ใครกันแน่ ผู้สร้าง พระวัดพลับ
ภาพและเรื่องโดย จ.ส.อ.เอนก เจกะโพธิ์
พระวัดพลับวัดพลับ เดิมเป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ใกล้คลองบางกอกใหญ่ จังหวัดธนบุรี ปัจจุบันเป็นจังหวัดนนทบุรี รวมเขตกับ กทม. เป็นวัดที่มีมานานแล้ว แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อยู่ต่อหรือถัดจาก วัดราชสิทธาราม เดี๋ยวนี้ขึ้นไปทางทิศตะวันตก
สมัยเมื่อรัชกาลที่ 1 ได้เถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว ได้นิมนต์ พระอาจารย์สุก ซึ่งเป็นพระอาจารย์จากอยุธยา ให้ลงมาอยู่ในกรุงเทพฯ พระอาจารย์สุก ขออยู่วัดฝ่ายอรัญวาสี ที่สงบเงียบเพื่อบำเพ็ญวิปัสสนาธุระ ไม่ชอบอยู่วัดในเมือง รัชกาลที่ 1 ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯตามอัธยาศัย และให้สร้างวัดราชสิทธารามขึ้น
เพื่อให้สมพระเกียรติที่เป็นพระอาจารย์ ถวายให้จำพรรษากับแต่งตั้งให้เป็น
พระราชาคณะที่ พระญาณสังวร เมื่อ พ.ศ.2325
ปีเดียวกับที่สร้างกรุงเทพมหานครนั่นเอง
เมื่อสร้าง วัดราชสิทธาราม แล้วเสร็จโปรดเกล้าฯให้รวมวัดพลับเข้าไปอยู่ในเขต วัดราชสิทธาราม ด้วยกันราษฎร และชาวบ้านแถบนั้น คงยังเรียกชื่อ วัดราชสิทธาราม ว่า วัดพลับ สืบมาตราบเท่าทุกวันนี้
ต่อมา รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯให้สถาปนาพระอาจารย์สุกขึ้นเป็น สมเด็จพระสังฆราช
โปรดฯให้แห่จากวัดพลับมาอยู่วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ปัจจุบันนี้ อยู่ได้ปีเดียวก็สิ้นพระชนม์
พระปิดตาย้อนยุค พระสังวรานุวงศ์เถร(ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม บางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ
ใครกันแน่ ผู้สร้าง พระวัดพลับทุกท่านคงสงสัยว่าท่านสร้างไว้จริงหรือ เป็นเรื่องที่เราท่านทั้งหลายไม่สามารถจะหาข้ออ้างใดมายืนยันได้ เพราะมีนักเล่น นักสะสมหลายกลุ่ม มีความคิดเห็นไม่ตรงกันเลยสักคนเดียว แม้แต่ผู้เขียนเองก็มีความคิดเห็นเป็นอิสระ (ส่วนตัว) ไม่เหมือนใครอื่น
และเพราะเหตุนี้เอง จึงทำให้คนหลายกลุ่มกล่าวกันเป็นทำนองว่า ความคิดเห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชสุก เป็นผู้สร้างนั้น เมื่อสร้างเสร็จแล้วก็บรรจุไว้ที่พระเจดีย์บ้างอะไรทำนองนี้ และอีกส่วนหนึ่งที่เหลือจากการบรรจุในเจดีย์ ก็นำไปบรรจุไว้ที่วัดโค่ง จังหวัดอุทัยฯ อะไรโน่น
กลุ่มที่สองมีความเห็นว่า สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน เมื่อจำพรรษาอยู่ใน วัดพลับ ท่านได้สร้างพระสมเด็จอรหังไว้แจกชาวบ้านอีก ขรัวตาจันภิกษุชาวเขมร เป็นลูกมือช่วยเหลือเมื่อสมเด็จพระสังฆราชสิ้นพระชนม์แล้ว ขรัวตาจัน พระภิกษุชาวเขมรผู้เรืองวิทยาคม จึงเริ่มสร้าง พระวัดพลับ ส่วนหนึ่ง (ที่ยังไม่รู้ว่าใครกันแน่สร้าง พระวัดพลับ)
กลุ่มที่สาม ชาวอุทัยธานีมีความเห็นว่า มีภิกษุชาวพม่า ชื่อ หลวงตาจันจำพรรษาอยู่ที่วัดโค่ง อุทัยธานี เป็นผู้สร้าง พระวัดพลับ ชาวบ้านเรียกชื่อพระที่ว่า หลวงตาจัน สมัยนั้นว่า โค่ง อุทัยธานี เป็นผู้สร้าง พระวัดพลับ ชาวบ้านเรียกชื่อพระที่ว่า หลวงตาจัน สมัยนั้นว่า พระวัดโค่ง

ทั้ง 3 กลุ่มดังกล่าวของผู้ที่มีความคิดเห็นแตกแยกกันนี้ จึงไม่ได้เป็นข้อยุติของเรื่องได้
ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนใครจะว่าผมไม่โกรธ เพราะเป็นความนึกคิดเท่านั้น
ความคิดความเชื่อของผมอาจจะไม่เหมือนกับใครสักคนก็ได้ ความคิดนี้คือ พระร้อย จากนักสร้างพระ ซึ่งเหมือนพระสมัยนี้นั่นเอง ทำเป็นหลายแบบหลายทรง เนื้อหาสาระดีมาก เปรียบเทียบได้เท่ากับเนื้อของสมเด็จเมื่อใช้ถูกเหงื่อ จะมีความหนึกนุ่มเกิดขึ้น ผิวคล้ายเปลือกไข่ มีความวาวเป็นมันในตัวเอง
เพราะมีส่วนผสมของเปลือกหอยเผาไฟ กล้วย ปูนขาว น้ำมัน ตังอิ้ว กระดาษฟาง หมักเป็นเวลานานๆ แล้วนำมาบดตำให้ละเอียด แล้วผสมด้วยน้ำตาลอ้อย จึงเกิดความละเอียดในตัวของมันเอง
จึงทำให้เนื้อพระวัดพลับมีความใกล้เคียงกับเนื้อพระสมเด็จ
ถ้าเนื้อพระสมเด็จไม่ใกล้เคียงกับพระวัดพลับ ผมไม่เล่น ผมไม่นิยม
ท่านที่เคารพทั้งหลาย ท่านที่ได้ชื่อว่าเป็นกรรมการตัดสิน ลองพิจารณาดูซิครับว่า ใครสร้างพระวัดพลับกันแน่ หาข้อยุติกันได้ไหม ความคิดของผมผิดแผกแปลกประหลาดกับคนทั้งหลาย เพราะเป็นความคิดอิสระของผมเท่านั้น พระนี้เป็นพระดี เป็นพระที่มีผู้สร้างแน่นอน (แต่ไม่รู้ใครสร้างเท่านั้น) โปรดอย่าคิดว่าความคิดของผมไร้สาระ เพราะเสรีภาพในทางความคิดเขาเปิดช่องไว้ให้คิดคิดคิด
ข้อมูลจำเพาะ พระวัดพลับ
สถานที่พบ : วัดพลับ-คลองบางกอกใหญ่, มีทั้งบรรจุกรุและไม่บรรจุกรุ
ผู้สร้าง : ไม่เป็นข้อยุติ (สมเด็จพระสังฆราชสุกไก่เถื่อน, ขรัวตาจันภิกษุเขมร หรือผู้สร้างอื่น)
จำนวนสร้าง : ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอน
อายุการสร้าง : ไม่ปรากฏแน่นอน
เนื้อพระ : เนื้อผงผสมปูนขาวปั้น
พระปลอม : พบได้ทั่วไป ทั้งในและนอกสนามพระ
ราคาเช่าบูชา : หลักหมื่นต้น ถึงหลายๆ หมื่น
จำนวนพิมพ์ทรง: เท่าที่เล่นหา 10 พิมพ์ทรง :
- พิมพ์สมาธิใหญ่, สมาธิเล็ก, สมาธิเข่ากว้าง
- พิมพ์พุงป่องใหญ่, พุงป่องเล็ก
- พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ทรงชะลูด, ตุ๊กตาใหญ่ทรงเตี้ย, ตุ๊กตาเล็ก
- พิมพ์ปิดตา
- พิมพ์ปิดตา
- พิมพ์โมคคัลลาที่มา: ลานโพธิ์ ฉบับที่ 843 เดือนพฤศจิกายน 2544 : พระวัดพลับ พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก ภาพและเรื่องโดย จ.ส.อ.เอนก เจกะโพธิ์
www.lanpothai.com/hiding-place/powder/533-ใครกันแน่-ผู้สร้าง-พระวัดพลับ.html ขอบคุณภาพจาก เฟซบุ๊ค Weera Sukmetup