ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: READ THAILAND...จิตวิญญาณของหนังสือ ไม่มีวันตาย  (อ่าน 1681 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0

คุยกับ "สิริกร มณีรินทร์" รี้ด ไทยแลนด์...จิตวิญญาณของหนังสือ ไม่มีวันตาย
ทสิตา สุพัฒนรังสรรค์ : สัมภาษณ์

ในช่วงใกล้คล้อยบ่ายที่ย่านประชาชื่น ‘มติชนออนไลน์’ ได้มีโอกาส สนทนากับ “ดร.สิริกร มณีรินทร์” อดีต รมช. ศึกษาฯ ในสมัยรัฐบาลทักษิณ หนึ่งในชาวบ้านเลขที่ 111 ซึ่งตอนนี้ เธอคนนี้ได้ผันตัวมาพัฒนา “ทีเค พาร์ค” เต็มตัว

“ทีเค พาร์ค” ในทุกวันนี้ คือ ห้องสมุดมีชีวิต ใจกลางกรุง ดึงดูดผู้คนทุกเพศทุกวัย ภายใต้การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย และการตกแต่งที่แปลกตา ดร.สิริกร บอกกับเราว่า ก้าวต่อไปของทีเคพาร์ค คือ โครงการ “รี้ดไทยแลนด์”

และแม้ตอนนี้เธอจะสวมบทบาทผู้บริหาร แต่ก็ยังคงไม่ทิ้งลาย ‘นักการศึกษา’ ดร. สิริกร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนทรรศนะทั้ง เรื่องแทบเลต การพัฒนาห้องสมุด วาระเมืองหนังสือโลก และยัง ฝาก ข้อคิดบางประการ ไปยัง ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ บริพัตร พ่อเมืองกทม.คนใหม่แต่หน้าเก่า ที่ กกต. เพิ่งเคาะรับรองอีกด้วย



@ ความเป็นมา และรายละเอียด ของ “รี้ด ไทยแลนด์”
“รี้ดไทยแลนด์” โครงการที่ทำขึ้นเพื่อถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระเทพฯ เนื่องในวโรกาสที่พระองค์ท่านจะเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษา ในปีนี้  เพื่อ “ปลุก”คนไทย ให้ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ โดยทางทีเค พาร์ค ร่วมมือกับทาง สสส. และกระทรวงศึกษาธิการ เชิญชวนให้เด็กนักเรียน ในระดับประถมที่ 5 ของโรงเรียนทุกสังกัด เข้าร่วมโครงการนี้ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนในสังกัดอะไร หรือจะเล็กใหญ่แค่ไหน ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้

โดยจะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ซึ่งแต่ละโรงเรียนจะได้รับการดูแลโดยเท่าเทียมกัน โดยโครงการจะเตรียมรายชื่อหนังสือแนะนำกว่า 400 เรื่อง ซึ่งจะมีคณะกรรมการเป็นผู้คัดเลือก โดยพิจารณาว่าเหมาะสมกับช่วงวัยหรือไม่ และความเข้มข้นของเนื้อหาที่จะต้องไม่มากและไม่น้อยจนเกินไป โดยเชื่อโยงกับกลุ่มการเรียนรู้ ทั้ง 5 สาระ โดย ในการอ่านแต่ละครั้ง จะมีตารางบันทึกการอ่าน ระบุชื่อหนังสือ และความประทับใจ ลงในเวปไซต์

สุดท้าย เชื่อว่า นอกจากเด็กจะรักการอ่าน ยังส่งผลให้ผลการเรียนเด็กดีขึ้นด้วย อีกทั้ง โครงการนี้มีระยะเวลาครอบคลุม 1 ปีการศึกษา คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. ไปจนถึง ม.ค. ปีหน้า ซึ่งเป็นการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
     นอกจากนี้ ยังมีการประเมิน โรงเรียน ที่ชนะเลิศในแต่ละกลุ่ม คือ กลุ่มโรงเรียนขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ โดยจะพิจารณาผู้ชนะในระดับเขต ระดับจังหวัด และระดับชาติ ซึ่งโรงเรียนที่ชนะในแต่ละระดับแต่ละกลุ่มนั้น จะได้รับรางวัล ซึ่งผู้ชนะรายวัลระดับชาติได้รับถ้วยพระราชทานจากสมเด็จพระเทพฯ และเดินทางไปยังศูนย์เรียนรู้ที่ต่างประเทศร่วมกับชาว ทีเค พาร์ค อีกด้วย


@ หนักใจไหม เพราะมีผลสำรวจ ระบุว่า เด็กไทยอ่านหนังสือวันละเพียง 10 บรรทัด คิดอย่างไร
จากการสำรวจของ PISA ของ OECD ที่ได้สำรวจการอ่านหนังสือของเด็กไทยในชั้นประถม 5 ซึ่งพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำ ฉะนั้น ประเทศไทยยังต้องทำงานอีกมาก ที่จะทำให้เด็กประถมและมัธยม ลุกขึ้นมาอ่านหนังสือ ทำอย่างไรให้เด็กๆ อ่านหนังสืออย่างเพลินเพลิน ไม่เห็นหนังสือเป็น “ยาขม” หรือ “ยานอนหลับ” นอกจากนั้น บรรดา ครูอาจารย์ ยังต้องกลับมาย้อนมองตัวเองด้วยว่า เป็นตัวอย่างให้เด็กหรือยัง

@ ทำไม ห้องสมุด “ทีเค พาร์ค” กับ “ห้องสมุดสาธารณะทั่วไป” จึงมีความแตกต่างกัน
ความแตกต่างที่เกิดขึ้น “งบประมาณ” อาจเป็นปัจจัยที่สำคัญจริง แต่ไม่ใช่ปัจจัยที่เพียงพอ เพราะยังมีอีกหลายองค์ประกอบ โดยเฉพาะ การบริหารจัดการด้วยระบบราชการ เช่น การกำหนดเวลาเปิด-ปิดห้องสมุด ตามเวลาราชการ จำนวนหนังสือที่จำกัด การเข้าถึงหนังสือ การบริหารห้องสมุด ต้องตอบสนอง คนที่มาใช้งาน เพื่อเป็นห้องสมุดเชิงรุก ห้องสมุดต้องเดินไปหาประชาชน ไม่ใช่ทำตามระบบ-เวลาราชการ

ส่วนเรื่อง “งบประมาณ” สำคัญ จำเป็นต้องมีการพูดคุยกัน เพราะ การบริหารห้องสมุด และพิพิธภัณฑ์ ในต่างประเทศ เช่น ในสหรัฐอเมริกา หน่วยงานท้องถิ่นเขามีความสามารถในการต่อรอง อีกทั้งยังมีการบริหารจากบรรดามหาเศรษฐีในลักษณะของการทำ “CSR” ที่ต้องการคืนกำไรสังคม โดย จะได้รับการลดหย่อนภาษีหรือหักภาษี ซึ่งตนมองว่าถึงเวลาที่สังคมไทยจะมาพูดคุยเรื่องนี้กันอย่างจริงจังหรือยัง ซึ่งหากทำได้จะเอื้อให้ห้องสมุดสาธารณะ และห้องสมุด กศน. ต่างๆ มีเงินมาซื้อหนังสือมากขึ้น

นอกจากนั้น ยังต้องคิดถึง แหล่งการเรียนรู้นอกโรงเรียนต่อเนื่องด้วย เพราะเด็กคงเรียนแค่ในห้องสี่เหลี่ยมไปพอ ต้องสร้างสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา  และยังต้องเสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบกันเป็นทั้งองคพยพด้วย



@ นโยบาย นักเรียน 1 คน แทบเลต 1 เครื่อง ของรัฐบาล ถือว่าใช้ได้ไหม?
อยากให้มองว่า แทบแลตเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง ที่สามารถนำเนื้อหาสาระใส่เข้าไปได้ ซึ่งเมื่อรัฐบาลบอกว่าจะให้นักเรียน 1 คนมี แทบแลต 1 เครื่อง ครูเป็นคนที่กลัวมาก จนบางคนถึงขั้นอยากลาออก ซึ่งหากครูทำความเข้าใจได้ว่าแทบเลตเป็นเหมือนกล่องหนังสือ แต่เป็นกล่องอิเลกทรอนิคส์ เพื่อทำให้เด็กมีความสนใจขึ้น  และนอกจากจะแจกแทบเลตให้นักเรียนแล้ว รัฐบาลควรแจกให้ครูใช้งานด้วย

นอกจากนั้น ควรขยายการใช้แทบเลตไปยังเด็กช่วงที่โตขึ้นด้วย เพราะในเด็กเล็กบางทีอาจมีปัญหาในเรื่องกล้ามเนื้อที่ยังไม่แข็งแรง แต่ทั้งนี้ ก็ไม่ควรหันหลังให้แทบเลตโดยสิ้นเชิง เพราะ แทบเลตยังเป็นอุบายชวนให้เด็กตื่นเต้นกับการอ่าน เพราะแทบเลตมีอะไรที่หนังสือไม่มี มีลูกเล่นและสีสัน รวมไปถึง ช่วยในเรื่องการออกเสียงภาษาอังกฤษ ซึ่งจะตอบรับกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน


@ ตลาดหนังสือ จะอยู่อย่างไร ท่ามกลางกระแสอีบุ๊ค
แม้กระแสหนังสืออิเลกทรอนิกส์ (อีบุ๊ค) จะมาแรงจริง แต่ “จิตวิญญาณของหนังสือ” จะไม่ตาย เพราะอีบุ๊คก็เป็นหนังสือ สาระเนื้อหาของหนังสือยังมีอยู่ แต่แค่เปลี่ยนที่เก็บ ซึ่งหากคิดต่อไปในอีก 20 ปี เราอาจโดนน้ำท่วม หนังสือเสียหาย แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ในเซิร์ฟเวอร์จะไม่หายไป ฉะนั้น ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง เปิดใจรับสถานการณ์ จิตวิญญาณของหนังสือ ไม่ว่าจะในหนังสือเป็นเล่ม หรือ อีบุ๊ค ก็จะยังคงเป็นจิตวิญญาณที่ทำให้เราเข้าใจโลกมากขึ้นเช่นเคย

@ คิดอย่างไรกับ กรุงเทพฯ ในฐานะเมืองหนังสือโลก
รู้สึกภูมิใจ ที่ยูเนสโก ให้ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหนังสือโลก แต่ต้องไม่ใช่แค่การไปรับคำประกาศกียรติคุณ  อยากเห็นหน่วยงานต่างๆ รับผิดชอบผลักดันให้เกิดขึ้นจริงด้วย เพราะคงจะมองแค่หน่วยงานเฉพาะในกรุงเทพฯ อย่างแยกส่วนคงไม่เพียงพอ กรุงเทพฯ เองจำเป็นอย่างมากต้องประสานและร่วมมือกับหน่วยงานในภาครัฐส่วนอื่นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ และทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ สพฐ. ด้วย ซึ่งหากได้เป็น ผู้ว่าฯ กทม. จะประสานกับรัฐบาลและหน่วยงานต่างอย่าง “ไร้รอยต่อ” ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถเป็นเมืองหนังสือโลกได้อย่างแท้จริง

เมื่อพูดเช่นนี้ มติชนออนไลน์ จึงต้องถามต่อว่า “มีโอกาสจะกลับมาทำงานการเมืองอีกครั้งไหม” ซึ่ง ดร.สิริกร ก็ตอบด้วยสีหน้าและน้ำเสียงที่มั่นใจไม่ทิ้งลายอดีต รมช. ศึกษา ว่า ไม่คิดเรื่องนั้น เพราะทำงานตรงนี้ก็สามารถสร้างอะไรให้กับประเทศได้เช่นกัน


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364385574&grpid=&catid=95&subcatid=9500
วันที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2556 เวลา 22:00:20 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ