พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๗ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุปกรณ์
พระไตรปิฎกเล่มนี้ อรรถกถาเล่าว่า พระผู้มีพระภาคทรงกล่าวถึงบทตั้ง หรือคำเริ่มต้นไว้เพียงเล็ก น้อยต่อจากนั้น พระโมคคลีบุตร ติสสเถระ ได้เรียบเรียงขึ้นจนจบในสังคายนาครั้งที่ ๓ มีข้อความอันเป็น คำตอบคำถามตั้งแต่ ต้นจนจบ
คำถามคำตอบนั้น มีลักษณะไปในทางไล่เลียงลัทธิต่าง ๆ นอกพระพุทธศาสนา และแม้ในพระพุทธ ศาสนาเอง แต่ที่แตกแยกออกไปจากเถรวาท หัวข้อสำคัญที่เป็นหลักในการถามตอบมีอยู่ด้วยกัน ๒๑๙ เรื่อง ในแต่ละเรื่องมีคำ ถามคำตอบมากมาย และอรรถกถาได้อธิบายไว้ด้วยว่า
หัวข้อเรื่องไหน เพื่อจะแก้ความถือผิดของลัทธิอะไร
เพื่อความเข้าใจใน หัวข้อเรื่องให้เกี่ยวโยงกับลัทธินิกายต่างๆ ที่กถาวัตถุคัดค้าน
จึงควรทราบประวัติแห่งเถรวาท (พระพุทธศาสนาแบบดั้งเดิมที่ พระเถระผู้ใหญ่ได้รวบรวมทำสังคายนาแต่ครั้งที่ ๑) กับนิกายอื่นๆ ที่แตกแยกออกไปอีก ๑๗ นิกาย รวมเป็น ๑๘ ทั้ง เถรวาท ภายใน ๒๐๐ ปี หลังจากพุทธปรินิพพาน
๑. ในร้อยปีแรกภายหลังพุทธปรินิพพาน พระพุทธศาสนามีแบบเดียว คือตามทื่พระเถระมีพระมหา- กัสสป เป็นต้น ได้ประชุมกันทำสังคายนา คือร้อยกรองรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นหมวดเป็นหมู่ โดยมีพระอานนท์ซึ่ง เป็นผู้ทรงจำพุทธวจนะอย่างดียิ่งเป็นผู้ทบทวนพระธรรม พระอุบาลีซึ่งได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นผู้เลิศในทางทรงจำพระวินัย เป็นผู้ทบทวนพระวินัย แล้วสวดท่องจำกันสืบต่อมา
โดยแบ่งสำนักท่องจำเป็นสำนัก ๆ ไป ช่วยกันท่องจำต่างภาคต่างตอน สั่งสอนศิษย์สืบมา
คำว่า "เถรวาท" ซึ่งแปลว่า วาทะของพระเถระ อันเป็นชื่อของนิกายดั้งเดิม มาปรากฏเรียกขานกันเมื่อมีนิกาย อื่นๆ แตกแยกออกไปแล้ว เพื่อจะได้รู้ว่าอย่างไหนเป็นพระพุทธศาสนาแบบไหน
๒. เมื่อพ้น ๑๐๐ ปีภายหลังพุทธปรินิพพานมาแล้ว พวกภิกษุวัชชีบุตร (ลูกหลานชาวแคว้นวัชชี ) ประมาณ ๑๐,๐๐๐ รูป ถือวินัยย่อหย่อนจากที่บัญญัติไว้ รวม ๑๐ ประการ
พระเถระที่เห็นแก่พระธรรมวินัย จึงประชุมกันทำสังคายนาครั้งที่ ๒
ชำระเรื่องที่ถือผิดนี้ ประกาศมิให้ประพฤติต่อไป
ภิกษุพวกวัชชีบุตรจึงแยกไปตั้งนิกายใหม่ ชื่อมหาสังฆิกะ แปลว่า "พวกมาก"
๓. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากมหาสังฆิกะอีก ๒ คือ
๓.๑ โคกุลิกะ
๓.๒ เอกพโยหาริกะ
๔. ต่อมามีนิกายแยกออกมาจากนิกายโคกุลิกะอีก ๒ คือ
๔.๑ ปัณณัตติวาทะ
๔.๒ พหุลิยะ (หรือพหุสสุติกะ)
๕. ต่อมามีอีกนิกายหนึ่งชื่อเจติยวาทะ แตกแยกออกมาจากนิกายพหุลิยะ(หรือพหุสสุติกะ) นั้นภายในพุทธศักราช ๒๐๐ ปี นิกายมหาสังฆิกะแยกออกไปเป็น ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง
๖. เฉพาะเถรวาทก็มีนิกายแตกแยกออกไป คือในชั้นแรกแยกออกไป ๒ นิกาย คือ
๖.๑ มหิสาสกะ
๖.๒ วัชชีปุตตกะ
๗. ต่อมามีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายวัชชีปุตตกะอีก ๔ คือ
๗.๑ ธัมมุตตริยะ
๗.๒ ภัทรยานิกะ
๗.๓ ฉันนาคาริกะ
๗.๔ สมิติยะ
๘. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายมหิสาสกะอีก ๒ คือ
๘.๑ สัพพัตถิกวาทะ
๘.๒ ธัมมคุตติกะ
๙. มีนิกายแตกแยกออกไปจากนิกายสัพพัตถิกวาทะ คือนิกายกัสสปิกะ
๑๐. ต่อมานิกายกัสสปิกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสังกันติกะ
๑๑. ต่อมานิกายสังกันติกะมีนิกายแยกออกไป ชื่อสุตตวาทะ
เป็นอันว่าเถรวาทมีนิกายย่อยแยกออกไป ๑๑ นิกาย รวม ๑๒ ทั้งเถรวาทเอง
มหาสังฆิกะซึ่งแตกไปจากเถรวาทเป็นครั้งแรก มีนิกายย่อยแยกออกไป ๕ นิกาย รวมเป็น ๖ ทั้งมหาสังฆิกะเอง
รวมทั้งสิ้นจึงเป็น ๑๘ นิกาย คือ "เถรวาท" ฝ่ายหนึ่ง
กับนิกายอื่นๆอีก ๑๗ นิกาย ซึ่งเรียกว่า "อาจริยวาท" อีกฝ่ายหนึ่งโปรดดูแผนผังดังต่อไปนี้ :-
หมายเหตุ : มีข้อพึงสังเกตุว่า นิกายต่างๆ รวมทั้งสิบแปดนิกายที่กล่าวมานี้
ตกมาถึงสมัยปัจจุบัน คงมีเหลือแต่เพียงนิกายเดียว คือ เถรวาท
ส่วนนิกายอื่นๆ เสื่อมไปทั้งหมด แม้นิกายมหาสังฆิกะ ซึ่งเป็นนิกายใหญ่ ก็ไม่มีเหลืออยู่แล้ว
แต่ก็อาจกล่าวได้ว่า นิกายมหาสังฆิกะ ได้แปรรูปเป็นมหายานไปในที่สุด แต่ก็ไม่มีชื่อเดิมเหลืออยู่ ที่มา
http://www.larnbuddhism.com/tripitaka/praapitham/4.htmlขอบคุณภาพจาก
http://www.cnxnews.net/