ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่พักสงฆ์รุกป่าเพิ่มนับหมื่น ทั้งถูกต้อง-เถื่อน เล็งถก พศ.จัดระเบียบ  (อ่าน 1634 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29288
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ที่พักสงฆ์รุกป่าเพิ่มนับหมื่น ทั้งถูกต้อง-เถื่อน เล็งถก พศ.จัดระเบียบ

กรมป่าไม้แฉที่พักสงฆ์รุกป่าเพิ่มนับหมื่นแห่ง ทั้งถูกต้อง ทั้งสำนักเถื่อน เผยขึ้นทะเบียนแล้ว 6 พันกว่าแห่งแต่คุมไม่อยู่ เตรียมถกสำนักพุทธฯ หามาตรการจัดระเบียบ ชี้เหตุพระสงฆ์แยกออกมาตั้งสำนักสงฆ์เองเพราะหวังเป็นเจ้าอาวาส...

เมื่อวันที่ 3 มี.ค.นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ อธิบดีกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า กรมป่าไม้เตรียมหารือกับสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ถึงแนวทางการดำเนินการกับพระสงฆ์ที่เข้าไปตั้งที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติและอุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้มีการขึ้นทะเบียนไว้กับกรมการศาสนาไว้จำนวน 6,084 แห่ง
    แต่ปรากฏว่าขณะนี้มีพระสงฆ์จำนวนมากเข้าไปใช้พื้นที่ป่าเพื่อตั้งที่พักสงฆ์ อยู่ตลอดเวลาและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
    ล่าสุด คาดว่ามีจำนวนเกินกว่า 1 หมื่นแห่ง โดยเริ่มต้นก็เข้ามาเพียงรูปเดียวแต่ต่อมาญาติโยมมีศรัทธาก็เข้าไปก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกให้ทั้งกุฏิ โบสถ์ ห้องน้ำห้องท่าสำหรับผู้มาปฏิบัติธรรมจนขยายพื้นที่ออกไปเรื่อยๆ


อธิบดีกรมป่าไม้ กล่าวอีกว่า กรมป่าไม้จะขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ซึ่งรับผิดชอบดูแลพระสงฆ์ทั่วประเทศดำเนินการขึ้นทะเบียนพระสงฆ์ที่จะเข้าไป ตั้งที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่า ต่อไปนี้หากไม่มีการลงทะเบียนก่อน กรมป่าไม้จะไม่ยอมแล้ว และต้องมีมาตรการดำเนินการกับสำนักสงฆ์เถื่อนเหล่านี้ ที่ผ่านมาพระที่ออกไปตั้งที่พักสงฆ์ในพื้นที่ป่าอาจจะดำเนินการโดยไม่ผ่าน เจ้าคณะจังหวัด อำเภอ หรือ ตำบล และไม่ได้ขออนุญาตใคร จึงมีการเปิดสาขาสถานที่ปฏิบัติธรรมอย่างไม่จบไม่สิ้น จึงต้องจะหารือถึงทางออกที่เหมาะสมร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ต่อไป



ด้าน นายประลอง ดำรงค์ไทย ผอ.สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กล่าวว่า ในวันที่ 5 เม.ย.นี้ สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ ได้เชิญตนไปหารือเกี่ยวกับระเบียบการใช้พื้นที่ป่าในการสร้างสถานปฏิบัติธรรมว่าจะมีการจัดระเบียบอย่างไร ซึ่งในสมัยนายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีต รมว.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้ดำเนินการจัดระเบียบโดยหารือระหว่างกรมป่าไม้ กรมอุทยาน และสำนักพุทธฯ ภายใต้โครงการพุทธอุทยานในพื้นที่ป่าอนุรักษ์

   โดยทั้ง 3 หน่วยงานมีการเข้าไปสำรวจว่ามีสำนักสงฆ์ใดบ้างอยู่ในป่า ซึ่งพบว่ามีจำนวน 6,084 แห่ง
   จากนั้นได้มีการออกหนังสือสำคัญจาก 3 หน่วยงานแสดงหลักฐานว่าพระได้มาตั้งที่พักสงฆ์ในป่า
   โดยมีข้อตกลงว่าให้ใช้พื้นที่ได้ไม่เกิน 15 ไร่ ห้ามมีการขยายพื้นที่เพิ่ม ห้ามตัดไม้ และห้ามมีสิ่งก่อสร้างถาวร
   ซึ่งหลักปฏิบัติดังกล่าววทั้งกรมป่าไม้ และกรมอุทยานฯ ได้มีการประสานงานกับสำนักงานพระพุทธฯ อย่างเคร่งครัด โดยยึดมติของมหาเถรสมาคมเป็นหลัก

ผอ.สำนักจัดการป่าชุมชน กรมป่าไม้ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ คำจำกัดความของสถานที่ปฏิบัติธรรมมีวัด สำนักสงฆ์ และที่พักสงฆ์ ซึ่งในส่วนที่เป็นปัญหา คือ ที่พักสงฆ์ที่เพิ่มขึ้นมา
    โดยสาเหตุหนึ่งอาจจะเป็น เพราะการที่พระแยกตัวออกมาจากวัดเดิม
    เพื่อตั้งสถานที่ปฏิบัติธรรมใหม่ และพัฒนาจนเข้าหลักเกณฑ์เพื่อตั้งเป็นวัด
    จากนั้นก็จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสดูแลวัดต่อไป แต่หากอยู่วัดเดิมโอกาสที่จะได้เป็นเจ้าอาวาสก็มีน้อย

    อย่างไรก็ตาม จากนี้จะร่วมกับสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ สำรวจสำนักสงฆ์และวัด เพื่อหาตัวเลขที่แน่นอนว่าเข้าไปตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนฯ และอุทยานฯ ประมาณกี่แห่ง อย่างไรก็ตามตัวเลขน่าจะมากกว่าการสำรวจเมื่อ 1-2 ปีที่ผ่านมา



ส่วน นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาฯ กล่าวว่า ขณะนี้ มีที่พักสงฆ์ 3,000 กว่ารายที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ โดยอยู่ในระหว่างขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียน ซึ่งจากนี้ซักซ้อมทำความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    โดยสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ จะเป็นตัวกลางในการขออนุญาตให้ใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้และกรมอุทยานฯ   
    ซึ่งแล้วแต่หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่จะอนุญาตหรือไม่ ทั้งนี้ มติของเถรสมาคมระบุว่าถ้าสำนักสงฆ์ หรือ ที่พักสงฆ์สร้างในพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต พระที่ดูแลสถานที่ก็ไม่สามารถจะได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสได้.


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.thairath.co.th/content/edu/336682
http://tipavan.com/,http://www.alternativecomplete.com/,http://www.watisan.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ