ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: “ศีล ๕” ขาด - ไม่ขาด เช็คได้เดี๋ยวนี้  (อ่าน 2908 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29346
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
“ศีล ๕” ขาด - ไม่ขาด เช็คได้เดี๋ยวนี้
« เมื่อ: มิถุนายน 14, 2013, 10:18:20 am »
0

นานาสารธรรม : “ศีล ๕” ขาด - ไม่ขาด เช็คได้เดี๋ยวนี้

ศีล ๕ หรือ เบญจศีล ซึ่งแผลงมาจากคำว่า “ปญฺจ สีลานิ” นี้ ในคัมภีร์พระไตรปิฎกส่วนมากเรียกว่า สิกขาบท ๕ คือองค์แห่งศีลอย่างหนึ่งๆ ซึ่งเป็นข้อห้ามเพื่อการฝึกฝนตน หรือบทฝึกฝนอบรมตนของพุทธศาสนิกชน ฝ่ายคฤหัสถ์ ๕ ข้อ
       
       ศีล ๕ หรือ เบญจศีล นี้เป็นมาตรฐานอย่างต่ำสำหรับการจัดระเบียบชีวิตและสังคมของมนุษย์ ให้อยู่ในสภาพที่เอื้อโอกาสขั้นพื้นฐาน ในการที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม หรือทำการพัฒนาไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด ทางจิตใจหรือทางวัตถุก็ตาม เป็นศีลขั้นพื้นฐานของศีลทั้งปวง

       
       

        • ข้อห้ามในศีล ๕
       
      ศีลข้อที่ ๑ : เว้นจาการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป หมายถึง การห้ามฆ่าสัตว์ ทั้งการฆ่ามนุษย์และการฆ่าสัตว์ดิรัจฉานที่มีชีวิตอยู่ทุกเพศทุกชนิด โดยมีหลักวินิจฉัยในความขาดแห่งศีลที่เรียกว่า องค์ ๕ ข้อ คือ     
       ๑) ปาโณ   สัตว์มีชีวิต
       ๒) ปาณสญฺญิตา   รู้ว่าสัตว์มีชีวิต
       ๓) วธกจิตฺตํ   มีจิตคิดจะฆ่า
       ๔) อุปกฺกโม   ทำความพยายามฆ่า
       ๕) เตน มรณํ   สัตว์ตายด้วยความพยายามนั้น       
       การฆ่าสัตว์มีชีวิตพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๕ ข้อนี้ ศีลจึงขาด ถ้าไม่ครบองค์ประกอบทั้ง ๕ นี้ แม้องค์ใดองค์หนึ่ง เช่น ไม่มีจิตคิดจะฆ่า เป็นต้น เช่นนี้ ศีลไม่ขาด

       
       

       ศีลข้อที่ ๒ : เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย หมายถึง การห้ามลักทรัพย์ทุกชนิดที่เจ้าของไม่ได้ยกให้เป็นสิทธิ์ขาด หรือห้ามถือเอาสิ่งของที่ไม่มีผู้ให้ด้วยโจรกรรม คือการกระทำอย่างโจรทุกอย่าง ได้แก่ การลัก ฉก ชิง วิ่งราว หรือปล้นชิงทรัพย์ เป็นต้น โดยมีหลักวินิจฉัยในความขาดแห่งศีลที่เรียกว่า องค์ ๕ ข้อ คือ     
       ๑) ปรปริคฺคหิตํ   ของนั้นมีเจ้าของหวงแหน
       ๒) ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา   รู้ว่ามีเจ้าของหวงแหน
       ๓) เถยฺยจิตฺตํ   มีจิตคิดจะลัก
       ๔) อุปกฺกโม   ทำความพยายามหลัก
       ๕) เตน หรณํ   นำของมาได้ด้วยความพยายามนั้น

       
       

       ศีลข้อที่ ๓ : เว้นจากการประพฤติผิดในกาม หมายถึง การห้ามประพฤติผิดในกามทั้งหลาย คือ ห้ามประพฤติผิดทางเพศ ห้ามประพฤติผิดประเวณีในบัตรหลานของผู้อื่น ห้ามประพฤติเป็นชู้ในคู่ครองคือสามีภรรยาของผู้อื่น รวมถึงการห้ามสำส่อนทางเพศ ซึ่งกล่าวให้ชัด ได้แก่ ห้ามผิดประเวณีลูกหลานเขา ห้ามเป็นชู้สู่สมในคู่ครองเขา โดนมีหลักวินิจฉัยในความขาดแห่งศีลที่เรียกว่า องค์ ๔ ข้อ คือ       
       ๑) อคมนียวตฺถุ   วัตถุที่ไม่ควรล่วงละเมิด
       ๒) ตสฺมึ เสวนจิตฺตํ   มีจิตคิดจะเสพ
       ๓) เสวนปฺปโยโค   พยายามที่จะเสพ
       ๔) มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติ กระทำการให้มรรคต่อมรรคจดกัน
       
       องค์ที่ ๑ หมายถึง หญิงหรือชายผู้ที่จะมีสัมพันธ์ทางเพศด้วยนั้นเป็นบุคคลต้องห้าม เช่น เป็นสามีหรือภรรยาของผู้อื่น หรือเป็นผู้ที่มีบิดามารดาญาติผู้ใหญ่เป็นผู้ปกครองหวงแหนอยู่ หรือเป็นผู้ต้องห้ามด้วยเหตุอื่นๆ เช่น เป็นนักพรตหรือนักบวช       
       องค์ที่ ๔ หมายถึง กำหนดเอาอาการที่อวัยวะเพศของทั้งสองฝ่ายเนื่องถึงกัน (แม้จะยังไม่สำเร็จความใคร่ก็ตาม)       
       ศีลข้อนี้จะขาดต่อเมื่อมีการกระทำครบองค์ทั้ง ๔ นี้

       
       

       ศีลข้อที่ ๔ : เว้นจากการพูดเท็จ หมายถึง การสำรวมระวังในการใช้คำพูดที่เว้นจากการพูดเท็จ พูดปด พูดโกหกหลอกลวงผู้อื่นให้เสียประโยชน์ หรือห้ามพูดเท็จนั่นเอง ซึ่งเป็นการแสดงออกด้วยเจตนาบิดเบือนความจริงให้คนอื่นหลงเชื่อ       
       โดยแสดงออกได้ทั้ง ทางวาจา คือพูดโกหกชัดๆ พูดเท็จพูดปดตรงๆ และทางกาย คิดทำเท็จทางกาย เช่น การเขียนจดหมายลวง การทำรายงานเท็จ การสร้างหลักฐานปลอม การโฆษณาชวนเชื่อเกินความจริงทางสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือเมื่อมีใครถามข้อความที่ควรรับ ก็สั่นศีรษะแสดงอาการปฏิเสธ โดยมีหลักวินิจฉัยในความขาดแห่งศีลที่เรียกว่า องค์ ๔ ข้อ คือ       
       ๑) อตถํ   เรื่องไม่จริง
       ๒) วิสํวาทนจิตฺตํ   จิตคิดจะพูดให้ผิด
       ๓) ตชฺโช วายาโม   พยายามพูดออกไปตามจิตนั้น
       ๔) ปรสฺส ตตฺถวิชานนํผู้ฟังเข้าใจเนื้อความนั้น       
       ถ้าไม่ครบองค์ทั้ง ๔ นี้ ศีลไม่ขาด เช่น ทราบเรื่องที่เป็นเท็จมาโดยตนคิดว่าเป็นเรื่องจริง จึงพูดไปโดยไม่มีเจตนาจะหลอกลวงหรือพูดเท็จออกไป แต่ผู้ฟังไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้ภาษากัน เช่นนี้ศีลไม่ขาด

       
       

       ศีลข้อที่ ๕ : เว้นจากดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท หมายถึง การงดเว้นไม่ดื่มน้ำเมาหรือห้ามดื่มน้ำเมา ที่เรียกตามศัพท์บาลีว่า “มัชชะ” แปลว่า น้ำอันยังผู้ดื่มให้มึนเมา ซึ่งจำแนกเป็น ๒ ชนิด คือ สุราและเมรัย       
       “สุรา” ได้แก่ น้ำเมาที่เรียกว่า เหล้า ส่วน “เมรัย” ได้แก่ น้ำเมาประเภทเบียร์ หรือกล่าวง่ายๆ ศีลข้อนี้ห้ามดื่มเหล้าและเบียร์ รวมถึงห้ามเสพยาหรือสารเสพติดให้โทษทุกชนิด โดยมีหลักวินิจฉัยในความขาดแห่งศีลที่เรียกว่า องค์ ๔ ข้อ คือ       
       ๑) มทนียํ   สิ่งที่เป็นเหตุให้มึนเมา
       ๒) ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ   จิตคิดจะดื่มหรือเสพ
       ๓) ตชฺโช วายาโม   พยายามดื่มหรือเสพตามที่จิตคิดนั้น
       ๔) ปิตปฺปเสวนํ   ดื่มน้ำเมา หรือเสพสารเสพติดนั้นเข้าไป


        :49: :49: :49:

       • จุดมุ่งหมายของการรักษาศีล ๕       
       นักปราชญ์ในทางพระพุทธศาสนา ได้ชี้จุดสำคัญที่คนเราจะต้องสร้างพื้นฐานไว้ให้มั่นคง เป็นพิเศษ ๕ จุด ซึ่งเป็นการปิดช่องทางที่จะทำให้ตนเองเสียหาย ๕ ทางด้วยกัน โดยวิธีที่ว่านี้ก็คือ การรักษาศีล ๕ คือ
       
       ศีลข้อที่ ๑ เว้นจากการฆ่าสัตว์มีชีวิต หรือห้ามฆ่าสัตว์ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะความโหดร้าย ไร้เมตตา
       ศีลข้อที่ ๒ เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการเป็นโจรขโมย หรือห้ามลักทรัพย์ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะอาชีพทุจริต จิตคิดลักขโมย       
       ศีลข้อที่ ๓ เว้นจากการประพฤติในกาม หรือห้ามประพฤติผิดทางเพศ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะความเจ้าชู้ สำส่อนทางเพศหรือมักมากในกาม     
       ศีข้อที่ ๔ เว้นจากการกล่าวคำเท็จ หรือห้ามพูดเท็จ เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะคำพูดโกหกหลอกลวง
       ศีลข้อที่ ๕ เว้นจากดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย หรือห้ามดื่มน้ำเมา เพื่อป้องกันทางที่ตนจะเสียหายเพราะความมึนเมาประมาทขาดสติยับยั้งชั่งใจในการทำชั่ว


        :25: :25: :25:

       กล่าวอีกนัยหนึ่ง ชีวิตของคนเรามักจะพังวิบัติล่มจมประสบความพินาศไปเพราะเหตุ ๕ อย่างนี้ คือ
       (๑) ความโหดร้ายในจิตสันดาน
       (๒) ความละโมบอยากได้ทรัพย์ของคนอื่นในทางที่ผิดๆ
       (๓) ความร่านร้อนในทางกามารมณ์เกี่ยวกับเพศตรงข้าม
       (๔) ความไม่มีสัจจะประจำใจ
       (๕) ความประมาทขาดสติสัมปชัญญะ
 
      วิธีแก้ ก็คือการหันเข้ามาปรับพื้นฐานจิตสันดานของตนโดยวิธีรักษาเบญจศีล เพราะการรักษาเบญจศีล หรือศีล ๕ นอกจากจะมีความมุ่งหมายเพื่อป้องกันรักษาตนไม่ให้เสียหายแล้ว ยังมีผลทำให้ครอบครัว สังคม ประเทศชาติ ตลอดถึงสังคมโลกดำรงอยู่อย่างปกติสุข และเป็นพื้นฐานให้ตนบำเพ็ญหลักไตรสิกขาขั้นสูง คือสมาธิและปัญญาได้อย่างดี เมื่อบำเพ็ญหลักไตรสิกขาให้บริบูรณ์แล้ว ย่อมบรรลุมรรคผลนิพพานในที่สุด

       
อ้างอิง :-
จากหนังสือ คู่มือพุทธศาสนิกชน     
จากนิตยสารธรรมลีลา ฉบับที่ 150 มิถุนายน 2556 โดย แก้ว ชิดตะขบ นักวิชาการศาสนา สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNews.aspx?NewsID=9560000067069
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ

นิรตา ป้อมนาวิน

  • ศิษย์ตรง
  • โยคาวจรผล
  • *****
  • ผลบุญ: +20/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • เพศ: หญิง
  • กระทู้: 1212
  • อย่างน้อยชาตินี้ขอปิดอบายภูมิ
  • Respect: 0
    • ดูรายละเอียด
    • เว็บไซต์
Re: “ศีล ๕” ขาด - ไม่ขาด เช็คได้เดี๋ยวนี้
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มิถุนายน 14, 2013, 09:25:10 pm »
0
 st11 st12
บันทึกการเข้า
เว ทา สา กุ กุ สา ทา เว ทา ยะ สา ตะ ตะ สา ยะ ทา สา สา ทิ กุ กุ ทิ สา สา กุ ตะ กุ ภู ภู กุ ตะ กุ