ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน

ผู้เขียน หัวข้อ: ต้นแบบพระปิดตา...พระควัมปติ  (อ่าน 2836 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

raponsan

  • มารยิ่งมี บารมียิ่งแก่กล้า
  • ผู้ดูแลบอร์ด
  • โยคาวจรผล
  • ********
  • ผลบุญ: +61/-0
  • ออฟไลน์ ออฟไลน์
  • กระทู้: 29351
  • Respect: +11
    • ดูรายละเอียด
ต้นแบบพระปิดตา...พระควัมปติ
« เมื่อ: มิถุนายน 09, 2013, 08:01:32 am »
0

ต้นแบบพระปิดตา
คอลัมภ์ : คัมภีร์จากแผ่นดิน โดย บาราย

ของขลังสมัยโบราณที่ชายชาตรีนิยมหา มีตะกรุด ลูกอม ผ้าประเจียด เขี้ยวเสือ แหวนพิรอด ฯลฯ ในสมัยอยุธยา ยังไม่มีพระเครื่อง เพราะยังเป็นพระพิมพ์ บรรจุอยู่ในเจดีย์ ตามค่านิยมสืบอายุพระพุทธศาสนา พระเครื่ององค์แรก ที่มีกล่าวถึงไว้ในวรรณคดีเรื่องขุนช้างขุนแผน ตอนขุนช้างระดมบ่าวไพร่ออกตามนางวันทอง....ลองอ่านกันดู

จัดแจงแต่งตัวนุ่งยก เข็มขัดรัดอกแล้วโจงหาง ผูกตัวเข้าเป็นพรวนล้วนเครื่องราง พระปรอทขอดหว่างมงคลวง ลูกไข่ดันทองแดงกำแพงเพชร ไข่เป็ดเป็นหินขมิ้นผง ตะกรุดโทนของท่านอาจารย์คง แล้วอมองค์พระควัมล้ำจังงัง

ในเสภาบทนี้ มีพระปรอท ไม่ได้บอกว่าเป็นพิมพ์พระอะไร และพระควัม ซึ่งบัดนี้ เรียกกันว่าพระปิดตา

นักเลงพระเครื่องรุ่นใหม่..เชื่อกันว่า พระปิดตา พระควัม และพระปิดทวารทั้ง 9 เป็น พระเครื่อง เริ่มนิยมสร้างในสมัยรัตนโกสินทร์ เพราะไม่เคยพบบรรจุในกรุพระพิมพ์สมัยเก่าเลย



หนังสือภาพ สุดยอดพระปิดตาเมืองสยาม หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศกองทัพบก จัดพิมพ์ 5 เม.ย. 2552 บรรยายไว้ว่า “พระปิดตา มีประวัติว่าเป็นอัครสาวกองค์หนึ่ง ชื่อพระควัมปติ หรือมหาสังกัจจายนะ ท่านมีรูปงามสง่าคล้ายพระ พุทธเจ้า จนมีคนเข้าใจผิดว่าท่านเป็นพระพุทธเจ้า

ท่านจึงอธิษฐานให้มีรูปร่างอ้วนลงพุง และอีกมิติทำเป็นรูปพระปิดตา

ความเข้าใจเหล่านี้..ผิดพลาดคลาดเคลื่อน ..เพราะพระควัมปติที่ทำเป็นพระปิดตา กับพระมหากัจจายนะ หรือที่คนไทยเรียกว่าพระสังกัจจายน์ พระอ้วน เป็นคนละองค์กัน

ท่านอาจารย์พระยาอนุมานราชธน นิพนธ์ไว้ในเล่ม..หมวดเบ็ดเตล็ด-ความรู้ทั่วไป(คุรุสภา-มูลนิธิเสฐียรโกเศศ พิมพ์ 2531) อธิบายความหมายของพระควัมบดีไว้เป็นสองเรื่อง...



เรื่องแรกว่า พระอรหันต์ พุทธสาวก บุตรเศรษฐีแห่งเมืองพาราณสี เป็นสหายหนึ่งในสี่ของ พระยศเถระ ตอนยังไม่ได้บวช พระยศเดินรำลึกถึงชีวิตมนุษย์ “ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ..” พระพุทธเจ้าตรัสรู้ใหม่ๆ โปรดสอนให้ศรัทธา บวช เป็นพระสงฆ์ พระควัมรู้ข่าวก็ไปบวชตาม

สำเร็จเป็นพระอรหันต์ได้ไม่นาน พระควัมเป็นหนึ่งในพระภิกษุสาวก ติดตามพระพุทธเจ้า ไปพำนักอยู่ที่ป่าอัญชนวัน เขตเมืองสาเกต คืนหนึ่งขณะพระภิกษุทั้งหลายพักนอนริมหาดแม่น้ำสรภู น้ำในแม่น้ำสรภูสูงขึ้นกะทันหัน พระภิกษุตกใจ เพราะไม่มีหนทางจะหนีน้ำได้ทัน

มีคัมภีร์เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า..พระพุทธองค์ตรัสสั่งให้พระควัมบดีแสดงฤทธิ์บังคับน้ำไม่ให้ไหลมาถึงชายหาด น้ำท้นสูง เป็นภูเขา แต่ไหลเข้ามาไม่ถึงชายหาดที่พระภิกษุอยู่

เรื่องนี้เป็นเรื่องพูดกันอื้อฉาว พระอรหันต์พระควัมบดี..แสดงฤทธิ์ปาฏิหาริย์ได้อย่างไร มีชาดกเล่าว่า ในสมัยพระสิขีพุทธเจ้า พระควัมบดีเกิดเป็นนายพราน นำดอกไม้บูชาพระสิขีพุทธเจ้า ต่อมาได้สร้างฉัตรและรั้วล้อมพระสถูปพระโกนาคมพุทธเจ้า

ชาติต่อมา ในสมัยพระพุทธกัสสปะ พระควัมบดีเกิดเป็นคหบดีผู้มั่งคั่ง มีปศุสัตว์เป็นจำนวนมาก วันหนึ่งได้เห็นพระอรหันต์นั่งฉันจังหันอยู่ กลางแดด จึงไปสร้างที่กำบังแดดถวาย และปลูกต้นสิริสะ(ต้นทิ้งถ่อน) ไว้เบื้องหน้า

บุญที่ทำนี้ ส่งผลให้คหบดีไปเกิดเป็นเทวดาอยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมมหาราชิกา มีเสริสสกวิมานเป็นที่อยู่

คัมภีร์ทุลวะของทิเบตกล่าวว่า ภายหลังพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ขณะพระมหากัสสปะประชุมพระอรหันต์กระทำปฐมสังคายนา สั่งให้พระปุณณะอรหันต์เป็นทูตพิเศษไปอัญเชิญพระควัมบดีบนสวรรค์มาร่วมประชุมสังคายนาด้วย

แต่พระควัมบดีขอส่งบาตรและไตรจีวรมาถวายพระอรหันต์ที่มาร่วมประชุมแทน ต่อมาไม่ช้าท่านก็ดับขันธ์นิพพาน



พระควัมบดีเรื่องที่สอง มีกล่าวอยู่ในคัมภีร์ศาสนวงศ์ พระควัมบดีเป็นผู้ไปอาราธนา พระพุทธองค์เสด็จมาประดิษฐานพระพุทธศาสนาที่เมืองสุธัมมปุระ (เมืองสะเทิม) ในรามัญ ประเทศ

ชาติก่อนพระควัมบดีเป็นบุตรวิชาธร สมจรกับนางนาค นางนาคผู้เป็นมารดาออกไข่ ทิ้งไว้ ฟักออกมาเป็นตัวเด็ก แต่มีอายุได้เพียง 10 ขวบก็ตาย แล้วไปเกิดในชาติต่อมาเป็นพระ ควัมบดี ณ เมืองมิถิลา ออกบรรพชาเมื่ออายุ ได้ 7 ปี เมื่อสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วก็ไปเมืองสุธัมมปุระ เทศนาโปรดมารดา


และในเมืองสุธัมมปุระนี่เอง พระเจ้าสีหะเลื่อมใสศรัทธาพระควัมบดีมาก ขอให้พระควัมบดีกราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้า เสด็จมายังเมืองสุธัมมปุระ

ในเมืองพม่า..นิยมสร้างพระบัวเข็ม แกะสลักด้วยไม้ บูชาด้วยการตั้งพระไว้ ในภาชนะใส่น้ำ..ความนิยมนี้เคยแพร่หลายเข้ามาในเมืองไทยเมื่อราว พ.ศ. 2500 สมัยนี้ยังพอมีเหลืออยู่บ้าง แต่ไม่มากเหมือนในสมัยนั้น เข้าใจกันว่าพระบัวเข็ม ก็คือพระควัมบดีองค์นี้เอง.


ขอบคุณภาพและบทความจาก
http://www.thairath.co.th/column/pol/kumpee/346939
http://upic.me/, http://images.thaiza.com/ , http://phatralaksi.tarad.com/ , http://2.bp.blogspot.com/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 09, 2013, 08:05:36 am โดย nathaponson »
บันทึกการเข้า
ปัญจะมาเร ชิเนนาโถ ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง จตุสัจจัง ปะกาเสติ มหาวีรัง นะมามิหัง ปัญจะมาเร ปลายิงสุ