:D

เป็นคำถามที่เคยถามท่านพระอาจารย์ มาแล้ว
จึงขออาสาตอบก่อนเลยนะเจ้าคะ
-------------------------------------------
ประการที่ 1.กรรมฐาน เป็นอุบายทำใจให้สงบ และ ทำใจให้หยุด และทำใจให้รู้แจ้ง เห็นชัดตามความเป็นจริง
ซึ่ง กรรมฐานนั้นแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ 1.ภาคสมถะ 2.ภาควิปัสสนา
1.ภาคสมถะนั้น ประกอบด้วยกรรมฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎก ถึง 40 กองกรรมฐาน
2.ภาควิปัสสนา นั้นปรากฏในพระไตรปิฏกอยู่โดยรวม พระพุทธองค์สรุปไว้ใน โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ
มี ปธาน 4 อิทธิบาท 4 สติปัฏฐาน 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 มรรค 8
คำถามว่า
"ทำไมต้องเป็นกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ด้วยครับ? กรรมฐาน อื่นไม่ได้หรือครับ?"ก็จะได้คำตอบว่า ปฏิบัติได้ แต่เมื่อพิจารณาตามความเป็นจริงแล้ว เราก็ต้องปฏิบัติตามทั้ง สมถะ และ วิปัสสนา
ซึ่งก็หมายถึงเราต้องเลือกมา อย่างใด อย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่างตามจริตของเราที่ปฏิบัติได้
เมื่อพิจารณากับมาที่ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ แล้วกรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ ก็เป็นทั้ง 2 อย่าง
ในส่วน อุปจารสมาธิ นั้น กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ นั้นใช้ พุทธานุสสติ เป็นกรรมฐานหลัก
พอผู้ปฏิบัติผ่าน อุปจารสมาธิ แล้วในห้องที่ 4 ก็ปฏิบัติ อานาปานสติ และเลือกกรรมฐานอื่นที่เป็นส่วนอัปปนา
พอมาในภาควิปัสสนา ก็เริ่มที่ วิสุทธิ 7 วิโมกข์ 3 จนไปจบ โพธิปักขิยธรรม 37
ซึ่งมองในมุมไหน ก็ไม่พ้นในแนวทางการปฏิบัติ แบบ กรรมฐาน มัชฌิมา แบบลำดับ
มัชฌิมา หมายถึงทางสายกลาง ไม่ปฏิบัติไปเพื่อทรมานตน หรือส่งเสริมกามสุข
แบบลำดับ หมายถึงการปฏิบัติ ตามขั้นตามตอน ตามวิธีการ ที่เป็นแนวทางของพระอริยะ
ที่นี้ ถ้าจะปฏิบัติในแนวอื่นๆนั้น ก็ขึ้นอยู่กับพระอาจารย์ผู้สอน หรือถ่ายทอด แต่ในที่นี้ เว็บนี้เป็นเว็บที่ท่านพระอาจารย์ปฏิบัติ
ตามแนวทางที่พระอาจารย์ของพระอาจารย์สอนกันสืบมา ดังนั้นในที่นี้ก็ต้องกล่าวแต่ในแนวทางที่ปฏิบัติสืบกันมา
สำหรับส่วนตัวดิฉัน นั้นก่อนที่จะรู้จักกับพระอาจารย์ ก็เคยปฏิบัติมาหลายแบบไม่ว่าจะต้องไปนอนที่วัดต่างๆ อาทิ ในแนว พุทโธ หลวงปู่มั่น
ในแนว มโนมยิทธิ ธรรมกาย มหาสติปัฏฐาน ยุบหนอพองหนอ ดูนามรูปแบบอภิธรรม เพราะดิฉันเดินทางปฏิบัติไปมากแต่ที่ผ่านมาไม่สามารถ
ทรงสมาธิ หรือวิปัสสนาได้จริง มีแต่ความรู้มาก จนกระทั่งได้มาเจออาจารย์สนธยา ท่านไม่ได้มาเที่ยวเดินสอน ท่านมาเยี่ยมที่เมืองกาญจนบุรี
แต่วันที่เห็นท่านนั้น ดิฉันก็ไม่ได้เลื่อมใสในครั้งแรก เพราะท่านเป็นพระที่อ้วน แต่ดิฉันแอบเห็นท่านนั่งกรรมฐานอยู่บนศาลาที่พัก เห็นท่านนั้งกรรมฐาน
ตั้งแต่ 9:00 น.จนถึง เวลาสัญญาณระฆังทำวัตรเย็น ซึ่งการปฏิบัติของท่านนั้นมีคนเห็นร่วมกับดิฉันอีกประมาณ 3 คน จึงเกิดความเลื่อมใสท่าน
จึงเข้าไปสนทนากับท่านในอีกวัน ท่านพระอาจารย์ก็บ่ายเบี่ยงในการสอนบอกให้ปฏิบัติตามที่เคยเรียนมา เนื่องจากมีประโยคหนึ่ง
ที่ท่านพูดเรื่องการขึ้นกรรมฐาน ก่อนจึงจะสอนให้ พวกดิฉันก็เลยขอขึ้นกรรมฐานกับท่าน และท่านก็มาสอนเพิ่มในสิ่งที่ไม่เคยปฏิบัติได้
เนื่องจากดิฉันเป็นศิษย์ที่ปฏิบัติ มาในหลายแนวทาง ปฏิบัติทีไรก็ไม่เคยเดินจิตได้ หรือปฏิบัติแล้วก็ไม่ชนะนิวรณ์สักที
จนกระทั่งได้พบอาจารย์ ท่านได้สอนวิธิการเดินจิตและการปฏิบัติตามที่ท่านสอนในวันแรกที่ท่านสอนก็สามารถเดินจิตได้ครั้งแรก
จำได้ว่านั่งกรรมฐานได้ 2 ชั่วโมง โดยมีความรู้สึกเหมือนนั่งแค่ 15 นาที ตั้งแต่นั้นมาดิฉันก็ปฏิบัติได้มาเรื่อยๆจนขึ้นไปตามขั้นที่ท่านสอน
ในขณะเดียวกันก็ได้ทราบถึงหลักธรรม และวิธีที่เจริญวิปัสสนา อย่างที่ไม่น่าเชื่อว่าจะง่ายๆๆ อย่างนี้ แต่ดิฉันก็เข้าใจ และมองเห็นตามความเป็นจริง
จึงทำให้มั่นใจว่า ควรปฏิบัติตามหลักที่พระอาจารย์ได้สอน ทุกวันนี้ก็ปฏิบัติตามอยู่
แนวทางการปฏิบัตินั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติแล้ว ได้ผลหรือไม่
ถ้าปฏิบัติไม่ได้ผล เราก็เปลี่ยนแนวทางอื่นก็ได้ ซึ่งครูบาอาจารย์ มีเยอะมาก แต่ผู้ปฏิบัติได้จริงมีน้อยมาก
ไม่รู้ว่าจะตอบถูกใจ หรือป่าว ?
และไม่รู้ว่าอาจารย์ จะตอบอย่างนี้หรือป่าว ? แต่ที่เคยฟังท่านอธิบาย ก็เหมือนจะอธิบายอย่างนี้