ไทยสุขอันดับ52ของโลก'นครพนม'แชมป์
20 มีนาคม วันความสุขสากล สหประชาชาติเผยประเทศไทย มีความสุขอยู่ในลำดับ 52 ของโลก ในอาเซียนเป็นลำดับ 3 รองจากสิงคโปร์-มาเลเซีย แต่มีอารมณ์ดีเป็นลำดับที่ 8 ของโลก
18 มี.ค.56 นพ.วชิระ เพ็งจันทร์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวในการเสวนาวิชาการและแถลงข่าว เรื่อง “ความสุขคนไทย:เราจะทำอะไรกันได้บ้าง” ว่า เมื่อปี 2555 องค์การสหประชาชาติ หรือ UN ประกาศให้วันที่ 20 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันความสุขสากล(The International Day of Happiness) ในปี 2556 จึงเป็นการจัดวันความสุขสากลครั้งแรก ซึ่งรายงานว่าด้วยความสุขโลกของสหประชาชาติ ได้สำรวจระดับความสุขใน 156 ประเทศทั่วโลก ระบุว่า
ความร่ำรวยเป็นเพียงแค่ปัจจัยหนึ่งของความสุขเท่านั้น ยังมีปัจจัยสำคัญอื่นๆ ประกอบรวมกันที่ทำให้คนเรามีความสุข
เช่น เสรีภาพทางการเมือง ความเข้มแข็งของเครือข่ายสังคม การไม่มีคอร์รัปชั่น
ส่วนความสุขในระดับบุคคล การมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
มีความมั่นคงในอาชีพการงานและครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญของการมีความสุข
นพ.วชิระ กล่าวต่อว่า สหประชาชาติระบุว่าประเทศไทยมีความสุขอยู่ในลำดับที่ 52 ของโลก
เป็นอันดับที่ 3 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์ อยู่ที่ลำดับ 33 และมาเลเซียอยู่ที่ 51
แต่มีระดับความมีอารมณ์ดีเป็นลำดับที่ 8 ของโลก และมีระดับการมีอารมณ์เสียน้อยเป็นลำดับที่ 14
สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีพ้ฯบานทางจิตใจที่เป็นสุข แต่ยังจำเป็นต้องพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดี ตามปัจจัยความสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลก ได้แก่ รายได้ การมีงานทำ ความสัมพันธ์ที่ดีและความไว้วางใจกันในชุมชน การมีค่านิยมที่เอื้อต่อความสุขและศาสนา สุขภาพกาย สุขภาพจิต ความสัมพันธ์ในครอบครัว การศึกษาและความเท่าเทียมทางเพศและสังคม
"ครอบครัวที่มีเวลาให้กันอย่างเพียงพอ การมีสุขภาพดี ออกกำลังกายประจำ ปฏิบัติตามหลักคำสอนทางศาสนา การทำสามาธิ การมีรายได้ดี การงานมั่นคง ไม่มีหนี้สินนอกระบบ เกษตรกรมีที่ดินทำกิน เป็นปัจจัยความสุขสำหรับคนไทย ส่วนผู้มีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพจิต คือ ผู้มีโรคประจำตัว ครอบครัวหย่าร้าง หรือมีสมาชิกเสพยาเสพติด ติดสุรา ผู้พิการ แรงงานรับจ้างรายวัน เป็นกลุ่มที่ควรได้รับการดูแลช่วยเหลือจากชุมชนและสังคม
ดังนั้น การเลือกทำกิจกรรมความสุขด้วยวิธีง่ายๆ เช่น ออกกำลังกาย ฝึกการหายใจ ร่วมทำกิจกรรมจิตอาสา ให้เวลาอยู่ด้วยกันในครอบครัว โดยไม่ก้มหน้ามองแต่โทรศัพท์มือถือ หรือมองจอทีวี ไม่ปล่อยให้เทคโนโลยีมาทำให้ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวอ่อนแอลง" นพ.วชิระ กล่าว
หาดทรายทองศรีโคตรบูร นครพนม
นพ.วชิระ กล่าวต่ออีกว่า แนวโน้มความสุขคนไทยที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่ง คือ การที่ประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุในสัดส่วนที่สูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการวิจัย พบว่า ความสุขของผู้สูงอายุเกี่ยวข้องกับปัจจัยสำคัญของชีวิต ได้แก่ การมีรายได้หรือเงินทองสำหรับจับจ่ายใช้สอย การมีสุขภาพดี มีความสัมพันธ์ในครอบครัวและชุมชนที่ดี รู้สึกมีคุณค่า ตลอดจน ได้เข้าถึงธรรมะ ผู้ที่ยังอยู่ในวัยทำงาน จึงควรจัดเตรียมต้นทุนด้านสุขภาพ การเงิน สายสัมพันธ์ในครอบครัวให้ดี
เนื่องจากจะมีผลต่อความสุขในระยะยาวของชีวิต และหากมีผู้สูงอายุในบ้าน ควรเปิดโอกาสให้ท่านได้ร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่จะสร้างสายสัมพันธ์และความรู้สึกมีคุณค่า นอกจากนี้ การศึกษาและปฏิบัติธรรมนับเป็นปัจจัยความสุขสำคัญของผู้สูงอายุที่ควรเข้าถึงตั้งแต่ในวัยทำงานด้วยเช่นกัน ซึ่งกรมสุขภาพจิตได้สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้มีกิจกรรมความสุขและปรับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อเติมความสุขให้กับประชากรกลุ่มสำคัญนี้
น.ส.รัจนา เนตรแสงทิพย์ รองผู้อำนวยการสำนักงานสถิติแห่งชาติ กล่าวว่า จากการสำรวจข้อมูลความสุขของคนไทยต่อเนื่อง 5 ปี พบว่า
แนวโน้มคนไทยมีระดับความสุขเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆและต่อเนื่อง โดยจากคะแนนเต็ม 45 คะแนน
ในปี 2551มี 31.8 คะแนน
ปี 2552 ได้ 33 คะแนน
ปี 2553 ได้ 33.3 คะแนน
ปี 2554 ได้ 32 คะแนน
สำหรับปี 2555 พบว่า คะแนนความสุขของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 33.59 คะแนน
โดยจังหวัดที่มีความสุขมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่
จ.นครพนม 36.70 ,
จ.พิจิตร 36.39
จ.ตรัง 36.15
จ.ชัยภูมิ 35.92
จ.กระบี่ 35.79
ส่วนจังหวัดที่มีความสุขน้อยที่สุด 5 อันดับ คือ
จ.สมุทรสงคราม 26.92
จ.สมุทรปราการ 29.81
จ.สระแก้ว 30.12
จ.ภูเก็ต 30.76
จ.หนองคาย และ
จ.กาญจนบุรี 31.34
ส่วนกรุงเทพมหานครอยู่ที่ 65 ได้ 32.15 คะแนน
อัปโหลดเมื่อ 28 พ.ค. 2011 โดย Suvit Sriliw
"จังหวัดนครพนมมีรายได้ระดับปานกลาง แต่มีความมั่นคงด้านครอบครัวสูง
ส่วนจังหวัดที่มีความสุขอยู่ในลำดับท้ายๆ เป็นจังหวัดที่มีการย้ายถิ่นเพื่อการทำงานมากทำให้สุขภาพจิตต่ำกว่าจังหวัดอื่น
แต่หากเป็นการย้ายถิ่นเพื่อการศึกษาจะมีสุขภาพจิตที่ดีมาก เพราะรู้สึกมีความหวัง มีอนาคตที่ดีขึ้น
ส่วนกทม.อาจเป็นเพราะความขัดแย้งทางการเมืองอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้น รวมถึง การมเวลาอยู่กับครอบครัวไม่เพียงพอก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตได้มาก " น.ส.รัจนา กล่าว
ด้านดร.เดชรัต สุขกำเนิด อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) กล่าวว่า
เวลาเป็นปัญหาสำคัญของคนกรุงเทพฯที่ทำให้ความสุขลดลง แม้จะมีการงานมั่นคง มีรายได้ดี
แต่ผู้ที่มีปัญหาในเรื่องการจัดสรรเวลาจะกระทบต่อความสุขและสุขภาพจิตอย่างมาก
นอกจากนี้ ควรเตรียมความพร้อมเรื่องหลักประกันและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต รวมถึง ทำให้มีกิจกรรมในชุมชนและสังคม ทำให้คนมีความสุขจากการใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกัน จะช่วยเพิ่มความสุขได้ขอบคุณภาพข่าวจาก
www.komchadluek.net/detail/20130318/154164/ไทยสุขอันดับ52ของโลกนครพนมแชมป์.html#.UUhaKTd6W85 http://www.sawasdeenakhonphanom.com/