ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ที่มาของการกรวดน้ำ มีเหตุ ๓ ประการ  (อ่าน 2356 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 28565
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ที่มาของการกรวดน้ำ มีเหตุ ๓ ประการ
« เมื่อ: พฤษภาคม 03, 2013, 11:50:53 am »
0


การกรวดน้ำ อุทิศผลบุญ ความเป็นมาอย่างไร
กระทู้ของคุณผ้าเช็ดธุลี เว็บบ้านธัมมะ

กราบสวัสดีอาจารย์ที่เคารพอย่างสูงทุกท่านครับ
    เรื่องมีอยู่ว่า คงเพราะฟังและศึกษาพระธรรม ก็เลยเกิดคิดอะไรเป็นเหตุ เป็นผลและ ละเอียดขึ้นกับการที่จะทำอะไร ต่ออะไร ที่เกี่ยวกับพุทธศาสนาน่ะครับ
    กราบรบกวนสอบถามครับ

    ๑. การกรวดน้ำ หรือ การอุทิศผลบุญนั้น ทำไมต้องใช้น้ำ ไม่ใช้น้ำได้ไหมครับ เพราะสำคัญที่เจตนาบอกให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ได้รู้ว่าเราทำสิ่งดีดีอะไร แล้วให้เค้า อนุโมทนา กับสิ่งดีดีที่เราได้ทำไม่ใช่หรือครับ (พระไตรปิฎกมีระบุหรือไม่ครับ)
    ๒. ในคำสอนมีการให้ทานศีล และภาวนา ภาวนาก็มีสมถภาวนา(การเจริญความสงบ สงบจากอกุศล)
แต่การเจริญวิปัสนา คือสติปัสฐาน ซึ่งเป็นการสร้างเหตุให้สติเกิด สติ คือ การระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน  แล้วสงสัยตรงคำว่า ปัญญา ขณะเจริญสติแล้ว ปัญญาเกิดได้อย่างไรครับ   
   ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับว่า การดำเนินไปของจิต ช่วงที่มีสติ จนถึงปัญญาเกิด และปัญญาทำกิจการงาน

(ขออภัยด้วยครับที่ยังไม่เข้าใจ เพราะยอมรับว่าคำแต่ละคำมีความหมายลึกซึ้ง นี่ยังไม่ได้ถึงขั้นความเข้าใจสภาพธรรมนะครับ ยังแย่อยู่เลยครับ ตอนนี้กำลังทบทวนสิ่งที่รู้ให้ชัดเจน เพราะก่อนๆที่จำๆมาแค่คำจำกัดความก็สับสนไม่ชัดเจนเลยครับ ขอสะสมความเข้าใจถูกใหม่ครับ)
    กราบขอบพระคุณอย่างสูงครับ


 


ความคิดเห็น คุณ paderm เว็บบ้านธัมมะ
             
    ๑. การกรวดน้ำหรือการอุทิศผลบุญนั้น ทำไมต้องใช้น้ำ ไม่ใช้น้ำได้ไหมครับเพราะสำคัญที่เจตนาบอกให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว  ได้รู้ว่าเราทำสิ่งดีดีอะไร แล้วให้เค้าอนุโมทนา กับสิ่งดีดีที่เราได้ทำไม่ใช่หรือครับ (พระไตรปิฎกมีระบุหรือไม่ครับ)

      ans1 ans1 ans1
     การอุทิศส่วนกุศลเป็นบุญประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น โดยเมื่อมีการทำบุญประเภทต่างๆ แล้วก็มีจิตคิดให้ผู้อื่นรับรู้บุญที่ได้ทำมาเพื่อให้สัตว์นั้นได้อนุโมทนา ดังนั้นการอุทิศส่วนกุศลจึงเป็นเรื่องของจิต ที่มีเจตนาให้ผู้อื่นรู้ในบุญที่ตนได้กระทำครับ การกรวดน้ำในสมัยปัจจุบัน ก็คือ การกระทำที่เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้ผู้อื่นที่สามารถล่วงรู้หรือล่วงลับไปแล้วครับ
     คำถามจึงมีอยู่ว่า ทำไมถึงใช้น้ำ ซึ่งกระผมขออธิบายตามความเข้าใจ ในเรื่องความเป็นมาในการใช้น้ำอุทิศส่วนกุศลครับ ดังนี้


    เหตุผลที่ 1. ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้ถวายวัดเวฬุวันกับพระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข การที่ท่านจะถวายสิ่งของใหญ่ ไม่สามารถยกวัดขึ้นได้ แต่พระเจ้าพิมพิสาร ก็ใช้วิธีการหลั่งน้ำ อันแสดงถึงการสละ ถวายวัดเวฬุวันแล้ว
    ดังนั้นการเทน้ำ หลั่งน้ำ จึงเป็นกิริยาอาการของการสละ การให้ประการหนึ่ง 
    ดังนั้นเพราะเหตุผลประการนี้ ประเพณีในปัจจุบันการอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติ คือ การสละ ให้บุญทีเป็นนามธรรม จึงมีการใช้น้ำเทน้ำ เหมือนเป็นการสละ ให้ส่วนบุญกับเปรตหรือญาติทั้งหลายได้อนุโมทนาบุญครับ นี่คือเหตุผลประการหนึ่ง คือ การเทน้ำ คือการให้ ให้ส่วนบุญนั่นเอง


    เหตุผลที่ 2. ในจริยาปิฎก พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องบารมี 10 เมตตาบารมี พระองค์แสดงว่า เธอจงมีเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุข เหมือนกับน้ำ น้ำย่อมไม่รังเกียจบุคคลใด เมื่อผู้ใดลงไปอาบ ก็ได้ความสุข  ได้ความเย็นสบาย น้ำจึงไม่เลือกบุคคลใดปรารถนาให้ผู้อื่นได้ความสุขทุกคน 
     ดังนั้นการอุทิศส่วนกุศลด้วยน้ำ  ก็เปรียบเหมือนเป็นการให้ญาติทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายทั้งหมด ที่สามารถล่วงรู้ได้ ได้อนุโมทนาบุญในกุศลที่ได้ทำ โดยการอุทิศไปในสัตว์ทั้งหลาย โดยไม่เลือกกับบุคคลใดเลยนั่นเองครับ


    เหตุผลที่ 3. เพื่อความตั้งใจ มีสมาธิในการใช้น้ำกรวด ขณะที่เทน้ำก็ต้องมีสมาธิและตั้งใจที่จะให้สัตว์ทั้งหลายได้ส่วนบุญ การใช้นำจึงเป็นอุบายอย่างหนึ่ง ที่จะให้มีความตั้งใจที่จะให้มีการอุทิศให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายครับ
 




    ซึ่งในความเป็นจริง พระไตรปิฎกไมได้แสดงในเรื่องของการใช้น้ำ เทน้ำ อันเป็นการแสดงถึงการอุทิศส่วนกุศลครับ ไม่มีในพระไตรปิฎก แต่มีเพียงการเทน้ำ หลั่งน้ำ แสดงถึงการสละ บริจาคให้ มีพระเจ้าพิมพิสารถวายวัดเวฬุวันโดการหลั่งน้ำ   
     แต่เมื่อพระเจ้าพิมพิสารอุทิศส่วนบุญที่ท่านทำ ท่านก็ไมได้ใช้น้ำ   
     ท่านก็เปล่งวาจา กล่าวอุทิศส่วนกุศลให้ญาติครับ

     ดังนั้นการใช้น้ำในการอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นความเข้าใจในเหตุผล 3 ประการที่กล่าวมา
     ซึ่งก็ค่อยๆ คลาดเคลื่อนจากความเข้าใจในสมัยพุทธกาล กลายเป็นประเพณีนิยมไปครับ

     ในความเป็นจริงแล้ว การอุทิศส่วนบุญให้ สำคัญที่เจตนาของผู้ที่อุทิศ ไมได้อยู่ที่การเทน้ำ
     หากไม่มีเจตนา ตั้งใจจะอุทิศให้ญาติเลย แต่ก็มีการเทน้ำ บุญก็ไม่เกิดขึ้น
     ที่เป็นการอุทิศส่วนกุศล เพราะการอุทิศส่วนกุศลอยู่ที่ใจ ไม่ใช่อยู่ที่อาการเทน้ำ บุญจึงอยู่ที่ใจเป็นสำคัญครับ   

     และก็ไม่จำเป็นจะต้องกล่าวคำบาลีต่างๆ ที่ว่า..ยถา วาริวหา ปูราปริ ปูเรนฺติ ...
     เพราะการอุทิศส่วนกุศลสำคัญที่เจตนา หากมีเจตนาอุทิศให้ กล่าวภาษาอะไร แต่มีเจตนาอุทิศแล้ว   
     บุญเกิดขึ้น คือ การอุทิศส่วนกุศล เมื่อผู้เป็นญาติล่วงรู้และอนุโมทนา
     ญาติก็ได้รับบุญคือ บุญเกิดกับญาติเองทีเกิดกุศลจิตที่อนุโมทนาครับ
     และก็ไม่จำเป็นต้องเอาน้ำไปเทที่ต้นไม้ด้วยความไม่รู้ แต่หากมีเจตนารดน้ำต้นไม้ก็ดีครับ

 



  ๒. ในคำสอนมีการให้ทานศีล และ ภาวนา ภาวนาก็มีสมถภาวนา (การเจริญความสงบ   สงบจากอกุศล)แต่การเจริญวิปัสนา คือสติปัสฐานซึ่งเป็นการสร้างเหตุให้สติเกิดสติ คือ การระลึกรู้สภาพธรรมที่ปรากฏในปัจจุบัน  แล้วสงสัยตรงคำว่า ปัญญา ขณะเจริญสติแล้ว ปัญญาเกิดได้อย่างไรครับ ช่วยอนุเคราะห์ด้วยครับว่า การดำเนินไปของจิต ช่วงที่มีสติ จนถึงปัญญาเกิด และ ปัญญาทำกิจการงาน

     ans1 ans1 ans1 
    การเจริญสติปัฏฐาน คือ การที่สติและปัญญาเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เข้าใจถูกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ซึ่งพื้นฐานความเข้าใจเบื้องต้คือ เมื่อจิตเกิดขึ้นจะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งเจตสิกทีเกิดร่วมด้วยก็ต้องมีหลายประเภท หลายเจตสิก
     ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิด  จิตขณะนั้นเป็นกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาเจตสิกและเกิดพร้อมเจตสิกอื่นๆ ทีเป็นเจตสิก ฝ่ายดี คือ ศรัทธาเจตสิก หิริเจตสิก รวมทั้ง สติเจตสิกทีเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ


     ดังนั้นขณะที่สติปัฏฐานเกิด เป็นกุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญา จึงมีทั้งสติเจตสิกและปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยในขณะนั้นครับ ซึ่งเจตสิกแต่ละประเภทก็ทำหน้าที่แตกต่างกันไป แต่ก็เกิดร่วมกันได้ครับ เช่น สัญญาเจตสิกทำหน้าที่จำ เวทนาเจตสิก ทำหน้าที่รู้สึก เป็นต้น   
         ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ก็มีสติและปัญญาเกิดด้วยในขณะนั้น
         แต่สติก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง ปัญญาก็ทำหน้าที่อย่างหนึ่ง
         สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริง
         ขณะที่สติปัฏฐานเกิด คือ ขณะที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม





    ดังนั้น ต้องมีตัวธรรมให้รู้ เช่น รู้แข็ง แข็งเป็นสิ่งที่สติเกิดระลึกรู้ ซึ่งสติจึงทำหน้าที่ระลึกที่ตัวธรรม คือ แข็ง ถ้าไม่มีสติ ก็ไม่มีการระลึกที่ตัวธรรมได้ แต่สติไมได้ทำหน้าที่รู้ตามความเป็นจริงว่า แข็งเป็นธรรมไม่ใช่เรา     ทำหน้าที่ระลึกถึงตัวธรรมได้เท่านั้น
    แต่ขณะนั้นเองที่ปัญญาเกิดพร้อมสติ  ปัญญาก็ทำหน้าที่รู้ตัวแข็งว่ามีลักษณะ ไม่ใช่เราเป็นธรรม รู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรานั่นเองครับ


    ดังนั้นสติและปัญญาเกิดพร้อมกันแต่ทำหน้าที่คนละอย่าง สติทำหน้าที่ระลึก ปัญญาทำหน้าที่รู้ความจริงในตัวธรรมที่สติระลึกได้ครับ   
    ดังนั้นสภาพธรรมธรรมแต่ละอย่างก็ทำหน้าที่แต่ละอย่างกันไป แต่ก็พึ่งพาอาศัยกัน
    สติปัฏฐานจะขาดสติหรือจะขาดปัญญาไม่ได้เลยครับ
    ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ปัญญาจึงเกิดได้พร้อมสติ รู้ตามความเป็นจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราในสภาพธรรมที่สติกำลังระลึกครับ

    ซึ่งสติปัฏฐานจะเกิดได้ ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรมในเรื่องสภาพธรรมไปเรื่อยๆ
    โดยไม่หวังแต่ค่อยๆสะสมความเข้าใจไปทีละน้อย
นั่นเองครับ
    ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.dhammahome.com/front/webboard/show.php?id=18847
ขอบคุณภาพจาก http://www.84000.org/, http://picpost.postjung.com/ , http://sphotos-a.xx.fbcdn.net/ , http://www.photoontour9.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 03, 2013, 11:53:45 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของการกรวดน้ำ มีเหตุ ๓ ประการ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2013, 10:37:40 am »
0
การกรวดน้ำ เป็นการ ระบุเจาะจง ทานให้แก่ ผู้ที่เราต้องการให้

    คิด ง่าย ถ้าเราแจกของออกไป โดยไม่เจาะจง โอกาสของสิ่งนั้นจะถึง คนที่เราต้องการให้จริง ๆ นั้นเป็นการยาก
 
    แต่ถ้าเราเจาะจงออกไป ของ ๆ นั้น มีโอกาสถึงมือ ผู้ที่เราเจาะจง

    จริง อยู่บุญทาน เป็นสิ่งที่ขโมยกันไม่ได้

       ผมเคยฟังพระอาจารย์ จากรายการกล่าวว่า

        เพียงเสี้ยวนาทีหนึ่งที่เราแผ่เมตตา บุญกุศล ไปให้สัตว์นรก ชั่วแว่บเดียว มีความหมายที่สุด ของที่สุด ของสัตว์นรกที่ได้รับบุญกุศล

     ดังนั้นการแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล ในรูปต่าง ๆ การกรวดน้ำเป็นวิธีที่ตรงที่สุด

     :s_hi: st12 st12 st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ

rainmain

  • มีเหตุมีผล
  • ****
  • ผลบุญ: +2/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 323
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
Re: ที่มาของการกรวดน้ำ มีเหตุ ๓ ประการ
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤษภาคม 04, 2013, 10:38:35 am »
0

อ่านเรื่อง ยถาให้ ผี สัพพีให้คน ( น่าจะเป็นเรื่อง ที่เกี่ยวเนื่องกันนะครับ )
http://www.madchima.org/forum/index.php?topic=10792.0


 st11 st12
บันทึกการเข้า
คิดดี พูดดี ทำดี เป็นกุศล และ กรรมฐาน เป็นมหากุศล นะครับ