ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ปริศนาจากพุทธกาล ‘พญานาค’ เชื่อแบบไหนได้แน่?  (อ่าน 2337 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29340
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
0


ปริศนาจากพุทธกาล ‘พญานาค’ เชื่อแบบไหนได้แน่?

เรื่องราวเกี่ยวกับ ’พญานาค“ นั้น เป็นตำนานที่เกี่ยวพันทั้งกับ พระพุทธ-พระธรรม-พระสงฆ์ เป็นตำนานที่ยึดโยงอยู่กับ พระพุทธศาสนา มาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งประเทศไทยในยุคปัจจุบันนี้แม้จะเป็นยุคไซเบอร์ แต่เรื่องราวเกี่ยวกับ “พญานาค” ก็ยังมีปรากฏอยู่เนือง ๆ โดยตลอด ในหลาย ๆ รูปแบบ และในหลาย ๆ พื้นที่

     ’ความเชื่อเรื่องพญานาค“ ในไทยยังยืนยงคงอยู่
     เป็นสิทธิทางความเชื่อ และ ’สร้างประโยชน์ได้“

ทั้งนี้ เรื่องราวเกี่ยวกับ “พญานาค” ในประเทศไทย ก็มีตำนาน มีบันทึกในแง่มุมต่าง ๆ อยู่มากมายหลายหลาก เช่น...พญานาคเป็นสัตว์มหัศจรรย์ พญานาคมีอิทธิฤทธิ์ พญานาคสามารถแปลงกายได้ แปลงกายเป็นมนุษย์ก็สามารถทำได้ แต่ในสภาวะ 5 อย่างพญานาคจะต้องปรากฏกายเป็น งูใหญ่มีหงอนอยู่บนหัว เช่นเดิม นั่นคือ...
     1. ขณะเกิด
     2. ขณะลอกคราบ
     3. ขณะสมสู่
     4. ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และ
     5. เมื่อตาย





พญานาคมีพิษที่ร้ายแรงมากถึง 64 ชนิด โดยมีตำนานว่าสัตว์พิษต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงู แมงป่อง ตะขาบ คางคก มด ฯลฯ ที่มีพิษได้ก็ด้วยเหตุที่พญานาคคายพิษทิ้งไว้ แล้วสัตว์ต่าง ๆ เหล่านี้ไปเลีย โดยสัตว์ที่ไปถึงก่อน เช่น งู ก็เลียได้พิษไปมาก ที่ไปถึงทีหลัง เช่น แมงป่อง มด ก็ได้พิษไปน้อย ซึ่งพญานาคจะคายพิษทุก 15 วัน

พญานาคอาศัยอยู่ใต้ดินหรือบาดาล สถานที่ที่พญานาคอยู่นั้นลึกลงไปใต้ดิน 1 โยชน์ (16 กม.) มีปราสาทราชวังที่วิจิตรพิสดารไม่แพ้สวรรค์ มีอยู่ถึง 7 ชั้น เรียงซ้อน ๆ กัน ชั้นสูง ๆ ก็จะมีความสุขเหมือนสวรรค์ อย่างไรก็ตาม พญานาคสามารถจะอยู่จะไปได้ทั่ว ตั้งแต่ใต้บาดาล บนพื้นโลก หรือขึ้นไปถึงสวรรค์

พญานาคมีทั้งพันธุ์ 1 เศียร, 3 เศียร, 5 เศียร, 7 เศียร พญานาคจะออกลูกเป็นไข่เหมือนงู อย่างไรก็ตาม พญานาคสามารถจะผสมพันธุ์กับสัตว์อื่น ๆ ได้ แปลงกายแล้วผสมพันธุ์กับมนุษย์ก็สามารถทำได้

    เหล่านี้เป็นบางส่วนจากตำนานตามความเชื่อ
    รวมถึงยังมีส่วนที่เกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนา





นอกจากตำนาน-บันทึกในแง่มุมต่าง ๆ ดังที่ว่ามาแล้ว ก็ยังมีตำนาน “พญานาค” ในส่วนที่เกี่ยวพันกับ “พระพุทธศาสนา-พระพุทธเจ้า” จึงมีเรื่องราวของพญานาคเข้ามาเกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธหลายจุด เช่น...มีการเรียกขานผู้ขอบวชในทางพระพุทธศาสนาว่า“นาค” ก่อนที่จะบวชเป็นพระภิกษุสงฆ์, มีพระพุทธรูปปาง “นาคปรก”, สิ่งก่อสร้างตามวัดวาอารามในทางศาสนาพุทธมักจะมีพญานาคอยู่ด้วย ฯลฯ

ไม่เท่านั้น ยังมีตำนานพญานาคที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น...ครั้งพุทธกาลมีพญานาคชื่อ “มุจลินท์” ทำตัววงเป็นขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานเหนือพระพุทธเจ้า เพื่อป้องกันฝนและลมหนาวมิให้ถูกพระวรกาย เมื่อฝนหายแล้วก็แปลงกายเป็นมนุษย์ยืนเฝ้าเบื้องพระพักตร์พระพุทธเจ้าด้วยความเลื่อมใสศรัทธา

    ตำนานนี้เป็นที่มา “พระพุทธรูปปางนาคปรก”

หรืออีกตำนานคือ...มีพญานาคตนหนึ่งเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามาก จึงแปลงกายเป็นมนุษย์เพื่อขอบวชเป็นพระสงฆ์ ก็ได้บวชสมใจ แต่เมื่อนอนหลับร่างก็กลับเป็นงู จนมีพระสงฆ์รูปอื่นรู้เห็น และพระพุทธเจ้าทรงให้สึกเพราะเป็นสัตว์มิใช่มนุษย์ ซึ่งพญานาคตนนี้ได้ขอถวายคำว่า “นาค” ไว้ใช้เรียกผู้ขอบวชในพุทธศาสนาเพื่อเป็นอนุสรณ์ความศรัทธาของตน ก็เป็นที่มาของการ เรียกผู้ขอบวชว่า “นาค” และนอกจากนี้ในการประกอบพิธีบวชซึ่งต้องมีพระอุปัชฌาย์ด้วย ทางพระอุปัชฌาย์ก็จะต้องมีการสวดถามผู้ที่ขอบวชข้อหนึ่ง

  แปลได้ว่า...“เป็นมนุษย์จริงหรือเปล่า”




ทั้งนี้ เพราะเรื่องราวเกี่ยวกับ “พญานาค” ในประเทศไทยนั้นมีตำนาน มีบันทึกในแง่มุมต่าง ๆ อยู่มากมาย อีกทั้งยังเกี่ยวพันกับพระพุทธศาสนาที่คนไทยส่วนใหญ่นับถือ ดังนั้นก็ย่อมเป็นเรื่องธรรมดาที่ในไทยจะมีความ ’เชื่อเรื่องพญานาค“ อย่างยืนยงคงนานมาจนทุกวันนี้ แม้จะไม่เคยเห็นจริง ๆ ก็ตามที ซึ่งก็เป็นสิทธิทางความเชื่อ อย่างไรก็ตาม ก็น่าจะดีถ้าเชื่อแล้ว ’สร้างประโยชน์ได้“ อย่างที่พระสงฆ์หลาย ๆ รูปเคยชี้ไว้

อย่าง พระราชธรรมนิเทศ หรือ พระพยอม กัลยาโณ แห่งวัดสวนแก้ว ท่านก็เคยให้แง่คิดไว้ ประมาณว่า...เรื่องของพญานาคกลายเป็นสิ่งที่แยกไม่ออกจากชาวพุทธ แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นแค่เรื่องความ ตื่นเต้น ตื่นตาตื่นใจ เห็นแต่เรื่องอัศจรรย์ ไม่ค่อยจะมองลึกไปให้เห็นถึงคำสอนของพุทธศาสนา ในเรื่องความทุกข์ กิเลส ต้นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ค่อยพยายามหาต้นเหตุของทุกข์และทางดับทุกข์ซึ่งเป็นหัวใจของพุทธศาสนา ที่สนใจศึกษาหาความรู้ของพุทธศาสนาให้ลึกซึ้งควบคู่ไปกับความเชื่อในเรื่องนี้ด้วย มีน้อยมาก

    “เมื่อเชื่อเรื่องพญานาค นาคแม้จะเป็นสัตว์แต่ก็มีศรัทธาในการสืบทอดและปกป้องพุทธศาสนา แล้วทำไมเป็นมนุษย์ ที่ได้ชื่อว่า มีจิตใจสูงกว่าสัตว์ กลับกระทำสิ่งตรงกันข้าม”...พระพยอม เคยกล่าวให้แง่คิดไว้

    ’เชื่อเรื่องพญานาค“ มีมุมที่ ’เชื่อแล้วได้ประโยชน์“
     แต่ ’เชื่อแบบเน้นเลข“ เท่านั้น ’เชื่อแล้วเอวัง!!!“.


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.dailynews.co.th/article/223/201259
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2556 เวลา 00:00 น.
http://2.bp.blogspot.com/, http://4.bp.blogspot.com/ , http://www.phuttha.com/
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ