ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ความรักของวาเลนไทน์ กับ ความรักของมาฆบูชา ต่างกันอย่างไร.?  (อ่าน 1142 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29314
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ความรักของวาเลนไทน์ กับความรักของมาฆบูชา
โดย โกวิท วงศ์สุรวัฒน์

เนื่องจากวันตรุษจีนและวันมาฆบูชานั้นยึดเอาปฏิทินทางจันทรคติเป็นเกณฑ์กล่าวคือถือเอาวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำเป็นหลัก ส่วนวันวาเลนไทน์นั้นยึดเอาปฏิทินสุริยคติเป็นเกณฑ์ จึงถือเอาวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันวาเลนไทน์เป็นที่แน่นอนในขณะที่วันตรุษจีนและวันมาฆบูชาจะเปลี่ยนไปทุกปีในปฏิทินสุริยคติ ปีนี้วันตรุษจีนมาก่อนวันวาเลนไทน์ 3 วัน ทำให้วันวาเลนไทน์ปีนี้คึกคัก เนื่องจากรายการแต๊ะเอีย (รับเงินโบนัสประจำปีตามธรรมเนียมจีน) ของวัน

ตรุษจีนจึงส่งผลถึงการจับจ่ายใช้สอยและบันเทิงของวันวาเลนไทน์ด้วย ส่วนวันมาฆบูชามาล่ามากในปีนี้คือเป็นวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ไม่ทราบว่าจะมีผลต่อคนไปทำบุญที่วัดหรือไม่ เนื่องจากเป็นช่วงปลายเดือนที่มนุษย์เงินเดือนจำนวนมากต้องรัดเข็มขัดกันเป็นประจำอยู่แล้ว และยังต้องมีรายจ่ายในเทศกาลใหญ่ๆ ถึง 2 เทศกาลก่อนหน้านี้ด้วย

ผู้เขียนได้เขียนบทความนี้ในวันวาเลนไทน์ เนื่องจากตั้งใจที่จะเปรียบเทียบความรักของวันวาเลนไทน์กับความรักของวันมาฆบูชาให้ถึงใจสักที เพราะเท่าที่เคยได้อ่านได้ฟังมาแล้วมันไม่หรอยถึงใจเลย จนกระทั่งได้มีบุญอ่านข้อเขียนของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ในวันนี้มันหรอยจังฮู้สำหรับผู้เขียนเหลือเกิน จึงอยากจะแชร์กับท่านผู้อ่านที่เคารพเป็นอย่างยิ่งตามประสาคนรักกันชอบกัน เมื่อได้อะไรดีๆ มาก็อยากจะแบ่งปันกันอย่างนี้แหละครับ



    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ท่านได้ลิขิตไว้ในหนังสือจาริกบุญ-จาริกธรรม หน้า 95-99
    สรุปความว่า ความรักถ้าหากแยกตามหลักพระพุทธ ศาสนาก็แบ่งง่ายๆ ได้ 2 แบบ คือ

1) ความรักที่มีต่อคน สัตว์ สิ่งของที่จะให้ความสุขต่อตัวเรา ภาษาพระเรียกว่า "ราคะ"
ความรักแบบแรกนี้คือความชอบใจในบุคคลหรือสัตว์สิ่งของที่จะเอามาบำรุงบำเรอความสุขของเรา ชอบใจคนนั้น สุนัขตัวนั้น กล้วยไม้ต้นนี้เพราะว่าเอามาสนองความต้องการช่วยบำรุงบำเรอทำให้เรามีความสุขได้ ดังนั้น อะไรที่ทำให้เราชอบใจ มีความสุขเราก็ต้องการมัน นี่เป็นความรักแบบที่หนึ่งที่เรียกว่าราคะซึ่งมีอยู่เป็นส่วนมากตามปกติ
    ความรักที่เด็กหนุ่มสาวพูดกันมากในช่วงวันวาเลนไทน์นั้น คือ
    ความรักแบบที่ว่าชอบใจอยากได้เขามาสนองความต้องการของตัวเรา ทำให้ตัวเรามีความสุข


ดังนั้น ความรักแบบแรกหรือราคะนี้คือความรักที่ต้องการได้ ต้องการเอาเพื่อตนเอง เมื่อทุกคนต่างคนต่างอยากได้ ความรักประเภทนี้จึงนำมาซึ่งปัญหาทำให้เกิดการเบียดเบียนแย่งชิงซึ่งกันและกันเป็นที่มาของความเห็นแก่ตัว
    ความรักแบบราคะนี้เป็นความต้องการที่จะหาความสุขให้กับตนเอง
    พออีกคนหนึ่งที่เคยรักนั้นเกิดมีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน
    หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็จะเบื่อหน่าย รังเกียจเขาได้



2) ความรักที่มีต่อคน สัตว์ สิ่งของที่เราอยากจะให้คนนั้น ตัวนั้น สิ่งนั้นมีความสุขสถาพรยิ่งขึ้น หรือภาษาพระท่านเรียกความรักแบบนี้ว่า "เมตตา"
    ความรักแบบที่ 2 หรือเมตตานี้คือความต้องการให้ผู้อื่นมีความสุขหรือความปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข เช่น ความรักของพ่อแม่เป็นแบบนี้คืออยากให้ลูกมีความสุข
    หัวใจของความรักแบบที่ 2 นี้คือ "การให้" ซึ่งตรงกันข้ามกับความรักแบบที่ 1 ที่ "ต้องการได้"
    แต่ความรักแบบที่ 2 นี้ต้องมีองค์ประกอบด้วย "รักด้วยการให้" 3 ส่วน และ "รักเป็น" 1 ส่วน


    รวมเป็น 4 ส่วนอย่างที่เราเรียกว่าพรหมวิหาร 4 นั่นแหละครับ คือยังงี้ครับ
       1.เมตตา : ปรารถนาให้คน สัตว์ สิ่งของ(สิ่งแวดล้อม, ป่า ฯลฯ) มีความสุข
       2.กรุณา : ช่วยเหลือให้คน สัตว์ สิ่งของพ้นทุกข์
       3.มุทิตา : พลอยยินดี (ไม่อิจฉาริษยา) เมื่อคน สัตว์ สิ่งของมีความสุขความเจริญขึ้น
          (เมตตา กรุณา มุทิตาทั้ง 3 ส่วนนี้เป็นความรักด้วยการให้)
       4.อุเบกขา : แปลว่า คอยดู หรือดูอยู่ใกล้ๆ คือคอยดูให้คนที่เรารักแบบที่ 2 นี้ทำ ดำเนินชีวิตจะต้องรับผิดชอบตัวเองได้โดยพ่อแม่ผู้รักลูกแบบนี้คอยดูอยู่ใกล้ๆ เป็นที่ปรึกษาเพื่อให้ลูกทำเป็นหรือทำได้ดีด้วยตนเอง (อุเบกขานี้คือความรักแบบรักเป็น)


     หากพ่อแม่ไม่รีบใช้อุเบกขาเสียแต่เนิ่นๆ ต่อเขาโตขึ้นไม่ได้อยู่กับพ่อแม่แล้ว
     หากลูกรับผิดชอบตัวเองไม่เป็น ทำไม่เป็น เมื่อทำผิดไปก็ไม่มีโอกาสแก้ไข หากเอาแต่รักทำให้ลูกหมดทุกอย่างจนกลายเป็นพ่อแม่ปิดกั้นการพัฒนาของลูก อาจถึงกับทำลายลูกด้วยความรักไม่เป็นก็มี

    อุปมาการเลี้ยงลูก รักลูกเมื่อยังเด็กอยู่นั้นก็เลี้ยงต้นไม้เล็กไว้ในกระถางดูแลรดน้ำใส่ปุ๋ย เมื่อต้นไม้โตแล้วก็ต้องเอาออกจากกระถางลงปลูกในดินซึ่งจะได้เจริญเติบโตตามศักยภาพต่อไป หากไม่ยอมเอาต้นไม้ลงดินต้นไม้ก็จะไม่เจริญเติบโตเพราะอยู่ในที่จำกัด อุเบกขาก็เหมือนกับปล่อยวางด้วยการเอาต้นไม้ลงดินเพื่อความเจริญของต้นไม้ที่รักต่อไปนั่นเอง



ขอบคุณภาพข่าวจาก
หน้า 6,มติชนรายวัน ฉบับวันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ 2556
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1361323414&grpid=&catid=02&subcatid=0200
http://variety.eduzones.com/,http://202.143.173.170/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ