิดแต่สิ่งที่หดหู้ใจ ติ๊กต็อกๆๆ ภู : งืมๆๆๆ (ภูหลับตา แล้วนึกย้อน) ภู : เพราะภูไม่ชอบที่ใครมาด่า มาตี มาดูถูกเหยียดหยามภู ไม่ชอบให้ใครมาพูดแย่ๆ หรือทำอะไรที่เลวร้ายกับภู ชิว : เพราะชอบชังใช่มั้ย ทำไมล่ะ ภู : ก็ภูอยากให้โลกนี้มีคนเข้าใจภู ไม่อยากให้มองว่าภูไร้ค่า อยากให้คนอื่นไม่ทำร้ายภู อยากมีเพื่อนที่ดีกับภู อยากให้เขาไม่ทอดทิ้งภู อยากให้ครูไม่ด่าภู อยากให้ปะป๊ารักและห่วงภู ไม่ด่า ไม่ตีภู ชิว : ทั้งหมดนี้ คือ ความปรารถนาต้องการของภู ที่อยากได้รับจากคนอื่น ตามความยินดียินร้ายของตน ใช่ไหม ภู : อืม..ก็ใช่นะ ชิว : แล้วทำไมต้องอยากได้รับจากคนอื่นมากนักล่ะ ทั้งๆที่พอไม่ได้รับการตอบกลับจากเขาอย่างที่ใจคาดหวังปารถนาไว้ ก็มาคิดว่าทำไมเจอเรื่องแย่ๆ ทำไมต้องเจออย่างนี้ ทำไมไม่เจอสิ่งดีๆอย่างคนอื่นบ้าง เป็นเหตุให้เกิดการยกเอาสิ่งแย่ๆมาย้ำคิดย้ำทำ ก็เลยหดหู่เสียใจใช่ไหม ภู : อืม..ก็ภูอยากให้ทุกคนใจดีกับภูอะ ชิว : นี่บ่งบอกถึงว่า..ความปารถนาอยากให้ทุกคนใจดีกับภูนั่นแหละ คือ เหตุให้เกิด Toxic ก็เพราะความปรารถนาต้องการของภู ที่จะได้รับในสิ่งตนที่ชอบ สิ่งที่ตนพอใจยินดี เป็นสุขจากผู้อื่น..นี่แหละ..จึงเกิดเป็น “เหตุจูงใจ” ให้ภูคิดย้ำแต่แง่ลบใช่มั้ย ภู : ใช่นะ..ก็จริงนะ ชิว : นั่นแสดงให้เห็นว่า.. : การที่ภู..“คาดหวังปรารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับผู้อื่น” ยังไงล่ะ “ไม่เคยคิดมองสุขที่เกิดขึ้นได้จากตนเองเลย”..แต่เพราะสิ่งที่ภูคาดหวัง “มันอยู่เหนือการควบคุมของเรา”..ทำให้สิ่งที่เขากระทำตอบกลับภู ไม่เป็นไปดั่งที่ใจภูปรารถนาต้องการ ภูก็เลยคิดไปในความรู้สึกที่ด้อยค่าตัวเอง : นี่แหละ คือ เหตุจูงใจให้กระทำ..ทำการคิดลง Toxic ของภู นี่คือ สมุทัยของภู” ภู : อ่า..พูดให้เข้าใจชัดขึ้นได้มั้ยอะ ชิว : ยกตัวอย่างเช่น วันนี้ที่ภูไปเตะบอล ก่อนไปภูเครียด จึงทำ “พุทโธวิมุตติ” เพื่อดับเครียด และ เห็นสุขอยู่ที่กายใจตน แล้วภูก็ได้สติ “ไม่ตั้งความคาดหวังปรารถนา”..ว่าคนอื่นจะต้องมาให้ความสำคัญกับภู คือ ไม่เอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใคร” ใครจะเล่นด้วยหรือไม่เล่นด้วยก็ไม่เป็นไร..โดยการที่ภู “ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญตรงนี้”..กับคำพูดหรือการกระทำของใครที่จะต้องเจอ คิดแค่จะไปเตะบอลหรือวิ่งออกกำลังกายสนุกๆเท่านั้น “เป็นการเอาความสุขว่ามาไว้ที่ตัวเอง โดยไม่ต้องไปอาศัยเอาจากผู้อื่น จึงไม่เกิดความยินดียินร้ายกับการกระทำของใคร” แล้วก็สนุกมีความสุขอย่างวันนี้ ใช่ไหม ..กระบวนการทั้งหมดนี้ คือ “จิตตสังขาร” ภู : จริงด้วย..!! ชิว : ก็นี่ไง..ความปารถนา คือ เหตุแห่งทุกข์ที่ควรละ ที่ภูได้ละแล้ว..จึงส่งผลดีให้ภู..เพราะภูดับเหตุการกระทำนั้นแล้ว ความหมดสิ้นเหตุให้กระทำ(ความคิด Toxic) ของภูจึงเกิดขึ้น ภู : นั่นสินะ..มันแค่นี้เองเนอะ แต่ภูจะทำได้ตลอดยังไง ชิว : ก็ต้องสะสมเหตุในทางดับเหตุกระทำของภูที่เรียกว่า..มรรค มรรค คือ ทางดับทุกข์, ทางแก้ปัญหา, ทางดับการกระทำของภู, เป็นการสำรวมระวังกรรม..ด้วยสติปัญญาเห็นชอบ ภู : ทำยังไงอะ ชิว : พิจารณาจากความดับสิ้น Toxic ของภูในวันนี้..ลองนึกถึงตั้งแต่ตอนจะออกจากบ้าน ตอนภูออกไปเตะบอลกับเพื่อน ได้เตะบอลกับเพื่อน จนภูกลับบ้านในวันนี้ดู ว่าตอนนั้นใจภูเป็นยังไง คิดยังไง ทำยังไง..ติ๊กต็อกๆๆ ภู : อ่า..เหมือนตอนนั้น งืมๆๆ : ตอนเครียดภูจำที่ชิวสอนได้ว่า ให้ทำพุทโธวิมุตติสุข เอาสุขตั้งไว้ที่กายใจตนเอง ภูก็เลยทำพุทโธวิมุตติ แล้วภูก็สงบ สบาย สดชื่น ผ่อนคลาย ไม่ตรึงเครียด จึงทำให้เห็นว่า สุขอยู่ที่กายใจเราทำ..ก็เลยคิดว่าเราไปเล่นออกกำลังกายไม่ต้องสนใจใครจะว่าภูยังไง แค่ไปเล่นสนุกสนานของภูก็พอ แล้วภูก็ไปเล่น ตอนแรกก็ตึงๆอยู่เหมือนกัน ก็เลยคิดว่าเอาน่า..เล่นคนเดียวก็ไม่เป็นไรนี่ ทุกคนมาเล่นเพื่อความสนุกผ่อนคลายนี่ ไม่ได้มาเล่นเพื่อเครียด แล้วเราจะเครียดไปทำไม ถ้าเขาขาดคนก็คงเรียกเราเอง ภูเลยไปยืมบอลเขาเตะโต้กับกำแพงเล่น แล้วพอเขาลงเตะเดิมพันกันเสร็จ ก็ชวนภูเล่นทีมกัน : ตอนลงทีมกับเขานั้น เขาก็มีด่าภูบ้าง..แต่ภูก็คิดว่า เอาน่า..เขาก็อยากเตะชนะกันทุกคนแหละ แล้วเพื่อนกันเขาก็พูดกันอย่างนี้แหละ มีหยาบบ้างตามประสา เพราะอายุเท่ากันก็ด่ากันตามปกติ เมื่อคิดแบบนี้..พอเขาว่าภูมาภูก็ไม่ใส่ใจแล้วก็ตั้งใจเป็นกองหลังกันประตูก็พอ พอเล่นเสร็จเขาก็ชมว่าภูสุดยอดแล้วก้อไม่งอแงเหมือนเก่า ชิว : แล้วภูมีความสุขมั้ยล่ะ ภู : ก็ต้องมีสิคร้าบบบ (≧▽≦) ชิว : ภูก็ต้องรู้มูลเหตุความดับทุกข์ของภู ที่่่เป็นองค์ประกอบการกระทำต่างๆ ที่ทำให้ภูถึงการดับ Toxic ในวันนี้ เพราะทุกข์และปัญหาของภู คือ สภาพจิตใจ ภูก็ต้องรู้เหตุเกิดและดับใน “จิตตสังขาร” ด้วย “จิตตสังขาร” คือ “สภาพที่ปรุงแต่งกระทำทางใจ” สิ่งปรุงแต่งที่เกิดกระทำทางจิต เป็นสิ่งที่จิิตอาศัยเกิดขึ้นให้ใจรู้ มี 3 อย่าง ได้แก่ 1.) เวทนา คือ ความรู้สึกสุข-ทุกข์-เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง) 2.) สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ ความสำคัญมั่นหมายของใจในความยินดี ยินร้าย และ เฉยๆ (ปัจจัยปรุงแต่ง) 3.) สังขาร คือ เจตนาความนึกคิดสืบต่อ (การกระทำ) ภู : งงๆอะ ชิว : ย่อๆก็คือ.. รู้จิตตสังขาร ก็คือ.. 1.) รู้สุขรู้ทุกข์ 2.) รู้สิ่งที่จดจำสำคัญใจ 3.) รู้ความนึกคิด ภู : อืม..สั้นๆเข้าใจ สุขทุกข์, สำคัญใจ, คิด..แล้วภูต้องทำยังไงอะ ชิว : ข้อที่ 1. เวทนา คือ ความสุข-ทุกข์ และ ความสุขที่ภูปารถนานั้น คือ ต้องการได้รับสุขจากผู้อื่น คือ สุขภายนอก เป็นสุขที่เนื่องด้วยกาย..เพราะต้องอาศัยตาเห็นสิ่งที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, หูได้ยินเสียงที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข, จมูกได้กลิ่นที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข ลิ้นได้ลิ้มรสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข และ กายได้สัมผัสที่ตราตรึงใจ จึงเป็นสุข พอเกิดสิ่งใหม่มากระทำ ที่กระทบกระทั่งเปลี่ยนแปลง สุขนั้นก็แปรปรวนดับไป เกิดทุกข์ตั้งขึ้นมาแทน มันอยู่ได้ไม่นานใช่ไหม จะไปบังคับควบคุมให้เขาทำแต่สิ่งที่ภูสุขก็ไม่ได้ พอนึกถึงก็ปรารถนาโหยหา ภู : มันก๋็จริงแฮะ ชิว : ส่วนสุขที่ภูเอามาตั้งไว้ในใจตนโดยไม่อิงอาศัยผู้อื่น แบบพุทโธวิมุตติสุข คือ สุขภายใน เป็นสุขที่เนื่องด้วยใจ อาศัยใจสัมผัส มันก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเช่นเดียวกัน แต่มันไม่ได้ขึ้นอยู่กับการกระทำของใครภายนอก ไม่ต้องรอได้รับจากใคร ไม่ต้องไปร้องขอจากใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็สุขเมื่อนั้น จึงไม่กระทบแปรปรวนดับไปเพราะการกระทำของใคร แต่อยู่ที่กำลังใจเข้มแข็งของภูเอง ใช่มั้ย ภู : ใช่..จริงด้วย ชิว : สุขจากภายนอกและภายใน ต่างก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปเหมือนกัน แต่แตกต่างกันที่..สุขไหนตั้งอยู่ได้นานกว่ากัน สุขไหนกระทบแปรปรวนได้น้อยกว่ากัน สุขไหนที่เกิดขึ้นได้โดยอิงอาศัยสิ่งล่อใจน้อยกว่ากัน และ สุขไหนทำให้เกิดขึ้นได้โดยไม่จำกัดกาลกว่ากัน ภู : พุทโธวิมุตติ เอาสุขมาตั้งที่กายใจตน สุขได้นานกว่า ไม่กระทบแปรปรวนเป็นทุกข์จากการกระทำของใคร นึกถึงเมื่อไหร่ก็เป็นสุข ชิว : เยี่ยมมาก !! นี่ภูรู้สุขรู้ทุกข์ รู้การเกิดดับในเบื้องต้นแล้ว ก็ชื่อว่ารู้เวทนาแล้ว ก็ให้ภูจับหลักเอาตรงนี้แหละ ภู : ว้าวว..ภูเก่งใช่มั้ยล่ะ สุขกายคือรับจากคนอื่น สุขใจคืออยู่ที่ใจเราทำ ชิว : ข้อที่ 2 สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้, ความจดจำสำคัญมั่นหมายของใจ เวลาเราพบเจอสิ่งใด ใจเราก็มักจะจดจำไว้เสมอ เจอสิ่งที่รับรู้แล้วภูรู้สึกสบายใจเป็นสุข ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินดี ก็ตราตรึงใจ ติดตรึงใจใคร่ปราถนา ..แต่ถ้าภูรัับรู้สิ่งใดแล้วภูรู้สึกไม่สบายใจเป็นทุกข์ ภูก็จะจดจำให้ความสำคัญกับใจต่อสิ่งนั้นในความยินร้าย ก็ไม่ตราตรึงใจ ใคร่ปารถนาผลักไสออกไปให้ไกลตน..เหมือนที่ภูให้ความสำคัญใจต่อการกระทำของผู้อื่นไว้ไง ภู : อืมมม..ก็จริงนะ ชิว : ความสำคัญใจก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แปรปรวน เปลี่ยนแปลงไปได้ เหมือนภูตอนเด็กไม่กินเผ็ด เกลียด ไม่ชอบ แต่โตมากลับชอบกินเผ็ด มันซี๊ดซ๊าดถึงใจไง “อยู่ที่เราจะให้ค่าความสำคัญ..สร้างความพอใจยินดีและไม่พอใจยินดี..เอามาใส่ไว้ในใจของเราอย่างไร” มันเกิดขึ้น แปรปรวน เปลี่ยนแปลง ดับไปได้ตลอดเวลา ความสำคัญใจใหม่มา ความสำคัญใจเก่าก็ดับทันที มันเป็นอย่างนี้แหละ..การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญของใจกับสิ่งใด คือ อุเบกขา ความไม่ยินดียินร้ายในสิ่งที่ให้สำคัญมั่นหมายเอาไว้กับใจ ภู : โอ้ว..เหมือนจะใช่แฮะ ความสำคัญใจ คือ ฝังใจ ฝังจำ หรือ เอามาใส่ใจให้ความสำคัญว่า..ชอบ ชัง นี่เอง ชิว : แล้วจะทำยังไงให้เลิกใส่ใจให้ความสำคัญได้ทุกครั้ง โดยเฉพาะตอนที่ ตรึงเครียด ภู : บอกวิธีหน่อยสิชิว.. ( ╹▽╹ ) ชิว : ภูก็จำเป็นต้อง..รู้ความพอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพและไม่ควรเสพ, รู้อุเบกขาที่ควรเสพและไม่ควรเสพ ภ : ทำยังไงก่อน ด่วนๆ… ชิว : ภูชอบให้คนอื่นทำดีกับภู ทำในสิ่งที่ภูชอบ ภูจึงตั้งความปารถนา โหยหามัน, ถ้าเจอสิ่งที่ไมชอบ ไม่พึงปรารถนา ก็เสียใจ, แต่ถ้าเจอสิ่งที่ชอบและไม่ชอบเสมอกัน เช่น เหมือนภูอยากจะมีเพื่อนสักคนหนึ่งจะได้ไม่โดดเดี่ยว แรกคบภูเป็นสุขที่มีเพื่อน ภูก็ให้ค่าความสำคัญกับเขามาก แต่พอคบเพื่อนคนนั้นสักพักแล้ว เขาชอบมาพูดหยาบด่าภู..จึงทำให้ภูรู้สึกว่า..เราอยากเป็นเพื่อนเขานะ แต่เขาพูดไม่ดีไม่กับเรา เพื่อนคนนี้เมื่อคบแล้ว แม้เราจะไม่โดดเดี่ยว(ชอบ) แต่ก็อึดอัดใจทุกครั้ง(ชัง) ก็เกิดปริมาณความชอบและชังที่เกิดมีขึ้นพอๆกัน จึงเกิดความรู้สึกมีใจกลางๆไม่น้อมไปทั้งความชอบและชัง จึงลังเลที่จะคบเขาต่อ..เมื่อภูคิดพิจารณาเห็นคุณและโทษที่เกิดขึ้นแล้ว เห็นว่า..หากคบต่อก็ต้องไม่ใส่ใจคำพูดและการกระทำของเขา และหากไม่คบต่อก็ไม่เสียหายอะไร ก็จึงเกิดตกลงใจ(ความเชื่อจากการพิจารณาคุณและโทษ) ว่าเพื่อนคนนี้ภูจะคบก็ได้หรือไม่คบก็ได้ แต่มนุษย์เป็นสัตว์สังคมภูก็เลือกวางใจไว้ในความรู้สึกเฉยๆ ก็แค่คุยได้แต่อย่าสนใจคำพูดการกระทำของเขา และ ไม่คลุกคลีสนิทชิดเชื้อมากไป ไม่เอาสุขไปผูกขึ้นไว้กับเขาอีก ภูก็จึงไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับเขา ภ : มันจริงแฮะ… ชิว : ..ดังนี้เมื่อเราจะแก้ความอยากในสิ่งที่ติดตราตรึงใจให้ยินดี-ยินร้าย ก็ต้องใช้ 2 หลัก ที่เรียกว่า..การเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วกุศลธรรมเกิดขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) และ ธัมมารมณ์ที่ไม่ควรเสพ (สิ่งใดที่ทำแล้วอกุศลธรรมเกิดขึ้น-กุศลธรรมเสื่อมลง) คือ. 1. ความพอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) 2. ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) 3. ความเชื่อด้วยปัญญา รู้เห็นประโยชน์ตามจริง แล้วไม่ติดใจข้องแวะ เป็น..อุเบกขาที่ควรเสพ (เมื่อทำแล้วกุศลธรรมเจริญขึ้น-อกุศลธรรมเสื่อมลง) วิธีใช้ในการเลือกธัมมารมณ์ที่ควรเสพย์ 1.) ตั้งใจมั่นใน..ความพอใจยินดีที่ควรเสพ คือ พอใจที่จะคบเพื่อนโดยที่ภูไม่ต้องไปใส่ใจให้ค่ากับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ยินดีที่จะเอาความสุขสำเร็จของภูมาตั้งไว้ที่กายใจตน (เพราะมันทำให้ภูเป็นสุข ไม่ต้องทุกข์กับการกระทำตอบกลับของใครอีก มันแช่มื่น เบิกบาน มีจิตแจ่มใสร่าเลิก เป็นสุขที่ปราศจาก Toxic) 2.) ตั้งใจมั่นใน..ความไม่พอใจยินดีที่ควรเสพ คือ ไม่พอใจที่จะคบเพื่อนโดยให้ค่าความสำคัญกับคำพูดและการกระทำของเขา หรือ ไม่ยินดีให้ความสุขสำเร็จของภูต้องไปผูกติดขึ้นอยู่กับเขา (เพราะมันทำให้ภูอึดอัด อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สบายกายใจ เป็นทุกข์ระทมให้ไปดึงเอา Toxic มาคิดซ้ำๆวนๆบั่นทอนจิตใจตนเอง) 3.) ตั้งใจมั่นใน..อุเบกขาที่ควรเสพ คือ ต้องไม่ติดใจข้องแวะกับคำพูดและการกระทำของใครจนเกินความจำเป็น หรือ ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับคำพูดหรือการกระทำของใคร ที่มา Toxic ทำร้ายภู (ต้องอาศัย ศรัทธา ความเชื่อมั่นด้วยปัญญาในสิ่งที่ทำ ว่าสิ่งนี้เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขดีงามของเราในปัจจุบันและภายหน้า ทำให้ภูพบปะคบหากับใครได้โดยไม่ต้องไปเก็บเอาสิ่งใดมาคิดให้เครียดให้ว้าวุ่นใจ ไม่หดหู่ ไม่ Toxic เพราะเราใช้ปัญญาไตร่ตรองเห็นแจ้งแล้ว จึงเลือกที่จะไม่ติดใจข้องแวะการกระทำของเขา.. หมายเหตุ : ความติดใจข้องแวะ หมายถึง.. ความติดใจ ประการที่ 1.) ความติดตราตรึงใจยินดี, ความสำคัญใจยินดี, ชื่นชอบพอใจ, ความประทับใจ, โลภ / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินดีติดตราตรึงใจ ความติดใจ ประการที่ 2.) ความขุ่นข้องขัดเคืองใจ, ความสำคัญใจยินร้าย ขัดเคืองใจ ข้องใจ ค้างคาใจ ฝังใจโกรธ แค้น เกลียด ชัง สงสัย / ไม่ติดใจ คือ ไม่สำคัญใจยินร้ายขุ่นข้องขัดเคืองใจ ความข้องแวะ คือ ใส่ใจให้ความสำคัญ, ผูกใจ, ข้องเกี่ยว, ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวพัน / ไม่ข้องแวะ คือ ไม่ใส่ใจให้ความสำคัญ ไม่ผูกใจข้องเกี่ยว • ความติดใจข้องแวะ คือ การใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย • ความไม่ติดใจข้องแวะ คือ การไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญทั้งสิ่งที่ยินดี-ยินร้าย ภู : โอ้ว..ใช่เลยแฮะ เหมือนที่ทำเมื่อตนไปเตะบอลเลย ยินดีในสุขที่เกิดขึ้นจากกายใจภู, ยินร้ายที่ความสุขของภูต้องไปขึ้นอยู่กับใคร, ไม่ใส่ใจให้ค่าความสำคัญกับสิ่งที่รู้สึกแย่ๆ ชิว : เก่งมาก..นี่่ก็ชื่อว่าภูรู้จัก สัญญาในเบื้องต้นแล้วนะ ชิว : ข้อที่ 3 สังขาร คือ เจตนาความนึกคิด ซึ่ง เจตนา คือ ความจงใจ, ความมุ่งหมายกระทำใจไว้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็คือ อาการที่ใจไปน้อมนึกไปจับเอาสิ่งที่ได้รับรู้ความรู้สึก และ สิ่งที่เคยจดจำให้ความสำคัญใจทั้งหลายนั้น..ทั้งที่เป็นกุศล หรือ อกุศล แล้วเอามาคิดสืบต่อเรื่องราว กล่าวคือ..เป็นการเอาใจเข้ายึดมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราจดจำให้ความสำคัญกับใจไว้ มาคิดสืบต่อเรื่องราวตามความปารถนาของใจนั่นเอง ..เจตนานี้มันเกิดขึ้นจับอารมณ์แล้วก็ดับไป ส่วนตัวที่จับตรึงสิ่งที่เราน้อมนึกขึ้นมานั้นให้ตั้งอยู่ไว้ได้ คือ “อุปาทาน” เป็นเจตนาที่เป็นความยึดมั่นถือมั่น จึงเกิดเจตนาซ้ำอีกรอบเพื่อคิดสืบต่อเรื่องราว ภู : อ่า..อืม ชิว : ส่วนความคิด ก็เป็นการที่เราเอาสิ่งที่ใจไปนึกหยิบยึดจับมานั้น สืบต่อเรื่องราวต่างๆ - หากคิดในกุศล คือ คิดละความติดตรึงยินดี คิดละความยินร้าย พยาบาท คิดเว้นจากความเบียดเบียน (คิดดี, คิดบวก = ให้ผลเป็นสุข) - หากคิดในอกุศล คือ คิดในความติดตรึงยินดี คิดในความยินร้าย พยาบาท คิดในความเบียดเบียนไปตามที่ใจรัก ชัง หลง กลัว (คิดไม่ดี, คิดลบ, Toxic = ให้ผลเป็นทุกข์) ..สรุป..การจงใจคิดนึกให้เป็นไปในอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ที่เราได้ให้ความสำคัญใจไว้ ไม่ว่าจะเป็นกุศล หรือ อกุศล..ส่งผลต่อการกระทำของใจ..ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ชอบ ที่ชัง หรือ เรื่องใดก็ตามนั่นเอง นี่แหละคือ สังขาร ภู : ความนึกคิดต่างๆทั้งดีร้าย งั้น Toxic |
10
เรื่องทั่วไป / สอบถามปัญหาชีวิต เปิดใจคุยกัน / นิยายธรรมะ วัยรุ่นต้องรอด บังไคปลดปล่อยแรงกดดัน พุทโธวิมุติสุข
เมื่อ: วันนี้ เวลา 12:19:19 pm
|
||
เริ่มโดย Admax - กระทู้ล่าสุด โดย Admax | ||
..หลังจากชิวให้คำแนะนำเรื่องรู้ตน และภูได้ฝึกรู้ตนในหมวดกายแล้ว ภูก็เริ่มหลับสบายขึ้น ปรอดโปร่งขึ้น จนระยะเวลาพักฟื้นบำบัดจิตภูผ่านไปได้ 3 วัน..
Time Line 1. ภูฆ่าตัวตายวัน ศุกร์ ช่วง 13:00 2.รพ.จนเช้าวันเสาร์ พบจิตแพทย์ ออกจาก รพ. ในช่วงเช้า 9:00 3. ภูวิ่งให้รถชนวันเสาร์กลังจากไปเตะบอล 17:00 4. วันอาทิตย์ ภูไปซื้อข้าวพบข่าวนักเรียนกระโดดตึกฆ่าตัวตาย คนกล่าวถึงกรรมฆ่าตัวตายทำให้ภูกลัว และได้เรียน การรู้ตนหมวดกาย จากชิว 5. วันอาทิตย์-วันจันทร์-วันอังคาร ชิวให้ภูฝึกการรู้ตนหมวดกาย หลังอาหาร วันละ 3 ครั้ง ดังนี้.. - ฝึกรู้สถานะตนเองในสถานการณ์ปัจจุบัน - ฝึกเดินจงกรม 20 นาที - ฝึกนั่งสมาธิ 20 นาที - ฝึกตรวจสอบอัตภาพร่างกาย 10 นาที ..พบจุดด้อยหรือปัญหาทางจิตและร่างกายว่า.. ๑. สติ-สัมปะชัญะ และ สมาธิสั้น ไม่สามารถจดจ่อตั้งใจอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นาน จำอะไรนอกจากสิ่งที่ตนสนใจได้ไม่ค่อยดี กระวนกระวายง่าย เครียดง่าย ..เป็นผลมาจาก ภูนั้นเล่นแต่เกม ไม่เคยรับรู้โลกภายนอก ไม่ฝึกทำสมาธิ อยู่แค่สิ่งที่ชอบ สิ่งที่เป็นหน้าที่แต่ไม่ชอบใจก็หลีกหนี เช่นการศึกษาเรียนรู้เพิ่ม การทำงานบ้าน การบ้าน ฯ ..ชิวจึงแก้ด้วยการ ทุกๆเช้าให้ภูออกมาสูดอากาศนอกบ้าน มองสภาพแวดล้อมกว้างๆ สูดรับความสุขและรับรู้สภาพแวดล้อม และนอกจากเดินจงกรมและทำสมาธิทั่วไปแล้ว ก็ให้ภูฝึกตั้งสติไว้เฉพาะจุด เช่น รู้ลมหายใจเข้า-ออกโดยจับไว้ที่ปลายจมูก หายใจเข้า-ออก 1 รอบ นับ 1 ทำวันละ 50 ครั้ง เพื่อให้สติกับสมาธิตั้งจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ แม่จะชอบไม่ชอบใจก็ตาม แต่ก็ต้องทำ ๒. การเขียนลำบาก เขียนช้า มือแข็ง เกร็ง กดน้ำหนักเยอะ ปวดมือง่าย ..เป็นผลมาจาก ภูนั้นจำทีละคำแล้วเขียน ทำให้เขียนช้า และ ภูมีวิธีเขียนโดยวางมือในการจับ..ดินสอ-ปากกา แบบนี้มาตั้งแต่เด็กจนเคยชิน อีกทั้งเล่นแต่เกม ไม่เคยฝึกเขียนที่ถูกวิธี พอสะสมนานเข้าเอ็นและกล้ามเนื้อจึงหดเกร็ง ไม่สามารถเขียนตัวหนังสือให้สวยๆได้ ..ชิวจึงแก้ด้วยการ ให้ภูเปลี่ยนการกระทำใหม่..ให้เขียนหนังสือโดยการ อ่าน-จำให้เป็นประโยคเว้นวรรคที่ยาวขึ้น และ ฝึกวิธีเขียนใหม่โดย ลดแรงกดปากกา ไม่ลงน้ำหนักมือแรง หัดวาดภาพเส้นตรง-โค้ง-งอ วาดเป็นมุมรูปเลขาคณิต วาดวงกลม วาดรูปภาพต่างๆ และระบายสี โดยที่ไม่ใช้ไม้บรรทัด..แล้วค่อยๆยืดเส้นข้อมือ ฝึกขยับไล่นิ้วมือแต่ละนิ้ว ๓. กำลังแขนและขาต่ำ และ เหนื่อยหอบง่าย ..เป็นผลมาจาก ภูแทบจะไม่เคยออกกำลังกายเลย เอาแต่นั่งเล่นเกมนานๆ และ นั่งเขียนการบ้านนานๆเหตุเพราะเขียนช้า ..ชิวจึงแก้ด้วยการ ให้ภูฝึกวิ่งจ๊อกกิ้งเบาๆ เช้า-เย็น จากหน้าบ้านไปปากซอย ไปท้ายหมู่บ้าน กลับมาบ้าน..ระยะทางประมาณ 200 ม. แล้วยืดเส้นแขน-ขา บริการข้อเท้า ข้อมือ ยืดเส้นข้อมือ ข้อเท้า ใช้เวลา 40 นาที ..ตลอดระยะเวลา 3 วัน ที่ฝึกโดยตั้งใจ ไม่อิดออด ภูก็เริ่มเคยชินกับการฝึกบำบัด ใจภูเริ่มโล่งขึ้น ปรอดโปร่งขึ้น สติไวขึ้น สงบขึ้น สุขภาพร่างกายดีขึ้น เริ่มมีกำลังแขนขา จับเขียนได้ดีและเขียนได้เร็วขึ้น ลดแรงกดปากกาลง ทำให้ปวดมือน้อยขึ้น - เช้าวันพุธ 9:00 น. หลังอาหารเช้า และภูทานยาเสร็จ ชิวบินออกมาวนรอบภู เพื่อทบทวนวิธีรู้ตนในหมวดกายกับภูก่อนพักผ่อน - ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。◕‿◕。)/Ꮚ ...ภูมาทบทวนจุดมุ่งหายการฝึกกัน.. ภู : (人*´∀`)。*゚+ โอเชเยย.. ชิว : ข้อ 1. เราฝึกรู้สถานะตนเอง ต่อสถานการณ์ เพื่ออะไร ภู : เพื่อรู้ตัวเอง รู้สถานะตน รู้ขอบเขตบทบาทหน้าที่ รู้สิ่งที่ตนเองต้องทำในสถานการณ์นั้นๆ งับป๋ม ชิว : ถั่วต้ม..เอ๊ย ถูกต้องนะครับ (。•̀ᴗ-)✧ ชิว : ข้อ 2. เราฝึกรู้ทันลมหายใจ เพื่ออะไร ภู : เพื่อทำให้สติเกิดขึ้น มีกำลังเกิดบ่อยขึ้น และไวขึ้น งับป๋ม.. ชิว : ถั่วต้ม..เอ๊ย ถูกต้องนะครับ (。•̀ᴗ-)✧ ชิว : ข้อ 3. เราฝึกรู้สิ่งที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน และเดินจงกรมเพื่ออะไร ภู : รู้กำลังสุขภาพ-เพื่อดูแลรักษา, รู้คุณค่าของกายนี้-เพื่อไม่ทำร้ายตนเอง, รู้ผลของการกระทำ-เพื่อการพัฒนาแก้ไขตนเองงับ ชิว : สุดยอดไปเลย ภูเก่งมากเลย (。•̀ᴗ-)✧ ชิว : สำหรับหลักของการนำไปใช้ มีดังนี้.. : เวลาที่รู้สึกไม่สบายใจจาก..ความวิตกกังวล..มีความรู้สึกที่..เคร่งเครียด คือ ใจไม่ดี, ตื่นกลัว, ประหม่า, วิตกกังวลใจกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในปัจจุบัน..หรือ..ว้าวุ่นใจ คือ ใจไม่ดี, กลุ้มใจ ห่วง พะวง วิตกกังวลกับเรื่องในอนาคต ที่ตนกลัวว่าจะเกิดขึ้นในทางไม่ดี กล่าวคือ..ความกระสับกระส่าย, ใจไม่ดี, สับสน, วุ่นวายใจ, ครุ่นคิด, กระวนกระวายใจ, หนักใจ, วิตกกังวล, ย้ำๆคิดย้ำๆทำ, กลุ้มใจ, งุ่นง่านกายใจ, พะวงใจ, กังวลใจเป็นห่วง ภู : อ่า..เวลาคิดจนเครียด (;ŏ﹏ŏ) ชิว : ใช่..เวลาคิดจนเครียด..เป็นเวลาที่ควรแก่การผ่อนคลาย เพราะความเครียดและความว้าวุ่นใจ มีลักษณะที่ใจเราคร่ำเคร่ง หรือ ใจเราผูกตรึงกังวล คือ ใจเราไปดึงเอาเรื่องใดเรื่องหนึ่งมาครุ่นคิด..จนทำให้ใจรู้สึกไม่ดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องในเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน หรือ เรื่องในอนาคตที่ยังไม่เกิดขึ้น แต่ใจเราให้ค่าความสำคัญจนเอานึกคิดไปให้พะวงใจ ภู : เวลาเครียดภูจะปวดหัว ปวดท้องโรคกระเพาะกำเริบ จุกเสียดที่อกที่คอ ถ้าเรอออกจะหาย แต่มันมักจะอ้วกนี่สิ ชิว : ใช่แล้ว..นั่นเครียดลงกระเพาะ ความดันขึ้นสูง..ภูต้องระวังนะ บางครั้งมันตรึงเครียดอ่อนๆ จะเป็นเหมือนแค่ความรู้สึกที่งุ่นง่านอ่อนๆ ระคนใจ กระสับกระส่ายรนรานอ่อนๆ รู้สึกเหมือนใจไม่นิ่ง ใจไม่เป็นที่สบาย แต่ก็ไม่รู้ว่าคืออะไร ตรงนี้หากใจเราไม่สงบนิ่งตามรู้อาการ เราก็จะไม่รู้ว่ามีภาวะความขึงเครียดระคนอยู่ในขณะนั้น ภูต้องหัดสังเกตุอาการร่างกายจิตใจตนเองไว้นะ ภู : รับแซบงับ..!!! ชิว : ให้แก้ความคิดตรึงเครียดนั้น ด้วยการเอา “พุทโธ” เป็นที่พึ่งของกายและใจ จะช่วยให้เราเรียกสติจากลมหายใจได้ดีขึ้น แล้วสามารถใช้ลมหายใจเป็นเครื่องยึดให้น้อมใจไปในกิริยาจิตที่ความผ่อนคลายได้ง่าย ภู : ทำยังไงอะชิว ![]() ชิว : “พุทโธ” คือ การระลึกถึงพระพุทธเจ้า ซึ่งคำว่า..พุทโธ นี้เป็น คุณสมบัติหนึ่งของพระพุทธเจ้าที่แปลว่า “ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ภู : งืมๆๆ.. (๑•﹏•) ชิว : “ผู้รู้” คือ รู้ตัวทั่วพร้อมในปัจจุบัน เป็นการรู้สึกตัวเท่าทันปัจจุบันขณะ..ก็คือ.. 1. มีสติ ระลึกรู้จดจำได้ว่า..สภาวะสิ่งที่เกิดขึ้นกับตนอยู่นั้น มันคือ ความคิด 2. มีสัมปะชัญญะ รู้ตัวได้ว่า..ตนกำลังครุ่นคิดอยู่, รู้ตัวว่าตนกำลังหลงครุ่นคิดในสิ่งใด..รู้ตัวว่าขณะนี้ตนกำลังหลงจมดิ่งอยู่ในภวังค์ความคิดนั้นอยู่..พร้อมทั้งหวนระลึกได้ว่าตนกำลังจะทำสิ่งใดก่อนจะตกภวังค์ และ รู้ตัวว่าปัจจุบันตนกำลังกระทำสิ่งใดอยู่..เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกตัวทั่วพร้อมไม่จมดิ่งอยู่กับวังวนความคิด คือ ไม่สืบต่อวังวนความคิดให้จิตจมดิ่งลงสู่ภวังค์นั้น..จนไม่รู้สึกตัวอีก..สติ+สัมปะชัญญะ ที่เกื้อหนุนกันจนเต็มบริบูรณ์ เรียกว่า ความรู้ตัวทั่วพร้อม สัมปะชัญญะเป็นตัวคุมสติ จึงชื่อว่า ปัญญา (ภวังค์ในที่นี้..เป็นการตกจมอยู่ในกองวังวนอารมณ์ความรู้สึกความคิด) ภู : ว้าวๆๆ !!.. แค่เดินจงกรม รู้ว่าตนเอง ยืน เดิน นั่ง นอน และกำลังทำสิ่งใดอยู่ในปัจจุบัน ก็ได้ปัญญาแล้ว นี้ภูคือผู้มีปัญญานะนี่.. (*˘︶˘*).。*♡ ชิว : ใช่แย้ว.. Ꮚ\(◍•ᴗ•◍)/Ꮚ✧*。 ชิว : “ผู้ตื่น” คือ ตื่นจากภวังค์ เป็นการรู้กิจที่ควรทำ แล้วทำกิจที่ควรทำนั้น ข้อนี้คือ..ญาณ ที่เรียกว่า..ปัญญาหยั่งรู้ ได้แก่.. กิจที่ 1 คือ รู้ว่าการจมอยู่กับความคิด..เป็นทุกข์ เราควรดึงใจตนเองขึ้นมา..ยกออกจากภวังค์ความคิดที่ติดตรึงอยู่นั้น..เพื่อออกมารู้สึกตัวว่าตนกำลังจะทำกิจการงานใดอยู่ในปัจจุบัน..แล้วทำในกิจที่ 1 นี้ทันที กิจที่ 2 คือ รู้ว่าสิ่งที่เอามานึกคิดอยู่นี้มีโทษ..สาเหตุที่ทำให้เอาสิ่งนั้นมาคิดควรละ สิ่งที่เอาคิดอยู่นั้นเป็นภัย เราไม่ควรหยิบยกเอาสิ่งนั้นมาคิดอีก..สาเหตุที่เราเอาสิ่งนั้นมาคิดเป็นเพราะอะไร..แล้วละที่เหตุนั้น, ละความคิดโดยดับที่เหตุเกิดของสิ่งที่คิดนั้น..(หากไม่รู้เหตุเกิดของความคิดนั้น..ก็ให้ระลึกตั้งมั่นในใจว่า..เราจะไม่สืบต่อความคิดนั้นอีก.. แล้วละที่เจตนาความนึกคิดนั้น)..แล้วทำในกิจที่ 2 ทันที กิจที่ 3 คือ รู้สุขจากการเลิกนึกคิดในสิ่งนั้น..ผลนี้ควรทำ รู้ว่าเมื่อเหตุความคิดนั้นดับไปแล้ว เรามีกายใจเป็นสุขอย่างไร ไม่ตกอยู่ในวังวนความคิด ไม่หน่วงตรึงจิต ไม่ร้อนรนเป็นไฟสุมใจ ไม่กระวนกระวายใจ ไม่งุ่นงานกายใจ ไม่พะวงกังวลใจ มันมีความเย็นเบาใจแค่ไหน มันร่าเริงเบิกบานใจยังไง ซาบซ่านเพียงไร มันสงบสบายใจเช่นไร มันปลอดโปร่ง แช่มชื่น รื่นรมย์ เป็นสุขมากเท่าใด..แล้วทำในกิจที่ 3 ทันที กิจที่ 4 คือ รู้วิธีทำไว้ในใจเพื่อดับความรู้สึกนึกคิดนั้น..ก็อาการความรู้สึกใดที่มีเมื่อดับเหตุของสิ่งที่เอามาคิดนั้นได้ สิ่งนั้นควรทำให้มาก, ก็กิริยาการกระทำใดที่ตรงข้ามกับการกระทำให้เกิดความคิดนั้นแหละ คือ มรรค สิ่งที่ควรทำให้เกิดมีขึ้นในใจให้มาก..แล้วทำในกิจที่ 4 นี้ให้มาก ภู : อ่า.. (。・ˇ_ˇ・。) ชิวอธิบายเพิ่มได้มั้ยอะ นึกภาพไม่ออกเบย.. (☞ ಠ_ಠ)☞ ชิว : งั้นก็ยกตัวอย่างเช่น.. ๑. เมื่อเราเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับสิ่งใด → มันก็เกิดเป็นความวิตกกังวล → มันก็เกิดเป็นไฟสุมใจเราให้หมองไหม้เพราะสิ่งนั้น เป็นความทุกข์ทน อึดอึดใจ อัดอั้นใจ คับแค้นกายใจ ทรมานกายใจ เสียใจ ความไม่สบายกายไม่สบายใจทั้งปวง ๒. เมื่อเราดับเหตุนั้นได้ ก็คือ..เมื่อเราเลิกเอาใจของตนไปผูกใคร่ปารถนาที่จะได้เสพในสิ่งที่ตนติดตราตรึงใจ(สุข)จากสิ่งอื่นใดภายนอกได้..หมายความว่า..เราเลิกเอาความสุขสำเร็จของตนไปผูกขึ้นไว้กับใครได้..สุขนั้นก็จะอยู่ที่เรา เกิดขึ้นที่ใจเรา ไม่ใช่จากใครอื่น ใจก็โล่ง เบา สบาย ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ ๓. สิ่งที่ดับไป ก็คือ..ความร้อนรุ่มเป็นไฟสุมใจเรา และ สิ่งที่เกิดขึ้น ก็คือ..ความโล่ง เบา สบาย ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ ๔. เมื่อทำทั้ง 3 ข้อข้างต้นครบ เราก็จะเห็นว่า.. ๔.๑) สิ่งที่ควรละ คือ การผูกใจปารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนจากผู้อื่น ๔.๒) สิ่งที่ควรทำให้มาก คือ ทำสุขที่เนื่องด้วยใจของตนโดยไม่อิงอาศัยผู้อื่นให้มาก..ดังนั้นเราก็คอยหมั่นตรึกนึกคำนึงถึงและทำสะสมเหตุในสิ่งที่ดีมีความสุขต่อกายใจเราโดยที่ไม่ต้องไปอิงอาศัยให้ได้รับมาจากผู้อื่นให้มาก → หมั่นนึกถึงและทำในสิ่งที่มีความโล่งเย็นใจ เบาใจ ผ่อนคลายกายใจ เย็นกายสบายใจ ปลอดโปร่ง ร่าเริง เบิกบานใจ..โดยปราศจากความเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น ให้เกิดขึ้นกับกายใจตนให้มากๆ → เพราะเมื่อเราทำสะสมเหตุให้มากจนเต็มกำลังใจ → ใจเราก็จะรู้ว่าสุขนี้มันอยู่ที่ใจเราไม่ใช่ใครอื่นใด → ใจเราก็จะคลายจากความผูกใคร่ปารถนาเอาความสุขสำเร็จของตนจากใครอื่นใด → แล้วใจเราก็จะหยุดกระทำความผูกใจปารถนาสุขจากผู้อื่นด้วยตัวของมันเองอัตโนมัติ..เพราะใจเห็นแจ้งชัดว่า สุขนั้นไม่ยังยืน เป็นทุกข์ บังคับควบคุมไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตนแห่งสุขที่แท้จริง จิตไม่เห็นสิ่งใดที่น่าติดตราตรึงใจ จิตไม่กระทำนำไปสู่ความปล่อย ละ วาง สละคืน ภู : อ่า.. (。・ˇ_ˇ・。) ชิวย่อลงได้มั้ยอะ งงๆ.. (☞ ಠ_ಠ)☞ ชิว : กล่าวสรุปย่อๆ.. ผู้ตื่น ก็คือ ตื่นออกจากความคิด → เลิกคิดสิ่งนั้น → เลิกพะวงคาดหวัง → แล้วทำใจให้สงบ สบาย ผ่องใส ปรอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นสุข ภู : โอเชเยย !!..เข้าใจแระงับ (*˘︶˘*).。*♡ ชิว : ผู้เบิกบาน คือ เบิกบานหลุดพ้นจากความคิดทั้งสิ้นนั้นแล้ว เข้าวิมุตติสุข (ถึงความสงบ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นสุข) ไม่ปารถนาเอาความสุขจากสิ่งอื่นใดภายนอกแล้ว นั่นคือ..ความอิ่มเต็มกำลังใจ เพียงพอแล้วไม่ต้องการอีก (เพราะกามมันอิ่มไม่เป็น) มีลักษณะอาการของจิตที่ แช่มชื่น เบิกบาน ผ่องใส ภาวะที่ปรอดโปร่ง, อิ่มเอม ซาบซ่านใจ ภาวะที่อิ่มเต็มกำลังใจ, ความสงบสบาย เย็นใจ ผ่อนคลายกายใจ ภาวะที่ใจปกติ เย็นใจ กายสบาย ใจสบาย ปราศจากความเบียดรุมเร้าทั้งภายนอกและภายใจกายใจตน อาการที่ใจไม่มีความติดใจข้องแวะสิ่งใดๆในโลก, จิตที่ร่าเริง รื่นรมย์ ชื่นบาน เป็นสุข เบาโล่งไม่หน่วงตรึงจิต ภาวะที่มีความแช่มชื่น รื่นรมย์ ซาบซ่านพลั่งพลูแผ่ขยายขึ้นเต็มในใจทำให้ใจชื่นบาน ภู : อ่า..เบิกบาน คือ ความสุขที่หลุดพ้นจากทุกข์ คือ พ้นจากความคิด ไม่พะวงคาดหวัง ไม่ปารถนาเอาความสุขจากผู้อื่นนี่เอง เข้าใจละงับ ( ╹▽╹ ) ชิว : ดีมาก ภูเก่งมาก Ꮚ\(◍•ᴗ•◍)/Ꮚ✧*。 ชิว : เมื่อเข้าใจถึงความเป็น พุทโธ แล้ว ทีนี้เรามาเริ่มวิธีปฏิบัติกันเลย ง่ายนิดเดียว ภู : โอเชเยย !!.. (*˘︶˘*).。*♡ ชิว : “พุทโธ”..เราจะใช้เป็นคำบริกรรมกำกับคู่ลมหายใจ ใช้เป็นคำกำกับรู้ความหมายของการกระทำ ดังนี้.. เราระลึกคำว่า “พุท“ กำกับให้ใจรู้..แทนการหายใจเข้า เราระลึกคำว่า “โธ” กำกับให้ใจรู้..แทนการหายใจออก แล้วให้ทำดังต่อไปนี้.. 1. ปักหลักรู้ลมไว้ที่ปลายจมูก หายใจเข้ายาวๆ เนิบๆ สบายๆ บริกรรมในใจว่า “พุท“ โดยลากเสียงคำว่า..“พุท”..ยาวตามลมหายใจเข้า มีใจรับรู้ถึง..ลมหายใจที่ผ่านเข้าปลายจมูก → ลมเคลื่อนตัวซัดผ่านมากระทบเบื้องหน้า..แผ่ซ่านเอาความผ่องใส เย็นใจ ซาบซ่าน สงบ สบาย ชื่นบาน เป็นสุข → เมื่อใกล้ถึงปลายลมหายใจเข้า(ใกล้สุดลมหายใจเข้า)ที่เคลื่อนผ่านเข้ามา ให้เราเอาใจรับรู้ถึงควมเย็นซ่านไปถึงโพรงกะโหลกสมอง ทำให้สมองโล่ง ปรอดโปร่ง..ปราศจากความคิด..จนสุดลมหายใจเข้า → แล้วนิ่งค้างไว้ 3 วินาที ก่อนหายใจออก **(ในกรณีที่ทำดังนี้แล้วปวดหัว ก็ให้ปักหลักจับรู้ลมหายใจเข้า แค่ที่ปลายจมูก หรือ เบื้องหน้า หรือ ท้องน้อย เลือกจับเอาเพียงจุดเดียวเท่านั้นพอ เลือกจุดที่เรารับรู้ง่ายสุด สบายกายใจที่สุด..โดยให้ทำความรู้ไว้ในใจว่า..“พุท”..คือ กิริยาอาการที่ลมหายใจหอบเอาเย็นซ่าน เป็นที่สบายกายใจ ปราศจากความคิด แผ่ไหลเข้ามาจากที่ปลายจมูก หรือ แผ่ซ่านในเบื้องหน้า หรือ ไหลมาที่ท้องน้อย)** 2. หายใจออกยาว บริกรรม “โธ” ลากเสียงยาวตามลมหายใจออก รับรู้ถึงลมหายใจทำให้เกิดความรู้สึกที่..โล่งเบา สบาย ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย..ปราศจากความคิด → ตามลมหายใจออกที่เคลื่อนผ่านออกจากโพรงกะโหลกสมอง → เคลื่อนผ่านแผ่ซ่านมาเบื้องหน้า → เคลื่อนออกทางปลายจมูกนั้น..จนสุดลมหายใจออก **(ในกรณีที่ทำดังนี้แล้วปวดหัว ก็ให้ปักหลักจับรู้ลมหายใจออก แค่ที่ปลายจมูก หรือ เบื้องหน้า หรือ ท้องน้อย เลือกจับเอาเพียงจุดเดียวเท่านั้นพอ เลือกจุดที่เรารับรู้ง่ายสุด สบายกายใจที่สุด..โดยให้ทำความรู้ไว้ในใจว่า..“โธ”..คือ กิริยาอาการที่ลมหายใจออกทำให้เกิดความรูสึกที่โล่ง เย็นซ่าน ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นที่สบายกายใจ ปราศจากความคิด ลมหายใจไหลออกมาจากที่ปลายจมูก หรือ แผ่ซ่านในเบื้องหน้า หรือ ไหลมาที่ท้องน้อย)** ภู : อธิบายจำกัดความสั้นลงได้มั้ยชิว จะได้เข้าใจง่าย จำได้ง่ายๆ (。・ˇ 。 ˇ・。) ชิว : จำกัดความง่ายๆ สั้นๆ เลยก็คือ เอากิริยาจิต หรือคุณสมบัติที่เป็น “ผู้เบิกบาน จิตเข้าวิมุตติสุข” ของพระพุทธเจ้า มาเป็นอารมณ์ที่ตั้งของจิตใจเรา 1. “พุท” คือ ลมหายใจเข้า..ที่มีแต่ความสุข สบาย เบิกบานกายใจ 2. “โธ” คือ ลมหายใจออก..ที่มีแต่ความสุข เบิกบานผ่อนคลายกายใจ ชิว : จริงๆแล้ว “พุทโธ” นี้ สามารถนำมาปฏิบัติทำได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกความรู้สึกเลยนะ เพราะทำได้ง่ายๆ แต่มีคุณประโยชน์สูง ทั้งเสริมกำลังให้สติปัญญาเกิดขึ้นบ่อยๆ ทำให้สติปัญญามีกำลังดึงใจออกจากภวังค์ความคิดได้ง่าย ทั้งเสริมพลังใจให้เข้มแข็ง ทำให้จิตใจตั้งมั่น รวมเป็นหนึ่งเดียว มั่นคงไม่อ่อนไหวง่าย เป็นปัญญาทำรู้สัจจะและกิจที่ควรทำของอริยะสัจ ๔ ด้วย..ขอแค่ภูจดจำสิ่งที่ต้องทำ ตามการจำกัดความหมายของคำบริกรรมได้ก็พอ ภู : เยี่ยมเลยงับป๋ม.. ชิว : สรุป..ทุกครั้งที่ภาวนา ให้จดจำไว้เลยว่า เราทำ “พุทโธ”..ก็เพื่อคุณ 3 ประการดังนี้ คือ.. หลักการภาวนา “พุทโธ” 3 ประการ 1. มีใจมุ่งหมายจะทำให้จิตเราเป็น “พุทโธ..ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน” ตามพระพุทธเจ้า 2. มีใจมุ่งหมายจะทำให้จิตเรา..ตื่นรู้ออกจากภวังค์ความคิด → เลิกคิดในสิ่งนั้น → เลิกพะวงคาดหวัง → แล้วทำใจให้สงบ สบาย ผ่องใส ชื่นบาน ปลอดโปร่ง ผ่อนคลาย เป็นสุข 3. มีใจมุ่งหมายเอาวิมุติสุข คือ กิริยาจิตที่แช่มชื่น เบิกบานใจ ปลอดโปร่ง เย็นใจ รื่นรมย์ เป็นสุข พ้นแล้วจากสมมติกิเลสของปลอมทั้งปวง ให้ปรากฏขึ้นภายในกายใจตน ไม่ยึดความคิด ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง..เพราะมันเป็นสมมติกิเลสทั้งสิ้น ยึดมันไปก็มีแต่ทุกข์ (ทั้งเรื่องที่ใคร่ปารถนา-ไม่ชอบใจ-ไม่สบายใจ, ทั้งอาการที่อึดอัด อัดอั้น คับแค้นกายใจ ไม่สกายใจทั้งปวง) ของแท้มีแค่ลมหายใจเรานี้เท่านั้น ลมหายใจนี้ไม่มีทุกข์ ลมหายใจที่ไม่มีโทษ ลมหายใจนี้ไม่มีภัย ลมหายใจเป็นที่สบาย อย่าทิ้งลมหายใจ อย่าทิ้งพุทโธ แล้วทำดังนี้.. หายใจเข้ายาว-เบาสบาย-ช้า ระลึก “พุท” ลากเสียงยาวตามลมหายใจ พัดเอาความสุข ปลอดโปร่ง แช่มชื่น เบิกบาน เป็นวิมุติสุข เข้ามาตามลมหายใจเข้า หายใจออกยาว-เบาสบาย-ช้า ระลึก “โธ” ลากยาวตามลมหายใจ ทำให้ใจเป็นสุข ชื่นบาน ร่าเริง ผ่อนคลายกายใจ เป็นวิมุติสุข ******************************** (“พุท” คือ ลมหายใจเข้า ที่เป็นสุข แช่มชื่น เย็นใจ ซาบซ่าน ปลอดโปร่ง พ้นแล้วจากสมมติคความคิดกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เป็นวิมุติสุขที่เข้ามาสถิตย์ในใจ) (“โธ” คือ ลมหายใจออก ที่เป็นสุข แช่มชื่น เย็นใจ ซาบซ่าน ผ่อนคลาย พ้นแล้วจากสมมติคความคิดกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง เป็นวิมุติสุขที่เข้ามาสถิตย์ในใจ) (วิมุตติสุข แปลว่า สุขเกิดจากวิมุตติ สุขเกิดจากความหลุดพ้น..ความสงบ ความว่าง ความไม่มี ความสละคืนพ้นจากสมมติกิเลสของปลอม ไม่ยึดสิ่งที่ใจรู้ทั้งปวง) ภู : โอเชเยย..!!! (人*´∀`)。*゚+ ..แต่ภูกินยาแล้วเหมือนจะหลับเยย แหะๆๆๆ ชิว : งั้นภูนอนทำ “พุทโธ” แล้วหลับไปเลยนะ ภู : โอเชเยย..!!! (人*´∀`)。*゚+ ..แต่ภูกินยาแล้วเหมือนจะหลับเยย แหะๆๆๆ ..แล้วภูก็นอนแล้วทำ “พุทโธ” จนหลับไปตอน 10:00 น. ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO .. ..หลังจากภูตื่นขึ้นมาตอน 13:00 น. ก็ล้างหน้าล้างตา เดินออกไปซื้อข้าวอีกครั้ง.. ..ตอนภูซื้อข้าว ก็เจอลุงป้าแถวบ้าน ที่เป็นทั้งพ่อแม่ของกลุ่มเพื่อนภู และคนที่รู้ข่าวภูฆ่าตัวตาย.. ป้า : อ้าวภูมาซื้อข้าวหรอลูก ภู : ใช่ครับป้า ป้า : ตอนนี้เป็นอย่างไรบ้าง สุขภาพจิตใจดีขึ้นหรือยัง ภู : ตอนนี้ดีขึ้นมากแล้วครับป้า..เดี๋ยวผมกลับก่อนนะครับ ป้า : จ้า.. ลุง : ภูเข้มแข็งนะ สู้ๆ อย่าฆ่าตัวตายอีกนะ ภูเก่งเรื่องแค่นี้ผ้านได้สบายแน่นอน ภู : ครับลุง (ノ◕ヮ◕)ノ*.✧ โย่ว..!! ..แล้วภูก็เดินกลับบ้านอย่างยิ้มแย้มแจ่มใส เพราะรู้สึกว่าลุงๆป้าๆให้ความห่วงใย คุยดีด้วย.. ..พอกลับถึงบ้านบ้าน ภูก็ทานข้าวตามปกติ แล้วก็ทำ “พุทโธ” 20 นาที.. ..เมื่อภาวนาพุทโธเสร็จ ภูก็เปิดเกมเล่น ทั้ง Robox ทั้ง PG เมื่อเล่นไปในเกม คุยสตรีมกับเพื่อนในเกมที่ร่วมทีมกลุ่มเดียวกัน ภูมีเล่นเก่งบ้าง ชนะบ้าง แพ้บ้าง ส่วนมากจะแพ้ ภูก็ไปเอาเงินไปเติมเกมซื้อไอเทมเพื่อกวังว่าจะเก่ง เพื่อนในทีมจะชมชอบ แล้วเล่นต่อ แล้วก็แพ้อีกไม่มีเงินซื้อไอเทม เพื่อนในทีมก็เริ่มด่าภู A : ภูมึงไอ้อ่อนเอ๊ย.. B : ภูมึงกากจังวะ แทนทีจะคุมดูแต่เสือกเดินไปให้เขายิง โคตรโง่เลยมึง ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้ C : ควายจริงมึงไอ้ภู แม่งมีไอเทมดีๆแต่เสือกอ่อน ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้ ภู : อ่า..โทษนะ เราเล่นไม่เก่ง A : เล่นไม่เก่งก็อย่ามาเข้าทีมสิวะ ไอ้อ่อน ภู : นิ่งเงียบ โดยนั่งรู้ลมหายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้ C : เลิกคุยกับมันเหอะ อยู่ร่วมทีมแล้วแม่งแพ้ตลอด B : เออว่ะ ไปดีกว่า ภู : หายใจเข้าออก บริกรรม พุทโธ แต่ทำแบบกดข่มใจไว้อัดแน่นในใจ จนลืมลมหายใจ ไม่น้อมใจเอาความสุข เบิกบานใจ วิมุตติสุขใดเข้ามาในใจ จนเหลือกลายเป็นคำบ่นพร่ำว่า พุทโธ ย้ำๆสะกดใจกดข่มบีบอัดไว้ ..แล้วเพื่อนทุกคนก็ออกจากกลุ่มเหลือภูคนเดียว ก็เลยเล่นโหมดคนเดียว แต่ก็ไม่มีเพื่อนคนอื่นเข้ามาทักหรือคุยด้วยเลย..พอเล่นไปสักพัก ภูก็รู้สึกอัดอั้นใจร้องไห้ออกมา.. ภู : ฮือ...ฮือ..ว้ากกกกกกก !!! .·´¯`(>▂<)´¯`·. ทำไมมีแต่คนเกลียดภูห๊ะ ทำอะไรให้นักหนาห๊ะ ...ฮือๆๆๆๆ...อ้ากกกก...ฮือฮือ.. 。:゚(;´∩`;)゚:。 ชิว : ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ... ชิวบินวนรอบตัวภู แล้วมาจับแก้มภู เป็นอะไรหรือเปล่า..ลองทำพุทโธยัง..ทำพุทโธ..ก่อน ภู : ภูทำแล้วแต่ไม่ช่วยเลย ฮือ.... ชิว : อ่าใจเย็นๆนะ ทำแบบไหนอะ ภู : ก็หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แต่ความคิดมันปะทุ ภูก็ย้ำพุทโธในใจรัวๆแล้วก็ไม่ได้ ฮือๆๆ ชิว : โอ่เอ้...ชิวรู้แล้วๆ ภู : ฮือ..ฮือ.. ชิว : ภูทำตามชิวใหม่นะ ฟังชิวนะภู ทำตามชิวพูดนะ ชิวววว... Ꮚ\(。・`-´・。)/Ꮚ ... ..ภูผงกหัว พยักหน้ารับทั้งน้ำตา.. (。ŏ﹏ŏ) .. ชิว : ภูหลับตา..ทำไว้ในใจไม่ยึดเอาสิ่งใดที่ใจรู้ทั้งปวง ทั้งเรื่องที่ทุกข์ ทั้งความคิด ความอัดอั้นตันใจ แล้วเอาใจปักหลักจับไว้ที่ปลายจมูก → แล้วหายใจเข้าบริกรรม “พุท” กำหนดลมหายใจเข้า เบาๆ ช้าๆ ยาวๆ ลึกๆ..โดยนึกถึงความรู้สึกที่เป็นสุข ซาบซ่านแผ่ซัดตามลมหายใจเข้าจากปลายจมูก → ผ่านโพรงจมูก → เข้ามาที่หน้าภู ..ลมหายใจนั้นเป็นที่สบาย ไม่มีทุกข์ ไม่มีโทษ ไม่มีความคิด → พอใกล้จะสุดลมหายใจให้นึกถึงความสุขแผ่ซ่านไปทั่วโพรงสมอง ทำให้สมองปลอดโปร่ง โล่ง สบาย เย็นใจ → รู้ปลายลมหายใจที่โพรงสมอง → ความเย็นใจ ซาบซ่าน สบาย ปลอดโปร่ง มีอยู่ที่โพรงสมอง → เมื่อสุดลมหายใจเข้าให้กลั้นลม นิ่ง แช่ไว้..รับรู้ถึงความแช่มชื่น ปลอดโปร่งที่โพรงสมอง นับ 1-2-3 ภู : ( ´> _ <` )«°×°⁰«°⁰×°⁰« ชิว : แล้วหายใจเข้าบริกรรม “โธ” กำหนดลมหายใจออก เบาๆ ช้าๆ ยาวๆ..โดยนึกถึงความรู้สึกที่เป็นสุข เย็นใจ เราจะปล่อยทิ้งกายใจที่เศร้าหมองเสียใจนี้ออก..จากโพรงสมอง → มาที่เบื้องหน้าภู → ทำความผ่อนคลายกายใจออก..ตามลมเคลื่อนผ่านโพรงจมูก → ออกไปที่ปลายจมูก → แผ่กายใจภูออก คลายออก → ปล่อยกายใจสบายๆ ไม่จับสนอะไรนอกจากการปล่อย คลายออก → รู้ปลายลมหายใจออกสิ้นสุดที่ปลายจมูก นิ่ง แช่ ปล่อยออก นับ 1-2-3 ภู : ( ´◡‿◡` )•»•°⁰»°⁰»°⁰ ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจอยู่ที่ปลายจมูก หายใจเข้า บริกรรม “พุท” นึกถึงความสุข ซาบซ่าน พรั่งพรูเข้ามาตามลมหายใจเข้า จากปลายจมูก → เข้ามาปะทะซ่านที่เบื้องหน้าภู → ความแช่มชื่น ปลอดโปร่งเข้าไปที่โพรงสมอง ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ชิว : หายใจออก บริกรรม “โธ” นึกถึงความสุข ซาบซ่าน ผ่อนคลายกายใจ พรั่งพรูออกมาตามลมหายใจออกจากสมอง → มาที่เบื้องหน้าเรา → เคลื่อนออกทางโพรงจมูก → ไปที่ปลายจมูก → ทำกายใจให้ปล่อยออก คลายออก แผ่ออก สบายกายใจตามลมหายใจออกที่ปลายจมูก ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจเข้าที่ปลายจมูก หายใจเข้า บริกรรม “พุท” ลากเสียงยาวตามลมหายใจเข้า → พัดเอาความสุขชื่นบานจากปลายจมูก → เข้ามาปะทะที่เบื้องหน้าภู ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ชิว : ปักหลักรู้ลมหายใจเข้าที่เบื้องหน้า หายใจออก บริกรรม “โธ” ลากเสียงยาวตามลมหายใจออก → พัดเอาความสุขชื่นบานซ่านดระทบที่เบื้องหน้าภู → ปรอดโปร่ง สบาย ผ่อนคลาย ตามลมหายใจออกที่ปลายจมูก ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ชิว : เอาใจจับไว้ที่ปลายจมูก..หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ“ ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ชิว : เอาใจจับไว้ที่ปลายจมูก..หายใจเข้า “พุท” หายใจออก “โธ“ ทำไปเรื่อยๆ สบายๆ ภู : ( ´◡‿◡` )*•°⁰ °⁰ °⁰ ...เวลาผ่านไป 25 นาที... ภู : ( ु⁎ᴗ_ᴗ⁎)ु.。oO ..คร่อกก..ฟี้..zzZZ ..หลังจากนั้นอีก 20 นาทีให้หลัง..ภูก็รู้สึกตัวลืมตาขึ้นมา รู้สึกเบาโล่ง ปลอดโปร่ง สบาย คลายทุกข์ทุกอย่าง ใจก็เบิกบาน ก็พอดีถึงเวลา 16:00 น. .. ภู : ว้าวว..เผลอหลับ..แหะๆๆ..แต่ตื่นขึ้นมาแล้วสมองโล่งมากเลย.. ( ´◡‿◡` ) ♪°♪°•*•° ฮื้ม..ฮืม..นี่หรอมันสบายอย่างนี้เอง ชิว : ใช่แล้วล่ะ..ท |