อึ้ง.! พบพระเขมร.."อาบน้ำมนต์ให้รถ"
'ยุววิจัยไทย-กัมพูชา'ไหว้พระ'เจ้าชัยวรมัน'สร้าง อึ้ง!พบพระเขมรอาบน้ำมนต์ให้รถ : สำราญ สมพงษ์รายงาน
ระหว่างวันที่ 15 - 17 มี.ค. พ.ศ.2556 ได้มีโอกาสเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อติดตามผลการประชุมโครงการยุววิจัยระหว่างเยาวชนไทย-กัมพูชา ที่องค์กรอัปสรา จ.เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่มี พ.อ. รศ. ดร.สุรัตน์ เลิศล้ำ อาจารย์สังกัดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เป็นหัวหน้าโครงการ ที่ดำเนินการวิจัยร่วมกับทางประเทศกัมพูชานำโดย Mr. Im Sokrithy มาถึง 8 ปีเต็ม ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.)
หลังจากจบพิธีเปิดและการเสนอผลงานในช่วงเช้าของวันที่ 16 มี.ค.แล้ว ช่วงบ่ายเป็นการเสนอผลงานวิจัยของยุววิจัยทั้งสองประเทศโดยมีการแสดงประกอบด้วย และจุดที่น่าทึ่งก็คือการแสดงของยุววิจัยจากโรงเรียนทัพพระยาพิทยา อ.โคกสูง จ.สระแก้ว ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเพณีของคนในพื้นที่ที่มีทั้งคนไทย ลาว และกัมพูชาอยู่ด้วยกันและมีความเชื่อถือที่เหมือนกันคือพระพุทธศาสนา
เมื่อมีประชาชนในพื้นที่ประสบเคราะห์ก็จะมีพ่อหมอทำพิธีปัดเป่า โดยเริ่มจาการบูชาพระพุทธคุณ และเล่าเรื่องด้วยบทลำกลอน ซึ่งผู้ที่ทำหน้าที่ลำคือศิษย์เก่าของโรงเรียนปัจจุบันกำลังเรียนครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี เพราะเป็นคนที่ชอบทำกิจกรรม โดยหาเนื้อลำด้วยตัวเองจากอินเตอร์เน็ตมาประกอบแต่งเป็นกลอนลำ

ช่วงเย็นคณะได้นำยุววิจัยเดินทางไปดูดาวที่นครวัดแต่ก่อนที่จะเดินทางได้ฟังบรรยายจากนักดาราศาสตร์ไทยของคณะ ถึงที่มาของการสร้างปราสาทนครวัด โดยเชื่อมโยงการสร้างปิรมิด พระปฐมเจดีย์ ได้ทราบคติความเชื่อของพรหมณ์และพุทธตามไตรภูมิพระร่วง
พอรุ่งขึ้นของวันที่ 17 มี.ค. คณะได้นำยุววิจัยทั้งสองประเทศทัศนศึกษาพื้นที่เมืองพระนคร พร้อมทั้งศึกษาอารยธรรมเขมรโบราณที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการ ที่ผู้ที่จะเข้าชมหากเป็นชาวต่างประเทศนั้นจะต้องซื้อตั๋วในราคาประมาณ 600 บาท
จุดแรกที่เข้าชมคือปราสาทนครวัดที่มีจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงาม แต่จุดที่น่าสนใจก็คือชั้นบนสุดของปราสาทนั้นมีการดิษฐานพระพุทธรูปเช่นปางนาคปรก ปางห้ามญาติหรือพระบาง ทั้ง 4 ทิศ พร้อมกันนี้ได้พบเห็นพระพุทธรูปวางเรียงรายตามระเบียง แต่เป็นที่น่าเศร้าก็คือไร้ซึ่งพระเศียร ได้แต่คิดในใจว่าจิตรกรรมฝาผนังที่สวยงามบดบังพุทธนุภาพหรืออย่างไร
ต่อจากนั้นคณะได้นำเข้าชมปราสาทกลุ่มนครธมจุดแรกก็คือได้พาไปไหว้พระพุทธรูปางนาคปรกที่สร้างโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ที่วัดปรำเปอลเวง ซึ่งแปลว่า 7 ชั้น ซึ่งพ.อ.รศ.ดร.สุรัตน์ ได้ให้ความรู้ว่า พระพุทธรูปางนาคปรกนี้นับได้ว่าเป็นพระองค์ใหญ่ที่สุด ซึ่งเคยประดิษฐานใจกลางปราสาทบายน เป็นพระประธานสำคัญที่ทรงอานุภาพ-พลานุภาพ ตามคติพระพุทธศาสนาเถรวาท และมีการสร้างพระพุทธรูปางนาคปรกขนาดย่อมส่งไปประดิษฐานเมืองประเทศราช 32 แห่งซึ่งในประเทศไทยสมัยนั้นคือที่ปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี และปราสาทพิมาย จ.นครราชสีมา

"หลังจากสิ้นพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 พระพุทธรูปางนาคปรกองค์นี้ได้พังทลาย จนกระทั้งปี 2475 "จอร์จ อเล็กซานเดอร์ ตรูเว่" (Georges Alexandre Trouvé) ภัณฑารักษ์ของสำนักฝรั่งเศสแห่งปลายบุรพทิศ (École française d'Extrême-Orient หรือ EFEO) ได้เข้ามาทำการสำรวจและจัดทำรายละเอียดแผนผังในทุกซอกมุมของมหาปราสาทบายน" พ.อ.รศ.ดร.สุรัตน์ กล่าวและว่า
เขาได้พบกับชิ้นส่วนของรูปประติมากรรมที่เป็นส่วนพระเศียรและนาคปรกที่แตกหักขนาดใหญ่ที่ขัดขวางติดอยู่กับกำแพงกรุบ่อ เมื่อนำชิ้นส่วนที่แตกหักของพระนาคปรกมาวางเรียงบนระเบียงชั้นบนของปราสาทบายน ร่องรอยหลักฐานสำคัญที่ปรากฏบนรอยแตก รอยแยกและรอยกะเทาะบนผิวของเนื้อหินแสดงให้เห็นว่ามีเจตนาเพื่อการทุบทำลายโดยความตั้งใจ และได้มีการประกอบชิ้นส่วนแตกหักกลับมาเป็นรูปประติมากรรมโดยสมบูรณ์แล้วโดยใช้เวลาประมาณสองปี พระบาทสมเด็จพระสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ (เจ้ามณีวงศ์) กษัตริย์แห่งกัมพูชาได้โปรดให้เคลื่อนย้ายไปประดิษฐาน ณ วัดแห่งนี้
เมื่อเดินชมตามจุดต่างๆแล้วจะได้เห็นพระพุทธรูปทั้งปางนาคปรกและปางอื่นๆ ขนาดใหญ่เท่าๆกัน เรียงรายอยู่ตามพื้นที่ต่างของของกลุ่มปราสาทนครวัดนครธม บางจุดก็จุดการสร้างวัดและทำหน้าที่ดูแลโดยจะมีแม่ชีคอยแนะนำและแจกวัตถุมงคล
การเดินชมครั้งนี้ได้เข้าไปภายในวัดทางทิศตะวันออกของของพระบรมมหาราชวังเก่า
ได้พบพระกำลังอาบน้ำมนต์ให้กับญาติโยมหลายสิบคนรวมถึงรถยนต์และรถจักรยานยนต์ด้วย
สอบถามได้ทราบว่าระหว่างวันที่ 17-19 มี.ค.ถือเป็นวันดี
จึงถือโอกาสมาให้พระอาบน้ำมนต์ให้เพื่อสะเดาะห์เคราะห์เสริมสิริมงคล
พร้อมกันนี้ระหว่างที่อยู่ที่ประเทศกัมพูชา ได้พบเห็นการประกอบพิธีแต่งงานกันเป็นจำนวนมาก
จากพุทธานุภาพแห่งพระพุทธรูปปางนาคปรกและบางอื่นๆ ดังกล่าว ทำให้ได้พบเห็นประดิษฐานอยู่ตามพื้นที่ต่างๆของประเทศกัมพูชา โดยมีขนาดใกล้เคียงกัน พร้อมกันนี้ได้พบธุรกิจพุทธพาณิชย์มีอยู่หลายร้าน รวมถึงที่ศูนย์ศิลป์หัตกรรมก็มีกลุ่มช่างเกี่ยวกับพระพุทธรูปทำโชว์ให้นักท่องเที่ยวได้ชม และพบหมู่บ้านแกะสลักพระพุทธรูปซึ่งตั้งอยู่ริมถนนจากจังหวัดเสียมราฐไปยัง อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ซึ่งก็ไม่ต่างจากประเทศไทยมากนัก
จากการได้ติดตามผลการประชุมโครงการยุววิจัยระหว่างเยาวชนไทย-กัมพูชาครั้งนี้ ได้พบเห็นคติพุทธที่ทั้งไทยและกัมพูชานับถือร่วมกันมาแต่อดีตจึงยากที่จะแบ่งแยกได้ นับเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะผู้วิจัย ก็ได้แต่หวังว่าจะมีการขยายกิจกรรมเช่นนี้ไปสู่ทุกภาคส่วนของคนทั้งสองประเทศอันจะเป็นการขจัดข้อขัดแแย้งต่างๆออกไปจากจิตใจได้ขอบคุณภาพและบทความจาก
www.komchadluek.net/detail/20130319/154208/อึ้ง!พบพระเขมรอาบน้ำมนต์ให้รถ.html#.UUhjPDd6W85 (หมายเหตุ : สามารถชมภาพเพิ่มเติมได้ที่เฟซบุ๊ก samran sompong
http://www.facebook.com/media/set/?set=a.513218725408527.1073741833.100001612137819&type=3)