ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: สัญญาเปล่ากับลายเซ็นต์..."คนเซ็นต์รับผิดสถานเดียว"  (อ่าน 2276 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


สัญญาเปล่ากับลายเซ็นต์

ก่อนที่ท่านจะเซ็นต์ชื่อในเอกสารสัญญาใดๆ ต้องรับรู้ข้อความในสัญญาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน


ท่านอาจเคยได้ยินหลายคนพูดกันว่า “การเซ็นต์ชื่อในแบบฟอร์มสัญญาเปล่าอาจจะเซ็นต์ให้ด้วยความไว้ใจ หรือจะเพราะเหตุใดก็แล้วแต่ แล้ววันหนึ่งมีเจ้าหนี้เรียกร้องให้ท่านชำระหนี้ เหตุใดจึงต้องรับผิดชอบตามแบบฟอร์มสัญญาแผ่นนั้น ซึ่งไม่เคยเห็นข้อความมาก่อน” หากคิดตามความเข้าใจของคนโดยทั่วไปอาจไม่ต้องรับผิดในสิ่งที่เขาไม่เคยรับรู้มาก่อน

แต่หลักกฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อสร้างความสงบสุขให้กับสังคม และคนทุกคนต้องรับผิดชอบทุกการกระทำของตน มิฉะนั้น สังคมจะมีความวุ่นวายโดยการปฏิเสธทุกการกระทำซึ่งเป็นผลร้ายต่อตนเองเสียทั้งหมด กฎหมายจึงกำหนดข้อยกเว้นความรับผิดชอบไว้เป็นการเฉพาะเจาะจง นอกเหนือจากนั้นเขาจำต้องรับผิดชอบความเสียหายหรือหนี้ที่เกิดขึ้น

ข้อเท็จจริงที่พบบ่อยในชีวิตประจำวันในปัจจุบันนี้ซึ่งสร้างความสงสัยแก่หลาย ๆ คนว่าเหตุใดเขาเซ็นต์ชื่อในสัญญาค้ำประกันที่ยังไม่มีการกรอกข้อความมาก่อน จึงต้องรับผิดชอบในหนี้ของลูกหนี้ด้วย ผู้เขียนขอยกตัวอย่างขึ้นเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
    มีข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของศาลจนกระทั่งมีผลการตัดสินออกมากรณีที่ นายกรณ์ (นามสมมุติ) ลงชื่อในสัญญาค้ำประกันซึ่งยังไม่มีการกรอกข้อความใดๆ พร้อมมอบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประชาชน


    ต่อมาวันหนึ่งเขาถูกฟ้องเรียกหนี้ค้ำประกันแทน นายกิตติ (นามสมมุติ) ลูกหนี้ตามสัญญาดังกล่าว พฤติกรรมเช่นนี้ถือเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อซึ่งเป็นการเสี่ยงภัยในการกระทำของตนเองอย่างร้ายแรง
    เมื่อมีการนำสัญญาค้ำประกันที่กรอกข้อความผิดไปจากเจตนาของตน อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นายกรณ์ ไม่อาจอ้างความสำคัญผิดนั้นมาใช้ประโยชน์แก่ตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 158 ซึ่งบัญญัติว่า
    ความสำคัญผิดในสาระสำคัญ หรือความสำคัญผิดในคุณสมบัติของบุคคลหรือทรัพย์สิน  ซึ่งเกิดขึ้นโดยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของบุคคลผู้แสดงเจตนา บุคคลนั้นจะถือเอาความสำคัญผิดนั้นมาใช้ประโยชน์แก่ตนไม่ได้ จึงทำให้นายกรณ์ต้องร่วมรับผิดกับนายกิตติลูกหนี้ต่อเจ้าหนี้ตามสัญญาค้ำประกันฉบับนั้น (คำพิพากษาฎีกาที่ 357/2548)

กรณีตัวอย่างคำพิพากษาฎีกาข้างต้นเป็นตัวอย่างเตือนใจให้พึงระวังการเซ็นต์ชื่อในแบบฟอร์มสัญญาเปล่า แล้วไว้วางใจคนอื่นไปกรอกข้อความตามใจชอบ จนกระทั่งกลายเป็นลูกหนี้ในท้ายที่สุด ข้อวินิจฉัยของศาลในคดีดังกล่าวถือว่า พฤติกรรมแบบนี้เป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง และนำมาอ้างเพื่อยกเว้นความรับผิดชอบของตนมิได้

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเสียหายจากการกระทำที่เรียกว่า “ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง” ก่อนที่ท่านจะเซ็นต์ชื่อในเอกสารสัญญาใด ๆ ต้องรับรู้ข้อความในสัญญาและทำความเข้าใจให้ถ่องแท้ก่อน ไม่ควรดำเนินการใด ๆ อย่างเร่งร้อนหรือขาดความรอบคอบ เนื่องจากหากเกิดเหตุใดผู้กระทำต้องรับผิดชอบตามสัญญาดังกล่าวโดยไม่อาจอ้างความสำคัญผิด ตามข้อกฎหมายเพื่อเป็นประโยชน์แก่ตนเองได้.


นายพุฒิพงศ์ นิลสุ่ม
สำนักกฎหมาย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
https://www.facebook.com/สำนักกฎหมาย-สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง


ขอบคุณภาพข่าวจาก
http://www.dailynews.co.th/article/188732/199973
วันศุกร์ที่ 26 เมษายน 2556 เวลา 00:00 น.
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

Akira

  • โยคาวจรมรรค
  • *****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 653
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
0
ต้นเหตุ ของการโกง ก็อยู่ที่สัญญาเปล่า นี่แหละ ที่หมดเนื้อหมดตัว ก็เพราะสัญญาเปล่า ที่มีลายเซ็นต์เป็นต้นเหตุของหนัง หลาย ๆ เรื่อง จนชาวนา ชาวไร่ ต้องยอมส่งลูกเรียนเพื่อ มาทำให้ฉลาดขึ้น

    แต่ปัจจุบัน ชาวรากหญ้า ก็ยังไม่ฉลาด ยังถูกฟอกซื้อได้ด้วยเงิน ก็มีอยู่เ้ป็นจำนวนมาก


    :67: :67: :67: :67:
บันทึกการเข้า
เครดิต ยายกบ มาศึกษาธรรมะจ้า แก๊งค์ อ๊บ อ๊บ